เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระสารีบุตร (ไม่รวมอรรถกถา)
อัครสาวกเบื้องขวา เอตทัคคะด้านผู้มีปัญญามาก
Sa107
               ออกไปหน้าหลัก 7 of 7
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (57) การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์
       ๑. การเสพกายสมาจาร
       ๒. การเสพวจีสมาจาร
       ๓. การเสพมโนสมาจาร
       ๔. การเสพจิตตุปบาท
       ๕. การเสพสัญญาปฏิลาภ
       ๖. การเสพทิฏฐิปฏิลาภ
       ๗. การเสพอัตตภาวปฏิลาภ
       ๘. การเสพอารมณ์หก
       ๙. การเสพปัจจัยสาม
       ๑๐.-๑๓ การเสพคาม – นิคม -นคร - ชนบท
       ๑๔. การเสพบุคคล
  (58) เหตุให้ได้เป็นอนาคามี
  (59) คติ ๕
  (60) สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่ (โลกุตตรสมาธิ)
  (61) สมาธิสูตรที่ ๓ : ภิกษุเป็นจำเข้าหาพระสารีบุตร ถามเรื่องสมาธิ
  (62) อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๓)
  (63) ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง
  (64) อรัญญิกธุดงค์ เรื่องมารยาทและโคจรของพระป่า (โคลิสสานิสูตร) (จบ)
  (65) พระสารีบุตรเทศนาให้กับ อนาถบิณฑิก ซึ่งป่วยเป็นไข้หนัก จนทำให้อนาถร้องไห้ (
         พระสารีบุตร (จบ)

 


(57)
อริยสัจภาคปลาย หน้า 1143


การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์
แก่ความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล


๑. การเสพกายสมาจาร

            สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจาร (การประพฤติประจำ ทางกาย) ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารชนิดนี้ บุคคล ไม่ควรเสพ. สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจารชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ กายสมาจารชนิดนี้บุคคลควรเสพ

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพ อยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณี นี้เป็นผู้มี ปาณาติบาต เป็นพรานมีมือ เปื้อนเลือด วุ่นอยู่แต่การประหัตประหาร ไม่มีความเอ็นดู ในสัตว์ มีชีวิต และเป็นผู้ ถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์ แห่งทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้าน ก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย และ เป็นผู้ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือประพฤติผิด ในหญิง ทั้งหลาย ที่มีมารดา รักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษา พี่น้องชายรักษาพี่น้อง หญิงรักษา ญาติ รักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้ที่สุดแต่หญิงที่มีผู้สวมมาลาหมั้นไว้

             สารีบุตร เมื่อเสพกายสมาจารชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้และ ศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความ เอ็นดูกรุณาหวัง ประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายและ เป็นผู้ ละอทินนาทาน เว้นขาดจากจาก อทินนาทาน ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ อันเจ้าของ ไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่า ก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย และเป็นผู้ ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเม สุมิจฉาจาร คือไม่ประพฤติผิดในหญิงทั้งหลายที่มีมารดารักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษาพี่น้อง ชายรักษา พี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้สุดแต่หญิงที่มีสวม มาลาหมั้นไว้. สารีบุตร เมื่อเสพ กายสมาจารชนิดนี้แลอกุศลธรรมย่อมเสื่อมกุศลธรรมย่อม เจริญ


อริยสัจภาคปลาย หน้า 1144
๒. การเสพวจีสมาจาร

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งวจีสมาจาร (การประพฤติ ประจำทางวาจา) ชนิดไหนเล่า ?

            สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ กล่าวเท็จ ไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลาง ราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็น พยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าไปอย่าง นั้น ”บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็บอกว่าเห็น เห็นก็บอกว่า ไม่เห็น ดังนี้

กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้างเพราะเหตุเห็น แก่อามิสสิน จ้างบ้าง และ เป็นผู้ กล่าวคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว เก็บไป บอกฝ่ายโน้น เพื่อแตก จากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่าย โน้นแล้ว เก็บมาบอกฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น ทำคนที่ พร้อม เพรียงกันอยู่ให้แตกจากกันอุดหนุน ส่งเสริม คนที่แตกกันอยู่แล้วให้แตกจากกันยิ่งขึ้น

เป็นคนชอบในการเป็นพวกยินดีในการเป็นพวก เป็นคนพอใจในการเป็นพวก กล่าวแต่วาจา ที่ทำให้เป็น พวก และเป็นผู้ กล่าววาจาหยาบ เป็นวาจาทิ่มแทง กักขฬะ เผ็ดร้อน ขัดใจ ผู้อื่น กลัดกลุ้มอยู่ด้วยความ โกรธ ไม่เป็นไปด้วยสมาธิ

และเป็นผู้ กล่าววาจาเพ้อเจ้อ ไม่กล่าวตามกาลอันควร ไม่กล่าวตามเป็นจริง ไม่กล่าวโดยอรรถ ไม่กล่าวโดยธรรม ไม่กล่าวโดยวินัย กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละไม่ถูก เทศะ ไม่มีที่จบ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์

             สารีบุตร เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้แล อกุศล ธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรม ย่อมเสื่อม. สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง วจีสมาจาร ชนิดไหนเล่า ?

            สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้เป็นผู้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุม ก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลาง ราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ว่าไปอย่างนั้น” เขานั้นเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ เห็นก็ บอกว่าเห็น ไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น ดังนี้

             ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุ แห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิส สินจ้างบ้าง และเป็นผู้ ละปิสุณวาจา เว้นขาดจาก ปิสุณวาจา ได้เว้นขาดจากปิสุณวาจาได้ฟังจาก ฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บ ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่เก็บ มาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตก จากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้ว ให้กลับพร้อมเพรียง กัน อุดหนุนคนที่ พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อม เพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อม เพรียงยินดี ในการพร้อมเพรียง พอใจในการพร้อมเพรียง

             กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อม เพรียงกัน และเป็นผู้ ละผรุสวาจา เว้นขาด จากผรุสวาจา กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของ มหาชน กล่าวแต่วาจา เช่นนั้นอยู่ และเป็นผู้ ละสัมผัปปลาวาท เว้นขาดจากสัมผัปปลาวาท กล่าวแต่ใน เวลาอัน สมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจา ที่มีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วย ประโยชน์สมควร แก่เวลา

            สารีบุตร เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1146
๓. การเสพมโนสมาจาร

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งมโนสมาจาร (การประพฤติ ประจำทางใจ) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคน ในกรณีนี้ เป็นผู้มาก ด้วยอภิชฌา เพ่งต่อทรัพย์และ อุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็น ของเรา ดังนี้ และเป็นผู้ มีจิตพยาบาท มีความดำริ แห่งใจ เป็นไปในทางประทุษร้าย ว่า “ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงวินาศ อย่าได้มีอยู่” ดังนี้ สารีบุตร เมื่อเสพมโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อม เจริญกุศลธรรม ย่อมเสื่อม

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง มโนสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วย อภิชฌา ไม่เพ่งต่อ ทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ ของผู้อื่น ว่า“ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็นของเรา” ดังนี้ และเป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริ แห่งใจเป็นไปใน ทางประทุษร้าย โดยมีความรู้สึก อยู่ว่า “ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงไม่มีความ เบียดเบียน ไม่มีความลำบาก จงมีสุข บริหาร ตนอยู่เถิด” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพ มโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมกุศลธรรม ย่อมเจริญ

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1147
๔. การเสพจิตตุปบาท

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง จิตตุปบาท (ความมักเกิดขึ้น แห่งจิต) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนใน กรณีนี้ เป็นผู้มาก ด้วยอภิชฌามีจิตสหรคตด้วย อภิชฌาอยู่ เป็นผู้ มีพยาบาทมีจิตสหรคต ด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ มีวิหิงสามีจิตสหรคตด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพจิตตุปบาท ชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งจิตตุปบาท ชนิดไหนเล่า? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้มากด้วย อภิชฌา มีจิตไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มี พยาบาท มีจิตไม่สหรคตด้วย พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตไม่สหรคตด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพ จิตตุปบาทชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1148
๕. การเสพสัญญาปฏิลาภ

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง สัญญาปฏิลาภ (การได้ความ หมายมั่นเฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า? สารีบุตร บุคคล บางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มากด้วยอภิชฌา อยู่ด้วย สัญญาอันสหรคตด้วยอภิชฌา เป็นผู้ มีพยาบาทอยู่ด้วยด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยพยาบาท เป็นผู้ มีวิหิงสา อยู่ด้วย สัญญาอันสหรคตด้วยวิหิงสา สารีบุตร เมื่อเสพสัญญาปฏิลาภชนิดนี้ แล อกุศลธรรม ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งสัญญาปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ไม่เป็นผู้มากด้วย อภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ ไม่มีพยาบาท มีสัญญาไม่สหรคต ด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยด้วยวิหิงสา อยู่. สารีบุตร เมื่อเสพสัญญาปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1148-1
๖. การเสพทิฏฐิปฏิลาภ

               สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ (การได้ทิฏฐิ เฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคน ในกรณีนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกอื่น ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มีโอปปาติกะสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญา โดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพ ทิฏฐิปฏิลาภ ชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญกุศลธรรมย่อมเสื่อม

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว มี(ผล) ผลวิบาก แห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี โลกนี้ มี โลกอื่นมี มารดา มี บิดา มี โอปปาติกะสัตว์ มี สมณพราหมณ์ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพทิฏฐิ ปฏิลาภ ชนิดนี้ แลอกุศล ธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1149
๗. การเสพอัตตภาวปฏิลาภ

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง อัตตภาวปฏิลาภ (การได้ อัตตภาพเฉพาะชนิด) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร เมื่อบุคคล เกิดด้วยการได้อัตตภาพ ที่ยังประกอบด้วย ทุกข์ เพราะภพของเขายังไม่สิ้นไป อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

            สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งอัตตภาวปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร เมื่อบุคคลเกิดดว้ยการได้อัตตภาพ ที่ไม่ประกอบด้วยทุกข์ เพราะภพของเขาสิ้นไป อกุศลธรรม ย่อมเสื่อม กุศลธรรม ย่อมเจริญ

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1149-1
๘. การเสพอารมณ์หก

            สารีบุตร เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งดว้ ยจักษุชนิดไร อกุศล ธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ไม่ควรเสพ

            สารีบุตร เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งดว้ ยจักษุชนิดไร อกุศล ธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ควรเสพ

(ในกรณีแห่งอารมณ์ห้าที่เหลือ คือเสียง ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่น ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วย จมูกรส ที่พึงรู้แจ้ง ด้วย ลิ้น โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ ตรัสไว้ ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุข้างบนนี้)

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1150
๙. การเสพปัจจัยสาม

            สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรม เสื่อม จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอัน บุคคล ไม่ควรเสพ

            สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอัน บุคคล ควรเสพ (ในกรณีแห่งปัจจัย คือ บิณฑบาต และ เสนาสนะ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ ได้ตรัสไว้ทำนอง เดียวกันกับในกรณี แห่ง จีวร ข้างบนนี้)

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1150-1
๑๐.-๑๓ การเสพคาม – นิคม -นคร - ชนบท

            สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม (หมู่บ้าน) ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ไม่ควรเสพ

            สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ควรเสพ

(ในกรณีแห่งปัจจัย คือ นิคม - นคร - ชนบท ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ตรัสไว้ ทำนอง เดียวกันกับในกรณีแห่ง คาม ข้างบนนี้)


อริยสัจภาคปลาย หน้า 1151
๑๔. การเสพบุคคล

            สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญกุศลธรรม เสื่อมบุคคลชนิดนี้เป็นบุคคล อันบุคคล ไม่ควรเสพ

            สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรม เจริญบุคคลชนิดนี้เป็นบุคคล อันบุคคล ควรเสพ




(58)

อนาคามี หน้า32

เหตุได้ความเป็นอนาคามีหรืออาคามี

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๓/๑๗๑.

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บาง จำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่อง ให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละ โอรัมภา-คิยสังโยชน์ไม่ได้ แต่เขาบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน

         บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้น ดำรงอยู่ใน เนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่มากด้วยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเหล่า เทวดา ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญา นาสัญญายตนภพเขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

         สารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้แล้ว เขา บรรลุเนวสัญญา นาสัญญายตนะ ในปัจจุบันบุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความ ปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้นน้อมใจไป อยู่จนคุ้นใน เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจาก ชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

         สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจาก กายนั้นแล้วเป็น อาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่อง ให้สัตว์บางจำพวก ในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็น อย่างนี้



(59)
อนาคามี หน้า 191

คติ ๕ (ตรัสกับพระสารีบุตร)
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๗/๑๗๐.

          สารีบุตร คติ1 ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) นรก
(2) กำนิดเดรัจฉาน
(3) เปรตวิสัย
(4) มนุษย์
(5) เทวดา

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางยังสัตว์ให้ถึงนรก และปฏิปทาอันจะยัง สัตว์ ให้ถึงนรก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อม เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก2 เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน ทางยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน และ ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการ นั้นด้วย

1 คติ = ทางไปของสัตว์. (ที่นำ ไปสู่ภพ)
2 อบาย ทุคติ วินิบาต นรก = ที่เกิดของสัตว์ต่ำ กว่ามนุษย์.

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย และ ปฏิปทา อันจะ ยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะ กาย แตกย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทางยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก และ ปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลกอนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะ กายแตกย่อมบังเกิดในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย ทางยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก และ ปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะ กายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน และ ปฏิปทา อันจะยัง สัตว์ให้ถึงนิพพาน อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำให้ แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย



(60)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า 1331
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม P1490

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค

(๑) สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่ (โลกุตตรสมาธิ)

        “มีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า !  การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิ ชนิดที่
ไม่มีปฐวีสัญญาในดิน
ไม่มีอาโปสัญญาในน้ำ
ไม่มีเตโชสัญญาในไฟ
ไม่มีวาโยสัญญาในลม
ไม่มีอากาสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ ไม่มีวิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ ไม่มีอากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุด แห่งความไม่มีอะไร ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีอิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาในโลกอื่น ไม่มีสัญญาแม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้ว สิ่งที่ใจติดตามแล้ว นั้น ๆ เลย แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญา อยู่. แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่ ? ”

อานนท์ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่

”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า !”

อานนท์ !  ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า “นั้นสงบรำงับ นั่นประณีต นั่นคือ ธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่ สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้

อานนท์ !  อย่างนี้แล ชื่อว่า การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่ง สมาธิ ชนิดนี้
ไม่มี ปฐวีสัญญา ในดิน
ไม่มี อาโปสัญญา ในน้ำ
ไม่มี เตโชสัญญา ในไฟ
ไม่มี วาโยสัญญา ในลม
ไม่มี อากาศสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ
ไม่มี วิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ
ไม่มี อากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งความไม่มีอะไร
ไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มี อิธโลกสัญญาในโลกนี้
ไม่มี ปรโลกสัญญา ในโลกอื่น
ไม่มี สัญญา แม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว
สิ่งที่ ได้ยินแล้ว
สิ่งที่ รู้สึกแล้ว
สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว
สิ่งที่ บรรลุแล้ว
สิ่งที่ แสวงหาแล้ว
สิ่งที่ ใจติดตามแล้วนั้นๆเลย
แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่

- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๓/๒๑๔.

            [ต่อไปนี้เป็นคำตอบของพระสารีบุตร ต่อคำถามของพระอานนท์ ซึ่งถาม อย่างเดียวกัน กับที่ทูลถามพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรก็ได้ตอบอย่างเดียว กันกับ ที่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบ จนกระทั่งพระอานนท์สรรเสริญว่า พระศาสดา และสาวกมี คำกล่าวตรงกัน ทั้งโดยอรรถะ และโดยพยัญชนะ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ยิ่งนัก

        แต่ในที่อื่นในคราวอื่น (ทสก.อ ๒๔/๑๐/๗) พระสารีบุตรได้ตอบคำถามของ พระอานนท์ ซึ่งอานนท์ซึ่งถามเรื่องเดียวกัน คือเรื่องสมาธิที่ไม่มีสัญญาในสิ่ง อัน เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ หากแต่ถามเว้นอารมณ์จำพวกสุดท้าย คือ สิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้รู้สึก สิ่งที่ไม่รู้แจ้ง สิ่งที่ได้บรรลุ สิ่งที่ได้แสวงหา สิ่งที่ใจติดตาม เสียเท่านั้น

        ซึ่งโดยหลักเกณฑ์นี้แล้ว ท่านควรจะตอบด้วยคำตอบเดียวกัน คือตอบ ว่า การได้ สมาธิ ที่มีสัญญาในนิพพาน ดังบทว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต ดังนี้เป็นต้น แต่ท่านกลับ ไปตอบว่าได้แก่ การได้ สมาธิที่มีสัญญาว่า
การดับไม่เหลือ แห่งภพ คือนิพพาน (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ) ซึ่งเป็น สัญญาที่เคยเกิดแก่ท่านซ้ำ ๆ กันไป ไม่ขาดสาย เหมือนเปลวไฟที่เกิดขึ้น ทยอยกัน ฉันนั้น อันเป็นการได้สมาธิ ที่ได้ เมื่อท่านอาศัย อยู่ที่ป่า อันธวัน ใกล้เมืองสาวัตถี

        ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า คำตอบอย่างแรกโน้น บรรยายลักษณะของ นิพพาน ในหลายแง่หลายมุม, ส่วนคำตอบในสูตรนี้ ระบุแต่เพียงแง่เดียว ประเด็นเดียว ว่าได้แก่
การดับไม่เหลือแห่งภพ และขอให้เห็นลึกลงไปถึงว่า นิพพานไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ แต่ก็เป็นอารมณ์ แห่งสัญญาได้เหมือนกัน สัญญาจึงเป็นสิ่งที่มีได้ทั้ง ในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือและ ในสิ่งที่มิได้ เป็นอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือ กล่าวคือ ในพระนิพพาน นั่นเอง

        สรุปความว่า
สัญญามีได้ทั้งในสิ่งที่่เป็นสังขตะ และอสังขตะ โดยลักษณะ ที่ตรง กันข้ามทีเดียว]

        ๑. บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ”.



(61)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๗๖-๓๗๗

สมาธิสูตรที่ ๓
ภิกษุเป็นจำนวนมากเข้าหาพระสารีบุตร สอบถามเรื่องสมาธิ
P1490

               [๒๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก ได้เข้าไปหาท่าน พระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับด้วย พระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

               ครั้นแล้วได้ถาม ท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้ หรือหนอแล

การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่า เป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

               ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุ ได้สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

               ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

               สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

               ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้ สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา



(62)
สมถะ หน้า 606

อินทรีย์ ๕
(นัยที่ ๓)

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙–๓๐๐/๑๐๑๗–๑๐๒๒.

           ... ดีละๆ สารีบุตร. อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวก นั้นไม่พึง เคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของ พระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละ อกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรมทั้งหลาย

           สารีบุตร.ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภ ความเพียรแล้ว พึงหวัง ข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง รักษา ตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้

            สารีบุตร. ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็น สตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักกระทำให้ได้ซึ่ง กระทำ โวสสัคคารมณ์ (ความที่จิตมีการปล่อย หรือการวางเป็นอารมณ์) แล้วได้สมาธิ จักได้ซึ่งความตั้งมั่น แห่งจิต ได้เอกัคคตาจิต

            สารีบุตร. ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุด ไม่ปรากฏ แก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชา เป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไป แล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการสำรอก โดยไม่ เหลือแห่งกองมืด คือ อวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความ สละคืนอุปธิ ทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

           สารีบุตร.ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล พยายามอย่างนี้
ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้
ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้
ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้
ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง
เหตุนั้น บัดนี้เราถูกต้องด้วยกายอยู่
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

           สารีบุตร.สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ของ อริยสาวก นั้น ดังนี้แล



(63)
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 135-137

ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง


ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพลญาณ ๑๐ อย่าง และ ประกอบด้วย เวสารัชชญาณ ๔ อย่าง จึงปฎิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศ พรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย

สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นตถาคตพล ๑๐ อย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบ พร้อมแล้วปฎิญญา ตําแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลาง บริษัท ทั้งหลายได้

สิบอย่างคือ
(๑) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งสิ่งเป็นฐานะ (คือมีได้เป็นได้) โดยความ เป็นสิ่ง มีฐานะ ซึ่งสิ่งไม่เป็นฐานะ (คือไม่มีได้ไม่เป็นได้) โดยความเป็นสิ่งใช่ฐานะ นี้เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๒) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบาก (คือผล) ของการทํากรรมที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ทั้งโดยฐานะและโดยเหตุ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๓) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งปฏิปทาเครื่องทําผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ ภูมิทั้งปวง ได้ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๔) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งโลกนี้อันประกอบด้วยธาตุมิใช่อย่างเดียว ด้วยธาตุต่างๆ กัน นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๕) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอธิมุติ (คือฉันทะและอัธยาศัย) อันต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต 

(๖) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์ เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๗) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย นี่ก็เป็นตถาคตพลของ ตถาคต 

(๘) ตถาคต ย่อมระลึกได้ ซึ่งขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีชนิดต่าง ๆ กัน คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง--ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๙) ตถาคต ย่อมเห็นสัตว์ ท. ด้วยทิพยจักขุอันหมดจด ก้าวล่วงจักขุมนุษย์ เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนอยู่บังเกิดอยู่---ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพล ของตถาคต 

(๑๐) ตถาคต ย่อมทําให้แจ้ง เจโตวิมุติ ป๎ญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะเพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ได้๔---ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

สารีบุตร ! เหล่านี้แล เป็นตถาคตพลสิบอย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบ แล้ว ย่อมปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร  ให้เป็นไปใน ท่ามกลางบริษัททั้งหลาย



(64)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๖๘-๑๗๒

๙. โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์ (เรื่องพระป่า)
พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ ภิกษุ ท.และ ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ
P1440

(โดยย่อ)

โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์ (เรื่องพระป่า)

ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาท หยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง

พระสารีบุตรปรารภกับโคลิสสานิภิกษุ ว่า
ถ้าท่าน ไม่เป็นผู้เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรี ในป่า ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียด ภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์
(1) ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีว่า เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ
(2) ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก
(3) ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลา ก่อนภัต ในเวลาหลังภัต
(4) ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.
(5) ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น
(6) ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร
(7) ควรเป็นผู้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย.
(8) ควรเป็นผู้รู้ ประมาณ ในโภชนะ
(9) ควรเป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ
(10) ควรเป็นผู้ ปรารภความเพียร
(11) ควรเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น
(12) ควรเป็นผู้ มีจิตตั้งมั่น
(13) ควรเป็น ผู้มีปัญญา
(14) ควรทำ ความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย
(15) ควรทำความเพียรในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ.
(16) ควรทำ ความเพียร ในอุตตริมนุสสธรรม.

             [๒๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาท หยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.

             [๒๐๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร ปรารภโคลิสสานิภิกษุ จึงเรียก ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มี ความเคารพ ยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

             [๒๐๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (1) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียด ภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ. ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปในสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใด ไม่รู้จักธรรม แม้เพียงอภิสมาจาริกวัตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง.

             [๒๐๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (2) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไป สู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก. ถ้าภิกษุผู้ สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก.

             [๒๐๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (3) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลา ก่อนภัต ในเวลาหลังภัต. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ถึงความเที่ยว ไป ใน ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัตในเวลาหลังภัต จะมีผู้ว่าภิกษุ นั้นได้ว่าการ เที่ยวไป ในเวลาวิกาล อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรี ในป่าแต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอ ผู้ไปสู่ สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต.

             [๒๐๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (4) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิก ธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ความคะนองกาย คะนองวาจา อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรีในป่า แต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอ ผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.

             [๒๐๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (5) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น. ถ้าภิกษุผู้ สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์ อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไป สู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น.

             [๒๑๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (6) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านนี้ใด เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีประโยชน์ อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้นภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร.

             [๒๑๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (7) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ไม่เป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้ คุ้มครอง ทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่าน ผู้นี้ซึ่ง สมาทาน อรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย.

             [๒๑๒] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย(8) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้รู้ ประมาณ ในโภชนะ. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะ.

             [๒๑๓] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (9) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ ไม่ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใด เป็นผู้ ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น เนืองๆ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรี ในป่า แต่ท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้ประกอบ ความเพียรเป็น เครื่องตื่น เนืองๆ.

             [๒๑๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (10) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ ปรารภความเพียร. ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้เกียจคร้าน จะมี ผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านนี้ ใดเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรี ในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควร เป็นผู้ปรารภความเพียร.

             [๒๑๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (11) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มี สติฟั่นเฟือน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์จึงควรเป็นผู้มี สติตั้งมั่น.

             [๒๑๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (12) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ มีจิตตั้งมั่น. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ ไม่มีจิตตั้งมั่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มี จิตตั้งมั่น

             [๒๑๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (13) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็น ผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีปัญญา

             [๒๑๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (14) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำ ความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรม และในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์มีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถาม ปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์ ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ ว่า ท่านผู้นี้ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ ของเขา ให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.

             [๒๑๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (15) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำ ความเพียรใน วิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ. เพราะคนผู้ถาม ในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติมีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหาในวิโมกข์ อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ที่ล่วงรูปสมาบัติ แล้ว ให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถาม ปัญหาในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ที่ล่วง รูปสมาบัติแล้ว ยังความประสงค์ ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียรไว้ใน วิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ

             [๒๒๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (16) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม(ธรรมอันยิ่งยวด). เพราะคนผู้ถามปัญหา ใน อุตตริมนุสสธรรม กะภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว ให้ความประสงค์ ของเขา สำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้บวชเพื่อประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันใด ไม่รู้จักประโยชน์แห่งคุณวิเศษ อันนั้นจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม

             [๒๒๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เท่านั้นหรือ ที่ควรสมาทานธรรม เหล่านี้ประพฤติ หรือแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน ก็ควรสมาทานธรรม เหล่านี้ประพฤติ?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรโมคคัลลานะ แม้ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ยังควร สมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ จะกล่าวไปไยถึงภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านเล่า.

จบ โคลิสสานิสูตร ที่ ๙



(65)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๘

  (พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา)
  ยัดแย้งกับ ผัคคุณสูตร ผู้ฟังธรรมก่อนทำกาละจะเป็น อนาคามี ได้กายพรหม
  ชั้นสุทธาวาส เพราะสิ้นสังโยชน์ ๕
  แต่สูตรนี้กลับได้กายชั้นดุสิต ซึ่งเป็นเทวดาชั้นกามภพ

สฬายตนวรรค
๒. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร (๑๔๓)
P1521


          [๗๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ป่วยทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดพ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับแล้วจงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วจงกราบทูลอย่างนี้ว่า

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาท พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า

1) พระสารีบุตรอนุเคราะห์แสดงธรรมให้กับ อนาถบิณฑิกคฤหบดี

          อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่แล้ว จงกราบเท้าท่านพระสารีบุตร ตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และ เรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตร จงอาศัย ความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำ อนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

          [๗๒๑] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า

          ต่อนั้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้า ท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้าและสั่งมา อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาส เหมาะแล้ว ขอท่าน พระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของอนาถ บิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ

          ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนุ่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์ เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ ของอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะ ที่เขาแต่งตั้งไว้

          [๗๒๒] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏความ ทุเลาเป็นที่สุด ไม่ ปรากฏความกำเริบละหรือ

2) อนาถบิณฑิก มีทุกขเวทนาหนัก อาการกำเริบ ไม่ทุเลาเลย

          อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนา ของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความ ทุเลาเลย

          [๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณ กระทบขม่อมของกระผม อยู่เหมือนบุรุษ มีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผมจึงทน ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมีความกำเริบ เป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย

          [๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะ ด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมีความกำเริบ เป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย

          [๗๒๕] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณ ปั่นป่วนท้อง ของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอันคมคว้าน ท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหวเป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนักกำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย

          [๗๒๖] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่า ที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้นกระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนา ของกระผม หนัก กำเริบไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความ ทุเลาเลย

3) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่องความไม่ยึดมั่นในอายตนะภายใน ๖

          [๗๒๗] สา. ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุ จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสต จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัยฆานะ จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัยชิวหา จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกาย จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโน จักไม่มีแก่เรา

          ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

4) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่อง ความไม่ยึดมั่นในอายตนะภายนอก ๖

          [๗๒๘] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูปและวิญญาณที่อาศัยรูป จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียงและวิญญาณที่อาศัยเสียงจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่นและวิญญาณที่อาศัยกลิ่นจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรสและวิญญาณที่อาศัยรสจักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะและวิญญาณ ที่อาศัยโผฏฐัพพะ จักไม่มีแก่เรา
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์ จักไม่มีแก่เรา

          ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

5) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่อง ไม่ยึดมั่นในวิญญาณ

          [๗๒๙] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยโสตวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยฆานวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยชิวหาวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัย กายวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

6) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่อง ความไม่ยึดมั่นในผัสสายตนะ ๖

          [๗๓๐] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยโสตสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยฆานสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยชิวหาสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยกายสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

7) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่องความไม่ยึดมั่นในเวทนา

          [๗๓๑] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา เกิดแต่จักษุสัมผัส
และวิญญาณ ที่อาศัยเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยเวทนา เกิดแต่โสตสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยเวทนา เกิดแต่ฆานสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนา เกิดแต่ชิวหาสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่กายสัมผัส
และ วิญญาณที่อาศัยเวทนา เกิดแต่กายสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส
และวิญญาณที่อาศัยเวทนา เกิดแต่มโนสัมผัส จักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

8) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่องความไม่ยึดมั่นในธาตุทั้ง ๖

          [๗๓๒] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ
และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอาโปธาตุ
และวิญญาณที่อาศัย อาโปธาตุจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ
และวิญญาณที่อาศัย เตโชธาตุ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวาโยธาตุ
และวิญญาณที่อาศัย วาโยธาตุ จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ
และวิญญาณที่อาศัยอากาสธาตุ จักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

9) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่องความไม่ยึดมั่นใน ขันธ์ ๕

          [๗๓๓] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูป
และวิญญาณ ที่อาศัยรูป จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา
และวิญญาณที่อาศัยเวทนา จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา
และวิญญาณที่อาศัยสัญญา จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร
และวิญญาณที่อาศัยสังขาร จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณ จักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

10) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่องความไม่ยึดมั่นใน สมาธิชั้นอรูป

          [๗๓๔] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน
และวิญญาณที่อาศัย อากาสานัญจายตนฌาน จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น วิญญาณัญจายตนฌาน
และวิญญาณ ที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น อากิญจัญญายตนฌาน
และวิญญาณ ที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
และ วิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

11) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่องความไม่ยึดมั่นในโลกนี้ โลกหน้า

          [๗๓๕] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้
และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า
และวิญญาณที่อาศัย โลกหน้าจักไม่มีแก่เรา

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

12) พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาเรื่องความไม่ยึดมั่นในอารมณ์ต่างๆ

          [๗๓๖] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า อารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณ ที่อาศัยอารมณ์นั้น จักไม่มีแก่เรา

           ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

13) อนาถบิณฑิก ร้องไห้ น้ำตาไหล เพราะไม่เคยสนใจฟังจากพระศาสดาเลย

          [๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวแล้วอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดี ร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะ อนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ

          อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่ว่ากระผมได้นั่งใกล้ พระศาสดา และหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้

          อา. ดูกรคฤหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต

          อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้ง แก่คฤหัสถ์ ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมา มีกิเลสธุลีในดวงตาน้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ

          ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร และท่านพระอานนท์ กล่าวสอนอนาถบิณฑิก คฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป

14) อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้ทำกาละ เข้าถึงชั้นดุสิต

          [๗๓๘] ต่อนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดี เมื่อท่านพระสารีบุตร และท่าน พระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน ก็ได้ทำกาลกิริยาเข้าถึงชั้นดุสิตแล *

* (อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ทำกาละหลังฟังธรรมจากพระสารีบุตร ได้เข้าถึงเทวดาชั้นดุสิต น่าจะเป็นเรื่อง ที่แต่งขึ้นมาเพราะ ขัดกับ ผัคคุณสูตร ที่พระองค์ตรัสว่าหากได้ฟังธรรมของ ตถาคตจะสิ้นสังโยชน์ ๕ ซึ่งจะได้กายเทวดาพรหมชั้นสุทธาวาส)


15) อนาถบิณฑิกเทพบุตร มีรัศมีงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กล่าวคาถา

           ครั้งนั้น ล่วงปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตร มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวัน ให้สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ยืน ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

          พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์ผู้เป็น ธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ ด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็ง เห็นประโยชน์ ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะ บริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตร นั้นแล ย่อม บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริงภิกษุผู้ถึง ฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่ง ก็เท่าพระสารีบุตรนี้

          อนาถบิณฑิกเทวบุตร กล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ต่อนั้น อนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค แล้วกระทำประทักษิณหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

16) พระศาสดาตรัสกับภิกษุทั้งหลาย ทรงเล่าเรื่อง เทพบุตร เข้าเฝ้า

          [๗๓๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราด้วยคาถานี้ว่า

          พระวิหารเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์ ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ ด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็น ประโยชน์ ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้วจะอย่างยิ่ง ก็เท่าพระสารีบุตรนี้

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่าพระศาสดา ทรงพอ พระทัย จึงอภิวาทเรา แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นแล

17) พระอานนท์รับฟังแล้วคิดว่าคงเป็น อนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่

          [๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้น คงจักเป็นอนาถบิณฑิก เทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในท่านพระสารีบุตร

          พ. ดูกรอานนท์ ถูกแล้วๆ เท่าที่คาดคะเนนั้นแล เธอลำดับเรื่องถูกแล้ว เทวบุตรนั้น คืออนาถบิณฑิกเทวบุตร มิใช่อื่น

          พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล

จบ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑

   รวมพระสูตร ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
   แสดงธรรมโดยพระสารีบุตร และพระอานนท์


   (P1544) ฉบับหลวง (พุทธวจน) เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๘
   ทุสีลยสูตรที่ ๑ จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐
(พระสารีบุตร)
     .....................................................................

   (P1545) ฉบับหลวง (อรรถกถา) เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๓๘๒
   ทุสีลยสูตรที่ ๒ กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม ๔ ประการ (พระอานนท์)

   (P1521) ฉบับหลวง (อรรถกถา) เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๘
   สฬายตนวรรค ๒ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร (พระสารีบุตร)

 

   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์