เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ฉฬาภิชาติยสูตร : ปูรณกัสสป บัญญัติชาติ ๖ ประการ 1344
 

(โดยย่อ)

ปูรณกัสสป บัญญัติชาติ ๖ ประการคือ บัญญัติชาติดำ ชาติเขียว ชาติแดง ชาติเหลือง ชาติขาว ชาติขาวจัด .. บัญญัติว่า คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร เพชฌฆาต คนที่ทำงานหยาบช้า ว่าเป็นชาติดำ
คำสอนของพระศาสดา
1. เป็นผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ (คนชั้นต่ำประพฤติชั่ว)
2. บางคนมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว (คนชั้นต่ำประพฤติดี)
3. บางคนมีชาติดำ บรรลุ นิพพาน ที่ไม่ดำไม่ขาว
(คนชั้นต่ำออกบวช ละนิวรณ์๕ หลุดพ้น)
4. บางคน มีชาติขาวประพฤติธรรมดำ
(สกุลสูง แต่พระพฤติชั่ว ทางกาย วาจา ใจ)
5. บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว (สกุลสูง ประพฤติดีประพฤติชอบ)
6. บางคนมีชาติขาว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว (สกุลสูง ออกบวช ละนิวรณ์๕ หลุดพ้น)


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๔๕

๓. ฉฬาภิชาติยสูตร

             [๓๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุง ราชคฤห์ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสป บัญญัติชาติ ๖ ประการคือ บัญญัติ ชาติดำชาติเขียวชาติแดง ชาติเหลืองชาติขาวชาติขาวจัด

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติ คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่านก พรานเนื้อ ชาวประมงโจร เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำ ก็หรือคนที่ทำงานหยาบช้า อื่นใด ว่าเป็นชาติดำ บัญญัติ พวกภิกษุ พวกผู้เชื่อไป ในฝ่ายดำ หรือพวก กรรมวาท กิริยาวาทอื่นใด ว่าเป็น ชาติเขียว บัญญัติ พวกนิครนถ์ ใช้ผ้าผืน เดียวว่าเป็นชาติแดง บัญญัติคฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้าขาว สาวกของอเจลก (นักบวชเปลือยกาย) ว่าเป็นชาติเหลือง บัญญัติ อาชีวก อาชีวิกา ว่าเป็นชาติขาว บัญญัติเจ้าลัทธิชื่อนันท วัจฉโคตร ชื่อกัจจสังกิจจ โคตร มักขลิโคสาล ว่าเป็นชาติขาว จัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติ ชาติ ๖ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า

        ดูกรอานนท์ การที่ปูรณกัสสปบัญญัติชาติ ๖ นี้นั้น โลกทั้งปวงเห็นด้วย หรือ

อา. หามิได้ พระเจ้าข้า

พ. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนคนทั้งหลาย บังคับให้บุรุษผู้ยากจน ขัดสน เข็ญใจ ผู้ไม่ปรารถนา ให้รับส่วนเนื้อว่า

ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านพึงกินเนื้อนี้ และต้องใช้ราคาเนื้อฉันใด ปูรณกัสสป ก็ฉันนั้น เหมือนกัน บัญญัติชาติ ๖ แห่งสมณพราหมณ์ เหล่านั้น โดยที่โลกไม่รับรอง เหมือน ดังคนพาลไม่เฉียบแหลม ไม่รู้เขตบัญญัติ ไม่ฉลาด

        ดูกรอานนท์ ก็เราแลจะบัญญัติชาติ ๖ ประการเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรอานนท์ ก็ชาติ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
  ๑)เป็นผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ
  ๒) บางคนมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว
  ๓) บางคนมีชาติดำ บรรลุ นิพพาน ที่ไม่ดำไม่ขาว
  ๔) บางคน มีชาติขาวประพฤติธรรมดำ
  ๕) บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว
  ๖) บางคนมีชาติขาว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว

     ดูกรอานนท์ (๑) ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลพรานป่า สกุลช่าง จักสาน สกุลทำรถ สกุลเทหยักเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง ได้อาหาร และ เครื่องนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอก เป็นอัมพาต ไม่ได้ข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่เครื่อง ประทีป เขายังประพฤติ ทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึ งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ อย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ (๒) ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมขาวเป็นอย่างไร คือ บุคคล บางคน ในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลพรานป่า สกุลช่าง จักสาน สกุลทำรถสกุล เทหยักเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย เป็นผู้ฝืดเคือง ได้อาหารและ เครื่องนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณ ทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อยกระจอก เป็นอัมพาตไม่ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป แต่เขา ประพฤติ สุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว อย่างนี้แล

ดูกรอานนท์ (๓) ก็บุคคลผู้มีชาติดำ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไร คือบุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ ฯลฯ มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคน แคระ เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้ว อย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ ทุรพล เป็นผู้มี จิตตั้งอยู่ ด้วยดีในสติปัฏฐานทั้ง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง แล้วได้ บรรลุนิพพาน อันไม่ดำไม่ขาว ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติดำบรรลุนิพพาน อันไม่ดำ ไม่ขาว อย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ (๔) ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมดำเป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมเกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์ มหาศาล สกุลคฤหบดีมหาศาล ซึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากมีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์ เครื่องปลื้มใจ มากมีทรัพย์ คือ ข้าวเปลือกมาก และเขาผู้นั้นเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วย ผิวพรรณ งามยิ่ง ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่อยู่ เครื่องประทีป เขาประพฤติ ทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก ดูกรอานนท์ บุคคลมี ชาติขาว ประพฤติธรรมดำ อย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ (๕) ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคล บางคนในโลกนี้ เกิดในสกุลสูง ฯลฯ เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้น ประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ ดูกรอานนท์ บุคคลมี ชาติขาว ประพฤติธรรมขาวอย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ (๖) ก็บุคคลผู้มีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไร คือบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดใน สกุลสูง ฯลฯ เขาปลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็น เครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดีใน สติปัฏฐานทั้ง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง แล้วได้บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำ ไม่ขาวอย่างนี้แล
ดูกรอานนท์ ชาติ ๖ นี้แล






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์