เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ปฐมปัณณาสก์ (หมวดธรรม 2 อย่าง ที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน หรือเป็นปฏิปักษ์กัน) 1343
 

(โดยย่อ)

1) โทษที่เป็นไปในปัจจุบัน โทษที่เป็นไปในภพหน้า เป็นไฉน
2) กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมเข้าถึงทุคติ วินิบาต นรก
3) ความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่างเป็นไฉน
4) ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่างเป็นไฉน
5) คุณของธรรม ๒ อย่าง ที่ควรรู้ทั่วถึงเป็นไฉน
6) ความพอใจในธรรม กับ ความหน่ายในธรรม อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
7) ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่าง อหิริกะ อโนตตัปปะ
8) ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่าง หิริ โอตตัปปะ
9) ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ เป็นไฉน (นัยยะ ๑)
10) ปฏิสังขานพละ กับ ภาวนาพละ เป็นไฉน (นัยยะ ๒)
11) ปฏิสังขานพละ กับ ภาวนาพละ เป็นไฉน (นัยยะ ๓)
12) การแสดงธรรมโดยย่อ กับ โดยพิสดาร เป็นไฉน
13) เหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ต้องไปนรก หรือสุคติโลกสวรรค์ หลังกายแตกทำลาย
14) กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ไม่อาจทำได้โดยส่วนเดียว
15) ธรรม ๒ อย่าง บท บทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ดี-ไม่ดี อรรถ ที่นำมาดี-ไม่ดี
16) คนพาล ๒ จำพวก กับ บัณฑิต ๒ จำพวก เป็นไฉน
17) คน ๒ จำพวก กล่าวตู่- ไม่กล่าวตู่ ตถาคต
18) คน ๒ จำพวก กล่าวตู่- ไม่กล่าวตู่ ตถาคต
19) คติ ๒ อย่าง คือ นรก-กำเนิดเดรัจฉาน และ เทวดา มนุษย์( การงานลามก มีมิจฉาทิฐิ ทุศีล)
20) อำนาจประโยชน์
21) ภูมิ อสัตบุรุษ และสัตบุรุษ
22) การตอบแทนบิดามารดา (ให้มี ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปาทา)
23) ว่าด้วย วาทะควรทำ และ วาทะไม่ควรทำ(ควรทำกุศลธรรม คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต)
24) ทักขิไณยบุคคล พระเสขะ - พระอเสขะ
25) บุคคลที่มีสังโยชน์ ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ ในภายนอก
26) เทวดาที่มีจิตเสมอกันเข้าเฝ้า รายงานว่าพระสารีบุตรกำลังแสดงธรรม
27) อะไรเป็นเหตุให้ มนุษย์ เกิดการวิวาทกัน (พราหมณ์ถามท่านพระมหากัจจานะ)
28) สมัยใดโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดิน ย่อมถอยกำลัง
29) ภิกษุผู้ปฏิบัติแล้ว ย่อมห้ามอรรถ และธรรมที่ตนเรียนมาไม่ดี
30) บริษัทตื้น บริษัทลึก เป็นไฉน
31) บริษัทที่แยกออกเป็นพวก กับ บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นไฉน
32) บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล กับ บริษัทที่มีอัครบุคคล เป็นไฉน
33) บริษัทที่มิใช่อริยะ บริษัทที่เป็นอริยะ เป็นไฉน
34) บริษัทหยากเยื่อ กับ บริษัทใสสะอาด เป็นไฉน
35) บริษัทที่ดื้อด้าน กับ บริษัทไม่ดื้อด้าน เป็นไฉน
36) บริษัทที่หนักในอามิส กับ ไม่หนักในสัทธรรม เป็นไฉน
37) บริษัทไม่เรียบร้อย กับ บริษัทเรียบร้อย เป็นไฉน
38) บริษัทที่ไร้ธรรม กับ บริษัทที่ประกอบด้วยธรรม เป็นไฉน
39) อธรรมวาทีบริษัท กับ ธรรมวาทีบริษัท เป็นไฉน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย
ปฐมปัณณาสก์

             [๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ว่า


1)
โทษที่เป็นไปในปัจจุบัน โทษที่เป็นไปในภพหน้า
เป็นไฉน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
โทษ ๒ อย่างนี้โทษ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
  ๑) โทษที่เป็นไป ในปัจจุบัน
  ๒) โทษที่เป็นไป ในภพหน้า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในปัจจุบันเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เห็นโจรผู้ประพฤติ ความชั่ว พระราชาจับได้แล้ว รับสั่งให้ทำกรรมกรณ์ นานาชนิด คือเฆี่ยนด้วยหวายบ้าง เฆี่ยนด้วย เชือกบ้าง ทุบด้วยไม้ตะบองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูก บ้าง ทำให้เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำส้มผะอูมบ้าง ทำให้เลี่ยนเหมือนสังข์บ้าง ทำให้ มีหน้า เหมือนราหูบ้าง ทำให้มีพวงดอกไม้ไฟบ้าง ทำให้มีมือมีไฟลุกโชติ ช่วงบ้าง ทำให้มีเกลียว หนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งผ้าขี้ริ้วบ้าง ทำให้เป็นเลียงผา บ้าง ทำให้มีเนื้อเหมือนเป็ดบ้าง ทำให้เป็น กหาปณะบ้าง ทำให้รับน้ำด่างบ้าง ทำให้หมุนเหมือน กลอนเหล็กบ้าง ทำให้เป็นตั่งทำด้วยฟางบ้าง เอาน้ำมันร้อนๆ ราดบ้าง ให้สุนัข กัดบ้าง แม้ยังมีชีวิตอยู่ก็ให้นอนบนหลาวบ้าง เอาดาบตัดหัว เสียบ้าง เขามีความคิด เห็นเช่นนี้ว่า

             เพราะบาปกรรม เช่นใดเป็นเหตุ โจรผู้ทำความชั่ว จึงถูกพระราชาจับแล้ว ทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ก็ถ้า เรานี้แหละ จะพึงทำบาปกรรมเช่นนั้น ก็พึงถูก พระราชาจับแล้ว ทำกรรมกรณ์นานา ชนิด คือ เอาหวายเฆี่ยนบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ดังนี้ เขากลัวต่อโทษ ที่เป็น ไปในปัจจุบัน ไม่เที่ยวแย่งชิงเครื่องบรรณาการของคนอื่น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน


2)
กายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมเข้าถึงทุคติ วินิบาต นรก

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในภพหน้าเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ สำเหนียก ดังนี้ว่า วิบากอันเลวทรามของ กายทุจริตป็นโทษที่บุคคล จะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบาก อันเลวทรามของ วจีทุจริต เป็นโทษที่บุคคล จะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของ มโนทุจริต เป็นโทษที่บุคคล จะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ

             ก็ถ้าเราจะพึง ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติ ทุจริตด้วยใจ ทุจริตบางข้อนั้น พึงเป็นเหตุให้เรา เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ เขากลัวต่อโทษที่เป็น ไปในภพหน้า จึง
  ๑) ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต
  
๒) ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต
 
 ๓) ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต
  บริหารตน ให้สะอาด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษเป็นไปในภพหน้า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่าเราจักกลัวต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน จักกลัว ต่อโทษเป็นไปในภพหน้า จักเป็นคนขลาด ต่อโทษ มีปรกติเห็นโทษโดย ความเป็น ของน่ากลัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ แล 

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องหลุดพ้นจากโทษทั้งมวล อันบุคคล ผู้ขลาดต่อโทษ มีปรกติเห็นโทษ โดยความเป็นของน่ากลัวจะพึงหวังได้


3)
ความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก
๒ อย่างเป็นไฉน


             [๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่าง
๒ อย่างเป็นไฉน คือ

  ๑) ความเพียรเพื่อทำให้เกิดจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัย เภสัชบริขาร ของคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน (คือการเข้ามาบวชในพระธรรมวินัย)
  ๒) ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิ ทั้งปวง ของผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต (บวชแล้วทำ ความเพียรจนสละคืนอุปธิได้)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา ความเพียร ๒ อย่างนี้ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิ ทั้งปวง เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเริ่มตั้งความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล


4)
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
๒ อย่างเป็นไฉน

             [๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง
๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
   ๑) ทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต
  
 ๒) ทำแตวจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต
  
 ๓) ทำแต มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต

เขาเดือดร้อนอยู่ว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่ วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ทำแต่ มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ความเดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล

             [๒๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำแต่กายสุจริต มิได้ทำกายทุจริต ทำแต่ วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต ทำแต่ มโนสุจริต มิได้ทำมโนทุจริต เขาไม่เดือดร้อน ว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่ วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ทำแต่ มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล


5)
คุณของธรรม ๒ อย่าง
ที่ควรรู้ทั่วถึงเป็นไฉน


             [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง คือ
   ๑) ความเป็น ผู้ไม่สันโดษ ในกุศลธรรม
   ๒) ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเราเริ่มตั้งความเพียร อันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็น และกระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระ จงเหือดแห้ง ไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของ บุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณอันเรานั้น ได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษม จาก โยคะอันยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้ว ด้วยความไม่ ประมาท

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้เธอทั้งหลาย จะพึงเริ่มตั้งความเพียรอัน ไม่ย่อ หย่อน ว่าจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระ จงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผล ที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น ของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียร อันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระ จง เหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความ เพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6)
ความพอใจในธรรม กับ ความหน่ายในธรรม อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์

             [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
๑) ความตามเห็นโดยความพอใจในธรรม อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
๒) ความพิจารณาเห็นด้วยอำนาจ ความหน่ายในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่งสังโยชน์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ตามเห็น โดยความพอใจในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้ ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะ ไม่ได้ เรากล่าวว่า บุคคลยังละราคะไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมไม่พ้นไป จากทุกข์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็น ด้วยอำนาจความหน่าย ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็น ปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะ ได้ ย่อมละ โมหะได้ เรากล่าวว่า บุคคลละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้ว ย่อมพ้น จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล


7)
ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่าง
อหิริกะ อโนตตัปปะ

             [๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ    ๑) อหิริกะ
   ๒) อโนตตัปปะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้แล


8)
ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่าง
หิริ โอตตัปปะ

             [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ
   ๑) หิริ
   ๒) โอตตัปปะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล

             [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง เป็นไฉน คือหิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ถ้าธรรมฝ่าย ขาว ๒ อย่างนี้ ไม่พึงคุ้มครองโลก ใครๆ ในโลกนี้จะไม่พึงบัญญัติ ว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู โลกจักถึงความ สำส่อนกัน เหมือนกับ พวกแพะ พวกแกะ พวกไก่ พวกหมูพวกสุนัขบ้าน และพวก สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ยังคุ้มครองโลก อยู่ ฉะนั้น โลกจึง บัญญัติคำว่ามารดา ว่าน้าว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่า ภรรยา ของครูอยู่

             [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ วัสสูปนายิกาต้น ๑ วัสสูปนายิกาหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒อย่าง นี้แล ฯ

จบกัมมกรณวรรคที่ ๑


9)
ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ เป็นไฉน (นัยยะ ๑)


             [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
   ๑) ปฏิสังขานพละ
 
  ๒) ภาวนา พละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณา ดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้า ทั้งใน ชาตินี้และในภพ เบื้องหน้า วิบากของวจีทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้ และในภพหน้า วิบากของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพหน้า ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ในพละ ๒ อย่างนั้น ภาวนา พละนี้ เป็นพละของพระเสขะ ก็บุคคลนั้นอาศัยพละ ที่เป็นของพระเสขะ ย่อมละ ราคะ ละโทสะ ละโมหะเสียได้เด็ดขาด ครั้นละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้เด็ดขาด แล้ว ย่อมไม่ทำกรรม ที่เป็นอกุศล ย่อมไม่เสพกรรมที่เป็นบาป

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล


10)
ปฏิสังขานพละ กับ ภาวนาพละ เป็นไฉน
(นัยยะ ๒)

             [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
   ๑) ปฏิสังขานพละ
   ๒) ภาวนาพละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้ และในภพเบื้องหน้า วิบาก ของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า ครั้นเขา พิจารณาดังนี้ แล้ว ย่อมละกาย ทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละมโน ทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สติ สัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละย่อมเจริญ ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ ...  ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีตสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...ย่อมเจริญ อุเบกขา สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล


11)
ปฏิสังขานพละ กับ ภาวนาพละ เป็นไฉน
(นัยยะ ๓)

             [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
  ๑) ปฏิสังขาน พละ
  ๒) ภาวนา พละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมพิจารณา ดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพ เบื้องหน้า วิบากของ วจีทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของมโน ทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้ และในภพเบื้องหน้า

             ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละ กายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละ วจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขานพละ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ ทุติยฌาน ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น มีปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญ ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล


12)
การแสดงธรรมโดยย่อ กับ โดยพิสดาร เป็นไฉน


             [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของพระตถาคต ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ

    ๑) โดยย่อ
    
๒) โดยพิสดาร

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของ พระตถาคต ๒ อย่างนี้แล ฯ

             [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุ ผู้เป็นโจทก์ ยังมิได้พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจัก เป็นไป เพื่อความยืดเยื้อ เพื่อการมีวาจาหยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และ ภิกษุทั้งหลาย จักอยู่ไม่ผาสุก

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้ เป็นโจทก์ พิจารณาตน ด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักไม่เป็นไป เพื่อ ความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไป เพื่อการ มีวาจาหยาบ จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเอง ให้ดี อย่างไร คือ ภิกษุผู้ ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า เราแลต้องอาบัติ อันเป็นอกุศล อย่างใด อย่างหนึ่ง ด้วยกายแล้วฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเรา ผู้ต้อง อาบัติอันเป็นอกุศล อย่างใด อย่างหนึ่ง ด้วยกายถ้าเราจะไม่พึงต้องอาบัติ อันเป็น อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย

             ภิกษุนั้นก็จะไม่พึงเห็นเราผู้ต้องอาบัติ อันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยกาย ก็เพราะเหตุ ที่เราต้องอาบัติอันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้องอาบัติ อันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละ ภิกษุนั้นครั้นเห็นเราผู้ต้องอาบัติ อันเป็น อกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ

             ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าว เราผู้มีวาจาไม่ชอบใจ เราผู้มีวาจา ไม่ชอบใจ ถูกภิกษุนั้น ว่ากล่าวแล้ว ย่อมไม่ชอบใจ เมื่อไม่ชอบใจ ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึง ครอบงำ แต่เฉพาะเราคนเดียวเท่านั้น เหมือนกับในเรื่อง สินค้า โทษครอบงำ ผู้จำต้อง เสียภาษี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตน ด้วยตนเอง ให้ดี ด้วยประการฉะนี้แล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ภิกษุนี้แลต้องอาบัติ อันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติ อันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย

             ถ้าภิกษุนี้จะไม่พึงต้องอาบัติอันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย เราจะไม่พึงเห็น ภิกษุนี้ ต้องอาบัติ อันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย แต่เพราะ เหตุภิกษุนี้ต้องอาบัติ อันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยกายเรา จึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติ อันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย

             ก็แหละเราครั้นได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยกายแล้ว เป็นผู้ ไม่ชอบใจ เราเมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้ผู้มีวาจา ไม่ชอบใจ ภิกษุนี้มีวาจา ไม่ชอบใจ เมื่อถูกเราว่ากล่าวอยู่ เป็นผู้ไม่ชอบใจ เมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำ แต่เฉพาะเราคนเดียวเท่านั้นเหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษี ฉะนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ผู้เป็นโจทก์ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุ ผู้เป็นโจทก์ ยังไม่ได้พิจารณา ตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จักเป็น ไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความมีวาจา หยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และ ภิกษุทั้งหลาย จักอยู่ไม่ผาสุก ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และ ภิกษุผู้เป็น โจทก์ พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวัง ได้ว่า จักไม่เป็นไปเพื่อ ความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไปเพื่อความมีวาจาหยาบคาย จักไม่เป็นไป เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก ฯ

             [๒๖๒] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติ ไม่สม่ำเสมอ คือ ประพฤติเป็นอธรรม สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก ฯ

             พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

             ภ. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำเสมอ คือ ประพฤติเป็น ธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน หงาย ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่อง ประทีป ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงท่าน พระโคดม กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


13)
เหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ต้องไปนรก หรือสุคติโลกสวรรค์ หลังกายแตกทำลาย



             [๒๖๓] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชานุสโสณี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

             
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่ กระทำด้วย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ

             ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

             พ. ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

             ชา. ข้าพระองค์ย่อม ไม่รู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิต ที่ท่านพระโคดม ตรัสแล้ว โดยย่อได้โดยพิสดาร ขอประทานพระวโรกาส ขอท่านพระโคดมจงทรง แสดงธรรม โดยที่ ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความ แห่งภาษิตที่ท่านพระโคดม ตรัสแล้ว โดยย่อได้โดยพิสดา รเถิด

             พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว พราหมณ์ชานุสโสณี ได้ทูลสนองพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ ตรัสพระพุทธวจนะดังนี้ว่า

             ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่ กายทุจริต มิได้ทำ กายสุจริต ย่อมทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริตย่อมทำ แต่ มโนทุจริต มิได้ทำ มโนสุจริต ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำ ด้วย สัตว์ บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก

             ดูกรพราหมณ์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายสุจริต มิได้ทำ กายทุจริต ย่อมทำ แต่วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต ย่อมทำแต่มโนสุจริต มิได้ทำมโน ทุจริต ดูกรพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

             ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีป ในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้ง พระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน พระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป


14)
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ไม่อาจทำได้โดยส่วนเดียว


             [๒๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เรากล่าวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นกิจ ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นกิจ ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอะไรอันผู้นั้น พึงหวังได้

             พ. ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรา กล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ
   ๑. แม้ตนก็ ติเตียนตนเองได้
   ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ย่อมติเตียนได้
   ๓. กิตติศัพท์ชั่ว ย่อมกระฉ่อนไป
   ๔. เป็นคนหลง ทำกาละ
   ๕. เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

             ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรากล่าวว่า เป็นกิจไม่ควรทำ โดย ส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ ดูกรอานนท์ เรากล่าว กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว

             อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อะไรอันผู้นั้น พึงหวังได้ ฯ

             พ. ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่า เป็น กิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้ อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ ๑. แม้ตนก็ ติเตียนตนเอง ไม่ได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ ๓. กิตติศัพท์อันดีย่อม กระฉ่อนไป ๔. ไม่เป็นคน หลง ทำกาละ ๕. เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

             ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่า เป็นกิจ ควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้

             [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล อกุศลอันบุคคล อาจละได้ ถ้าบุคคลไม่อาจละอกุศลได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละ อกุศล ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลอาจละได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอกุศลนี้อันบุคคลละได้แล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละอกุศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลละได้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงยังกุศล ให้เกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลอันบุคคลอาจให้เกิดได้ ถ้าบุคคลไม่อาจให้เกิดได้เราไม่พึง กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะกุศล อันบุคคลอาจให้เกิดได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าว อย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงยังกุศลให้เกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุศลนี้อันบุคคลให้เกิดแล้ว จะพึงเป็น ไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงยังกุศลให้เกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะกุศลอันบุคคล ให้เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด


15)
ธรรม ๒
อย่าง บท บทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ดี-ไม่ดี อรรถ ที่นำมาดี-ไม่ดี


             [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ฟั่นเฟือน เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
  ๑) บทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ไม่ดี
  ๒) อรรถ ที่นำมาไม่ดี
แม้เนื้อความ แห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เลือนหายแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหาย แห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
  ๑) บทพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ดี
  ๒) อรรถที่นำมาดี
แม้เนื้อความ แห่ง บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

จบอธิกรณวรรคที่ ๒


16)
คนพาล ๒ จำพวก กับ บัณฑิต ๒ จำพวก
เป็นไฉน

             [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
   ๑) คนที่ไม่เห็นโทษ โดยความเป็นโทษ
   ๒) คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ
   ๑) คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
   ๒) คนที่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล


17)
คน ๒ จำพวก กล่าวตู่- ไม่กล่าวตู่ ตถาคต


             [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ ตถาคต
๒ จำพวก เป็นไฉน คือ   ๑) คนเจ้าโทสะ ซึ่งมีโทษอยู่ภายใน   ๒) คนที่เชื่อ โดยถือผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต

             [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑) คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคต ได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๒) คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่ กล่าวตู่ ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ๑) คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่าตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๒) คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต


18)
คน ๒ จำพวก กล่าวตู่- ไม่กล่าวตู่ ตถาคต


             [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

๑) คนที่แสดงพระสุตตันตะ ที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะ มีอรรถนำไปแล้ว
๒) คนที่แสดงพระสุตตันตะ ที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะ มีอรรถที่จะพึง นำไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่ กล่าวตู่ ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑) คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป
๒) คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถ อันนำไปแล้ว ว่า พระสุตตันตะ มีอรรถอัน นำไปแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ ตถาคต


19)
คติ ๒ อย่าง คือ นรก-กำเนิดเดรัจฉาน และ เทวดา มนุษย์

(สำหรับผู้มีการงานลามก มีมิจฉาทิฐิ ทุศีล)


             [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อย่างใด อย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานลามกพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือเทวดา หรือมนุษย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานไม่ลามกพึงหวังได้

             [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนมิจฉาทิฐิพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒อย่าง คือ เทวดา หรือ มนุษย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนสัมมาทิฐิพึงหวังได้

             [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับ คนทุศีล มี ๒ อย่าง คือนรก หรือ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับ คนมีศีล ๒ อย่างคือ มนุษย์ หรือ เทวดา


20)
อำนาจประโยชน์

             [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพ เสนา สนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เห็นการอยู่ สบายในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นอำนาจ ประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว

             [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชาธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้

             [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นหรือ ปัญญา ที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอก ราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ

จบพาลวรรคที่ ๓


21)
ภูมิ อสัตบุรุษ และสัตบุรุษ


             [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษ และสัตบุรุษแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้นทูลรับ พระดำรัส พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อม เป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคน อกตัญญูอกต เวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน อกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษ ทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน สัตบุรุษ ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคน กตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน กตัญญูกตเวที ทั้งหมดนี้ เป็นภูมิสัตบุรุษ


22)
การตอบแทนบิดามารดา
(ให้มี ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปาทา)

             [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย แก่ท่าน ทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึง ประคับ ประคองมารดา ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และ ท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บนบ่าทั้งสอง ของเขานั่นแหละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้ว แก่ มารดาบิดาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลายอนึ่ง บุตรพึงสถาปนา มารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็น อิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการ มากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือ ทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดาเลย

             ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลก นี้ แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่น ในศรัทธาสัมปทา ยังมารดา บิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดา บิดา ผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่น ในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่น ในปัญญาสัมปทา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อม ชื่อว่า อันบุตรนั้น ทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา


23)
ว่าด้วย วาทะควรทำ และ วาทะไม่ควรทำ

(ควรทำกุศลธรรม คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต)


             [๒๗๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับ พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมมีวาทะ ว่าอย่างไร กล่าวว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์เรามีวาทะ ว่าควรทำ และมีวาทะ ว่าไม่ควรทำ

             พ. ท่านพระโคดม มีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำอย่างไร ฯ
ภ. ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวว่า ไม่ควรทำอกุศลธรรม อันลามกหลายอย่าง

             และเรากล่าวว่า ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เรากล่าวว่า ควรทำ กุศลธรรม หลายอย่าง ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวว่าควรทำ และกล่าวว่าไม่ควรทำ อย่างนี้แล

             พ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ... ขอท่าน พระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป


24)
ทักขิไณยบุคคล
พระเสขะ - พระอเสขะ

(อเสขะ เป็นผู้ตรงทั้งทางกายวาจาและทางใจ เป็นไกลจากกิเลส)

             [๒๘๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถาม พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมี ทักขิไณยบุคคล กี่จำพวก และควรให้ทาน ในเขตไหน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

             ดูกรคฤหบดีในโลก มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑ ดูกรคฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทาน ในเขตนี้

             ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า "ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะ และอเสขะเหล่านั้น เป็นผู้ตรง ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายก ผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้ว ในเขตนี้มีผลมาก"


25)
บุคคลที่มีสังโยชน์ ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ ในภายนอก

             [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่ปราสาท ของนาง วิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียก ภิกษุทั้งหลายมาว่า

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่าน พระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคล ที่มีสังโยชน์ ในภายใน และบุคคล ที่มีสังโยชน์ ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ มีสังโยชน์ในภายใน เป็นไฉน ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และ โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษ เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติ จากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้มี สังโยชน์ ในภายใน เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ มีสังโยชน์ ในภายนอก เป็นไฉน ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระ และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่ เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับ มาสู่ ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วใน ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ

             ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติ จากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้


26)
เทวดาที่มีจิตเสมอกันเข้าเฝ้า

รายงานว่าพระสารีบุตรกำลังแสดงธรรม

             ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่น กำลังเทศนา ถึงบุคคล ที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาท ของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาค จงทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจ นถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาค ทรงรับคำ อาราธนาด้วยดุษณีภาพ

             ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงหายจากพระเชตวันวิหาร ไปปรากฏ เฉพาะหน้า ท่านพระสารีบุตร ที่ปราสาทของนาง วิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง บนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตร ก็ได้ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่าน พระสารีบุตรว่า

             ดูกรสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์ เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนา ถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มี สังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตร จนถึงที่อยู่เถิด

             ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์ บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน (เทวดามารวมตัวแบบแออัดยัดเยียด แต่ไม่เบียดกัน พระสารีบุตร ไม่มีทิพย์จักษุ จึงมองไม่เห็น)

             ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดาเหล่านั้น ยืนอยู่ได้ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิต อันเทวดาเหล่านั้น อบรมแล้วในภพนั้น แน่นอน ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้

             ดูกรสารีบุตรก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้น ยืนอยู่ได้ ในโอกาส แม้เท่า ปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกัน และกัน เทวดาเหล่านั้น ได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้ มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษา เช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้นแหละ

             สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิต ที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไป ในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว


27)
อะไรเป็นเหตุให้ มนุษย์ เกิดการวิวาทกัน (พราหมณ์ถามท่านพระมหากัจจานะ)

             [๒๘๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ กัททมทหะ ใกล้ พระนครวรรณะ ครั้งนั้นแล พราหมณ์อารามทัณฑะ ได้เข้าไปหาท่านพระมหา กัจจานะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

             ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านกัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน ท่านมหากัจจานะตอบว่า

             ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุเวียนเข้าไปหา กามราคะ ตกอยู่ในอำนาจ กามราคะ กำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะท่วมทับ แม้กษัตริย์ กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน

             อา. ดูกรท่านกัจจานะ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้สมณะ กับ สมณะ วิวาทกัน

             มหา. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุเวียนเข้าไปหา ทิฐิราคะ ตกอยู่ในอำนาจ ทิฐิราคะ กำหนัดยินดีในทิฐิราคะ ถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฐิราคะท่วมทับ แม้สมณะกับสมณะก็วิวาทกัน

             อา. ดูกรท่านกัจจานะ ก็ในโลก ยังจะมีใครบ้างไหม ที่ก้าวล่วงการ
เวียน เข้าไปหากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้ และก้าวล่วงการเวียน เข้าไป หาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะ กลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้เสียได้

             มหา. ดูกรพราหมณ์ ในโลก มีท่านที่ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะ ท่วมทับนี้เสียได้ และก้าวล่วงความเวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้

             อา. ดูกรท่านกัจจานะ ใครในโลก เป็นผู้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหา กามราคะ ... และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้
(คำถามนี้ ท่านกัจจานะชี้ไปที่ พระผู้มีพระภาค)

             มหา. ดูกรพราหมณ์ ในชนบทด้านทิศบูรพา มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีณ พระนครสาวัตถีนั้น ทุกวันนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กำลังประทับอยู่ ดูกรพราหมณ์ ก็ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ทรงก้าวล่วง การเวียน เข้าไปหากามราคะ ... และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย

             เมื่อท่านพระมหากัจจานะ ตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะ ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกมณฑลเข่าข้างขวาลง บนแผ่นดิน ประนมอัญชลี ไปทางที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่แล้วเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ผู้ก้าวล่วง การเวียน เข้าไปหากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัด ยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะ ท่วมทับนี้แล้ว กับทั้ง ได้ ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัด ยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย

             ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนักข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิต ของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านกัจจานะ ประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน บุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีป ในที่มืด ด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจานะ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระโคดม ผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะ จงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป

             [๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน ใกล้เมืองมธุรา ครั้งนั้นแล พราหมณ์กัณฑรายน ะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย กับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

             ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านกัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาดังนี้ว่า ท่านสมณะ กัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ ที่ชราแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือ เชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูกรท่านกัจจานะ ข่าวที่ได้ฟังมานั้นจริงแท้ เพราะท่าน กัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ ที่ชราแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือ เชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูกรท่านกัจจานะ การกระทำเช่นนี้นั้นเป็นการ ไม่สมควรแท้

             ท่านมหากัจจานะตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ภูมิคนแก่ และภูมิเด็ก ที่พระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็น พระองค์นั้น ตรัสไว้มีอยู่ ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้จะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่กำเนิดก็ดี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ในท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตก เคี้ยวกินอยู่ ยังเป็นผู้ขวนขวาย เพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่า เป็นพาล ไม่ใช่เถระโดยแท้

             ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็ก ยังเป็นหนุ่มมีผมดำสนิท ประกอบด้วย ความเป็นหนุ่มอันเจริญ ยังตั้งอยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลาง กาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ไม่ถูกกามวิตกเคี้ยวกิน ไม่ขวนขวาย เพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นบัณฑิต เป็นเถระแน่แท้ทีเดียวแล

             ทราบว่า เมื่อท่านพระมหากัจจานะ กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ กัณฑรายนะ ได้ลุกจากที่นั่งแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าของภิกษุที่หนุ่ม ด้วยเศียรเกล้ากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าแก่ ตั้งอยู่แล้วในภูมิคนแก่ เรายังเด็ก ตั้งอยู่ใน ภูมิเด็ก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก

             ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านพระกัจจานะประกาศ ธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีป ในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ ท่านกัจจานะข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


28)
สมัยใดโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดิน ย่อมถอยกำลัง
สมัยใดพวกภิกษุ เลวทรามมีกำลัง ภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง



             [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดิน ย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดิน ย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบท ชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์ และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไปหรือ เพื่อตรวจตราการงานภายนอก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใดพวกภิกษุ เลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก ย่อมถอยกำลัง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบ ทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์ แก่ชน เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พระเจ้าแผ่นดินมีกำลัง สมัยนั้น พวกโจรย่อม ถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดิน ย่อมสะดวกที่จะเสด็จ ผ่านไป เสด็จออกไป หรือที่จะออกคำสั่ง ไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์ และคฤหบดีย่อมสะดวกที่จะไป ออกไป หรือตรวจการงานภายนอก

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก มีกำลังสมัยนั้น พวกภิกษุที่เลวทราม ย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พวกภิกษุที่เลวทราม เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือออกไปทางใดทางหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของชนมากเพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

             [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ปฏิบัต ิผิดแล้ว ย่อมไม่ยังกุศลธรรม ที่นำออกให้สำเร็จก็ได้ เพราะการปฏิบัติผิด เป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญความปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้วย่อมยังกุศลธรรม ที่นำออกให้สำเร็จได้ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ


29)
ภิกษุผู้ปฏิบัติแล้ว ย่อมห้ามอรรถและธรรมที่ตนเรียนมาไม่ดี
ย่อมอนุโลม อรรถและธรรม ที่เรียนมาดี


            [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถ และธรรมโดยสูตร ซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้ว เพื่อมิใช่ประโยชน์ ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะประสพ บาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ ให้อันตรธานไปอีกด้วย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตน เรียนไว้ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้ว เพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญ เป็นอันมาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย

จบสมจิตตวรรคที่ ๔


30)
บริษัทตื้น บริษัทลึก เป็นไฉน


            [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทตื้น ๑ บริษัทลึก ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทตื้นเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใด ในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุฟุ้งซ่านเชิดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้าพูดจาอื้อฉาว หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวม อินทรีย์ บริษัทเช่นนี้เรียกว่าบริษัทตื้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทลึกเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดใน ธรรมวินัยนี้ มีภิกษุไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เชิดตัว มีจิตไม่กวัด แกว่ง ปากไม่กล้า ไม่พูดจา อื้อฉาว ดำรงสติมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มีจิตเป็น เอกัคคตา สำรวมอินทรีย์ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทลึก

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ


31)
บริษัทที่แยกออกเป็นพวก กับ บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นไฉน

             [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่แยกออกเป็นพวก ๑ บริษัทที่สามัคคีกัน ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่แยกออกเป็นพวกเป็นไฉน
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุหมายมั่นทะเลาะวิวาท กัน ต่างเอาหอก คือปากทิ่มแทงกัน และกันอยู่ บริษัทเช่นนี้เรียกว่า บริษัทที่แยกกัน เป็นพวก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่สามัคคี กันเป็นไฉน
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกัน ด้วยนัยน์ตา เป็นที่รักอยู่บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่สามัคคีกัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่สามัคคีกันเป็นเลิศ


32)
บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล กับ บริษัทที่มีอัครบุคคล เป็นไฉน

             [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล ๑ บริษัทที่มีอัครบุคคล ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ไม่มี อัครบุคคลเป็นไฉน             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคนมักมาก เป็นคนย่อหย่อน เป็นหัวหน้า ในการก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้ง ธุระในปวิเวก ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภายหลัง ต่างถือเอาภิกษุเถระเหล่านั้น เป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวไป สู่ ทางต่ำ ทอดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทไม่มีอัครบุคคล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นไฉน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดใน ธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคนไม่มัก มาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ างต่ำ เป็นหัวหน้าในปวิเวก ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภายหลังต่าง ถือเอาภิกษุเถระเหล่านั้น เป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการ ก้าวไป สู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้าในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทมีอัครบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นเลิศ


33)
บริษัทที่มิใช่อริยะ บริษัทที่เป็นอริยะ เป็นไฉน


             [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่มิใช่อริยะ ๑ บริษัทที่เป็นอริยะ ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มิใช่อริยะ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่มิใช่อริยะ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่เป็นอริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทที่เป็นอริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะเป็นเลิศ


34)
บริษัทหยากเยื่อ กับ บริษัทใสสะอาด เป็นไฉน


             [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทหยากเยื่อ ๑ บริษัทใสสะอาด ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทหยากเยื่อ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทหยากเยื่อ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทใสสะอาดเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทใสสะอาด
             ดูกรภิกษุทั้งหลายบริษัท ๒ จำพวกนี้แล
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทใสสะอาดเป็นเลิศ


35)
บริษัทที่ดื้อด้าน กับ บริษัทไม่ดื้อด้าน เป็นไฉน


             [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
   ๑) บริษัท ที่ดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ
   
๒) บริษัท ที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลง สดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

             อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่น กล่าว พระสูตร ที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีใน ภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้ เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้ อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผย อรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และ ไม่บรรเทาความ สงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความ สงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ เรียกว่า บริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการ สอบถามแนะนำ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตร ที่กวีรจนาไว้เป็น คำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟัง ด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

             อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุต ด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และ ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้ อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยอรรถ ที่ลี้ลับ ทำอรรถ ที่ลึกซึ้งให้ตื้น และ บรรเทา ความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ สงสัยหลาย อย่างเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถาม แนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ


36)
บริษัทที่หนักในอามิส กับ ไม่หนักในสัทธรรม เป็นไฉน


             [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ๑ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักใน อามิส ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรมเป็นไฉน ภิกษุบริษัทใด ในธรรมวินัยนี้ ต่างสรรเสริญคุณของกัน และกันต่อหน้าคฤหัสถ์ ผู้นุ่งห่ม ผ้าขาวว่า ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุตรูปโน้น เป็นกายสักขี รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธรรมานุสารี รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้นทุศีล มีธรรมเลวทราม เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น

             ครั้นได้แล้ว ต่างก็กำหนัดยินดี หมกมุ่น ไม่เห็นโทษ ไร้ปัญญาเป็นเหตุ ออกไปจากภพบริโภคอยู่

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้หนักในอามิส ไม่หนักใน สัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ต่างไม่พูดสรรเสริญคุณ ของกันและกัน ต่อหน้า คฤหัสถ์ ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า

             ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็น กายสักขี รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธรรมานุสารี เป็น สัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม เธอต่างได้ลาภ ด้วยเหตุนั้น ครั้นได้แล้วก็ไม่กำหนัด ไม่ยินดีไม่หมกมุ่น มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเหตุ ออกไปจากภพบริโภคอยู่

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักใน อามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นเลิศ


37)
บริษัทไม่เรียบร้อย กับ บริษัทเรียบร้อย เป็นไฉน


             [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทไม่เรียบร้อย ๑ บริษัทเรียบร้อย ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทไม่เรียบร้อย เป็นไฉน ในบริษัทใดในธรรม วินัยนี้ กรรมฝ่ายอธรรมเป็นไป กรรมฝ่ายธรรมไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมฝ่ายอธรรมรุ่งเรือง กรรมฝ่าย ธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทไม่เรียบร้อย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะบริษัทเป็นผู้ไม่เรียบร้อย กรรมฝ่ายอธรรมจึงเป็น ไป กรรมฝ่ายธรรมจึงไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยจึงไม่เป็น ไป กรรมฝ่ายอธรรมจึงรุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรม จึงไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึง รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยจึงไม่รุ่งเรือง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทเรียบร้อยเป็นไฉน ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมฝ่ายธรรมเป็นไป กรรมฝ่ายอธรรมไม่เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่ เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมฝ่ายธรรมรุ่งเรือง กรรมฝ่ายอธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัย รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทเรียบร้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะบริษัทเรียบร้อย กรรมฝ่ายธรรมจึงเป็นไป กรรมฝ่ายอธรรมจึงไม่เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยจึงเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงไม่เป็นไป กรรมฝ่ายธรรมจึงรุ่งเรือง กรรมฝ่ายอธรรมจึงไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยจึงรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัย จึงไม่รุ่งเรือง

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ


38)
บริษัทที่ไร้ธรรม กับ บริษัทที่ประกอบด้วยธรรม เป็นไฉน


             [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉนคือ บริษัทที่ไร้ธรรม ๑ บริษัทที่ประกอบด้วยธรรม ๑ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลายบริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ประกอบด้วย ธรรมเป็นเลิศ


39)
อธรรมวาทีบริษัท กับ ธรรมวาทีบริษัท เป็นไฉน

             [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉนคือ
  ๑) อธรรมวาทีบริษัท
  ๒) ธรรมวาทีบริษัท

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธรรมวาทีบริษัท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึดถืออธิกรณ์ เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ก็ตาม

             ภิกษุเหล่านั้น ครั้นยึดถืออธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ยังกันและกันให้ยินยอม ไม่เข้าถึงความตกลงกัน ไม่ยังกันและกันให้เพ่งโทษตน และไม่เข้าถึงการ เพ่งโทษตน ภิกษุเหล่านั้นมีการไม่ตกลงกันเป็นกำลัง มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นกำลัง คิดไม่สละคืน ยึดมั่นอธิกรณ์นั้นแหละด้วยกำลัง ด้วยการลูบคลำ แล้วกล่าวว่า "คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า" ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า "อธรรมวาทีบริษัท"

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมวาทีบริษัทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึดถืออธิกรณ์ เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม ก็ตาม ภิกษุเหล่านั้น ครั้นยึดถืออธิกรณ์นั้นแล้ว ยังกันและกันให้ยินยอม เข้าถึงความ ตกลงกัน ยังกันและกันให้เพ่งโทษ เข้าถึงการเพ่งโทษตน ภิกษุเหล่านั้น มีความ ตกลงกันเป็นกำลัง มีการเพ่งโทษตนเป็นกำลัง คิดสละคืน ไม่ยึดมั่นอธิกรณ์นั้น ด้วยกำลัง ด้วยการลูบคลำ แล้วกล่าวว่า "คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า"ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า "ธรรมวาทีบริษัท"

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ ธรรมวาทีบริษัทเป็นเลิศ

จบปริสวรรคที่ ๕
จบปฐมปัณณาสก์






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์