เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  02 of 11  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  สัมมาทิฏฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งกุศลธรรม 897     อนิจจสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อมุ่งอานิสงส์หกประการ 928
  สัมมาทิฏฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งการรู้อริยสัจสี่ 897-1     ทุกขสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อมุ่งอานิสงส์หกประการ 929
  สัมมาทิฏฐิควรจะรวมไปถึงการสำนึกบาป 898     อนัตตสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อมุ่งอานิสงส์หกประการ 930
  อริยสัจจญาณ ญาณประเภทยิงเร็ว(กายวาจาถูกต้อง) 899     ต้นเหตุแห่ง มิจฉาทิฏฐิ – สัมมาทิฏฐิ 932
  (ใช้ปฏิปทาดับสักกายะ) 899-1     รู้เวทนาเพื่อดับเสียได้ ดีกว่ารู้เพื่อเป็นปัจจัยแก่ตัณหา 932-1
  (เห็นอริยสัจ) 900     อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะของกาม 933
  (ดับอวิชชา) 900-1     อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะของรูปกาย 940
  ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์ 901     อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะของเวทนา 944
  ฆ่ากิเลสอย่าฆ่าคน 902     การทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิเมื่อมีปัญหาระหว่างลัทธิ 947
  ธรรมเป็นส่วนแห่งวิชา 903-1     การเห็นกายและเวทนาในระดับแห่งผู้หลุดพ้น 954
        

 
  ความกลัวเป็นเหตุแห่งสัมมาทิฏฐิ (ชนิดโลกิยะ) 904     สัมมาทิฏฐิ เจริญธรรมสามเพื่อละธรรมสาม นัย 1 955
  อริยสัจสี่ เป็นอารมณ์แห่งนิพเพธิกปัญญา 907     สัมมาทิฏฐิ เจริญธรรมสามเพื่อละธรรมสาม นัย 2 956
  ธรรมเป็นเครื่องเจริญแห่งปัญญา ฯลฯ 909     สัมมาทิฏฐิ เจริญธรรมสามเพื่อละธรรมสาม นัย 3 957
  เหตุที่ทำให้แสวงหานิพพาน 910     สัมมาทิฏฐิ-เจริญธรรมสามเพื่อละธรรมสาม นัย 4 957-1
  สมาธิ(สมาบัติ)ทุกขั้นตอนใช้ในการเข้าวิมุตติ 911     ข้อปฎิบัติเกี่ยวกับ ธาตุห้า 957-2
  เหตุให้เกิดและเจริญ แห่งอาทิพรหมจริยิกปัญญา 916     สัมมาทิฏฐิ ในอาเนญชสัปปายปฏิปทา 963
  ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของปัญญาขันธ์ 919     สัมมาทิฏฐิในอากิญจัญญายตนสัปปายปฏิปทา 965
  สิ่งสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิให้ออกผล 920     สัมมาทิฏฐิในเนวสัญญานาสัญญายตน 957
  เหตุปัจจัยแห่ง วิชชา แล ะวิมุตติ 921     สัมมาทิฏฐิต่อโอฆนิตถรณะ 968
  สัญญาเกิดก่อนญาณ 922     อริยวิโมกข์ หรือโอฆนิตถรณะ 969
  การทำสมาธิ มีเคล็ดลับเหมือนแม่โคปีนภูเขาลาดชัน 923     วิธีพิจารณา เพื่อ “หมดปัญหา” เกี่ยวกับอาหาร 970

 

   

 

 
 
 





หน้า 897 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
สัมมาทิฏฐิเป็
นรุ่งอรุณแห่งกุศลธรรม

ภิกษุ ท. ! เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมา นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็นนิมิตล่วงหน้า กล่าวคือ รุ่งอรุณ.
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็นนิมิตล่วงหน้า แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย สิ่งนั้นก็คือ สัมมาทิฏฐิ.

ภิกษุ ท. !
สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาวาจา ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสังกัปปะ
สัมมากัมมันตะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาวาจา
สัมมาอาชีวะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมากัมมันตะ
สัมมาวายามะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาอาชีวะ
สัมมาสติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาวายามะ
สัมมาสมาธิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสติ
สัมมาญาณะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสมาธิ
สัมมาวิมุตติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาญาณะ.


897-1 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
สัมมาทิฏฐิเป็
นรุ่งอรุณแห่งการรู้อริยสัจสี่

ภิกษุ ท. ! เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมา นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็นนิมิตล่วงหน้า กล่าวคือ รุ่งอรุณ.  

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็นนิมิตล่วงหน้า เพื่อการรู้พร้อม อย่างยิ่ง ตามที่เป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ของภิกษุ สิ่งนั้นก็คือ สัมมาทิฏฐิ.  

ภิกษุ ท. ! สิ่งที่พึงหวังได้สำหรับ ภิกษุผู้มีสัมมาทิฏฐินั้น คือเธอจักรู้ชัดตามความเป็นจริง ว่า
“ นี้ ทุกข์.” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า. “ นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
        ทุกข์ เป็นอย่างนี้
        เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้
        ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
        ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้. ดังนี้.


898
สัมมาทิฏฐิควรจะรวมไปถึงการสำนึกบาป


“ไพเราะนักพระเจ้าข้า ! ไพเราะนักพระเจ้าข้า ! เปรียบเหมือนการหงายของที่ควํ่า การเปิดของ ที่ปิดการชี้ทางแก่คน หลงทาง หรือการตาม ประทีปไว้ในที่มืดเพื่อคนมีตายังดีจะได้เห็นรูป ฉันใด ธรรมปริยายเป็นอันมากที่พระผู้มี พระภาคประกาศแล้ว ก็ฉันนั้น.

ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค ที่เป็นที่พึ่งรวมทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่าเป็น อุบาสกผู้ถือเอา พระรัตนตรัย เป็นสรณะ จนตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้ไป.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โทษได้ท่วมทับข้าพระองค์แล้ว ตามที่เป็นคนพาล ตามที่เป็นคนหลง ตาม ที่มีจิตเป็นอกุศล คือข้อที่ข้าพระองค์ ได้ปลงพระชนม์พระบิดา ผู้ประกอบด้วยธรรมเป็น ธรรมราชาเสียจากชีวิต เพราะเหตุแห่งความ ต้องการ เป็นใหญ่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษของข้าพระองค์ เพื่อความสำรวมระวัง ต่อไปเถิดพระเจ้าข้า !”


เอาละ มหาราช ! โทษได้ท่วมทับมหาบพิตร ตามที่เป็นคนพาล ตามที่เป็นคนหลง ตามที่มีจิต เป็นอกุศล จนถึงกับปลง พระชนม์บิดา ผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นธรรมราชา เสียจากชีวิต เพราะเหตุแห่งความต้องการเป็นใหญ่.

มหาราช ! แต่ พราะเหตุที่มหาบพิตร เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม พวกเรายอมรับโทษ นั้นของมหาบพิตร. มหาราช ! ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำ คืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้เป็น ความเจริญในอริยวินัย ของผู้นั้น.


899
อริยสัจจญาณ
เป็นญาณประเภทยิงเร็ว
(กายวาจาถูกต้อง)


ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ ควรแก่พระราชา เป็นผู้ที่ พระราชาควรใช้สอย ถึงการ นับว่าเป็นองค์อวัยวะ ของพระราชา. องค์สี่ประการ อย่างไรเล่า? สี่ประการคือ นักรบอาชีพในกรณีนี้ เป็นผู้ฉลาด ในฐานที่ตั้ง เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นผู้ยิงได้เร็ว และเป็นผู้ทำลายกองทัพใหญ่ๆได้.


899-1
(ใช้ปฏิปทาดับสักกายะ)


ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วย ธรรมสี่ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันคือ เป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยย บุคคล อัญชลิกรณีย บุคคลเป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า. ธรรมสี่ประการ อย่างไรเล่า? สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ฉลาดในฐานที่ตั้ง เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นผู้ยิงได้เร็ว และเป็นผู้ทำลายกองทัพใหญ่ได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็ นผู้ฉลาดในฐานที่ตั้ง เป็นอย่างไรเล่า? คือภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกข สังวร ถึงพร้อมด้วย มรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. นี้แล ภิกษุผู้ฉลาด ในฐาน ที่ตั้ง.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็ นผู้ยิงได้ไกล เป็นอย่างไรเล่า? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นตาม ที่ เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ซึ่งรูปใดๆอันเป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่เป็นภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตมีในที่ใกล้ หรือในที่ไกล อย่างนี้ว่า “รูปทั้งปวง นั้นไม่ใช่ ของเรา ไม่เป็นเราไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน). นี้แล ภิกษุผู้ยิงได้ไกล.


900
(เห็นอริยสัจ)


ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นผู้ยิงได้เร็ว เป็นอย่างไรเล่า? คือ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็น จริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิด ขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้.

นี้แล ภิกษุผู้ยิงได้เร็ว.


900-1
(ดับอวิชชา)


ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นผู้ทำลายกองทัพใหญ่ได้ เป็นอย่างไรเล่า? คือ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้. นี้แล ภิกษุผู้ทำลาย กองทัพใหญ่ได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม สี่ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยย บุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

(การรู้อริยสัจทั้งสี่ ท่านจัดเป็นสัมมาทิฏฐิ แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่รวดเร็วกว่าสัมมาทิฏฐิอื่นๆ ในการทำลายกิเลส บรรลุ นิพพาน ดังนั้นจึงเรียก ในที่นี้ว่า ญาณประเภทยิงเร็ว).


901
ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์


ภิกษุ ท. ! สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ สิ่งนั้น จงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์และ ความ สุขแก่เธอ. ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ?

ภิกษุ ท. ! จักษุ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย จักษุนั้นอันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ และความสุข แก่เธอ.(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน ก็ได้ตรัส ต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน อะไรๆในแคว้นนี้ ที่เป็นหญ้าเป็นไม้เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขา ขนไปทิ้ง หรือเผาเสีย หรือทำตามปัจจัย พวกเธอรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามปัจจัยของเขา? ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลยพระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุไรเล่า? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา) ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : จักษุ .... โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา ....กายะ .... มโน ไม่ใช่ ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งเหล่านั้น อันเธอ ละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุข แก่เธอ แล. [สำหรับสิ่งที่เรียกว่า ไม่ใช่ของเธอนั้น ในสูตรอื่น  ทรงแสดงด้วย อาตนะ ภายนอกหก คือ รูปะ .... สัททะ .... คันธะ .... รสะ .... โผฏฐัพพะ .... ธัมมารัมมณะ ดังนี้ก็มี ในสูตรอื่นอีก  ทรงแสดงด้วย

เบญจขันธ์ คือ รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ ดังนี้ก็มี ในสูตรอื่นอีก ทรงแสดงด้วย อายตนิกธรรมห้าหมวด คืออายตนะภายในหก .... อายตนะภายนอกหก .... วิญญาณหก .... สัมผัสหก .... เวทนาหก.... รวมเป็นสามสิบ ดังนี้ก็มี].


902
ฆ่ากิเลสอย่าฆ่าคน


ท่านทั้งหลาย จงตัดป่าเถิด อย่าตัดต้นไม้ เพราะว่าภัยย่อมเกิด จากป่าต่างหาก. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงตัดป่า และความรกแห่งป่า เสีย แล้วเป็นคนไม่มีป่าเถิด.เพราะว่า ตลอดเวลา ที่กิเลสเพียงดังความรกของป่า ยังไม่ถูกตัดขาด เหลืออยู่แก่นระแม้สักว่าอณูเดียว ในนารี ทั้งหลาย นระนั้น จักมีจิตปฏิพัทธ์ในนารีนั้น ตลอดกาลเพียงนั้น เหมือนลูก วัวที่ยังกินนมแม่ ติดพันแม่วัวอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น. ท่านจงถอน เยื่อใยแห่งจิตใจของตนเสีย เหมือนเขาถอนบัว สายใน สารทด้วยมือ จงพอกพูนทางแห่งสันติเถิด เพราะว่านิพพานเป็นสิ่งที่พระสุคต แสดงไว้แล้ว.


903
วิชชาเป็นตัวชักนำมาซึ่งองค์แปดแห่งสัมมามรรค


ภิกษุ ท. ! วิชชา เป็นสิ่งที่มาล่วงหน้า เพื่อความถึงพร้อมแห่ง กุศลธรรมทั้งหลาย อันติดตามมาด้วย หิริโอตตัปปะ
ภิกษุ ท. !สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้ถึงซึ่งวิชชา มีความเห็นแจ้ง
สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาวาจา ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสังกัปปะ
สัมมากัมมันตะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาวาจา
สัมมาอาชีวะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมากัมมันตะ
สัมมาวายามะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาอาชีวะ
สัมมาสติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้สัมมาวายามะ
สัมมาสมาธิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสติ.

(เป็นอันว่า องค์แปดแห่งสัมมามรรค หรือสัมมัตตะ ย่อมมีครบบริบูรณ์. ในสูตรอื่นได้ตรัสขยาย ออกไปอีก ๒ ข้อคือ)

สัมมาญาณะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสมาธิ
สัมมาวิมุตติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาญาณะ .


903-1
ธรรมเป็นส่วนแห่งวิชา


ภิกษุ ท. ! ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา มีอยู่สองอย่างอะไรเล่า ?
สองอย่างคือ สมถะ และ วิปัสสนา

ภิกษุ ท. ! สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? อบรมแล้ว จิตจะเจริญ
จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? เจริญแล้ว จะ ละราคะได้

ภิกษุ ท. ! วิปัสสนา เล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? เจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้ แล



หมวด
ค. ว่าด้วยอุปกรณ์-เหตุปัจจัยของสัมมาทิฏฐิ


904
ความกลัวเป็นเหตุแห่งสัมมาทิฏฐิ (ชนิดโลกิยะ)


ภิกษุ ท. ! ความกลัว อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า?สี่อย่างคือ ความกลัวต่อ การติเตียนตนด้วยตน ความกลัวต่อการการ ติเตียนจากผู้อื่น ความกลัวต่ออาชญา ความกลัว ต่อทุคติ.

ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่อการติเตียนตนด้วยตน เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อมใคร่ ครวญเห็นอย่างนี้ว่า “ถ้าเราประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เราจะไม่พึงติเตียนเราโดยศีลได้อย่างไร กันเล่า?” ดังนี้. เขากลัวต่อภัยจากการติเตียน ด้วยตนด้วยตนแล้วจึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่อการ ติเตียนตน ด้วยตน.

ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่อการติเตียนจากผู้อื่น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อมใคร่ครวญ เห็นอย่างนี้ว่า “ถ้าเรา ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงติเตียนเรา โดยศีลได้อย่างไร กันเล่า.” ดังนี้ เขากลัวต่อภัยจากการติเตียน จากผู้อื่นแล้วจึง ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่อการติเตียน จากผู้อื่น

ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่ออาชญา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน เห็นพระราชาจับโจร ผู้ประพฤติชั่วร้ายมากระทำ การลงโทษโดยวิธีต่างๆ คือ โบยด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง หวดด้วยเชือกหนังบ้าง ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสีย บ้าง ตัดเสียทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดเสียทั้งหูและ จมูกบ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “หม้อเคี่ยวน้ำส้ม” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ขอดสังข์” บ้าง ย่อมกระทำ กรรมกรณ์ชื่อ “ปากราหู” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “มาลัยไฟ” บ้างย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “มือคบเพลิง” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ริ้วส่าย” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “นุ่งเปลือกไม้” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ยืนกวาง”บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เกี่ยวเหยื่อเบ็ดบ้าง” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เหรียญกษาปณ์” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “แปรงแสบ” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เวียนหลัก” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ตั่งฟาง” บ้าง ย่อมราดด้วยน้ำมันร้อนๆบ้าง ย่อมปล่อยให้สุนัขทึ้งบ้าง ย่อมให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆบ้าง ย่อมตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง๑

เขามานึกขึ้นได้ว่า“เพราะเหตุแห่งการทำกรรม อันลามกเช่นนี้ พระราชาจึงจับโจรอันชั่วร้ายมา กระทำการลงโทษโดย วิธีต่างๆ เช่นโบยด้วย แส้บ้าง ....ฯลฯ.... ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง.

ถ้าเราจะพึงกระทำกรรมอันลามกเช่นนั้น พระราชาก็จะจับแม้เราไปกระทำการลงโทษโดยวิธี ต่างๆเช่นนั้นเหมือนกัน คือ โบยด้วยแส้บ้าง ....ฯลฯ....ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง” ดังนี้ เขากลัว ต่อภัยจากอาชญาแล้ว จึงไม่ประพฤติการฉกชิงทรัพย์ ของผู้อื่นอยู่ ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่ออาชญา.

ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่อทุคติ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า “วิบากของกายทุจริต อันชั่วร้าย จักมีข้างหน้า วิบากของวจีทุจริต อันชั่วร้าย จักมีข้างหน้า วิบากของมโนทุจริตอัน ชั่วร้าย จักมีข้างหน้า. ถ้าเราประพฤติทุจริต ด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ แล้วจะต้อง สงสัยอะไรกันอีกเล่า ในข้อที่เราจะพึงถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย” เขากลัวต่อภัยแห่งทุคติดังนี้แล้ว จึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริตเจริญวจี สุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่อ ทุคติ.

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แลคือความกลัว ๔ อย่าง.

(ความรู้ที่ทำให้รู้จักกลัวต่อสิ่งที่ควรกลัว จัดเป็นสัมมาทิฏฐิในชั้นต้นๆได้ จึงนำมาใส่ไว้ในที่นี้).


907
อริยสัจสี่
เป็นอารมณ์แห่งนิพเพธิกปัญญา
(ผู้ชื่อว่ามีปัญญา ย่อมพิจารณาอยุ่ในกรอบ แห่งอริยสัจสี่ และความไม่เบียดเบียน)


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำที่กล่าวกันอยู่ว่า‘เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม’ ดังนี้นั้นเป็นได้ด้วยเหตุ เท่าไร หนอพระเจ้าข้า ?”
ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบ แหลม ปฏิภาณงดงาม คำถามสวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่า เป็นพหูสูต ทรงธรรม กันได้ด้วย เหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! เราแสดงธรรมแล้ว มากมายครบถ้วน ขบวนความ เป็นสุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมม์เวทัลละ ภิกษุ ! ผู้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งคาถา แม้เพียงสี่บท แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นแหละควรจะเรียกว่า เป็ น พหูสูตผู้ทรงธรรม. สาธุพระเจ้าข้า !”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า“ผู้มีการศึกษามีปัญญา เครื่องเจาะแทงกิเลส ผู้มีการศึกษามีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส” ดังนี้นั้นเป็นได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระเจ้าข้า ?”

ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณ งดงามคำถามสวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่า ผู้มีการศึกษา มีปัญญาเครื่องเจาะ แทงกิเลส (นิพเพธิกปัญญา) เป็นกันได้ด้วย เหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็น ความทุกข์”ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่ง เนื้อความแห่งสัจจะนั้น เห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่ง ทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความ แห่งสัจจะนั้น เห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี มีการศึกษา อยู่ว่า “อย่างนี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอด ซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะ นั้นเห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็นหนทางให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้น เห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี. ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า “ผู้มีการศึกษา มีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส.”
สาธุพระเจ้าข้า !”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า "ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามากผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก" ดังนี้นั้นเป็นได้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอพระเจ้าข้า !” ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณงดงามคำถาม สวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่าผู้เป็น บัณฑิตมีปัญญา มาก เป็นกันได้ด้วยเหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไปในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่น ให้ลำบาก ไม่คิดไปใน ทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่าง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเอง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่ ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก. (นิพเพธิกปัญญา ในที่นี้ เป็นคำแทนชื่อของ สัมมาทิฏฐิ จึงนำมาใส่ ไว้ใน ที่นี้).


909
ธรรมเป็นเครื่องเจริญแห่งปัญญา
ฯลฯ

ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลาย ประการ เหล่านี้ เป็นไปพรอ้ มเพื่อความเจริญแห่งปัญญา (ปญญาวุฑฺฒิ) ธรรม ๔ ประการ อย่างไรเล่า? สี่ประการคือ

การคบหากับสัปบุรุษ (สปฺปุริสสํเสว)
การฟังพระสัทธรรม
(สทฺธมฺมสฺสวน)
การทำใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
(ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ).

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปพร้อม เพื่อความเจริญแห่งปัญญา. [ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นหลักธรรม ที่สำคัญเพราะว่า นอกจากจะเป็นเครื่องเจริญแห่งปัญญาแล้ว ได้ตรัสไว้ในบาลีแห่งอื่น อีกถึง 21 พระสูตร ดังนี้ ว่า

เป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่มนุษย์ (มนุสฺสภูตพหุการ) (๒๑/๓๓๒/๒๔๙)
เป็นองค์คุณเครื่องให้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน (โสตาปตฺติยงฺค) (๑๙/๓๓๒/๒๔๙)
เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผล (โสตาปตฺติผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๖/๑๖๓๔)
เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล (สกทาคามิผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๕)
เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล (อนาคามิผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๖)
เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล (อรหตฺตผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๗)
เป็นเครื่องให้ได้เฉพาะซึ่งปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภ) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๘)
เป็นเครื่องให้มีความไพบูลย์แห่งปัญญา (ปญฺญาเวปุลฺล) (๑๙/๕๑๗/๑๖๔๐)
เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันใหญ่หลวง (มหาปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๑)
เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันหนาแน่น (ปุถุปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๒)
เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันไพบูลย์ (วิปุลปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๓)
เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๔)
เป็นเครื่องให้ปัญญาอันหาประมาณค่ามิได้ (อปฺปมตฺตปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๕)
เป็นเครื่องให้มีปัญญาเสมือนแผ่นดิน (ภูริปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๖)
เป็นเครื่องให้เป็นผู้มากด้วยปัญญา (ปญฺญาพาหุลฺล) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๗)
เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาฉับพลัน (สัฆปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๘)
เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาไว (ลหุปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๙)
เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาอันร่าเริง (หาสปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๐)
เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาแล่น (ชวนปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๑)
เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาคมกล้า (ติกฺขปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๒)
เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาเครื่องเจาะแทง(นิพฺเพธิกปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๓).]


910
เหตุที่ทำให้แสวงหานิพพาน


ภิกษุ ท. ! การแสวงหาอย่างประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่างอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ :-ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้

บุคคลบางคน ตนเอง เป็นผู้ มีความแก่เป็นธรรมดา อยู่ ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความแก่เป็น ธรรมดานั้น แล้วแสวงหา นิพพานอันเป็นธรรม ไม่มีความแก่ อันเป็นธรรม เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า

บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อยู่ ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความเจ็บไข้เป็น ธรรมดานั้น แล้วแสวงหา นิพพานอันเป็นธรรม ไม่มีความเจ็บไข้ อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า

บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้ มีความตาย เป็นธรรมดา อยู่ ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความตายเป็น ธรรมดานั้น แล้วแสวงหา นิพพานอันเป็นธรรม ไม่มีความตายอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า

บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้ มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา อยู่ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความ เศร้าหมอง เป็นธรรมดา นั้นแล้วแสวง หานิพพาน อันเป็นธรรมไม่มีความเศร้าหมอง อันเป็น ธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล การแสวงหาอย่างประเสริฐ ๔ อย่าง.


911
สมาธิ(สมาบัติ) ทุกขั้นตอนใช้เป็
นบาทฐาน ในการเข้าวิมุตติได้ทั้งหมด


(เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญมากในการปฏิบัติ เพราะสาเหตุคือ เคยได้ฟังพระเถระสาวก หลายท่านว่า ต้องถึงฌานสี่ เท่านั้น จึงจะสิ้นอาสวะได้ บางท่านว่าสมาบัติในขั้นอรูปใช้ใน การสิ้น อาสวะไม่ได้ หรือบางท่านว่าในฌานสี่ มีขันธ์ไม่ ครบ ๕ ซึ่งพระสูตรนี้จะต้องตอบ ข้อสงสัยเหล่า นี้ได้ทั้งหมด และจากการตรวจสอบโดยคอมพิวเตอร์ใน บาลีสยามรัฐ นั้น โดยพุทธวจนะไม่มีคำว่ารูปฌานและอรูปฌาน แต่มีคำว่าสมาบัติ ที่ใช้ประกอบกับสมาธิ ทุกขั้นได้ คำว่าฌานนั้นใช้ กับสมาบัติ ในส่วนรูป แต่ในสมาบัติในส่วนอรูปไม่ใช้คำว่าฌานเลย คำเรียกโดยรวมจึงควร ใช้คำว่าสมาธิหรือสมาบัติ แทน ส่วนคำที่พระองค์เคยใช้ คือ รูปสัญญา กับ อรูปสัญญา ซึ่งเดิมเคยใช้ว่า รูปฌาณกับอรูปฌาณ).

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ

เพราะอาศัย ปฐมฌาณ บ้าง
เพราะอาศัย ทุติยฌาณ บ้าง
เพราะอาศัย ตติยฌาณ บ้าง
เพราะอาศัย จตุตถฌาณ บ้าง

เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะ บ้าง
เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตนะ บ้าง
เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะ บ้าง
เพราะอาศัย เนวสัญญานาสัญญายตนะ บ้าง๑
เพราะอาศัย สัญญาเวทยิตนิโรธ บ้าง


ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌาน บ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัย อะไรกล่าวเล่า?

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุสงัดจากกามสงัดจาก อกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) เธอนั้นตามเห็นซึ่ง ธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง๑ โดยความเป็นทุกข์๒ เป็นโรค๓ เป็นหัวฝี๔ เป็นลูกศร๕ เป็นความยาก ลำบาก๖ เป็นอาพาธ๗ เป็นดังผู้อื่น๘ เป็นของแตก สลาย๙ เป็นของว่าง๑๐ เป็นของไม่ใช่ตน๑๑.

เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า)เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจ ลักษณะเป็นต้น) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตะ ธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบ ระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับ แห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็น นิพพาน” ดังนี้.

เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีปฐมฌาณ เป็นบาทนั้นย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพาน ในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับ จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์มีในเบื้องต่ำ ห้าประการ และเพราะ อำนาจแห่ง ธัมมราคะธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตใน อมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.
………………………………………………………………………………………..……………
๑. บาลีฉบับมอญ กล่าวลงเลยไปถึงว่า “เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” ฉบับไทยเรา หยุด เสียเพียงแค่ เนวสัญญานา สัญญายตนะ นี้เท่านั้น เมื่อพิจารณาจากการปฏิบัติ และ ดูจากที่จิตพระสารีบุตรหลุดพ้นจาก อาสวะ เพราะการเข้า-ออก จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ตามที่พระองค์ตรัสไว้ (ในพุ.โอ.น. ๓๔๓) จึงเห็นว่าบาลีฉบับมอญ ในส่วนนี้กล่าวไว้ถูกต้อง โดยสอดรับ และไม่ขัดกันกับหลักธรรม ในพระสูตรอื่นๆ ตามหลักแห่งมหาปเทสที่ได้ทรง วางหลัก พิจารณาความถูกต้องแห่งคำพูดของพระองค์เอาไว้.
………………………………………………………………………………………..………………

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคน ที่ทำ ด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พล อันใหญ่ได้. ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาณ อันมีวิตกวิจารมีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่

[เธอนั้นกำหนดเบญจขันธ์โดยลักษณะ ๑๑ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แล้วน้อมจิตไปสู่ อมตธาตุ คือนิพพาน และเมื่อดำรงอยู่ใน วิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น ก็ย่อมเข้าถึง ความ สิ้นอาสวะ หรือมิฉะนั้น ก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น คือพอใจ เพลินในนิพพาน เหตุเพราะนันทิมีอยู่จึงยังความเป็นภพ แห่งอนาคามี ให้เกิดขึ้น (ให้ดูในปฏิจจ.โอ.หน้า ๔๒๑ ในคำว่า “ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน” และ “นันทิเป็นมูล แห่งความทุกข์ เพราะมีภพจึงมีชาติ ...”และดูในบาลีสยามรัฐ สุตตันตปิฎกเล่มนี้ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค หน้า ๒๔๒-๒๔๓ ที่ตรัสพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้ และพวกเชื่อ แน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้] ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌาน บ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว. (ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย ตติยฌาน บ้างเพราะอาศัย จตุตถฌาน บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้ โดย ทำนองเดียวกันกับในกรณี แห่งปฐมณานข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมย และส่วน อุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง โดยอาศัยข้อความที่กล่าว แล้ว ข้างบนนี้ จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้น ก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับ ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ต่อไปจะข้ามไปกล่าวถึงอรูปสัญญาในลำดับต่อไป ).

ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย อากาสา นัญจายตนะบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูป สัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับ ไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่)๑ เธอนั้นตามเห็นซึ่ง ธรรมเหล่านั้นโดยความ เป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตก สลายเป็นของว่าง เป็ ของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจ ลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต

นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับ แห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไป แห่ง ตัณหา เป็นความจาง คลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.  เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนา ญาณ มีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่ เวียนกลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะธัมมนันทิ (อันเกิดจากความพอใจและความเพลินที่ยังละไม่ได้) นั้นๆ นั่นเอง.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำ ด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดิน บ้างสมัยต่อมาเขาก็ เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่ พลอันใหญ่ได้. ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดย ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำ ไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการไม่ทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้แล้วแลอยู่.

(เธอนั้นกำหนดขันธ์เพียงสี่๒ ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจ ลักษณะเป็นต้น แล้วน้อมจิต ไปสู่อมตธาตุ คือ นิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรง อยู่ใน วิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น)
ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌาน บ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัย ความข้อนี้กล่าวแล้ว.

(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตนะ บ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะ บ้าง ก็มีคำ อธิบายที่ตรัสไว้โดย ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง อากาสา นัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมย และส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่ง สมาบัติ เท่า นั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง โดยอาศัยข้อความที่กล่าวข้างบนนี้ จะนำมาใส่ไว้เต็ม ข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับ วิญญาณัญจายตนะและอากิญจัญญายตนะ จนกระทั่ง ถึงคำว่า .... เราอาศัยข้อความนี้กล่าวแล้ว อันเป็นคำสุดท้ายของข้อความในกรณี แห่งอากิญจัญญายตนะ. ครั้นตรัสข้อความในกรณีแห่ง อากิญจัญญายตนะจบแล้ว ได้ตรัส ข้อความนี้ ต่อไปว่า : -).

ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญาสมาบัติ (สญฺญาสมาปตฺติ) มีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ [อญฺญาปฏิเวโธ (การแทงตลอดอรหัตตผล)๑ ] ก็มีประมาณเท่านั้น.

ภิกษุ ท. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ (๗ประการ) เหล่านั้น๒ นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุ ผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดใน
………………………………………………………………………………………………………
๑. ข้อความนี้หมายความว่า สัญญาสมาบัติเจ็ด คือ รูปสัญญาสี่ อรูปสัญญาสามข้างต้น รวมเป็น เจ็ดเรียกว่า สัญญา สมาบัติเพราะเป็น สมาบัติที่ยังมีสัญญา. เมื่อสัญญาสมาบัติ มีเจ็ด อัญญาปฏิเวธก็มีเจ็ดเท่ากัน คือการแทงตลอด อรหัตตผลในกรณีของรูปสัญญาสี่ อรูปสัญญา สามนั่นเอง จึงตรัสว่า “สัญญาสมาบัติมีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ ก็มีประมาณเท่านั้น”.
๒. ข้อความนี้หมายความว่า สัญญาสมาบัติ ๗ ประการ เกิดก่อนแล้วตั้งอยู่แล้ว จึงอาจจะเกิด สมาบัติที่ไม่มีสัญญา สองประการนี้ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติและ สัญญา เวทยิตนิโนธ ดังนั้นจึงตรัสว่า “อายตนะสองอย่าง อาศัยสมาบัติ ๗ อย่าง”.
* ฌาน = การเพ่ง ฌาย = การเพ่ง แต่ดูจากการใช้กล่าวของพระองค์ จะใช้ฌายในมุมของ บุคคลผู้เพ่ง และมีความฉลาด ให้ดูจากพระสูตรนี้และอีกพระสูตร ที่ตรัสแก่สันธะเรื่องการเพ่ง อย่างภิกษุอาชาไนย ซึ่งจะใช้ “ฌาย”เหมือนกันกับพระสูตรนี้คือใช้ “ฌายี” ไม่ใช้ “ฌาณ”.

……………………………………………………………………………………………

การออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ๑ ดังนี้. [สำหรับหัวข้อเรื่องที่ว่า "สมาธิ (สมาบัติ) ทุกขั้นตอนใช้เป็นบาตรฐานของการ เข้า วิมุตติได้ทั้งหมด" ดังนี้ นั้นหมายความว่า ในสมาบัติที่ยังมีสัญญาอยู่นั้น มีทางที่จะ กำหนด ขันธ์ตามที่ปรากฏอยู่ในสมาบัตินั้น ว่ามีลักษณะ เช่นอนิจจลักษณะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อกำหนดเข้า แล้ว ก็ย่อมเกิดปัญญาซึ่งเรียกว่า วิปัสสนา. ส่วนสมาบัติที่ไร้สัญญา คือ เนวสัญญานา สัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ไม่มีขันธ์อื่นๆ ที่จะให้สังเกตเห็นการเกิดดับ ได้ เพราะ เหลือแต่ความเป็นตัวองค์สมาบัติ (สมาธิ ฌาน) เอง (ซึ่งประกอบด้วยวิญญาณและ สังขารเพียง ๒ ขันธ์ที่ยังเหลืออยู่ เพราะ ความเข้าใจดับเสียได้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา นั่นเอง) ภิกษุผู้เพ่งอย่างฉลาด (ฌายีภิกษุ) จึงต้องอาศัยการเข้าการออก จากสมาบัติ ให้บ่อยๆ ให้มากพอ (ซึ่งเป็นวิธีเดียว เพื่อเห็นโทษหรือเห็นอริยสัจความจริง แห่งระบบสมมุตติคือเกิด-ดับ) จนเห็นการเกิดดับ ของตัวเอง แล้วปล่อย วาง ความเป็นตัวตนของตนเอง ซึ่งเหลืออยู่ เพียง ๒ ขันธ์เท่านั้น วิชาและวิมุตติจึงมีแก่ภิกษุนั้นได้].
………………………………………………………………………………………………………
๑. ฌายีภิกษุ คือภิกษุผู้บำเพ็ญฌานอยู่ ครั้นเขาเข้าหรือออกจากเนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติและสัญญาเวทยิต-นิโรธแล้ว ก็มีความรู้ ประจักษ์แก่ตนเอง ว่าเมื่ออาศัยสมาบัติ ทั้งสองนี้แล้ว จะมีการสิ้นอาสวะหรือไม่. ถ้าเป็นสมาบัติทั้งเจ็ดข้างต้น ทรงยืนยันว่ามีความสิ้น อาสวะ ส่วนในสมาบัติสุดท้ายทั้งสองนี้ ทรงปล่อยไว้ให้ผู้ที่เข้าแล้ว ออกแล้ว เป็นผู้กล่าวเอง ว่ามีการสิ้นอาสวะหรือไม่ ซึ่งถ้าดูที่พระองค์ อธิบาย การบรรลุอรหัตตผลของพระสารีบุตร (ดูเพิ่มเติมพุทธประวัติฯ หน้า ๓๔๒ หรือ อนุปทสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๑๑๖/๑๕๔) ที่เข้าสมาธิ ทุกขั้นจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว มีสติเข้าสมาธิ มีสติออกจากสมาธิ จนเห็นว่าสิ่งใด ไม่เคยมีก็มีมา สิ่งใดมีมาแล้วก็ดับไปจิตจึงหลุดพ้น จากอาสวะได้ นั่นแสดงว่าในสมาบัติ สุดท้าย ทั้งสองนี้ ก็ใช้เพื่อการสิ้นอาสวะได้เช่นเดียวกัน.


916
เหตุให้เกิดและเจริญ
แห่งอาทิพรหมจริยิกปัญญา


ภิกษุ ท. ! เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เหล่านี้ มีอยู่เพื่อการได้เฉพาะซึ่งปัญญาอันเป็น อาทิพรหมจริยิกา (ปัญญาที่ต้องมีในเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์) ที่ยังไม่เคยได้ เป็นไปพร้อม เพื่อความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความทำให้เจริญ ความเต็มรอบ แห่งปัญญาอันเป็น อาทิพรหมจริยิกาที่ได้แล้ว.

แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการคือ

๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัยซึ่งพระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารีผู้เป็ นที่ตั้งแห่งความเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง อันเป็นที่ ซึ่งหิริและโอตัปปะ ความรักและความเคารพ ของภิกษุนั้นจะตั้งอยู่อย่างแรงกล้า ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่หนึ่ง.

๒. ภิกษุนั้น ครั้นเข้าไปอาศัยซึ่งพระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้เป็นที่ตั้งแห่ง ความเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง จนกระทั่งหิริและโอตตัปปะ ความรักและความเคารพของภิกษุนั้น ตั้งอยู่อย่าง แรงกล้าแล้ว เธอนั้น ก็เข้าไปซักไซ้สอบถามปัญหา ตามกาละอันควร ว่า

“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ข้อนี้ เป็นอย่างไร? ”ความหมายแห่งข้อนี้เป็นอย่างไร ? ดังนี้. ท่านผู้มีอายุ เหล่านั้น ย่อมเปดิ เผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้ตื้นสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้ตื้น ย่อมบรรเทา ความสงสัยในธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ แก่ภิกษุนั้น ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่สอง.

๓. ภิกษุนั้น ครั้งฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำตนให้ถึงพร้อม ด้วยการหลีกออก อย่าง คือหลีกออกทางกาย และหลีกออกทางจิต ภิกษุ ท. ! นี้เป็น เหตุปัจจัยประการที่สาม.

๔. ภิกษุนั้น ป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็น เป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือว่าเป็นโทษ เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุ ท. ! นี้เป็น เหตุปัจจัยประการที่สี่.

๕. ภิกษุนั้น เป็นพหูสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว ธรรมเหล่าใด มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด แสดงพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถะพร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเหล่านั้น อันเธอนั้นดั้งมามากแล้ว จำได้ ว่าได้คล่องแคล่วด้วยวาจามองเห็นตามด้วยใจ เจาะแทงตลอดอย่างดีด้วย ความเห็น ภิกษุ ท. ! นี้เป็น เหตุปัจจัยประการที่ห้า.

๖. ภิกษุนั้น เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลายเพื่อความถึงพร้อม แห่ง กุศลธรรม ทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง (จิต) มีความบาก บั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ : ภิกษุ ท. ! นี้เป็น เหตุปัจจัยประการที่หก.

๗. ภิกษุนั้น ไปสู่หมู่สงฆ์แล้ว ไม่พูดเรื่องนอกเรื่อง ไม่กล่าวดิรัจฉานกถา กล่าวธรรมเองบ้าง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าวบ้าง ไม่ดูหมิ่นความนิ่ง อย่างพระอริยเจ้า๑ : ภิกษุ ท. ! นี้เป็น เหตุ ปัจจัยประการที่เจ็ด.

๘. ภิกษุนั้น มีปกติตามความเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปทานขันธ์ทั้งห้า อยู่ว่า “รูป เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดรูปเป็น อย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป เป็นอย่างนี้ เวทนา เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดเวทนา เป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนาเป็นอย่าง นี้ สัญญา เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดสัญญาเป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขาร เป็นอย่างนี้เหตุให้เกิดสังขารเป็น อย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้” : ภิกษุ ท. ! นี้เป็น เหตุปัจจัยประการที่แปด.

.... ภิกษุ ท. ! เหตุ ๘ ประการ ปัจจัยแปดประการ เหล่านี้แลมีอยู่ เพื่อการได้เฉพาะซึ่งปัญญา อันเป็นอาทิพรหม จริยิกา (ปัญญาที่ต้องมีใน เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์) ที่ยังไม่เคยได้ เป็นไปพร้อม เพื่อความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ความทำให้เจริญ ความเต็มรอบแห่งปัญญา อันเป็นอาทิพรหมจริยิกาที่ได้แล้ว.


919
ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของปัญญาขันธ์
(ดูหน้า ๑๓๑๔ และ อริย.ต้น หน้า ๗๗๐ ประกอบ)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความประพฤติเข้ากันไม่ได้ ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมา จาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้๑           
        ครั้นไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรม (ธรรมที่ควรศึกษา สูงขึ้นไป) ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้
       ครั้นไม่บำเพ็ญเสขธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
       ครั้นไม่บำเพ็ญสีลขันธ์ ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
       ครั้นไม่บำเพ็ญสมาธิขันธ ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ มีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเข้ากันได้ ในเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ อภิสมาจาริก-ธรรม ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะ ที่จะมีได้
       ครั้นบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้  
       ครั้นบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ สีลขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็น ฐานะที่จะมีได้
       ครั้นบำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ สมาธิขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็น ฐานะที่จะมีได้
       ครั้นบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ ปัญญาขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็น ฐานะที่จะมีได้.


920
สิ่งสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิให้ออกผล


ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันองค์ธรรม ๕ ประการอนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผลเป็น อานิสงส์ และมีปัญญา วิมุตติเป็นผล เป็นอานิสงส์. ห้าประการเหล่าไหนเล่า? ห้าประการ คือ
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้
       ๑.สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน ศีล อนุเคราะห์แล้ว
       ๒.สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน สูตร๑ อนุเคราะห์แล้ว
       ๓.สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน สากัจฉา๒ อนุเคราะห์แล้ว
       ๔.สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน สมถะ อนุเคราะห์แล้ว
       ๕.สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน วิปัสสนา อนุเคราะห์แล้ว .

ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันองค์ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติ เป็นผล เป็นอานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล เป็นอานิสงส์.


921
เหตุปัจจัยแห่ง วิชชา แล ะวิมุตติ


ภิกษุ ท. !
       การคบสัปบุรุษ
เป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการฟัง สัทธรรม ให้บริบูรณ์
       การฟังสัทธรรม
บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ สัทธา ให้บริบูรณ์
       สัทธา
บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ โยนิโสมนสิการ ให้บริบูรณ์
       โยนิโสมนสิการ
บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้ มีสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
       ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
บริบูรณ์แล้วย่อมทำ การสำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
       การสำรวมอินทรีย์
บริบูรณ์แล้วย่อม ทำสุจริต ๓ ประการ ให้บริบูรณ์
       สุจริต
ประการ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ให้บริบูรณ์
       สติปัฏฐาน
ประการ บริบูรณ์แล้วย่อมทำ โพชฌงค์ ๗ ประการ ให้บริบูรณ์
      โพชฌงค์ ประการ บริบูรณ์แล้วย่อมทำ วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์.

ภิกษุ ท. ! อาหารแห่งวิชชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ ด้วยอาการ อย่างนี้ และ บริบูรณ์แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้. (ต่อจากนี้ตรัสอุปมาด้วยฝนตกลงในที่สูง แล้วไหลลงมาในที่ต่ำ ย่อมทำให้เต็ม บริบูรณ์ต่อๆกันลงมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงทะเล).


922
สัญญาเกิดก่อนญาณ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัญญาเกิดก่อนญาณเกิดทีหลัง หรือว่าญาณเกิดก่อนสัญญาเกิด ทีหลัง หรือว่าสัญญาและ ญาณเกิดไม่ก่อนไม่ หลังกัน (พร้อมกัน)?”

โปฏฐปาทะ ! สัญญา เกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะมีการเกิด แห่งสัญญา จึงมีการเกิดแห่ง ญาณ ดังที่เขานั้น (แต่ละคนๆ) รู้สึกได้ อย่างนี้ ว่า “เพราะ(สัญญา) นี้เป็นปัจจัย ญาณจึง เกิดขึ้นแก่เรา” ดังนี้. โปฏฐปาทะ ! เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยนัยนี้ว่า “สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง อย่างไร เพราะมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่งญาณ อย่างนั้น” ดังนี้.

(โดยหลักจิตวิทยาตามธรรมชาติ ทั่วไป แห่งจิตวิทยาสมัยปัจจุบัน ทุกคนพอจะมองเห็น ได้เองว่า สัญญา (PERCEPTION) จะต้องเกิดก่อนความรู้ (KNOWLEDGE) หรือญาณ(WISDOM) เสมอ คือเมื่อเรารู้จักหรือรู้สึกต่อสิ่งใด อย่างทั่วถึงแล้ว เราก็เกิดความรู้สึกว่าสิ่งนั้น มีเรื่องราว มีลักษณะ มีเหตุผล ฯลฯ เป็นอย่างไร นี้สรุปว่า เมื่อเรารู้จักสิ่งนั้นแล้ว เราจึงจะมี ความรู้เรื่องสิ่งนั้นโดยครบถ้วน. นี้คือ อาการที่สัญญาเกิดก่อนญาณ.

ส่วนในทางธรรมะนั้นต้องทำสัญญา (การกำหนด) ในสิ่งที่นำมาเป็นอารมณ์ของสมาธิ หรือวิปัสสนานั้นเสียก่อนอย่างทั่วถึง แล้วก็จะเกิดความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น เช่นรู้ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไรเป็นต้น ต่อภายหลัง ซึ่งเรียกว่าญาณ มีสัญญาและญาณเป็นคู่ๆดังนี้ เป็นลำดับๆขึ้นไปจนกระทั่งถึงสัญญา และญาณคู่สุดท้าย เช่น สัญญาในความหลุดพ้น ก็เกิดญาณว่าหลุดพ้นแล้วดังนี้ ซึ่งเป็นญาณสุดท้ายในทางธรรม).



923
การทำสมาธิ
มีเคล็ดลับเหมือนแม่โคปีนภูเขาลาดชัน

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนโคหากินตามภูเขา โง่เขลา ไม่มีไหวพริบไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาด เพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขา อันขรุขระ. มันได้คิดว่า “จะเที่ยวไปสู่ทิศทางที่ไม่เคยไป จะกินหญ้า ที่ไม่เคยกิน จะดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม” ดังนี้มันวางเท้า หน้าอย่างไม่ถูกต้อง เมื่อยกเท้าหลัง (จึงพลาดล้ม) มันก็ไม่อาจไปถึงทิศทางที่ไม่เคยไป ไม่ได้กินหญ้าที่ไม่เคยกิน ไม่ได้ดื่มน้ำ ที่ไม่เคยดื่ม และทั้งไม่อาจกลับมาสู่ที่ที่มันเคยยืน คิดทีแรกโดยสวัสดีด้วย. ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า โคตัวนั้นซึ่งหากินตามภูเขา เป็นโคโง่เขลาไม่มีไหวพริบ ไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาด เพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขา อันขรุขระ นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ เป็นพาล ไม่มีไหวพริบ ไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาดเพื่อจะสงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้ว แลอยู่.

เธอ ไม่เสพอย่างทั่วถึง ไม่ทำให้เจริญ ไม่กระทำให้ มาก ซึ่งนิมิตนั้น ไม่ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้น ให้เป็น นิมิต อันตนตั้งไว้ด้วยดี เธอคิดว่า “ถ้ากระไรเพราะความเข้าไปสงบรำงับวิตกและวิจาร เราพึง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจ ในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม อันเอกผุด มีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เถิด” ดังนี้ แต่เธอก็ไม่ สามารถจะสงบระงับวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน .... แล้วแลอยู่ได้ เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เราจะ (ย้อนกลับ) เข้าสู่ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้ แต่เธอก็ไม่สามารถ จะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน .... แล้วแลอยู่ได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า พังแล้วทั้งสองด้าน เสื่อมแล้วทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกับโคภูเขา อันโง่เขลา ไม่มีไหว พริบ ไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาดเพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขาอันขรุขระ ตัวนั้น.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนโคภูเขา ที่ฉลาดเฉลียว มีไหวพริบ รอบรู้ทิศทาง ฉลาดเพื่อจะ เที่ยวไปตามภูเขาอันขรุขระ. มันได้คิดว่า “จะเที่ยวไปสู่ทิศทางที่ไม่เคยไป จะกินหญ้าที่ไม่เคย กิน. จะดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม” ดังนี้ มันวางเท้าหน้า อย่างถูกต้อง แล้วจึงค่อยยกเท้าหลัง มันก็ สามารถไปสู่ทิศทางที่ไม่เคยไป ได้กินหญ้าที่ไม่เคยกิน ดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม และทั้งสามารถ กลับมาสู่ ที่ที่มันเคยยืน คิดทีแรกโดยสวัสดี ได้ด้วย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า โคภูเขานั้นเป็นโคฉลาดเฉลียว มีไหวพริบรอบรู้ทิศทาง ฉลาด เพื่อจะเที่ยว ไปตาม ภูเขาอันขรุขระ นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ก็ฉันนั้น เธอเป็นบัณฑิตมี ไหวพริบ รอบรู้ทิศทาง ฉลาดเพื่อจะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เธอเสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้น ให้ เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะความเข้าไปสงบรำงับวิตก และวิจารเสียได้เราพึง เข้า ทุติยฌาน อันเป็นเครื่อง ผ่องใส แห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้.

เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่ กะทุติยฌาน ก็เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจ ใน ภายใน ให้สมาธิเป็น ธรรมอัน เอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มี วิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ เพราะความเข้าไปสงบระงับวิตก และวิจารเสียได้ แล้วแลอยู่ เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้ มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่ง นิมิตนั้นให้เป็ นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและ สัมปชัญญา และพึง เสวยความสุขด้วย นามกาย เข้าถึงตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่ เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่ เถิด” ดังนี้.

เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะ ตติยฌาน ก็เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติ และสัมปชัญญะและพึงเสวย ความสุข ด้วยนามกาย เข้าถึง ตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” ดังนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ แล้วแลอยู่ เธอเสพ อย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิต อันตั้งไว้ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและ โทมนัสในกาลก่อน เราพึง เข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็น ธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด”ดังนี้.

เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะจตุตถฌาน ก็เข้าถึง จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความ ที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา เพราะละ สุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับ ไปแห่ง โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน แล้วแลอยู่ เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง นิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิต อันตั้งไว้ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ ความดับแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา เราพึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการกระทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้.

เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะอากาสานัญจายตนะ ก็เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการ กระทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สุด" ดังนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับ ไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา แล้วแลอยู่ เธอเสพ อย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิต นั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายต-นะโดยประการทั้งปวง เราพึงเข้าถึงวิญญา ณัญจายตนะอันมีการ ทำในใจว่า“วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้ เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะ วิญญาณัญจายตนะ ก็เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า“วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงเสีย ได้ซึ่ง อากาสานัญจายตนะ โดยประการ ทั้งปวง แล้วแลอยู่ เธอ เสพอย่าง ทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็ นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เราพึงเข้าถึงอากิญ จัญญายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า“อะไรๆไมมี” ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะ อากิญจัญญายตนะ ก็เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วแลอยู่ เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็ นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เราพึงเข้าถึงเนวสัญญา นาสัญญายตนะ แล้วแล อยู่เถิด”ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เข้าถึง เนวสัญญา นาสัญญายตนะ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง อากิญ จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วแลอยู่ เธอเสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ ด้วยดี.

เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวง เราพึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแล อยู่เถิด”ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่ กะสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็เข้าถึง สัญญาเวทยิต-นิโรธ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญา นาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงแล้วแลอยู่ .

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า โคภูเขาที่ฉลาด ย่อมรู้จักจรดเท้าหน้า ลงในที่ อันมั่นคงเสียก่อน แล้วจึงค่อยยกเท้าหลัง จึงจะไม่พลาดกลิ้ง ลงมา เช่นเดียวกับภิกษุ ต้องมีความตั้งอยู่อย่าง มั่นคง ในสมาธิที่ถึงทับทีแรกเสียก่อน จึงค่อย “ยกเท้าหลัง” เพื่อก้าวไปสู่สมาธิอันสูง ขึ้นไป. อุปมาข้อนี้ เป็นอุปมาที่แยบคาย แปลกกว่าที่เคยได้ยินได้ฟัง เป็นที่น่าสนใจอยู่ มีลักษณะ แห่งสัมมาทิฏฐิเต็มบริบูรณ์ จึงนำมาใส่ไว้ ในหมวดนี้).


928
อนิจจสัญญาเป็นไปโดยสะดวก


เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ


ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งซึ่ง อนิจจสัญญา ในสังขาร ทั้งปวงอย่างไม่จำกัด ขอบเขต.หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า? หกประการคือ สังขารทั้งปวง จักปรากฏโดยความเป็นของตั้งอยู่อย่างไม่มั่นคง
       ใจของเรา จักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง
       ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง
       ใจของเรา จักเป็นใจน้อมไปในนิพพาน
       สังโยชน์ทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการละขาด
       และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วย สามัญญคุณ อันยอดเยี่ยม.

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไป ตั้งไว้ ซึ่งอนิจจสัญญา ในสังขารทั้งปวง อย่างไม่จำกัดขอบเขต.


929
ทุกขสัญญาเป็นไปโดยสะดวก
เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ


ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง ทุกขสัญญา ในสังขาร ทั้งปวงอย่างไม่จำกัด ขอบเขต. หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการไหน เล่า? หกประการคือ

นิพพิทาสัญญา๑ (สัญญาในความน่าเบื่อหน่าย) ของเรา ในสังขารทั้งปวงจักปรากฏ เหมือนมี เพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ ต่อหน้าเรา ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง เราจักเป็นผู้เห็น สันติ (ความสงบระงับ) ในนิพพานอยู่เป็นประจำ อนุสัยทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการถูกถอนขึ้น จนหมดสิ้น เราจักเป็นผู้กระทำกิจ (ในการทำที่สุดทุกข์) อยู่เป็นประจำ และพระศาสดา จักเป็นผู้ที่เราบำเรอแล้ว ด้วยวัตรอันประกอบด้วยเมตตา (ความรักอันประกอบด้วยธรรม).

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ เหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไป ตั้งไว้ซึ่งทุกขสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่าง ไม่จำกัดขอบเขต.


930
อนัตตสัญญาเป็นไปโดยสะดวก
เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ


ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง อนัตตสัญญา ในธรรม ทั้งปวงอย่างไม่จำกัด ขอบเขต. หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่าไหนเล่า? หกประการคือ
       เราจักเป็น อตัมมโย๑ ในโลกทั้งปวง
       อหังการ๒ ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ
       มมังการ๓ ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ
       เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ความรู้อันไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน)
       ธรรมอันเป็นเหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นแล้วด้วยดี และ
       ธรรมทั้งหลายอันเกิดแต่เหตุ จักเป็ นสิ่งที่เราเห็นแล้วด้วยดี.

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไป ตั้งไว้ซึ่งอนัตตสัญญา ในธรรมทั้งปวงอย่าง ไม่จำกัดขอบเขต.
………………………………………………………………………………………….……
๑. อตัมมโย คือผู้ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัยนั้นๆ กล่าวคือ ปัจจัยนั้นๆ ไม่อาจปรุงแต่งได้ หมายถึง ผู้หลุดพ้นนั่นเอง.
๒. อหังการ คือการกระทำในใจด้วยความยึดถือว่าเรา ว่าตน.
๓. มมังการ คือ การกระทำในใจด้วยความยึดถือว่าของเรา ว่าของตน. ทั้งอหังการและมมังการ เป็นความรู้สึกที่มีอยู่ในสันดานของคนเรา เป็นกิเลสประเภทอนุสัย ทำงานร่วมกันทั้งสองอย่าง เรียกว่า อหังการมมังการะมานานุสัย ผู้ใดถอนเสียได้เด็ดขาด ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์.

………………………………………………………………………………………….………


931
สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก
เพื่อความสิ้นทุกข์


ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวง (สพฺพํ) ก็เป็นผู้ไม่ควร แก่ความสิ้นไปแห่ง ทุกข์. ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรเล่า? ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวงคือ
(อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ ทรงจำแนกทีละหมวด และแยกอย่างในหมวดนั้นๆ ในที่นี้ยกมา กล่าวคราวเดียวกัน เพราะเห็นว่าเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว).

(ต่อจากนี้ ได้ตรัสข้อความป็นปฏิปักขนัย คือเมื่อรู้สิ่งทั้งปวงก็ควรแก ่ความสิ้นไปแห่งทุกข์ อันผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้ ด้วยตนเอง). [ในสูตรถัดไป ทรงแสดงสิ่งทั้งปวงด้วยวิญญา ตัทพธรรมทางจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะและมนะ อีกสูตรหนึ่ง ทรงแสดงสิ่งทั้งปวง ด้วยขันธ์


932
ต้นเหตุแห่ง มิจฉาทิฏฐิ
– สัมมาทิฏฐิ

ก. แห่งมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุ ท. ! ปัจจัย ๒ อย่างเหล่านี้ เพื่อความเกิดขึ้น แห่งมิจฉาทิฏฐิสองอย่าง เหล่าไหนเล่า?
สองอย่างคือ การโฆษณาของคนเหล่าอื่น (ปรโต โฆโส).
การกระทำในใจ โดยไม่แยบคาย (อโยนิโส มนสิกาโร).
ภิกษุ ท. ! ปัจจัยสองอย่างเหล่านี้แล เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ.

ข. แห่งสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุ ท. ! ปัจจัย ๒ อย่างเหล่านี้ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ
สองอย่างเหล่าไหนเล่า? สองอย่างคือ
การโฆษณาของคนเหล่าอื่น (ปรโต โฆโส).
การกระทำในใจโดยแยบคาย (โยนิโส มนสิกาโร).
ภิกษุ ท. ! ปัจจัยสองอย่างเหล่านี้แล เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ.
หมวด. ว่าด้วยหลักการปฏิบัติของสัมมาทิฏฐิ


932-1
รู้เวทนาเพื่อดับเสียได้
ดีกว่ารู้เพื่อเป็นปัจจัยแก่ตัณหา

ภิกษุ ท. ! ...สมณพรหมณ์เหล่าใด เป็นปุพพันตกัปปิกวาท๑ (บัญญัติทิฏฐิปรารภขันธ์ ที่มีแล้วในกาลก่อน) ก็ดี เป็นอปรันตกัปปิกวาท (บัญญัติทิฏฐิปรารภขันธ์ที่มีในกาลเบื้องหน้า) ก็ดี เป็นปุพพันตาปรันตกัปปิกวาท (บัญญัติทิฏฐิ ปรารภขันธ์ที่เป็นปุพพันตะอปรันตะ) ก็ดี ล้วนแต่เป็นผู้มี ปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ (มีทิฏฐิไปตามขันธ์ที่มีในกาลก่อน และในกาล เบื้องหน้า) เขาปรารภขันธ์ ที่เป็นปุพพันตะ และ อปรันตะแล้วกล่าวอธิมุตติบท (ทางแห่งความน้อมใจเชื่อ ของสัตว์) มีอย่างต่างๆกัน เป็นอเนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ๖๒ ประการ สมณพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด รู้สึกเสวยเวทนาตามทิฏฐิ เฉพาะอย่างๆ ของตนๆ ตามที่ถูกต้องแล้วๆ (ซึ่งอารมณ์) ด้วยผัส-สายตนะ หกประการ.

เพราะเวทนา (อันเกิดจากสัมผัสนั้น) ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพ เป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุ-ปายาสทั้งหลาย (แก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น).

ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ภิกษุย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันตํ่าทราม (อาทีนวะ) ซึ่งอุบายเป็น เครื่องออกไปให้พ้น (นิสสรณะ)แห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ย่อม รู้ชัด (ซึ่งเรื่องอันเกี่ยวกับ ผัสสายตนะ หกประการนั้น) ยิ่งกว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมดนั่นเทียว.


933
อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะของกาม
(ธรรมลักษณะ
ประการของกาม : วัตถุแห่งสัมมาทิฏฐิ)

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็ นอัสสาทะ (รสอร่อย) ของกามทั้งหลาย?

ภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า? ห้าอย่างคือรูป อันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยตา เสียงอันจะพึงรู้ แจ้งด้วยหู กลิ่นอันจะ พึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย (แต่ละอย่างๆ) อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะ น่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัย อยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลชื่อว่า กามคุณ(คุณค่าสำหรับกาม) ห้าอย่าง.

ภิกษุ ท. ! สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณห้าเหล่านี้ แล้วเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะของ กามทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็ นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ของกามทั้งหลาย?

(ก) ภิกษุ ท. ! กุลบุตรในโลกนี้ สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยความพากเพียร ในศิลปะ คือ ด้วยศิลปะ แห่งการใช้สัญญาด้วยมือ ศิลปแห่งการ คำนวณศิลปะแห่งการนับ ด้วยกสิกรรม ด้วย วาณิชกรรม ด้วยโครักขกรรม ด้วยศิลปะแห่งการใช้ศาตรา ด้วยการเป็นราชบุรุษ หรือด้วยศิลปะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องเผชิญกับความหนาว เผชิญกับความร้อน ต้องลำบากอยู่ ด้วยสัมผัส อันเกิดจากเหลือบยุงลมแดด และสัตว์เลื้อย คลานทั้งหลาย อ่อนแรงอยู่ ด้วยความหิวกระหาย เพราะการ ไม่ได้บริโภคตามเวลา. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นโทษแห่งกามเป็นกองแห่งทุกข์ อันบุคคลเห็นได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่องบังคับให้กระทำ มีเหตุมาแต่กามนั่นเทียว.

(ข) ภิกษุ ท. ! แม้เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียรอยู่อย่างนั้น สืบต่อพยายามอยู่อย่างนั้น โภคะ ก็ยังไม่ สำเร็จแก่เขา เขาย่อมเศร้าโศก ย่อม ลำบากใจ ร่ำไรรำพัน ตีอกร่ำไห้ ถึงความคลั่ง เพ้อว่า “ความพากเพียรของเราเป็นโมฆะ เสียแล้วหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ” ดังนี้เป็นต้น. ภิกษุท. ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของกาม เป็นกองแห่ง ทุกข์ อันบุคคลเห็นได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็น เครื่องบังคับให้กระทำ มีเหตุมาแต่กาม นั่นเทียว.

(ค) ภิกษุ ท. ! ถึงแม้ว่าเมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียรอยู่อย่างนั้นสืบ ต่อพยายามอยู่อย่างนั้น โภคะเกิดสำเร็จผลแก่เขา ขึ้นมา. เขาก็ยังเสวย ทุกขโทมนัสเพราะการอารักขาโภคะเหล่านั้น โดยวิตกอยู่ว่า “ทำอย่างไรพระราชาจึงจะไม่ริบ ทรัพย์ของเราไป โจรจะไม่ปล้นทรัพย์ ของเราไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดพาเอาไป ทายาทอันไม่เป็นที่รักจะไม่เยื้อ แย่งเอาไป” ดังนี้เป็นต้น. เมื่อเขาอารักขาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาริบทรัพย์ของเขาไปบ้าง โจรปล้น เอาไปบ้าง ไฟไหม้เสียบ้าง น้ำพัดพาไปเสียบ้าง ทายาทไม่เป็นที่รักเยื้อแย่งไป เสียบ้าง เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบากใจ ร่ำไร รำพัน ตีอกร่ำไห้ ถึงความคลั่งเพ้อว่า “สิ่งที่เคยมีแก่เรา ฉิบหายไปหมดแล้วหนอ” ดังนี้เป็นต้น. ภิกษุ ท. ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษแห่งกาม เป็นกองแห่ง ทุกข์ อันบุคคลเห็นได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่อง บังคับ ให้กระทำ มีเหตุมาแต่กามนั่นเทียว.

(ง) ภิกษุ ท. ! โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่องบังคับให้ กระทำ มีเหตุมาแต่กาม นั่นเอง คือข้อที่ราชา วิวาทกับราชาบ้าง กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์บ้าง พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์บ้าง คหบดีวิวาท กับคหบดีบ้าง มารดาวิวาทแม้กับบุตร บุตรวิวาท แม้ กับมารดา บิดาวิวาทแม้กับบุตร บุตรวิวาทแม้กับบิดา พี่น้องชาย กับพี่น้องชาย พี่น้องหญิง กับพี่น้องหญิง แม้สหายกับสหาย ก็ยังวิวาทกัน เขาเหล่านั้น ถึงการทะเลาะแก่งแย่งวิวาท กัน ในที่นั้นๆ ทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาตราบ้าง ถึงความตายบ้าง ได้รับทุกข์เจียนตายบ้าง ในที่นั้นๆภิกษุ ท. ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของกาม เป็นกองแห่งทุกข์ อันบุคคล เห็นได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่อง บังคับให้กระทำ มีเหตุมาแต่กามนั่นเทียว.

(จ) ภิกษุ ท. ! โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่องบังคับ ให้กระทำ มีเหตุมาแต่กาม นั่นเอง คือ ข้อคนที่คน ทั้งหลายถือดาบและโล่หนัง ผูกสอดธน ูและแล่งศร แล่นเข้าไปสู่สงครามอันตั้งขึ้นเป็น กองทัพสองฝ่าย ยิงศรอยู่บ้าง ซัดหอกอยู่บ้าง กวัดแกว่งดาบอยู่บ้างคนเหล่านั้น ถูกศรแทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง ถึงความตายบ้าง ได้รับทุกข์เจียนตายบ้าง อยู่ใน ที่นั้นๆ. ภิกษุ ท. ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของ กาม เป็นกองแห่งทุกข์ อันบุคคลเห็นได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็น เครื่อง บังคับให้กระทำ มีเหตุมา แต่กามนั่นเทียว.

(ฉ) ภิกษุ ท. ! โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้ามีกามเป็นเครื่องบังคับ ให้กระทำ มีเหตุมาแต่กาม นั่นเอง คือ ข้อที่คน ทั้งหลายถือดาบและโล่หนัง ผูกสอดธนูและ แล่งศร แล่นเข้าประชิดเชิงเทิน อันกระทำขึ้นด้วยวิธี ที่เรียกว่าอัฏฏาวเลปนา๑ เมื่อมีการยิงลูก ศรอยู่บ้าง ซัดหอกอยู่บ้าง กวัดแกว่งดาบอยู่บ้าง คนเหล่านั้นก็ถูกลูกศร แทงบ้าง ถูกหอกแทง บ้าง ถูกรดอยู่ด้วยเถ้าถ่านโคมัยอันร้อนบ้าง ปล่อยของหนักให้ตกลงทับทีเดียวตายทั้งหมู่บ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ถึงความตายบ้าง ได้รับทุกข์เจียนตายบ้าง อยู่ในที่นั้นๆ. ภิกษุ ท. ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษ ของกาม เป็นกองแห่งทุกข ์อันบุคคลเห็นได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่องบังคับ ให้กระทำ มีเหตุมาแต่กามนั่นเทียว.

(ช) ภิกษุ ท. ! โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้ามีกามเป็นเครื่องบังคับ ให้ กระทำ มีเหตุมาแต่กาม นั่นเอง คือ ข้อที่คนบาง พวกย่อมตัดช่อง ย่องเบา ปล้นสะดม ในเรือนหลังเดียว คอยดักทำร้ายในที่เปลี่ยว และล่วง ภรรยาผู้อื่น. พระราชาจับคนเหล่านั้น มาแล้ว ให้กระทำกรรมกรณ์วิธีการลงโทษหลายวิธีด้วยกัน เช่น เฆี่ยนด้วยหวาย บ้าง หวดด้ว ยเชือกหนังบ้าง ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดเสียทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดเสียทั้งหูและจมูกบ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “หม้อเคี่ยวน้ำส้ม (พิลงฺคถาลิกมฺปิ)”๑ บ้าง ย่อมกระทำ กรรมกรณ์ชื่อ “ขอดสังข์ (สงฺขมุณฺฑกมฺปิ)”๒ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ปากราหู (ราหุมุขมฺปิ)”๓ บ้าง ย่อมกระทำ กรรมกรณ์ชื่อ “มาลัยไฟ (โชติมาลิกมฺปิ)”๔ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “มือคบเพลิงบ้าง (หตฺถปชฺโชติกมฺปิ)”๕ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ“ริ้วส่าย (เอรกวตฺติกมฺปิ)”๖ บ้างย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “นุ่งเปลือกไม้ (จีรกวาสิกมฺปิ)”๗ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ยืนกวาง (เอเณยฺยกมฺปิ)”๘ บ้าง
……………………………………………………………………………………
๑. “หม้อเคี่ยวนํ้าส้ม” คือต่อยหัวขมองแยกออก แล้วใช้คีมคีบก้อนเหล็กที่ลุกแดงใส่ลงไป ให้มันสมองเดือดพลุ่งขึ้นเหมือนน้ำส้มเดือด ล้นหม้อ.
๒. “ขอดสังข์” คือตัดหนังควั่นไป ให้รอบจอนหูทั้งสองข้าง และหลุมคอ แล้วรวบผมทั้งหมด ขมวดไว้ ใช้ไม้สอดหมุนยกขึ้น ให้หนังหลุด ติดขึ้นมาพร้อมกับผม แล้วใช้ทรายหยาบขัดกะ โหลกศีรษะล้างให้ขาว ดั่งสังข์.
๓. “ปากราหู” คือใช้ขอเหล็กง้างปาก ให้อ้าแล้วจุดไฟในปาก. อีกอย่างหนึ่ง ใช้สิ่วตอกเจาะ ตั้งแต่จอนหูเข้าไปจนถึงปากให้โลหิตไหลออกมาเต็มปาก ดูปากอ้า ดั่งปากราหู.
๔. “มาลัยไฟ” คือใช้ผาชุบน้ำมันพันจน ทั่วตัวแล้วจุดไฟ.
๕. “มือคบเพลิง” คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันมือทั้งสองข้างจนทั่ว แล้วจุดไฟ.
๖. “ริ้วส่าย” คือเชือดหนังลอกออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ใต้คอไปจนถึงข้อเท้า แล้วเอาเชือกผูกฉุด คร่าไป นักโทษเดินเหยียบหนัง คัวล้มลุกคลุก คลานไปจนกว่าจะตาย.
๗. “นุ่งเปลือกไม้” คือเชือดหนังเป็นริ้วๆอย่างบทก่อน แต่ทำเป็นสองตอน ตั้งแต่ใต้คอจนถึง เอว ตอนหนึ่ง ตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ริ้วหนังตอนบนห้อยคลุมลงมา ปิดกายตอนล่าง ดูดั่งนุ่งเปลือกไม้.
๘. “ยืนกวาง” คือใช้ห่วงเหล็กรัดข้อศอกทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ตรึงติดไว้กับหลักเหล็ก สี่หลักบนพื้นดิน ดูดั่งกวางถูกตรึง แล้วก่อไฟ ล้อมลนจนกว่าจะตาย.

……………………………………………………………………………………
ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เกี่ยวเหยื่อเบ็ด (พลิสมํสิกมฺปิ)”๙ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เหรียญกษาปณ์ (กหาปณกมฺปิ)” ๑๐ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ทาเกลือ” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “แปรงแสบ (ขาราปฏิจฺฉกมฺปิ)”๑๑ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เวียนหลัก (ปลิฆปริวตฺติกมฺปิ)”๑๒ บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ตั่งฟาง (ปลาลปีฐกมฺปิ)”๑๓ บ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนๆ (ตตฺเตนปิเตเลน โอสิญฺจนฺติ) บ้าง ย่อมปล่อยให้ “สุนัขทึ้ง (สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺติ)”๑๔บ้าง ย่อมให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆบ้าง ย่อมตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตายบ้าง ได้รับทุกข์เจียนตายบ้าง อยู่ในที่นั้นๆ.

ภิกษุท. ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของกาม เป็นกองแห่งทุกข์ อันบุคคลเห็นได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่อง บังคับให้กระทำ มีเหตุมาแต่กาม นั่นเทียว.
-
นัยแห่งอรรถกถาแลพระไตรปิฎกแปลของ . อำไพจริต.
(ญ) ภิกษุ ท. ! โทษอื่นยังมีอีก ที่มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่องบังคับให้กระทำ มีเหตุมา แต่กามนั่นเอง คือข้อที่คนทั้งหลาย ประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ครั้น ประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ
………………………………………………….........................................
๙. “เกี่ยวเหยื่อเบ็ด” คือใช้เบ็ดมีเงี่ยงสองข้าง เกี่ยวตัวดึงเอาหนังเนื้อและเอ็นออกมาให้หมด.
๑๐. “เหรียญกษาปณ์” คือใช้มีดคมเชือดหนังออกเป็นแว่นๆ ขนาดเท่าเงินเหรียญ จนกว่า จะตาย.
๑๑. “แปรงแสบ” คือฟันสับเสียให้ยับทั่วกาย แล้วใช้แปรงชุบน้ำแสบ (มีน้ำเกลือเป็นต้น) ถูครูดสีไปมาให้เนื้อเอ็นขาดหลุดออกมา เหลือแต่กระดูก.
๑๒. “เวียนหลัก” คือให้นอนตะแคง แล้วใช้หลาวเหล็ก ตอกเข้าช่องหูให้ทะลุ ลงไปตรึงแน่น อยู่กับดิน แล้วจับเท้าทั้งสองเดินเวียน.
๑๓. “ตั่งฟาง” คือใช้ลูกหินบดทับตัว บดให้กระดูกแตกละเอียด แต่ไม่ให้หนังขาด แล้วจับผม รวบขึ้นเขย่าๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง แล้วใช้ผมนั่นแหละพัน ตะล่อมวางไว้ เหมือนตั่งที่ทำ ด้วย ฟางสำหรับเช็ดเท้า.
๑๔. “ให้สุนัขทึ้ง” คือขังฝูงสุนัขให้อดหิวโซหลายวัน แล้วปล่อยให้ออกมารุมทึ้ง พักเดียว เหลือ แต่กระดูก.

……………………………………………………………………………………………….
แล้ว เขาเหล่านั้น ย่อม เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการ แตก สลายแห่งกาย. ภิกษุ ท. ! แม้ข้อนี้ ก็เป็น โทษ ของกาม เป็นกองแห่งทุกข์ อันบุคคลเห็น ได้เอง ว่ามีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นเครื่องบังคับให้กระทำ มีเหตุมาแต่กาม นั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออก) จากกามทั้งหลาย? ภิกษุ ท. ! การนำออกเสียได้ซึ่งฉันทราคะ การละเสียได้ ซึ่ง ฉันทราคะ ในกามทั้งหลาย อันใด อันนั้น เป็นนิสสiณะจากกามทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะแห่งกามทั้งหลาย โดยความเป็นอัสสาทะด้วย ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความ เป็นนิสสรณะด้วย โดยอาการเหล่านี้ อยู่

สมณะพราหมณ์เหล่านั้นน่ะหรือ จักรู้รอบซึ่งกามทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักชวนผู้อื่น ให้รอบรู้ซึ่งกามเหมือนผู้ที่ เคยปฏิบัติแล้ว ดังนี้ นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่มีได้.

ภิกษุ ท. ! ส่วน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะแห่งกามทั้งหลาย โดยความเป็นอัสสาทะด้วย ซึ่งอาทีนวะโดย ความเป็นอาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความ เป็นนิสสรณะด้วย โดยอาการอย่างนี้อยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแหละ จักรอบรู้ ซึ่งกามทั้งหลายด้วยตนเองหรือว่าจักชักชวนผู้อื่น ให้รอบรู้ซึ่งกาม เหมือนผู้ที่เคยปฏิบัติแล้ว ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้

(ความรู้ดังกล่าวนี้สงเคราะห์ลงในสัมมาทิฏฐิ ดังนั้นจึงนำมารวมไว้ในที่นี้).


940
อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะของรูปกาย
(ธรรมลักษณะ
ประการของรูป : วัตถุแห่งสัมมาทิฏฐิ)

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นอัสสาทะ (รสอร่อย) ของรูป? ภิกษุ ท. !เหมือนอย่างว่านางสาวน้อยแห่ง กษัตริย์ก็ดี นางสาวน้อย แห่งพราหมณ์ก็ดี หรือนางสาวน้อยแห่งคหบดีก็ดี ที่แสดงลักษณะ ว่ามีอายุสิบห้าปีก็ดี หรือสิบหกปีก็ดี ซึ่งมีทรวดทรง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น สีสรรวรรณะแห่ง หญิงนั้น ย่อม งดงามอย่างยิ่ง มิใช่หรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! สุขโสมนัสที่อาศัยสีสรรวรรณะอันงดงามแล้ว บังเกิดขึ้น อันใด อันนั้น เป็นอัสสาทะของรูป.

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็น อาทีนวะ (โทษอันตํ่าทราม) ของรูป?

(ก) ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคคล จะได้เห็นน้องสาว (ของตนเอง)นั่นแหละ โดยกาลต่อมา มีอายุได้ ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ชราทรุดโทรม แล้ว มีหลังงอเหมือนโคปานสิแห่งหลังคา๑ มีกายคดไปคดมา มีไม้เท้ายันไปในเบื้องหน้า เดินตัวสั่นเทิ้ม กระสับกระส่าย ผ่านวัยอันแข็ง แกร่งไปแล้ว มีฟันหักแล้ว มีผมหงอกแล้ว มีผมตัดสั้นอย่างลวกๆ มีผิวหนังหย่อนยาน และมีตัวเต็มไปด้วยจุด.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร สีสรรวรรณะอันงดงามที่มีมาแต่เดิม อันตราธานไปแล้ว โทษปรากฏ ชัดแล้วมิใช่หรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! นั่นคือ อาทีนวะของรูป.
………………………………………………………………………………

๑. คำนี้เคยแปลกันว่า กลอนหรือจันทัน แต่ไม่สมเหตุสมผลคือไม่ได้โค้ง. รูปเรือนโบราณ ที่ปรากฏอยู่ในสิลาสลัก ของโบราณ เห็นโค้งอยู่ แต่ส่วนที่เรียกว่าปั้นลม โค้งงอเป็นรูปดอกบัว พอที่จะเปรียบกับหลังโกงได้.หรือมิฉะนั้น ก็ต้องเป็นเรือนที่มีหลังคาเป็นรูปประทุนเรือจันทัน หรือกลอนจึงจะโค้งงอได้ ทำให้ไม่แน่ใจว่าแปลคำนี้ว่าอะไรดี จึงไม่แปลและคงไว้ตามเดิมว่า โคปานสิ.
……………………………………………………………………………….
(ข) ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องสาว(ของตนเอง) นั่นแหละ อาพาธลง ได้รับทุกข์ทรมาณ เป็นไข้หนัก นอน กลิ้งเกลือกอยู่ในมูตรและคูถของตนเอง อันบุคคลต้องช่วยพยุงให้ลุก และนอน.ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจข้อความนี้ว่าอย่างไร สีสรรวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม อันตรธานไปแล้ว โทษปรากฏชัดแล้ว มิใช่หรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! แม้นั่น ก็คืออาทีนวะของรูป.

(ค) ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก: บุคคล จะได้เห็นน้องสาว(ของตนเอง) นั่นแหละ บัดนี้เป็นสรีระร่างอันเขา ทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพตายแล้ววันหนึ่ง บ้าง ตายแล้วสองวัน บ้าง ตายแล้วสามวัน บ้าง กำลังขึ้นพองบ้าง มีสีเขียว บ้าง มีหนองไหล บ้าง. ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะข้าใจความหมายนี้อย่างไร สีสันวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม อันตรธานไปแล้ว โทษปรากฏชัดแล้ว มิใช่หรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! แม้นั่น ก็คืออาทีนวะ ของรูป.

(ง) ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก: บุคคล จะได้เห็นน้องสาว(ของตนเอง) นั่นแหละ บัดนี้เป็นสรีระร่างอันเขา ทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ ทิ้งศพฝูงกาจิกกินอยู่ บ้าง อัน ฝูงแร้งจิกกินอยู่ บ้าง อัน ฝูงตะกรุมจิกกินอยู่ บ้างอัน ฝูงสุนัข กัดกินอยู่ บ้าง อัน ฝูงสุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่ บ้าง และอัน หมู่หนอนต่างชนิดบ่อนกินอยู่ บ้าง. ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะ เข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร :สีสรรวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม อันตรธานไปแล้ว โทษปรากฏชัดแล้ว มิใช่หรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! แม้นั่น ก็คืออาทีนวะของรูป.

(จ) ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องสาว(ของตนเอง) นั่นแหละ บัดนี้เป็น สรีระร่างอันเขา ทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ ทิ้งศพเป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด และยังมีเอ็นเป็ นเครื่องรึงรัดอยู่ บ้าง เป็นร่างกระดูกที่ ปราศจากเนื้อ แต่ยังมีเลือดเปื้อนอยู่ และ ยง มีเอ็นเป็ นเครื่องรึงรัดไว้บ้าง เป็นร่างกระดูกที่ปราศจากเนื้อและเลือด แต่ยังมีอ็นเป็นเครื่องรึงรัดไว้บ้าง เป็นท่อนกระดูกที่ ปราศจากเอ็น เป็นเครื่องรึงรัด กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง คือกระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขา ไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอว ไปทาง หนึ่ง กระดูกข้อสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าออกไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไป ทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกคอไป ทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง ฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง บ้าง.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะเข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร สีสรรวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม อันตรธาน ไปแล้ว โทษปรากฏ ชัดแล้ว มิใช่หรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! แม้นั่นก็คืออาทีนวะของรูป.

(ฉ) ภิกษุ ท โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องสาว(ของตนเอง) นั่นแหละ บัดนี้เป็น สรีระร่างอันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ ทิ้ง ศพเป็นชิ้นกระดูก มีสีขาวดังสีสังข์ บ้าง เป็นชิ้น กระดูก กองเรี่ยรายอยู่นานเกินกว่าปีหนึ่งไปแล้ว บ้าง เป็นกระดูก เปื่อยผงละเอียดไปแล้ว บ้าง ภิกษุ ท. !พวกเธอจะเข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร สีสรรวรรณะอัน งดงามที่มีแต่เดิมอันตรธาน ไปแล้ว โทษปรากฏชัดแล้ว มิใช่หรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”ภิกษุ ท. ! แม้นั่น ก็คือ อาทีนวะของรูป.

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นนิสสรณะ (อุบายเครื่องออก) จากรูป? ภิกษุ ท. ! การนำออกเสียได้ซึ่ง ฉันทราคะ การละเสียได้ ซึ่งฉันทราคะ ในรูปอันใด อันนั้น เป็ นนิสสรณะของรูป.

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะแห่งรูปโดยความเป็น อัสสาทะด้วย ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็นอาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความเป็น นิสสรณะด้วย โดยอาการอย่างนี้ อยู่ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นน่ะหรือ จักรอบรู้ซึ่งรูปด้วยตนเอง หรือว่าจักชวน ผู้อื่นให้รอบรู้ซึ่งรูปเหมือนผู้ที่เคยปฏิบัติแล้ว ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่มีได้.

ภิกษุ ท. ! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะแห่งรูปโดย ความ เป็นอัสสาทะด้วย ซึ่งอาทีนวะโดยความเป็น อาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความเป็ นนิสสรณะด้วย โดยอาการอย่างนี้ อยู่สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น จักรอบรู้ซึ่งรูปด้วยตนเอง หรือว่าจักชวนผู้อื่นให้รอบรู้ซึ่งรูป เหมือนผู้ที่เคยปฏิบัติแล้ว ดังนี้นั้น นั่นเป็ นฐานะที่มีได้.
(ความรู้ดังกล่าวนี้สงเคราะห์ลงใน สัมมาทิฏฐิ ดังนั้นจึงนำมารวมไว้ในที่นี้).


944
อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะของเวทนา
(ธรรมลักษณะ
ประการของเวทนา : วัตถุแห่งสัมมาทิฏฐิ)

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็ นอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย?

(ก) ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตก วิจาร มีปิติและสุขอัน เกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจาก อกุศลธรรม ทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง .... นั้นแล้วแลอยู่.

ในสมัยนั้นเธอย่อมไม่คิด แม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทาง ที่จะให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น และย่อม ไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อน แก่ตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น (ขณะนั้น) เธอย่อมเสวย เวทนา อันไม่ทำความ เดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็น อย่างยิ่ง. [ดู น.๑๓๔๗ ประกอบ คือ เมื่อขณะอยู่ในฌาน ทั้ง ๔ อารมณ์รัก .... เกลียด .... จะดับไปแต่เมื่อฌานดับไป อารมณ์รัก .... เกลียด .... หรือ ความคิดในการทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้นได้].

(ข) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจาร เสียได้ย่อมบรรลุ ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิ มีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. ภิกษุท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจาร เสียได้ ย่อมบรรลุ ฌานที่สอง .... นั้นแล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ ในทาง ที่จะ ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทาง ที่จะให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิด แม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อน แก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อม เสวยเวทนา อันไม่ทำ ความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความ เดือดร้อนแกผู้ใด เป็นอย่างยิ่ง.

(ค) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย ย่อมบรรลุ ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใดภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม .... นั้นแล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทาง ที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิด ความ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิดแม้ใน ทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง และผู้อื่น ทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวย เวทนา อันไม่ทำความ เดือดร้อนแต่ อย่างใดเลย

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. (ง) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยัง มีอีก ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะ ละทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน ย่อมบรรลุ ฌานสี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะ ละทุกข์เสียได้ เพราะความดับ หายไป แห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน ย่อมบรรลุฌานที่สี่ …. นั้นแล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิด แม้ในทางที่จะให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิด ความเดือดร้อน แก่ผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิด ความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวย เวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อน แต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลายว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นอาทีนวะ (โทษอันตํ่าทราม) ของเวทนาทั้งหลาย? ภิกษุ ท. ! เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวน เป็นธรรมดา อันใด อันนั้น เป็นอาทีนวะ ของเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! อะไร เป็ นนิสสรณะ (อุบายเครื่องออก) จากเวทนาทั้งหลาย? ภิกษุ ท. ! การนำ ออกเสียได้ซึ่งฉันทราคะ การละเสียได้ซึ่ง ฉันทราคะ ในเวทนาทั้งหลาย อันใด อันนั้น เป็ นนิสสรณะจากเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะแห่งเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นอัสสาทะด้วย ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความเป็น นิสสรณะด้วย โดยอาการอย่างนี้อยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นน่ะหรือ จักรอบรู้ ซึ่งเวทนา ทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชวนผู้อื่น ให้รอบรู้ซึ่งเวทนา ทั้งหลายเหมือนผู้ที่เคยปฏิบัติ แล้วดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่มีได้.

ภิกษุ ท. ! ส่วน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอัสสาทะ แห่งเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นอัสสาทะ ด้วย ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะด้วย ซึ่งนิสสรณะโดยความ เป็น นิสสรณะด้วย โดยอาการอย่างนี้ อยู่ สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่านั่น น่ะแหละ จักรอบรู้ ซึ่งเวทนาทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักชวนผู้อื่นให้รอบรู้ซึ่งเวทนา ทั้งหลาย เหมือนผู้ที่ เคยปฏิบัติแล้ว ดังนี้นั้น นั่นเป็น ฐานะที่มีได้.


947
การทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิเมื่อมีปัญหาระหว่างลัทธิ
(นัตถิก - อัตถิกวาทอกิริย - กิริยวาทอเหตุก - เหตุกวาทอารุปปวาทภวนิโรธวาท)


(พราหมณ์และคหบดี ชาวบ้านชาวสาเลยยกะ ได้ยินเสียงเล่าลือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ รู้แจ้งโลก ทั้งปวง แสดงธรรม งดงามบริบูรณ์ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จมา ถึงหมู่บ้าน นี้แล้ว จนถึงที่ประทับ. บางพวกแสดง ความเคารพ บางพวกไม่แสดงความเคารพ นั่งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส แก่ชาวบ้าน สาเลยยกะเหล่านั้น ว่า )

คหบดี ท.! มีอยู่ไหม ศาสดาไรๆ ซึ่งเป็นที่พอใจของท่าน จนถึงกับท่านปลงสัทธาไปแล้ว อย่างมีเหตุผล?
“ยังไม่มีพระเจ้าข้า !”

คหบดี ท.! สำหรับพวกท่านที่ยังไม่มีศาสดา อันเป็นที่พอใจ ธรรมะอันผิดไม่ได้ (อปัณณกธรรม) นี้ มีอยู่ สำหรับพวก ท่านสมาทานแล้ว ปฏิบัติ.

คหบดีท.! ธรรมะอันผิดไม่ได้นั้น เมื่อท่านสมาทาน เต็มเปี่ยมแล้ว จักเป็นไปเพื่อหิตสุขแก่ พวกท่านตลอดกาลนาน. คหบดี ท.! ธรรมะอันผิดไม่ได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า?

คหบดี ท.! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี(ผล) ผลวิบาก แห่งกรรมที่สัตว์ ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มีมารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้ว โดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกอื่นด้วย ปัญญาโดยชอบเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ก็ไม่มี”
ดังนี้.

คหบดี ท.! ยังมีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง ซึ่งมีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรง ต่อสมณพราหมณ์ เหล่านั้น กล่าวอยู่อย่างนี้ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล)ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี โลกนี้ มี โลกอื่น มี มารดา มี บิดา มี โอปปาติกะสัตว์ มีสมณพราหมณ์ ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกอื่น โดยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้.

คหบดี ท.!ท่านจะสำคัญข้อความนี้อย่างไร : สมณพราหมณ์สองพวกนี้ เป็นผู้มีวาทะเป็นข้าศึก โดยตรงต่อกันและกัน มิใช่หรือ?
อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

คหบดี ท.! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ทั้งสองพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะมีทิฏฐิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี ยัญที่บูชาแล้วไม่มี ...ฯลฯ...ผู้ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ก็ไม่มี” ดังนี้นั้น พวกเขาพึงหวังได้ในข้อนี้ คือเลิกละกุศลธรรมสามประการนี้กล่าวคือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เสีย แล้ว สมาทานประพฤติอกุศลธรรมสามประการ กล่าวคือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นแน่นอน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า สมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น ไม่มองเห็นโทษอันต่ำทราม เศร้าหมอง ของอกุศลธรรม และไม่มองเห็น อานิสงส์ ในเนกขัมมะอันเป็นธรรมขาวผ่อง ฝ่ายกุศลธรรมทั้งหลาย เสียเลย.

ทิฏฐิของเขา ต่อโลกอื่นซึ่งมีอยู่แท้ๆ กลับไปเห็นเสียว่าโลกอื่นไม่มี ทิฏฐิของเขานั้น จึงเป็น มิจฉาทิฏฐิ โลกอื่นซึ่งมี อยู่แท้ๆ เขาดำริไปว่า โลกอื่นไม่มี ความดำรินั้นของเขาจึงเป็น มิจฉาสังกัปปะ. เขากล่าวซึ่งโลกอื่นอันมีอยู่แท้ๆ ว่าโลก อื่นไม่มี วาจานั้นของเขา จึงเป็นมิจฉา วาจา. เขากล่าวซึ่งโลกอื่นอันมีอยู่แท้ๆ ว่าโลกอื่นไม่มี เช่นนี้ชื่อว่าเขาทำตน เป็นข้าศึกต่อ พระอรหันต์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลกอื่น.

โลกอื่นมีอยู่แท้ๆ เขาทำให้ผู้อื่นสำคัญว่าโลกอื่นไม่มี การกระทำของเขานั้น จึงเป็น อสัทธัมมสัญญัตติ์ (ทำให้ผู้อื่น หมายมั่นในอสัทธรรม) และด้วยอสัทธัมมสัญญัตติ์ของเขา นั่นเอง เขายกตนข่มผู้อื่น. ด้วยการกระทำอย่างนี้ ชื่อว่า เขาละปกติภาวะอันดีงามในกาล ก่อน ของเขาเสีย มาตั้งอยู่ในปกติภาวะอันเลวทราม คือมิจฉาทิฏฐิ มิจฉา สังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยเจ้า อสัทธัมม สัญญัตติ์ การยกตน และการข่มผู้อื่น. ด้วยอาการ อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก เป็นอเนกเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่เขาเพราะมีมิจฉาทิฏฐิ เป็น ปัจจัย.

คหบดี ท.! ในบรรดาทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าโลกอื่นไม่มี บุรุษผู้เจริญ (ผู้ถืออยู่ว่าโลก อื่นไม่มี) นี้หลังจากการตายเพราะการทำลาย แห่งกาย จักทำความสวัสดีให้แก่ตนได้ เพราะเหตุนั้น ก็จริงอยู่ แต่ถ้าโลกอื่นไม่มี บุรุษผู้ เจริญนี้ หลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย จักเข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรก เพราะเหตุนั้น เป็นแน่แท้. เอาละ เป็นอันว่าโลกอื่น ก็อย่ามี คำจริงของสมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น ก็ไม่ต้อง เอามากล่าวอ้าง ถึงกระนั้น บุรุษผู้เจริญนั้น ก็ยังจะถูกวิญญูชนติเตียนใน ทิฏฐิธรรมนี้แหละ ว่าเป็นคนทุศีล เป็นมิจฉา ทิฏฐิ เป็น นัตถิกวาท ดังนี้อยู่นั่นเอง. ถ้าว่าโลกอื่นเกิดมีขึ้นมาจริงๆแล้ว การได้รับกระลี๑ ทั้งสองฝ่ าย ย่อมมีแก่บุรุษผู้
………………………………………………………………………………………
๑. คำว่า กระลี (ในบทว่า กลิคฺคาโห) เป็นคำที่แปลเป็นไทยได้ยาก หมายถึงความชั่วร้าย ที่มาจากผีชนิดหนึ่ง ในที่นี้ จึงแปลทับศัพท์ว่า "กระลี" ซึ่งแม้จะแปลว่า ความชั่ว ความเลว ความพ่ายแพ้ ฯลฯ ก็ไม่มีความหมายเมเต็ม ตามความหมายเดิมของคำคำนี้.
…………………………………………………………………………………………
เจริญนั้น กล่าวคือ นทิฏฐิธรรมนี้ ก็ถูกวิญญูชนติเตียน และหลังจากการตายเพราะการทำลาย แห่งกาย ก็เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาตนรก. นี่แหละ คืออปัณณกธรรม (ธรรมอันผิดไม่ได้) นี้ ที่ทุกคนนี้ถือเอาผิดโดยสิ้นเชิงย่อมแผ่ไปโดย ท่าเดียว ตั้งอยู่อย่างลิดรอนซึ่งรากฐาน แห่งกุศล.

คหบดี ท.! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ทั้งสองพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะมีทิฏฐิอย่าง นี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี(ผล) ยัญที่บูชาแล้ว มี(ผล) ...ฯลฯ ... ผู้ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่น รู้ก็มี” ดังนี้นั้น พวกเขาพึงหวังได้ในข้อนี้ คือเลิกละ อกุศลธรรมสามประการกล่าวคือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เสีย แล้วสมาทานประพฤต ิกุศล ธรรมสามประการ กล่าวคือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นแน่นอน.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่าสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นโทษอันต่ำทราม เศร้าหมอง ของอกุศลธรรม และมองเห็น อานิสงส์ ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมขาวผ่องฝ่าย กุศลธรรมทั้งหลาย.

ทิฏฐิของเขา ต่อโลกอื่นซึ่งมีอยู่นั่นเทียว ก็เป็นทิฏฐิที่เห็นว่า โลกอื่นมีอยู่ ทิฏฐินั้นของเขาจึง เป็น สัมมาทิฏฐิ โลกอื่น ซึ่งมีอยู่นั่นเทียว เขาก็ดำริว่าโลกอื่นมีอยู่ ความดำรินั้นของเขา จึงเป็นสัมมาสังกัปปะ. เขากล่าวซึ่งโลกอื่นอันมีอยู่นั่น เทียวว่าโลกอื่นมีอยู่ วาจานั้นของเขา จึงเป็นสัมมาวาจา.

เขากล่าวซึ่งโลกอื่นอันมีอยู่นั่นเทียว ว่าโลกอื่นมีอยู่ เช่นนี้ ชื่อว่าเขาทำตน ไม่เป็นข้าศึก ต่อพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งโลกอื่น. โลกอื่นมีอยู่นั่นเทียว เขาทำให้ผู้อื่น สำคัญว่า โลกอื่น มีอยู่ การกระทำของเขานั้น จึงเป็นสัทธัมมสัญญัตติ์ (ทำให้ผู้อื่นหมาย มั่น ในสัทธรรม) และด้วยสัทธัมม สัญญัตติ์ของเขานั่นเอง เขาย่อมไม่ยกตนข่มผู้อื่น.

ด้วยการกระทำอย่างนี้ ชื่อว่า เขาละปกติภาวะอันเลว ทรามในกาล ก่อนของเขาเสีย มาตั้งอยู่ในภาวะอันดีงาม คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึกต่อ พระอริยเจ้า สัทธัมมสัญญัตติ์ การไม่ยกตัว และการไม่ข่มผู้อื่น. ด้วยอาการอย่างนี้ กุศลธรรมอเนกเหล่านั้น ย่อมเกิด แก่เขาเพราะมีสัมมาทิฏฐิ เป็นปัจจัย.

คหบดี ท.! ในบรรดาทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าโลกอื่นมีอยู่ บุรุษผู้เจริญนี้ หลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะเหตุนั้น. เอาละ เป็นอันว่าโลกอื่นก็อย่ามี กันเลย คำจริงของสมณพราหมณ์ ผู้เจริญเหล่านั้น ก็ไม่ต้องเอามากล่าวอ้าง ถึงกระนั้น บุรุษผู้เจริญนั้น ก็ยังจะเป็น ผู้อันวิญญูชน สรรเสริญในทิฏฐิธรรมนี้แหละ ว่าเป็นคนมีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็น อัตถิกวาท ดังนี้ อยู่นั่นเอง. ถ้าว่า โลกอื่นเกิดมีขึ้นมาจริงๆแล้ว การถือเอาซึ่งความสำเร็จทั้งสองฝ่าย ย่อมมีแก่บุรุษ ผู้เจริญ นั้น กล่าวคือ ในทิฏฐิธรรม นี้ก็เป็ นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญ และหลังจากการตายเพราะการ ทำลาย แห่งกายก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. นี่แหละคือ อปัณณกธรรม (ธรรมอันผิดไม่ได้) นี้ ที่บุคคลนี้ถือเอาถูกโดยสิ้นเชิง ย่อมแผ่ไปโดยส่วนทั้งสอง ตั้งอยู่อย่างลิดรอน ซึ่งรากฐาน แห่งอกุศล.

(สัมมาทิฏฐิแห่งพระบาลีนี้ ยังเป็นประเภท โลกิยสัมมาทิฏฐิ คือยังมีอาสวะ มีความยึดมั่นว่า สัตว์ว่าบุคคล มีความดี ความชั่ว มีนรกสวรรค์ เป็นต้น ซึ่งแบ่งได้เป็นสองฝ่าย.เมื่อมีปัญหา เกิดขึ้น ในลักษณะที่เป็นทิฏฐิ คือเป็นเพียงความ เห็น ไม่มีประจักษ์พยานที่เป็นวัตถุสิ่งของมา แสดงให้เห็นชัดได้ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสร้างทิฏฐิขึ้นมาใน ลักษณะที่เป็นไปเพื่อ ประโยชน์สุขโดยส่วนเดียว.

ตัวอย่างปัญหา เกิดขึ้นมาว่า โลกอื่นมีหรือไม่มี เราจะต้องถือเอา ข้างฝ่ายทิฏฐิที่ทำให้เกิด ประโยชน์ โดยส่วนเดียว ซึ่งในที่นี้ได้แก่ทิฏฐิ ที่ถือว่าโลกอื่นมี ซึ่งเป็นเหตุให้ขวนขวาย บำเพ็ญประโยชน์อันเป็นไปเพื่อโลกอื่น และได้รับประโยชน์สุข ในโลกอื่น ถ้าเผอิญโลกอื่นไม่มี ตนก็ไม่เสียประ โยชน์อะไร การกระทำเพื่อประโยชน์โลกอื่น ก็ไม่เสียเปล่า คือเป็นความดี ที่ได้รับการสรรเสริญ จากวิญญูชนในโลกนี้ และได้รับประโยชน์สุข ในโลกนี้่อย่างเต็มที่.

ดังนั้นจึงสรุปว่า การมีทิฏฐิว่าโลกอื่นมี ย่อมถือเอาได้ซึ่งประโยชน์โดยส่วนสอง คือแม้โลกอื่น จะไม่มีก็ยังได้รับ ประโยชน์ ยิ่งโลกอื่นมีก็ยิ่ง ได้รับประโยชน์จึง เรียกทิฏฐิชนิดนี้ว่าป็น อปัณณกธรรม คือธรรมที่ผิดไม่ได้ทั้งสองฝ่าย เป็นสัมมาทิฏฐิที่ตัดปัญหาออกไปเสียได้โดย ประการทั้งปวง ในเมื่อเกิดปัญหาที่แย้งกันอย่างตรงข้าม เป็นสองฝ่าย ดังที่กล่าวไว้ใน พระบาลีนี้.

เราจึงถือว่า สัมมาทิฏฐิ ชนิดนี้ระงับผลร้าย เสียได้ ในเมื่อเกิดการขัดแย้งในระหว่างลัทธิ. ในความขัดแย้งระหว่างทิฏฐิคู่อื่นๆ เช่นทิฏฐิว่า การกระทำไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำหรือการ กระทำชื่อว่าเป็นอันกระทำ (ทำบุญทำบาปไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ หรือทำบุญทำบาปชื่อว่า เป็นอันกระทำ) เกิดเป็นปัญหาขัดแย้งกันขึ้น มาแล้ว พึงเลือกถือเอาทิฏฐิ ข้างฝ่ายที่จะผิด ไม่ได้อีกอย่างเดียวกัน คือทิฏฐิที่ว่า การกระทำชื่อว่าเป็นอันกระทำ และเลือกกระทำแต่ฝ่าย ข้างดี แม้สมมุติว่าการกระทำนั้นจะไม่เป็นการกระทำ เขาก็ยังได้รับผลของการกระทำ คือเป็นที่สรรเสริญแห่งวิญญูชน และผู้นั้นก็ได้รับ ประโยชน์สุขอยู่นั่นเอง.

นี้เป็น สัมมาทิฏฐิที่ควรมี หรือถือเป็นหลัก ในเมื่อเกิดการขัดแย้งขึ้น เกี่ยวกับลัทธิที่ต่างกัน ชนิดหนึ่ง.

สำหรับทิฏฐิที่ว่ามีเหตุหรือไม่มีเหตุแห่งความเศร้าหมอง หรือความบริสุทธิ์ของสัตว์ นั้นก็มีหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกัน คือถ้า ถือว่า มีเหตุ ก็จะเป็นความปลอดภัยกว่าการถือว่า ไม่มีเหตุ. ผู้ที่ถือว่ามีเหตุ ย่อมกระทำการกระทำที่เป็นการ สร้างเหตุดีเว้นเหตุชั่ว สมมุติว่า สิ่งทั้งหลาย จะเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุขึ้นมา การกระทำของเขาก็ยังเป็นความดี ทั้งสองสถาน คือวิญญูชนสรรเสริญและเขาก็ได้รับผลดีแห่งการกระทำ ของเขา คือเป็นสุขทั้งโลกนี้ และโลกอื่น. แม้นี้ก็คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ควรสร้างขึ้น เมื่อมีการขัดแย้งระหว่างลัทธิ ด้วยเหมือนกัน.

สำหรับทิฏฐิที่ว่า อารุปปธรรม (คุณสมบัติที่เป็นสภาวะไม่มีรูป) เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือไม่ได้มีอยู่นั้น วิญญูชนจะเลือกถือเอา ข้างที่ว่า มีอยู่ และ ปฏิบัติเพื่อให้ได้ซึ่งคุณธรรมประเภทที่ไม่มีรูปนั้น เขาก็จะได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือสมมุติว่า ถ้าอารุปปธรรมเป็นสิ่งที่มิได้มีอยู่ เขาก็ยัง ได้รับประโยชน์ที่รองลงมา คือ รุปปธรรม (คุณสมบัติหรือคุณค่าที่มีรูป).

ถ้าหากว่าอารุปธรรมมีจริ งเขาก็จะได้รับคุณค่า หรือประโยชน์ ชั้นที่ เป็นอารุปปธรรมนั้นตาม ความ มุ่งหมาย. ดังนั้น การที่ถือว่าอารุปธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่นั้น จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ไม่อาจ จะผิดได้ในเมื่อเกิดการ ขัดแย้งกันขึ้นในระหว่าง ลัทธิ.

อนึ่ง ถ้าอธิบายตามแบบเก่าๆ อย่างในอรรถกถา ก็คือให้ถือว่า อรูปพรหมมีอยู่ แล้วปฏิบัติเพื่อ อรูปพรหมนั้น ถ้าสมมุติ ว่าอรูปพรหมไม่มี ก็ยังได้รับผลเป็นรูปพรหมที่รองลงมา แต่ถ้า อรูปพรหม มีก็จะได้รับผลเต็มตามความหมาย ของอรูปพรหม จึงถือว่าเป็นทิฏฐิที่ถูกต้อง. อีกอย่างหนึ่ง ถ้ากล่าวสำหรับผู้มีการศึกษาแห่งยุคปัจจุบัน ก็ต้องกล่าวว่า คุณค่าหรือคุณสมบัติ ชนิดที่ไม่ต้องมีสภาวะ เป็นรูปธรรม (คือไม่ เป็นวัตถุนิยม) นั้นก็มีอยู่และมีผลเป็นความสะดวก กว่า สบายกว่าเป็นสุขสงบกว่าประเสริฐกว่า เพราะไม่ต้องมีการกระทบกระทั่งฝ่ายรูปธรรม เช่นการ ทะเลาะ วิวาทหรือป่วยไข้ทางร่างกายเป็นต้น.

สำหรับทิฏฐิว่า ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือไม่มีนั้นวิญญูชนจะถือ เอาข้างฝ่ายที่ถือว่า มีความดับแห่งภพ แล้วก็ ปฏิบัติ เพื่อความดับแห่งภพ เขาก็จะได้รับผล เป็นปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้ ส่วนพวกที่ถือว่า ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มีนั้น เขาก็จะไปติดตันตายด้านอยู่เพียงแค่อรูปภพอันเป็นภพสูงสุด. ดังนั้น การถือว่า ความดับ แห่งภพ โดยประการทั้งปวงมีอยู่ นั้นเป็นสัมมา ทิฏฐิ ที่ไม่มีทางจะผิดได้ ในเมื่อมีการมีการ ทุ่มเถียง ขัดแย้งกันระหว่างลัทธิ.

สรุปความว่า ปัญหาทางลัทธินั้น คือปัญหาเกี่ยวกับ สิ่งที่ไม่อาจมองเห็นตัว หรือได้ยินเสียง โดยตรง จนถึงกับเรา กล่าวว่ามันเป็นอย่างไรๆได ดังนั้น จึงต้องตั้งขึ้นเป็นลัทธิชนิดที่เป็น สัมมาทิฏฐิ คือทำให้ได้รับประโยชน์โดยส่วนเดียว เกี่ยวกับสิ่งที่เขามองไม่เห็น หรือฟังเสียง โดย ตรงไม่ได้นั้นๆ เราจึงต้องจัดทำหรือต้องมีอย่างถูกต้องชนิดผิดไม่ได้ ดังที่กล่าวไว้ใน หัวข้อ ธรรมะเหล่านี้).


954
การเห็นกายและเวทนาในระดับแห่งผู้หลุดพ้น


อัคคิเวสสนะ ! กายนี้ มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วย ข้าวสุก และขนมสด ทั้งที่มีการขัดสีนวดฟั้นอยู่ ก็ยังมี-การแตกสลายกระจัดกระจาย เพราะ ความไม่เที่ยงนั่นเองเป็นธรรมดา อันบุคคล ควรตามเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็น ทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝีเป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น(ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ ตน.

เมื่อบุคคคลนั้น ตามเห็นอยู่ ซึ่งกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น(ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน ความพอใจในกาย ความสิเนหาในกาย ความตก อยู่ในอำนาจ ของกาย ที่มีอยู่ในกาย เขาย่อมละเสียได้.

อัคคิเวสสนะ ! เวทนาสามอย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือสุขเวทนาทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวยสุขเวทนา สมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุข เวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่สุขเวทนา เท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวย ทุกขเวทนา สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุข เวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด บุคคลเสวย อทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุข เวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา สมัยนั้นคงเสวยแต่ อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจา) เป็นของปรุงแต่ง (สงฺขตา) เป็นของอาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา) มีความสิ้น ไป เป็นธรรมดา (ขยธมฺมา) มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา (วยธมฺมา) มีความจางคลาย ไปเป็นธรรมดา (วิราคธมฺมา) มีความดับไปเป็นธรรมดา (นิโรธธมฺมา).

อัคคิเวสสนะ ! แม้ทุกขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นของอาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.

อัคคิเวสสนะ ! แม้อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นของ ปรุงแต่ง เป็นของอาศัย กันเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็น ธรรมดา มีความดับไปเป็น ธรรมดา.

อัคคิเวสสนะ ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอย่างอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

อัคคิเวสสนะ ! ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่กล่าวคำประจบใครๆ ย่อมไม่กล่าวคำ ขัดแย้งใครๆ และโวหารใดที่เขากล่าวกัน อยู่ใน โลกเธอก็กล่าวโดยโวหารนั้น ไม่ยึดมั่นความ หมายไรๆ อยู่. (เมื่อจบพระพุทธดำรัสนี้พระสารีบุตร ผู้ถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังได้บรรลุ พระอรหันต์.)


955
สัมมาทิฏฐิในการเจริญธรรมสาม
เพื่อละธรรมสาม

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า?
สามอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่างนั้น.
ภิกษุ ท. ! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญซึ่งธรรม๓ อย่าง.
ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
เจริญ อสุภะ เพื่อละเสียซึ่ง ราคะ
เจริญ เมตตา เพื่อละเสียซึ่ง โทสะ
เจริญ ปัญญา เพื่อละเสียซึ่ง โมหะ.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อละเสีย ซึ่งธรรมสามอย่าง เหล่าโน้นแล.


956
สัมมาทิฏฐิในการเจริญธรรมสามเพื่อละธรรมสาม
(อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า?สามอย่าง คือ กามสัญญา พ๎ยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่างนั้น.
ภิกษุ ท. ! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญซึ่งธรรม
๓ อย่าง. ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า? สามอย่างคือ

เจริญ เนกขัมมสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง กามสัญญา
เจริญ อัพ๎ยาปาทสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง พ๎ยาปาทสัญญา
เจริญ อวิหิงสาสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง วิหิงสาสัญญา

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญ เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่าโน้น แล.


957
สัมมาทิฏฐิในการเจริญธรรมสามเพื่อละธรรมสาม
(อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า?สามอย่าง คือ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่างนั้น.
ภิกษุ ท. ! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญธรรม ๓อย่าง. ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า?
สามอย่างคือ
เจริญ เนกขัมมวิตก เพื่อละเสียซึ่ง กามวิตก
เจริญ อัพ๎ยาปาทสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง พ๎ยาปาทวิตก
เจริญ อวิหิงสาวิตก เพื่อละเสียซึ่ง วิหิงสาวิตก.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญ เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นแล.


957-1
สัมมาทิฏฐิในการเจริญธรรมสามเพื่อละธรรมสาม
(อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า?สามอย่าง คือ กามธาตุ พ๎ยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลธรรม ๓ อย่างนั้น.
ภิกษุ ท. ! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญซึ่งธรรม ๓ อย่าง.

ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า? สามอย่างคือ
เจริญ เนกขัมมธาตุ เพื่อละเสียซึ่ง กามธาตุ
เจริญ อัพ๎ยาปาทสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง พ๎ยาปาทวิตก
เจริญ อวิหิงสาธาตุ เพื่อละเสียซึ่ง วิหิงสาธาตุ.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อละเสีย ซึ่งธรรมสามอย่าง เหล่าโน้นแล.


957-2
ข้อปฎิบัติเกี่ยวกับ ธาตุห้า


ราหุล ! รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันอุปาทาน (ของคนหรือสัตว์) เข้าไปถือ เอา แล้ว. ตัวอย่างเช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารใน กระเพาะ อุจจาระหรือจะยังมีรูปแม้อื่น อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของหยาบ มีลักษณะ แข้นแข็ง อันอุปาทาน (ของคนหรือสัตว์) เข้าไป ถือเอาแล้ว อย่างเดียวกันนี้.

ราหุล ! นี้ เรียกว่า ปฐวีธาตุ (1)อันเป็นภายใน. ปฐวีธาตุอันใด อันเป็นภายในด้วย ปฐวีธาตุ อันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าปฐวีธาตุ เสมอกัน.

ใครๆพึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อ หน่ายต่อปฐวีธาตุ ย่อมคลายกำหนัด จาก ปฐวีธาตุ.

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดิน (ปฐวี) เถิด. เมื่อเธอจงอบรมจิตให้เสมอ ด้วย แผ่นดิน อยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและ ไม่น่า พอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่.

ราหุล ! เปรียบเหมือนเมื่อคนเขาทิ้ง ของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง หนองบ้าง โลหิตบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอา รังเกียจด้วย สิ่งเหล่านั้น นี้ฉันใด

ราหุล !เธอจงอบรมจิต ให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะ ทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้น เหมือนกัน.

ราหุล ! อาโปธาตุ (2) เป็นอย่างไรเล่า? อาโปธาตุมีทั้งที่เป็นภายในและเป็นภายนอก. ราหุล! อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า? อาโปธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของ เหลว อันอุปาทาน (ของคนหรือของสัตว์) เข้าไปถือเอาแล้ว ตัวอย่างเช่น น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มันน้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำหล่อลื่นข้อ น้ำมูตร นี้ก็ดี หรือจะยังมี อาโปธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเหลว อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี.

ราหุล! อาโปธาตุทั้งสองประเภทนี้เรียกว่า อาโปธาตุ อันเป็นภายใน.

อาโปธาตุอันเป็นภายในด้วย อาโปธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าอาโปธาตุ เท่านั้น. ใครๆพึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญา อันชอบตามเป็ นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ เป็น เรานั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย ต่ออาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจาก อาโปธาตุ.

ราหุล ! เธอจงอบรมจิต ให้เสมอด้วยนํ้า (อาโป) เถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจอัน เกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่.

[ข้อความต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่น้ำไม่อึดอัดระอา ต่อสิ่งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลนานาชนิด (ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน) ที่เขาล้างลงไปในน้ำ อันเป็นอุปมาของจิต ที่อบรมแล้ว เสมอด้วยน้ำ ฉันใดก็ฉันนั้น].

ราหุล ! เตโชธาตุ (3) เป็นอย่างไรเล่า? เตโชธาตุมีทั้งที่เป็นภายในและเป็นภายนอก. ราหุล ! เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า? เตโชธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเผา ผลาญ อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว ตัวอย่างเช่น ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยัง กายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ให้แปรไปโดยชอบ นี้ก็ดี หรือจะ ยัง มีเตโชธาตุ อันเป็นภายในเฉพาะตน เป็นของเผาผลาญ อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี.

ราหุล ! เตโช ธาตุ ทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่า เตโชธาตุอันเป็นภายใน. เตโชธาตุอันเป็น ภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าเตโชธาตุ เท่านั้น. ใครๆพึงเห็นเต โชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตาม เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็น เตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่อเตโชธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากเตโชธาตุ. ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยไฟ (เตโช) เถิด.

เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้ว จัก ไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. [ข้อความต่อไปจากนี ตรัสถึงการที่ไฟไม่อึดอัดระอา ต่อสิ่งปฎิกูล และไม่ปฎิกูลนานาชนิด (ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน) ที่เขาทิ้งลงไปให้มันไหม้ อันเป็นอุปมาของจิตที่อบรมแล้วเสมอด้วยไฟ ฉันใดก็ฉันนั้น].

ราหุล ! วาโยธาตุ (4) เป็นอย่างไรเล่า? วาโยธาตุมีทั้งที่เป็นภายใน และเป็นภายนอก.
ราหุล! วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า? วาโยธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว ตัวอย่างเช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลง เบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจ ออก นี้ก็ดี หรือจะยังมีวาโยธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี.

ราหุล! วาโยธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่าวาโยธาตุอันเป็นภายใน. วาโยธาตุอันเป็นภายใน ด้วย วาโยธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าวาโยธาตุ เท่านั้น. ใครๆพึงเห็นวาโยธาต ุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรานั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อม เบื่อหน่ายต่อวาโยธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากวาโยธาตุ.

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยลม (วาโย) เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้วจักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. [ข้อความต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่ลมไม่อึดอัดระอาต่อสิ่ง ปฎิกูลและไม่ปฎิกูลนานาชนิด (ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน) ที่ลมพัดผ่านเข้าไป อันเป็นอุปมาของจิตที่ อบรมแล้ว เสมอด้วย ลม ฉันใดก็ฉันนั้น].

ราหุล ! อากาสธาตุ (5) เป็นอย่างไรเล่า? อากาสธาตุมีทั้งที่เป็นภายใน และ เป็นภายนอก. ราหุล ! อากาศธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า?อากาสธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของแสดงลักษณะแห่งความว่าง อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว ตัวอย่างเช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ที่ว่างที่อาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ผ่านไป ที่ว่างที่อาหาร อันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ตั้งอยู่ ช่องที่อาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้วเคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ออกสู่เบื้องล่าง นี้ก็ดี หรือจะยังมีอากาสธาตุ อันเป็นภายในเฉพาะตน เป็นของแสดงลักษณะ แห่งความว่าง ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ ซึ่งไม่ตันมีลักษณะไม่ตัน เป็นของเปิด มีลักษณะเปิด อันเนื้อและเลือดไม่เข้าไปบรรจุอยู่ อันเป็นภายใน อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว อันใดก็ดี.

ราหุล ! อากาสธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่าอากาสธาตุอันเป็นภายใน. อากาสธาตุอันเป็น ภายในด้วย อากาสธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าอากาสธาตุ เท่านั้น. ใครๆพึง เห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่ออากาสธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากอากาสธาตุ.

ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสเถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้วจักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่.

ราหุล!เปรียบเหมือนอากาส เป็นสิ่งมิได้ตั้งอยู่เฉพาะ ในที่ไรๆนี้ฉันใด ราหุล! เธอจงอบรมจิต ให้เสมอ ด้วย อากาสเถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.


963
สัมมาทิฏฐิ
ในอาเนญชสัปปายปฏิปทา

ข้อที่หนึ่ง
ภิกษุ ท. ! ในข้อที่กามเป็นอันตรายแก่อริยสาวก ผู้ศึกษาอยู่ในธรรม-วินัยนี้นั้น อริยสาวกย่อม พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า “กามและ กาม สัญญาอันเป็นไปในทิฏฐธรรม (ภพนี้) และเป็นไปในสัมปรายะ (ภพอื่น) ทั้งสองอย่างนั้นเป็นบ่วงมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่ง มาร เป็นที่เที่ยวแห่งมาร. ในบ่วงแห่งมารนี้ บาปอกุศลทางใจเหล่านี้ เป็นอภิชฌาบ้าง เป็นพยาบาทบ้าง เป็นสารัมภะ (ความแข่งดี)บ้าง ย่อมเป็นไป บาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมมี เพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวก ผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้.

ถ้าอย่างไร เราพึงมีจิตเป็นมหัคคตะ อันไพบูลย์ อธิษฐานจิตครอบงำโลก อยู่เถิด เมื่อเรามีจิต เป็นมหัคคตะอันไพบูลย์ อธิษฐานจิตครอบ งำโลกอยู่ บาปอกุศลทางใจเป็นอภิชฌาบ้าง เป็นพยาบาทบ้าง เป็นสารัมภะบ้าง เหล่านั้น จักไม่มี เพราะละบาปอกุศลเหล่านั้นเสียได้ จิตของเราก็จักเป็นจิตมีคุณไม่เล็กน้อย เป็นจิตไม่มีประมาณเป็นจิตอันอบรมดีแล้ว” ดังนี้.

เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้อยู่ จิตย่อมเลื่อมใสใน อายตนะ๑ เมื่อจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้า ถึง
………………………………………………………………………………………………
๑. คำว่า อายตนะ ในที่นี้ ไม่หมายถึงนิพพาน อันเป็นอายตนะสูงสุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่หมายถึงอายตนะคือภาวะแห่งอรูปสัญญา ทั้งสี่ คือ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เนวสัญญานา สัญญายตนะ โดยเฉพาะ เพราะไม่มีรูปหรือสัญญา ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความหวั่นไหว แต่บางมติหมายต่ำลงมา ถึงจตุตถฌานอันเป็น อาเนญชะในขั้นริเริ่ม ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เพราะยัง อาศัย สิ่งซึ่งมีรูป ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เพราะ ยัง อาศัยสิ่งซึ่งมีรูป หรือรูปสัญญาอยู่.

เพราะข้อปฏิบัติดังกล่าวแล้วข้างต้น ทำให้ง่ายและสะดวก แก่การลุถึงภพประเภทนี้ จึงได้ชื่อว่า อาเนญชสัปปายปฏิปทา. ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นฝ่ายสมถะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่เจโตวิมุตติโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาได้ด้วย ดังนั้นท่านจึงกล่าวอานิสงส์ของคำนี้ว่า เพื่อเข้าถึง อาเนญชะหรือน้อมไปเพื่อปัญญาก็ได้.

………………………………………………………………………………………………

อาเนญช (สมาบัติ) ในกาลนั้นหรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลาย แห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่ เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึงซึ่งภพในระดับ อาเนญชะ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อาเนญชสัปปายปฏิปทาข้อที่หนึ่ง.

ข้อที่สอง
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นโทษโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า กามและ กามสัญญาอันเป็นไปในทิฏฐธรรม และเป็นไปในสัมปรายะ อันเป็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงสักว่ารูป คือเป็น เพียงมหาภูตรูปสี่ และรูปอาศัยมหาภูตรูปสี่นั้นอยู่ เท่านั้น” ดังนี้. เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่ จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอาเนญช(สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา ภายหลัง แต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะ ที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึง ซึ่งภพในระดับอาเนญชะ.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อาเนญชสัปปายปฏิปทาข้อที่สอง.

ข้อที่สาม
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามและกาม สัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปใน สัมปรายะก็ดี รูปและรูปสัญญาอันเป็นไปใน สัมปรายะ ก็ดี ทั้งสองอย่างนั้น เป็ นอนิจจัง สิ่งใดเป็ นอนิจจัง สิ่งนั้นไม่ควรเพื่อจะเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา”ดังนี้.

เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้อยู่จิต ย่อมเลื่อมใสใ นอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะ เข้าถึงอาเนญช(สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึง ซึ่งภพในระดับอาเนญชะ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อาเนญชสัปปายปฏิปทาข้อที่สาม.


965
สัมมาทิฏฐิในอากิญจัญญายตนสัปปายปฏิปทา


ข้อที่หนึ่ง
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามและกาม สัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปใน สัมปรายะก็ดี รูปและรูปสัญญา อันเป็นไปใน ทิฏฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะก็ดี อาเนญชสัญญา ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั้น ดับไม่มีส่วนเหลือ ในธรรมใดธรรมนั้นสงบ ธรรมนั้นประณีต กล่าวคือ อากิญจัญญายตนะ” ดังนี้.

เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการ ปฏิบัติอย่างนี้ อยู่จิตย่อมเลื่อมใสใน อายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อม ไป เพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึงอากิญ จัญญายตนะ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อากิญจัญญายตนะ สัปปายปฏิปทาข้อที่หนึ่ง.

ข้อที่สอง
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวกไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม ย่อม พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า “อายตนะนี้ ว่างจากอัตตา ว่างจากอัตตนิยา”ดังนี้. เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้อยู่จิต ย่อมเลื่อมใสใน อายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการ ทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณ ที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อากิญ จัญญายตนะสัปปายปฏิปทาข้อที่สอง.

ข้อที่สาม
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก อริยสาวกไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม ย่อม พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ว่า “ไม่มีอะไรที่เป็น ตัวเรา ความกังวลต่อสิ่งใด หรือในอะไรๆว่า เป็นตัวเราก็ไม่มี และไม่มีอะไรที่เป็นของเรา ความกังวลในสิ่งใดๆว่าเป็นของเราก็ไม่มี” ดังนี้.

เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่จิตย่อมเลื่อมใสใน อายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้า ถึงอากิญจัญญายตนะ (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณ ที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อากิญจัญญายตนะสัปปายปฏิปทาข้อที่สาม.

[คำว่า อากิญจัญญายตนะ คำนี้ เป็นคำแปลกและกำกวม เคยใช้ให้มีความหมายเป็นนิพพาน มาแต่ก่อนพุทธศาสนา หรือนอกพุทธศาสนา เช่นในสำนักของพาวรีพราหมณ์ (ที่เป็นต้นเหตุ ให้เกิดโสฬสปัญหา) นั้นเขาถือว่าเป็นนิพพาน จึงมาทูลขอให้พระองค์ทรงแสดงอากิญ จัญญายตนะ ตามแบบของพระองค์ ในฐานะที่เป็นนิพพาน ดังนั้นในสูตรนี้ จึงมีบทพิจารณา ทำนองเดียวกับนิพพาน เช่นคำว่านั่นว่างจาก อัตตา ว่างจากอัตตนิยา หรือว่านั่นสงบนั่น ประณีต ดังนี้เป็นต้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง อย่าให้ปะปนกันเสีย จะมีความ เข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง].


967
สัมมาทิฏฐิในเนวสัญญา นาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา


ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามและกาม สัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและ เป็นไปใน สัมปรายะก็ดีรูปและรูปสัญญา อันเป็นไปใน ทิฏฐธรรม และเป็นไปในสัมปรายะ ก็ดี อาเนญชสัญญา ก็ดี อากิญจัญญายตนสัญญาก็ดี สัญญา ทั้งหมดนั้น ดับไม่มีส่วนเหลือในธรรมใด ธรรมนั้นประณีต กล่าวคือ เนวสัญญานา สัญญายตนะ”.

เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่จิตย่อมเลื่อมใสใน อายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้า ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ(สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณ ที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา.


968
สัมมาทิฏฐิต่อโอฆนิตถรณะ


อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิปทาอันเป็นที่สบาย (สัปปายปฏิปทา) แก่อาเนญชา มาตามลำดับๆ) อย่างนี้แล้ว ย่อมได้ เฉพาะซึ่งอุเบกขา(ความเข้าไปเพ่งอยู่) ว่า ถ้า (ปัจจัย) ไม่เคยมี (ผล) ก็ต้องไม่มีอยู่แก่เรา ถ้า (ปัจจัยเพื่ออนาคต) จักไม่มีอยู่ (ผลในอนาคต) ก็ต้องไม่มีแก่เรา.

สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดเป็นแล้ว เราย่อมละได้ซึ่งสิ่งนั้น” ดังนี้.

ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งอุเบกขานั้น ดำรงอยู่.

เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งอุเบกขานั้นดำรงอยู่ วิญญาณนั้นเป็นวิญญาณอันตัณหาไม่อาศัยแล้ว นั่นคือภาวะไม่มีอุปาทาน.

อานนท์ ! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน (ดับเย็น).

น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ! ไม่เคยมีแล้วพระเจ้าข้า ! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ได้ทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยแล้วทรงอาศัยแล้ว (ซึ่งปฏิปทาอันทรงแสดงมาแล้วตามลำดับ) ตรัสบอกซึ่งโอฆนิตถรณะ(การถอนตนขึ้นจากโอฆะ) แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้ว”.

(คำว่า โอฆนิตถรณะ ในที่นี้ คือ การถอนตนขึ้นจากโอฆะ (ความตกจมอยู่ในกิเลสและ ความทุกข์ ด้วยกาม - ทิฏฐิ - ภพ - อวิชชา) เป็นสิ่งที่มีได้ในภพปัจจุบัน กล่าวคือไม่ยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นทั้งหลาย อันมีเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งสูง สุด สำหรับการยึดมั่นถือมั่น และไม่ยึดมั่น แม้แต่ในการบรรลุธรรมของตน เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็ดับเย็น เป็นปรินิพพาน นี้เรียกว่า โอฆนิต ถรณะ หรือ อริยวิโมกข์ ก็เรียก (ดูได้ในหัวข้อ หรือเรื่อง ถัดไป)เป็นสิ่งที่มีได้ในภพปัจจุบัน).


969
อริยวิโมกข์
หรือโอฆนิตถรณะ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อริยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษอันประเสริฐ) เป็นอย่างไรเล่า ?”

อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโทษโดยประจักษ์ดังนี้ว่า
กามทั้งหลาย ที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย
กามทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย

กามสัญญา ที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย
กามสัญญาที่เป็นไปในภพ เบื้องหน้า เหล่าใดด้วย

รูปทั้งหลาย ที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย
รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย

รูปสัญญาทั้งหลาย ที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย
รูปสัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย

อาเนญชสัญญา เหล่าใดด้วย อากิญจัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย

นั่นล้วนแต่เป็น สักกายะ เป็นแต่เพียงสักกายะ (เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือด้วยอุปาทาน)
ส่วนอมตธรรมนั้น ได้แก่วิโมกข์แห่งจิต เพราะไม่มีอุปาทานใน สักกายะนั้นๆนี่เอง”.

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ เป็นอันว่า อาเนญชสัปปายปฏิปทา เราได้แสดงแล้ว อากิญจัญญาย ตนสัปปายปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา เราก็ได้แสดง แล้ว การอาศัยปฏิปทานั้นๆตามลำดับๆ แล้วข้ามโอฆะเสียได้ เราได้แสดงแล้ว นั่นแหละคือ อริยวิโมกข์.

อานนท์ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ แก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้นเราได้ทำแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย.

อานนท์ ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.

อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลายอย่าได้เป็น ผู้ที่ต้อง ร้อนใจ ในภายหลังเลย.

นี่แหละ เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนแก่พวกเธอทั้งหลายของเรา.


970
วิธีพิจารณา
เพื่อ “หมดปัญหา” เกี่ยวกับอาหาร

ภิกษุ ท. ! กพฬีการาหาร เป็นสิ่งที่บุคคลควรเห็นอย่างไร? ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนภรรยาสามี สองคน ถือเอาสะเบียง สำหรับเดินทางเล็กน้อย เดินไปสู่หนทางอันกันดาร.

สองภรรยาสามีนั้น มีบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารัก น่าเอ็นดูอยู่คนหนึ่ง. เมื่อขณะเขาทั้งสองกำลัง เดินไป ตามทาง อันกันดารอยู่นั้น สะเบียง สำหรับเดินทางที่เขามีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้น ได้หมดสิ้นไปหนทางอันกันดารนั้น ยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองนั้นยังไม่เดินข้ามหนทาง อันกันดาร นั้นไปได้.ครั้งนั้นแล สองภรรยาสามีนั้นได้คิดกันว่า

“เสบียงสำหรับเดินทางของเราทั้งสอง ที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนี้ ได้หมดสิ้นลงแล้ว หนทางอัน กันดารนี้ ยังเหลือ อยู่ทั้งเราก็ยังไม่เดินข้าม หนทางอันกันดารนั้นไปได้ อย่ากระนั้นเลยเรา ทั้งสอง พึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียว ผู้น่ารักน่าเอ็นดูนี้เสีย แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนี้แหละ เดินข้ามหนทางอันกันดาร ที่ยังเหลืออยู่นี้กันเถิด เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น พวกเราทั้งสามคนจะต้องพากันพินาศหมด แน” ดังนี้.


ครั้งนั้นแล ภรรยาสามีทั้งสองนั้น จึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียว ผู้น่ารักน่าเอ็นดูนั้น แล้วทำให้ เป็น เนื้อเค็ม และเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนั้น เทียวเดินข้ามหนทางอันกันดาร ที่ยังเหลือ อยู่นั้น.

สองภรรยาสามีนั้น บริโภคเนื้อบุตรไปพลาง พร้อมกับข้อนอกไปพลาง รำพันว่า “บุตรน้อย คนเดียว ของเราไปไหนเสีย บุตรน้อยคนเดียว ของเราไปไหนเสีย” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร สองภรรยาสามีนั้น จะพึงบริโภคเนื้อบุตร เป็นอาหารเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนานบ้าง เพื่อความมัวเมาบ้าง เพื่อความประดับประดา บ้าง หรือเพื่อตบแต่ง (ร่างกาย)บ้างหรือหนอ? ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่พระเจ้าข้า !”

ถ้าอย่างนั้น สองภรรยาสามีนั้น จะพึงบริโภคเนื้อบุตร เป็นอาหารเพียงเพื่อ (อาศัย) เดินข้าม หนทาง อันกันดารเท่านั้น ใช่ไหม?
ใช่พระเจ้าข้า !”

ถ้าอย่างนั้น ภิกษุ ท. ! ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เรากล่าวว่ากพฬีการาหาร อันอริยสาวกควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนเนื้อบุตร) ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! กพฬีการาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว ราคะ (ความกำหนัด) ที่มีเบญจ กามคุณ เป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ ได้แล้วด้วย.

เมื่อราคะที่มีเบญจ กามคุณ เป็นแดนเกิด เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ได้แล้ว สังโยชน์ ชนิดที่อริยสาวกประกอบ เข้าแล้ว จะพึงเป็ นเหตุให้มาสู่โลกนี้ได้อีกย่อมไม่มี.

ภิกษุ ท. ! ผัสสาหาร เป็นสิ่งที่บุคคลควรเห็นอย่างไร? ภิกษุ ท. !เปรียบเหมือนแม่โคนม ที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืน พิงฝาอยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกตัวสัตว์ที่อาศัย ฝาเจาะกิน ถ้าแม่โคนมนั้น พึงยืนพิงต้นไม้อยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ชนิดอาศัยต้นไม้ ไชกิน ถ้าหากแม่โคนมนั้น พึงลงไปแช่น้ำอยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำ ตอดกันกิน ถ้าหากแม่โคนมนั้น จะพึงยืนอาศัยอยู่ในที่ โล่งแจ้งไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัย อยู่ในอากาศเกาะกัดจิกกิน.

ภิกษุ ท. ! แม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้มจะพึงอาศัยอยู่สถานที่ใด ๆ ก็ตาม มันก็จะพึงถูก จำพวก สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ กัดกิน อยู่ร่ำไป ข้อนี้มีอุปมาฉันใด

ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวว่าผัสสาหาร อันอริยสาวกควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนแม่โคนมที่ปราศ จากหนังห่อหุ้ม) ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! เมื่อผัสสาหารอันอริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว เวทนาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริย สาวกนั้น กำหนดรู้ได้แล้วด้วย เมื่อเวทนาทั้งสามเป็ นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า “สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! มโนสัญเจตนาหาร เป็นสิ่งที่บุคคลควรเห็นอย่างไร? ภิกษุท. ! เปรียบเหมือนหลุม ถ่านเพลิง ลึกเกินกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วย ถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว และปราศจากควัน มีอยู่.

ครั้งนั้น บรุษผู้หนึ่งผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษที่มี กำลัง กล้าแข็งอีกสองคนจับบุรุษนั้นที่แขน แต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าไปยังหลุมถ่านเพลิงนั้น.

ภิกษุ ท. !ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นมีความคิด ความปรารถนา ความตั้งใจ ที่จะให้ห่างไกลหลุมถ่าน เพลิงนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าบุรุษนั้นย่อมรู้ว่า “ถ้าเราจะ ตกลงไปยังหลุมถ่านเพลิงไซร้ เราพึงถึงความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ” ดังนี้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด

ภิกษุท. ! เราย่อมกล่าวว่า มโนสัญเจตนาหารอันอริยสาวก ควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนหลุม ถ่านเพลิง) ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! เมื่อมโนสัญเจตนาหารอันอริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว ตัณหาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่ อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย เมื่อตัณหา ทั้งสามเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไรๆที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณาหารเป็นสิ่งที่บุคคลเห็นอย่างไร? ภิกษุ ท. !เปรียบเหมือนพวกเจ้าหน้าที่ จับโจรผู้ประพฤติหยาบช้าได้แล้ว แสดงแก่ พระราชาว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ! บุรุษนี้เป็นโจร ประพฤติหยาบช้าต่อใต้ฝ่าพระบาท ขอใต้ฝ่าพระบาทจงโปรดให้ลงโทษโจรผู้นี้ตาม ประสงค์ เถิด พระเจ้าข้า!"พระราชามีกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงไป ประหารบุรุษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้านี้” เจ้าหน้าที่เหล่านั้นจึงประหารนักโทษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า.

ต่อมา ในเวลาเที่ยงวันพระราชาทรงซักถามพวก เจ้าหน้าที่นั้น ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! บุรุษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง?”.

พวกเขากราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า !”.พระราชา ทรงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไปประหารบุรุษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยง”.

พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษนั้นด้วยหอก ร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยง. ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! บุรุษนั้นเป็นอย่างไร บ้าง?”.

พวกเขากราบทูลว่า “ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า !”. พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอีกว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงไปประหาร บุรุษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น” ดังนี้. พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนักโทษ นั้นถูกเจ้าหน้าที่ประหาร อยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่ม ตลอดทั้งวัน เขาจะพึง เสวยแต่ทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ?

ภิกษุ ท. ! บุรุษนักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหาร ด้วยหอกเพียงเล่มเดียว ก็พึง เสวยทุกขโทมนัส ที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ (มากอยู่แล้ว) ก็จะกล่าวไปไยถึงการที่บุรุษนักโทษนั้น ถูกประหารด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า ข้อนี้มี อุปมาฉันใด

ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวว่า วิญญาณาหารอันอริยสาวกควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนนักโทษถูก ประหารนั้น) ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. !มื่อวิญญาณาหารอันอริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว นามรูปย่อมเป็ นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ ได้แล้วด้วย เมื่อนามรูปเป็นสิ่งที่ อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า “สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น” ดังนี้แล.

(คำข้าว เรียกว่าอาหาร เพราะหล่อเลี้ยงร่างกาย ผัสสะเรียกว่าอาหาร เพราะทำให้เกิดเวทนา มโนสัญเจตนา เรียกว่าอาหาร เพราะทำให้เกิดกรรม วิญญาณเรียกว่าอาหาร เพราะทำให้เกิด นามรูป. ถ้าบุคคลพิจารณาเห็นโทษ แห่งอาหารแต่ละอย่างๆ ดังที่ตรัสไว้โดยอุปมาในข้อความ หมาย นั้นๆได้ จะดับทุกข์ได้ถึงขั้นเป็นพระอรหันต์).