เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  04 of 11  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  หน้าที่ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อ “กาม”(กำจัดกามวิตก) 1048     หมวดที่ ๓ : เมื่อกระทำแล้ว 1082
  (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 1049     สัมมากัมมันตะ (โลกิยะ - โลกุตตระ) 1082-1
  การหลีกจากกามเป็นบุรพภาคของพรหมจรรย์ 1050     คำไขความของสัมมากัมมันตะ 1083
  อาการเกิดแห่งกุศลวิตก หรือสัมมาสังกัปปะ 1051     ลักษณะและวิบาก แห่งสัมมากัมมันตะ 1084
  ก. กรณีเนกขัมมวิตก 1051-1     วิบากของมิจฉากัมมันตะ 1086
  ข. กรณีอัพ๎ยาปาทวิตก 1051-2     กรรม-เหตุให้ได้รับผลเป็นความกระเสือกกระสน 1087
  ค. กรณีอวิหิงสาวิตก 1052     กรรม-เหตุให้ได้รับผลเป็นความไม่กระเสือกกระสน 1088
  สัมมาสังกัปปะทำให้เกิดสังฆสามัคคี 1052-1     อุทเทศแห่งสัมมาอาชีวะ 1090
  อาการเกิดแห่งอกุศลวิตกหรือมิจฉาสังกัปปะ 1054     สัมมาอาชีวะโดยปริยาย(โลกิยะ - โลกุตตระ) 1090-1
  ก. กรณีกามวิตก 1054-1     การดำรงชีพชอบ กินความไปถึงความสันโดษ 1092
         
  ข. กรณีพ๎ยาปาทวิตก 1055     แม้อยู่ป่า ก็ยังต่างกันหลายความหมาย 1092-1
  ค. กรณีวิหิงสาวิตก 1055-1     การดำรงชีพชอบโดยทิศหก ของฆราวาส 1093
  ธรรมชาติของกามแห่งกามวิตก 1056     (หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า) 1095
  ความไม่มีเนกขัมมวิตกในจิตของสามัญสัตว์ 1057     (หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องขวา) 1095-1
  อุทเทศแห่งสัมมาวาจา 1060     (หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหลัง) 1096
  สัมมาวาจาโดยปริยาย (โลกิยะ - โลกุตตระ) 1061     (หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องตํ่า) 1097-1
  หลักวินิจฉัยวจีกรรม ๓ สถานหมวดที่ ๑:เมื่อจะกระทำ 1062     (หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องบน) 1098
  หมวดที่ ๒ เมื่อกระทำอยู่ 1063     (คาถาสรุปความ) 1099
  หมวดที่ ๓ เมื่อกระทำแล้ว 1064     การดำรงชีพชั้นเลิศ ของฆราวาส 1100
  ข้อควรสรรเสริญหรือควรติเตียนเกี่ยวกับสัมมาวาจา 1064-1     การดำรงชีพชั้นรองเลิศ ของฆราวาส 1100-1


       
  คำไขความของสัมมาวาจาสี่ 1066     หลักการดำรงชีพ เพื่อผลพร้อมกันทั้งสองโลก 1102
  สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา 1066-1     (อปายมุขและอายมุข-ประโยชน์ในทิฎฐฏธรรม) 1105
  สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา(อีกนัยหนึ่ง) 1067     (หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์ สุขในสัมปรายะ) 1106
  วาจาของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ 1068     การดำรงชีพชอบ ตามหลักอริยวงศ์ 1107
  ๒. วาจาของสัตบุรุษ 1069     การดำรงชีพชอบโดยหลักมหาปุริสวิตก-) 1110
  ๓. วาจาของสะใภ้ใหม่ - สะใภ้เก่า 1071     (อานิสงส การดำรงชีพชอบ แห่งมหาปุริสวิตกแปด) 1111
  หลักเกณฑ์แห่งสัมมาวาจาขั้นสูงสุด 1072     (อานิสงส์ที่ครอบคลุมไปถึงความหมายแห่งปัจจัยสี่) 1112
  สัมมาวาจาชั้นสูงสุด (ระดับพระพุทธเจ้า) 1072-1     การดำรงชีพชอบ คือการลงทุนเพื่อนิพพาน 1114
  ตัวอย่างสัมผัปปลาวาทระดับครูบาอาจารย์ประการที่ ๑ 1073     หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ 1120
  ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาทระดับครูบาอาจารย์ 1075     ข. บิณฑบาต (หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ ) 1120-1
  วิบากแห่งมิจฉาวาจา 1078     ค. เสนาสนะ (หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ ) 1121
  อุทเทสแห่งสัมมากัมมันตะ 1080     ง. คิลานเภสัช (หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ ) 1121-1
  หลักวินิจฉัยกายกรรม ๓ หมวดที่ ๑ : เมื่อจะกระทำ 1081     ผลสืบต่อของสัมมาอาชีวะ 1122
  หมวด ๒ : เมื่อกระทำอยู่ 1081-1      

 

   

 

 
 
 





หน้า 1048
หน้าที่ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อ “กาม”
(เพื่อกำจัดกามวิตก)

ภิกษุ ท. การเข้าถึงซึ่งกาม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ ผู้มีกามอันตนเข้าไปดำรงอยู่ ผู้ยินดีในกามอันตนนิรมิตเอง ผู้ใช้อำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่น นิรมิตให้.

ภิกษุ ท. เหล่านี้แลเป็นการเข้าถึงกาม ๓ อย่าง.


หน้า 1048-1
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

พวกชนผู้มีกามอันตนเข้าไปดำรงอยู่ เทพยดาผู้ใช้อำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้ เทพยดาผู้ยินดีในกามอันตนนิรมิตเอง และผู้บริโภคกามเหล่าอื่นก็ดี ล้วนแต่ตั้งอยู่แล้วในการ บริโภคกาม ทั้งชนิดนี้และชนิดอื่น.บุคคลพึงเว้นซึ่งกามทั้งปวงเสีย ทั้งที่เป็นของทิพย์และ ของมนุษย์ พึงตัดซึ่งกระแสแห่งกามอันหยั่งลงในปิยรูปและสาตรูป อันเป็นกระแสที่ก้าวล่วง ได้ยาก แล้วย่อมปรินิพพานไม่มีส่วนเหลือ ก้าวล่วงทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ เป็นบัณฑิต เห็นธรรม อันประเสริฐ ถึงเวทด้วยปัญญาอันชอบ ไม่ถึงซึ่งความมีภพใหม่เพราะรู้ยิ่ง ซึ่งความสิ้นไป แห่งชาติ.

ภิกษุ ท. บุคคลผู้ ประกอบด้วยกามโยคะ และประกอบด้วยภวโยคะย่อมเป็น อาคามี คือผู้มาสู่ ความเป็นอย่างนี้ (ความเป็นมนุษย์ผู้บริโภคกาม).

ภิกษุ ท. บุคคลผู้ ปราศจากกามโยคะ แต่ยังประกอบด้วยภวโยคะย่อมเป็นอนาคามี คือผู้ไม่มา สู่ความเป็นอย่างนี้ . ภิกษุ ท. บุคคลผู้ ปราศจากกามโยคะ และปราศจากภวโยคะย่อมเป็น อรหันต์สิ้นอาสวะ. ดังนี้.


หน้า 1049
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยกามโยคะและภวโยคะทั้งสองอย่าง ย่อม ไปสู่สังสาระอันเป็น เครื่องให้ถึงซึ่งชาติและมรณะ.ส่วนสัตว์ผู้ละกามแล้ว แต่ยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ ยังประกอบ อยู่ด้วยภวโยคะนี้เรียกว่า อนาคามี. ส่วนพวกที่ตัดความสงสัยได้แล้ว สิ้นมานะและภพใหม่ ก็ถึงฝั่งนอกแห่งโลก คือถึงความสิ้นอาสวะ.

หมวดจ. ว่าด้วยอานิสงส์ของสัมมาสังกัปปะ


หน้า 1050
การหลีกจากกามเป็นบุรพภาคของพรหมจรรย์

ราชกุมาร อุปมาข้อสาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้วมาแจ่มแจ้งแก่เรา ราชกุมาร อุปมาว่าไม้แห้งสนิท ทั้งวางไว้บนบก ไกลจากน้ำ หากบุรุษตั้งใจว่าเราจักนำไม้สีไฟอันบน มาสีกับไม้นั้น ให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นดังนี้ราชกุมาร ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักนำไม้สี ไฟอันบนมาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้หรือไม่ ? “พระองค์ผู้เจริญ ได้โดยแท้ เพราะเหตุว่า โน้นเป็นไม้แห้งเกราะทั้งอยู่บนบกไกลน้ำด้วย”.

ราชกุมาร ฉันใดก็ฉันนั้น : สมณะหรือพรหมณ์พวกใด มีกายละจากวัตถุกามแล้ว ทั้งใจก็ไม่ ระคนอยู่ด้วยกิเลสกาม อันทำความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมก ความกระหายความ รุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย เขาเป็นผู้ละได้ ระงับได้ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายใน เหล่านั้น. สมณะหรือพรหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อนเพราะทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ย่อมควรเพื่อเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มีปัญญาอื่นยิ่งไปกว่าได้.

ราชกุมาร นี่เป็นอุปมาที่สามที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้ง กะเราแล้ว.

(สำหรับอุปมาที่หนึ่ง และอุปมาที่สอง ที่กล่าวถึงความไม่ประสบความสำเร็จในพรหมจรรย์ เพราะจมติดอยู่ในกาม โดยกายบ้าง โดยใจบ้าง หาอ่านได้จากหนังสือพุทธประวัติจากพระ โอษฐ์ ที่หัวข้อว่า “อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง” ที่หน้า ๖๑).


หน้า 1051
อาการเกิดแห่งกุศลวิตก หรือสัมมาสังกัปปะ

ภิกษุ ท.

เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด (นิทาน)ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด. อัพ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด.
อวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด.


หน้า 1051-1
ก. กรณีเนกขัมมวิตก

ภิกษุ ท. เนกขัมมวิตก ความตริตรึกในเนกขัมมะ (ออกจากกาม) ย่อมเกิดอย่าง มีเหต ให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.
เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ จึงเกิดเนกขัมมสัญญา
เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา จึงเกิดเนกขัมมสังกัปปะ
เพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ จึงเกิดเนกขัมมฉันทะ
เพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ จึงเกิดเนกขัมมปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้เนกขัมมะ)
เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ จึงเกิดเนกขัมมปริเยสนา
ภิกษุ ท. อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือโดยกาย โดยวาจา โดยใจ.


หน้า 1051-2
ข. กรณีอัพ๎ยาปาทวิตก

ภิกษุ ท. อัพยาปาทวิตก(ความตริตรึกในอัพยาบาท) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุ ให้เกิด ไม่ใช่เกิด อย่างไม่มีเหตุให้เกิด นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุท.
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทธาตุ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทสัญญา;
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทสัญญา จึงเกิดอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ;
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทฉันทะ;
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทฉันทะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทปริฬาหะ
(ความเร่าร้อนเพื่อจะได้อัพ๎ยาบาท);
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทปริฬาหะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทปริเยสนา.

ภิกษุ ท. อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาอัพ๎ยาบาท ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.


หน้า 1052
ค. กรณีอวิหิงสาวิตก

ภิกษุ ท. อวิหิงสาวิตก (ความตริตรึกในอวิหิงสา) ย่อมเกิดอย่างมี เหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิด อย่างไม่มีเหตุให้เกิด นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท.
เพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ จึงเกิดอวิหิงสาสัญญา
เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา จึงเกิดอวิหิงสาสังกัปปะ
เพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ จึงเกิดอวิหิงสาฉันทะ
เพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ จึงเกิดอวิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้อวิหิงสา)
เพราะอาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ จึงเกิดอวิหิงสาปริเยสนา

ภิกษุ ท. อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาอวิหิงสา ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.


หน้า 1052-1
สัมมาสังกัปปะทำให้เกิดสังฆสามัคคี

ภิกษุ ท. ในทิศใดพวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิงต่อกันและกัน ไม่ทะเลาะ วิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนนํ้านมกับนํ้ามองดูกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่ ภิกษุ ท. ทิศนั้น เป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย) จะป่วยการกล่าวไปใยถึงการ ที่เพียงแต่นึกถึง.

ในกรณีนี้ เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะภิกษุเหล่านั้นได้ ละทิ้งธรรมสามอย่าง เสียแล้ว และพากันมาถือกระทำให้มากในธรรมสามอย่าง. ธรรมสามอย่างอะไรบ้างเล่า ที่เธอละทิ้งเสียแล้ว สามอย่างคือ
๑. กามวิตก ความตรึกในกาม
๒. พ๎ยาปาทวิตก ความตรึกในทางมุ่งร้าย
๓. วิหิงสาวิตก ความตรึกที่ก่อให้เกิดความลำบากทั้งแก่ตนและผู้อื่น.ธรรม
๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเสียแล้ว.

ก็ธรรมสามอย่างอย่างไรเล่า ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ กระทำเพิ่มพูนให้มาก สามอย่างคือ:-
๑. เนกขัมมวิตก ความตรึกในการหลีกออกจากความพัวพันในกาม
๒. อัพ๎ยาปาทวิตก ความตรึกในการไม่ทำความมุ่งร้าย
๓. อวิหิงสาวิตก ความตรึกในการไม่ทำตนและผู้อื่นให้ลำบาก.ธรรม
๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ ทำเพิ่มพูนให้มาก.

ภิกษุ ท. ในทิศใด พวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิงต่อกันและกัน ไม่ทะเลาะ วิวาทกัน เข้ากันและกันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับน้ำมองดูกัน และกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่; ภิกษุ ท. ทิศนั้นเป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย)จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการที่เพียงแต่นึกถึง.ในกรณีนี้ เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะพวกภิกษุ เหล่านั้น ได้ละทิ้ง ธรรมสามอย่างเหล่าโน้นเสียแล้ว และพากันมาถือ กระทำให้มากในธรรม สามอย่างเหล่านี้ แทน. (นี้เป็นเครื่องแสดงว่า สังฆสามัคคีนั้นเป็นพุทธประสงค์ และ เป็นที่สบพระอัธยาศัย).

หมวด. ว่าด้วยโทษของการขาดสัมมาสังกัปปะ

หน้า 1054
อาการเกิดแห่งอกุศลวิตกหรือมิจฉาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. กามวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด (นิทาน) ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด. พ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด. วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด.


หน้า 1054-1
ก. กรณีกามวิตก

ภิกษุ ท. กามวิตก (ความตริตรึกในกาม) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิดไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. เพราะอาศัยกามธาตุ จึงเกิดกามสัญญา
เพราะอาศัยกามสัญญา จึงเกิดกามสังกัปปะ
เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงเกิดกามฉันทะ
เพราะอาศัยกามฉันทะ จึงเกิดกามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้กาม)
เพราะอาศัยกามปริฬาหะ จึงเกิดกามปริเยสนา (การแสวงหากาม)
ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหากาม
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.


หน้า 1055
ข. กรณีพ๎ยาปาทวิตก

ภิกษุ ท. พยาปาทวิตก ความตริตรึกในพยาบาท (มุ่งร้าย) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด นั้นเป็นอย่างไรเล่า
ภิกษุท.
เพราะอาศัยพยาปาทธาตุ จึงเกิดพยาปาทสัญญา
เพราะอาศัยพยาปาทสัญญา จึงเกิดพยาปาทสังกัปปะ
เพราะอาศัยพยาปาทสังกัปปะ จึงเกิดพยาปาทฉันทะ
เพราะอาศัยพยาปาทฉันทะ จึงเกิดพยาปาทปริฬาหะ-(ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ทำการพยาบาท)
เพราะอาศัยพยาปาทปริฬาหะ จึงเกิดพยาปาทปริเยสนา.

ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาพยาบาทย่อมปฏิบัติผิดโดย ฐานะสามคือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.


หน้า 1055-1
ค. กรณีวิหิงสาวิตก

ภิกษุ ท. เพราะอาศัยพยาปาทธาตุ จึงเกิดพยาปาทสัญญา
เพราะอาศัยพยาปาทสัญญา จึงเกิดพยาปาทสังกัปปะ
เพราะอาศัยพยาปาทสังกัปปะ จึงเกิดพยาปาทฉันทะ
เพราะอาศัยrยาปาทฉันทะ จึงเกิดพยาปาทปริฬาหะ-
(ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ทำการพยาบาท)
เพราะอาศัย๎ยาปาทปริฬาหะ จึงเกิดพยาปาทปริเยสนา.

ภิกษุ ท. บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหา พยาบาท ย่อมปฏิบัติผิด โดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ. หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณณกะ


หน้า 1056
ธรรมชาติของกามแห่งกามวิตก

ภิกษุ ท. ถูกแล้วๆ ที่พวกเธอทั้งหลายเข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้น.
ภิกษุ ท. ธรรมที่ทำอันตรายทั้งหลาย เราได้กล่าวไว้แล้วโดยอเนกปริยาย แก่พวกเธอ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถที่จะทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง. กามทั้งหลาย เรากล่าว แล้วว่ามีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.

เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ท่อนกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน กามนั้นยิ่งนัก.เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.

เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย คบเพลิงทำด้วยหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย หลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.

เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ของในความฝัน มีทุกข์มากมีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ของยืมเขามา มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.

เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ผลไม้ที่ฆ่าต้น มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.

เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย เขียงรองสับเนื้อ มีทุกข์ มากมีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.

เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย หอกและหลาว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย หัวงู มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก

ภิกษุ ท. โมฆบุรุษนั้นหนอ จักเสพกามโดยเว้นจากกาม (กิเลส) เว้นจากกามสัญญา เว้นจากกามวิตก ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้.


หน้า 1057
ความไม่มีเนกขัมมวิตกในจิตของสามัญสัตว์

วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้.ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่ง มาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่ง โน้น แต่เขาผูกมัดตนอย่างเหนียวแน่นด้วยเชือกอันมั่นคง ให้มีแขนไพล่หลังอยู่ริมฝั่งนี้

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้น จะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำ อจิรวดี ได้หรือหนอ?ไม่ได้แน่ท่านพระโคดม

วาเสฏฐะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน:กามคุณ ๕ อย่าง เหล่านี้เรียกกันในอริยวินัยว่า "ขื่อคา" บ้าง ว่า "เครื่องจองจำ" บ้าง. ห้าอย่างอย่างไรเล่า?ห้าอย่างคือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู .... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก .... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น.. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย (แต่ละอย่างๆ) อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ.

วาเสฏฐะ กามคุณ๕ อย่าง เหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัยว่า “ขื่อคา” บ้างว่า “เครื่องจองจำ”บ้าง.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ ไตรเพททั้งหลาย หยั่งลงอยู่ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ไม่มองเห็นโทษ ต่ำทราม ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ ซึ่งกามคุณทั้งห้าเหล่านี้.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะ ที่ไม่ทำความเป็นพราหมณ์ ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่บริโภคกามคุณทั้งห้าอย่างจมลึกอยู่ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ไม่มองเห็นโทษต่ำทรามไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก มีกามฉันทะผูกมัดแล้ว จักเป็น ผู้เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้น : นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้.

วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้.ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่ง มาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝงั่ โน้น แสวงหาฝั่งโนน้ มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่ง โน้น แต่เขา นอนคลุมศีรษะของตนอยู่ที่ริมฝั่งนี้.

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำ อจิรวดี ได้หรือหนอ ? "ไม่ได้แน่ท่านพระโคดม"

วาเสฏฐะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้เรียกกันในอริยวินัยว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้างว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า "เครื่องร้อยรัด” บ้าง ห้าอย่างอย่างไรเล่า? ห้าอย่างคือ กามฉันทนิวรณ์ พ๎ยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจ กุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์

วาเสฏฐะ นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัยว่า “เครื่องปิด” บ้าง “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง

วาเสฏฐะ พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ถูกนิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้ปิดแล้ว กั้นแล้วคลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้นละธรรมที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะที่ไม่ ทำความเป็นพราหมณ์ ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่ อันนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะการ ทำลาย แห่งกาย ดังนี้นั้น : นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้.


นิทเทศ๑๕

ว่าด้วย สัมมาสังกัปปะ

จบ



นิทเทศ ๑๖ ว่าด้วย สัมมาวาจา
(มี ๑๓ เรื่อง)
หมวดก. ว่าด้วยอุทเทศ - วิภาคของสัมมาวาจา



หน้า
1060
อุทเทศแห่งสัมมาวาจา


ภิกษุ ท. สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ?
เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการพูดไม่จริง
เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.  
ภิกษุ ท. อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.
หลักวิธีการพูดจาที่เป็น อริยะและอนริยะ

ภิกษุ ท. อนริยโวหาร (โวหารพูดที่มิใช่อริยะ แต่เป็นของคนพาล)
๘ประการ เหล่านี้ มีอยู่ แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการคือ
คนมักกล่าวว่า ได้เห็นในสิ่งที่มิได้เห็น
คนมักกล่าวว่า ได้ฟังในสิ่งที่มิได้ฟัง
คนมักกล่าวว่า ได้รู้สึกในสิ่งที่มิได้รู้สึก
คนมักกล่าวว่า ได้รู้แจ้งในสิ่งที่มิได้รู้แจ้ง
คนมักกล่าวว่า มิได้เห็นในสิ่งที่เห็น
คนมักกล่าวว่า มิได้ฟังในสิ่งที่ได้ฟัง
คนมักกล่าวว่า มิได้รู้สึกในสิ่งที่ได้รู้สึก
คนมักกล่าวว่า มิได้รู้แจ้งในสิ่งที่ได้รู้แจ้ง

ภิกษุ ท. อนริยโวหาร ๘ ประการ เหล่านี้ แล.
ภิกษุ ท. อริยโวหาร (โวหารพูดที่เป็นอริยะ ไม่ใช่ของคนพาล)
๘ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ :-
คนมักกล่าวว่า มิได้เห็นในสิ่งที่มิได้เห็น
คนมักกล่าวว่า มิได้ฟังในสิ่งที่มิได้ฟัง
คนมักกล่าวว่า มิได้รู้สึกในสิ่งที่มิได้รู้สึก
คนมักกล่าวว่า มิได้รู้แจ้งในสิ่งที่มิได้รู้แจ้ง
คนมักกล่าวว่า ได้เห็นในสิ่งที่เห็น
คนมักกล่าวว่า ได้ฟังในสิ่งที่ได้ฟัง
คนมักกล่าวว่า ได้รู้สึกในสิ่งที่ได้รู้สึก
คนมักกล่าวว่า ได้รู้แจ้งในสิ่งที่ได้รู้แจ้ง
ภิกษุ ท. อริยโวหาร ๘ ประการ เหล่านี้ แล.


หน้า
1061
สัมมาวาจาโดยปริยายสองอย่าง
(โลกิยะ - โลกุตตระ)

ภิกษุ ท. สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. เรากล่าวแม้สัมมาวาจาว่ามีโดยส่วนสอง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสวา)เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็น วิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่; สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ (อริย)ไม่มีอาสวะ (อนาสว)เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค(มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท (คำเท็จ)เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก ปิสุณวาท (คำส่อเสียด) เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากผรุสวาท (คำหยาบ) เจตนาเป็นเครื่อง งดเว้นจากสัมผัปปลาวาท (คำเพ้อเจ้อ) ภิกษุท. นี้คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.

ภิกษุ ท. สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็น อย่างไรเล่า? คือการงด (อารติ) การเว้น (วิรติ) การเว้นขาด (ปฏิวิรติ) และเจตนาเป็นเครื่อง เว้น(เวรมณี) จากวจีทุจริตทั้งสี่ (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคีผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. นี้คือ สัมมาวาจาอันเป็นอริยะไม่มี อาสวะเป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.


หน้า
1062
หลักวินิจฉัยวจีกรรม
สถาน
หมวดที่
๑ : เมื่อจะกระทำ

ราหุล เธอใคร่จะทำกรรมใดด้วยวาจา พึงพิจารณากรรมนั้นเสียก่อนว่า “วจีกรรมที่เราใคร่ จะกระทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ?” ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอ พิจารณารู้สึกอยู่ดังนี้ไซร้ เธอ ไม่พึงกระทำวจีกรรมชนิดนั้นโดยถ่ายเดียว.

ราหุล ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกดังนี้ว่า “วจีกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้างเป็น วจีกรรมที่เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ไซร้ ราหุล เธอ พึงกระทำวจีกรรม ชนิดนั้น.


หน้า
1063
หมวดที่
เมื่อกระทำอยู่

ราหุล เมื่อเธอกระทำกรรมใดด้วยวาจาอยู่ พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “วจีกรรมที่เรากำลัง กระทำอยู่นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอ พิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ไซร้ เธอ พึงเลิกละวจีกรรมชนิดนั้นเสีย.

ราหุล ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “วจีกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียด เบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ไซร้ ราหุล เธอ พึงเร่งเพิ่มการกระทำวจีกรรมชนิดนั้น.


หน้า
1064
หมวดที่
เมื่อกระทำแล้ว

ราหุล เมื่อเธอกระทำกรรมใดด้วยวาจาแล้ว พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “วจีกรรมที่เรากระทำ แล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็น วจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้

ราหุล ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ไซร้ เธอพึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำให้เป็นของหงาย ซึ่งวจีกรรมนั้น ในพระศาสดา หรือในเพื่อน สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง ครั้นเปิดเผย ครั้นกระทำให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป.

ราหุล ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “วจีกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็น วจีกรรมที่เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ไซร้

ราหุล เธอ พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด.


หน้า
1064-1
ข้อควรสรรเสริญหรือควรติเตียนเกี่ยวกับสัมมาวาจา


โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำพวกเหล่าไหนเล่า สี่จำพวก คือ

โปตลิยะ บุคคลบางคนในกรณีนี้ กล่าวติเตียน บุคคลที่ควรติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร แต่ไม่กล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควรสรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.

โปตลิยะ บุคคลบางคนในกรณีนี้ กล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควรสรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร แต่ไม่กล่าวติเตียน บุคคลที่ควรติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.

โปตลิยะ บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่กล่าวติเตียน บุคคลที่ควรติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร และไม่กล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควรสรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.

โปตลิยะ บุคคลบางคนในกรณีนี้ กล่าวติเตียน บุคคลที่ควรติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควรสรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.

โปตลิยะ บุคคลสี่จำพวกเหล่านี้ แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

โปตลิยะเอ๋ย ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกนี้ บุคคลจำพวกไหนเล่า ควรจะเป็นบุคคลที่งดงามกว่า ประณีตกว่า สำหรับท่าน.

"
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกเหล่านั้นบุคคลจำพวกที่ไม่กล่าวติเตียน บุคคลที่ควรติเตียนตามที่เป็นจริงโดยกาลอันควรและไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ตามที่เป็นจริงโดยกาลอันควร บุคคลจำพวกนี้แลควรจะเป็นบุคคลที่งดงามกว่าประณีตกว่าสำหรับข้าพระองค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่านั่นงดงามยิ่งด้วยอุเบกขา".

โปตลิยะ ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกเหล่านั้น บุคคลจำพวกใด กล่าวติเตียนบุคคลที่ควร ติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญตาม ที่เป็นจริง โดยกาลอันควร; บุคคลจำพวกนี้ เป็นบุคคลพวกที่งดงามกว่า ประณีตกว่า ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

โปตลิยะ นั่น งดงามเพราะความเป็นผู้รู้กาละในกรณีนั้นๆ.

หมวด
. ว่าด้วยลักษณะของสัมมาวาจา


หน้า
1066
คำไขความของสัมมาวาจาสี่


(อมุสาวาท) เธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความ จริงรักษาความสัตย์มั่งคง ในคำพูด มีคำพูดควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก.

(อปิสุณวาท) เธอนั้น ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไป บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้เพื่อ แตกจากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อม เพรียงกันอยู่ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น; เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการ พร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพียงกัน.

(อผรุสวาท) เธอนั้น ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าว คำหยาบ กล่าวแต่วาจา ที่ไม่มีโทษเสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจเป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่.

(อสัมผัปปลาวาท) เธอนั้น ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อกล่าวแต่ในเวลาอัน สมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัยกล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้าง อิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์สมควรแก่เวลา.


หน้า 1066-1
สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา

ภิกษุ ท. วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิตไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน. องค์ห้าประการอย่างไรเล่า ? ห้าประการ คือ

กล่าวแล้วควรแก่เวลา (กาเลน ภาสิตา โหติ)
กล่าวแล้วตามสัจจ์จริง (สจฺจา ภาสิตา โหติ)
กล่าวแล้วอย่างอ่อนหวาน (สณฺหา ภาสิตา โหติ)
กล่าวแล้วอย่างประกอบด้วยประโยชน์ (อตฺถสญฺหิตา ภาสิตา โหติ)
กล่าวแล้วด้วยเมตตาจิต (เมตฺตจิตฺเตน ภาสิตา โหติ)

ภิกษุ ท. วาจา อันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจา ทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.


หน้า 1067
สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา
(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ เป็นวาจาสุภาษิตไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.
องค์สี่ประการอย่างไรเล่า ? สี่ประการ คือ
กล่าวเป็นสุภาษิตเท่านั้น ไม่กล่าวเป็นทุพภาษิต
กล่าวเป็นธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวเป็นอธรรม
กล่าววาจาน่ารัก (แก่ผู้ฟัง) เท่านั้น ไม่กล่าววาจาไม่น่ารัก (แก่ผู้ฟัง)
กล่าววาจาสัจจ์เท่านั้น ไม่กล่าววาจาเหลาะแหละ.
ภิกษุ ท. วาจา อันประกอบด้วยองค์ ๔ ประการเหล่านี้แล เป็น วาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.


หน้า 1068
วาจาของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ

๑. วาจาของอสัตบุรุษ
ภิกษุ ท. บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็นอสัตบุรุษ. สี่ประการ อย่างไรเล่า? สี่ประการ คือ

ภิกษุ ท. อสัตบุรุษในกรณีนี้ แม้ไม่มีใครถามถึง ความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่มีทางหลีกเลี้ยวลดหย่อน แล้วกล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างเต็มที่โดยพิสดาร.

ภิกษุ ท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ถูกใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขวแล้วกล่าวความดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่.

ภิกษุ ท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ถูกใครถามถึง ความไม่ดีของตน ก็ปกปิดไม่เปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขว แล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่างไม่พิสดารเต็มที่.

ภิกษุท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความดีของตน ก็นำมาโอ้อวดเปิดเผย จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่ลดหย่อนหลีกเลี้ยว กล่าวความดีของตนอย่างเต็มที่โดยพิสดาร. ภิกษุ ท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล เป็นที่รู้กันว่าเป็นอสัตบุรุษ.


หน้า 1069
๒. วาจาของสัตบุรุษ

ภิกษุ ท. บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็นสัตบุรุษ. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการ คือ :-

ภิกษุ ท. สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถามถึง ความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหา ไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่.
ภิกษุ ท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก
คือ แม้ไม่ถูกใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ จะต้องกล่าว ทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดีของผู้อื่นโดยพิสดารบริบูรณ์.
ภิกษุ ท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก
คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ยังนำเปิดเผยทำให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อ ถูกถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่นำเอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าวความไม่ดีของตนอย่างโดยพิสดารเต็มที่.
ภิกษุ ท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก
คือ แม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใคร ถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตนก็นำเอาปัญหา ไปกระทำให้ลดหย่อนหลีกเลี้ยว เสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่.
ภิกษุ ท. ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ

ภิกษุ ท. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล เป็นที่รู้กันว่าเป็นสัตบุรุษ.


หน้า 1071
๓. วาจาของสะใภ้ใหม่ - สะใภ้เก่า

ภิกษุ ท. เปรียบเหมือนหญิงสะใภ้ใหม่ อันเขาเพิ่งนำมาชั่วคืนชั่ววัน ตลอดเวลาเท่านั้น ก็ยังมีความละอาย และความกลัวที่ดำรงไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ในแม่ผัวบ้าง ในพ่อผัวบ้าง ในสามีบ้าง แม้ที่สุดแต่ในทาสกรรมกรคนใช้.ครั้นล่วงไปโดยสมัยอื่น เพราะอาศัยความคุ้นเคย กัน หญิงสะใภ้นั้น ก็ตวาดแม่ผัวบ้าง พ่อผัวบ้าง แม้แต่กะสามี ว่า หลีกไปๆพวกแกจะรู้อะไรดังนี้ นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือนได้ชั่วคืน ชั่ววัน ตลอดเวลาเพียงเท่านั้น หิริและโอตตัปปะของเธอนั้นยังดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง ในภิกษุ ในภิกษุณี ในอุบาสก ในอุบาสิกาแม้ที่สุดแต่ในคนวัดและสามเณร. ครั้นล่วงไปโดยสมัยอื่น เพราะอาศัยความคุ้นเคยกัน เธอก็กล่าว ตวาดอาจารย์บ้าง อุปัชฌาย์บ้าง ว่า หลีกไปๆพวกท่านจะรู้อะไรดังนี้.

ภิกษุ ท. เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาสำเหนียก อย่างนี้ว่า “เราจัก อยู่อย่างมีจิตเสมอกันกับหญิงสะใภ้ใหม่ผู้มาแล้วไม่นาน” ดังนี้. ภิกษุ ท. พวกเธอทั้งหลาย พึงทำการศึกษาสำเหนียกอย่างนี้ แล.


หน้า 1072
หลักเกณฑ์แห่งสัมมาวาจาขั้นสูงสุด


ราชกุมาร ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และ ไม่เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบ ด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม เลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าว วาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจ ของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์และ เป็น ที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้น.


หน้า 1072-1
สัมมาวาจาชั้นสูงสุด (ระดับพระพุทธเจ้า)


ทัณฑปาณิสักกะได้ทูลถามพระภาคเจ้าว่า "พระสมณะมีถ้อยคำอย่างไรมีการกล่าวอย่างไร อยู่เป็นประจำ?"

เพื่อนเอ๋ย คนเรามีการกล่าวอย่างไรแล้ว ไม่เกิดการทะเลาะวิวาทกับใครๆในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์อยู่ ก็ดี อีกอย่างหนึ่ง คนเรามีปกติกล่าวอย่างไรแล้ว สัญญา (เรื่องราวก่อนๆ) ไม่มาติดตามอยู่ ในใจผู้นั้น ซึ่ง (บัดนี้) เป็นผู้หมดบาป ไม่ประกอบตนอยู่ด้วยกาม ไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัย ว่าอะไรเป็นอย่างไรอีกต่อไป มีความรำคาญทางกายและทางใจอันตนตัดขาดแล้ว ปราศจาก ตัณหาในภพไหนๆอยู่ก็ดี เพื่อนเอ๋ย เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้อยู่เป็นประจำ ดังนี้

หมวดค. ว่าด้วยโทษของการขาดสัมมาวาจา



หน้า 1073
ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาทระดับครูบาอาจารย์
ตัวอย่างประการที่


"
พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องทางหรือมิใช่ทางนั้นแม้พราหมณ์ทั้งหลาย จะบัญญัติไว้ต่างๆกัน คือพวกอัทธริยพราหมณ์ ก็บัญญัติพวกติตติริยพราหมณ์ ก็บัญญัติพวกฉันโทกพราหมณ์ ก็บัญญัติพวกพัวหริธาพราหมณ์ ก็บัญญัติแต่ทางทั้งหมดนั้นก็ล้วนแต่เป็นทาง นำออกสามารถ นำผู้ปฏิบัติ ตามทางนั้นไปสู่ความเป็นสหาย แห่งพรหมได้เปรียบ เสมือนทางต่างๆ มีเป็นอัน มาก ใกล้บ้าน ใกล้เมือง ก็ล้วนแต่ไปประชุมกันที่บ้านแห่งหนึ่งทุกๆทางฉันใดก็ฉันนั้น".

วาเสฏฐะ ในบรรดาพราหมณ์ไตรเพททั้งหลายเหล่านั้น มีพราหมณ์สักคนหนึ่งไหม ที่ได้เห็น พรหมโดยประจักษ์ ?“ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม

วาเสฏฐะ ถ้าอย่างนั้น มีอาจารย์สักคนหนึ่งไหม ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ที่ได้เห็น พรหมโดยประจักษ์?“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม

วาเสฏฐะ ถ้าอย่างนั้น มีประธานอาจารย์แห่งอาจารย์สักคนหนึ่งของพราหมณ์ไตรเพท เหล่านั้นไหม ที่ได้เห็นพรหม โดยประจักษ์?“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม

วาเสฏฐะ มีอาจารย์ที่สืบกันมาถึงเจ็ดชั่ว ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น สักคนหนึ่งไหม ที่ได้ เห็นพรหมโดยประจักษ์?“ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม

วาเสฏฐะ ในบรรดาฤษีเก่าแก่ทั้งหลาย คือ ฤษีอัฏฐกะ ฤษีวามกะฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคี ฤษีอังคีรสะ ฤษีภาร-ท๎วาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ผู้ได้ประกอบมนต์ขึ้น บอกกล่าวแก่พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ให้ขับตาม ให้กล่าวตามให้สวด ตาม ให้บอกตาม กันสืบๆมาจนกระทั่งกาลนี้ เหล่านั้น มีฤษีสักตนหนึ่งไหมในบรรดาฤษีเหล่า นั้น ที่กล่าวยืนยันอยู่ว่าเรารู้เราเห็นว่าพรหมอยู่ที่ไหน ด้วยอาการอย่างไร ณ ที่ใด
ดังนี้? “ ข้อนั้นหามีไม่พระโคดม

วาเสฏฐะ เมื่อไม่มีพราหมณ์ อาจารย์ของพราหมณ์ หรือฤษีผู้บอกมนต์แก่พราหมณ์ แม้สักคน หนึ่งที่เคยเห็นพรหมโดยประจักษ์ แล้วมาแสดงหนทาง ไปสู่ความเป็นสหายแห่งพรหม อยู่ดังนี้ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็น คำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์๑ (อปฺปาฏิหิริกตํ) มิใช่หรือ ?

ถูกแล้ว วาเสฏฐะ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ไม่เห็นพรหมจะมากล่าวแสดงหนทาง ไปสู่ ความเป็นสหายกับพรหม ดังนี้นั้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแถวคน ตาบอด เกาะหลังกัน คนต้นแถวก็ไม่เห็นอะไร คนกลางแถวก็ไม่เห็นอะไร คนปลายแถวก็ไม่ เห็นอะไร นี้ฉันใด วาเสฏฐะ คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ก็มีอุปมาเหมือนแถว แห่งคนตาบอด ฉันนั้นแหละ คือผู้กล่าวพวกแรกก็ไม่เห็นพรหม ผู้กล่าวพวกต่อมาก็ไม่เห็น พรหม ผู้กล่าวพวกสุดท้ายก็ไม่เห็นพรหม ดังนั้นคำกล่าวของพวกเขาก็ถึงซึ่งความเป็น คำกล่าว ที่น่าหัว (หสฺสก) คำกล่าวที่ต่ำต้อย (นามก) คำกล่าวเปล่าๆปลี้ๆ (ริตฺตก)คำกล่าว เหลวไหล (ตุจฺฉก). (นี้เป็นตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาปวาทระดับสูงชนิดที่หนึ่ง)


หน้า
1075
ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาทระดับครูบาอาจารย์
ตัวอย่างประการที่


วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร พราหมณ์ไตรเพททั้งหลายก็มองเห็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อยู่ ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็มองเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ขึ้นมาจากทิศไหนตกลงไปทางทิศไหน พากันอ้อนวอนอยู่ ชมเชยอยู่ ประนมมือ นมัสการเดินเวียนรอบๆอยู่"แน่แล้วพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้นคำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพท เหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์" ด้วยกันทั้งสองพวก มิใช่หรือ ?“อย่างนี้แหละพระโคดม ”

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญคความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อพวกพราหมณ์ไตรเพทก็เห็นพวกชน เหล่า อื่นเป็นอันมากก็เห็น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ด้วยกันทั้งสองพวก อยู่ดังนี้



หน้า 1078
วิบากแห่งมิจฉาวาจา


ภิกษุ ท. มุสาวาท ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อ กำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบาก ทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง.

ภิกษุ ท. ปิสุณวาท (คำยุยงให้แตกกัน) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปิสุณวาทของผู้เป็น มนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การแตกจากมิตร.

ภิกษุ ท. ผรุสวาท (คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย ิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็น มนุษย์ที่เบา กว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การได้ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ.

ภิกษุ ท. สัมผัปปลาวาท (คำเพ้อเจ้อ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ วาจาที่ไม่มีใครเชื่อถือ.

นิทเทศ๑๖

ว่าด้วย สัมมาวาจา
จบ


นิทเทศ ๑๗ ว่าด้วย สัมมากัมมันตะ
(มี ๘ เรื่อง)
หมวดก. ว่าด้วยอุทเทศ-วิภาคของสัมมากัมมันตะ



หน้า
1080
อุทเทสแห่งสัมมากัมมันตะ

ภิกษุ ท. สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้วเจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการประพฤติผิด ในกามทั้งหลาย. ภิกษุ ท. อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.

(บาลีแห่งอื่น มีข้อความแตกต่างออกไปว่า : -)

ภิกษุ ท. สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการ ถือสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ นี้เราเรียกว่าสัมมากัมมันตะ

(บาลีสูตรบนแสดงด้วย กาเมสุมิจฉาจาร บาลีสูตรล่างแสดงด้วย อพรหมจริยา เข้าใจว่าสูตรบน แสดงสำหรับฆราวาส สูตรล่างแสดงสำหรับบรรพชิต โดยทั่วไปแสดงอย่างสูตรบน เพราะแสดงอย่างสูตรล่างมีน้อยมาก).


หน้า 1081
หลักวินิจฉัยกายกรรม ๓ สถาน
หมวดที่ ๑ : เมื่อจะกระทำ

ราหุล เธอใคร่จะทำกรรมใดด้วยกาย พึงพิจารณากรรมนั้นเสียก่อนว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะ กระทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้างเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้า เป็น กายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอ พิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้ เธอไม่พึงกระทำกาย กรรมชนิดนั้นโดยถ่ายเดียว.

ราหุล ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียด เบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ ไซร้ ราหุล เธอ พึงกระทำ กายกรรมชนิดนั้น


หน้า 1081-1
หมวด ๒ : เมื่อกระทำอยู่

ราหุล เมื่อเธอกระทำกรรมใดด้วยกายอยู่ พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “กายกรรมที่เรากำลังกระทำ อยู่นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็น กายกรรมที่เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไรมีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ” ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอ พิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้ เธอ พึงเลิกละกายกรรมชนิดนั้นเสีย.

ราหุล ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียด เบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ ไซร้ ราหุล เธอพึงเร่งเพิ่มการ กระทำกายกรรมชนิดนั้น.


หน้า 1082
หมวดที่ ๓ : เมื่อกระทำแล้ว

ราหุล เมื่อกระทำกรรมใดด้วยกายแล้ว พึงพิจารณากรรมนั้นว่า“กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้างเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้างเป็นกายกรรม ที่เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ” ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอพิจารณารู้สึก อยู่ดังนั้นไซร้ เธอ พึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำให้เป็นของหงาย ซึ่งกายกรรมนั้นในพระ ศาสดา หรือในเพื่อน สพรหมจารี ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง ครั้นเปิดเผย ครั้นกระทำ ให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป.

ราหุล ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้างไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็น กายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ ไซร้ ราหุล เธอ พึงอยู่ด้วยป ติ และปราโมทย์ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด.


หน้า 1082-1
สัมมากัมมันตะโดยปริยายสองอย่าง
(โลกิยะ - โลกุตตระ)

ภิกษุ ท. สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. เรากล่าว แม้สัมมากัมมันตะว่า มีโดย ส่วนสอง คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ(สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่;สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร)เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบากนั้นเป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เจตนาเป็น เครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดใน กามทั้งหลาย มีอยู่ภิกษุ ท. นี้คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.

ภิกษุ ท. สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระเป็ นองค์แห่งมรรค นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? คือ การงด การเว้น การเว้นขาดเจตนาเป็นเครื่องเว้น จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิตของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญ อยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท.นี้คือ สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค.

หมวด. ว่าด้วยลักษณะของสัมมากัมมันตะ

หน้า 1083
คำไขความของสัมมากัมมันตะ

(ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาตวางท่อนไม้และ ศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ ทั้งหลาย อยู่.

(อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน เว้นขาดจาก อทินนาทานถือเอาแต่ของที่เขา ให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาดเป็นอยู่.

(กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี - สำหรับฆาราวาส) เธอนั้น ละการประพฤติผิดในกามเว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม (คือเว้นขาดจากการประพฤติผิด) ในหญิงซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือญาติ รักษา อันธรรมรักษาเป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูป แบบเหล่านั้น.

(อพรหมจริยา เวรมณี - สำหรับบรรพชิต) เธอนั้นละกรรมอันไม่ใช่พรหมจรรย์ ประพฤติ พรหมจรรย์ โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจาก การเสพเมถุนอันเป็นของชาวบ้าน.


หน้า 1084
ลักษณะและวิบาก แห่งสัมมากัมมันตะ

ภิกษุ ท. อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต. ภิกษุ ท. อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทานแก่สัตว์ ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด เบียน อันไม่มีประมาณ.

ภิกษุ ท. นี้เป็น (อภัย) ทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศเป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอด ทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคตอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุ ท. ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่สี่)เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อ ยอดสุด อันดี มีสุขเป็นวิบากเป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึง ปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ.

ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละอทินนาทาน เว้นขาด จากอทินนาทาน. ภิกษุ ท. อริยสาวกเว้นขาดจากอทินนาทานแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้ง หลายมากไม่มีประมาณแล้วย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

ภิกษุ ท. นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สอง เป็นมหาทานรู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมี มานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้ง อยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุ ท. ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่ห้า) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไป เพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข อันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.

ภิกษุ ท. ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุ ท. อริยสาวกเว้นขาดจากกาเม สุมิจฉาจารแล้วย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยา ปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน อันไม่มี ประมาณ.

ภิกษุ ท. นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สาม เป็นมหาทาน รู้จักกัน ว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมา นาน เป็นของประพฤติสืบ กันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูก ทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณ พราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุ ท. ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่หก) เป็นที่ไหลออกแห่ง กุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไป เพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูลเพื่อความสุข อันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.

หมวด. ว่าด้วยโทษและอานิสงส์ของสัมมากัมมันตะ

หน้า 1086
วิบากของมิจฉากัมมันตะ

ภิกษุ ท. ปาณาติบาต ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรกเป็นไป เพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็น มนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.

ภิกษุ ท. อทินนาทาน ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรกเป็นไป เพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อ เปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนทานของผู้เป้น มนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ความเสื่อมแห่งโภคะ.

ภิกษุ ท. กาเมสุมิจฉาจาร ที่เสพทั่วแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรกเป็นไป เพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารของผู้เป็น มนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ก่อเวรด้วยศัตรู.


หน้า 1087
กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความกระเสือกกระสน

ภิกษุ ท. เราจักแสดงธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงตั้งใจ ฟังให้ดี. ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไปตาม กรรม (ของหมู่สัตว์) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็น นของตน เป็น ทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น ที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผล กรรมนั้น.ภิกษุ ท. คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติทำปาณาติบาต หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อน ด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต. เขากระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย กระเสือกกระสนด้วย(กรรมทาง) วาจา กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ กายกรรมของเขาคดวจีกรรมของเขาคด มโนกรรมของเขาคด;คติของเขาคด อุปบัติของเขา คด.

ภิกษุ ท. สำหรับผู้มีคติคด มีอุบัติคดนั้น เรากล่าวคติอย่างใด อย่างหนึ่งในบรรดาคติสอง อย่างแก่เข คือเหล่า สัตว์นรกผู้มีทุกข์โดยส่วนเดียวหรือว่าสัตว์เดรัจฉานผู้มีกำเนิดกระเสือก กระสน ได้แก่ งู แมลงป่อง ตะขาบ พังพอนแมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่นที่เห็น มนุษย์แล้วกระเสือกกระสน. ภิกษุท. ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติ (การเข้าถึง ภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้ง หลายย่อม ถูกต้องภูติสัตว์ั้นผู้อุปบัติแล้ว.

ภิกษุ ท. เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ กระทำอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ข้อความอย่างเดียว กันกับในกรณีของผู้กระทำ ปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลย ไปถึง วจีทุจริตสี่ มโนทุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกัน อีกด้วย.ต่อไปนี้ ได้ตรัสข้อความ ฝ่ายกุศล )


หน้า 1088
กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความไม่กระเสือกกระสน

ภิกษุ ท. สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง อาศัย กระทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผล แห่งกรรมนั้น.

ภิกษุ ท. บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู กรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย. เขาไม่กระเสือก กระสนด้วย (กรรมทาง) กาย ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ;กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง : คติของเขา ตรงอุปบัติของเขาตรง.

ภิกษุ ท. สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติสอง อย่าง แก่เขา คือเหล่า สัตว์ผู้มีสุข โดยส่วนเดียว๑ หรือว่า ตระกูลอันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาลหรือตระกูลคหบดีมหาศาลอันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง และเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.

ภิกษุ ท. ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำ กรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วย กรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้อุบัติแล้ว.

ภิกษุ ท. เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.(ในกรณี แห่งบุคคลผู้ ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่าง เดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบน ทุกประการ; และยังได้ ตรัสเลยไปถึง วจีสุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกวย)

ภิกษุ ท. นี้แล คือธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์)

นิทเทศ๑๗
ว่าด้วยสัมมากัมมันตะ
จบ



นิทเทศ ๑๘ ว่าด้วย สัมมาอาชีวะ
หมวดก. ว่าด้วยอุทเทศ - วิภาคของสัมมาอาชีวะ



หน้า 1090
อุทเทศแห่งสัมมาอาชีวะ

ภิกษุ ท. สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. สาวกของพระอริยเจ้า ในกรณีนี้ ละการ เลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุ ท. อันนี้เราเรียกว่า สัมมาอาชีวะ.


หน้า 1090-1
สัมมาอาชีวะโดยปริยายสองอย่าง
(โลกิยะ - โลกุตตระ)

ภิกษุ ท. สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. เรากล่าวแม้สัมมาอาชีวะ ว่ามีโดยส่วนอง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไป กับด้วยอาสวะ(สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็น วิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุต ตระ (โลกุตฺตร);เป็นองค์แห่งมรรค (มงฺคงฺค) ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ อริยสาวกละเสียซึ่งการเลี้ยงชีวิตที่ผิด สำเร็จการเป็นอยู่ ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ ภิกษุ ท. นี้คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไปกับ ด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่ง บุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.ภิกษุ ท. สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ การงด การเว้น การงดเว้นเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ เลี้ยงชีวิตที่ผิด (มิจฺฉาอาชีว)๑ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมังคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. นี้คือสัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.


หมวดข. ว่าด้วยลักษณะ-อุปมาของสัมมาอาชีวะ


หน้า 1092
การดำรงชีพชอบ กินความไปถึงความสันโดษ

มหาราช ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร ท้อง; ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อมถือเอาบาตร และจีวรนั้นหลีกไปได้ โดยทิศนั้นๆมหาราช เปรียบเสมือนนกมีปีกจะบิน ไปโดยทิศใดๆ มีปีก อย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น:เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆได้. มหาราช ภิกษุเป็นผู้ สันโดษ อย่างนี้แล.

(เมื่อขยายความหมายของคำว่าอาชีวะกว้างออกไปเป็นการดำรงชีพชอบ ความสันโดษใน ปัจจัยเครื่องอาศัยของชีวิต ก็มีลักษณะแห่งการดำรงชีพชอบด้วยเหมือนกัน ผู้รวบรวมเรื่องนี้ จึงนำเรื่องความสันโดษมาใส่ไว้ในหมวดนี้ด้วย).
-----------------------------------------------------------------------------------
๑. มิจฉาอาชีวะในกรณีของภิกษุ มีตรัสไว้โดยละเอียด ในบาลีสามัญญผลสูตร เป็นต้น มีอยู่ หลายหมวดด้วยกัน ผู้ศึกษาพึงหาดูจากพระบาลีนั้นหรือจากหนังสือเล่มนี้ ที่หัวข้อว่า" ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย" ที่ภาคผผนวก หรือจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์.
-----------------------------------------------------------------------------------

หน้า 1092-1
แม้อยู่ป่า ก็ยังต่างกันหลายความหมาย

ภิกษุ ท. ภิกษุผู้ถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่. ห้าจำพวก อย่างไรเล่า ? ห้าจำพวกคือ อยู่ป่าเพราะความโง่ เพราะความหลง๑ อยู่ป่าเพราะเป็นผู้ปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ ๑ อยู่ป่าเพราะจิตฟุ้งซ่านจนหลงใหล ๑ อยู่ป่าเพราะคิดว่า พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ ๑ เป็นผู้อยู่ป่าเพราะอาศัยความปรารถนา น้อยโดยตรง เพราะอาศัยความสันโดษโดยตรง เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสโดยตรง เพราะอาศัยปวิเวกโดยตรง เพราะอาศัยความ ต้องการเช่นนั้นโดยตรง ๑. ภิกษุ ท. เหล่านี้แล ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก.

ภิกษุ ท. ในบรรดาภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า ๕ จำพวกเหล่านี้ พวกที่อยู่ป่าเพราะอาศัยความ ปรารถนาน้อยโดยตรง เพราะอาศัย ความสันโดษโดยตรงเพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสโดย ตรง เพราะอาศัยปวิเวกโดยตรง เพราะอาศัยความต้องการเช่นนั้น โดยตรง นี้เป็นพวกที่เลิศ ประเสริฐ เด่น สูงสุด ประเสริฐกว่าทั้งหมด แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้. เปรียบเหมือนนมสดได้มาจากแม่โค นมส้มได้มาจากนมสด เนยข้นได้มาจากนมส้ม เนยใสได้ มา จากเนยข้น หัวเนยใสได้มาจาก เนยใส. ในบรรดารสเกิดแต่แม่นมโคทั้งหลายเหล่านั้น หัวเนยใสปรากฏว่าเป็นของเลิศ ฉันใดก็ฉันนั้น.

(ต่อจากนี้ ได้ตรัสถึงธุดงควัตรข้ออื่นๆ เช่น การถือผ้าบังสกุล อยู่โคนไม้ อยู่ป่าช้า อยู่กลาง แจ้งไม่นอน อยู่ในเสนาสนะที่เขา จัดให้ ฉันหนเดียว ไม่ฉันอาหารที่นำมาถวายเมื่อลงมือฉัน แล้ว และการบิณฑบาตเป็นวัตร ว่ามีทั้งชนิดงมงาย หลอกลวง และบริสุทธิ์ ครบทั้งห้าจำพวก ด้วยกันทั้งนั้น;ผู้ที่นับถือบูชาแก่ภิกษุผู้ถือธุดงค์พึงสังวรไว้ โดยนัยนี้).


หน้า 1093
การดำรงชีพชอบโดยทิศหก ของฆราวาส

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอริยวินัยมีการนอบน้อมทิศทั้งหกอย่างไรพระเจ้าข้า ขอพระองค์ จงทรงแสดงธรรมที่เป็นการนอบน้อม ทิศทั้งหกในอริยวินัยเถิด"

คหบดีบุตร เมื่อใด อริยสาวก ละเสียได้ซึ่งกรรมกิเลส ๔ ประการไม่กระทำกรรมอันเป็นบาป โดยฐานะทั้งสี่ และไม่เสพทางเสื่อม (อบายมุข) แห่งโภคะ ๖ ทาง เมื่อนั้น เขาชื่อว่าเป็นผู้ ปราศจากกรรมอันเป็นบาปรวม ๑๔ อย่างเป็นผู้ปิดกั้นทิศทั้งหกโดยเฉพาะ แล้ว ด้วยอาการ อย่างนี้ ชื่อว่า เขาปฏิบัติแล้วเพื่อชนะโลกทั้งสอง ทั้งโลกนี้และโลกอื่น เป็นอันเขาปรารภ กระทำครบถ้วนแล้ว (อารทฺโธ) เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตายเพราะการ ทำลายแห่งกาย ดังนี้.

กรรมกิเลส ๔ ประการอันอริยสาวกนั้น ละเสียได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า คหบดีบุตร ปาณาติบาต เป็นกรรมกิเลส อทินนาทานเป็นกรรมกิเลสกาเมสุมิจฉาจารเป็นกรรมกิเลส มุสาวาทเป็นกรรมกิเลส กรรมกิเลส ๔ประการเหล่านี้ เป็นกรรมอันอริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว. อริยสาวกไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้งสี่ เป็นอย่างไรเล่า ผู้ถึงซึ่ง ฉันทาคติชื่อว่ากระทำกรรมอัน เป็นบาป ผู้ถึงซึ่ง โทสาคติชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป ผู้ถึงซึ่ง โมหาคติ ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป ผู้ถึงซึ่งภยาคติชื่อว่ากระทำอันเป็นบาป. คหบดีบุตร เมื่อใด อริยสาวกไม่ถึงซึ่งฉันทาคติ ไม่ถึงซึ่งโทสาคติ ไม่ถึงซึ่งโมหาคติ ไม่ถึงซึ่งภยาคติ เมื่อนั้น ชื่อว่า ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้งสี่เหล่านี้ ดังนี้.

อริยสาวก ไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ ทาง เป็นอย่างไรเล่า คหบดีบุตร การตามประกอบในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาทเนื่องด้วยของเมาคือสุราและ เมรัยเป็น ทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบในการเที่ยวตามตรอกซอก ในเวลาวิกาลเป็นทางเสื่อม แห่ง โภคะ การเที่ยวไปในที่ชุมนุมแห่งความเมา (สมชฺชาภิจรณ) เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการพนันเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบในบาปมิตรเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ การตามประกอบในความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ.

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสโทษแห่งอบายมุขทั้งหก และลักษณะแห่งมิตรแท้มิตรเทียม โดยรายละเอียด ผู้ประสงค์พึงหาดูได้จากหนังสือ นวโกวาท หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ซึ่งมีอยู่ทุกวัดวาอาราม).

คหบดีบุตร อริยสาวก เป็นผู้ปิดกั้นทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว เป็นอย่างไรเล่า คหบดีบุตร พึงทราบว่า ทิศทั้งหกเหล่านี้ มีอยู่ คือ

พึงทราบว่ามารดาบิดา เป็นปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า).
พึงทราบว่า อาจารย์ เป็นทักขิณทิศ(ทิศเบื้องขวา)
พึงทราบว่า บุตรภรรยา เป็นปัจฉิมทิศ (ทิศเบื้องหลัง)
พึงทราบว่ามิตรสหาย เป็นอุตตรทิศ (ทิศเบื้องซ้าย)
พึงทราบว่า ทาสกรรมกร เป็นเหฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องต่ำ )
พึงทราบว่า สมณพราหมณ์ เป็นอุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน).



หน้า 1095
(หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า)

คหบดีบุตร ทิศเบื้องหน้า คือ มารดาบิดา อันบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ ดังนี้ว่า ท่านเลี้ยงเราแล้ว
เราจักเลี้ยงท่าน ๑  
เราจักทำกิจของท่าน ๑
เราจักดำรงวงศ์สกุล ๑
เราจักปฏิบัติตนเป็นทายาท ๑
เมื่อท่านทำกาละล่วงลับไปแล้ว เราจักกระทำทักษิณาอุทิศท่าน ๑.

คหบดีบุตร ทิศเบื้องหน้าคือมารดาบิดา อันบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ห้ามเสียจากบาป ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
ให้ศึกษาศิลปะ ๑
ให้มีคู่ครองที่สมควร ๑
มอบมรดกให้ตามเวลา ๑.

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหน้านั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.


หน้า 1095-1
(หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องขวา)

คหบดีบุตร ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์ อันศิษย์พึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ ด้วย

การลุกขึ้นยืนรับ ๑
ด้วยการเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๑
ด้วยการเชื่อฟังอย่างยิ่ง ๑
ด้วยการปรนนิบัติ ๑
ด้วยการศึกษาศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑.

คหบดีบุตร ทิศเบื้องขวาคืออาจารย์ อันศิษย์ปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์โดยฐานะ ๕ ประการ คือ
แนะนำดี ๑
ให้ศึกษาดี ๑
บอกศิลปวิทยาสิ้นเชิง ๑
ทำให้รู้จักในมิตรสหาย ๑ ทำการ
คุ้มครองให้ในทิศทั้งปวง ๑.
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องขวานั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.


หน้า 1096
(หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหลัง)

คหบดีบุตร ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา อันสามีพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ๕ ประการ คือ ด้วยการยกย่อง ๑ ด้วยการไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ๑ ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ ๑ ด้วยการให้เครื่องประดับ ๑

คหบดีบุตร ทิศเบื้องหลังคือภรรยา อันสามีปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
จัดแจงการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงดี ๑
ไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่ ๑
ขยันขันแข็งในการงานทั้งปวง ๑.

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหลังนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.


หน้า 1097
(หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องซ้าย)

คหบดีบุตร ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหาย อันกุลบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยการให้ปัน ๑
ด้วยการพูดจาไพเราะ ๑ ด้วย
การประพฤติประโยชน์ ๑
ด้วยการวางตนเสมอกัน ๑
ด้วยการไม่กล่าวคำอัน
เป็นเครื่องให้แตกกัน ๑.

คหบดีบุตร ทิศเบื้องซ้ายคือมิตรสหาย อันกุลบุตรปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
เป็นที่พึ่งแก่มิตรเมื่อมีภัย ๑
ไม่ทอดทิ้งในยามมีอันตราย ๑
นับถือสมาชิกในวงศ์ของมิตร ๑.

เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.


หน้า 1097-1
(หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องตํ่า)

คหบดีบุตร ทิศเบื้องตํ่า คือ ทาสกรรมกร อันนายพึงปฏิบัติต่อโดย
ฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยให้ทำการงานตามกำลัง ๑
ด้วยการให้อาหารและรางวัล ๑
ด้วยการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ ๑
ด้วยการแบ่งของมีรสประหลาดให้ ๑
ด้วยการปล่อยให้อิสระตามสมัย ๑.

คหบดีบุตร ทิศเบื้องตํ่าคือทาสกรรมกร อันนายปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕
ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
เป็นผู้ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย ๑
เลิกงานที่หลังนาย ๑
ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑
กระทำการงานให้ดีที่สุด ๑
นำเกียรติคุณของนายไปร่ำลือ ๑.
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องต่ำนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.


หน้า 1098
(หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องบน)

คหบดีบุตร ทิศเบื้องบน คือ สมณพราหมณ์ อันกุลบุตรพึงปฏิบัติต่อ
โดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยเมตตากายกรรม ๑
ด้วยเมตตาวจีกรรม ๑ ด้วย
เมตตามโนกรรม ๑
ด้วยการไม่ปิดประตู (คือยินดีต้อนรับ) ๑
ด้วยการถวายอามิสทาน ๑.

คหบดีบุตร ทิศเบื้องบนคือสมณพราหมณ์ อันกุลบุตรปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรโดยฐานะ ๖ ประการ คือ
ห้ามเสียจากบาป ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
อนุเคราะห์ด้วยใจอันงดงาม ๑ ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑
ทำสิ่งที่ได้ฟังแล้วให้แจ่มแจ้งถึงที่สุด ๑ ฅ
บอกทางสวรรค์ให้ ๑.
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องบนนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.


หน้า 1099
(คาถาสรุปความ)

มารดาเป็นทิศเบื้องหน้า                             ครูอาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา
บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง                        มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย
ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องตํ่า                        สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
คฤหัสถ์ผู้สามารถในการครองเรือน                พึงนอบน้อมทิศ ท. เหล่านี้.

บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยศีล                           มีวาจาละเอียดอ่อนมีปฏิภาณ
มีความประพฤติถ่อมตัวไม่กระด้าง                 เช่นนี้แล้ว ย่อมได้รับการบูชา
ผู้ขยันลุกขึ้น ไม่เกียจคร้าน                         ไม่หวั่นไหวในอันตรายใดๆ
ประพฤติตนไม่มีช่องโหว่ มีปัญญา                เช่นนี้แล้ว ย่อมได้รับการบูชา
ผู้ชอบสงเคราะห์สร้างสรรค์มิตรภาพ              รู้ความหมายแห่งถ้อยคำไม่ตระหนี่
เป็นผู้นำ - นำวิเศษ – นำไม่ขาดสาย             เช่นนี้แล้ว ย่อมได้รับการบูชา.

การให้ทาน การพูดจาไพเราะ                    การประพฤติประโยชน์ใดๆ เมื่อควร
ประพฤติ ความวางตนเสมอกันในกิจกรรม ท.   ตามสมควรในกรณีนั้นๆ
สี่อย่างนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวโลก                ดุจหมุดสลักยึดโยงรถที่กำลังแล่นอยู่.

ถ้าไม่มีเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้แล้ว                มารดาก็จะไม่ได้รับอะไรจากบุตร
จะเป็นการนับถือ หรือการบูชาก็ตาม               บิดาก็จะไม่ได้รับอะไรจากบุตร.
เพราะเหตุที่เครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้               เป็น สิ่งที่บัณฑิตมุ่งกระทำ
ดังนั้น เขาจึงถึงซึ่งคุณอันใหญ่                    มีความสรรเสริญ ท. เกิดขึ้นแก่เขา.

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ความหมายของคำว่า สัมมาอาชีวะ ซึ่งเคยแปลกันแต่เพียงว่า เลี้ยงชีวิตชอบ นั้น ที่แท้แล้วอาจจะ ขยายความออกไปได้ถึงคำว่า “การดำรงชีพชอบ” ซึ่งมี ความหมายตั้งแต่ต่ำสุด ซึ่งเป็นเรื่องของฆราวาส สูงขึ้นไปตามลำดับๆ จนถึงการดำรงอยู่เพื่อ การบรรลุมรรคผลนิพพานทีเดียว; ดังนั้นคำอธิบายในหมวดนี้ จึงมีตั้งแต่ชั้นต่ำสุด เช่นการ ปฏิบัติ ปิดกั้นทิศทั้งหก ซึ่งเป็นเรื่องของฆราวาส ดังที่ได้ยกมาใส่ไว้ในที่นี้ อยู่ในหมวดเดียวกัน กับการปฏิบัติชั้นสูงอันมีผลถึง ความสิ้นอาสวะ ที่เรียกว่า “โวหารสมุจเฉโท” เป็นต้นทีเดียว ในบางกรณีก็มีการคาบเกี่ยวกันไปถึงความหมายของคำว่า สัมมาวาจา – วาจาชอบ สัมมา กัมมันโต - การงานชอบ เพราะหลักธรรมเหล่านี้คาบเกี่ยวกันอยู่ โยงถึงกันอยู่เป็นธรรมดา).


หน้า 1100
การดำรงชีพชั้นเลิศ ของฆราวาส

คหบดี ในบรรดากามโภคีเหล่า นั้น กามโภคีผู้ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียด ครัด (เกินไปจนทรมานตน) ด้วย ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วยแบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญด้วย ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย

คหบดี กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่ คือ ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่หนึ่งในข้อที่ เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สอง ในข้อ ที่เขา ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สาม ในข้อที่เขา แบ่งปันโภค ทรัพย์บำเพ็ญบุญ ควรสรรเสริญ โดย ฐานะที่สี่ ในข้อที่เขา ไม่กำหนัด ไม่มัวเมาไม่ลุ่มหลง มีปกต เห็นโทษ มีปัญญาเป้นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ เหล่านั้น. คหบดี กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่เหล่านี้.

คหบดี กามโภคีจำพวกนี้ เป็นกามโภคีชั้นเลิศ ชั้นประเสริฐ ชั้นหัวหน้า ชั้นสูงสุด ชั้นบวร กว่ากามโภคีทั้งหลาย เปรียบเสมือน นมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิด จากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้นหัวเนยใสเกิดจากเนยใส; หัวเนยใส ปรากฏว่าเลิศกว่า บรรดา รส อันเกิดจากโคทั้งหลายเหล่านั้น ข้อนี้ฉันใด กามโภคีจำพวกนี้ ก็ปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดา กามโภคี ทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้น แล.


หน้า 1100-1
การดำรงชีพชั้นรองเลิศ ของฆราวาส

คหบดี ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่ เครียดครัด ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์ โดยธรรมโดยไม่เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญ; แต่เขา กำหนัดมัวเมาลุ่มหลงไม่มีปกติเห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภคทรัพย์เหล่านั้น;

คหบดี กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะสาม ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่ง; คือ ควรสรรเสริญ โดย ฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรมโดยไม่เครียดครัด ควรสรรเสริญ โดย ฐานะที่สอง ในข้อที่เขาทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สามในข้อ ที่เขาแบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญ; แต่ ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่ง ในข้อที่เขา กำหนัดมัวเมา ลุ่มหลงไม่มีปกติเห็นโทษไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น. คหบดี กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะสามเหล่านี้ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่งนี้.


หน้า 1101
การดำรงชีพชั้นธรรมดา ของฆราวาส

คหบดี ในบรรดากามโภคีเหล่า นั้น กามโภคีผู้ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียด ครัด ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดย ไม่เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แต่ไม่แบ่ง ปันโภคทรัพย์ไม่บำเพ็ญบุญ;

คหบดี กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะสอง ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่ง; คือ ควรสรรเสริญ โดย ฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา แสวงหาทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สอง ในข้อที่เขาทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ แต่ ควรติเตียนโดยฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่ เขาไม่แบ่งปันโภคทรัพย์ไม่บำเพ็ญบุญ. คหบดี กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะ สองเหล่านี้ ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่งนี้.


หน้า 1102
หลักการดำรงชีพ เพื่อผลพร้อมกันทั้งสองโลก

"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกามแออัดอยู่ด้วยบุตร ครองเรือนใช้สอยจันทน์จากแค้วนกาสี ทัดทรงพวงดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้ยินดีทอง และเงินอยู่ . ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ที่เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งในทิฏฐธรรมและในสัมปรายะแก่พวกข้าพระองค์ ผู้อยู่ ในสถานะเช่นนี้เถิดพระเจ้าข้า "


หน้า 1102-1
(หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในทิฏฐธรรม)

พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตร ในทิฏฐธรรม. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการ คือ
อุฏฐานสัมปทา(ถึงพร้อมด้วยความขยัน)
อารักขสัมปทา(ถึงพร้อมด้วยการรักษา)
กัลยาณมิตตตา(ความมีมิตรดี)
สมชีวิตา (ความเลี้ยงชีพ อย่างสม่ำเสมอ).


พยัคฆปัชชะ อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า พยัคฆปัชชะ กุลบุตรในกรณีนี้ สำเร็จการเป็น อยู่ด้วยการลุกขึ้นกระทำการงาน คือด้วยกสิกรรม หรือวานิชกรรม โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษหรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในอาชีพนั้นๆ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่เกียจ คร้าน ประกอบด้วยการสอดส่องในอุบายนั้นๆ สามารถกระทำ สามารถจัดให้กระทำ. พ๎ยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความขยัน).

พยัคฆปัชชะ อารักขสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า พยัคฆปัชชะ กุลบุตรในกรณีนี้ โภคะ อันกุลบุตรหาได้มาด้วยความเพียรเป็น เครื่องลุกขึ้นรวบรวมมาด้วยกำลังแขนมีตัว ชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครอง อย่างเต็มที่ ด้วยหวังว่า “อย่างไรเสียพระราชาจะไม่ริบทรัพย์ของเราไป โจรจะไม่ปล้นเอาไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัด พาไป ทายาทอันไม่รักใคร่เรา จะไม่ยื้อแย่งเอาไป” ดังนี้. พ๎ยัคฆปัชชะ นี้เราเรียกว่าอารักข สัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา).

พยัคฆปัชชะ กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไรเล่า พยัคฆปัชชะ กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัยใน บ้านหรือนิคมใด ถ้ามีบุคคลใดๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น เป็นคหบดีหรือบุตรคหบดีก็ดี เป็นหนุ่มที่ เจริญด้วยศีล หรือเป็นคนแก่ที่เจริญด้วยศีลก็ดี ล้วนแต่ถึงพร้อม ด้วยสัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา อยู่แล้วไซร้ กุลบุตรนั้นก็ดำรงตนร่วม พูดจาร่วม สากัจฉาร่วม กับชนเหล่านั้น เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยสัทธา โดยอนุรูปแก่บุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา เขาติดตามศึกษาความถึง พร้อมด้วยศีล โดยอนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยศีล เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยจาคะ โดยอนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยจาคะ เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยอนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอยู่ในที่ นั้นๆ. พ๎ยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตา (ความมีมิตรดี).

พยัคฆปัชชะ สมชีวิตา เป็นอย่างไรเล่า พยัคฆปัชชะ กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความได้มาแห่ง โภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่ง โภค-ทรัพย์แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วม รายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” พยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนถือตาชั่ง หรือลูกมือของเขายก ตาชั่ง ขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า “ยังขาดอยู่เท่านี้ หรือเกินไปแล้วเท่านี้” ดังนี้ฉันใด กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น เขารู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนักโดยมีหลักว่า “รายได้ของเรา จักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.

พยัคฆปัชชะ ถ้ากุลบุตรนี้ เป็นผู้มีรายได้น้อย แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือยแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภค ทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือนคนกินผลมะเดื่อ ฉันใด ก็ฉันนั้น พยัคฆปัชชะ แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้มหาศาล แต่สำเร็จการ เป็นอยู่อย่างแร้น แค้นแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตายอยากอย่างคนอนาถา.

พยัคฆปัช-ชะ เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนักโดยมีหลักว่า "รายได้ของเรา จักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการ อย่างนี้" ดังนี้ พยัคฆปัชชะ นี้เราเรียกว่า สมชีวิตา (ความเลี้ยงชีวิตอย่างสม่ำเสมอ).


หน้า 1105
(อปายมุขและอายมุขที่เกี่ยวกับประโยชน์ในทิฎฐฏธรรม)

พยัคฆปัชชะ ปากแห่งความเสื่อม ๔ ประการ ของโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ มีอยู่ คือ ความเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลงการพนัน และ มีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม.

พยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนทางน้ำเข้า ๔ ทาง ทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่ มีอยู่. บุรุษปิดทางน้ำเข้าเหล่านั้นเสีย และเปิดทางน้ำออกเหล่านั้นด้วย ทั้งฝนก็ไม่ตกลงมาตาม ที่ควร.

พยัคฆปัชชะ เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเหือดแห้งเท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญ่นั้น ความเต็มเปี่ยมไม่มีทางที่จะหวังได้ นี้ฉันใด พยัคฆปัชชะ ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้น สำหรับโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ ที่มีปากทางแห่งความเสื่อม ๔ ประการ คือ ความเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลงการพนัน และ มีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม.

พยัคฆปัชชะ ปากแห่งความเจริญ ๔ ประการ ของโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ มีอยู่ คือ ความไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็น นักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูง ที่ดีงาม. พยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนทางน้ำเข้า ๔ ทาง ทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่ มีอยู่ บุรุษเปิดทางน้ำเข้าเหล่านั้นด้วย และปิดทางน้ำออกเหล่านั้นเสีย ทั้งฝนก็ตกลงมาตาม ที่ควร

พยัคฆปัชชะ เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเต็มเปี่ยมเท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญ่นั้น ความเหือดแห้งเป็นอันไม่ต้องหวัง นี้ฉันใด พยัคฆปัชชะ ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้น สำหรับ โภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ ที่มีปากทางแห่งความเจริญ ๔ ประการ คือ ความไม่เป็น นักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงที่ดีงาม.

พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการ (ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อันเว้นเสียจากอปายมุขสี่ และ ประกอบด้วยอายมุขสี่) เหล่านี้แล เป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ของกุลบุตร ในทิฏฐธรรม.


หน้า 1106
(หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์ สุขในสัมปรายะ)

พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ของกุลบุตร ในสัมปรายะ. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? พยัคฆปัชชะ กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า "เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูผู้ สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรมเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์" ดังนี้. พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? พยัคฆปัชชะ กุลบุตร ในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจาก อทินนา ทานเป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้ เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน. พ๎ยัคฆปัชชะ นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? พยัคฆปัชชะ กุลบุตรในกรณีนี้ มีใจปราศ จากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม เป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการ จำแนกทาน. พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? พยัคฆปัชชะ กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องให้ ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะ แทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ โดยชอบ. พยัคฆปัชชะ นี้เราเรียกว่าปัญญา สัมปทา.

พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อ ความสุขของกุลบุตร ในสัมปรายะ.


หน้า 1107
การดำรงชีพชอบ ตามหลักอริยวงศ์

ภิกษุ ท. อริยวงศ์ (ธรรมที่เป็นเชื้อสายของพระอริยเจ้า) สี่อย่าง เหล่านี้ปรากฏว่า เป็นธรรม อันเลิศ ยั่งยืน เป็นแบบแผน มาแต่ก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย ไม่ถูกทอดทิ้ง อยู่ จักไม่ถูกทอดทิ้งเป็ นธรรมอันสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็ นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.

อริยวงศ์สี่ อย่าง อะไรบ้างเล่า ? สี่อย่าง คือ

(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และ เป็นผู้สรรเสริญความ สันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ทำ อเนสนา (การแสวงหาไม่สมควร) เพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้จีวร ก็ไม่ทุรนทุราย ได้จีวรแล้วก็ไม่ยินดีเมาหมกพัวพัน เห็นส่วนที่ เป็นโทษแห่งสังสาร วัฏฏ์ มีปัญญาในอุบายที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ นุ่งห่มจีวรนั้น. อนึ่งไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะ ความ สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น. ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.

(๒) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และเป็นผู้สรรเสริญความ สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนา (การแสวงหาไม่สมควร) เพราะบิณฑบาต เป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ทุรนทุราย ได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ยินดี เมาหมกพัวพันเห็นส่วน ที่ เป็นโทษแห่งสังสารวัฏฏ์ มีปัญญาในอุบายที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ บริโภคบิณฑบาตนั้น. อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น. ก็ภิกษุใดเป็น ผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่ เก่าก่อน.

(๓) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และเป็นผู้สรรเสริญความ สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนา (การแสวงหาไม่สมควร) เพราะเสนาสนะ เป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่ทุรนทุราย ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่ยินดี เมาหมกพัวพัน เห็นส่วนที่ เป็นโทษแห่งสังสารวัฏฏ์ มีปัญญาในอุบายที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ ใช้สอยเสนาสนะนั้น. อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น. ก็ภิกษุใดเป็นผู้ ฉลาด ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.

(๔) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้มีใจยินดีในการบำเพ็ญสิ่งที่ควร บำเพ็ญยินดีแล้วในการ บำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ เป็นผู้มีใจยินดี ในการละสิ่งที่ควรละยินดีแล้วในการละสิ่งที่ควรละ. อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุดังกล่าวนั้น. ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในการบำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญและการละสิ่งที่ควรละนั้น เราเรียกภิกษุ นี้ว่า ผู้สถิตอยู่ใน อริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.ภิกษุ ท. อริยวงศ์สี่อย่าง เหล่านี้แล ปรากฏว่า เป็นธรรมเลิศยั่งยืนเป็นแบบแผน มา แต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่ เคยถูกทอดทิ้งเลย ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ จักไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.

ภิกษุ ท. ก็แลภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยวงศ์สี่อย่างเหล่า นี้แม้หากอยู่ในทิศตะวันออก .. ทิศตะวันตก .. ทิศเหนือ .. ทิศใต้ เธอย่อมยํ่ายีความไม่ยินดีเสียได้ข้างเดียว ความไม่ยินดี หายํ่ายีเธอได้ไม่. ที่เป็นเช่นนั้น เพราะอะไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้ย่ำยีเสีย ได้ ทั้งความไม่ยินดีและความยินดี ดังนี้.


หน้า 1110
การดำรงชีพชอบโดยหลักแห่งมหาปุริสวิตก(แปดอย่าง)
(หรือการดำรงชีพชอบของพระอริยเจ้า)

ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ดีละ ที่เธอตรึกแล้ว ซึ่งมหาปุริสวิตก ว่า
๑. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีความปรารถนาน้อย ธรรมมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ปรารถนาใหญ่.
๒. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สันโดษ ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ไม่สันโดษ.
๓. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สงบสงัด ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่.
๔. ธรรมะนี้ สำหรับผู้ปรารภความเพียร ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้เกียจคร้าน.
๕. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้มีสติอันหลงลืม.
๖. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่น ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้มี จิตไม่ตั้งมั่น.
๗. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีปัญญา ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ทรามปัญญา ดังนี้.อนุรุทธะ แต่เธอควรจะตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ด้วยว่า
๘. ธรรมะนี้ สำหรับผู้พอใจในความไม่เนิ่นช้า๑ ผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้พอใจในความเนิ่นช้า ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า ดังนี้.


หน้า 1111
(อานิสงส์แห่งการดำรงชีพชอบ โดยหลักแห่งมหาปุริสวิตกแปด)

๑. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน อันประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.

๒. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น มีปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิไม่ประกอบด้วยวิตก ไม่ประกอบด้วย วิจาร เพราะความ รำงับไปแห่งวิตกและวิจารทั้งหลาย แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.

๓. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ และสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะความจางคลาย แห่งปิติ เข้าถึง ตติย-ฌาน อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปกติสุข”ดังนี้แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.

๔. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน อันไมมี่ความทุกข์และความสุข มีแต่ความที่สติเป็น ธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เพราะละเสียได้ซึ่งสุขและ เพราะละเสียได้ซึ่งทุกข์ เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.


หน้า 1112
(อานิสงส์ที่ครอบคลุมไปถึงความหมายแห่งปัจจัยสี่)

๑. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็น ผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฎฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ ด้วย ดังนี้แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้นผ้าบัง สุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุก วิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับผ้าที่เต็มอยู่ในหีบผ้าที่ย้อมด้วยสีต่างๆ ของคหบดีหรือ คหบดีบุตร (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง) ฉันใดก็ฉันนั้น.

๒. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็น ผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฎฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้น ก้อนข้าว ที่เธอได้มาด้วยลำแข้ง จักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหาร อันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับข้าวสุกแห่งข้าวสาลีไม่มีเม็ดดำ มีแกงและกับ เป็นอันมาก ของคหบดีหรือคหบดีบุตร (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง) ฉันใดก็ฉันนั้น.

๓. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็น ผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฎฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้น รุกขมูล เสนาสนะจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งด้วยผาสุก วิหารอันก้าวลง สู่นิพพาน เหมือนกับเรือนยอด ของคหบดีหรือคหบดีบุตร อันเป็นเรือนยอด ที่ฉาบขึ้นฉาบลงดีแล้ว ลมผ่านไม่ได้ มีลิ่มสลัก แน่นหนา มีหน้าต่างปิดได้สนิท (เป็นที่น่า ยินดีอย่างยิ่ง) ฉันใดก็ฉันนั้น.

๔. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และจักเป็น ผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฎฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้น ที่นั่งที่นอน อันทำด้วยหญ้าจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผา สุกวิหาร อันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับบัลลังก์ ของคหบดีหรือคหบดีบุตรอันลาดด้วยผ้า โกเชาว์ ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี อันทำด้วยหนังชะมด มีเพดานข้างบน มีหมอนข้างแดงสองข้าง (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง) ฉันใดก็ฉันนั้น.

๕. อนุรุทธะ เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็น ผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฎฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว อนุรุทธะ เมื่อนั้น ปูติมุตตเภสัช (ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า) จักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุก วิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับเภสัชนานาชนิด ของคหบดีหรือคหบดีบุตร อันได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง) ฉันใดก็ฉันนั้น.


หน้า 1114
การดำรงชีพชอบ คือการลงทุนเพื่อนิพพาน

(พระผู้มีพระภาคเสร็จการบิณฑบาตในย่านตลาดแห่งอังคุตตราปนิคม แล้วเสด็จเข้าไปประทับ เพื่อทิวาวิหาร ในพนาสณฑ์ ใกล้นิคมนั้น ประทับนั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. ฤหบดีคนหนึ่ง ชื่อโปตลิยะผู้อาศัยอยู่ในนิคมนั้น ซึ่งได้จัดตัวเองไว้ในฐานะ เป็นผู้สำเร็จกิจแห่งชีวิตพ้นจาก ข้อผูกพันของฆราวาส ยกทรัพย์สมบัติให้ลูกหลานหมดแล้ว ดำรงชีวิตอย่างคนหลุดพ้น ตาม ที่เขาสมมติกัน นุ่งห่มอย่างคนที่ถือกันว่าหลุดพ้นแล้ว มีร่ม มีรองเท้า เดินเที่ยวหาความ พักผ่อน ตามราวป่า ได้เข้าไปสู่ พนาสณฑ์ที่พระองค์ กำลังประทับอยู่ ทักทายให้เกิดความ คุ้นเคยกันแล้ว ยืนอยู่ณ ที่ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ โปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่อย่าง นั้นว่า)

ท่านคฤหบดี ที่นั่งนี้ก็มีอยู่ เชิญท่านนั่งตามประสงค์.(โปตลิยคฤหบดี โกรธ ไม่พอใจ ในข้อที่ พระพุทธองค์ตรัสเรียกเขาว่า เป็นคฤหบดี ในเมื่อเขาจัดตัวเองว่าเป็นผู้พ้นจากความเป็นผู้ ประกอบกิจอย่างฆราวาส ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งการดูหมิ่นเขาอย่างมาก เขาก็ยืนเฉยเสียไม่นั่งลง; แม้พระผู้มีพระภาคจะตรัสเชื้อเชิญเขาเป็นครั้งที่สอง ด้วยถ้อยคำอย่างเดียวกัน เขาก็โกรธไม่ พอใจ ยืนเฉยเสีย ไม่นั่งลง ครั้นพระองค์ตรัสเชื้อเชิญเขาให้นั่งลงเป็นครั้งที่สาม ด้วยถ้อยคำ อย่างเดียวกันอีก เขาก็กล่าวตอบด้วย ความโกรธไม่พอใจว่า)

“ท่านโคดมเอ๋ย นั่นไม่ถูกนั่นไม่สมควรในการที่ท่านจะมาเรียกข้าพเจ้าว่าคฤหบดี”.

ท่านคฤหบดีเอ๋ย ก็กิริยาอาการลักษณะท่าทางของท่าน แสดงว่าเป็นคฤหบดีนี่.“ท่านโคดม การงานต่างๆข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว วหาร (การลงทุนเพื่อผลกำไร) ต่างๆข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว”. ท่านคฤหบดี ท่านเลิกการงานต่างๆ ตัดขาดการลงทุนต่างๆ หมดสิ้นแล้วอย่างไรกันเล่า ?”

“ท่านโคดม ในเรื่องนี้นะหรือ; ทรัพย์ใดๆมีอยู่ ข้าวเปลือกเงินทองมีอยู่; ทั้งหมดนั้นข้าพเจ้า ได้มอบให้บุตรทั้งหลายไปหมด สิ้นแล้ว. ข้าพเจ้าไม่สั่งสอนบ่นว่าใครอีกต่อไปในที่นั้นๆ ต้องการเพียงข้าวกินและเสื้อผ้าบ้างเป็นอย่างยิ่งอยู่ดังนี้. ท่านโคดมเอ๋ย นี้แหละคือการงาน ต่างๆที่ข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว การลงทุนต่างๆข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว”.ท่านคฤหบดี การเลิกละ โวหาร (การลงทุน) ตามที่ท่านกล่าวนั้นมันเป็นอย่างหนึ่ง การเลิกละโวหาร (การลงทุน) ในอริยวินัยนั้น มันเป็ นอย่างอื่น.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ๑การเลิกละโวหาร (การลงทุน) ในอริยวินัยนั้นเป็นอย่างไรเล่า? ดังข้าพระองค์ขอโอกาสขอพระผู้มีพระภาค จงแสดงธรรมเรื่องการเลิกละโวหาร(การลงทุน) ในอริยวินัยเถิด”

คฤหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
คฤหบดี ธรรมทั้งหลาย ๘ ประการ เหล่านี้ เป็ นไปเพื่อการตัดขาด ซึ่งโวหาร (การลงทุนเพื่อกำไรอย่างใดอย่างหนึ่ง) ในอริยวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ :-
-------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. อาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาต ละเสียซึ่งกรรมอันเป็นปาณาติบาต
๒. อาศัยการถือเอาแต่สิ่งที่เขาให้ ละเสียซึ่งการถือเอาสิ่งซึ่งเขาไม่ได้ให้
๓. อาศัยวาจาสัจจ์ ละเสียซึ่งมุสาวาท
๔. อาศัยอปิสุณวาจา ละเสียซึ่งปิสุณวาจา
๕. อาศัยความไม่โลภด้วยความกำหนัด ละเสียซึ่งความโลภด้วยความกำหนัด

-------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. พึงสังเกตว่า ต่อจากนี้ไป เขาเปลี่ยนคำพูดที่ไม่แสดงความเคารพ มาเป็นคำพูดแสดงความเคารพ คือแทนที่จะใช้คำว่า “พระโคดม” ซึ่งไม่เป็นการแสดงความเคารพ ก็เปลี่ยนมาเป็นใช้คำว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า” หรือ “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ” ดังนี้ ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพ.
-------------------------------------------------------------------------------------------------
๖. อาศัยความไม่มีโทสะเพราะถูกนินทา ละเสียซึ่งโทสะเพราะถูกนินทา
๗. อาศัยความไม่คับแค้นเพราะความโกรธ ละเสียซึ่งความคับแค้นเพราะความโกรธ
๘. อาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน ละเสียซึ่งความดูหมิ่นท่าน.

-------------------------------------------------------------------------------------------------

คฤหบดี ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันเรากล่าวแล้วโดยย่อไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร แต่ก็ เป็นไปเพื่อการตัดโวหาร (การลงทุนเพื่อกำไร) ในอริยวินัย.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมประการที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแต่โดยย่อมิได้ จำแนกแล้วโดยพิสดารก็ยังเป็นไปเพื่อการ ตัดขาด โวหาร (การลงทุนเพื่อกำไร) ในอริยวินัยนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงจำแนกธรรมประการเหล่านี้โดยพิสดารเพราะอาศัยความเอ็นดูแก่ข้าพระองค์เถิดคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

คฤหบดี ข้อที่เรากล่าวว่าอาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาตละเสียซึ่งกรรมอันเป็นปาณา ติบาต" ดังนี้นั้น เรากล่าวเพราะ อาศัย หตุผลดังนี้ว่าอริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมใคร่ครวญ เห็นดังนี้ว่า เราปฏิบัติแล้วดังนี้เพื่อ ละเสียเพื่อตัดขาดเสีย ซึ่งสังโยชน์อันเป็นเหต ให้เรา กระทำ ปาณาติบาต. อนึ่งเมื่อเรา ประกอบ กรรมอันเป็นปาณาติบาตอยู่ แม้เราเองก็ตำหนิ ตนเองได้เพราะปาณาติบาต เป็นปัจจัย วิญญูชนใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนเราได้เพราะ ปาณาติบาตเป็นปัจจัย ภายหลังแต่การตายเพราะ การทำลายแห่งกาย ทุคติก็หวังได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย. ปาณาติบาตนั่นแหละเป็น สังโยชน์ ปาณาติบาตนั่นแหละ เป็นนิวรณ์.

อนึ่ง อาสวะเหล่าใดอันเป็นเครื่องกระทำความคับแค้นและเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาต เป็นปัจจัย; ครั้นเว้นขาดจากปาณา ติบาตเสียแล้ว อาสวะอันเป็นเครื่องกระทำความคับแค้น และเร่าร้อนเช่นนั้นเหล่านั้น ย่อมไมมี่ ดังนั้น พึงอาศัยกรรมอันไม่เป น ปาณาติบาต ละกรรม อันเป็นปาณาติบาตเสีย ดังนี้. 

(สำหรับหัวข้อธรรมะที่ว่า อาศัยการถือเอาแต่สิ่งที่เขาให้ ละอทินนาทานเสียก็ดี อาศัยสัจจ วาจา ละมุสาวาทเสีย ก็ดี อาศัย อปิสุณวาจา ละปิสุณวาจาเสีย ก็ดี อาศัยอคิทธิโลภละคิทธิ โลภเสีย ก็ดี อาศัยอนินทาโทส ละนินทาโทสเสีย ก็ดี อาศัยอโกธุ ปายาส ละโกธุปายาส เสีย ก็ดีอาศัยอนติมานะ ละอติมานะเสีย ก็ดี ซึ่งมีคำแปลและความหมายดังที่กล่าวแล้ว ข้างต้น ก็ได้ทรงอธิบายด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับคำอธิบายของหัวข้อธรรมะที่ว่า "อาศัยอปาณา ติบาตละปาณาติบาตเสีย"ดังที่กล่าว แล้วข้างบนนี้ คือ อริยสาวกพิจารณา เห็นว่า มีสังโยชน์ เป็นเหตุให้กระทำ ครั้นทำแล้วตนเองก็ตำหนิตนเองได้ ผู้รู้ใคร่ครวญ ก็ติเตียนได้ ตายแล้วไปสู่ ทุคติจึงจัดการกระทำนั้นๆว่า เป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์ ครั้งละการ กระทำนั้นๆเสียก็ไม่มี อาสวะ อันเป็นเครื่องดับแค้นเดือดร้อน (ระดับนั้น) อีกต่อไป; แล้วได้ตรัส ข้อความนี้สืบต่อไป ว่า :- )

คฤหบดี ธรรมทั้งหลาย ๘ ประการ เหล่านี้ (อันเรากล่าวแล้วแม้ อย่างนี้ ก็ยังเป็นการ)กล่าว แล้วโดยสังเขป ไม่ได้จำแนกโดย พิสดาร (แม้จะ) เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหาร (การลงทุน เพื่อกำไร) ในอริยวินัย ก็จริง แต่ยังไม่ได้เป็นการตัดขาดซึ่งโวหารกรรม นั้นๆทั้งหมดทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวงในอริยวินัย นี้ก่อน

"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงซึ่งธรรมอันเป็นการตัดขาดซึ่ง โวหาร กรรมนั้นๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวงในอริยวินัยแก่ข้าพระองค์เถิด"

คฤหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.(ต่อจากนี้ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถึง กามและโทษอันเลวร้าย ของกาม ซึ่ง เปรียบด้วยท่อนกระดูกไม่สามารถสนอง ความหิวของสุนัขหิว ชิ้นเนื้อในปากนกมีนกอื่นแย่ง จุดคบเพลิงถือทวนลม หลุมถ่านเพลิง อันน่ากลัว ของในฝันซึ่งตื่นแล้วก็หายไป ของยืมซึ่งต้องคืนเจ้าของและเปรียบด้วยผลไม้ ที่สุกแล้ว ย่อมฆ่าต้น ของมันเอง (มีรายละเอียดหาดูได้ที่หน้า ๓๐๐ แห่งหนังสือเล่มนี้ โดยหัวข้อว่า "กามเปรียบด้วยท่อนกระดูก" เป็นต้นไป) อันอริยสาวกใคร่ครวญเห็นโทษทุกข์ อุปายาสอันยิ่ง ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง แล้วละอุเบกขามีอารมณ์ต่างๆเสียได้ แล้ว เจริญอุเบกขามีอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับอุปาทานในโลกามิสโดยไม่มีส่วนเหลือ.

อริยสาวกนั้น อาศัยสติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขามีอารมณ์เดียวอันไม่มีอื่นยิ่งกว่านี้แล้ว ระลึกได้ซึ่ง ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มีอย่างเป็นอเนก และ มีจักษุทิพย์เห็นสัตว์จุติ อุบัติไปตามกรรมของตน และในที่สุด ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุติติ อันไม่มีอาสวะในทิฏฐธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วแลอยู่; แล้วตรัสต่อไปว่า)

คฤหบดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามี การตัดขาดโวหารกรรม(การลงทุนเพื่อกำไร)นั้นๆ ทั้งหมดทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง ในอริยวินัยนี้.คฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร ท่านได้มองเห็นการตัดขาดซึ่งโวหารกรรมอย่างนี้เหล่านี้ ว่ามีอยู่ในท่านบ้างไหม ?

“ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ จะมีอะไรกันเล่าสำหรับข้าพระองค์ข้าพระองค์ ยังห่างไกลจากการ ตัดขาด โวหารกรรม อย่างนี้เหล่านี้ในอริยวินัยนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนข้า พระองค์ได้ สำคัญพวกปริพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้รู้ ทั่วถึงว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึงได้คบ พวกปริพาชก เดียรถีย์เหล่าอื่นผู้ไม่รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบผู้รู้ทั่วถึงได้ตั้งผู้รู้ไม่รู้ทั่วถึง ไว้ในฐานะ แห่งผู้รู้ ทั่วถึง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สำคัญ ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ ทั่วถึงว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึงได้คบภิกษุผู้รู้ทั่วถึงในฐานะ เป็นการคบผู้ไม่รู้ทั่วถึงได้ตั้งผู้รู้ทั่วถึง ไว้ในฐานะ แห่งผู้ไม่รู้ทั่วถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ข้าพระองค์รู้จักพวก ปริพาชกเดียรถีย์ เหล่าอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้รู้ทั่วถึงว่า เป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึงจักคบผู้ไม่รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักตั้งผู้รู้ไม่รู้ ทั่วถึงไว้ใน ฐานะแห่งผู้ ไม่รู้ทั่วถึง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักรู้จัก ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ ทั่วถึงว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึงจักคบผู้รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบผู้รู้ ทั่วถึงจักตั้งผู้รู้ทั่ว ถึงไว้ในฐานะแห่ง ผู้รู้ทั่วถึง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ทรงยังความรักสมณะของข้าพระองค์ให้เกิดขึ้น ในหมู่สมณะยังความเลื่อมใส สมณะ ของข้าพระองค์ให้เกิดขึ้นในหมู่สมณะยังความ เคารพสมณะของข้าพระองค ให้เกิดขึ้น ในหมู่สมณะแล้ว. ไพเราะนักพระเจ้าข้า ไพเราะนักพระเจ้าข้า เปรียบเหมือนการหงายของ ที่ควํ่าเปิดของที่ปิดบอกทาง แก่คน หลงทาง หรือตั้งประทีปน้ำมันไว้ในที่มืดเพื่อว่าคนมีตาจะได้ เห็นรูปดังนี้" (ต่อจากนี้ไป เขาได้แสดงตนเป็นอุบาสก).

(คำว่า “โวหาร” ในที่นี้ คงจะเป็นคำแปลกประหลาดสำหรับผู้อ่านที่ไม่เคยทราบว่าคำคำนี้ได้ แปล ได้หลายอย่าง คือแปลว่า คำพูด ก็ได้ สำนวน วิธีพูด ก็ได้ อรรถคดีในโรงศาลก็ได้ การซื้อขาย ก็ได้ การลงทุนหากำไร ก็ได้ และความหมายอื่นๆอีก ในพระบาลีนี้หมายถึงการ เป็นอยู่อย่างฆราวาสที่ทำหน้าที่ของตนจนถึงระดับสุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสร็จกิจในหน้าที่ ของมนุษย์ คนหนึ่งๆ. ดังนั้น อาจจะถือได้ว่า การดำรงชีวิตของตนให้ดีจนกระทั่งบรรล พระ นิพพานนั้น ก็เป็น “โวหาร” ได้อย่างหนึ่ง เหมือนกัน. แม้จะกล่าวตามธรรมชาติล้วนๆ ชีวิต ทุกชีวิต ย่อมเป็นการลงทุนอยู่ในตัวมันเอง เพื่อผลอย่างหนึ่ง คือจุดหมายปลาย ทางของชีวิต. พุทธบริษัททั่วไป ควรสนใจข้อความแห่งพระบาลีสูตรนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้จัดให้ชีวิต ของตน เป็นการลงทุน ที่ประเสริฐที่สุด ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธ ศาสนา.การดำรงชีพชอบเพื่อบรรลุนิพพานนี้ มีความหมายแห่ง สัมมาอาชีโว แม้จะเป็นสัมมา อาชีโวที่สูงเกินไป ก็ยังจัดว่าเป็นสัมมาอาชีโวอยู่นั่นเอง จึงนำข้อความนี้ มารวมไว้ในหมวดนี้ แห่ง หนังสือนี้).

หมวด. ว่าด้วยหลักการปฏิบัติของสัมมาอาชีวะ


หน้า 1120
หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่

ก. เกี่ยวกับจีวร (หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ )
ภิกษุ ท. ในกรณีนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง นุ่งห่มจีวรเพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลายอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ทั้งหลาย เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ.


หน้า 1120-1
ข. เกี่ยวกับบิณฑบาต (หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ )

ภิกษุ ท. เราย่อมฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวคือฉันหนเดียวลุกขึ้นแล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น). ภิกษุ ท. เมื่อเราฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่ ย่อมรู้สึกว่าเป็ นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีความเบากายกระปรี้กระเปร่ามีกำลังและมีความผาสุกด้วย.

ภิกษุ ท. มาเถิด แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จงฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว ภิกษุ ท. พวกเธอ ทั้งหลาย เมื่อฉันอยู่ซึ่งโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวจักรู้สึกความที่เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีความเบากาย กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และมีความผาสุกด้วย.

เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง บริโภคบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อ ประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่งแต่บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไปเพื่อป้องกัน ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียได้ ไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด)ให้เกิดขึ้น ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะ อาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา.


หน้า
1121
ค. เกี่ยวกับเสนาสนะ (หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ )

เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง ใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อบำบัดความหนาว พื่อบำบัด ความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลายอันเกิดจากเหลือบยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดูและเพื่อความเป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้นอยู่.


หน้า 1121-1
ง. เกี่ยวกับคิลานเภสัช (หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่ )

เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง บริโภคเภสัชซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้ เพียงเพื่อบำบัด ทุกขเวทนาอันเกิดจากอาพาธต่างๆ และเพียงเพื่อความเป็นผู้ไม่ต้องทนทุกข์เป็นอย่างยิ่ง.
(ข้อความนี้ ตรัสสำหรับบรรพชิต แต่หลักเกณฑ์นี้คฤหัสถ์ก็นำไปปฏิบัติได้ตามควร).

หมวดง. ว่าด้วยอานิสงส์ของสัมมาอาชีวะ

หน้า 1122
ผลสืบต่อของสัมมาอาชีวะ

มหาราช สัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อมทำตน ให้เป็นสุขอิ่มหนำ ทำมารดาบิดาให้เป็น สุข อิ่มหนำ ทำบุตรภรรยา ให้เป็นสุขอิ่มหนำทำทาสกรรมกร ให้เป็นสุขอิ่มหนำทำมิตร อำมาตย์ ให้เป็นสุข อิ่มหนำ ย่อมตั้งไว้ซึ่งทักษิณา อันอุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายเป็น ทักษิณาทานมีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝักฝ่ายดี มีสุขเป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อ สวรรค์. เมื่อเขาบริโภคโภคะเหล่านั้นโดยชอบอยู่อย่างนี้ พระราชาก็ไม่ริบโภคะเหล่านั้นไปได้ โจรก็ไม่นำไปได้ ไฟก็ไม่ไหม้ได้ น้ำก็ไม่พัดไปได้ ทายาทอันไม่เป็นที่รักก็ไม่ยื้อแย่งไปได้.

มหาราช โภคะเหล่านั้น อันเขาบริโภคอยู่โดยชอบอย่างนี้ย่อมถึงซึ่งการได้บริโภคใช้สอย ไม่สูญเปล่า.มหาราช เปรียบเหมือนในที่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณีมีน้ำใส เย็น น่าดื่ม สะอาด มีท่าขึ้นลงดี น่ารื่นรมย์. คนเขาขนน้ำนั้นไปบ้าง ดื่มบ้าง อาบบ้าง ทำตามต้อง การบ้าง.

มหาราช น้ำนั้นอันเขาบริโภค ใช้สอยอยู่โดยชอบอย่างนี้ ย่อมถึงซึ่งการได้บริโภคใช้สอย ไม่สูญเปล่านี้ฉันใด มหาราช สัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อมทำตนให้เป็นสุขอิ่มหนำ ทำมารดาบิดาให้เป็นสุข อิ่มหนำ ทำบุตรภรรยาให้เป็นสุข อิ่มหนำทำทาสกรรมกรให้เป็นสุข อิ่มหนำ ทำมิตรอำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ ย่อมตั้งไว้ซึ่งทักษิณา อันอุทิศแก่สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย เป็นทักษิณาทานมีผลเลิศ ในเบื้องบน เป็นฝักฝ่ายดี มีสุขเป็น ผลตอบแทน เป็นไป พร้อมเพื่อสวรรค์. เมื่อเขาบริโภคโภคะ เหล่านั้น โดยชอบอยู่อย่างนี้ พระราชาก็ไม่ริบโภคะ เหล่านั้นไปได้โจรก็ไม่นำไปได้ ไฟก็ไม่ไหม้ ได้ น้ำก็ไม่พัดไปได้ ทายาทอันไม่เป็นที่รักก็ไม่ ยื้อแย่งไปได้.

มหาราช โภคะเหล่านั้น อันเขา บริโภคอยู่โดยชอบอย่างนี้ ย่อมถึงซึ่งการ ได้บริโภคใช้สอย ไม่สูญเปล่า. ฉันนั้นเหมือนกัน.