เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระมหากัจจานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ พระมหากัจจานะ(ไม่รวมอรรถกถา)
เอตทัคคะด้าน ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยย่อ
Kat 103
           ออกไปหน้าหลัก 3 of 5
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  ๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๒
  1) เทวดาแนะนำให้พระสมิทธิศึกษาคำสอนฯ “บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ" เพราะเป็นประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
  2) ตรัสว่า “บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
  3) พระศาสดาตรัสไว้โดยย่อ พระสมิทธิกับภิกษุจำนวนหนึ่งเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ เพื่อขอให้ขยายความ
  4) พระมหากัจจานะอธิบาย "บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร" ดังนี้ว่า
  5) พระมหากัจจานะอธิบาย "บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง อย่างไร " ดังนี้ว่า
  6) พระมหากัจจานะอธิบาย "บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน อย่างไร" ดังนี้ว่า
  ๘. อุทเทสวิภังคสูตรพระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๐
  1) พระผู้มีพระภาคแสดง อุเทสวิภังค์ โดยย่อ แก่ภิกษุ ท. แล้วลุกจากอาสนะไป
  2) ภิกษุพากันไปหาพระมหากัจจานะ เพื่อขอความกระจ่าง
  3) พระมหากัจจานะแสดงธรรม ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไป ภายนอก
  4) พระมหากัจจานะแสดงธรรม ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ภายนอก
  5) พระมหากัจจานะแสดงธรรม ก็อย่างไรเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน
  6) พระมหากัจจานะแสดงธรรม ก็อย่างไรเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ ภายใน
  7) พระมหากัจจานะแสดงธรรม ก็อย่างไรย่อมเป็นอันสะดุ้งเพราะตาม ถือมั่น
  8) พระมหากัจจานะแสดงธรรม ก็อย่างไรย่อมเป็นอันไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น
  9) ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระมหากัจจานะ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
  10) ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก

 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๒

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

1)
(เทวดาถามพระสมิทธิว่า ยังจำเรื่อง "บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ" ได้อยู่หรือ พระสมิทธิ ตอบว่าจำไม่ได้ เทวดาแนะนำให้พระสมิทธิทำการศึกษาเสีย เพราะเป็นประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เทวดานั้นกล่าวแล้ว จึงหายไป)

           [๕๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระวิหารตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิ ลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง เข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรง สนานร่างกาย ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกลับขึ้นมานุ่งสบงผืนเดียว ยืนผึ่งตัวให้แห้ง อยู่ ขณะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้ว
มีเทวดาตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องสระตโปทะให้สว่าง ทั่ว เข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่ที่ยืนอยู่นั้นแล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

           [๕๔๙] เทวดานั้น พอยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศ และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ฯ

           ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำ ได้หรือ ฯ

           เท. ดูกรภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ และท่านทรงจำคาถาแสดงราตรี หนึ่งเจริญ ได้ไหม ฯ

           ส. ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ ฯ

           เท. ดูกรภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ ขอท่านจงเรียนร่ำ และทรงจำ อุเทศ และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์ ของบุคคล ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เพราะอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วย ประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ

เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง ฯ

           [๕๕๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ตอนใกล้รุ่ง ข้าพระองค์ลุกขึ้นเข้าไปยังสระตโปทะ เพื่อสรงสนานร่างกาย ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกลับมานุ่งแต่สบงผืนเดียว ยืนผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวดาตนหนึ่ง มีรัศมีงามส่องสระ ตโปทะให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ยังที่ที่ยืนอยู่นั้น แล้วยืน ณ ที่ ควรส่วน ข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า

           ดูกรภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวดานั้น ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ เทวดานั้นกล่าวว่า

          ดูกรภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ และท่านทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญ ได้ไหม ข้าพระองค์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ เทวดานั้น กล่าวว่า

           ดูกรภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ ขอท่านจงเรียนร่ำ และทรงจำอุเทศ และวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด(เทวดาแนะพระสมิทธิ) เพราะอุเทศ และ วิภังค์ ของบุคคล ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดแสดงอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


2)
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่าภิกษุ และพระสมิทธิ บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยัง ไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ)

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านพระสมิทธิทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธ เจ้าข้า ฯ

           [๕๕๑] พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสดังนี้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยัง ไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ผู้มีปรกติอยู่ อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ

           พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ ครั้นแล้วพระสุคตจึงทรงลุก จากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ฯ

           [๕๕๒] ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึง ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง อุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่ง ที่ยังไม่มาถึงสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็น อันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้ แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่ นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

           พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกออกจากอาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแล จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้

           ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุ ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะ พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไป หาท่าน พระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่าน พระมหากัจจานะเถิด ฯ

           [๕๕๓] ต่อนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่ อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัย พอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่าน พระมหากัจจานะ ดังนี้ว่า ดูกรท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรง แสดงอุเทศโดยย่อ แก่พวกกระผมว่า

           บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุก จากอาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร

           ดูกรท่านกัจจานะ ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกกระผมนั้น ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่พวกเราว่า

           บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ... นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจาก อาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง โดยย่อนี้ให้พิสดารได้

           ดูกรท่านกัจจานะ พวกกระผมนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหา กัจจานะ นี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุ ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน ยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะ พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่าน พระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ขอท่านพระมหากัจจานะโปรดจำแนกเนื้อความเถิด ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

3)

(พระสมิทธิกับภิกษุจำนวนหนึ่งเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ เพื่อขอให้ขยายความ)

           [๕๕๔] ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ เหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้ พึงสำคัญแก่น ของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ว่า ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลยรากและลำต้นเสีย ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ พร้อมหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านพากันสำคัญเนื้อความนั้นว่า พึงสอบถามเราได้ ล่วงเลย พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเสีย

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก นำออก ซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรมทรงดำเนินตามนั้น และก็เป็น กาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่ ท่านทั้งหลาย จะพึงสอบถามเนื้อความนี้กะพระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคทรง พยากรณ์แก่เราอย่างใด พวกท่านพึงทรงจำไว้อย่างนั้น เถิด ฯ

           ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูกรท่านกัจจานะ แท้จริง พระผู้มีพระภาคย่อม ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัสบอก นำออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนิน ตามนั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้ว ที่พวกกระผมจะพึงสอบถามเนื้อความนี้ กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ แก่พวกกระผมอย่างใด พวกกระผม พึงทรงจำได้อย่างนั้น แต่ว่าท่านพระมหากัจจานะ อันพระศาสดาและพวกภิกษุ ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว และท่านพอจะ จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะอย่าทำความหนักใจ โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ฯ

           ก. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจานะว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ

           [๕๕๕] ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า

           บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ...นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุก จากอาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร นี้แลข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

4)

(พระมหากัจจานะอธิบาย "บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร" ดังนี้ว่า)

           [๕๕๖] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ

มีความรู้สึกเนื่องด้วย ฉันทราคะ ในจักษุและรูป ว่า จักษุของเราได้เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลิน จักษุ และรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ ในโสตและเสียง ว่า โสตของเราได้เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ ในฆานะและกลิ่น ว่า ฆานะของเราได้เป็นดังนี้ กลิ่นได้
เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ ในชิวหาและรส ว่า ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ ในกายและโผฏฐัพพะ ว่า กายของเราได้เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ ในมโนและธรรมารมณ์ ว่า มโนของเราได้เป็น ดังนี้ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว

           เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโน และ ธรรมารมณ์ นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ ล่วงแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ

           [๕๕๗] (ในทางตรงกันข้าม) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึง สิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ ในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้ เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วย ฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่ง ที่ล่วงแล้ว

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ ในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ ในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ ในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ ในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเราได้เป็น ดังนี้โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ ในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของเราได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกไม่เนื่อง ด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินมโน และธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึง สิ่งที่ล่วงแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


5)

(พระมหากัจจานะอธิบาย "บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง อย่างไร " ดังนี้ว่า)

           [๕๕๘] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง อย่างไร คือ

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลิน จักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้ ขอเสียง พึงเป็นดังนี้ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้ ขอกลิ่น พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรส พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้ ขอโผฏฐัพพะ พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้ ขอธรรมารมณ์ พึง เป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึงเพลิดเพลินมโน และ ธรรมารมณ์ เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ

           [๕๕๙] (ในทางตรงกันข้าม) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่ง ที่ยังไม่มาถึง อย่างไร คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ ตนยังไม่ได้ ว่า ขอจักษุของเรา พึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็น ดังนี้ในกาลอนาคต เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและ รูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ ยังไม่มาถึง

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้ ขอเสียง พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้ ขอกลิ่น พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรส พึงเป็น ดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้ ขอโผฏฐัพพะ พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้ ขอธรรมารมณ์ พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต

           เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย จึงไม่เพลิดเพลินมโนและ ธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


6)
(พระมหากัจจานะอธิบาย "บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน อย่างไร" ดังนี้ว่า)

           [๕๖๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน อย่างไร คือ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ ในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบัน ด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ ทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบัน ด้วยกันแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

           [๕๖๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรม ปัจจุบัน อย่างไร คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่าง ที่เป็นปัจจุบัน ด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง ...
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ ทั้ง ๒ อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่ เพลิดเพลิน มโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรม ปัจจุบัน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ

           [๕๖๒] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า

           บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อม เรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุก จากอาสนะ เสด็จเข้าไป ยังพระวิหารนี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ ก็แหละท่านทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ทูลสอบถามเนื้อความ นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด พวกท่านพึงทรงจำ เนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น ฯ

           [๕๖๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่าน พระมหา กัจจานะ แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่พวกข้าพระองค์ว่า

           บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อม เรียกบุคคล... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจาก อาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร พอพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้าพระองค์ นั้น ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเรา ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้ง ธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้น เนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตาย ในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนี ผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวัน และกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญดังนี้แล มิได้ทรงจำแนก เนื้อความ โดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแล จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะ นี้แลอันพระศาสดา และพวกภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะนี้พอจะ จำแนกเนื้อความ แห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึง เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อ ความนี้กะท่าน พระมหากัจจานะเถิด

           ต่อนั้นแล พวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่าน พระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนั้นกะท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะ จำแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์นั้นแล้ว โดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ โดยพยัญชนะดังนี้ ฯ

           [๕๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา เราก็จะ พยากรณ์เนื้อความ นั้น อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกัน ก็แหละเนื้อความของ อุเทศนั้น เป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจำเนื้อความนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด ฯ

           พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ตรัสไว้กับอานนท์ ในอีกพระสูตรหนึ่ง ชื่อว่า อานันทภัทเทกรัตตสูตร โดยอธิบายในอีกแง่มุมหนึ่ง



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๐

๘. อุทเทสวิภังคสูตร (๑๓๘)

1)
(พระผู้มีพระภาคแสดง อุเทสวิภังค์ โดยย่อ แก่ภิกษุ ท. แล้วลุกจากอาสนะไป)


           [๖๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อุเทสวิภังค์ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง อุเทสวิภังค์ นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไปภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

           [๖๓๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณา โดยอาการ ที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระภาษิตดังนี้ ครั้นแล้ว พระองค์ ผู้สุคตจึงเสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร ฯ

           [๖๔๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มี ข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่พวกเราว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการ ที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะ ไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็เสด็จเข้าไป ยังพระวิหารแล้ว ใครหนอแล จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้

           ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและภิกษุ ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน ยกย่องสรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะ พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง โดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนั้น กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


2)

(ภิกษุพากันไปหาพระมหากัจจานะเพื่อขอความกระจ่าง)

           [๖๔๑] ต่อนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปหา ท่านพระมหากัจจานะยัง ที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัย กับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า

           ดูกรท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงอุเทศโดยย่อ แก่พวกกระผมว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อ พิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึก ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนก เนื้อความโดยพิสดารก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ดูกรท่านกัจจานะ ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกกระผมนั้นได้มีข้อปรึกษากัน อย่างนี้ว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ แก่พวกเรา ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะ ไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึก ไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มี ความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรง จำแนกเนื้อความโดยพิสดารก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแล จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ ให้พิสดารได้

           ดูกรท่านกัจจานะ พวกกระผมนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะ นี้แล อันพระศาสดา และพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะ พอจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระ มหากัจจานะ ยังที่อยู่แล้ว พึงสอบถามเนื้อความนั้น กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ขอท่านพระมหากัจจานะ โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ฯ

           [๖๔๒] ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ เหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้ พึงสำคัญแก่น ของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ว่า ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลยรากและลำต้นเสียฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ พร้อมหน้าท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย พวกท่านพากันสำคัญเนื้อความนั้นว่า พึงสอบถามเราได้ ล่วงเลยพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเสีย

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก ทรงนำออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรมทรงดำเนินตามนั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้ว ที่ท่านทั้งหลาย จะพึงสอบถามเนื้อความนี้ กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด พวกท่านพึงทรงจำไว้ อย่างนั้นเถิด ฯ

           ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูกรท่านกัจจานะ แท้จริง พระผู้มีพระภาคย่อม ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก ทรงนำออกซึ่งประโยชน์ ประทาน อมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนินตามนั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้ว ที่พวกกระผม จะพึงสอบถาม เนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ แก่พวกกระผมอย่างใด พวกกระผมพึงทรงจำไว้อย่างนั้น แต่ว่าท่านพระมหากัจจานะ อันพระศาสดาและพวก ภิกษุ ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว และท่านพอจะ จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะอย่าทำความหนักใจ โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ฯ

           ก. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้า จักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระมหากัจจานะว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ

           [๖๔๓] ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการ ที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความ เกิดแห่งชาติชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้ มิได้ทรงจำแนก เนื้อความโดย พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


3)
(ท่านพระมหากัจจานะแสดงธรรม ก็อย่างไรเรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก)

           [๖๔๔] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไป ภายนอก

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูป ด้วยจักษุ แล่นไปตามนิมิตคือรูป กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือรูป ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือรูป ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือความยินดีนิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน แล่นไปตามนิมิต คือธรรมารมณ์ กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ผูกพันด้วยยินดี นิมิตคือธรรมารมณ์ ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิต คือธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไปซ่านไปภายนอก ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


4)
(ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ภายนอก)

           [๖๔๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ภายนอก

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูป ด้วยจักษุ ไม่แล่นไปตามนิมิต คือรูป ไม่กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือรูป ไม่ผูกพันด้วยยินดี นิมิตคือรูป ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือความยินดีนิมิต คือรูปพระผู้มีพระภาคตรัส เรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ไม่แล่นไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่ผูก พันด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือความยินดีนิมิต คือธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


5)
(ก็อย่างไรเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน)

           [๖๔๖] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ นั้น แล่นไป ตามปีติและสุขเกิดแต่วิเวก กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่ วิเวก ผูกพันด้วยยินดีปีติ และสุขเกิดวิเวก ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุข เกิดแต่วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความ ผ่องใส แห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่น ไปตามปีติ และ สุข เกิดแต่สมาธิ กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ผูกพันด้วยยินดีปีติและ สุขเกิดแต่สมาธิ ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่าย ปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌาน ที่ พระอริยะ เรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ นั้น แล่นไปตาม อุเบกขา กำหนัดด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ผูกพันด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ประกอบด้วยสัญโญชน์คือ ความยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขาพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อันไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตามอทุกขมสุขเวทนา กำหนัด ด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ผูกพันด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือความยินดีอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า จิตตั้ง สงบอยู่ภายใน ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


6)
(ก็อย่างไรเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ ภายใน)

           [๖๔๗] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ ภายใน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามปีติและ สุขเกิดแต่วิเวก ไม่กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่ผูกพันด้วยยินดีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวก ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่ วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่กำหนัดด้วย ยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดสมาธิ ไม่ประกอบด้วย สัญโญชน์ คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่าย ปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึก ที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามอุเบกขา ไม่กำหนัดด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ไม่ผูกพัน ด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามอทุกขมสุขเวทนา ไม่กำหนัดด้วยยินดี อทุกขมสุขเวทนา ไม่ผูกพันด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือความยินดีอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่าจิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


7)
(ก็อย่างไรย่อมเป็นอันสะดุ้งเพราะตาม ถือมั่น)

           [๖๔๘] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรย่อมเป็นอันสะดุ้งเพราะตาม ถือมั่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็น พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ

           ย่อมเล็งเห็นรูป
โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูป ในอัตตาบ้างเล็งเห็น อัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความแปรปรวนเป็น อย่างอื่นของรูป เขาย่อมมีความรู้สึกปรวนแปรไปตาม ความ แปรปรวน ของรูป ความสะดุ้ง และความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความ ปรวนแปรไป ตามความแปรปรวนของรูป ย่อมตั้งครอบงำจิตของเขาได้ เพราะจิต ถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้หวาดเสียวคับแค้น ห่วงใย และสะดุ้งเพราะตามถือมั่น

           ย่อมเล็งเห็นเวทนา ... ย่อมเล็งเห็นสัญญา ...ย่อมเล็งเห็นสังขาร ... ย่อมเล็ง เห็นวิญญาณโดย ความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณ ในอัตตาบ้างเล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อม แปรปรวน เป็นอย่างอื่นได้ เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของวิญญาณ เขาย่อมมี ความรู้สึกปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้น แห่ง อกุศลธรรม อันเกิดแต่ความแปรปรวนของวิญญาณ ย่อมตั้งครอบงำจิตของเขาได้ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้หวาดเสียว คับแค้น ห่วงใย และสะดุ้งเพราะ ตามถือมั่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลเป็นอันสะดุ้งเพราะตามถือมั่น ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


8)
(ก็อย่างไรย่อมเป็นอันไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น)

           [๖๔๙] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรย่อมเป็นอันไม่สะดุ้ง เพราะ ไม่ถือมั่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็น พระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

           ย่อม ไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูป ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของท่านย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นได้ เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของรูป ท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ ปรวนแปร ไปตามความแปรปรวนของรูป ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดความปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป ย่อมไม่ตั้งครอบงำจิตของท่านได้ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ ท่านจึงเป็นผู้ไม่หวาดเสียว ไม่คับแค้น ไม่ ห่วงใยและไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น

           ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนา ... ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา ... ย่อมไม่เล็งเห็นสังขาร ... ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง วิญญาณของท่าน ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของวิญญาณ ท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ปรวนแปรไปตามความแปรปรวน ของวิญญาณ ความสะดุ้งและ ความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความแปรปรวนไปตามความปรวนแปร ของ วิญญาณ ย่อมไม่ตั้งครอบงำจิตของท่านได้ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำท่านจึงเป็นผู้ ไม่หวาดเสียว ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย ไม่สะดุ้งเพราะ ไม่ถือมั่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นอันไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ฯ

           [๖๕๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่ เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วเสด็จ ลุกจากอาสนะเข้ายังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็แหละท่านทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด พวกท่านพึงทรง จำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


9)
(ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระมหา กัจจานะ แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ)

           [๖๕๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระมหา กัจจานะ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย อภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศ โดยย่อแก่พวกข้าพระองค์ว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการ ที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึก ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่พึงสะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้าพระองค์นั้น ได้มีข้อปรึกษากัน อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อุเทศนี้โดยย่อแก่ พวกเราว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการ ที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึก ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบภายใน และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่ง ชาติ ชรามรณะ ทุกข์ และ สมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความ โดยพิสดาร ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจำแนก เนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ ให้พิสดารได้

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะ นี้แลอันพระศาสดา และพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนยกย่องสรรเสริญแล้ว ก็ท่าน พระมหากัจจานะนี้ พอจะจำแนกเนื้อความ แห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึง เข้าไปหาท่าน พระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนั้น กะท่าน พระมหากัจจานะเถิด ต่อนั้นแล พวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่าน พระมหากัจจานะ ยังที่อยู่ แล้วสอบถาม เนื้อความ กะท่านแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะ จำแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์นั้นแล้วโดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ และโดยพยัญชนะดังนี้ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


10)
(ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก)

           [๖๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา เราก็จะพึงพยากรณ์ เนื้อความนั้น อย่างเดียวกับ ที่มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกัน ก็แหละเนื้อความ อุเทศนั้นเป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด

           พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

 

เรื่องราวของท่านพระมหากัจจานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง
1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๒/ ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ

2
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๖ / เรื่องพระเจ้ามธุรราช

3
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๒ / ๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๐/ ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

4
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘ / ว่าด้วยลักษณะมุนี
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒/ ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔ / เอตทัคคบาลี
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๒ / (ปฐมปัณณาสก์)

5
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๘ / ๖. กัจจานสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๒ / ๘. สมยสูตรที่ ๒
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๔ / ๕. เถรสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๒ / ๖. โสณสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๙ / ๘. มหากัจจานสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๓ / (มาคันทิยปัญหา)

   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์