เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 สมาธิขั้นสูง สูตรที่ ๑ -สูตรที่ ๔ ที่พระผูั้มีพระภาค และพระสารีบุตรแสดงไว้ 1490
 

(โดยย่อ)

สมาธิสูตรที่ ๑  สูตรที่ ๒   สูตรที่ ๓   สูตรที่ ๔
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การที่ภิกษุได้ สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็น ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ใน รูป ที่ได้เห็น เสียง ที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ (กลิ่น รส สัมผัส) ธรรมที่รู้แจ้ง (ธรรมารมณ์) ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง เป็นผู้มีสัญญา

อริยสัจจากพระโอษฐ์
เทียบกับการอธิบายของ ท่านพุทธทาสในเรื่องเดียวกัน จาก อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗ ในเรื่อง โลกุตตรสมาธิ (สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๗๓ -๓๗๗


สมาธิสูตรที่ ๑

            [๒๒๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญใน ปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน อาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุ(ธาตุน้ำ)เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน เตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุ(ธาตุไฟ)เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน วาโยธาตุว่า เป็นวาโยธาตุ(ธาตุลม)เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน อากาสานัญจายตนะว่า เป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน วิญญาณัญจายตนะว่า เป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน อากิญจัญญายตนะว่า เป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน โลกนี้ว่า เป็นโลกนี้เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน โลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญใน รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้การที่ภิกษุ ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึง แล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมี ความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยินอารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืน อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะ ว่าเป็นอากาสานัญจายตนะ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญาจายตนะ ว่าเป็นอากิญจัญญายตนะ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยินอารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

จบสูตรที่ ๘


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๗๓ -๓๗๗

สมาธิสูตรที่ ๒

            [๒๒๖] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้วตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง ขอประทานพระวโรกาส ขออรรถแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้ง กะพระผู้มีพระภาค เถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ ไม่พึงมีความ สำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้วแสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิ ทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูป ที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

จบสูตรที่ ๙


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๗๓ -๓๗๗

สมาธิสูตรที่ ๓
(ภิกษุ ท.เข้าหาพระสารีบุตร ก็ได้คำตอบเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาค)

            [๒๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับด้วยพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการ ที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมี ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

จบสูตรที่ ๑๐


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๗๓ -๓๗๗

สมาธิสูตรที่ ๔


            [๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร ถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่า เป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผม มาแต่ที่ไกล เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่ง ภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่าน พระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่าน พระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้

       ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลาย จงฟังอรรถแห่ง ภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่าน พระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความ สำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาต ุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียง ที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง เป็นผู้มีสัญญา

       ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

       สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

        ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึง มีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา



อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค

สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่ (โลกุตตรสมาธิ)

        “มีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า !  การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิ ชนิดที่
ไม่มีปฐวีสัญญาในดิน
ไม่มีอาโปสัญญาในน้ำ
ไม่มีเตโชสัญญาในไฟ
ไม่มีวาโยสัญญาในลม
ไม่มีอากาสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ ไม่มีวิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ ไม่มีอากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุด แห่งความไม่มีอะไร ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีอิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาในโลกอื่น ไม่มีสัญญาแม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้ว สิ่งที่ใจติดตามแล้ว นั้น ๆ เลย แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญา อยู่. แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่ ? ”

อานนท์ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่

”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า !”

อานนท์ !  ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า “นั้นสงบรำงับ นั่นประณีต นั่นคือ ธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่ สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้

อานนท์ !  อย่างนี้แล ชื่อว่า การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่ง สมาธิ ชนิดนี้
ไม่มี ปฐวีสัญญา ในดิน
ไม่มี อาโปสัญญา ในน้ำ
ไม่มี เตโชสัญญา ในไฟ
ไม่มี วาโยสัญญา ในลม
ไม่มี อากาศสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ
ไม่มี วิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ
ไม่มี อากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งความไม่มีอะไร
ไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มี อิธโลกสัญญาในโลกนี้
ไม่มี ปรโลกสัญญา ในโลกอื่น
ไม่มี สัญญา แม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว
สิ่งที่ ได้ยินแล้ว
สิ่งที่ รู้สึกแล้ว
สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว
สิ่งที่ บรรลุแล้ว
สิ่งที่ แสวงหาแล้ว
สิ่งที่ ใจติดตามแล้วนั้นๆเลย
แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่

- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๓/๒๑๔.

            [ต่อไปนี้เป็นคำตอบของพระสารีบุตร ต่อคำถามของพระอานนท์ ซึ่งถาม อย่างเดียวกัน กับที่ทูลถามพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรก็ได้ตอบอย่างเดียว กันกับ ที่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบ จนกระทั่งพระอานนท์สรรเสริญว่า พระศาสดา และสาวกมี คำกล่าวตรงกัน ทั้งโดยอรรถะ และโดยพยัญชนะ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ยิ่งนัก

        แต่ในที่อื่นในคราวอื่น (ทสก.อ ๒๔/๑๐/๗) พระสารีบุตรได้ตอบคำถามของ พระอานนท์ ซึ่งอานนท์ซึ่งถามเรื่องเดียวกัน คือเรื่องสมาธิที่ไม่มีสัญญาในสิ่ง อัน เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ หากแต่ถามเว้นอารมณ์จำพวกสุดท้าย คือ สิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้รู้สึก สิ่งที่ไม่รู้แจ้ง สิ่งที่ได้บรรลุ สิ่งที่ได้แสวงหา สิ่งที่ใจติดตาม เสียเท่านั้น

ซึ่งโดยหลักเกณฑ์นี้แล้ว ท่านควรจะตอบด้วยคำตอบเดียวกัน คือตอบ ว่า การได้ สมาธิ ที่มีสัญญาในนิพพาน ดังบทว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต ดังนี้เป็นต้น แต่ท่านกลับ ไปตอบว่าได้แก่ การได้ สมาธิที่มีสัญญาว่า
การดับไม่เหลือ แห่งภพ คือนิพพาน (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ) ซึ่งเป็น สัญญาที่เคยเกิดแก่ท่านซ้ำ ๆ กันไป ไม่ขาดสาย เหมือนเปลวไฟที่เกิดขึ้น ทยอยกัน ฉันนั้น อันเป็นการได้สมาธิ ที่ได้ เมื่อท่านอาศัย อยู่ที่ป่า อันธวัน ใกล้เมืองสาวัตถี

ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า คำตอบอย่างแรกโน้น บรรยายลักษณะของ นิพพาน ในหลายแง่หลายมุม, ส่วนคำตอบในสูตรนี้ ระบุแต่เพียงแง่เดียว ประเด็นเดียว ว่าได้แก่
การดับไม่เหลือแห่งภพ และขอให้เห็นลึกลงไปถึงว่า นิพพานไม่ได้เป็น ที่ตั้งแห่งความยึดถือ แต่ก็เป็นอารมณ์ แห่งสัญญาได้เหมือนกัน สัญญาจึงเป็นสิ่งที่ มีได้ทั้ง ในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือและ ในสิ่งที่มิได้ เป็นอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือ กล่าวคือ ในพระนิพพาน นั่นเอง

        สรุปความว่า
สัญญามีได้ทั้งในสิ่งที่่เป็นสังขตะ และอสังขตะ โดยลักษณะ ที่ตรง กันข้ามทีเดียว]

        ๑. บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ”






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์