เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อภิสมยวรรคที่ ๑๐ ทุกข์ที่เหลือของอริยะ และอุปมาการตรัสรู้ธรรม 704
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

  อภิสมยวรรคที่ ๑๐ ทุกข์ที่เหลือของอริยะ และอุปมาการตรัสรู้ธรรม
     ๑. นขสิขสูตร.. . โปกขรณีสูตร ๓. สัมเภชอุทกสูตรที่๑.. . สัมเภชอุทกสูตรที่ ๒
     ๕. ปฐวีสูตรที่๑.. ๖. ปฐวีสูตรที่๒.. ๗. สมุททสูตรที่๑.. ๘. สมุททสูตรที่๒
     ๙. ปัพพตูปมสูตรที่๑.. ๑๐. ปัพพตูปมสูตรที่๒.. ๑๑. ปัพพตูปมสูตรที่๓


ความทุกข์ที่เหลือของอริยะ และการตรัสรู้ธรรม ทรงอุปมาไว้หลายนัยยะ
๑. นขสิขสูตร ทุกข์ของอริยะ ที่หมดไปสิ้นไปเท่าดินในปฐพี ส่วนทุกข์ที่เหลือ เท่ากับเศษดินปลายเล็บ
๒. โปกขรณีสูตร ทุกข์ของอริยะ ที่หมดไปสิ้นไปเท่ากับน้ำที่สระโบกขรณี ส่วนทุกข์ที่เหลือเท่ากับน้ำที่วิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคา
๓. สัมเภชอุทกสูตรที่ ๑ ทุกข์ของอริยะที่หมดสิ้นไปเท่ากับแม่น้ำใหญ่ไหลมาบรรจบกัน ส่วนทุกข์ที่เหลือเท่ากับน้ำสองสามหยาด
๔. สัมเภชอุทกสูตรที่ ๒ การได้ธรรมจักษุได้ประโยชน์ใหญ่ เหมือนแม่น้ำใหญ่ที่แห้งไป เทียบน้ำที่เหลืออยู่เพียงสองสามหยาด
๕. ปฐวีสูตรที่ ๑ การได้ธรรมจักษุ ได้ประโยชน์เท่าแผ่นดินใหญ่ เทียบกับเหลือดินเพียงเท่าเมล็ดลูกกระเบา7 ก้อน(ทุกข์ที่เหลือ)
๖. ปฐวีสูตรที่ ๒ การได้ธรรมจักษุ ได้ประโยชน์ใหญ่ เหมือนแผ่นดินที่สิ้นไป เทียบกับหินเท่าเม็ดกระเบา 7 ก้อน
๗. สมุททสูตรที่ ๑ การได้ธรรมจักษุ เหมือน น้ำในมหาสมุทร เทียบกับบุรุษวักน้ำเพียงสองสามหยาด
๘. สมุททสูตรที่ ๒ การได้ธรรมจักษุ เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทรที่หมดไป เทียบไม่ได้กับน้ำที่เหลือเพียงสองสามหยาด
๙. ปัพพตูปมสูตรที่ ๑ การตรัสรู้ธรรม ให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่ เท่าขุนเขาหิมมวันต์ เทียบกับหินเท่าเม็ดผักกาด 7 ก้อน
๑๐. ปัพพตูปมสูตรที่ ๒ การตรัสรู้ธรรม ให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่ เหมือนขุนเขาหิมวันต์ที่หมดสิ้นไป เทียบกับหินเม็ดผักกาด7 เม็ด

๑๑. ปัพพตูปมสูตรที่ ๓ การตรัสรู้ธรรม ให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่ เท่ากับเขาสิเนรุ เมื่อเทียบกับเม็ดถั่วเขียว 7 เม็ด


 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๐


อภิสมยวรรคที่ ๑๐

๑. นขสิขสูตร

(อุปมา ทุกข์ที่เหลือของอริยะเท่ากับเศษดิน เทียบกับแผ่นดิน)

          [๓๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเอาปลายพระนขา ช้อนฝุ่นขึ้นเล็กน้อย แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นประมาณน้อยนี้ ที่เราเอาปลายเล็บช้อนขึ้น กับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะมากกว่ากันหนอ

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมากกว่า ฝุ่นประมาณเล็กน้อย ที่พระผู้มีพระภาค ทรงเอาปลายพระนขาช้อนขึ้นนี้มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาค ทรงเอาปลาย พระนขาช้อนขึ้น มีประมาณน้อยย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ฯ

          [๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่หมดไป สิ้นไป นี้แหละ ของบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ตรัสรู้แล้ว มีมากกว่า ส่วนที่เหลือ มีประมาณน้อย ความที่ทุกข์เป็นสภาพยิ่งใน ๗ อัตภาพ เมื่อเทียบเข้า กับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไป อันมีในก่อนไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุ ให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๒. โปกขรณีสูตร
(อุปมา ทุกข์ที่เหลือของอริยะเท่ากับน้ำที่วิดขึ้น เทียบกับน้ำในสระโบกขรณี)

          [๓๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์กว้าง ๕๐ โยชน์ ลึก ๕๐ โยชน์ มีน้ำเต็มเสมอขอบกาดื่มกินได้ บุรุษพึงวิดน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้น ด้วยปลายหญ้าคา เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วย ปลายหญ้าคาก็ดี น้ำในสระโบกขรณีก็ดี ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แหละ มากกว่า น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคา มีประมาณน้อย น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วย ปลายหญ้าคา เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในสระโบกขรณี ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด ฯ

          [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่หมดไป สิ้นไป นี้แหละ ของบุคคล ผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ตรัสรู้แล้ว เป็นทุกข์มากกว่า ส่วนที่เหลืออยู่มีประมาณน้อย ความที่ทุกข์เป็นสภาพยิ่งใน๗ อัตภาพ เมื่อเทียบเข้า กับกองทุกข์ที่หมดไป สิ้นไปอันมีในก่อน ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุ ให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๓. สัมเภชอุทกสูตรที่ ๑
(การได้ธรรมจักษุ ได้ประโยชน์ใหญ่เหมือนน้ำแม่น้ำใหญ่ไหลมาบรรจบกัน)


          [๓๑๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน บุรุษพึงวักน้ำขึ้น สองสามหยาด จากที่นั้น เธอทั้งหลาย จะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วก็ดี น้ำในที่ บรรจบกันก็ดี ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในที่บรรจบกันนี้แหละ มากกว่า หยาดน้ำสองสามหยาด ที่บุรุษวักขึ้นแล้ว มีประมาณน้อย หยาดน้ำสองสาม หยาด ที่บุรุษวักขึ้นแล้ว เมื่อเทียบเข้ากับน้ำในที่บรรจบกัน ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

          [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุให้ สำเร็จ ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๔. สัมเภชอุทกสูตรที่ ๒
(การได้ธรรมจักษุ ได้ประโยชน์ใหญ่เหมือนน้ำแม่น้ำใหญ่ที่ไม่มีวันหมดไป)


          [๓๑๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคายมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน แม่น้ำนั้นพึงหมดไป สิ้นไป ยังเหลืออยู่สองสามหยาด เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไป กับน้ำที่ยังเหลืออยู่สองสามหยาด ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไปนี้แหละมากกว่า น้ำที่ยังเหลือ อยู่สองสามหยาดมีประมาณน้อย น้ำที่เหลืออยู่สองสามหยาด เมื่อเทียบเข้ากับน้ำในที่บรรจบกัน ซึ่งหมดไป สิ้นไปแล้ว ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐แม้ฉันใด

          [๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุให้ สำเร็จ ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๕. ปฐวีสูตรที่ ๑
(การได้ธรรมจักษุให้สำเร็จ ได้ประโยชน์เท่าแผ่นดินใหญ่ เหลือดินเพียงเท่าเมล็ด ลูกกระเบา 7 ก้อน) (ทุกข์ที่เหลือ)


          [๓๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนไว้ที่ แผ่นดินใหญ่ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่บุรุษวางไว้ กับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ นี้แหละ มากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนดินเท่า เมล็ด กระเบา๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้เมื่อเทียบเข้ากับแผ่นดินใหญ่ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

          [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุ ให้สำเร็จ ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ๖. ปฐวีสูตรที่ ๒
(แผ่นดินที่หมดสิ้นไป เทียบไม่ได้กับก้อนดินเท่าเม็ดกระเบา 7 ก้อน การได้ธรรมจักษุ ก็เช่นกัน ประโยชน์ได้มากเทียบกับแผ่นดินที่สิ้นไป)

          [๓๒๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย แผ่นดินใหญ่พึงถึงความหมดไปสิ้นไป เหลือ ก้อนดิน เท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลาย สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นดินใหญ่ ที่หมดไป สิ้นไป กับก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแผ่นดินใหญ่ที่หมดไปสิ้นไป นี้แหละ มากกว่า ก้อนดิน เท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่มีประมาณน้อย ก้อนดินเท่า เมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบเข้ากับแผ่นดินใหญ่ ที่หมดไป สิ้นไป ย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

          [๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุให้ สำเร็จ ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๗. สมุททสูตรที่ ๑
(บุรุษวักน้ำเพียงสองสามหยาด เทียบไม่ได้กับน้ำในมหาสมุทร ที่เปรียบเหมือนการได้ ธรรมจักษุ)

          [๓๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษวักน้ำสองสามหยาดขึ้นจากมหาสมุทร เธอทั้งหลาย จะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว กับน้ำในมหาสมุทร ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรนี้แหละ มากกว่า น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว มีประมาณน้อย น้ำสองสามหยาด ที่บุรุษวักขึ้นแล้ว เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในมหาสมุทรไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

          [๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุให้ สำเร็จ ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๘. สมุททสูตรที่ ๒
(ประโยชน์ที่ได้ธรรมจักษุ เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทรที่หมดไป เทียบไม่ได้กับน้ำ ที่เหลือเพียงสองสามหยาด)

          [๓๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรพึงถึงการหมดไปสิ้นไป ยังเหลือน้ำอยู่ สองสามหยาด เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในมหาสมุทร ที่หมดไป สิ้นไป กับน้ำ สองสามหยาด ที่ยังเหลืออยู่ไหน จะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่หมดไป สิ้นไป นี้แหละ มากกว่า น้ำสองสามหยาด ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย น้ำสองสามหยาด ที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในมหาสมุทร ที่หมดไปสิ้นไป ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

          [๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุให้ สำเร็จ ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๙. ปัพพตูปมสูตรที่ ๑
(ก้อนหินเท่าเม็ดผักกาด 7 ก้อน เทียบกับขุนเขาหิมมวันต์)

          [๓๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายแล้ว ... ได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางก้อนหิน เท่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อน ไว้ที่ขุนเขาหิมวันต์ เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินเท่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อน ที่บุรุษวางไว้ กับขุนเขาหิมวันต์ ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์นี้แหละ มากกว่า ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด เจ็ดก้อน ที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อยก้อนหิน เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อนที่บุรุษวางไว้ เมื่อเทียบเข้ากับ ขุนเขาหิมวันต์ ไม่เข้าถึง เสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

          [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้ธรรมจักษุ ให้สำเร็จ ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๑๐. ปัพพตูปมสูตรที่ ๒
(หินเม็ดผักกาด 7 เม็ด เทียบกับ ขุนเขาหิมวันต์ที่หมดสิ้นไป)

          [๓๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาหิมวันต์พึงถึงความหมดไป สิ้นไป ยังเหลือก้อนหิน เท่าเมล็ดพันธุ์ ผักกาดอยู่เจ็ดก้อน เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขา หิมวันต์ที่หมดไปสิ้นไป กับก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อน ที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์ที่หมดไป สิ้นไป นี้แหละมากกว่า ก้อนหินเท่าเมล็ด พันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อน ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเจ็ดก้อน ที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบเข้า กับขุนเขาหิมวันต์ ที่หมดไปสิ้นไปไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

          [๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ความทุกข์ที่หมดไปสิ้นไป นี้แหละ ของบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ตรัสรู้แล้ว มีมากกว่า ส่วนที่เหลือ มีประมาณน้อย ความทุกข์ที่เป็นสภาพยิ่งในเจ็ดอัตภาพ เมื่อเทียบกับ กองทุกข์ ที่หมดไปสิ้นไป ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุ ให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๑๑. ปัพพตูปมสูตรที่ ๓
(เม็ดถั่วเขียว 7 เม็ด เท่าเขาสิเนรุ)

          [๓๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียวเจ็ดก้อน ไว้ที่ ขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว เจ็ดก้อน ที่บุรุษวางไว้กับขุนเขาสิเนรุ ไหนจะมากกว่ากัน

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แหละมากกว่า ก้อนหิน เท่าเมล็ดถั่วเขียวเจ็ดก้อน ที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนหินเท่าเมล็ด ถั่วเขียว เจ็ดก้อน ที่บุรุษวางไว้ เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาสิเนรุ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐

          [๓๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล การบรรลุ คุณวิเศษแห่งอัญญเดียรถีย์ สมณพราหมณ์และปริพาชก เมื่อเทียบกับการ บรรลุ โสดาปัตติมรรคแห่งบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ มีอธิคมใหญ่อย่างนี้ มีอภิญญาใหญ่อย่างนี้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์