เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 มหาจุนทสูตร.. หากโลภะ ครอบงำ...โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ ความริษยาย่อมครอบงำภิกษุ 1346
 

(โดยย่อ)

หากว่าโลภะ ครอบงำภิกษุ ...โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยา อันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมครอบงำภิกษุนั้น... ภิกษุพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะ ย่อมไม่มีแก่ท่าน

หากว่าโลภะ ครอบงำภิกษุ ผู้เจริญภาวนา ว่าเราเป็นผู้มีกายกบรมแล้ว มีศีลอบรม มีจิตอบรมแล้ว มีปัญญาอบรมแล้ว ... หากว่าโลภะย่อมครอบงำ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะโมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะมัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ย่อมครอบงำภิกษุนั้น ดังนั้นความริษยา ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน  

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๙

มหาจุนทสูตร


              [๒๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะ อยู่ที่ชาติวันในแคว้นเจตี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย รับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ดังนี้

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะ ย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้น อันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่าน ผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยา อันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ ท่าน ผู้รู้ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้น ไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอัน ชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา การอบรม ย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว มีปัญญาอบรมแล้ว ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะโมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะมัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้น อันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยา อันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ หารู้ฉันนั้นไม่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า จึงครอบงำผู้นี้ตั้งอยู่

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรม แล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะครอบงำ ภิกษุนั้น ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ...ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้น ตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ หารู้ฉันนั้น ไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ เป็นคนยากจน พึงกล่าวอวดความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ พึงกล่าวอวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ เป็นคนยากจน ย่อมกล่าวอวดความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ย่อมกล่าว อวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ ย่อมกล่าวอวดโภคะ

     ข้อนั้นเพราะ เหตุไร

     เพราะท่านผู้นี้ เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะนำทรัพย์ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้ และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้น อันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำ ท่านผู้มีอายุนี้ ตั้งอยู่ โทสะโมหะ ... ความริษยา อันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้  ฉันใด  ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรม นี้ เราเห็นธรรมนี้ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ... ความริษยา อันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่

     ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ รู้ชัดฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะโมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้มีกาย อันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะ ไม่พึงครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้น อันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัดฉันนั้น

     เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยา อันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกาย อันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอัน อบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่

     ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อม รู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่าน ผู้มีอายุนี้ ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใดท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ เป็นคนมั่งคั่ง พึงกล่าวอวดความมั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ พึงกล่าวอวดโภคะบุรุษนั้น เมื่อกิจ ที่จำต้องทำด้วยทรัพย์ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น พึงอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทอง ใช้จ่ายได้คนทั้งหลาย พึงรู้บุรุษนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นคน มั่งคั่ง จึงกล่าว ความมั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ จึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ จึงกล่าวอวดโภคะ

     ข้อนั้นเพราะเหตุไร

     เพราะท่านผู้มีอายุนี้เมื่อกิจที่จำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกาย อันอบรมแล้วมีศีล อันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำ ภิกษุนั้น ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่

     ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ...ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้นโทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้าความปรารถนา อันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่

จบสูตรที่ ๔


 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์