เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  11 of 11 ออกไปหน้า 1  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  บุคคลรู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ 1518     (หมวดทายลักษณะ) 1548
  อริยสัจ (หรือโลกสัจ) 1522     (หมวดทายฤกษ์การรบพุ่ง) 1548-1
  อริยสัจ ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจมีเวทนา 1523     (หมวดทายโคจรแห่งนักษัตร) 1549
  เวทนาโดยปัจจัยสี่สิบเอ็ดชนิด 1524     (หมวดทำนายข้าวยากหมากแพง) 1549-1
  ผู้รู้อริยะสัจ ไม่จำเป็นต้องแตกฉานอภิธรรม 1526     (หมวดฤกษ์ยามและเข้าทรง) 1550
  มิได้เนื่องอยู่กับการรู้อภิธรรม-เหตุภายใน 1528     (หมวดหมอผีหมอยา) 1550-1
  มิได้เนื่องอยู่กับการรู้อภิธรรม- เหตุภายนอก 1529     ๒.สมาธิขันธ์ 1551
  อัฏฐังคิกมรรคในฐานะเพชรพลอยแห่งพระศาสนา 1530     (หมวดอินทรียสังวร) 1551-1
  พระคุณของผู้ที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่ 1530-1     (หมวดสติสัมปชัญญะ) 1552
  ประมวลปัญหาอันจะพึงตอบเกี่ยวกับธรรมทั้งปวง 1531     (หมวดสันโดษ) 1552-1
         
  การจบกิจแห่งอริยสัจ 1532     (หมวดเสนาสนะสงัด-ละนิวรณ์) 1553
  ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย 1535     (หมวดปฐมฌาน) 1555
  ๑. ศีลขันธ์ 1536     (หมวดทุติยฌาน) 1556
  ตถาคตเกิดขึ้นในโลกแสดงธรรม 1540     (หมวดตติยฌาน) 1557
  กุลบุตรฟังธรรมออกบวช 1540-1     (หมวดจตุตถฌาน) 1557-1
  แนวปฏิบัติสำหรับผู้บวชใหม่ 1541-1     ๓.ปัญญาขันธ์ 1558
  ก. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นจุลศีล) 1541-2     (หมวดญาณทัสสนะ) 1558-1
  ข. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นมัชฌิมศีล) 1543     (หมวดมโนมยิทธิ) 1559
  (หมวดการบริโภคสะสม) 1543-1     (หมวดอิทธิวิธี) 1560
  (หมวดดูการเล่น) 1544     (หมวดทิพพโสต) 1560-1
         
  (หมวดการพนัน) 1544-1     (หมวดเจโตปริยญาณ) 1561
  (หมวดที่นั่งนอนสูงใหญ่) 1544-2     (หมวดปุพเพนิวาสานุสติญาณ) 1562
  (หมวดประดับตกแต่งกาย) 1545     (หมวดจุตูปปาตญาณ) 1563
  (หมวดดิรัจฉานกถา) 1545-1     (หมวดอาสวักขยญาณ) 1564
  (หมวดการชอบทำความขัดแย้ง) 1546     ลักษณะความสะอาด ไม่สะอาดนอริยวินัย 1565
  (หมวดการรับใช้เป็นทูต) 1546-1     ข. ความสะอาด 1568
  (หมวดโกหกหลอกลวงเพื่อลาภ) 1547     ผู้ไม่สะอาดเป็นเหมือนถูกนำไปเก็บไว้ในนรก 1570
  ค. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นมหาศีล) 1547-1     ผู้สะอาดเป็นี่เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์ 1571

 

   

 

 
 
 





1518
การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ
จัดเป็น อนุศาสนีปาฏิหาริย์


เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่น รู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และ อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

(๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคนหลายคน เป็นคนเดียว ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้ บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดง อำนาจ ทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.

เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็น การแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่ กุลบุตรอื่น บางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อม ใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธา เลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี ๑ มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น(หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่)

เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ได้อย่างนั้น มิใช่หรือ?พึงตอบได้ พระองค์ !” เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดง อิทธิปาฏิหาริย์ ดังนี้แล จึงอึดอัดขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.

(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึก ของจิต ทายความตรึกทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ใจของท่าน มีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการ อย่างนี้. . . . . ฯลฯ . . . .กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตร ผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชาชื่อมณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่)

เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ?พึงตอบได้ พระองค์ !” เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนา ปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.

(๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ !ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึก อย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระ-อรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถะ และ พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง.

คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นโอกาสว่าง การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติ พรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ ที่เขาขัดแล้ว นั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วย เรือนเถิด”ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจาเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.

ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ โคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อม ด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ มีความสันโดษ.

เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า? เกวัฏฏะ !ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว ์มีชีวิต ให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.  

เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วยจุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร – สติสัมปชัญญะ -การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ – การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน - จตุตถฌาน – ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต – เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ และ ตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง อาสวักขยญาณ

ซึ่งมีข้อความว่า :-

เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว  เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ.

เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์และรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ นี้ความดับ ไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้น แล้ว ก็เกิดญาณ หยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขาไม่ขุ่นมัว คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น เขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น  ดังนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.

เกวัฏฏะ !นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศ ให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.


1522
อริยสัจ (หรือโลกสัจ)
ทรงบัญญัติไว้ในกายที่ยังมีสัญญาและใจ


ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะโรหิตัสสเทวบุตรนั้นว่า

“แน่ะเธอ ! ที่ สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวการรู้ การเห็น การถึงที่สุด โลกนั้น เพราะการไป. แน่ะเธอ ! เมื่อยังไม่ ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว เราย่อมไม่กล่าวซึ่งการกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์. แน่ะเธอ ! ในกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย สัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติ โลก เหตุเกิดของโลก ความดับไม่เหลือของโลก และทางให้ถึงความดับ ไม่เหลือของโลกไว้” ดังนี้.


1523
อริยสัจ
ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจมีเวทนา

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยซึ่งธาตุ ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ ย่อมมี เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่ นามรูป ย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.

ภิกษุ ท. ! เราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้; ว่า “นี้ เป็นเหตุเกิดของความทุกข์” ดังนี้ ว่า “นี้ เป็นความดับไม่เหลือของความทุกข์” ดังนี้ ว่า “นี้ เป็นทางให้ถึงความดับไม่เหลือ ของความทุกข์” ดังนี้ แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา.
(ต่อไปได้ตรัสรายละเอียด ของอริยสัจทั้งสี่ หาดูได้ในภาคนำ แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หัวข้อว่า “อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร (นัยที่สอง)” หน้า ๑๓๘).

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงอันนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ ต้อง มีการเสวย เวทนาจริงๆ จึงจะเห็นทุกขอริยสัจที่เกิดจากตัณหาอันเกิดจากเวทนานั้น และความที่ ทุกข์ดับ ไปในขณะที่ตัณหาดับไป ในเวทนานั้น ในเมื่อจิตประกอบอยู่ด้วยธัมมสมังคีแห่งอัฏฐังคิกมรรค โดยอัตโนมัต ดังนั้น ถ้าปราศจาก เวทนาเสียเพียงอย่างเดียวแล้ว อริยสัจสี่ก็ยัง มิได้เป็นสิ่ง ที่มีอยู่จริง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า “อริยสัจ ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจเสวย เวทนา” ดังนี้ โดยนัยดังที่พระพุทธองค์ตรัสแล้วข้างบน).


1524
เวทนาโดยปัจจัยสี่สิบเอ็ดชนิด


ภิกษุ ท. ! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคย อยู่แล้ว เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ. เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฏฐิ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาทิฏฐิบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาทิฏฐิ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมาทิฏฐิบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาสังกัปปะบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสังกัปปะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมาสังกัปปะบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวาจา บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาวาจาบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวาจา บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมาวาจาบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉากัมมันตะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉากัมมันตะบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมากัมมันตะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมากัมมันตะบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาอาชีวะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาอาชีวะบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาอาชีวะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมาอาชีวะ บ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวายามะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาวายามะ บ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวายามะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมาวายาะบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสติ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาสติบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสติ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมาสติบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสมาธิ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาสมาธิบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสมาธิ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัมมาสมาธิบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งฉันทะบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ วิตก บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งวิตกบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัญญา บ้าง
ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งสัญญาบ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก
และสัญญาที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับ บ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ
ฉันทะ
วิตก และสัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้ว บ้าง

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ
การบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึง บ้าง” ดังนี้.

1526
ผู้รู้อริยะสัจ
ไม่จำเป็นต้องแตกฉานอภิธรรมและรวยลาภ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงม้าแกลบ ๑ ๓ ชนิด และบุรุษพริก๒ ๓ ชนิด.
ภิกษุ ท. ! ม้าแกลบ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! ม้าแกลบบางตัวในกรณีนี้ มีความเร็ว ไม่มีสีสวย ไม่มีรูปร่างขึงขัง บางตัวมีความเร็ว มีสีสวย แต่ไม่มีรูปร่างขึงขัง; บางตัวมีความเร็ว มีสีสวย มีรูปร่างขึงขัง.
ภิกษุ ท. ! นี่แหละ ม้าแกลบ ๓ ชนิด.
ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุรุษพริกบางคน มีความเร็ว (ชวสมฺปนฺน) แต่ไม่มีผิวพรรณ (น วณฺณสมฺปนฺน)
………………………………………………………………………………………………………………………….
๑. คำนี้บาลีว่า อสฺสุขลุงฺก เคยแปลกันมาว่าม้ากระจอก แต่เห็นว่าไม่สมกับเค้าเรื่อง เพราะม้า กระจอกขาเขยก วิ่งไม่ได้เร็ว และจะมีความสง่าผ่าเผยขึงขังไม่ได้ จึงไม่แปลว่าม้ากระจอก แต่แปลว่า ม้าแกลบ คือม้าพันธุ์เล็กรอง จากม้าพันธุ์สินธพ.๒. คำนี้บาลีว่า ปุริสขลุงฺก ก็เคยแปลกันมาว่า บุรุษกระจอก ซึ่งไม่เข้ากับเรื่องราวที่แสดง เพราะคนกระจอกงอกง่อย จะมีลักษณะอย่างนั้นไม่ได้ เชื่อว่าหมายถึงคนร่างเล็กพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีสมรรถนะสูง ในที่นี้จึงแปล ว่า คนพริกโดยโวหารในภาษาไทยว่า “ถึงเล็กก็เล็กพริก” ดังนี้.
………………………………………………………………………………………………………………………….

ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย (น อาโรหปริณาหสมฺปนฺน) บางคนมีความเร็ว มีผิวพรรณแต่ไม่มีท่าทาง สง่าผ่าเผย บางคนมีความเร็วด้วย มีผิวพรรณด้วย มีท่าทางสง่าผ่าเผยด้วย.

ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก มีความเร็ว แต่ไม่มีผิวพรรณ ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธเป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ นี้เป็นความเร็วของเธอ แต่เมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย ก็นิ่ง ตอบไม่ได้ นี้เป็นความ ไม่มีผิวพรรณของเธอ และเป็นผู้ไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจย เภสัชช บริกขารทั้งหลาย นี้เป็นความไม่สง่าผ่าเผยของเธอ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริก ที่มีความเร็ว แต่ไม่มีผิวพรรณ ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย.

ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก มีความเร็ว มีผิวพรรณ แต่ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ นี้เป็นความเร็วของเธอ และเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่นิ่ง นี้เป็นความีผิวพรรณของเธอ; แต่เป็นผู้ไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจย เภสัชชบริกขารทั้งหลาย : นี้เป็นความไม่สง่าผ่าเผยของเธอ.ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริกผู้มีความเร็ว มีผิวพรรณ แต่ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย.

ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก มีความเร็วด้วย มีผิวพรรณด้วย มีท่าทางสง่าผ่าเผยด้วย นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธเป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ นี้เป็นความเร็วของเธอ ; และเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย เธอก็ตอบได้ ไม่นิ่ง นี้เป็นความมีผิวพรรณของเธอและเธอนั้นเป็นผู้รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริกขารทั้งหลาย นี้เป็นความสง่าผ่าเผยของเธอ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริกที่มีความเร็วด้วย มีผิวพรรณด้วย มีท่าทางสง่าผ่าเผยด้วย. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล บุรุษพริก ๓ ชนิด.

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า บุรุษพริกประเภทที่หนึ่งรู้อริยสัจ แต่ไม่อาจตอบปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย และไม่รวยด้วยลาภ. ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงอยู่แล้วว่า การรู้อริยสัจนั้น


1528
มิได้เนื่องอยู่กับการรู้อภิธรรมอภิวินัยและรวยลาภ
).
จงกระทำเหตุทั้งภายในและภายนอก


. เหตุภายใน

ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุเสขะผู้มีความปรารถนา แห่งใจอันยังไม่บรรลุ ยังปรารถนา อนุตตรโยคัก เขมธรรมอยู่นั้น เราไม่มองเห็นองค์ธรรมอื่นแม้หนึ่ง ซึ่งเมื่อกระทำให้เป็นองค์ธรรมใน ภายใน แล้ว จะมีอุปการะมาก เหมือนอย่างโยนิโสมนสิการ นี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุกระทำโยนิโสมนสิการอยู่ ย่อมละอกุศล และทำกุศลให้เจริญ. โยนิโสมนสิการธรรม มีอยู่สำหรับภิกษุผู้เสขะ ไม่มีธรรมอื่นมีอุปการะมาก เหมือนอย่างนั้น สำหรับการบรรลุประโยชน์อันสูงสุด. ภิกษุตั้งจิตไว้โดยแยบคาย พึงบรรลุความสิ้นไปแห่งทุกข์.


1529
. เหตุภายนอก

ภิกษุ ท.! สำหรับภิกษุเสขะผู้มีความปรารถนา แห่งใจอันยังไม่บรรลุ ยังปรารถนาอนุตตรโยคัก เขมธรรมอยู่นั้น เราไม่มองเห็นองค์ธรรมอื่นแม้หนึ่งซึ่งเมื่อ กระทำให้เป็นองค์ธรรมใน ภายนอก แล้ว จะมีอุปการะมาก เหมือนอย่าง กัล๎ยาณมิตตตา นี้.

ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมละอกุศล และทำกุศลให้เจริญ.ภิกษุใด มีกัลยาณมิตรเป็น ที่พึ่งเป็นที่เคารพ กระทำตามคำของมิตรอยู่ อย่างรู้สึกตัว อย่างมีสติ ภิกษุนั้น พึงบรรลุความ สิ้นไป แห่งสังโยชน์ทั้งปวง โดยลำดับ.


1530
อัฏฐังคิกมรรค
ในฐานะเพชรพลอยเม็ดหนึ่งแห่งพระศาสนา

ปหาราทะ ! มหาสมุทร มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะเป็นอเนกในมหาสมุทรนั้น มีรัตนะเหล่านี้คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์แก้วศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง โกเมน (โลหิตงฺก) แก้วลาย (มสารคลฺล)ฉันใด

ปหาราทะ ! ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะเป็นอเนก ในธรรมวินัยนั้น มีรัตนะ เหล่านี้คือ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรค มีองค์แปด.

ปหาราทะ ! ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะเป็นอเนกธรรมวินัยนี้จึงเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ไม่เป็นสิ่งธรรมดา เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วย่อมยินดีอย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้.


1530-1
พระคุณของผู้ที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่


อานนท์ ! บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยในทุกขสมุทัย หมดความสงสัย ในทุกขนิโรธ หมดความสงสัยใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา การที่จะทำ ปฏิการคุณแก่บุคคลนั้น ด้วยการอภิวาท ด้วยการลุกรับ ด้วยการทำอัญชลี ด้วยการทำสาม ีจิกรรม ด้วยการให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจย เภสัชช บริขาร นั้น เราไม่กล่าวว่า เป็นการกระทำปฏิการคุณที่สมกัน (สุปฏิการ).

(เพราะว่าการทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่นั้น เป็นการให้ทางฝ่ายจิตฝ่ายวิญญาณ. ส่วน การตอบแทน ด้วย กิริยา อาการ และวัตถุสิ่งของนี้ เป็นการให้ฝ่ายวัตถุ จึงไม่เป็นการตอบแทนที่ สมควร แก่กัน. มีทางที่จะตอบแทนให้สมควร แก่กันก็คือ การช่วยให้ผู้อื่นรู้อริยสัจเช่นนั้นต่อๆ กันไปอีก).


1531
ประมวลปัญหาอันจะพึงตอบเกี่ยวกับธรรมทั้งปวง
(เกี่ยวกับใจความของอริยสัจโดยทั่วไป)


ภิกษุ ท. ! ถ้าปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น พึงถามอย่างนี้ว่า

อาวุโส! ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูลราก ? ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด ? ธรรมทั้งปวง มีอะไรเป็นสมุทัย? ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุมลง (สโมสรณ) ? ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็น ประมุข? ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอธิบดี (อธิปเตยฺย)? ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอันดับ สูงสุด (อุตฺตร) ? มีอะไรเป็นแก่น (สาร) ? มีอะไรเป็นที่หยั่งลง (โอคธ) ? มีอะไรเป็นที่สุดจบ (ปริโยสาน) ? ” ดังนี้แล้วไซร้

ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า “

อาวุโส ท.!ธรรมทั้งปวง มี ฉันทะ (ความพอใจหรือสนใจ) เป็น มูลราก
ธรรมทั้งปวง มี มนสิการ (การเอามากระทำไว้ในใจ) เป็น แดนเกิด
ธรรมทั้งปวง มี ปัสสะ (การกระทบแห่งอายตนะ) เป็น สมุทัย (เครื่องก่อให้ตั้งขึ้น)
ธรรมทั้งปวง มี เวทนา เป็น ที่ประชุมลง (แห่งผล)
ธรรมทั้งปวง มี สมาธิ เป็น ประมุข (หัวหน้า)
ธรรมทั้งปวง มี สติ เป็น อธิบดี (ตามสายงาน).
ธรรมทั้งปวง มี ปัญญา เป็น อันดับสูงสุด (แห่งความรู้)
ธรรมทั้งปวง มี วิมุตติ เป็น แก่น (แห่งผลที่ได้รับ)
ธรรมทั้งปวง มี อมตะ (ความไม่ตาย) เป็น ที่หยั่งลง (แห่งวัตถุประสงค์)
ธรรมทั้งปวง มี นิพพาน เป็น ที่สุดจบ (แห่งพรหมจรรย์)
ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อย่างนี้แล


1532
การจบกิจแห่งอริยสัจ

กำหนดด้วยความสมบูรณ์แห่ง ญาณสาม

๑. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างของเราได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา แต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประสริฐคือ ทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า ๒. ความจริงอันประ-เสริฐคือ ทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้ (นี้ ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ) ว่า ๓.ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว (นี้ ท่านเรียกกันมา กตญาณ).

๒. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยิน ได้ฟัง มาแต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย (นี้ ท่านเรียกกัน ว่า กิจจญาณ) ว่า ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ ละเสียแล้ว (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ).

๓. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา แต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ ควรทำให้แจ้ง (นี้ ท่านเรียกกันว่ากิจจญาณ) ว่า ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้แจ้งแล้ว (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ).

๔. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมา แต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า ๒.ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์นี้ ควรทำให้เจริญ (นี้ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ) ว่า ๓. ความจริงอัน ประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้เจริญแล้ว (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ).

ภิกษุ ท. ! ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็ นจริง อัน มีรอบ (ปริวัฏฏ์)สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา อยู่เพียงใด ตลอดกาล เพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง อัน มีรอบสาม มีอาการสิบสอบ เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา เมื่อนั้น เราปฏิญญาว่าได้ตรัสร ู้พร้อม เฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์. ก็แหละ ญาณและ ทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ความเกิดนี้ เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ความเกิดอีกอย่างไม่มีดังนี้.

ภาคสรุป

ว่าด้วยข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ
จบ



ภาคผนวก
ว่าด้วยเรื่องนำมาผนวก เพื่อความสะดวกแก่การอ้างอิงสำหรับเรื่องที่ตรัสซ้ำๆ บ่อยๆ



1535
ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย
(ที่แสดงไว้โดยขันธ์สาม)

(ข้อความต่อไปนี้ เป็นคำของพระอานนท์ แต่ก็ตรงเป็นอันเดียวกันกับพระพุทธภาษิต ดังที่ทรง แสดงไว้ ในสามัญญผลสูตร อัมพัฏฐสูตร โสณทัณฑสูตร เป็นต้น จึงถือว่ามีค่า เท่ากับ พระพุทธ ภาษิต และนำมารวมไว้ใน เรื่องจากพระโอษฐ์ หากแต่ถ้อยคำของพระอานนท์ เรียบเรียงไว้อย่างสะดวกง่ายดายแก่การอ้างอิงยิ่งกว่า จึงยกเอาสำนวนนี้มาใช้ในการอ้างอิง )


1536
. ศีลขันธ์

ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสีลขันธ์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดม ทรงสรรเสริญและ ทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทานให้เข้าไปอยู่ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”


1540
ตถาคตเกิดขึ้นในโลกแสดงธรรม

มาณพ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองสมบูรณ์ด้วย วิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอน สัตว์.

ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหมหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้นท่ามกลางที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.


1540-1
กุลบุตรฟังธรรมออกบวช

คหบดีหรือบุตรคหบดี
หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้น แล้ว เกิดศรัทธาใน ตถาคต.

เขาผู้ประกอบดว้ยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชา เป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่ เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด” ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขา ละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและ หนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.


1541-1
แนวปฏิบัติสำหรับผู้บวชใหม่

กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ สำรวมแล้วด้วยการสำรวม ในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อม ด้วย มรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ประกอบด้วย กายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.


1541-2
ก. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นจุลศีล)

มาณพ ! ภิกษุเป็ นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็ นอย่างไรเล่า ? มาณพ !

ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ ของ ที่เขาให้ เป็นคนสะอาด ไม่เป็นขโมยอยู่ แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

เป็นผู้ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาด จากการเสพเมถุน อันเป็นของชาวบ้าน แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูดควร เชื่อถือได้ไม่แกล้ง กล่าวให้ผิดต่อโลก แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ่ายนี้แตกร้าวกัน หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อให้ฝ่ายโน้น แตกร้าวกัน แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับ พร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียง กันอยู่ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคน ยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน แม้นี้ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.

เป็นผู้ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจ ของมหาชน แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

เป็นผู้ละคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอัน สมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐาน ที่อ้างอิง มีเวลาจบประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา แม้นี้ ก็เป็น ศีลของเธอประการ หนึ่งๆ

ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการล้างผลาญพืชคามและภูตคาม.เป็นผู้ฉันอาหาร วันหนึ่ง เพียงหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล.

เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคม และการดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกแก่กุศล.

เป็นผู้เว้นขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตกแต่งด้วยมาลา และของหอมและ เครื่องลูบทา.
เป็นผู้เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเงินและทอง.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าวเปลือก.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและเด็กหญิง.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทั้งผู้และเมีย.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับที่นา ที่สวน.
เป็นผู้เว้นขาดจากการรับใช้เป็นทูต ไปในที่ต่างๆ(ให้คฤหัสถ์).
เป็นผู้เว้นจากการซื้อและการขาย.
เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การลวงด้วยของปลอม และการฉ้อด้วยเครื่องนับ (เครื่องตวงและเครื่องวัด).
เป็นผู้เว้นขาดจากการโกง ด้วยการรับสินบนและล่อลวง.
เป็นผู้เว้นขาดจาก การตัด การฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้น และการกรรโชก.

แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่งๆ. (จบจุลศีล)


1543
. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นมัชฌิมศีล)
(หมวดพืชคามภูตคาม)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังทำพืชคาม และภูตคามให้กำเริบ กล่าวคือพืชที่เกิดแต่ราก พืชที่เกิดแต่ต้น พืชที่เกิดแต่ผล พืชที่เกิดแต่ยอด และพืชที่เกิดแต่ เมล็ด เป็นที่ห้า. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการทำพืชคาม และภูตคามเห็นปานนั้นให้กำเริบแล้ว. แม้นี้ ก็เป็นศีลของ เธอประการหนึ่ง.


1543-1
(หมวดการบริโภคสะสม)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉัน โภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้บริโภค สะสมอยู่ กล่าวคือสะสมข้าวสะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยานพาหนะ สะสมเครื่องนอน สะสมเครื่องหอมสะสมอามิส. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการบริโภคสะสมเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1544
(หมวดดูการเล่น)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ประกอบ การดูสิ่งแสดง อันเป็นข้าศึกต่อกุศลอยู่ กล่าวคือการฟ้อน การขับ การประโคม ไม้ลอย การเล่านิยาย การปรบมือ ตีฆ้อง ตีกลอง ประดับบ้านเมือง กายกรรมจัณฑาล เล่นหน้าศพชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทาเพลงกระบอง มวยหมัด การรบ การตรวจพล การยกพล กองทัพ.

ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการดูสิ่งแสดงอันเป็นข้าศึกต่อกุศลเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1544-1
(หมวดการพนัน)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ตามประกอบการกระทำในการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทกันอยู่ กล่าวคือหมากรุก ๘ ตา หมากรุก ๑๐ ตาหมากเก็บ ชิงนาง หมากไหว โยนห่วง ไม้หึ่ง ฟาดให้เป็นรูปต่างๆ สะกาเป่าใบไม้ ไถน้อยๆ หกคะเมน กังหัน ตวงทราย รถน้อย ธนูน้อย เขียนทายกันทายใจ ล้อคนพิการ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการกระทำในการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1544-2
(หมวดที่นั่งนอนสูงใหญ่)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตาม ประกอบการนั่งนอนบนที่นั่งนอนสูง ใหญ่กันอยู่ กล่าวคือเตียง เท้าสูง เตียงเท้าคู้ เครื่องลาดขนยาว เครื่องลาด ลายวิจิตร เครื่องลาดพื้นขาว เครื่องลาด ลายดอกไม้ เครื่องลาดบุนุ่น เครื่องลาดมีรูปสัตว์ พรมขนตั้ง พรมขนเอน เครื่องลาดไหม แกมทอง เครื่องลาดไหมล้วนเครื่องลาดใหญ่สำหรับฟ้อน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาด หลังม้า เครื่องลาดบนรถ เครื่องลาดหนังอชินะ เครื่องลาดหนังชะมด เครื่องลาดใต้เพดาน เครื่องลาด มีหมอนแดงสองข้าง. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากที่นั่งนอนสูงใหญ่ เห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1545
(หมวดประดับตกแต่งกาย)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ตาม ประกอบการประดับตกแต่งร่างกายกันอยู่ กล่าวคือการอบ การนวด การอาบ การคลึง การส่องกระจก การหยอดตา พวงมาลา เครื่องกลิ่น เครื่องลูบทา ผัดหน้า ทาปาก กำไลมือเกี้ยวผม ไม้ถือเล่น ห้อยกลักกล่อง ห้อยดาบ ห้อยพระขรรค์ ร่มสวย รองเท้าวิจิตร กรอบหน้า แก้วมณี พัดขนสัตว์ ผ้าขาวชายเฟื้อย. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการประดับตกแต่งร่างกายเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1545-1
(หมวดดิรัจฉานกถา)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตาม ประกอบเดรัจฉานกถา (เรื่องขวางหนทาง ธรรมสำหรับบรรพชิต) กันอยู่ กล่าวคือเรื่องเจ้า เรื่องนาย เรื่องโจร เรื่องมหาอมาตย์ เรื่องเสนา เรื่องของน่ากลัว เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้าเรื่องที่นอน เรื่องมาลา เรื่องเครื่องกลิ่น เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องหญิง เรื่องชาย เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องชุมนุม หญิงตักน้ำตามบ่อสาธารณะ เรื่องคนตายแล้ว เรื่องแปลกประหลาด เรื่องสนุก ของชาวโลก เรื่องของนักท่องสมุทร เรื่องความเจริญและความเสื่อม. ส่วนภิกษุใน กรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบเดรัจฉาน กถาเป็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.


1546
(หมวดการชอบทำความขัดแย้ง)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตาม ประกอบ ถ้อยคำเครื่องขัดแย้งกันอยู่กล่าวคือขัดแย้งกันว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้อย่างไรได้ ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ถ้อยคำของท่านไม่เป็น ประโยชน์ เรื่องควรพูดก่อนท่านเอามาพูดทีหลัง เรื่องควรพูดทีหลังท่านเอามาพูดก่อน ข้อที่ท่านเคยเชี่ยวชาญนั้นเปลี่ยนเป็นพ้นสมัยไปแล้ว วาทะของท่านถูกเพิกถอนแล้ว ถูกข่มขี่ แล้ว จงเปลื้องวาทะ ของท่านเสียใหม่ หรือถ้าสามารถก็จงแยกแยะให้เห็น.ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากถ้อยคำเครื่องขัดแย้ง เห็นปานนั้น เสีย.แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1546-1
(หมวดการรับใช้เป็นทูต)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ ตามประกอบ ในการไป เพราะถูกส่งไปเพื่อความเป็นทูต กันอยู่ กล่าวคือรับใช้พระราชา รับใช้อมาตย์ของพระราชา รับใช้กษัตริย์ รับใช้พราหมณ์ รับใช้คหบดี รับใช้เด็กๆ ที่ส่งไปด้วยคำว่า“ท่านจงไปที่นี้ ท่านจงไปที่โน้น ท่านจงนำ สิ่งนี้ไปที่โน้น ท่านจงนำสิ่งนี้มา”ดังนี้เป็นต้น. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการตามประกอบ ในการไป เพราะถูกส่งไปเพื่อความเป็นทูตเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1547
(หมวดโกหกหลอกลวงเพื่อลาภ)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นคนโกหก ใช้คำพิรี้พิไร การพูดล่อด้วยเลศต่างๆ การพูดให้ทายกเกิ ดมานะมุทะลุในการให้ และการใช้ของ (มีค่าน้อย) ต่อเอาของ (มีค่ามาก). ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการโกหกหลอกลวง เห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. (จบมัชฉิมศีล)


1547-1
ค. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นมหาศีล)

(หมวดการทำพิธีรีตอง)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการ เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา กันอยู่ กล่าวคือทาย อวัยวะ ทายนิมิต ทายของตก ทำนายฝันทาย ลักษณะ การถูกหนูกัด โหมเพลิง เบิกแว่น ซัดแกลบ ซัดปลายข้าวซัดข้าวสาร บูชาด้วยเปรียง บูชาด้วยน้ำมัน เจิมหน้า เซ่นด้วยโลหิต วิชาดูอวัยวะ ดูที่สวน ดูที่นา วิชาสะเดาะเคราะห์ วิชาขับผี วิชาดูพื้นที่ หมองูหมอดับพิษ หมอสัตว์กัดต่อย วิชาว่าด้วยหนู วิชาว่าด้วยนก วิชาว่าด้วยการคำนวณอายุ กันลูกศร ดูรอยสัตว์. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉาน วิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1548
(หมวดทายลักษณะ)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการ เลี้ยงชีวิต ด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือทาย ลักษณะแก้วมณี ลักษณะผ้า ลักษณะไม้เท้า ลักษณะ ศาสตรา ลักษณะดาบ ลักษณะลูกศร ลักษณะธนู ลักษณะอาวุธลักษณะหญิง ลักษณะชาย ลักษณะ เด็กชาย ลักษณะเด็กหญิง ลักษณะทาสลักษณะทาสี ลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะกระบือ ลักษณะโคอสุภ ลักษณะโค ลักษณะแพะ ลักษณะแกะ ลักษณะไก่ ลักษณะนกกระทาลักษณะเหี้ย ลักษณะตุ่น ลักษณะเต่า ลักษณะเนื้อ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ก็เป็นศีลของ เธอประการหนึ่ง.


1548-1
(หมวดทายฤกษ์การรบพุ่ง)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จ การเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือการให้ ฤกษ์ว่า พระราชาควรยกออก พระราชา ไม่ควรยกออก พระราชาภายในจักรุก พระราชา ภายนอก จักถอย พระราชาภายนอกจักรุก พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักชนะ พระราชาภายนอกจักแพ้ พระราชาภายนอกจักชนะ พระราชาภายในจักแพ้ องค์นี้จักชนะ องค์นี้จักแพ้. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉาน วิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1549
(หมวดทายโคจรแห่งนักษัตร)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเลี้ยง ชีวิต ด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือ ทำนายว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จัก เดินในทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินนอกทาง ดาวนักษัตรจักเดินในทาง ดาวนักษัตร จักเดินนอกทาง จักมีอุกกาบาต จักมีฮูมเพลิง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง จักมีการขึ้น การตก การเศร้าหมอง การผ่องแผ้วของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจันทรคราส จักมีผล อย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลอย่างนี้ นักขัตตคราส จักมีผลอย่างนี้ การเดินในทางของ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักมีผลอย่างนี้ การเดินนอกทาง ของ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ จักมีผลอย่างนี้ การเดินในทางของดาวนักษัตรจักมีผลอย่างนี้ การเดินนอกทางของดาว นักษัตร จักมีผลอย่างน ี้อุกกาบาตจักมีผลอย่างนี้ ฮูมเพลิงจักมีผลอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลอย่างนี้ ฟ้าร้อง จักมีผลอย่างนี้ การขึ้นการตกการเศร้าหมองการผ่องแผ้ว ของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และนักษัตร จักมีผลอย่างนี้. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1549-1
(หมวดทำนายข้าวยากหมากแพง)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการ เลี้ยงชีวิต ด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือทำนาย ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง อาหารหาง่ายอาหาร หายาก จักมีความเกษมสำราญ จักมีภัย อันตราย จักมีโรค จักไม่มีโรคโดยการคิดคำนวณ จากคัมภีร์สางขยะ กาเวยยะ โลกายตะ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1550
(หมวดฤกษ์ยามและเข้าทรง)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการเลี้ยง ชีวิต ด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือกำหนด ฤกษ์อาวาหะ กำหนดฤกษ์วิวาหะ กำหนดฤกษ ์ประสานมิตร ฤกษ์แตกร้าวแห่งมิตร ฤกษ์ รวมทรัพย์ ฤกษ์หว่านทรัพย์พิธีกระทำ ให้เป็นคนเลี้ยงง่าย พิธีกระทำ ให้เป็นคนเลี้ยงยาก การกระทำให้ครรภ์พิรุธ ทำให้พูดไม่ได้ ทำให้คางแข็ง ทำให้มือติด ทำให้หูหนวก ทรงผีกระจก เงา ทรงผีด้วยเด็กหญิง ทรงผีถามเทพเจ้า บวงสรวงดวงอาทิตย์บวงสรวงมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเรียก ขวัญ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้เว้นขาด จากการเลี้ยงชีวิตด้วย มิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย.แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


1550-1
(หมวดหมอผีหมอยา)

อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังสำเร็จการ เลี้ยงชีวิต ด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือ พิธีกรรมเพื่อสันติสุข พิธีกรรมเพื่อความมั่นคงพิธีกรรม เกี่ยวกับแผ่นดิน พิธีกรรมเพื่อการขยาย ออกไป พิธีกรรมเพื่อความเป็นชายของกะเทย พิธีกรรมเพื่อความเป็นกะเทย ของชาย พิธีกรรมพื้นที่การประพรมพื้นที่ การพรมน้ำมนต์ การอาบน้ำมนต์ การประกอบยาให้ร้อนการ ประกอบยา ให้อาเจียน การประกอบยาถ่าย ยาถ่ายโทษเบื้องบน ยาถ่ายโทษเบื้องต่ำ ยาถ่ายโทษในศรีษะ น้ำมันหยอดหู ยาหยอดตา ยานัตถุ์ ยาหยอด ยาหยอดเฉพาะ ยาแก้โรคตา การผ่าตัด หมอกุมาร การพอกยา การแก้ยาออก. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการเลี้ยงชีวิตด้วย มิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

(จบมหาศีล) . . . .

มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยอาการอย่างนี้แล.มาณพ ! นี้แล อริยศีลขันธ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชน นี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ.

(จบอริยศีลขันธ์) . . . .


1551
.สมาธิขันธ์

ท่านอานนท์ผู้เจริญ! อริยสมาธิขันธ์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ให้ตั้งไว้เฉพาะ?”


1551-1
(หมวดอินทรียสังวร)

มาณพ ! ภิกษุ เป็ นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือ เอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัสจะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม อยู่ซึ่งอินทรีย์ อันเป็นต้นเหตุคือตาใด เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม ซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย ์คือตา.(ในกรณีแห่งอินทรีย์คือหู อินทรีย์ คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ในทำนองเดียวกัน).

....มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.


1552
(หมวดสติสัมปชัญญะ)

มาณพ ! ภิกษุเป็ นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็ นอย่างไรเล่า ?มาณพ ! ภิกษุใน กรณีนี้ เป็นผู้กระทำความ รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยหลังกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรง สังฆาฎิบาตรจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ ในการไปการหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

....มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


1552-1
(หมวดสันโดษ)

มาณพ ! ภิกษุ เป็ นผู้สันโดษ เป็ นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกายสันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆย่อมถือ เอาบาตรและจีวรนั้นหลีกไปได้โดยทิศนั้นๆ.

มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆได้.

....มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้สันโดษ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


1553
(หมวดเสนาสนะสงัด-ละนิวรณ์)

ภิกษุนั้น ประกอบด้วย อริยสีลขันธ์ นี้ด้วย ประกอบด้วย อริยอินทรียสังวร นี้ด้วย ประกอบ ด้วย อริยสติสัมปชัญญะ นี้ด้วย ประกอบด้วย อริยสันตุฏฐิ นี้ด้วย แล้ว เธอ เสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วยท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ในเวลาภายหลังอาหารกลับจาก บิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกาย ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ละอภิชฌาโลภะ แล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ คอยชำระจิตจาก อภิชฌา ละพยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้ายแล้ว มีจิตปราศจากพยาบาทอยู่ เป็นผู้กรุณา หวัง ประโยชน์เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย ละถีนมิทธะ แล้ว มีจิต ปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติรู้สึกตัว ทั่วพร้อม คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ใน ภายในอยู่ คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา แล้ว ก้าวล่วงวิจิกิจฉาเสียได้อยู่ ไม่ต้องกล่าวว่านี่อะไร นี่อย่างไรในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิต จากวิจิกิจฉา.

มาณพ ! เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่ง กู้หนี้เขา ไปทำการงานสำเร็จผลใช้หนี้ต้นทุนเดิมหมดแล้ว กำไรยังเหลือพอ เลี้ยง ภรรยาได้ถมไป เขาคงคะนึงถึงโชคลาภว่า “เมื่อก่อนเรากู้หนี้ เขาไปทำการงานสำเร็จผล ใช้ต้นทุนเดิม หมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยาได้ถมไป” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด (นี้อย่างหนึ่ง)

มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ป่วยไข้หนัก ทนทุกข์อาหารไม่ตก กำลังน้อย. ครั้นเวลาอื่นเขาหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มี; เขาต้องนึกถึงกาลเก่าว่า “เมื่อก่อน เราป่วยไข้หนัก ทนทุกข์ อาหารก็ไม่ตกกำลังน้อยลง บัดนี้เราหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มีมา” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง) มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ติดเรือนจำ ครั้นเวลาอื่น เขาหลุดจากเรือนจำ โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์ เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เราติดเรือนจำ บัดนี้ เราหลุดมาได้โดย สะดวก ไม่มีภัยไม่เสียทรัพย์ ” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นป็นเหตุฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง)

มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง เป็นทาสเขา พึ่งตัวเองไม่ได้ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตาม อำเภอใจไม่ได้ ครั้นถึง สมัยอื่น เขาพ้นจากการเป็นทาสพึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้ เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้ ครั้นถึงสมัยอื่น เขาพ้นจากการเป็น ทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัส เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ ฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง)

มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง นำทรัพย์เดินทางไกล อันกันดาร ภิกษาหายาก ประกอบด้วยภัย ครั้นสมัยอื่น พ้นทางกันดารได้โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย (ไม่ต้องสียโภคทรัพย์). เขาต้องนึกถึงกาลเก่า อย่างนี้ ว่า “เมื่อก่อนเรานำทรัพย์เดินทางไกล อันกันดาร ภิกษาหายาก ประกอบด้วยภัย ครั้นบัดนี้ เราพ้นทางกันดาร ได้โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย” ดังนี้ เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด (นี้อีกอย่างหนึ่ง)

มาณพ ! ภิกษุ พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการ ที่ตนยังละไม่ได้ว่าเป็นเช่นกับการกู้หนี้ เช่นกับการเป็นโรค เช่นกับการติดเรือนจำ เช่นกับการเป็นทาส และการนำทรัพย์ข้ามทาง กันดาร และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ประการ ที่ละเสียได้แล้วในตนเอง เป็นเช่นกับการหมด หนี้ การหมดโรคการหลุดจากเรือนจำ การพ้นจากทาส การบรรลุถึงที่พ้นภัย ฉันนั้นเหมือนกันแล.


1555
(หมวดปฐมฌาน)

เมื่อภิกษุนั้นมองเห็นนิวรณ์ทั้งห้า เหล่านี้ละที่ละได้แล้ว ในตนอยู่ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิดขึ้น กายของผู้มีใจปีติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ. เธอนั้น เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรม จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายนี้ ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ส่วนใด ส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่ว ทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

มาณพ ! เปรียบเหมือนนายช่างอาบก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดี เป็นคนฉลาด โรยผงที่ใช้สำหรับ ถู ตัวในเวลาอาบน้ำ ลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้. ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยาง เข้าหากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายใน ภายนอก ไม่ไหลหยด ฉันใด มาณพ ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก ส่วนใด ส่วนหนึ่ง ของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่ถูกต้องแล้วมิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.


1556
(หมวดทุติยฌาน)

มาณพ ! ข้ออื่นยังมีอีก เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ภิกษุจึงบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่อง ผ่องใส แห่งใจ ในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายนี้ ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

มาณพ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำอันลึก มีน้ำอันพลุ่ง ไม่มีปากทางน้ำไหล เข้าทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มน้ำให้แก่ห้วงน้ำนั้น ตลอดกาลโดยกาล ท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำประพรม ทำให้ชุ่มถูกต้องห้วงน้ำนั้นเอง ส่วนไหนๆของห้วงนํ้านั้น ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้วมิได้มี. ข้อนี้ฉันใด มาณพ ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอที่ปีติ และสุขอันเกิดแต ่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้วมิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.


1557
(หมวดตติยฌาน)

มาณพ ! ข้ออื่นยังมีอีก : เพราะความจางคลายไปแห่งปีต ิเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย จึง บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข”ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายน ี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

มาณพ ! เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัวบุณฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำเจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก ส่วนไหนๆของดอกบัวเหล่านั้น ทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็น ฉันใด มาณพ ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำ ให้ชุ่ม ทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้วมิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.


1557-1
(หมวดจตุตถฌาน)

มาณพ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่สี่อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

มาณพ ! เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ ส่วนไหนๆในกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว)มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด มาณพ ! ภิกษุ นั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นก็หมือนกัน. แม้นี้ก็เป็น สมาธิ ของเธอประการหนึ่ง.

มาณพ ! นี้แล อริยสมาธิขันธ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสรรเสริญ และทรงชักชวน มหาชน นี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ.

(จบอริยสมาธิขันธ์) ....


1558
๓.ปัญญาขันธ์


ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยปัญญาขันธ์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณะโคดม ทรงสรรเสริญและทรงชักชวนมหาชน นี้ให้สมาทานให้เข้าไป ตั้งอยู่ให้ตั้งไว้เฉพา ?”


1558-1
(หมวดญาณทัสสนะ)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้วเธอชักนำจิตไปเพื่อ ญาณทัสสนะ. เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูปประกอบ ด้วย มหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั้น อยู่เนื่องนิจแต่ก็ยังมี การแตกทำลาย สึกกร่อนเป็นธรรมดา แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน)

เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยมเจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่า ทั้งปวง ในแก้วนั้น มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง บุรุษผู้มีตาดีวางแก้ว นั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้ เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง ในแก้วนั้น มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.


1559
(หมวดมโนมยิทธิ)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการ นิรมิตกายอัน สำเร็จด้วยใจ.

เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้เป็นกายมีรูป สำเร็จจากใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ มีอินทรีย์ไม่เสื่อม ทราม (ถอดออกมาได้) เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่งชักไส้หญ้าปล้องออกจากหญ้าปล้อง เขากำหนดได้ว่า นี่หญ้าปล้อง นี่ไส้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้หญ้าปล้องเป็น อีกอย่างหนึ่ง แต่ไส้นั้น ชักออกมาจากหญ้าปล้อง นั้นเอง อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนชาย ผู้หนึ่ง ชักดาบออกจากฝัก เขากำหนดได้ว่า นี่ดาบนี่ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอีกอย่าง หนึ่ง แต่ชักดาบออกจากฝักนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง ยกงูขึ้นจากข้อง เขากำหนดได้ว่า นี่งูนี่ข้อง งูเป็น อย่างหนึ่ง ข้องเป็นอีก อย่างหนึ่ง แต่งูยกมาจากข้องนั่นเอง ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.


1560
(หมวดอิทธิวิธี)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งอยู่ อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อ อิทธิวิธี (คือวิธีเครื่องแสดงฤทธิ์).

เธอย่อมบรรลุวิธีเครื่องแสดงฤทธิ์หลายประการ ทำคนเดียวเป็นคนมากบ้าง ทำคนมาก กลับ เป็นคนเดียวบ้าง ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้องทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา เหมือนไปในที่ อากาศ.

ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ ไปได้เหนือน้ำเหมือนบนแผ่นดิน ลอยไปใน อากาศได้ ทั้งที่ยังนั่งคู้ขา เหมือนนกมีปีก ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์ อานุภาพมากได้ด้วยฝ่ามือ แสดงอำนาจด้วยกายเป็นไป ตลอดถึงพรหมโลก.

(ทำได้ด้วยความเชี่ยวชาญ) เปรียบเหมือนนายช่างหม้อ หรือลูกมือของนายช่างหม้อ ผู้เชี่ยวชาญเมื่อขยำดินไว้ดี แล้วปรารถนาจะทำภาชนะดินชนิดต่างๆกัน ก็พึงทำภาชนะดิน ชนิดต่างๆ นั้นได้สำเร็จ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือน นายช่างงาหรือลูกมือของนายช่างงา ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อแต่งงาดีแล้ว ถ้าปรารถนาวัตถุงาชิ้นต่างๆ ก็ทำวัตถุนั้นให้สำเร็จได้

อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อแต่งเนื้อ ทองคำดีแล้ว ตนปรารถนาเครื่องทองชนิดต่างๆ ก็ทำเครื่องทองรูปต่างๆให้สำเร็จได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง


1560-1
(หมวดทิพพโสต)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อ โสตธาตุอันเป็นทิพย์.

เธอมีโสตธาตุเป็นทิพย์ หมดจดวิเศษล่วงเกินโสตธาตุสามัญมนุษย์ ได้ยินเสียทั้งสองชนิด คือทั้งเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งจากใกล้และไกล (ได้ชัดเจนว่าเป็นเสียงอะไร) เช่นเดียวกับชายเดินทางไกลเขาได้ยินเสียง กลองบ้าง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงเปิงมางบ้าง (จากในเมือง) เขาย่อมสามารถกำหนดได้ว่า นั่นเสียงกลอง นั่นเสียงตะโพน นั่นเสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงเปิงมาง ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง


1561
(หมวดเจโตปริยญาณ)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อ ญาณเครื่อง กำหนดรู้ใจผู้อื่น. เธอย่อมกำหนดรู้ใจ สัตว์ เหล่าอื่นบุคคลเหล่าอื่น ด้วยใจของตน รู้จิตของผู้ที่มีราคะว่ามีราคะ ไม่มีราคะว่าไม่มีราคะ มีโทสะว่ามีโทสะ ไม่มีโทสะว่าไม่มีโทสะ มีโมหะว่ามีโมหะ ไม่มีโมหะว่าไม่มีโมหะ หดหู่ว่าหดหู่ ไม่หดหู่ว่าไม่หดหู่ ฟุ้งซ่านว่าฟุ้งซ่าน มีจิตเป็นมหรคต (จิตใหญ่) ว่าเป็นมหรคต ไม่มีจิตเป็น มหรคตว่าไม่เป็นมหรคต มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่า มีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า มีจิตตั้งมั่นว่ามีจิตตั้งมั่น ไม่มีจิตตั้งมั่นว่าไม่มีจิตตั้งมั่น มีจิตหลุดพ้นว่ามีจิต หลุดพ้นไม่มีจิตหลุดพ้นว่าไม่มีจิตหลุดพ้น (แต่ละอย่าง รู้ได้ชัดเจน) เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาว รักการ แต่งตัว เมื่อส่องดูเงา แห่งหน้าของตนในกระจกเงาอันหมดจดผ่องใส หรือในน้ำอันใส ถ้ามีไฝฝ้าก็รู้ว่ามีไฝฝ้า ถ้าไม่มีไฝฝ้าก็รู้ว่าไม่มีไฝฝ้าฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.


1562
(หมวดปุพเพนิวาสานุสติญาณ)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้วเธอชักนำจิตไปเพื่อ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ.

เธอย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลายประการ คือระลึกได้ในชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติบ้าง สิบชาติ ยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏกัปป์ หลายสังวัฏฏกัปป์และวิวัฏฏกัปป์บ้าง ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้นๆ เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นๆมีอายุสุดลงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้เกิดในภพโน้น มีชื่อ โคตรวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้นๆ ได้เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น

ครั้นจุติจากภพนั้นๆๆๆแล้ว มาเกิดในภพนี้. เธอนั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน ได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ และลักษณะ ดังนี้ (ระลึกได้ชัดเจน)เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่ง ออกจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วออกจากบ้านนั้นไปสู่บ้านอื่นอีก แล้วออกจากบ้านนั้นๆ กลับมาสู่บ้านของตน เขาจะระลึกได้อย่างนี้ว่า เราออกจากบ้านตนไปสู่บ้านโน้น ที่บ้านโน้นนั้น เราได้ยืน ได้นั่งได้พูด ได้นิ่ง อย่างนี้ๆ ครั้นออกจากบ้านั้นแล้ว ได้ไปสู่บ้านโน้นอีก แม้ที่บ้านโน้น นั้น เราได้ยืน ได้นั่ง ได้พูด ได้นิ่ง อย่างนั้นๆ เราออกจากบ้านนั้นแล้ว กลับมาสู่ บ้านของตนนั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.


1563
(หมวดจุตูปปาตญาณ)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อ ญาณเครื่องรู้ซึ่งจุติ และอุปะปาตะของสัตว์ทั้งหลาย.

เธอมีจักขุทิพย์บริสุทธิ์กว่าจักขุของสามัญมนุษย์ ย่อมแลเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่เลว ทราม ประณีต มีวรรณะดี มีวรรณะเลว มีทุกข์ มีสุข. เธอรู้แจ้งชัด หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย ! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียน พระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบการงาน ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กาย แตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก.

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอประกอบ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิประกอบการงานด้วย อำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกตาย ไป ย่อมพากันเข้าสู่สุคติ โลกสวรรค์.” เธอมีจักขุทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักขุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลว ประณีต มีวรรณะดี วรรณะทราม มีทุกข์ มีสุข.

เธอรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ ดังนี้ (เห็นชัดแจ้ง) เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บน ปราสาท ที่ทาง สามแพร่งกลางนคร เขาจะเห็นมนุษย์เข้าไปในเรือนบ้าง ออกมาจากเรือนบ้าง เที่ยวไปตามถนนด้วยรถบ้าง นั่งอยู่กลางทางสามแพร่งบ้าง เขาเห็นชัดเจนอย่างนี้ว่า มนุษย์ พวกนี้ เข้าไปในเรือน พวกนี้ออกจากเรือน พวกนี้เที่ยวไปตามถนนด้วยรถบ้าง พวกนี้นั่งอยู่ กลาง ทางสามแพร่ง ดังนี้ฉันนั้นเหมือนกัน แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอ ประการหนึ่ง.


1564
(หมวดอาสวักขยญาณ)

ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี่ทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี่ทางให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และเหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เหตุแห่งอาสวะทั้งหลาย นี้ความดับไม่มีเหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย นี้เป็นทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่ง อาสวะ ทั้งหลาย.” เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะและอวิชชาสวะ. ครั้นจิตพ้น วิเศษแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว.

เธอรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก; (รู้ชัดแจ้ง) เปรียบเหมือนห้วงน้ำใส ที่ไหล่เขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว คนมีจักษุยืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น เขาจะเห็นหอยตัวกลมบ้างตัวแบนบ้าง ก้อนกรวดก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น เขาจะเห็นชัดเจนจนรู้สึกว่า ห้วงน้ำนี้ ใสไม่ขุ่น เลย หอย ก้อนกรวดก้อนหิน ปลาทั้งหลาย เหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง เที่ยวไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง

มาณพ ! นี้แล อริยปัญญาขันธ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสรรเสริญ และทรงชักชวน มหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ.

(จบอริยปัญญาขันธ์) ….


1565
ลักษณะความสะอาด – ไม่สะอาด
ในอริยวินัย
.ความไม่สะอาด


จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง ความไม่สะอาด ทางใจ มี ๓ อย่าง.จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่วงหยาบช้ามีฝ่ามือเปื้อน ด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑ เป็นผู้ มีปกติถือเอา สิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให้ คือวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย ์ของบุคคลอื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ก็ตาม เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยอาการ แห่งขโมย ๑ เป็นผู้ มีปกติประพฤติผิด ในกาม (คือประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิงหรือญาต ิรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น ๑

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางกาย ๓อย่าง.
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติกล่าวเท็จ ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวรู้ เมื่อรู้ก็กล่าวไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวไม่เห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไร ๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ๑ เป็นผู้ มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่าย โน้น แล้วมาบอก ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกัน ให้แตกกัน หรือ ทำคนที่แตกกันแล้วแตกกันยิ่งขึ้น พอใจยินดี เพลิดเพลินในการแตกกัน เป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก ๑ เป็นผู้ มีวาจาหยาบ อันเป็น วาจาหยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น ๑ เป็นผู้ มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาล ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัยเป็นผู้กล่าว วาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่

ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง)เป็นผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้ ๑ เป็นผู้ มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไปในทางประทุษร้าย ว่า “สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จงเดือดร้อน จงแตกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีอยู่เลย” ดังนี้เป็นต้น ๑ เป็นผู้ มีความเห็นผิดมีทัสสนะวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ ทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกอื่น ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มี โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ที่ไป แล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้ ๑

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถสิบ.
จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยอกุศลกรรมบถสิบเหล่านี้ ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว แม้จะลูบแผ่นดินก็เป็นคน สะอาดไปไม่ได้แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะไม่ จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะจับหญ้าเขียวก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคน สะอาดไปไม่ได้ แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะไหว้ดวงอาทิตย์ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะ ไม่ไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้ แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? จุนทะ ! เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมบถสิบ ประการเหล่านี้ เป็นตัวความไม่สะอาด และเป็นเครื่องกระทำความไม่สะอาด.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถทั้งสิบประการเหล่านี้เป็นเหตุ นรกย่อมปรากฏ กำหนดเดรัจฉาน ย่อมปรากฏเปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือว่า ทุคคติใด ๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

(การปฏิบัติมีการจับแผ่นดิน จับของเขียว ในเวลาตื่นนอน เป็นต้น เพื่อเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ สะอาดนั้น เป็นลัทธิ คำสอนของพราหมณ์ชาวบ้านปัจฉาภูมิ ผู้ถือกมัณฑลุ (ภาชนะใส่น้ำ มีพวย) สวมพวงมาลัยเสวาล (กรองด้วยหญ้า มอสและพืชในน้ำ) บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร อันเป็นลัทธิที่นายจุนทกัมมารบุตรเคยชอบใจมาก่อน ครั้นมาเฝ้า พระพุทธเจ้า ได้ตรัสว่า นั่นมิใช่ความสะอาดในอริยวินัย ครั้นนายจุนทะทูลขอให้ตรัสความสะอาดในอริยวินัย ก็ได้ตรัสข้อความดังกล่าวมาข้างต้น ซึ่งเป็นเรื่องความไม่สะอาด แล้วได้ตรัสเรื่อง ของ ความสะอาดอีกดังต่อไปนี้ -)


1568
ข. ความสะอาด


จุนทะ ! ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง ความสะอาดทางวาจามี๔ อย่าง ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง.
จุนทะ ! ความสะอาดทางกาย มี อย่าง นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่วง เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอายถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นขาด จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่ง ขโมย ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม (คือเว้นจากการ ประพฤติผิด) ในหญิงซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิงหรือ ญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมี สามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการ คล้อง พวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตใน รูปแบบเหล่านั้น. จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางกาย๓ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางวาจา มี อย่าง นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ?
จุนทะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ ญาติก็ดี ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้ บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่า เห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไร ๆ ก็ไม่เป็นผู้ กล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อย่ ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตก จากฝ่ายนี้หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกัน แล้วให้ กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกัน อยู่ให้พร้อม เพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจ ในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้ให้พร้อมเพรียงกัน ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสตให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่ ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา. จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.

จุนทะ ! ความสะอาดทางใจ มี อย่าง นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! บุคคลบางคนใน กรณีนี้ เป็นผู้ ไม่มากด้วยอภิชฌา คือเป็นผู้ไม่โลภ เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้ เป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ อันไม่ประทุษร้ายว่า “สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไม่มีทุกข์ มีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้ เป็นต้น เป็นผู้ มีความเห็นถูกต้อง มีทัสสนะไม่วิปริต ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรม ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้ มี โลกอื่น มี มารดา มี บิดา มี โอปปาติกะสัตว์ มีสมณพราหมณ์ที่ไป แล้วปฏิบัติแล้ว โดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้.

จุนทะ !อย่างนี้แล เป็นความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า กุศลกรรมบถสิบ.
จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยกุศลกรรมบถสิบประการเหล่านี้ ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาด แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาด แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาด แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาด แม้จะลงน้ำ ในเวลาเย็นเป็นครั้ง ที่สาม ก็เป็นคนสะอาด แม้จะไม่ลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาด.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? จุนทะ ! เพราะเหตุว่า กุศลกรรมบถสิบประการเหล่านี้ เป็นตัวความ สะอาด และเป็นเครื่องกระทำความสะอาด.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยกุศลกรรมบถทั้งสิบประการเหล่านี้เป็นเหตุ พวกเทพจึง ปรากฏ พวกมนุษย์จึง ปรากฏ หรือว่าสุคติใด ๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.


1570
ผู้ไม่สะอาด
เป็นผู้ที่เหมือนกับถูกนำไปเก็บไว้ในนรก

ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อม เป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในนรก. ธรรม ๑๐ ประการ อย่างไรเล่า?สิบประการ คือ คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่วงหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วย โลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑ (ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงบุคคล ผู้ กระทำอทินนาทาน กระทำกาเมสุมิจฉาจารพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งแต่ละอย่าง ๆ มีรายละเอียด หาดูได้จากหัวข้อว่า “ลักษณะความสะอาด ไม่สะอาดในอริยวินัย” เฉพาะฝ่ายชั่วหรือฝ่ายความ ไม่สะอาด ที่หน้า ๑๕๖๕ – ๖ แห่งหนังสือเล่มนี้ แล้วตรัสจบลงด้วยคำว่า )

ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นเหมือนบุคคล ผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ ในนรก.


1571
ผู้สะอาด
เป็นผู้ที่เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อม เป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไป เก็บไว้ใน สวรรค์. ธรรม ๑๐ ประการอย่างไรเล่า ?สิบประการ คือ บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละการทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่วงเว้นขาด จาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ ๑ (ต่อไปนี้ได้ตรัสถึงบุคคลผู้ เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา ไม่มีพยาบาท เป็นสัมาทิฏฐิ ซึ่งแต่ละอย่าง ๆ มีรายละเอียดหาดูได้จากหัวข้อว่า “ลักษณะความสะอาด –ไม่สะอาด ในอริย- วินัย”เฉพาะฝ่ายดี ที่หน้า ๑๕๖๘ – ๙ แห่งหนังสือเล่มนี้ แล้วตรัสจบลงด้วยคำว่า )ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บ ไว้ในสวรรค์.


( ในสูตรอื่น แทนที่จะเรียกผู้เป็นเจ้าของกรณีว่า บุคคล แต่ไปทรงเรียกเสียว่า มาตุคามก็มี อุบาสิกาก็มี. สูตรอื่น ๆ แทนที่จะนับจำนวนกรรมบถมี สิบ ได้ทรงขยายออกไปเป็น ๒๐ คือ ทำเองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำอีกสิบ และทรงขยายออกไปเป็น ๓๐ คือทำเองสิบ ชักชวนผู้อื่น ให้ทำสิบ ยินดีเมื่อเขาทำสิบ และทรงขยายออกไปเป็น ๔๐ ทำเองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำสิบ ยินดีเมื่อเขาทำสิบ สรรเสริญผู้กระทำสิบ จึงมีกรรมบถ สิบ ยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ.

ในสูตรอื่น แสดงผลแห่งการกระทำแปลกออกไป จากคำว่า เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ในนรก เป็นว่า “เป็นผู้ขุดราก ตนเอง” ก็มี “ตายแล้วไปทุคคติ” ก็มี “เป็นพาล” ก็มี ส่วนผู้ที่เหมือนถูก นำไป เก็บไว้ในสวรรค์นั้น ทรงแสดงด้วย คำว่า ผู้ไม่ขุดรากตนเองก็มีตายแล้วไปสุคติก็มีเป็นบัณฑิต” ก็มี.

ภาคผนวก
ว่าด้วยเรื่องนำมาผนวกเพื่อความสะดวก แก่การอ้างอิง สำหรับเรื่องที่ตรัสซํ้า บ่อย


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย
จบบริบูรณ์