นิทเทศ ๒๑ ว่าด้วย สัมมาสมาธิ
(มี ๕๑ เรื่อง)
หมวด ก. ว่าด้วยอุทเทศ –วิภาคของสัมมาสมาธิ
1278
อุทเทศแห่งสัมมาสมาธิ
ภิกษุ ท. ! สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็น อกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็เครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปี ติย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติย ฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.
1278-1
สมาธิภาวนา มีประเภทสี่
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ ภิกษุ ท. ! มี สมาธิภาวนา อันบุคคล เจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม (ทิฏฐธมฺมสุขวิหาร).
ภิกษุ ท. ! มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ (ญาณทสฺสนปฏิลาภ).
ภิกษุ ท. ! มี สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ (สติสมฺปชญฺญ)
ภิกษุท. ! มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ (อาสวกฺขย).
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม;
นั้นเป็นอย่าง ไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอัน เกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนาม กาย ชนิด ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาล ก่อนเข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้กระทำไว้ในใจซึ่งอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่ากลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น เธอมีจิตอันเปิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไม่มีอะไรห่อหุ้ม ยังจิตที่มีแสง สว่างทั่วพร้อมให้เจริญอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะ ซึ่งญาณทัสสนะ.
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น(หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ สัญญาเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ วิตกเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไปก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ. ภิกษุ ท. ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มีปกติตามเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไป ในอุปทานขันธ์ทั้งห้า ว่า “รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูป เป็นอย่างนี้ เวทนา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็น อย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่ง สัญญา เป็นอย่างนี้ สังขาร เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ความดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ.
1281
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ สมาธิภาวนา ๔ อย่าง.
หมวดข. ว่าด้วยลักษณะ - อุปมาของสัมมาสมาธิ ลักษณะแห่งสัมมาสมาธิชั้นเลิศ ๕ ประการ ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้าอันเป็นอริยะ. ภิกษุ ท. ! การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวก นั้น ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน นายช่างอาบ ก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดีเป็นคนฉลาด โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำ ลง ในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้ ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก ไม่ไหลหยด ฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้าอันเป็นอริยะ ประการที่หนึ่ง
๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุ ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจใน ภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายนี้ ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปี ติและสุขอันเกิดแต่สมาธ ิส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ห้วงนํ้าอันลึก มีน้ำพลุ่งขึ้น ไม่มีปากทางน้ำ เข้าทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ แห่งห้วงน้ำนั้น และฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่ขณะนั้นท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำนั้น ไหลทับไหลท่วมแผ่ทั่ว เต็มไปหมดซึ่งห้วงน้ำนั้นเอง ด้วยน้ำอันเย็น ส่วนไหนๆ ของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่ปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบ ด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สอง
๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย ด้วยนามกาย จึงบรรลุ ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่ เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปีติมิได้ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนใน หนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัวบุณฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บาง เหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำเจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูก ต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก ส่วนไหนๆ ของดอกบัวเหล่านั้นทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหา ปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุ ท. !นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สาม
๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัส ในกาลก่อน จึงบรรลุ ฌานที่สี่อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธ์ิผ่องใส ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัว ด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ ส่วนไหนๆในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี ข้อนี้เป็นฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้ ส่วนใด ส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้วมิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญ สัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สี่
๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ปัจจเวกขณนิมิต เป็ นสิ่งที่ภิกษุนั้นถือเอาแล้วด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดี เข้าไป ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา (ชัดเจน) เปรียบเหมือน คนคนหนึ่ง เห็นคนอีกคนหนึ่ง หรือว่าเหมือน คนยืน เห็นคนนั่ง หรือว่าเหมือน คนนั่ง เห็นคนนอน ฉันใดก็ฉันนั้นที่ปัจจเวกขณนิมิต เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นถือเอาแล้ว ด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดีเข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่ห้า
ภิกษุ ท. ! เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุ เจริญกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ใน ธรรมอันควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆนั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึงซึ่งความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขี พยาน ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ๆ
ภิกษุ ท. !เปรียบเหมือน หม้อนํ้ามีหูจับ ตั้งอยู่บนเชิงรอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปาก กาดื่มได้ บุรุษมีกำลังจับหม้อน้ำนั้น หมุนไปทางใดๆ น้ำย่อมกระฉอกไปทางนั้นๆมิใช่หรือ ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เมื่อสัมมา สมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุ เจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ ในธรรมอันควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง นั้นๆนั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึงซึ่งความสามารถทำได้ จนเป็นสักขีพยาน ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ๆ
ภิกษุ ท. ! หรือเปรียบเหมือน สระโบกขรณี สี่เหลี่ยม กั้นไว้ด้วยขอบคัน เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปาก กาดื่มได้ มีบุรุษ ผู้มีกำลังมาเจาะขอบคันที่ใดๆ น้ำย่อมไหลออกมาโดยที่นั้นๆ มิใช่หรือ ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. !ฉันใดก็ ฉันนั้น ที่เมื่อสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุย่อมน้อม จิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ ในธรรมอันควรกระทำ ให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งนั้นๆนั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึง ซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในเมื่ออายตนะ ยังมีอยู่ๆ
ภิกษุ ท. ! หรือเปรียบเหมือน รถเทียมด้วยม้าอาชาไนยที่ฝึกดีแล้ว ผูกเครื่องผูกครบถ้วนแล้ว เป็นรถที่จอดอยู่หน ทางสี่แพร่ง มีภูมิภาคอันดีสารถีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกม้า เป็นชั้นอาจารย์ ขยันขันแข็ง ขึ้นสู่รถนั้นแล้วจับเชือกด้วย มือ ซ้าย จับปฏักด้วยมือขวา เพียงแต่ยกปฏักขึ้นเป็นสัญญาณ ก็สามารถให้ม้าพารถไปข้างหน้า หรือให้ถอยหลัง ได้ตามที่ ตนปรารถนา นี้ฉันใด
ภิกษุท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเมื่อสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มาก แล้ว อย่างนี้ ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง อยู่ ในธรรมอันควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ นั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึงซึ่งความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขี พยาน ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ๆ.
1286
อริยสัมมาสมาธิมีบริขารเจ็ด
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง อริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร. เธอจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จ ประโยชน์ เราจักกล่าว.ภิกษุ ท. ! อริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! องค์แห่งมรรคเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เหล่าใด อันเป็นองค์ ๗ ประการ ที่แวดล้อมเอกัคคตาจิตอยู่ เอกัคคตาจิตชนิดนี้ เราเรียกว่าเป็นอริย สัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ดังนี้บ้าง ที่มีบริขาร ดังนี้บ้าง.
1286-1
การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด
๑. กลุ่มสัมมาทิฏฐิภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้า อย่างไรเล่า ? คือ เขารู้มิจฉาทิฏฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้สัมมาทิฏฐิ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ความรู้ของเขานั้นเป็น สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุ ท. ! มิจฉาทิฏฐิเป็น อย่างไรเล่า ? นั้นคือทิฏฐิที่เห็นว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล)ผล วิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกอื่น ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มี โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วย ปัญญาโดยชอบเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มีอยู่” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาทิฏฐิว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ (สาสว)เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ (อนาสว) นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก (โลกุตฺตร) เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน (มคฺคงฺค)ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยูjกับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า? นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ทาน ที่ให้แล้ว มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรม ที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี โลกนี้ มี โลกอื่น มี มารดา มี บิดา มีโอปปาติกะสัตว์ มี สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้ว โดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้ง โลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่”ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.
ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก ป็นองค์ประกอบแห่ง หนทางเพื่อ นิพพาน นั้นเป นอย่างไรเล่า ?
นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐ ิที่เป็นองค์แห่งมรรคของ ผู้มีอริยจิต ของผู้มี อนาสวจิต ของผู้เป็น
อริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะนำขึ้นสู่ ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน. เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เพื่อทำสัมมา ทิฏฐิให้ถึงพร้อม การกระทำของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิมีสติทำสัมมาทิฏฐิให้ถึง พร้อม แล้วแลอยู่ สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาทิฏฐิ ๑ สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมา ทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
1288
๒. กลุ่มสัมมาสังกัปปะ
ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร? คือเขารู้มิจฉา สังกัปปะ ว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะรู้สัมมาสังกัปปะ ว่าเป็นสัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเขานั้นเป็น สัมมาทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า? กามสังกัปปะ พยาปาทสังกัปปะ วิหิงสาสังกัปปะ
ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาสังกัปปะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ชนิด คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ สัมมาสังกัปปะ๑.
คำกล่าวที่ว่า ธรรม ๓ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ รวมอยู่ด้วย ติดตามแวดล้อมสัมมาทิฏฐิ นั้นหมายความว่า มี สัมมาทิฏฐิพื้น ฐานเป็นการเริ่มต้น ช่วยให้เกิด สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์แบบ เต็มตามความหมายของคำ คำนั้น. อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วย อาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่
ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? นั้นคือ เนกขัมมสังกัปปะอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วย อาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก
ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่ง หนทาง เพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ ความตรึก (วิตกฺก) ความตรอง (วตกฺก) ความดำริ (สงฺกปฺป) ความคิดแน่วแน่ (อปฺปนา) ความคิดแน่วแน่ถึงที่สุด(พฺยปฺปนา) การงอกงามแห่ง ความคิดถึงที่สุดของจิต (เจตโส อภินิโรปนา)และ เจตสิก ธรรมเครื่องปรุงแต่งการพูดจา (วจีสงฺขาโร) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เปน็ อริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล
ภิกษุ ท. !นี้คือ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบ แห่งหนทางเพื่อนิพพาน. เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ เพื่อทำสัมมาสังกัปปะ ให้ถึงพร้อม ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ มีสติทำ สัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ สติเขานั้นเป็น สัมมาสติ
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อม ซึ่งสัมมาสังกัปปะ สามอย่างนั้น ได้แก่ สัมมา ทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
1290
๓. กลุ่มสัมมาวาจา
ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร? คือ เขารู้มิจฉาวาจา ว่าเป็นมิจฉาวาจา รู้สัมมาวาจา ว่าเป็นสัมมาวาจา ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุ ท. ! มิจฉาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? มุสาวาท ปิสุณวาทผรุสวาท สัมผัปปลาปวาท. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาวาจา
ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาวาจาว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมา
วาจาที่ยังเป็น ไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่
ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปิสุณวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากผรุสวาท เจตนา เป็นเครื่องเว้นจากสัมผัปปลาวาท. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่ กับของหนัก
ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่ง หนทาง เพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด (อารติ) การเว้นขาด (ปฏิวิรัติ) และเจตนาเป็นเครื่องเว้น (เวรมณี) จากวจีทุจริตทั้งสี่ (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มี อนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญ อยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล
ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู้ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบ แห่งหนทาง เพื่อนิพพาน
เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสีย ซึ่งมิจฉาวาจา เพื่อทำสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม ความเพียรพยายาม ของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสีย ซึ่งมิจฉาวาจา มีสติทำสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ สติของเขานั้นเป็นสัมมาสติ
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อม ซึ่งสัมมาวาจา สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
1292
๔. กลุ่มสัมมากัมมันตะ
ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ด แห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร? คือเขารู้มิจฉา กัมมันตะ ว่าเป็นมิจฉากัมมันตะรู้สัมมากัมมันตะ ว่าเป็นสัมมากัมมันตะ ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุ ท. ! มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ปาณาติบาต อทินนาทานกาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉา กัมมันตะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษะ ท.! เรากล่าวแม้สัมมากัมมันตะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วย อาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทาง เพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผล เนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป น อย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก ปาณาติบาต เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากอทินนาทาน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจา.ร ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับ ของหนัก.
ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะนำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่ง หนทาง เพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนา เป็นเครื่องเว้น จากกาย ทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่ง อริยมรรค ใดแล ภิกษุ ท. !นี้คือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.
เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสีย ซึ่งมิจฉากัมมันตะ เพื่อทำสัมมากัมมันตะ ให้ถึงพร้อม ความเพียร พยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉากัมมันตะ มีสติทำสัมมากัมมันตะ ให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อม ซึ่งสัมมากัมมันตะ สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.
1293
๕. กลุ่มสัมมาอาชีวะ
ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่ง อริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือ เขารู้มิจฉา อาชีวะ ว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้สัมมาอาชีวะ ว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุ ท. ! มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? การพูดโกหก (กุหนา) การพูดหลอกลวง (ลปนา) การพูด หว่านล้อม (เนมิตฺตกตา) การพูดทำให้เจ็บใจจนต้องยอมตกลง (นิปฺเปสิกตา) การล่อลาภด้วยลาภ (ลาเภนลาภํชิคึสนตา).
ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาอาชีวะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วย อาสวะ นำขึ้นไปสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทาง เพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้สะมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยัง เป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.
ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบ แห่งหนทางเพื่อ นิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากมิจฉา อาชีวะ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอานาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมัคคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล
ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบ แห่งหนทาง เพื่อนิพพาน.เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ เพื่อทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม ความเพียรพยายาม ของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติสะเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ มีสติทำสัมมาอาชีวะ ให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ สติของ เขานั้นเป็นสัมมาสติ.
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาอาชีวะ สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ (ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อน ว่าองค์มรรคเจ็ด องค์ข้างต้น ถูกจัดให้เป็น บริวาร ขององค์สุดท้ายคือ สัมมาสมาธิ แล้วทำให้สัมมาสมาธินั้น ได้นามสูงขึ้นไป ว่าอริยสัมมาสมาธิ. องค์ห้าองค์ข้าง ต้น คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ ถูกจัดให้แวดล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมา วายะ สัมมาสติ.
โดยเหตุที่สัมมาวายามะ และสัมมาสติ ไปทำหน้าที่แวดล้อม องค์ห้าองค์ข้างต้นเสีย จึงไม่ถูกยกขึ้นม าจัดเป็นกลุ่ม เฉพาะ ของตน จึงไม่มีกลุ่มที่หกที่เจ็ด. ส่วนสัมมาทิฏฐินั้น มีความสำคัญจนจัดเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งของตัวเอง แล้วยังไปทำ หน้าที่เป็นผู้แวดล้อม ในกลุ่มทั้งห้าอีกด้วยทุกกลุ่ม.
ส่วนสัมมาวายามะก็ดี สัมมาสติก็ดี ซึ่งไม่มีกลุ่มของตน เพราะเข้าไปแทรก ทำหน้าที่อยู่ในกลุ่มนั้นๆ ทุกกลุ่ม เพื่อให้ หน้าที่ ในกลุ่มนั้น ๆสมบูรณ์ ราวกะว่าซ่อนตัวอยู่อย่างลึกลับ แต่ก็ไม่ได้หายไปไหน. สัมมาทิฏฐิได้ชื่อว่าเป็นผู้นำหน้า ของทุกกลุ่ม เพราะเข้าไปรู้ลักษณะองค์ธรรม อันเป็นชื่อประจำกลุ่มนั้น ๆ ซึ่งได้ทรงจำแนกไว้ทั้งสองประเภท คือประเภท เป็นไปกับด้วยอาสวะ และประเภทที่ไม่เป็นไปกับ ด้วยอาสวะ และยังรู้ถึงฝ่ายตรงกันข้าม คือเป็นฝ่าย “มิจฉา” หรือฝ่าย ผิด อย่างครบถ้วนอีกด้วย จึงทำให้สัมมาวายามะ และสัมมาสติแห่งกลุ่มนั้นๆ ดำเนินไปโดยถูกทาง ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า เป็น “ผู้นำหน้า ”
ผู้ศึกษาพึงสังเกตจนเข้าใจ ความสัมพันธ์กันดังกล่าวนี้ อย่างแจ่มแจ้งแล้ว จนเป็นเหตุให้ท่านทราบว่า กิจแห่งองค์มรรคทั้งหลาย สัมพันธ์กันด้วยดีอย่างไร มรรคจึงจะเป็นไปถึงขนาดที่ดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ).
1295
สัมมาทิฏฐิเป็ นผู้นำในการละมิจฉัตตะ
ภิกษุ ท. ! ในบรรดา องค์แห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิเป็นองค์นำหน้า นำหน้าอย่างไร ? ภิกษุ ท. !
สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาสังกัปปะ
สัมมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาวาจา
สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมากัมมันตะ
สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาอาชีวะ
สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาวายามะ
สัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาสติ
สัมมาญาณะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาสมาธิ
สัมมาวิมุตติ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาญาณะ.
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์แปด ย่อมเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วย องค์สิบ.
ภิกษุ ท. ! ในบรรดา องค์แห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์นำหน้า นำหน้าอย่างไร? ภิกษุ ท. ! มิจฉาทิฏฐิ ของผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือและ บาปอกุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนกที่เกิดมีขึ้น เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็น ปัจจัยของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และ กุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนก ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็จะถึง ซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย.
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ตรัส ไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกัน จนกระทั่งถึง)
ภิกษุ ท. ! มิจฉาญาณะ ของผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือและ บาปอกุศลธรรม ทั้งหลาย เป็นอเนกที่เกิด มีขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัยของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และ กุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนกที่มีสัมมา ญาณะเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย.
ภิกษุ ท. ! มิจฉาวิมุตติ ของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือและ บาปอกุศลธรรม ทั้งหลาย เป็นอเนกที่ เกิดมีขึ้น เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย และ กุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนก ที่มีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย.
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งกุศล มีปริมาณยี่สิบ ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งกุศล มีปริมาณยี่สิบ ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล มีปริมาณยี่สิบ ธรรมปริยายมีปริมาณสี่สิบ อันกว้างขวาง เป็นธรรมปริยายอันเราให้หมุน ไปแล้ว อันสมณะหรือพราหมณ์ หรือเทพ หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้.
(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อัฎฐังคิกมรรคมีองค์แปด ครั้นเติมเข้าอีกสององค์ คือสัมมาญาณะ แล สัมมาวิมุตติ กลาย เป็นสัมมัตตะมีองค์สิบ ตลอดทั้งสายนี้ มีสัมมาทิฏฐิเป็นองค์นำหน้า องค์ที่เป็น “มิจฉา” ใด ๆ ก็ตาม จะกลายเป็น “ สัมมา” ขึ้นมาได้ ก็ล้วนแต่ต้องอาศัย สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมนำหน้า ด้วยกันทั้งนั้น องค์แปดเป็นธรรม สำหรับพระเสนะ องค์สิบเป็นธรรม สำหรับพระอรหันต์ เป็นหลักที่ผู้ศึกษา ควรกำหนดไว้ให้ดี )
1298
สัมมาสมาธิชนิดที่มีพรหมวิหารเป็นอารมณ์
วาเสฎฐะ ! เมื่อภิกษะนั้นมองเห็น นิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ ที่ตนละได้แล้วอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ เกิด ปีติ ย่อมเกิด กายของผู้มีใจปีติย่อมสงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุข ย่อมเป็นสมาธิ. เธอนั้นด้วย จิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สามที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น เธอแผ่ไปตลอดโลก ทั้งหมดทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวงทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วย เมตตา เป็นจิตไม่มีเวรไม่มี พยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่.
วาเสฎฐะ ! เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยาก ฉันใด ในเมตตา เจโตวิมุตติ๑ ที่เจริญแล้ว อย่าง (ข้างบน) นี้กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด๒ ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ใน (เมตตาเจโต วิมุตติอันเป็นกรรมที่ไม่มีขีดจำกัด) นั้น ก็ฉันนั้น.
วาเสฎฐะ ! นี้เป็นทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมทั้งหลาย.
(ต่อไปนี้ ทรงแสดงข้อ กรุณา มุทิตา อุเบกขา อีก โดยเนื้อความอย่างดียวกัน. ทุก ๆ ข้อเป็นหนทาง เหมือนกัน ในพระบาลีว่า แม้นี้ ๆ ก็เป็นหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมทั้งหลาย).
1299
วิโมกข์ แปด
ภิกษุ ท. ! วิโมกข์แปดเหล่านี้ มีอยู่. แปดเหล่าไหนเล่า ? แปดเหล่านี้คือ
(๑) ผู้มีรูป (ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (อันเป็นสมาธินิมิตเหล่านั้น ) นี้คือ วิโมกข์ที่หนึ่ง.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย)
(๒) ผู้ไม่มีสัญญาในรูปซึ่งเป็ นภายใน (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเป็ นรูปทั้งหลายอันเป็ นภายนอก (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) : นี้คือ วิโมกข์ที่สอง.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของ นิวรณ์ทั้งหลาย)
(๓) เป็ นผู้น้อมใจ (ไปในรูปนิมิตแห่งสมาธิ) ด้วยความรู้สึกว่า “งาม”เท่านั้นนี้คือ วิโมกข์ที่สาม.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรบกวนของ ความรู้สึกว่า เป็นปฏิกูล ในสิ่งที่เป็นปฎิกูล)
(๔) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวงเพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะ ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาทั้งหลายเป็นผู้ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศ ไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่ นี้คือวิโมกข์ที่สี่. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของรูปสัญญา ซึ่งทำ ความผูกพันอยู่ในรูปทั้งหลายอัน ให้เกิดการกระทบกระทั่งกับสิ่งที่เป็นรูปนั่นเอง)
(๕) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเป็นผู้ เข้าถึงวิญญาณัญ จายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้คือ วิโมกข์ที่ห้า(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากา สานัฐจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทแรกคือ อากา สานัญจายตนะนั่นเอง)
(๖) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่ นี้คือ วิโมกข์ที่หก. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพล ของวิญญาณัญ ทจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สองคือวิญญาณัญจายตนะนั่นเอง)
(๗) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ เข้าถึงเนวสัญญานา สัญญายตนะแล้ว แลอยู่ นี้คือ วิโมกข์ที่เจ็ด.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากิญจัญญายตน สัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ใน อรูปประเภทที่สาม คืออากิญจัญญายตนะนั่นเอง)
(๘) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงสัญญา เวทยิตนิโรธ แล้วแล อยู่ นี้คือ วิโมกข์ที่แปด (ย่อมมีวิโมกข์ คืนพ้นจากอิทธิพลของ เนวสัญญานา สัญญายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ ในอรูปประเภทที่สี่คือเนวสัญญานาสัญญายตนะนั่นเอง)
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล วิโมกข์แปดนั้น.
1300
รูปฌานและอรูปสมาบัติ ยังมิใช่ธรรมชั้นที่เป็นเครื่องขูดเกลา
จุนทะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรม ที่เป็นอกุศล ทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขูดเกลา”ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ ปฐมฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่ าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน กล่าวแต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขใน ทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.
จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้เพราะความที่วิตกวิจาร ทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติ และสุขอันเกิดจาก สมาธิ แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า“เราอยู่ด้วยธรรมเครื่อง ขูดเกลา” ดังนี้.
จุนทะ ! แต่ธรรมคือ ทุติยฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน กล่าวแต่ เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็ นสุขในทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.
จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้. เข้าถึงตติย-ฌาน แล้วแลอยู่ ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า "เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา" ดังนี้.
จุนทะ ! แต่ธรรมคือ ตติยฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน กล่าวแต่ เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.
จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละ ทุกข์เสียได้ เพราะความ ดับ ไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้.
จุนทะ ! แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรม เครื่องขูดเกลาในอริยวินัย ก่อน กล่าว แต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็ นสุขในทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.
จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความตั้ง อยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำความในใจ ซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่างๆ พึงบรรลุ อากาสานัญจา ยตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. ความคิดอาจ จะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรม เครื่องขูดเกลา”ดังนี้.
จุนทะ! แต่ธรรมคือ อากาสานัญจายตนะนี้ เรายังไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน กล่าวแต่ เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ในอริยวินัย.
จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดย ประการทั้งปวง เสียแล้ว พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่ ความคิดอาจจะมีแก่ เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้.
จุนทะ ! แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนะ นี้เรายังไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขูดเกลาในอริยวินัยก่อน กล่าวแต่ เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ในอริยวินัย.
จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดย ประการทั้งปวง เสียแล้ว พึงบรรลุ อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆ ไม่มี” แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้.
จุนทะ !แต่ธรรมคือ อากิญจัญญายตนะนี้ เรายังไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน ล่าวแต่ เพียงว่าเป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ในอริยวินัย.
จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้น อากิญจัญญายตนะ โดย ประการทั้งปวง เสียแล้ว พึงบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่ ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรม เครื่องขูดเกลา” ดังนี้.
จุนทะ ! แต่ธรรมคือ เนวสัญญานาสัญญาย-ตนะนี้ เรายังไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน กล่าวแต่เพียงว่าเป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ในอริยวินัย.
1301
อุปมาแห่งจิตที่ปราศจากนิวรณ์ห้า
มหาราช ! เปรียบเทียบชายผู้หนึ่ง กู้หนี้เขา ไปทำการงานสำเร็จผล ใช้หนี้ต้นทุนเดิมหมดแล้ว กำไรยัง เหลือพอเลี้ยง ภรรยาได้ถมไป เขาคงคะนึงถึงโชคลาภว่า “เมื่อก่อนเรากู้หนี้เขาไปทำการงานสำเร็จผล ใช้หนี้ต้นทุนเดิมหมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยาได้ถมไป” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัส เพราะข้อนี้เป็นเหตุ ฉันใด (นี้อย่างหนึ่ง).
มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ป่วยไข้หนัก ทนทุกข์อาหารไม่ตก กำลังน้อย. ครั้นเวลาอื่นเขา
หายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มี; เขาต้องนึกถึงกาลเก่าว่า “เมื่อก่อน เราป่วยไข้หนัก ทนทุกข์ อาหารก็ไม่ตก กำลังน้อยลง บัดนี้ เราหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มีมา” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์ บันเทิงใจโสมนัส เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง).
มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ติดเรือนจำ ครั้นเวลาอื่นเขาหลุดจากเรือนจำ โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์ เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เราติดเรือนจำ บัดนี้เราหลุดมาได้โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์”ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัส เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง).
มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง เป็นทาสเขา พึ่งตัวเองไม่ได้ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้. ครั้นถึง สมัยอื่น เขาพ้นจากการเป็นทาสพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้ เขาต้องนึกถึง กาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้ ครั้นถึง สมัยอื่น เราพ้นจากการเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่นเที่ยวตามอำเภอใจได้” ดังนี้ เขาย่อม ปราโมทย์ บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง).
มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง นำทรัพย์เดินทางไกล อันกันดาร ภิกษาหายาก ประกอบด้วยภัย. ครั้นสมัยอื่น พ้นทางกันดารได้โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย (ไม่ต้องเสียโภคทรัพย์) เขาต้องนึก ถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เรานำทรัพย์เดินทางไกล อันกันดาร ภิกษาหายาก ประกอบด้วย ภัย ครั้นบัดนี้ เราพ้นทางกันดารได้ โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์ บันเทิง ใจโสมมนัส เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง).
มหาราช ! ภิกษุ พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการ ที่ตนยังละไม่ได้ว่าเป็ นเช่นกับการกู้หนี้ เช่นกับการ เป็นโรค เช่นกับการติดเรือนจำ เช่นกับการเป็นทาส และการนำทรัพย์ข้ามทางกันดาร และเธอพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละเสียได้แล้วในตนเอง เป็นเช่นกับการหมดหนี้ การหมดโรค การหลุดจากเรือนจำ การพ้นจากทาส การบรรลุถึงที่พ้นภัย ฉันนั้นเหมือนกันแล.
1305
การบรรลุ ปฐมฌาน พร้อมทั้งอุปมา
มหาราช ! เมื่อภิกษุนั้น มองเห็นนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ ที่ตนละได้แล้ว อยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อ ปราโมทย์เกิด ปีติย่อมเกิด กายของผู้มีใจปิติย่อมสงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข จิตของ ผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น. ภิกษุนั้น เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ส่วนใดส่วนหนึ่งของ กายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
มหาราช ! เปรียบเหมือน นายช่างอาบ ก็ดี หรือ ลูกมือของเขา ก็ดีเป็นคนฉลาด โรยผงที่ใช้สำหรับ ถูตัวในเวลา อาบน้ำลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้ ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายใน ภายนอก ไม่ไหลหยด ฉันใด
มหาราช ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ส่วนใด ส่วนหนึ่ง ของกาย เธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.
1306
การบรรลุ ทุติยฌาน พร้อมทั้งอุปมา
มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ส่วนใด ส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
มหาราช ! เปรียบเหมือน ห้วงนํ้าอันลึก มีน้ำอันพลุ่ง ไม่มีปากทางน้ำ เข้าทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตก๑ เพิ่มน้ำให้แก่ห้วงน้ำนั้น ตลอดกาลโดยกาล ท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้น
จากห้วงน้ำ ประพรมทำให้ ชุ่มถูกต้องห้วงน้ำนั้นเอง ส่วนไหนๆของห้วงน้ำ นั้นที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด
มหาราช ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบเต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ส่วนใด ส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.
1307
การบรรลุ ตติยฌาน พร้อมทั้งอุปมา
มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย จึง บรรลุฌานที่สามอันเป็นฌานที่ พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปิติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปิติมิได้ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
มหาราช ! เปรียบเหมือน ในหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัวบุณฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำ เจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้ ดอกบัว เหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก ส่วนไหนๆของดอกบัวเหล่านั้น ทั่วทั้งดอกที่น้ำเย็น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด
มหาราช ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปิติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหาปิติ มิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.
1308
การบรรลุจตุตถฌานพร้อมทั้งอุปมา
มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และ โทมนัส ในกาล ก่อน จึง บรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่ไป ตลอดกาลนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.
มหาราช ! เปรียบเหมือน ชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ ส่วนไหน ๆ ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาว ไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด
มหาราช ! ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไปตลอดกายนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอัน บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.
1308-1
อาการที่อยู่ในฌาน เรียกว่าตถาคตไสยา
ภิกษุ ท. ! การนอน ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ เปตไสยา กามโภคิไสยา สีหไสยา ตถาคตไสยา. ภิกษุ ท. ! เปตไสยา (นอนอย่างเปรต) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! โดยมาก พวกเปรตย่อมนอน หงาย. นี้เรียกว่า เปตไสยา.
ภิกษุ ท. ! กามโภคิไสยา (นอนอย่างคนบริโภคกาม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! โดยมาก คนบริโภค กาม ย่อม นอนตะแคงโดยข้างเบื้องซ้าย. นี้เรียกว่า กามโภคิไสยา.
ภิกษุ ท. ! สีหไสยา (นอนอย่างสีหะ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! สีหะเป็นพญาสัตว์ ย่อมสำเร็จการ นอนโดยข้าง เบื้องขวา เท้าเหลื่อมเท้าสอดหางไว้ที่ระหว่างแห่งขา. สีหะนั้นครั้นตื่นขึ้น ย่อมชะเง้อ กายตอนหน้าขึ้นสังเกตกาย ตอนท้าย ถ้าเห็นความดิ้นเคลื่อนที่ของกาย (ในขณะหลับ) ย่อมมีความ เสียใจเพราะข้อนั้น. ถ้าไม่เห็น ย่อมมีความดีใจ. นี้เรียกว่า สีหไสยา.
ภิกษุ ท. ! ตถาคตไสยา (นอนอย่างตถาคต) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ทั้งหลายเข้าถึง ฌานที่ ๑ ซึ่งมี
วิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.
เพราะวิตกวิจารรำงับไป เธอเข้าถึง ฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจ ในภายในสามารถให้สมาธิ ผุดขึ้น เป็นธรรมเอก ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.
เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย เข้าถึง ฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยู่.
เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่ง โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอเข้าถึง ฌานที่ ๔ อันไม่ ทุกข์และไม่สุขมีแต่สติ อันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. นี้เรียกว่า ตถาคตไสยา.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ แล การนอน ๔ อย่าง.(ผู้ศึกษาพึงสังเกตความผิดแผก แตกต่างกันอย่างมาก ระหว่าง การนอนทั้งสี่ อย่างนี้ ก็จะเข้าใจได้ว่าวิญญาณ หรือหัวใจของธรรมะ มุ่งหมายอย่างไร สูงกว่าธรรมชาติ เพียงใด จนกระทั่งว่า การอยู่ ใน ฌานก็เรียกว่าการนอนอย่างหนึ่งด้วย เป็นการนอนทางวิญญาณ แม้กำลังอยู่ในอิริยาบถอื่น ซึ่งมิใช่อิริยาบถนอน ดังที่ กล่าวอยู่ในหัวข้อว่า “ที่นั่ง - นอน - ยืน - เดิน อันเป็นทิพย์” ที่หน้า๑๓๔๕แห่งหนังสือเล่มนี้). หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ - เหตุปัจจัย ของสัมมาสมาธิ
1310
ความรู้ที่ทำให้มีการอบรมจิต
ภิกษุ ท. ! จิตนี้ เป็นธรรมชาติประภัสสร แต่จิต (ที่มีธรรมชาติประภัสสร) นั้นแล เข้าถึงความเศร้าหมอง แล้ว เพราะ อุปกิเลสอันเป็ นอาคันตุกะ-จรมา เรากล่าวว่า บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความจริงข้อนั้น เพราะ เหตุนั้น จิตตภาวนา ย่อมไม่มีแก่บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! จิตนี้ เป็นธรรมชาติประภัสสร แต่จิต (ที่มีธรรมชาติประภัสสร) นั้นแล เป็นจิตพ้นวิเศษจาก อุปกิเลส อันเป็น อาคันตุกะจรมานั้นได้. เรากล่าวว่าอริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่ง ความจริง ข้อนั้นเพราะเหตุนั้น จิตตภาวนา ย่อมมีแก่อริยสาวกผู้มีการสดับ ดังนี้.
(พระพุทธภาษิตนี้ มีความหมายลึก อยู่บางประการ จนทำให้มีผู้เข้าใจผิดไปว่า ถ้าจิตมีความเป็นประภัสสร ตามธรรมชาติ แล้ว ทำไมจึงเศร้าหมองได้เพราะอุปกิเลส และว่า ถ้าจิตพ้นจากอุปกิเลสกลับไปสู่ความเป็น จิตประภัสสร อย่างเดิมแล้ว มันก็จะกลับเป็นจิตเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสได้อีกในภายหลัง สลับกันไป ไม่รู้สิ้นสุดดังนี้. แต่ความจริง มีอยู่ว่า ประภัสสร ตามธรรมชาตินั้น ถูกครอบงำด้วยอุปกิเลสได้ จึงต้องทำ การภาวนา คืออบรมจิตให้เปลี่ยนสภาพเป็น ประภัสสร สมุจเฉท ซึ่งอุปกิเลสจะครอบงำไม่ได้อีกต่อไป. เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ผู้รู้ความจริงเรื่องนี้เท่านั้น จึงประสงค์การเจริญภาวนา อบรมจิต และอบรมจิต ได้ตามประสงค์).
1311
บริขารเจ็ดของอริยสัมมาสมาธิ
ภิกษุ ท. ! สมาธิบริขาร ๗ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. เจ็ดประการอย่างไรเล่า? เจ็ดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมัมตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.
ภิกษุ ท. ! เอกัคคตาจิตที่แวดล้อมอยู่ด้วยองค์เจ็ดประการเหล่านี้ เราเรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ ที่มีที่ตั้งอาศัย บ้าง ที่มีบริขาร บ้าง ดังนี้.
(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า การที่พระองค์ทรงจัดให้องค์มรรค ทั้งเจ็ดข้างต้น ตั้งอยู่ในฐานะเป็นบริวาร ของ องค์สุดท้าย คือสัมมาสมาธิ นี้มีความหมายลึกซึ้ง เป็นเคล็ดลับของการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง ผู้ศึกษาพึงศึกษาจ ากหัวข้อว่า “อริย สัมมาสมาธิมีบริขารเจ็ด”“การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด” ที่หน้า ๑๒๘๖ - ๑๒๙๕ แห่งหนังสือเล่มนี้เป็น เครื่อง ประกอบด้วย).
1311-1
ธรรมเครื่องทำความเต็มเปี่ยมแห่งกำลังของสมาธิ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการแล้ว เป็นผู้ไม่ควร เพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ. หกประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หกประการ ในกรณีนี้ คือ
๑. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ
๒. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ
๓. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยเอื้อเฟื้อ
๕. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยติดต่อ
๖. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำ ด้วยธรรมเป็นที่สบาย (แก่สมาธิ).
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้
ไม่ควร เพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อจะถึงความมีกำลัง ในสมาธิ. หกประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หกประการ
ในกรณีนี้ คือ
๑. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ
๒. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ
๓. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยเอื้อเฟื้อ
๕. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยติดต่อ
๖. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำด้วยธรรมเป็นที่สบาย (แก่สมาธิ).
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้
ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ.
1312
สมาธิจากการเดิน (จงกรม) ย่อมตั้งอยู่นาน
ภิกษุ ท. ! อานิสงส์ในการเดิน (จงฺกม) ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ เป็นผู้อดทน ต่อการเดินทางไกล ๑ เป็นผู้อดทนต่อการกระทำความเพียร ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ สิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว ลิ้มแล้ว ย่อมถึงการย่อยด้วยดี ๑ สมาธิที่ได้ในขณะแห่งการเดิน ย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑.ภิกษุ ท. ! อานิสงส์ในการเดิน ห้าอย่าง เหล่านี้ แล.
1313
ลักษณะของผู้ง่ายต่อการเข้าอยู่ในสมาธิ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.
ห้าประการ อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ห้าประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้
ไม่อดทนต่อรูป ทั้งหลาย ๑
ไม่อดทนต่อเสียง ทั้งหลาย ๑
ไม่อดทนต่อกลิ่น ทั้งหลาย ๑
ไม่อดทนต่อรส ทั้งหลาย ๑
ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ทั้งหลาย ๑.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.
ห้าประการ อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ห้าประการคือ
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้
อดทนต่อรูป ทั้งหลาย ๑
อดทนต่อเสียง ทั้งหลาย ๑
อดทนต่อกลิ่น ทั้งหลาย ๑
อดทนต่อรส ทั้งหลาย ๑
อดทนต่อโผฏฐัพพะ ทั้งหลาย ๑.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.
หมวด ง. ว่าด้วยหลักการปฏิบัติของสัมมาสมาธิ
1313-1
บุพพภาคแห่งการเจริญสมาธิ ๕ ขั้น
มหาราช ! ภิกษุนั้น
(๑) ประกอบแล้วด้วย ศีลขันธ์อันเป็นอริยะ นี้ด้วย
(๒) ประกอบแล้วด้วย อินทรียสังวรอันเป็น อริยะ นี้ด้วย
(๓) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ นี้ด้วย
(๔) ประกอบแล้วด้วย สันโดษอันเป็นอริยะ นี้ด้วย
(๕) เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง.
เธอนั้น ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาต แล้วนั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ)ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอ
ละ อภิชฌา ในโลกมีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌาอยู่
ละ พยาบาทเครื่องประทุษ ร้าย มีจิต ปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูล ในสัตว์ทั้งหลายคอย ชำระจิตจากพยาบาทเ ครื่องประทุษ ร้ายอยู่
ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติมีสัมปชัญญะ รู้สึกตัวคอยชำระจิตจาก ถีนมิทธะ อยู่
ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระ จิต จากอุทธัจจกุกกุจจะอยู่
ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วง วิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าว ่านี่อะไรนี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจาก วิจิกิจฉา อยู่.
1314
ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของสัมมาสมาธิ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่ประพฤติความเสมอกัน ในเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย แล้ว จักทำ อาภิสมาจาริก-ธรรมให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น นั่น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้๑ ครั้นไม่ทำ อาภิสมาจาริก ธรรมให้ บริบูรณ์แล้ว จักทำเสขธรรม
(ธรรมที่ควร๑.
ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อาภิสมาจาริกธรรม กล่าวคือการปฏิบัติวัตร หรือ มรรยาท ที่สาธุชน ทั่วไป จะพึงปฏิบัติ ในบ้านเรือน เพื่อนพ้อง และสังคมทั่วไป นี้ไม่ใช่สิ่งเล็กน้อยในการ ปฏิบัติธรรม เพื่อบรรลุธรรมในขั้นสูง กล่าวสรุปสั้น ๆ ก็ว่า ไม่กระทำให้เกิดความเหมาะสม ในการที่จะเป็น นักศึกษา.
ขอให้ทุกคนทำการ ชำระสะสางอาภิสมาจาริกธรรม ของตนๆให้ดีที่สุด เท่าจะทำได้เป็นเรื่องแรก เสียก่อน. ศึกษาสูงขึ้นไป)ให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น
นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ครั้นไม่ทำเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
ครั้นไม่ทำ ศีลทั้งหลาย ให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได
ครั้นไม่ทำสัมมา ทิฏฐิ ให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ มีความเคารพ มีความยำเกรง ประพฤติความเสมอกัน ในเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลายแล้ว จักทำ อาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้
ครั้นทำ อาภิสมาจาริกธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักทำเสขธรรมให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้นนั่นเป็นฐานะ ที่มีได้.
ครั้นทำ เสขธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น
นั่นเป็นฐานะที่มีได้
ครั้นทำ ศีลทั้งหลาย ให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะ ที่มีได้
ครั้นทำ สัมมาทิฏฐิ ให้บริบูรณ์แลว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้
1316
การกระทำที่ถูกต้องตามกาละ สำหรับสมาธินิมิต - ปัคคาหนิมิต - อุเบกขานิมิต
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสาม โดยกาลอันควร คือ
พึงทำในใจซึ่ง สมาธินิมิต โดยกาลอันควร
พึงทำในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร
พึงทำในใจซึ่ง อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร.
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียงสมาธินิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้ ฐานะ เช่นนั้น จะ ทำให้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียง ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้ ฐานะเช่นนั้น จะ ทำจิตให้เป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียงอุเปกขานิมิต โดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้ ฐานะเช่นนั้น จะ ม่ทำจิตให้ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต กระทำในใจซึ่งสมาธินิมิต โดยกาลอันควร กระทำใน ใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร กระทำในใจซึ่งอุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร ในกาลนั้นจิตนั้น ย่อมเป็นจิต อ่อนโยน ควรแก่การงาน เป็นจิตประภัสสร ไม่รวนเร ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะ ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ประกอบตัวเบ้าแล้วฉาบปากเบ้า แล้วจับแท่ง ทอง ด้วยคีม วางที่ปากเป้า แล้วสูบลมโดยกาลอันควร พรมน้ำโดยกาลอันควร ตรวจดูโดยกาลอันควร.
ภิกษุ ท. ! ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง จะพึง สูบลมตะพึดไปโดยส่วนเดียว กะทองนั้นฐานะ เช่นนั้น ก็จะทำ ทองให้ไหม้ (สุกเกิน) ถ้า พรมนํ้าตะพึดไป กะทองนั้นฐานะเช่นนั้น ก็ จะทำทองนั้น
ให้เย็น๑ (อยู่เช่นเดิม) ถ้า ตรวจดูตะพึดโดยส่วนเดียวกะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็ จะทำให้ทองนั้น ไม่ถึงซึ่งความสุกอย่างพอดี.
ภิกษุท. ! ในกาลใด ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง สูบลมโดยกาลอันควรกะทองนั้น พรมน้ำโดยกาล อันควรกะทอง นั้น ตรวจดูโดยกาลอันควรกะทองนั้น ในกาลนั้น ทองนั้น ย่อมเป็นทองมีเนื้ออ่อน ควรแก่ การงานของช่างทองมีรัศมี เนื้อไม่ร่วน และเหมาะสมแก่การกระทำของช่างทอง.
ถ้าใครปรารถนาจะกระทำเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ตาบ ต้มหู สร้อยคอ หรือสุวรรณ มาลาก็ตาม ก็สำเร็จ ประโยชน์แก่เขานั้น นี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสาม โดยกาลอันควร คือ พึงทำในใจซึ่ง สมาธินิมิต โดย กาลอันควร พึงทำในใจซึ่งปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งอุเปกขานิมิต โดยกาลอันควรฉันนั้นเหมือนกัน …. ฯลฯ …. ถ้าภิกษุน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ใด ๆ เธอย่อมลุถึงซึ่งความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในธรรมนั้น ๆ นั่นเที่ยว ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ ๆ
1318
สิ่งที่ต้องยํ้าวันละ ๓ หน ในวงการสมาธิ
ภิกษุ ท. ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อจะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อ ทำผลกำไร ที่ได้รับอยู่แล้ว ให้งอกงามออกไป.
สามประการ อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! สามประการ คือ
ชาวร้านตลาด ในกรณีนี้ ย่อมจัดย่อมทำกิจการงาน อย่างดีที่สุด ในเวลาเช้า ย่อมจัดย่อมทำกิจการงาน อย่างดีที่สุด ในเวลากลางวัน ย่อมจัดย่อมทำกิจการงาน อย่างดีที่สุดในเวลาเย็น ภิกษุ ท. ! ชาวร้านตลาด ที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการเหล่านี้แลเป็นผู้ควร เพื่อจะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำผลกำไร ที่ได้รับ อยู่แล้วให้งอกงามออกไป. นี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันเหมือนกัน ภิกษุที่ ประกอบด้วยธรรม ๓ประการ เป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุ กุศลธรรมที่ยังไม่ บรรลุ หรือเพื่อ ทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้งอกงาม ยิ่งขึ้นไป.
สามประการ อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
สามประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้
ย่อม กำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อ ในเวลาเช้า
ย่อม กำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อ ในเวลากลางวัน
ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อ ในเวลาเย็น.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้งอกงามยิ่งขึ้นไป.
........................................................................................................
๑. คำว่าเย็นคำนี้ คำบาลีว่า นิพพาน (ชาตรูํป นิพฺพาเปยฺย) ขอผู้ที่ไม่ทราบว่านิพพานแปลว่าเย็นพึงทราบเสียในที่น้ ด้วย
…………………………………………………………………………………………………….
1319
อนุสติภาวนา เป็นสิ่งที่เจริญได้ในทุกอิริยาบถ
มหานาม ! เธอ พึงตามระลึกถึงตถาคต ว่า “แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจาก กิเลส เป็นผู้ ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้ โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็น ผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควร ฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ท้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิก บานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
มหานาม ! สมัยใด อริยสาวกตามระลึกถึงตถาคตอยู่ สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้น ไม่มีราคะกลุ้มรุม ไม่มี โทสะกลุ้มรุม ไม่มีโมหะ กลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของเธอนั้น เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว.
มหานาม ! อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภตถาคต ย่อมได้ความรู้สึกต่ออรรถ (อตฺถเวท)ย่อมได้ ความรู้สึก ต่อธรรม (ธมฺมเวท) ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจ มีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ.
มหานาม ! เธอ พึงเจริญพุทธานุสสตินี้ แม้ เมื่อเดินอยู่ พึงเจริญแม้เมื่อยืนอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อนั่งอยู่ พึงเจริญแม้ เมื่อนอนอยู่ พึงเจริญแม้ เมื่อกำลังทำงานอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อนอนเบียดบุตรอยู่บนที่นอน
ความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ผู้ปรารถนาโดยรายละเอียด พึงดูจากที่มาแห่งกรณีนั้นๆ. สิ่งซึ่งอาจจะเป็นที่ ประหลาดใจ แก่พวกเรา ในที่นี้ ก็คือข้อที่ว่า อนุสสติภาวนานั้นเป็นสิ่ง ที่อาจเจริญได้ในทุกอิริยาบถ แม้ในขณะที่ผู้ที่เป็นพ่อแม่นอน กกลูกอยู่)
1320
สมาธิภาวนาแต่ละอย่าง ๆ อาจทำได้ถึง ๗ ระดับ
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาสขอพระผู้มีกระภาค จงทรงแสดงธรรมนั้นโดยย่อ อันเป็นธรรมที่เมื่อข้า พระองค์ ฟังแล้วจะเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกไปสู่ที่สงัด เป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมเบื้อง สูงแล้ว แลอยู่เถิดพระเจ้าข้า !”
ก็เรื่องอย่างเดียวกันนี่แหละ โมฆบุรุษบางพวกขอร้องให้ เรากล่าวธรรมอย่างที่เธอถาม ครั้นเรากล่าว ธรรมนั้นแล้วเขา ก็ยังสำคัญ แต่ในอันที่จะติดตามเราเท่านั้น (ไม่สนใจที่จะหลีกออกอยู่ปฏิบัติผู้เดียว).
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ขอพระสุคตจง แสดงธรรมโดยย่อ แก่ข้า พระองค์ ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะเข้าใจเนื้อ ควรแห่งภาษิตของ พระผู้มีพระภาค เจ้าจะเป็น ทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) แห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิดพระเจ้าข้า !”.
ภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า
1321
(๑ หมวดตระเตรียม)
“จิตของเรา จักเป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดี ในภายใน และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย จักไม่เกิดขึ้นครอบงำ จิต ตั้งอยู่” ดังนี้.
ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
1321-1
(๒ หมวดพรหมวิหาร)
ภิกษุ ! ในกาลใดแล จิตของเธอ เป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นครอบ งำจิตตั้งอยู่ ในกาลนั้นเธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มากทำให้เป็น ดุจยาน ทำให้มีที่ตั้ง อาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้วให้ตั้งมั่น แล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำกา รสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ .ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้
๑. ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง
๒. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง
๓. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง
๔. พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง
๕. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง
๖. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง
๗. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ในกาลนั้น เธอพึงทำการ สำเหนียกอย่างนี้ ว่า “เราจักเจริญ กรุณาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้ง อาศัย ไม่ให้หยุดชะงักให้สั่งสม รอบแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ในกาลนั้น เธอพึง เจริญซึ่งสมาธินี้
ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .
(ในกรณีแห่ง มุทิตาเจโตวิมุตติ และ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้มีลำดับ ๗อย่าง อย่างเดียวกันกับข้าง บนนี้) .
1322
(๓ หมวดสติปัฏฐาน)
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ (ในพรหมวิหารทั้งสี่ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้) อันเธอเจริญ เจริญแล้วด้วยดี อย่างนี้ ในกาลนั้น เธอพึง ทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่” ดังนี้.
ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้
ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ในกาลนั้นเธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้ว่า “เราจัก เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอย่างเป็นประจำ มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำ ออกซึ่งอภิชฌาและ โทมนัสในโลกอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ในกาลนี้ เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้
ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้า
พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคด้วยความยินดี บ้าง
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.
(ในกรณีแห่ง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ มีลำดับ ๗ อย่าง อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งกายา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน).
1324
(หมวดอานิสงส์)
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ในกาลนั้น เธอจักไปโดยทิศาภาคใดๆ ก็จักไป เป็นผาสุก จักยืนในที่ใด ๆ ก็จักยืนเป็นผาสุก จักนั่งในที่ใด ๆ ก็จักนั่งเป็นผาสุก จักสำเร็จการนอน ในที่ใด ๆ ก็จักสำเร็จการนอนเป็นผาสุก แล.
(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง ๆ สามารถเจริญให้สมบูรณ์ออกไปได้ถึง ๗ ระดับ ดังที่แสดงไว้ ในสูตรนี้ เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง พึงสังเกตให้เห็นว่าสมาธิที่มีนิมิต เป็น นามธรรม เช่น การเจริญเมตตา ก็ดี และที่มีลักษณะ เป็นวิปัสสนาเช่นกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ดี สามารถ นำมาเจริญในรูปแบบของสมาธิที่มีลักษณะ แบ่งได้เป็น ๗ ระดับ อย่าในสูตรนี้ ข้อนี้แสดง ให้เห็นว่า ตั้งต้น เจริญภาวนาในรูปแบบ ของวิปัสสนา แล้วอาจจะย้ำให้ แน่นลงไปโดยอาการแห่งสมถะ ๗ ระดับนี้ อาจจะเรียกได้ว่ามีวิปัสสานานำหน้าสมถะได้กระมัง).
1324-1
ญาณ เกิดจากสมาธิของผู้ที่มีสติปัญญารักษาตน
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว สติเฉพาะหน้า อยู่เถิด. เมื่อเธอเจริญ สมาธิมี คุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้าอยู่ ญาณ ๕ ประการย่อมเกิดขึ้นเฉพาะ ตนนั่นเทียว.
ห้าประการอย่างไรเล่า? ห้าประการ คือ ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ ให้เกิดสุขใน ปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบากต่อไปด้วย” ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ เป็นธรรมอันประเสริฐ ปราศจากอามิส” ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ คนชั่วคนถ่อยเสพไม่ได้” ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ รำงับประณีต ได้แล้วด้วยปฏิปัสสัทธิ ถึงทับแล้วด้วยเอโกทิภาวะ (ความที่จิตมีธรรมอันเอก) ไม่ใช่บรรลุได้ เพราะการข่มขี่และการห้ามด้วยสังขารธรรม (เครื่องปรุงแต่ง)
ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั้นเทียว ดังนี้ ว่า “เรามีสติเข้าถึงสมาธินี้มีสติออกจากสมาธินี้”.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้า เมื่อเธอเจริญสมาธิมี คุณอันไม่มี ประมาณเป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้าอยู่ ญาณ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว อย่างนี้แล
1326
การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย
ภิกษุ ท. ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ
๑. กล่าวโดยกาลหรือโดย มิใช่ กาล
๒.กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง
๓.กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย
๔.กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์ หรือ ไม่มีประโยชน์
๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมิโทสะในภายใน.
ภิกษุ ท. ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจัก ไม่แปรปรวน เราจักไม่ กล่าว วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะใน ภายในอยู่ จักมีจิตสหรคต ด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแผ่ไปสู่โลก ถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้น เป็นอารมณ์แล้ว แลอยู่” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเนียก อย่างนี้แล.
1326-1
(๑. อุปมาที่หนึ่ง)
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือจอบและกะทอ (สมัยนี้คือปุ้งกี๋) มาแล้วกล่าวว่า “เราจักกระทำ แผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่ เป็นแผ่นดิน” ดังนี้ เขาขุดในที่นั้น ๆ เรี่ยรายดินในที่นั้น ๆ ขากถุยอยู่ในที่นั้น ๆ กระทืบเท้าอยู่ในที่นั้น ๆปากพูดอยู่ว่า “มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดิน อีกต่อไป มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้น จะทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่ เป็นแผ่นดิน ได้แลหรือ?
“ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! แผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณ มิได้ เป็นการง่ายที่ใครๆจะทำให้ไม่เป็นแผ่นดิน รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มี ส่วนแห่งความลำบากคับแค้น เสียเปล่าพระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำ สำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขา กล่าวหาเธอ ด้วยทาง แห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า“ จิตของเราจัก ไม่แปร ปรวน เราจักไม่กล่าว วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไป ยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มี ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่ โลกถึง ที่สุด ทุกทิศทางมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นดินใหญ่อันใคร ๆ จะกระทบกระทั่งให้เปลี่ยนแปลง ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น)
ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการเหนียกอย่างนี้แล.
1327
(๒. อุปมาที่สอง)
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือเอาสี มา เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า “เราจักเขียน รูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่า อย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุว่าอากาศนี้เป็นสิ่งที่มีรูปไม่ได้แสดงออก ซึ่งรูป ไม่ได้. ในอากาศนั้นไม่เป็นการง่าย ที่ใครๆจะเขียนรูปทำให้มีรูป ปรากฎอยู่ได้รังแต่บุรุษนั้นจะเป็น ผู้มีส่วน แห่งความลำบาก คับแค้นเสียเปล่าพระเจ้าข้า!”
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำ สำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขา กล่าวหาเธอ ด้วยทาง แห่งถ้อยคำประการใด ประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่ แปรปรวน เราจักไม่กล่าว วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไม่ ยัง บุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มี ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไป สู่โลก ถึง ที่สุดทุกทิศทางมีบุคคลนั้น เป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้ (คือมีจิต เหมือนอากาศอันใคร ๆ จะเขียนให้เป็นรูปปรากฎไม่ได้ ฉันใด ก็ฉันนั้น ).
ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.
1328
(๓. อุปมาที่สาม)
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือคบหญ้า ที่กำลังลุกโพลงมา กล่าวอยู่ว่า “เราจักเผาแม่น้ำคงคา ให้ร้อนจัด ให้เดือน พล่าน ด้วยคบ หญ้าอันลุกโพลงนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความขอ้ นี้ว่า อย่างไร บุรุษนั้นจะเผาแม่น้ำคงคา ให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าแม่น้ำคงคาลึกหาประมาณมิได้ ไม่เป็นการง่าย ที่ใครๆจะเผา ให้ร้อนจัดให้เดือด พล่านด้วยคบหญ้า อันลุกโพลงรังแต่บุรุษนั้น จะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้น เสียเปล่าดังนี้.”
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขา กล่าวหาเธอ ด้วยทาง แห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปร ปรวน เราจักไม่กล่าว วาจา อันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดู
เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวงไม่มี ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึง ที่สุดทุกทิศทางมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิต เหมือนแม่น้ำคงคา อันใคร ๆ จะเผาให้ร้อนเดือดด้วยคบหญ้า ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น) ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.
1329
(๔. อุปมาที่สี่)
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน แผ่นหนังแมวป่าขนฟู ๑ ฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่มเหมือน ปุยนุ่น ไม่ส่ง เสียง ไม่ส่งกังวานเสียง. ลำดับนั้น มีบุรุษถือท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งมา พลางพูดว่า “เราจักทำให้หนัง แมวป่าขนฟูแผ่นนี้ ส่งเสียง มีเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนี้” ดังนี้.ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่า อย่างไร บุรุษนั้นจะทำหนังแมวป่า ขนฟูแผ่น นั้นให้ส่งเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนั้นได้แลหรือ?
“ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุว่าหนังแมวป่าขนฟู แผ่นนั้น เป็นของ ฟอกนวด แล้วนวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่มเหมือนปุยนุ่นไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง ไม่เป็นการ ง่ายที่ใครๆ จะทำให้มันส่งเสียง ดังพรึมๆด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งรังแต่บุรุษนั้น จะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก คับแค้น เสียเปล่าดังนี้“.
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน: ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำ สำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทาง แห่งถ้อยคำ๑. คำนี้ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า จะเป็นแผ่นหนังฟอกใช้ห่ม คลุมเล่น หรือแผ่นหนังที่ทำเป็นถุงสำหรับ ใส่เสื้อผ้ายังเป็นที่ สงสัยอยู่ ขอให้ถือเอาแต่ใจความว่า มันเป็นสิ่งที่ส่งเสียงไม่ได้ก็แล้วกัน.
ประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าว วาจา อัน เป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะใน ภายใน อยู่ จักมีจิตสหรคตด้วย เมตตาแผ่ไปยังบุคคล นั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิต ไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุก ทิศทา มีบุคคลนั้นเป็น อารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นหนังแมวป่า ขนฟู ที่ฟอกดีแล้วเห็นปานนั้น อันใคร ๆ จะทำให้ มันส่งเสียงดังพรึม ๆ ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท. !เธอพึงทำการ สำเหนียก อย่างนี้แล.
1330
(๕. อุปมาที่ห้า)
ภิกษุ ท. ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใคร ถ้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง ผู้ใดมีใจ ประทุษร้าย ในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น ภิกษุ ท. ! ในกรณีนั้นเธอพึง ทำการสำเหนียก อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจา อันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มี โทสะในภายใน อยู่ แผ่ไปยัง บุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพ บูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. !เธอพึง ทำการสำเหนียกอย่างนี้ แล.
ภิกษุ ท. ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนือง ๆ เถิด. ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทำ ในใจถึงโอวาท นั้นอยู่ เธอจะได้ เห็นทางแห่งการกล่าวหาเล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้า
ข้า !”
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงกระทำในใจ ถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็น ประจำเถิดนั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
1331
สัญญาในสิ่งไม่เป็ นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่(โลกุตตรสมาธิ)
“มีอยู่หรือหนอพระเจ้าข้า ! การที่ภิกษุได้เฉพาะ ซึ่งสมาธิชนิดที่ไม่มี ปฐวีสัญญาในดิน ไม่มี อาโปสัญญา ในน้ำ ไม่มีเตโช สัญญาในไฟ ไม่มีวาโยสัญญาในลมไม่มีอากาศสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุด แห่งอากาศ ไม่มีวิญญาณัญจายตน สัญญา ในความไม่มี ที่สุดแห่งวิญญาณไม่มีอากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุด แห่งความไม่มีอะไรไม่มีเนวสัญญา นาสัญญายตนสัญญาในความ มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี สัญญา ก็ไม่ใช่ไม่มี อิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาใน โลกอื่นไม่มีสัญญา แม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยิน แล้วสิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้วสิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้วสิ่งที่ ใจ ติดตามแล้วนั้นๆเลย แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่ ?”
อานนท์ ! การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่.”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การที่ภิกษุได้สมาธิ ชนิดนั้นเป็น อย่างไรพระเจ้าข้า !”อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “นั้นสงบรำงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่ง สังขารทั้งปวง เป็ นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็น ที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”๑ ดังนี้.
อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่าการที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิ ชนิดนี้ไม่มีปฐวีสัญญาในดิน ไม่มีอาโป สัญญาในน้ำไม่มี เตโชสัญญา ในไฟ ไม่มีวาโยสัญญาในลม ไม่มีอากาสานัญจายตนสัญญา ในความ ไม่มีที่สุดแห่งอากาศ ไม่มีวิญญา ณัญจายนสัญญาในความ ไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ ไม่มีอากิญจัญญายตน
สัญญาในความไม่มีที่สุด แห่งความไม่มีอะไร ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญา ก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มี อิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาในโลกอื่น ไม่มีสัญญา แม้ใน สิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้วสิ่ง ที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้ว สิ่งที่ใจ ติดตามแล้ว นั้น ๆ เลย แต่ก็ยังเป็ นผู้มีสัญญาอยู่
[ต่อไปนี้เป็นคำตอบของพระสารีบุตร ต่อคำถามของพระอานนท์ ซึ่งถามอย่างเดียวกันกับที่ทูลถาม พระพุทธเจ้า พระสารี บุตรก็ได้ ตอบอย่างเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบ จนกระทั่งพระอานนท์ สรรเสริญว่า พระศาสดาและสาวกมีคำ กล่าว ตรงกัน ทั้งโดย อรรถะและโดยพยัญชนะ เป็นที่น่า อัศจรรย์ยิ่งนัก. แต่ในที่อื่นในคราวอื่น พระสารีบุตรได้ตอบ คำถาม ของพระอานนท์ ซึ่งอานนท์ ซึ่งถามเรื่องเดียวกัน คือเรื่องสมาธิที่ไม่มีสัญญาในสิ่ง อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ หากแต่ถามเว้นอารมณ์ จำพวกสุดท้าย คือสิ่งที่ ได้เห็น สิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้รู้สึก สิ่งที่ไม่รู้แจ้ง สิ่งที่ได้บรรลุ สิ่งที่ได้แสวง หา สิ่งที่ใจติดตาม เสียเท่านั้น ซึ่งโดยหลักเกณฑ์นี้แล้ว ท่านควรจะตอบด้วยคำตอบเดียวกัน คือตอบว่าการ ได้สมาธิ ที่มีสัญญา ในนิพพานดังบทว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีตดังนี้เป็นต้น แต่ท่านกลับไปตอบว่า ได้แก่ การได้สมาธิที่มี สัญญาว่า การดับไม่เหลือแห่งภพ คือนิพพาน (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ) ซึ่งเป็น สัญญาที่เคยเกิดแก่ท่านซ้ำ ๆ กันไป ไม่ ขาดสายเหมือนเปลวไฟที่เกิดขึ้นทยอยกันฉันนั้น อันเป็นการ ได้สมาธิที่ได้เมื่อท่านอาศัยอยู่ที่ป่าอันธวันใกล้เมือง สาวัตถี.
ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า คำตอบอย่างแรกโน้น บรรยายลักษณะของนิพพาน ในหลายแง่ หลายมุม ส่วนคำตอบใน สูตรนี้ ระบุแต่เพียงแง่เดียวประเด็นเดียว ว่าได้แก่การดับไม่เหลือแห่งภพ. และขอให้เห็นลึก ลงไปถึงว่า นิพพาน ไม่ได้เป น ที่ตั้งแห่งความยึดถือ แต่ก็เป็นอารมณ์แห่งสัญญา ได้เหมือนกัน สัญญาจึงเป็นสิ่ง ที่มีได้ทั้งในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ และในสิ่งที่มิได้เป็น อารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ กล่าวคือ ในพระนิพพานนั่นเอง.
สรุปความว่า สัญญามีได้ทั้งในสิ่งที่เป็นสังขตะและอสังขตะ โดยลักษณะที่ตรงกันข้ามทีเดียว].
1334
สมาธิที่เป็นอสังขตมนสิการ
“มีอยู่หรือหนอพระเจ้าข้า ! การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิ ชนิดที่ไม่กระทำในใจซึ่งจักษุ (และ) รูปซึ่งโสตะ (และ)เสียงซึ่งฆานะ (และ) กลิ่นซึ่งชิวหา (และ) รสซึ่งกาย (และ) โผฏฐัพพะไม่กระทำในใจซึ่งดินซึ่งน้ำซึ่งไฟซึ่งลม ไม่กระทำ ในใจซึ่งอากาสานัญ จายตนะ ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ ซึ่งอากิญจัญญายตน ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่กระทำ ในใจซึ่งโลกนี้ ซึ่งโลกอื่นไม่กระทำ ในใจแม้สิ่งซึ่งได้เห็นได้ยิน ได้รู้สึก ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหาได้ติดตามด้วยใจนั้นๆ แม้กระนั้นก็ยังกระทำในใจอยู่ ?”
อานนท์ ! การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่.“มีอยู่อย่างไรพระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม กระทำในใจอย่างนี้ว่า “นั่นสงบระงับนั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติเป็น ที่สงบ ระงับ แห่ง สังขารทั้งปวง เป นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”๑ ดังนี้.
อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิชนิดที่ไม่กระทำในใจ ซึ่งจักษุ (และ) รูป ซึ่งโสตะ (และ) เสียง ซึ่งฆานะ (และ) กลิ่นซึ่งชิวหา (และ) รส ซึ่งกาย (และ) โผฏฐัพพะ ไม่กระทำในใจ ซึ่งดิน ซึ่งน้ำ ซึ่งไฟ ซึ่งลม ไม่กระทำในใจซึ่ง อากา สานัญจายตนะ ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ ซึ่งอากิญ จัญญายตนะ ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่กระทำในใจ ซึ่งโลกนี้ซึ่ง โลกอื่น ไม่กระทำในใจแม้สิ่งซึ่ง ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้ติดตามด้วยใจ นั้น ๆ เลย แต่ก็ยังมีการ กระทำในใจอยู่
(ข้อความนั้น มีลักษณะแห่ง การเจริญสมาธิ ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ อาจจะใช้เป็นคำอธิบายแห่งคำว่า “อุปสุมานุสสติ” แห่งอนุสสติสิบ ได้ดี ดีกว่าที่อธิบายกันอยู่อย่างคลุมเครือ. ยิ่งกว่านั้นยังมีความวิเศษ ตรงที่ว่า ง่ายสำหรับทุกคน ที่จะแยกจิต ออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวง มากำหนดอยู่เฉพาะสิ่ง ที่เป็น อสังขตะนี้เพียงสิ่งเดียว ทำให้แสวงหาความสุข หรือความเย็นจาก พระนิพพานได้ง่ายขึ้น).
1335
จากรูปฌานไปสู่ อาสวักขยญาณ โดยตรง
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้าน หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้าน หรือนิคมนั้นเพื่อ บิณฑบาต. ด้วยการรักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต ตั้งสติไว้มั่น และด้วยการสำรวมอินทรีย์ทั้ง หลาย เธอได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็ นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็น การรวมถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็น ผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอา โดยแยกเป็นส่วน ๆ อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหล ไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ ซึ่งอินทรีย์อัน เป็นต้น เหตุ คือตาใดเธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษา อินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.
(ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ ตรัสไว้ ทำนองเดียวกัน).
ภิกษุนั้น ภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธออยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมนั่งคู้ขาเข้าเป็น บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ เฉพาะหน้า
เธอละ อภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌา อยู่ ละ พยาบาท อันเป็น เครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศ จากพยาบาท เป็นผู้กรุณาจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิต จากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่ ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธิ อยู่
ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจุ อยู่ ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วง วิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า“นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจาก วิจิกิจฉาอยู่.ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็น เครื่องเศร้าหมองจิต และทำปัญญาให้ถอยกำลัง เหล่านี้ได้แล้ว เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเธอเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เข้าถึง ทุติยฌาน …. ตติยฌาน …. จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. (ดูราย ละเอียดเกี่ยวกับรูปฌานทั้งสี่นี้ได้ จากเรื่องที่มีรูปฌานทั้งสี่ เช่นที่หน้า ๑๒๗๘ แห่งหนังสือเล่มนี้).
เธอนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่ หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ. เธ ย่อมรู้ชัดตาม ที่เป็น จริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และย่อมรู้ชัดตามที่เป็น จริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิด อาสวะ นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ข้อ ปฏิบัติ ให้ถึงความดับไปเหลือแห่ง อาสวะ. เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น ทั้งจากามาสวะ ภวา-สวะและอวิชชาสวะ ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณว่าหลุดพ้นแล้ว.
เธอย่อมรูชั้ดว่า“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
หมวด จ. ว่าด้วยอานิสงส์ของสัมมาสมาธิ
1337
ประโยชน์ของการเจริญสมาธิ นัยที่หนึ่ง เห็นความไม่เที่ยงของอายตนิกธรรม
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีจิตเป็นสมาธิแล้ว (ธรรมลักษณะ) ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า จะปรากฏตามที่เป็นจริง?
จักษุ จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
รูปทั้งหลาย จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
จักขุวิญญาณ จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
จักขุสัมผัส จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้
เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอทุกขมสุขก็ดี ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้.
(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด. เมื่อภิกษุมีจิตเป็นสมาธิแล้ว (ธรรมลักษณะ) ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริง.
1337-1
นัยที่สอง : เห็นความเกิดดับของเบญจขันธ์
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็ นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็ นจริง. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งรูป .... แห่งเวทนา .... แห่งสัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่งวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้นแห่งรูป .... แห่ง เวทนา .... แห่ง สัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่. ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป นันทิ(ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในรูป ความเพลิดเพลิน นั้นคืออุปาทาน.เพราะ อุปาทานของภิกษุนั้นเป็ นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็ นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมี ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแหง่ กองทุกข์ท้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
(ในกรณีของ การเกิดขึ้นแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่าง เดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).
ภิกษุ ท. ! นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา…. แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งรูป …. แห่ง เวทนา …. แห่ง สัญญา ….แห่ง สังขาร …. แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม ไม่เพลิดเพลิน ย่อม ไม่พรํ่าสรเสริญย่อม ไม่เมาหมกอยู่ ภิกษุนั้นย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยูซึ่ง รูป. เมื่อภิกษนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูป นันทิ (ความเพลิน) ใด ในรูป นันทินั้นย่อมดับไป.
เพราะความดับแห่งนันทิ ของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
(ในกรณีของ การดับแห่งเวทนา แห่ง สัญญา แห่ง สังขาร และแห่ง วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่าง เดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).
ภิกษุ ท. ! นี้คือ ความดับแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา ….แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ แล.
1339
อานุภาพแห่งสมาธิ
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ มีจิตตั้งมั่นเป็ นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามที่เป็ นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์” ดังนี้ .
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามที่เป็น จริง. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำความเพียรเพื่อให้รู้ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
(ในสูตรอื่นทรงแสดงอานุภาพแห่งสมาธิ ด้วยการรู้ชัดความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี. -๑๗/๑๘/๒๗. (ดูรายละเอียดของความเกิด และความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ.โอ.หน้า ๑๒๗-๑๓๑ และที่หน้า ๓๓๘-๓๔๑) ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการรู้ชัด อายตนิกธรรม ๖ หมวด หมวดละ ๕ อย่างคือ จักษุ รูปจักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่างว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. – ๑๘/๙๙/๑๔๗. อีกสูตรหนึ่ง แสดงไว้ด้วยการปรากฏของ อายตนิกธรรมทั้ง ๖หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. -๑๘/๑๘๐/๒๔๙).
1340
อานิสงส์ของการหลีกเร้น
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้น (ปฏิสลฺลาณ) เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น จงเป็นผู้ตามประกอบ เจโตสมถะในภายใน มีฌานอันตนไม่ละเลย ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน ความ ยินดีในสุญญาคารอยู่เถิด.
ภิกษุ ท. ! เมื่อประพฤติกระทำเช่นนั้นอยู่ ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผลทั้งสอง เป็นอันเธอหวังได้ คือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรมนี้ หรือว่าเมื่อเชื้อ (อุปาทิ) เหลืออยู่ ก็มี ความเป็น อนาคามี.
(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์ แห่งการหลีกเร้นไว้ด้วยการ รู้ชัดการเกิดขึ้นและความดับไป แห่งขันธ์ห้า ก็มี. - ๑๗/๒๐/๓๐. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ.โอ. หน้า ๒๕๙ - ๒๖๒ และที่หน้า ๓๓๘ - ๓๔๑ .
ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอริยสัจสี่ ก็มี ดังที่ได้ยกมาไว้ในภาคนำแห่งหนังสือเล่มนี้ที่หน้า ๗๕. ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอายตนิกธรรม ๖ หมวดๆ ละ ๕ อย่างคือ จักษุ รูปจักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัด อายตนิกธรรม ๓๐อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๐๐/๑๔๘.ในสูตรอื่นแสดงไว้ ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๘๑/๒๕๐).
1341
แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร
(พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสข้อความปรารภการสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ถ้าฝ่ายใดแพ้ถูกไล่ ติดตามไปจน ถึงภพเป็นที่อยู่ แห่งตน ก็พ้นจาการถูกไล่ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน.สรุปความว่า ภพแห่งตนเป็นที่พึ่งที่ต้านทาน ของตน สำหรับชนสามัญ ทั่วไป ส่วนสำหรับภิกษุนั้นตรัสว่า)
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกมีวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมคิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ เรา มีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับ สัตว์ผู้กลัวอยู่ มารจะไม่ทำอะไรได้”. ภิกษุท. ! แม้มารผู้มีบาป ก็คิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ ภิกษุมีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทาน สำหรับสัตว์ผู้กลัว อยู่ เราจะทำอะไรไม่ได้”.
(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่ง ฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมา ใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว จักข้ามไปยังข้อความที่กล่าวถึงอากาสานัญจายตนะ)
ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสีย ได้โดยประการทั้งปวง เพราะการดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการ ไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น
(ในกรณีแห่ฌานที่ถัดไป คือ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานา สัญญายตนะ ก็ได้ตรัสข้อความ ทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว. ส่วนในกรณีแห่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ได้ตรัสว่า)
ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วง ซึ่งเนวสัญญานา สัญญา-ยตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ อาสวะของเธอก็สิ้นสุดไป เพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมาร ผู้มีบาป มองไม่เห็น ข้ามได้แล้วซึ่งเครื่องข้อง (คือตัณหา) ในโลก ดังนี้.
(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อจิตอยู่ในปฐมฌาน เพียงเท่านั้นจิต ก็จะพ้นจากการรบกวน ทำร้ายของ มาร คือนิวรณ์ กิเลส และความรู้สึกอันเป็นทุกข์อื่นๆ เพราะอำนาจของปฐมฌานมีมากพอที่จะระงับ ความรู้สึกอันเป็นทุกข์นั้นเสียได้ แม้ไม่ตลอดไป ก็ต้องได้ในระยะหนึ่งๆ เพื่อเป็นโอกาสให้ได้ปฏิบัติสูง ขึ้นไป จนถึงที่สุด. ดังนั้น เราควรฝึกฝนอย่างน้อย ที่สุดในปฐมฌาน สำหรับ เป็นที่หลบภัยจากมารเมื่อไร ก็ได้ ดังกล่าวแล้ว).
1342
แม้เพียงปฐมฌาน ก็บำบัดกิเลสอันเป็นเครื่องระคายใจได้
(ในตอนต้นแห่งพระบาลีสูตรนี้ ตรัสเล่าถึงช้างจ่าโขลงรำคาญ อยู่ด้วยการรบกวนของช้างพลาย ช้างพัง ช้างรุ่น และลูกช้าง ที่ติดตามห้อมล้อม โดยกินหญ้าอ่อนเสียก่อนบ้าง กินยอดไม้ที่หักลงมาได้เสียก่อนบ้าง ลงไปทำน้ำให้ขุ่น เสียก่อนบ้าง ถูกเดิน เบียดเสียดเมื่อขึ้นมาจากน้ำบ้าง จึงตัดสินใจหลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ต้องทนความรำคาญอีกต่อไป หักกิ่งไม้ฟาดตัวระงับความคัน ทั่วตัวอยู่อย่างสบาย เป็นอุปมาดังนี้แล้ว ได้ตรัสถึงภิกษุในกรณีนี้ ดังต่อไปนี้ )
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น ในสมัยใด ภิกษุ๑ เป็นผู้เกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ราชา มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นได้มี ความคิด ว่า“เดี๋ยวนี้เราเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ราชา มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีร์ และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย. ถ้าไฉน เขาพึงหลีกออกจากหมู่คณะ ไปอยู่ผู้เดียวเถิด” ดังนี้.
ภิกษุนั้น เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอนั้นไปแล้วสู่ป่า ก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอ ละอภิชฌา ในโลกมีจิต ปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌาอยู่ ละพยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวัง ความเกื้อกูลในสัตว์ ทั้งปวง ชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่อง ประทุษร้ายอยู่ ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิต ปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจาก ถีนมิทธะ อยู่ ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายในชำระจิต จากอุทธัจจะกุกกุจจะ อยู่ ละวิจิกิจฉาข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้อง กล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลายชำระจิต จากวิจิกิจฉา อยู่.ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ทั้งห้าอย่าง อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญา
………………………………………………………………
๑. คำว่า “ภิกษุ” ในที่นี้ มีความหมายกว้าง รวมทั้งพระองค์เอง และผู้ปฏิบัติธรรมะอยู่เพราะความเห็นภัย ในวัฏฏสงสารทุกท่าน ในที่นี้แปลตามบาลี ซึ่งมีอยู่แต่เพียงคำว่า ภิกษุคำเดียว.
………………………………………………………………
ให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌานอันมีวิตกมีวิจาร มีปิติ และสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้น บำบัดกิเลสเป็นเครื่องระคายใจได้ อย่างเป็นที่พอใจ ของตน.
(ในกรณีแห่งการบรรลุ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ กระทั่งถึง เนวสัญญานา สัญญายตนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ ในกรณีแห่งการบรรลุปฐมฌาน ข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อฌาน. ส่วนในกรณีแห่งการบรรลุ สัญญาเวทยิต-นิโรธ นั้น ตรัสว่า)
ภิกษุนั้น เพราะก้าวล่วง ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวท ยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. เพราะเห็นด้วยปัญญาอาสวะ ของเธอนั้น ก็สูญสิ้นไป. เธอนั้น บำบัดกิเลสเป็ นเครื่องระคายใจ ได้อย่างเป็นที่พอใจของตน แล.
1344
เจโตสมาธิที่สามารถเพิ่มผาสุกทางกาย
อานนท์ ! สมัยใด ตถาคต เข้าถึงเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง และเพราะ ดับ เสียซึ่ง เวทนาบางพวก แล้วแลอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคต ก็เป็นกายที่ผาสุกกว่า.
อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย จงมีตนป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่น เป็นสรณะ เลย.(ต่อไปนี้ได้ตรัส การปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ ในฐานะเป็นการมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ แล้วตรัสว่า)
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ตาม ในกาลที่ล่วงไปแล้วแห่งเราก็ตาม ภิกษุใด มีตนเป็นที่พึ่งมีตนเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็ นสรณะ แล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็ นผู้เลิศที่สุด แห่งภิกษุผู้ใคร่ ในสิกขา.
1345
ที่นั่ง - นอน - ยืน - เดิน อันเป็นทิพย์
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นทิพย์ซึ่งในบัดนี้พระโคดมผู้เจริญได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยากโดยไม่ลำบากนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?”
พราหมณ์ ! ในกรณีนี้ เราเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เวลาเช้าครองจีวร เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านหรือ นิคมนั้น. ครั้นเวลาหลัง อาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวไปตามแนวป่า.
เรานั้น วัตถุใดมีอยู่ในที่นั้นๆจะเป็นหญ้าหรือใบไม้ก็ตาม คร่ามาแล้ว (ทำเป็นที่รองนั่ง) นั่งคู้บัลลังก์ตั้ง กายตรงดำรงสติ เฉพาะหน้า เรานั้นสงัดจากกามและอกุศธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึง ฌานที่๑ ....๑ ที่ ๒ .... ที่ ๓ .... ที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติอัน บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
พราหมณ์ ! เราขณะเมื่อเป็นอย่างนี้ ถ้าเดินอยู่ ในสมัยนั้นสถานที่ตรงนั้น ก็ชื่อว่า ที่เดินอันเป็นทิพย์ ถ้ายืนอยู่ สถานที่ ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่ยืนอันเป็นทิพย์ ถ้านั่งอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่าอาสนะทิพย์ ถ้าสำเร็จการ นอน อยู่ สถานที่ ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่นอนอันเป็นทิพย์.
พราหมณ์ ! นี้แล ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นทิพย์ ซึ่งในบัดนี้ เราได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ ลำบากเลย.
1346
ธรรมที่ทำความเป็ นผู้มีอำนาจเหนือจิต
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ แล้ว ย่อม ทำจิตให้อยู่ในอำนาจ (ของตน) ได้ และภิกษุนั้นก็ ไม่ตกอยู่ ในอำนาจของจิต. เจ็ดประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เจ็ดประการ ในกรณีนี้คือ
๑. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในสมาธิ
๒. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ
๓. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ
๔. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๕. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในความเหมาะสมแห่งสมาธิ
๖. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในธรรมเป็ นโคจรแห่งสมาธิ
๗. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในอภินิหารสมาธิ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรมเจ็ด ประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้จิตอยู่ในอำนาจ (ของตน) ได้ และภิกษุนั้นก็ไม่ตก อยู่ในอำนาจของจิต.
(ในสูตรอื่น (ฉกฺก.อํ. ๒๒/๓๔๘/๒๙๖) ตรัสว่า การระลึกถึง ตถาคต ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ถึงศีล ถึงจาคะ ถึงธรรม ทำความเป็นเทวดา ๖ ประการนี้ ทำให้จิตไม่ถูกกลุ้มรุมด้วยราคะ-โทสะ-โมหะ เป็นจิต ไปตรง ก้าวออก หลุดพ้น ออกจาก ตัณหาซึ่งเป็นการเปลื้องจิตออกมาเสียจากการครอบงำของกิเลส ด้วยเหมือนกัน ผู้สนใจพึงอ่านดูจากที่มานั้น).
1347
ฌานระงับความรัก - เกลียดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ.สี่ประการอย่างไรเล่า? สี่ประการคือ ความรักเกิดจากความรัก ความเกลียดเกิดจากความรัก ความรักเกิดจากความเกลียด ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.
ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. !ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ ปรารถนา รักใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ บุคคลโน้นก็จะเกิด ความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติ กระทำต่อบุคคล ที่เราปรารถนา รักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้น ในบุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก.
ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา รักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำ ต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา น่ารักใคร่พอใจ บุคคลโน้น ก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติกระทำต่อ บุคคล ที่เราปรารถนา รักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความ เกลียดให้เกิด ขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิด จากความรัก.
ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด ? ภิกษุท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่ง ไม่เป็นที่ปรารถนา รักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง มีน่ารักใคร่พอใจ บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมา อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติก ระทำต่อบุคคล ที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่า ปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้น ในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจาก ความเกลียด.
ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด ?ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคล ซึ่งไม่เป็น ที่ปรารถนารัก ใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจ ขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติกระทำต่อบุคคล ที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียด ให้เกิดในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือธรรมารมณ์ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ. ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ สมัยนั้น ความรักใดที่เกิดจาก ความรัก ความรักนั้นก็ไม่มี ความเกลียดใดที่เกิดจากความรักความเกลียดนั้นก็ไม่มี ความรักใดที่เกิดจากความเกลียด ความรักนั้นก็ไม่มี ความเกลียดใด ที่เกิดจากความเกลียด ความเกลียด นั้น ก็ไม่มี.
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ เข้าถึงทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่ สมัยนั้น ความรักใด ที่เกิดจากความรัก ความรักนั้นก็ไม่มีความเกลียดใดที่เกิดจากความรัก ความเกลียดนั้นก็ไม่มี ความรักใดที่เกิดจากความ เกลียด ความรักนั้นก็ไม่มี ความเกลียดใดที่เกิดจากความเกลียด ความเกลียด นั้น ก็ไม่มี. (ข้อความตอนต่อไปจากนี้ กล่าวถึงการบรรลุวิมุตติ ซึ่งระงับความรัก และความเกลียดอย่าง ถอนราก พึงดูรายละเอียดจากหัวข้อ ว่า “ผู้ถอนรากแห่งความรักและความเกลียดได้แล้ว” ที่หน้า ๖๓๗ แห่งหนังสือนี้).
1349
ญาณในตถาคตพลญาณ มีได้เฉพาะแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ภิกษุ ท. ! ในบรรดาตถาคตพลญาน ๖ ประการเหล่านั้น เรากล่าว ยถาภูตญาณในสิ่งซึ่ง เป็นฐานะ โดยความ เป็นฐานะ และในสิ่งซึ่งเป็นอฐานะโดยความเป็ นอฐานะ ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็น
สมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.
เรากล่าว ยถาภูตญาณในสิ่งซึ่งเป็นวิบาก โดยฐานะโดยเหตุ ของกัมมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็ นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผูมี้จิตไม่ตั้งมั่น.
เรากล่าว ยถาภูตญาณในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็ นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.
เรากล่าว ยถาภูตญาณในปุพเพนิวาสานุสสติ ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ช่สำหรับผู้มี จิตไม่ตั้งมั่น.
เรากล่าว ยถาภูตญาณในการจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็ นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้ มีจิตไม่ตั้งมั่น.
เรากล่าว ยถาภูตญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ว่าญาณ นั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็ นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล สมาธิ เป็นมรรค (แท้) อสมาธิเป็นมรรคลวง. |