เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระสารีบุตร (ไม่รวมอรรถกถา)
อัครสาวกเบื้องขวา เอตทัคคะด้านผู้มีปัญญามาก
Sa106
               ออกไปหน้าหลัก 6 of 7
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  (47) ยมกภิกษุมีทิฐิลามก คิดว่าพระขีณาสพตายแล้วสูญ ภิกษุท.จึงพากันเข้าหาพระสารีบุตร
  (48) พระเทวทัตหาพวกจากภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูป พ.ให้พระโมค และพระสารีบุตรพากลับ
  (49) เทวดาเข้าเฝ้า รายงานว่าพระสารีบุตร กำลังแสดงธรรมที่ปราสาทของนางวิสาขา
  (50) การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗แสดงธรรมโดยพระสารีบุตร
  (51) ผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล (โกกาลิกะ)
  (52) ทรงประพฤติ อัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์) เล่าให้พระสารีบุตรฟัง
  (53) บุคคลที่มีเชื้อเหลือ แต่พ้นทุคติ ตรัสกับพระสารีบุตร
  (54) ผู้มีสังโยชน์ในภายใน และในภายนอก)
  (55) การสนทนาของพระมหาสาวก (เรื่องปฏิจจสมุปบาท)
  (56) ห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์

 


(47)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๖

๓. ยมกสูตร
ยมกภิกษุมีทิฐิลามก คิดว่าอรหันต์ขีณาสพตายแล้วสูญ

(โดยย่อ)

พระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่ยมกสูตร
ยมกภิกษุ คิดว่าตนเองรู้ธรรมทั่วถึง คิดว่า พระขีณาสพ (พระอรหันต์ ผู้ส้นอาสวะ) เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมไม่เกิดอีกจริง ภิกษุทั้งหลายที่ได้ยิน ยมก เกิดทิฐิลามกเช่นนั้นจึงกล่าว่า

ภิกษุท. ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าพูดอย่างนั้น อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค.. ไม่ดีเลย เพราะพระองค์ ไม่ตรัสอย่างนี้.... แต่ยมกภิกษุ ก็ยืนยันความเชื่อนั้นอยู่ จึงพากันไปหาพระสารีบุตร

สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ย. ไม่เที่ยง.. (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่เที่ยงเช่นกัน)

สา. เพราะเหตุนี้พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นมิได้มีอีก
—---------------------------------------------------------
สา. ท่านเห็นรูป ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่เป็นสัตว์เป็นบุคคลเช่นกัน)

สา. ท่านเห็นว่า สัตว์บุคคลมีในรูปหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มีในรูปเช่นกัน)

—------------------------------------------------------
สา. โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคล ในขันธ์ ๕ เหล่านี้ ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแล้วหรือที่ท่านจะ ยืนยันว่าเรารู้ทั่วถึงธรรม ว่าพระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
ย. เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้ผมก็ได้บรรลุธรรมแล้ว เพราะฟังธรรมของท่านพระสารีบุตร
—-------------------------------------------------------
สา. ถ้าท่านถูกถามว่าพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วย่อมเป็นอะไร ท่านจะแก้ว่าอย่างไร ?
ย.พึงกล่าวว่า รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกับรูป)
สา. ดีละๆ ยมกะ
—------------------------------------------------
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อม…
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตน มีรูป
ย่อมเห็นรูป ในตน
ย่อมเห็นตน ในรูป
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกัน)

เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันปัจจัยแต่ง อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นตัวตนของเรา

อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

ส่วนปุถุชนผู้ได้สดับ ย่อม เห็นตรงกันข้ามกับที่กว่าวมา… คือ
- ไม่เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
- รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง รูป เวทนา… ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา …

อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน


             [๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุ เกิดทิฏฐิ อันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่าเราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก

             ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุ เกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก

             ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้น จึงพากันเข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัย กับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยชวนให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

              ครั้นแล้ว จึงถามท่านยมกภิกษุว่าดูกรท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิ อันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีกจริง หรือ? ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส

             ภิ. ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มี พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึง ตรัสอย่างนี้ ว่าพระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก

             ท่านยมกะ เมื่อถูกภิกษุเหล่านั้นกล่าวแม้อย่างนี้ ยังขืนกล่าวถือทิฏฐิ อันชั่วช้านั้น อย่างหนักแน่นอย่างนั้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก

             ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะยังท่านยมกะ ให้ถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้ จึงลุกจากอาสนะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่าน พระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านสารีบุตร ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่ว ถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อม ขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ขอโอกาสนิมนต์ท่านพระสารีบุตร ไปหายมก ภิกษุถึงที่อยู่ เพื่ออนุเคราะห์เถิด. ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

             [๑๙๙] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร ออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านยมกะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกะ ครั้นผ่านการสนทนา ปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่าน ยมกะว่า

             ดูกรอาวุโสยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึง ธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อม ขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ดังนี้ จริงหรือ? ท่านยมกะตอบว่าอย่างนั้นแล ท่านสารีบุตร.

       สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
       ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ

       สา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
       ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ

      สา. เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

             [๒๐๐] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นเวทนาว่าสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

             [๒๐๑] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่า สัตว์บุคคลมีในรูปหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
      สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
      ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

-------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๒๐๒] สา. ดูกรยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?
       ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

             [๒๐๓] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็น ว่าสัตว์บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ หรือ?
       ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

             สา. ดูกรท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคล ใน ขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือ ที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึง ธรรม ตามที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อม ขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.

             ย. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้า อย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้ ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้ว เพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระสารีบุตร.

             [๒๐๔] สา. ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร ?

             ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า รูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้

             [๒๐๕] สา. ดีละๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อหยั่งรู้ ความข้อนั้นให้ยิ่งๆ ขึ้น. ดูกรท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่ง ประสงค์ความพินาศ ประสงค์ความไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าคฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่างกวดขัน การที่จะ อุกอาจปลงชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบาย ปลงชีวิต.

              บุรุษนั้น พึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอเป็นคนรับใช้ท่าน.

             คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้ เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดี ทุกประการคือ มีปรกติตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น เชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย และถึงความไว้วางใจในเขา.

             เมื่อใด บุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ไว้ใจเราดีแล้ว เมื่อนั้น บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม.

             ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไป หาคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีโน้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่านแม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่.

             ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนภายหลังคอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็น ที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่ คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่.

              และในกาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ จึงปลงชีวิตเสีย ด้วยศาตราอันคมแม้ในกาลนั้น เขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง ก็แต่คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่าเราไม่.

ย. อย่างนั้น ท่าน.

             [๒๐๖] สา. ดูกรท่านยมกะ ข้ออุปมานี้ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้เห็น พระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็น สัตบุรุษ ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน หรือ
ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือ
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.

             เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง
              ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์
              ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา
              ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า อันปัจจัยแต่ง
              ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า.

             เขาย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา.

             อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

             [๒๐๗] ดูกรท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ทั้งหลาย ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรมได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมไม่เห็นตน มีรูป
ย่อมไม่เห็นรูป ในตน หรือ
ย่อมไม่เห็นตน ในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมไม่เห็นตน มีวิญญาณ
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ ในตน
หรือย่อมไม่เห็นตน ในวิญญาณ.

             เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง.
             ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน เป็นทุกข์ ว่าเป็นทุกข์.
             ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็น อนัตตาว่า เป็นอนัตตา.
             ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน ปัจจัยปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง.
             ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน เป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า.
             เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา.

             อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน.

             ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ของท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ผู้เช่นนั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็น อย่างนั้นแท้ ก็แลจิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร



(48)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๐

พระเทวทัตหาพรรคพวกจากภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูป

(ความย่อ

พระเทวทัตหาพรรคพวกจากภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูป
สมัยนั้น พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็น พระบวชใหม่และรู้พระธรรมวินัย น้อย พวกเธอจับสลากด้วยเข้าใจว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ลำดับนั้น พระเทวทัต ทำลาย สงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป หลีกไปทางคยาสีสะประเทศ

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เข้าเฝ้า
ครั้งนั้น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าฯเพื่อกราบทูล ทรงตรัสว่า พวกเธอ จักมีความ การุญ ในภิกษุใหม่เหล่านั้นมิใช่หรือ เธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้นกำลังจะถึงความย่อยยับ

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ กลับ
พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ไปพบพระเทวทัต ขณะนั่งแสดงธรรมอยู่ พระเทวทัตกล่าวกะ ภิกษุ ว่า เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตร โมคคัลลานะอัครสาวก ของพระสมณ โคดม ยังพากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรม ของเราแน่

พระโกกาลิกะ* เตือนพระเทวทัต
ท่านอย่าไว้ วางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ทั้งสองมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจ แก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่า อย่าเลย ท่านทั้งสองมาดี เพราะชอบใจธรรม ของเรา *พระโกกาลิกะ ติเตียนพระสารีบุตร และพระโมคหลังมรณะภาพได้ไปเกิดในปทุมนรก

พระเทวทัต เชื้อเชิญให้พระสารีบุตร กับพระโมค แสดงธรรมด้วย
พระเทวทัตนิมนต์ ท่านพระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ ให้แสดงธรรม กล่าวว่าเราเมื่อยหลัง จักเอน พระสารีบุตรรับคำ ครั้งนั้น พระสารีบุตร กล่าวสอนภิกษุด้วยธรรมีกถา อันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์  ส่วนพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวสอนด้วยธรรมีกถา อันเป็น อนุศาสนี เจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ จากนั้นพระสารีบุตร พระโมค พาภิกษุ ๕๐๐ รูป ไปทางพระเวฬุวัน

พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัต
ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัต ให้ลุกขึ้นด้วยคำว่า ท่านเทวทัต ลุก ขึ้นเถิดพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอกท่านแล้ว มิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจ พระ สารีบุตร พระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความ ปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนา ลามก

ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง ฯ
(อรรถกถาแต่งว่า เสียชีวิตเนื่องจากธรณีสูบ-วิกิพีเดีย)

พระเทวทัตจักเกิดในอบาย
เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ (โลกธรรม ๘) ประการครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ (ตกนรกอเวจี มีประตูถึง ๔ ประตูอันน่ากลัว)

พระเทวทัตหาพรรคพวกจากภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูป

            [๓๘๙] ครั้งนั้น ถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศให้ ภิกษุทั้งหลายจับสลากว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมแล้ว ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่าพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้ มักน้อย ...

            การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อ ความเป็น ผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอ ประทาน พระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใด อาศัยบ้าน อยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดพึง ฉันปลา และเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ

            วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดม ไม่ทรงอนุญาต แต่พวกเรานั้นย่อม สมาทาน ประพฤติ ตามวัตถุ ๕ ประการนี้ วัตถุ    ๕ ประการนี้ ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นจงจับสลาก

            [๓๙๐] สมัยนั้น พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระ บวชใหม่และรู้พระธรรมวินัยน้อย พวกเธอจับสลากด้วยเข้าใจว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ลำดับนั้น พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป หลีกไปทางคยาสีสะ*ประเทศ (พระเทวทัตพาพระบวชใหม่ไปทาง คยาสีสะ)
* (ตำบลหนึ่งในเมืองคยา แคว้นมคธ)

            [๓๙๑] ครั้งนั้น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปหลีกไปทาง คยาสีสะประเทศ

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร โมคคัลลานะ พวกเธอจักมีความ การุญ ใน ภิกษุใหม่เหล่านั้นมิใช่หรือ พวกเธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้นกำลังจะถึง  ความย่อยยับ

           พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเดินทางไปคยาสีสะประเทศ



ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องให้

            [๓๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องไห้ อยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค จึงพระผู้มี พระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ* เธอร้องไห้ทำไม

            ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็น อัครสาวกของ พระผู้มีพระภาค ไปในสำนักพระเทวทัต คงจะชอบใจธรรมของ พระเทวทัต

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ข้อที่สารีบุตรโมคคัลลานะ จะพึงชอบใจ ธรรมของเทวทัต นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่เธอทั้งสองไปเพื่อซ้อมความเข้าใจกะ ภิกษุ
*(ภิกษุร้องให้เกิดความเข้าใผิด)

พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ กลับ

            [๓๙๓] สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่งแสดงธรรม อยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึงเตือนภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตร โมคคัลลานะอัครสาวก ของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรม ของเรา

            เมื่อพระเทวทัต กล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ* ได้กล่าวกะ พระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้ วางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เพราะเธอ ทั้งสอง มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่า  อย่าเลย คุณ ท่านทั้งสองมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา
*(พระโกกาลิกะ ต่อมาได้กล่าวตู่พระสารีบุตร และพระโมค- ว่าเป็นผู้มีความปรารถนาอันเลวทราม  ต่อหน้าพระศาสดา จากนั้นได้ทำกาละ เข้าถึง ปทุมนรก อายุ 1 กัป อ่าน โกกาลิกสูตร )

            ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ท่านพระสารีบุตร ด้วยอาสนะกึ่งหนึ่ง ว่า มาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า อย่าเลย ท่าน แล้วถืออาสนะแห่งหนึ่ง นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ก็ถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ลำดับนั้น พระเทวทัต แสดงธรรม กถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงหลายราตรี แล้วเชื้อเชิญ ท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ ปราศจาก ถีนมิทธะแล้วธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลัง จักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว (พระเทวทัตขอให้พระสารีบุตรแสดงธรรม ต่อ)

            ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวา เธอเหน็ดเหนื่อย หมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียวเท่านั้น ก็หลับไป

            [๓๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร กล่าวสอนพร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย ด้วย ธรรมีกถา อันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถา อันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอิทธิ ปาฏิหาริย์

            ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอน อยู่ด้วย อนุศาสนี เจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอน อยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตาเห็นธรรมที่ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมด มีความดับเป็นธรรมดา ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย  มาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ใดชอบใจธรรมของพระผู้มี พระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

            ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นเข้าไป ทางพระเวฬุวัน

            ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัต ให้ลุกขึ้นด้วยคำว่า ท่านเทวทัต ลุก ขึ้นเถิดพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอกท่านแล้ว มิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความ ปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามก

ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง ฯ

            [๓๙๕] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าพระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่

            พ. อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของพวกภิกษุผู้ ประพฤติ ตามภิกษุผู้ทำลาย เลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุ ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย แสดง อาบัติถุลลัจจัย* ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร
* (อาบัติถุลลัจจัย คืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้น ต้องประจานตน ต่อหน้าภิกษุด้วยกัน)

            ส. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วได้รับสั่งกะ  ข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูกรสารีบุตรภิกษุสงฆ์ปราศจาก ถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุ ทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ฉันใด พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า ฯ
--------------------------------------------------------------------------------------------------

ทรงอุปมาว่า พระเทวทัตเลียนแบบเรา ทำให้ช้างที่ติดตาม ตายทั้งโขลง

            [๓๙๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่ในราวป่า ช้างทั้งหลายอาศัยสระ นั้นอยู่ และพวกมัน พากันลงสระนั้นเอางวง ถอนเง่าและ รากบัวล้างให้สะอาด จนไม่มีตม แล้วเคี้ยวกลืน กิน เง่าและรากบัวนั้น เง่าและรากบัวนั้น ย่อมบำรุงวรรณะ และกำลังของช้างเหล่านั้น และช้างเหล่านั้นก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็กๆ เอาอย่างช้างใหญ่เหล่านั้น และ พากันลงสระ นั้น เอางวงถอนเง่า และรากบัวแล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกลืน กินทั้งที่มี ตม เง่าและ รากบัวนั้น ย่อมไม่บำรุงวรรณะและกำลัง ของลูกช้างเหล่านั้น และพวกมัน ย่อมเข้าถึง ความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตเลียน แบบ เราจักตายอย่างคนกำพร้า อย่างนั้นเหมือนกันฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้:

            [๓๙๗] เมื่อช้างใหญ่คุมฝูง ขุดดิน กินเง่าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกิน เง่าบัว ทั้งที่มีตมแล้วตาย ฉันใด เทวทัตเลียนแบบเรา แล้วจักตายอย่างคน กำพร้า ฉันนั้น


พระเทวทัตจักเกิดในอบาย

            [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อสัทธรรม* ๘ ประการ เป็นไฉน คือ
๑. เทวทัตมีจิต อันลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบายตกนรก ตั้งอยู่ตลอด กัปช่วยเหลือไม่ได้
๒. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๓. เทวทัตมีจิต อันยศ ครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๔. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมยศ ครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๕. เทวทัตมีจิต อันสักการะ ครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๖. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมสักการะ ครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๗. เทวทัตมีจิต อันความปรารถนาลามก ครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๘. เทวทัตมีจิต อันความเป็นมิตรชั่ว ครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
*(โลกธรรม ๘)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำ  ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

           [๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ:
๑. ความปรารถนาลามก
๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงคั่นต่ำ
*ก็เลิกเสียในระหว่าง
*(น่าจะขั้นต่ำ)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยี จักเกิดใน อบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

นิคมคาถา

           [๔๐๓] ใครๆจงอย่าเกิดเป็นคนปรารถนาลามก ในโลก ท่านทั้งหลายจงรู้จัก เทวทัต นั้นตามเหตุแม้นี้ว่า มีคติเหมือนคติของคนปรารถนาลามก เทวทัตปรากฏว่า เป็นบัณฑิต รู้กันว่าเป็นผู้อบรมตนแล้ว เราก็ได้ทราบว่า เทวทัต ตั้งอยู่ดุจผู้รุ่งเรือง ด้วยยศ เธอสั่งสมความประมาทเบียดเบียนตถาคตนั้น จึงตกนรกอเวจี มีประตูถึง ๔ ประตูอันน่ากลัว

            ก็ผู้ใดประทุษร้าย ต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำบาปกรรมบาปย่อมถูกต้อง เฉพาะผู้นั้น ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่เอื้อเฟื้อผู้ใดตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร ด้วยยาพิษ เป็นหม้อๆ

            ผู้นั้นไม่ควรประทุษร้ายด้วยยาพิษนั้น เพราะมหาสมุทรเป็นสิ่งที่ น่ากลัว ฉันใด ผู้ใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดีแล้ว มีพระทัยสงบด้วยกล่าวติเตียน การกล่าว ติเตียน ในตถาคตนั้น ฟังไม่ขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน

            ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของ พระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า พระองค์ใด พึงถึงความสิ้นทุกข์ บัณฑิตพึงกระทำ พระพุทธเจ้า หรือสาวกของ พระพุทธเจ้า ผู้เช่นนั้นให้เป็นมิตร และพึงคบหาท่าน



(49)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐  หน้าที่ ๖๑

เทวดาเข้าเฝ้า รายงานว่าพระสารีบุตร กำลังแสดงธรรม เรื่องสังโยชน์ ที่ปราสาทของนางวิสาขา
P1343

            ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่น กำลังเทศนา ถึงบุคคล ที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาท ของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาค จงทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาค ทรงรับคำ อาราธนาด้วยดุษณีภาพ

             ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงหายจากพระเชตวันวิหาร ไปปรากฏ เฉพาะหน้า ท่านพระสารีบุตร ที่ปราสาทของนาง วิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง บนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตร ก็ได้ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่าน พระสารีบุตรว่า

             ดูกรสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์ เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนา ถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มี สังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตร จนถึงที่อยู่เถิด

             ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์ บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน (เทวดามารวมตัวแบบแออัดยัดเยียด แต่ไม่เบียดกัน พระสารีบุตร ไม่มีทิพย์จักษุ จึงมองไม่เห็น)

             ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดาเหล่านั้น ยืนอยู่ได้ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิต อันเทวดาเหล่านั้น อบรมแล้วในภพนั้น แน่นอน ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้

             ดูกรสารีบุตรก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้น ยืนอยู่ได้ ในโอกาส แม้เท่า ปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกัน และกัน เทวดาเหล่านั้น ได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษา อย่างนี้ว่า จักเป็นผู้ มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษา เช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้นแหละ

             สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิต ที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไป ในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว



(50)

หนังสือพุทธวจน หน้า 383

วัตตสูตร
การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗
B383

             สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย1 ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตร แล้วท่าน พระสารีบุตร ได้กล่าวว่า

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน ? คือ
สติสัมโพชฌงค์ ๑
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑
วิริยสัมโพชฌงค์ ๑
ปีติสัมโพชฌงค์ ๑
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑
สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย2 โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล.

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เราประสงค์จะอยู่ด้วย โพชฌงค์ ข้อใดๆ ในเวลาเช้าก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วย โพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วย โพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ ว่าสติสัม โพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์ เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่า เคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น ปัจจัย.

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขา สัมโพชฌงค์ เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา เคลื่อนไป เราก็รู้ว่า เคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย หีบผ้าของพระราชาหรือของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเช้าก็นุงห่มผ้า ชุดนั้นๆ ได้  ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเที่ยง
1 ข้อสังเกต ในบาลีเป็นคำว่า “อาวุโส” ดังนั้นน่าจะใช้คำว่า “ดูกรผู้มีอายุ” -ผู้รวบรวม
2 ข้อสังเกต ในบาลีเป็นคำว่า “อาวุโส” ดังนั้นน่าจะใช้คำว่า “ดูกรผู้มีอายุ” -ผู้รวบรวม

             ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้นๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใดๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้า ชุดนั้นๆ ได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรดาโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ เราประสงค์จะ อยู่ด้วยโพชฌงค์ ข้อใดๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆประสงค์จะอยู่ด้วย โพชฌงค์ข้อใดๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ ประสงค์จะอยู่ด้วย โพชฌงค์ ข้อใดๆในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้นๆ

             ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ ของเราหา ประมาณ มิได้ อันเราปรารภดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่า ตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น ปัจจัย ฯลฯ

             ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าอุเบกขา สัมโพชฌงค์ ของเรา หาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เมื่อยัง ตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า เคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย


(51)

หนังสือภพภูมิ หน้า 89

ผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล (ภิกษุโกกาลิกะ)
อายุนรกบทที่ ๒๔ (หนังสือภพภูมิ)
หนังสือภพภูมิ หน้า 89


               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความ ปรารถนา อันเลวทราม ตกอยู่ในอํานาจแห่งความ ปรารถนาอันเลวทราม พระเจ้าข้า !

โกกาลิกะ ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้

โกกาลิกะ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิต ให้เลื่อมใสในสารีบุตร และ โมคคัลลานะ เถิด สารีบุตรและ โมคคัลลานะมีศีลเป็นที่รัก

แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

               ลําดับนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาค กระทํา ประทักษิณ แล้วหลีกไป..ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

               ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม มีรัศมีอันงามยิ่ง ทําวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาท แล้วยืนอยู่ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

               ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! โกกาลิกภิกษุ มรณภาพแล้ว อุบัติ ในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ” ท้าวสหัมบดี พรหม ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว กระทำประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานหายไป ในที่นั้นเอง

               ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ประมาณอายุใน ปทุมนรก นานเพียงใด พระเจ้าข้า !

               ภิกษุทั้งหลาย! ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก การนับประมาณอายุ ในปทุมนรก นั้น ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทำ ได้ง่าย

               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทำ การเปรียบเทียบ ได้หรือไม่ พระเจ้าข้า !

               ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้

               ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงา ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี เมื่อล่วงไปทุกแสนปี(ความเข้าใจใหม่คือ ทุก๑๐๐ปี) บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้น จากเกวียน นั้นออกหนึ่งเมล็ด

               ภิกษุทั้งหลาย ! เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น จะพึงถึงความ สิ้นไป หมดไปโดยลําดับ นี้ยังเร็วเสียกว่า ส่วน ๑ อัพพุทนรกยังไม่พึง ถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย.

               ภิกษุทั้งหลาย !
๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก
๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อัพพนรก
๒๐ อัพพนรก เป็น ๑ อหหนรก
๒๐ อหหนรก เป็น ๑ อฏฏนรก
๒๐ อฏฏนรก เป็น ๑ กุมทนรก
๒๐ กุมทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก
๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปลกนรก
๒๐ อุปลกนรก เป็น ๑ ปุณฑรีกนรก
๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก อย่างนี้
(นรกกลุ่มนี้ แบ่งตามอายุมี 10 ภพย่อย)

               ก็โกกาลิกภิกษุ อุบัติใน ปทุมนรก เพราะ จิตคิดอาฆาตในสารีบุตร และ โมคคัลลานะ

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอนตนเองของบุรุษ ผู้เป็น พาล ผู้กล่าวคําทุภาษิต ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การแพ้ด้วย ทรัพย์เพราะเล่น การพนัน เป็นโทษเพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย ในท่านผู้ปฏิบัติดี นี้แล เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาปไว้แล้ว เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อม เข้าถึงนรกตลอดกาล ประมาณด้วยการนับปี ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ.

ทสก.อ. ๒๔/๑๘/๘๕.

โกกาลิกสูตร (P487) : ฉบับหลวง เล่ม ๒๔ หน้าที่ ๑๔๗



(52)

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า55

ทรงเล่าประพฤติอัตตกิลมถานุโยค ให้พระสารีบุตรฟัง เมื่อเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม
อ้างอิง

(โดยย่อ)

วัตรเดียรถีย์ 4 แบบ ที่พระพุทธเจ้าเคยประพฤติปฏิบัติมาแล้ว

1. ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) คือ
เปลือยกาย, เช็ดอุจจาระด้วยมือ, ไม่ยินดีอาหารที่เขาเจาะจง, ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้, ไม่รับอาหาร ของหญิงมีครรภ์ และหญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนมอยู่, มีสุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ไม่รับอาหาร ,ไม่รับอาหาร ในที่มีแมลงวันบินเป็นฝูง, ไม่รับปลาไม่รับเนื้อ...ฯลฯ

2. ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) คือ
ธุลีเกรอะกรังที่กาย สิ้นปีเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น เปรียบเหมือนตอตะโก นานปีมีสะเก็ดขึ้น เราไม่พึงลูบธุลีนี้ ออกเสียด้วยฝ่ามือ แม้ความคิดนึก ก็มิได้มีแก่เรา.

3. เชคุจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้รังเกียจ) คือ
เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับโดยอาการเท่าที่ความเอ็นดูอ่อนโยน(ก้าวขากลับช้าๆ) ของเรา พึงบังเกิด ขึ้น แม้ในหยาด แห่งน้ำว่าเราอย่าทำสัตว์น้อยๆ ทั้งหลายที่มีคติ ไม่เสมอกัน...ฯลฯ

4. ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วแล้ว) คือ
เราเห็นคนเลี้ยงสัตว์ ก็จะเดินหนีไปป่าโน้น เพราะคิดว่าเขาอย่าเห็นเราเลย เปรียบเหมือน เนื้ออัน เมื่อเห็นมนุษย์ย่อมหนีสู่ป่าโน้น, เรานั้น คลานเข้าไปเอาโคมัย(ขี้วัว) ของลูกโคน้อย มาเป็นอาหาร, ในฤดูหนาวแปดวันที่มีหิมะตก กลางคืนเราอยู่กลางแจ้งกลางวันอยู่ป่า, เราเป็น ผู้มีกายอัน เปลือยเปล่าไม่ผิงไฟ, เรานอนในป่าช้าทับซากศพ ...ฯลฯ


ทรงประพฤติ อัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์)
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า55

           สารีบุตร ! เราตถาคตรู้เฉพาะซึ่ง พรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ที่ได้ประพฤติแล้ว
     ตปัสสีวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง (วัตรเพื่อมีตบะ)
     ลูขวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง (วัตรในการเศร้าหมอง)
     เชคุจฉิวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง
     ปวิวิตตวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง

ในวัตร ๔ อย่างนั้น นี้เป็น(๑) ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) ของเรา

คือ
เราได้ประพฤติ เปลือยกาย
มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว
เป็นผู้ประพฤติ เช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ
ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา
ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์ว่าท่านผู้เจริญจงหยุดก่อน
ไม่ยินดีในอาหารที่เขานำมาจำเพาะ
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาทำอุทิศเจาะจง
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาร้องนิมนต์เรา
ไม่รับอาหารจากปากหม้อ
ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ
ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู
ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้
ไม่รับอาหารคร่อมสาก
ไม่รับอาหารของชนสองคนผู้บริโภคอยู่
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์
ไม่รับอาหารของหญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนมอยู่
ไม่รับอาหารของหญิงผู้ไปในระหว่างแห่งบุรุษ
ไม่รับอาหารในอาหารที่มนุษย์ชักชวนร่วมกันทำ
ไม่รับอาหารในที่ที่มีสุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่
ไม่รับอาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ
ไม่รับปลาไม่รับเนื้อ

ไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำอันดองด้วยแกลบ

เรารับเรือนเดียวฉันคำเดียวบ้าง รับสองเรือนฉันสองคำบ้าง รับสามเรือนฉันสามคำบ้าง ....ฯลฯ.... รับเจ็ดเรือน ฉันเจ็ดคำบ้าง เราเลี้ยงร่างกายด้วยอาหาร ในภาชนะน้อย ๆ ภาชนะเดียวบ้าง
เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารใน ภาชนะน้อย ๆ สองภาชนะบ้าง ....ฯลฯ.... เลี้ยงร่างกายด้วยอาหาร ในภาชนะน้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง เราฉัน อาหารที่เก็บไว้วันเดียวบ้าง ฉันอาหารที่ เก็บไว้สองวัน บ้าง ....ฯลฯ.... ฉันอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง เราประกอบความเพียรในภัตรและโภชนะ มีปริยาย อย่างนี้ จนถึง กึ่งเดือนด้วยอาการอย่างนี้.

รานั้น มีผักเป็นภักษาบ้าง มีสารแห่งหญ้ากับแก้เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษา บ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษา บ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำข้าวเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็น ภักษาบ้าง มีข้าวสารหักเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย (ขี้วัว) เป็นภักษาบ้าง มีผลไม้และรากไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภคผลไม้ อันเป็นไป (หล่นเอง) ยังชีวิตให้เป็นไปบ้าง.

เรานั้นนุ่งห่มด้วยผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าเจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้กับซากศพบ้าง นุ่งห่มผ้าคลุกฝุ่นบ้าง นุ่งห่มเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังอชินะบ้าง นุ่งห่มหนังอชินะ ทั้งเล็บบ้าง นุ่งห่มแผ่นหญ้าคากรองบ้าง นุ่งห่มแผ่น ปอกรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นกระดาน กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง (ศัพท์นี้แปลกที่ไม่มีคำว่ากัมพล)

เราตัดผมและหนวด ประกอบตามซึ่งความเพียรในการตัดผมและหนวด เราเป็นผู้ยืนกระหย่ง ห้ามเสียซึ่งการนั่งเป็นผู้เดินกระหย่ง ประกอบตามซึ่งความเพียร ในการเดินกระหย่งบ้าง เราประกอบการยืนการเดินบนหนาม สำเร็จการนอน บนที่นอนทำด้วยหนาม, เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการลงสู่น้ำ เวลาเย็นเป็น ครั้งที่สามบ้าง เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการทำ(กิเลสใน) กายให้เหือดแห้ง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นนี้ ด้วยอาการ อย่างนี้. สารีบุตร ! นี่แลป็นวัตรเพื่อความ เป็นผู้มีตบะ ของเรา

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น(๒) ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) ของเรา

คือ ธุลีเกรอะกรังแล้ว ที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น

สารีบุตร !เปรียบเหมือนตอตะโกนานปีมีสะเก็ดขึ้นแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น ธุลีเกรอะกรัง แล้ว ที่กาย สิ้นปีเป็นอันมาก จนเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น

สารีบุตร ! ความคิดนึกว่า โอหนอเราพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ไม่มี แก่เรา แม้ความคิดนึกว่า ก็หรือชนเหล่าอื่นพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ก็มิได้มีแก่เรา

ดูก่อนสารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้เศร้าหมองของเรา

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น (๓) เชคุจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้รังเกียจ) ของเรา

คือ
ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับโดยอาการเท่าที่ความ เอ็นดู อ่อนโยนของเราพึงบังเกิดขึ้น แม้ในหยาด แห่งน้ำว่าเราอย่าทำสัตว์น้อยๆ ทั้งหลายที่มีคติไม่เสมอกันให้ลำบากเลย. สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็น ผู้รังเกียจของเรา

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น (๔) ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วแล้ว) ของเรา

คือ
ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นเข้าสู่ราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เมื่อเห็นคน เลี้ยงโค หรือคนเลี้ยง ปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้หรือคนทำงาน ในป่ามา เราก็รีบลัดเลาะจากป่านี้ไปป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้นจากลุ่มนี้ สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ ดอนโน้น เพราะเหตุคิดว่า ขอคนพวกนั้น อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็น ชนพวกนั้น

สารีบุตร ! เปรียบเหมือนเนื้ออันอยู่ในป่า เห็นมนุษย์แล้วย่อมเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่า โน้น จากรกชัฏนี้ สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เราเมื่อเห็นคนเลี้ยงโคหรือ คนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า คนหาไม้ คนทำงาน ในป่ามาก็รีบเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้นด้วยหวังว่าคนพวกนี้ อย่าเห็น เราเลย และเราก็อย่าได้เห็น คนพวกนั้น

สารีบุตร !นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วของเรา.

สารีบุตร ! เรานั้น โคเหล่าใดออกจากคอกหาคนเลี้ยงมิได้, เราก็คลานเข้าไป ใน ที่นั้น ถือเอาโคมัย ของลูกโค น้อยๆ ที่ยังดื่มนมแม่เป็นอาหาร. สารีบุตร ! มูตรและกรีส (ปัสสาวะ และอัจจาระ) ของตนเอง ยังไม่หมดเพียงใด เราก็ถือมูตร และกรีสนั้น เป็นอาหารตลอด กาลเพียงนั้น

ดูก่อน สารีบุตร ! นี้แลเป็นวัตรในมหาวิกฏโภชนวัตร ของเรา

สารีบุตร ! เราแลเข้าไปสู่ชัฏแห่งป่าน่าพึงกลัวแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เพราะชัฏ แห่งป่านั้น กระทำซึ่งความกลัวเป็นเหตุ ผู้ที่มีสันดานยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ ชัฏป่านั้นแล้ว โลมชาติ ย่อมชูชันโดยมาก

สารีบุตร ! รานั้นในราตรีทั้งหลายอันมีในฤดูหนาวระหว่างแปดวัน เป็นสมัยที่ ตกแห่ง หิมะอันเย็น เยือกกลางคืน เราอยู่ที่กลางแจ้ง กลางวันเราอยู่ในชัฏ แห่งป่า ครั้นถึงเดือน สุดท้ายแห่งฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ ในป่า

สารีบุตร ! คาถาน่าเศร้านี้ อันเราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน มาแจ้งแก่เราว่า เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว เปียกแล้วผู้เดียว, อยู่ในป่าน่าพึงกลัวแต่ผู้เดียว เป็นผู้มีกายอัน เปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายแสวงหาความบริสุทธ์ิ ดังนี้

สารีบุตร ! เรานั้นนอนในป่าช้า ทับกระดูกแห่งซากศพทั้งหลายฝูงเด็กเลี้ยงโค เข้ามาใกล้เรา โห่ร้องใส่หูเราบ้าง ถ่ายมูตรรดบ้าง ซัดฝุ่นใส่บ้างเอาไม้แหลมๆ ทิ่มช่องหูบ้าง

สารีบุตร ! เราไม่รู้สึกซึ่งจิตอันเป็นบาปต่อเด็กเลี้ยงโคทั้งหลายเหล่านั้น แม้ด้วยการทำความ คิดนึกให้เกิดขึ้น สารีบุตร ! นี้เป็นวัตรในการอยู่อุเบกขา ของเรา

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์บางพวกมักกล่าวมักเห็นอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์มีได้ เพราะอาหาร สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวกันว่า พวกเราจง เลี้ยงชีวิตให้เป็นไป ด้วยผลกะเบา๑ ทั้งหลายเถิด. สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงเคี้ยวกินผลกะเบาบ้าง เคี้ยวกินกะเบาตำผงบ้าง ดื่มน้ำคั้น จากผลกะเบา บ้าง ย่อมบริโภคผลกะเบาอันทำให้ แปลกๆ มีอย่างต่าง ๆ บ้าง

สารีบุตร ! เราก็ได้ใช้กะเบาผลหนึ่งเป็นอาหาร สารีบุตร ! คำเล่าลืออาจมีแก่เธอว่า ผลกะเบาในครั้งนั้น ใหญ่มากข้อนี้เธออย่าเห็นอย่างนั้น ผลกะเบาในครั้งนั้น ก็โตเท่านี้ เป็นอย่างยิ่งเหมือนในครั้งนี้เหมือนกัน

สารีบุตร ! เมื่อเราฉันกะเบาผลเดียวเป็นอาหาร ร่างกายได้ถึงความซูบผอมอย่างยิ่ง. เถาวัลย์อาสีติกบรรพ หรือ เถากาฬบรรพ มีสัณฐานเช่นไร อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา ก็เป็นเหมือนเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

รอยเท้าอูฐ มีสัณฐานเช่นไร รอยตะโพกนั่งทับของเราก็มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

เถาวัฏฏนาวฬี มีสัณฐานเช่นใด กระดูกสันหลังของเราก็เป็นข้อๆ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

กลอน (หรือจันทัน) แห่งศาลาที่คร่ำคร่าเกะกะมีสัณฐานเช่นไร ซี่โครงของเรา ก็เกะกะ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

ดวงดาว ที่ปรากฏในน้ำในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ลึกฉันใด ดวงดาวคือลูกตาของเรา ปรากฏอยู่ลึก ในเบ้าตา ฉันนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

น้ำเต้า ที่เขาตัดแต่ยังอ่อน ครั้นถูกลมและแดด ย่อมเหี่ยวยู่ยี่ มีสัณฐาน เป็นเช่นไร หนังศีรษะแห่งเราก็เหี่ยวยู่มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้ มีอาหารน้อย

สารีบุตร ! เราตั้งใจว่าลูบท้อง ก็ลูบถูกกระดูกสันหลังด้วย ตั้งใจว่าลูบกระดูกสันหลัง ก็ลูบถูกท้องด้วย

สารีบุตร ! หนังท้องกับกระดูกสันหลังของเราชิดกันสนิท เพราะความเป็นผู้มีอาหาร น้อย.

สารีบุตร ! เรา เมื่อคิดว่าจักถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ล้มพับอยู่ตรงนั้น เพราะความเป็น ผู้มี อาหารน้อย.

สารีบุตร ! เรา เมื่อจะบรรเทาซึ่งกายนั้นให้มีความสุขบ้าง จึงลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเรา ลูบตัวด้วย ฝ่ามือ ขนที่มี รากเน่าแล้วได้หลุดออกจากกายร่วงไป เพราะความเป็นผู้มี อาหารน้อย.

ตรัสเล่าแก่ตระสารีบุตร, บาลี มหาสีหนาทสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๑๕๕/๑๗๗, ที่ วนสัณฑ์ ใกล้เมืองเวสาลี. วัตรเหล่านี้ในบาลีไม่แสดงไว้ชัดว่า ทรงทำก่อนหรือ หลังการไปสำนัก ๒ ดาบส หรือคราวเดียวกับทุกรกิริยาอดอาหาร.



(53)
หนังสือสกทาคามี หน้า 13

บุคคลที่มีเชื้อเหลือ แต่พ้นทุคติ (ตรัสกับพระสารีบุตร)
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๓๙๑/๒๑๖.

          สมัยหนึ่ง ในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตรเข้าไปบิณฑบาต ในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่าเวลา ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไป ในอารามของพวก ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ ได้ทักทาย ปราศรัยกันพอสมควรแล้ว จึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็ในสมัยนั้น พวกปริพพาชกเหล่านั้น กำลังนั่ง ประชุมสนทนากันว่า บุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

          ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านถ้อยคำที่ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้น กล่าวแล้วลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหาร แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า.

          สารีบุตร ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์บางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไร ว่าใครมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) หรือไม่มีเชื้อเหลือ (อนุปาทิเสสะ) สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกอะไรบ้าง คือ

          สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรกพ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจาก อบายทุคติ และวินิบาต.

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิเป็น ผู้ทำ พอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจ-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๒ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ พอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขาร-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๓ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขาร-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๔ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อุทธังโสโต-อกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคล จำพวกที่ ๕ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นทำพอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบางจะมาสู่โลกนี้อีก ครั้งเดียว เท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิเป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะมาสู่ภพมนุษย์นี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น(เอกํเยว มานุสกํ ภวํ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้ สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๗ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น โกลังโกละ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูลเท่านั้นแล้ว จะทำที่สดุ แห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำ พวกที่ ๘ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตัก ขัตตุปรมะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละย่อมพ้น จากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัยพ้นจาก อบาย ทุคติ และวินิบาต.

          สารีบุตร ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์บางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไร ว่าใครมีเชื้อเหลือ หรือไม่มีเชื้อ เหลือ.

          สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล ที่มีเชื้อเหลือเมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด เดรัจฉาน พ้นจาก เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

          สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่เคยแสดงแก่ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มาก่อน ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายนี้แล้ว จักเข้าถึงซึ่ง ความประมาท อนึ่ง ธรรมปริยายเช่นนี้ เราจะกล่าวก็ต่อเมื่อถูกถาม เจาะจงเท่านั้น.



(54)
หนังสืออนาคามี หน้า 481

ผู้มีสังโยชน์ในภายใน และในภายนอก (พระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุ ท.)
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๘๐/๒๘๑.

          ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลายเราจักแสดง บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นอย่างไร

          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ ในภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

          ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัย นี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และ โคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

          ผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วใน ปาติโมกข สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่ายเพื่อคลาย เพื่อ ความดับกามทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพ ทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมา สู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ ความเป็นอย่างนี้.

          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่าสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกัน มากองค์เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว บอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคล ที่มีสังโยชน์ ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ที่ปราสาท ของ นางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริงขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด สารีบุตร ก็เทวดา เหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง๑๐ องค์บ้าง ๒ ๐ องค์บ้าง ๓ ๐ องค์บ้าง ๔ ๐ องค์บ้าง๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกัน และกัน.

          สารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้นซึ่งเป็นเหตุให้เทวดา เหล่านั้น ยืนอยู่ได้ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑ ๐ องค์บ้าง … ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน

          สารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ สารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑ ๐ องค์บ้าง … แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้น แหละ

          สารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควร ศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรมวจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ เพราะฉะนั้นแหละ

          สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น เข้าไปใน พรหมจารีทั้งหลาย สารีบุตรเธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว.



(55)

หนังสือปฏิจจสมุปบาท (5เล่มจากพระโอษฐ) หน้า514

การสนทนาของพระมหาสาวก (เรื่องปฏิจจสมุปบาท)


ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสะปตนมฤคทายวัน ใกล้เมือง พาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่หลีกเร้น ในเวลาเย็น เข้าไปหาพระสารีบุตร ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อน ท่านสารีบุตร ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคล กระทำเองหรือหนอ? หรือว่าชรามรณะ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคล กระทำ เองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยหรือ? หรือว่าชรามรณะ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำ เองหรือบุคคลอื่น กระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า

ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองก็ไม่ใช่ ชรามรณะเป็นสิ่งที่ บุคคลกระทำก็ไม่ใช่ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วยก็ ไม่ใช่ ทั้งชรามรณะจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้น ได้ก็ ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ.

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า

ดูก่อนท่านสารีบุตร ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ หนอ? หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่ บุคคลอื่นกระทำ? ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งชาติ จะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือ บุคคลอื่น กระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ.

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ หนอ? หรือว่าภพ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วย บุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าภพ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่น กระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ภพเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ภพ เป็นสิ่งที่บุคคล

กระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งภพ จะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำ เอง หรือ บุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคล กระทำเอง หรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เองด้วย บุคคลอื่น กระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือ บุคคลอื่น กระทำก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ อุปาทานเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระ ทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่น กระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ตัณหาเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำ ด้วย หรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่น กระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ตัณหาเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่น กระทำ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่น กระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่น กระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ผัสสะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ผัสสะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำ ด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองห รือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แต่ว่า เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร สฬายตนะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เอง หรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วย หรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ สฬายตนะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แต่ว่า เพราะมีนานรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร นามรูป เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่น กระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร วิญญาณ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เอง หรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า เราทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึง ภาษิตของ ท่าน สารีบุตรเดี๋ยวนี้เองอย่างนี้ว่าดูก่อนท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่น กระทำ ก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมี วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. อนึ่ง เราทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงภาษิตของ ท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้ อีกเหมือนกันอย่างนี้ว่า

ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่น กระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็น สิ่งที่ไม่ใช่ บุคคลกระทำเอง หรือ บุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมี นามรูป เป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ'.

ดูก่อนท่านสารีบุตร ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้อันเราทั้งหลายจะพึงเห็นได้อย่างไร?

ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้นผมจักกระทำอุปมา ให้ท่านฟัง. วิญญูชนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความ แห่งภาษิตได้ แม้ด้วยอุปมา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนไม้อ้อสองกำจะพึงตั้งอยู่ได้ ก็เพราะ อาศัยซึ่งกันและกัน ข้อนี้ฉันใด

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันกล่าวคือ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ พราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเหาะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม้อ้อสองกำนั้นถ้าบุคคล ดึงเอาออกเสียกำหนึ่งไซร้ อีกกำหนึ่ง ก็พึงล้มไป ถ้าบุคคลดึงเอากำอื่นอีกออกไปไซร้กำอื่นอีก ก็พึงล้มไป ข้อนี้ฉันใด

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันคือ
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมี ความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวว่า น่าอัศจรรย์ท่านสารีบุตร ไม่เคยมีแล้วท่านสารีบุตร เท่าที่ท่านสารีบุตรกล่าวมานี้ นับว่าเป็นการกล่าวดีแล้ว. ก็แลเราทั้งหลาย ขออนุโมทนา ยินดี ต่อคำเป็นสุภาษิตของท่านสารีบุตร นี้ด้วยวัตถุ ๓๖ เรื่อง เหล่านี้คือ

(๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อ จะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบิติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อ จะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความ คลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะ ด้วยความ เป็นผู้ไม่ยึดมั่น ถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า  ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพานในทิฏฐธรรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติ อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติ อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความ คลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพาน ในทิฏฐธรรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งภพ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้น ว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้น ว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว

(๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความ คลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้ว ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า  ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพาน ใน ทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๑๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุ นั้น ว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๑๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุ นั้น ว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๑๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความ ยึดมั่น ถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้น ว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้ว ซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๑๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุ นั้น ว่า ภิกษุธรรมกถึก.

(๑๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว

(๑๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด
เพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความ ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้ว ซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------


(๑๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความ คลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุ นั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๑๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว

(๑๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่น ถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้น ว่า ภิกษุผู้บบรรลุแล้วซึ่ง นิพพานในทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๑๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๒๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๒๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความ ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้ว ซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๒๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อ ความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๒๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อ จะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๒๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ด้วยความไม่ยึดมั่น ถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้ว ซึ่ง นิพพานในทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๒๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุ นั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๒๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๒๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควร พื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๒๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ อยู่ไซร้ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุ นั้น ว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๒๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๓๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสังขาร อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุ นั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๓๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสังขาร อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐธรรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๓๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความ คลาย กำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุ นั้นว่าภิกษุธรรมกถึก

(๓๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ ความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ด้วยความไม่ยึดมั่น ถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐธรรม ดังนี้แล



(56)

ปฏิจจสมุปบาท หน้า13

เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์
(พระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลาย)

           พระสารีบุตร ได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ก็แลคำนี้เป็นคำที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า ผู้ใด เห็นปฏิจจ สมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่า เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นป ฏิจจสมุปบาท (โย ปฏิจฺจ สมุปฺปาทํ ปสฺส ติ โส ธ มฺมํ ป สฺส ติ โย ธ มฺมํ ป สฺส ติโส ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสติ)……”..

           อย่าเลย วักกลิ! ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้. ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็น ธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม. ดูก่อนวักกลิ! เพราะว่า เมื่อเห็นธรรม อยู่ ก็คือเห็นเรา เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม...…๒

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไป ข้างหลังๆ แต่ถ้าเธอนั้น มากไป ด้วยอภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาท ประทุษร้าย มีสติหลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไปแกว่งมา ไม่สำรวม อินทรีย์ แล้วไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกลจากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้น โดยแท้. เพราะเหตุไรเล่า?

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะว่าภิกษุนั้น ไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่า ไม่เห็น เรา (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ ธมฺมํ อปสฺสนฺโต มํ น ปสฺสติ)... [แล้วได้ตรัสไว้ โดยนัย ตรงกันข้ามจากภิกษุ นี้คือตรัสเป็นปฏิปักขนัย โดยนัยว่า แม้จะอยู่ห่างกันร้อยโยชน์ถ้ามีธรรม เห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นพระองค์ (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปสฺสติ:ธมฺมํ ปสฺสนฺโต มํ ปสฺสติ)].๓
   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์