เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  10 of 11  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  หลักเกณฑ์การเลือกสถาน ที่ควรเสพไม่ควรเสพ 1459     ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี 1489
   อัฏฐิคิกมรรคบริบูรณ์ได้โดยวิธีลัด 1461     คำชี้ชวนวิงวอน 1491
  วิธีการสืบต่อความไม่ประมาทของอริยสาวก 1462     ภาคสรุปว่าด้วยข้อความสรุปท้าย-จตุราริยสัจ 1495
  พึงทำความสมดุลย์ของสมถะและวิปัสสนา 1464     โอกาสแห่งโยคกรรมในการเห็นอริยสัจ 1496
  การปฏิบัติเพื่อความสมดุลย์แห่งสมถะและวิปัสสนา 1466     การเรียนปริยัติ มิใช่การรู้อริยสัจ 1497
  ความประสงค์สูงสุด มีได้เพราะสัมมัตตะ 1467    เห็นพระรัตนตรัยก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้น 1498
  การให้ผลของมิจฉัตตะและสัมมัตตะ 1468     ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ ต้องเป็นธัมมาธิปไตย 1500
  รีบปฏิบัติให้สุดเหวี่ยงแต่ไม่ต้องร้อนใจว่าจงสำเร็จ 1469     แทงตลอดอริยสัจยิ่งกว่าแทงด้วยปลายขนทราย 1501
  ภาวะบริสุทธ์ิแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ ๑๖ ประการ 1471     การปฏิบัติอริยสัจไม่ขัดต่อหลักกาลามสูตร 1502
  (ข. ภาวะบริสุทธ์ิที่สำหรับถือเป็นหลัก) 1475     (ก. ฝ่ายอกุศล) 1503
         
  สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรคก็เป็นอาหุเนยย- 1481     (ข.ฝ่ายกุศล) 1506
  องค์แห่งมรรคที่เป็นเสขะของเสขบุคคล 1483     บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ 1511
  ประโยชน์อันสูงสุดของสัมมัตตะสิบ 1484     เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก 1512
  อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง 1485     หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป 1513
  ทรงกำชับเรื่องการทำลายอหังการมมังการ 1486     อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์ 1514
  อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา 1487     อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์ 1515
  อัฏฐังคิกมรรคในฐานกัลยาณวัตรที่ทรงฝากไว้ 1488     เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ 1517

 

       

 

   

 

 
 
 





1459
หลักเกณฑ์การเลือกสถานที่และบุคคลที่ควรเสพไม่ควรเสพ
(อันเป็นอุปกรณ์แห่งมรรค)


การเลือกที่อยู่ในป่
(วนปัตถ์)
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ (ป่าทึบ) แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ สติที่ยังตั้งขึ้น ไม่ได้ ก็ไม่ตั้งขึ้นได้ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็ไม่ถึงความสิ้น และอนุตตร โยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุก็ไม่บรรลุ ทั้งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชช-บริขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามา เพื่อเป็นบริขารของชีวิตก็หามาได้โดยยาก.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน พึงหลีกไปเสียจากวนปัตถ์นั้นอย่าอยู่เลย.

ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ไม่ตั้งขึ้นได้ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็ไม่ถึงความสิ้น และอนุตตรโยคัก เขมธรรมที่ยังไม่บรรลุก็ไม่บรรลุแต่ว่า จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร อันบรรพชิตพึงแสวงหามาเพื่อเป็นบริขารของชีวิต ก็หามาได้โดยไม่ยาก.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว คิดว่า “เราเป็นผู้ออกจากเรือนบวช เพราะเหตุแห่งจีวรก็หามิได้ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ก็หามิได้ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะก็หา มิได้ เพราะเหตุแห่ง คิลานปัจจยเภสัชชบริขารก็หามิได้” ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงหลีกไปจากวนปัตถ์นั้น, อย่าอยู่เลย.
(คิลาน ปัจจัย อ่าน คิ-ลา- นะ- ความหมายคือ ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับภิกษุป่วยไข้ เช่นกาต้มน้ำ หม้อต้มยา หินบดยา ฯลฯ)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็ถึงความสิ้น และอนุตตรโยคักเขมธรรม ที่ยังไม่ บรรลุ ก็บรรลุ แต่ว่าจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจย เภสัชชบริขาร อันบรรพชิตพึง แสวงหามา เพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น ก็หามาได้โดยยาก

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว คิดว่า “เรามิได้ ออกจากเรือนบวช เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่ง บิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่ง คิลานปัจจยเภสัชช บริขาร” ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงอยู่ในวนปตถ์นั้น อย่าหลีกไปเสียเลย.

ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็ถึงความสิ้น และอนุตตรโยคักเขมธรรม ที่ยังไม่บรรลุก็บรรลุ ทั้งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจย เภสัชชบริขาร อันบรรพชิตจะ แสวงหา มาเพื่อเป็ นบริขารของชีวิตนั้น ก็หามาได้โดยไม่ยาก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นพิจารณา เห็น โดย ประจักษ์ ดังนี้ พึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น จนตลอดชีวิต อย่าหลีกไปเสียเลย.

(
ในกรณีแห่ง การเลือกหมู่บ้าน นิคม นคร ชนบท และบุคคล ที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ ก็ได้ตรัส ไว้โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน)
 (ในสูตรอื่น ถือเอา การเกิดแห่งกุศลและการไม่เกิดแห่งอกุศล เป็นหลักเกณฑ์สำหรับการ เลือกว่า ควรเสพหรือไม่ควรเสพ ถ้าได้ผลเป็นบุญกุศลถือว่าควรเสพ ถ้าได้ผลเป็นอกุศล ถือว่าไม่ควรเสพ. และถือเอาหลักเกณฑ์นี้สำหรับการเลือกสิ่งเหล่านี้คือ กายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร จิตตุปบาท สัญญาปฏิลาภ ทิฏฐิปฏิลาภ อัตตภาวปฏิลาภ อารมณ์ แต่ละอารมณ์ทาง อายตนะทั้งหก จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คาม นิคม นคร ชนบท และบุคคล. ผู้ปรารถนา รายละเอียดพึงดูจาก ที่มานั้น ๆ หรือดูที่หัวข้อว่า “การเสพที่เป็นอุปกรณ์และ ไม่เป็นอุปกรณ์ แก่ความเพียรละอกุศล และ เจริญกุศล”ที่หน้า ๑๑๔๓ แห่งหนังสือเล่มนี้).


1461
อาการที่เรียกว่า
อัฏฐิคิกมรรคบริบูรณ์ได้โดยวิธีลัด

ภิกษุ ท. ! เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่งจักษุตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูป . ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุข ก็ตาม ตามที่เป็นจริง

บุคคลย่อมไม่กำหนัดยินดีในจักษุ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูป ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักข ุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเวทนา อันเกิดขั้น เพราะจักขุ สัมผัสเป็นปัจจัย สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตามอทุกขมสุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดยินดีแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่หลงใหลแล้ว มีปกติเห็นโทษ อยู่ ปัญจุปาทานขันธ์  อมถึงซึ่งความ ไม่ก่อขึ้นอีกต่อไป และ ตัณหาอันเครื่องนำมาซึ่งภพใหม่ ประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน ทำให้เพลิน อย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป. ความกระวนกระวาย ทางกายและทางจิต ก็ละไป ความแผดเผา ทางกาย และทางจิต ก็ละไป ความเร่าร้อน ทางกายและทางจิต ก็ละไป บุคคลนั้นย่อมเสวย ความสุขทั้งทางกายและทางจิต.

ทิฏฐิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิความดำริของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสัง กัปปะความเพียรของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ เช่นนั้น เป็นสัมมาวายามะ สติของผู้รู้ผู้เห็น อยู่ เช่นนั้น เป็น สัมมาสติ สมาธิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสมาธิ. ส่วน กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา บริสุทธ์ิมาแล้วแต่เดิม

(ดังนั้นเป็นอันว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาสัมมาอาชีวะ มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่ ในบุคคลผู้รู้อยู่ ผู้เห็น อยู่เช่นนั้น).

ด้วยอาการอย่างนี้เป็นอันว่า อริยฏฐังคิกมรรคแห่งบุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนั้น ย่อมถึงซึ่ง ความ บริบูรณ์แห่งภาวนา ด้วยาการอย่างนี้.

(ผู้ยึดการปฏิบัติอริยอัฏฐังคิกมรรคเป็นหลัก พึงมองให้เห็นความสำคัญที่สุดแห่งพระบาลีนี้ ที่แสดงให้ เห็นว่า ถ้าปฏิบัติในชั้นลึก คือการรู้เห็นอย่างถูกต้องเกี่ยวกับอายตนะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งตัณหา อุปทานแล้ว ย่อมเป็นเคล็ดลับ ในการปฏิบัติอริยอัฏฐังคิกมรรค อย่างครบถ้วนขึ้นมา โดยอัตโนมัติ ไม่เสียเวลามากเหมือนผู้ปฏิบัติชนิดแจกแจงเป็นองค์ ๆ และองค์ละหลาย ๆอย่าง ซึ่งโดยมากปฏิบัติ จนตายหรือเกือบตายก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ จึงขอเน้นความสำคัญ อย่างยิ่งแห่งพระบาลีนี้ แก่ผู้ปฏิบัติทุกคน. ข้อความ ที่ยกมานี้ ยกมาแต่ข้อความที่แสดง ด้วยเรื่องของจักษุ ผู้ศึกษาพึงเทียบ เคียงเอาเองออกไปถึงเรื่องของ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน แต่ละอย่าง ๆ ออกเป็นห้า ประเด็น เหมือนอย่างที่แสดงไว้ในกรณีแห่งจักษุข้างต้นนั้น ก็จะได้อายตนะนิกธรรม ๖หมวด ๆ ละ ๕ อย่าง รวมเป็น ๓๐ อย่าง โดยบริบูรณ์).


1462
วิธีการสืบต่อความไม่ประมาทของอริยสาวก


นันทิยะ ! อริยสาวก เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ? นันทิยะ ! ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้ ประกอบด้วย ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหว (พุทธอเวจจัปปสาทะ) ดังนี้ว่า “แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกล จากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลก อย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่าง ไมมี่ใครยิ่งกว่าเป็นคร ูผู้สอน ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วย ธรรมเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

อริยสาวกนั้น ไม่มีความพอใจหยุดอยู่ เพียงแค่ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า อย่างไม่ หวั่นไหว แต่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป คือเพื่อความ วิเวกในกลางวัน เพื่อความหลีกเร้นใน กลางคืน.

เมื่ออริยสาวกนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ย่อมเกิดขึ้นเมื่อ ปราโมทย์แล้ว ปีติ (ความอิ่มใจ) ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีใจปีติ กายก็สงบระงับ ผู้มีกายสงบระงับ ย่อมรู้สึกเป็นสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ) มื่อจิตั้งมั่น ธรรม (ที่ยังไม่เคย ปรากฏ) ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งธรรม อริยสาวกนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับ ได้ว่าเป็น ผู้มีปกติ อยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.

(ในกรณีแห่งโสตาปัตติยังคะที่สอง คือ ความเลื่อมใสในพระธรรมอย่างไม่หวั่นไหวก็ดี ที่สามคือ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ อย่างไม่หวั่นไหว ก็ดี ที่สี่คือ ความมีศีลที่พระ อริยเจ้าพอใจ (อริยกันตศีล) ก็ดี ก็ได้ทรงตรัสไว้มีข้อความอย่าง เดียวกันกับ ข้อความข้างบน ที่กล่าวถึงความ เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า )

นันทิยะ ! อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท.

(ขอให้สังเกตเห็นใจความสำคัญที่ว่า แม้จะเป็น เตรียมพระโสดาบัน (คือธัมมานุสารี และ สัทธา นุสารีก็ตาม) หรือเป็นพระ โสดาบันแล้วก็ตาม ยังมีกิจคือความไม่ประมาท ที่จะต้อง กระทำ สืบต่อ ยิ่งขึ้นไป ความข้อความในพระสูตรนี้ ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ ด้วยความไม่ประมาท อยู่เสมอ. ข้อปฏิบัติ เหล่านั้นมีใจความสำคัญอยู่ที่ว่า กลางวันมีวิเวก คือสงัดจากความรบกวน ภายนอก กลางคืนมี ปฏิสัลลาณะ คือจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ แต่มากำหนดอยู่ท ี่ธรรม อันควรกำหนด อยู่ตลอดเวลา จนเกิดผลตาม ลำดับ นับตั้งแต่ความปราโมทย์ ไปจนถึงความปรากฏแห่งธรรม ที่ยังไม่เคยปรากฏ.

อริยสาวกชั้นที่สูงขึ้นไปก็มีหลักปฏิบัติทำนองนี้ คือกลางวันมีวิเวิกกลางคืนมีปฏิสัลลาณะ เพื่อบรรลุ ธรรมชั้นที่สูงขึ้นไป กว่าที่บรรลุ อยู่ จนกระทั่งถึงชั้นพระอรหันต์. แม้ชั้นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นชั้นที่ถึง ที่สุด แห่งความไม่ประมาทแล้ว ก็ยังมีวิเวกในกลางวัน มีปฏิสัลลาณะ ในกลางคืน เพื่อความอยู่เป็น ผาสุกของบุคคลผู้ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์. ขอให้ทุกคน เห็นความสำคัญของการอยู่ อย่างมีวิเวก และมีปฏิสัลลาณะ ว่าเป็นฐานรากในการสืบต่อ ความไม่ประมาทให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในตัวเอง โดยไม่ต้อง ลำบากมากมาย นัก).



1464
พึงทำความสมดุลย์ของสมถะและวิปัสสนา


ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำพวกอย่างไรเล่า ? สี่คือ บุคคลบาง คน ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญา บุคคลบางคน ได้ธัมมวิปัสสนา ด้วยอธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน บุคคลบางคน ไม่ได้ทั้ง เจโตสมถะ ในภายในและไม่ ได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปญั ญาด้วย บุคคลบางคน ได้ทั้งเจโตใน ภายในด้วย และได้ธัมมวิปัสสนา ด้วยอธิปัญญาด้วย.

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น

๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ ในภายใน แต่ไม่ได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญานั้น บุคคลนั้น ควร ดำรงตน อยู่ในเจโสมถะ ในภายใน แล้วประกอบความเพียร ในธัมมวิปัสสนา ด้วยอธิปัญญา เถิด. สมัยต่อมาเขาก็จะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะ ในภายใน และได้ อธิปัญญา ธัมมวิปัสสนาด้วย.

๒. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายในนั้น บุคคลนั้น ควรดำรงตนอยู่ใน อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาแล้วประกอบความเพียร ในเจโต สมถะในภายใน. สมัยต่อมา เขาจะเป็นผู้ได้ทั้งอธิปัญญา ธัมมวิปัสสนาด้วย และได้เจโตสมถะ ในภายในด้วย.

๓. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ไม่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนานั้น บุคคลนั้น เพื่อให้ได้ซึ่ง กุศลธรรมทั้งสองอย่างนั้น พึง กระทำโดยประมาณอันยิ่งซึ่ง ฉันทะ (ความพอใจ) วายามะ (ความพยายาม) อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขะมักเขม้น) อัปปฏิวาณี (ความไม่ถอยหลัง) สติ และสัมปชัญญะ ให้เหมือนกับคนมีไฟลุกโพลง ที่เสื้อผ้า หรือที่ศีรษะ พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวาณี สติ สัมปะชัญญะ โดยประมาณอันยิ่ง เพื่อจะดับไฟอันลุก โพลงที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย ฉันใดก็ฉันนั้น. สมัยต่อมา เขาจะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในและได้อธิ-ปัญญาธัมม วิปัสสนาด้วย.

๔. ภิกษุ ท. ! ส่วน บุคคลผู้ได้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในด้วยและได้ อธิปัญญาธัมม วิปัสสนา ด้วยนั้น บุคคลนั้น ควรดำรง อยู่ในกุศลธรรมทั้งสอง นั้นแล้วประกอบ ความเพียร เพื่อความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.

ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีอยู่ หาอยู่ ในโลก.

(ในพระบาลีบางแห่ง (๑๔/๕๒๔/๘๒๙) ตรัสระบุมรรคหรืออริยสัจที่สี่ว่าได้แก่ สมถะและ วิปัสสนา. ข้อความข้างบนนี้เกี่ยวข้องกับ สมถะและวิปัสสนา จึงนำมาใส่ไว้ในหมวดนี้)


1466
การปฏิบัติเพื่อความสมดุลย์แห่งสมถะและวิปัสสนา


ภิกษุ ท. ! ในบรรดาสี่จำพวกนั้น

๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคล ผู้ได้อธิปัญญา ธัมมวิปัสสนา แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ! เราควรเห็นสังขารกันอย่างไร? ควรพิจารณากันอย่างไร? ควรเห็นแจ้งสังขารกัน อย่างไร? ”ดังนี้. ผู้ถูกถามนั้น จะพยากรณ์ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นว่า “ท่านผู้มีอายุ ! สังขารควร เห็นกันอย่างนี้ ๆ สังขารควรพิจารณากันอย่างนี้ ๆ สังขารควรเห็น แจ้งกันอย่างนี้ๆ” ดังนี้. สมัยต่อมา บุคคลนั้นก็จะเป็นผู้ได้ทั้ง เจโตสมถะในภายใน และ อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.

๒. ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้เจโต สมถะในภายใน แล้วท่านถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิต เป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ (สณฺฐเปตพพฺ) อย่างไร ? ควรถูกชักนำไป (สนฺนิยาเทตพฺพ) อย่างไร? ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว

(เอกทิกตฺตพฺพ) อย่างไร ? ควรทำให้ตั้งมั่น (สมาทหาตพฺพ) อย่างไร? ” ดังนี้. ผู้ถูกถามนั้น จะพยากรณ์ ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่ม แจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิต เป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ ควรถูกชักนำไป ด้วยอาการอย่าง นี้ ๆ ควรทำให้ เป็นจิต มีอารมณ์เดียว ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ ควรทำให้ตั้งมั่น ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ” ดังนี้. สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ทั้งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาและเจโตสมถะในภายใน.

๓. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ไม่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาผู้ได้ทั้งเจโต สมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้อย่างไร? ควรถูกชักนำไป อย่างไร? ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียวอย่างไร? ควรทำให้ตั้งมั่นอย่างไร? สังขารเป็นสิ่งที่ควรเห็น อย่างไร? ควรพิจารณา อย่างไร? ควรเห็นแจ้งอย่างไร?” ดังนี้.

ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตน เห็นแล้วแจ่มแจ้งแล้วอย่างไร? แก่บุคคลนั้น ว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ ควรถูกชักนำไป ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์ เดียว ด้วยอาการอย่างนี้ๆ ควรทำให้ตั้งมั่น ด้วยอาการ อย่างนี้ ๆ สังขารเป็นสิ่งที่ควรเห็นกันอย่างนี้ ๆ ควรพิจารณากันอย่างนี้ ๆ ควรเห็นแจ้งกันอย่างนี้ ๆ” ดังนี้. สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ ทั้งเจโตสมถะในภายในและอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.

. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงดำรงตนไว้ในธรรมทั้งสอง นั้น แล้วประกอบความเพียร เพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะ ทั้งหลาย ให้ยิ่งขึ้นไป. ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.


1467
ความประสงค์สูงสุด
มีได้เพราะสัมมัตตะ

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยสัมมัตตะ อาราธนา (ความสำเร็จสูงสุดชนิดเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า) ย่อมมี มิใช่มีวิราธนา (ความไม่ประสพความสำเร็จฯ). ข้อนั้น
เป็นอย่าไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
สำหรับผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะย่อมมีเพียงพอ
สำหรับผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติย่อมมีเพียงพอ
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีอาราธนามิใช่มีวิราธนา.

(ความไม่ประสงค์ (วิราธนา) มีได้เพราะอาศัยมิจฉัตตะ ตรัสไว้โดยนัยตรงกันข้าม ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง. คำขยายความ ที่กว้างขวางออกไป มีอยู่ในข้อความต่อไป จากข้อความตอนนี้).


1468
การให้ผลของมิจฉัตตะและสัมมัตตะ


ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลมีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ....ฯลฯ .... มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ เสียแล้ว, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เขากระทำเต็มที่ตามทิฏฐินั้น ใด ๆ ก็ดี เจตนา ก็ดี ความปรารถนา ก็ดีปณิธาน ก็ดี สังขาร (การปรุงแต่ง) ใดๆ ก็ดี ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ของบุคคลนั้น ย่อม เป็นไปเพื่อความทุกข์อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้นเป็ นทิฏฐิชั่ว (ปาปิก). ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนพรรณ ไม้สะเดา พรรณไม้ บวบขม พรรณไม้น้ำเต้าขม ที่เขาปลูกลงไปในดินเปียก พืชนั้นเข้าไป จับเอา รสแห่งดินและรสแห่งน้ำใด ๆ รสแห่งดินและรสแห่งน้ำ ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความ เป็นของขม ของเผ็ดร้อน ของไม่อร่อย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า พืชนั้น เป็นพืชชั่ว ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา….ฯลฯ.... สัมมาญานะ สัมมาวิมุตติ แล้ว, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เขากระทำเต็มที่ตามทิฏฐินั้น ใด ๆ ก็ดี เจตนา ก็ดี ความปรารถนา ก็ดี ปณิธาน ก็ดี สังขาร ใด ๆ ก็ดี ธรรมเหล่า นั้นทั้งหมดของบุคคลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสุขอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นประโยชน์เกื้อกูล. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้นเป็นทิฏฐิดี (ภทฺทิก).  

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน พืชพรรณอ้อย พืชพรรณข้าวสาลี พืชพรรณองุ่น (มุทฺทิก) ที่เขาปลูกลงไปในดินเปียก พืชนั้นเข้าไปจับ เอารสแห่งดินและรสแห่งน้ำใด ๆ รสแห่ง ดินและรสแห่งน้ำทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสน่ายินดี รสหวาน รสชุ่มฉ่ำ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าพืชนั้นเป็นพืชดี ฉันใดก็ฉันนั้น.


1469
รีบปฏิบัติให้สุดเหวี่ยงแต่ไม่ต้องร้อนใจว่าจงสำเร็จ
(นั้นแหละคือมัชฌิมาปฏิปทา)


ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้.สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ คฤหบดีชาวนา รีบ ๆไถคราดพื้นที่นาให้ดีเสียก่อน, ครั้นแล้ว ก็รีบๆปลูกพืช, ครั้นแล้วก็ รีบๆไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง.

ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล แต่ว่า คฤหบดี ชาวนานั้น ไม่มีฤทธ์ิหรืออนุภาพ ที่จะบัน ดาลว่า “ข้าวของเราจงงอกในวันนี้ ตั้งท้องพรุ่งนี้, สุกมะรืนนี้”ดังนี้ได้เลย ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตาม ฤดูกาลย่อม จะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างอะไร บ้างเล่า ? สามอย่างคือ การสมา ทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่งการสมาทานการปฏิบัติใน จิตอันยิ่ง และ การสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล แต่ว่า ภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธ์ิหรือ อานุภาพที่จะบันดาลว่า “จิตของ เราจงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทาน ในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อภิกษุนั้น ปฏิบัติไปแม้ในศีล อันยิ่งปฏิบัติแม้ในจิตอันยิ่ง และปฏิบัติแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจ ากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทาน ได้เอง.

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “ความพอใจของเรา จักต้อง เข้มงวดพอ ในการสมาทาน ปฏิบัติในศีลอันยิ่ง ในการสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และในการ สมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ อย่างนี้แล.


1471
ภาวะบริสุทธ์ิแห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์
โดย ๑๖ ประการ
( ก. ภาวะไม่บริสุทธ์ิสำหรับเปรียบเทียบ )


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อการเกียดกันกิเลสด้วยตบะบริบูรณ์อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคยัง จะกล่าวถึง อุปกิเลสมีอย่างต่างๆ แห่งการบำเพ็ญตบะนั้นอย่างไรอีกเล่า ?”

๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ คือ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเป็นผู้พอใจด้วยตบะนั้น ว่าบริบูรณ์แล้ว ตามประสงค์ (เป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อตัวกู, มิใช่เพื่อธรรมะ). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา พอใจด้วย ตบะว่า บริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็ยังเป็นอุป กิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้บำเพ็ญตบะ. (ตบะ แปลว่า ความเพียรอันเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส)

๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มขู่ผู้อื่น ด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเมาตบะ หลงตบะ ถึงความ มัวเมา ด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียง สรรเสริญ ให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขา พอใจ ด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา พอใจด้วยลาภสักการะ และเสียง สรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้นแม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะ และเสียง สรรเสริญ ให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะ และเสียง สรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็น อุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๖.นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะ และเสียง สรรเสริญให้ เกิดขึ้น ด้วยตบะนั้น เขาเมาลาภ หลงลาภถึงความมัวเมาด้วยลาภ สักการะ และเสียงสรรเสริญนั้น นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาเมาลาภ หลงลาภ ถึงความ มัวเมาด้วยลาภ สักการะ และเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขา ถึงการแบ่งแยกในโภชนะ ทั้งหลายว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควร แก่เรา” ดังนี้. เขาไม่ชอบสิ่งใด เขาสะบัดหน้าไม่สนใจ ละมันไปเสีย เขา ชอบสิ่งใด เขาก็จดจ่อมัวเมา หมายมั่นซึ่งสิ่งนั้น ไม่มองเห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็ นเครื่องออก(จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) กินเอา นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็น อุปกิเลส ของผู้บำเพ็ญตบะ.

๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ทั้งหลาย จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็น อุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ ที่เที่ยวรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้ มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิด จากยอด และพืชเกิดจาก ลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ด้วยวาทะยํ่ายีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. นิโค๎รธ ! การกระทำแม้นี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆที่คนพากัน สักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย ก็ มีความคิดว่า “คนทั้งหลาย พากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีพสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้บำเพ็ญตบะ ดำรงชีวิตอยู่อย่างมี ลูข๑ ปฏิปทา อยู่ในตระกูล ทั้งหลาย” ดังนี้ เขา เกิดมีความริษยาและตระหนี่ในตระกูล ทั้งหลายขึ้นมา ด้วย อาการอย่างนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุป กิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ ชอบนั่งแสดงตัว ตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน) นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุป กิเลสของ ผู้บำเพ็ญตบะ.

๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เปิดเผยตน(ตามที่เป็ นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ประกาศอยู่ว่า “อย่างนี้ ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ มีปกตินิสัยทำสิ่ง ไรๆ
……………………………………………………………………………………………………………………..

๑. ลูขะ คำนี้ แปลยากสำหรับคนไทย เคยแปลกันว่าเศร้าหมองบ้าง ปอนๆ บ้าง เป็นคำ แปลที่อาจให้เกิดความเข้าใจผิดจาก ความหมายอันแท้จริง ซึ่งสูงหรือลึกไปกว่านั้น กล่าวคือ มีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่ไร้ค่า ไร้ความสวยงาม ไร้ความสะดวกสบาย เป็นชีวิต แบบต่ำสุดสำหรับ นักบวช ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่าเคร่งครัดอย่างยิ่ง. ขอให้ใช้คำว่า ลูขะ นี้เป็นคำคำหนึ่ง ในภาษาไทยสืบไป ในภายหน้าด้วย.
……………………………………………………………………………………………………………………..
ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็กล่าวสิ่งที่ ไม่ควรว่าควร กล่าวสิ่งที่ควรว่าไม่ควร เป็นผู้กล่าวมุสา ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลส ของผู้บำเพ็ญตบะ.

๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขาไม่ยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยายที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) แม้มีอยู่แท้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ขี้โกรธมักผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.

๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ลบหลู่คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน เป็นคน ริษยา ตระหนี่ เป็นคน โอ้อวด มีมายาเป็นคน หัวดื้อ ดูหมิ่นท่าน เป็นคน ปรารถนาลามก ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบอยู่ ด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นคนลูบคลำ สิ่งต่าง ๆ ตามทิฏฐิของตน ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัดคืนได้ยาก.นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุป กิเลส ของผู้บำเพ็ญตบะ.

นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร การเกียดกันกิเลสด้วยตบะในรูปแบบอย่าง ที่ว่า มานี้ (ทุกข้อ) เป็นอุปกิเลส หรือไม่ เป็นอุปกิเลสเล่า ?“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การเกียดกัน กิเลสด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลส หามิได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่ คือผู้ บำเพ็ญตบะบางคนในกรณีนี้ประกอบด้วย อุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่างแล้วทำไมจะไม่ประกอบด้วยอุปกิเลสแต่ละอย่างเล่า”.


1475
(
ข. ภาวะบริสุทธ์ิที่สำหรับถือเป็นหลัก)

๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่เป็นผู้พอใจไม่รู้สึกว่าบริบูรณ์แล้ว ตามประสงค์ด้วยตบะนั้น (ไม่ได้บำ เพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตัวกู). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตนนั้น นั่นแหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.

๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น ด้วยตบะ นั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาไม่ยกตนไม่ข่ม ผู้อื่นด้วยตบะนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็น ผู้บริสุทธิ์ใน ฐานะ นั้น

๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่เขาไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความ มัวเมาด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความ มัวเมา ด้วยตบะ นั้น ด้วยเหตุผลนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและ เสียง สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่เป็นผู้พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่เป็น ผู้พอใจด้วย ลาภสักการะและ เสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น ด้วยเหตุผลนี้แหละเขาเป็น ผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.

๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียง สรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่ ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียง สรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะ และเสียง สรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียง สรรเสริญให้เกิดขึ้น เขาไม่เมาลาภ ไม่หลงลาภ ไม่ถึงความมัวเมาลาภสักการะ และเสียง สรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่เมาลาภไม่หลงลาภไม่ถึงความมัวเมา สักการะและ เสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่เขา ไม่ถึงการแบ่งแยกในภาชนะ ทั้งหลาย ว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ ควรแก่เรา”ดังนี้ เขา ไม่ชอบสิ่งใด เขาไม่ได้สะบัดหน้า แสดงความไม่สนใจ ละมันไปเสียเขา ชอบสิ่งใด เขาก็ไม่จดจ่อ ไม่มัวเมา ไม่หมายมั่น สิ่งนั้น มองเห็นโทษมีปัญญาเป็ นเครื่องออก(จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) บริโภคอยู่. ด้วยเหตุนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขา ไม่คิดอย่างนี้ว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ทั้งหลาย จักสักการะเรา เพราะเหตุ แห่ง ความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. ด้วยเหตุนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.

๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นผู้เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใด ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อนกินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืช เกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิด จากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะ-ราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.

๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใด ที่คนพากัน สักการะ อยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย เขา ไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชา ซึ่งสมณะพราหมณ์ นี้ผู้มีอาชีวะสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้ดำรงชีพอยู่อย่างมีลูขปฏิปทา อยู่ในตระกูล ทั้งหลาย” ดังนี้ เขา ไม่เกิดมีความริษยาและตระหนี่ ในตระกูลทั้งหลาย ขึ้นมาอย่างนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.

๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ชอบนั่งแสดง ตนตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็น ผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.

๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ จะไม่เปิดเผยตน(ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปใน ตระกูลทั้งหลายก็หามิได้ (เขาเป็น คนจริงและเปิดเผย) ประกาศอยู่ ว่า “อย่างนี้ ๆ เป็นตบะของฉัน มีในตบะของฉัน” ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็น ผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่มีปกตินิสัยทำสิ่งไร ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็ กล่าวสิ่งที่ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวสิ่งที่ควร กล่าวว่าควร ไม่เป็ นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจดังนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้ บริสุทธิ์ใน ฐานะนั้น.

๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขายอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยายที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ซึ่งมีอยู่แท้. นิโค๎รธ ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนขี้โกรธไม่ผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาเป็นคนไม่ขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.

๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนลบหลู่คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน ไม่เป็นคนริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่เป็นคน โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนหัวดื้อ ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่เป็นคนปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ไม่เป็น มิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบอยู่ด้วยอันคาหิกทิฏฐิ ไม่เป็น คนลูบคลำ สิ่งต่าง ตามทิฏฐิ ของตน ไม่ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัด คืนได้ง่าย. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.

นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เมื่อเป็นอย่างนี้มันเป็นการเกียดกัน กิเลสด้วยตบะ ที่บริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์เล่า?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลส ด้วยตบะที่บริสุทธิ์โดยแท้ หาใช่ไม่บริสุทธิ์ไม่ทั้งยังเป็นการบรรลุ ถึงยอด ถึงแก่นอีกด้วยพระเจ้าข้า !”

นิโค๎รธเอ๋ย ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเพียงเท่านี้ ยังไม่ถึงยอด ถึงแก่น เป็นเพียงถึงเปลือก แห้งๆ เท่านั้น.

การต่อสู้ของผู้เกลียดกลัวความทุกข์โดยละเอียด ถ้าผาสุกธรรมใดๆมีอยู่ สำหรับผู้เกลียดต่อ ทุกข์ ผู้เสพที่ นั่ง นอนอันสงัด ใคร่จะ ตรัสรู้ธรรมตามที่เป็นจริง แล้วไซร้ เราจักบอก ผาสุกธรรมนั้นๆแก่เธอ ตามที่เรารู้.

ภิกษุผู้ฉลาด พึงเป็นผู้มีสติ ประพฤติธรรมถึงที่สุดรอบ ด้าน ไม่พึงเกรงต่อภัย ๕ อย่าง คือภัย จากเหลือบ สัตว์กัด ต่อย สัตว์เสือก คลาน การกระทบของมนุษย์ และสัตว์สี่เท้า. ภิกษุนั้น ไม่พึงครั่นคร้าม ต่อชนเหล่าอื่นผู้มีธรรมเป็น ปรปักษ์ แม้เห็นความ น่ากลัวเป็นอันมากจาก ชนเหล่านั้น หรือ อันตรายอย่างอื่นๆ ก็แสวงหาซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ครอบงำ ความกลัว เหล่านั้น เสียได้.

ถูกกระทบแล้วด้วยผัสสะแห่งโรค ความหิว ความหนาว ความร้อน ก็อดกลั้นได้. ผัสสะเหล่านั้น ถูกต้องแล้ว มากมายเท่าไร ก็ยังไม่มีกิเลสท่วมทับใจ ยังคงบากบั่นกระทำความ เพียรอยู่อย่าง มั่นคง.

ไม่พึงกระทำการขโมย ไม่พึงกล่าวเท็จ พึงถูกต้องสัตว์ ทั้งที่ ยังสะดุ้งและมั่นคง ด้วยเมตตา. พึงรู้ชัดความขุ่นมัวแห่งใจแล้ว บรรเทาเสียด้วยคิดว่า นั้นเป็นธรรมฝ่ายดำ. ไม่พึงไปสู่อำนาจ แห่งความโกรธ และจองหอง พึงขุด รากแห่งกิเลสเหล่านั้น ดำรง ตนอยู่ เป็นผู้ครอบงำเสียซึ่ง อำนาจของสิ่งอัน เป็นที่รักและไม่เป็นที่รักโดยตรง.

พึงเป็นผู้มีกัลยาณปี ติ มุ่งปัญญาเป็นเบื้องหน้า ครอบงำ เสียซึ่งอันตรายเหล่านั้น พึงข่มขี่ความ ไม่ยินดีในที่อยู่อันสงัด ข่มขี่ธรรม เป็น ที่ตั้งแห่งปริเทวะทั้งสี่อย่างเสีย คือปริเทวะว่า เราจักกิน อะไร จักได้กินที่ไหน เมื่อคืนนอนเป็นทุกข์ คืนนี้ จักนอนที่ไหน.

วิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งปริเทวะเหล่านี้ เธอพึงนำ ออกเสีย เป็นเสขะไม่มีที่อยู่ ที่อาศัยเที่ยว ไปเถิด. เมื่อได้อาหารและที่อยู่ในกาล อันสมควรแล้ว พึงเป็นผู้รู้ ประมาณ เพื่อความเป็นผู้ สันโดษในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ คุ้มครอง ตนในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยว ไปในหมู่บ้าน แม้ถูกด่าก็ไม่ กล่าวคำหยาบ

พึงเป็นผู้ทอดสายตาต่ำ ไม่หลุกหลิงด้วยเท้า ตามประกอบ อยู่ในฌาน เป็นผู้มากด้วยความตื่น อยู่ มีตนส่งไปใน สมาธิ ปรารภ อุเบกขา ตัดเสียซึ่งเหตุแห่งวิตกและธรรม เครื่องส่งเสริม กุกกุจจะ.

เมื่อถูกกล่าวตักเตือน ก็เป็นผู้มีสติยินดีรับคำตักเตือน พึงทำลายข้อขัดแย้ง (ขีล) ในเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย กล่าว กล่าวผู้อื่น ต่อแต่นั้น พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อนำออกเสียซึ่งธุลี ๕ อย่าง ในโลก คือ ข่มขี่ซึ่งราคะ ในรูป ในเสียง ในรส ใน กลิ่น ในผัสสะ ทั้งหลาย.

พึงนำออกซึ่งความพอใจในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็น ภิกษุ มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ใคร่ครวญอยู่ ซึ่งสัมมาธรรมะ โดยกาล อันควร เป็นผู้มีธรรมอันเอก กำจัดความมืดเสียได้ แล.

(ข้อปฏิบัติตามอัฎฐังคิกมรรค อาจจะแยกแยะออกไปเป็นรายละเอียด ได้อย่างมากมายด้วย พระพุทธภาษิตที่ตรัสแก่ พระสารีบุตร ในที่นี้ กล่าวได้ว่า เป็นคำขยายความของ อริยมรรค มีองค์ แปดรวมกันได้เป็นอย่างดี จึงได้นำข้อความนี้มาใส่ไว้ ในหมวดนี้).

หมวด
. ว่าด้วยมรรคกับอาหุเนยยบุคคล


1481
สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค
ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ
แล้ว


ภิกษุท. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคลเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า. แปดประการ อย่างไรเล่า? แปดประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้

๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็น เป็นภัย ในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณเล็กน้อยสมาทานศึกษา ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่.

๒. เขาถวายโภชนะใดๆแก่เธอ เศร้าหมอง หรือประณีต ก็ตาม เธอฉันโภชนะนั้นๆ โดยเคารพ เอื้อเฟื้อ ไม่เดือดร้อน กระวน กระวาย.๓. เป็นผู้เกลียดต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เกลียดต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย

๔. เป็นผู้ยินดีในความสงบ มีการอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่ทำภิกษุเหล่าอื่นให้หวาดกลัว.

๕. เป็นผู้เปิ ดเผยความโอ้อวด ความโกง ความพยศ ความคดของเธอ ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็น วิญญูชน ตามเป็นจริงพระศาสดาหรือเพื่อน สพรหมจารีผู้ วิญญูชนเหล่านั้น ย่อมพยายามเพื่อกำจัดโทษเหล่านั้นของเธอเสีย.

๖. เป็นผู้มีสิกขา ตั้งจิตว่า “ภิกษุเหลา่ อื่นจะศึกษาหรือไม่ศึกษาก็ตามใจ เราจัดศึกษาในบท แห่งการศึกษานั้นๆ” ดังนี้.

๗. เมื่อเธอไปก็ไปตรง; นี้คือ ทางตรงในกรณีนั้น คือสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

๘. เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วอยู่ ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จงเหลืออยู่ เนื้อและโลหิต ในสรีระจงเหือดแห้งไป ก็ตามที ประโยชน์อันบุคคลจะพึงลุถึงได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความ เพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิ กรณียบุคคลเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า.


1483
องค์แห่งมรรคที่เป็นเสขะของเสขบุคคล


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า‘ สขะ (บุคคล) เสขะ (บุคคล) ดังนี้ บุคคลเป็นเสขะด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรเล่าพระเจ้าข้า?”
ภิกษุ ! บุคคลในกรณีนี้
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาสังกัปปะ อันเป็นเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาวาจา อันเป็นเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมากัมมันตะ อันเป็นเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาอาชีวะ อันเป็นเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาวายามะ อันเป็นเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาสติ อันเป็นเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาสมาธิ อันเป็นเสขะ.
ภิกษุ ! ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะ.

(ผู้ศึกษาพึงคำนวณดูเองโดยปฏิปักขนัย ว่า จักต้องมีองค์แห่งมรรคที่เป็นอเสขะ ที่เป็นองค์ มรรคของพระอรหันต์.)


1484
ประโยชน์อันสูงสุดของสัมมัตตะสิบ


ถปติ! เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ว่าเป็นผู้ มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็น สมณะผู้บรรลุถึงการ บรรลุอันอุดมอันใครๆ รบให้แพ้ไม่ได้. สิบประการ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่บุคคลประกอบพร้อมแล้ว เราบัญญัติว่าเขา เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุถึงการ บรรลุอันอุดม อันใคร ๆ รบให้แพ้ไม่ได้? ถปติ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ อันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาอันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะอันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติอันเป็นอเสขะ
เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นอเสขะ.

ถปติ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เหล่านี้แล เราบัญญัติว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุถึงการ บรรลุอันอุดม อันใครๆ รบให้แพ้ไม่ได้.

หมวด. ว่าด้วยมรรคกับพระพุทธองค์


1485
อริยอัฏฐังคิกมรรค
คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง

ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสอง อย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อ ปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบเพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพาน.

ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสอง อย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า ? คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้องการทำการงานที่ถูกต้อง การดำรงชีพ ที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิด ญาณ เป็นไปเพื่อความ สงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้พร้อม เพื่อ นิพพาน.


1486
ทรงกำชับเรื่องการทำลายอหังการมมังการ


สารีบุตร ! เราจะแสดงธรรมโดยย่อก็ได้ เราจะแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เราจะแสดงธรรมทั้ง โดยย่อและโดยพิสดาร ก็ได้ แต่ว่า ผู้รู้ทั่วถึงธรรมหายาก.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ถึงเวลาแล้วข้าแต่พระสุคต! ถึงเวลาแล้วที่พระผู้มีพระภาค จะพึง แสดงธรรมโดยย่อบ้าง จะพึงแสดงธรรม โดยพิสดารบ้าง จะพึงแสดงธรรมทั้งโดยย่อและ โดยพิสดารบ้าง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี” .

สารีบุตร ! ถ้าอย่างนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า

“(ธรรมที่เราแสดงนั้น จะมีดังนี้ว่า) อหังการมมังการมานานุสัยทั้งหลาย ต้องไม่มีในกายอัน ประกอบ อยู่ด้วยวิญญาณนี้ (นี้อย่างหนึ่ง) อหังการมมังการมานานุสัยทั้งหลาย ต้องไม่มีใน นิมิตทั้งหลายทั้งปวงในภายนอก (นี้อย่างหนึ่ง) เราจักเข้าถึง แล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเข้าถึงแล้วแลอยู่ แล้ว อหังการมมังการมานานุสัยทั้งหลาย ย่อมไม่มี ดังนี้ (นี้อีกอย่างหนึ่ง).”

สารีบุตร ! เมื่อใด อหังการมมังการมานานุสัยของภิกษุ ไม่มีในกายอันประกอบด้วย วิญญาณนี้ ก็ด อหังการ มมังการ มานานุสัยของภิกษุ ไม่มีในนิมิตทั้งหลายทั้งปวง ในภายนอก ก็ดภิกษุเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเข้าถึงแล้วแลอยู่แล้ว อหังการมมังการมานานุสัย ย่อมไม่มี ก็ดีสารรีบุตร ! เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้ตัดขาด แล้วซึ่งตัณหารื้อถอนแล้ว ซึ่งสังโยชน์ กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะรู้ ซึ่งมานะโดยชอบ.

(ตรัสว่า ทรงแสดงธรรมโดย ๓ ลักษณะ คือย่อ พิสดาร ทั้งย่อและพิสดาร แล้วก็ทรงแสดง ลักษณะแห่งการปฏิบัติไว้ ๓ ลักษณะ คือทำให้ไม่มีอหังการมมังการ ในกายนี้ ไม่มีอหังการ มมังการ ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และการเข้าอยู่ในเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ ไม่มีอหังการ มมังการ. นี่พอจะเห็นได้ว่า โดยย่อก็คือ ไม่ให้มีอหังการมมังการในกายนี้ โดยพิสดารก็คือ ไม่ให้มีอหังการ มมังการ ในนิมิตภายนอกทั่วไป ที่ทั้งโดยย่อและพิสดารก็คือเข้าอยู่ใน วิมุตติที่ไม่มีอหังการมมังการ. รวมความว่า จะโดยย่อหรือโดย พิสดารหรือทั้งโดยย่อ และพิสดาร ก็มุ่งไปสู่ความไม่มีแห่งอหังการมมังการด้วยกันทั้งนั้น

นี่พอที่จะถือเป็นหลักได้ว่า ข้อปฏิบัติอย่างไรและเท่าไร ระดับไหน ก็ล้วนแต่มุ่งหมาย ทำลายอหังการมมังการมานานุสัย (ความสำคัญว่าตัวกู ของกู) ด้วยกันทั้งนั้น ในที่นี้ ถือว่า อัฏฐังคิกมรรค จะในระดับไหน ก็ตาม ล้วนแต่มุ่งหมาย ทำลายเสียซึ่ง อหังการมมังการ เป็น หลักสำคัญ จึงนำข้อความนี้มาใส่ไว้ ในหมวดนี้).


1487
อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา
(โพธิปักขิยธรรม
๓๗)

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอา ให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน. ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่มหาชน เพื่อความสุขแก่ มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก. เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย.

ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งพวกเธอควรเรียนเอาให้ดี . . . . ฯลฯ . . . . เพื่อความสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย? ธรรมเหล่านั้น คือ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด.

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล คือ ธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งอันพวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (ศาสนา) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ ตลอดกาลนาน และข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย.


1488
อัฏฐังคิกมรรคในฐานกัลยาณวัตรที่ทรงฝากไว้


อานนท์ ! ก็ กัลยาณวัตรอันเราตั้งไว้ในกาลนี้ นี้ เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายโดยส่วน เดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. อานนท ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ อริยอัฏฐัง คิกมรรค กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ.

อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากัน ประพฤติตามกัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้ แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้าย ของเราเลย. อานนท์ ! ความขากสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่ง บุรุษใดบุรุษนั้น ชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย

อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าว (ย้ำ) กะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลาย จะพากัน ประพฤติตามกัลยาณวัตร ที่เราตั้ง ไว้แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้าย ของเราเลย

(ก่อนแต่จะตรัสเรื่องนี้ ได้ตรัสถึงการที่พระองค์ ได้เป็นราชฤาษีในกาลก่อน กล่าวสอนวัตร ปฏิบัติ ที่เป็นไปเพียงเพื่อพรหมโลก ไม่ถึงนิพพาน ก็ยังมีผู้พากันปฏิบัติตาม. ส่วนกัลยาณวัตรนี้เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงควรที่คนทั้งหลายจะพึงปฏิบัติตาม. อีกข้อหนึ่ง ที่พวกเราควรจะให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งนั้น คือข้อที่พวกเราอย่าเป็นพวกสุดท้ายแห่ง การประพฤติ กัลยาณวัตรนี้ ตามพระพุทธประสงค์).


1489
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี

ภิกษุ ท.! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? สี่ อย่างคือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทย อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกข นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล คือ อริยสัจสี่อย่าง.

ภิกษุ ท.! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้ อริยสุจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้ มีอยู่, อริยสัจที่ใครๆ ควรละ มีอยู่, อริยสัจที่ใคร ๆ ควรทำ ให้แจ้งมีอยู่ อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้เกิดมี มีอยู่.

ภิกษุ ท.! อริยสัจที่ใครๆควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ ทุกข์อริยสัจที่ใครๆ ควรละนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้แจ้งนั้น ได้แก่อริยสัจ คือ ความดับ ไม่เหลือของทุกข์อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้เกิดมีนั้นได้แก่ อริยสัจ คือ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้. พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามที่เป็นจริง ว่า “ทุกข์ เป็นเช่นนี้ ” ดังนี้ ว่า “เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ ” ดังนี้ ว่า “ความดับไม ่เหลือ ของทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ” ดังนี้ ว่า “ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ ”ดังนี้เถิด.

นิทเทศ
๒๒
ว่าด้วย ข้อความสรุปเรื่องมรรค
จบ

ภาค
ว่าด้วยมัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค
จบ



1491
คำชี้ชวนวิงวอน


ภิกษุ
.! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์นี้ ทางให้ถึงความ ดับสนิทแห่งทุกข์.”เทสิตํ ดว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค นิพพาน เราได้แสดงแล้ว, ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก ทั้งหลาย,กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง.พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนีนี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.


1495
ภาคสรุป

ว่าด้วยข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ (มี ๒๓ หัวข้อ)

ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ ว่ามีได้สำหรับบุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่ (ชานโต ปสฺสโต), ไม่ใช่สำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่.ภิกษุ ท. ! รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความสิ้นอาสวะย่อมมีแก่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่ ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ความสิ้นอาสวะ ย่อมมีแก่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล.


1496
โอกาสแห่งโยคกรรมในการเห็นอริยสัจ
บัดนี้ถึงพร้อมแล้ว

ภิกษุ ท. ! ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก (ไม่ไผ่?) ซึ่งมีรูป รูเจาะได้เพียงรูเดียวลงไปในน้ำนั้น; ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทาง ทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ, อยู่ดังนี้. ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอดล่วงไปร้อยๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ.

ภิกษุ ท. ! เธอ ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้า ไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?

ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้นร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียวจะพึงยื่นคอ เข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียว ในแอกนั้น”.

ภิกษุ ท. ! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะจะเกิดขึ้นในโลก ; ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก.

ภิกษุ ท. ! แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว; ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว; และธรรมวินัย อันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ ว่า “นี้ ทุกข์; นี้ เหตุให้เกิดทุกข์; นี้ ความดับแห่งทุกข; นี้หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.


1497
การเรียนปริยัติ
มิใช่การรู้อริยสัจ

ภิกษุ ท. ! บุคคลเปรียบด้วย เมฆฝน จำพวก เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ อย่างไรเล่า? สี่ คือ บุคคลเปรียบเหมือน เมฆฝนที่คำรามแล้วไม่ตก ๑ ที่ตกแต่ไม่คำราม ๑ ทั้งไม่คำรามและไม่ตก ๑ ทั้งคำรามทั้งตก ๑.ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะเวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ :

ภิกษุ ท.! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่คำรามแล้วไม่ตก.

ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะเคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูต ธัมมะ เวทัลละแต่เขารู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ,ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ :

ภิกษุ ท. ! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่ตกแต่ไม่คำราม.ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะเคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละและไม่รู้ชัดตามเป็ นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ,ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ :

ภิกษุ ท. ! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่ทั้งไม่คำรามและไม่ตก.
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะเวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ด้วย;และเขารู้ชัดตามเป็ นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ,ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ด้วย :

ภิกษุ ท. ! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่ทั้งคำรามทั้งตก.

(ในสูตรอื่น (๒๑/๑๓๘/๑๐๓) ตรัสเปรียบลักษณะอาการสี่อย่างแห่งข้อความข้างบนนี้ ด้วย หม้อสี่ชนิด คือหม้อเปล่า – ปิด เปรียบด้วยภิกษุไม่รู้อริยสัจแต่มีสมณสารูป ; หม้อเต็ม – เปิด คือรู้อริยสัจแต่ไม่มีสมณสารูป ; หม้อเปล่า – เปิด คือไม่รู้อริยสัจ และไม่มีสมณ-สารูป ; หม้อเต็ม – ปิด คือรู้อริยสัจและมีสมณสารูป.ในสูตรอื่น (๒๑/๑๔๐/๑๐๔) ตรัสเปรียบด้วย ห้วงนํ้าสี่ชนิด คือห้วงน้ำตื้น เงาลึก= ไม่รู้อริยสัจแต่มีสมณสารูป ; ห้วงน้ำลึก เงาตื้น = รู้อริยสัจ แต่ไม่มีสมณสารูป ; ห้วงน้ำตื้น เงาตื้น = ไม่รู้อริยสัจ และไม่มีสมณสารูป; ห้วงน้ำลึก เงาลึก = รู้อริยสัจและมีสมณสารูป.ในสูตรอื่น (๒๑/๑๔๒/๑๐๕) ตรัสเปรียบด้วย มะม่วงสี่ชนิด คือมะม่วงดิบ สีเหมือนสุก ได้แก่ ไม่ได้รู้อริยสัจ แต่มีสมณสารูป ; มะม่วงสุก สีเหมือนดิบ ได้แก่ รู้อริยสัจ แต่ไม่มีสมณสารูป; มะม่วงดิบ สีเหมือนดิบ ได้แก่ ไม่รู้อริยสัจและไม่มีสมณสารูป ; มะม่วงสุกสีเหมือนสุก ได้แก่ รู้อริยสัจและมีสมณสารูป.ผู้สนใจในส่วนรายละเอียด ดูได้จากที่มานั้นๆ ).


1498
เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง
ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ
และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว

(ข้อปฏิบัติของกุลบุตรผู้บวชแล้ว ดำเนินมาตั้งแต่ ถึงพร้อมด้วยศีล สันโดษ อินทรียสังวรสติสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะสงัด ละนิวรณ์ห้า บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อจุตูปปาตญาณ :-)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้วน้อมจิตไปเพื่อ ญาณเป็ นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. เธอย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,นี้ หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ; เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิด อาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ หนทางเข้าถึงความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ” ดังนี้ :

พราหมณ์ ! แม้ (อาสวักขยญาณ) นี้ เราก็เรียกว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า รอยสีตัวแห่งตถาคตบ้าง, ว่ารอยแซะงาแห่งตถาคต บ้าง; แต่อริยสาวกนั้น ก็ยังไม่ถึงซึ่งความแน่ใจก่อนอยู่นั่นเอง แต่ กำลังจะถึงความแน่ใจ ว่า “พระผู้มีพระภาค เป็นพระ-สัมมาสัมพุทธะ, พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ, สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาคเป็นสุปฏิปันนะ” ดังนี้.

เมื่ออริยสาวกนั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ; เมื่อหลุด พ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” ดังนี้; ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้กระทำ สำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่ต้องกระทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

พราหมณ์ ! แม้ (ความหลุดพ้น) นี้ เราก็เรียกว่ารอยเท้าแห่งตถาคตบ้าง, ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า รอยแซะงาแห่งตถาคตบ้าง. พราหมณ  ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้นพระธรรม เป็ นส๎วากขาตะ, สาวกสงฆ์ ของพระผู้มีพระภาค เป็ นสุปฏิปันนะ” ดังนี้.
…………………………………………………………………………………………………………………….

๑. สูตรนี้ตรัสเปรียบพระองค์เองด้วยช้างมหานาคในป่า ซึ่งมีผู้ติดตามหาตามลำดับด้วยการปฏิบัติธรรมะ มาตามลำดับ บรรลุธรรม ตามลำดับ จนบรรลุอาสวักขยญาณ ซึ่งเปรียบด้วยการเห็นรอยเท้าที่พื้นดิน เห็นรอยสีตัวที่ต้นไม้ เห็นรอยแซะงาที่กิ่งไม้; และจะได้พบตัวช้างคือพระองค์ ในอันดับที่มีการหลุดพ้นจากอาสวะแล้วเท่านั้น.
…………………………………………………………………………………………………………………….


1500
ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ
ต้องเป็นธัมมาธิปไตย

ภิกษุ ท. ! ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่) เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปสู่ป่าก็ตาม โคนไม้ก็ตาม หรือ เรือนว่างก็ตาม พิจารณาเห็นอยู่ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน เพราะเหตุจะได้จีวรก็หามิได้ เพราะเหตุจะได้ บิณฑบาต ก็หามิได้ เพราะเหตุจะได้เสนาสนะก็หามิได้ เพราะเหตุจะได้เป็นอย่างนั้นจะได้เป็นอย่างนี้ก็หามิได้ ; แต่ว่า เราบวชแล้วโดย พิจารณาเห็นว่า “เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาส หยั่งเอาแล้ว เป็นผู้มีทุกข์หยั่งลงแล้ว มีทุกข์เป็น เบื้องหน้าแล้ว, ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏแก่เรา”ดังนี้.

อนึ่ง พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติ ได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็ นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็ นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน เป็น สิ่งที่ผู้ รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน : สพรหมจารีผู้รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งธรรมนั้น ว่าเป็นดังนี้ก็มีอยู่. ก็ เราบวชแล้วในธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ จะเป็นผู้เกียจคร้าน ประมาทอยู่ : ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราดังนี้.

ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ว่า “ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักเป็นความเพียรไม่ย่อหย่อน, สติที่เข้าไปตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม, กายอัน รำงับแล้วไม่กำเริบ, จิตตั้งมั่นแล้ว มีอารมณ์อันเดียว,” ดังนี้. ภิกษุนั้น กระทำพระธรรมให้เป็นใหญ่ ละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมที่ มีโทษเจริญกรรมที่ไม่มีโทษบริหารตนให้บริสุทธ์ิอยู่.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ธัมมาธิปไตย.

(อธิปไตยอย่างอื่นก็มีอยู่ คือปรารภประโยชน์ตนแล้วประพฤติไม่ย่อหย่อน เรียกว่าอัตตาธิปไตย; และปรารภการติเตียน ของผู้อื่นแล้วประพฤติไม่ย่อหย่อน เรียกว่าโลกาธิปไตย.ทั้งสองอย่างนี้ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่ควรถือเอาเป็นเครื่องเกื้อหนุน การปฏิบัติ; แต่ให้ถือเอาธัมมาธิปไตยดังที่กล่าวแล้วข้างบน เป็นเครื่องเกื้อหนุนการปฏิบัติ จึงจะถูกต้องตามหลักของการทำที่สุด ทุกข์ในพระพุทธศาสนา หรือตรงตามพระพุทธประสงค์).


1501
การแทงตลอดอริยสัจ
เป็นงานละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการแทงทะลุขนทรายด้วยขนทราย


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อเช้านี้ข้าพระองค์ครองจีวรถือบาตรเข้าไปบิณฑบาต ในเมืองเวสาลีได้เห็นพวกลิจฉวีกุมารเป็นอันมากทำการฝึกยิงศรอยู่ที่สัณฐาคารยิงลูกศรรอดช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกลลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย; ครั้นเห็นแล้วข้าพระองค์คิดว่าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ฝึกแล้วฝึกดีแล้วหนอคือข้อที่สามารถยิงลูกศรรอดช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกลลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย

อานนท์ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : อย่างไหนทำได้ยากหรือมีได้ยากกว่ากัน คือข้อที่คนยิงลูกศรรอดช่องดาล ที่เจาะ ไว้แต่พอดีจากที่ไกล ลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย กับคนที่แทงทะลุปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่ผ่าแล้วเจ็ดแล่ง ?

ทราบด้วยปลายขนทรายที่ผ่าแล้วเจ็ดแล่ง

อานนท์ ! ยังมีคนผู้แทงตลอด ซึ่งการแทงตลอดอันยากไปกว่า,คือบรรดา คนที่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจตามที่เป็นจริง ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็ นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


1502
การปฏิบัติอริยสัจ
ไม่มีทางที่จะขัดต่อหลักกาลามสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมาสู่เกสปุตตนิคมนี้ แสดงวาทะอันเป็นลัทธิแห่งตนกล่าวบริภาษ ข่มขี่ ครอบงำย่ำยี วาทะอันเป็นลัทธิอันเป็นของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นมาอีกก็ยกย่องลัทธิของตน ข่มขี่ลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเช่นเดียวกันอีก. พวกข้าพระองค์มีความข้องใจมีความสงสัยว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกไหนพูดจริงพวกไหนพูดเท็จพระเจ้าข้า !”

กาลามเอ๋ย ! ควรแล้วที่ท่านจะข้องใจ ควรแล้วที่ท่านจะสงสัย,ความสงสัยของท่านเกิดแล้ว ในฐานะที่ควรข้องใจ.


1503
(
ก. ฝ่ายอกุศล)

กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :-

อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน(ตกฺกเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางนัยะสันนิฏฐาน(นยเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริ-วิตกฺก) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺ-ฌานกฺขนฺติ)
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็ นครูของตน (สมโณโน ครุ).
กาลาม ท. ! เมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ด้วยตนเองว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล,
ธรรมเหล่านี้ มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนติเตียน,
ธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว
เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล,” ดังนี้แล้ว;
เมื่อนั้น ท่าน พึงละธรรมเหล่านั้นเสีย.

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ความโลภ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล ? เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลพระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นโลภแล้ว ความโลภครอบงำแล้วความโลภกลุ้มรุมจิตแล้ว ย่อมฆ่า สัตว์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมล่วงเกินภรรยา ผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้นบ้าง ซึ่งเป็นการกระทำ เพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : โทสะ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูลหรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? เพื่อมิใช่ประ-โยชน์เกื้อกูลพระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นมีโทสะแล้ว โทสะครอบงำแล้ว โทสะกลุ้มรุมจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมล่วงเกินภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้นบ้าง ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : โมหะ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูลหรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? เพื่อมิใช่ประ-โยชน์เกื้อกูลพระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นมีโมหะแล้ว โมหะครอบงำแล้ว โมหะกลุ้มรุมจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตย์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมล่วงเกินภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้นบ้าง ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ธรรมทั้งหลาย (ตามที่กล่าวมา) เหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล? เป็นอกุศลพระเจ้าข้า !” มีโทษหรือไม่มีโทษ ? มีโทษพระเจ้าข้า !” วิญญูชนติเตียน หรือวิญญูชนสรรเสริญ ? วิญญูชนติเตียนพระเจ้าข้า !” เมื่อประพฤติกระทำเต็มตามมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล หรือไม่ ? หรือว่าในเรื่องนี้ ท่านมีความเห็นอย่างไร ? เมื่อประพฤติกระทำเต็มตามมาตรฐานของมันแล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลในเรื่องนี้พวกข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้พระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! เรา (อาศัยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างบนทั้งหมดนั้น) จึงกล่าวข้อความที่กล่าวว่า “กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :-
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางตรรก (ตกฺกเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางนัยะ (นยเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณโน ครุ).

กาลาม ท. ! เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล, ธรรมเหล่านี้ มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนติเตียน, ธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล” ดังนี้แล้ว ; เมื่อนั้น ท่านถึงละธรรม เหล่านั้นเสีย”

ดังนี้ ซึ่งเรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุผลข้างต้นนั้น.


1506
(
ข.ฝ่ายกุศล)

กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :-
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน (ตกฺกเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางนัยะสันนิฏฐาน (นยเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ(อาการปริวิตกฺก) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็ นครูของตน (สมโณโน ครุ).

กาลาม ท. ! เมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ด้วยตนเองว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ธรรมเหล่านี้ ไม่มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนสรร เสริญ, ธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์ เกื้อกูล,” ดังนี้แล้ว ; เมื่อนั้น ท่าน พึงเข้า ถึงธรรมเหล่านั้นแล้วแลอยู่เถิด.

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ความไม่โลภเกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล?เพื่อประโยชน์เกื้อกูลพระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นไม่โลภแล้ว ความโลภไม่ครอบงำแล้ว ความโลภไม่กลุ้มรุมจิตแล้ว เขาย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความ สุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ?
อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : อโทสะ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล ? เพื่อประโยชน์เกื้อกูลพระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นไม่มีโทสะแล้ว โทสะไม่ครอบงำแล้วโทสะไม่กลุ้มรุมจิตแล้ว เขาย่อมไม่ ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : อโมหะ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล ? “เพื่อประโยชน์เกื้อกูลพระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นไม่มีโมหะแล้ว โมหะไม่ครอบงำแล้วโมหะไม่กลุ้มรุมจิตแล้ว เขาย่อม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาผู้อื่นไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ธรรมทั้งหลาย(ตามที่กล่าวมา)เหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล? “เป็นกุศลพระเจ้าข้า !” มี โทษหรือไม่มีโทษ ? ไม่มีโทษพระเจ้าข้า!” วิญญูชนติเตียน หรือวิญญูชนสรรเสริญ? “วิญญูชน สรรเสริญพระเจ้าข้า!” เมื่อประพฤติกระทำเต็มตามมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล หรือไม ? หรือว่า ในเรื่องนี้ท่านมีความเห็นอย่างไร ?

“เมื่อประพฤติกระทำเต็มตามาตรฐาน ของมันแล้วเป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูลในเรื่องพวกนี้ ข้าพระองค์มีความเห็น อย่างนี้พระเจ้าข้า !”

กาลาม ท. ! เรา (อาศัยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างบนทั้งหมดนั้น)จึงกล่าวข้อความที่กล่าวว่า “กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :-อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางตรรก (ตกฺกเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางนัยะ (นยเหตุ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;
อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณโน ครุ).

กาลาม ท. ! เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ‘ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชน สรรเสริญธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์ เกื้อกูล’ ดังนี้แล้ว ; เมื่อนั้น ท่านพึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้ ซึ่งเรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุผลข้างต้นนั้น.

กาลาม ท. ! อริยสาวกนั้น ปราศจากอภิชฌาอย่างนี้ ปราศจากพยาบาทอย่างนี้ ไม่มีโมหะ มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น,เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้อต่ำและเบื้องขวางด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วย คุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่;

มีจิตสหรคตด้วยกรุณา
แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น,เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ ทั้งปวง ทั้งเบื้อบนเบื้องต่ำและเบื้องขวางด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยกรุณา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวางประกอบด้วย คุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่;

มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา
แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น,เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวางด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยมุทิตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวางประกอบ ด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่ ;

มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น, เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยอุเบกขา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทกว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่.

กาลาม ท. ! อริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตหมดจด วิเศษ อย่างนี้ แล้ว ความเบาใจ๔ ประการ ย่อมเกิดมีแก่อริยสาวกนั้น ในทิฏฐธรรมเทียว ว่า
“๑. ถ้าปรโลกมีผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วมี. ฐานะที่จะมีได้ก็คือ เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เพราะเหตุนั้น ดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่หนึ่ง ที่เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น.

๒. ถ้าปรโลกไม่มีผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี, เรา ที่นี่ในทิฏฐธรรมนี้แหละ ก็บริหารตนอยู่เป็นสุข ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไม่มีทุกข์ ดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่สอง ที่เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น.

๓. ถ้าบาปเป็ นอันกระทำสำหรับผู้กระทำ,ส่วนเราไม่ได้คิดจะทำบาปไรๆ ทุกข์จักถูกต้องเราผู้มิได้ทำบาปอยู่ แต่ที่ไหนดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่สาม ที่เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น.

๔. ถ้าบาปไม่เป็ นอันกระทำสำหรับผู้กระทำ อยู่แล้วไซร้, ที่นี่ เราก็มองเห็นตนว่าบริสุทธิ์หมดจดอยู่ โดยโลกทั้งสอง ดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่สี่ที่เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น. กาลาม ท. ! อริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตหมดจดวิเศษอย่างนี้แล้ว ความเบาใจ ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเกิดมีแก่อริยสาวกนั้นในทิฏฐธรรม เทียว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น. ข้าแต่พระสุคต ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น . . . .”(ชาวกาลามเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสกล่าวย้ำข้อความนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยตนเอง, แล้วทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาประกาศตนเป็นอุบาสก).

(ผู้ศึกษาอาจจะสังเกตเห็นได้เองว่า การศึกษา และปฏิบัติตามหลักอริยสัจสี่ประการ นั้นจะไม่เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลัก กาลามสูตรทั้งสิบประการแต่อย่างใด เพราะมีเหตุผลที่แสดงชัดอยู่ในตัวเองว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับทุกข์เป็นอย่างไร มรรคอาจจะดับทุกข์ได้แท้จริงอย่างไร โดยไม่ต้อเชื่อคำบอกตามๆ กันมา ไม่ต้องดูการประพฤติตามๆ กันมา หรือเชื่อตามคำเล่าลือ หรืออ้างว่ามีอยู่ในตำรา หรือใช้เหตุผลตามทางตรรก หรือตามทางนัยะคือปรัชญา หรือตรึกตาม สามัญสำนึก หรือเพราะเข้ากันได้กับเหตุผลของตน หรือผู้พูดอยู่ในฐานะน่าเชื่อ หรือผู้พูดเป็นครูของตน ซึ่งพระองค์เองก็ได้ตรัส ย้ำในข้อนี้อยู่เสมอ. เป็นอันกล่าวได้ว่า ความรู้และการปฏิบัติในอริยสัจทั้งสี่นี้ ไม่มีทางที่จะเป็นเรื่องงมงาย หรือสีลัพพัตตปรามาส อันขัดต่อหลักกาลามสูตร แต่อย่างใด).


1511
บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ


ภิกษุ ท. ! บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สองจำพวก อย่างไรเล่า?
สองจำพวกคือ บริษัทไม่ประเสริญ (อนริย) บริษัทประเสริฐ (อริย).

ภิกษุ ท. ! บริษัทไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกข-สมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า บริษัทไม่ประเสริฐ.

ภิกษุ ท. ! บริษัทประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย,นี้ ทุกขนิโรธ, นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้; บริษัทนี้ เรากล่าวว่าบริษัทประเสริฐ.

ภิกษุ ท. ! บริษัทมี ๒ จำพวกเหล่านี้แล. บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองนี้ คือบริษัทประเสริฐ (อริยปริส).


1512
เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก


ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลเหล่าใด ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถาม จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า

วิธีการเพื่อให้ได้รับประโยชน์ถึงที่สุด (อุปนิสา๑) ในการฟังซึ่งธรรมอันเป็นกุศลซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เป็นเครื่อง ยังสัตว์ให้ลุถึง ความตรัสรู้พร้อมเหล่านั้นมีอยู่อย่างไรเล่า ?”

ดังนี้ไซร์, พึงตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า วิธีการนั้นก็คือ (การฟัง) เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงซึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันจะพึงแบ่งออกได้เพียง สองหมวด. สองหมวดอย่างไรกันเล่า? สองหมวดคือ การแยกฟังให้รู้ว่า นี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัยดังนี้ : นี้เป็น อนุปัสสนา (การตามเห็น) หมวดที่หนึ่ง ; และนี้คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาหมวดที่สอง

ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม อันจะพึงแบ่งออกได้เป็นสองหมวดโดยอบ อย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไป แล้วในธรรม อยู่; ผลที่ธอพึงหวังได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผลสองอย่าง คือการ บรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรม นั่นเทียว, หรือว่าถ้าอุปาทิ(เชื้อ) ยังเหลืออยู่ ก็ย่อม เป็นอนาคามี.


1513
หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่
ใช้ได้กับหลักทั่วไป

ตัวอย่าง
ก. เกี่ยวกับอกุศลศีล
ถปติ ! อกุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! อกุศลศีลมีสิ่งนี้ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! อกุศลศีลดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลศีล :

นั่น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.

ตัวอย่างข. เกี่ยวกับกุศลศีล
ถปติ ! กุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! กุศลศีลมีสิ่งนี้ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! กุศลศีลดับไม่เหลือ ในที่นี้ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลศีล : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.

ตัวอย่างค. เกี่ยวกับอกุศลสังกัปปะ
ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! อกุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็น สิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! อกุศลสังกัปปะดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.

ตัวอย่างง. เกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ
ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! กุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! กุศลสังกัปปะดับไม่เหลือ ในที่นี้ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะนั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.

(ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นได้เองว่า หลักการศึกษาตามแบบของอริยสัจสี่ซึ่งแยกออกไป ได้ว่าคืออะไร? จากอะไร? เพื่ออะไร? โดยวิธีใด? ดังนี้นั้น ใช้เป็นหลักศึกษาธรรมะอะไรก็ได้ ดังในตัวอย่างเหล่านี้).


1514
อริยสัจสี่เป็
นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์

ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ?ห้าอย่างคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์.

ภิกษุ ท. ! สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน โสตาปัตติยังคะสี่.
ภิกษุท ท.! วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน สัมมัปปธานสี่.
ภิกษุ ท. ! สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สตินทรีย์ เห็นได้ในสติปัฏฐานสี่.
ภิกษุ ท. ! สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สมาธินทรีย์ เห็น ได้ใน ฌานสี่.
ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? ปัญญินทรีย์ เห็นได้ใน อริยสัจสี่.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ อย่าง. . . . .


1515
อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์


ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไรเล่า? ในกรณีนี้คือ อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่อง ให้ถึงซึ่ง สัจจะแห่งการเกิดดับอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.

อริยสาวกนั้น
รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! การรู้นี้ เรากล่าวว่าปัญญินทรีย์.๑

[ในสูตรอื่น ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ ไว้ว่า :-]

สารีบุตร ! . . . . อริยสาวกจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้นที่สุด ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งปลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังเล่นไปท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไป โดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น มีอยู่; นั่น เป็นบทที่สงบ นั่น เป็นบทที่ประณีต, กล่าวคือ เป็นที่สงบแห่ง สังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาเป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”
สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นปัญญินทรีย์ของเธอนั้น.


1517
เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
(ไม่เกี่ยวกับตัณหาเหมือนจตุพิธพรของชาวบ้าน)


ภิกษุ ท.! เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยแห่งบดาตน ก็จักเจริญแม้ด้วยอายุ แม้ด้วยวรรณะ แม้ด้วยสุขะ แม้ด้วยโภคะ แม้ด้วยพละ.ภิกษุ ท.! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ ?

ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ ภิกษุย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ เป็นปธาน กิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ. (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับ การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการรักษา). ภิกษุนั้น, เพราะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ประการเหล่านี้, เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดเวลากัปป์หนึ่ง หรือเกิน กว่ากัปป์. ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ.

ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ ?ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุเป็นผู้ มีศีล สำรวมด้วย ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้เป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ.

ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ ?ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ เข้าถึงปฐมฌาน . . . . ทุติยฌาน . . . . ตติย-ฌาน . . . . จตุตถฌาน . . . . แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ.ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ ?ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา,มุทิตา, อุเบกขา, แผ่ไปยังทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง แผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท อยู่.

ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ.

ภิกษุ ท.! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า พละ สำหรับภิกษุ ?ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่าพละ สำหรับภิกษุ.