เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  08 of 11  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  ธรรมสัญญา ธรรมโอสถ-การรักษาโรคด้วยสมาธิ 1350     ลักษณะความสมบูรณ์แห่งศีล 1384
  นิวรณ์ - ข้าศึกแห่งสมาธิ 1356     เมื่อตีความคำผิด แม้ทารกนอนเบาะ ก็มีศีล 1384-1
  จิตตระหนี่ เป็นสิ่งที่ตํ่าเกินไป สำหรับการบรรลุฌาน 1358     ธรรม - อธรรม - อรรถ - อนรรถ ที่ควรทราบ 1386
  สนิมจิต เทียบสนิมทอง 1359     อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งตัวพรหมจรรย์
1387
  สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามต่อกันโดยธรรมชาติ 1360     ระบบพรหมจรรย์ทรงแบ่งไว้เป็น ๒ แผนก 1388
  การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป 1361     ก. สำหรับผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว 1388-1
  ลำดับพฤติจิตของผู้ที่จะเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท 1362     ข. สำหรับผู้ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ 1388-2
  สัจจสัญญา ในรูปฌานสี่ [กรณีของปฐมฌาน] 1363     จุดมุ่งหมายแท้จริงของพรหมจรรย์ 1389
  สัจจสัญญา ในรูปฌานสี่[กรณีของตติยฌาน] 1364     อัฏฐังคิกมรรคเป็นพรหมจรรย์เป็นไปเพื่อนิพพาน 1389-1
  สัจจสัญญา ในรูปฌานสี่ [กรณีของจตุตถฌาน] 1364-1     มรรคมีองค์แปดรวมอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดสาย 1391
     
 
  เจโตวิมุตติ ชนิดที่ยังมีอุปสรรค 1365     อัฏฐังคิกมัคคพรหมจรรย์ ให้ผลอย่างเครื่องจักร 1392
  อริยอัฏฐังคิกมัคคอธิวจนะ (ไวพจน์แห่งอัฏฐังคิก-) 1368     ความต่างคนเขลา-บัณฑิตในการประพฤติพรหมจรรย์ 1393
  อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งธัมมยานอันประเสริฐ 1368-1     อานุภาพแห่ง อัฏฐังคิกมรรค ในการทำให้เกิด : 1394
  อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา 1370     ข. เกิดสุคตวินัย 1395
  สัมมัตตะในนามว่า อริยมรรค 1371     อัฏฐังคิกมรรค เพื่อการรู้และการละซึ่งธรรมที่ควรรู้ 1396
  ธรรมที่เป็นนิพพานคามิมัคคะ 1372     อัฏฐังคิกมรรค ช่วยระงับภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้ 1397
  ทางโล่งอันแน่นอนไปสู่สัมมัติตตนิยาม 1373     อัฏฐังคิกมรรค เป็นอิทธิปาทภาวนาคามินีปฏิปทา 1400
  อริยมรรค ซึ่งมิใช่อริยอัฏฐังคิกมรรค 1375     อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัญญลักษณ์ของความหลุดพ้น 1401
  องค์แปดแห่งอริยมรรค สงเคราะห์ลงในสิกขาสาม 1375-1     องค์แห่งมรรคจำแนก สัตบุรุษ - อสัตตบุรุษ 1402
  ลักษณะแห่งสิกขาสาม สีลขันธ์ โดยละเอียด. 1376   ธรรม 6 ประการ พอตัวทั้งเพื่อตนและผู้อื่น) 1406
         
  ลักษณะแห่งสิกขาสาม สมาธิขันธ์ โดยละเอียด 1378   ธรรม ๕ ประการ พอตัวทั้งเพื่อตนและผู้อื่น) 1407
  ลักษณะแห่งสิกขาสาม การเจริญสมาธิโดยละเอียด 1380   ธรรม ๔ ประการ พอตัวเพื่อตนแต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น 1407-1
  ลักษณะแห่งสิกขาสาม ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด 1380-1   ธรรม ๔ ประการ พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน) 1408
  สิกขาสาม เป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันตามลำดับ 1381   ธรรม 3 ประการ พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น) 1408-1
  อธิสิกขาสาม 1382   ธรรม 3 ประการ พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน 1409
  อธิสิกขาสาม (อีกนัยหนึ่ง) 1382-1   ธรรม 2 ประการ พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น) 1409-1
  (คำถาผนวกท้ายพระสูตร) 1383   ธรรม 2 ประการ พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน) 1410
 
 





1350
ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ

(การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ)

อานนท์ ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา๑๐ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอ ก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ

(1)อนิจจสัญญา (2)อนัตตสัญญา  (3)อสุภสัญญา  (4)อาทีนวสัญญา  (5)ปหานสัญญา  (6)วิราคสัญญา  (7)นิโรธสัญญา  (8 )สัพพโลเกอนภิรตสัญญา  (9)สัพพสังขาเรสุ-อนิจจสัญญา  (10)อานาปานสติ.

อานนท์ อนิจจสัญญา (1) เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่ โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนา ไม่เที่ยง สัญญา ไม่เที่ยง สังขาร ไม่เที่ยง วิญญาณ ไม่เที่ยง”ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้: นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา

อานนท์ อนัตตสัญญา (2)เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่ โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตากลิ่นเป็น อนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็น อนัตตา” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายใน และภายนอกหก เหล่านี้ อยู่ด้วยอาการ อย่างนี้ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา.

อานนท์ อสุภสัญญา (3)เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป ถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารใน กระเพาะ อุจจาระ น้ำดีเสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา.

อานนท์ อาทีนวสัญญา (4) เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่ โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆเกิดขึ้น กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอโรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดงจุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิด เปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวานโรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดี เป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรมความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา

อานนท์ ปหานสัญญา (5) เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุดให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไมมี่อีกต่อไป ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า ปหานสัญญา.

อานนท์ วิราคสัญญา (6) เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่ โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความ จางคลาย เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา

อานนท์ นิโรธสัญญา (7) เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่ โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็น ความดับ เป็นความดับเย็น” ดังนี้ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา

อานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (8 )เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน) ในการ ตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่ เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้น ไม่เข้าไปยึดถืออยู่ นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี).

อานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (9) เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อม เกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง).

(สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่า สัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่ และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา นั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญา มากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน).

อานนท์ อานาปานสติ (10) เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจ ออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น

ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออกทำการ ศึกษา ว่า เราทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.

ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่ง จิตตสังขารหายใจเข้า รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.

ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้าทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้าทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก.

ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้าตามเห็นความจางคลาย หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความดับ ไม่เหลือ หายใจเข้า ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความสลัดคืน หายใจ เข้า ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก.

นี้เรียกว่า อานาปานสติ.

อานนท์ ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

ลำดับนั้นแลท่านอานนท์ จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเข้าไปหาท่าน คิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่านเมื่อท่านพระคิริมานนท์ ฟังสัญญาสิบประการแล้วอาพาธก็ระงับไป โดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หายแล้วจ ากอาพาธและอาพาธ ก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วยแล.

(บาลีพระสูตรนี้ ได้ทำให้เกิดประเพณีสวดคิริมานนทสูตร ให้คนเจ็บฟัง เพื่อจะได้หายเจ็บไข้ เช่นเดียวกับ โพชฌงคสูตร. บางคนอาจจะสงสัยว่า มิเป็นการผิดหลักกรรมหรือเหตุปัจจัยไปหรือ ที่ความทุกข์ดับไปโดยไม่มี การดับเหตุแห่งทุกข์ ตามหลักแห่งจตุราริยสัจ. ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่าการฟังธรรมของพระคิริมานนท์ ทำให้มีธรรมปีติ อย่างแรงกล้า อำนาจของธรรมปีตินั้นสามารถระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงระงับไป ดุจดังว่าหาย จากอาพาธ กล่าวได้ว่ามีปัจจัยเพื่อการดับแห่งทุกข์อริยสัจ ไม่ผิดไปจากกฎเกณฑ์แห่งกรรม หรือกฎเกณฑ์ แห่งเหตุปัจจัยเลย เป็นการดับทุกข์ได้วิธีหนึ่ง จึงนำข้อความนี้ มาใส่ไว้ในหมวดนี้).

หมวด. ว่าด้วยโทษของการขาดสัมมาสมาธิ


1356
นิวรณ์ - ข้าศึกแห่งสมาธิ


วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้.ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้นมีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น แต่เขานอนคลุมศีรษะของตนอยู่ที่ริมฝั่งนี้.

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจะไปจากฝั่งในสู่ฝั่งนอกแห่งแม่น้ำอจิรวดีได้หรือหนอ ? ไม่ได้แน่ท่านพระโคดม

วาเสฏฐะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : นิวรณ์ อย่าง เหล่านี้เรียกกันในอริยวินัย ว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้างว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ กามฉันท-นิวรณ์ยาปาท นิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉา-นิวรณ์.

วาเสฏฐะ นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัย ว่า “เครื่องปิด”บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ถูกนิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมะที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะที่ไม่ทำความเป็น พราหมณ์ ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่ อัน นิวรณ์ทั้ง อย่างเปิดแล้ว กั้นแล้วคลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว จักเป็น ผู้เข้าถึงความเป็ นสหายแห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้นนั่นไม่เป็น ฐานะที่จะเป็นไปได้ นิวรณ์เป็นเครื่องทำกระแสจิตไม่ให้รวมกำลัง

ภิกษุ ท. นิวรณ์เป็ นเครื่องกางกั้น อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้วทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญา ให้ถอยกำลัง นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง.

ภิกษุ ท. ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต อย่างเหล่านี้แล้ว จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่ายหรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณ ทัสสนะอันวิเศษ อันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดพาสิ่งต่างๆไปได้ มีบุรุษมาเปิด ช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่ายไหล ผิดทาง ไม่ไหลไปสู่ที่ไกลไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งต่างๆไปได้ นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุ ที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว จะรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่ง มนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลังดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสโดยปฏิปักขนัย คือ ภิกษุละนิวรณ์ แล้วทำญาณวิเศษให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันมีกำลัง เหมือนแม่น้ำ ที่เขาอุดรูรั่วทั้งสองฝั่งเสียแล้ว มีกระแสเชี่ยวแรงมาก ฉะนั้น)


1358
จิตตระหนี่
เป็นสิ่งที่ตํ่าเกินไป สำหรับการบรรลุฌาน และทำให้แจ้งมรรคผล

ภิกษุ ท. เพราะไม่ละธรรม ๕ อย่าง บุคคลจึงไม่ควรเข้าอยู่ ซึ่ง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล. ธรรม ๕ อย่างอย่างไรเล่า? ห้าอย่างคือ ความตระหนี่อาวาส ความตระหนี่ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ (ความดี) ความตระหนี่ ธรรม (เครื่องให้บรรลุมรรคผล).

(ต่อจากนี้ ได้ตรัสโดยนัยตรงกันข้ามถึงการละธรรม ๕ อย่างนั้นแล้ว ควรเพื่อเข้าอยู่ในฌานและกระทำให้แจ้ง ซึ่งมรรคผล).

หมวด. ว่าด้วยปกิณณกะ


1359
สนิมจิต
เทียบสนิมทอง

ภิกษุ ท. สนิมแห่งทอง ประการ เหล่านี้ มีอยู่ เป็นสนิมทำให้ทองเศร้าหมอง มีเนื้อไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงาน ของช่างทอง ไม่ส่งรัศมี มีเนื้อร่วน และไม่เหมาะสมแก่การกระทำของช่างทอง

สนิม ๕ ประการนั้นอย่างไรเล่า? ห้าประการคือ เหล็ก โลหะ ดีบุก ตะกั่ว เงิน

ภิกษุ ท. เมื่อใดทองปราศจากสนิม ๕ ประการ เหล่านี้แล้ว ทองนั้น ย่อมเป็นทองมีเนื้ออ่อนควรแก่การงานของ ช่างทอง มีรัศมี เนื้อไม่ร่วน และเหมาะแก่การกระทำของช่างทอง. ถ้าใครปรารถนาจะกระทำเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน ตุ้มหูสร้อยคอ หรือสุวรรณมาลา ก็ตาม ก็สำเร็จประโยชน์แก่เขานั้น นี่ฉันใด ภิกษุ ท. ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

สนิมแห่งจิต
ประการเหล่านี้มีอยู่ เป็นสนิมทำให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อนโยน ไม่ควรแก่การงานของจิต ไม่ประภัสสร รวนเร และไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ.

สนิมแห่งจิต ๕ ประการนั้นอย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ กามฉันทะ พยาบาทถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

ภิกษุ ท. เมื่อใดจิตปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ๕ ประการเหล่านี้แล้ว จิตนั้นย่อมเป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ของจิต เป็นจิตประภัสสร ไม่รวนเร และตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ.


1360
สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามต่อกันโดยธรรมชาติ


ภิกษุ ท. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ตามที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์ก็พยากรณ์โดยชอบ. ภิกษุ ท. เรากล่าวฌานว่า มีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม จริง.ภิกษุ ท. เสี้ยนหนาม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สิบอย่างอย่างไรเล่า? สิบอย่าง คือ

ความยินดีในการระคนด้วยหมู่   เป็นเสี้ยนหนามแก่  ผู้ยินดีในปวิเวก
การตามประกอบในสุภนิมิต  เป็นเสี้ยนหนามแก่   ผู้ตามประกอบในอสุภนิมิต
การดูการเล่น
   เป็นเสี้ยนหนามแก่   ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
การเกี่ยวข้องกับมาตุคาม
 เป็นเสี้ยนหนามแก่ พรหมจรรย์
เสียง
   เป็นเสี้ยนหนามแก่  ปฐมฌาน
วิตกวิจาร
  เป็นเสี้ยนหนามแก่   ทุติยฌาน
ปีติ
   เป็นเสี้ยนหนามแก่   ตติยฌาน
อัสสาสะปัสสาสะ
  เป็นเสี้ยนหนามแก่  จตุตถฌาน
สัญญาและเวทนา
   เป็นเสี้ยนหนามแก่  สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ราคะ
  เป็นเสี้ยนหนาม  โทสะ เป็นเสี้ยนหนาม.

ภิกษุ ท. พวกเธอจงเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม อยู่เถิด
ภิกษุ ท. พวกเธอจงเป็นผู้หมดเสี้ยนหนาม อยู่เถิด
ภิกษุ ท. พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม หมดเสี้ยนหนาม แล

(หนามที่สิบ คือราคะและโทสะเป็นหนาม แต่ไม่ระบุว่าเป็นหนามแก่สิ่งใด เหมือนข้อบนๆเข้าใจว่า เป็นหนามแก่ ธรรมทั่วไป. การที่ไม่ระบุโมหะว่าเป็นหนามด้วย เข้าใจว่าเป็นเพราะโมหะ ไม่มีลักษณะเสียบแทงเหมือนหนาม หรือเหมือนกับราคะ และโทสะ)


1361
การอยู่ป่
ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความประสงค์จะเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยว”.

อุบาลี เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว อยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ยาก ความอยู่คนเดียว เป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสีย ซึ่งใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิอยู่.

อุบาลี ผู้ใดพูดว่า เราไม่ได้สมาธิเราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยวดังนี้ เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจักจมลงหรือจิตจักปลิวไป.

อุบาลี เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่. ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์๑หรือเจ็ดรัตน์ครึ่ง มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า “เราจะลงสู่ ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตาม ปรารถนา” ดังนี้ ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น เพราะเหตุไร ?

อุบาลี เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้. ครั้งนั้น กระต่ายหรือแมวป่ามาเห็นช้างนั้น แล้วคิดว่า “ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็นอะไรที่ไหนไปดังนั้น เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา” ดังนี้ กระต่ายหรือแมวป่านั้น กระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น โดยไม่พิจารณา ผลที่มันหวังได้ก็คือจมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึงไม่อาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึก นี้ฉันใด

อุบาลี ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ผู้ใด พูดว่า เราไม่ได้สมาธิเราจักไปอยู่ในสนาสนะ อันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยวดังนี้ เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้คือ จิตจักจมลง หรือจิตจักปลิวไป.

(เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การออกไปอยู่ป่ามิได้เหมาะสำหรับทุกคน. ผู้ใดคิดว่าจักบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน กระทั่ง ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอันไม่มีอาสวะ ด้วยเหตุเพียงสักว่า อยู่ป่าอย่างเดียวนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้ เพราะไม่ชื่อว่า เป็นผู้ตามถึงประโยชน์ตน (อนุปฺปตฺตสทตฺถ) ได้ด้วยเหตุสักว่าการอยู่ป่า ดังนั้นพระองค์จึงตรัสกะภิกษุอุบาลีว่า)

อุบาลี เธอ จงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด ความผาสุกจักมีแก่เธอผู้อยู่ในหมู่สงฆ์ ดังนี้.


1362
ลำดับพฤติจิตของผู้ที่จะเป็
นอยู่ด้วยความไม่ประมาท

ภิกษุ ท. บุคคลเป็นผู้ มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. เมื่อบุคคลสำรวม จักขุนทรีย์ อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้วในรูปทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมอยู่เป็นสุข จิตของผูมี้สุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. อย่างนี้แล ชื่อว่าบุคคลเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. (ในกรณีแห่งผู้ มีปกติอยู่ด้วยความประมาท ก็ตรัสไว้โดยนัยตรงกันข้าม).


1363
สัจจสัญญาอันสุขุมยิ่งขึ้นไปตามลำดับในรูปฌานสี่
[กรณีของปฐมฌาน]

โปฏฐปาทะ เมื่อภิกษุนั้นมองเห็นนิวรณ์ ทั้งห้าเหล่านี้ ที่ตนละได้แล้ว อยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิด ปีติย่อมเกิด กายของผู้มีใจปีติย่อมสงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น.ภิกษุนั้น เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.

สัญญาในกามอันมีในกาลก่อนของเธอนั้น ย่อมดับไป สัจจสัญญาอันละเอียดในปีติ และสุขที่เกิด แต่วิเวก ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่วิเวก ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษา อย่างนี้สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป. แม้นี้ ก็เป็นการศึกษา.


1363-1
สัจจสัญญาอันสุขุมยิ่งขึ้นไปตามลำดับในรูปฌานสี่ [กรณีของทุติยฌาน]

โปฏฐปาทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุ ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. สัจจสัญญาอัน ละเอียด ในปีติและสุขที่เกิดแต่วิเวก ที่มีในกาลก่อน ของเธอนั้นย่อมดับไป

สัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิ ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้นเธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิ ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษา อย่างนี้ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป. แม้นี้ ก็เป็นการศึกษา.


1364
[กรณีของตติยฌาน]

โปฏฐปาทะ ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย จึงบรรลุ ฌานที่สามอันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็น สุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ที่มีในกาลก่อน ของเธอนั้น ย่อมดับไป

สัจจสัญญาอันละเอียดในอุเปกขาสุข ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญา อันละเอียดในอุเปกขาสุข ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษาอย่างนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป. แม้นี้ ก็เป็นการ ศึกษา.


1364-1
[กรณีของจตุตถฌาน]

โปฏฐปาทะ ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสใน กาล ก่อน จึงบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สต ิเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียดในอุเปกขาสุข ที่มีในกาลก่อน ของเธอนั้นย่อมดับไป

สัจจสัญญาอันละเอียดในอทุกขมสุข
ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญา อันละเอียดในอทุกขมสุข ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษาอย่างนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป แม้นี้ ก็เป็นการ ศึกษา.
(ในกรณีแห่ง อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ทำนอง เดียวกัน).


1365
เจโตวิมุตติ ชนิดที่ยังมีอุปสรรค


ภิกษุ ท. บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก. สี่จำพวกอย่างไรเล่า? สี่จำพวกคือ

๑. ภิกษุ ท. ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ (ความดับแห่งสักกายะ) เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธไม่ได้. เปรียบเหมือนบุรุษมือเปื้อนตังเหนียว จับกิ่งไม้ มือของเขาข้องอยู่ จับอยู่ ติดอยู่ (ไม่เป็นอิสระ) นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำ ในใจซึ่งสักกายนิโรธ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธอยู่ จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

๒. ภิกษุ ท. ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโต วิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธอยู่ จิตของเธอก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในสักกายนิโรธ ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธได้. เปรียบเหมือน บุรุษมือสะอาด จับกิ่งไม้ มือของเขาก็ไม่ข้องอยู่ไม่จับอยู่ ไม่ติดอยู่ (ยังเป็นอิสระ) นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ภิกษุที่เข้าถึง เจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง สักกายนิโรธอยู่ จิตของเธอก็แล่นไป เลื่อมใสดำรงอยู่ น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

๓. ภิกษุ ท. ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโต วิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งอวิชชาป-เภท (การทำลายแห่งอวิชชา) เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่ จิตของเธอ(ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในอวิชชาปเภทความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทไม่ได้. เปรียบเหมือนชัมพาลี๑ อันสร้างมาแล้วหลายปี คนเขาปิดทางน้ำไหลเข้า ของมันเสีย และเปิดทางน้ำไหลออกไว้ทั้งหมด ทั้งฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ การที่จะมีน้ำไหลออก จากขอบคันแห่งตระพังนั้น ก็เป็นอันไม่มีหวัง นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ภิกษุที่เข้าถึง เจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภท เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง อวิชชาปเภทอยู่ จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในอวิชชาปเภทความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชา ปเภทไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

๔. ภิกษุ ท. ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโต วิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภท เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง อวิชชาปเภทอยู่ จิตของเธอ ก็แล่นไปเลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในอวิชชาปเภท. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทได้เปรียบเหมือน ชัมพาลี อันสร้างมาแล้วหลายปี คนเขาเปิดทางน้ำไหลเข้าของมัน และปิดทางน้ำไหล ออกไว้ทั้งหมด ทั้งฝน ก็ตกตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ การที่จะมีน้ำไหลออกจากขอบคัน แห่งตระพังนั้นก็เป็นอันหวังได้ นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภท เมื่อเธอกระทำ ในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่ จิตของเธอ ก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในอวิชชาปเภท. ความเป็นอย่างนี้ ของ ภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ . บุคคล จำพวก เหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

นิทเทศ ๒๑
ว่าด้วย สัมมาสมาธิ
จบ



นิเทศ ๒๒ ว่าด้วย ข้อความสรุปเรื่องมรรค
(มี ๗๕ เรื่อง)
หมวดก. ว่าด้วยไวพจน์



1368
อริยอัฏฐังคิกมัคคอธิวจนะ

(ไวพจน์แห่งอัฏฐังคิกมรรค)

ภิกษุ ท. เราจักแสดงซึ่ง สามัญญะ .... ภิกษุ ท. สามัญญะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? สามัญญะนั้นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ นั่นเอง ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. นี้ เราเรียกว่า สามัญญะ.
[ในสูตรอื่น (๑๙/๓๐/๑๐๕) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า พรหมัญญะ.
ในสูตรอื่น (๑๙/๓๑/๑๑๑) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า พรหมจริยะ.
ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๖๑) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมัตตะ.
ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๖๔) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า กุสลธัมม.
ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๖๗) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมาปฏิปทา.
ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๙๑) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมาปฏิปัตติ.
ในสูตรอื่น (๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า มัชฌิมาปฏิปทา.
ในสูตรอื่น (๑๔/๕๒๔/๘๒๙) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สมถะและวิปัสสนา].


1368-1
อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งธัมมยานอันประเสริฐ


(พระอานนท์ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ นั่งรถขาวเทียวด้วยม้าขาว เครื่องประดับประดาทุกส่วนขาว ถือพัด วาลวีชนีขาว จนกระทั่งประชาชน เห็นแล้วร้องว่า พรหมยาน ว่าลักษณะแห่งพรหมยาน ดังนี้แล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า)

ข้าแต่พระองค์ผู้องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค อาจจะบัญญัติพรหมยานขึ้นในธรรมวินัยนี้ ได้หรือไม่หนอ ?” อาจซิ อานนท์ คำว่า พรหมยาน นั้น เป็ นอธิวจนะ (คำแทนชื่อ) แห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เอง เรียกว่า พรหมยาน บ้าง ธรรมยาน บ้างอนุตตรสังคามวิชัย บ้าง.

อานนท์ สัมมาทิฏฐิ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการนำออกซึ่งราคะ เป็นปริโยสาน มีการนำออก ซึ่ง โทสะเป็นปริโยสานมีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน.

สัมมาสังกัปปะ .... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ .... สัมมา-อาชีวะ .... สัมมาวายามะ .... สัมมาสติ .... สัมมาสมาธิ .... อันบุคคล เจริญกระทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการนำออก ซึ่งราคะเป็นปริโยสาน มีการนำ ออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน มีการออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน.

อานนท์ พึงทราบโดยปริยายนี้แล ว่าคำว่า พรหมยาน นั้น เป็นอธิวจนะแห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เอง เรียกว่า พรหมยาน บ้าง ธรรมยานบ้าง อนุตตรสังคามวิชัย บ้าง.

(ผู้ศึกษาพึงทราบว่า คำว่า พรหมยาน เป็นคำสูงสุดในฝ่าย ศาสนาพราหมณ์ พระอานนท์อยากจะมีคำเช่นนั้น ในพระพุทธศาสนานี้บ้าง จึงทูลถาม แต่พระองค์ตรัสตอบอย่าง ธัมมาธิษฐานระบุเอาอัฏฐังคิกมรรคเป็นพรหมยาน และแถมยังมีคำว่า ธรรมยาน และอนุตตรสังคามวิชัย อีกด้วย. เราเห็นว่า คำว่า ธรรมยาน สำคัญกว่า จึงยกเอามา เป็นชื่อแห่งหัวข้อนี้.อนึ่ง อัฏฐังคิกมรรคนี้ จำแนกความหมายได้หลายอย่าง เช่นจำแนกเป็น วิเวกนิสฺสิตํ วิ-ราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามี ดังในหัวข้อ ที่จัด อัฏฐังคิกมรรคเป็น กัลยาณมิตรเป็นต้น บ้าง และใน หัวข้อ ทรงจำแนกเป็น ราค - โทส - โมหวินย - ปริโยสานบ้าง ในหัวข้อว่า“อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว” เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้ในหมายเหตุท้ายหัวข้อนั้นๆ ที่หน้า ๑๔๑๙ ๑๔๒๑ ๑๔๕๘ แห่งหนังสือนี้ ทรงจำแนกว่า อมโตคธ อมตปรายน อมตปริโยสาน บ้าง นิพฺพานนินฺน นิพฺพานโปณ นิพฺพานปพฺภาร บ้าง).


1370
อัฏฐังคิกมรรค
เป็นสัมมาปฏิปทา

ภิกษุ ท. เราจักแสดงซึ่ง มิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา แก่
พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งข้อความนั้น.

ภิกษุ ท. มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? มิจฉาปฏิปทานี้คือ
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ. ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า มิจฉา
ปฏิปทา.

ภิกษุ ท. สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? สัมมาปฏิปทานี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.

[สูตรข้างบนนี้ ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรค ว่าสัมมาปฏิปทา ในสูตรอื่น (๑๙/๒๘/๘๙ -๙๑) ตรัสเรียกว่า สัมมาปฏิบัติ ก็มี. อนึ่ง สูตรข้างบนนั้นตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรค ว่า สัมมาปฏิทา ในสูตรบางแห่ง (นิทาน.สํ.๑๖/๕/๑๙ - ๒๑) ตรัสเรียก ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ว่าเป็นสัมมาปฏิปทา ก็มี.(ตรัสเรียกปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ก็มี - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๔๐๑). เป็นอันว่า ทั้งอริยอัฏฐังคิกมรรค และปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ต่างก็เป็ นสัมมาปฏิปทาด้วยกัน ควรที่นักศึกษาจะสนใจอย่างยิ่ง]


1371
สัมมัตตะในนามว่า
อริยมรรค

ภิกษุ ท. เราจักแสดงซึ่งธรรมอันป็นอริยมรรค และธรรมอันเป็น อนริยมรรค แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุ ท. อนริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ มิจฉาทิฏฐิ  มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ  มิจฉาวิมุตติ.

ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า อนริยมรรค.

ภิกษุ ท. อริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า อริยมรรค.

(ในพระบาลีข้างบนนี้ ทรงแสดง สัมมัตตะสิบและมิจฉัตตะสิบ ว่าเป็นอริยมรรคและอนริยมรรค. ในบาลีแห่งอื่น ๆ แสดงเป็นคู่ ๆ แปลกออกไปอีก คือในสูตรอื่น ๆ ทรงเรียกชื่อของธรรมหมวดนี้ว่า สุกกมรรค - กัณหมรรค ก็มี เป็นสาธุธรรม - อสาธุธรรม อริยมรรค - อนริยมรรค กุศลธรรม - อกุศลธรรม ธรรมมีประโยชน์ - ธรรมไม่มีประโยชน์ เป็นธรรม - เป็นอธรรม ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ - เป็นไปเพื่ออาสวะ เป็นธรรมไม่มีโทษ - เป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ แผดเผา - เป็นธรรมแผดเผา ไม่เป็นเครื่องสั่งสมกิเลส - เป็นเครื่องสั่งสมกิเลส มีสุขเป็นกำไร - มีทุกข์เป็นกำไร มีสุขเป็นผลตอบแทน - มีทุกข์เป็นผลตอบแทน เป็นธรรมทำความสงบ - ไม่เป็นธรรมทำความสงบ เป็นธรรมของ สัตบุรุษ - ไม่เป็นธรรมของสัตบุรุษธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้น - ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น ธรรมที่ควรเสพ - ธรรมที่ไม ่ควร เสพ ธรรมที่ควรเจริญ - ธรรมที่ไม่ควรเจริญ ธรรมที่ควรทำให้มาก - ธรรมที่ไม่ควรทำให้มากธรรม ที่ควร ระลึกถึง - ธรรมที่ไม่ควรระลึกถึง ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง - ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งดังนี้ก็มี. - ๒๔/๒๕๘ - ๒๖๕/๑๓๔ - ๑๕๔).


1372
ธรรมที่เป็นนิพพานคามิมัคคะ


ภิกษุ ท. เราจักแสดงซึ่งนิพพานคามิมรรค แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุ ท. ก็ นิพพานคามิมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? (ต่อไปนี้ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า นิพพานคามิมรรค โดยสูตรหลายสูตรเป็นลำดับไป ในที่นี้จะยกมาเฉพาะชื่อธรรมที่ทรงแสดงเท่านั้น)

กายคตาสติ : ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.
สมถะและวิปัสสนา
: ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.

สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ
ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.

สติปัฏฐานสี่ ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค
สัมมัปปธานสี่ ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค
อิทธิบาทสี่ ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค
อินทรีย์ห้า ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค
พละห้า ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.
โพชฌงค์เจ็ด ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.
อริยอัฏฐังคิกมรรค ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค

ภิกษุ ท. ด้วยอาการอย่างนี้ นิพพานคามิมรรค เป็นอันว่าเราแสดงแล้ว. ภิกษุ ท. กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ ทั้งหลาย. ภิกษุ ท. นั้น โคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี้แล เป็นวจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.


1373
ทางโล่งอันแน่นอนไปสู่สัมมัติตตนิยาม


ภิกษุ ท. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็ไม่อาจก้าวลงสู่นิยามธรรม (บทสรุปอันแน่นอน) อันเป็นสัมมัตตะ (ภาวะแห่งความถูกต้อง) ในกุศลธรรมทั้งหลาย.๑ หกประการ อย่างไรเล่า ? หกประการ คือเป็นผู้ -ประกอบด้วยกัมมาวรณภาวะ (มีกรรมเป็นเครื่องกั้น)
ประกอบด้วยกิเลสาวรณภาวะ (มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น)
ประกอบด้วยวิปากาวรณภาวะ (มีวิบากเป็นเครื่องกั้น)
ไม่ประกอบด้วยศรัทธา
ไม่ประกอบด้วยฉันทะ และ
เป็นผู้มีปัญญาทราม.

ภิกษุ ท. บุคคลที่ประกอบด้วยหลักธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็ไม่อาจก้าวลงสู่นิยามธรรม อันเป็น สัมมัตตะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.ภิกษุ ท. บุคคลที่ประกอบด้วยหลักธรรม ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ก็อาจ ก้าวลงสู่นิยาม ธรรม อันเป็ นสัมมัตตะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

หกประการอย่างไรเล่า? หกประการคือ เป็นผู้
ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณภาวะ
ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณภาวะ

ไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณภาวะ
ประกอบด้วยศรัทธา
ประกอบด้วยฉันทะ และเป็นผู้ที่มีปัญญา

ภิกษุ ท. บุคคลที่ประกอบด้วยหลักธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็อาจก้าวลงสู่นิยามธรรม อันเป็นสัมมัตตะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
(กัมมาวรณภาวะ - มีกรรมเป็นเครื่องกั้น หมายถึงวิปฏิสารแห่งจิต เพราะได้ทำกรรมชั่วไว้ กิเลสาวรณภาวะ - มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น หมายถึงกิเลส โดยเฉพาะคือมิจฉาทิฏฐิที่เป็นพื้นฐานแห่งจิต วิปากาวรณภาวะ - หมายถึง วิบากที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์ที่ไม่อาจจะเข้าใจธรรมได้).


1375
อริยมรรค
ซึ่งมิใช่อริยอัฏฐังคิกมรรค

ภิกษุ ท. เราจักแสดงซึ่งอริยมรรคและอนริยมรรค แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุ ท. อนริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปวาทอภิชฌาพยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า อนริยมรรค.

ภิกษุ ท. อริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า? เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท เว้นจากปิสุณวาทเว้นจากผรุสวาท เว้นจากสัมผัปปลาปวาท อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ :ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า อริยมรรค. (กุศลกัมมบถสิบ และ อกุศลกัมมบถสิบ ซึ่งเรียกชื่อว่า อริยมรรค และอนริยมรรค ในที่นี้ในสูตรอื่นเรียกว่า สุกกมรรค - กัณหมรรค ก็มี - ๒๔/๓๐๐/๑๗๙).

หมวดข. ว่าด้วยการสงเคราะห์องค์มรรค



1375-1
องค์แปดแห่งอริยมรรค
สงเคราะห์ลงในสิกขาสาม

ข้าแต่แม่เจ้า อริยอัฏฐังคิกมรรคเป็นอย่างไรเล่า ?”
“อาวุโสวิสาขะ อริยอัฏฐังคิกมรรคนั้น ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”

ข้าแต่แม่เจ้า อริยอัฏฐังคิกมรรคเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรม ?”“อาวุโสวิสาขะ อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็น สังขตธรรม”.ข้าแต่แม่เจ้า ขันธ์ทั้งสาม (ศีล - สมาธิ - ปัญญาขันธ์) สงเคราะห์ด้วยอริยอัฏฐังคิกมรรคหรือ หรือว่าอริยอัฏฐังคิกมรรคสงเคราะห์ ด้วยขันธ์สาม ?”

“อาวุโสวิสาขะ ขันธ์ทั้งสาม ไม่ได้สงเคราะห์ใน อริยอัฏฐังคิกมรรค แต่ อริยอัฏฐังคิกมรรค ต่างหาก สงเคราะห์ ในขันธ์ทั้งสาม คือสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามอย่างนี้ สงเคราะห์ใน ศีลขันธ์สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สามอย่างนี้ สงเคราะห์ใน สมาธิขันธ์สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สองอย่างนี้ สงเคราะห์ใน ปัญญาขันธ์. .... ฯลฯ .... ”

(ข้อความข้างบนนี้ เป็นคำของธัมมทินนาเถรี กล่าวตอบแก่วิสาขอุบาสก ครั้นอุบาสกนำข้อความนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วิสาขะ ธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าเธอถามข้อความ นั้นกะเรา เราก็จะพยากรณ์กะเธอเช่นเดียวกับที่ธัมมทินนาภิกษุณีพยากรณ์แล้วแก่เธอ เธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้.” ดังนั้นเป็นอันว่า ข้อความของธรรมทินนาเถรีมีค่าเท่ากับพระพุทธภาษิต จึงนำมาใส่ไว้ในหนังสือนี้ ในลักษณะ เช่นนี้).


1376
ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
๑. สีลขันธ์
โดยละเอียด

ท่านอานนท์ผู้เจริญ อริยสีลขันธ์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทานให้เข้าไปอยู่ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”

มาณพ ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองสมบูรณ ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออก สอน สัตว์. ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลาง ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใด ตระกูลหนึ่งในภายหลัง ก็ดีได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.

เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.

ถ้ากระไรเราจะปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด” ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผม และหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.

กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล ....

มาณพ ภิกษุ เป็ นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็ นอย่างไรเล่า?
มาณพ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูล ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ....ฯลฯ ....

(ข้อความต่อไปนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๔๑ ตั้งแต่ คำว่า เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจาก อทินนาทาน ... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยสีลขันธ์) .... ที่หน้า ๑๕๕๑).


1378
ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด ๒. สมาธิขันธ์
โดยละเอียด

ท่านอานนท์ผู้เจริญ อริยสมาธิขันธ์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดม ทรงสรรเสริญและทรงชักชวนมหาชน ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ให้ตั้งไว้เฉพาะ?” (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ)

มาณพ ภิกษุ เป็ นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า ?
มาณพ ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ อกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวม ในอินทรีย์คือตา. (ในกรณีแห่งอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).

.... มาณพ ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้แล.

มาณพ ภิกษุ เป็ นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็ นอย่างไรเล่า?มาณพ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

.... มาณพ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

มาณพ ภิกษุ เป็ นผู้สันโดษ เป็ นอย่างไรเล่า ? มาณพ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใด ๆ ย่อมถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ.

มาณพ เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใด ๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใด ๆ ได้.

.... มาณพ ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


1380
ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
(การเจริญสมาธิ)

ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วยประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วยประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกหน้า ๑๕๕๓ แห่งหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า ....

(จบอริยสมาธิขันธ์)


1380-1
ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด ๓. ปัญญาขันธ์
โดยละเอียด

ท่านอานนท์ผู้เจริญ อริยปัญญาขันธ์นั้นเป็นอย่างไรเล่าที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญและ ทรงชักชวน มหาชนนี้ให้สมาทานให้เข้าไปอยู่ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ.

เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูปประกอบอยู่ ด้วยมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วย ข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา แต่วิญญาณ ของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยมเจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดย ประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้ เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง.

ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้างสีขาวบ้าง สีส้มบ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญา ของเธอประการหนึ่ง. ....ฯลฯ....

(ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๕๙ตั้งแต่คำว่า ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้ แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ. เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้ ....ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยปัญญาขันธ์). ที่หน้า ๑๕๖๔).


1381
สิกขาสาม
เป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันตามลำดับ

(เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ท ี่อุทยานอัมพลัฏฐิกา ในราชอาคาร ทรงกระทำธรรมมีกถาเป็นอันมาก แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ว่า)

ศีล เป็นอย่างนี้ สมาธิ เป็นอย่างนี้ ปัญญา เป็นอย่างนี้. สมาธิ ที่ศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญา ที่สมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ จิต ที่ปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย โดยชอบเทียว คือพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.


1382
อธิสิกขาสาม


ภิกษุ ท. สิกขา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า?สามอย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท. อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรมีปกติเห็นเป็นภัย ในโทษทั้งหลายแม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย. ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.

ภิกษุ ท. อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ....ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า อธิจิตต สิกขา.

ภิกษุ ท. อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็ นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ดังนี้. ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท. เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.


1382-1
อธิสิกขาสาม (อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. สิกขา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า? สามอย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญา สิกขา.

ภิกษุ ท. อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ .... ฯลฯ .... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา

ภิกษุ ท. อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ....ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.

ภิกษุ ท. อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้ว แลอยู่.

ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท. เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.


1383
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

พึงเป็ นผู้มีความเพียร มีกำลัง มีความตั้งมั่น มีความเพ่งมีสติ สำรวมอินทรีย์ ประพฤติอธิศีลอธิจิต และ อธิปัญญา เถิด พึงแผ่จิต ครอบงำทิศทั้งปวง ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้ เช่นเดียวกันทั้งข้างหน้าข้างหลัง ทั้งข้างหลัง ข้างหน้า เช่นเดียวกันทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง ทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำ เช่นเดียวกันทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งกลางคืน กลางวัน. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นเสขปฏิปทา หรือการประพฤติธรรมหมดจดด้วยดี. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็น ผู้รู้พร้อมในโลก มีปัญญา ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ.

วิโมกข์แห่งจิต ย่อมมีแก่บุคคลนั้น ผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นตัณหา เพราะความดับสนิทแห่งวิญญาณ เหมือนความ ดับสนิทแห่งไฟ ฉะนั้น.


1384
ลักษณะความสมบูรณ์แห่งศีล


ดูก่อนจุนที ศีลทั้งหลายมีประมาณเท่าไร ผู้รู้กล่าวกันว่า อริยกันตศีล(ศีลเป็นที่ชอบใจของพระอริยเจ้า) เลิศกว่าศีล เหล่านั้น กล่าวคือ ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทแก่ตัว วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิลูบคลำ
เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ.

จุนที บุคคลเหล่าใด ทำให้บริบูรณ์ใน อริยกันตศีล บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่ากระทำให้บริบูรณ์ ในสิ่งอันเลิศ ก็วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสิ่งอันเลิศ แล.


1384-1
เมื่อตีความคำบัญญัติผิดแม้ทารกนอนเบาะ ก็มีศีลโดยอัตโนมัติ


(อุคคาหมานปริพพาชก ได้กล่าวกะช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า

ถปติ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ประการว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์มีกุศลอย่างยิ่งเป็นสมณผู้บรรลุ ถึงการบรรลุอันอุดมอันใครๆ รบให้แพ้ไม่ได้. สี่อย่างอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือบุคคลในกรณีนี้ย่อมไม่กระทำกรรม อันเป็นบาป ด้วยกาย ย่อมไม่กล่าววาจาอันเป็นบาปย่อมไม่ดำริความดำริอันเป็นบาปย่อมไม่เลี้ยงชีวิต ด้วยอาชีพอันเป็นบาป.”  

ช่างไม้ ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำนั้น เข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลข้อความนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทุกประการ. ตรัสว่า )

ถปติ ถ้าเป็นอย่างที่ปริพพาชกนั้นกล่าวแล้ว เด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะ ก็จะกลายเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศล อย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดม อันใครๆรบให้แพ้ไม่ได้ ไปเสีย.

ถปติ สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้น แม้แต่ความรู้จักว่า “กายๆ” ดังนี้ ก็ยังมิได้มีแล้วจักกระทำกรรม อันเป็นบาปด้วยกายได้แต่ที่ไหน อย่างมากก็เพียงกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนเบาะ.

ถปติ สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้น แม้แต่ความรู้จักว่า “วาจาๆ” ดังนี้ ก็ยังมิได้มี แล้ว จักกล่าววาจาอัน เป็นบาปได้แต่ที่ไหน อย่างมากก็เพียงส่งเสียงร้องไห้.

ถปติ สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้นแม้แต่ความรู้จักว่า “ดำริๆ” ดังนี้ ก็ยังมิได้มี. แล้ว จักดำริความดำริ อันเป็นบาปได้แต่ที่ไหน อย่างมากก็เพียงแสดงอาการอึดอัด (ตามประสาเด็ก).

ถปติ สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้น แม้แต่ความรู้จักที่ว่า “อาชีพๆ” ดังนี้ก็ยังมิได้มี. แล้ว จักเลี้ยงชีวิต ด้วยอาชีพอันเป็นบาปได้แต่ที่ไหน อย่างมากทำได้ก็แต่เพียงกินนมแม่.

ถปติ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะ จักเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็น สมณผู้บรรล ุถึงการบรรลุอันอุดม อันใครๆรบให้แพ้ไม่ได้ ดังคำกล่าวของอุคคาหมานปริพพาชกนั้น ได้อย่างไร.

ถปติ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง(ตามที่อุคคาหมานปริพพาชกกล่าวนั้น) ว่า ยังไม่ใช่ผู้มีกุศล สมบูรณ์ ยังไม่ใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง ยังไม่ใช่สมณะผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดม อันใครๆ รบให้แพ้ไม่ได้ อย่างมาก

บุคคลนั้นเพียงแต่จะดีกว่าเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะบ้างเท่านั้น.


1386
ธรรม - อธรรม - อรรถ - อนรรถ
ที่ควรทราบ

ภิกษุ ท. อธรรม เป็นสิ่งที่ควรทราบ อนรรถ ก็เป็นสิ่งที่ควรทราบ.ธรรม เป็นสิ่งที่ควรทราบ อรรถ ก็เป็นสิ่งที่ ควรทราบ. รู้แจ้งทั้งอธรรมและอนรรถ รู้แจ้งทั้งธรรมและอรรถแล้ว บุคคลพึงปฏิบัติตามที่เป็นธรรมตาม ที่เป็นอรรถ.

ภิกษุ ท. อะไรเป็น อธรรม และเป็น อนรรถ ? มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติมิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ. ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่าอธรรม เรียกว่า อรรถ.

ภิกษุ ท. อะไรเป็น ธรรม อะไรเป็น อรรถ ? สัมมาทิฏฐิ สัมมา-สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า ธรรม เรียกว่าอนรรถ.

ภิกษุ ท. เราอาศัยเหตุผลดังกล่าวมานี้แล้ว เราจึงกล่าวว่า “ภิกษุ ท. อธรรมเป็นสิ่งที่ควรทราบ อรรถก็เป็นสิ่งที่ ควรทราบ. ธรรมเป็นสิ่งที่ควรทราบ อนรรถก็เป็นสิ่งที่ควรทราบ. รู้แจ้งทั้งอธรรมและอนรรถ รู้แจ้งทั้งธรรมและ อรรถแล้ว บุคคลพึงปฏิบัติตามที่เป็นธรรมตามที่เป็นอรรถ” ดังนี้.

(ในสูตรถัดไป (๒๔/๒๓๘/๑๑๔). ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า อธรรม ด้วยมิจฉัตตะ ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า ธรรม ด้วยสัมมัตตะ ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า อนรรถ ด้วยบาปอกุศลธรรมต่าง ๆที่เกิดจากมิจฉัตตะแต่ละอย่าง ๆ เป็นปัจจัย และทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า อรรถ ด้วยกุศลธรรมต่าง ๆที่เกิดแต่สัมมัตตะแต่ละอย่าง ๆ เป็นปัจจัย.ในสูตรอื่นอีก (๒๔/๒๗๓/๑๖๐) ทรงแสดง อธรรม และ อนรรถ ด้วยอกุศลกัมมบถสิบและทรงแสดง ธรรม และ อรรถ ด้วยกุศล กัมมบถสิบ.ในอีกสูตรหนึ่ง (๒๔/๒๘๑/๑๖๒) ทรงแสดง อธรรม ด้วยอกุศลกัมมบถ แสดง ธรรมด้วยกุศลกัมมบถ แสดง อนรรถ ด้วยวิบากแห่งอกุศลกัมมบถ และแสดง อรรถ ด้วยวิบากแห่งกุศลกัมมบถ).

หมวด. ว่าด้วยคุณค่าของมรรค


1387
อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งตัวพรหมจรรย์


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีคำกล่าวกันอยู่ว่าพรหมจรรย์พรหมจรรย์ดังนี้พรหมจรรย์เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า ? และที่สุดแห่งพหรมจรรย์คืออะไรพระเจ้าข้า ?”

ภิกษุ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือพรหมจรรย์ กล่าวคือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ความสิ้นแห่งราคะ (ราคกฺขโย) ความสิ้นแห่งโทสะ(โทสกฺขโย) ความสิ้นแห่งโมหะ (โมหกฺขโย) : นี้คือ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ แล.


1388
ระบบพรหมจรรย์ทรงแบ่งไว้เป็น
แผนก

ภิกษุ ท. เรา ไม่กล่าว สำหรับภิกษุทั้งปวง ว่า ยังมีกิจอะไร (เหลืออยู่) ที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาท และเราก็ ไม่กล่าว สำหรับภิกษุทั้งปวงว่า มีกิจอะไร ที่ไม่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท.


1388-1
ก. สำหรับผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว


ภิกษุ ท. ภิกษุเหล่าใด เป็น อรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำอันกระทำแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุท. สำหรับภิาษุ เหล่านั้น เราไม่กล่าวว่า ยังมีกิจอะไร ๆ (เหลืออยู่) ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนี้เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำเสร็จแล้ว และเธอเป็นผู้ไม่อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป.


1388-2
ข. สำหรับผู้ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์


ภิกษุ ท. ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็น เสขะ มีความประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรม อันเกษม จากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ ภิกษุ ท. สำหรับภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ายังมีกิจอะไร ๆ (เหลืออยู่) ที่เธอ ต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะ อันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแหง่ พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีกิจอะไร ๆ (เหลืออยู่) ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.


1389
จุดมุ่งหมายแท้จริงของพรหมจรรย์


ภิกษุ ท. พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะ และเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อม ด้วย ศีลเป็น อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถีงพร้อม ด้วยญาณ ทัสสนะเป็นอานิสงส์.

ภิกษุ ท. ก็เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบอันใด มีอยู่ พรหมจรรย์นี้มี เจโตวิมุตตินั่นแหละเป นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีเจโตวิมุตินั่นแหละเป็นแก่นสาร มีเจโตวิมุตตินั่นแหละ เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ แล.


1389-1
อัฏฐังคิกมรรคเป็นพรหมจรรย์เป็นไปเพื่อนิพพาน


ปัญจสิขะ พรหมจรรย์ ของเรานี้ เป็นไปเพื่อนิพพิทา โดยส่วนเดียวเพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อนิพพาน.

ปัญจสิขะ พรหมจรรย์ ที่เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อนิพพาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า? พรหมจรรย์นั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เองได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ปัญจสิขะ นี้แล คือ พรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่อ อภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อนิพพาน.

ปัญจสิขะ สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดยครบถ้วนแล้ว สาวกเหล่านั้น ย่อม ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ทิฏฐธรรม นี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดย ไม่ครบถ้วน สาวกเหล่านั้น เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีส่วนในเบื้องต่ำห้าประการ ย่อม เป็นโอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา.

สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดย ไม่ครบถ้วนสาวกเหล่านั้น บางพวก เพราะความสิ้นไปแห่ง สังโยชน์สาม เพราะความเบาบางแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ ย่อม เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียวก็จักกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้.สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดย ไม่ครบถ้วนสาวกเหล่านั้น บางพวก เพราะ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม ย่อม เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้ พร้อมในเบื้องหน้า.

ปัญจสิขะ ด้วยอาการอย่างนี้แล การบรรพชา (ในธรรมวินัยนี้) ของกุลบุตรเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว เป็นบรรพชา ไม่เป็นหมัน ไม่มีโทษ แต่มีผลมีกำไร แล.

(ผู้รวบรวมหนังสือเล่มนี้ ชี้ให้ผู้ศึกษาเห็นว่า )


1391
มรรคมีองค์แปดรวมอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดสาย


๑. สัมมาทิฏฐิ คือกุลบุตรฟังธรรม จนเกิดสัมมาทิฏฐิในอาสวักขยกรรมทั้งหลาย.(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวล พรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า๑๕๔๐ บรรทัดที่ ๑๓ เป็นต้นไป)

๒. สัมมาสังกัปโป คือกุลบุตรอยากบวช แล้วออกบวช.(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า๑๕๔๐ บรรทัดที่ ๑๔ เป็นต้นไป)

๓. สัมมาวาจา คือกุลบุตรมีการพูดซึ่งเว้นจากวจีทุจริตและเดรัจฉานกถาทั้งหลาย.(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวล พรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า๑๕๔๑ บรรทัดที่ ๑๗ เป็นต้นไป)

๔. สัมมากัมมันโต คือกุลบุตรเว้นจากกรรมอันเป็นอกุศล.(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า๑๕๔๑ บรรทัดที่ ๑๐ เป็นต้นไป)

๕. สัมมาอาชีโว คือกุลบุตรเว้นจากการหาเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาและมีสันโดษเป็นต้น. (ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๔๒ บรรทัดที่ ๑๑ เป็นต้นไป)

๖. สัมมาวายาโม คือกุลบุตรทำความเพียรอยู่ในที่ทุกสถานทั้งหลับและตื่น ตามหลักแห่งการทำความเพียรทั่วไป. (ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๕๓ บรรทัดที่ ๕ เป็นต้นไป).

๗. สัมมาสติ คือกุลบุตรมีสติสัมปชัญญะ. (ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวก ท้ายเล่ม ที่หน้า๑๕๕๑ บรรทัดที่ ๑๑ เป็นต้นไป)

๘. สัมมาสมาธิ คือกุลบุตรตั้งต้นเจริญสมาธิและได้รูปฌาณสี่.(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอด สาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า๑๕๕๓ บรรทัดที่ ๕ เป็นต้นไป )


1392
อัฏฐังคิกมัคคพรหมจรรย์
ให้ผลอย่างเครื่องจักร

ภูมิชะ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเป็นผู้ที่ มีความเห็นถูกต้อง มีความมุ่งหมาย ถูกต้อง มีการพูดจาถูกต้องมีการทำงานถูกต้อง มีการดำรงชีพถูกต้อง มีความพยายามถูกต้อง มีความระลึกถูกต้อง มีความตั้งจิตมั่นไว้อย่างถูกต้อง ชนเหล่านั้น ถ้าแม้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยหวังผล ก็ต้องได้รับผล ถ้าแม้ประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่หวังผล ก็ต้องได้รับผล ถ้าม้ประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งโดยหวังผล และไม่หวังผล ก็ต้องได้รับผล ถ้าแม้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยหวังผลก็มิใช่ ไม่หวังผลก็มิใช่ ก็ยังต้องได้รับผล.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุแห่งการได้รับผลนั้น เป็นสิ่งที่เขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้ทำแล้วโดยรากเหง้า (โยนิโส)

ภูมิชะ เช่นเดียวกับบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน เสาะหาน้ำมัน เที่ยวแสวงหาน้ำมัน อยู่ เขาเกลี่ยเยื่อเมล็ดงาลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป แม้บุรุษนั้น ทำความหวัง.... ทำความไม่หวัง.... ทั้งทำความหวังและ ความ ไม่หวัง.... ทั้งทำความหวังก็หามิได้ ความไม่หวังก็หามิได้ ก็ตาม เมื่อเขาเกลี่ยเยื่อเมล็ดงาลงในราง ประพรม ด้วยน้ำ แล้วคั้นอยู่เรื่อยไป บุรุษนั้นก็ต้องได้น้ำมันอยู่เอง.

ข้อนี้เพราะเหตุไร? เพราะเหตุแห่งการได้น้ำมันนั้น เป็นสิ่งที่บุรุษนั้นได้ทำแล้ว โดยลึกซึ้งแยบคาย ฉันใดก็ฉันนั้น. (ทรงให้อุปมาทำนองนี้อีกสามข้อ คือ บุรุษผู้ ต้องการนํ้านม รีดน้ำนมจากนมแม่โคลูกอ่อน บุรุษผู้ ต้องการเนย ปั่นเนยจากนมที่หมักเป็นเยื่อแล้ว บุรุษที่ ต้องการไฟ สีไฟจากไม้แห้ง ก็ย่อมได้ผลตามที่ตนต้องการ. แม้จะทำ ความหวังหรือความไม่หวังก็ตาม ผลนั้น ๆ ก็ย่อมมีให้เอง เพราะได้มีการกระทำที่ถูกต้องลงไปแล้ว).


1393
ความแตกต่างระหว่าง
คนเขลา
และ บัณฑิตในการประพฤติพรหมจรรย์


ภิกษุ ท. กายนี้เกิดมีขึ้นแล้ว แก่คนเขลา ผู้ถูกอวิชชาใดห่อหุ้มแล้วด้วย ผู้พัวพันแล้วด้วยตัณหาใดด้วย อวิชชา นั้นแหละ ที่คนเขลายังละไม่ได้ และตัณหานั่นเทียว ก็ยังไม่หมดสิ้นไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุท. เพราะว่า คนเขลาไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ.เพราะเหตุนั้น คนเขลา จึงเป็นผู้เข้าถึงกาย (อื่น) เพราะการแตกสลายแห่งกาย(นี้). คนเขลานั้น เมื่อเข้าถึงกายอยู่ เรากล่าวว่า “เขาไม่หลุดพ้นจากความ เกิดความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจความคับแค้นใจ และไม่หลุดพ้น จากทุกข์” ดังนี้.

ภิกษุ ท. กายนี้ เกิดมีขึ้นแล้ว แก่บัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดห่อหุ้มแล้วด้วย ผู้พัวพันแล้วด้วยตัณหาใดด้วย อวิชชา นั้นแหละ อันบัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั่นเทียว ก็หมดสิ้นไปแล้ว. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่า บัณฑิต ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ. เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึงเป็นผู้ไม่เข้าถึงกาย (อื่น) เพราะการแตกสลายแห่งกาย (นี้). บัณฑิตนั้นเมื่อไม่เข้าถึงกายอยู่ เรากล่าวว่า “เขาย่อมหลุดพ้นได้จากความเกิด ความแก่ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ และย่อมหลุดพ้น ได้จากทุกข์” ดังนี้แล.


1394
อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด
ก. เกิดความปรากฏ แห่งตถาคต


ภิกษุ ท. ธรรม ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ แปดประการ อย่างไรเล่า? แปดประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แลอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตแห่งอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

ภิกษุ ท. ธรรม ประการเหล่านี้ บริสุทธ์ิ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะแปดประการอย่างไรเล่า? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่)ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.


1395
ข. เกิดสุคตวินัย


ภิกษุ ท. ธรรม ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง)สุคตวินัย. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย.

ภิกษุ ท. ธรรม ประการเหล่านี้ บริสุทธ์ิ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า? แปดประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แลบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย.


1396
อัฏฐังคิกมรรคเพื่อการรู้และการละซึ่งธรรมที่ควรรู้และควรละ


ภิกษุ ท. ธรรม ประการเหล่านี้ อันบุคคลพึงเจริญ เพื่อการรู้ยิ่ง .... เพื่อการรู้รอบ .... เพื่อการสิ้นไปรอบ .... เพื่อการละ .... เพื่อความสิ้นไป ....เพื่อความเสื่อมไป .... เพื่อความจางคลาย .... เพื่อความดับ .... เพื่อความสละทิ้ง .... เพื่อความสลัดคืน .... ซึ่งราคะ .... ซึ่งโทสะ .... ซึ่งโมหะ .... ซึ่งโกธะ .... อุปนาหะ .... มักขะ .... ปลาสะ .... อิสสา ..... มัจฉริยะ .... มายา .... สาเถยยะ .... ถัมภะ ..... สารัมภะ .... มานะ .... อติมานะ .... มทะ .... ปมาทะ.

แปดประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า? แปดประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันบุคคลพึงเจริญ เพื่อการรู้ยิ่ง ฯลฯ ซึ่งราคะ ฯลฯ แล.

(ข้อความทั้งหมดนี้ ในบาลีประสงค์จะให้แยกเป็นสูตร ๆ เป็นเรื่อง ๆ ตามความแตกต่างแห่งกิริยาอาการ เช่นการรู้ยิ่ง ก็สูตรหนึ่ง และแยกตามชื่อของกิเลสที่ต้องละ กิเลสชื่อหนึ่ง ก็สูตรหนึ่ง เช่นรู้ยิ่งซึ่งราคะเป็นต้น ก็สูตรหนึ่ง รวมกันเป็น ๑๗๐ สูตร คือมีกิริยาอาการสิบ มีชื่อกิเลสที่ต้องละสิบเจ็ดชื่อ คูณกันเข้าเป็น ๑๗๐ ในที่นี้นำมาทำ เป็นสูตรเดียว เพื่อง่ายแก่การศึกษาและประหยัดเวลา).


1397
อัฏฐังคิกมรรคช่วยระงับภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้


ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (อมาตาปุตฺติกภย) ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง. สามอย่างคือ มีสมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ตั้งขึ้น ไหม้หมู่บ้าน ไหม้นิคม ไหม้นคร. ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วย เหลืออะไรได้) บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลือ อะไรได้). ภิกษุ ท. บุถุชนไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็น อมาตาปุตติก-ภัยอย่างที่หนึ่ง.

ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มหาเมฆตั้งขึ้น เกิดน้ำท่วมใหญ่ พัดพาไปทั้งหมู่บ้าน ทั้งนิคม ทั้งนคร. ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร(เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้) บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).

ภิกษุ ท. บุถุชนไม่มีการ สดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สอง.ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มีภัยคือการกำเริบ (กบฏ) มาจากป่า ประชาชนขึ้นยานมีล้อ หนีกระจัด กระจายไป. เมื่อภัยอย่างนี้เกิดขึ้นสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้) บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).

ภิกษุ ท. บุถุชนไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สาม.
ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง เหล่านี้. ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตร ช่วยกันได้) แท้ อย่างนี้ ว่าเป็น อมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มาดาและบุตรช่วยกันไม่ได้) ไปเสีย.

ภิกษุ ท. ภัย ๓ อย่าง ที่มารดาและบุตรช่วยกันได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ สมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ เป็นอย่างหนึ่ง สมัยที่น้ำท่วมใหญ่ เป็นอย่างที่สอง สมัยที่หนี โจรขบถ เป็นอย่างที่สาม เหล่านี้บางคราวมารดาและบุตรก็ช่วยกันและกันได้ แต่บุถุชนผู้ไม่มีการสดับมา กล่าวว่า เป็นภัยที่มารดาและบุตรก็ช่วยกันไม่ได้ไปเสียทั้งหมด.

ภิกษุ ท. ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (โดยแท้จริง) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง คือ ภัยเกิดจาก ความแก่ (ชราภยํ) ภัยเกิดจากความเจ็บไข้ (พฺยาธิภยํ) ภัยเกิดจากความตาย (มรณภยํ)

ภิกษุ ท. มารดาไม่ได้ ตามปรารถนากะบุตรผู้แก่อยู่ อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด บุตรของเรา อย่าแก่เลย หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนา กะมารดา ผู้แก่อยู่ อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด มารดา อย่าแก่เลย ดังนี้. มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้ เองเถิด บุตรของเราอย่าเจ็บไข้ เลย หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่าเราเจ็บไข้เองเถิด มารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย ดังนี้.

มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่าเราตายเองเถิด บุตรของเราอย่าตายเลย หรือบุตรก็ไม่ได้ตาม ปรารถนา ว่า เราตายเองเถิด มารดาของเราอย่าตายเลย ดังนี้. ภิกษุ ท. เหล่านี้แลเป็นภัยที่ มารดา และบุตรช่วยกันไม่ได้ ๓ อย่าง.

ภิกษุ ท. หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ย่อมเป็ นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็น สมาตาปุตติกภัย และอมาตาปุตติกภัยอย่างละสามๆเหล่านั้น

ภิกษุ ท. หนทางหรือ ปฏิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า? นั่นคือ อริย-อัฏฐังคิกมรรคนั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมา สังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. นี้แหละหนทาง นี้แหละปฏิปทา เป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสียซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย และ อมาตาปุตติกภัยอย่างละสาม ๆ เหล่านั้น.


1399
อัฏฐังคิกมรรค
ในฐานะเป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา

ภิกษุ ท. เราจักแสดงซึ่ง กรรมทั้งหลายทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ....

ภิกษุ ท. กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. จักษุ .... โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา ....กายะ .... มนะ อันเธอ ท. พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ(อันปัจจัย ทำให้เกิด ความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้). ภิกษุท. นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุ ท. กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุ ท. กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่ง กายกรรม วจีกรรมมโนกรรม อันใด อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.

ภิกษุ ท. กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า? กัมมนิโรธคามินี ปฏิปทานั้น คืออริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมา อาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. นี้เรียกว่ากัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุ ท. ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า เราได้แสดงแล้ว แก่เธอ ท. กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว กัมมนิโรธ เราก็แสดงแล้ว กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็แสดงแล้ว. ภิกษุ ท. กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก ทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. นั่นโคนไม้ทั้งหลายนั่น เรือนว่างทั้งหลาย. ภิกษุ ท. พวกเธอทั้งหลาย จงเพียรเผา กิเลส อย่างไม่ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แลเป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.


1400
อัฏฐังคิกมรรคเป็นอิทธิปาทภาวนาคามินีปฏิปทา


อานนท์ อิทธิบาท เป็นอย่างไรเล่า ?  อานนท์ มรรคใดปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อการได้ซึ่งอิทธิ การได้เฉพาะซึ่งอิทธิ. อานนท์ นี้เราเรียกว่า อิทธิบาท.

อานนท์ อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ภิกษุในกรณีนี้

๑. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วย ธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็น ปธานกิจ ๑
๒. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง สมาธิอาศัยวิริยะเป็นปธานกิจ๑
๓. ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยจิตตะเป็น ปธานกิจ๑
๔. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิมังสาเป็น ปธานกิจ (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับ การระวัง การละ การทำให้เกิดมี และการรักษา)๑

อานนท์ นี้เราเรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.อานนท์ อิทธิบาทภาวนาคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเจริญ แห่งอิทธิบาท) เป็นอย่างไรเล่า ? อริยฏฐังคิกมรรคนี้ นั่นแหละ กล่าวคือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. อานนท์ นี้เราเรียกว่า อิทธิบาท-ภาวนาคา มินีปฏิปทา.


1401
อัฏฐังคิกมรรคเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนาที่มีความหลุดพ้น


สุภัททะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรค หาไม่ได้ในธรรมวินัย (ศาสนา) ใด สมณะก็หาไม่ได้ใน ธรรมวินัยนั้น สมณะที่สองก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้นสมณะที่สามก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สี่ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น.

สุภัททะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรค หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สอง ก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สามก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สี่ก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น.

สุภัททะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรค หาได้ในธรรมวินัยนี้ แล สมณะ หาได้ในธรรมวินัยนี้เทียว สมณะที่สอง หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สาม หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สี่ก็หาได้ใน ธรรมวินัยนี้. วาทะเครื่องสอนของพวกอื่นว่างจากสมณะของพวกอื่น (จากพวกนั้น). สุภัททะ ! ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จะพึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย


1402
องค์แห่งมรรค
ใช้เป็นหลักจำแนกความเป็นสัตบุรุษ - อสัตตบุรุษ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ซึ่งอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดง ซึ่งสัตบุรุษและ สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ. ....

ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มี มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะมิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย ....(โดยนัยนี้เรื่อยไปจนถึง) .... ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาสมาธิด้วยชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสมาธิด้วย ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาทิฏฐิด้วย ....

(โดยนัยนี้เรื่อยไปจนถึง) ... ตนเองเป็นผู้มีสัมมาสมาธิด้วยชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาสมาธิด้วย ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

(ในสูตรอื่น ขยายองค์ประกอบที่ทำบุคคลให้เป็นสัตบุรุษและอสัตบุรุษมากออกไป จากองค์ แปด แห่งสัมมามรรคหรือมิจฉามรรค ออกไปเป็นสัมมัตตะสิบ หรือ มิจฉัตตะสิบ โดยเนื้อความ ที่มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันจนครบทั้งสี่จำพวก ดังนี้ก็มี.

-๒๑/๓๐๓/๒๐๖.ในสูตรอื่น แทนที่จะทรงจำแนกบุคคลเป็นอสัตบุรุษและสัตบุรุษ แต่ได้ทรง จำแนกบุคคลเป็นบาปชนและกัลยาณชน จัดเป็นคู่หนึ่ง ก็มี -๒๑/๓๐๔ - ๓๐๕/๒๐๗ - ๒๐๘, และทรงจำแนกเป็นชนผู้มีบาปธรรมและชนผู้มีกัลยาณธรรม เป็นอีกคู่หนึ่ง ก็มี - ๒๑/๓๐๖ -๓๐๗/๒๐๙ - ๒๑๐ ทั้งนี้เป็นไปโดยหลักเกณฑ์อันเดียวกันกับที่ทรงจำแนก อสัตบุรุษและ สัตบุรุษจนครบทั้งสี่จำพวกเช่นเดียวกันอีก.

ในสูตรอื่น แทนที่จะใช้องค์แปดแห่งมรรถหรือสัมมัตตะสิบ หรือมัจฉัตตะสิบ เป็นเครื่อง จำแนก บุคคลให้เป็นคู่ตรงกันข้ามกันเช่นข้างบนนี้ แต่ได้ทรงใช้หลักแห่งกุศลกรรมบถสิบ อกุศลกรรม บถสิบ เป็นต้น เป็นเครื่องจำแนก จนครบทั้งสี่จำพวก โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันก็ อัฏฐังคิก มรรค ชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด


ภิกษุ ท. ! การแสวงหา (เอสนา) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ การแสวงหากาม (กาเมสนา) การแสวงหาภพ(ภเวสนา) การแสวงหาพรหมจรรย์ (พฺรหฺมจริเยสนา). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล การแสวงหา ๓ อย่าง

ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งการแสวงหา อย่างเหล่านี้บุคคลควรเจริญ อริยอัฏฐังคิกมรรค. อริยอัฏฐังคิกมรรค ชนิดไหนกันเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ ...สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ ....สัมมาอาชีวะ ..... สัมมาวายามะ .....สัมมาสติ ..... สัมมาสมาธิ ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง.

ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้แลบุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค.

คำว่า “เพื่อรู้ยิ่ง” ในสูตรนี้ ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ด้วยคำว่า เพื่อความรอบรู้(ปริญฺญา)” ก็มี ด้วยคำว่า เพื่อความสิ้นไปรอบ (ปริกฺขย)” ก็มี ด้วยคำว่า เพื่อการละเสีย(ปหาน)” ก็มี.สำหรับคำว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นนั้น ในกรณีนี้ ในสูตรอื่นตรัสว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะโทสะ โมหะเป็ นปริโยสาน ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็ นเบื้องหน้า มีอมตะเป็ นปริโยสานหรือชนิดที่ มีการลาด เอียง เงื้อมไปสู่นิพพาน ทำนองเดียวกับหลายหัวข้อหลัง จากหัวข้อนี้ ไปก็มี.

สำหรับคำว่า พรหมจรรย์ ในกรณีนี้แห่งการแสวงหานี้ หมายถึงพรหมจรรย์ฝ่ายผิด ซึ่งเป็น สีลัพพัตตปรามาส เพราะมาในเครือเดียวกันกับกามและภพ.

สำหรับสิ่งที่ต้องกำหนดรู้แล้วละเสีย ซึ่งเรียกว่า เอสนา (การแสวงหา) ในสูตรนี้นั้น ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้โดยชื่ออื่น สำหรับการกำหนดรู้แล้วละเสียเช่นเดียวกัน ได้แก่ -
วิธา (ความรู้สึกยึดถือที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่า เลวกว่า เสมอกัน ดีกว่า) อย่าง ดังนี้ก็มี
อาสวะ
(คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ) อย่าง ดังนี้ก็มี
ภพ
(คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ) อย่าง ดังนี้ก็มี
ทุกขตา
(คือทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์เพราะปรุงแต่ง ทุกข์เพราะแปรปรวน) อย่าง ดังนี้ก็มี
ขีละ
(ตะปูตรึงจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) อย่าง ดังนี้ก็มี
มละ
(มลทินของจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) อย่าง ดังนี้ก็มี
นิฆะ
(สิ่งกระทบจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) อย่าง ดังนี้ก็มี
เวทนา (คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา) อย่าง ดังนี้ก็มี
ตัณหา
(คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) อย่าง ดังนี้ก็มี
โอฆะ
(กิเลสท่วมจิต คือกาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) อย่าง ดังนี้ก็มี
โยคะ (กิเลสรัดตรึงจิต คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) อย่าง ดังนี้ก็มี
อุปาทาน
(ความยึดมั่นด้วยกาม ทิฏฐิ- สีลพรต อัตตวาท) อย่าง ดังนี้ก็มี
คันถะ
(สิ่งร้อยรัดนามกาย คือ อภิชฌา-พยาบาท-สีลพรต สัจจะเฉพาะตน) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี
อนุสัย
(กิเลสเคยชินอยู่ในสันดาน คือ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะภวราคะ อวิชชา) อย่าง ดังนี้ก็มี
กามคุณ
(คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด) อย่าง ดังนี้ก็มี
นิวรณ์
(กิเลสปิดกั้นจิต คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) อย่าง ดังนี้ก็มี

อุปาทานขันธ์
(ขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอุปาทาน ยึดครอง) อย่าง ดังนี้ก็มี

โอรัมภาคิยสังโยชน์
(กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพ เบื้องต่ำ คือสัก-กายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท) อย่าง ดังนี้ก็มี

อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) อย่าง ดังนี้ก็มี.

1406
มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๑. พอตัวทั้งเพื่อตนและผู้อื่น)


ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยตนเอง พอตัวในการช่วยผู้อื่น. หกประการ อย่างไรเล่า?

หกประการคือ ภิกษุในกรณีนี้
๑.
เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑  
๒. มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
๓. มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑
๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
๕. มีคำพูดไพเราะ การทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑
๖. สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม๖ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวทั้ง เพื่อตนเอง และผู้อื่น.


1407 มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๒. พอตัวทั้งเพื่อตนและผู้อื่น)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยตนเอง พอตัวในการช่วยผู้อื่น. ห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้
๑. ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
แต่มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
๒. มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
๔. มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูงสพหรมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวทั้งเพื่อ ตนเอง และผู้อื่น.


1407-1
มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค

(๓. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สี่ประการ อย่างไรเล่า ?

สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้

๑. เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑
๒. มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
๓. มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑
๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

แต่เขาหาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่ และทั้ง ไม่สามารถชี้แจงชักจูง สพรหมจารี ทั้งหลายให้อาจหาญร่าเริง ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น.


1408
มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๔. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สี่ประการ อย่างไรเล่า ?

สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้

๑. เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑
มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่เขา ไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้ง ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
๒. มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใส ชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑
๓. สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญร่าเริง ๑
ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง.


1408-1
มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๕. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สามประการ อย่างไรเล่า ?

สามประการคือ ภิกษุในกรณีนี้

๑. ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เขา มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรม ที่ได้ฟังแล้ว ๑
๒. มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขาหาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูด ให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่ และทั้งเขา ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แลเป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น.


1409
มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๖. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สามประการ อย่างไรเล่า ?

สามประการคือ

๑. ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็ นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เขา มีธรรมชาติแห่งความ ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
๒. เขาไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้งเขา ไม่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขา มีคำพูดไพเราะกระทำการพูด ให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวยแจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อ ความได้ ๑
๓. สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญร่าเริง ๑

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง.


1409-1
มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๗. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยตนเอง แต่ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สองประการ อย่างไรเล่า ?

สองประการคือ

๑. ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ไม่มีธรรมชาติแห่ง ความ ทรงจำ ธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่เขามีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑
๒.
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขา หาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูด ให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่ และทั้งเขา ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารี ทั้งหลาย ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น.


1410
มัชฌิมาปฏิปทา สำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๘. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง.

สองประการ อย่างไรเล่า ?

สองประการคือ
๑. ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็น ผู้จับฉวยได้เร็วใน กุศลธรรม ทั้งหลาย และ ไม่มีธรรมชาติแห่งความ ทรงจำ ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่มีปกติ ใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้ง ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม แต่ว่าเขา มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจา แห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑
๒. และทั้งเขาสามารถ ชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ด้วย ๑

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผูอื้่น แต่ไมพ่ อตัวเพื่อตนเอง. (องค์คุณทั้งหกประการนี้ จำเป็นแก่ผู้เป็นธรรมกถึกทุกประการ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สำหรับธรรมกถึกแห่งยุคนี้ ขอได้โปรดพิจารณาปรับปรุงตนเองให้มีคุณะรรมเหล่านี้ ครบถ้วนเถิด)