เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระมหากัจจานะ
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ พระมหากัจจานะ(ไม่รวมอรรถกถา)
เอตทัคคะด้าน ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยย่อ
Kat 102
           ออกไปหน้าหลัก 2 of 5
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  เรื่องพระเจ้ามธุรราช พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๖
  1) พราหมณ์กล่าวว่า วรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว ท่านพระกัจจานะ จะว่าอย่างไร?
  2) ว่าด้วยวรรณสี่ : วรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว นี้เป็นคำโฆษณาเท่านั้น แม้บัณฑิตก็ทราบดี
  3) แม้ความเป็นกษัตริย์ พวกอื่นก็จะคอยทำงาน รับใช้ ให้ถูกใจเสมอๆกัน วรรธสี่จึงไม่แตกต่างกัน.. คำกล่าวของพราหมณ์จึงรับฟังไม่ได้
  4) แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เมื่อตายย่อมเข้าถึงอบายนรกไม่แตกต่างกัน คำกล่าวของพราหมณ์จึงรับฟังไม่ได้
  5) แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เว้นฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เมื่อตายไปเข้าถึงโลกสวรรค์ไม่แตกต่างกัน คำกล่าวของพราหมณ์จึงรับฟังไม่ได้
  6) บุคคลใดทำการปล้น คบภรรยาผู้อื่นแล้วถูกจับ..กษัตริย์ก็พึงให้ฆ่าเสีย ไม่เว้นแม้จะเป็นพราหมณ์ แพศย์ ศูทร . วรรณะสี่จึงไม่มีอะไรต่างกัน
  7) ถ้าแม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นบรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์ มหาบพิตรก็พึงกราบไหว้ ..วรรณทั้งสี่จึงไม่มีความต่างกัน
  8) ด้วยเหตุนี้ คำว่าวรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์ วรรณอื่นเลว จึงรับฟังไม่ได้ เป็นแค่คำโฆษณาเท่านั้น
  9) พระเจ้ามธุรราช แสดงพระองค์เป็นอุบาสกกับท่านพระมหากัจจานะ
  10) พระเจ้ามธุรราช มีศรัทธาพระผู้มีพระภาคอันหยั่งลงมั่น แม้จะเดินทางไกลไปเข้าเฝ้าก็ไม่หวั่น แต่อนิจจา เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว

 
 
  วรรณะ 4 ในสมัยพุทธกาล ( ปัจจุบันศาสนาฮินดูยังแบ่งชนชั้นแบบนี้อยู่)
  1. กษัตริย์ (ผู้นำ ผู้ปกครอง นักรบ)
  2. พราหมณ์ (นักบวช นักวิชาการ อาจารย์)
  3. แพศย์ (พ่อค้าแม่ค้า และชาวสวนชาวไร่)
  4. ศุทร (ผู้ใช้แรงงาน รวมถึงจัณฑาล)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๖

เรื่องพระเจ้ามธุรราช

1)
พราหมณ์กล่าวว่า วรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว วรรณที่ขาว คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นดำ
ท่านพระกัจจานะ จะว่าอย่างไร?

           [๔๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะ อยู่ที่ป่าคุนธาวันใกล้เมืองมธุรา. พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ได้ทรงสดับว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณะนามว่ากัจจานะ อยู่ที่ป่าคุนธาวันใกล้เมืองมธุรา กิตติศัพท์อันงาม ของท่าน กัจจานะนั้นขจรไปว่า เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญาเป็นพหูสูต มีถ้อยคำวิจิตร (แสดงธรรมได้กว้างขวาง) มีปฏิภาณงาม เป็นผู้ใหญ่และเป็นพระอรหันต์ ก็การได้เห็น พระอรหันต์ ทั้งหลาย เห็นปานนั้น เป็นความดี ดังนี้.

           ลำดับนั้น พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร รับสั่งให้เทียมยานอย่างดีๆ เสด็จขึ้น ประทับยานอย่างดี เสด็จออกจากเมืองมธุราโดยกระบวนพระที่นั่งอย่างดีๆ ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อจะพบเห็นท่านพระมหากัจจานะ เสด็จไปด้วยยาน จนสุดทางแล้ว จึงเสด็จลงจากยานพระที่นั่ง ทรงดำเนินเข้าไปหาท่าน พระมหากัจจานะ ถึงที่อยู่ ทรงปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.

           ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านกัจจานะผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า วรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว วรรณที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่ พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของพรหม เป็นโอรส เกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมสร้าง เป็นทายาทของพรหมดังนี้ เรื่องนี้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------


ว่าด้วยวรรณสี่
2)
คำกล่าวที่ว่าวรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว เป็นคำโฆษณาเท่านั้น แม้บัณฑิตก็ทราบดี

           [๔๖๕] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตร วาทะที่พวก พราหมณ์กล่าวว่า วรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว วรรณที่ขาว คือพราหมณ์เท่านั้นวรรณอื่นดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่มิใช่พราหมณ์ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของพรหม เป็นโอรสเกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมสร้าง เป็นทายาทของพรหมดังนี้ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลก เท่านั้น

           ดูกรมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณที่ประเสริฐ คือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณอื่นเลว พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณาในโลก เท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------



3)
แม้ความสำเร็จจะพึงมีแก่กษัตริย์ ...ฯลฯ ด้วยทรัพย์สินเงินทอง พวกอื่นก็จะคอยทำงาน รับใช้ ให้ถูกใจ เสมอๆกัน ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า พราหมณ์คือวรรณ ที่ประเสริฐเท่านั้น วรรณอื่นเลว จึงรับฟังไม่ได้

           ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความ ปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่กษัตริย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองแล้ว แม้กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... แพศย์ ... ศูทร ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนหลัง คอยฟังรับใช้ประพฤติ ให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์นั้น?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่กษัตริย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือกเงิน หรือทองแล้ว แม้กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... แพศย์ ... ศูทร (พวกอื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อนนอนที่หลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ แก่กษัตริย์นั้น.
----------------------------------------------------------------------------

           [๔๖๖] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จ แก่พราหมณ์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แล้ว แม้พราหมณ์ ...แพศย์ ... ศูทร ... กษัตริย์ ... (พวกอื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่พราหมณ์นั้น?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่พราหมณ์ ด้วยทรัพย์ข้าวเปลือก เงินหรือทองแล้ว แม้พราหมณ์ ... แพศย์ ... ศูทร ... กษัตริย์ (พวกอื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ แก่พราหมณ์นั้น.
----------------------------------------------------------------------------

           [๔๖๗] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จ แก่แพศย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองแล้ว แม้แพศย์ ... ศูทร ...กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่แพศย์นั้น?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่แพศย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือกเงินหรือ ทองแล้ว แม้แพศย์ ... ศูทร ... กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... (พวกอื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่แพศย์นั้น.
----------------------------------------------------------------------------

           [๔๖๘] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะสำเร็จ แก่ศูทร ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองแล้ว แม้ศูทร ... กษัตริย์ ...พราหมณ์ ... แพศย์ ... (พวกอื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจพูดไพเราะแก่ศูทรนั้น?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่ศูทร ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือกเงินหรือ ทองแล้ว แม้ศูทร ... กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... แพศย์ (พวกอื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ แก่ศูทรนั้น.
----------------------------------------------------------------------------

           [๔๖๙] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้วรรณสี่เหล่านี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกันหรือมิใช่ หรือมหาบพิตร จะทรงมีความเข้าใจพระทัยในวรรณสี่เหล่านี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณสี่เหล่านี้เป็นผู้เสมอ กันหมดในวรรณสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

           [๔๗๐] ดูกรมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณที่ประเสริฐคือ พราหมณ์ เท่านั้นวรรณอื่นเลว ... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั้นเป็นแต่คำ โฆษณาเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้
----------------------------------------------------------------------------


4)
แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ.. เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย นรก ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า วรรณที่ประเสริฐ คือ พราหมณ์เท่านั้นวรรณอื่นเลว จึงรับฟังไม่ได้

           ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตร จะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ ในโลกนี้ พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อมักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกหรือมิใช่ หรือมหาบพิตร จะทรงมีความเข้าพระทัย ในเรื่องนี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นกษัตริย์ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิเมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่ พระอรหันต์ ทั้งหลาย ก็เช่นนั้น.

           [๔๗๑] ดีละๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตร มีความเข้าพระทัย ข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดี ที่มหาบพิตร ได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระอรหันต์ ทั้งหลาย

            ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัย ความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์ ... แพศย์ ... ศูทร ... ในโลกนี้ เมื่อฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภมีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกหรือมิใช่หรือมหาบพิตร จะทรงมีความเข้าพระทัย ในเรื่องนี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงจะเป็นพราหมณ์ ... เป็นแพศย์ ... เป็นศูทรก็ดีเมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อมักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปก็พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรกข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้. อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้า ได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

           [๔๗๒] ดีละๆ มหาบพิตรป็นความดีที่มหาบพิตร มีความเข้าพระทัย ข้อนี้ อย่างนั้นอนึ่ง เป็นความดีที่ มหาบพิตร ได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระอรหันต์ ทั้งหลาย ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณสี่เหล่านี้ เป็นผู้เสมอกันทั้งหมดหรือมิใช่ หรือมหาบพิตร จะทรงมีความ เข้าพระทัย ในวรรณสี่เหล่านี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณสี่เหล่านี้ ก็เป็นผู้เสมอ กันหมดในวรรณสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

           [๔๗๓] ดูกรมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณที่ประเสริฐคือ พราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว ... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำ โฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยาย แม้นี้
----------------------------------------------------------------------------


5)

แม้กษัตริย์ หรือพราหมณ์ แพศย์ ศูทร เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม พูดเท็จ.. เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าวรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์์ วรรณอื่นเลว จึงรับฟังไม่ได้

           ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้ พึงเว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก การประพฤติผิด ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจาก คำหยาบ เว้นขาด จากคำเพ้อเจ้อไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิใช่ หรือมหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัย ในเรื่องนี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นกษัตริย์ เมื่อเว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก การพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาทเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้. อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ ทั้งหลาย ก็เช่นนั้น.

           [๔๗๔] ดีละๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตร มีความเข้าพระทัย ข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดี ที่มหาบพิตร ได้ทรงสดับข้อนี้มา แต่พระอรหันต์ ทั้งหลาย

            ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัย ความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์ ... แพศย์ ... ศูทร ในโลกนี้ พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรง เข้าพระทัย ในเรื่องนี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นพราหมณ์ ... เป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ก็ดี เมื่อเว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาด จากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็เช่นนั้น.

           [๔๗๕] ดีละๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตร มีความเข้าพระทัย ข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดี ที่มหาบพิตร ได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระอรหันต์ ทั้งหลาย ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัย ความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเป็นเมื่อ เช่นนั้น วรรณสี่เหล่านี้เป็นผู้เสมอกัน หรือมิใช่หรือมหาบพิตร จะทรงมีความเข้าพระทัย ในวรรณสี่เหล่านี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอ กันหมด ในวรรณสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

           [๔๗๖] ดูกรมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณที่ประเสริฐ คือ พราหมณ์เท่านั้น ... พราหมณ์ เป็นทายาท ของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณาในโลก เท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้
----------------------------------------------------------------------------


6)

ถ้ากษัตริย์พึงตัดช่อง ย่องเบา ทำการปล้น คบภรรยาผู้อื่น แล้วมีราชบรุษจับตัวได้ มหาบพิตรจะลงโทษเช่นใด ... พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ตอบว่าพึงให้ฆ่าเสีย แม้พราหมณ์ แพศย์ ศูทร กระทำเช่นนี้ ก็พึงฆ่าเสียเช่นกัน วรรณะทั้งสี่ จึงไม่มีอะไรต่างกัน

           ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ ในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือ ย่องเบา พึงทำการปล้น หรือดักคอยทำร้ายคนที่ทางเปลี่ยว หรือพึงคบหาภริยาของผู้อื่น ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนา จะลงพระราชอาญา สถานใด แก่โจรนี้ ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาญา สถานนั้นเถิด ดังนี้ มหาบพิตร จะพึงโปรด ให้ทำอย่างไรกะโจรนั้น?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสีย หรือพึงผ่าอกเสีย พึงเนรเทศเสีย หรือพึงทำ ตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อน ของเขาว่า กษัตริย์นั้นหายไปเสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจรนั่นเทียว.

           [๔๗๗] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์ ...แพศย์ ... ศูทรในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือย่องเบา พึงทำการปล้น หรือดักคอยทำร้ายคน ที่ทางเปลี่ยวหรือ พึงคบหาภริยาของผู้อื่น ถ้าราชบุรุษทั้งหลาย จับเขาได้ แล้วพึงแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิด ต่อพระองค์ พระองค์ ทรงปรารถนา จะลงพระราชอาญาสถานใดแก่โจรนี้ ขอจงทรงโปรดให้ลง พระราชอาญา สถานนั้นเถิด ดังนี้ มหาบพิตรจะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกะโจรนั้น?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสีย หรือพึงให้ผ่าอกเสีย พึงเนรเทศเสีย หรือพึงทำ ตามสมควร แก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อน ของเขาว่าศูทรนั้น หายไปเสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจรนั่นเทียว.

           [๔๗๘] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณสี่เหล่านี้ ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่ หรือมหาบพิตร จะมีความเข้าพระทัยในวรรณสี่เหล่านี้อย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณสี่เหล่านี้ ก็เป็นผู้เสมอ กันหมดในวรรณสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

           [๔๗๙] ดูกรมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวว่า วรรณที่ประเสริฐ คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว ... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำ โฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบ โดยปริยายแม้นี้
----------------------------------------------------------------------------


7)
ถ้าแม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บวชเป็นบรรพชิต เว้นกการฆ่าสัตว์ ประพฤติ พรหมจรรย์ มหาบพิตรจะทรงทำอย่างไร พระองค์ตอบว่าจะพึงกราบไหว้ เพราะบัดนี้ พวกวรรณทั้งสี่ ได้เข้าถึงความเป็นสมณะแล้ว ... (ไม่มีความต่างกันแล้ว)

           ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้ พึงปลงพระเกศา และ พระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ เสด็จจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวช เป็นบรรพชิต ทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ทรงเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ทรงเว้นขาดจาก การพูดเท็จ ฉันภัตตาหาร หนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม มหาบพิตร จะทรงทำอย่างไร กะราชบรรพชิตนั้น?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง พึง เชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง พึงบำรุงราชบรรพชิตนั้น ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง พึงจัดการรักษา ป้องกันคุ้มครอง อันเป็นธรรมกะ ราชบรรพชิตนั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของเขาว่า กษัตริย์นั้น หายไปแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะนั่นเทียว.

           [๔๘๐] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตร จะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์ ...แพศย์ ... ศูทรในโลกนี้ พึงปลงผม และหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียวประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม มหาบพิตร จะพึงทำอย่างไรกับบรรพชิตนั้น.

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง พึง เชื้อเชิญ ด้วยอาสนะบ้าง พึงบำรุงบรรพชิตนั้นๆ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง พึงจัดการรักษา ป้องกันคุ้มครอง อันเป็นธรรมแก่บรรพชิต นั้นๆ บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของผู้นั้นว่า ศูทร นั้นหายไปแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะนั่นเทียว.

           [๔๘๑] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณสี่เหล่านี้ ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่ หรือในวรรณสี่เหล่านี้ มหาบพิตรจะมีความเข้าพระทัยอย่างไร?

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอ กันหมดในวรรณสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------



8)
ด้วยเหตุนี้ คำว่าวรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์์ วรรณอื่นเลว จึงรับฟังไม่ได้ เป็นแค่คำโฆษณาเท่านั้น

           [๔๘๒] ดูกรมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณที่ประเสริฐคือ พราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว วรรณที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้น บริสุทธิ์ ผู้มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรพรหม เป็นโอรสเกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหมอันพรหมนิรมิตร เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายนี้.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------



9)
พระเจ้ามธุรราช แสดงพระองค์เป็นอุบาสกไปตลอดชีวิต

           [๔๘๓] เมื่อท่านพระมหากัจจานะ กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุรราช อวันตีบุตร ได้ตรัสว่า ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่าน แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงาย ของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระกัจจานะผู้เจริญ ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ขอถึง พระกัจจานะผู้เจริญ พระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระกัจจานะผู้เจริญ จงจำข้าพเจ้าว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

           [๔๘๔] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรอย่าทรงถึงอาตมภาพว่าเป็นสรณะเลย จงทรงถึงพระผู้มีพระภาค ที่อาตมภาพถึงว่าเป็นสรณะนั้น ว่าเป็นสรณะเถิด.

           ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน?
--------------------------------------------------------------------------------------------------------



10)
พระเจ้ามธุรราช มีศรัทธาพระผู้มีพระภาคอันหยั่งลงมั่น แม้จะเดินทางไกลไปเข้าเฝ้า ก็ไม่หวั่น แต่อนิจจา พระองค์เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว

           ดูกรมหาบพิตร เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว.

           [๔๘๕] ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ก็ถ้าข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น (ประทับอยู่) ในทางสิบโยชน์ ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทางสิบโยชน์ ... สามสิบโยชน์ ... สี่สิบโยชน์ ... ห้าสิบโยชน์ ... แม้ร้อยโยชน์ ข้าพเจ้าก็จะพึง ไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทางร้อยโยชน์ แต่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว

          ข้าพเจ้าจึงขอถึง พระผู้มีพระภาค แม้เสด็จ ปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะขอพระกัจจานะผู้เจริญ จงจำคำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

 

เรื่องราวของท่านพระมหากัจจานะ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง
1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๒/ ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ

2
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๖ / เรื่องพระเจ้ามธุรราช

3
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๒ / ๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๐/ ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

4
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘ / ว่าด้วยลักษณะมุนี
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒/ ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔ / เอตทัคคบาลี
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๒ / (ปฐมปัณณาสก์)

5
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๘ / ๖. กัจจานสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๒ / ๘. สมยสูตรที่ ๒
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๔ / ๕. เถรสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๒ / ๖. โสณสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๙ / ๘. มหากัจจานสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๓ / (มาคันทิยปัญหา)

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์