(31)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๔๗-๓๕๐
ปริพาชกผู้โง่เขลา กล่าวกับพระสารีบุตรเรื่อง สอุปาทิเสสะ
สอุปาทิเสสสูตร
P794
(ย่อ)
ปริพาชกผู้หนึ่ง บอกกับสารีบุตรว่า ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็น สอุปาทิเสสะ(อรหันต์) กระทำ กาละ ผู้นั้นล้วนไม่พ้น จากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดดิรัจฉาน ไม่พ้นเปรตวิสัย ไม่พ้นจาก อบาย ทุคติ และ วินิบาต
ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้าน ถ้อยคำ ที่อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น กล่าว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะ หลีกไป เข่าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชก บางพวก โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไร จักรู้ผู้ที่เป็น สอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือจักรู้ผู้ ที่เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ จากนั้นพระผู้มีพระภาคตรัส เรื่องบุคคล ๙ จำพวก ที่พ้นแล้วซึ่ง อบาย ทุคติ และวินิบาต
ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ ที่เป็น สอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจาก นรก พ้นจาก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และ วินิบาต
๙ จำพวกเป็นไฉน บุคคลนั้นเป็น (อนาคามี 5 สกทาคามี 1 โสดาบัน 3)
๑. อันตราปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้น(สะเด็ดไฟไม่ตกถึงพื้น)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (สะเก็ดไฟตกถึงพื้นแล้วดับ)
๓. อสังขารปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (สะเก็ดไปตกลงกอหญ้าเล็กๆ)
๔. สสังขารปรินิพพายี (อนาคามี) เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (สะเก็ดไฟตกลงกอหญ้ากอไม้)
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (อนาคามี) เพราะสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (ไฟลามสุดชายป่า)
๖. สกทาคามี สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง กลับสู่โลกนี้เพียง คราวเดียว
๗. เอกพีชี (โสดาบัน) เพราะสังโยชน์สิ้นไป บังเกิดยัง ภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว
๘. โกลังโกละ (โสดาบัน) เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล
๙. สัตตักขัตตุปรม (โสดาบัน) เพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้ง
สอุปาทิเสสสูตร
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาต ยังพระนครสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรมีความคิดดังนี้ว่า การเที่ยวไป บิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี ยังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งก็สมัยนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมสนทนากัน ในระหว่างว่า
ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็น สอุปาทิเสสะ* กระทำกาละ ผู้นั้น ล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้น จากอบาย ทุคติ และวินิบาต
*(อรหันต์ที่กายยังไม่แตกทำลาย ยังเสวยสุข-ทุกข์ ในเวทนา แต่ไม่มีราคะโทสะโมหะ)
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำ ที่อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น กล่าว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร เที่ยว บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร สาวัตถี ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า การเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ยังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก่อนเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัย กับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ใน ระหว่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละผู้นั้น ล้วนไม่พ้น จากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัยไม่พ้น จาก อบาย ทุคติ และวินิบาต ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำ ที่พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึง เนื้อความ แห่งภาษิตนี้ในสำนัก ของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชก บางพวก โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไร จักรู้ผู้ที่เป็น สอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือ จักรู้ผู้ ที่เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ
..................................................................................................
ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ ที่เป็น สอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจาก นรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานพ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และ วินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี(๑) เพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำ กาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี (๒) เพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒ ...
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี(๓) เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓ ...
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี (๔)เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔ ...
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคา (๕) มีเพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕ ...
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำ พอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี (๖) เพราะ สังโยชน์๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียง คราวเดียวจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ ...
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำ พอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี (๗) เพราะสังโยชน์ สิ้นไป บังเกิดยัง ภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตรนี้ บุคคลจำพวกที่ ๗ ...
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำ พอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ(๘) เพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ ...
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำ พอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา(๙) เพราะ สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่งแล้ว จะทำ ที่สุด แห่งทุกข์ ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัยพ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไร จักรู้บุคคล ผู้เป็น สอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะหรือจักรู้บุคคลผู้เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล๙ จำพวกนี้แล เป็น สอุปาทิเสสะ กระทำ กาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรต วิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
ดูกรสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายที่เรากล่าว ด้วยความ อธิบายปัญหา นี้แล้ว อย่าถึงความประมาท
(32)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๙ - ๑๖๑
พระสารีบุตรแสดงธรรมแทนพระพุทธเจ้าให้กับภิกษุ ๕๐๐ รูป
สังคีติสูตร
P1121
[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยว จาริกไปใน แคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จ ถึงนครของ พวกมัลลกษัตริย์อันมีนามว่า ปาวา ได้ยินว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนท กัม มารบุตร เขตนครปาวา ฯ
[๒๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวก เจ้ามัลละ แห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์จะได้อยู่อาศัย พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค ได้เสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครปาวาโดยลำดับ กำลังประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของ นายจุนท กัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ
ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมี นามว่า อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละ แห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์ จะได้อยู่อาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จประทับ ณ ท้องพระโรง นั้นก่อนเถิด พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับก่อน แล้วภายหลังพวกเจ้า มัลละแห่งนคร ปาวา จึงจัก ใช้สอย การเสด็จประทับก่อน ของพระผู้มีพระภาคนั้น พึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาค ทรงรับด้วย ดุษณีภาพแล้ว ฯ
ครั้นพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้ทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงลุก จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว พากันไปยัง ท้องพระโรง ครั้นแล้วจึงปูลาด ท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีป น้ำมัน แล้วพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรง พวกข้าพระองค์ ปูลาดพร้อมสรรพ แล้ว อาสนะก็แต่งตั้งไว้แล้ว หม้อน้ำ ก็ให้ตั้งไว้แล้ว ประทีปน้ำมัน ก็ตามไว้แล้ว พระเจ้าข้าพระผู้มีพระภาค ย่อมทรงทราบ กาลอันควรในบัดนี้ ฯ
[๒๒๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตร จีวร เสด็จไปยัง ท้องพระโรง พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไป ยังท้องพระโรงประทับ นั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา แม้พระภิกษุ สงฆ์ ก็ล้างเท้า แล้วพากันเข้าไปยัง ท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทาง ทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาค แม้พวก เจ้ามัลละแห่งนครปาวา ก็พากันล้างเท้า แล้วเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านบูรพา ผินหน้าไปทางทิศปัจฉิม แวดล้อม พระผู้มีพระภาค ฯ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่ง ไปด้วย พระดำรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีล่วงมากแล้ว บัดนี้พวกท่านจง สำคัญ เวลา อันสมควรเถิด พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้พร้อมกันรับพระดำรัส ของพระผู้มี พระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกขึ้นจากอาสนะถวายบังคม พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป
[๒๒๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาหลีกไป แล้ว ไม่นาน ได้ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นิ่งอยู่แล้ว ได้รับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจาก ถีนะ(หดหู่) และมิทธะ(เซื่องซึม) สารีบุตร จงแสดง ธรรมีกถา แก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้นเราพึงพักผ่อน ท่านพระสารีบุตร ได้รับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาค ด้วยคำว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วทรงสำเร็จ สีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติ สัมปชัญญะ ทรงกระทำความหมาย ในอันที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย
[๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล นิครนถ์นาฏบุตร ทำกาละแล้วที่นครปาวา ไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยก กัน เป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทง กันและกัน ด้วยหอก คือปากอยู่ว่า
ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง
ท่านจักรู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก
ถ้อยคำของ ข้าพเจ้าเป็นประโยชน์
ของท่านไม่เป็น ประโยชน์
คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง
คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
ข้อที่ท่าน ช่ำชอง มาผันแปรไปแล้ว
ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่าน ได้แล้ว
ข้าพเจ้าข่มท่าน ได้แล้ว
ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสียถ้าสามารถ ดังนี้
เห็นจะมีแต่ ความตาย อย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นไป ในพวกนิครนถ์ ผู้เป็น สาวกของ นาฏบุตร ถึงพวกสาวก ของนิครนถ์นาฏบุตร ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการ เบื่อหน่ายคลาย ความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของ นาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัย อันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำ ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัย มีที่พำนัก อันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัย ไม่มีที่พึ่งอาศัย
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์นาฏบุตร ทำกาละแล้ว ที่พระนครปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการ
ทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันแ ละกัน ด้วยหอกคือปากอยู่ว่า
ท่านไม่รู้ ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง
ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก
ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์
ของท่านไม่เป็นประโยชน์
คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง
คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว
ข้าพเจ้าจับผิดวาทะ ของท่านได้แล้ว
ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
ท่านจงถอนวาทะเสีย
มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้
เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวก ของนาฏบุตร ถึงพวกสาวก ของนิครนถ์นาฏบุตร ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาว ห่มขาวก็มี อาการ เบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร
ทั้งนี้เพราะธรรมวินัย อันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรม ที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนัก อันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัย ไม่มีที่พึงอาศัย
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นดังกล่าวมา สำหรับในธรรมวินัย ที่กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศไว้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนธรรมนี้แล อันพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้ ดีแล้ว ประกาศไว้ ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมด ด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึง ยั่งยืน ตั้งอยู่ นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ อนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ ทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำ ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม อันพระสัมมา สัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าว แก่งแย่งกัน ในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย
(33)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖
หน้า ๑๐๙
พระสารีบุตรสนทนากับพระโกฏฐิตะ อุปมาไม้อ้อ ๒ กำ
สัมมสสูตรที่ ๒
P702
(ย่อ)
ท่านพระสารีบุตร และท่าน พระมหาโกฏฐิตะ...ปุจฉา วิสัจฉนา
โกฏฐิตะ. ชาติ ชราและมรณะ ตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าชรา และมรณะ บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเองผู้อื่นไม่ได้ทำให้ ฯ
สารีบุตร. ตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ อุปมา ไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ได้ เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
ภิกษุธรรมกถึก คือ
-ภิกษุที่แสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ
-ภิกษุที่แสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ ภพ
อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป
วิญญาณ สังขารทั้งหลาย อวิชชา
ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ
- ถ้าภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ
- ถ้าภิกษุปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน คือ
- ถ้าภิกษุหลุดพ้นเพราะความหน่าย คลายกำหนัด ความดับ เพราะไม่ถือมั่น ชราและ มรณะ
- ถ้าภิกษุหลุดพ้นเพราะความหน่าย คลายกำหนัด ความดับ เพราะความไม่ถือมั่น อวิชชา
สัมมสสูตรที่ ๒
[๒๖๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่าน พระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระมหา โกฏฐิตะ ออกจากที่พักผ่อนเข้าไปหาพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง
[๒๖๔] ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท่าน พระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ชราและมรณะ ตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่า ชราและมรณะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตน ไม่ได้ทำเองผู้อื่น ไม่ได้ทำให้
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านโกฏฐิตะ ชราและมรณะ ตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
โก.
ท่านสารีบุตร ชาติ ตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าชาติ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้
สา. ท่านโกฏฐิตะ ชาติ ตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่น ทำให้ก็ไม่ใช่ ชาติบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ ก็ไม่ใช่ แต่เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
โก. ท่านสารีบุตร ภพตนทำเอง ฯลฯ อุปาทานตนทำเอง ... ตัณหาตนทำเอง ...เวทนาตนทำเอง ... ผัสสะตนทำเอง ... สฬายตนะตนทำเอง ... นามรูปตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่านามรูปบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตน ไม่ได้ ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้
สา. ท่านโกฏฐิตะ นามรูปตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่น ทำให้ก็ไม่ใช่ นามรูปบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ ก็ไม่ใช่ แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
โก. ท่านสารีบุตร วิญญาณตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่า วิญญาณบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้
สา. ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่น ทำให้ก็ไม่ใช่ วิญญาณบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ ก็ไม่ใช่ แต่เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
[๒๖๕] โก. เราทั้งหลายเพิ่งรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตร ในบัดนี้เองอย่างนี้ ว่า ท่านโกฏฐิตะ นามรูปตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่น ทำให้ ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่ เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
อนึ่ง เราทั้งหลายรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตรในบัดนี้เอง อย่างนี้ว่า ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ท่านสารีบุตร ก็เนื้อความของภาษิตนี้ เราทั้งหลายจะพึงเห็นได้อย่างไร
[๒๖๖] สา. ดูกรอาวุโส ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบให้ท่านฟัง ในโลกนี้ บุรุษผู้ฉลาด บางพวกย่อมรู้ชัดเนื้อความของภาษิตได้ แม้ด้วยอุปมา ฯ อาวุโส ไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกันฉันใด เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล ฯ ถ้าไม้อ้อ ๒ กำนั้น พึงเอาออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้มไป ถ้าดึงอีกกำหนึ่งออก
อีกกำหนึ่ง ก็ล้มไป ฉันใด
เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับเพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ฉันนั้นแล
[๒๖๗] โก. น่าอัศจรรย์ ท่านสารีบุตร ไม่เคยมีมา ท่านสารีบุตร เท่าที่ท่าน สารีบุตร กล่าวนี้ เป็นอันกล่าวดีแล้ว ก็แลเราทั้งหลายพลอยยินดีสุภาษิตนี้ ของท่าน สารีบุตรด้วยเรื่อง ๓๖ เรื่องเหล่านี้
ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก
ถ้าภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุหลุดพ้น เพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน
...........................................................................................................
ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯภพ ... อุปาทาน... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ...สังขารทั้งหลาย ... อวิชชา ควรจะกล่าวว่าภิกษุธรรมกถึก
ถ้าภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าภิกษุหลุดพ้น เพราะความหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะ ความไม่ถือมั่นอวิชชา ควรจะกล่าวว่าภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน
(34)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๓๐
ท่านพระวังคีสะ สรรเสริญพระสารีบุตร ชี้แจงให้ภิกษเห็นแจ้ง
สารีปุตตสูตรที่ ๖
P1372
[๗๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อน คลาด อาจยังผู้ฟัง ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง
ส่วนภิกษุเหล่านั้น ก็ทำธรรมนั้น ให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิต ทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม
[๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระสารีบุตรนี้ แนะนำชักชวนภิกษุทั้งหลาย ให้อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของ ชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความ ได้แจ่มแจ้ง
ส่วนภิกษุเหล่านั้นเล่า ก็ทำธรรมนั้น ให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนด ด้วยจิต ทั้งปวงเงี่ยโสตลงฟังธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรสรรเสริญท่านพระสารีบุตร ด้วย คาถาทั้งหลาย อันสมควรในที่เฉพาะหน้าเถิด
ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว ประนมอัญชลี เฉพาะท่านพระสารีบุตรแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตร ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร เนื้อความนี้ ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า ท่านสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมแจ่ม แจ้งกะข้าพเจ้า
ท่านพระสารีบุตร กล่าวกะท่านพระวังคีสะว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้ง กะท่านเถิด ท่านวังคีสะ
[๗๔๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้สรรเสริญ ท่านพระสารีบุตร ต่อหน้า ด้วยคาถาทั้งหลาย อันสมควรว่า ท่านสารีบุตรเป็นนักปราชญ์มีปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดใน ทาง และมิใช่ทาง มีปัญญามาก ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย แสดงโดยย่อก็ได้ แสดงโดยพิสดารก็ได้ เสียงของท่านไพเราะดังก้อง เหมือนเสียงนกสาริกาปฏิภาณ เกิดขึ้น โดยไม่รู้สิ้นสุด เมื่อท่านแสดงธรรมอยู่ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟังเสียงอันไพเราะ เป็นผู้ปลื้มจิตยินดี ด้วยเสียงอันเพราะ น่ายินดี น่าฟัง เงี่ยโสตอยู่ ดังนี้
(35)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๖๐
สีลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย
P384
[๓๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน
มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุ
ผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน
เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์
คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑.
ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้ไว้ ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็น
ดังลูกศร เป็นควมคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของไม่ใช่ตัวตน
ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำ
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล
[๓๑๑] โก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ควรกระทำ ธรรมเหล่า ไหนไว้
ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ ตัวตน
ดูกรท่านโกฏฐิตะ
ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย
แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
[๓๑๒] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ควรกระทำ ธรรมเหล่าไหน
ไว้ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทาน ขันธ์ ๕
เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน
ดูกร
ท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง
อนาคามิผล
[๓๑๓] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำ ธรรมเหล่าไหนไว้
ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ ตัวตน
ดูกรท่านโกฏฐิตะ
ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของ ไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล
[๓๑๔] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำ ธรรมเหล่าไหนไว้
ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่น
แล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดัง
ลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของ ทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของไม่ใช่ตัวตน
ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำ แล้ว ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็
เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ
๑๑. สุตวาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย
P384
[๓๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน
มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว
ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจ โดย แยบคาย? ท่านสารีบุตรตอบว่า
ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำ อุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือ รูป ฯลฯ อุปาทาน
ขันธ์ คือ วิญญาณ. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว กระทำ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย
แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
[๓๑๖] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบันเล่า ควรกระทำ ธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของ ไม่ใช่ตัวตน
ดูกรท่านโกฏฐิตะ
ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย
แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผล
[๓๑๗] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เล่า ควรกระทำธรรม เหล่าไหน
ไว้ในใจโดยแยบคาย?
สา.ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแลไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร
เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวนเป็นของ ทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน
ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่ กระทำ แล้ว ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ถึงธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะเท่านั้น
(36)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้า 107
สุขสูตรที่ ๑
ปริพาชก ถามพระสารีบุตรว่า อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข
P510
[๖๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชก ชื่อว่า สามัณฑกาณิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านพระสารีบุตร อะไรหนอเป็น เหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ดูกรท่าน ผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ สัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมโกรธเคืองเขา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวัง ได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว ความไม่ร้อน ความไม่หิว ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้อง สัมผัสไฟ ไม่ต้องสัมผัสท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุม พร้อมกัน ย่อมไม่โกรธเคืองเขา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้ สุขดังนี้
....................................................................................................
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้า 107
สุขสูตรที่ ๒
P510
[๖๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่า สามัณฑกาณิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระสารีบุตร ครั้นผ่าน การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่งที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตร ว่า
ดูกรท่านพระสารีบุตร ในธรรมวินัยนี้ อะไรหนอ เป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิด ทุกข์
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ในธรรมวินัยนี้ ความไม่ยินดีแล เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความไม่ยินดี เป็นอันหวังได้
ทุกข์นี้ คือ
บุคคลผู้มีความไม่ยินดี แม้เดินอยู่ ก็ไม่ประสบความสุข ความสำราญ บุคคลผู้มีความไม่ยินดีแม้ยืนอยู่ ... แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่... แม้อยู่ในบ้าน... แม้อยู่ในป่า... แม้อยู่ที่โคนไม้... แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า... แม้อยู่ในที่แจ้ง... แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมไม่ประสบความสุขความสำราญ ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความไม่ยินดี ก็เป็นอันหวังได้
ความทุกข์นี้
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ ความสุขนี้ คือ
บุคคลผู้มีความยินดี แม้เดินอยู่ ก็ย่อมประสบ ความสุขความสำราญ บุคคลผู้มีความยินดีแม้ยืนอยู่.... แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่ ... แม้อยู่ในบ้าน ...
แม้อยู่ในป่า ... แม้อยู่ที่โคนไม้... แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า... แม้อยู่ในที่แจ้ง... แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมประสบความสุขความสำราญ ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ความสุขนี้
(37)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๔๗
ปฏิปทา ๔ ประการ
พระสารีบุตรสนทนากับพระโมคคัลลานะเรื่องจิตหลุดพ้น
ดูพระสูตรเต็ม P279
[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑) ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
๒) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้เร็ว)
๓) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
๔) สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้เร็ว)
ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ปฏิปทาข้อไหน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ฯลฯ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วย อุปาทาน เพราะอาศัย ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากรู้ได้เร็ว-พระโมค)
[๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดา ปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วย อุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุโมค คัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วย อุปาทาน เพราะอาศัย สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า-สารีบุตร)
(38)
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๕๘๒
ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส
P977
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า “ความบริสุทธิ์ มีได้ เพราะการท่องเที่ยวในสังสารวัฏ”. สารีบุตร ! ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยว มาแล้วแต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนาน นั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่ในหมู่เทพ ชั้นสุทธาวาส.
สารีบุตร ! ถ้าเราท่องเที่ยว ไปในหมู่เทพเหล่าสุทธาวาส ก็จะไม่พึงมา สู่โลกนี้ได้เลย. (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น)
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า “ความบริสุทธิ์ มีได้ เพราะการอุบัติ (บังเกิด)”.
สารีบุตร ! ก็การบังเกิดที่เราไม่เคยบังเกิด มาแล้ว แต่หลัง ตลอดกาล ยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่การบังเกิด ในหมู่เทพ ชั้นสุทธาวาส.
สารีบุตร ! ถ้าเราบังเกิดในหมู่เทพชั้นสุทธาวาส ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ ได้เลย (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น)
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า “ความบริสุทธิ์ มีได้ เพราะภพเป็นที่อยู่อาศัย”. สารีบุตร ! ก็ภพที่เราไม่เคยอยู่อาศัยมาแล้วแต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่การอยู่อาศัยในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส.
สารีบุตร ! ถ้าเราอยู่อาศัยในหมู่เทพชั้นสุทธาวาส ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ ได้เลย (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น)
(39)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๖๘
อนุรุทธสูตรที่ ๒
อนุรุธสอบถามปัญหาพระสารีบุตร ว่าทำไมจิตจึงยังไม่หลุดพ้น
P1261
[๕๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหา ท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า
ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร ผมตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ก็ผมปรารภ ความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบ ระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็น เอกัคคตา เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้น จากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
ดูกรท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้
เป็นเพราะมานะ ของท่านการที่ท่านคิด อย่างนี้ ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ ย่อหย่อน ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา ดังนี้
เป็นเพราะอุทธัจจะ ของท่าน ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า จิตของเรา ยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้
ก็เป็นเพราะกุกกุจจะ ของท่าน เป็นความดีหนอ
ท่านพระอนุรุทธะ จงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปใน อมตธาตุ
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีตนอันส่งไปอยู่
ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
(40)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕
วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ หน้า 270
วัตถุสำหรับอธรรมวาที ๑๘ ประการ
P461
[๒๕๒] ท่านพระสารีบุตรได้สดับข่าวว่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้น พากันมาสู่พระนครสาวัตถี
จึงเข้าไปในพระพุทธสำนัก ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่งท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม ข้อปฏิบัตินี้ แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้าได้ข่าวมาว่า ภิกษุชาวพระนคร โกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์เหล่านั้น พากันมาพระนครสาวัตถี ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในภิกษุ เหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงดำรงอยู่ตามธรรม
สา. ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงทราบธรรมหรือธรรมอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
วัตถุสำหรับ อธรรม วาที ๑๘ ประการ
พ. สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่าพระตถาคตทรงภาษิตไว้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่าพระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
๑๑. แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล.
วัตถุสำหรับ ธรรม วาที ๑๘ ประการ
สารีบุตร และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่าพระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้
๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา
๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติไว้
๑๑. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติเบา
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติหนัก
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
สารีบุตร เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล |