เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 กายสูตร ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย เป็นไฉน 1345
 

(โดยย่อ)

กายสูตร
1.ก็ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจาเป็นไฉน
2.ก็ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายเป็นไฉน
3.ก็ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจา ไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญา แล้วจึงละได้ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความริษยา อันชั่วช้าเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความปรารถนา อันชั่วช้าเป็นไฉน



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๗

กายสูตร


           [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
  ๑) ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจามีอยู่
  ๒) ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายมีอยู่
  ๓) ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยกาย ไม่ได้ด้วยวาจา ไม่ได้พึงเห็นชัดด้วยปัญญา แล้วจึงละได้มีอยู่

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจาเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องส่วนอาบัติไรๆ อันเป็นอกุศล ด้วยกาย เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้มีอายุ เป็นผู้ต้องแล้ว ซึ่งส่วนอาบัติไรๆ อันเป็นอกุศลด้วยกาย เป็นการดีหนอ ที่ท่านผู้มีอายุ จงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ภิกษุนั้นอัน เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้วกล่าวอยู่ ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าอันบุคคลพึงละด้วยกาย ไม่ใช่ด้วยวาจา

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องส่วนอาบัติไรๆ อันเป็นอกุศล ด้วยวาจา เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เป็นผู้ต้องแล้วซึ่งส่วนอาบัติไรๆ อันเป็นอกุศลด้วยวาจา เป็นการดีหนอ ที่ท่านผู้มีอายุจงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ภิกษุนั้นอันเพื่อน พรหมจารีทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ ละวจีทุจริตบำเพ็ญ วจีสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าอันบุคคลพึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันบุคคล พึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจา ไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญา แล้วจึงละได้ เป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลภะอันบุคคล พึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญา แล้วจึงละได้โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ...มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริษยาอันชั่วช้า อันบุคคล พึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัด ด้วยปัญญาแล้วจึงละได้

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความริษยา อันชั่วช้าเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลายคฤหบดี หรือบุตรแห่งคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง ทาส หรือคนเข้าไปอาศัยของคฤหบดี หรือบุตรแห่ง คฤหบดีผู้ใดผู้หนึ่งย่อมคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดีนี้ ไม่พึงสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทอง อนึ่ง สมณะ หรือพราหมณ์ เป็นผู้ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช บริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ ไม่พึงได้ จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็น ปัจจัย แก่คนไข้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความริษยาอันชั่วช้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริษยาอันชั่วช้า อันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจา ไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วย ปัญญาแล้วจึงละได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา อันชั่วช้า อันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญา แล้วจึงละได้

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความปรารถนา อันชั่วช้าเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลาย พึงรู้ว่าเรา เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ได้สดับน้อย ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ได้สดับมาก เป็นผู้มีความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบสงัดเป็นผู้เกียจคร้านย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้มีสติหลงลืม ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีใจไม่ตั้งมั่น ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีใจตั้งมั่นเป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าความปรารถนา อันชั่วช้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาอันชั่วช้า อันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าโลภะ ครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป หากว่าโทสะ โมหะ โกธะอุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้น ไม่เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าโลภะ ไม่ครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป หากว่าโทสะโมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่ครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้นโลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ โทสะโมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้นโทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้

จบกายสูตร


 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์