เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  05 of 11  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  การดำรงชีพสุจริต มิได้มีเฉพาะเรื่องปัจจัยสี่ 1125     เพียรละอกุศลแข่งกับความตาย 1156
  อุทเทสแห่งสัมมาวายามะ 1127     (สัญญาสิบ อีกปริยายหนึ่ง) 1158
  ปธานสี่ ในฐานะแห่งสัมมาวายาโม 1128     การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย 1158-1
  ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ 1129     การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย(อีกนัยหนึ่ง) 1161
  ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ(อีกนัยหนึ่ง) 1130     บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร 1163
  ไวพจน์ของสัมมาวายามะ คือสัมมัปปธาน 1132     อุปสรรคของการประกอบสัมมาวายามะ 1164
  ปธานสี่ ในฐานะสัมมัปปธาน 1132-1     ก. เครื่องตรึงจิต ๕ ที่่ภิกษุยังละไม่ได้ 1165
  การทำความเพียร ดุจผู้บำรุงรักษาป่า 1134     ข. เครื่องผูกพันจิต ๕ อย่างที่ภิกษยังตัดขาดไม่ได้ 1166
  ความสังเวชเป็นเหตุให้ปรารภความเพียร 1135     ข้อแก้ตัวของคนขี้เกียจ 1168
  บุพพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อสิ้นอาสวะ 1137     สมัยที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำความเพียร 1171

       
  บุพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อสิ้นอาสวะ(อีกนัยะ 1139     ผู้อยู่อย่างคนมีทุกข์ก็ทำกุศลรรมให้เต็มเปี่ ยมได้ 1173
  อินทรีสังวรเป็นอุปกรณ์แก่สัมมาวายามะ 1141     ในการละกิเลสแม้ชั้นสูง ก็ยังมีการอยู่เป็นสุข 1173-1
  เวทนาสามเกี่ยวกับความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล 1142     เพียงแต่รู้ชัดอริยสัจ สัมมาวายามะยังไม่ใช่ถึงที่สุด 1174
  การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์ 1143     อุทเทสแห่งสัมมาสติ 1176
  ๒. การเสพวจีสมาจาร 1144     สติปัฏฐานสี่ เป็นเอกายนมรรค 1176-1
  ๓. การเสพมโนสมาจาร 1146     ลักษณะแห่งความมีสติสัมปชัญญะของภิกษุ 1177
  ๔. การเสพจิตตุปบาท 1147     สัมมาสติ ในฐานะเครื่องทำตนให้เป็นที่พึ่ง 1178
  ๕. การเสพสัญญาปฏิลาภ 1148     สติปัฏฐานสี่ เป็นโคจรสำหรับสมณะ 1180
  ๖. การเสพทิฏฐิปฏิลาภ 1148-1     สติปัฏฐานสี่ ที่ส่งผลถึงวิชชาและวิมุตติ 1180-1
  ๗. การเสพอัตตภาวปฏิลาภ 1149     แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก 1181
     
 
  ๘. การเสพอารมณ์หก 1149-1     แบบการเจริญอานาปานสติ(แบบที่หนึ่ง) 1182
  ๙. การเสพปัจจัยสาม 1150     แบบการเจริญอานาปานสติ(แบบที่สอง) 1184
  ๑๐.-๑๓ การเสพคาม – นิคม -นคร - ชนบท 1150-1     การเจริญสติปัฏฐานของคนฉลาด 1185
  ๑๔. การเสพบุคคล 1151     ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสติ 1186
  ชาคริยานุโยคคือส่วนประกอบของความเพียร 1151-1     ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ แก่อานาปาน(นัยที่หนึ่ง) 1187
  ศิลปะแห่งการปลุกเร้าความเพียร 1152     ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ แก่อานาปาน(นัยที่สอง) 1188
  ผู้มีลักษณะควรประกอบความเพียร 1155     ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ แก่อานาปาน(นัยที่สาม) 1189
        ฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ ๑๙ ฐาน 1190



       

 

   

 

 
 
 





หมวด จ. ว่าด้วย ปกิณณกะ

1125
การดำรงชีพสุจริต
มิได้มีเฉพาะเรื่องปัจจัยสี่

ภิกษุ ท. ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ เป็นผู้สงบเสงี่ยมเต็มที่อยู่ได้ อ่อนน้อมถ่อมตนเต็มที่อยู่ได้ เยือกเย็น เต็มที่ อยู่ได้ เพียงชั่วเวลาที่ถ้อยคำอันไม่น่าพอใจ มากระทบเท่านั้น ก็เมื่อใด ถ้อยคำอันไม่น่าพอใจมากระทบอยู่ ก็ยังสงบเสงี่ยมอยู่ได้ นั่นแหละจึงเป็นที่รู้กันได้ว่าสงบ เสงี่ยมจริง ยังอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ได้ จึงจะอ่อนน้อมถ่อมตนจริง ยังเยือกเย็นอยู่ได้ จึงจะว่า เยือกเย็นจริง.

ภิกษุ ท. ภิกษุใด เป็นผู้ว่าง่าย หรือถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เพราะเหตุเพื่อจะได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช เราไม่กล่าวภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ว่าง่ายเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชอยู่ ก็จะไม่เป็น ผู้ว่าง่าย ไม่ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย.

ภิกษุ ท. ส่วนภิกษุใด สักการะธรรมะอยู่ เคารพธรรมะอยู่ นอบน้อมธรรมะอยู่ เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็น ผู้ว่าง่าย อยู่ : นั่นแหละเรากล่าวว่าผู้ว่าง่ายแท้จริง.

ภิกษุ ท. เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึง ทำการศึกษาสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้สักการะธรรมะอยู่ เคารพธรรมะอยู่ นอบน้อมธรรมะอยู่ เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย” ดังนี้.

นิทเทศ๑๘

ว่าด้วยสัมมาอาชีวะ
จบ



นิทเทศ ๑๙ ว่าด้วย สัมมาวายามะ
(มี ๒๖ เรื่อง)
หมวดก. ว่าด้วยอุทเทศ-วิภาคของสัมมาวายามะ



1127
อุทเทสแห่งสัมมาวายามะ


ภิกษุ ท. สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจ ให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็น บาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้ เกิดขึ้น
        ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความ เพียรประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้
        ย่อมทำความพอใจ ให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
        ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็ม รอบแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุ ท. อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.


1128
ปธานสี่
ในฐานะแห่งสัมมาวายาโม

ภิกษุ ท. ปธาน อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน.

ภิกษุ ท. สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น. ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า สังวรปธาน

ภิกษุ ท. ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณี นี้ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. นี้เรียกว่าปหานปธาน

ภิกษุ ท. ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น. ภิกษุ ท. นี้เรียกว่าภาวนาปธาน.

ภิกษุ ท. อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุ ท. นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.
ภิกษุ ท. เหล่านี้แล ปธาน ๔ อย่าง

หมวด. ว่าด้วยลักษณะ-ไวพจน์-อุปมาของสัมมาวายามะ


1129
ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ


ภิกษุ ท. เมื่อภิกษุ เดินอยู่ ถ้า เกิดมี กามวิตก หรือ พยาปาทวิตก หรือ วิหิงสา วิตกขึ้นมา และภิกษุนั้นก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้เดินอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว(ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตน ในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.

ภิกษุ ท. เมื่อภิกษุ ยืนอยู่ ถ้า เกิดมีกามวิตกหรือ พยาปาทวิตกหรือวิหิงสาวิตกขึ้นมา และภิกษุนั้นก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้ยืนอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว(ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.

ภิกษุ ท. เมื่อภิกษุ นั่งอยู่ ถ้า เกิดมีกามวิตกหรือ พยาปาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ขึ้นมา และภิกษุนั้นก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นั่งอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว(ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.

ภิกษุ ท. เมื่อภิกษุ นอนตื่นอยู่ ถ้า เกิดมีกามวิตกหรือ พ๎ยาปาท-วิตกหรือวิหิงสาวิตกขึ้นมา และภิกษุนั้น ก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นอนตื่นอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว(ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.


1130
ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ

(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมแล้ว มีปาติโมกข์พร้อมแล้ว สำรวมด้วยการสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่ดังนี้แล้ว ยังมีกิจอะไรที่เธอทั้งหลายต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า ?

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุแม้ เดินอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพ๎ยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว ความเพียรเป็นธรรม ที่เธอปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติเป็นธรรมอันเธอ เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง กายสงบรำงับแล้ว ไม่กระวนกระวาย จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว.

ภิกษุ ท. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้เดินอยู่ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็ นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุ แม้ยืนอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพ๎ยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว ความเพียรเป็นธรรมที่เธอ ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเป็นธรรมอัน เธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง กายสงบรำงับแล้ว ไม่กระวนกระวาย จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว.

ภิกษุ ท. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้ยืนอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็ นทาสของกิเลส) เป็ นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุแม้ นั่งอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพ๎ยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว ความเพียรเป็นธรรม ที่เธอปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติเป็นธรรมอัน เธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว.

ภิกษุ ท. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นั่งอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุแม้ นอนตื่นอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพ๎ยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว ความเพียรเป็นธรรม ที่เธอปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติเป็นธรรม อันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว.

ภิกษุ ท. ภิกษุที่เป็ นเช่นนี้ แม้นอนตื่นอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาส ของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.


1132
ไวพจน์ของสัมมาวายามะ
คือสัมมัปปธาน

ภิกษุ ท. สัมมัปปธาน อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ สี่อย่าง อย่างไรเล่า ?
สี่อย่างคือ ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ :-

๑. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียรประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะ ยัง อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น.

๒. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียรประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อ ละ อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว.

๓. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียรประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อ ยัง กุศลธรรม ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น.

๔. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียรประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อ ความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้นความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่ง กุศลธรรม ท. ที่บังเกิดขึ้นแล้ว.


1132-1
ปธานสี่
ในฐานะสัมมัปปธาน

ภิกษุ ท. ปธาน อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน.

ภิกษุ ท. สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุใน กรณีนี้ เห็นรูปด้วยตา แล้ว ไม่เป็น ผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบ ถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็น ผู้ถือเอา ในลักษณะที่เป็นการถือเอา โดยแยกเป็นส่วนๆ อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคล ผู้ไม่สำรวมอยู่ ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตา ใด เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวม ในอินทรีย์ คือตา (ในกรณีแห่งอินทรีย์คือ หู อินทรีย์คือ จมูก อินทรีย์คือ ลิ้น อินทรีย์คือ กาย และอินทรีย์คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า สังวรปธาน.

ภิกษุ ท. ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุใน กรณีนี้ ไม่รับเอาไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดเสีย ทำให้ถึงความไม่มีซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว.... ซึ่งพ๎ยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว .... ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว .... ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ. ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า ปหานปธาน.

ภิกษุ ท. ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญซึ่ง สติสัมโพชฌงค์ .... ซึ่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ .... ซึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์ ..... ซึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์ .... ซึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ .....ซึ่งสมาธิสัมโพชฌงค์ ..... ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน (แต่ละอย่างๆ) อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง. ภิกษุ ท. นี้เรากล่าวว่า ภาวนาปธาน.

ภิกษุ ท. อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมตามรักษาซึ่งสมาธินิมิตอัน เจริญ ที่เกิดขึ้นแล้ว (คือรักษาความสำคัญรู้ในภาวะของซากศพต่างๆกัน ๖ ชนิด) คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญาวิปุพพกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา.๑ ภิกษุ ท. นี้เราเรียกว่า อนุรักขนาปธาน.

ภิกษุ ท. ปธาน ๔ อย่าง เหล่านี้ แล.


1134
การทำความเพียร ดุจผู้บำรุงรักษาป่า


ภิกษุ ท. เธอทั้งหลาย จงละอกุศลเสีย จงทำการประกอบความเพียรอย่างทั่วถึง ในกุศลธรรมทั้งหลาย. ด้วยการกระทำอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุ ท. เปรียบ เหมือนที่ไม่ไกลจากบ้าน หรือนิคม มีป่าสาละใหญ่ภูมิภาค ปกคลุมไปด้วย ต้นเอลัณฑะ. เกิดมีบุรุษคนใด คนหนึ่ง หวังประโยชน์เกื้อกูล ความปลอดภัย แก่ป่าสาละนั้น เขาได้ตัดต้นสาละเล็กๆ คดๆ งอๆ ที่คอย แย่งอาหาร ออกไปทิ้งเสียภายนอก ชำระบริเวณภายในให้ราบเตียน บำรุงรักษาต้นสาละเล็กๆที่ตรง ที่งอกงามดี เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. ด้วยอาการอย่างนี้โดยสมัยอื่น ป่าสาละนั้น ก็ถึงซึ่งความเจริญงอก งามไพบูลย์ ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เธอทั้งหลาย จงละอกุศลเสีย จงทำการประกอบ ความเพียร อย่างทั่วถึงในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ด้วยการกระทำอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.

หมวด. ว่าด้วยอุปกรณ์-เหตุปัจจัยของสัมมาวายามะ


1135
ความสังเวชเป็นเหตุให้ปรารภความเพียร


ภิกษุ ท. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ จำพวก เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.
สี่จำพวก เหล่าไหนเล่า ? สี่จำพวก คือ :-

๑. ภิกษุ ท. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคน ในกรณีนี้ ได้ยินว่า"ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึง ความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา"ดังนี้ แล้ว เขาก็สังเวช ถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่ม ตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็น แจ้ง แทงตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชา ไนยตัวเจริญที่พอเห็นเงาของปฏักก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.

๒. ภิกษุ ท. จำพวกอื่นยังมีอีก : บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคม โน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา แต่เขาได้เห็นหญิง หรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือ ทำกาลกิริยาด้วยตนเอง เขาก็สังเวชถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียร โดยแยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทง ตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนย ตัวเจริญ ที่ถูกเขาแทงด้วยปฏักที่ขุมขนแล้ว ก็สังเวช ถึงความสลดใจ ฉะนั้น.

๓. ภิกษุ ท. จำพวกอื่นยังมีอีก : บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคม โน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา ทั้งเขาไม่ได้ เห็นหญิง หรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง แต่ญาติ หรือสาโลหิตของ เขาเป็นผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา เขาก็สังเวชถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีตน ส่งไปในแนวธรรมะ ย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกายและเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. เรากล่าวบุรุษ อาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนย ตัวเจริญที่ถูกเขาแทง ด้วยปฏัก ที่หนังก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.

๔. ภิกษุ ท. จำพวกอื่นยังมีอีก : บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคม โน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา และเขาไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขาเป็นผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา แต่ว่า เขาเองถูกต้องแล้วด้วยทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ ซึ่งกล้าแข็ง แสบเผ็ดไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะ นำชีวิตไปเสีย เขาก็สังเวชถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดย แยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจ ะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอด ด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญ ที่ถูกเขาแทงด้วยปฏักถึงกระดูก ก็สังเวชถึงความสลดใจฉะนั้น.

ภิกษุ ท. เหล่านี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก ซึ่งมีอยู่หาได้ อยู่ในโลก.

(ข้อความข้างบนนี้แสดงให้เห็นว่า ยิ่งมีความสลดสังเวชในเหตุการณ์ที่เป็น ที่ตั้งแห่ง ความสลดสังเวช มากเท่าไร ก็ยิ่งมีกำลังใจเพื่อจะทำความเพียรมากขึ้นเท่านั้น).


1137
บุพพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อความสิ้นอาสวะ


ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกว่า "เราจักเป็ นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน"ดังนี้เถิด.

ภิกษุ ท. ภิกษุเป็ นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็ นอย่างไรเล่า? ภิกษุท. เปรียบเหมือนชายหนุ่ม หญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์หมด จดใส สะอาด ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม ก็ยินดีพอใจ ว่า เป็นลาภหนอ บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือจะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า :-

เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีอภิชฌา หรือไม่มีอภิชฌา
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตพยาบาท หรือไม่มีจิตพยาบาท
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่ หรือปราศจากถีนมิทธะ
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีความฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีวิจิกิจฉา หรือหมดวิจิกิจฉา
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย เป็ นผู้มักโกรธ หรือไม่มักโกรธ
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตเศร้าหมอง หรือไม่มีจิตเศร้าหมอง
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีกายอันเครียดครัดในการปฏิบัติธรรม หรือมีกายไม่ เครียดครัด
เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย เป็ นผู้เกียจคร้าน หรือเป็ นผู้ปรารภความเพียรเรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตตั้งมั่น หรือไม่มีจิตตั้งมั่นดังนี้.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท ถีนมิทธะกลุ้มรุม ฟุ้งซ่าน มีวิจิกิจฉามักโกรธ มีจิตเศร้าหมอง มีกายเครียดครัด เกียจคร้าน มีจิตไม่ตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อละเสียซึ่งธรรม อันเป็น บาปอกุศล เหล่านั้น เช่นเดียวกับบุคคล ผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะ อันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำ ฉันทะวายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้า หรือที่ศีรษะนั้นเสีย ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท ปราศจากถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ฟุ้งซ่าน หมดวิจิกิจฉา ไม่มักโกรธ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีกายไม่เครียดครัด ปรารภความเพียรมีจิตตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วประกอบโยคกรรม๑ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.
..............................................................................................................
๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่งๆ เพื่อให้สำเร็จ ประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันง่ายๆว่า โยคะ เป็นคำกลางใช้กันได้ในระหว่างศาสนาทุกศาสนา.
…………………………………………………………………………………………………………………………


1139
บุพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อความสิ้นอาสวะ

(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกว่า เราจักเป็ นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตนดังนี้เถิด.

ภิกษุ ท. ภิกษุเป็ นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตนเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุท. เปรียบเหมือนชายหนุ่ม หญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์ หมดจดใส สะอาด ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม ก็ยินดีพอใจ ว่า เป็นลาภหนอ บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือจะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า :-

“เราเป็นผู้ได้ เจโตสมถะในภายใน๑ หรือหนอ
หรือว่า ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน.
เราเป็นผู้ ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา๒ หรือหนอ;
หรือว่า ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.” ดังนี้.
…………………………………………………………………………………………………………………………………..
๑. คำนี้ หมายถึงความสงบแห่งจิตด้วยอำนาจของสมาธิ ที่เป็นไปถึงที่สุดแห่งขั้นตอนที่ อาจใช้เป็น รากฐาน แห่งวิปัสสนาได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตจึงเรียกว่า เป็นไปในภายใน.
๒. การเห็นแจ้งในธรรมด้วยอำนาจปัญญาอันยิ่ง ถึงขนาดเห็นความจริงในขั้นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสิ่งนั้นๆ.

………………………………………………………………………………………………………………………………….
ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า "เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ยังไม่ได้ อธิปัญญาธัมม วิปัสสนา" ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในเจโตสมถะในภายในแล้ว ประกอบโยคกรรมเพื่อการได้ อธิปัญญ ธัมมวิปัสสนา.ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่นก็เป็นผู้ได้ เจโตสมถะในภายในด้วย ได้อธิปัญญาธัมม-วิปัสสนาด้วย.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า "เราเป็นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาในภายใน แต่ยังไม่ได้เจโต สมถะในภายใน" ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วประกอบโยคกรรม เพื่อการ ได้เจโตสมถะในภายใน. ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่น ก็เป็นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย ได้เจโต-สมถะ ในภายในด้วย.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า "เรายังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่ได้ อธิปัญญาธัมม วิปัสสนา" ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และ สัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรม ทั้งหลายเหล่านั้น นั่นเทียว เช่นเดียวกับบุคคลผู้มี เสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ วายามะอุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และ สัมปชัญญะ อันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่นอีก ก็เป็นผู้ ได้เจโตสมถะในภายในด้วยด้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ได้อธิปัญญา ธัมมวิปัสสนา” ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วประกอบ โยคกรรมเพื่อความสิ้นอาสวะ ทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.


1141
อินทรีสังวรเป็นอุปกรณ์แก่สัมมาวายามะ
(ส่วนที่เป็
นการพากเพียรปิ ดกั้นการเกิดอกุศล)

มหาราช ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตา แล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือ เอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยก เป็นส่วนๆ อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคล ผู้ไม่ สำรวม อยู่ซึ่ง อินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.

(ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีคือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์ คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).


1142
เวทนาสามเกี่ยวกับความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล


ท่านผู้จอมเทพ เรา กล่าวโสมนัสว่ามีสอง อย่างคือ โสมนัสที่ควรเสพ และโสมนัสที่ไม่ควรเสพ. กล่าวโทมนัสว่ามีสอง อย่างคือ โทมนัสที่ควรเสพ และโทมนัสที่ไม่ควรเสพ. กล่าว อุเบกขาว่ามีสอง อย่างคือ อุเบกขาที่ควร เสพ และอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ.

บุคคลรู้โสมนัสใดว่าเมื่อเสพอยู่ อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ดังนี้แล้ว โสมนัสอย่าง นี้ไม่ควรเสพ. บุคคลรู้โสมนัสใดว่าเมื่อเสพอยู่ อกุศลเสื่อมกุศลเจริญ ดังนี้แล้ว โสมนัส อย่างนี้ควรเสพ. ในบรรดา โสมนัสที่ควรที่ควรเสพนั้น มีทั้งโสมนัสที่มีวิตกมีวิจาร และ โสมนัสที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เป็นโสมนัสที่ประณีตกว่า. ท่านผู้จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสว่ามีสองอย่างคือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โทมนัส และอุเบกขา ก็มีหลักเกณฑ์ที่ตรัสไว้อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่ง โสมนัส. ที่กล่าวว่า ‘ไม่ควรเสพเพราะทำให้อกุศลเจริญ’ นั้นหมายถึงเวทนาที่ เกิดจาก การครองเรือน. ที่กล่าวว่า ‘ควรเสพเพราะทำให้กุศลเจริญ’ นั้น หมายถึง เวทนาที่อาศัย เนกขัมมะ ไม่เกี่ยวข้องกับเรือน. ที่กล่าวว่า ‘มีวิตกวิจาร’ นั้น หมายถึงเวทนาที่เกิดจากการ ปฏิบัตินับตั้งแต่ปฐมฌานลงมา. ที่กล่าวว่า ‘ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร’ นั้น หมายถึงเวทนาที่เกิด จาก การปฏิบัตินับตั้งแต่ทุติยฌานขึ้นไป. ถ้าบุคคลเกี่ยวข้องกับ เวทนาทั้งสามนี้ อย่างถูกต้อง การทำความเพียรเพื่อละอกุศล และเจริญกุศล จักเป็นไปโดยง่าย).


1143
การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์
แก่ความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล


. การเสพกายสมาจาร

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจาร (การประพฤติประจำทางกาย)ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารชนิดนี้บุคคลไม่ควรเสพ. สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจารชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญ กายสมาจารชนิดนี้บุคคลควรเสพ.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณี นี้เป็นผู้มีปาณาติบาตเป็นพรานมีมือ เปื้อนเลือด วุ่นอยู่แต่การประหัตประหาร ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ มีชีวิต และเป็นผู้ ถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้าน ก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือประพฤติผิด ในหญิง ทั้งหลาย ที่มีมารดารักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษา พี่น้องชายรักษาพี่น้อง หญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้ที่สุดแต่หญิงที่มีผู้สวมมาลาหมั้นไว้. สารีบุตร เมื่อเสพกายสมาจารชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้และ ศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาหวัง ประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายและ เป็นผู้ ละอทินนาทาน เว้นขาดจากจาก อทินนาทาน ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ อันเจ้าของ ไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่า ก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย และเป็นผู้ ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเม สุมิจฉาจาร คือไม่ประพฤติผิดในหญิงทั้งหลายที่มีมารดารักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษาพี่น้อง ชายรักษา พี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้สุดแต่หญิงที่มีสวม มาลาหมั้นไว้. สารีบุตร เมื่อเสพกายสมาจารชนิดนี้แลอกุศลธรรมย่อมเสื่อมกุศลธรรมย่อม เจริญ.


1144
๒. การเสพวจีสมาจาร


สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งวจีสมาจาร (การประพฤติ ประจำทางวาจา) ชนิดไหนเล่า ?

สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็น พยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าไปอย่างนั้น ”บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็บอกว่าเห็น เห็นก็บอกว่าไม่เห็น ดังนี้

กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้างเพราะเหตุเห็นแก่อามิสสิน จ้างบ้าง และ เป็นผู้ กล่าวคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตก จากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่าย โน้นแล้ว เก็บมาบอกฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น ทำคนที่ พร้อม เพรียงกันอยู่ให้แตกจากกันอุดหนุน ส่งเสริมคนที่แตกกันอยู่แล้วให้แตกจากกันยิ่งขึ้น

เป็นคนชอบในการเป็นพวกยินดีในการเป็นพวก เป็นคนพอใจในการเป็นพวก กล่าวแต่วาจา ที่ทำให้เป็น พวก และเป็นผู้ กล่าววาจาหยาบ เป็นวาจาทิ่มแทง กักขฬะ เผ็ดร้อน ขัดใจ ผู้อื่น กลัดกลุ้มอยู่ด้วยความ โกรธ ไม่เป็นไปด้วยสมาธิ

และเป็นผู้ กล่าววาจาเพ้อเจ้อ ไม่กล่าวตามกาลอันควร ไม่กล่าวตามเป็นจริง ไม่กล่าวโดย อรรถ ไม่กล่าว โดยธรรม ไม่กล่าวโดยวินัย กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละไม่ถูก เทศะ ไม่มีที่จบ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์. สารีบุตร เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้แล อกุศล ธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง วจีสมาจาร ชนิดไหนเล่า ?

สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้เป็นผู้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุม ก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลาง ราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ว่าไปอย่างนั้น” เขานั้นเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ เห็นก็ บอกว่าเห็น ไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น ดังนี้ ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุ แห่งผู้อื่นบ้างเพราะเหตุเห็นแก่อามิส สินจ้างบ้าง

และเป็นผู้ ละปิสุณวาจา เว้นขาดจากปิสุณวาจา ได้เว้นขาดจากปิสุณวาจาได้ฟังจาก ฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บ ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่เก็บ มาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจาก ฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้ว ให้กลับพร้อมเพรียง กัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อม เพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อม เพรียง ยินดีในการพร้อมเพรียง พอใจในการพร้อมเพรียง กล่าว แต่วาจาที่ทำให้พร้อม เพรียงกัน

และเป็นผู้ ละผรุสวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของ มหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่

และเป็นผู้ ละสัมผัปปลาวาท เว้นขาดจากสัมผัปปลาวาท กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจาที่มีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วย ประโยชน์สมควรแก่เวลา.

สารีบุตร เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.


1146
๓. การเสพมโนสมาจาร


สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งมโนสมาจาร (การประพฤติ ประจำทางใจ) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มาก ด้วยอภิชฌาเพ่งต่อทรัพย์และ อุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็น ของเรา ดังนี้ และเป็นผู้มีจิตพยาบาทมีความดำริแห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย ว่า “ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงวินาศ อย่าได้มีอยู่” ดังนี้ สารีบุตร เมื่อเสพมโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญกุศลธรรม ย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง มโนสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา ไม่เพ่งต่อ ทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ ของผู้อื่น ว่า“ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็นของเรา” ดังนี้ และเป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริ แห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย โดยมีความรู้สึก อยู่ว่า “ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความลำบาก จงมีสุข บริหาร ตนอยู่เถิด” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพมโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมกุศลธรรม ย่อมเจริญ.


1147
๔. การเสพจิตตุปบาท


สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง จิตตุปบาท (ความมักเกิดขึ้น แห่งจิต) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มาก ด้วยอภิชฌามีจิตสหรคตด้วย อภิชฌาอยู่ เป็นผู้ มีพยาบาทมีจิตสหรคต ด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ มีวิหิงสามีจิตสหรคตด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพจิตตุปบาท ชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งจิตตุปบาท ชนิดไหนเล่า? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่เป็ นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มี พยาบาท มีจิตไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตไม่สหรคตด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพจิตตุปบาทชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.


1148
๕. การเสพสัญญาปฏิลาภ


สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง สัญญาปฏิลาภ (การได้ความ หมายมั่นเฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌาอยู่ด้วย สัญญาอันสหรคตด้วยอภิชฌา เป็นผู้ มีพยาบาทอยู่ด้วยด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยพยาบาท เป็นผู้ มีวิหิงสา อยู่ด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยวิหิงสา สารีบุตร เมื่อเสพสัญญาปฏิลาภชนิดนี้ แล อกุศลธรรม ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งสัญญาปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ไม่เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ ไม่มีพยาบาท มีสัญญาไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยด้วยวิหิงสา อยู่. สารีบุตร เมื่อเสพสัญญาปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.


1148-1
๖. การเสพทิฏฐิปฏิลาภ


สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ (การได้ทิฏฐิ เฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกอื่น ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มีโอปปาติกะสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพทิฏฐิปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญกุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว มี(ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี โลกนี้ มี โลกอื่นมี มารดา มี บิดา มี โอปปาติกะสัตว์ มี สมณพราหมณ์ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพทิฏฐิปฏิลาภชนิดนี้ แลอกุศล ธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.


1149
๗. การเสพอัตตภาวปฏิลาภ


สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง อัตตภาวปฏิลาภ (การได้ อัตตภาพเฉพาะชนิด) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร เมื่อบุคคลเกิดด้วยการได้อัตตภาพ ที่ยังประกอบด้วย ทุกข์ เพราะภพของเขายังไม่สิ้นไป อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งอัตตภาวปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร เมื่อบุคคลเกิดดว้ยการได้อัตตภาพที่ไม่ประกอบด้วยทุกข์ เพราะภพของเขาสิ้นไป อกุศลธรรม ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.


1149-1
๘. การเสพอารมณ์หก


สารีบุตร เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งดว้ ยจักษุชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งดว้ ยจักษุชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ควรเสพ.

(ในกรณีแห่งอารมณ์ห้าที่เหลือ คือเสียง ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่น ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูกรส ที่พึงรู้แจ้ง ด้วย ลิ้น โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ ตรัสไว้ ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุข้างบนนี้).


1150
๙. การเสพปัจจัยสาม


สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอัน บุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอัน บุคคล ควรเสพ. (ในกรณีแห่งปัจจัย คือ บิณฑบาต และ เสนาสนะ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ ได้ตรัสไว้ทำนอง เดียวกันกับในกรณีแห่ง จีวร ข้างบนนี้).


1150-1
๑๐.-๑๓
การเสพคาม – นิคม -นคร - ชนบท

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม (หมู่บ้าน) ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ควรเสพ.

(ในกรณีแห่งปัจจัย คือ นิคม - นคร - ชนบท ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ตรัสไว้ ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง คาม ข้างบนนี้ ).


1151
๑๔. การเสพบุคคล


สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญกุศลธรรมเสื่อมบุคคลชนิดนี้เป็นบุคคล อันบุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญบุคคลชนิดนี้เป็นบุคคล อันบุคคล ควรเสพ.


1151-1
ชาคริยานุโยคคือส่วนประกอบของความเพียร


ภิกษุ ท. ภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็ นเครื่องตื่น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม (กิเลสที่กั้นจิต) ด้วยการเดิน จงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรีลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง อีก.

ภิกษุ ท. อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น.


1152
ศิลปะแห่งการปลุกเร้าความเพียร


ภิกษุ ท. อารัพภวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร) อย่าง เหล่านี้มีอยู่.
แปดอย่าง อย่างไรเล่า ? แปดอย่างคือ :-

๑. ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ การงานอันภิกษุจะต้องทำมีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “การงานเป็นสิ่ง ที่เราต้องกระทำ แต่เมื่อกระทำการงานอยู่มันไม่เป็นการง่าย ที่จะกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า. เอาเถิดถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .

๒. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : การงานอันภิกษุกระทำเสร็จแล้วมีอยู่.ภิกษุนั้นมีความคิดว่า “เราได้ กระทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่นั้น เราไม่สามารถกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับเพื่อ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .

๓. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุต้องเดิน มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดว่า “หนทางเป็นสิ่งที่ เราจักต้องเดิน แต่เมื่อเราเดินทางอยู่ มันไม่เป็นการง่าย ที่จะกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่ง ที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้.เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อถึง ทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .

๔. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุเดินแล้ว มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดว่า “เราได้เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ เราไม่สามารถกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. เอาเถิด ถ้ากระไรเรา จักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง ไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .

๕. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมไม่ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้นมี ความคิดอย่างนี้ว่า“เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตาที่ต้องการ แต่กายของเรากลับเป็นกายที่เบา ควรแก่การงาน. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักอาศัยกายที่เบาควรแก่การ ประกอบการงานนั้นๆ รีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อถึง ทับสิ่ง ที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .

๖. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้นมี ความคิด อย่างนี้ว่า “เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ แต่กายของเรา ก็ยังเป็นกายที่เบา ควรแก่การงานอยู่. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักอาศัยกายที่เบาควรแก่การ ประกอบการงานนั้นๆ รีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำ ให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .

๗. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : อาพาธเล็กน้อยที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุมีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เราแต่มันอาจเป็นไปได้ว่า อาพาธนั้นจักลุกลาม. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจัก รีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง.ภิกษุ ท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .

๘. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็ นผู้หายจากความเจ็บไข้แล้วไม่นาน มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิด อย่างนี้ว่า “เราหายจากความเจ็บไข้แล้วไม่นาน แต่มันอาจเป็นไปได้ว่า อาพาธนั้นจักหวนกลับมาอีก. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ .ภิกษุ ท. เหล่านี้แล อารัพภวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร) แปดอย่าง.


1155
ผู้มีลักษณะควรประกอบความเพียร


ภิกษุ ท. ปธานิยังคะ (องค์แห่งผู้สมควรประกอบความเพียร) อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ :-

๑. เป็นผู้ มีศรัทธา ย่อมเชื่อความตรัสรู้ของตถาคต ว่า “แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์” ดังนี้.

๒. เป็นผู้ มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารที่ย่อย ได้สม่ำเสมอ ปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การบำเพ็ญเพียร.

๓. เป็นผู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นผู้เปิดเผยตนเองตามที่เป็นจริงใน พระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหม จารีผู้รู้ทั้งหลายก็ตาม.

๔. เป็นผู้ ปรารภความเพียร เพื่อการละสิ่งอันเป็นอกุศล เพื่อถึง พร้อมด้วยสิ่งอันเป็นกุศล มีกำลัง มีความบากบั่น หนักแน่น ไม่ทอดทิ้งธุระในสิ่งทั้งหลายอันเป็นกุศล.

๕. เป็นผู้ มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาซึ่งสามารถกำหนดความเกิดขึ้นและความดับหายไป เป็นปัญญา อันประเสริฐ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ภิกษุ ท. เหล่านี้แล ปธานิยังคะ ๕ อย่าง.

หมวด
. ว่าด้วยหลักการปฏิบัติของสัมมาวายามะ


1156
เพียรละอกุศลแข่งกับความตาย


ภิกษุ ท. มรณสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ เป็นธรรมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.

ภิกษุ ท. มรณสติ (อันบุคคลเจริญเห็นปานนั้น) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ ผ่านกลางวันมาถึงกลางคืนแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ปัจจัยแห่งความตาย ของเรา มีมาก คืองูฉกเรา แมลงป่อง๑ ต่อยเรา หรือตะขาบ๑ กัดเรา หรือว่าเราเดินพลาดล้มลงอาหาร ไม่ย่อย ดีกำเริบเสมหะกำเริบ หรือลมสัตํถกวาตกำเริบ หรือว่าพวกมนุษย์หรืออมนุษย์ทำร้ายเรา ความตายก็จะมีแก่เรา : นั่นเป็นอันตรายของเรา” ดังนี้. ภิกษุนั้น พึงพิจารณาสืบไปว่า “มีอยู่หรือไม่หนอ บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ แล้วเป็นอันตรายแก่เรา ผู้กระทำกาละลงไปในคืนนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า บาปอกุศลธรรมอย่างนั้นมีอยู่  

ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อละเสีย ซึ่งบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น (โดยด่วน) เช่นเดียวกับบุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะ อันไฟลุก โพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬหี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะอันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้า หรือที่ศีรษะนั้นเสีย ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า บาปอกุศลธรรมอย่างนั้นไม่มีอยู่ ภิกษุนั้น พึงอยู่ด้วยปี ติปราโมทย์ นั้น นั่นแหละ ตามศึกษาอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรม ทั้งหลาย. (ในกรณีแห่งภิกษุผู้ ผ่านกลาง คืนมาถึงกลางวัน ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ให้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน ผิดกันแต่เวลาเท่านั้น).

ภิกษุ ท. มรณสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ เป็นธรรม หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน. (ธรรมที่มีอมโตคธะเป็น อานิสงส์นั้น ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วย สัญญาสิบ ก็มี :- )

ภิกษุ ท. สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้ มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.
สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ

อสุภสัญญา (ความสำคัญรู้ในความไม่งาม)
มรณสัญญา (ความสำคัญรู้ในความตาย)
อาหารเรปฏิกูลสัญญา (ความสำคัญรู้ในปฏิกูลแห่งอาหาร)
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญรู้ในความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง)
อนิจจสัญญา (ความสำคัญรู้ในความไม่เที่ยง)

อนิจเจทุกขสัญญา (ความสำคัญรู้ในความเป็นทุกข์แห่งความไม่เที่ยง)
ทุกเขอนัตตสัญญา (ความสำคัญรู้ในความเป็นอนัตตาในทุกข์)
ปหานสัญญา (ความสำคัญรู้ในการละเสีย)
วิราคสัญญา (ความสำคัญรู้ในความคลายกำหนัด)
นิโรธสัญญา (ความสำคัญรู้ในความดับไม่เหลือ).

ภิกษุ ท. สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.


1158
(สัญญาสิบ
อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท. สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.สิบประการอย่างไรเล่า ?

สิบประการ คือ  

อนิจจสัญญา
อนัตตสัญญา
มรณสัญญา
อาหารปฏิกูลสัญญา
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา


อัฏฐิกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพมีแต่กระดูก)
ปุฬวกทกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพมีแต่หนอน)
วินีลก-สัญญา (ความสำคัญรู้ในศพขึ้นเขียว)
วิจฉิททกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพเป็นชิ้นๆท่อนๆ)
อุทธุมาตกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพขึ้นพอง).

ภิกษุ ท. สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะป็ นปริโยสาน.


1158-1
การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย


ภิกษุ ท. ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็ นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่ง ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้างเล่า ?
ห้าประการคือ :-

๑. ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัยยังรุ่นคะนอง มีผมยังดำสนิท ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือปฐมวัย แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ความแก่ จะมาถึงร่างกายนี้ ก็คนแก่ถูก ความชราครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพ เสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆเลย. ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่า ชอบใจ (คือความแก่) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ ทำให้ แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะแก่เฒ่าก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.

๒. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุ ให้ความอบอุ่นสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การทำความเพียร แต่จะมีสักคราว หนึ่งที่ ความเจ็บไข้ จะมาถึงร่างกายนี้ ก็คนที่เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของ ท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัดซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำ ได้ง่ายๆเลย. ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความเจ็บไข้) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะเจ็บไข้ ก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.

๓. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ ข้าวกล้างามดี บิณฑะ(ก้อนข้าว) หาได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิต ให้เป็นไปด้วย ความพยายามแสวงหาบิณฑบาต; แต่จะมีสัก คราวหนึ่งที่ ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑะหาได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไป ด้วยความพยายาม แสวงหาบิณฑบาต เมื่อภิกษาหายาก ที่ใดภิกษาหาง่าย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน ก็จะมีขึ้นเมื่อมีการคลุกคลีปะปนกัน ในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฎก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือภิกษา หายาก) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำ ให้แจ้งสิ่งที่ไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิด ทุพภิกขภัย” ดังนี้.

๔. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ คนทั้งหลายสมัครสมาน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำมองแลกันด้วยสายตา แห่งคน ที่รักใคร่กัน เป็นอยู่ แต่จะมีสัก คราวหนึ่งที่ ภัย คือโจรป่ากำเริบ ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ ในอาณาจักรแตกกระจัดกระจาย แยกย้ายกันไป เมื่อมีภัยเช่นนี้ ที่ใดปลอดภัย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลี ปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือโจรภัย) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ ไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดโจรภัย” ดังนี้.

๕. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทสเดียวกัน อยู่เป็นผาสุก แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ สงฆ์แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการ ถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ไม่น่า ชอบใจ (คือสงฆ์แตกกัน) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็วซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราว เมื่อสงฆ์แตกกัน” ดังนี้.ภิกษุ ท. ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ซึ่งภิกษุผู้มองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว ในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.


1161
การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย

(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็น ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่่ บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว. ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้างเล่า?

ห้าประการคือ :-

๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าในกรณีนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้เราอยู่ผู้เดียวในป่า งูพิษหรือ แมลงป่อง หรือ ตะขาบ จะพึงขบกัดเราผู้อยู่ผู้เดียว ในป่ากาลกิริยาของเรา จะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง ไม่ให้ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

๒. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า“บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเราอยู่ ผู้เดียวในป่า เราจะพึงพลาดตกหกล้มบ้าง อาหารที่เราบริโภคแล้ว จะพึงเกิดเป็น พิษบ้าง นํ้าดีของเรา กำเริบบ้าง เสมหะของเรากำเริบบ้าง ลมสัตถกวาตของเรากำเริบบ้าง กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้ เพราะ เหตุนั้น อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา เราจะรีบทำความ เพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุ สิ่งที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

๓. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า“บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเรา อยู่ผู้เดียวในป่า จะพึง มาร่วมทางกันด้วยสัตว์ทั้งหลาย มีสิงห์ เสือโคร่ง เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หรือ เสือดาว สัตว์ร้ายเหล่านั้นจะพึงปลิดชีพเราเสีย กาลกิริยาของเรา จะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น อันตราย อันนั้นจะพึงมีแก่เรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้ง สิ่ง ที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

๔. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า“บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเรา อยู่ผู้เดียวในป่า จะพึงมาร่วมทางกันด้วยพวกคนร้าย ซึ่งทำโจรกรรมมาแล้ว หรือยัง ไม่ได้ทำ (แต่เตรียมการจะไปทำ) ก็ตามพวกคนร้ายเหล่านั้นจะพึงปลิดชีพเราเสีย กาลกิริยา ของเราจะพึงมีได้ เพราะเหตุนั้น อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

๕. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า“บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า พวกมนุษย์ดุร้ายก็มีอยู่ในป่า พวกมันจะพึงปลิดชีพเราเสีย กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้ เพราะเหตุนั้น อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา เราจะรีบทำความเพียรเพื่อถึงสิ่ง ที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้ แล ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นตลอดไป เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เสียโดยเร็ว.


1163
บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร


ภิกษุ ท. เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่รู้จักอิ่มจักพอ (สันโดษ) ในกุศล ธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ(อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร.

ภิกษุ ท. เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “จงเหลือ อยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป ประโยชน์ใด อันบุคคล จะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วย ความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ยังไม่บรรลุ ประโยชน์นั้น แล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้. ภิกษุ ท. การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เรา ถึงทับแล้วด้วย ความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่ เราถึงทับแล้วด้วยความ ไม่ประมาท.

ภิกษุ ท. ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ(ด้วยการอธิฐานจิต) ว่า “จงเหลืออยู่แต่ หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น เนื้อและเลือดในสรีระจง เหือดแห้งไป ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วย กำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุ ประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้ แล้วไซร้ ภิกษุ ท. พวกเธอก็จัก กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไร อื่นยิ่งกว่า อันเป็น ประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มี เรือนโดยชอบได้ต่อกาลไม่นาน ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.

หมวดจ. ว่าด้วยปกิณณกะ


1164
อุปสรรคของการประกอบสัมมาวายามะ


ภิกษุ ท. ภิกษุใด ยังละเครื่องตรึงจิตห้าอย่างไม่ได้ ยังตัดเครื่องผูกพันจิตห้าอย่างไม่ได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ : นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.


1165
ก. เครื่องตรึงจิต
อย่าง
เครื่องตรึงจิตที่ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ อย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุ ยังสงสัยเคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียร เครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อ สัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เครื่องตรึงจิต อย่างที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลง ใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน พระธรรม. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียรเครื่อง เผากิเลส เครื่องตาม ประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมา วายามะ):อย่างนี้แล เครื่องตรึง จิตอย่างที่สอง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน พระสงฆ์. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียร เครื่องเผา กิเลส เครื่องตาม ประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไป เพื่อสัมมาวา ยามะ) : อย่างนี้แล เครื่องตรึง จิตอย่างที่สาม ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ใน สิกขา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียรเครื่องเผา กิเลส เครื่องตาม ประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมา วายามะ) : อย่างนี้แล เครื่องตรึง จิตอย่างที่สี่ ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังเป็นผู้โกรธกรุ่นอยู่ในเพื่อนพรหมจารี ไม่ชอบใจ มีจิตอันโทสะ กระทบแล้ว มีเครื่องตรึงจิตเกิดแล้ว.ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียร เครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อ ไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมา วายามะ) อย่างนี้แล เครื่องตรึงจิตอย่างที่ห้า ที่เธอ นั้นยังละไม่ได้.เครื่องตรึงจิตห้าอย่างนี้แล ของภิกษุ นั้น อันเธอยังละไม่ได้.


1166
ข. เครื่องผูกพันจิต
อย่าง
เครื่องผูกพันจิต
อย่างที่ภิกษุนั้นยังตัดขาดไม่ได้ เป็นอย่างไร เล่า ?

ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากฉันทะ ไม่ปราศจาก ความรัก ไม่ปราศ จากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากตัณหา ในกาม. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบเครื่อง กระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เป็นเครื่องผูกพันจิต อย่างที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจาก ฉันทะ ไม่ปราศ จากความ รัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ตัณหา ในกาย. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบเครื่อง กระทำ อย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อ สัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เป็น เครื่องผูกพันจิต อย่างที่สองที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจาก ฉันทะ ไม่ปราศ จาก ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ตัณหา ในรูป. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อ สัมมาวายามะ) :อย่างนี้แล เป็น เครื่องผูกพันจิต อย่างที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ฉันอาหารอิ่มท้องแล้ว ตามประกอบ ความสุขในการ นอน สุขใน การเอน สุขในการซบเซา อยู่. ภิกษุใดเป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อ ไม่ขาด สาย(คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมา วายามะ) : อย่างนี้แล เป็น เครื่องผูกพันจิตอย่างที่สี่ ที่เธอนั้น ยังตัดให้ขาดไม่ได้.

ภิกษุ ท. อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ประพฤติพรหมจรรย์ โดยหวังเข้าสู่เทพนิกาย พวกใด พวกหนึ่ง ว่า “ด้วยศีลนี้ วัตรนี้ ตบะนี้ พรหมจรรย์นี้เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทพยดาอย่างใด อย่างหนึ่ง” ดังนี้. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่อง เผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำ อย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมา วายามะ) :อย่างนี้แล เป็น เครื่องผูกพัน จิตอย่างที่ห้า ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้. เครื่อง ผูกพันจิต ๕ อย่าง เหล่านี้แล ของภิกษุนั้น อันเธอยังตัดให้ขาดไม่ได้.

ภิกษุ ท. ภิกษุใด ยังละเครื่องตรึงจิตห้าอย่างเหล่านี้ไม่ได้ ยังตัดเครื่องผูกพันจิตห้าอย่าง เหล่านี้ไม่ได้ แล้ว ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ : นั้นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้. (ยังมีการ ตรัสโดย ปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งเป็นการส่งเสริมการ ประกอบความเพียร ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียง ได้ด้วยตนเอง ไม่จำต้องนำมาใส่ไว้ในที่นี้.)


1168
ข้อแก้ตัวของคนขี้เกียจ


ภิกษุ ท. กุสีตวัตถุ (ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน) อย่าง เหล่านี้ มีอยู่
แปดอย่าง อย่างไรเล่า ?
แปดอย่างคือ : -

๑. ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ การงานอันภิกษุจะต้องทำมีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “การ งานเป็น สิ่งที่เราจักต้องกระทำ แต่เมื่อกระทำการงานอยู่กายจักเหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้า กระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้; เธอนั้นก็นอนเสียไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับเพื่อ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ .

๒. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : การงานอันภิกษุกระทำเสร็จแล้วมีอยู่.ภิกษุนั้นมีความคิด อย่างนี้ว่า“เราได้กระทำการงานแล้ว ก็เมื่อเรากระทำการงานอยู่นั้น กายก็เหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอน เสีย” ดังนี้ เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่ง ที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ .

๓. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุต้องเดิน มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “หนทางเป็น สิ่งที่เราจักต้องเดิน แต่เมื่อเราเดินทางอยู่กายจักเหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้ากระไร เราจะนอนเสีย” ดังนี้ เธอนั้นก็นอนเสียไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ ยังไม่บรรลุ เพื่อถึง ทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้ แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ .

๔. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุเดินแล้ว มีอยู่. ภิกษุนั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราได้เดิน ทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักเหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอน เสีย” ดังนี้ เธอนั้นก็นอน เสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่ง ที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง ไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ .

๕. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมไม่ได้โภชนะเลว หรือประณีต เต็มตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้น มีความคิดอย่างนี้ว า“เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาต ในบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะ เลวหรือประณีตเต็มตาม ที่ต้องการ กายของเรา ก็เหน็ดเหนื่อย ทำอะไรไม่ได้ เอาเถิดถ้ากระไร เราจะนอน เสีย” ดังนี้; เธอนั้นก็ นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่กระทำ ให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ .

๖. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมได้โภชนะเลว หรือ ประณีตเต็ม ตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน หรือนิคม ไม่ได้โภชนะเลว หรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ กายของเราก็เป็นกายหนัก เหมือน เม็ดถั่วถูกแช่น้ำพอง ทำอะไรไม่ได้เอา เถิด ถ้ากระไรเราจะนอนเสีย”ดังนี้ เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. กษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ .

๗. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : อาพาธเล็กน้อยที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุ มีอยู่. ภิกษุนั้นมี ความคิดอย่างนี้ “อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มีข้ออ้างเพื่อจะนอน มีเหตุผลควร ที่จะนอน เอาเถิดถ้ากระไรเราจะ นอนเสีย” ดังนี้; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุเพื่อถึงทับสิ่ง ที่ยังไม่ ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้ง สิ่งที่ยังไม กระทำ ให้แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุข้อที่ .

๘. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุได้หายจากความเจ็บไข้แล้วไม่นานมีอยู่. ภิกษุนั้น มีความคิด อย่างนี้ว่า “เราหายจากความเจ็บไข้แล้ว ไม่นาน กายของเรายังอ่อนเพลีย ยังไม่ ควรจะทำอะไร เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะ นอนเสีย” ดังนี้;เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึง ทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ ยังไม่กระทำให้ แจ้ง. ภิกษุ ท. นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ .

ภิกษุ ท. เหล่านี้แล กุสีตวัตถุ (ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน) แปดอย่าง


1171
สมัยที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำความเพียร

ภิกษุ ท. สมัยที่ไม่สมควรแก่การกระทำความเพียร อย่าง เหล่านี้มีอยู่.
ห้าอย่าง อย่างไรเล่า? ห้าอย่างคือ :-

๑. ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ชรา ถูกความชราครอบงำแล้ว. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.

๒. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ เจ็บไข้ ถูกความเจ็บไข้ครอบงำแล้ว. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.

๓. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัย ทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑะ (ก้อนข้าว) หาได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะเป็นอยู่ตามสบาย. ภิกษุท. นี้เป็น สมัยที่ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.

๔. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัยที่มีภัย มีการกำเริบในป่าดงประชาชนขึ้นล้อเลื่อน หนีไป. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.

๕. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัยที่ สงฆ์แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันก็มีการด่ากันและกัน บริภาษกัน และกัน ใส่ความกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน. ในที่นั้นๆผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสก็ไม่ เลื่อมใส ผู้ที่เคยเลื่อมใส ก็เปลี่ยนไปโดยประการอื่น. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่ ที่ไม่สมควร กระทำความเพียร.ภิกษุ ท. เหล่านี้ แล เป็นสมัยที่ไม่สมควรกระทำความเพียร ๕อย่าง.

ภิกษุ ท . สมัยที่สมควรกระทำความเพียร อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ :-

๑. ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ หนุ่มแน่นกำยำ มีผมดำสนิทประกอบด้วยความหนุ่ม อันเจริญปฐมวัย. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่หนึ่ง ที่สมควรกระทำความเพียร.

๒. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อยมีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร ที่ย่อยได้สม่ำเสมอ ปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่ การบำเพ็ญเพียร. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่สอง ที่สมควรกระทำความเพียร.

๓. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัยที่ ภิกษาหาง่าย ข้าวกล้าไม่เสียหาย บิณฑะ (ก้อนข้าว)หาได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะเป็นอยู่ตามสบาย.ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่สาม ที่สมควรกระทำความเพียร.

๔. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : มนุษย์ทั้งหลายสมัครสมานชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากัน ได้ดุจดั่ง นมผสมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่สี่ ที่สมควร กระทำความเพียร.

๕. ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : สงฆ์สามัคคี ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทสเดียวกัน อยู่เป็น ผาสุก เมื่อสงฆ์ สามัคคีกันก็ไม่มีการด่ากันและกัน ไม่มีบริภาษกันและกัน ไม่ใส่ความกันและ กัน ไม่ทอดทิ้งกัน และกัน ในที่นั้นๆ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสก็เลื่อมใส ผู้ที่เคยเลื่อมใสก็มีความ เลื่อมใส ยิ่งๆขึ้นไป. ภิกษุ ท. นี้เป็น สมัยที่ห้า ที่สมควรกระทำความเพียร.

ภิกษุ ท. เหล่านี้แล สมัยที่สมควรกระทำความเพียรห้าอย่าง.


1173
ผู้อยู่อย่างคนมีทุกข์ก็ทำกุศลรรมให้เต็มเปี่
ยมได้

ภิกษุ ท. .... ภิกษุ พิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ว่า “เมื่อเราอยู่ตามสบายอกุศลธรรมยิ่งเจริญ กุศล ธรรมเสื่อม ไป เมื่อเราดำรงตนอยู่ในความลำบากอกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญ ยิ่ง; ถ้ากระไรเราดำรง ตนอยู่ใน ความลำบากเถิด”. ภิกษุนั้น ดำรงตนอยู่ในความลำบาก เมื่อ ดำรงตนอยู่ในความลำบาก อยู่ อกุศลธรรม ก็เสื่อมไป กุศลธรรมก็เจริญยิ่ง.

สมัยต่อมา ภิกษุนั้น ไม่ต้องดำรงตนอยู่ในความลำบากอีก เพราะเหตุว่า ประโยชน์ที่เธอ จำนงหวังนั้นสำเร็จ แล้วตามที่เธอประสงค์. เปรียบเสมือนลูกศรที่ช่างศรลน และดัดจนตรง ใช้การ ได้แล้ว ไม่ต้อง มีความด้วยการลนและดัดอีกต่อไปฉะนั้น....ภิกษุ ท. ความบากบั่น ความพากเพียรจะมีผล ขึ้นมาได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.


1173-1
ในการละกิเลสแม้ชั้นสูง
ก็ยังมีการอยู่เป็นสุข

โปฏฐปาทะ เราย่อมแสดงธรรม เพื่อการละการได้ซึ่ง อัตตาแม้ชนิดหยาบ ซึ่งเมื่อท่าน ทั้งหลาย ปฏิบัต ตามธรรม นั้นแล้ว สังกิเลสิกธรรมทั้งหลายจักละไป โวทานิยธรรม ทั้งหลาย จักเจริญโดยยิ่ง จักกระทำให้แจ้ง ซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

โปฏฐปาทะ ความคิดอาจจะเกิดขึ้นแก่ท่าน อย่างนี้ว่า “การที่สัง-กิเลสิกธรรมทั้งหลายจัก ละไป โวทา นิยธรรม ทั้งหลายจักเจริญโดยยิ่ง จักกระทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ ไพบูลย์ แห่งปัญญาได้ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่นั้น แต่การอยู่นั้น จักเป็นทุกข์ ลำบาก” ดังนี้ ก็ได้.

โปฏฐปาทะเอ๋ย ข้อนั้นท่านอย่าเห็นอย่างนั้นเลย : สังกิเลสิกธรรมทั้งหลายก็จักละได้ด้วย โวทานิยธรรม ทั้งหลายก็จักเจริญโดยยิ่งด้วย จักกระทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์ แห่งปัญญาได้ ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ด้วย ปราโมทย์ ปี ติ ปัสสัทธิ สติ สัมปชัญญะ ก็จักมี และการอยู่ นั้น ก็เป็นสุขด้วย.

(ต่อไปนี้ได้ทรงแสดงธรรมเพื่อการละเสียซึ่งการได้ อัตตาอันเป็นมโนมยะ และอัตตาอันเป็น อรูปี และทรงยืนยัน ว่าการปฏิบัติเพื่อการละนั้น ไม่เป็นการอยู่ที่เป็นทุกข์ แต่เป็นการอยู่ ที่เป็นสุข เช่นเดียวกัน. พวกเราในบัดนี้มักจะ เข้าใจไปว่า การปฏิบัติธรรมจะต้องเกิดเป็น ความทุกข์ ลำบากเสมอ).


1174
เพียงแต่รู้ชัดอริยสัจ
สัมมาวายามะยังไม่ใช่ถึงที่สุด

ภิกษุ ท. บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สามจำพวก เหล่าไหนเล่า ? สามจำพวกคือ คนมีจิตเหมือนแผลกลัดหนอง คนมีจิตเหมือนฟ้าแลบ คนมีจิตเหมือนเพชร.

๑. ภิกษุ ท. คนมีจิตเหมือนแผลกลัดหนอง เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ บุคคล บางคนเป็นผู้ มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจมาก ก็โกรธ พยาบาท ขึ้งเคียด กระทำความโกรธ ความขัดเคือง ให้ปรากฏมากกว่าเหตุ เปรียบเหมือนแผล กลัดหนอง ถูกกระทบด้วยชิ้น ไม้หรือกระเบื้อง ย่อมมีหนองไหลออก เกินประมาณ ฉันใดก็ฉัน นั้น. ภิกษุ ท. นี้แล บุคคลผู้มีจิตเหมือน แผลกลัดหนอง.

๒. ภิกษุ ท. คนมีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อม รู้ชัดตาม เป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา” ดังนี้ ชั่วขณะ เหมือนบุรุษ มีตา ตามปกติ เห็นรูปทั้งหลายชั่วขณะฟ้าแลบ ในราตรีอันมืดมิด ฉันใด ก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. นี้แลบุคคล ผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ.

๓. ภิกษุ ท. คนมีจิตเหมือนเพชร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ บุคคลบางคน กระทำ ให้แจ้ง ได้ซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ทั้งหลาย ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ (อาสวะใดๆเหล่า ไหน ที่วิมุตติของท่านจะพึงทำลายไม่ได้นั้น ไม่มี) เปรียบเหมือนแก้วมณีหรือหินไรๆ ที่เพชรจะพึง ทำลายไม่ได้นั้น ไม่มี ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. นี้แล บุคคลผู้มีจิตเหมือน เพชร. ภิกษุ ท. เหล่านี้แล บุคคล ๓ จำพวก ที่มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

นิทเทศ
๑๙
ว่าด้วยสัมมาวายามะ

จบ



นิทเทศ ๒๐ ว่าด้วย สัมมาสติ (มี ๔๑ เรื่อง)
หมวดก. ว่าด้วยอุทเทศ-วิภาคของสัมมาสติ



1176
อุทเทสแห่งสัมมาสติ


ภิกษุ ท. สัมมาสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้

ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้;

ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้

ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นจิตในจิตทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจ และ ความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้;

ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออก เสียได้.

ภิกษุ ท. อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.


1176-1
สติปัฏฐานสี่
เป็นเอกายนมรรค

ภิกษุ ท. หนทางนี้ เป็นหนทางเครื่องไปอันเอกทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หมดจด ของสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อก้าว ล่วงเสียซึ่งโสกะและปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อถึงทับซึ่งญายธรรม เพื่อ ทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้คือ สติปัฏฐานสี่. สี่อย่างไรเล่า ? สี่คือ ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุ :-

๑. เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมี สัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

๒. เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

๓. เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิตทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

๔. เป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

หมวด. ว่าด้วยลักษณะ-อุปมาของสัมมาสติ


1177
ลักษณะแห่งความมีสติสัมปชัญญะของภิกษุ


มหาราช ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า?
มหาราช ในกรณีนี้ ภิกษุ

เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้การเหยียด การทรงสังฆาฏิบาตรจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ ในการไป การหยุด การนั่งการนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.มหาราช อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.


1178
ลักษณะสัมปชัญญะระดับสูงสุด


ภิกษุ ท. ภิกษุเป็ นผู้มีสัมปชัญญะ เป็ นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ในกรณีนี้

(อาการที่) เวทนา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้ง (วิทิตา) แก่ภิกษุ
(อาการที่) เวทนาเข้าไปตั้ง อยู่ก็แจ่มแจ้ง
(อาการที่) เวทนาดับลงก็แจ่มแจ้ง.

(อาการที่) วิตก เกิดขึ้น ก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
(อาการที่) วิตกเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง
(อาการที่) วิตกดับลงก็แจ่มแจ้ง

(อาการที่) สัญญา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ
(อาการที่) สัญญาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง
(อาการที่) สัญญาดับลงก็แจ่มแจ้ง

ภิกษุ ท. อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

(สัมปชัญญะในบาลีทั่วๆไป เป็นระดับ ธรรมดา ซึ่งหมายถึงการรู้สึกตัวอยู่ในการ เปลี่ยนแปลง อิริยาบถหนึ่งๆ ดังข้อความที่กล่าว ไว้ในหน้า ๗๘๘ แห่งหนังสือเล่มนี้. ส่วนสัมปชัญญะในกรณีนี้ เป็นระดับสูงสุด คือรู้สึก อย่างแจ่มแจ้งในเมื่อ เวทนา สัญญา และวิตกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีผลในทางให้เกิด ความสิ้นอาสวะได้มากกว่า).



1178-1
สัมมาสติ
ในฐานะเครื่องทำตนให้เป็นที่พึ่ง

อานนท์ เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรม เป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด.

อานนท์ อย่างไรเล่า เรียกว่าภิกษุผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่ ?

อานนท์ ในกรณีนี้ ภิกษุ

เป็นผู้ตามเห็นซึ่งกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เป็นผู้ตามเห็นซึ่งเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ ซึ่ง อภิชฌาและโทมนัสในโลก

เป็นผู้ตามเห็นซึ่งจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เป็นผู้ตามเห็นซึ่งธรรม ในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำออก เสียได้ ซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลก

อานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็น สรณะไม่มีสิ่งอื่น เป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะไม่มีสิ่งอื่นเป็น สรณะ เป็นอยู่ .

อานนท์ ในกาลนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแล้วแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักเป็นผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็น สรณะ เป็นอยู่. คนเหล่านั้น จักเป็นภิกษุผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด ได้แก่พวกที่มีความใคร่ ในสิกขา.


1180
สติปัฏฐานสี่
เป็นโคจรสำหรับสมณะ

ภิกษุ ท. พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตนเถิด เมื่อเธอ เที่ยวไปในที่ ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน มารจักไม่ได้ช่องทาง และไม่ได้โอกาส ที่จะทำตาม อำเภอใจของมัน. ภิกษุท. ที่ที่ควรเที่ยวไปซึ่งเป็น วิสัยแห่งบิดาตน คืออะไรเล่า ? คือสติปัฏฐานสี่. สี่อย่างไรเล่า ? สี่คือ

ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุ:-

๑. เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัม ปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

๒. เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะ ชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

๓. เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ มีสตินำ อภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้.

๔. เป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ท. นี้แล ที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัย แห่งบิดาตน.


1180-1
สติปัฏฐานสี่
ที่ส่งผลถึงวิชชาและวิมุตติ

กุณฑลิยะ สติปัฏฐานสี่ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงทำโพชฌชงค์ ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ ?

กุณฑลิยะ ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรมก็มีข้อความที่ตรัสอย่าง เดียวกัน).

กุณฑลิยะ สติปัฏฐานสี่ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ ทั้งเจ็ด ให้บริบูรณ์.

กุณฑลิยะ โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำ วิชชา
และวิมุตติ ให้บริบูรณ์ ?

กุณฑลิยะ ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ ความสลัดลง (ในกรณีแห่งธัมมวิจยสัม - โพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัม โพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็มีข้อความ ที่ตรัสอย่างเดียวกัน).

กุณฑลิยะ โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ แล ย่อมทำวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์.


1181
แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก


ภิกษุ ท. ธรรมอันเอก อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่. ธรรมอันเอกนั้น คืออะไรเล่า ? คือ อานาปานสติ. ภิกษุ ท. อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ แล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?


1182  
แบบการเจริญอานาปานสติ
(แบบที่หนึ่ง)


ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบ (นั่งขัดสมาธิ) ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติ หายใจออก :

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว
หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกยาว
หรือว่า เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้าสั้น
หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกสั้น

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้  
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงจักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้าดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออกดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปิติ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปิติ จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้าดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้าดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออกดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำจักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้

ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำจักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.

ภิกษุ ท. อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.


1184 
แบบการเจริญอานาปานสติ
(แบบที่สอง)


ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ(ความสลัดลง)

ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็น สัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุ ท. อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.


1185
การเจริญสติปัฏฐานของคนฉลาด


ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูป เป็นคนเขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่ฉลาด เป็นผู้ ตามเห็น กายในกาย มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสตินำออกซึ่งอภิชฌา และโทมนัส ในโลกอยู่. เมื่อเธอนั้นตามเห็นกาย ในกายอยู่ (เพราะความเขลาแห่งตน) ก็ทำจิตให้ ตั้งมั่นไม่ได้ ทำอุปกิเลสให้ละไปไม่ได้กำหนดนิมิต นั้นไม่ได้. (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. ภิกษุซึ่งเป็นคนเขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่ฉลาด นั้น จึง เป็นผู้ไม่ได้สุขวิหาร ในทิฏฐธรรมเลย ไม่ได้สติ สัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท. ข้อนั้นเพราะเหตุ ว่า ภิกษุ ท. ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นเป็น คนเขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่ฉลาด กำหนด นิมิตแห่งจิตของตนไม่ได้.

ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูป เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ฉลาดเป็นผู้ ตามเห็นกาย ในกาย มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่. เมื่อนั้นตามเห็นกายในกาย อยู่ (เพราะความ ฉลาดของตน) ก็ทำจิตให้ตั้งมั่นได้ ทำอุปกิเลสให้ละไปได้ กำหนดนิมิตนั้นได้. (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และ ธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. ภิกษุซึ่งเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ฉลาด นั้น จึงเป็นผู้ได้สุขวิหารในทิฏฐธรรม เทียว ได้สติสัมปชัญญะ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ฉลาด กำหนดนิมิต แห่งจิตของตนได้.

หมวด
. ว่าด้วยอุปกรณ์-เหตุปัจจัยโดยอัตโนมัติของสัมมาสติ


1186
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสติ


ภิกษุ ท. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดย อนุรูปแก่ตน ในฐานะ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :-

๑. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่ากำหนัดแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย” ดังนี้.

๒. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคล พึงกระทำโดยอนุรูป แก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าขัดเคืองแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองทั้งหลาย” ดังนี้.

๓. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าหลงแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย” ดังนี้.

๔. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคล พึงกระทำโดยอนุรูป แก่ตนว่า “จิตของเราอย่ามัวเมาแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ในกาลใดแล จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ ตั้งแห่งความกำหนัด ทั้งหลาย เพราะปราศจากราคะ จิตไม่ขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งความขัดเคือง ทั้งหลาย เพราะปราศจากโมหะ จิตไม่มัวเมาในธรรมอันเป็น ที่ตั้ง แห่งความมัวเมา ทั้งหลาย เพราะปราศจากโทสะ จิตไม่หลงในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย เพราะปราศจากความมัวเมา ดังนี้แล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่หวาดหวั่น ไม่ถึงความสะดุ้ง และก็มิใช่ถึงธรรมนี้แม้เพราะเหตุแห่งคำของสมณะ (แต่เป็นเพราะการตามรักษาจิตอย่างถูกต้อง ในฐานะทั้งสี่).


1187
ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ
แก่อานาปานสติภาวนา
(นัยที่หนึ่ง)


ภิกษุ ท. ภิกษุผู้ มุ่งประพฤติกระทำอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอด อกุปปธรรม (สมุจเฉทวิมุตติ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.
ห้าประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ห้าประการคือ ในกรณีนี้ ภิกษุ:

เป็นผู้ มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริกขาร แห่งชีวิต ๑
เป็นผู้ มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง ๑
เป็นผู้ ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น ๑
เป็นผู้ มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ คือ ธรรมเหล่าใดอันงดงามใน เบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด แสดงอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ ธรรมมีลักษณะเห็นปานนั้น เป็นธรรมที่เธอสดับแล้วมาก ทรงจำไว้ ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑

พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว (ตามลำดับ) อย่างไร ๑.ภิกษุ ท. ภิกษุผู้มุ่งประพฤติกระทำอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรมได้ต่อกาลไม่นานเทียว.

1188
ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ
แก่อานาปานสติภาวนา
(นัยที่สอง)


ภิกษุ ท. ภิกษุผู้ เจริญอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมแทงตลอด อกุปปธรรม (สมุจเฉทวิมุตติ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว. ห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ห้าประการคือ ในกรณีนี้ ภิกษุ :

เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี่ยงง่าย สันโดษในบริกขารแห่งชีวิต ๑

เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้อง อันพร่อง ๑

เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น ๑

เป็นผู้ ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส
เป็นที่สบายแก่ธรรม เป็นเครื่องเปิดโล่งแห่งจิต กล่าวคือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปริเวก กถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลากถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ๑

พิจารณาเห็น เฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว (ตามลำดับ)อย่างไร ๑.

ภิกษุ ท. ภิกษุผู้เจริญอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ประการ เหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรมได้ ต่อกาลไม่นานเทียว.


1189
ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ แก่อานาปานสติภาวนา
(นัยที่สาม)


ภิกษุ ท. ภิกษุผู้ กระทำให้มากซึ่งอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทง ตลอด อกุปปธรรม (สมุจเฉทวิมุตติ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.ห้าประการ อย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ห้าประการคือ ในกรณีนี้ภิกษุ :

เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษ ในบริกขารแห่งชีวิต ๑ เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง ๑
เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น ๑
เป็นผู้อยู่ป่ า มีเสนาสนะอันสงัด ๑
พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว(ตามลำดับ)อย่างไร ๑.

ภิกษุ ท. ภิกษุผู้กระทำ ให้มาก ซึ่งอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.


1190
ฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ
๑๙ ฐาน

อานนท์ อย่างไรเล่า ชื่อว่า ภิกษุกระทำจิตในภายในนั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่ อย่างสม่ำ เสมอ ให้เป็นจิตหยุดพัก ให้เป็ นจิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็ นจิตตั้งมั่น ? อานนท์ ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมจึง เข้าถึงปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌานแล้วแลอยู่.

อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุกระทำจิตในภายในนั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่อย่างสม่ำเสมอ ให้เป็นจิตหยุดพัก ให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็นจิตตั้งมั่น. ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายใน. เมื่อเธอกระทำ ในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นภายในอยู่ จิตไม่แล่นไป เพื่อ สุญญตาอันเป็นภายใน ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป.

อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจซึ่งสุญญต อันเป็น ภายในอยู่ จิตไม่ แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นภายใน ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ไม่น้อมไป” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็ นผู้รู้สึกตัวทั่วพร้อม(สมฺปชาน) ในกรณีที่จิตไม่น้อมไป สู่สุญญตาอันเป็นภายในนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่หนึ่ง).


ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายนอก. เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสุญญตา อันเป็นภายนอกอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็ นภายนอกอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็น ภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีที่จิตไม่น้อม ไปสู่สุญญตาอันเป็นภายนอกนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สอง).

ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็ นทั้งภายในและภายนอก. เมื่อเธอกระทำ ในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็น ภายในและภายนอกอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็น ทั้งภายในและ ภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า "เมื่อเรากระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นทั้งภายในและ ภายนอกอยู่ จิตไม่แล่นไป เพื่อสุญญตาอันเป็ นทั้งภายในและภายนอก ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป" ดังนี้ ในกรณี อย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีที่จิตไม่น้อมไปสู่สุญญตาอันเป็นทั้ง ภายในและภายนอกนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สาม).

ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง อาเนญชะ. เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอาเนญชะอยู่ จิตไม่แล่นไป เพื่อ อาเนญชะ ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป.อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจ ซึ่งอาเนญชะอยู่ จิตไม่แล่นไปเพื่ออาเนญชะ ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป”ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีที่จิตไม่น้อมไปสู่อาเนญชะนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแหง่ สัมปชัญญะ ฐานที่สี่).

อานนท์ ภิกษุนั้น พึงกระทำจิตในภายในนั้นแหละให้ตั้งมั่นอยู่อย่างสมํ่าเสมอ ในสมาธิ นิมิตที่เคยมี มาแล้วในกาลก่อน (คือในรูปฌานสี่ที่กล่าวแล้วข้างต้น) นั้น นั่นเทียว พึงให้เป็นจิตหยุดพัก พึงให้เป็นจิตมี อารมณ์เดียว พึงให้เป็นจิตตั้งมั่น.
ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายใน (ในรูปฌานทั้งสี่).เมื่อ เธอกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็น ภายในอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นภายใน ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น. อานนท์ เมื่อเป็น อย่างนี้ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจ ซึ่งสุญญตาอันเป็ นภายในอยู่จิตก็แล่นไปเพื่อ สุญญตาอันเป็ นภายใน ย่อมเลื่อมใสย่อม ตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น”ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีที่จิตน้อมไปสู่สุญญตา อันเป็นภายในนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่ห้า).

ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายนอก. เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็น ภายนอกอยู่. จิตก็ แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นภายนอกย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น. อานนท์ เมื่อเปน็ อย่างนี้ ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจ ซึ่งสุญญตาอันเป็น ภายนอกอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็น ภายนอก ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น” ดังนี้ :ในกรณีอยา่ งนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป นผู้มีความรู้สึก ตัวทั่วพร้อมในกรณีที่จิตน้อมไปสู่ สุญญตาอันเป็ นภายนอกนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่หก).

ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นทั้งภายในภายนอก. เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสุญญตา อันเป็นทั้งภายใน ภายนอกอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นทั้งภายในและภายนอก ย่อม เลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นทั้งภายใน และ ภายนอกอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่อสุญญตา อันเป็ นทั้งภายในและภายนอก ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็ ผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีที่จิตน้อมไปสู่สุญญตาอันเป็นทั้ง ภายใน และภายนอกนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแหง่ สัมปชัญญะ ฐานที่เจ็ด)

ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่ง อาเนญชะ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอาเนญชะอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่อ อาเนญชะ. เมื่อเธอ กระทำในใจซึ่งอาเนญชะอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่ออาเนญชะ ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมหลุดพ้น. อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำ ในใจซึ่งอาเนญชะอยู่ จิตก็แล่นไปเพื่ออาเนญชะ ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ย่อมหลุดพ้น” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็ นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีที่จิตน้อมไปสู่อาเนญชะ นั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่แปด).

อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อ การเดิน เธอก็ เดินด้วยการตั้งจิต ว่า “บาปอกุศล ธรรม ทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้เดิน อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ : ในกรณี อย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่ว พร้อม ในกรณีแห่งการเดินนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่เก้า).

อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อ การยืน เธอก็ ยืนด้วยการตั้งใจว่า “บาปอกุศลธรรม ทั้งหลาย กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้ยืนอยู่ด้วย อาการอย่างนี้” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็ นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่งการยืนนั้น
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบ).

อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อ การนั่ง เธอก็ นั่งด้วยการตั้งใจว่า “บาปอกุศลธรรม ทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นั่งอยู่ด้วย อาการอย่างนี้” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณี แห่งการนั่งนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเอ็ด).

อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อ การนอนเธอก็นอนด้วยการตั้งใจ ว่า “บาปอกุศลธรรม ทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นอนอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ :ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณี แห่งการนอนนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแหง่ สัมปชัญญะ ฐานที่สิบสอง).

อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อ การพูด เธอก็ ตั้งจิตว่า “เราจัก ไม่พูดเรื่องเลวทราม เรื่องของชาวบ้าน เรื่องของบุถุชน ไม่ใช่เรื่องของพระอริยเจ้า ไม่ใช่เรื่อง ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบรำงับ เพื่อรู้ยิ่งรู้พร้อม เพื่อนิพพาน เห็นปานนั้น เช่นเรื่อง พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์เรื่อง กองทัพ เรื่องน่ากลัว เรื่องการรบพุ่ง เรื่องข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ระเบียบ ดอกไม้ ของหอม ญาติ ยานพาหนะ หมู่บ้าน จังหวัด เมืองหลวง บ้านนอกเรื่องหญิงชาย เรื่องคนกล้า เรื่องตรอกทาง เดิน เรื่องท่าน้ำเรื่องคนที่ตายไปแล้วเรื่องต่างๆนานา เรื่องโลก เรื่องมหาสมุทร เรื่องความ รุ่งเรือง เรื่องความ ทรุดโทรม ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม ในกรณีแห่งเรื่องไม่ควร พูดนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบสาม).

แต่ถ้า กถาใด เป็นเรื่องขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การวิจารณญาณแห่งจิตเป็นไป เพื่อหน่ายโดย ส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อมเพื่อ นิพพาน กล่าวคือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถาปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณ ทัสสนกถา ดังนี้ เธอ ตั้งจิตคิดว่า “เราจักกล่าว กถาเห็นปานนั้น” ดังนั้น : ในกรณีอย่างนี้ นี้ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งกถา ที่ควรพูดนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบสี่).

อานนท์ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปใน การตรึก เธอก็ ตั้งจิตว่า “วิตก เหล่านี้ใด ซึ่ง เลวทราม เป็นของชาวบ้าน ของบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบ ระงับ เพื่อรู้ยิ่ง รู้พร้อมเพื่อนิพพาน กล่าวคือกามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก เราจัก ไม่ตรึกใน วิตกเห็นปานนั้น” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุ นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อมใน กรณีแห่งวิตกอันไม่ควรตรึกนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบห้า).


แต่ถ้า วิตกเหล่าใด ซึ่งเป็นของพระอริยเจ้า เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำ ออกเพื่อความ พ้นทุกข์ โดยชอบแก่ผู้กระทำ ตามวิตกนั้น กล่าวคือ เนกขัมมวิตกอัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก เธอ ตั้งจิตคิดว่า “เราจึกตรึกในวิตกเห็น ปานนั้น” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มี ความรู้สึกตัวตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งวิตกอันควรตรึกนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบหก)

อานนท์ กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ?
ห้าอย่างคือ
รูป ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ....
เสียง ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ....
กลิ่น ท. อันพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ....
รส ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ....
โผฏฐัพพะ ท. อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายะ อันเป็นสิ่งที่ปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจมีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด :
เหล่านี้แล คือ กามคุณ อย่าง ซึ่งในกามคุณเหล่านั้นภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนอยู่เนืองๆว่า “มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ที่ความกำเริบแห่งจิตเกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้. อานนท์ ถ้าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “มีอยู่แก่เราแล ที่ความกำเริบแหง่ จิตเกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้ อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “ฉันทราคะในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ เรายังละไม่ได้ ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมใน กรณี แห่ง ฉันทะ ราคะในกามคุณที่ตนยังละมันไม่ได้นั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเจ็ด
)

อานนท์ แต่ถ้าว่าภิกษุ เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า“ไม่มีอยู่แก่เราเลย ที่ความกำเริบ แห่งจิต เกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้า หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้;
อานนท์ เมื่อเป็น อย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “ฉันทราคะในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ เราละได้แล้ว” ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมใน กรณีแห่ง ฉันทราคะในกาม คุณห้าที่ตนละได้แล้วนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ
ฐานที่สิบแปด).

อานนท์ อุปาทานขันธ์ เหล่านี้แล มีอยู่ ซึ่งในอุปาทานขันธ์ห้า เหล่านั้น
ภิกษุพึง เป็นผู้ มีปกติ ตามเห็นซึ่งความตั้งขึ้นและความเสื่อมไปอยู่ ดังนี้
ว่า “รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้น
แห่งรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้น มีปกติตามเห็นซึ่งความตั้งขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้อยู่ อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า อันเธอย่อมละได้ อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “อัสมิมานะของเราในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า อันเราละได้แล้ว” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งอัสมิมานะใน ปัญจุปาทานขันธ์อันตนละได้แล้วนั้น.
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเก้า)

อานนท์ ธรรมทั้งหลาย (อันเป็นที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ๑๙ อย่าง)เหล่านี้แล เป็นไป เพื่อกุศล โดยส่วนเดียว เป็นของพระอริยเจ้า เป็นโลกุตตระอันมารผู้มีบาป หยั่งลงไม่ได้. (ที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ มีจำนวน นับได้ถึง ๑๙ อย่างเช่นนี้ โดยถือเอาตามหลักเกณฑ์ในบาลี ฉบับ มอญและยุโรป ถ้าถือ เอาตาม ที่ปรากฏอยู่ในบาลีฉบับไทย จะได้เพียง ๑๘ อย่าง เท่านั้น. ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดง ลักษณะแห่งผู้มี สัมปชัญญะอย่างลึกซึ้งสูงสุดละเอียดละ ออกว่าที่แสดงไว้ ในบาลี แห่งอื่น เท่าที่ ผู้รวบรวมเคยพบมา. ยังมีข้อข้อความ บางอย่าง ที่ควรศึกษาแปลกออกไปอีกบาง ประการ ที่หัวข้อว่า "จิตหยั่งลงสู่อมตะ เมื่อประกอบด้วย สัญญาอันเหมาะสม" ที่หน้า ๗๖๖ แห่งหนังสือเล่มนี้ และพึงดูที่หัวข้อว่า "ลักษณะ สัมปชัญญะระดับสูงสุด" ที่หน้า ๑๑๗๘ ด้วย).