เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  09 of 11  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  ธรรมอันเป็นที่สุดของสมณะปฏิบัติ 1410-1     ภาวะแห่งความ ถูก – ผิด 1441-1
  ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค 1411     ภาวะแห่งความเป็น ผิด – ถูก 1442
  การเป็นอยู่ที่น้อมไปเพื่อนิพพานอยู่ในตัว 1415     อเสขธรรมสิบ ในฐานะพิธีเครื่องชำระบาป 1442-1
  อัฏฐังคิกมรรคชนิดเจริญแล้วทำกิจแห่งอริยสัจสี่- 1417     อัฏฐังคิกมรรค มีความหมายแห่งกัลยาณมิตร 1443
  อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้วทำให้โพธิปักขิยธรรม- 1419     (คำตรัสแก่พระสารีบุตร :-) 1444
  การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม 1421     นาบุญหรือนาบาป เนื่องอยู่กับองค์แห่งมรรคก. 1445
  สัมมัตตะ เป็นธรรมเครื่องสิ้นอาสวะ 1423     นาบุญหรือนาบาป เนื่องอยู่กับองค์แห่งมรรค 1446
  บทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค 1424     พิธีปลงบาปด้วยสัมมัตตปฏิปทา 1447
  ข้อปฏิบัติที่เป็นสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา 1425     รายชื่อแห่งธรรมเป็ นที่ตั้งแห่งการขูดเกลา 1448
  อานิสงส์แห่งการปฏิบัติโดยหลักพื้นฐาน 1427     ก. จิตตุปปาทปริยาย 1450


       
  ปฏิปทาเพื่อสิ้นอาสวะ ๔ แบบ 1427-1     ข. ปริกกมนปริยาย  1450-1
  ก. แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า 1428     ค. อุปริภาวังคมนปริยาย 1451
  ข. แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว 1428-1     ง. ปรินิพพานปริยาย 1452
  ค. แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า 1429     องค์คุณที่ทำให้เจริญไพบูลย์ในพรหมจรรย์ 1452-1
  ง. แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว 1429-1     พวกรู้จักรูป 1453
  ปฏิปทาการอบรมระดับ ก.-อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ 1430     พวกฉลาดในลักษณะ 1454
  ข. ลักษณะแห่งผู้เป็นเสขปาฏิบท 1431     พวกคอยเขี่ยไข่ขาง 1454-1
  ค. ลักษณะแห่งผู้เจริญอินทรีย์ขั้นอริยะ 1432     พวกปิดแผล 1454-2
  ปฏิปทาเพื่อบรรลุอรหัตตผลของคนเจ็บไข้ 1434     พวกสุมควัน 1455
  องค์สิบห้าเพื่อการทำลายกระเปาะของอวิชชา 1435     พวกรู้จักท่าที่ควรไป 1455-1
     
 
  สุขโสมนัสที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ 1436     พวกที่รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม 1455-2
  ความเย็นที่ไม่มีอะไรเย็นยิ่งไปกว่า 1437     พวกรู้จักทางที่ควรเดิน 1456
  ข. พวกที่ทำความเย็น 1438     พวกฉลาดในที่ที่ควรไป 1456-1
  ปฏิปทาการบรรลุอรหัตต์หรืออนาคามีในภพปัจจุบัน 1438-1     พวกรีด “นมโค” ให้มีส่วนเหลือ 1456-2
  ระวังมัคคภาวนา : มีทั้งผิดและถูก(ฝ่ายผิด) 1439     พวกบูชาผู้เฒ่า 1457
  ระวังมัคคภาวนา : มีทั้งผิดและถูก(ฝ่ายถูก ) 1441     อัฏฐังคิกมัคคปฏิบัติ ต้องอาศัยที่ตั้งคือศีล 1457-1

 

   

 

 
 
 





1410-1
ธรรมอันเป็นที่สุดของสมณะปฏิบัติ


ถปติ ! เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่าไหนเล่า ว่าเป็นสมณะผู้มีกุศลถึงพร้อม มีกุศลอย่างยิ่ง ถึงธรรมที่ควรบรรลุอันอุดม ไม่แพ้ใคร ?

ถปติ ! ภิกษุในกรณีนี้
ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาวาจา อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมากัมมันตะ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาอาชีวะ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาวายามะ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาสติ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาสมาธิ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาญาณ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สัมมาวิมุตติ อันเป็นอเสขะ

ถปติ ! เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นสมณะผู้มีกุศล ถึงพร้อม มีกุศลอย่างยิ่ง ถึงธรรมที่ควรบรรลุอันอุดมไม่แพ้ใคร.


1411
ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค


อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่ การที่บุคคล จะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้น นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ ใหญ่ มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ก็ฉันนั้น. ..

อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า?

อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากอุปธิ เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะ ความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง ก็สงัดจากกาม ทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิด จากวิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(ที่กำลัง ทำหน้าที่อยู่)

เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น(ให้ยืมมา) เป็นของ แตกสลายเป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.

เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า)เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจ ลักษณะเป็นต้น)แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้

เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ ถึง ความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียน กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำ ห้าประการ และ เพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ ....

(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่าปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอน ตติยฌานและจตุตถฌาน ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง จนกระทั่งถึง ข้อความว่า ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ .... ( มีเนื้อ ความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) ....

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะ ความ ดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อนเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ.... ( มีเนื้อความเต็ม ดุจใน ตอนปฐมฌาน ) .... อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสัง โยชน์ห้านั้น.

อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะ ความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง เข้าถึงอากาสา นัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในอากาสานัญจายตนะ นั้น มีธรรม คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(ที่กำลังทำหน้าที่อยู่)๑  

เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตก สลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเปน็ ต้น ) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมต ธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต

นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไป แห่งตัณหาเป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.

เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้า ประการ และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆนั่นเอง.

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น. อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก

ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญ-จายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. . . . . ฯลฯ . . . . (ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้ มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึง เรื่องอากาสา นัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญา ณัญจายตนะเท่านั้น แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้ จนกระทั่งถึง ข้อความว่า) . . . .

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่. . . . . ฯลฯ . . . . (มีเนื้อความเต็มดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)

อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทาเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.

(สรุปความว่า มรรคหรือปฏิปทานี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ เพราะการเห็น อนิจจตากระทั่งถึง อนัตตา รวมเป็น ๑๑ ลักษณะ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปรากฏอยู่ในขณะแห่ง รูปฌานทั้งสี่ แต่ละฌาณๆ และเห็นธรรม ๑๑ อย่างนั้นอย่างเดียวกันใน เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งอรูปฌานสามข้างต้น แต่ละฌาณๆ เว้นเนวสัญญานา สัญญายตนะ; นับว่าเป็นธรรมที่ละเอียดสุขุมที่สุด. ผู้ศึกษาพึงใคร่ครวญให้เป็นอย่างดีตรงที่ว่า มีขันธ์ห้า หรือ "ขันธ์สี่ อยู่ที่จิตในขณะที่มีฌาน ดังนี้).

1415
การเป็
นอยู่ที่น้อมไปเพื่อนิพพานอยู่ในตัว
(มัชฌิมาปฏิปทาโดยอัตโนมัติ)


ภิกษุ ท. ! ธรรม ประการเหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความ เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว (เอกนฺตนิพฺพิท) เพื่อความคลายกำหนัด (วิราค) เพื่อความดับ (นิโรธ) เพื่อความสงบ (อุปสม) เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญ) เพื่อความรู้พร้อม (สมฺโพธ) เพื่อนิพพาน. ห้าประการ
อย่างไรเล่า? ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่
เป็นผู้ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่
เป็นผู้ มีความสำคัญว่าเป็ นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่
เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง อยู่ และ
มรณสัญญา เป็ นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

(ข้อนี้หมายความว่า เมื่อมีการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ผลย่อมเกิดขึ้นเป็นการน้อมไปเพื่อนิพพาน อยู่ในตัวโดยไม่ต้องเจตนา เหมือนแม่ไก่ฟักไข่อย่างดีแล้ว ลูกไก่ย่อมออกมาเป็นตัวโดยที่ แม่ไก่ไม่ต้องเจตนาให้ออกมา ฉันใดก็ฉันนั้น. ขอให้พิจารณาดูให้ดี จงทุกคนเถิด).

หมวด. ว่าด้วยการทำหน้าที่ของมรรค


1417
อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้วทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนรับรองแขก มีอยู่. ณ เรือนนั้น มีแขกมาจากทิศตะวันออก พัก อาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศตะวันตกพักอาศัยอยู่บ้างมาจากทิศเหนือพักอาศัยอยู่บ้าง มาจาก ทิศใต้พักอาศัยอยู่บ้าง มีแขกวรรณะกษัตริย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะพราหมณ์ มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะแพศย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะศูทรมาพักอยู่ก็มี (ในเรือนหลังเดียวพักกันอยู่ได้ ถึงสี่วรรณะ จากสี่ทิศ ดังนี้) นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ภิกษุเมื่อเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค
ย่อมกำหนดรู้ ซึ่งธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งได้
ย่อม ละ ซึ่งธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งได้
ย่อม ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งได้
ย่อม ทำให้เจริญ ซึ่งธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งได้.

(หมายความว่า ในการเจริญอริยมรรคเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมมี การกระทำ และ ผลแห่ง การกระทำ รวมอยู่ถึงสี่อย่าง เช่นเดียวกับเรือนหลังเดียวมีคนพักรวมอยู่ ๔ พวก, ฉันใด ก็ฉันนั้น).

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ กล่าวคือ ขันธ์เป็นที่ยึดมั่น

คือ รูป, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ เวทนา ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สัญญา ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สังขาร ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ วิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า อวิชชา และ ภวตัณหา

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า วิชชา และ วิมุตติ

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า สมถะ และ วิปัสสนา

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างไร
เล่า (จึงจะ มีผล ประการนั้น) ?

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . .สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการ สลัดลง.

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างนี้แล(จึงมีผล ๔ ประการ นั้น).

(ธรรม ๔ อย่างในสูตรนี้ เรียงลำดับไว้เป็น ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ ตรงกับหลักธรรมดาทั่วๆไป ของอริยสัจสี่ แต่มีสูตรอื่น เรียงลำดับไว้เป็น อย่างอื่นคือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง ดังนี้ก็มี แต่ก็ยัง คงเป็นอริยสัจสี่ได้อยู่นั่นเอง ไม่มีผลเป็นการขัดแย้งกันแต่ประการใด.พระบาลีในสูตรนี้ แสดง ลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคไว้เป็น วิเวกนิสฺสิต วิราคนิสฺสิตนิโรธนิสฺสิต โวสฺสคฺคปริณามี มีสูตรอื่นๆแสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรค ในกรณีเช่นนี้แปลกออกไปเป็น ราควินยปริโยสาน
มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน โทสวินยปริโยสาน
มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน โมหวินยปริโยสาน
มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน อมโตคธ
หยั่งลงสู่อมตะ อมตปรายน
มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ อมตปริโยสาน
มีอมตะเป็นปริโยสาน นิพฺพานนินฺน
เอียงไปสู่นิพพาน นิพฺพานโปณ
โน้มไปสู่นิพพาน นิพฺพานปพฺภาร
เงื้อมไปสู่นิพพาน ดังนี้ก็มี
แม้โดยพยัญชนะจะต่างกัน แต่ก็มุ่งไปยังความหมายอย่างเดียวกัน.


ข้อควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ วัตถุแห่งกิจของอริยสัจในสูตรนี้ แสดงไว้ต่างจากสูตรที่รู้กัน อยู่ทั่วไป คือสูตรทั่วๆไป วัตถุแห่งการกำหนดรู้ แสดงไว้ด้วยความทุกข์ทุกชนิด สูตรนี้แสดง ไว้ด้วยปัญจุปาทานขันธ์เท่านั้น วัตถุแห่งการละ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยตัณหาสาม สูตรนี้ แสดงไว้ด้วยอวิชชาและภวตัณหา วัตถุแห่งการทำให้แจ้ง สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยการดับ แห่งตัณหา

สูตรนี้แสดงไว้ด้วยวิชชาและวิมุตติ วัตถุแห่งการทำให้เจริญ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วย อริยอัฏฐังคิกมรรค ส่วนในสูตรนี้แสดงไว้ด้วยสมถะและวิปัสสนา.

ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของคำที่แสดงไว้แต่ละฝ่ายอย่างทั่วถึงแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าไม่ขัด ขวางอะไรกัน).



1419
อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว
ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนลมชนิดต่างๆ ย่อมพัดไปในอากาศ; คือลมทางทิศตะวันออกพัดไป บ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไปบ้าง ลมมีธุลีพัดไปบ้าง ลมไม่มีธุลีพัดไปบ้างลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง ลมอ่อนพัดไป บ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น, กล่าวคือ เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค :
แม้ สติปัฏฐานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา
แม้ สัมมัปปธานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา
แม้ อิทธิบาทสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา
แม้ อินทรีย์ห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา
แม้ พละห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา
แม้ โพชฌงค์เจ็ด ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา

(ธรรมเหล่านี้ ครบอยู่ทั้ง ๖ ชนิด เช่นเดียวกับที่ในอากาศ มีลมพัดอยู่ ครบทุกชนิด, ฉันใด ก็ฉันนั้น).

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างไรเล่า
(ธรรม ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา) ?

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . .สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการ สลัดลง.

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างนี้แล (ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา).

กรณีเช่นนี้ แปลกออกไปคือ ราคปริโยสาน
มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน
โทสวินยปริโยสาน
มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน
โมหวินยปริโยสาน
มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน
หยั่งลงสู่อมตะ อมตปรายน
มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ, อมตปริโยสาน
มีอมตะเป็ นปริโยสาน นิพฺพานนินฺน
เอียงไปสู่นิพพาน นิพฺพานโปณ
โน้มไปสู่นิพพาน นิพฺพานปพฺภาร
เงื้อมไปสู่นิพพาน
ดังนี้ก็มี)


1421
การทำกิจของอินทรีย์
ในขณะบรรลุธรรม

ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต ถึงที่สุดโดยส่วนเดียว เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลในตถาคตหรือคำสอนในตถาคต. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็ นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวก นั้นย่อมเป็น วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น.

สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้วพึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็ นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สตินทรีย์ของเธอนั้น.

สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่น โดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่ง โวสสัคคารมณ จักได้ ซึ่งความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่ง จิตเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สมาธินทรีย์ ของเธอนั้น.

สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังขอ้ นี้สืบไปว่าเขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า

“สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้ ที่สุดฝ่ายข้างต้นย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป.

ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็ นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็ นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่ สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”

สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น ปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น.
สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ)ด้วยอาการอย่างนี้ ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้ ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้ รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้ เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกา] ก่อน, ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วย นามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ด้วย” ดังนี้.

สารีบุตร ! ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สัทธินทรีย์ของเธอนั้น ดังนี้แล.

(ข้อควรสังเกตอย่างยิ่งในกรณีนี้ คือข้อที่สัทธินทรีย์ทำกิจของตน เมื่ออินทรีย์ทั้งสี่นอกนั้น ทำกิจเสร็จแล้ว. ข้อนี้หมายความว่า สิ่งที่เรียกว่าสัทธาหรือความเชื่อนั้น จะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อ ทำกิจอันบุคคลนั้นจะต้องทำนั้นๆประสบผลสำเร็จแล้ว. สัทธาที่เกิดขึ้นเป็นตัวนำในเบื้องต้น ดังที่แสดงอยู่ในหมวดธรรมต่างๆนั้น ยังมิใช่สัทธาที่สมบูรณ์ ทำให้กล่าวได้ว่า สัทธาสมบูรณ์ ปรากฏแก่จิตใจต่อเมื่อบรรลุมรรคผลแล้ว คือประกอบอยู่ในญาณ ที่เห็นความหลุดพ้นของ ตนแล้ว)


1423
สัมมัตตะ
เป็นธรรมเครื่องสิ้นอาสวะ

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นอาสวะทั้งหลาย. สิบประการอย่างไรเล่า ?

สิบประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อ ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.

หมวด. ว่าด้วยธรรมชื่ออื่น ( ความหมายเกี่ยวกับมรรค )


1424
บทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค


ภิกษุ ท. ! ธรรมบท อย่าง เหล่านี้ เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่า สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สี่อย่างคือ

อนภิชฌา เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

อัพยาบาท เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

สัมมาสติ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

สัมมาสมาธิ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่างนี้แล เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกัน มาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณ พราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้านแล.

(การที่ทรงยืนยันว่า ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้ มีมาแต่โบราณ ติดต่อสืบกันมาไม่ขาดสายโดย ไม่มีใครคัดค้าน จนถึงทุกวันนี้ ย่อมเป็นการแสดงว่าต้องมีมารวม อยู่ในคำสอนของพระองค์ ในบัดนี้ อนภิชฌา และอัพยาบาท คือ สัมมาสังกัปปะ รวมกันกับสัมมาสติและสัมมาสมาธิ เป็นสามองค์ในบรรดาองค์มรรคทั้งแปด จึงได้นำข้อความนี้มารวมไว้ในหมวดนี้ อันเป็นหมวด ที่รวมแห่งมรรค).


1425
ข้อปฏิบัติที่เป็นสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา


ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้าฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีรูปหรือไม่ ตามเห็นซึ่งรูป ว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง

ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งเวทนาโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา หรือไม่ตาม เห็นซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง

ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งสัญญาโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือไม่ตาม เห็นซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง

ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งสังขารโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร หรือไม่ตาม เห็นซึ่งสังขารว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขาร บ้าง

ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งวิญญาณโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ หรือไม ่ตามเห็นซึ่งวิญญาณว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้อธิบายว่า ข้อ (ที่กล่าวมาทั้งหมด) นั้น เรียกว่าการตามเห็นอันเป็นเครื่องให้ถึง ซึ่งการดับไปแห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรธคามินี สมนุปสฺสนา)

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขนิโรธคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายนิโรธ-คามินี ปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทา ในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ ความเห็นไม่ผิดเหล่านั้นนั่นเอง เป็นตัวปฏิปทา.ในบาลีแห่งอื่น แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น แต่ได้ตรัสยก เอาอายตนิกธรรม ๖ หมวด คือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหกวิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหก มาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับไม่มีตัวตน และทรงเรียกการตาม เห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ อย่างเดียวกับสูตรข้างบน).


1427
อานิสงส์แห่งการปฏิบัติโดยหลักพื้นฐาน
(เช่นเดียวกับอานิสงส์แห่งมรรค)


ราหุล ! เธอจง เจริญเมตตาภาวนา เถิด.
เมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ พยาบาท จักละไป.

ราหุล ! เธอจง เจริญกรุณาภาวนา เถิด.
เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ วิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) จักละไป.

ราหุล ! เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา เถิด.
เมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ อรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ) จักละไป.

ราหุล ! เธอจง เจริญอุเบกขา เถิด.
เมื่อเธอเจริญอุเบกขาอยู่ ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต) จักละไป.

ราหุล ! เธอจง เจริญอสุภะภาวนา เถิด.
เมื่อเธอเจริญอสุภะภาวนาอย ราคะ จักละไป.

ราหุล ! เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด.
เมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ อัสมิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตนและของตน) จักละไป.


1427-1
ปฏิปทาเพื่อสิ้นอาสวะ
แบบ

ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่ คือ ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑ ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.


1428
ก. แบบปฏิบัติลำบาก
ประสพผลช้า

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็ นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล ในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็ นของไม่น่ายินดีเป็นผู้มีปกติตาม เห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕

ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ๑ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.


1428-1
ข. แบบปฏิบัติลำบาก
ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็ นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูลใน อาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดีเป็นผู้มีปกติตามเห็น ความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็น สิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็น กำลังของพระเสขะ ๕ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญา-พละ แต่ อินทรีย์ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่า มีประมาณยิ่ง(แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจเพื่อความ สิ้นอาสวะ ได้เร็ว

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.
...............................................................................................
๑. อนันตริยกิจ คือสมถะและวิปัสสนา รวมกำลังกันทำหน้าที่ของอริยมรรค ตัดกิเลสบรรลุมรรคผลขึ้นไปตามลำดับจนถึงขั้นสูงสุด ไม่มีระยะว่างขั้น.
...................................................................................................


1429
ค. แบบปฏิบัติสบาย
ประสพผลช้า

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน . . . ทุติยฌาน .. . . ตติยฌาน . . . จตุตถฌาน ( มีรายละเอียดดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละวิริยพละ ปัญญาพละ แต่ อินทรีย์ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏ ว่าอ่อน คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.


1429-1
ง. แบบปฏิบัติสบาย
ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน . . . . ทุติยฌาน . . . . ตติยฌาน . . . . จตุตถฌาน . . . . แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ประการเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่ อินทรีย์ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่า มีประมาณยิ่ง คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้เร็ว ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ประการ.

( บาลีนี้ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น ๒ จำพวก พวกหนึ่ง ปฏิบัติลำบาก ยุ่งยาก อย่างที่เรียกว่า ทุลักทุเล น่าหวาดเสียวปฏิกูล ไม่สะดวกสบาย ที่ระบุในสูตรนี้ว่าการตามเห็นความไม่งาม ในกาย เป็นต้น; ส่วนอีกจำพวกหนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติที่เยือกเย็น เป็นสุขสบายไปแต่ต้นมือ ที่ระบุในสูตรนี้เรียกว่าเป็นการได้ฌานทั้งสี่ ต่างกันอยู่อย่างตรงกันข้าม. คนบางพวกเหมาะ สำหรับระบบปฏิบัติลำบาก บางพวกเหมาะสำหรับระบบปฏิบัติสบาย แต่จะ ประสพผลเร็ว หรือช้านั้นขึ้นอยู่กับอินทรีย์ทั้งห้าของเขา ).


1430
ปฏิปทาการอบรมอินทรีย์
ระดับ
ก. ลักษณะแห่งอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ


อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจ และไม่ เป็นที่ชอบใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่ เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง(สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัย เหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน) แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา”ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อม ดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายัง คงเหลืออยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัยในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

( ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎ ฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้โดย หลักเกณฑ์ อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ คือในกรณีแห่งเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่ง การดีดนิ้วมือ

ในกรณีแห่งกลิ่นเปรียบด้วยความเร็วแห่ง หยดนํ้าตกจากใบบัว ในกรณีแห่งรส เปรียบด้วย ความเร็วแห่ง นํ้าลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง

ในกรณีแห่งโผฏฐัพพะเปรียบด้วยความเร็วแห่ง การเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง ในกรณีแห่งธรรมารมณ์เปรียบด้วยความเร็วแห่ง การแห้งของหยดนํ้าที่หยดลงบน กระเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน ฉันใดก็ฉันนั้น แล้วทรงสรุปในสุดท้ายว่า นี้แลเรียกว่า อินทรียภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย )

(การที่เรียกว่า อินทรียภาวนาชั้นเลิศ นั้น หมายถึงการดับไปอย่างเร็วที่สุด ของอารมณ์ และ ด้วยอำนาจความรู้ชัดว่าอารมณ์นั้น ๆ เป็นเพียงสังขตะอันเป็นของหยาบ และเป็นเพียงสิ่ง อาศัยกันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีสิ่งตรงกันข้ามคืออุเบกขาอันเป็นของละเอียด ประณีต รำงับ ;ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นธรรมะชั้นลึก จึงจัดเป็นชั้นเลิศสุดของอินทรียภาวนาในธรรมวินัยของ พระองค์.)


1431
ข. ลักษณะแห่งผู้เป็
นเสขปาฏิบท

อานนท์ ! บุคคลผู้มีธรรมเครื่องดำเนินเฉพาะตนในระดับเสขะ (เสขปาฏิปท) เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ ความพอใจ – ความไม่พอใจ – ความพอใจและไม่พอใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ …. ฟังเสียงด้วยโสตะ .… ดมกลิ่นด้วยฆานะ .... ลิ้มรสด้วยชิวหา .... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยผิวกาย .... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ. ภิกษุนั้น ย่อม รู้สึกอึดอัด กระทบ กระทั่งรังเกียจอยู่ด้วยความพอใจ ความไม่พอใจ ความพอใจและไม่พอใจนั้น.

อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า บุคคลผู้มีธรรมเครื่องดำเนินเฉพาะตนในระดับเสขะ.
(พระอริยบุคคลระดับเสขะ ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังรู้สึกอึดอัดกระทบกระทั่ง ต่ออารมณ์ที่มา กระทบ แม้จะเป็นอิฏฐารมณ์ฝ่ายกุศล เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีพอใจ ก็อึดอัดใน ฐานะที่เป็น อารมณ์อันมากระทบตน เพราะยังมีความยึดมั่นถือมั่น ( อุปาทาน) บางส่วนที่เหลือ อยู่ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ยังมีตัวตนเหลืออยู่สำหรับรับการกระทบกระทั่ง จึงไม่ว่างไม่เกลี้ยง ไม่สงบเย็น ).


1432
ค. ลักษณะแห่งผู้เจริญอินทรีย์ขั้นอริยะ


อานนท์ ! บุคคลผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ในขั้นอริยะ (อริยภาวิตินฺทฺริย) เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ ความพอใจ – ความไม่พอใจ – ความพอใจและไม่พอใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษ ุเพราะเห็นรูปด้วยจักษุ .... ฟังเสียงด้วยโสตะ .... ดมกลิ่นด้วยฆานะ .... ลิ้มรสด้วยชิวหา .... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยผิวกาย .... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

ภิกษุนั้น : -ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่เป็นปฏิกูล (คือไมพ่ อใจ หรือเป็นที่ตั้งของโทสะ) ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่เป็น ปฏิกูลนั้นได้

ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล(คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ รังแต่จะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ) ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล นั้นได

ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูล ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นได้.

ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อยา่ งมีความรูสึ้กว่าปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่เป็นปฏิกูล ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่เป็ นปฏิกูลนั้นได้

และถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างเว้นขาดจากความรู้สึกว่าปฏิกูล และไม่ปฏิกูลทั้งสอง อย่างเสีย แล้วอยู่อย่าง ผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ดังนี้เธอก็ อยู่อย่างผู้อุเบกขามีสติ สัมปชัญญะในสิ่งที่เป็น ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองอย่างนั้นได.

อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า บุคคลผู้มีอินทรีย์อันเจริญแล้ว ในขั้นอริยะ

(ข้อนี้หมายถึงผู้เจริญอินทรีย์จนบังคับจิตได้ ในกรณีที่เกี่ยวกับความเป็นปฏิกูล ความไม่ปฏิกูล และความพ้นจากความหมายแห่งความเป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูล จึงสามารถบังคับจิตควบคุมจิต ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย แต่อยู่ด้วยอุเบกขาได้ถึงที่สุด. เข้าใจว่า แม้ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็สามารถกระทำได้. อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็น ความหมายของคำว่าเสขะ จากข้อความ ในเรื่องข้างบนและ ความหมายของคำว่าอริยะ จากข้อความในเรื่องนี้ ว่าจะต่างกันอย่างไร ).

อานนท์ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันว่า อนุตตรอินทรียภาวนาในอริยวินัย เราแสดงแล้ว แก่เธอ. เสขปาฏิบท เราก็แสดงแล้วแก่เธอ.

อริยภาวิตินทริยะ เราก็แสดงแล้วแก่เธอ. อานนท์ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหา ประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย.

อานนท์ ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย. อานนท์ ! พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.

นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.


1434
ปฏิปทาเพื่อบรรลุอรหัตตผลของคนเจ็บไข้


ภิกษุ ท. ! ถ้า ธรรมห้าประการ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด ข้อนี้ เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อัน หาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ต่อกาลไม่นานเทียว. ธรรมห้าประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ภิกษุ
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่
เป็นผู้มีปกติสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร
อยู่
เป็นผู้มีปกติสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
อยู่
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
อยู่
มรณสัญญาอันเขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน
อยู่

ภิกษุ ท. ! ธรรมห้าประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด ข้อนี้เป็น สิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้ คือเขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้ว แลอยู่ ต่อกาลไม่นานเทียว.

[ ธรรมทั้งห้าประการนี้ ในสูตรอื่น ( ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔/๖๙ ) ตรัสไว้ไม่เฉพาะคนเจ็บไข้ แต่ ตรัสไว้สำหรับคนทั่วไป ว่าเป็นธรรมที่เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว จะเป็นไปพร้อมเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับสนิท สงบรำงับ รู้ยิ่ง รู้พร้อม และนิพพาน โดยส่วนเดียว.สูตรถัดไปอีก ตรัสว่า เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสิ้น อาสวะทั้งหลาย.อีกสูตรถัดไป ตรัสว่าเมื่อเจริญทำให้ มากแล้ว มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลเป็นอานิสงส์ ].


1435
องค์สิบห้าเพื่อการทำลายกระเปาะของอวิชชา
(มุ่งผลอย่างเดียวกับมัชฌิมาปฏิปทา)


( ภิกษุ ละตะปูตรึงจิตทั้งห้า ประการเสียได้ คือไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ สิกขา มีจิตไม่ขัดแค้นในเพื่อนสพรหมจารี และ ถอนสิ่งผูกพันจิตห้า ประการเสียได้คือ ไม่กำหนัด ในกาม ไม่กำหนัดในกาย ไม่กำหนัดในรูป ไม่เห็นแก่นอน ไม่ประพฤติพรหมจรรย์เพราะ ปรารถนาความเป็นเทพ รวมสิบประการ ได้แล้ว) ภิกษุนั้น เจริญอิทธิบาท (สี่ประการ) อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ - วิริยะ - จิตตะ – วิมังสา เป็น ปธานกิจมี อุสโสฬ๎หี (ความเพียรมีประมาณโดยยิ่ง) เป็นที่ห้า.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ประกอบพร้อมด้วยองค์สิบห้า รวมทั้งอุสโสฬ๎หีดังนี้แล้ว เป็นผู้ควร เพื่อเจาะแทงกิเลส เพื่อรู้พร้อม เพื่อถึงทับโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเสมือนฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง ๑๒ ฟองอันแม่ไก่นอนทับ กก ฟักด้วยดีแล้ว โดยที่แม่ไก่ไม่ต้องทำความปรารถนาว่า“ลูกไก่เหล่านี้จงทำลายกระเปาะฟอง ด้วยเล็บเท้า ด้วยจะงอยปาก แล้วออกมาโดยสวัสดีเถิด” ดังนี้ ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะ ด้วยเล็บเท้าจะงอยปาก ออกมาได้โดยสวัสดี ฉันใด ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์สิบห้าพร้อม ทั้งอุสโสฬ๎หีอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเพื่อเจาะแทงกิเลส เพื่อรู้พร้อมเพื่อถึงทับโยคักเขมธรรม อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าได้เอง ฉันนั้นเหมือนกัน.


1436
สุขโสมนัสที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ
(มัชฌิมาปฏิปทาที่แสนสุข )


ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ประการ ย่อมเป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัส ในทิฏฐธรรมเทียว และการกำเนิดของเธอนั้น จักเป็นการปรารภเพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสวะด้วย. ธรรม ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ธรรมหกประการคือ ภิกษุในกรณีนี้
เป็น ธัมมาราโม ( มีธรรมเป็นที่มายินดี )
เป็น ภาวนาราโม ( มีการเจริญภาวนาเป็นที่มายินดี )
เป็น ปหานาราโม ( มีการละกิเลสเป็นที่มายินดี )
เป็น ปวิเวการาโม ( มีความสงัดจากโยคธรรมเป็นที่มายินดี )
เป็น อัพ๎ยาปัชฌาราโม ( มีธรรมอันไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี )
เป็น นิปปปัญจาราโม ( มีธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ).

ภิกษุ ท.! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัส ในทิฏฐธรรมเทียว และการกำเนิดของเธอนั้น จักเป็นการปรารภเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วย.


1437
ความเย็นที่ไม่มีอะไรเย็นยิ่งไปกว่า

. พวกที่ไม่ทำความเย็น

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเย็นอัน ไม่มีอื่นยิ่งกว่า. ธรรม ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ธรรมหกประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ( น นิคฺคเหตพฺพํ ) ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ( น ปคฺคเหตพฺพํ ) ไม่ทำจิตให้ร่าเริงในสมัย ที่ควรทำจิต ให้ร่าเริง ( น สมฺปหํสิตพฺพํ ) ไม่เข้าไปเพ่งอย่างยิ่งซึ่งจิตในสมัยที่ควรเข้าไปเพ่งอย่างยิ่ง (น อชฺฌุ-เปกฺขิตพฺพํ ) เป็นผู้มีจิตน้อมไปในธรรมทราม ( หีนาธิมุตฺติโก ) และเป็นผู้ยินดียิ่งใน สักกายะ ( สกฺกายาภิรโต ). ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเย็นอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า.


1438
ข. พวกที่ทำความเย็น


ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ประการ เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเย็น อันไม่มีอื่นยิ่งกว่า. ธรรม ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ธรรมหกประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้
ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ( นิคฺคเหตพฺพํ )
ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ( ปคฺคเหตพฺพํ )
ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรทำจิตให้ร่าเริง ( สมฺปหํสิตพฺพํ )
เข้าไปเพ่งอย่างยิ่งซึ่งจิตในสมัยที่ควรเข้าไปเพ่งอย่างยิ่ง ( อชฺฌุเปกฺขิตพฺพํ )
เป็นผู้มีจิตน้อมไปในธรรมประณีต ( ปณีตาธิมุตฺติโก ) และ
เป็นผู้ยินดียิ่งใน นิพพาน ( นิพฺพานาภิรโต ).

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง ความเย็นอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า แล. ( ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในที่นี้ทรงแสดง สักกายะ ไว้ในฐานะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามจาก นิพพาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้งสองอย่างเป็นที่ตั้งแห่ง ความยินดีได้โดยเท่ากัน แล้วแต่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก).


1438-1
ปฏิปทาการบรรลุอรหัตต์หรืออนาคามีในภพปัจจุบัน


ภิกษุ ท. ! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการ ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม (ภพปัจจุบัน)นั่นเทียว หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังมีอุปาทิ (เชื้อ) เหลืออยู่.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๕ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ
ภิกษุในกรณีนี้
มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายในนั่นเทียว เพื่อเกิดปัญญารู้ความ
เกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย
มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย
มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร
มีความสำคัญว่าในโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี
มีปกติเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง .

ภิกษุ ท.! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม(ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังอุปาทิ เหลืออยู่ แล.

หมวด. ว่าด้วยอุปมาธรรมของมรรค


1439
ระวังมัคคภาวนา มีทั้งผิดและถูก
(ฝ่ายผิด )


ภิกษุ ท.! เดือยแห่งเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยแห่งเมล็ดข้าวยวะที่วางไว้ไม่ถูกท่า จักตำมือ หรือตำเท้าที่เหยียบกดลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมา ได้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่มีได้. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า เดือยแห่งเมล็ดข้าวเหล่านั้น วางไว้ไม่ถูกท่า (สำหรับ ที่จะตำ) ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! เมื่อ ทิฏฐิเป็ นสิ่งที่ตั้งไว้ผิด มัคคภาวนาเป็ นสิ่งที่ตั้งไว้ผิดแล้ว ภิกษุนั้น จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือ จักกระทำนิพพานให้แจ้ง ได้นั้น นั่น ไม่เป็นฐานะที่มีได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า ทิฏฐิเป็นสิ่งที่ตั้งไว้ผิด ฉันนั้นเหมือนกัน.


1441
ระวังมัคคภาวนา : มีทั้งผิดและถูก
(ฝ่ายถูก )


ภิกษุ ท.! เดือยแห่งเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยแห่งเมล็ดข้าวยวะที่วางอยู่ถูกท่า จักตำมือ หรือ ตำเท้าที่เหยียบกดลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมาได้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่าเดือยแห่งเมล็ดข้าวเหล่านั้น วางอยู่ถูกท่า(สำหรับที่ จะตำ) ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุ ท.! เมื่อ ทิฏฐิเป็ นสิ่งที่ตั้งไว้ถูก มัคคภาวนาเป็ นสิ่งที่ตั้งไว้ถูก แล้ว ภิกษุนั้น จัก ทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือ จักกระทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น นั่น เป็น ฐานะที่มีได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่าทิฏฐิเป็นสิ่งที่ตั้งไวถู้ก ฉันนั้นเหมือน กัน.

ภิกษุ ท.! อย่างไรเล่า ที่เรียกว่า เมื่อทิฏฐิตั้งไว้ถูก มัคคภาวนาตั้งไว้ถูก แล้ว ภิกษุนั้น จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักกระทำนิพพานให้แจ้ง ได้ ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อการสลัดลง (ซึ่งอุปาทานขันธ์) เจริญสัมมาสังกัปปะ.... เจริญสัมมาวาจา…. เจริญ สัมมากัมมันตะ…. เจริญสัมมาอาชีวะ…. เจริญสัมมาวายามะ …. เจริญสัมมาสติ.... เจริญ

สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง (ซึ่งอุปทานขันธ). ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล คือข้อที่กล่าวว่า เมื่อทิฏฐิตั้งไว้ถูก มัคคภาวนาตั้งไว้ถูก แล้ว ภิกษุนั้น จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักกระทำนิพพานให้แจ้ง ได้.


1441-1
ภาวะแห่งความ ถูก – ผิด


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ภาวะแห่งความผิด (มิจฺฉตฺต) และ ภาวะแห่งความถูก (สมฺมตฺต). พวกเธอจงฟัง.

ภิกษุ ท. ! ภาวะแห่งความผิด เป็นอย่างไรเล่า ? ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะมิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ภาวะแห่งความผิด.

ภิกษุ ท. ! ภาวะแห่งความถูก เป็นอย่างไรเล่า ? ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ภาวะแห่งความถูก.

[ภาวะแห่งความผิดและภาวะแห่งความถูก ฝ่ายละแปดประการนี้ ในที่อื่นเรียกว่า อกุศลธรรม และกุศลธรรม ก็มี ( ๑๙/๒๒/๖๒ – ๖๔) ในที่อื่นเรียกว่า มิจฉาฏิปทาและสัมมาปฏิปทา ก็มี (๑๙/๒๒-๒๓/๖๕-๖๗); และในที่อื่นอีกเรียกว่า มิจฉาปฏิปัตติและสัมมาปฏิปัตติ ก็มี (๑๙/๒๘/๘๙-๙๑). สำหรับสิ่งที่เรียกว่า มิจฉัตตะและสัมมัตตะ ในที่นี้นั้น แสดงไว้ด้วยองค์ แปด; ในที่อื่นแสดงไว้ด้วยองค์สิบ ก็มี คือเพิ่ม มิจฉาญาณะ – รู้ผิด มิจฉาวิมุตติ – หลุดพ้นผิด เข้ากับมิจฉัต-ตะแปด เป็นมิจฉัตตะสิบ ก็มี (ทสก. อํ. ๒๔/๒๕๗/๑๓๒) และเพิ่มสัมมา ญาณะ รู้ถูกสัมมาวิมุตติ – หลุดพ้นถูก เข้ากับสัมมัตตะแปด เป็นสัมมัตตะสิบ ก็มี (ทสก. อํ. ๒๔/๒๕๗/๑๓๓) ดังมีข้อความตรัสไว้ดังหัวข้อข้างล่างนี้ ].


1442
ภาวะแห่งความเป็น ผิด – ถูก


ภิกษุ ท. ! มิจฉัตตะ (ภาวะแห่งความเป็นผิด) ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่.สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิมิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล มิจฉัตตะสิบ.

ภิกษุ ท. ! สัมมัตตะ (ภาวะแห่งความเป็นถูก) ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่.สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมา-วาจา มมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สัมมัตตะสิบ.


1442-1
อเสขธรรมสิบ
ในฐานะพิธีเครื่องชำระบาป

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาชนบททางทิศใต้ มีพิธีกรรมชื่อโธวนะ. ในพิธีกรรมนั้น มีข้าว มีน้ำ มีของ เคี้ยว ของบริโภค มีของควรลิ้ม ของควรดื่มมีการฟ้อน การขับ และการประโคม.

ภิกษุ ท. ! พิธีกรรมชื่อโธวนะนั้นมีอยู่ มิใช่เรากล่าวว่าไม่มี แต่ว่าพิธีกรรมชื่อโธวนะนั้น เป็นของ ต่ำ เป็นของชาวบ้าน ควรแก่บุถุชน ไมใช่ของอารยชน ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่เป็นไป พร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ เพื่อความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้ พร้อม และนิพพาน.

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง โธวนะอันประเสริฐ ที่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์โดย ส่วนเดียว เพื่อเป็นความคลายกำหนด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เป็นโธวนะที่เมื่อสัตว์ผู้มีความเกิดเป็น ธรรมดาได้อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก ความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดาได้ อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความแก่, ผู้มีความตาย เป็นธรรมดาได้อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความตาย, ผู้มีความโศก ความร่ำไรรำพันความทุกข์ กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจได้อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความโศก ความ ร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ.

พวกเธอจงฟังคำนั้น จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. (ต่อจากนั้น ทรงแสดงอเสขธรรม ๑๐ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ).


1443
อัฏฐังคิกมรรค มีความหมายแห่งความเป็นกัลยาณมิตร


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมนี้เป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์, กล่าวคือความเป็นผู้มีมิตรดีความ เป็นผู้มีสหายดีความเป็นผู้มีพวกพ้องดี”.

อานนท์! อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์! อย่ากล่าวอย่างนั้น.

อานนท์! ธรรมนี้ เป็ นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียวกล่าวคือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ความเป็ นผู้มีสหายดี ความเป็ นผู้มีพวกพ้องดี.

อานนท์ ! สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี นั้นข้อนี้เป็นสิ่งที่พึงหวังได้ คือ จักทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญได้ จักกระทำอริย- อัฏฐังคิกมรรคให้มากได้.

ข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ !ข้อนั้นคือ ภิกษุในกรณีนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อการสลัดลง (ซึ่งเป็นอุปทานขันธ์) เจริญสัมมา สังกัปปะ .
เจริญสัมมาวาจา . . . เจริญสัมมากัมมันตะ . . . เจริญสัมมาอาชีวะ . . . เจริญสัมมาวายามะ . . เจริญสัมมาสติ .. . เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการ สลัดลง (ซึ่งเป็นอุปทานขันธ์)

อานนท์! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามี มิตรดี (กลฺยาณมิตฺต) มีสหายดี (กลฺยาณสหาย) มีพวกพ้องดี (กลฺยาณสมฺปวงฺก) ทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญได้กระทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากได้.

อานนท์ ! ข้อความที่ว่าเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ทีเดียว นั้น อันใคร พึงทราบโดยปริยายแม้นี้

อานนท์  !เพราะอาศัยเราแล เป็นกัลยาณมิตร สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมหลุด พ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่สัตว์ที่มี ความตายเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะ-ปริเทวะทุกขะ โทมนัสสะอุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสสะอุปายาส. อานนท์! โดยปริยายนี้แล อันใครๆพึงทราบว่า ความเป็นผู้มี มิตรดี ความเป็นผู้มีสหายดี ความ เป็นผู้มีพวกพ้องดี นี้เป็น

พรหมจรรย์ทั้งสิ้น ทีเดียว ดังนี้.


1444
(
คำตรัสแก่พระสารีบุตร)

ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! ความเป็ นผู้มีมิตรดี ความเป็ นผู้มีสหายดี ความเป็น ผู้พวก พ้องดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น.

สารีบุตร! สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี นั้น ข้อนี้เป็นสิ่งที่พึงหวังได้ คือจักทำ อริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญได้ จักกระทำ อริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากได้.  

(ต่อจากนั้นตรัสจำแนกองค์แ ห่งอริยอัฏฐังคิกมรรค ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อความสลัดลง แล้วตรัสความที่สัตว์อาศัยพระองค์เป็นกัลยาณมิตรแล้ว พ้นจาก ชาติชรา มรณะและทุกข์ทั้งปวงได้ เช่นเดียวกับข้อความที่กล่าวแล้วข้างต้น).


1445
นาบุญหรือนาบาป
เนื่องอยู่กับองค์แห่งมรรค
ก. นาบาป


ภิกษุ ท. ! พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง ย่อมไม่ให้ผลมาก ไม่ให้ความ พอใจมาก ไม่ให้กำไรมาก. ประกอบด้วยลักษณะ๘ อย่าง อย่างไรเล่า ? แปดอย่าง คือ นาใน กรณีนี้ พื้นที่ลุ่มๆ ดอนๆเต็มไปด้วยก้อนหินและก้อนกรวด ดินเค็ม ไถให้ลึกไม่ได้ ไม่มีทางน้ำ เข้าไม่มีทางน้ำออก ไม่มีเหมือง ไม่มีหัวคันนา นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ ที่ประกอบด้วย องค์แปดไม่แผ่ไพศาลมาก. ที่ว่าประกอบด้วยองค์แปดอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? แปดอย่าง คือ สมณพราหมณ์ในกรณีนี้ เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มีมิจฉาวาจา มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉา วายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์แปดอย่างอย่างนี้ เป็นทาน ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก.


1446
นาบุญหรือนาบาป
เนื่องอยู่กับองค์แห่งมรรค
ข. นาบุญ


ภิกษุ ท. ! พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยลักษณะ อย่างย่อม ให้ผลมาก ให้ความ พอใจมาก ให้กำไรมาก. ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง อย่างไรเล่า ? แปดอย่าง คือ นาใน กรณีนี้ พื้นที่ลุ่มๆดอนๆ ไม่เต็มไปด้วยก้อนหินและก้อนกรวด ดินไม่เค็ม ไถให้ลึกได้ มีทางน้ำ เข้า มีทางน้ำออก มีเหมือง มีหัวคันนา นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบ ด้วย องค์แปดอย่างเหล่านี้ เป็นทานมีผล มาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมากที่ว่าประกอบด้วยองค์แปด อย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? แปดอย่าง คือ สมณพราหมณ์ใน กรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมา สังกัปปะมีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมา สมาธิ.

ภิกษุ ท. ! ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์แปดอย่างอย่างนี้ เป็นทาน มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก แล.


1447
พิธีปลงบาปด้วยสัมมัตตปฏิปทา


พราหมณ์ ! อะไรกันหนอ ท่านจึงสระเกล้าในวัดอุโบสถ นุ่งห่มผ้าโขมพัสตร์คู่ใหม่ กำหญ้า กุสะสด มายืนอยู่ ณ ที่นี้ ? วันนี้เป็นวันอะไรของพวกสกุลพราหมณ์ ?พระโคดมผู้เจริญ ! วันนี้เป็นวันปัจโจโรหณี (ปลงบาป) ของพวกสกุลพราหมณ์

พราหมณ์ ! พิธีปัจโจโรหณีของพวกพราหมณ์ เป็นอย่างไรกันเล่า ?

“พระโคดมผู้เจริญ ! ในกรณีนี้พราหมณ์ทั้งหลายสระเกล้า ในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าโขมพัสตร์ คู่ใหม่ฉาบแผ่นดินด้วย โคมัยสดปูลาดด้วยหญ้ากุสะสด แล้วสำเร็จการนอนระหว่ากองกูณฑ์ และเรือนไฟลุก ขึ้นประคองอัญชลีต่อไฟนั้นสามครั้ง ในราตรีนั้นกล่าวอยู่ว่า“ข้าพเจ้าปลง บาปกะท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปลงบาปกะ ท่านผู้เจริญ” ดังนี้หล่อเลี้ยงไฟไว้ด้วยเนยใส น้ำมันเนยข้นอันพอเพียงล่วงราตรี นั้นแล้วเลี้ยง ดูพราหมณ์ทั้งหลาย ให้อิ่มหนำด้วยขาทนีย โภชนียะอันประณีต. พระโคดมผู้เจริญ! พิธีปัจโจโรหณีของ พวกพราหมณ์เป็นอย่างนี้แล”.

พราหมณ์ ! พิธีปัจโจโรหณีของพวกพราหมณ์ เป็นอย่างหนึ่ง.ส่วน พิธีปัจโจโรหณี ในอริยวินัย เป็นอย่างอื่น กล่าวคือพราหมณ์! อริย-สาวกในกรณีนี้ พิจารณาเห็น โดยประจักษ์ ว่า“วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐินี้แลเป็น ธรรมลามกทั้งในทิฏฐิธรรม(ขณะนี้)และอภิสัมปรายะ(ขณะอื่น

ครั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ก็ ละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ปลงลงเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ. (ในกรณีแห่ง มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะมิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง มิจฉาทิฏฐิ). พราหมณ์ ! ปัจโจโรหณีในอริยวินัย เป็นอย่างนี้ แล.

“พระโคดมผู้เจริญ ! ปัจโจโรหณีของพวกพราหมณ์ เป็นอย่างหนึ่งในอริยวินัย เป็นอย่างอื่น. ปัจโจโรหณี ของพวกพราหมณ์ มีค่าไม่เข้าถึงส่วนเสี้ยว ที่สิบหกของปัจโจโรหณี ในอริยวินัยนี้”.

[ในสูตรนี้ตรัสเรียกพิธีกรรมนี้ว่า ปัจโจโรหณีในอริยวินัย; ส่วนในสูตรอื่นๆ ตรัสเรียกว่า ปัจโจโรหณีอันเป็นอริยะก็มี.ในสูตรอื่นทรงยกเอากุศลกรรมบถสิบ มาเป็นธรรมเครื่อง ปลงบาปแทนสัมมัตตะสิบก็มี].

หมวด. ว่าด้วยอุปกรณ์การปฏิบัติมรรค


1448
รายชื่อแห่งธรรมเป็
นที่ตั้งแห่งการขูดเกลา

จุนทะ ! สัลเลขธรรม (ความขูดเกลา) เป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายพึงกระทำในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ กล่าวคือ : -

ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ เบียดเบียน เราจักเป็นผู้ ไม่เบียดเบียน
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น กระทำปาณาติบาต เราจัก เว้นขาดจากปาณาติบาต
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น กระทำอทินนาทาน เราจัก เว้นขาดจากอทินนาทาน
ทำสัลเลขะว่าเมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เราจักเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดเท็จ เราจัก เว้นขาดจากการพูดท็จ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดส่อเสียด เราจัก เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดคำหยาบ เราจัก เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น พูดเพ้อเจ้อ เราจัก เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มากด้วยอภิชฌา เราจักเป็นผู้ ไม่มากด้วยอภิชฌา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีจิตพยาบาท เราจักเป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาทิฏิฐิ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาทิฏิฐิ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสังกัปปะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสังกัปปะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวาจา เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวาจา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉากัมมันตะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมากัมมันตะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาอาชีวะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาอาชีวะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวายามะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวายามะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสติ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสติ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสมาธิ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสมาธิ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาญาณะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาญาณะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวิมุตติ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวิมุตติ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีถีนมิทธะกลุ้มรุม เราจักเป็นผู้ ปราศจากถีนมิทธะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเปน็ ผู้ฟุ้งซ่าน เราจักเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มีวิจิกิจฉา เราจักเป็นผู้ ข้ามพ้นวิจิกิจฉา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มักโกรธ เราจักเป็นผู้ ไม่มักโกรธ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ผูกโกรธ เราจักเป็นผู้ ไม่ผูกโกรธ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเปน็ ผู้ ลบหลู่คุณ เราจักเป็นผู้ ไม่ลบหลู่คุณ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ แข่งดี เราจักเป็นผู้ ไม่แข่งดี
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ริษยา เราจักเป็นผู้ ไม่ริษยา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ตระหนี่ เราจักเป็นผู้ ไม่ตระหนี่
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ โอ้อวด เราจักเป็นผู้ ไม่โอ้อวด
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีมารยา เราจักเป็นผู้ ไม่มีมารยา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ กระด้าง เราจักเป็นผู้ ไม่กระด้าง
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ดูหมิ่นท่าน เราจักเป็นผู้ ไม่ดูหมิ่นท่าน
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ว่ายาก เราจักเป็นผู้ ว่าง่าย
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีมิตรชั่ว เราจักเป็นผู้ มีมิตรด
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ประมาท เราจักเป็นผู้ ไม่ประมาท
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีสัทธา เราจักเป็นผู้ มีสัทธา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีหิริ เราจักเป็นผู้ มีหิริ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ไม่มีโอตตัปปะ เราจักเป็นผู้ มีโอตตัปปะ
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีสุตะน้อย เราจักเป็นผู้ มีสุตะมาก
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ขี้เกียจ เราจักเป็นผู้ ปรารภความเพียร
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีสติหลงลืม เราจักเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีปัญญาทราม เราจักเป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ทำสัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน (สนฺทิฏฺฐิปรามาสี)

เป็นผู้ยึดถืออย่างเหนียวแน่น (อาธานคาหี) และเป็นผู้ยากที่จะสลัดคืนซึ่งอุปาทาน (ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี) เราจักเป็นผู้ ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน (อสนฺทิฏฺฐิปรามาสี) เป็นผู้ไม่ยึดถือ อย่างเหนียวแน่น (อนาธานคาหี) และเป็นผู้ง่ายที่จะสลัดคืนซึ่ง อุปทาน (สุปฺปฏินิสฺสคฺคี).

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ธรรมที่ทรงแสดงไว้ในบาลีเกี่ยวกับการขูดเกลานี้ มีอยู่๔๔ คู่ เป็นคู่แห่งความตรงกันข้าม คือฝ่ายหนึ่งเป็นอกุศลไม่ควรกระทำ ฝ่ายหนึ่งเป็นกุศลที่ควรกระทำ ดังนั้นจึงเป็นการขูดเกลากันอยู่ในตัว เพราะความเป็นของตรงกันข้าม เรียกว่าธรรมเป็นเครื่อง ขูดเกลา ๔๔ อย่าง กับธรรมที่ควรขูดเกลา ๔๔ อย่างเป็นคู่กันไป. โดยอาศัยหลักที่มีอยู่ ๔๔ คู่นี้ พระองค์ได้ตรัสถึงธรรมปริยายอื่นๆ ต่อไปอีกคือ : -)


1450
ก. จิตตุปปาทปริยาย


การกระทำจิตให้เกิดขึ้นโดยนัยยะ ๔๔ คู่ เป็นต้นว่า “เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ เบียดเบียนเราจักเป็นผู้ ไม่เบียดเบียนเรื่อยไปจนกระทั่งถึงคู่สุดท้าย ว่า “เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน (สนฺทิฏฺฐิปรามาสี) เป็ นผู้ยึดถืออย่างเหนียวแน่น (อาธานคาหี)และเป็น ผู้ยากที่จะสลัด คืน ซึ่งอุปาทาน (ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี) เราจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน (อสนฺทิฏฺฐิ ปรามาสี) เป็นผู้ไม่ยึดถืออย่างเหนียวแน่น(อนาธานคาหี) และเป็นผู้ง่ายที่จะสลัดคืน ซึ่งอุปาทาน (สุปฺปฏินิสฺสคฺคี)” ดังนี้นั้น ยังได้ตรัสอีกว่า เพียงแต่ ตั้งจิตตุปบาทไว้ดังนี้ ก็เป็ นการทำที่มีอุปการะมาก เสียแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึง การที่ได้ทำสำเร็จลงไปตามนั้นด้วยกาย และด้วยวาจา. การเอาธรรม ๔๔ คู่นั้นมาทำไว้ในความคิด เรียกว่า จิตตุปปาทธัมมปริยาย.


1450-1
ข. ปริกกมนปริยาย


การทำจิตให้หลีกออกมาเสียจากธรรมฝ่ายอกุศล มาอยู่ในธรรมฝ่ายกุศล เช่นคนหลีกทาง ผิดมาเดินอยู่ในทางถูก ดังนี้เรียกว่า ปริกกมนา. ธรรม ๔๔ คู่ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายผิด ฝ่ายหลังเป็นฝ่ายถูก จึงมีพระบาลีวางไว้เป็นคู่แรก ว่า “ความไม่เบียด เบียน เป็นการหลีกออกจากทางผิดของบุคคลผู้มีการเบียดเบียน” เรื่อยไปจนถึงคู่สุดท้ายที่ว่า ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างเหนียวแน่น และง่ายที่จะสลัดคืนซึ่ง อุปาทาน เป็นการหลีกออกจากทางผิดของบุคคลผู้ลูบคลำ ด้วยทิฏฐิของตน ยึดถืออย่าง เหนียวแน่น และยากที่จะสลัดคืนซึ่ง อุปทาน”

การกระทำอย่างนี้ทั้ง ๔๔ คู่ เรียกว่า ปริกกมน ธัมปริยาย.


1451
ค. อุปริภาวังคมนปริยาย


ในธรรม ๔๔ คู่ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ฝ่ายแรกหรือฝ่ายผิด เป็น อโธภาวังคมนียธรรม (นำไปสู่ฝ่ายต่ำ) ฝ่ายหลังหรือฝ่ายถูก เป็น อุปริภาวังคมนียธรรม (นำไปสู่ฝ่ายสูง) จึงมีพระ บาลีวางไว้เป็นคู่แรกว่า “ความไม่เบียดเบียน เป็นธรรมนำไปสู่ภาวะฝ่ายสูง ของบุคคลผู้มี การเบียดเบียน” ดังนี้เรื่อยไปจนถึงคู่สุดท้ายว่า “ความไม่เป็นผู้ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างเหนียวแน่น และง่ายที่จะสลัดคืนซึ่งอุปาทาน เป็นธรรมนำไปสู่ภาวะฝ่ายสูง ของบุคคลผู้ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างเหนียวแน่น และยากที่จะสลัดคืนซึ่ง อุปาทาน”

การกระทำอย่างนี้ทั้ง ๔๔ คู่เรียกว่า อุปริภาวังคมนธัมมปริยาย.


1452
ง. ปรินิพพานปริยาย


ในธรรม ๔๔ คู่ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ฝ่ายแรกหรือฝ่ายผิดเป็นฝ่ายไม่ดับเย็นฝ่ายหลัง หรือฝ่ายถูกเป็นฝ่ายดับเย็น (ปรินิพพาน) ดังนั้นจึงมีพระบาลีวางไว้เป็นคู่แรกว่า “ความไม่เบียด เบียน เป็นไปเพื่อความดับเย็นของบุคคลผู้มีการเบียดเบียน” ดังนี้เรื่อยไปจนถึงคู่สุดท้ายว่า “ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างเหนียวแน่น และง่ายที่จะสลัดคืนซึ่ง อุปาทาน เป็นไปเพื่อความดับเย็นของบุคคลผู้ลูบคลำด้วยทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างเหนียวแน่น และยากที่จะสลัดคืนซึ่งอุปาทาน” การกระทำอย่างนี้ทั้ง ๔๔ คู่ เรียกว่า ปรินิพพานปริยาย. ข้อความตอนนี้ มีตรัสไว้พิเศษ ว่า ผู้ไม่ดับเย็นจะช่วยให้ผู้อื่นดับเย็นนั้นเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียว กับ ผู้ติดหล่ม จะยกผู้อื่นขึ้นจากหล่มไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น.

(รายชื่อแห่งธรรมเป็นเครื่องขูดเกลา ๔๔ คู่นี้ ไม่ได้ใช้เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการขูดเกลาอย่าง เดียว แต่ใช้เพื่ออธิบายในการประพฤติกระทำอย่างอื่นด้วย ดังที่ได้แยกไว้เป็น ข้อ ก. ข. ค. ง. ในตอนท้าย ผู้ที่ตั้งใจจะศึกษาจริงๆ พึงกำหนดให้ชัดเจนว่ามีลำดับอย่างไร เป็นฝ่ายผิดหรือ ฝ่ายถูกอย่างไร ก็จะสามารถเข้าใจข้อความที่ละไว้ โดยไม่นำมาใส่ไว้ให้เต็ม เช่น อ้างถึงแต่ ข้อต้น และข้อสุดท้าย เป็นต้น ก็จะสำเร็จประโยชน์ได้ตามปรารถนา).


1452-1
องค์คุณที่ทำให้เจริญงอกงามไพบูลย์ในพรหมจรรย์
(อุปกรณ์แห่งการปฏิบัติมรรค)


ภิกษุ ท. ! คนเลี้ยงโค ที่ประกอบด้วยองคคุณ ๑๑ อย่างแล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะเลี้ยงโค ทำให้ เพิ่มกำไรได้. องคคุณ ๑๑ อย่าง อะไรบ้างเล่า ?

สิบเอ็ดอย่างคือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ เป็นผู้รู้จักเรื่องร่างกายของโค เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ ของโค เป็นผู้เขี่ยไข่ขาง เป็นผู้ปิ ดแผล เป็นผู้สุมควัน, เป็นผู้รู้จักท่าที่ควรนำโคไป เป็นผู้ รู้จักนํ้าที่โคควรดื่ม เป็นผู้รู้จักทางที่โค ควรเดิน เป็นผู้ฉลาดในที่ที่โคควรไป เป็นผู้รู้จักรีดนม โคให้มีเหลือไว้บ้าง เป็นผู้ให้เกียรติแก่โคอุสภ อันเป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูง ด้วยการเอาใจใส่ เป็นพิเศษ.

ภิกษุ ท. ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยองคคุณ ๑๑ อย่างนี้แล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะเลี้ยงโค ทำให้เพิ่มกำไรได้. ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ที่ประกอบด้วยองคคุณ ๑๑ ประการแล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย (พรหมจรรย์) นี้ได้ ฉันนั้น.

องคคุณ ๑๑ ประการ อย่างไรบ้างเล่า?
สิบเอ็ดประการคือ ภิกษุ ในกรณีนี้ เป็นผู้รู้จักรูป, เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ เป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขาง เป็นผู้ปิดแผล เป็นผู้สุมควัน เป็นผู้รู้จักท่าที่ควรไป เป็นผู้รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม เป็นผู้รู้จักทางที่ ควรเดิน เป็นผู้ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นผู้รู้จักรีด “นมโค” ให้มีส่วนเหลือไว้บ้าง เป็นผู้บูชา อย่างยิ่ง ในภิกษุทั้งหลาย ผู้เถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ด้วยการ บูชาเป็นพิเศษ.


1453
พวกรู้จักรูป


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็น จริงว่า “รูปชนิดใดก็ตาม ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า รูป คือ มหาภูตรูปมี ๔ และอุปาทายรูป คือรูปที่ อาศัย มหาภูตรูป ทั้งสี่”ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูป เป็นอย่างนี้แล.


1454
พวกฉลาดในลักษณะ


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.!ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัด ตามที่เป็นจริงว่า “คนพาล มีกรรม (การกระทำ)เป็นเครื่องหมาย, บัณฑิต ก็มีกรรม (การกระทำ) เป็นเครื่องหมาย” ดังนี้เป็นต้น.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล.


1454-1
พวกคอยเขี่ยไข่ขาง


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ คอยเขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ อดกลั้นได้ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้หมดสิ้นหวังซึ่งความ ตรึกเกี่ยวด้วยกาม ความตรึกเกี่ยวด้วย ความมุ่งร้าย ความตรึกเกี่ยวด้วยการทำความลำบากให้แก่ตนเองและผู้อื่นแม้โดยไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นแล้ว และ อดกลั้น ได้ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้หมดสิ้น ซึ่งสิ่งอันเป็น อกุศล ลามก ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้ แล.


1454-2
พวกปิดแผล


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ ปิดแผล เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมมารมณ์ ด้วยใจ แล้วไม่มีจิตยึดถือเอาทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด และการถือเอาโดยการ แยกเป็นส่วน ๆ สิ่งที่อกุศลลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ ไม่สำรวม ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหต เธอก็ปฏิบัติ เพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ เธอรักษาและถึงการสำรวม ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ.

ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล.


1455
พวกสุมควัน


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ สุมควัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟัง ได้เล่าเรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้สุมควัน เป็นอย่างนี้แล.


1455-1
พวกรู้จักท่าที่ควรไป


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุท.! ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อเข้าไปหา ภิกษุผู้เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ก็ไต่ถาม ไล่เลียงโดยทำนองนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! พระพุทธวจนะนี้ เป็นอย่างไร? ความหมายแห่งพระพุทธวจนะนี้มีอย่างไร?” ดังนี้เป็นต้น ตามเวลาอันสมควร ท่านพหุสูต เหล่านั้น จึงทำข้อความที่ยังลี้ลับให้เปิดเผย ทำข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทา ถ่ายถอน ความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยนานาประการให้แก่ภิกษุนั้นได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักท่าที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.


1455-2
พวกที่รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ รู้จักนํ้าที่ควรดื่ม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อธรรม วินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ เธอได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม และ ได้ความปราโมทย์อันอาศัยธรรม.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักน้ำที่ควรดื่ม เป็นอย่างนี้แล.


1456
พวกรู้จักทางที่ควรเดิน


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘.

ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้รู้จักทางที่ควรเดิน เป็นอย่างนี้แล.


1456-1
พวกฉลาดในที่ที่ควรไป


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัด แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งสติปัฏฐาน ๔.
ภิกษุ ท.! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในที่ที่ควรไป เป็นอย่างนี้แล.


1456-2
พวกรีด
นมโคให้มีส่วนเหลือ

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ รู้จักรีด นมโคให้มีส่วนเหลือไว้บ้างเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! พวกคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา ย่อมปวารณาไม่มีขีดขั้นแก่ภิกษุในกรณีนี้ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร. ในการที่เขาปวารณาเช่นนั้น, ภิกษุ เป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ ปัจจัย ๔ มี จีวรเป็นต้นเหล่านั้น.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักรีดนมโค ให้มีส่วนเหลือไว้บ้าง เป็นอย่างนี้แล.


1457
พวกบูชาผู้เฒ่า


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ฯลฯด้วยการบูชาเป็นพิเศษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปตั้งไว้ซึ่งการกระทำทางกาย การกระทำ ทางวาจา และการกระทำทางใจ อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลายผู้เถระ มีพรรษายุกาล บวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ทั้งในที่แจ้งและทั้งในที่ลับ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้บูชาอย่างยิ่งในภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ฯลฯ ด้วยการบูชาเป็นพิเศษ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ที่ประกอบด้วยองคคุณ ๑๑ ประการเหล่านี้ แล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย (พรหมจรรย์) นี้ได้แท้.


1457-1
อัฏฐังคิกมัคคปฏิบัติ
ต้องอาศัยที่ตั้งคือศีล

ภิกษุ ท. ! การงานใด ๆ ที่ต้องกระทำด้วยกำลัง การงานเหล่านั้นทั้งหมดต้องกระทำด้วยกำลัง กระทำได้เมื่ออาศัยซึ่งแผ่นดิน ยืนอยู่บนแผ่นดิน ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ ในศีล ย่อมเจริญ กระทำให้มากได้ ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล ย่อมเจริญกระทำให้มากได้ ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดคืน (ซึ่งอุปทานขันธ์) เจริญสัมมาสังกัปปะ .... เจริญสัมมาวาจา .... เจริญสัมมากัมมันตะ .... เจริญสัมมา -อาชีวะ .... เจริญสัมมาวายามะ .... เจริญสัมมาสติ .... เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดคืน (ซึ่งอุปาทานขันธ์)

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล ย่อมเจริญ กระทำให้มากได้ ซึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค. [ศีลอันเป็นที่ตั้งพื้นฐานในที่นี้ มิได้หมายถึงศีลที่มีรวมอยู่ใน อัฏฐังคิก มรรค หากแต่เป็นศีลพื้นฐาน เช่นศีลห้า อุโบสถศีล อันยังมิได้ปรารภวิเวก – วิราค – นิโรธ – โวสสัคคะ.ลักษณะแห่งการเจริญอริยมรรคนั้น กล่าวไว้หลายวิธี ในที่อื่น กล่าวว่าเจริญองค์ แห่งมรรคแต่ละองค์ ๆ อย่างที่ มีการนำออกซึ่งราคะเป็นที่สุดรอบ (ราควินยปริโยสาน) มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นที่สุดรอบ (โทสวินยริโยสาน) มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นที่สุด รอบ (โมหวินย-ปริโยสาน ในที่อื่นว่า เจริญองค์แห่งอริยมรรค อย่างที่มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธ) มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (อมตปรายน) มีอมตะเป็นที่สุดรอบ (อมตปริโย สาน ในที่อื่นแสดงลักษณะแห่งองค์อริยมรรคว่าเอียงไปสู่นิพพาน (นิพฺพานนินฺน) น้อมไป สู่นิพพาน (นิพฺพานโปณ) ลาดลุ่มไปสู่นิพพาน

(นิพฺพานปพฺภาร) ต่างกันอยู่เป็นสี่รูปแบบดังนี้ ล้านแต่เป็นที่น่าสนใจนำไปพิจารณา. กิริยาที่ผู้ ปฏิบัติต้องอาศัยศีลเป็นที่ตั้ง มีอุปมาเหมือนการทำงานต้องอาศัยเหยียบแผ่นดินเป็นที่ตั้ง นั้น ยังอุปมาแปลกออกไป เหมือนการที่พฤกษาชาติทั้งหลายต้องอาศัย แผ่นดินเป็นที่งอก งาม ก็มี และ เหมือนพวกนาคอาศัยซอกเขาหิมพานต์เป็นที่เกิดเป็นที่เจริญ ก็มี ล้วนแต่มี ความหมายอย่างเดียวกันว่า ว่าต้องมีที่ตั้ง ที่อาศัย].