1198
สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์ เมื่ออานาปานสติบริบูรณ์
ภิกษุ ท. ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ
(๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า เราหายใจเข้ายาว หรือ เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาวดังนี้ก็ดี
(๒) เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือ เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้ก็ดี
(๓) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
(๔) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆในบรรดากายทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ. (ข้อนี้อธิบายว่า การกำหนดลมหายใจทั้ง ๔ ขั้นนั้น ชื่อว่ากายในกายเพราะ พระองค์ทรงเรียกลมหายใจ ว่ากาย เมื่อกำหนดและพิจารณาลมหายใจอยู่ ก็ชื่อว่ากำหนดและพิจารณากายอยู่ ในบรรดากายทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานจัดเป็นสติปัฏฐานที่หนึ่ง).
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ
(๕) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
(๖) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
(๗) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า จักหายใจออกดังนี้ก็ดี
(๘) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความ เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวว่า การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่านั่นเป็นเวทนา อย่างหนึ่งๆในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็น ประจำ.
(ข้อนี้อธิบายว่า ความรู้สึกในใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการกำหนดลมหายใจ นั้นแหละเรียกว่าเวทนา ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ฉะนั้นการกำหนดต่อความรู้สึกเหล่านั้นได้ชื่อว่าเป็นการกำหนดเวทนา และเรียกโดยบาลีว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จัดเป็นสติปัฏฐานที่สอง).
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ
(๙) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
(๑๐) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
(๑๑) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
(๑๒) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ เป็นสิ่งที่มีได้แก่ บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ.
(ข้อนี้อธิบายว่าผู้มีสติ ลืมหลงหรือไม่มีสัมปชัญญะ ชื่อว่าไม่มีจิตย่อมไม่ สามารถกำหนด อานาปานสติ ซึ่งเป็นการกำหนดด้วยสติ หรือจิต ซึ่งเรียกเป็นบาลีว่า จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐานจัด เป็นสติปัฏฐาน ที่สาม.)
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ
(๑๓) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า จักหายใจออก ดังนี้ก็ดี
(๑๔) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า จักหายใจ ออก ดังนี้ก็ดี
(๑๕) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า จักหายใจ ออก ดังนี้ก็ดี
(๑๖) ย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า จักหายใจ ออกดังนี้ก็ดี
ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส ทั้งหลาย ของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
(ข้อนี้อธิบายว่า ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับไม่เหลือ และความสลัดคืนก็ดี ลักษณะแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือสุญญตาก็ดี ตลอดถึงลักษณะแห่งความ หลุดพ้น จากกิเลส อันเป็นผลสุดท้ายที่เนื่องมาจากการเห็นลักษณะทั้งหลายข้างต้นก็ดี ล้วนแต่เรียกว่า ธรรมในกรณีนี้ด้วยกัน ทั้งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล็งถึงผลแห่งการปฏิบัติหมวดนี้ว่าเป็นธรรมจึงได้ ตรัสเอาการละอภิชฌา และ โทมนัสเสียได้ ว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นตามเห็นอยู่ในกรณีนี้ และทรงบัญญัติว่า นั่นป็นการเห็นธรรมใน บรรดาธรรมทั้งหลาย ซึ่งเรียกโดยบาลีว่า ธัมมานุสติปัฏฐานจัดเป็นสติปัฏฐานที่สี่.)
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่าง นี้แลย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์.
ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า ในอานาปานสติทั้ง ๑๖ วัตถุนั้น มีสติปัฎฐาน ๔ รวมอยู่ด้วยในตัว หรือว่าเป็นสติปัฏฐาน ๔ อยู่ในตัวพร้ อมกันไปในคราวเดียวกันโดยลักษณะอย่างไร. ต่อนี้ไปเป็นพระ พุทธภาษิตที่แสดงว่า สติปัฏฐาน ๔ นั้น จะกระทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้อย่างไรสืบไป :-
1209-1
ก. หมวดลมหายใจเข้า - ออก (คือกาย)
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอผู้มีสตินั่นเทียว หายใจเข้า มีสติหายใจออก
(๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัด ว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจ ออกยาว หรือว่า
(๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัด ว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
(๓) เธอย่อมทำบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก
(๔)เธอย่อมทำบทศึกษาว่า เรา ทำกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าออก) ให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า เราทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้าจักหายใจออก เช่นเดียวกับนายช่างกลึง หรือลูกมือของนาย ช่างกลึง ผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น ฉันใดก็ฉันนั้น.ด้วยอาการอย่าง (กล่าวมา) นี้แล
ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติ พิจารณา เห็นกายในกายอันเป็นภายใน (คือของตน) อยู่ บ้าง ในกายอันเป็น ภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น ธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุ เกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง ก็แหละ สติ (คือความระลึก) ว่า “กายมีอยู่”ดังนี้ของ เธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้๑ เพียงเพื่ออาศัย ระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิ อาศัยไม่ได้และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้
1209-2
ข. หมวดอิริยาบถ (คือกาย)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ
(๑) เมื่อเดินอยู่ ย่อมรู้ชัด ว่า เราเดินอยู่๑
(๒) เมื่อยืน ย่อมรู้ชัด ว่า เรายืนอย่”
(๓) เมื่อนั่ง ย่อมรู้ชัด ว่า เรานั่งอยู่
(๔) เมื่อนอน ย่อมรู้ชัด ว่า เรานอนอยู่
เธอ ตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้น ด้วยอาการอย่างนั้นๆ
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่บ้าง ในกายอันเป็น ภายนอกอยู่ บ้าง .... ฯลฯ ....
(คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า – ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอัน เป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้)
……………………………………………………………………………………
๑. เพียงเพื่อความรู้ คือระลึกยึดเอากายขึ้นเป็นอารมณ์สำหรับพิจารณาหาความรู้ ไม่ได้เข้าใจหรือยึดมั่นว่า กายเป็นธรรมชาติที่มีตัวตนอันจะเข้ายึดถือเป็นของตนได้. แม้ในเวทนา จิตธรรม ก็เหมือนกัน.
……………………………………………………………………………………
1209-3
ค. หมวดสัมปชัญญะ (ในกาย)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก :
(๑) ภิกษุย่อมเป็นผู้ มีปกติ๒ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการก้าวไปข้างหน้า ในการถอยกลับข้างหลัง.
(๒) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการแลดู ในการเหลียวดู.
(๓) เป็นผู้มีปกติความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการคู้ ในการเหยียด(อวัยวะ).
(๔) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร๓.
(๕) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม๔.
(๖) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ.
(๗) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกาย อันเป็นภายในอยู่บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ ....
(คำที่ละไว้ต่อไปนี้เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอัน เป็นภายนอก(คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).
…………………………………………………………………………………………………………………………..
๑. รู้ว่าเดินด้วยอนัตตานุปัสสนาญาณโดยปรมัตถ์ คือประชุมแห่งนามรูปเคลื่อนไหวไปอยู่ หาใช่สัตว์เดิน บุคคลเดิน เหมือนเสียงที่กล่าวที่กล่าวกันไม่ นั่ง นอน ยืน ก็อย่างเดียวกัน.
๒. คำว่ามีปกติ คือมีการทำ อย่าง นั้นๆ เป็นประจำไม่มีขาดระยะ ได้แก่ทำเสมอ คำนี้ ท่านหมายความหนักยิ่งกว่าคำว่าทำจนเคยชิน ทำชิน แล้วอาจไม่ทำก็ได้ ส่วนคำนี้เป็นการทำเรื่อย อย่างที่เรียกว่าติดสันดานจนถึงดับลมหายใจ.
๓. ถ้าผู้ศึกษา เป็นคฤหัสถ์ เปลี่ยนเป็นการนุ่งห่มผ้านุ่งห่ม และใช้สอยภาชนะอันใดก็ได้ ในข้ออื่น ก็พึงรู้ความ หมายอย่าง เดียวกัน. ๔. กินคือกินอาหารมื้อประจำวัน เคี้ยวคือกินของกินเล่นจุบจิบ ดื่มกับลิ้มก็นัยเดียวกัน
…………………………………………………………………………………………………………………………..
1212
ง. หมวดมนสิการในสิ่งปฏิกูล (คือกาย)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ พิจารณาเห็นกายนี้แล จากพื้นเท้าขึ้นไปสู่เบื้องบน จากปลายผม ลงมาในเบื้องต่ำ อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า : ในกายนี้มีผม ท. ขน ท. เล็บ ท. ฟัน ท. หนัง เนื้อ เอ็น ท. กระดูก ท. เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้ามปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนองโลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำหล่อข้อ น้ำมูตร๑ดังนี้ เช่นเดียวกับไถ้๒ มีปากสองข้าง เต็มไปด้วย ธัญญชาติ มีอย่างต่างๆคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา ข้าวสาร. บุรุษผู้มีตาดี(ไม่บอด) แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พิจารณาเห็นได้ว่า พวกนี้ข้าวสาลี พวกนี้ข้าวเปลือก พวกนี้ถั่วเขียวพวกนี้ถั่วราชมาส พวกนี้งา พวกนี้ข้าวสาร ฉันใดก็ฉันนั้น.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ....
(คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอัน เป็นภายนอก(คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาหารอย่างนี้”).
…………………………………………………………………………
๑. จำนวนที่เราถือกันว่า ๓๒ อย่างนั้น เป็นการนับทำนองอรรถกถา หรือปกรณ์รุ่นหลัง โดยท่านแยก ให้มีเนื้อ เยื่อสมองกระดูก(มันสมอง) ต่อท้ายเข้าอีกอันหนึ่ง จึงเป็น ๓๒. ส่วนในบาลีนับเยื่อในสมองนี้ รวมในเยื่อใน กระดูกเสียจึงมีเพียง๓๑.
๒. ถุงชนิดมีปากรูดได้สองข้าง ไม่นิยมว่าข้างไหนเป็นก้นเป็นปาก.
………………………………………………………………………
1213
จ. หมวดมนสิการในธาตุ (ซึ่งเป็นกาย)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นกายอันตั้งอยู่ดำรงอยู่ ตามปกตินี้แล โดยความเป็น ธาตุ ว่า “ในกายนี้ มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ” ดังนี้ เช่นเดียวกับคนฆ่าโคหรือลูกมือของ คนฆ่าโคผู้ชำนาญ ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ ที่หนทางสี่แยก ฉันใดก็ฉันนั้น.ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ....
(คำที่ละไว้ ต่อไปนี้เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลม หายใจเข้าออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอัน เป็นภายนอก(คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า "เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”) .
1213-1
ฉ. หมวดนวสีวถิกา (คือกาย)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก :
(๑) ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง ตายแล้วสองวันบ้าง ตายแล้วสามวันบ้างกำลังขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีหนองไหลน่าเกลียด ฉันใด เธอพึงน้อม เข้าไปเปรียบกับกายนี้ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความ เป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า -ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).
(๒) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ อันฝูงกาบ้าง เจาะกินอยู่ อันฝูงนกตะกรุมบ้าง จิกกินอยู่ อันฝูงแร้งบ้าง เจาะกินอยู่ อันฝูงสุนัขบ้าง กัดกินอยู่ อันฝูงสุนัขจิ้งจอกบ้าง กัดกินอยู่ อันหมู่หนอนต่างชนิดบ้าง บ่อนกินอยู่ ฉันใด เธอก็พึงน้อม เข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความ เป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่บ้าง ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออกตั้งแต่คำว่า ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง. ไปจนถึงคำว่า เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้).
(๓) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูก มีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวดก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก(คือของผู้อื่น)อยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้).
(๔) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็น ร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังมีนํ้าเลือดเปื้อนอยู่ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับ กาย นี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ ไปได้ ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง ไปจนถึงคำว่า เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้)
(๕) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง ไปจนถึงคำว่า เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้).
(๖) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูก ไม่มีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด กระจัดกระจายไปทิศต่างๆ กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกหลังไปทาง ๑ กระดูกข้อสันหลังไปทาง๑ กระดูกซี่โครงไปทาง กระดูกหน้าอกไปทาง กระดูกไหล่ไปทาง กระดูกแขนไปทาง ๒ กระดูกคอไปทาง กระดูกคางไปทาง กระดูกฟันไปทาง กะโหลก ศีรษะไปทาง ฉันใด เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แลก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้.
……………………………………………………………………………
๑. นี้เป็นการแยกคงไว้ตามฉบับพระไตรปิฎก ส่วนสวดมนต์ฉบับหลวง และฉบับหลักสูตรนักธรรมเอก รวม เป็นศัพท์เดียวกัน แปลว่ากระดูกสันหลังเลย.
๒. ฉบับสวดมนต์ยกเอากระดูกแขนไปไว้หน้ากระดูกไหล่.
……………………………………………………………………………
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง .....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจ เข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก(คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).
(๗) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูก ทั้งหลาย มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ ฉันใด เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แลที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่ บ้าง .....ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจ เข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่บ้าง” ไปจนถึงคำว่า เห็นกายในกาย อยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้).
(๘) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูก ทั้งหลาย เป็นกองๆเรี่ยรายอยู่นานเกินกว่าปีหนึ่ง ฉันใด เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้”ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกายอัน เป็นภายนอกอยู่บ้าง .....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจ เข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่บ้าง” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกาย อยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).
(๙) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นกระดูก ทั้งหลาย เปื่อยเป็ นผงละเอียด ฉันใด เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในกาย อันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง ในกายอันเป็นภายในและภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรม เป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย(นี้) อยู่ บ้าง.
เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า“กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
1218
การทำสติในรูปแห่งเวทนานุปัสสนา
๑. ตามนัยแห่งอานาปานสติสูตร
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ (๑) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้
(๒) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขจักหายใจออก ดังนี้
(๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตต-สังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบท ศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้
(๔) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบท ศึกษาว่าเราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ จักหายใจออก ดังนี้ ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนา๑ ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออกทั้งหลาย ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. !เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็น ประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
1219
การทำสติในรูปแห่งเวทนานุปัสสนา
๒. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :
(๑) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขก็ตามย่อมรู้ชัด ว่า “เราเสวยเวทนาอันเป็นสุข”
(๒) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ก็ตามย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์”
(๓) เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข”
(๔) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขเป็นไปกับด้วยอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยเวทนาอันเป็นสุขเป็นไปกับ ด้วยอามิส”
(๕) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขปราศจากอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยเวทนาอันเป็นสุขปราศจาก อามิส”
(๖) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์เป็นไปกับด้วยอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์เป็นไป กับ ด้วยอามิส”
(๗) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ปราศจากอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยทุกข์เวทนาอันปราศจาก อามิส”
(๘) เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข อันเป็นไปกับด้วยอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยอทุกขมสุข เวทนาเป็นไปกับด้วยอามิส”
(๙) เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข อันปราศจากอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยอทุกขมสุข เวทนา อันปราศจากอามิส”.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ท. อันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในเวทนา ท. อันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง ในเวทนาท.
ทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง และเป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งเวทนา) ในเวทนา ท. (นี้) อยู่บ้าง เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งเวทนา) ในเวทนา ท. (นี้) อยู่บ้าง เห็นทั้ง ธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งเวทนา) ในเวทนา ท. (นี้) อยู่บ้าง.
ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า เวทนา ท. มีอยู่ ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอ ดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่อ อาศัยระลึก.
ที่แท้ เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึด มั่น อะไรๆในโลกนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
1220
การทำสติในรูปแห่งจิตตานุปัสสนา
๑. ตามนัยแห่งอานาปานสติสูตร
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ
(๑) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้
(๒) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษา ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
(๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
(๔) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต๑ อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมป ชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็ นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมป ชัญญะ. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
1221
การทำสติในรูปแห่งจิตตานุปัสสนา
๒. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
(๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีราคะ ว่า “จิตมีราคะ”
(๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากราคะ ว่า “จิตปราศจากราคะ”
(๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า “จิตมีโทสะ”
(๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโทสะ ว่า “จิตปราศจากโทสะ”
(๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโมหะ ว่า “จิตมีโมหะ”
(๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโมหะ ว่า “จิตปราศจากโมหะ”
(๗) รู้ชัดซึ่งจิตอันหดหู่ ว่า “จิตหดหู่”
(๘) รู้ชัดซึ่งจิตอันฟุ้งซ่าน ว่า “จิตฟุ้งซ่าน”
(๙) รู้ชัดซึ่งจิตอันถึงความเป็นจิตใหญ่๑ ว่า“จิตถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่”
(๑๐) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า“จิตไม่ถึงแล้ว ซึ่งความเป็นจิตใหญ่”
(๑๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า"จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า”
(๑๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า”
(๑๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันตั้งมั่น ว่า “จิตตั้งมั่น”
(๑๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ตั้งมั่นว่า “จิตไม่ตั้งมั่น”
(๑๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”
(๑๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังไม่หลุดพ้น ว่า “จิตยังไม่หลุดพ้น”.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นจิต ในจิตอัน เป็นภายในอยู่บ้าง ในจิตอันเป็น ภายนอกอยู่ บ้าง ในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งจิต)ในจิต (นี้) อยู่บ้าง เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งจิต) ในจิต (นี้) อยู่บ้าง. ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “จิตมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้เพียงเพื่อความอาศัย ระลึก. ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปรกติตามเห็นจิตในจิตอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
1223
การทำสติในรูปแห่งธัมมานุปัสสนา
๑. ตามนัยแห่งอานาปานสติสูตร
ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ
(๑) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
(๒) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำจักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
(๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
(๔)ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรม๑ ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เป็ นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็ นอย่างดีแล้วเพราะ เธอเห็นการละอภิชฌาและ โทมนัส ทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็น ผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสตินำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
…………………………………………………………………………
๑. เห็นความจริงของธรรม ในธรรมทั้งหลาย จนไม่ยึดมั่นธรรมใดๆ ตั้งแต่ต่ำที่สุด จนถึงสูงสุด มีนิพพาน เป็นต้น.
………………………………………………………………………
1224
การทำสติในรูปแห่งธัมมานุปัสสนา
๒. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็ นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ท. อยู่นั้น
เป็นอย่างไรเล่า ?
1225
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
ก. หมวดนิวรณ์ (คือธรรม)
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือนิวรณ์ ๕ อย่าง อยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคือนิวรณ์ห้าอย่างอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ :-รู้ชัดซึ่ง กามฉันทะ อันมีอยู่ในภายใน ว่า มีอยู่
รู้ชัดซึ่งกามฉันทะอันไม่มีอยู่ในภายใน ว่า ไม่มีอยู่ รู้ชัดซึ่งการเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น ว่า เกิดขึ้นอย่างไร รู้ชัดซึ่งการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ว่าละไปแล้วอย่างไร
รู้ชัดซึ่งการไม่เกิดขึ้นอีกแห่งกามฉันทะที่ละแล้ว ว่า ไม่เกิดขึ้นอีกอย่างไร.
(ในกรณีแห่งนิวรณ์คือ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ก็มีข้อความที่ตรัสว่า ภิกษุรู้ชัดทำนองเดียว กันกับ ในกรณีแห่ง กามฉันทนิวรณ์ข้างบนนี้).
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรม ท.อันเป็นภายในอยู่ บ้าง
ในธรรม ท. อันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง ในธรรม ท. อันเป็นทั้งภายในภายนอกอยู่ บ้าง และเป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็น ธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งธรรม) ในธรรม ท. (นี้) อยู่บ้าง
เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งธรรม) ในธรรม ท. (นี้) อยู้ บ้าง
เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น และเสื่อมไป (แห่งธรรม) ในธรรม ท. (นี้) อยู่ บ้าง.
ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “ธรรม ท. มีอยู่”ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้.
ภิกษุท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือนิวรณ์ห้าอย่าง แม้ด้วยอาการ อย่าง นี้.
1225-1
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
ข. หมวดขันธ์ (คือธรรม)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง อยู่.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ห้าอย่างอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น ว่า “รูป เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดรูปเป็นอย่างนี้
ความสลายแห่งรูปเป็นอย่างนี้. เวทนา เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดเวทนาเป็นอย่างนี้ ความสลายแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้. สัญญา เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดสัญญาเป็นอย่างนี้ ความสลายแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้. สังขาร ท. เป็นอย่างนี้เหตุให้เกิดสังขาร ท. เป็นอย่างนี้ ความสลายแห่งสังขาร ท. เป็นอย่างนี้.วิญญาณ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความสลายแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้.” ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยนิวรณ์ ตั้งแต่คำว่า “ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า “ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้”).
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ห้าอย่างอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
1226
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
ค. หมวดอายตนะ (คือธรรม)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออายตนะ ภายใน และภายนอก ๖ อย่าง อยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออายตนะ ภายในและภายนอกหกอย่างอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
รู้ชัดซึ่ง จักษุ
รู้ชัดซึ่ง รูปทั้งหลาย
รู้ชัดซึ่ง สัญโญชน์ (คือกิเลสเป็นเครื่องผูก) อันอาศัยจักษุและรูปทั้งสองอย่างแล้วเกิดขึ้น
รู้ชัดซึ่ง การเกิดขึ้นแห่งสัญโญชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นอย่างไร
รู้ชัดซึ่ง การละสัญโญชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว ว่าละไปแล้วอย่างไร
รู้ชัดซึ่ง การไม่เกิดขึ้นอีกแห่งสัญโญชน์ที่ละแล้ว ว่าไม่เกิดขึ้นอีกอย่างไร.
(ในกรณีแห่งอายตนะหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความ ที่ตรัสว่า ภิกษุรู้ชัด ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งอายตนะหมวดจักษุ ข้างบนนี้).
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง. ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....
ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยนิวรณ์ ตั้งแต่คำว่า "ในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง" ไปจนถึงคำว่า "ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้.")
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออายตนะภายในและ
ภายนอกหกอย่างอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
1227
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
ง. หมวดโพชฌงค์ (คือธรรม)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือโพชฌงค์ ๗ อย่าง อยู่.
ภิกษุ ท.!ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคือโพชฌงค์เจ็ดอย่างอยู่นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
รู้ชัดซึ่ง สติสัมโพชฌงค์ อันมีอยู่ในภายใน ว่า มีอยู่
รู้ชัดซึ่ง สติสัมโพชฌงค์อันไม่มีอยู่ในภายใน ว่า ไม่มีอยู่
รู้ชัดซึ่ง การเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นอย่างไร
รู้ชัดซึ่งการเจริญเต็มรอบแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ว่า เจริญเต็มรอบแล้วอย่างไร.
(ในกรณีแห่งโพชฌงค์คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็มีข้อความที่ตรัสว่าภิกษุรู้ชัดอย่างเดียว กันกับในกรณีแห่งสติ สัมโพชฌงค์ ข้างบนนี้ )
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยนิวรณ์ ตั้งแต่คำว่า “ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง” ไปจนถึงคำว่า “ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้”).
ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์เจ็ดอย่าง อยู่แม้ด้วย อาการอย่างนี้.
1228
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
จ. หมวดอริยสัจ (คือธรรม)
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออริยสัจ ๔ อย่าง อยู่.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคืออริยสัจสี่อย่างอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ในกรณีนี้ ภิกษุย่อม รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์” ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า“นี้คือเหตุ ให้เกิดทุกข์” ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “นี้คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”
1228-1
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
จ. -๑ : ทุกขอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไรรำพันความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความ ระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความที่ตนปรารถนาแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์.
ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ....ฯลฯ.... (ข้อความพิสดาร ต่อไปนี้ดูที่หน้า ๑๒๙ แห่งหนังสือ เล่มนี้ หัวข้อว่า “อริยสัจสี่ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร -นัยที่หนึ่ง)
1229
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
จ. - ๒ : ทุกขสมุทยอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ตัณหานี้ใด ทำความเกิดใหม่เป็นปรกติ เป็นไปกับด้วยความกำหนัดเพราะความเพลินมักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน? เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน? สิ่งใดในโลกมีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น ....ฯลฯ.... ([ข้อความพิสดารต่อไปนี้ ดูที่หน้า ๑๒๙ ถึงหน้า ๑๓๒ แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “อริยสัจสี่ที่ทรงแสดง โดยพิสดาร -นัยที่หนึ่ง)
1229-1
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
จ. - ๓ : ทุกขนิโรธอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือความคลายคืนโดยไม่มีเหลือและความดับไม่เหลือ ความละวาง ความสลัดคืน ความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้น นั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละได้ ย่อมละได้ในที่ไหน ?เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ใหน? สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลกตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละได้ในสิ่งนั้น ....ฯลฯ.... (ข้อความพิสดารต่อไปนี้ ดูที่หน้า ๑๓๒ ถึงหน้า ๑๓๔ แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “อริยสัจสี่ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร -นัยที่หนึ่ง)
1229-2
ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร
จ. - ๔ : ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นั้นเป็นอย่างไร เล่า? คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้เอง องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร?
ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ....ฯลฯ.... (ข้อความพิสดารต่อไปนี้ ดูที่หน้า ๑๓๕ ถึงหน้า ๑๓๗แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “อริยสัจสี่ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร -นัยที่หนึ่ง)
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรม ท. อันเป็นภายในอยู่ บ้าง
ในธรรม ท. อันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง
ในธรรม ท.ทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง
และเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น(แห่งธรรม)ในธรรม ท.(นี้)อยู่บ้าง
เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งธรรม ในธรรม ท. (นี้) อยู่บ้าง
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป(แห่งธรรม)ในธรรม ท. (นี้) อยู่บ้าง
ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “ธรรม ท. มีอยู่”ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้.ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคืออริยสัจสี่อย่างอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
1230
อุบายแห่งการดำรงจิตในสติปัฏฐาน
อานนท์ ! ข้อนั้นเป็นอย่างที่เธอกล่าว. อานนท์ ! ข้อนั้นเป็นอย่างที่เธอกล่าว
อานนท์ ! ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐานทั้งสี่อยู่ ข้อที่ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น จะพึงหวังได้ก็คือ จักบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารยิ่งกว่าที่บรรลุอยู่ก่อน.
สติปัฏฐานสี่อย่าง อย่างไรเล่า? สี่อย่าง คือ :-
อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่เมื่อนั้นเธอตามเห็นกายในกายอยู่ ความเร่าร้อนมีอารมณ์ทางกาย เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งไปในภายนอกก็ดี
อานนท์ ! ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ในนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง. เมื่อเธอนั้นตั้งจิต ไว้ในนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มีจิต ปราโมทย์ กายของผู้มีใจปีติ ย่อมระงับ ผู้มีกายระงับ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น.
ภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า “เราตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา ถ้ากระไร บัดนี้เราจะเพิกถอน (ซึ่งจิตอันตั้งไว้ในนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส)” ดังนี้. ภิกษุนั้น จึงเพิกถอนคือไม่กระทำซึ่งวิตก ไม่กระทำซึ่งวิจาร รู้ชัดว่า “บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติเป็นสุข อยู่ในภายใน” ดังนี้.(ในกรณีแห่งเวทนาก็ดี จิตก็ดี และธรรมก็ดี ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).
อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ภาวนาย่อมมีด้วยการดำรงจิตไว้.
1232
ข้อควรระวัง ในการเจริญสติปัฏฐานสี่
อัคคิเวสนะ! .... ครั้นภิกษุประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า “มาเถิดภิกษุ ! เธอจง เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หรือลอมฟางเถิด” ดังนี้.
ภิกษุนั้นย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ครั้นก้าวกลับจากบิณฑบาต ในกาลเป็นปัจฉาภัต นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกาย ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอย่อม ละอภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา อยู่ ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิต จากพยาบาทอยู่ ละถีนมิทธะ มีจิตปราศจากถีนมิทธะมุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระ จิต จากถีนมิทธะอยู่ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจ กุกกุจจะอยู่ ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวถามว่า “นี่อะไรนี่อย่างไร” ในกุศลธรรม ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่.
ภิกษุนั้น ครั้งละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว เธอ เป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นกาย ในกายอยู่ .... มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่ .... มีปกติ ตามเห็น จิต ในจิตอยู่ .... มีปรกติ ตามเห็นธรรม ในธรรม ท. อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออก เสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.ตถาคต ย่อมแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า
“มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่ แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบ อยู่กับกายเลย (มา จ กายูปสญฺหิตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกสิ)
มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นเวทนา ในเวทนา ท. อยู่แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไป ประกอบ อยู่กับเวทนาเลยมาเถิด ภิกษุ !เธอจงเป็นผู้มี ปรกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่ แต่อย่าตรึก ซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับจิตเลย
มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นธรรมในธรรม ท. อยู่ แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไป ประกอบ อยู่กับ ธรรมเลย” ดังนี้. ภิกษุนั้น เพราะเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึงเข้าถึง ทุติยฌาน อันเป็น เครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
(.... แล้วได้ตรัสถึง ตติยฌาน .... จตุตถฌาน .... ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ .... จุตูปปาตญาณ .... อาสวักขยญาณ จนกระทั่ง วิมุตติญาณ ตามหลักที่มีกล่าวอยู่ในบาลีทั่วๆไปที่กล่าวถึงเรื่องนี้).
(ที่ว่า มีข้อที่ควรระวังในการเจริญสติปัฏฐานสี่ ก็คือ อย่าเอาอารมณ์แห่งสติปัฏฐานสี่ เช่นกายเป็นต้น มาทำให้เป็นอารมณ์ของวิตกอันเป็นองค์ฌานที่หนึ่งแห่งองค์ฌานทั้งห้า เพราะว่าจะต้องละสิ่งที่เรียกว่า วิตก จึงจะเลื่อนจากปฐมฌานเป็นทุติยฌาน หรือฌานที่สูงขึ้นไป อันไม่มีวิตก ได้ถ้าเอากายเป็นต้นมาเป็น อารมณ์แห่งวิตก มันก็จะเลื่อนลำดับแห่งฌานไม่ได้ เพราะกายเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ตลอดไป จึงควร พิจารณากายในฐานะเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาอย่าเอามาเป็นอารมณ์แห่งวิตก การเจริญภาวนาจึงจะเป็น ไปได้ตามที่ตรัสไว้ในพระบาลีนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐานสี่โดยตรง).
1234
กายคตาสติ เป็นอุปกรณ์แก่อินทรยสังวร
ก. โทษของการไม่มีกายคตาสติ
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกัน ด้วยเชือกอันมั่นคง คือเขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจระเข้ จับนก จับสุนัขบ้าน จับสุนัข จิ้งจอก จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกันเป็นปมเดียวในท่ามกลาง ปล่อย แล้ว.
ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิด มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย้งฉุดดึงกัน เพื่อจะ ไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงนํ้า นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะ เข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า. ครั้งเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตามไปตามอำนาจของสัตว์นั้น. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุใดไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟังก็กลายเป็น สิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่า สูดดมกลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารส ที่ชอบใจ รสที่ไม่ช่อบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยงกาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัส ที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง และ ใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้น ไปหา ธรรมารมณ์ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน.
1235
กายคตาสติ เป็นอุปกรณ์แก่อินทรยสังวร
ข. คุณของกายคตาสติ
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่าง-กัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกัน ด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจรเข้ จับนก จับสุนัขบ้าน จับสุนัข จิ้งจอก และจับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือเสาหลักอีกต่อ หนึ่ง
ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย้งฉุดดึงกัน เพื่อจะ ไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้า บ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า. ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหก ชนิด เหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้าง เสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง. ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะ ไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่า พอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียง ที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่น ที่น่าสูดดม กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารส ที่ชอบใจ รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัส ที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง และ ใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้น ไปหา ธรรมารมณ์ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน.
ภิกษุ ท. ! คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อ แห่ง กายคตาสติ.
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียงตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสมํ่าเสมอด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
1236
หลักสำคัญสำหรับผู้หลีกออกเจริญสติปัฏฐานอยู่ผู้เดียว
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมนั้นโดยย่ออันเป็น ธรรมที่เมื่อข้าพระองค์ฟังแล้วจะเป็นผู้ผู้เดียว ออกไปสู่ที่สงัดเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร เผากิเลสมีตน ส่งไปแล้ว ในธรรมเบื้องบนแล้วแลอยู่เถิดพระเจ้าข้า !"ก็เรื่องอย่างเดียวกันนี่แหละ โมฆบุรุษบางพวก ขอร้องให้เรากล่าวธรรมอย่างที่เธอถาม ครั้นเรากล่าวธรรมนั้นแล้วเขาก็ยังสำคัญแต่ในอัน ที่จะติดตามเรา เท่านั้น (ไม่สนใจที่จะหลีกออกอยู่ปฏิบัติผู้เดียว).
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ แก่ข้าพระองค์ขอพระสุคตจงทรง แสดงธรรมโดยย่อ แก่ข้าพระองค์ในลักษณะที่ข้าพระองค์ จะเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า จะเป็นทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น".
ภิกษุ ท. ! ถ้าอย่างนั้น ในกรณีนี้ เธอจงชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นอย่างยิ่งในบรรดากุศลธรรมทั้งหลาย. ก็อะไรเล่าเป็นเบื้องต้นแห่ง กุศลธรรมทั้งหลาย? ธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายคือ ศีลอันบริสุทธ์ิหมดจด ๑ ทิฏฐิอัน เป็นไปตรง ๑. ภิกษุ ท. ! เมื่อศีลของเธอบริสุทธิ์หมดจด ทิฏฐิของเธอไปตรงแล้ว เธอจงอาศัยศีลตั้งอยู่ ในศีล แล้วจง เจริญสติปัฏฐานทั้งสี่โดย วิธีทั้งสาม เถิด. เจริญสติปัฏฐานทั้งสี่โดยวิธีทั้งสาม นั้นเป็น อย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เธอจงเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อันเป็นภายใน อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่เถิด และจงเป็นผู้มีปกติตามเห็น กายในกาย อันเป็นภายนอก อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก อยู่เถิด. และจงเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอก อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสตินำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่เถิด.(ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ท. ! เมื่อเธออาศัยศีลตั้งอยู่ในศีล แล้ว เจริญสติปัฏฐานทั้งสี่โดยวิธีทั้งสาม อย่างนี้แล้ว ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น เป็นสิ่งที่ เธอหวังได้ ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง หาความเสื่อมมิได้เลย.
ภิกษุนั้นยินดีรับพระพุทธภาษิต ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท กระทำประทักษิณหลีกไป แล้วเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกไปสู่ที่สงัด ไม่ประมาทมีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมเบื้องสูง อยู่ไม่นานนักก็ กระทำให้แจ้ง ได้ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ในทิฏฐธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง แล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่พึงประสงค์ของกุลบุตร ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนดังนี้แล.
1238
ตรัสให้มีสติคู่กันไปกับสัมปชัญญะ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้ มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสาสนีของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้สติ เป็ นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็น ประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้ตาม เห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและ โทมนัสในโลก เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสีย ได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.
ภิกษุท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็ นผู้มีสัมปชัญญะ เป็ นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวรการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้ แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ นี้เป็นอนุสาสนี ของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.
1239
การฝึกเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อสติสัมปชัญญะ นั้นเป็น อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น(หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษ; สัญญาเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ; วิตกเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ)ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สมาธิภาวนาอันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมป ชัญญะ.
1239-1
การฝึกเพื่อมีสติสัมปชัญญะโดยอ้อมและโดยตรง
อานนท์ ! ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ มีเท่าไร?
“มีห้าอย่างพระเจ้าข้า !”
ห้าอย่างอย่างไรเล่า?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน .... เข้าถึง ทุติยฌาน .... เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็ นสุขในทิฏฐธรรม.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ กระทำไว้ในใจซึ่ง อาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น เธอมีจิตอันเปิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ไม่มี อะไรห่อหุ้มยังจิตที่มีแสงสว่างทั่วพร้อมให้เจริญอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้จากพื้นเท้าขึ้นไปสู่เบื้องบน จากปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า : ในกายนี้มี ผม ท. ขนท. เล็บ ท. ฟัน ท. หนัง เนื้อ เอ็น ท. กระดูก ท. เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับพังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลดหนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อการละซึ่งกามราคะ.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ พึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ ตายแล้ว วันหนึ่ง บ้าง ตายแล้ว สองวัน บ้าง ตายแล้ว สามวัน บ้าง กำลังขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีหนอง ไหลน่าเกลียด ฉันใด
เธอนั้น พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ฉันนั้น ว่าแม้กายนี้ ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วง พ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ หรือว่าภิกษุ พึงเห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ใน ป่าช้าที่ทิ้งศพ อันฝูงกาบ้าง จิกกินอยู่ อันฝูงนกตะกรุมบ้าง จิกกินอยู่ อันฝูงแร้งบ้าง เจาะกินอยู่ อันฝูง สุนัขบ้าง กัดกินอยู่ อันฝูงสุนัข จิ้งจอกบ้าง กัดกินอยู่ อันหมู่หนอนต่างชนิดบ้าง บ่อนกินอยู่ ฉันใดเธอนั้น ก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้น ว่า แม้กายนี้ ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น ความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้
หรือว่าภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็น เป็นเครื่องรึงรัด เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังมีนํ้าเลือดเปื้อนอยู่ ยังมีเอ็นเป็ นเครื่องรึงรัด เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นรึงรัด เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ไม่มีเอ็นรึงรัด กระจัดกระจายไปในทิศต่างๆ กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกสันหลังไปทาง กระโหลกศีรษะไปทาง ฉันใด
เธอนั้นก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วง พ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้ หรือว่า ภิกษุ พึงเห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้น กระดูกทั้งหลาย มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ เป็น ชิ้นกระดูกทั้งหลาย เป็นกองๆ เรี่ยรายนานเกิน กว่าปี หนึ่งเป็น กระดูกทั้งหลาย เปื่ อยเป็ นผงละเอียด ฉันใด
เธอนั้นก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้ ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วง พ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้ และ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้ว แลอยู่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแลว้ ย่อม เป็นไป เพื่อการแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เหล่านี้แล ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๕ อย่าง.
ดีละ ดีละ อานนท์ ! อานนท์ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติที่หก นี้ไว้ คือ ภิกษุ ในกรณีนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสติสำเร็จการนอนอยู่ มีสติอธิษฐาน การงาน. อานนท์ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ.
(ฐานะแห่งอนุสสติ ๕ ข้อ ข้างต้น เป็นสติสัมปชัญญะโดยอ้อม แม้จะเป็นสาวกภาษิต แต่ก็เป็นคำกล่าวแก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า จนพระองค์ทรงรับรอง ถือว่ามีน้ำหนักเท่ากับพระพุทธภาษิต จึงนำมาใส่ไว้ในที่นี้. ส่วนสติสัมปชัญญะโดยตรงนั้น ได้แก่ อนุสสติฐานะที่หก มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในพุทธภาษิตนั้นแล้ว).
1242
โอวาทแห่งการทำสติ เมื่อถูกติหรือถูกชม
ก. ฝ่ายถูกติ
ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียนสงฆ์ ในกรณีเช่นนี้ เธอทั้งหลาย ไม่พึงทำความอาฆาต เกลียดชัง เจ็บใจในชนเหล่านั้น.
ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียนสงฆ์ ในกรณีเช่นนั้น ถ้าเธอทั้ง หลายจักโกรธ ไม่พอใจ ในชนเหล่านั้นแล้วไซร้ อันตรายจะมีแก่เธอเพราะเหตุนั้น.
ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียนสงฆ์ ในกรณีเช่นนั้น ถ้าเธอทั้งหลาย จักโกรธ ไม่พอใจ ในชนเหล่านั้นแล้วไซร้ เธอจะรู้ได้ไหมว่า คำกล่าวของเขานั้นเป็นสุภาษิตหรือทุพภาษิต ? “ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยพระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียนสงฆ์ ในกรณีเช่นนั้น เธอพึง แถลงให้เห็นเรื่องไม่จริง โดยความเป็นเรื่องไม่จริงว่า “นี้ไม่จริงเพราะเหตุนี้ๆ นี่ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเหตุนี้ๆ สิ่งอย่างนี้ไม่มีในพวกเรา สิ่งชนิดนั้นหาไม่ได้ในพวกเรา” ดังนี้.
1243
โอวาทแห่งการทำสติ เมื่อถูกติหรือถูกชม
ข. ฝ่ายถูกชม
ภิกษุ ท. ! หรือว่า จะมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวสรรเสริญเรา สรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์ ในกรณี เช่นนั้น เธอทั้งหลายไม่พึงกระทำความเพลิดเพลิน ยินดี ไม่พึงกระทำความตื่นเต้นแห่งใจ ในคำ กล่าวสรรเสริญนั้น.
ภิกษุ ท. ! จะมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวสรรเสริญเรา สรรเสริญธรรมสรรเสริญสงฆ์ ในกรณีเช่นนั้น ถ้าเธอ ทั้งหลายจักทำความเพลิดเพลิน ยินดีมีความตื่นเต้นแห่งใจ แล้วไซร้ อันตรายจะมีแก่เธอ เพราะเหตุนั้น.
ภิกษุ ท. ! จะมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวสรรเสริญเรา สรรเสริญธรรมสรรเสริญสงฆ์ ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงกระทำ ให้เขาทราบเรื่องจริงโดยความเป็นเรื่องจริง ว่า “นี่จริงเพราะเหตุนี้ๆ นี่เป็นอย่างนั้น เพราะเหตุนี้ๆ สิ่งอย่างนี้มีอยู่ในพวกเรา สิ่งชนิดนั้นหาได้ในพวกเรา” ดังนี้.
1244
ความมีสติเมื่อถูกประทุษร้าย
ผัดคุนะ ! ถ้ามีใครกล่าวติเตียนเธอต่อหน้า ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงละฉันทะ และวิตกชนิด ที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย. ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของ เราจักไม่วิปริต เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และเราจักยังคงเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีเมตตาจิตไม่มีโทษ อยู่ในภายใน” ดังนี้. ผัดคุนะ ! เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้.
ผัดคุนะ ! ถ้ามีใครประหารเธอด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้หรือด้วยศาตรา ผัดคุนะ ! ในกรณีแม้เช่นนั้น เธอพึงละฉันทะและวิตกชนิดที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย.
ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า“ จิตของเราจักไม่วิปริต เราจักไม่เปล่ง วาจา ชั่วหยาบ และเราจักยังคงเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีเมตตาจิต ไม่มีโทษอยู่ในภายใน” ดังนี้. ผัดคุนะ !เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ แล.
(ฉันทะและวิตกที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเมื่อถูกประทุษร้ายนั้น คือพอใจที่จะแก้แค้นคิดที่จะแก้แค้น ส่วนที่เป็นวิสัยแห่งบรรพชิตนั้น กลับทำอย่างที่ตรัสไว้ในพระบาลีนี้ ซึ่งจัดว่าเป็นความมีสติด้วยเหมือนกัน).
1245
ทรงขอให้มีสติเร็วเหมือนม้าอาชาไนย
ภิกษุ ท. ! อนุสาสนี เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องกระทำในภิกษุเหล่านั้น อีกแล้ว เพราะว่า กิจที่ต้องกระทำ ด้วยการเกิดขึ้นแห่งสติ ได้มีอยู่แล้วในภิกษุเหล่านั้น.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน รถเทียมด้วยม้าอาชาไนยที่ฝึกดีแล้ว ผูกเครื่องผูกครบถ้วนแล้ว เป็นรถที่จอด อยู่ที่หนทางสี่แพร่ง มีภูมิภาคอันดี สารถีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกม้า เป็นชั้นอาจารย์ ขยันขันแข็ง ขึ้นสู่รถนั้น แล้ว จับเชือกด้วยมือซ้าย จับปฏักด้วยมือขวา เพียงแต่ยกปฏักขึ้นเป็นสัญญาณ ก็สามารถให้ม้า พารถไปข้างหน้า หรือให้ถอยกลับไปข้างหลัง ได้ตามที่ตนปรารถนา นี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! อนุสาสนีเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องกระทำในภิกษุเหล่านั้นอีกแล้ว เพราะว่ากิจที่ต้องกระทำด้วยการ เกิดขึ้นแห่งสติ ได้มีอยู่แล้วในภิกษุเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ เธอทั้งหลายพึงละอกุศลเสีย พึงกระทำความเพียรอย่างทั่วถึง ในกุศลธรรมทั้งหลายเถิด : ด้วยการ กระทำอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.
1245-1
สติในการเผชิญโลกธรรมของอริยสาวก
ภิกษุ ท. ! ลาภเกิดขึ้นแก่บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เขาไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ จึงไม่รู้ชัดตามเป็น จริงว่า “ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้.
(ในกรณีแห่ง ความเสื่อมลาภ ยศความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ มีข้อความที่ตรัสไว้ อย่างเดียวกัน).
ลาภ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ ความเสื่อมลาภ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
ยศ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ ความเสื่อมยศ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
นินทา ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
สรรเสริญ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
สุข ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
ทุกข์ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่.
บุถุชนนั้น ย่อมยินดีในลาภ ย่อมยินร้ายใน ความเสื่อมลาภ อันเกิด ขึ้นแล้ว
ย่อมยินดีใน ยศ ย่อมยินร้ายใน ความเสื่อมยศ อันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมยินดีใน สรรเสริญ ย่อมยินร้ายใน นินทา อันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมยินดีใน สุข ย่อมยินร้ายใน ทุกข์ อันเกิดขึ้นแล้ว.
เขาถึงพร้อมด้วยความยินดียินร้าย อยู่ดังนี้ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า “เขาไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ลาภเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้มีการสดับ เขาพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ จึงรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้.
(ในกรณีแห่ง ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ อย่างเดียวกัน).
ลาภ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ ความเสื่อมลาภ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
ยศ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ ความเสื่อมยศ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
นินทา ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
สรรเสริญ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
สุข ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่
ทุกข์ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่.
อริยสาวกนั้น ย่อมไม่ยินดีในลาภ ย่อมไม่ยินร้ายใน ความเสื่อมลาภ อันเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ยินดีใน ยศ ย่อมไม่ยินร้ายใน ความเสื่อมยศ อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดีใน สรรเสริญ ย่อมไม่ยินร้ายใน นินทา อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดีใน สุข ย่อมไม่ยินร้ายใน ทุกข์ อันเกิดขึ้นแล้ว.
เขามีความยินดีและยินร้ายอันละได้แล้ว อยู่ดังนี้ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า “เขาหลุดพ้นได้จากทุกข์” ดังนี้.
1247
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ แปดอย่างนี้ เป็น สิ่งที่ไม่เที่ยงใน หมู่มนุษย์ ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.ผู้มีปัญญา มีสติ รู้ความข้อนี้แล้ว ย่อมเพ่งอยู่ในความแปร ปรวนเป็ นธรรมดาของโลกธรรมนั้น.
หมวดจ. ว่าด้วยอานิสงส์ของสัมมาสติ
1248
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ก. อานิสงส์อย่างสังเขปที่สุด ๒ ประการ
(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับครบ ๑๖ ขั้น ดังที่ กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ ถึง๑๑๘๔ บรรทัดที่แปด แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ดังนี้แล้วได้ตรัสอานิสงส์ แห่งอานาปานสตินี้ว่า :-)
ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ คือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม เทียว หรือว่าถ้ายังมี อุปาทิ เหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
1248-1
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ข. อานิสงส์ตามปกติ ๗ ประการ
(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับครบ ๑๖ ขั้น ดังที่ กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ - ๔แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่ผลมาก” ดังนี้แล้ว ได้ตรัสอานิสงส์แห่งอานาปานสตินี้ว่า)
ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้. ผลอานิสงส์ ๗ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ
๑. การบรรลุ อรหัตตผลทันที ในทิฏฐธรรมนี้
๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุ อรหัตตผล ในกาลแห่งมรณะ
๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี
๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี.๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี
๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้
แลผลอานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมหวังไว้ ดังนี้.
1249
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ค. ทำสติปัฏฐานสี่ - โพชฌงค์เจ็ด - วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์
ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอกซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.(เนื้อเรื่องต่อไปนี้ดูรายละเอียดที่หน้า ๑๑๙๘ ถึงหน้า ๑๒๐๘ แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์ เมื่ออานาปานสติบริบูรณ์” “สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์”. “โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”)
1250
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ง. อานิสงส์ตามที่เคยปรากฏแก่พระองค์เอง
(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับครบ ๑๖ ขั้น ดังที่ กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ -๔ แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ดังนี้แล้ว ได้ตรัสอานิสงส์แห่งอานาปานสตินี้ว่า)
ภิกษุ ท. ! แม้เราเอง เมื่อยังไม่ตรัสรู้ ก่อนการตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นอันมาก ภิกษุ ท. ! เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นอันมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเรา ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเรา ไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.(ข้อนี้หมายความว่า การปฏิบัติอานาปานสติไม่ทำร่างกายให้ลำบาก เหมือนกัมมัฏฐานอื่นบางอย่าง เช่นไม่มีความรบกวน ทางตา ไม่ต้องใช้สายตาเหมือนการเพ่งกสิณ เป็นต้น แล้วยังสามารถทำจิตให้หลุดพ้นได้ด้วย)
1250-1
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
จ. ละความดำริอันอาศัยเรือน
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “ความระลึกและดำริอันอาศัยเรือนเหล่าใดของเรามีอยู่ ความระลึกและความดำริเหล่านั้นพึงสิ้นไป” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติป้องกันการดำริที่น้อมไปในทางกาม มีแต่ที่จะให้น้อมไปในทางเนกขัมมะ)
1251
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ฉ. สามารถควบคุมความรู้สึกเกี่ยวกับความปฏิกูล
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่เป็ นปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติ-สมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า การเจริญอานาปานสติช่วยให้พิจารณาเห็นสังขารที่ไม่เป็นปฏิกูล โดยสีและกลิ่น เป็นต้น แต่มีความเป็นปฏิกูลโดยความเป็นมายา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ ดังนี้เป็นต้น)
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ ปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติ-สมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่าการปฏิกูลนั้น ที่แท้ไม่ใช่ปฏิกูล เพราะกลิ่นและสีน่าเกลียด หากแต่ว่าเป็นปฏิกูลตรงที่เป็นมายา และทำให้เกิดทุกข์ฉะนั้น สิ่งที่มีสี และ กลิ่นอันน่าเกลียด ถ้ามิได้เป็นเหตุให้เกิดกิเลสหรือเกิดทุกข์แล้ว ก็หาใช่สิ่งที่ปฏิกูลไม่)
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่า ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ ปฏิกูล และทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า สติและญาณในอานาปานสติสามารถ ทำให้เห็นความน่าขยะแขยง เพราะทำให้เกิด ความทุกข์ทรมานว่ามีอยู่ทั้งในสิ่งที่ ตามธรรมดาถือกันว่าปฏิกูลและไม่ปฏิกูลหรือกล่าว อีกนัยหนึ่งก็ได้ว่า ไม่ควรถือเป็นตัวเป็นตนหรือของตน ทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล)
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็ นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่ง ที่ปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี.(ข้อนี้หมายความว่า สติและญาณในอานาปานสติขั้นสูง ที่สามารถทำให้เห็นสุญญตา ย่อมสามารถทำให้วางเฉยได้ทั้งในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่โดยเสมอกัน)
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็ นผู้เว้นขาดจากความรู้สึกว่าปฏิกูล และความรู้สึกว่าไม่เป็ นปฏิกูลทั้ง๒ อย่างเสียโดยเด็ดขาดแล้ว เป็ นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมาย ความว่า ในขั้นที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และอยู่ด้วยอุเบกขาจริงๆนั้น ย่อมไม่มีความรู้สึกว่า ปฏิกูล และ ไม่ปฏิกูลทั้ง ๒ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผลของอานาปานสติขั้นสูงกล่าวคือจตุกกะที่ ๔ ที่ทำให้เห็น ความว่างจากตัวตน หรือว่างจากความหมายอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ โดยประการทั้งปวง จริงๆแล้ว)
1252
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ช. เป็นเหตุให้ได้รูปฌานทั้งสี่
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็นผู้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้ว แลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสตินั่นแหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดปฐมฌานได้สมตามความปรารถนา).
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะวิตกวิจารระงับไป เราพึงเข้าถึง ทุติยฌาน อันเป็น เครื่องผ่องใส แห่งจิตในภายในเพราะธรรมอันเอก คือสมาธิผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปิติและสุข อันเกิด จากสมาธิ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสตินั่นแหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้ หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดทุติยฌานได้ ตามความปรารถนา)
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ ปรารถว่า “เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุขเข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้น พึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดตติยฌานได้ ตามความปรารถนา)
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไป แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เราพึงเข้าถึง จตุถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่ง สติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้ เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดจตุตถฌานได้ตาม ความปรารถนา)
1254
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ญ. เป็นเหตุให้ได้อรูปสมาบัติทั้งสี่
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะการไม่กระทำในใจ ซึ่งนานัตตสัญญามีประการต่างๆ เราพึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้ว ไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า อานา ปานสติสมาธิ สามารถอำนวยให้เกิดอากาสานัญจายตนะได้ โดยเมื่อทำรูปฌาน ให้เกิดขึ้นแล้ว กำหนด นิมิตคือลมหายใจ โดยประจักษ์แล้ว ทำการเพิกถอนลมหายใจออกไปเสียจากนิมิต เหลือความว่างอยู่แทน และความว่างนั้น ตั้งอยู่ในฐานะเป็นอารมณ์อรูปสมาบัติขั้นที่หนึ่งในที่นี้ แม้ทำอย่า นี้ ก็กล่าวได้ว่าอากา สานัญจายตนะนั้น สืบเนื่องมาจากอานาปานสตินี้โดยตรง. ถ้าจำเป็นจะต้องสงเคราะห์ อรูปสมาบัติเข้าใน อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ แล้ว พึงสงเคราะห์เข้าในอานาปานสติขั้นที่ ๔ คือการทำกาย สังขาร ให้รำงับ. เท่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
(ในหนังสืออานาปานสติชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส) ไม่มีการ กล่าว ถึงอรูปสมาบัติ ก็เพราะไม่เป็นที่มุ่ง หมาย โดยตรงของการทำอานาปานสติ ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะโดยเฉพาะ).
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงเข้าถึง วิญญาณัญจา-ยตนะ อันมี การทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้ แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อัน ภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า ต้องมีการทำอากาสานัญจายตนะ ดังที่กล่าวแล้ว ในข้อบนให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคงเสีย ก่อน แล้วจึงเพิกถอนการกำหนดอากาศมากำหนด วิญญาณแทนหมาย ถึง วิญญาณธาตุ ที่ไม่มีรูปร่างซึ่งจัด เป็นนามธาตุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งจัดเป็นนามธาตุหรือนามธรรม เนื่องจาก ทำสืบ ต่อมาจากอานาปานสติ จึงกล่าวว่าสำเร็จมาจากอานาปานสติ จึงกล่าวว่าสำเร็จมาจาก อานาปานสติ.)
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำ ในใจ ว่าไม่มีอะไร แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจ ให้เป็น อย่างดี.(ข้อนี้หมายความว่า เมื่อทำวิญญาณัญจายตนะให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคงแล้ว เพิกถอนการ กำหนด อารมณ์ว่าวิญญาณไม่มีที่สุดเสีย มากำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์. เนื่องจากมีอานาปานสติ เป็นมูล จึงกล่าวว่าสำเร็จมาจากอานาปานสติ).
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแล อยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมายความว่า ได้มีการทำอากิญจัญญายตนะ ให้เกิดขึ้นแล้วอย่างมั่นคง แล้วเพิกถอน การกำหนด ความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์นั้นเสีย หน่วงเอาความรำงับที่ประณีตยิ่งขึ้นไคือความไม่ทำความรู้สึกอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่สลบหรือตาย จึงเรียกว่า เนวสัญญานา สัญญายตนะซึ่งหมายความว่า จะว่ามีสัญญาอยู่ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาเลยก็ไม่ใช่. เพราะมีอานาปานสติเป็นมูลในขั้นต้นด้วยกันทั้ง ๔ ขั้น จึงเรียกว่าสำเร็จมาแต่ อานาปานสติ อีกอย่างหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าในขณะแห่งรูปฌานแม้ไม่มีการหายใจอยู่โดยตรง ก็ต้องถือว่า มีการหายใจอยู่โดยอ้อมคือ ไม่รู้สึกฉะนั้นเป็นอันกล่าวสืบไปว่า เพราะมีความชำนาญ หรือความเคยชิน ในการกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ทุกลมหายใจเข้า - ออกมาแล้วแต่ในขั้นก่อน ในขั้นนี้ย่อมมีการกำหนด อารมณ์แห่งอรูปสมาบัติและความสงบอันเกิดจากอรูปสมาบัติ ตลอดถึงการพิจารณาหรือปัจจเวกขณ์ ในอาการทั้งหลายแห่งอรูปสมาบัติ อยู่ทุกลมหายใจเข้า - ออกทั้งโดยมีความรู้สึกตัวและไม่มีความรู้สึกตัว คือทั้งโดยตรงและโดยอ้อมอีกนั่นเอง).
1256
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ฎ. เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแล อยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ อานาปานสติสมาธินั่นแหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี. (ข้อนี้หมาย ความว่า มีการทำเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง แล้วละความรู้สึกที่เป็น เนวสัญญา นาสัญญายตนะนั้นเสีย น้อมจิตไปสู่ความรำงับ ที่ยิ่งไปกว่านั้นอีกคือการดับสัญญา และเวทนา เสียด้วย การทำไม่ให้เจตสิกชื่อสัญญาและเจตสิก ชื่อเวทนาได้ทำหน้าที่ของตนตามปรกติ แต่ประการใด เลย. ความรู้สึกที่เป็นสัญญาและเวทนาตามปรกติธรรมดาจึงไม่ปรากฏ.เรียกว่าเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ คือความ ดับไปแห่งสัญญาและเวทนา ตลอดเวลาเหล่านั้น ซึ่งเรียกกันสั้นๆว่าเข้าสู่นิโรธสมาบัติ หรือเรียก สั้นจน ถึงกับว่าเข้านิโรธเฉยๆ. การกระทำอันนี้ตั้งต้นขึ้นด้วยอานาปานสติสมาธิ ดังนั้นจึงกล่าวว่าสำเร็จ มาจาก อานาปานสติ.)
ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงว่าอานาปานสติภาวนานั้นนอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับ ปฏิบัติเพื่อทำอาสวะ ให้สิ้นโดยตรง แล้วยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการปฏิบัติที่ดำเนินไปในทางฝ่ายจิตหรือฝ่ายสมถะ โดยส่วนเดียวจนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธได้ด้วยอาการอย่างนี้และพร้อมกันนั้นซึ่งไม่จำเป็น ต้องกล่าว ว่าเป็นไปในทางไหนแต่เป็นประโยชน์ทั่วไปสำหรับการปฏิบัติทุกแนวก็คือการอยู่ด้วยอานาปานสตินั้น ไม่ลำบากกายและไม่ลำบากตาซึ่งนับว่าเป็นการพักผ่อนอยู่ในตัวเองเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้วนับว่าเป็นอานิสงส์ พิเศษส่วนหนึ่งของอานาปานสติ.
1257
อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ
ฏ. สามารถกำจัดบาปปอกุศลทุกทิศทาง
อานนท์ ! เปรียบเหมือนกองฝุ่นใหญ่มีอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่งถ้าเกวียนหรือรถมาจากทิศตะวันออกก็บด ขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศตะวันตก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทาง ทิศเหนือ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศใต้ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น นี้ฉันใด
อานนท์ ! เมื่อบุคคลมีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ ย่อม กำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยแท้ เมื่อบุคคลมีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ย่อม กำจัดบาปอกุศล ธรรมทั้งหลาย โดยแท้ เมื่อบุคคลมีปกติตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ ย่อม กำจัดบาปอกุศลธรรม ทั้งหลาย โดยแท้เมื่อบุคคลมีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาป อกุศลธรรมทั้งหลาย โดยแท้ฉันนั้นเหมือนกัน.
1257-1
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
ก. กายไม่โยกโคลง
(ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหากัปปินะ ผู้มีกายไม่โยกโคลงแล้วได้ตรัส แก่ภิกษุทั้งหลายว่า :-)
ภิกษุ ท. ! พวกเธอเห็นความหวั่นไหว หรือความโยกโคลงแห่งกายของมหากัปปินะบ้างหรือไม่?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เวลาใดที่ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็น ท่านผู้มีอายุนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก็ดีนั่งในที่ลับ คนเดียวก็ดี ในเวลานั้นๆข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ได้เห็นความหวั่นไหวหรือความโยกโคลงแห่งกาย ของท่านผู้มีอายุรูปนั้นเลยพระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้ เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด; ภิกษุมหากัปปินะนั้น เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสมาธินั้น.ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิเหล่าไหนเล่า?
ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมี ไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลง แห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม จึงไม่มี ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า ก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตามไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ภิกษุนั้น มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก : เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าหายใจ เข้ายาว ....ฯลฯ ....
(ตรัสอานาปานสติ อันมีวัตถุ ๑๖ ดังที่ปรากฏที่
หน้า ๑๑๘๑ แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “แบบการ เจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ตั้งแต่หน้า๑๑๘๒ ถึงหน้า ๑๑๘๔) ....
เห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออกดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญทำ ให้มากแล้วอย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่ง จิตก็ตามย่อม มีไม่ได้ ดังนี้.
1259
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
ข. รู้ต่อเวทนาทุกประการ
ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นสุข เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์ เธอย่อม รู้ตัวว่า เวทนานั้นไม่ เที่ยงเธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเรา ไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.
ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นอทุกขมสุข เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่เพลิดเพลิน เฉพาะแล้ว ดังนี้.
ภิกษุนั้น ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์ ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นอทุกขมสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวย เวทนานั้น.
ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกาย เธอย่อมรู้ตัวว่าเรา เสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบ แห่งกาย ดังนี้. เมื่อเสวย เวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่าเราเสวยเวทนา อันเป็นที่สุด รอบแห่งชีวิต ดังนี้ จนกระทั่งการทำลายแห่งกาย ในที่สุดแห่งการถือเอารอบซึ่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็ นของดับเย็นในที่นี้นั่นเทียว ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ประทีปน้ำมันลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันด้วย เพราะอาศัยไส้ด้วย เมื่อหมดน้ำมันหมดไส้ ก็เป็น ประทีปที่หมดเชื้อดับไป ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้น กล่าวคือเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกาย ย่อมรู้ตัวว่าเราเสวยเวทนาอันเป็น ที่สุดรอบแห่งกาย เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต ย่อมรู้ตัว ว่าเราเสวยเวทนา อันเป็นที่สุด รอบแห่งชีวิต จนกระทั่งการทำลายแห่งกาย ในที่สุดแห่งการถือเอารอบ ซึ่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนา ทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของดับเย็นในที่นี้นั่นเทียว ดังนี้.
1260
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
ค. มีสุขวิหารอันสงบเย็น
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธินี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของรำงับ เป็นของ ประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันลามก อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนฝุ่นธุลีฟุ้งขึ้นแห่งเดือนสุดท้ายของฤดูร้อนฝนหนักที่ผิดฤดูตกลงมา ย่อมทำฝุ่น ธุลีเหล่านั้นให้อันตรธานไป ให้รำงับไปได้โดยควรแก่ฐานะ ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ก็เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุข วิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไปโดยควร แก่ฐานะได้ ฉันนั้น.
ภิกษุ ท. ! ก็อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า? ที่เป็นของรำงับ เป็นของ ประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหารและย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไปโดยควรแก่ฐานะได้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตามไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น. ภิกษุนั้น ....ฯลฯ.... (ตรัสอานาปานสติ อันมีวัตถุ ๑๖ ดังที่ปรากฏ ที่หน้า ๑๑๘๑ แห่งหนังสือเล่มนี้หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ตั้งแต่หน้า ๑๑๘๒ ถึงหน้า ๑๑๘๔) .... เห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุข-วิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป โดยควรแก่ฐานะ ดังนี้ แล.
(ข้อนี้สรุปความว่า อานาปานสติ เป็นเครื่องทำให้เกิดความเย็นใจ หรือสุขวิหารสำหรับบุคคลผู้มีความ กระวนกระวาย หรือความฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่พอใจในการเป็นอยู่หรือชีวิตประจำวันของตน อันเกิดมา แต่ความเบื่อระอาสิ่งต่างๆ หรือความไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนกระทำ เป็นต้น).
1262
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
ง. เป็นสุขแล้วดำเนินไปในตัวเอง จนสิ้นอาสวะ
ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์ลัทธิอื่นถามพวกเธอว่า สมณ-โคดมอยู่ตลอดพรรษากาลเป็นอันมาก ด้วยวิหารธรรมอย่างไหน ดังนี้แล้วพวกเธอพึงตอบว่า“ดูก่อนท่านผู้มีอายุ! พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่ตลอด พรรษากาลเป็นอันมากด้วยอานาปานสติสมาธิ”.
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เราเป็นผู้มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ....ฯลฯ ....
(ตรัสอานาปานสติ อันมีวัตถุ ๑๖ ดังที่มีปรากฏที่หน้า ๑๑๘๑ แห่งหนังสือเล่มนี้หัวข้อว่า "แบบการเจริญ อานาปานสติที่มีผลมาก" ตั้งแต่หน้า ๑๑๘๒ ถึงหน้า ๑๑๘๔) .ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็น ความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เมื่อใครผู้ใด จะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็ นอริยวิหารก็ดี ว่าเป็นพรหม วิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าว อานาปานสติสมาธินี่แหละ ว่าเป็นอริยวิหาร ว่าเป็นพรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหาร.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใดยังเป็น เสขะ ยังไม่ลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคเขมธรรม อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็น อรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีสิ่งที่ต้องทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพทั้งหลายสิ้นรอบแล้ว เป็นผู้หลุดแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นสุข วิหารในทิฏฐธรรมนี้ด้วย เพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ ด้วย.
1263
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
จ. ควรแก่นามว่า อริยวิหาร-พรหมวิหาร-ตถาคตวิหาร
ภิกษุ ท. ! ฉะนั้น เมื่อใครจะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็นอริยวิหาร ก็ดี ว่าเป็นพรหมวิหาร ก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหาร ก็ดี เขาพึงกล่าวอานาปานสติสมาธิ นี่แหละ ว่าเป็น อริยวิหาร ว่าเป็น พรหมวิหาร ว่าเป็น ตถาคตวิหาร ดังนี้.
1263-1
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
ฉ. ทำสังโยชน์ให้สิ้น - กำจัดอนุสัย - รู้ทางไกล - สิ้นอาสวะ
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อการละ สัญโยชน์ ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงเป็นไปเพื่อการละ สัญโญชน์ ทั้งหลาย?ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตามไปแล้วสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ภิกษุนั้นมีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ นั่นเทียว หายใจออก . . . .
(มีรายละเอียดแห่งอานาปานสติ ๑๖ ขั้น ดังที่เคยกล่าวให้ดูเนื้อความเต็มแล้วในข้อ ก. เป็นต้นจนกระทั่ง ถึงคำว่า) .... ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อการละ สัญโญชน์ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อการ กำจัดเสียซึ่งอนุสัย ....
(มีใจความเต็มเหมือนข้อสัญโญชน์).ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ รอบรู้ซึ่งทางไกล (อวิชชา) .... (มีใจความเต็มเหมือนข้อสัญโญชน์).
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย .... (มีใจความเต็มเหมือนข้อสัญโญชน์).
(ข้อความทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นโดยสรุปว่า อานาปานสติ มีผลทำให้ละสัญโญชน์ได้ ทำให้กำจัดอนุสัย ได้ ทำให้รอบรู้ซึ่งทางไกลคืออวิชชา เหตุให้เกิดอวิชชา ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา และทางปฏิบัติ ให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ในที่สุดย่อมทำอาสวะให้สิ้นไป ซึ่งโดยใจความแล้ว ก็มีความหมาย อย่างเดียวกัน คือการดับกิเลสสิ้นเชิงนั่นเอง.
ทั้งนี้เพราะอานาปานสติภาวนา ทำสติปัฎฐาน ๔ ให้สมบูรณ์ สติปัฎฐาน ๔ สมบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ให้สมบูรณ์โพชฌงค์ ๗ สมบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและ วิมุตติให้สมบูรณ์ ดังมีพุทธภาษิตตรัสไว้ ซึ่งนำ มาใส่ไว้ในหนังสือเล่มนี้ โดยหัวข้อว่า “อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ” ข้อ ค. ที่หน้า ๑๒๔๙ และ หัวข้อว่า “สติปัฎฐานสี่สมบูรณ์ เมื่ออานาปานสติบริบูรณ์” โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์”
1265
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
ช. รู้จักลมหายใจอันจักมีเป็นครั้งสุดท้ายแล้วดับจิต
(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับครบ ๑๖ ขั้น ดังที่กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ ถึง๑๑๘๔ บรรทัดที่แปด แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ดังนี้แล้วได้ตรัสอานิสงส์ แห่งอานาปานสตินี้ ว่า :- )
ราหุล ! เมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งอานาปานสติอย่างนี้แล้วลมอัสสาสะปัสสาสะอันจะมีเป็น ครั้งสุดท้ายเมื่อจะดับจิตนั้น จะเป็ นสิ่งที่เขารู้แจ้งแล้วดับไป หาใช่เป็นสิ่งที่เขาไม่รู้แจ้งไม่ ดังนี้. (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดูได้จากหนังสืออานาปานสติ (ชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส) หน้า ๕๑๕).
1266
อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
ญ. เหตุปัจจัยที่พระศาสนาจะตั้งอยู่นานภายหลังพุทธปรินิพพาน
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นปัจจัย ที่เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรม จะไม่ตั้งอยู่นาน ? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นปัจจัยที่เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมจะตั้งอยู่นานพระเจ้าข้า !”
พราหมณ์ !
เพราะไม่มีการทำให้เจริญ เพราะไม่มีการกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่นาน.แต่ พราหมณ์เอ๋ย ! เพราะมีการกระทำให้เจริญ เพราะมี การกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมตั้งอยู่นาน.
สติปัฏฐานสี่อย่างไรเล่า? พราหมณ์ ! ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ (ข้อความต่อจากนี้ไป ก็เหมือนกับข้อความที่ตรัสไว้ในที่อื่นๆ).
1266-1
อานิสงส์ แห่งความไม่ประมาทคือ สติ
ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป เหมือน ความไม่ประมาท นี้.
ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ก็เสื่อมสิ้นไป.
(ในสูตรอื่นทรงแสดงอานิสงส์แห่งความไม่ประมาท ว่าทำให้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวง (มหโต อตฺถาย สํวตฺตติ). ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ความไม่เลอะเลือน ความ ไม่สูญหายแห่งพระสัทธรรม (สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตติ). ในสูตรอื่นทรง แสดงว่า เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์อันใหญ่หลวงชนิดที่เป็นไปในภายใน.
1267
สติปัฏฐานสี่เป็นเครื่องละ ปุพพันตอปรันตสหคตทิฏฐินิสสัย
จุนทะ ! สติปัฏฐาน ๔ ประการ เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วอย่างนี้เพื่อละเสีย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่ง ทิฏฐินิสสัยทั้งหลาย ทั้งประเภทที่สหรคตด้วยปุพพันตขันธ์ และประเภทที่สหรคต ด้วย อปรันตขันธ์๑ เหล่านั้น.
สติปัฏฐาน ๔ ประการ เหล่าไหนเล่า ? จุนทะ ! สี่ประการคือภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
เป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกออกเสียได
เป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ .
……………………………………………………………………………
๑. คำว่า “ทิฏฐินิสสัยที่สหรคตด้วยปุพพันตขันธ์” และ “ทิฏฐินิสสัยที่สหรคตด้วยอปรันตขันธ์” ดูรายละเอียดในข้อความตอนที่ว่า [หมวด ๑ ปุตพันตกัปปิกวาท ๑๘ ประการ] และข้อความตอนที่ว่า [หมวด ๒ อปรันตกัปปิวาท ๔๔ ประการ] ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ.ที่หน้า ๗๓๒ - ๗๔๗ และที่หน้า ๗๕๐ - ๗๖๕.
……………………………………………………………………………
จุนทะ ! สติปัฏฐาน ๔ ประการเหล่านี้แล อันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว เพื่อละเสีย เพื่อก้าวล่วงเสีย ซึ่งทิฏฐินิสสัยทั้งหลาย ทั้งประเภทที่สหรคตด้วยปุพพันตขันธ์ และประเภทที่สหรคตด้วยอปรันตขันธ์ เหล่านั้นด้วยอาการอย่างนี้.
(ภิกษุผู้มีสติปัฏฐานทั้งสี่อยู่ ย่อมไม่มีความรู้สึกว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะ เกิดความเห็นว่า อัตตาและโลกเป็นของเที่ยง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดทิฏฐิว่าอัตตามีในภพก่อน อัตตามีในภพหลัง).
1268
การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการอารักขาทั้งตนเองและผู้อื่น
ภิกษุ ท. ! เรื่องเคยมีมาแล้วในกาลก่อน : บุรุษจัณฑาลวังสิกะ๑ ยกไม้จัณฑาลวังสะตั้งขึ้นแล้วร้องสั่ง ผู้ช่วยซึ่งทำหน้าที่ถือถาดน้ำมันของเขา ด้วยคำว่า “เพื่อนถาดน้ำมัน ! จงมา จงขึ้นไปสู่ไม้จัณฑาล วังสะแล้วทรงตัวอยู่ในเบื้องบนแห่งลำตัวของเรา”
ดังนี้. ภิกษุ ท. ! บุรุษเมทกถาลิกะผู้ช่วยของเขารับคำว่า “ขอรับอาจารย์”แล้วขึ้นไปสู่ไม้จัณฑาลวังสะ ดำรงตัวอยู่เบื้องบนแห่งลำตัวของอาจารย์.
ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น จัณฑาลวังสิกบุรุษผู้เป็นอาจารย์ ได้กล่าวแก่เมทกถาลิกบุรุษซึ่งเป็นผู้ช่วยของเขาว่า
“สหายเมทกถาลิกะเอ๋ย ! ท่านจงรักษาซึ่งเราเราก็จักรักษา ซึ่งท่าน เราคุ้มครองรักษาซึ่งกัน และกัน อยู่อย่างนี้ จักได้แสดงซึ่งศิลปะด้วยจักได้ลาภด้วยและจักลงจากไม้จัณฑาลวังสะได้โดยสวัสดีด้วย”.
…………………………………………………………………………………………………………………………..
๑. นักแสดงกายกรรมด้วยการยกไม้ไผ่ชูตั้งขึ้น โคนไม้จดศีรษะหรืออกตามที่ตนต้องการแสดง แล้วมี บุรุษถือถาดน้ำมันไปทรงตัวอยู่บนปลายไม้ เป็นศิลปะหาเลี้ยงชีพของคนนอกวรรณะหรือวรรณะต่ำ ซึ่งเรียกกันว่าพวกจัณฑาล.
…………………………………………………………………………………………………………………………..
ภิกษุ ท. ! เมทกถาลิกบุรุษซึ่งเป็นผู้ช่วยได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวกะจัณฑาลวังสิกบุรุษผู้เป็นหัวหน้า ของเขาว่า “ทำอย่างนั้นไม่ได้ดอกท่านอาจารย์ ! ท่านอาจารย์จงรักษาตัวเองผมก็จักรักษาตัวผม เมื่อเราต่างฝ่ายต่างคุ้มครองรักษาตนของตนอยู่อย่างนี้จึงจักแสดงศิลปะได้ด้วยจักได้ลาภ ด้วยจักลงจากไม้จัณฑาลวังสะได้โดยสวัสดีด้วย”.
นี่คือ เคล็ดอันเป็น ใจความสำคัญของเรื่อง ที่เราจักต้องเข้าใจ คือพระผู้มีพระภาคได้กล่าว เช่นเดียวกับ ที่เมทกถาลิกบุรุษซึ่งเป็นผู้ช่วยได้กล่าว กะอาจารย์ของเขา คือได้ตรัสว่า :-
ภิกษุ ท. ! เธอพึงเจริญสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาซึ่งตน เธอพึงเจริญสติปัฏฐานด้วย คิดว่า เราจักรักษาซึ่งผู้อื่น.
ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น : เมื่อรักษาผู้อื่นก็คือรักษา ตน๑ .
ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อนี้หมายความว่า รักษาตนด้วยการเสพ ธรรมะ ด้วยการเจริญธรรมะ ด้วยการทำให้มากซึ่งธรรมะ. นี้แหละคือ เมื่อรักษาตนอยู่จะมีผลเป็นกา รรักษา ผู้อื่น.
ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาผู้อื่นก็คือรักษาตน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อนี้หมายความว่า รักษาผู้อื่นด้วย การอดทน ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิตด้วยความรักใคร่เอ็นดู. นี้แหละคือ เมื่อรักษาผู้อื่นอยู่ จะมีผลเป็ นการรักษาตนด้วย.
ภิกษุ ท. ! เมื่อคิดว่าเราจักรักษาตน ก็จงเจริญสติปัฏฐานเถิด เมื่อคิดว่าเราจักรักษาผู้อื่นก็จงเจริญสติ ปัฏฐานเถิด เพราะว่าเมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อ
…………………………………………………………………………………
๑. คำนี้หมายความว่า เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อประโยชน์แก่ตน ก็จักมีประโยชน์ถึงผู้อื่นเนื่องกันไปในตัว ด้วยเหมือนกับที่บุรุษผู้รักษาโคนไม้กับบุรุษผู้อยู่ปลายไม้ ต่างฝ่ายต่างมุ่งรักษาตนดีแล้วก็จะเป็นการ รักษาซึ่งกันและกันให้ไม่พลาดพลั้งลงไป ฉันใดก็ฉันนั้น.
……………………………………………………………………………………
รักษาตน ก็เป็นการรักษาผู้อื่น : เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาผู้อื่นก็เป็นการรักษาตนด้วย อย่างนี้แล. (ข้อนี้หมายความว่า การทำให้เกิดสติปัฏฐานชื่อว่ารักษาตน. ในสติปัฏฐานนั้นมีการระลึกด้วยพรหมวิหาร จึงถือว่ามีการรักษาผู้อื่นด้วย).
หมวดฉ. ว่าด้วยโทษของการขาดสัมมาสติ
1270
จิตที่ปราศจากสติ ย่อมปรารถนาลาภได้ทั้งที่ชอบอยู่ป่า
ภิกษุ ท. ! บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. แปดจำพวก อย่างไรเล่า? แปดจำพวก คือ :-ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภ เธอก็เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ หลงใหล.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนาลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก คร่ำครวญ และเคลื่อนจากสัทธรรม.
ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ลาภก็ เกิดขึ้น เพราะได้ลาภ เธอก็มัวเมา ประมาท ถึงความประมาท เต็มที่.
ภิกษุ ท. !นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนา ลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ได้ลาภ มัวเมาประมาท และเคลื่อนจากสัทธรรม (ด้วยเหมือนกัน).
ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ลาภไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภ เธอก็เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้หลงใหล.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก คร่ำครวญ และเคลื่อนจากสัทธรรม (ด้วยเหมือนกัน).
ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภ เธอก็มัวเมา ประมาท ถึงความ ประมาทเต็มที่.
ภิกษุท. ! นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ แต่มีลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจากสัทธรรม (ด้วยเหมือนกัน).
(ต่อไปได้ตรัสถึง ภิกษุ ๔ จำพวก โดยปฏิปักขนัย เป็นผู้อยู่ในที่สงัด ปรารถนาลาภได้ลาภหรือไม่ได้ลาภ ก็ไม่ประมาทมัวเมา หรือไม่โศกเศร้าคร่ำครวญเป็นทุกข์ และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม ทั้ง ๔ จำพวก).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคล ๘ จำพวก ที่มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก(แม้อยู่ในที่สงัดก็ยังปรารถนาลาภ).
หมวดช. ว่าด้วยปกิณณกะ
1271
ลักษณะของผู้อาจและไม่อาจเจริญสติปัฏฐานสี่
ภิกษุ ท. ! บุคคคลไม่อาจเพื่อเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่เพราะเขาไม่ละธรรม ๖ อย่าง. หกอย่าง อย่างไรเล่า? หกอย่างคือ ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีในการคุยฟุ้ง ความเป็นผู้ยินดีในการหลับ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครอง ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค.
ภิกษุท. ! เพราะไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล บุคคลจึงเป็นผู้ไม่อาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่.(ในกรณีที่ไม่อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกายในภายใน - ในภายนอก - ในภายในและ ภายนอก และเป็นผู้ไม่อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา ตามเห็นจิตในจิต - ตามเห็น ธรรมในธรรม ก็ดี ล้วนแต่มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ท. ! บุคคลอาจเพื่อเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่ เพราะเขาละธรรม ๖ อย่าง. หกอย่าง อย่างไรเล่า? หกอย่างคือ ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีในการคุยฟุ้ง ความเป็นผู้ยินดี ในการหลับ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค.
ภิกษุ ท. ! เพราะละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แลบุคคล จึงเป็นผู้ อาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่.(ในกรณีที่อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกายในภายใน - ในภายนอก - ในภายในและภายนอก และเป็นผู้อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา - ตามเห็นจิตในจิต - ตามเห็นธรรมในธรรม ก็ดี ล้วนแต่มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).
1272
ทั้งนวกะ - เสขะ - อเสขะ ก็พึงเจริญสติปัฏฐาน
(ก.พวกนวกะ)
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้บวชใหม่บวชแล้วไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้. ภิกษุเหล่านั้นอันเธอ ทั้งหลายพึงชักชวน พึงให้เข้าอยู่ พึงให้ตั้งมั่นในการเจริญซึ่งสติปัฏฐานสี่. สี่อย่างไรเล่า ? (พึงชักชวนว่า :- ) มาเถิดท่านผู้มีอายุ ท.! จงเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่เถิด เป็นผู้มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส มีสัมปชัญญะ ให้สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น เป็นจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้ตามเป็นจริงซึ่งกาย(ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และ ธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).
1273
ทั้งนวกะ - เสขะ - อเสขะ ก็พึงเจริญสติปัฏฐาน
(ข. สำหรับพระเสขะ)
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็นเสขะ มีความประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอัน เกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่ถึงแม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ยังจะเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ ให้สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น เป็นจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรอบรู้ซึ่งกาย (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่าง เดียวกัน).
1273-1
ทั้งนวกะ - เสขะ - อเสขะ ก็พึงเจริญสติปัฏฐาน
(ค. สำหรับพระอเสขะ)
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำกระทำเสร็จแล้ว มีภาระปลง ลงแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดย ชอบ ถึงแม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ยังจะเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่ เป็นผู้อยู่อย่างมีความเพียรเครื่อง เผากิเลส มีสัมปชัญญะ ให้สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น เป็นจิตมีอารมณ์เดียว (เพื่อความเป็น) ผู้ไม่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกาย
(ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัส อย่างเดียวกัน).
(พุทธบริษัทพึงทราบถึงหลักการพิเศษที่มีอยู่ว่า แม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังปฏิบัติธรรมที่ทำความเป็น พระอรหันต์ ที่ตนเคยปฏิบัติอยู่เพื่อความเป็นพระอรหันต์ ก่อนการบรรลุความเป็นพระอรหันต์ การทำ เช่นนั้นก็เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือกำลังใจ แก่ผู้ที่ยังไม่บรรลุความเป็นพระอรหันต์บ้าง เพื่อความอยู่เป็นสุข ของตนเองบ้าง. ส่วนในกรณีแห่งสูตรนี้ เพื่อมีชีวิตอยู่อย่างแยกตัวห่างจากสิ่งซึ่งเคยเป็นที่ตั้งแห่งความ ยึดมั่นถือมั่น หรือแห่งอภิชฌาและโทมนัส ดังนี้แล้ว นับประสาอะไรกับผู้ที่ยังไม่บรรลุความเป็น พระอรหันต์ จะไม่พึง ขะมักเขม้นในการปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระอรหันต์ด้วยเล่า. และพึง มองเห็นความน่าอัศจรรย์ แห่ง พระธรรมที่มีลักษณะอย่างนี้).
1274
สติปัฏฐานสี่เหมาะสมทั้งแก่ อเสขะ - เสขะ - คฤหัสถ์
กันทรกะ ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นจริง. กันทรกะ ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นจริง. พระอรหันต์สัมมา สัมพุทธเจ้า ทั้งหลาย ได้มีแล้วในอดีตกาลนานไกล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ทรงยังภิกษุสงฆ์ให้ดำเนินไปชอบ อย่างยิ่งเพียงเท่านั้นเหมือนภิกษุสงฆ์ที่เราให้ดำเนินไปชอบในบัดนี้.
กันทรกะ ! พระอรหันต์สัมมา สัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จักมีอยู่ในอนาคตกาลนานไกล พระผู้มีพระภาคเจ้า เหล่านั้น ก็จักทรงยังภิกษุสงฆ์ ให้ดำเนินไปชอบอย่างยิ่งเพียงเท่านั้นเหมือนภิกษุ สงฆ์ที่เราให้ดำเนินไป ชอบในบัดนี้.
กันทรกะ ! ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ มี ภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำอัน กระทำ แล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันตามถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
กันทรกะ ! อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์หมูนี่้ มี ภิกษุผู้เป็นเสขะ (กำลังปฏิบัติเพื่อ ความเป็นพระอรหันต์) มีศีล ไม่ขาดสาย มีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญาเครื่องรักษาตน มีความ ประพฤติเป็นไปด้วยปัญญา เครื่องรักษาตน.
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น๑ เป็น ผู้มีจิตตั้งไว้เฉพาะด้วยดี ในสติปัฏฐานทั้งสี่ อยู่. สี่อย่างไรเล่า? สี่คือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย .... มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย .... มีปกติ ตามเห็นจิตในจิต .... มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่.
(เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ นายเปสสหัตถาโรหบุตร กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า)
น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ! ไม่เคยมีพระเจ้าข้า ! คือข้อที่สติปัฏฐานสี่เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ไว้ดีแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลายเพื่อก้าวล่วงโสกะปริเทวะเพื่อความดับแห่งทุกขโทมนัสเพื่อถึงทับซึ่งญายธรรมเพื่อการกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
มีพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว ก็มีจิตตั้งไว้ดีแล้วในสติปัฏฐานสี่ เหล่านี้ตลอดกาลอันควรอยู่ คือข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีปรกติตามเห็นกายในกาย .... มีปกติตาม เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย .... มีปกติตามเห็นจิตในจิต .... มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายมีความเพียรเครื่องเผากิเลสมีสัมปชัญญะมีสตินำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่.
น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ! ไม่เคยมีพระเจ้าข้า !คือข้อที่เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ไม่เปิดเผยเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ เดนกาก เมื่อมนุษย์ เป็นสัตว์โอ้อวดเป็นไปอยู่พระผู้มีพระภาคทรงทราบสิ่งอันเป็นประโยชน์ และไม่เป็น ประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งหลาย (ทุกจำพวก) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัตว์ลึกลับคือพวกมนุษย์สัตว์เปิดเผยคือพวก ปสุสัตว์ ....
……………………………………………………………………………………
๑. นี้หมายความว่า ภิกษุทั้งหมดทั้งที่เป็นพระอรหันต์และยังเป็นเสขะ ล้วนแต่เจริญสติปัฏฐานสี่ คำถามอาจจะมีว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว เจริญสติปัฏฐานไปทำไมกัน? คำตอบคือ เพื่อความอยู่เป็นผาสุขของท่าน เช่นนั้นเอง.
…………………………………………………………………………………
(ข้อนี้เป็นหลักการที่ยอมรับได้ว่า แม้ฆราวาสก็สมควรเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ ดังที่บรรพบุรุษชาวไทย ได้เคยกระทำกันมาแต่ก่อน).
1276
กองอกุศลและกองกุศลชนิดแท้จริง
ภิกษุ ท. ! ผู้ที่กล่าวอยู่ว่านิวรณ์ทั้งห้า คืออกุสลราสี (กองอกุศล) นั่นแหละคือผู้ที่กล่าวอยู่โดย ถูกต้อง. ภิกษุ ท. ! อกุสลราสีทั้งกองนี้ ได้แก่ นิวรณ์ทั้งห้า. ห้าอย่างไรกันเล่า? ห้าคือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา.
ภิกษุ ท. ! ผู้ที่กล่าวอยู่ว่าสติปัฏฐานทั้งสี่ คือกุสลราสี (กองกุศล) นั่นแหละคือผู้ที่กล่าวอยู่โดย ถูกต้อง. ภิกษุ ท. ! กุสลราสีทั้งกองนี้ ได้แก่สติปัฏฐานทั้งสี่. สี่อย่างไรกันเล่า? สี่ ในกรณีนี้ คือภิกษ ุเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่.
(ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และ ธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).
(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อกล่าวถึงกองอกุศล คนทั่วไปก็เล็งถึงการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตฉ้อโกง เป็นต้นต่างๆนานา และเมื่อกล่าว ถึงกองกุศล คนทั่วไปก็พากันเล็งไปยัง การทำบุญสุนทาน ทอดกฐินผ้าป่า เป็นต้นต่างๆนานา.
ส่วนในกรณี นี้ ตรัสระบุให้เห็นว่านิวรณ์ที่รบกวนอยู่ในจิตของแต่ละ คนแต่ละวันนั่นแหละเป็นกองอกุศล และว่าการเจริญสติปัฏฐานสี่เป็นกองกุศล และที่น่าสนใจในหัว ข้อที่ว่ากองกุศลชนิดนี้ ไม่ต้องใช้เบี้ยหอย เงิน ทองแม้แต่สักเบี้ยเดียว ขอช่วยกันพิจารณาด้วย).
1277
ธัมมสงเคราะห์ที่ทุกคนควรกระทำ
ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอคิดจะสงเคราะห์ชนเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้สำคัญเธอว่าเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟังจะเป็น มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ก็ตาม ภิกษุ ท. !เธอพึงสงเคราะห์ชนเหล่านั้นด้วยการชักชวน ให้ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะ ในการเจริญสติปัฏฐานสี่ เถิด.
สี่อย่างไรเล่า? สี่ในกรณีนี้ คือเป็นผู้ ตามเห็น กายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก
เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่ง อภิชฌา และโทมนัสในโลก
เป็นผู้ ตามเห็น ธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำออกซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก.
ภิกษุ ท. ! นี่แหละคือข้อที่ ถ้าเธอคิดจะสงเคราะห์ชนเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้สำคัญ เธอว่าเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง จะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ก็ตาม เธอพึงสงเคราะห์ชนเหล่านั้น ด้วยการชักชวนให้เข้าไปตั้งอยู่ เฉพาะในการเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ ดังนี้.
(โดยทั่วไปเราคิดจะสงเคราะห์กันแต่ด้วยวัตถุสิ่งของเงินทอง ญาติมิตรสหายของเรา จึงยังจมอยู่ใน กองทุกข์. ถ้าอย่างไร เราจะคิดสงเคราะห์กันด้วยธรรมสงเคราะห์อย่างนี้บ้างโลกนี้ก็จะมีความสุขยิ่งขึ้น).
นิทเทศ ๒๐
ว่าด้วยสัมมาสติ
จบ
หน้า 1277 |