เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์ (เรื่องมารยาทและคุณสมบัติของพระป่า) 1440
 

(โดยย่อ)

โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์ (เรื่องพระป่า)

ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาท หยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง

พระสารีบุตรปรารภกับโคลิสสานิภิกษุ ว่า
ถ้าท่าน ไม่เป็นผู้เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรี ในป่า ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียด ภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์
(1) ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีว่า เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ
(2) ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก
(3) ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลา ก่อนภัต ในเวลาหลังภัต
(4) ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.
(5) ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น
(6) ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร
(7) ควรเป็นผู้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย.
(8) ควรเป็นผู้รู้ ประมาณ ในโภชนะ
(9) ควรเป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ
(10) ควรเป็นผู้ ปรารภความเพียร
(11) ควรเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น
(12) ควรเป็นผู้ มีจิตตั้งมั่น
(13) ควรเป็น ผู้มีปัญญา
(14) ควรทำ ความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย
(15) ควรทำความเพียรในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ.
(16) ควรทำ ความเพียร ในอุตตริมนุสสธรรม.


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๖๘-๑๗๒


๙. โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์
(เรื่องพระป่า)
พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ ภิกษุ ท.และ ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ

             [๒๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาท หยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.

             [๒๐๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร ปรารภโคลิสสานิภิกษุ จึงเรียก ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มี ความเคารพ ยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

             [๒๐๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (1) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียด ภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ. ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปในสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใด ไม่รู้จักธรรม แม้เพียงอภิสมาจาริกวัตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง.

             [๒๐๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (2) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไป สู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก. ถ้าภิกษุผู้ สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก.

             [๒๐๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (3) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลา ก่อนภัต ในเวลาหลังภัต. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ถึงความเที่ยว ไป ใน ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัตในเวลาหลังภัต จะมีผู้ว่าภิกษุ นั้นได้ว่าการ เที่ยวไป ในเวลาวิกาล อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรี ในป่าแต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอ ผู้ไปสู่ สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต.

             [๒๐๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (4) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิก ธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ความคะนองกาย คะนองวาจา อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรีในป่า แต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอ ผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.

             [๒๐๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (5) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น. ถ้าภิกษุผู้ สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์ อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไป สู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น.

             [๒๑๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (6) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านนี้ใด เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีประโยชน์ อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้นภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร.

             [๒๑๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (7) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ไม่เป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้ คุ้มครอง ทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่าน ผู้นี้ซึ่ง สมาทาน อรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย.

             [๒๑๒] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย(8) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้รู้ ประมาณ ในโภชนะ. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะ.

             [๒๑๓] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (9) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ ไม่ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใด เป็นผู้ ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น เนืองๆ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรี ในป่า แต่ท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้ประกอบ ความเพียรเป็น เครื่องตื่น เนืองๆ.

             [๒๑๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (10) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ ปรารภความเพียร. ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้เกียจคร้าน จะมี ผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านนี้ ใดเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรี ในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควร เป็นผู้ปรารภความเพียร.

             [๒๑๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (11) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มี สติฟั่นเฟือน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์จึงควรเป็นผู้มี สติตั้งมั่น.

             [๒๑๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (12) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ มีจิตตั้งมั่น. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ ไม่มีจิตตั้งมั่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มี จิตตั้งมั่น

             [๒๑๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (13) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็น ผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีปัญญา

             [๒๑๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (14) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำ ความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรม และในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์มีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถาม ปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์ ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ ว่า ท่านผู้นี้ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ ของเขา ให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.

             [๒๑๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (15) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำ ความเพียรใน วิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ. เพราะคนผู้ถาม ในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติมีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหาในวิโมกข์ อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ที่ล่วงรูปสมาบัติ แล้ว ให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถาม ปัญหาในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ที่ล่วง รูปสมาบัติแล้ว ยังความประสงค์ ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียรไว้ใน วิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ

             [๒๒๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (16) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม(ธรรมอันยิ่งยวด). เพราะคนผู้ถามปัญหา ใน อุตตริมนุสสธรรม กะภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว ให้ความประสงค์ ของเขา สำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้บวชเพื่อประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันใด ไม่รู้จักประโยชน์แห่งคุณวิเศษ อันนั้นจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม

             [๒๒๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เท่านั้นหรือ ที่ควรสมาทานธรรม เหล่านี้ประพฤติ หรือแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน ก็ควรสมาทานธรรม เหล่านี้ประพฤติ?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรโมคคัลลานะ แม้ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ยังควร สมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ จะกล่าวไปไยถึงภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านเล่า.

จบ โคลิสสานิสูตร ที่ ๙.







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์