เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 รวมพระสูตร พระนางปชาบดีโคตมี (ภิกษุณีรูปแรก) และ ครุธรรม ๘ ประการ 1392
  P1385 P1386 P1387 P1388 P1389 P1390 P1392 P1393
รวมพระสูตร
เกี่ยวกับภิกษุณี
 
 


(7)
P1392 (โดยย่อ)

เรื่องราวของภิกษุณี
(บางส่วนจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง)
(1) พระฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมเพียงเล็กน้อยแล้วให้ภิกษุณีกลับไป
(2) คุณสมบัติของภิกษุ ๘ ประการ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี
(3) ทรงอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
(4) ไม่อนุญาตให้ภิกษุณีทำอัญชลีกรรมภิกษุ และภิกษุณี ตามลำดับอายุ
(5) พระมหาปชาบดีทูลถามถึงสิกขาบทสำหรับภิกษุณี
(6) ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีด้วยกัน
(7) มาตุคามของบวช พระผู้มีพระภาคไม่อนุญาต นางปชาบดี ร้องให้เสียใจ
(8) อานนท์ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคาม พึงได้ ออกบวช
(9) ครุธรรม ๘ ประการ กฎเหล็กของภิกษุณี ต้องยึดถือตลอดชีวิต
(10) การมีภิกษุณีในศาสนาจะทำให้พระสัทธรรมมีอายุสั้นลง
(11) การบวชภิกษุณีในประเทศไทย (ข่าว)
------------------------------------------------------------------------

เรื่องที่ควรทราบ
เกี่ยวกับนางปชาบดีโคตรมี

1.นางปชาบดีโคตมี คือผู้ที่เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า หลังมารดาที่แท้จริงคือพระนางสิริมหามายา สวรรคต ได้เพียง 7 วันนับจากคลอดราชกุมารสิทธิทัตถะ นางพระชาบดี ก็คือน้องสาวของนางสิริมายา

2.นางปชาบดี รบเร้าขอบวชหลายครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคไม่อนุญาต ต่อมาพระอานนท์ เป็นผู้ทูลขอ ด้วยตัวเอง จนสำเร็จ มีข้อแม้ว่า ต้องรักษาครุธรรม ๘ ประการ ตลอดชีวิต

3. นางปชาบดี รับครุธรรม ๘ ประการ นั่นแหละ เป็นอุปสมบทของพระนาง

4. ทรงบัญญัติพระวินัยของภิกษุณี ที่แตกต่างจากสงฆ์ และสิกขาบทของภิกษุณี ก็ให้ปฏิบัติ เช่นเดียวกับ สิกขาบทของภิกษุ

5. ในพระไตรปิฎก มีภิกษุณีรูปเดียว คือ พระมหาปชาบดีโคตมี ที่สำเร็จอรหันต์ในสมัยนั้น

6. พระมหาปชาบดีโคต ได้รับแต่งตั้งให้เป็น เอตทัคค ด้านผู้รู้ราตรีนาน

7. ข้อสังเกตุ พระพุทธเจ้าให้ ภิกษุนันทกะ แสดงธรรมแก่ภิกษุณี ในธรรมบทเดี่ยวกันถึง 2 ครั้ง ในวันนั้น และวันถัดมา (นันทโกวาทสูตร)

8. พระผู้มีพระภาคกล่าวกับพระอานนท์ถึงการบวชภิกษุณีว่า จะทำให้อายุของศาสนาพุทธสั้นลง

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๘๔ (วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒)

(1)
พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมเพียงเล็กน้อย แล้วให้ภิกษุณีกลับไป
(ย่อ)
ได้ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณี โดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่แสดงติรัจฉานกถา (เรื่องทางโลก) แล้วสั่งให้กลับไป พระผู้มีพระภาคเรียกมาสอบถาม พระฉัพพัคคีย์ ทูลรับว่า จริง จึงทรงพระบัญญัติคุณสมบัติของภิกษุผู้สอนภิกษุณีไว้ ๘ ประการ

        [๔๐๗] ก็แลสมัยนั้น พวกพระเถระทั้งหลายผู้ได้รับสมมติ กล่าวสอนพวก ภิกษุณี ก็ยังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เหมือนอย่างเดิม. จึงพระฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้พระเถระ ทั้งหลาย ได้รับสมมติ แล้วกล่าวสอนพวกภิกษุณี ก็ยังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อยู่เหมือนอย่างเดิม เอาเถิด แม้พวกเราจะไปนอก สีมาสมมติกันและกัน ให้เป็นผู้กล่าวสอน ภิกษุณี แล้วสั่งสอนพวกภิกษุณีกันเถิด.

        ครั้นแล้วพากันไปนอกสีมา สมมติกันและกันให้เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี แล้วได้ เข้าไป บอกภิกษุณี ทั้งหลายว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย แม้พวกเราก็ได้รับสมมติ ท่านทั้งหลาย จงเข้าไปหา พวกเรา แม้พวกเราก็จักกล่าวสอน.

        ต่อมาภิกษุณีเหล่านั้น พากันเข้าไปหาพระฉัพพัคคีย์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนหนึ่ง. จึงพระฉัพพัคคีย์ ได้ทำธรรมีกถาแก่พวกภิกษุณีเพียง เล็กน้อย เท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจฉานกถาแล้ว สั่งให้กลับไปด้วยคำว่า กลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย.

        ลำดับนั้น พวกนางได้พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุณีผู้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเหล่านั้น แลว่า ดูกรภิกษุณีทั้งหลาย โอวาทได้สัมฤทธิผลดีหรือ?

        พวกภิกษุณีกราบทูลว่า จะสัมฤทธิผลมาแต่ไหน พระพุทธเจ้าข้า เพราะ พระคุณเจ้าเหล่า ฉัพพัคคีย์ ได้ทำธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไป ด้วยติรัจฉานกถาแล้วสั่งให้กลับไป พระพุทธเจ้าข้า.

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุณีเหล่านั้น ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. ครั้นภิกษุณีเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงให้เห็น แจ้ง สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสน์ถวายบังคมพระผู้มี พระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทำธรรมีกถา แก่พวกภิกษุณี เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไป ด้วยติรัจฉานกถา แล้วสั่งให้กลับไปจริง หรือ?

พระฉัพพัคคีย์ ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ทำ ธรรมีกถา แก่พวกภิกษุณี เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ให้วันเวลาล่วงไปด้วยติรัจฉานกถา แล้วสั่งให้กลับไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ...

ทรงอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้สมมติภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ดังต่อไปนี้ เป็นผู้กล่าวสอนภิกษุณี



(2)

องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี
(ย่อ)
องค์คุณ ๘ ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี
๑. เป็นผู้มีศีล คือสำรวมด้วยปาติโมกขสังวรศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
๒. เป็นพหูสูต เป็นผู้สั่งสมสุตะ แสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด
๓. ภิกษุนั้นจำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย ชัดเจน
๕. เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก
๖. เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้
๗. เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะ
๘. มีพรรษาได้ ๒๐ หรือเกิน ๒๐


        ๑. เป็นผู้มีศีล คือสำรวมด้วยปาติโมกขสังวรศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระและ โคจรอยู่ มีปกติเห็นภัย ในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย

        ๒. เป็นพหูสูต คือทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งาม ในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ธรรม เห็นปานนั้น อันภิกษุนั้น ได้สดับมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยปัญญา

        ๓. พระปาติโมกข์ทั้งสองมาแล้วด้วยดีโดยพิสดาร แก่ภิกษุนั้น คือ ภิกษุนั้น จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยได้เรียบร้อยโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
        ๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย ชัดเจน
        ๕. เป็นที่นิยมชมชอบของภิกษุณีโดยมาก
        ๖. เป็นผู้สามารถกล่าวสอนภิกษุณีได้
        ๗. เป็นผู้ไม่เคยล่วงครุธรรม กับสตรีผู้ครองผ้ากาสายะ ซึ่งบวชเฉพาะพระผู้มี พระภาค พระองค์นี้ และ
        ๘. มีพรรษาได้ ๒๐ หรือเกิน ๒๐

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ คุณ ๘ ประการนี้ ให้เป็นผู้กล่าว สอนภิกษุณีได้.



(3)

ทรงอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
(ย่อ)
พระอานนท์ ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ตามคำขอของนางประชาบดี ถูกปฏิเสธถึง 3 ครั้ง ต่อมาได้อ้างถึงพระนางปชาบดีเคยเลี้ยงดูพระผู้มีพระภาค เป็นผู้มีอุปาระ ต่อพระผู้มี พระภาคมาก พระองค์อนุญาตแต่มีเงื่อนไข ด้วย ครุธรรม ๘ ประการ

         [๕๑๙] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม ได้ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันจะปฏิบัติใน นางสากิยานี พวกนี้อย่างไร

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทีนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้อัน พระผู้มีพระภาค ได้ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มี พระภาค ทำประทักษิณกลับไป

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น  ในเพราะ เหตุแรก เกิดนั้น แล้วรับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย อุปสมบทภิกษุณี ฯ

         [๕๒๐] ครั้งนั้นภิกษุณีเหล่านั้น ได้กล่าวกะพระมหาปชาบดีโคตมีว่า พระ แม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบท ภิกษุณี ลำดับนั้น พระมหาปชา บดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ อภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้ว กล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ภิกษุณีเหล่านั้น พูดกะดิฉันอย่างนี้ว่าพระแม่เจ้า ยังไม่ได้ อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติไว้อย่าง นี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบท ภิกษุณี

        ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธ เจ้าข้า พระมหาปชาบดีโคตมี กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ภิกษุณีพวกนี้พูด กะดิฉันอย่างนี้ ว่า พระแม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พึงให้ อุปสมบทภิกษุณี พระ ผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ พระมหาปชาบดีโคตมี รับ ครุธรรม ๘ ประการ  แล้วในกาลใด พระนางชื่อว่า อุปสมบทแล้วในกาลนั้นทีเดียว



(4)

ไม่อนุญาตให้ภิกษุณีทำอัญชลีกรรมภิกษุ และภิกษุณี ตามลำดับอายุ
(ย่อ)
พระมหาปชาบดี ทูลขออนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับการทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่ ภิกษุ และภิกษุณีตามลำดับผู้แก่ ทรงตรัสว่ามิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ ที่มีธรรม อันกล่าวไม่ดีแล้วเหล่านี้ ยังไม่กระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม

         [๕๒๑] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ อภิวาท ได้ยืน ณที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ดิฉันจะทูลขอพร อย่างหนึ่ง กะพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้า ขอพระพระผู้มี พระภาค พึงทรงอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับการทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่ ภิกษุ และภิกษุณี ตามลำดับผู้แก่ (ขออนุญาตกราบไหว้สตรีสูงอายุ)

         ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควร ส่วน ข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระมหาปชาบดีโคตมีกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ดิฉันจะขอพร อย่างหนึ่งกะพระผู้มีพระภาคว่า ขอ ประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตการ กราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุและภิกษุณี ตามลำดับ ผู้แก่

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อที่ตถาคตจะอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคามนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาส เพราะพวก อัญญเดียรถีย์ ที่มีธรรม อันกล่าวไม่ดีแล้วเหล่านี้ ยังไม่กระทำ  การกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่มาตุคาม ก็ไฉนเล่า ตถาคตจัก อนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่มาตุคาม

         ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม  สามีจิกรรมแก่ มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ



(5)

พระมหาปชาบดีทูลถามถึงสิกขาบท
สำหรับภิกษุณี
(ย่อ)
พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้า ทูลถามเรื่องสิกขาบทสำหรับภิกษุณี ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ตรัสว่า ให้ใช้สิกขาบทเช่นเดียวกับภิกษุ
โดยถือหลักว่าเป็นธรรมเพื่อคลายความกำหนัด

         [๕๒๒] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบท ของภิกษุณี เหล่านั้นใด ที่ทั่วถึงภิกษุ พวกหม่อมฉัน จะปฏิบัติในสิกขาบทเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ทั่วถึง ภิกษุ พวกเธอจงศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้น ดุจภิกษุทั้งหลายศึกษาอยู่ ฉะนั้น

ม. พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึง ภิกษุพวกหม่อม ฉันจะปฏิบัติ ในสิกขาบท เหล่านั้น อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า       

ภ. ดูกรโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึงภิกษุ พวกเธอจงศึกษา ในสิกขาบท เหล่านั้น ตามที่เราบัญญัติไว้แล้ว

ลักษณะวินิจฉัยพระธรรมวินัย

         [๕๒๓] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ขอประทานพระวโรกาส  พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรม โดยย่อ ที่หม่อมฉันฟังธรรม  ของพระผู้มีพระภาคแล้ว เป็นผู้เดียว จะพึงหลีกออกไม่ประมาท มีความเพียรมีตนส่งไปอยู่

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้  เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อคลายความกำหนัด เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่ใช่เพื่อความพราก เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่ใช่เพื่อความไม่สะสม เป็นไป เพื่อความมักมาก ไม่ใช่เพื่อความมักน้อยเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่ใช่เพื่อความ สันโดษ เป็นไปเพื่อความ คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ใช่เพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อความ เกียจคร้าน ไม่ใช่เพื่อปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยากไม่ใช่เพื่อ ความ เลี้ยงง่าย ดูกรโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ โดยส่วนเดียวว่า นั่นไม่ใช่ธรรม นั่น ไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์

         ดูกรโคตมี อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความ  คลายกำหนัด ไม่ใช่ เพื่อมีความกำหนัด เป็นไปเพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความ  ประกอบ เป็นไปเพื่อความ ไม่สะสม ไม่ใช่เพื่อความสะสม เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่ใช่เพื่อความมักมาก เป็นไปเพื่อ ความสันโดษ ไม่ใช่เพื่อความไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่ใช่เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นไปเพื่อ ปรารภความเพียร ไม่ใช่เพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ไม่ใช่ เพื่อความเลี้ยงยาก ดูกรโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้น ไว้โดยส่วนเดียวว่า  นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์



(6)

ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี แสดงปาติโมกข์
แก่ภิกษุณีด้วยกัน
(ย่อ)
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุแสดงปาติโมกขแก่ภิกษุณี เราอนุญาตให้ ภิกษุณี แสดงปาติโมกข์แก่ ภิกษุณี ด้วยกัน



         [๕๒๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี ..ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคๆ ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้แสดงปาติโมกข์ แก่ภิกษุณีทั้งหลายลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่าใครหนอ
ควรแสดงปาติโมกข์ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาคๆ..ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแสดงปาติโมกข์ แก่ ภิกษุณี ทั้งหลาย ฯ

         [๕๒๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปถึงสำนักภิกษุณี แล้วแสดงปาติโมกข์ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ประชาชน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จัก อภิรมย์กับภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา อยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏราอนุญาตให้ ภิกษุณี แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี ด้วยกัน ภิกษุณีทั้งหลาย ไม่รู้ว่าจะพึงแสดงปาติโมกข์อย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุบอกภิกษุณี ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงแสดงปาติโมกข์ อย่างนี้



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๑๖

(7)
มาตุคามของบวช พระผู้มีพระภาคไม่อนุญาต นางปชาบดี ร้องให้เสียใจ (โคตรมีสูตร)
(ย่อ)
พระนางมหาปชาบดีขอบวช ถึง 3 ครั้ง พระผู้มีพระภาคไม่อนุญาต จึงเสียใจ ร้องให้ ต่อมา พระอานนท์ ขออนุญาตตามคำขอของนางประชาบดี และ พ. ตรัสห้ามถึง 3 ครั้งเช่นกัน สุดท้ายพระอานนท์อ้างเหตุผลว่า พระนางปชาบดีเคยเลี้ยงดู พ. เป็นผู้มีอุปการะต่อ พ.มาก ความพยายามของพระอานนท์สำเร็จ ทรงอนุญาต แต่มีเงื่อนไขด้วยครุธรรม ๘ ประการ

ต่อมา พ. ตรัสกับอานนท์ ว่า หากมาตุคามไม่ได้บวช พรหมจรรย์ก็ยังจะตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามบวช พรหมจรรย์จะไม่ตั้งอยู่นาน พระสัทธรรมจะดำรงอยู่เพียง ๕๐๐ ปี
(มีภิกษุณีทำให้อายุศาสนาต้องสั้นลง)

     [๑๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวาย บังคมแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคาม พึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพระนางโคตมี อย่าเลย พระนาง อย่าชอบใจการออกบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว ของ มาตุคามเลย

     แม้ครั้งที่ ๒...

     แม้ครั้งที่ ๓ ...

     ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาค ไม่ทรง อนุญาต ให้มาตุคาม ออกบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศ แล้ว เป็นผู้มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์ นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตามพระประสงค์ แล้วเสด็จจาริกไป ทางพระนครเวสาลี เมื่อเสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จไปถึง พระนครเวสาลี ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่กูฏาคาร ศาลาป่า มหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี

      ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงปลงพระเกศาแล้ว ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จไปทางพระนคร เวสาลีพร้อมกับเจ้าหญิงสากิยะหลายพระองค์ เสด็จเข้าไป ยังกูฏาคาร ศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี โดยลำดับ พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทรงมีพระบาทร ะบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์เสียพระทัย มีพระพักตร์ นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแส อยู่ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก

      ท่านพระอานนท์ได้แลเห็น พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ทรงมีพระบาทระบม มีพระกาย เต็มด้วย ละออง มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้นเห็นแล้ว จึงกล่าวความข้อนี้ กะพระนางว่า ดูกรพระนางโคตมี เพราะเหตุ อะไรหนอ พระนางจึงมี พระบาท ระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก

      พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ความจริงก็เป็น เช่นนั้น พระผู้มีพระภาค ไม่ทรง อนุญาตให้มาตุคาม ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ขอเชิญพระนางรออยู่ที่นี้แหละ ตราบเท่าที่อาตมภาพทูลขอ พระผู้มีพระภาค ให้มาตุคาม ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้



(8)

อานนท์ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคาม พึงได้ ออกบวช ทรงอนุญาต แต่ต้องรับทรงรับครุธรรม ๘ ประการ


     ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ  ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วด้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระนาง มหาปชาบดีโคตมีนี้ ทรงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนต รทรงกันแสง ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก เพราะพระผู้มี พระภาค ไม่ทรงอนุญาต ให้มาตุคามออกบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้ออกบวช เป็น บรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อย่าเลยเธออย่าชอบใจให้มาตุคาม ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้วเลย ฯ

     แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
     แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ขอให้มาตุคาม พึงออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรม วินัย ที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อย่าเลย เธออย่าชอบใจให้มาตุคาม ออกบวชเป็น บรรพชิต ในธรรมวินัย ที่ตถาคต ประกาศแล้วเลย ฯ

     ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรง อนุญาต ให้มาตุคาม ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศ แล้ว ผิฉะนั้น เราพึงทูลขอพระผู้มี พระภาคให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว โดยปริยายแม้อื่น ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า

(พระอานนท์พยายามหาช่องทางอื่นเพื่อให้ทรงอนุญาต)

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว ควรจะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ มาตุคามออกบวช เป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรทำให้แจ้งแม้ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลอรหัตผลได้

     อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ที่ พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว ทำให้แจ้งแม้โสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล อรหัตผลได้

(พระอานนท์ พยายามหาเหตุผลต่อไป อ้างถึงพระนางปชาบดีเคยเลี้ยงดู)

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงมีอุปการะมาก เป็นพระ มาตุจฉา ของพระผู้มี พระภาค ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูให้พระผู้มีพระภาค ทรงดื่ม น้ำนม ในเมื่อ พระชนนี ทิวงคตแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ขอให้มาตุคาม พึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศ แล้วเถิด



(9)
ครุธรรม ๘ ประการ
(ย่อ)
ครุธรรม ๘ ประการ สำหรับภิกษุณี
1.แม้บวชมานานนับร้อยปีก็ต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้บวชในวันนั้น
2.ต้องไม่จำพรรษาอยู่ในวัดที่มีภิกษุ
3.ต้องไปถามวันอุโบสถ และ รับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน (ปาติโมกข์)
4.ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายหลังจำพรรษาแล้ว
5.ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่ายเมื่อต้องอาบัติหนัก
6.ต้องเป็นสิกขมานา 2 ปี ก่อนจึงขออุปสมบทในสงฆ์สองฝ่ายได้
7.ต้องไม่บริภาษด่าว่าภิกษุไม่ว่ากรณีใด ๆ
8.จะว่ากล่าวตักเตือนภิกษุไม่ได้ แต่ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนได้ฅ

(สงฆ์ 2 ฝ่ายหมายถึง ภิกษุฝ่ายหนึ่ง ภิกษุณีฝ่ายหนึ่ง)
(สิกขมนา หมายถึงเตรียมตัวก่อนบวช เช่นนุ่งขาว ถืออุโบสถศีล)


         พ. ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงรับครุธรรม ๘ ประการ นั่นแหละ เป็นอุปสมบทของพระนาง คือ

     (๑) ภิกษุณี แม้อุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี พึงทำ การกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น แม้ธรรมข้อนี้ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชาไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ

     (๒) ภิกษุณีไม่พึงเข้าจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้อง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ

     (๓) ภิกษุณีต้องแสวงหา ภิกษุผู้ถามถึงการทำอุโบสถ และการเข้าไปรับโอวาท จาก ภิกษุสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือบูชา ไม่พึง ก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ

     (๔) ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในอุภโตสงฆ์ด้วยฐานะ ๓ ประการ คือ ด้วยได้เห็น ได้ฟัง และรังเกียจ แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วง ตลอดชีวิต ฯ

    (๕) ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้ว พึงประพฤติมานัตปักษ์หนึ่ง ในอุภโตสงฆ์  แม้ธรรม ข้อนี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ

    (๖) ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทา ในอุภโตสงฆ์ เพื่อนางสิกขมานาผู้มีสิกขา อันศึกษาแล้ว ในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วง ตลอดชีวิต ฯ

     (๗) ภิกษุณีต้องไม่ด่า ไม่บริภาษภิกษุโดยปริยายใดๆ แม้ธรรมข้อนี้ภิกษุณีต้อง สักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯ

     (๘) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีว่ากล่าวตักเตือนภิกษุ ไม่ห้ามภิกษุว่ากล่าว ตักเตือน ภิกษุณี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชาไม่พึงก้าว ล่วงตลอดชีวิต

(เมื่อนางปชาบดี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว ถือว่าได้บวชแล้ว )

     ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ นั้นแล เป็นอุปสัมปทาของพระนาง

     ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้ว เข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี แล้วกล่าวข้อความนี้ กะพระนางว่า ดูกรพระนางโคตมี ถ้าแม้พระนางพึงยอมรับครุธรรม ๘ ประการได้นั้นแล เป็นอุป สัมปทาของพระนาง คือ ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกระทำการกราบไหว้ ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯลฯ

      ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีว่า กล่าวตักเตือนภิกษุไม่ห้ามภิกษุว่ากล่าว ตักเตือนภิกษุณี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วง ตลอดชีวิต ดูกรพระนาง โคตมี ถ้าแลพระนาง พึงยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ นั้นแลจักเป็นอุปสัมปทา ของพระนาง

      พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ หญิงหรือชายแรกรุ่น หนุ่มสาว ชอบประดับตกแต่ง อาบน้ำชำระร่างกายแล้ว ได้พวงดอกอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้ว เอามือทั้งสองประคองวางไว้บนศีรษะ ฉันใด ดิฉันก็ยอมรับ ครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ก้าวล่วงตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน

     ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยอมรับครุธรรม ๘ ประการไม่ก้าวล่วง จนตลอดชีวิต



(10)
การมีภิกษุณีในศาสนา จะทำให้พระสัทธรรมมีอายุสั้นลง

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ หากมาตุคามจักไม่ได้ออกบวชเป็น บรรพชิต ในธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศ แล้ว พรหมจรรย์ก็ยังจะตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมพึง ดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคาม ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว พรหมจรรย์จะไม่ตั้งอยู่นาน ทั้งสัทธรรมก็จักดำรงอยู่เพียง ๕๐๐ ปี

      ดูกรอานนท์ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ที่มีหญิงมากชายน้อย ตระกูลนั้น ถูกพวกโจร กำจัดได้ง่าย แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น จักไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน

      อนึ่ง หนอนขยอกลงในนาข้าวที่สมบูรณ์ นาข้าวนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ..เพลี้ยลงในไร่อ้อย ที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด มาตุคามได้ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย ใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน

      อนึ่ง บุรุษกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลออก แม้ฉันใด เราบัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ ไม่ให้ภิกษุณีก้าวล่วง ตลอดชีวิตเสียก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน



(11)
การบวชภิกษุณีในประเทศไทย



บวชภิกษุณีครั้งแรกที่เกาะยอ

เมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 มีงานอุปสมบทภิกษุณีเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เกาะยอ จ.สงขลา พร้อมด้วยการบรรพชาสามเณรีอีก 47 รูป ตามโครงการบรรพชา สามเณรีของ 'ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม'
 
หากนับตามประวัติศาสตร์แล้ว นี่ไม่ใช่การบวชภิกษุณีที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในประเทศไทย หากแต่ครั้งแรกนั้นเคยเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2470 โดยลูกสาว สองคน ของ นายนรินทร์ ภาษิต คือ จงดี วัย 13 ปี และ สาระ วัย 18 ปี ได้บวชเป็น สามเณรี หลังจากนั้นสองปีสามเณรีสาระอายุครบ 20 ปี ได้บวชเป็นภิกษุณี ในกาลต่อมา นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 86 ปีมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการ บวชภิกษุณีที่เกาะยอ ก็มิใช่การบวชภิกษุณีครั้งที่ 2 ในดินแดนสยามประเทศแห่งนี้ หากแต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการอุปสมบทภิกษุณีเกิดขึ้นหลายวาระด้วยกัน เพียงแต่ ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ให้เป็นข่าวเท่านั้นเอง

งานอุปสมบทครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการบวชภิกษุณี อย่างเป็นทางการ มีการเชิญหน่วย งานภาครัฐ ให้เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ ทั้งภาครัฐระดับท้องถิ่นได้แก่ สำนักงาน พระพุทธศาสนา จังหวัดสงขลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนใต้ (ศอบต.) โดยมี ศุภณัฐ สิรันทวิเนติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นราธิวาส มาร่วมเปิดงานในฐานะตัวแทน ศอบต. รวมทั้งภาครัฐจากศูนย์กลาง มีการส่งหนังสือ แจ้งไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็มีคำขอบคุณ จากสำนัก นายกรัฐมนตรีตอบกลับมา อีกทั้ง มีการทำหนังสือขอพระราชทานพระกรุณาจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวัง ก็มีจดหมาย ตอบกลับ มาเช่นกัน นี่จึงไม่ใช่การบวชแบบเงียบๆ แต่เป็นบวชที่เปิดเผยอย่าง เป็นทางการทีเดียว

การอุปสมบทภิกษุณีครั้งนี้เกิดขึ้น ณ เขตพัทธสีมา ของ 'ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม' อันเป็นสำนักภิกษุณีตั้งอยู่ที่เกาะยอ จ.สงขลา มีคณะสงฆ์สองฝ่ายทั้งอุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุ และอุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณีมาร่วมประกอบ พิธี การบวชอย่างถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย

อุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุคือ พระมหาสังฆนายกมหินทวังสะ สังฆราชแห่งนิกาย อมรปุระ จากประเทศศรีลังกา พระกรรมวาจาจารย์ หรือพระคู่สวดได้แก่ ท่านคาลุปาหนะ ปิยรตนะ และ ท่านธลังกาเล สุธรรมะ ทั้งสองท่านมาจากศรีลังกา ในขณะที่ปวัตตินี หรืออุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณี คือ ท่านสุมิตราเถรี จากศรีลังกา ภิกษุณีกรรมวาจาจารย์ ได้แก่ ท่านสุมนปาลี จากศรีลังกา ท่านสันตินี จากอินโดนีเซีย และ ท่านวิธิตาธรรม มาจากเวียดนาม มีพระภิกษุร่วมนั่งหัตถบาส 13 รูป พระภิกษุณี 15 รูป

การบวชเป็นพระภิกษุต้องบวช เป็นสามเณรก่อนฉันใด สุภาพสตรีที่จะบวชเป็น ภิกษุณี ก็ต้องผ่านการบวช เป็นสามเณรีก่อนฉันนั้น สามเณรีคือหญิงผู้ห่มผ้า กาสาวพัสตร์ ถือศีล 10 ข้อเช่นเดียวกับสามเณร เมื่อบวชเป็นสามเณรีแล้ว ก่อนจะบวช เป็นภิกษุณีต้ องถือปฏิบัติเป็นสิกขมานาเป็นเวลา 2 ปี สิกขมานาคือ สามเณรี ผู้ถือศีล 10 แต่ปฏิบัติศีล 6 ข้อแรกอย่างเคร่งครัด เมื่อปฏิบัติเป็นสิกขมานา ครบ 2 ปีแล้วและมีอายุครบ 20 ปีขึ้นไปจึงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี

สำหรับพิธีอุปสมบทภิกษุณี ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยคณะภิกษุณีสงฆ์เข้านั่ง ครบองค์ประชุมในเขตพัทธสีมา มีอุปัชฌาย์ฝ่ายหญิงคือปวัตตินีนั่งเป็นประธาน มีพระกรรมวาจาริณี 3 รูปและพระภิกษุณีร่วมนั่งหัตถบาส 15 รูป จากนั้นสิกขมานา 8 รูป เข้าสู่เขตพัทธสีมา ทำความเคารพปวัตตินีแล้วเริ่มกระบวนการ สอบถาม อันตรายิกธรรม 24 ข้อโดยมีพระกรรมวาจาริณีเป็นผู้สอบถาม

“อันตรายิกธรรม” คือคุณสมบัติของผู้ที่จะบวชภิกษุณีมี 24 ข้อ (พระภิกษุมี 13 ข้อ) การสอบถามอันตรายิกธรรม ของภิกษุณีเป็นที่มาที่ทำให้เกิดการอุปสมบท ในสงฆ์ สองฝ่ายขึ้น กล่าวคือ ในยุคแรกของการบวชภิกษุณีนั้น พระพุทธเจ้ามอบภาระ การบวช ภิกษุณี ให้คณะภิกษุสงฆ์เป็นฝ่ายจัดการทั้งหมด แม้การสอบถาม อันตรายิกธรรม ก็ดำเนินการโดยภิกษุ เมื่อภิกษุเป็นฝ่ายสอบถามอันตรายิกธรรม กับนางสิกขมานาจึงเกิดความขลุกขลัก เพราะคำถามประกอบไปด้วยเรื่องอวัยวะเพศ และรอบเดือนของสตรี เช่นถามว่า ท่านมีรอบเดือนหรือไม่ ท่านมีอวัยวะเพศสมบูรณ์ แบบผู้หญิงหรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้นางสิกขมานา รู้สึกเขินอายที่จะตอบ เพราะผู้ถามเป็นบุรุษเพศ

ในที่สุดพระพุทธเจ้าจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการให้คณะภิกษุณีสงฆ์ เข้ามามีส่วนในการ สอบถามอันตรายิกธรรม ด้วยการจัดให้มีปวัตตินีเป็นอุปัชฌาย์ฝ่ายหญิง และมี กรรมวาจาริณีฝ่ายหญิง เพื่อสอบถามอันตรายิกธรรมกับนางสิกขมานาโดยตรง เมื่อผู้หญิงถามผู้หญิงด้วยกันเอง ก็เกิดความสะดวกใจไม่ต้องเขินอาย สาเหตุที่การ บวชภิกษุณี ต้องบวชกับสงฆ์สองฝ่ายจึงมีด้วยประการฉะนี้

สำหรับการบวชภิกษุณีที่เกิดขึ้น ครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อกรรมวาจาริณีสอบถาม อันตรายิกธรรม จำนวน 24 ข้อ กับนางสิกขมานาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ปิดท้าย ด้วยการ สวดญัตติจตุตถกรรม โดยมีคณะภิกษุณีสงฆ์จำนวน 15 รูปเป็นสักขีพยาน

“ญัตติจตุตถกรรม” คือการสวดคู่โดยพระภิกษุ หรือภิกษุณี ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระกรรมวาจาจารย์ หรือพระกรรมวาจาริณี (หรือที่เรียกว่าพระคู่สวด) เพื่อสวด ขอมติยินยอม ให้ผู้ขอบวชที่อยู่เบื้องหน้าสงฆ์ได้มีสถาน ะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ตามคำขอบวช หลังจากที่กรรมวาจาริณี สวดญัตติจตุตถกรรมจบ ถือว่าสิกขมานาทั้ง 8 รูปสำเร็จเป็นพระภิกษุณีเป็นลำดับแรก แต่ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากต้อง ได้รับ การสวด ญัตติจตุตถกรรม จากฝ่ายภิกษุเป็นลำดับถัดมา

ดังนั้นจากนี้ไปจึงเป็นวาระ ของคณะพระภิกษุสงฆ์เข้าสู่เขตพัทธสีมา โดยคณะภิกษุ นั่งฝั่งตรงข้ามกับคณะภิกษุณี มีพระอุปัชฌาย์ นั่งเป็นประธานตรงกลาง พร้อมด้วย พระกรรมวาจาจารย์ เมื่อนั้นภิกษุณีทั้ง 8 รูปผู้ผ่านการบวชจาก คณะภิกษุณีสงฆ์ เข้าทำความเคารพ พระอุปัชฌาย์ผู้เป็นประธาน จากนั้นพระกรรมวาจาจารย์ฝ่ายภิกษุ ทำการสวด “ญัตติจตุตถกรรม” ให้ภิกษุณีทั้ง 8 เป็นลำดับ มีคณะภิกษุ และภิกษุณี ร่วมนั่งเป็นสักขีพยาน ในเขตสงฆ์

เมื่อพระกรรมวาจาจารย์ ฝ่ายภิกษุสวด “ญัตติจตุตถกรรม” จบ ถือว่าภิกษุณีทั้ง 8 รูปสำเร็จการอุปสมบท เป็นภิกษุณี อย่างสมบูรณ์ด้วยสงฆ์สองฝ่าย ถูกต้องตาม พระธรรมวินัย จากนั้นปิดท้ายด้วย พระอุปัชฌาย์สวดอนุศาสน์ 11 ข้อให้กับนาง ภิกษุณีทั้ง 8 ได้รับฟัง อนุศาสน์ 11 ข้อประกอบด้วย นิสสัย 3 คือ บิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ภิกษุณีไม่ต้องอยู่โคนไม้เป็นวัตร จึงเหลือเพียงนิสสัย 3) พร้อมด้วยอกรณียกิจ 8 ซึ่งมาจากสิกขาบทปาราชิก 8 ข้อของภิกษุณี

ตามธรรมเนียมเมื่อเสร็จพิธี ทั้งภิกษุและภิกษุณีผู้บวชใหม่ ต้องฟังอนุศาสน์จากพระ อุปัชฌาย์ทันที เพื่อภิกษุหรือภิกษุณีผู้บวชใหม่ได้ทราบว่า ตนเองทำอะไรได้ และ ทำอะไรไม่ได้บ้างจะได้ไม่ละเมิดสิกขาบท ด้วยความไม่รู้ ทั้งหมดนี้เป็นพิธีกรรม การบวช ภิกษุณี เกิดขึ้นที่เกาะยอ จ.สงขลา เป็นวาระที่ชาวพุทธพึงอนุโมทนา ที่เมืองไทยมีพุทธบริษัทครบ 4 แล้ว

ที่มา : คมชัดลึก
20 ธันวาคม 2557



'ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม' เกาะยอ จ.สงขลา


(ภาพประกอบจากหลายแหล่ง
)

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

การบวชภิกษุณี ณ ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม เกาะยอ จ.สงขลา

 

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์