เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  03 of 11  
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  วิธีพิจารณาในภายใน เพื่อความสิ้นทุกข์ 975     คนรวยก็มีธรรมะได้(จิตนิยมและวัตถุนิยมก็อยู่ด้วยกันได้) 1012
  การพิจารณาเพื่อความสิ้นแดนเกิดของทุกข สมุทัย 977     (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 1013
  การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิได้ 978     การใช้ความทุกข์ให้เป็นประโยชน์แก่บุถุชน 1013-1
  การเห็นชนิดที่ละสักกายทิฏฐิได้ 979     ตรัสว่า ถ้าจะมีตัวตน เอาร่างกายเป็นตัวตนดีกว่าจิต 1014
  การเห็นชนิดละอัตตานุทิฏฐิได้ 980     การทำความรู้จักกับกาย ซึ่งมิใช่ของเราหรือของใครอื่น 1016
  การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตาและโลก 981     อุปมาแห่งการคำนวณความเป็นอนิจจัง 1017
  การเห็นไตรลักษณ์ เป็นทางแห่งความหลุดพ้น 981-1     รู้จักเลือก : “สังฆทานดีกว่า !” 1020
  ข. ตามนัยแห่งบาลีอนิจจวรรคสฬายตนสังยุตต์ 982     อาการที่อวิชชาทำให้มีการเกิดดับแห่งสังขาร 1023
  ค. ตามนัยแห่งธัมมปทบาลี 982-1     รายละเอียดที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องกรรม 1025
  ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (นิพพาน) 983     (ปฏิปักขนัย - ฝ่ายตรงกันข้าม) 1027

   
 
  ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (อีกนัยหนึ่ง) 983-1     สัมมาสังกัปปะโดยปริยายสองอย่าง 1029-1
  ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (อีกนัยหนึ่ง) 984     วิตกโดยปริยายสองอย่าง(เพื่อนิพพาน - ไม่นิพพาน) 1030
  ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (อีกนัยหนึ่ง) 985     (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 1031
  การรู้จักแสวงหาของมนุษย์ 986     บุคคลเกี่ยวกับเนกขัมมะ ๔ ประเภท 1031-1
  ข. การแสวงหาที่ประเสริฐ 988     อริยสัจจวิตกในฐานะสัมมาสังกัปปะ 1032
  อุบายเครื่องสิ้นตัณหาโดยสังเขป 990     อริยสัจจจินตนาในฐานะสัมมาสังกัปปะ 1033
  ความถูกต้องเกี่ยวกับความรู้สึกว่าปฏิกูลหรือไม่ปฏิกูล 991     สิ่งควรทราบเกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ 1036
  ภิกษุมิได้เจริญภาวนาเพื่อได้รูปทิพย์เสียงทิพย์ 993     เนกขัมมะแท้มีได้ เพราะรู้รสของสิ่งที่ประเสริฐกว่ากาม 1037
  การเห็นปฏิกูลแห่งยศ-อาหาร-ความรัก- ผัสสะ- 995     วิธีพิจารณาเพื่อเกิดสัมมาสังกัปปะ 1038
  โลกุตตรผลมีได้จากการตั้งจิตไว้ถูก 996     ก. โทษแห่งมิจฉาสังกัปปะ 1038-1
         
  ความแน่ใจหลังปฏิบัติเป็นเครื่องตัดสินความผิด - ถูก 997     ข. คุณแห่งสัมมาสังกัปปะ 1039
  สรุปอานิสงส์ของสัมมาทิฏฐิ 1000     อาการเกิดแห่งเนกขัมมสังกัปปะ 1041
  โทษที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิในการพูด 1001     วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ 1042
  ทิฏฐิซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการวิวาท 1002     วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตก -ประการที่ ๒ 1043
  มิจฉาทิฏฐิที่ว่าวิญญาณเป็นผู้ท่องเที่ยว 1006     วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตก - ประการที่ ๓ 1044
  โทษแห่งอันตคาหิกทิฏฐิสิบ 1008     วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตก -ประการที่ ๔ 1045
  อวิชชาเป็นตัวชักนำซึ่งองค์แปดแห่งมิจฉามรรค 1009     วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตก - ประการที่ ๕ 1045-1
  สัสสตทิฏฐิก็อยากอยู่ อุจเฉททิฏฐิก็อยากไปสัมมา 1010     ผลสำเร็จแห่งการกำจัดอกุศลวิตก 1046



       

 

   

 

 
 
 





หน้า 975
วิธีพิจารณาในภายใน เพื่อความสิ้นทุกข์

ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายพิจารณากันบ้างหรือไม่ ชนิดที่เป็นการพิจารณาในภายใน? ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า ข้าพระองค์ ย่อมพิจารณาชนิดที่เป็น การพิจารณาในภายในอยู่พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. เธอ ย่อมพิจารณา ชนิดที่เป็นการพิจารณาในภายในอยู่อย่างไรเล่า? (ภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ก็ไม่ทรงพอพระทัย พระอานนท์จึงทูลขอร้องให้พระองค์ ทรงแสดง ภิกษุได้ฟังแล้วจักทรงจำไว้ ตรัสให้ภิกษุทั้งหลาย ตั้งใจฟัง แล้วตรัสว่า)

ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อม พิจารณาชนิดที่เป็น การพิจารณาในภายใน ว่า “ทุกข์มีอย่างมิใช่น้อย นานาประการ ย่อมเกิดขึ้นในโลก กล่าวคือชรามรณะ ใดแล ทุกข์นี้หนอ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? เพราะอะไรมีชรามรณะจึงมี?” ดังนี้.

ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ ย่อมรู้ อย่างนี้ว่า “ทุกข์มีอย่างมิใช่น้อยนานาประการ ย่อมเกิดขึ้นในโลก กล่าวคือชรามรณะใดแล ทุกข์นี้หนอมี อุปธิ*เป็นเหตุให้เกิด มี อุปธิ เป็นเครื่องก่อให้เกิด มี อุปธิ เป็นเครื่องกำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด เพราะ อุปธิ มี ชรามรณะจึงมี เพราะอุปธิไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี” ดังนี้. (* อุปธิ หมายถึงกิเลส)

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด ซึ่งชรามรณะด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือ ชรามรณะด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงซึ่งธรรมอันสมควรแก่ความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างสมควร แก่ธรรมด้วย.

ภิกษุ ท. ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ กล่าวคือเพื่อความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะ โดยประการทั้งปวง.

ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อม พิจารณาชนิดเป็นการพิจารณาในภายใน ว่า “ก็อุปธินี้ มีอะไรเป็นเหตุ ให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็น แดนเกิด? เพราะอะไรมีอุปธิจึงมี เพราะอะไร ไม่มี อุปธิจึงไม่มี?” ดังนี้.

ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า“อุปธินี้ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่อง ก่อ ให้เกิด มีตัณหาเป็น เครื่องกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด  เมื่อตัณหามีอุปธิจึงมี เมื่อ ตัณหาไม่มีอุปธิจึงไม่มี ” ดังนี้.  

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด ซึ่งอุปธิด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปธิด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่ง อุปธิ ด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อ ทำ สัตว์ให้ลุถึงซึ่งธรรม อันสมควรแก่ความดับไม่เหลือแห่ง อุปธิด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างสมควรแก่ธรรมด้วย.

ภิกษุ ท. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ กล่าวคือเพื่อความดับ ไม่เหลือแห่งอุปธิ โดย ประการทั้งปวง.

ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อม พิจารณาชนิดที่เป็นการพิจารณาในภายใน ว่า “ก็ตัณหานี้ เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ณ ที่ไหน? เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ณ ที่ไหน?” ดังนี้ ภิกษุนั้น พิจารณา อยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น.

ก็สิ่งใดเล่า มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก? จักษุ มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก. โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา .... กายะ .... มนะ มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก. ตัณหานี้ เมื่อจะ เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในธรรมมีภาวะน่ารักยินดีเหล่านี้ เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ใน ธรรม มีภาวะ น่ารักน่ายินดีเหล่านี้.

(ต่อจากนี้ ได้ตรัสถึงบุคคลบางพวกในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เห็นปิยรูป สาตรูปโดยความ เป็นของเที่ยง ของสุข เป็นต้น แล้วทำตัณหาให้เจริญ ทำอุปธิให้เจริญ เท่ากับทำทุกข์ให้เจริญ ไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ และได้ตรัสฝ่ายตรงข้าม โดยปฏิปักขนัยไว้เป็นคู่กัน.

สำหรับปิยรูปสาตรูปนั้น ในที่อื่นกล่าวไว้เป็นสิบหมวด ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร รวมกัน เป็น ๖๐ อย่าง ในที่นี้กล่าว ไว้ เพียง ๖ อย่าง ตามจำนวนแห่งอายตนะภายใน แม้กระนั้น ก็อาจจะขยายออกไปได้ เป็น ๖๐ อย่าง เช่นเดียวกัน ผู้สนใจพึงหาอ่านดูได้ จากมหา สติปัฏฐานสูตรเป็นต้น เองเถิด).




หน้า 977
การพิจารณาเพื่อความสิ้นแห่งแดนเกิดของทุกขสมุทัย

ภิกษุ ท. ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการที่เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่ วิญญาณ (จิต) ของเธอ อันเป็นวิญญาณ ซึ่งไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก และไปตั้งสยบอยู่ในภายใน แล้ว ก็จะไม่สะดุ้งเพราะมีธรรมเป็นที่ยึดมั่น.

ภิกษุ ท. เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก และไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน เป็นวิญญาณ ไม่สะดุ้งเพราะไม่มี ธรรมเป็นที่ยึดมั่นอยู่ ดังนี้แล้วธรรมเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ กล่าวคือ ชาติชรามรณะ ย่อมไม่มีอีกต่อไป. (ครั้นตรัสแต่ โดยย่อดังนี้แล้ว เสด็จเข้าไปในวิหาร ภิกษุไม่ เข้าใจ เนื้อความนั้นโดยพิสดาร ได้เข้าไปขอคำอธิบายจากพระมหา กัจจายนะ ท่านได้อธิบาย ในข้อที่ว่า วิญญาณฟุ้งไปในภายนอกคืออะไร สยบอยู่ในภายในคืออย่างไร สะดุ้งนั้นคืออย่างไร ดังนี้เป็นต้น)

ว่าหมวดจ. ว่าด้วยอานิสงส์ของสัมมาทิฏฐิ



หน้า 978
การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่างไร มิจฉาทิฏฐิย่อมละไปพระเจ้าข้า ?”

ภิกษุ ท. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ ย่อมละไป.
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง รูป . โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ ย่อมละไป
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ ย่อมละไป
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ ย่อมละไป
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข ก็ตาม อันเป็นทุกข์ ก็ตาม อันเป็น อทุกขมสุขฅ
ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิย่อมละไป.


หน้า 979
การเห็นชนิดที่ละสักกายทิฏฐิได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรสักกายทิฏฐิ ย่อมละไปพระเจ้าข้า?”

ภิกษุ ท. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง รูป . โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป.
ภิกษุ ท. เมื่อบุคคล รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป.


หน้า 980
การเห็นชนิดละอัตตานุทิฏฐิได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่างไร อัตตานุทิฏฐิย่อมละไป พระเจ้าข้า?”

ภิกษุ ท. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิ ย่อมละไป.
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง รูป . โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิ ย่อมละไป.
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิ ย่อมละไป.
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิ ย่อมละไป.
เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุข
ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิ ย่อมละไป.

(ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมอีก ๕ หมวดถัดไป คือ หมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ
ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้างบนนี้ ต่างแต่ชื่อธรรมที่ต้องเปลี่ยนไปตามหมวดนั้นๆ
เท่านั้น รวมเป็นธรรมที่ถูกรู้เห็น โดยความเป็นอนัตตา ทั้งหมด ๓๐ อย่าง).


ภิกษุ ท. เมื่อบุคคล รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อัตตตานุทิฏฐิย่อมละไป.
(การพิจารณาเห็นอายตนิกธรรมโดยลักษณะทั้งสาม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาดังกล่าว
มาใน ๓ หัวข้อข้างบนนี้ก็จัดเป็น สัมมาทิฏฐิแบบหนึ่ง จึงนำมาใส่ไว้ในหมวดนี้).



หน้า 981
การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตาและโลก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาทิฏฐิที่ประกอบด้วยวาทะว่าตน หรือประกอบด้วยวาทะว่าโลกเกิดขึ้นในโลกมีอยู่. ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุจะตั้งต้นกระทำในใจอย่างไร จึงจะละทิฏฐิ เหล่านั้นได้จึงจะ สลัดคืนทิฏฐิเหล่านั้นได้พระเจ้าข้า ?”

จุนทะ บรรดาทิฏฐิที่ประกอบด้วยวาทะว่าตน หรือประกอบด้วยวาทะว่าโลก เกิดขึ้นในโลก
มีอยู่ มันเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนตามอยู่ในอารมณ์ใดเรียกร้องอยู่ในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุ เห็นอยู่ ด้วยปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งอารมณ์เหล่า นั้น อย่างนี้ว่า “นั่นมิใช่ของเรา นั่นมิใช่เรา นั่นมิใช่อัตตาของเรา ดังนี้ การละซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น การสลัดคืนซึ่งทิฏฐิ เหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ ก็ย่อมมี.


หน้า 981-1
การเห็นไตรลักษณ์ เป็นทางแห่งความหลุดพ้น


ก. ตามนัยแห่งอนัตตลักขณสูตร

ภิกษุ ท. รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน มีใน ภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณนั้นทั้งหมด บุคคล พึงเห็นด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ดังนี้.


ภิกษุ ท. อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้น แล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหม จรรย์อยู่จบแล้ว. กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความหลุดพ้น อย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.


หน้า 982
ข. ตามนัยแห่งบาลีอนิจจวรรคสฬายตนสังยุตต์

(พระบาลีนี้ แทนที่จะแสดงวัตถุแห่งการพิจารณา โดยนัยแห่งขันธ์ห้า แต่แสดงโดยอายตนะ ภายในหก อายตนะภายนอก หก มีหลักแห่งวิธีพิจารณาอย่างเดียวกับนัย บาลีอนัตตลักขณาสูตร ข้างบน.


หน้า 982-1
ค. ตามนัยแห่งธัมมปทบาลี

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่าย ในสิ่ง ที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด. เมื่อใด บุคคลเห็น ด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด.

เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา” เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่ง ที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด.

หน้า 983
ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (นิพพาน)

ภิกษุ ท. เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่ง จักษุว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลายว่าไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัสว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็น อทุกขมสุข ที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยว่า ไม่เที่ยง.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อ เท่านั้น).

ภิกษุ ท. นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.


หน้า 983 -1
ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบาย แก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุ ท. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อม เห็นซึ่งจักษุว่า เป็นทุกข์  
ย่อมเห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายว่า เป็นทุกข์
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นทุกข์
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นทุกข์
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นทุกข์.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อ เท่านั้น)

ภิกษุ ท. นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.


หน้า 984
ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุ ท. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่งจักษุว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นอนัตตา
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นอนัตตา.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วย
ข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.


หน้า 985
ความสะดวกสะบายแก่การดับของกิเลส (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานแก่เธอทั้งหลาย.
พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุ ท. ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า?
นั้น เป็นอย่างนี้ คือ

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะ สำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
จักษุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า?
เป็นทุกข์
พระเจ้าข้า 

สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า "นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นอัตตาของเรา" ดังนี้
ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า

(ต่อไป ได้ตรัสถามและภิกษุตอบ เกี่ยวกับ รูป .... จักขุวิญญาณ .... จักขุสัมผัส .... จักขุสัมผัสสชาเวทนา ซึ่งมีข้อความ ย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุนั้น ทุกประการต่างกัน แต่ชื่อเท่านั้น.

เมื่อตรัสข้อความในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมหมวด จักษุ จบลงดังนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความ ในกรณี แห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ ต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งอายตนิกธรรม หมวดจักษุนั้น ทุกประการ ต่างกัน แต่เพียงชื่อเท่านั้น ผู้ศึกษาฟังเทียบเคียงได้เอง)


ภิกษุ ท. อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน รูป ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน จักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย ใน เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

(ในกรณีแห่ง อายต-นิกธรรมหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก โดยนัย อย่าง เดียวกันกับ กรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนี้) เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัด ย่อม หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัด ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรยอ์ ยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความ หลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก

ภิกษุ ท. นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.


หน้า 986
การรู้จักแสวงหาของมนุษย์

. การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ
ภิกษุ ท. การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ (อนริยปริเยสนา) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. บุคคลบางพวกในกรณีนี้

....ตนเอง มีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง.
....ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
....ตนเอง มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
....ตนเอง มีความตาย เป็นธรรมดาอยู่แล้วก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตาย เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
....ตนเอง มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศก เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
....ตนเอง มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง.

ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความเกิดเป็นธรรมดา? ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกรช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความเกิดเป็นธรรมดา.

ภิกษุ ท. สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก (อุปธิ) บุคคลในโลกนี้ พากัน จมติด อยู่พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเกิดเป็น ธรรมดา อยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.

ภิกษุ ท.! ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความแก่เป็นธรรมดา? ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่ง บุตร ภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกรช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความแก่เป็นธรรมดา.

ภิกษุ ท. สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากัน สยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหา สิ่งที่มีความ แก่ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา? ภิกษุ ท! ควรจะกล่าวซึ่งบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกรช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา.

ภิกษุ ท. สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากัน สยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา อยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.

ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความตายเป็นธรรมดา? ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งบุตร ภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกรช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความตายเป็นธรรมดา.

ภิกษุ ท. สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากัน สยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความตายเป็น ธรรมดา อยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความโศกเป็นธรรมดา? ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งบุตร ภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกรช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความโศกเป็นธรรมดา.

ภิกษุ ท. สิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากัน สยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความโศกเป็นธรรมดา อยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.


ภิกษุ ท. ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา? ภิกษุ ท. ควรจะ กล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชายแพะแกะ ไก่สุกร ช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความเศร้า หมอง โดยรอบด้านเป็นธรรมดา.

ภิกษุ ท. สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากัน สยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเศร้าหมอง โดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวง หาสิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็น ธรรมดาอยู่นั่นเองอีก.

ภิกษุ
. ! นี้คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ.


หน้า 988
ข. การแสวงหาที่ประเสริฐ

ภิกษุ ท. การแสวงหาที่ประเสริฐ (อริยปริเยสนา) เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. บุคคลบางคนใน กรณีนี้ ตนเองมีความเกิด เป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา

แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เกิด(อชาต) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ตนเองมีความแก่ เป็น ธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่แก่ (อชร) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ตนเองมีความเจ็บไข้ เป็น ธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เจ็บไข้ (อพฺยาธิ) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า ตนเองมีความตาย เป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา แล้ว

แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่ตาย (อมต) เป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ตนเองมีความโศกเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษ ในสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดา

แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่โศก (อโสก)เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ตนเองมีความเศร้าหมอง โดยรอบด้านเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง โดยรอบด้านเป็นธรรมดา

แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เศร้าหมองโดยรอบด้าน(อสํกิลิฏฐ) เป็นธรรมเกษมจาก โยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

ภิกษุ . นี้คือ การแสวงหาที่ประเสริฐ.


หน้า 990
อุบายเครื่องสิ้นตัณหาโดยสังเขป

"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ว่าโดยสังเขป ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าใด ภิกษุจึงเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่ง ตัณหามีความสำเร็จถึงที่สุด ยิ่งเกษมจากโยคะถึงที่สุด ยิ่งมีพรหมจรรย์ถึงที่สุด ยิ่งจบกิจถึงที่สุด ยิ่งเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย?"

ท่านผู้จอมเทพ หลักธรรมอันภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า “สิ่งทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควร เข้าไปยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นตัวเรา ของเรา)” ดังนี้.

เมื่อเธอได้สดับดังนี้แล้ว ย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งแล้ว ก็รอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ ยิ่งแล้ว ก็ รอบรู้ซึ่งธรรม ทั้งปวง ครั้นรอบรู้แล้ว ได้รู้สึกความรู้สึกอันใดอันหนึ่ง จะเป็นสุข หรือทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม

เธอย่อม มองเห็นความไม่เที่ยงแท้ ในความรู้สึก (เวทนา) ทั้งหลายเหล่านั้น มองเห็น ความ คลายกำหนัด มองเห็นความ ดับไม่เหลือ มองเห็นความสลัดคืนอยู่

เมื่อเธอมองเห็นความไม่เที่ยงแท้ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น มองเห็น (คือรู้สึก) ความคลาย กำหนัด มองเห็นความดับ ไม่เหลือ มองเห็นความสลัดคืน (ของตน) อยู่เนืองนิจ ก็ไม่ยืดถือ ด้วยใจ ซึ่งอะไรๆในโลก

เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่สะดุ้งใจเมื่อไม่สะดุ้งใจชื่อว่า ดับสนิทรอบในภายใน นั่นเทียว

เธอย่อมรู้สึกตนชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ท่านผู้จอมเทพ ว่าโดยสังเขปด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพ้นวิเศษแล้วเพราะความ สิ้น ตัณหามีความสำเร็จ ถึงที่สุดยิ่ง เกษมจากโยคะถึงที่สุดยิ่ง มีพรหมจรรย์ถึงที่สุดยิ่ง จบกิจถึง ที่สุดยิ่ง เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพและมนุษย์ ทั้งหลาย.


หน้า 991
ความถูกต้องเกี่ยวกับความรู้สึกว่าปฏิกูลหรือไม่ปฏิกูล

ภิกษุ ท.

๑. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูล ตาม กาลอันควรอยู่ เป็นความถูกต้อง.
๒. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลตามกาลอันควรอยู่ เป็นความถูกต้อง.
๓. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ ก็เป็นความถูกต้อง.
๔.ภิกษุเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่เป็น ความถูกต้อง.
๕. ภิกษุ เว้นขาดจากความรู้สึกว่า สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ตามกาลอันควรอยู่ ก็เป็นความถูกต้อง.

๑. ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่ง ไม่ ปฏิกูลอยู่? ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งราคะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญา ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่.

๒. ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่ง ปฏิกูล และ สิ่งปฏิกูลอยู่? ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “โทสะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มี สัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่.

๓. ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่ง ไม ่ปฏิกูล และปฏิกูลอยู่? ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้น แก่เรา ในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งราคะโทสะก็อย่าบังเกิดขึ้น แก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มี สัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่.

๔. ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่ง ปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่? ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ โทสะอย่า บังเกิด ขึ้น แก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ. ราคะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ .

๕. ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึงเว้นขาดความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูล และ สิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะ อยู่?

ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ราคะ ในส่วนไหนๆ ในที่ไรๆ ชนิดไรๆ.โทสะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในส่วนไหนๆ ในที่ไรๆ ชนิดไรๆ โมหะก็อย่า บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในส่วนไหนๆ ในที่ไรๆชนิดไรๆ” ดังนี้

ภิกษุจึงเว้นขาดจากความรู้สึกว่า สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดังนี้แล.


หน้า 993
ภิกษุมิได้เจริญภาวนาเพื่อได้รูปทิพย์เสียงทิพย์

(เมื่อพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสคำซักไซ้ไล่เลียง ของมหาลิจฉวีบุตร เกี่ยวกับ สมาธิภาวนา เพื่อการ เห็นรูปทิพย์ และการฟัง เสียงทิพย์ จนเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งทุกแง่ทุกมุมแล้ว มหาลิลิจฉวีบุตร ได้กราบทูลถามว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประพฤติ พรหมจรรย์กัน เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งสมาธิภาวนา เหล่านั้นหรือได้ตรัสตอบ ว่า)

มหาลิ ภิกษุทั้งหลาย จะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้น ก็หามิได้. มหาลิ ! ธรรมเหล่าอื่น อันยิ่งกว่าอันประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ ในเราเพื่อการทำให้แจ้งธรรมเหล่านั้น ก็มีอยู่.

"ธรรมเหล่าอื่นนั้นเป็นอย่างไรพระเจ้าข้า !"

มหาลิ ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อ พระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. มหาลิ นี้แล ธรรมอันยิ่งกว่า ประณีต กว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ ในเราเพื่อการทำให้แจ้ง.

มหาลิ ข้ออื่นยังมีอีก เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สามและ เพราะความที่ราคะโทสะโมหะ เบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.  

มหาลิ แม้นี้แล ก็เป็นธรรมอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการทำให้แจ้ง.

มหาลิ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งห้า เป็นโอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

มหาลิ แม้นี้แล ก็เป็นธรรมอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการทำให้แจ้ง. มหาลิ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสะวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

มหาลิ แม้นี้แล ก็เป็นธรรมอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการ ทำให้แจ้ง.

มหาลิ เหล่านี้แล ธรรมทั้งหลายอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการทำให้แจ้ง.

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ย่อมไม่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสมาธิ ภาวนา อันนำมาซึ่งการ ได้เห็น รูปทิพย์ ฟังเสียงทิพย์ จึงเป็นสาวกอันแท้จริงของ พระผู้มีพระภาคเจ้า)


หน้า 995
การเห็นความปฏิกูลแห่งยศ - อาหาร - ความรัก -อสุภ - ผัสสะ - อุปาทาน

นาคิตะ เราอย่าต้องเกี่ยวข้องกับยศเลย ยศก็อย่ามาเกี่ยวข้องกับเราเลย. นาคิตะ ผู้ใดเป็นผู้ ไม่ได้ ตามปรารถนา ไม่ได้โดยง่าย ไม่ได้โดยสะดวกซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข เหมือนอย่างที่เราได้อยู่ตามปรารถนา ได้โดยง่าย ได้โดยสะดวกแล้ว เขาผู้นั้น ก็จะพึงยินดีอยู่กะ มิฬหสุขมิทธสุข๒ และ สุขอันเกิดจากลาภสักการะ ละเสียง สรรเสริญ

นาคิตะ อุจจาระปัสสาวะ เป็นผลของสิ่งที่บุคคลกินแล้ว ดื่มแล้วเคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว นั่นแหละ คือผลไหลออกของสิ่งนั้น. นาคิตะ สกะปริเทวะโทมนัสสะอุปายาสะ ย่อมเกิดขึ้นจาก ความ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นของสิ่งอันเป็ นที่รัก : นั่นแหละ ผลไหลออกของสิ่งนั้น.

นาคิตะ ความเป็นของปฏิกูล๓ ในนิมิตอันสวยงาม ย่อมปรากฏขึ้น แก่บุคคลผู้ตามประกอบซึ่ง ความเพียรในอสุภนิมิต นั่นแหละผลไหลออกแห่งการกระทำเช่นนั้น.

นาคิตะ ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมปรากฏขึ้น แก่บุคคลผู้ตามเห็นอยู่ซึ่ง ความไม่เที่ยง ใน ผัสสายตนะหก นั่นแหละเป็นผลแห่งการกระทำเช่นนั้น.

นาคิตะ ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมปรากฏขึ้น แก่บุคคลผู้ตามเห็นอยู่ซึ่ง ความ เกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าอยู่ นั่นแหละเป็นผลไหลออกแห่งการกระทำ เช่นนั้น
.……………………………………………………………………..
๑. คือสุขอาศัยท่อปัสสาวะ.
๒. คือสุขของคนนอนสยบบนสิ่งอสุจิปฏิกูล.
๓. คำว่าปฏิกูล ทั้ง ๓ คำนี้ เป็นภาษาธรรม หมายถึงภาวะแห่งความน่าเกลียดน่าชัง ที่จะต้องดู ด้วยสติปัญญา ม่ใช่ดูด้วยตาอย่างภาวะปฏิกูลในภาษาคน.

……………………………………………………………………..


หน้า 996
โลกุตตรผลมีได้จากการตั้งจิตไว้ถูก

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนเดือยเม็ดข้าวสาลี หรือเดือยเม็ดข้าวยวะ ที่มันตั้งอยู่ในลักษณะผิดปกติ ถูกย่ำด้วยมือหรือเท้า แล้ว จักตำมือหรือเท้าที่ย่ำลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมาได้ นี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้. เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า เดือยแห่งเม็ดข้าวสาลีนั้นตั้งอยู่ผิดลักษณะ.

ภิกษุ ท. ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุมีจิตตั้งไว้ผิด จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักก ระทำ นิพพานให้แจ้งได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่มีได้. เพราะเหตุไรเล่า? เพราะความที่จิตตั้งไว้ผิด แล.

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนเดือยเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยเม็ดข้าวยวะ ที่มันตั้งอยู่ถูกลักษณะ ถูกย่ำ ด้วยมือหรือด้วยเท้าแล้ว จักตำมือหรือเท้าที่ย่ำลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมาได้ นี้เป็น ฐานะที่มีได้ เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่าเดือยแห่งเม็ดข้าวสาลีนั้นตั้งอยู่ถูกลักษณะ.

ภิกษุ ท. ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุมีจิตตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจัก กระทำนิพพานให้แจ้งได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้. เพราะเหตุไรเล่า? เพราะความที่จิตตั้งไว้ถูก แล.


หน้า 997
ความแน่ใจหลังจากการปฏิบัติเป็นเครื่องตัดสินความผิด - ถูก

(นายบ้านชื่อปาฏลิยะ แห่งโกฬิยนิคม ชื่อ อุตตระ มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลเรื่องที่เขา ได้ฟังสมณพราหมณ์ ศาสดาต่างๆ ๔ พวก

จำพวกที่ แสดงทิฏฐิว่า การให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล กรรมดีกรรมชั่วไม่มีผล โลกนี้โลก อื่น ไม่มี บิดามารดาไม่มี โอปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้โลกอื่นแล้ว ประกาศก็ไม่มี

สมณพราหมณ์ศาสดาพวกที่ แสดงทิฏฐิอย่างตรงกันข้าม ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มี

สมณพราหมณ์ศาสดาพวกที่ แสดงทิฏฐิว่า การกระทำทั้งหลายไม่ป็นอันกระทำ แม้จะ กระทำบาปเช่นฆ่าสัตว์มีเนื้อ กองเต็มแผ่นดิน ก็ไม่มีบาป ทำบุญเต็มฝั่งแม่น้ำคงคาก็ไม่มีบุญ

ส่วนสมณพราหมณ์ศาสดาพวกที่ แสดงทิฏฐิอย่างตรงข้ามจากพวกที่สาม คือแสดงว่า การ กระทำเป็นอันกระทำ คือทำบาปมีผลบาป ทำบุญมีผลบุญ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อไปว่า )"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กังขาและ วิจิกิจฉาได้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ว่า ในบรรดา สมณพราหมณ์ศาสดาเหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกไหนพูดจริงพวกไหน พูดมุสา"

คามณิ! ควรแล้วที่ท่านจะมีกังขาจะมีวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาได้เกิดขึ้น แล้วในฐานะที่ควรกังขา."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสแล้ว ในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค สามารถที่จะแสดงธรรม เพื่อข้าพระองค์จะละธรรม เป็นที่กังขานั้น เสียได้".

คามณิ ธัมมสมาธิ มีอยู่. ถ้าท่านได้จิตตสมาธิในธัมมสมาธินั้นแล้ว ท่านก็จะละธรรมเป็นที่กังขา นั้นเสียได้.
คามณิ ธัมมสมาธินั้น เป็นอย่างไรเล่า?

คามณิ ธัมมสมาธิ ในกรณีนี้คือ อริยสาวก ละขาดเว้นขาดจากปาณาติบาต ละขาดเว้น ขาดจาก อทินนาทาน ละขาด เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ละขาดเว้นขาดจากมุสาวาท ละขาดเว้นขาด จากปิสุณวาทละขาด เว้นขาดจากผรุสวาท ละขาดเว้นขาดจาก สัมผัปปลาปวาท ละอภิชฌาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ละโทษคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่ พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิแล้ว เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ.

คามณิ อริยสาวกนั้น ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท เป็นผู้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ อย่างนี้แล้ว มีจิตสหรคต ด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง แล้วแลอยู่ นทิศที่สองก็อย่างเดียวกัน ทิศที่สามก็อย่างเดียวกันทิศที่สี่ก็อย่างเดียวกัน คือมีจิตสหรคตด้วยเมตตา เป็นจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตจิต ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปแล้วสู่โลก มีที่ สุดในทิศทั้งปวง เพราะการแผ่ไปสู่ที่ทั้งปวงในทิศทั้งปวง ทั้งโดยเบื้องบน เบื้องต่ำเบื้องขวาง แล้วแลอยู่. (ในตอนที่กล่าวถึงการแผ่จิตอันสหรคตด้วย กรุณา มุทิตา และอุเบกขาในตอนต่อไป ก็ได้ตรัสโดยข้อความทำนอง เดียวกันนี้)

อริยสาวกนั้นย่อมใคร่ครวญเห็นอยู่ว่า “แม้จะมีศาสดาผู้มีวาทะมีทิฏฐิ ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มี(ผล) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี(ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี(ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มีสมณพราหมณ์ ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้ว โดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้ง โลกนี้ และโลกอื่นด้วยปัญญาโดย ชอบเอง แล้วประกาศ ให้ผู้อื่นรู้ก็ไม่มี ดังนี้อยู่ก็ตาม

แม้คำของศาสดานั้น เป็นคำจริง ความผิดก็มิได้มีแก่เรา (ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้) ผู้มิได้เบียดเบียน ใครๆ ทั้งที่เป็นสัตว์สะดุ้ง หวั่นไหวและสัตว์ ที่มั่นคงไม่สะดุ้ง หวั่นไหวและเราเป็นผู้ถือเอาได้ ซึ่งความสำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ในกรณีนี้คือ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกายด้วยวาจาด้วยใจด้วย และจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่การตายเพราะ การทำลายแห่งกาย ด้วย” ดังนี้. (ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว) ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่อริยสาวกนั้น ปิติย่อมเกิดแก่ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของผู้มีใจปิติแล้ว ย่อมรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ แล้วย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น.

คามณิเอ๋ย นี่แหละ คือ ธัมมสมาธิ ละ. ถ้าท่านได้จิตตสมาธิในธัมมสมาธินั้นแล้ว ท่านก็จะละ เสียได้ ซึ่งธรรมเป็นที่ กังขานั้น.

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสปรารภทิฏฐิของสมณพราหมณ์ ศาสดาจำพวกที่สองซึ่งกล่าวอัตถิกทิฏฐิ และปรารภ ศาสดาจำพวก ที่สามซึ่งกล่าว อกิริยทิฏฐิ แล้วตรัสปรารภ ศาสดาจำพวกที่สี่ ซึ่งกล่าว กิริยทิฏฐิ โดยข้อความทำนองเดียวกันทั้งสี่พวก หมายความว่าศาสดานั้นๆ จะกล่าวอย่างไร ก็ตามใจ อริยสาวกนี้ยังคงมีธัมมสมาธิ ไม่มีความผิดใดๆเกี่ยวกับทิฏฐิเหล่านั้น แถมยังได้รับ ความสำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งในโลกนี้และโลกอื่นดังที่กล่าวแล้วข้างต้น.

นี้แสดงว่าอริยสาวกนั้น รู้ความผิด-ถูกของทิฏฐินั้นๆ ได้ด้วยตนเอง หลังจากที่ได้ปฏิบัต ิธัมมสมาธิ จนได้รับผลปรากฏแก่ใจของตน เราจึงถือว่า ความแน่ใจหลังจากการได้รับผล แห่งการปฏิบัติ เป็นเครื่องตัดสินความผิด-ถูกของธรรมอันเป็นเครื่องกังขาทั้งปวงได้.

ต่อจากนี้ ข้อได้ตรัสข้อความที่ปรารภ การแผ่จิต อันสหรคตด้วยกรุณา ด้วยมุทิตาด้วย อุเบกขา โดยทำนองเดียวกัน กับในกรณีแห่งเมตตา จนครบถ้วนทั้งสี่พรหมวิหารธรรมในที่สุด แห่งเทศนา นายบ้านชื่อปาฏลิยะ ได้สรรเสริญพระธรรม เทศนา และประกาศตนเป็นอุบาสกใน พระพุทธศาสนา).

(สัมมาทิฏฐิแห่งพระบาลีนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นสันทิฏฐิโกคือเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้ตัดสินความผิด - ถูกได้ด้วยตนเอง).

หน้า 1000
สรุปอานิสงส์ของสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุ ท. เราไม่มองเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูรณ์โดยยิ่ง เหมือน สัมมาทิฏฐิ นี้.

ภิกษุ ท. เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฏฐิแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ โดยยิ่ง.

(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์ แห่งสัมมาทิฏฐิ ว่าทำให้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่เกิดขึ้น อกุศลธรรม ที่เกิดอยู่แล้วเสื่อมสิ้นไป. ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นเหตุทำให้ ผู้ที่สมาทาน ประพฤติบริบูรณ์ มีกายกรรมวจีกรรม มโนกรรม เจตนา ปัตถนา ปณิธิ และสังขาร ที่ล้วนแต ่เป็นไป เพื่อประโยชน์ เกื้อกูลและความสุขที่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ. ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นเหตุให้หลุดพ้น จากทุกข์ทั้ง


หมวด ฉ. ว่าด้วยโทษของการขาดสัมมาทิฏฐิ


หน้า 1001
โทษที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิในการพูด

โลหิจจะ ผู้ใดกล่าวว่า โลหิจจพราหมณ์ปกครองบ้าน สาลวติกคาม ผลประโยชน์ใดเกิดขึ้น ทวีขึ้น ในบ้านสาลวติกคามโลหิจจพราหมณ์ผู้เดียว พึงบริโภคผลประโยชน์นั้น ไม่พึงให้แก่ชน เหล่าอื่นเลย” ดังนี้.

ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้กระทำอันตราย แก่หมู่ชนที่อาศัยโลหิจจพราหมณ์นั้นเป็นอยู่ (คือทำลายสิทธิอัน ชอบ ธรรมที่ประชาชนเหล่านั้นจะพึงได้รับ) เมื่อเป็นผู้กระทำอันตราย อยู่ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เอ็นดู ด้วยประโยชน์เกื้อกูล เมื่อไม่เอ็นดู ด้วยประโยชน์เกื้อกูลชื่อว่า เข้าไป ตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก เมื่อเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก ชื่อว่าเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ นี้ ฉันใด

โลหิจจะ ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น คือ ผู้ใดกล่าวว่า “สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ถึงทับซึ่งธรรม อันเป็น กุศลครั้นถึงทับซึ่งธรรม อันเป็นกุศลแล้ว ไม่พึงบอกแก่ผู้อื่นเพราะใครอื่นจักทำอะไร ให้แก่ใครได้ เปรียบเหมือนบุรุษตัดเครื่องจองจำอันเก่าแล้ว ไม่พึงกระทำเครื่องจองจำอันอื่น ขึ้นมาใหม่. ข้าพเจ้ากล่าวสัมปทาอย่างนี้นี้ว่า เป็นกรรมอันลามก คือสิ่งที่กระทำด้วยความ โลภเพราะใครอื่นจักทำอะไร ให้แก่ใครได้” ดังนี้.

(ข้อนี้ผู้กล่าวหมายความว่า เป็นการเสือกไปกระทำสิ่งนอกหน้าที่ ด้วยความโลภ แล้วทำความ ผูกพันใหม่ให้แก่ตน). บุคคลผู้กล่าวอยู่อย่างนี้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ทำอันตราย แก่บรรดากุลบุตร ผู้อาศัย ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศไว้แล้วถึงทับ ซึ่งคุณวิเศษอันโอฬารมีอย่างนี้เป็นรูป คือการกระทำ ให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผลบ้าง กระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลบ้าง กระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผลบ้าง กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลบ้าง รวมกระทั่งถึงคนจำพวกที่สะสมธรรม เพื่อครรภ์อัน เป็นทิพย์ เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ทั้งหลายเข้าไปด้วยกัน.

เมื่อเป็นผู้กระทำอันตรายอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เอ็นดูด้วยประโยชน์เกื้อกูล เมื่อไม่เอ็นดูด้วย ประโยชน์ เกื้อกูล ชื่อว่าเข้าไป ตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก เมื่อเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก ชื่อว่าเป็นผู้มี มิจฉาทิฏฐิ. โลหิจจะเอ๋ย เรากล่าวคติอย่าง หนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่าง คือนรก หรือ กำเนิดเดรัจฉาน ว่าเป็นคติสำหรับบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐินั้น.๑


หน้า 1002
ทิฏฐิซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการวิวาท

(สามจำพวก)
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะ มีความเห็นอย่างนี้ว่าสิ่งทั้งปวง ไม่ควรแก่ข้าพเจ้า”.อัคคิเวสสนะ (ถ้าอย่างนั้น) ความเห็นของท่านเองที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้าดังนี้ นั้นก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน (ด้วยเหมือนกัน).

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญความเห็น แม้โน้นของข้าพเจ้า ต้องควรแก่ข้าพเจ้าว่าความเห็นของ ข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้น ทีเดียว ความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้นทีเดียว (คือถูกต้อง) ดังนี้”.
…………………………………………………………………………………………

๑. ข้อนี้หมายความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า สามารถทำประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น จนได้บรรลุ มรรคผลหรือเข้าสู่โลก อันเป็นทิพย์ได้ ทำไมจึงมีมิจฉาทิฏฐิกล่าวว่า ใครอื่นจักทำอะไร ให้แก่ ใคร ได้ ผู้กล่าวเช่นนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำอันตราย ต่อบุคคลอื่น จึงจัดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ควรแก่คติ อย่างใด อย่างหนึ่งในบรรดาคติทั้งสอง นี้เรียกว่าโทษที่เกิดจาก มิจฉาทิฏฐิ ในการพูด.
…………………………………………………………………………………………

อัคคิเวสสนะเอ๋ย! มันมีมากกว่ามาก กว่านี้นัก ในโลกนี้ คือพวกที่กล่าวอยู่ว่า ความเห็นของ ข้าพเจ้านั้นเป็นเช่นนั้น ทีเดียวความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้นทีเดียว (คือถูกต้อง)” แล้วเขาไม่ละความเห็นนั้นเสีย แต่ไปทำความเห็นอื่นให้ เกิดขึ้นอีก.

อัคคิเวสสนะเอ๋ย มันมีน้อยกว่าน้อย กว่านี้นักในโลกนี้ คือพวกที่กล่าวอยู่ว่าความเห็นของ ข้าพเจ้านั้นเป็นเช่นนั้น ทีเดียว ความเห็นของข้าพเจ้านั้นเป็นเช่นนั้นทีเดียว (คือถูกต้อง)” แล้วเขาละความเห็นนั้นเสียได้ และไม่ทำความ เห็นอื่นให้เกิดขึ้นอีก.

อัคคิเวสสนะ มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “สิ่งทั้งปวง ควรแก่ ข้าพเจ้า” ดังนี้ก็มี. มีสมณ พราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้าดังนี้ก็มี. มี สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “สิ่งบางสิ่งควรแก่ข้าพเจ้า สิ่งบางสิ่งไม่ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้ก็มี.

อัคคิเวสสนะ ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ พวกที่มีวาทะ มีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่ข้าพเจ้าดังนี้นั้น เป็นทิฏฐิที่กระเดียดไปในทางมีความกำหนัด ย้อมใจ กระเดียดไปในทางประกอบตน (อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทางเพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็น ที่ตั้ง แห่งความเพลิน) กระเดียดไปในทางสยบมัวเมา และกระเดียดไปในทางเข้าไปยึดมั่นถือมั่น.

อัคคิเวสสนะ ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะ มีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้าดังนี้นั้น เป็นทิฏฐิที่กระเดียดไปในทางไม่มี ความ กำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางไม่ประกอบตน (อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทาง ไม่ เพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน) กระเดียดไปในทางไม่สยบมัวเมา และ กระเดียดไป ในทาง ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น.

พอพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้เท่านั้น ทีฆนขะปริพพาชกได้ร้องขึ้นเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า พระโคดมสนับสนุน ความเห็นของข้าพเจ้า. พระโคดมเชิดชูความเห็นของข้าพเจ้า.”

อัคคิเวสสนะ ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะ มีความเห็นว่า บางสิ่งควรแก่ ข้าพเจ้าบางสิ่งไม่ควรแก่ข้าพเจ้าดังนี้นั้น ทิฏฐิใดที่ว่า บางอย่าง ควรแก่เขาเหล่านั้นทิฏฐินั้นกระเดียดไปในทางม ความ กำหนัดย้อมใจ กระเดียด ไปในทาง ประกอบตน (อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทางเพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความ เพลิน) กระเดียดไปในทางสยบมัวเมา และกระเดียดไปในทางเข้าไปยึดมั่นถือมั่น.

ทิฏฐิใดที่ว่า บางอย่างไม่ควรแก่เขาเหล่านั้นทิฏฐินั้น ก็กระเดียดไปในทางไม่มีความกำหนัด ย้อมใจ กระเดียดไปในทาง ไม่ประกอบตน(อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทางไม่เพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน) กระเดียดไปในทาง ไม่สยบมัวเมา และกระเดียดไปในทาง ไม่เข้าไป ยึดมั่นถือมั่น.

อัคคิเวสสนะ ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา’ ดังนี้ มีอยู่. ในสมณ-พราหมณ์พวกนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญเห็น อย่างนี้ว่า ถ้าเราถือเอาทิฏฐิของพวกที่ถือว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ มากล่าวยืนยันอยู่ อย่างแข็งแรง ว่านี้เท่านั้นจริงอื่นเปล่าดังนี้ไซร้ การถือเอาอย่างขัดแย้ง กันต่อสมณพราหมณ์ อีกสองพวก ก็จะพึงมีแก่เรา คือขัดแย้งกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา และ กับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า บางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควรแก่เรา การถือเอาอย่าง ขัดแย้งกัน ต่อสมณพราหมณ์สอง พวกเหล่าโน้น ก็มีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้.  

เมื่อการถือเอาอย่างขัดแย้งกันมีอยู่ การวิวาทกันก็ย่อมมี เมื่อการวิวาทกันมี การพิฆาตกัน ก็ย่อมมี เมื่อการพิฆาตกันมี การเบียดเบียนกันก็ต้องมี ด้วยอาการอย่างนี้. บุรุษวิญญูชนนั้น เห็นอยู่ซึ่งการ ถือเอาอย่างขัดแย้งกัน การวิวาทกัน การ พิฆาตกันและการเบียดเบียนกัน อันจะเกิดขึ้นในตน อยู่ดังนี้ เขาก็ละทิฏฐินั้นเสีย และไม่ถือเอาทิฏฐิอื่นขึ้นมาอีก. การ ละเสีย การสลัดคืนเสีย ซึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

อัคคิเวสสนะ ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ มีอยู่. ในสมณพราหมณ์พวกนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญ เห็น อย่างนี้ว่า ถ้าเราถือเอาทิฏฐิของพวกที่ถือว่าสิ่ง ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ มากล่าวยืนยัน อยู่ อย่างแข็งแรง ว่า นี้เท่านั้นจริงอื่นเปล่า ดังนี้ไซร้

การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณพราหมณ์อีกสองพวก ก็จะพึงมีแก่เรา คือขัดแย้งกับ พวกที่มี วาทะ มีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา และกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า บางสิ่ง ควรแก่ เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา. การถือเอาอย่างขัดแย้ง กันต่อสมณพราหมณ์สอง พวกเหล่าโน้น ก็มีแก่เรา ด้วยอาการอย่างนี้.

เมื่อการถือเอาอย่างขัดแย้งกันมีอยู่ การวิวาทกันก็ย่อมมี เมื่อการวิวาทกันมี การพิฆาตกัน ก็ย่อมมี เมื่อการพิฆาตกันมี การเบียดเบียนกันก็ต้องมี. ด้วยอาการอย่างนี้. บุรุษวิญญูชนนั้น เห็นอยู่ซึ่งการ ถือเอาอย่างขัดแย้งกัน การวิวาทกัน การพิฆาตกัน และการเบียดเบียนกัน อันจะเกิดขึ้นในตน อยู่ดังนี้ เขาก็ละทิฏฐินั้นเสีย และไม่ถือเอาทิฏฐิอื่นขึ้นมาอีก. การละเสีย การสลัดคืนเสีย ซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

อัคคิเวสสนะ ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะมีความเห็นว่า บางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ มีอยู่. ในสมณพราหมณ์พวกนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าเราถือเอา ทิฏฐิของพวกที่ถือว่า บางสิ่งควรแก่เราบางสิ่งไม่ควร แก่เรา ดังนี้มากล่าวยืนยันอยู่อย่างแข็งแรง ว่า นี้เท่านั้นจริงอื่นเปล่า ดังนี้ไซร้ การถือเอา อย่างขัดแย้งกันต่อสมณพราหมณ์อีกสองพวก ก็จะพึงมีแก่เรา คือขัดแย้งกับพวกที่มีวาทะ มีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา และกับพวกที่ที่มีวาทะมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควร แก่เรา

การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณ-พราหมณ์สองพวกเหล่าโน้น ก็มีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้. เมื่อการถือเอาอย่างขัดแย้ง กันมีอยู่ การวิวาทกันก็ย่อมมี เมื่อการวิวาทกันมี การพิฆาตกัน ก็ย่อมมี เมื่อการพิฆาตกันมี การเบียดเบียนกันก็ต้องมี. ด้วยอาการอย่างนี้.

บุรุษวิญญูชนนั้น เห็นอยู่ซึ่งการถือเอาอย่างขัดแย้งกัน การวิวาทกัน การพิฆาตกันและการ เบียดเบียนกัน อันจะเกิดขึ้น ในตน อยู่ดังนี้ เขาก็ละทิฏฐินั้นเสีย และไม่ถือเอาทิฏฐิอื่น ขึ้นมาอีก. การละเสีย การสลัดคืนเสียซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.


หน้า 1006
มิจฉาทิฏฐิที่ว่าวิญญาณเป็นผู้ท่องเที่ยว

สาติ จริงหรือ ตามที่ได้ยินว่า เธอมี ทิฏฐิอันลามกเกิดขึ้นแล้วอย่าง นี้ว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตาม ที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้วว่า วิญญาณนี้นี่แหละย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่น ไม่” ดังนี้?"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง แล้ว เช่นนั้นว่า "วิญญาณนี้นี่แหละย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่นไม่" ดังนี้”.

สาติ ! วิญญาณนั้น เป็นอย่างไร?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญนั่น คือสภาพที่เป็นผู้พูดผู้รู้สึก (ต่อเวทนา) ซึ่งเสวยวิบากแห่งกรรมดี กรรมชั่ว. ในภพนั้นๆ".

โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ เมื่อแสดงแก่ใครเล่า.

โมฆบุรุษ เรา กล่าววิญญาณ ว่าเป็นปฏิจจ สมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) โดยปริยายเป็นอันมาก ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดแห่งวิญญาณมิได้มี ดังนี้มิใช่หรือ.

โมฆบุรุษ เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอชื่อว่า ย่อมกล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุด ตนเองด้วย ย่อมประสบ สิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย โมฆบุรุษ ! ข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความ ทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน ดังนี้.

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุท. แล้วตรัสว่า ภิกษุ ท. พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่า อย่างไร ภิกษุสาติเกวัฏฏ-บุตรนี้ ยังจะพอนับว่าเป็นพระสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ได้บ้างไหม?" จะเป็นได้อย่างไรพระเจ้าข้า ! หามิได้เลยพระเจ้าข้า !"

เมื่อภิกษุท. ทูลอย่างนี้แล้วภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตร ก็เงียบเสียงเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซา ไม่มีปฏิภาณนิ่งอยู่. พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้วได้ตรัสว่า

โมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกนั้นของตนเองแล เราจักสอบถามภิกษุ ท. ในที่นี้. (แล้วทรงสอบถามภิกษุ ท. จนเป็นที่ปรากฏว่า พระองค์มิได้ทรงแสดงธรรมดังที่สาติภิกษุกล่าว แล้วทรงแสดง การเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ โดยอาการแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ครบทั้ง ๖ อายตนะ).


หน้า 1008
โทษแห่งอันตคาหิกทิฏฐิสิบ

วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า โลกเที่ยงดังนี้ นั้น เป็นการจับยึดด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิคหณํ) เป็นความลำบากด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิกนฺตารํ) เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ(ทิฏฐิสูกํ) เป็นความโยกโคลงด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิวิปฺผนฺทิตํ) เป็นความรึงรัดด้วยทิฏฐิ(ทิฏฐิสญฺโญชนํ) เป็นไปกับด้วยทุกข์ (สทุกขํ) เป็นไปกับด้วยความยากลำบาก(สวิฆาต) เป็นไปกับด้วยความคับแค้น (สอุปายาสํ) เป็นไปกับด้วย ความเร่าร้อน(สปริฬาหํ) ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปด้วยความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เอาเสียเลย.(ในกรณีแห่งทิฏฐิที่เหลือนอกจากนี้ ก็ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียว กันทุกตัวอักษร กล่าวคือ )

วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “โลกไม่เที่ยง” ….ฯลฯ ….
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “โลกมีที่สุด” ….ฯลฯ ….
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “โลกไม่มีที่สุด” ….ฯลฯ ….
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น” …. ฯลฯ …
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น” ….ฯลฯ ….
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตายย่อมมีอีก” ….ฯลฯ ….
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตายย่อมไม่มีอีก”….ฯลฯ ….
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตายย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี” ….ฯลฯ ….
วัจฉะ ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตายย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” ดังนี้ นั้น

เป็นการจับยึดด้วยทิฏฐิ เป็นความลำบากด้วยทิฏฐิ เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ เป็นความโยกโคลง ด้วยทิฏฐิ เป็นความรึงรัดด้วยทิฏฐิ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความยากลำบาก เป็นไป ด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลาย กำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน เอาเสียเลย.

วัจฉะ เราเห็นอยู่ซึ่งโทษนี้ แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิที่มีอยู่เหล่านี้โดย ประการทั้งปวง.


หน้า 1009
อวิชชาเป็นตัวชักนำซึ่งองค์แปดแห่งมิจฉามรรค

ภิกษุ ท. อวิชชา เป็นสิ่งที่มาล่วงหน้า เพื่อความถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย อันติด ตามมา ด้วยอหิริกะและอโนตตัปปะ.

ภิกษุ ท. มิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้ถึงซึ่งอวิชชา ไม่มีความเห็นแจ้งมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาวาจา ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ
มิจฉากัมมันตะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาวาจา
มิจฉาอาชีวะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉากัมมันตะ
มิจฉาวายามะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาอาชีวะ มิจฉาสติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาวายามะมิจฉาสมาธิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาสติ.(เป็นอันว่า องค์แปดแห่งมิจฉามรรคหรือมิจฉัตตะ ย่อมมีครบบริบูรณ์. ในสูตรอื่น ได้ตรัสขยายออกไปอีก ๒ ข้อคือ )
มิจฉาญาณะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาสมาธิมิจฉาวิมุตติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาญาณะ).


หมวด ช. ว่าด้วยปกิณกะ


หน้า 1010
สัสสตทิฏฐิก็อยากอยู่ อุจเฉททิฏฐิก็อยากไปสัมมาทิฏฐิก็อยากดับ

ภิกษุ ท. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อันทิฏฐิสองอย่างห่อหุ้มแล้วบางพวก ทรุดลงอยู่ตรงนั้น บางพวก แล่นเตลิดไป ส่วน พวกที่มีจักษุ ย่อมเห็น (ตามที่เป็นจริง).

ภิกษุ ท. เทวดาและมนุษย์พวกที่ทรุดลงอยู่ที่ตรงนั้น เป็น อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. คือเทวดาและ มนุษย์ พวกที่มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินในภพ เมื่อบุคคลแสดงธรรมเพื่อ ความดับ ไม่เหลือแห่งภพแก่เทวดาและมนุษย์พวกนั้นอยู่ จิตของเขาก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ไม่น้อมไป. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้เรียกว่า พวกที่ทรุดลงอยู่ที่ตรงนั้น.

ภิกษุ ท. เทวดาและมนุษย์ พวกที่แล่นเตลิดไป เป็นอย่างไรเล่า? คือพวกที่อึดอัดอยู่ เอือมระอา อยู่ เกลียดอยู่ ด้วยภพ (แต่) เพลิดเพลินอย่างยิ่งอยู่กะวิภพ (ภาวะปราศจากภพ) ด้วยคิดว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย! ได้ยินว่าอัตตานี้ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ มิได้มีอยู่ภายหลังจากการตาย นั่นแหละเป็นภาวะสงบระงับ นั่นแหละ เป็นภาวะประณีต นั่นแหละ เป็นภาวะแน่นอนตายตัว” ดังนี้.  

ภิกษุ ท. อย่างนี้เรียกว่า พวกที่แล่นเตลิดไป.
ภิกษุ ท. ส่วน พวกที่มีจักษุ ย่อมเห็น (ตามที่เป็นจริง) เป็นอย่างไรเล่า? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นธรรมที่เกิดแล้วเป็นแล้ว โดยความเป็นสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้ว แล้วก็เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความ เบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับไม่เหลือ แห่งธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. อย่างนี้แลเรียก ว่า พวกที่มีจักษุย่อมเห็น (ตามเป็นจริง).

(โดยพระบาลี ทำให้เกิดความเข้าใจว่า พวกที่ทรุดลงอยู่ตรงนั้น คือพวก สัสตทิฏฐิพวกที่แล่น เตลิด เลยไปนั้น คือพวก อุจเฉททิฏฐิ ส่วนพวกที่เห็นตามที่เป็นจริง คือพวก สัมมาทิฏฐิ ต่างกัน อยู่ ดังนี้เป็นสามพวก ทั้งที่มีมูลมาจากเหตุอย่างเดียวกัน คือมีทิฏฐิสองอย่าง ห่อหุ้ม แล้ว ด้วยกัน).


หน้า 1012
คนรวยก็มีธรรมะได้(จิตนิยมและวัตถุนิยมก็อยู่ด้วยกันได้)

ภิกษุ ท. อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่าง ชื่อว่า ย่อมเจริญด้วย ความเจริญของ พระอริยเจ้า ด้วย และเป็นผู้ ถือเอาแก่นสาร และความประเสริฐทางฝ่ายกาย (วัตถุ) ได้ด้วย.
สิบอย่าง อย่างไรเล่า?  สิบอย่างคือ
ย่อมเจริญด้วยนาและสวน
ย่อมเจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
ย่อมเจริญด้วยบุตรและภรรยา
ย่อมเจริญด้วยทาสและกรรมกรที่เต็มขนาดแห่งบุรุษ
ย่อมเจริญด้วยสัตว์สี่เท้าย่อมเจริญด้วยสัทธา
ย่อมเจริญด้วยศีลย่อมเจริญด้วยสุตะ
ย่อมเจริญด้วยจาคะย่อมเจริญด้วยปัญญา.

ภิกษุ ท. อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่างเหล่านี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วย ความ เจริญของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสารและความประเสริฐทางฝ่ายกายได้ด้วย.


หน้า 1013
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตรภรรยา และสัตว์สี่เท้า บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นที่บูชาของญาติมิตรและแม้ของพระราชา.

บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยสัทธา ศีล ปัญญาจาคะ สุตะ อันเป็นความเจริญทั้งสองฝ่าย บุคคลเช่นนั้น เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาเห็นโดยประจักษ์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญทั้งสองฝ่าย ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้แล.

(พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถเจริญพร้อมกัน ไปได้ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ไม่ควร ถูกล้อว่าขนมปังแผ่นเดียวทาเนยทั้งสองหน้า ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของบุคคล ผู้รู้จักชีวิต แต่เพียงด้านเดียว จนกระทั่งพูดกันว่าถ้ารวยแล้วเป็นต้องโกง ไม่อาจมีธรรมะได้หรือ ถ้ามีธรรมะ แล้วจะรวยไม่ได้. พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า ความเจริญ ๕ อย่าง ข้างต้นเป็น ความเจริญ ทางโลก หรือทางวัตถุ ความเจริญ ๕ อย่างตอนหลังเป็นความเจริญทางธรรม ทางจิต ทางวิญญาณ ซึ่งมีทางที่จะสูงขึ้นไปได้ จนถึงการบรรลุมรรคผล หรืออย่างน้อยก็เป็น อริยบุคคล ซึ่งเที่ยงแท้ ต่อการบรรลุมรรคผล).


หน้า 1013-1
การใช้ความทุกข์ให้เป็นประโยชน์แก่บุถุชน

ภิกษุ ท. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควร พิจารณา ให้เห็นชัดอยู่เนืองๆว่า “เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้” ดังนี้?

ภิกษุ ท. ความมัวเมาในความหนุ่ม มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขามองเห็นชัดในข้อนี้อยู่เนืองๆ เขาย่อมละความมัวเมา ในความหนุ่ม โดยประการทั้งปวง หรือว่าบรรเทาลงได้. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเห็นชัดในข้อนี้อยู่เนืองๆว่า “เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ไปได้” ดังนี้.

(ในกรณีแห่งความ มัวเมาในความไม่มีโรค ก็ดี มัวเมาในชีวิต ก็ดี ความ มีฉันทราคะ ในสิ่งเป็น ที่รัก ก็ดี ความที่ ไม่รู้ว่ามีกรรมเป็นของตัว ก็ดี แล้วประกอบทุจริตโดยทวารทั้งสาม ก็ได้ตรัสไว้ โดยข้อความที่มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน. ข้อความนี้แสดงว่าพิจารณาทุกข์ให้เป็นประโยชน์ แก่บุถุชน.

สำหรับอริยสาวกนั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว มรรคย่อมเกิด เขาเสพเจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้นแล้ว ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็สิ้นไป).


หน้า 1014
ตรัสว่า ถ้าจะมีตัวตนกันบ้าง เอาร่างกายเป็นตัวตนดีกว่าจิต

ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลายกำหนัดได้บ้าง พึงปล่อยวาง ได้บ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ภิกษุ ท. ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้ง ซาก ไว้ ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแหง่ มหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่.

เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้ไม่ได้ มีการสดับ จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้างในกาย นั้น. ภิกษุ ท. ส่วนที่เรียกกันว่าจิต ก็ดี ว่า มโนก็ดี ว่า วิญญาณ ก็ดีบุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?

ภิกษุ ท. ข้อนั้นเพราะเหตุว่าสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่บุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ ได้ถึง ทับแล้ว ด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวางซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิต เป็นต้นนั้น.

ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนี้เป็น เพราะเหตุใดเล่า? ภิกษุ ท. !ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้างสองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่  

ภิกษุ ท. ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี นั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อยๆไป ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. สิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดีว่า “วิญญาณ” ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวัน ตลอดคืน.

(ความรู้จักพิจารณาว่า ถ้าจะมีตัวตนกันบ้าง เอากายเป็นตัวตนดีกว่าเอาจิตเป็นตัวตนเป็น สัมมาทิฏฐิ ในข้อที่ว่ารู้จักเลือก แต่ในที่นี้มิได้หมายความว่า กายนั้นเป็นตัวตนอันแท้จริง แต่ประการใด เป็นเพียงสัมมาทิฏฐิในการรู้จักแยกแยะและเลือกเท่านั้น).


หน้า 1016
การทำความรู้จักกับกาย ซึ่งมิใช่ของเราหรือของใครอื่น

ภิกษุ ท. กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น. ภิกษุ ท. กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต) เป็นสิ่งที่ปัจจัย ทำให้ เกิด ความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต) เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณได้ (เวทนีย).

ภิกษุ ท. ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม ทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความ เกิดขึ้น แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ …. ฯลฯ .... ฯลฯ .... ฯลฯ.... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ….ฯลฯ .... ฯลฯ .... ฯลฯ .... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้แล.


หน้า 1017
อุปมาแห่งการคำนวณความเป็นอนิจจัง

ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (อนิจฺจ) ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน (อธว) ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย เป็ นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ (อนสฺสาสิก). ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ท. ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔๐๐๐โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นจากผิวพื้นสมุทร ๘๔๐๐๐ โยชน์

ภิกษุ ท. มีสมัยซึ่งล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ที่ฝนไม่ตกเลย. เมื่อฝนไม่ตก (ตลอดเวลาเท่านี้).

ป่าใหญ่ๆอันประกอบด้วยพืชคามภูตคามไม้หยูกยาและหญ้าทั้งหลาย ย่อมเฉา ย่อมเหี่ยวแห้ง มีอยู่ไม่ได้ (นี้ฉันใด) ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ท. มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวง ที่สอง ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สองปรากฏแม่นํ้าน้อย หนอง บึง ทั้งหมดก็งวด แห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด) ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ท. มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ ดวงที่สาม ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สามปรากฏ แม่นํ้าสายใหญ่ๆ เช่นแม่น้ำ คงคายมุนา อจิรวดี สรภูมหี ทั้งหมดก็งวดแห้งไปไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด)

ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ท. มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สี่ ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สี่ปรากฏ มหาสระทั้งหลาย อันเป็นที่เกิดแห่งแม่น้ำใหญ่ๆ เช่นแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภูมหี มหาสระเหล่านั้นทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด)

ภิกษุ ท. !สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ท. มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่ห้า ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ห้าปรากฏ นํ้าในมหาสมุทรอันลึกร้อยโยชน์ ก็งวดลง น้ำในมหาสมุทรอันลึก สอง - สาม - สี่ -ห้า - หก - เจ็ดร้อยโยชน์ก็งวดลง เหลืออยู่เพียงเจ็ด ชั่วต้นตาล ก็มี เหลืออยู่เพียงหก - ห้า - สี่ - สาม - สอง กระทั่งหนึ่งชั่วต้นตาล ก็มี งวดลง เหลืออยู่เพียงเจ็ดชั่วบุรุษ ก็มี เหลืออยู่เพียง หก - ห้า - สี่ - สาม - สอง - หนึ่ง กระทั่งครึ่ง ชั่วบุรุษ ก็มี งวดลง เหลืออยู่เพียงแค่สะเอว เพียง แค่เข่า เพียง แค่ข้อเท้า กระทั่งเหลืออยู่ ลึกเท่านํ้า ในรอยเท้าโค ในที่นั้นๆเช่นเดียวกับน้ำในรอยเท้าโคเมื่อฝนเม็ดใหญ่เริ่มตกในฤดูสารท ลงมาในที่นั้นๆ.

ภิกษุ ท. เพราะการปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่ห้า นํ้าในมหาสมุทรไม่มีอยู่แม้สักว่าองคุลีเดียว. (นี้ฉันใด) ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้นสังขาร ทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ท. มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่หก ย่อมปรากฏ. เพราะความปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่หก มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ ก็มีควันขึ้น ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนเตาเผาหม้อ อันนายช่างหม้อสุมไฟแล้ว ย่อมมีควันขึ้นโขมง ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้นฉะนั้น (นี้ฉันใด) ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.


ภิกษุ ท. มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่เจ็ด ย่อมปรากฏ. เพราะความปรากฏแห่ง อาทิตย์ดวงที่เจ็ด มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีไฟ ลุก โพลงๆ มีเปลวเป็นอันเดียวกัน. เมื่อมหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ อันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่อย่างนี้ เปลวไฟถูกลมซัดขึ้นไป จนถึงพรหมโลก.

ภิกษุ ท. เมื่อขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาอยู่ไหม้อยู่ วินาศอยู่ อันกองไฟท่วมทับแล้ว ยอดทั้งหลาย อันสูงร้อยโยชน์บ้างสอง - สาม - สี่ - ห้าร้อยโยชน์บ้าง ก็พังทำลายไป.

ภิกษุ ท. เมื่อมหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุอันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่ ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ เหมือนเมื่อเนยใส หรือน้ำมันถูกเผา ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ฉะนั้น (นี้ฉันใด)  

ภิกษุ ท. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้นสังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ท. ในข้อความนั้น ใครจะคิด ใครจะเชื่อ ว่า “ปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ จักลุกไหม้ จักวินาศ จักสูญสิ้นไปได้” นอกเสียจาก พวกมีบทอันเห็นแล้ว.


หน้า 1020
รู้จักเลือก สังฆทานดีกว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานประจำสกุลวงศ์ข้าพระองค์ ยังให้อยู่แต่ว่าทานนั้น ข้าพระองค์ให้ เฉพาะ หมู่ภิกษุ ผู้เป็นอรหันต์ หรือปฏิบัติอรหัตตมรรค ที่อยู่ป่าที่ถือบิณฑบาต ที่ถือผ้าสุกุล เป็นวัตร"

คหบดี ข้อที่จะรู้ว่าคนเหล่านี้เป็นพระอรหันต์หรือปฏิบัติอรหัตตมรรคนั้น เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก สำหรับ ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกาม ผู้ยังมีการนอนเบียดบุตร บริโภคใช้สอยกระแจะจันทน์ และผ้าจาก เมืองกาสี ทัดทรงมาลาและเครื่องกลิ่น และเครื่องผัดทา ยินดีอยู่ด้วยทองและเงิน.

คหบดี ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าเป็นผู้ ฟุ้งซ่าน ถือตัว กลับกลอก พูดมาก มีวาจา ไม่แน่นอน มีสติลืมหลง ปราศจากสัมปชัญญะไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์อันปล่อย แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้น ควรถูกติเตียนด้วย องค นั้นๆ.

คหบดี ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ป่ าเป็นวัตร ถ้าเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่านไม่ถือตัว ไม่กลับกลอก ไม่พูดมาก มีวาจาแน่นอน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะมีสมาธิ มีเอกัคคตาจิต สำรวมอินทรีย์ : ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้นอันใครๆควรสรรเสริญ ด้วยองค์นั้นๆ.

คหบดี ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ใกล้บ้าน ก็ดี .... บิณฑบาตเป็นวัตร ก็ดี .... ฉันในที่นิมนต์ ก็ดี .... ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็ดี ... นุ่งห่มคหบดีจีวร ก็ดี ถ้าเป็นผู้ ฟุ้งซ่าน ถือตัว กลับกลอก พูดมาก มีวาจาไม่แน่นอน มีสติลืมหลง ปราศจาก สัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์อันปล่อยแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้น ควรถูกติเตียนด้วยองค์นั้นๆ.

คหบดี ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ใกล้บ้าน ก็ดี .... บิณฑบาตเป็นวัตรก็ดี .... ฉันในที่นิมนต์ ก็ดี .... ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็ดี ... นุ่งห่มคหบดีจีวรก็ดี ถ้าเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่กลับกลอก ไม่พูดมาก มีวาจาแน่นอน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีสมาธิ มีเอกัคคตาจิต สำรวมอินทรีย์ :

ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้นอันใครๆ ควรสรรเสริญด้วยองค์นั้นๆ. เอาละ คหบดี ท่านจงถวาย ทาน ในสงฆ์เถิด เมื่อท่านถวายทานในสงฆ์อยู่ จิตจักเลื่อมใส ท่านเป็นผู้มีจิตอันเลื่อมใสแล้ว ภายหลัง แต่การตายเพราะการทำลาย แห่งกาย จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! จำเดิมแต่วันนี้ไปข้าพระองค์จะถวายทานในสงฆ์"

(ข้อความทั้งหมดนี้แสดงว่า พระองค์ทรงแนะให้ถวายทานด้วยตั้งใจว่า ถวายแก่สงฆ์ คือถวาย เป็น “สังฆทาน” อย่าไปเห็นว่าถวายแก่พระบ้านหรือพระป่า พระบิณฑบาตฉันหรือพระฉัน ในที่นิมนต์ พระจีวรดำ หรือพระจีวรเหลือง และไม่อยู่ในวิสัยที่คฤหัสถ์สามารถตัดสินเอาว่า องค์ไหนเป็น พระอรหันต์ องค์ไหนไม่เป็น ดังนั้น จึงทรงแนะให้ทำในใจว่า “ถวายแก่สงฆ์” เป็นสังฆทาน ดีกว่า)


หน้า 1023
อาการที่อวิชชาทำให้มีการเกิดดับแห่งสังขาร

ภิกษุ ท. เมื่อกาย (กายทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) มีอยู่ สุข และทุกข์อันเป็นภายในย่อม เกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางกาย) เป็นเหตุ ภิกษุ ท. หรือว่า เมื่อวาจา (วจีทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางวาจา) เป็นเหตุ

ภิกษุ ท.! หรือว่า เมื่อมโน (มโนทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็น ภายใน ย่อม เกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางใจ) เป็นเหตุ

ภิกษุ ท. อนึ่ง เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นแหละ บุคคลย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร (อำนาจ ที่ให้เกิด การปรุงแต่งทางกาย) อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน ด้วยตนเอง ก็มี หรือว่า เหตุปัจจัยอะไรอื่นเป็นเหตุให้บุคคลปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขาอยู่ก็มี หรือว่า บุคคล รู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆอยู่ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตนอยู่ก็มี หรือว่า บุคคล ไม่มีความรู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆ อยู่ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตนอยู่ก็มี.

ภิกษุ ท. หรือว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นแหละ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร (อำนาจ ที่ให้เกิดการปรุงแต่งทางวาจา) อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน ด้วย ตนเอง ก็มี หรือว่า เหตุปัจจัยอะไรอื่น เป็นเหตุให้บุคคลปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา อยู่ก็มี หรือว่า บุคคล รู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆอยู่ ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี หรือว่า บุคคล ไม่มีความรู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆอยู่ ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอัน เป็นปัจจัย ให้สุข และทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี.

ภิกษุ ท. หรือว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นแหละ บุคคลย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร (อำนาจ ที่ให้เกิดการปรุงแต่งทางวาจา) อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน ด้วย ตนเอง ก็มี หรือว่า เหตุปัจจัยอะไรอื่น เป็นเหตุให้บุคคลปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา อยู่ก็มี หรือว่า บุคคล รู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆอยู่ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี หรือว่า บุคคล ไม่มีความรู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆอยู่ ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี.

ภิกษุ ท. อวิชชา เป็นตัวการที่แทรกแซงอยู่ในธรรมทั้งหลาย (ทั้งสิบสองประการ) เหล่านี้. (คือหมวด กายสังขารสี่ หมวดวจีสังขารสี่ และหมวด มโนสังขารสี่ดังที่กล่าวแล้ว).

ภิกษุ ท. เพราะความจางคลายดับไม่เหลือแห่งอวิชชา นั้น นั่นเทียว กาย (กายทวาร ที่ทำหน้าที่ อยู่ด้วยอวิชชา)

นั้น ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้น แก่เขา วาจา (วจีทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา)

นั้น ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและ ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา มโน (มโนทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา)

นั้น ก็ไม่มีเพื่อ ความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา เขตต์ (กรรมที่เปรียบเสมือนเนื้อนา สำหรับงอก)

ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา วัตถุ (พืชเพื่อการงอก)

ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา อายตนะ (การสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการงอก)

ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้นแก่เขา อธิกรณะ (กรรมเป็นเครื่องกระทำให้เกิดการงอก)

ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา .


หน้า 1025
รายละเอียดที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องกรรม

ภิกษุ ท. กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ.

เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
วิบาก (ผลสุกวิเศษ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม)
เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ.
คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า?

ภิกษุ ท. เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว
ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ภิกษุ ท. นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือผัสสะ.

ภิกษุ ท. เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. กรรมที่ทำให้เสวยในนรก มีอยู่
กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์เสวยในมนุษยโลก มีอยู่
กรรมที่ทำสัตว์เสวยในเทวโลก มีอยู่

ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ
วิบากใน ทิฏฐธรรม  (คือทันควัน) หรือว่า
วิบากใน อุปะปัชชะ  (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า
วิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก).
ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. กัมมนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ความดับแห่งกรรม ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ๑ .
อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. เมื่อใด อริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้ รู้ชัด
ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกรรม อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งกัมมนิโรธ อย่างนี้
รู้ชัดซึ่งกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ อริยสาวกนั้น
ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

ภิกษุ ท. ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น
เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว. (ความรู้เรื่องกรรม มีลักษณะเป็น สัมมาทิฏฐิ ดังนั้นจึงนำมารวมไว้ในที่นี้).
……………………………………………………………………………………
๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นใจความสำคัญที่สุด ในตอนนี้ ที่ตรัสว่า แดนเกิดแห่งกรรมคือผัสสะ แดนดับแห่งกรรม ก็คือผัสสะ ซึ่งแสดงว่า กรรมเกิดและดับ ในอัตภาพนี้ อยู่ซ้ำๆซากๆ ดังนั้น วิบากแห่งกรรม จึงมีได้ในอัตภาพนี้อย่างซ้ำๆ ซากๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิด ทิฏฐธรรม หรือ อุปะปัชชะ หรือ อปรปริยายะ ซึ่งมักจะเข้าใจกันไปว่า สองชนิดหลังนั้นจะมีต่อตายเข้าโลง ไปแล้วเท่านั้น ความถูกต้องในเรื่องนี้ จะเป็นอย่างไร ขอจงพิจารณาดูเถิด.
……………………………………………………………………………………
เห็นผิดจากธรรมชาติ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งมรรคผล
ภิกษุ ท. ภิกษุนั้นหนอ เมื่อ ตามเห็นสังขารไรๆโดยความเป็นของเที่ยงอยู่
จักเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยอนุโลมิกขันติ

(ความสมควรแก่อนุโลมิกญาณ) ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบพร้อมด้วย อนุโลมิกขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระเบียบแห่งความถูกต้อง) ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ เมื่อไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามอยู่ จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผลหรือสกทาคามิผล
อนาคามิผล อรหัตตผล ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้


หน้า 1027
(ปฏิปักขนัย - ฝ่ายตรงกันข้าม)

ภิกษุ ท. ภิกษุนั้นหนอ เมื่อ ตามเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ประกอบพร้อมด้วย อนุโลมิกขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้เมื่อหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามอยู่ จักกระทำ ให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผล หรือสกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ .

(ในกรณีแห่ง การ เห็นสังขารเป็นสุข เป็นทุกข์ เห็นธรรมเป็น อัตตา เป็นอนัตตาก็มีข้อความ ที่ตรัสไว้ในสูตรถัดๆไป โดยนัยอย่างเดียวกัน. การเห็นสังขารเป็นของเที่ยง เป็นสุข เห็นธรรมเป็น อัตตานั้นเรียกว่าเห็นผิดจากธรรมชาติ ส่วนการเห็นโดยนัยตรงกันข้ามเรียกว่า เห็นถูกตาม ธรรมชาติ. ความสมควรแก่อนุโลมิกญาณ คือความสมควรแก่การที่จะเห็นแจ้ง อริยสัจสี่ ตามที่เป็นจริง. ระเบียบแห่งความถูกต้องคือความถูกต้อง ตามสัมมัตตะ ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งการบรรลุมรรคผล).

นิทเทศ๑๔
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ
จบ



นิทเทศ ๑๕ ว่าด้วยสัมมาสังกัปปะ
(มี๑๙เรื่อง)

หมวด ก. ว่าด้วยอุทเทศ-วิภาคของสัมมาสังกัปปะ

หน้า 1029
อุทเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุ ท. อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

หน้า 1029-1
สัมมาสังกัปปะโดยปริยายสองอย่าง
(โลกิยะ - โลกุตตระ)

ภิกษุ ท. สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. เรากล่าวแม้สัมมาสังกัปปะว่ามีอยู่ โดยส่วนสอง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่ สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อานาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็น อย่างไร เล่า? คือเนกขัมมสังกัปปะ อัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ ภิกษุ ท. นี้คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.

ภิกษุ ท. สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระเป็ นองค์แห่งมรรค นั้นเป็น อย่างไรเล่า? คือ ตักกะ๑ วิตักกะ สังกัปปะ อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา และ วจีสังขาร๑ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้มีอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่ง อริยมรรค. ภิกษุ ท. นี้คือ สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.

หน้า 1030
วิตกโดยปริยายสองอย่าง
(เพื่อนิพพาน - ไม่เพื่อนิพพาน)

ภิกษุ ท. อกุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้ เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอดไม่เป็นเครื่องกระทำ ให้เกิด จักษุ ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ กระทำซึ่งความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความ คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. สามอย่าง อย่างไรเล่า? สามอย่างคือ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก.

ภิกษุท. อกุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้แล เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิด จักษุ ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ กระทำซึ่งความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความ คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. กุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด เป็นเครื่องกระทำให้เกิด จักษุ เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ กระทำซึ่ง
…………………………………………………………………………………………..

๑-๑. คำเหล่านี้ทุกคำ มีความหมายเป็นความแน่วแน่แห่งจิตในอารมณ์ ที่จิตกำหนดในรูปแห่ง ความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง และทำหน้าที่ปรุงแต่งการพูดด้วย คือ ตักกะ = ตริตรึกวิตักกะ = วิตก สังกัปปะ = ดำริ อัปปนา = แน่วแน่ ทยัปปนา=อย่างวิเศษ เจตโสอภินิโรปนา = งอกงามแห่ง ความคิดถึงที่สุดของจิต วจีสังขาร = สิ่งปรุงแต่งการพูด.
…………………………………………………………………………………………..

ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.สามอย่าง อย่างไรเล่า? สามอย่างคือ เนกขัมมวิตก อัพ๎ยาปาทวิตก อวิหิงสา-ตก. ภิกษุ ท. กุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้แล ไม่เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด เป็น เครื่องกระทำให้เกิดจักษุ เป็นเครื่อง กระทำ ให้เกิดญาณ กระทำซึ่งความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อ นิพพาน.


หน้า 1031
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

พึงวิตกกุศลวิตก ๓ ประการ ไม่พึงทำอกุศลวิตก ๓ ประการให้เกิดขึ้น ท่านระงับวิตกอันแผ่ซ่าน เสียได้ เหมือนฝนระงับฝุ่นอันฟุ้งขึ้น. ท่านมีจิตอันสงบจากวิตก ถึงทับสันติบทในโลกนี้ทีเดียว.


หน้า 1031-1
บุคคลเกี่ยวกับเนกขัมมะ ประเภท

ภิกษุ ท. บุคคล ๔ จำพวก เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.
สี่จำพวก อย่างไรเล่า? สี่จำพวก คือ
กายออกแต่จิตไม่ออก
กายไม่ออกแต่จิตออก

กายก็ไม่ออกจิตก็ไม่ออก
กายก็ออกจิตก็ออก.

ภิกษุ ท. บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ออกแต่จิตไม่ออก เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ บุคคลบางคน เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบในที่นั้นๆ เขา วิตกซึ่งกามวิตกบ้าง ซึ่งพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งวิหิงสาวิตกบ้าง.
ภิกษุ ท. อย่างนี้แล บุคคลที่กายออกแต่จิตยังไม่ออก.

ภิกษุ ท. บุคคลที่ชื่อว่า กายไม่ออกแต่จิตออก เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท. ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบในที่นั้นๆ เขา วิตกซึ่งเนกขัมมวิตกบ้าง ซึ่งอัพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่ง อวิหิงสาวิตกบ้าง.
ภิกษุ ท. อย่างนี้แล บุคคลที่กายไม่ออกแต่จิตออก.

ภิกษุ ท. บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ไม่ออกจิตก็ไม่ออก เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ ในที่นั้นๆ เขา วิตกซึ่งกามวิตกบ้าง ซึ่งพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่ง วิหิงสาวิตกบ้าง.
ภิกษุ ท. อย่างนี้แล บุคคลที่กายก็ไม่ออกจิตก็ยังไม่ออก.

ภิกษุ ท. บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ออกจิตก็ออก เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ บุคคลบางคน เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ ในที่นั้นๆ เขา วิตกซึ่งเนกขัมมวิตกบ้าง ซึ่งอัพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งอวิหิงสาวิตกบ้าง.
ภิกษุ ท. อย่างนี้แล บุคคลที่กายก็ออกจิตก็ออก.

ภิกษุ . ! บุคคล จำพวกเหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.



หมวดข. ว่าด้วยลักษณะของสัมมาสังกัปปะ


หน้า 1032
อริยสัจจวิตกในฐานะสัมมาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. เธอทั้งหลาย อย่าวิตกถึงอกุศลวิตกทั้งหลายอันเป็นบาปกล่าวคือ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุท. เพราะเหตุว่า วิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นอาทิพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. เธอทั้งหลาย เมื่อจะวิตก พึงกระทำวิตกต่อสัจจะที่ว่า " นี้ คือ ทุกข์ นี้ คือ เหตุให้เกิด ทุกข์ นี้ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ คือทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์" ดังนี้.

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท. เพราะเหตุว่า วิตกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ วิตกเหล่านี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ วิตกเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบรำงับ เพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า "ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้" ดังนี้.


หน้า 1033
อริยสัจจจินตนาในฐานะสัมมาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. เธอทั้งหลาย อย่ากระทำจินตนาซึ่งความคิดอันเป็นบาป อกุศลว่า โลกเที่ยงหรือ ว่าโลกไม่เที่ยง ว่าโลกมีที่สุดหรือว่า โลกไม่มีที่สุด ว่าชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้นหรือว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ว่าตถาคตภายหลังแต่การตายย่อมมีอีกหรือว่า ตถาคตภายหลังแต่ การตาย ย่อมไม่มีอีก ว่า ตถาคตภายหลังแต่การตายย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มีห รือว่า ตถาคตภายหลัง แต่การตายย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ภิกษุ ท. เพราะเหตุว่า จินดาเหล่านี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นอาทิพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อความ รู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. เธอทั้งหลาย เมื่อจะทำจินตนา พึงกระทำจินตนาต่อสัจจะที่ว่า “นี้ คือ ทุกข์ นี้ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ คือ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท. เพราะเหตุว่า จินดาเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ จินดาเหล่านี้ เป็นอาทิพรหมจรรย์ จินดาเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบรำงับ เพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท. เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้” ดังนี้.



หมวด ค. ว่าด้วยอุปกรณ์ของสัมมาสังกัปปะ

หน้า 1035
สิ่งควรทราบเกี่ยวกับอกุศลสังกัปปะ

ดูก่อนถปติ อกุศลสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? กามสังกัปปะพ๎ยาปาทสังกัปปะ วิหิงสาสังกัปปะ : เหล่านี้ เรากล่าวว่า อกุศลสังกัปปะ.

ถปติ อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน (ที่สำหรับตั้งขึ้น) ? สมุฏฐานแห่งอกุศล สังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว เป็นสิ่งที่ควรจะกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน.

สัญญา เป็นอย่างไรเล่า? แม้สัญญา ก็มีมาก มิใช่อย่างเดียว มีนานาประการ อกุศลสังกัปปะ ทั้งหลาย มีสมุฏฐานมาจากกามสัญญา จากพยาปาทสัญญา จากวิหิงสาสัญญา.

ถปติ อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ จะดับไม่มีส่วนเหลือ ในที่ไหน? ความดับแห่งอกุศลสังกัปปะ เหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว.

ถปติ ในกรณีนี้ ภิกษุ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกและวิจาร มีปิติ และสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ในปฐมฌานนั้น.

ถปติ ผู้ปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะทั้งหลาย?  

ถปติ ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็น บาป ที่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว.

ถปติ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะทั้งหลาย.


หน้า 1036
สิ่งควรทราบเกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ

ดูก่อนถปติ กุศลสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า? เนกขัมมสังกัปปะอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสา สังกัปปะ เหล่านี้เรากล่าวว่า กุศลสังกัปปะ.ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน (ที่สำหรับตั้งขึ้น) ? สมุฏฐานแห่งกุศลสังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว เป็นสิ่งที่ควรจะกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน.

สัญญา เป็นอย่างไรเล่า? แม้สัญญา ก็มีมาก มิใช่อย่างเดียว มีนานาประการ กุศลสังกัปปะ ทั้งหลาย มีสมุฏฐานมาจากเนกขัมมสัญญา อัพ๎ยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา.

ถปติ กุศลสังกัปปะเหล่านี้ จะดับไปไม่มีส่วนเหลือ ในที่ไหน? ความดับไม่เหลือแห่งกุศล สังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว.

ถปติ ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบรำงับแห่งวิตกวิจารเสียได้เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. กุศลสังกัปปะเหล่านี้ ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ในทุติยฌานนั้น.

ถปติ ผู้ปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะทั้งหลาย? ถปติ ในกรณีนี้ ภิกษุ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

ถปติ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะทั้งหลาย.

หน้า 1037
เนกขัมมะแท้มีได้ เพราะได้รู้รสของสิ่งที่ประเสริฐกว่ากามรส

มหานาม กามทั้งหลาย ให้เกิดความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน เพราะ กามนั้นมีเป็นอย่างยิ่ง แม้ข้อนี้จะเป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้ว ด้วยดีด้วยปัญญา อันชอบตาม ที่เป็นจริง ก็ตาม แต่เขายังไม่(เคย) ถึงทับปีติและสุขอันเว้นจากกาม อันเว้นจาก อกุศลธรรม ทั้งหลาย หรือไม่ถึงทับความสุขอย่างอื่นที่สงบระงับกว่ากามนั้น แล้ว เขาจะเป็นผู้ ไม่เวียน กลับไปสู่กามทั้งหลายนั้น ยังเป็นไปไม่ได้

มหานาม ถ้าเมื่อใด อริยสาวก เห็นด้วยดีด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ในข้อนั้น ว่า กาม ทั้งหลาย ให้เกิดความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในเพราะกามนั้นมีเป็น อย่างยิ่ง ดังนี้ด้วย และเธอก็ (ได้) ถึง ทับปิ ติและสุขอันเว้นจากกาม อันเว้นจากอกุศล ทั้งหลาย หรือ ถึงทับความสุขอย่างอื่นที่สงบระงับกว่ากามนั้น ด้วย เมื่อนั้น เธอนั้น ก็จะไม่เวียนกลับไปสู่ กามทั้งหลายอีก.

(ต่อจากนี้ ได้ตรัสเล่าถึงเหตุการณ์ทำนองนี้ ที่เกิดแก่พระองค์ในระยะก่อนการตรัสรู้ เป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง).



หมวด ง. ว่าด้วยหลักการปฏิบัติของสัมมาสังกัปปะ

หน้า 1038
วิธีพิจารณาเพื่อเกิดสัมมาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ ขึ้นว่า เราพึงทำวิตกทั้งหลายให้เป็นสองส่วนเถิด. ภิกษุ ท. เราได้ทำ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ให้เป็นอีกส่วนหนึ่ง ได้ทำ เนกขัมมวิตก อัพ๎ยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ ให้เป็นอีกส่วนหนึ่งแล้ว.


หน้า 1038-1
ก. โทษแห่งมิจฉาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้กามวิตก เกิดขึ้น เราก็รู้ชัด อย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว กามวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและผู้อื่น) บ้าง เป็นไปเพื่อความดับ แห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่ง ความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท. เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่ ....ฯลฯ๑.... อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้.

ภิกษุ ท. เราได้ละและบรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุด ได้แล้ว (ในกรณีแห่ง พ๎ยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตก ก็มีแนวแห่งการพิจารณาอย่างเดียวกัน กับในกรณี แห่ง กามวิตก ไปจนกระทั่งถึงคำว่า ..... กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.).

ภิกษุ ท. ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ ถ้าภิกษุ ตรึกตามตรองตามถึง กามวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละเนกขัมมวิตกเสีย กระทำแล้ว อย่างมาก ซึ่งกามวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม (กามวิตก).  

ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง พยาปาทวิตก มาก ก็เป็นอันว่า ละอัพยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้ว อย่างมากซึ่ง พยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท (พ๎ยาปาทวิตก). ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง วิหิงสาวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึก ในการทำสัตว ์ให้ลำบาก (วิหิงสาวิตก).

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือ เดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโคต้องเลี้ยง ฝูงโค ในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจากข้าวกล้านั้น ด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษคือการถูกประหารการถูกจับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้น เป็นเหตุ ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษ ความเลวทราม เศร้าหมองแห่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่ง กุศลธรรมทั้งหลาย.


หน้า 1039
ข. คุณแห่งสัมมาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดขึ้น ....๑ อัพยาปาทวิตก ย่อมเกิดขึ้น .... อวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็อวิหิงสา-วิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือ เบียดเบียน ทั้งสองฝ่าย แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่าย แห่งความ คับแค้น เป็นไปพร้อม เพื่อนิพพาน. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตก นั้นตลอดคืน ก็มองไม่เห็น ภัย ที่จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.

แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้น ตลอดวัน หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มอง ไม่เห็น ภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.

ภิกษุ ท. ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก กายก็เมื่อยล้า เมื่อกายเมื่อยล้า จิต ก็อ่อนเพลีย เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิเพราะเหตุนั้น เราจึงดำรงจิตให้หยุดอยู่ใน ภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเราประสงค์อยู่ว่า จิตของเรา อย่าฟุ้งขึ้นเลยดังนี้.

ภิกษุ ท. ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ ถ้าภิกษุ ตรึกตรองตามถึง เนกขัมมวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมาก ซึ่ง เนกขัมมวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการออกจากกาม (เนกขัมมวิตก). ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึงอัพยาปาทวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละพ๎ยาบาทวิตกเสีย กระทำแล้ว อย่างมากในอัพยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท (อัพยาปาทวิตก) ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึง อวิหิงสาวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมาก ในอวิหิงสาวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการ
ไม่ยังสัตว์ ให้ลำบาก (อวิหิงสาวิตก)

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมด เขาขนนำไปในบ้าน เสร็จแล้ว คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้งๆ พึงทำแต่ ความกำหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด ภิกษุ ท. ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลาย ดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน.
------------------------------------------------------------------------------------
๑. ที่ละด้วยจุดนี้ หมายความว่าตรัสทีละวิตก แต่คำตรัสเหมือนกันหมด ผิดแต่ชื่อเท่านั้น ทุกๆวิตก มีเนื้อความอย่างเดียวกัน จะใส่เต็มเฉพาะอวิหิงสาวิตก ซึ่งเป็นวิตกข้อสุดท้ายเท่านั้น สำหรับสองวิตกข้างต้น ก็มีแนวแห่งการพิจารณาและรู้สึกอย่างเดียว กันกับในกรณีแห่ง อวิหิงสาวิตก.
----------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1041
อาการเกิดแห่งเนกขัมมสังกัปปะ

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ. คฤหบดี หรือว่า คฤหบดีบุตร หรือบุคคลผู้เกิดแล้วในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในภายหลัง ย่อมไดฟั้งซึ่งธรรมนั้น.

บุคคลนั้นๆ ครั้นได้ฟังแล้วย่อมได้ซึ่งสัทธาใน ตถาคต มาตามพร้อมแล้วด้วยการได้สัทธาใน ตถาคตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็น โอกาสว่าง มิใช่เป็นการง่าย ที่จะอยู่ครองเรือนแล้วประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วน เดียว ดุจสังข์อันขัดดีแล้ว ถ้ากระไร เราจะพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกจากเรือน บวชสู่ความไม่มีเรือนเถิด” ดังนี้บุคคลนั้น ครั้นถึงสมัยอื่น ละโภคะน้อยใหญ่ ละวงค์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกบวชจากเรือนสู่ความ ไม่มีเรือน.

ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้ว ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ถึงพร้อม ด้วยมรรยาท และโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษ แม้มีประมาณน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรม อันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ.


หน้า 1042
วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ

ภิกษุ ท. ภิกษุผู้ประกอบฝึกฝนเพื่อบรรลุอธิจิต พึงกระทำในใจ ถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลา อันสมควร. ห้าประการ อย่างไรเล่า? ห้าประการคือ

วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ - ประการที่

ภิกษุ ท. เมื่อภิกษุในกรณีนี้ อาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่งนิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น ภิกษุนั้น พึง ละนิมิตนั้นเสียกระทำในใจ ซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบอยู่ด้วยกุศล.

เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจถึงนิมิตอื่นนอกไปจากนิมิตนั้น อันประกอบอยู่ด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตก อันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอ ก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนช่างทำแผ่นไม้กระดาน หรือลูกมือของเขาผู้ฉลาด ตอก โยก ถอนลิ่ม อันใหญ่ออกเสียได้ ด้วยลิ่มอันเล็ก นี้ฉันใด ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ภิกษุนั้นอาศัย นิมิต แห่งกุศล เพื่อละเสียซึ่งนิมิตแห่งอกุศล ทำจิตให้เป็นสมาธิได้).


หน้า 1043
วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ-ประการที่

ภิกษุ ท. ถ้าแม้ภิกษุนั้น ละนิมิตนั้นแล้ว กระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตก อันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้างด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้ภิกษุนั้น พึง เข้าไปใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตก เหล่านั้น ว่า “วิตกเหล่านี้เป็นอกุศล” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ ประกอบไปด้วยโทษ” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ มีทุกข์เป็นวิบาก” ดังนี้บ้าง.

เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบ อยู่ด้วย ฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้ง อยู่ไม่ได้ เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม ชอบการประดับตกแต่ง เมื่อถูกเขาเอาซากงู ซากสุนัข หรือซากคน มาแขวนเข้าที่คอ ก็จะรู้สึกอึดอัด ระอา ขยะแขยง นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นอึดอัด ระอา ขยะแขยง ต่อโทษของอกุศลวิตกอยู่).


หน้า 1044
วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ - ประการที่

ภิกษุ ท. ถ้าแม้ภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็น บาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้างด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่น เอง ดังนี้แล้วไซร้ ภิกษุนั้น อย่าพึงระลึกถึง อย่าพึงกระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น อยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไปย่อมถึงซึ่งการ ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนบุรุษมีตา แต่ไม่ต้องการจะเห็นรูปอันมา สู่คลองแห่งจักษุ เขาก็จะหลับ ตาเสีย หรือจะเหลียวมองไปทางอื่นเสีย นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นจะไม่ทำการระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจถึงอกุศล วิตก เหล่านั้น).


หน้า 1045
วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ-ประการที่

ภิกษุ ท. ถ้าแม้ภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตก อันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้างด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้ภิกษุนั้น พึง กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐาน แห่ง การปรุงแต่งแห่งวิตกของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้น.

เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตก ทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้.

เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนบุรุษเดินเร็วๆ แล้วฉุกคิดว่า เราจะเดินเร็วๆไปทำไม เดินค่อยๆดีกว่า เขาก็เดินค่อยๆ แล้วฉุกคิดว่า จะเดินค่อยๆไปทำไมยืนเสียดีกว่า เขาก็ยืน แล้วฉุกคิดว่า จะยืนไป ทำไม นั่งลงเสียดีกว่า เขาก็นั่งลง แล้วก็ฉุกคิดว่า จะนั่งอยู่ทำไม นอนเสียดีกว่า เขาก็นอน

ภิกษุ ท. อย่างนี้แหละที่บุรุษนั้นเปลี่ยนอิริยาบถหยาบๆ มาเป็นอิริยาบถละเอียดๆ นี้ฉันใด ภิกษุ ท. !ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น พิจารณารูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่ง แห่งวิตกไป ตามลำดับๆ).


หน้า 1045-1
วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ - ประการที่

ภิกษุ ท. ถ้าแม้ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตก ทั้งหลายเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้ ภิกษุนั้น พึง ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง.

เมื่อภิกษุนั้นกระทำอยู่ดังนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้างด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตก เหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง จับบุรุษอ่อนแอที่ศีรษะที่คอหรือที่ลำตัว แล้วข่มขี่ บีบคั้น ทำให้เร่าร้อนเป็นอย่างยิ่ง นี้ ฉันใด ภิกษุ ท. ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น ข่มขี่จิตด้วย จิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิตให้เป็นอย่างยิ่ง).


หน้า 1046
ผลสำเร็จแห่งการกำจัดอกุศลวิตก

ภิกษุ ท. ในกาลใดแล เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่ง นิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็น บาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น.

เมื่อภิกษุนั้นละนิมิตนั้นกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการ ตั้ง อยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายใน นั่นเทียว.

เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบ อยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นจิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอก ผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.

เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบ อยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้างเหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นจิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดีเป็นธรรมเอก ผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

เมื่อภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้างเหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึง ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับ อยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐาน แห่งการปรุงแต่งแห่งวิตกของอกุศลวิตก เหล่านั้นอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้างด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอ ก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

เมื่อภิกษุนั้น ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิต ด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่งอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไปย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตก เหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้มีอำนาจในคลองแห่งชนิดต่างๆของวิตก เธอประสงค์จะตรึก ถึงวิตกใด ก็ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ประสงค์จะตรึงถึงวิตกใด ก็ไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ เธอนั้น ได้ตัด ตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะรู้เฉพาะ ซึ่งมานะ โดยชอบ แล.