เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  2 of 11  
  สารบาญ ภาค 1    

  สารบาญ ภาค 2 (ต่อ)

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  ภิกษุ ท. ! มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการนั้น 33-39     ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา 67
  ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต 40     ทรงกลับพระทันฉันอาหารหยาบ 68
  ทรงได้รับการบำเรอ 40-42     ภิกษุป๎ญจวัคคีย์หลีก 69
  กามสุขกับความหน่าย 42-43     ทรงตริตรึกเพื่อตรัสรู้ 70
  ทรงหลงกามและหลุดจากกาม 44     ทรงเที่ยวแสวงเพื่อความตรัสรู้ 70-71
  ความรู้สึก ที่ถึงกับทำให้ออกผนวช 44-46     ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้ 71-75
  การออกผนวช 47     ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้ 75-80
  ออกผนวชเมื่อพระชนม์ ๒๙ 47     ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้ 80
   จบภาค1       ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้ 81-82
        ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้ 82-83
 ภาค 2       ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้ 83-84
  เสด็จสำนักอาฬารดาบส 50-53     ทรงแสวงเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้ 84-85
  เสด็จสำนักอุทกดาบส 53-55     ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ 86-93
  เสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคม 55-63      ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ (อีกนัยหนึ่ง)  
  ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค       ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะ- ก่อนตรัสรู้ 93
  อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง 63-65     ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้ 95
  ทุกรกิริยา 65-67     ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้ 97
         
 
 






ภาค1 (ต่อ)


(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)

หน้า 33-39 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ


         ....ภิกษุ ท. ! พวกฤาษีภายนอก จำมนต์มหาปุริสลักขณะได้ก็จริง แต่หารู้ ไม่ว่า การที่มหาบุรุษได้ลักขณะอันนี้ๆ เพราะทำกรรมเช่นนี้ๆ

          (ก) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่นในกุศล ถือมั่นในการสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตในการบริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถการปฏิบัติมารดา บิดาการปฏิบัติสมณพราหมณ์ การอ่อนน้อม ต่อผู้เจริญในตระกูล และในอธิกุศลธรรมอื่น. เพราะได้กระทำได้ สร้างสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้นๆไว้ ภายหลังแต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.

          ตถาคตนั้นถือเอายิ่งกว่าในเทพเหล่าอื่นโดย ฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ สัมผัสทิพย์

          ครั้นจุติจากภพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ
มีฝ่าเท้าเสมอ จดลงก็เสมอ ยกขึ้นก็เสมอฝ่าเท้า ถูกต้องพื้นพร้อมกัน... (ลักขณะที่๑) ย่อมเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อข้าศึกทั้งภายในและภายนอก คือราคะ โทสะ โมหะ ก็ตาม สมณะพราหมณ์ เทวดามาร พรหม หรือใครๆก็ตาม ในโลก ที่เป็นศัตรู. 

          (ข) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....๑ ได้เป็นผู้นำสุขมา ให้แก่มหาชนเป็นผู้บรรเทาภัยคือความสะดุ้งหวาดเสียว จัดการคุ้มครองรักษาโดย ธรรม ได้ถวายทานมีเครื่องบริวาร. เพราะได้กระทำ....กรรมนั้นๆไว้....ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือภายใต้ฝ่าเท้ามีจักรทั้งหลาย เกิดขึ้น มีซี่ตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง มีระยะอันจัด ไว้ด้วยดี....
(ลักขณะที่ ๒) ย่อมเป็นผู้มีบริวารมาก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมเป็นบริวารของตถาคต. 

          (ค) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้เว้นจาก ปาณาติบาต วางแล้วซึ่งศาสตราและอาชญา มีความละอาย เอ็นดู กรุณาเกื้อกูล แก่สัตว์มีชีวิตทั้งปวง. เพราะ ...กรรมนั้นๆครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุริสลักขณะทั้ง ๓ ข้อนี้ คือ มีส้นยาว มีข้อนิ้วยาว มีกายตรงดุจกายพรหม....
(ลักขณะที่ ๓๔๑๕) ย่อมเป็นผู้มีชนมายุยืนยาวตลอดกาลนาน สมณะหรือ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ก็ตาม หรือใครๆ ที่เป็นศัตรู ไม่สามารถปลงชีวิต ตถาคตเสียในระหว่างได้. 

          (ง) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ให้ทานของ ควรเคี้ยวควร บริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม มีรสอันประณีต. เพราะ....กรรมนั้นๆ ....ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมีเนื้อนูนหนา ในที่ ๗ แห่ง คือ ที่มือทั้งสอง ที่บ่าทั้งสอง และที่คอ.. (ลักขณะที่ ๑๖) ย่อมได้ของ ควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่มอันมีรสประณีต. 

          (จ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้สงเคราะห์ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุ ทั้งสี่ คือ การให้สิ่งของ วาจาที่ไพเราะ การประพฤติประโยชน์ ผู้อื่น และความมีตนเสมอกัน. เพราะ.. กรรม นั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่าง นี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีมือและเท้า อ่อนนุ่มมีลายฝ่ามือฝ่าเท้า ดุจตาข่าย.... (ลักขณะที่ ๕๖) ย่อมเป็นผู้สงเคราะห์บริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมได้รับความสงเคราะห์ จากตถาคต. 

          (ฉ)  ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้กล่าววาจา ประกอบด้วย อรรถ ด้วยธรรม แนะนำชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์สุขมาให้แก่ ชนทั้งหลาย ตนเองก็เป็น ผู้บูชาธรรม.เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีข้อเท้าอยู่สูง มีปลายขนช้อน ขึ้น.... (ลักขณะที่ ๗๑๔) ย่อมเป็นผู้เลิศประเสริฐเยี่ยมสูงกว่าสัตว์ทั้งหลาย. 

          (ช) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้บอก ศิลปวิทยา ข้อประพฤติ และลัทธิกรรมด้วยความเคาพร ด้วยหวังว่าสัตว์เหล่านั้น พึงรู้ได้รวดเร็ว พึงปฏิบัติ ได้รวดเร็วไม่พึง เศร้าหมองสิ้นกาลนาน. เพราะ....กรรม นั้นๆ ....ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้คือมีแข้งดังแข้งเนื้อ ทราย (ลักขณะที่๘) ย่อมได้วัตถุอันควรแก่สมณะ เป็นองค์แห่งสมณะ เป็นเครื่อง อุปโภค แก่ สมณะโดยเร็ว.

          (ซ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้เข้าไปหา สมณพราหมณ์ แล้วสอบถามว่า "ท่านผู้เจริญ ! อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไร ควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ ทำอะไรไม่มีประโยชน์ เป็นทุกข์ไปนาน ทำอะไรมีประโยชน์ เป็นสุขไปนาน" เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมี ผิวละเอียด อ่อน ธุลีไม่ติด อยู่ได้....(ลักขณะที่ ๑๒) ย่อมเป็นผู้มีปัญญาใหญ่  มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาเครื่อง
ปลื้มใจ ปัญญาแล่นปัญญาแหลม ปัญญาแทงตลอด ไม่มีสัตว์อื่นเสมอ หรือยิ่งไปกว่า

          (ฌ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วย ความแค้น แม้ชนเป็นอันมาก ว่ากล่าวเอา ก็ไม่เอาใจใส่ไม่โกรธ ไม่ พยาบาท ไม่คุมแค้น ไม่แสดง ความโกรธ ความร้ายกาจ ความเสียใจให้ปรากฏ. ทั้งเป็นผู้ให้ทานผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำหรับลาดและนุ่งห่ม อันมีเนื้อละเอียดอ่อน. เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึง ได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีกายดุจทอง มีผิวดุจทอง....(ลักขณะที่ ๑๑) ย่อมเป็น ผู้ได้ ผ้าเปลือกไม้  ผ้าด้าย  ผ้าไหม  ผ้าขนสัตว์สำหรับลาดและห่ม  มีเนื้อละเอียดอ่อน. 

          (ญ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้สมานญาติ มิตรสหาย ชาวเกลอ ผู้เหินห่างแยกกันไปนาน ได้สมานไมตรีมารดากับบุตรบุตร กับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่น้องชายกับพี่น้องหญิง พี่น้องหญิงกับพี่ น้องชาย ครั้นทำความสามัคคีแล้ว พลอย ชื่นชม ยินดีด้วย. เพราะ....กรรมนั้นๆ.... รั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้คือ มีคุยหฐาน (อวัยวะที่ลับ) ซ่อนอยู่ในฝัก.... (ลักขณะที่ ๑๐) ย่อมเป็นผู้มีบุตร (สาวก) มาก มีบุตรกล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้าอันเสนา แห่งบุคคลอื่นจะย่ำยีมิได้ หลายพัน. 

          (ฎ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้สังเกตุ ชั้นเชิง ของมหาชน รู้ได้สม่ำเสมอ รู้ได้เอง รู้จักบุรุษธรรมดา และบุรุษพิเศษว่า ผู้นี้ ควรแก่สิ่งนี้ๆ ได้เป็นผู้ทำประโยชน์อย่างวิเศษในชนชั้นนั้นๆ. เพราะ....กรรม นั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีทรวดทรงดุจต้น ไทร ยืนตรงไม่ย่อกาย ลูบถึงเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง.... (ลักขณะที่ ๑๙๙) ย่อมมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก.  ทรัพย์ของตถาคต เหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือ โอตตัปปะทรัพย์ คือการศึกษา (สุตะ) ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือ ปํญญา. 

          (ฐ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ใคร่ต่อ ประโยชน์ ใคร่ต่อความเกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุข ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ  แก่ชนเป็นอันมาก  ว่า "ไฉนชนเหล่านี้พึงเป็นผู้เจริญด้วยศรัทธา ด้วยศีล ด้วยการศึกษา ด้วยความรู้ ด้วยการ เผื่อแผ่ ด้วยธรรม ด้วยปัญญาด้วยทรัพย์และ ข้าวเปลือก ด้วยนาและสวน ด้วยสัตว์สองเท้า สี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา ด้วยทาส กรรมกรและบุรุษ ด้วยญาติมิตร และพวก พ้อง". เพราะ....กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๓ ข้อนี้ คือมีกึ่งกายเบื้องหน้า ดุจสีหะ มีหลังเต็ม มีคอกลม.. (ลักขณะที่ ๑๗๑๘๒๐) ย่อมเป็นผู้ ไม่เสื่อมเป็น ธรรมดาคือไม่เสื่อมจากศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ไม่เสื่อมจากสมบัติ     ทั้งปวง. 

          (ฑ)  ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือก็ตาม ก้อนดินก็ตาม ท่อนไม้ก็ตาม ศาสตราก็ตาม. เพราะ.... กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีประสาท รับรสอันเลิศ มีปลายขึ้นเบื้องบน เกิดแล้วที่คอ  รับรสโดยสม่ำเสมอ.... (ลักขณะที่ ๒๑) ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีความร้อนแห่งกาย เป็นวิบากอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินร้อนเกิน พอควรแก่ความเพียร. 

          (ฒ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ....ได้เป็นผู้ไม่ถลึงตา ไม่ค้อนควักไม่จ้องลับหลัง เป็นผู้แช่มชื่นมองดูตรงๆ มองดูผู้อื่นด้วยสายตาอัน แสดง ความรัก. เพราะ....กรรมนั้นๆครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีตาเขียวสนิท มีตาดุจตาโค.... (ลักขณะที่ ๒๙ ๓๐) ย่อมเป็นที่ต้องตาของ ชนหมู่มาก เป็นที่รักใคร่พอใจของ ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์. 

          (ณ)  ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นหัวหน้า ของชน เป็นอันมาก ในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เป็นประธานของชนเป็นอันมาก ในกาย สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการจำแนกทาน การสมาทานศีลการรักษาอุโบสถ การประพฤติ เกื้อกูลในมารดาบิดา สมณพราหมณ์ การนอบน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ในอธิกุศลธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้  จึงได้มหาปุริส ลักขณะข้อนี้  คือมีศีรษะรับกับกรอบหน้า .... (ลักขณะที่ ๓๒) ย่อมเป็นผู้ที่มหาชน ประพฤติตาม คือ ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ประพฤติตาม.

          (ด) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้นจาก มุสาวาท พูดคำจริง หลั่งคำสัจจ์ เที่ยงแท้ ซื้อตรง ไม่หลอกลวงโลก. เพราะ....กรรม นั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ๒ ข้อนี้ คือ มีขน ขุมละ เส้น มีอุณาโลมหว่างคิ้วขาวอ่อนดุจสำลี .(ลักขณะที่๑๓๓๑) ย่อมเป็น ผู้ที่มหาชน เป็น ไปใกล้ชิด คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเทวดา มนุษย์อสูร นาค คนธรรพ์ ใกล้ชิด. 

          (ต)  ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้น วาจาส่อเสียด (คือคำยุให้แตกกัน) คือไม่ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลาย ชนพวกนี้ ไม่ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายชนพวกโน้น ป็นผู้สมาน พวกแตก กันแล้ว และส่งเสริมพวกที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้ยินดีใน การพร้อมเพรียง เพลินในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้เกิดความ พร้อมเพรียง เพราะ.... กรรมนั้นๆ ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ๒ อย่างนี้  คือมีฟันครบ ๔๐ ซี่  มีฟันสนิท  ไม่ห่างกัน.... (ลักขณะที่ ๒๓ ๒๕) ย่อมเป็นผู้มีบริษัทไม่กระจัด กระจาย คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริษัท ไม่กระจัด กระจาย. 

          (ถ)  ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ละเว้นการ กล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู เป็นที่ตั้งแห่งความรักซึมซาบ ถึงใจ เป็นคำพูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจและชอบใจของชนเป็นอันมาก. เพราะ.... กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักขณะ  ๒ ข้อนี้ คือมีลิ้นอันเพียงพอ มีเสียงเหมือนพรหม พูดเหมือนนกการวิก.... (ลักขณะที่ ๒๗๒๘) ย่อมเป็นผู้มีวาจาที่ผู้อื่น เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดามนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เอื้อเฟื้อ เชื่อฟัง. 

          (ธ)  ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ละเว้น  การพูด เพ้อเจ้อเป็นผู้กล่าวควรแก่เวลา กล่าวคำจริง กล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ กล่าวเป็นวินัย กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์. เพราะ.... กรรมนั้นๆ .... ครั้นมาสู่ ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้วย่อมได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมีคางดุจคาง ราชสีห์.... (ลักขณะที่ ๒๒) ย่อมเป็นผู้ที่ศัตรูทั้งภายในและภายนอก กำจัดไม่ได้ ศัตรู คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ สมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก กำจัดไม่ได้. 

          (น)  ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม ด้วยเครื่องตวง เครื่องวัด จากการโกงการลวง เว้นจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การร่วมทำร้าย การปล้น การกรรโชก.  เพราะ.กรรมนั้นๆ. ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนั้น คือมีฟันอันเรียบเสมอ มีเขี้ยวขาวงาม....(ลักขณะที่ ๒๔ ๒๖) ย่อมเป็นผู้มีบริวาร เป็น คนสะอาด คือมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริวารอันสะอาด.


หน้า40
ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต


         ....ถูกแล้วอานนท์ ! ถูกแล้วอานนท์ ! จริงเทียว  มารดาแห่งโพธิสัตว์มี ชนมายุน้อย. เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้วได้ ๗ วัน มารดาแห่งโพธิสัตว์ย่อม สวรรคต ย่อมเข้าถึงเทวนิกาย ชั้นดุสิต.


หน้า40-42
ทรงได้รับการบำเรอ  

         ภิกษุ ท. ! เราเป็นผู้ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ละเอียดอ่อน อย่างที่สุด ดังเราจะเล่าให้ฟัง ภิกษุ ท.! เขาขุดสระ ๓ สระในวังแห่งบิดา ของเรา ในสระหนึ่ง ปลูกอุบล (บัวเขียว) สระหนึ่งปลูกปทุม (บัวหลวง) สระหนึ่ง ปลูกบุณฑริกะ (บัวขาว) เพื่อประโยชน์แก่เรา.  

          ภิกษุ ท. !  มิใช่ว่าจันทน์ที่เราใช้อย่างเดียว ที่มาแต่เมืองกาสี ถึงผ้าโพก เสื้อ ผ้านุ่งผ้าห่ม ก็ล้วนมาแต่เมืองกาสี. 

          ภิกษุ ท.! เขาคอยกั้นเศวตฉัตรให้เรา ด้วยหวังว่าความหนาว ความร้อน ละออง หญ้า หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกต้องเรา ทั้งกลางวันและกลางคืน. 

          ภิกษุ ท. ! มีปราสาทสำหรับเรา ๓ หลัง หลังหนึ่งสำหรับฤดูหนาว
          หลังหนึ่งสำหรับฤดูร้อน และหลังหนึ่งสำหรับฤดูฝน. เราอยู่บนปราสาท สำหรับฤดูฝน ตลอดสี่เดือนฤดูฝนให้บำเรออยู่ด้วยดนตรีอันปราศจากบุรุษไม่ลงจาก ปราสาท. 

          ภิกษุ ท. ! ในวังของบิดาเรา เขาให้ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีเจือด้วยเนื้อแก่ทาส และคนงาน(ดาษดื่น) เช่นเดียวกับที่ที่อื่นเขาให้ข้าวปลายเกรียนกับน้ำส้มแก่พวก ทาสและคนใช้.๑

          ภิกษุ ท. ! เมื่อเราเพียบพร้อมไปด้วยการได้ตามใจตัวถึงเพียงนี้ มีการได้ รับความประคบประหงมถึงเพียงนี้ ความคิดก็ยังบังเกิดแก่เราว่า "บุถุชนที่มิได้ยิน ได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ แต่ครั้นเห็นคนอื่นแก่ ก็นึก อิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย.ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้อง แก่ ไม่ข้ามพ้นความแก่ไปได้ แต่ว่าเมื่อจะต้องแก่ ไม่พ้นความแก่ไปได้แล้ว จะมา ลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน เมื่อเห็นคนอื่นแก่นั้น ไม่เป็นการสมควรแก่ เรา."

          ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในความหนุ่ม ของเรา ได้ หายไปหมดสิ้น.  ภิกษุ ท. ! บุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วง พ้น ความเจ็บไข้ไปได้ ครั้นเห็นคนอื่นเจ็บไข้ ก็นึกอิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัว เสียเลย.

          ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ แต่ว่า เมื่อจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้แล้ว จะมาลืมตัวอิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน เมื่อเห็นคนอื่นเจ็บไข้นั้น ไม่การสมควรแก่เรา.

          ภิกษุ ท. ! เมื่อเรา พิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาใน ความไม่มีโรค ของเรา ก็หายไปหมดสิ้น  ภิกษุ ท. ! บุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ ครั้นเห็นคนอื่นตาย ก็อิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย.

          ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ แต่ว่า เมื่อจะ ต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้แล้ว จะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน เมื่อเห็นคนอื่นตายนั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา.

          ภิกษุ ท. ! เมื่อเรา พิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในชีวิตความเป็นอยู่ ของเรา ได้หายไปหมดสิ้น.


หน้า42-43
กามสุขกับความหน่าย

         มาคัณฑิยะ ! ครั้งเมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์ ประกอบการครองเรือนได้อิ่ม พร้อมไป ด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบําเรอตนด้วยรูปที่เห็นได้ด้วยจักขุ ด้วยเสียงที่ ฟังได้ด้วยหู ด้วยกลิ่น อันดมได้ด้วยจมูก ด้วยรสอันลิ้มได้ด้วยลิ้น ด้วยโผฎฐัพพะ อันสัมผัสได้ด้วย กายล้วนแต่ที่สัตว์อยากได้ รักใคร่พอใจ ยวนใจเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่ง ราคะ. 

          มาคัณฑิยะ ! ปราสาทของเรานั้น มีแล้ว ๓ แห่ง ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ใน ฤดูฝน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งสำหรับฤดูร้อน.

          มาคัณฑิยะ! เราให้บำเรอตนอยู่ด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจือปน ณ ปราสาท เป็นที่อยู่ใน ฤดูฝนสี่เดือน ไม่ลงจากปราสาท.

          ครั้นล่วงไปถึงสมัยอื่นมามองเห็น เหตุเป็นที่ บังเกิด และ ความที่ตั้งอยู่ไม่ได้ และ ความอร่อย และโทษอันต่ำทราม และ อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งกาม ท. ตามเป็นจริง จึงละความอยากในกามเสีย บรรเทาความเดือดร้อนเพราะกาม ปราศจาก ความกระหายในกาม มีจิตสงบ ณ ภายใน.

          เรานั้น เห็นสัตว์เหล่าอื่น ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัดในกาม ถูกตัณหา ในกาม เคี้ยวกินอยู่ ถูกความกระวนกระวายในกาม รุมเผาเอาอยู่ แต่ก็ยังขืนเสพกาม เรามิได้ ทะเยอทะยานตามสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดี ในการเสพกามนั้นเลย
.
          ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุใด? มาคัณฑิยะ! เพราะว่าคนเรา ถึงแม้ยินดีด้วยความ ยินดี ที่ปราศจากกาม หรือปราศจากอกุศลแล้ว๑ ก็ยังจัดเป็น สัตว์ที่เลวทรามอยู่ เราจึงไม่ทะเยอ ทะยาน ตามสัตว์เหล่านั้น ขืนเสพกามอีกเลย. 

          มาคัณฑิยะ ! คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก พร้อม เพรียบด้วยกามคุณห้า ให้เขาบำเรอตนด้วย รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ อันสัตว์ปรารถนา รักใคร่ชอบใจ ยั่วยวน เข้าไปตั้งอยู่ด้วยความใคร่เป็น ที่ตั้งแห่ง ราคะ.

          ถ้าหากเขานั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เบื้องหน้า แต่กายแตกตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายกับเหล่าเทพในดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น มีนางอัปสร แวดล้อมอยู่ในนันทวัน อิ่มหนำ เพียบพร้อมด้วยกาม ให้นางอัปสรบำเรอตนด้วย กามคุณห้า อันเป็นทิพย์ในดาวดึงส์นั้น.

          เทวบุตรนั้นหาก ได้เห็นคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี (ในมนุษย์โลกนี้) อิ่มหนําเพียบพร้อมด้วยกาม ให้เขาบำเรอตนด้วยกามอยู่. มาคัณฑิยะ ! ท่านจะเข้าใจ ว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นจะ ทะเยอทะยานต่อกามคุณของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี นั้น บ้างหรือหรือจะเวียนมาเพื่อกามอันเป็นของมนุษย์นี้บ้าง? 

          "พระโคดม ! หามิได้เลย เพราะว่ากามที่เป็นทิพย์ น่ารักใคร่กว่าประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์." 


หน้า44
ทรงหลงกามและหลุดจากกาม

         ดูก่อนมหานาม ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ อยู่ แม้เป็นผู้มีสติระลึกได้ว่า "กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษอันแรงร้ายมีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง" ก็ดีแต่เรา นั้นยังไม่ได้บรรลุสุข อันเกิดแต่ปีติ หรือธรรมอื่นที่สงบยิ่งไปกว่าปีติสุขนั้น นอกจากได้เสวยแต่กาม และ อกุศลธรรมอย่างเดียว เราจึงเป็นผู้หมุนกลับจากกามไม่ได้ ไม่รู้อย่างแจ่มแจ้งในกาม ทั้งหลาย อยู่เพียงนั้น. 

          ดูก่อนมหานาม ! เมื่อใด เป็นอันว่าเราได้เห็นข้อนี้อย่างดี ด้วยปัญญาอัน ชอบตามเป็นจริงว่า "กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษอันแรงร้าย มีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง" แล้ว -----เมื่อนั้นเราก็เป็นผู้ไม่หมุน กลับมาสู่กามทั้งหลาย รู้จักกามทั้งหลายอย่างแจ่มแจ้งได้.


หน้า44-46
ความรู้สึก ที่ถึงกับทำให้ออกผนวช

         ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่          ตนเองมีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มี ความเกิดเป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง
         ตนเองมีความแก่ เป็นธรรมดาอยู่แล้วก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่ง ที่มีความแก่ เป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง ตนเองมีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหา สิ่งที่มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
         ตนเองมีความตาย เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตาย
เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
         ตนเองมีความโศก เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลง แสวงหาสิ่งที่มีความโศก
เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง
         ตนเองมีความเศร้าหมองโดย รอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวง หา สิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบ ด้านเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก. 
         ภิกษุ ท. ! ก็อะไรเล่า เป็นสิ่งที่มีความเกิด (เป็นต้น) ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน (เป็นที่สุด) เป็นธรรมดา? 
         ภิกษุ ท. ! บุตรและภรรยา มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบ ด้านเป็นธรรมดา
        ทาสหญิง ทาสชาย มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดา.
        แพะ แกะ มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.
        ไก่ สุกร มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.
        ช้าง โค ม้า ลา มี ความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา.
         ทอง และเงิน เป็นสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดา.

         สิ่งที่มนุษย์เข้าไปเทิดทูนเอาไว้ เหล่านี้แล ที่ชื่อว่าสิ่งที่มีความเกิด เป็นธรรมดาฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา ซึ่งคนในโลกนี้
 พากันจมติดอยู่ พากันมัว เมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ตนทั้งที่มี ความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ

        มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหา สิ่งที่มี ความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ที่มีความเศร้า หมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง อีก.

        ภิกษุ ท. ! ความคิดอันนี้ ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ทำไมหนอ เราซึ่งมีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว จะต้องไปมัวแสวงหา สิ่งที่มีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่อีก.

         ไฉนหนอ เราผู้มีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดา อยู่เอง แล้ว  ครั้งได้รู้สึกถึงโทษอันต่ำทรามของการมีความเกิด ฯลฯ ความเศร้า หมองโดย   รอบ ด้านเป็นธรรมดานี้แล้ว เราพึงแสวงหา นิพพาน อันไม่มีความเกิด อันเป็น ธรรมที่เกษมจาก เครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด." 

         ภิกษุ ท. ! เรานั้นโดยสมัยอื่นอีก ยังหนุ่มเทียว เกสายังกำจัดบริบูรณ์ด้วยความ หนุ่ม ที่กำลังเจริญ ยังอยู่ในปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากัน ร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ ไม่มีเรือนแล้ว
          (ในบาลี สคารวสูตร๑มีที่ตรัสไว้สรุปแต่สั้น ๆ ว่า :-)
          ภารทวาชะ ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ความคิดนี้เกิดมีแก่เรา ว่า "ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสว่าง; ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว โดยง่ายนั้นไม่ได้.ถ้าไฉนเราพึง ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์ เกี่ยวข้องด้วยเรือน เถิด" ดังนี้ ภารทวาชะ ! เรานั้นโดยสมัยอื่นอีกยังหนุ่มเทียว...
.


หน้า47
การออกผนวช

         ราชกุมาร ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ได้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในใจว่า "ชื่อว่าความสุขแล้ว ใคร ๆ จะบรรลุ ได้โดยง่าย เป็นไม่มี ความสุขเป็นสิ่งที่ใคร ๆ บรรลุได้โดยยาก" ดังนี้.

          ราชกุมาร ! ครั้นสมัยอื่นอีก เรานั้นยังหนุ่มเทียว เกสายังดําจัด บริบูรณ์ด้วย เยาว์อันเจริญใน ปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วย กําลังพากันร้องไห้ น้ําตา นองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ ไม่มีเรือน แล้ว....


หน้า47
ออกผนวชเมื่อพระชนม์  ๒๙

         ดูก่อนสุภัททะ !  เรามีอายุได้ สามสิบหย่อนหนึ่งโดยวัย  ได้ออกบรรพชา แสวงหา ว่า "อะไรเป็นกุศล  อะไรเป็นกุศล"  ๓  ดังนี้

จบภาค 1



ภาค ๒


หัวเรื่อง (ภาค2)

1เสด็จสำนักอาฬารดาบส/2เสด็จสำนักอุทกดาบส/3เสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคม /4 อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง / 5 ทุกรกิริยา/6 ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการท าทุกรกิริยา/ 7 ทรงกลับพระทันฉันอาหารหยาบ/8 ภิกษุป๎ญจวัคคีย์หลีก/9  ทรงตริตรึกเพื่อตรัสรู้/10 ทรงเที่ยวแสวงเพื่อความตรัสรู้/12  ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้/13 ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้ /14 ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้ /15 ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้/16 ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้/17 ทรงแสวงเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้/18 ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้


หน้า50-53
เสด็จสำนักอาฬารดาบส

         เรานั้น ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ ประเสริฐฝุายสันติชนิดที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า; ได้เข้าไปหาอาฬารดาบสผู้กาลามโคตร ถึงที่สํานักแล้วกล่าวว่า "ท่านกาลามะ ! เราอยากประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัย นี้ด้วย".

          ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้แล้วอาฬารดาบสผู้กาลามโคตร  ได้ตอบว่า "อยู่เถิดท่านผู้มีอายุ ! ธรรมนี้เป็นเช่นนี้ๆ ถ้าบุรุษเข้าใจความแล้วไม่นานเลย คงทําให้ แจ้ง บรรลุได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ทั่วถึงลัทธิของอาจารย์ตน." 

          ราชกุมาร ! เราเล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร ! เรานั้น กล่าวได้ทั้ง ญาณวาท และ เถรวาท ด้วยอาการมาตรว่าท่องด้วยปาก และด้วย เวลาชั่วที่เจรจาตอบตลอดกาลเท่านั้น.

          อนึ่ง เราและศิษย์อื่นๆ ปฏิญญาได้ว่าเรารู้ เราเห็น ดังนี้.
          ราชกุมาร ! ความรู้สึกเกิดขึ้นแก่เราว่า "อาฬารผู้กาลามโคตร ประกาศให้ผู้อื่น ทราบว่า "เราทําให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่" ด้วยคุณสักว่าศรัทธา อย่างเดียวก็หามิได้ ที่แท้อาฬารผู้กาลามโคตรคงรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งธรรมนี้เป็นแน่"

          ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตรถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า "ท่านกาลามะ ! ท่านทําให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศได้เพียง เท่าไร หนอ?" ครั้นเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารผู้กาลามโคตรได้ ประกาศให้รู้ถึง อากิญจัญญายตนะ แล้ว. 

          ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ป๎ญญา จักมีแต่ของอาฬารผู้กาลามโคตรผู้เดียวก็หาไม่. 

          ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเราก็มีอยู่ ; อย่างไรก็ตาม เราจักตั้งความ เพียรทําให้แจ้งธรรม ที่ท่านกาลามะประกาศแล้วว่า "เราทําให้แจ้งด้วยป๎ญญา อันยิ่ง เอง แล้วแลอยู่" ดังนี้ ให้จงได้" ราชกุมาร ! เราได้บรรลุ ทําให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ฉับไวไม่นานเลย. 

          ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตร ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า "มีเท่านี้หรือที่ท่านบรรลุถึง ทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศแก่ผู้อื่นอยู่?".

       "เท่านี้เองผู้มีอายุ ! ที่เราบรรลุถึง ทําให้แจ้งด้วยป๎ญญา อันยิ่งเองแล้วประกาศ แก่ผู้อื่นอยู่."  "ท่านกาลามะ ! แม้เราก็บรรลุทําให้แจ้งด้วย ป๎ญญาอันยิ่งเองถึง เพียงนั้น เหมือนกัน". 

          ราชกุมาร ! อาฬารผู้กาลามโคตรได้กล่าวกะเราว่า "ลาภของเราแล้วท่านผู้ มีอายุ ! เราได้ดีแล้ว ท่านผู้มีอายุ ! มิเสียแรงที่ได้พบเพื่อนร่วมพรหมจรรย์ เช่น กับท่านผู้ทําให้แจ้งธรรมที่เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง.

          แม้เราก็ทําให้แจ้งธรรมที่ท่าน ทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองนั้น อย่างเดียวกัน. เรารู้ธรรมใด ท่านรู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เรารู้ธรรมนั้น เราเป็นเช่นใดท่านเป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด เรา เป็นเช่นนั้น มาเถิดท่านผู้มีอายุ ! เราสองคนด้วยกัน จักช่วยกันปกครองคณะนี้ ต่อไป." 

          ราชกุมาร ! อาฬารกาลามโคตรผู้เป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเราผู้ เป็นศิษย์ ให้เสมอด้วยตนแล้ว ได้บูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. 

          ราชกุมาร ! (เมื่อเราได้เสมอด้วยอาจารย์ ได้การบูชาที่ยิ่งดังนั้น) ได้เกิด ความรู้สึกนี้ว่า "ก็ ธรรมนี้จะได้เป็นไปพร้อมเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อรํางับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ก็หาไม่ แต่เป็นไปพร้อม เพียงเพื่อการเกิด ใน อากิญจัญญายตนภพ๑เท่านั้นเอง". 

          ราชกุมาร ! ตถาคต (เมื่อเห็นโทษ ในสมาบัติทั้งเจ็ด) จึงไม่พอใจเบื่อจาก ธรรมนั้น หลีกไปเสีย.


หน้า53-55
เสด็จสำนักอุทกดาบส

         ราชกุมาร ! เรานั้นแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐ ฝุายสันติ ชนิด ที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ; ได้เข้าไปหาอุทกดาบสผู้รามบุตร ถึงที่สํานักแล้ว กล่าวว่า "ท่านรามะ ! เราอยากประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย.   

         "ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้ ท่านอุทกผู้รามบุตรได้กล่าวตอบว่า "อยู่เถิด ท่าน ผู้มีอายุ ! ธรรมนี้เป็นเช่นนี้ๆ ถ้าบุรุษเข้าใจความแล้ว ไม่นานเลย คงทําให้แจ้ง บรรลุ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ทั่วถึงลัทธิของอาจารย์ตน".

          ราชกุมาร ! เราเล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร ! เรา กล่าวได้
ทั้งญาณวาท และเถรวาท ด้วยอาการมาตรว่าท่องด้วยปาก ด้วยเวลาชั่วที่ เจรจาตอบ ตลอดกาลเท่านั้น.อนึ่ง เราและศิษย์อื่นปฏิญญาได้ว่าเรารู้เราเห็นดังนี้. 

          ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "อุทกผู้รามบุตรได้ประกาศว่า เราทําให้ แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่" ด้วยคุณสักว่าศรัทธาอย่างเดียว ก็หา มิได้ ที่แท้ อุทกผู้รามบุตรคงรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งธรรมนี้เป็นแน่". 

          ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกผู้รามบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า "ท่านรามะ ! ท่านทําธรรมนี้ให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วและประกาศ ได้เพียง เท่าไรหนอ?" ครั้นเรา กล่าวอย่างนี้ อุทกรามบุตรได้ประกาศให้รู้ถึง เนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้ว.

          ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จักมีแต่ ของอุทกรามบุตรผู้เดียวก็หาไม่. 

          ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเราก็มีอยู่ อย่างไรก็ตามเราจักตั้ง ความเพียร ทําให้แจ้ง ธรรมที่ท่านรามะประกาศแล้วว่า "เราทําให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วแลอยู่" ดังนี้ ให้จงได้".

          ราชกุมาร ! เราได้บรรลุทําให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ฉับไวไม่นานเลย.

          ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกผู้รามบุตรถึง ที่อยู่ แล้วกล่าวว่า "มีเท่านี้หรือ ที่ท่านบรรลุถึง ทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่?" "เท่านี้เองผู้มีอายุ ! ที่เราบรรลุถึงทําให้แจ้งแล้วประกาศแก่ผู้อื่น".

         "ท่านรามะ ! ถึงเราก็ได้บรรลุทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเท่านั้น เหมือนกัน". 

          ราชกุมาร ! อุทกผู้รามบุตรได้กล่าวกะเราว่า "ลาภของเราแล้วท่านผู้มีอายุ ! เราได้ดีแล้ว ท่านผู้มีอายุ ! มิเสียแรงที่ได้พบเพื่อนร่วมพรหมจรรย์ เช่น กับท่านผู้ทํา ให้ แจ้ง ธรรมที่รามะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แม้รามะก็ทําให้แจ้งธรรมที่ ท่านทําให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่งเองนั้น อย่างเดียวกัน.

          รามะรู้ทั่วถึงธรรมใด ท่าน รู้ธรรมนั้นท่านรู้ธรรมใด รามะรู้ทั่วถึงธรรมนั้น รามะ เป็นเช่นใด ท่านเป็นเช่นนั้น ท่านเป็น เช่นใดรามะเป็นเช่นนั้น มาเถิดท่านผู้มีอายุ ! ท่านจงปกครองคณะนี้ต่อไป" 

          ราชกุมาร ! อุทกรามบุตรเมื่อเป็นสพรหมจารีต่อเรา ก็ได้ตั้งเราไว้ในฐานะแห่ง อาจารย์ นั่นเทียว ได้บูชาเราด้วยการบูชาอันยิ่ง

          ราชกุมาร ! (เมื่อเราได้เสมอด้วยอาจารย์ ได้การบูชาที่ยิ่งดังนั้น) ได้เกิด ความรู้สึก นี้ว่า "ธรรมนี้จะ ได้เป็นไปพร้อมเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อรํางับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ ยิ่งเพื่อรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน ก็หาไม่ แต่เป็นไปพร้อม เพียงเพื่อการ บังเกิดใน เนวสัญญา นาสัญญายตนภพ๑  เท่านั้นเอง".

          ราชกุมาร ! ตถาคต (เมื่อเห็นโทษใน สมาบัติทั้งแปด) จึงไม่พอใจในธรรมนั้น เบื่อหน่าย จากธรรมนั้น หลีกไปเสีย.


หน้า55-63
เสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคม

         ราชกุมาร ! เรานั้นเมื่อหลีกไปจากสํานักอุทกผู้รามบุตรแล้ว แสวงหาอยู่ว่า อะไรเป็น กุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า เที่ยวจาริกไป ตามลําดับหลาย ตําบลในมคธรัฐ จนบรรลุถึงตําบล อุรุเวลาเสนานิคม พักแรมอยู่ ณ ตําบลนั้น.

          ณ ที่นั้น เราได้พบภาคพื้นรมณียสถาน มีชัฎป่าเยือกเย็นแม่น้ำไหล ใสเย็น จืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ มีบ้านสําหรับโคจรตั้งอยู่ โดยรอบ.

          ราชกุมาร ! เราได้เห็นแล้ว เกิดความรู้สึกว่า "ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริง ชัฎป่า เย็น เยือก แม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดี น่าเพลินใจ ทั้งที่โคจร ก็ตั้งอยู่โดยรอบ ที่นี้สมควรเพื่อจะตั้งความเพียรของกุลบุตร ผู้ต้องการด้วย ความเพียร" ดังนี้.

          ราชกุมาร ! เรานั่งพักอยู่ ณ ตําบลนั้นเองด้วย คิดว่าที่นี้สมควรแล้วเพื่อการตั้ง ความเพียร ดังนี้.

         ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค* (วัตรของเดียรถีย์) สารีบุตร ! เราตถาคตรู้ เฉพาะซึ่ง พรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ที่ได้ประพฤติแล้ว
(๑) ตปัสสีวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง
(๒) ลูขวัตร เราก็ได้ ประพฤติอย่างยิ่ง
(๓)
เชคจฉิวัตร
** เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง 
(๔)
ปวิวิตตวัตร เราก็ได้ ประพฤติอย่างยิ่ง. 
* (อ่าน อัต-ต-กิล-มถา-นุ-โยค)

          ในวัตร ๔ อย่างนั้น นี้เป็น (๑) ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) ของเราคือเราได้ ประพฤติ เปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระ ของตนด้วยมือ ถือเป็น ผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่า ท่านผู้เจริญจงมาไม่รับอาหาร ที่เขาร้อง นิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญ จงหยุดก่อน
ไม่ยินดีในอาหารที่เขานํามาจําเพาะ
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาทําอุทิศเจาะจง
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาร้องนิมนต์
เรา ไม่รับอาหารจากปากหม้อ
ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ
ไม่รับอาหารคร่อม ธรณีประตู
ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ไม่รับอาหารคร่อมสาก
ไม่รับอาหารของชนสองคนผู้บริโภคอยู่ 
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ 
ไม่รับอาหารของหญิง ที่กําลังให้บุตรดื่มนมอยู่ 
ไม่รับอาหารของหญิงผู้ไปในระหว่างแห่งบุรุษ
ไม่รับอาหารในอาหารที่มนุษย์ชักชวนร่วมกันทํา 
ไม่รับอาหารในที่ที่มีสุนัขเข้าไปยืน เฝ้าอยู่
ไม่รับอาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ 
ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย
ไม่ดื่มน้ำอันดองด้วยแกลบ เรารับเรือนเดียวฉันคําเดียวบ้าง รับสองเรือนฉันสองคําบ้าง  รับสามเรือนฉันสามคําบ้าง ....ฯลฯ....

         รับเจ็ดเรือนฉัน เจ็ดคําบ้างเราเลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ ภาชนะ เดียวบ้าง  เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อย ๆ สองภาชนะบ้าง ..ฯลฯ.

          เลี้ยงร่างกาย ด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง เราฉันอาหาร ที่เก็บไว้ วันเดียวบ้าง  ฉันอาหารที่เก็บไว้สองวันบ้าง ....ฯลฯ....

          ฉันอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้างเราประกอบ ความเพียรในภัตรและโภชนะ มีปริยายอย่างนี้ จนถึงกึ่งเดือนด้วยอาการอย่างนี้. 

          เรานั้น มีผักเป็นภักษาบ้าง มีสารแห่งหญ้ากับแก้เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือย เป็นภักษาบ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําข้าว เป็นภักษาบ้าง มีข้าวตัวเป็นภักษาบ้าง มีข้าวสารหักเป็นภักษาบ้าง มีหญ้า  เป็นภักษาบ้าง มีโคมัย (ขี้วัว) เป็นภักษาบ้าง มีผลไม้และรากไม้ในป่า เป็นอาหาร บ้างบริโภคผลไม้อันเป็นไป (หล่นเอง) ยังชีวิตให้เป็นไปบ้าง. 

          เรานั้นนุ่งห่มด้วย ผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าเจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้กับ ซากศพบ้าง นุ่งห่ม ผ้าคลุกฝุ่นบ้าง นุ่งห่มเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังอชินะบ้าง นุ่งห่มหนัง อชินะทั้งเล็บ บ้าง นุ่งห่มแผ่นหญ้าคากรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นปอกรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นกระดาน กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทําด้วยขน หางสัตว์บ้าง นุ่งห่มปีกนก เค้า บ้าง (ศัพท์นี้แปลกที่ไม่มีคําว่ากัมพล) เราตัดผม และ หนวด ประกอบตามซึ่งความ เพียร ในการตัดผมและหนวด เราเป็นผู้ยืนกระหย่ง ห้ามเสีย ซึ่งการนั่ง เป็นผู้เดินกระหย่ง ประกอบตามซึ่งความเพียรในการ เดินกระหย่ง บ้าง เรา ประกอบ

          การยืนการเดินบนหนาม สําเร็จการนอนบนที่นอนทําด้วยหนาม เราประกอบ ตาม ซึ่งความเพียรในการลงสู่น้ำ เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง เราประกอบตามซึ่ง ความเพียรใน การทํา (กิเลสใน) กายในเหือดแห้ง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นนี้ ด้วยอาการ อย่างนี้.

          สารีบุตร ! นี่และป็นวัตรเพื่อความเป็นผู้มีตบะ ของเรา. 

          สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น(๒) ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) ของเรา คือธุลีเกรอะกรังแล้วที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น.
          สารีบุตร ! เปรียบเหมือนตอตะโกนานปีมีสะเก็ดขึ้นแล้ว  ฉันใดก็ฉันนั้น ธุลีเกรอะกรังแล้ว   ที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากจนเกิดเป็นสะเก็ดขั้น. 
          สารีบุตร ! ความคิดนึกว่า โอหนอ เราพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ไม่มีแก่เรา แม้ความคิดนึกว่าก็หรือ ชนเหล่าอื่นพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ก็มิได้มีแก่เรา.
          ดูก่อน สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้เศร้าหมองของเรา. 

          สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น(๓) เชคจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้รังเกียจ) ของเราคือ ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับ โดยอาการเท่าที่ ความ เอ็นดูอ่อนโยนของเราพึงบังเกิดขึ้น แม้ในหยาดแห่งน้ำ ว่าเราอย่างทําสัตว์ น้อยๆทั้งหลาย ที่มีคติไม่เสมอกันให้ลําบากเลย.
          สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้รังเกียจของเรา. 

          สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น (๔) ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้สงัด ทั่วแล้ว) ของเราคือ
          ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นเข้าสู่ราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เมื่อเห็นคน เลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้ หรือคนทํางานในป่ามา เราก็รีบลัด เลาะจากป่านี้ไปป่าโน้น จากรกชัฎนี้สู่รกชัฎโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น เพราะเหตุคิดว่า ขอคนพวกนั้นอย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้ เห็นชนพวกนั้น. 

          สารีบุตร ! เปรียบเหมือนเนื้ออันอยู่ในป่า เห็นมนุษย์แล้วย่อมเลาะลัด จากป่านี้ สู่ป่าโน้น จากรกชัฎนี้สู่รกชัฎโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เราเมื่อเห็นคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า คนหาไม้ คนทํางาน ในป่ามา ก็รีบเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฎนี้สู่รกชัฎโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ด้วยหวังว่าคนพวกนี้อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนพวก นั้น.

          สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้สงัดทั่ว ของเรา. 

          สารีบุตร ! เรานั้น โคเหล่าใดออกจากคอกหาคนเลี้ยงมิได้ เราก็คลานเข้า ไปในที่นั้น ถือเอาโคมัยของลูกโคน้อยๆที่ยังดื่มนมแม่เป็นอาหาร. สารีบุตร ! มูตร และกรีส (ปัสสาวะและอุจจาระ) ของตนเอง ยังไม่หมดเพียงใด เราก็ถือมูตรและ กรีสนั้นเป็นอาหารตลอดกาลเพียงนั้น.

          ดูก่อน สารีบุตร! นี้แล เป็นวัตรใน มหาวิกฏโภชนวัตร ของเรา. สารีบุตร ! เราแลเข้าไป สู่ชัฎแห่งป่าน่าพึงกลัวแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่. เพราะชัฎแห่งป่านั้น กระทําซึ่งความกลัว เป็นเหตุ ผู้ที่มีสันดานยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ชัฎป่านั้นแล้ว โลมชาติย่อมชูชันโดยมาก. 

          สารีบุตร ! เรานั้นในราตรี ทั้งหลายอันมีในฤดูหนาวระหว่างแปดวัน เป็นสมัย ที่ตกแห่ง หิมะอันเย็นเยือก กลางคืนเราอยู่ที่กลางแจ้ง กลางวันเราอยู่ในชัฎ แห่งป่า 
ครั้นถึงเดือน สุดท้ายแห่งฤดูร้อนกลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในป่า.
สารีบุตร ! คาถาน่าเศร้านี้ อันเราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนมาแจ้งแก่เราว่า

         "เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว เปียกแล้วผู้เดียว อยู่ในป่า  น่าพึงกลัว แต่ผู้เดียว เป็นผู้มีกายอันเปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟ  เป็นมุนีขวนขวาย แสวงหาความบริสุทธิ์." ดังนี้.

          สารีบุตร ! เรานั้นนอนในปุาช้า ทับกระดูกแห่งซากศพทั้งหลาย ฝูงเด็กเลี้ยง โคเข้ามาใกล้เรา โห่ร้องใส่หูเราบ้าง ถ่ายมูตรรดบ้าง ซัดฝุุนใส่บ้างเอา ไม้แหลมๆ ทิ่มช่องหูบ้าง. สารีบุตร ! เราไม่รู้สึกซึ่งจิตอันเป็นบาปต่อเด็ก เลี้ยงโคทั้งหลาย เหล่านั้น แม้ด้วยการ ทําความคิดนึกให้เกิดขึ้น. 

          สารีบุตร ! นี้เป็น วัตรในการอยู่อุเบกขา ของเรา. 

          สารีบุตร ! สมณพราหมณ์ บางพวก มักกล่าวมักเห็นอย่างนี้ว่า "ความบริสุทธิ์ มีได้เพราะอาหาร" สมณพราหมณ์ พวกนั้นกล่าวกันว่า พวกเราจงเลี้ยง ชีวิตให้เป็นไป ด้วยผลกะเบา๑ ทั้งหลายเถิด. สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงเคี้ยว กินผล กะเบาบ้าง เคี้ยวกินกะเบาตําผงบ้าง ดื่มน้ําคั้น จากผลกะเบาบ้าง ยิ่งบริโภคผล กะเบา อันทําให้แปลกๆ มีอย่างต่าง ๆ บ้าง.

          สารีบุตร ! เราก็ได้ใช้กะเบาผลหนึ่งเป็นอาหาร สารีบุตร ! คําเล่าลืออาจมี แก่เธอว่า ผลกะเบาในครั้งนั้น ใหญ่มากข้อนี้ เธออย่าเห็นอย่างนั้น ผลกะเบาใน ครั้งนั้น ก็โตเท่านี้ เป็นอย่างยิ่งเหมือนในครั้งนี้ เหมือนกัน.

          สารีบุตร ! เมื่อเราฉันกะเบาผลเดียวเป็นอาหาร ร่างกายได้ถึงความ ซูบผอม อย่างยิ่ง. เถาวัลย์อาสีติกบรรพหรือเถากาฬบรรพมีสัณฐานเช่นไร อวัยวะ น้อยใหญ่ ของเราก็เป็นเหมือน เช่นนั้นเพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

          รอยเท้าอูฐ มีสัณฐานเช่นไร รอยตะโพกนั่งทับของเราก็มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย เถาวัฏฏนาวฬีมีสัณฐานเช่นใด กระดูกสันหลังของเรา ก็เป็นข้อๆ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.  

          กลอน(หรือจันทัน) แห่งศาลาที่ คร่ําคร่าเกะกะมีสัณฐานเช่นไร ซี่โครงของเรา ก็เกะกะ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. ดวงดาวที่ปรากฏในน้ำ ในบ่อ น้ำอันลึก ปรากฏ อยู่ลึกฉันใด ดวงดาวคือลูกตาของเรา ปรากฏอยู่ลึกในเบ้าตา ฉันนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. น้ำเต้าที่เขาตัดแต่ยังอ่อน ครั้นถูกลมและแดด ย่อมเหี่ยวยู่ยี่ มีสัณฐานเป็นเช่นไร หนังศีรษะแห่งเราก็เหี่ยวยู่มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะ ความเป็นผู้มีอาหาร น้อย.

          สารีบุตร ! เราตั้งใจว่าลูบท้อง ก็ลูบถูกกระดูกสันหลังด้วย ตั้งใจว่าลูบ กระดูก สันหลัง ก็ลูบถูกท้องด้วย. สารีบุตร ! หนังท้องกับกระดูกสันหลังของเรา ชิดกันสนิท เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. 

          สารีบุตร ! เรา เมื่อคิดว่าจักถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ล้มพับอยู่ ตรงนั้นเพราะ ความเป็น ผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร ! เรา เมื่อจะบรรเทาซึ่งกายนั้น ให้มีความสุขบ้าง จึงลูบตัวด้วย ฝุามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนที่มีรากเน่าแล้ว ได้หลุดออกจากกาย ร่วงไป เพราะความ เป็นผู้มีอาหารน้อย. 

          (ต่อจากนี้ มีเรื่องการบริสุทธิ์เพราะอาหารอย่างเดียวกับการบริโภคผลกะเบา ต่างกัน แต่แทนผลกะเบา กลายเป็น ถั่วเขียว งา ข้าวสาร เท่านั้น. พระองค์ได้ทดลอง เปลี่ยนทุกๆ อย่าง.  เรื่องตั้งแต่ต้นมา แสดงว่าพระองค์ได้ทรงเคยประพฤติวัตร ของ เดียรถีย์ ที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยคแล้วทุ ๆอย่างสรุปเรียกได้ว่าส่วนสุดฝุายข้างตึง ที่พระองค์สอน ให้เว้น ในยุคหลัง.  วัตรเหล่านี้ สันนิษฐานว่าทําทีหลังการไปสํานัก ๒ ดาบส.ถ้าทีหลังก็ต้องก่อน เบญจวัคคีย์ไปอยู่ด้วยยุติเป็นอย่างไรแล้วแต่จะวินิจฉัย
 เพราะระยะ ทําความเพียรนานถึง ๖ ปี ได้เหตุผลเป็นอย่างไรโปรดเผยแผ่กันฟังด้วย)



หน้า63-65
อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง
 

         ราชกุมาร !  เรื่องประหลาดเกิดมีแก่เรา : อุปมาสามข้อ เป็นอัศจรรย์ที่ไม่ เคยได้ยินมาแล้ว มาแจ่มแจ้งแก่เรา.

          (๑)ราชกุมาร ! อุปมาข้อหนึ่ง ว่า เหมือนไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งเขาตัดลง แช่น้ำไว้ ถ้าบุรุษตั้งใจว่าเราจะนําไม้สีไฟอันบน มาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏดังนี้ ราชกุมาร ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักถือไม้สีไฟอันบนมาสีไฟให้เกิด ปรากฏขึ้นได้หรือไม่ ? "พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่ได้เลยเพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้สดชุ่ม ด้วยยาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ํา เขาสีตลอดกาลเพียงใด จักต้องเหน็ดเหนื่อยคับแค้น เปล่าเพียงนั้น".

          ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด กายยังไม่หลีกออก จาก วัตถุกาม  ใจก็ยังระคนด้วยกิเลสกามอันทําความพอใจ ความเยื่อใย ความ เมาหมก ความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย เขายังละไม่ได้ ยังรํางับ ไม่ได้ ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายในเหล่านั้น ท่านสมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ถึงจะได้เสวย ทุกขเวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อน เพราะการทําความเพียรก็ดี หรือไม่ได้ เสวยก็ดี  ย่อมไม่ควร เพื่อเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มีปัญญาอื่นยิ่งไปกว่าได้ เลย. ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาทีแรก ที่เป็นอัศจรรย์ที่เราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งแก่เราแล้ว.

          (๒) ราชกุมาร ! อุปมาข้อสอง เป็นอัศจรรย์ที่เราไม่เคยได้ยินมาแล้ว ได้มา แจ่มแจ้งแก่เรา.  ราชกุมาร ! อุปมาว่าไม้สดชุ่มด้วยยาง วางอยู่บนบก ไกลจากน้ำ หากบุรุษตั้งใจว่า เราจักนําไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏดังนี้ ท่านจัก เข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักถือเอาไม้สีไฟอันบน มาสีให้เกิดไฟปรากฏขึ้นได้หรือไม่? "พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้สดชุ่มด้วยยาง แม้วางอยู่บนบก ก็จริง เขาจะสีไปตลอดกาลเพียงใด ก็จะเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเปล่า ตลอดกาล เพียงนั้น".

          ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด มีกาย หลีกออกจาก วัตถุกามแล้ว แต่ใจยังระคนด้วยกิเลสกามอันทําความพอใจ ความ เยื่อใย ความเมา หมกความ กระหายความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย เขายังละ ไม่ได้ ระงับไม่ได้ซึ่ง กิเลสกามอันเป็น ภายในเหล่านั้น สมณะหรือพราหมณเหล่านั้น จะได้เสวยทุกขเวทนา อันกล้าแข็งเผ็ดร้อน เพราะทําความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวย ก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะเกิด ปัญญา รู้เห็น อันไม่มีปัญญา อื่นยิ่งไปกว่าได้เลย. 

          ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาที่สอง ที่เป็นอัศจรรย์ อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้ว แต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้ง แก่เราแล้ว. 

          (๓) ราชกุมาร ! อุปมาข้อสาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้ว  มาแจ่มแจ้งแก่เรา. ราชกุมาร ! อุปมาว่าไม้แห้งสนิท ทั้งวางไว้บนบกไกลจากน้ำ หากบุรุษตั้งใจว่าเราจักนําไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้นั้น ให้ไฟเกิดปรากฏ ขึ้น ดังนี้

          ราชกุมาร ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจํานําไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้ นั้นให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้หรือไม่? "พระองค์ผู้เจริญ ! ได้โดยแท้เพราะเหตุว่าโน้น เป็นไม้แห้งเกราะ ทั้งอยู่บนบกไกลจากน้ำด้วย".

          ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะ หรือพราหมณ์พวกใด มีกายละจาก วัตถุกาม แล้ว ทั้งใจก็ไม่ระคนอยู่ด้วยกิเลสกาม อันทําความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมก ความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย เขาเป็นผู้ละได้ ระงับได้ซึ่งกิเลสกาม อันเป็นภายใน เหล่านั้น. สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจะได้เสวย ทุกขเวทนา อันกล้า แข็งเผ็ดร้อนเพราะทํา ความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ย่อมควรเพื่อเกิด ปัญญา รู้เห็นอันไม่มีปัญญา อื่นยิ่งไปกว่าได้.

          ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาที่สาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยิน มาแล้ว แต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งกะเราแล้ว.


หน้า65-67
ทุกรกิริยา

         (วาระที่ ๑) ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึง ขบฟันด้วยฟันอัดเพดานด้วยลิ้น   ข่มจิตด้วยจิต   บีบให้แน่นจนร้อนจัดดูที.    
          ราชกุมาร ! ครั้นเราคิดดังนั้นแล้ว จึงขบฟันด้วยฟัง อัดเพดานด้วยลิ้นข่มจิต ด้วยจิต บีบให้แน่นจนร้อนจัดแล้ว เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง
          ราชกุมาร ! เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงจับคนกําลังน้อยที่ศีรษะหรือที่คอ บีบให้แน่นจนร้อนจัด ฉะนั้น.
          ราชกุมาร ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่น เฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังความเพียรที่ทนได้ ยากเสียดแทงเอา. 

          (วาระที่ ๒) ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึง เพ่งฌานเอาการไม่หายใจเป็นอารมณ์เถิด. 
          ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้วเราจึงกลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางจมูกและทางปาก.
          ราชกุมาร ! ครั้นเรากลั้นลม หายใจทั้งทางจมูกและทางปาก  เสียงลมออก ทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณ เหมือนเสียงลมในสูบแห่งนายช่องทอง ที่สูบไป สูบมาฉะนั้น. 
          ราชกุมาร ! แต่ความ เพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะ ฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กาย กระสับกระส่ายไม่สงบเพราะกําลังแห่งความเพียร ที่ทนได้ยากเสียดแทงเอา. 

          (วาระที่ ๓) ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึง เพ่งฌาน มีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้น)๑ เป็นอารมณ์เถิด. 
          ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราจึงกลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางจมูกทางปากและทางช่อง หูทั้งสองแล้ว.
          ราชกุมาร ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปาก และทาง ช่องหู ทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ แทงเซาะขึ้นไปทางบน กระหม่อมเหมือน ถูกบุรุษแข็งแรง เชือดเอาที่แสกกระหม่อมด้วยมีดโกนอันคม  ฉะนั้น.
          ราชกุมาร ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะได้ ฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบเพราะความเพียรที่ทนได้ แสนยากเสียดแทงเอา. 

          (วาระที่ ๔) ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึง เพ่งฌาน มีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด.
          ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูก ทางปากและทางช่อง หูทั้งสองแล้ว. 
          ราชกุมาร ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางจมูกทางปาก และทาง ช่องหู ทั้งสองแล้ว รู้สึกปวดศีรษะทั่วไปทั้งศีรษะ เหลือประมาณ
          เปรียบปานถูกบุรุษแข็งแรง รัดศีรษะเข้าทั้งศีรษะด้วยเชือกมีเกลียว อันเขม็ง ฉะนั้น.
          ราชกุมาร ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่น เฟือน ไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบเพราะความเพียรที่ทนได้แสนยาก เสียดแทงเอา.

          (วาระที่ ๕) ราชกุมาร ! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึง เพ่งฌานมีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด. 
          ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกและ ทางปากและทาง ช่องหูทั้งสอง.
          ราชกุมาร ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางจมูกและทางปาก และทาง ช่องหูทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณหวนกลับลงแทงเอาพื้นท้องดุจ ถูกคนฆ่าโค หรือลูกมือตัวขยันของเขา เฉือนเนื้อพื้นท้องด้วยมีดสําหรับเฉือนเนื้อโค อันคม ฉะนั้น.
         ราชกุมาร ! แต่ความเพียรของเราจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะได้ ฟั่นเฟือนไป ก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังแห่งความเพียร ที่ทนได้แสน ยาก เสียดแทงเอา.

          (วาระที่ ๖)  ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึง เพ่งฌานมีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด.
          ราชกุมาร ! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้าไว้ทั้งทางจมูกและทางปากและ ทางช่องหูทั้งสอง. 
          ราชกุมาร ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าไว้ทั้งทางจมูก ทางปากและทาง ช่องหูทั้งสอง ก็เกิดความร้อนกล้าขึ้นทั่วกาย ดุจถูกคนแข็งแรง สองคนช่วยกันจับคน ที่กําลังน้อยที่แขนข้างละคนแล้ว ย่างรมไว้เหนือหลุมถ่าน เพลิงอันระอุ ฉะนั้น.  ราชกุมาร ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อน  ก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไป ก็หาไม่ เป็นแต่กายกระวนกระวายไม่สงบ เพราะกําลัง แห่งความเพียรที่ทนได้แสน ยาก เสียดแทงเอา.
          โอ ราชกุมาร ! พวกเทวดาเห็นเราแล้วพากันกล่าวว่า พระสมณโคดม  ทํากาละ เสียแล้ว บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ใช่ทํากาละแล้ว เป็นแต่กําลัง ทํากาละอยู่ บางพวกกล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้น จะว่าพระสมณโคดมทํากาละแล้ว หรือ กําลังทํากาละอยู่ ก็ไม่ชอบทั้งสองสถาน พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ นั่น เป็นการอยู่ของท่าน การอยู่เช่นนั้นเป็นการอยู่ของพระอรหันต์ ดังนี้. 

          (วาระที่ ๗) ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึง ปฏิบัติการอดอาหารโดยประการทั้งปวงเสีย.  ราชกุมาร ! ครั้งนั้นพวกเทวดาเข้า มาหาเราแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้นิรทุกข์ ! ท่านอย่าปฏิบัติการอดอาหารโดยประการ ทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติการอดอาหารโดยประการทั้งปวงไซร้ พวกข้าพเจ้า จักแทรกโอชาอันเป็นทิพย์ลงตามขุมขนของท่าน ท่านจักมีชีวิตอยู่ได้ด้วยโอชาทิพย์ นั้น". 
          ราชกุมาร ! ความคิดนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เราปฏิญญาการไม่บริโภคอาหาร ด้วยประการทั้งปวงด้วยตนเอง ถ้าเทวดาเหล่านี้แทรกโอชาอันเป็นทิพย์ลงตามขุม ขนแห่งเราแล้ว ถ้าเราจะมีชีวิตอยู่ด้วยโอชานั้น ข้อนั้นจักเป็นมุสาแก่เราไปดังนี้. 
          ราชกุมาร ! เราบอกห้ามกะเทวดาเหล่านั้นว่าอย่าเลย.  ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดมีแก่เราว่า ถ้ากระไรเราบริโภคอาหาร ผ่อนให้น้อยลงวันละฟา มือ บ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อ ถั่วดําบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัว บ้างดังนี้.
          ราชกุมาร ! เราได้บริโภคอาหารผ่อน น้อยลง วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อ ถั่วเขียว บ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้างเท่าเยื่อถั่วดําบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง แล้ว. 
          ราชกุมาร ! เมื่อเป็นเช่นนั้นร่างกายของเราได้ถึง การซูบผอมลงยิ่งนัก. เพราะโทษที่เรามีอาหารน้อย อวัยวะใหญ่น้อยของเราเป็น เหมือนเถาวัลย์อาสีติก บรรพ หรือเถากาฬบรรพ เนื้อที่ตะโพกที่นั่งทับของเรามีสัณฐานดังเท้าอูฐ ข้อกระดูก สันหลังของเราผุดขึ้นระกะราวกะเถาวัลย์วัฎฎนาวฬี ซี่โครงของเราโหรงเหรงเหมือน กลอนศาลาอันเก่าคร่ำคร่า ดาวคือดวงตาของเรา ถล่มลึกอยู่ในกระบอกตา ดุจเงา แห่งดวงดาวที่ปรากฏอยู่ใน บ่อน้ำอันลึกฉะนั้น ผิวหนังศีรษะของเราเหี่ยวย่น เหมือน น้ำเต้าอ่อนที่ตัดมาแต่ยังสด ถูกแดดเผาเหี่ยวย่นเช่นเดียวกัน.
          ราชกุมาร ! เราคิดว่าจะจับพื้นท้องครั้นจับเข้าก็ถูกกึงกระดูกสันหลังตลอดไป คิดว่าจะจับกระดูกสันหลัง ครั้นจับ เข้าก็ถูกถึงพื้นท้องด้วย.
          ราชกุมาร ! ตถาคตคิดจะถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ ก็เซล้มราบอยู่ ณ ที่นั้นเอง
          ราชกุมาร ! ตถาคตหวังจะให้กายมีความสุขบ้าง จึงลูบไปตามตัวด้วยฝุามือ ขนมีรากอันเน่าหลุดตกลงจากกาย. 
          โอ ราชกุมาร !  มนุษย์ทั้งหลายเห็นเราแล้วกล่าวว่า พระสมณโคดมดูดํา ไป บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ดํา เป็นแต่คล้ำไป บางพวกกล่าวว่าจะดําก็ ไม่เชิง จะคล้ำก็ไม่เชิงพระสมณโคดมมีผิวเผือดไปเท่านั้น. 
          ราชกุมาร ! ผิวพรรณที่ เคยบริสุทธิ์ผุดผ่องของตถาคต มากลายเป็นถูก ทําลาย ลงแล้ว เพราะความที่ตนมี อาหารน้อยนั้น.


หน้า67
ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา


         สารีบุตร ! ด้วยอิริยา (เครื่องออกไปจากข้าศึก) แม้ชนิดนั้น ด้วยปฏิปทาชนิดนั้น ด้วยทุกรกิริยาชนิดนั้น เราไม่ได้บรรลุแล้วซึ่งอลมริยญาณทัสสนวิเสส    ที่ยิ่งไปกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์เลย.

          ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าไม่มีการถึงทับซึ่งอริยปัญญา อันเป็นอริยปัญญาที่ถึงทับแล้วจักเป็นนิยยานิกธรรม อันประเสริฐ นําผู้ปฏิบัติตามนั้นให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นั่นเทียว .
         หมายเหตุ : ข้อความเหล่านี้แสดงถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น ภายหลังจากการ ทรงกระทํา ทุกรกิริยาทุกรูปแบบแล้ว ทรงเห็นว่าไม่เป็นทางตรัสรู้ ก็ทรงเลิกเสีย ทรงกลับพระทัยฉันอาหาร หยาบ เพื่อบําเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป. - ผู้รวบรวม. 


หน้า68
ทรงกลับพระทัยฉันอาหารหยาบ


         ราชกุมาร ! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า  ในอดีตกาลอันยาวยืดก็ดี... ในอนาคตกาลอันยาวยืดก็ดี...แม้ในปัจจุบันนี้ก็ดี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดที่ได้ เสวยทุกขเวทนากล้าแข็งเผ็ดร้อนอันเกิดจากการทําความเพียร อย่างสูงสุดก็เท่าที่ เราได้เสวยอยู่นี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ได้ ก็แต่ว่าเราหาอาจบรรลุธรรมอันยิ่งกว่าธรรม ของมนุษย์ หรืออลมริยญาณทัสสนวิเศษ ด้วยทุกรกิริยาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดนี้ไม่. ชะรอยหนทางแห่งการตรัสรู้จักพึงมีโดยประการอื่น. 
          ราชกุมาร ! ความระลึกอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เออก็เรายังจําได้อยู่เมื่อ งานแรกนาแห่งบิดา เรานั่ง ณ ร่มไม้หว้ามีเงาเย็นสนิท มีใจสงัดแล้วจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้ว แลอยู่ ชะรอยนั่นจักเป็นทางแห่งการตรัสรู้บ้าง ดังนี้.
          ราชกุมาร ! วิญญาณอัน แล่นไปตามความระลึก ได้มีแล้วแก่เราว่า นี่แล แน่แล้วหนทางแห่งการตรัสรู้ดังนี้. 
          ราชกุมาร ! ความสงสัยอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เราควรจะกลัวต่อความสุข ชนิดที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมหรือไม่หนอ?
          ราชกุมาร ! ความแน่ใจอันนี้ได้ เกิดขึ้นแก่เราว่า เราไม่ควรกลัวต่อสุขอันเว้นจากกามและอกุศลทั้งหลาย.      
          ราชกุมาร ! ความคิดได้มีแก่เราสืบไปว่า ก็ความสุขชนิดนั้น คนที่มีร่างกายหิวโหย เกินกว่าเหตุเช่นนี้ จะบรรลุได้โดยง่ายไม่ได้เลย ถ้าไฉนเราพึงกลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดเถิด. 
          ราชกุมาร ! เราได้กลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก และขนมสดแล้ว.


หน้า69
ภิกษุปัวัคคีย์หลีก

          ราชกุมาร ! เรานั้นได้กลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดแล้ว.  
          ราชกุมาร ! ก็ครั้งนั้นมีภิกษุผู้เป็นพวกกัน ๕ รูป (ปัญจวัคคีย์) เป็นผู้คอยบํารุงเรา ด้วยหวังอยู่ว่า พระสมณโคดมได้บรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย.

          ราชกุมาร ! ครั้นตถาคตกลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดแล้ว ภิกษุ  
ผู้เป็นพวกกัน ๕ รูปนั้น พากันหน่ายในเรา หลีกไปเสีย ด้วยคิดว่าพระสมณโคดม เป็นคนมักมากคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว ดังนี้.


หน้า70
ทรงตริตรึกเพื่อตรัสรู้

         ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็น โพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้นั่นเทียว ได้เกิดความปริวิตกขึ้นว่า อะไรหนอเป็นรสอร่อยในโลก? อะไรเป็น โทษในโลก? อะไรเป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลก? 

          ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสที่ปรารภโลกเกิดขึ้นนี่เอง เป็น รสอร่อยในโลก. โลกที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทรมาน มีการเปลี่ยนแปลงเป็น ธรรมดา นี่เอง เป็น โทษในโลก. การนําออกและการละเสียสิ้นเชิงซึ่งความกําหนัด ด้วยอํานาจความเพลินในโลกนี่เอง เป็น อุบายเครื่องออกไปจากโลกได้. 

          ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย ยังไม่รู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษ ยังไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะซึ่ง อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณ พราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์. 

          ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล เราได้รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อยรู้จักโทษ ของโลกว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นเรารู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

         ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความหลุดพ้น ของเราไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีก ดังนี้.


หน้า70-71
ทรงเที่ยวแสวงเพื่อความตรัสรู้

         ภิกษุ ท.! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้เท่ารสอร่อยของโลกว่าเป็นรส อร่อย (เครื่องล่อใจสัตว์) ไม่รู้จักโทษของโลกโดยความเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกว่า เป็นอุบายเครื่องออกตามที่เป็นจริง ตลอดเวลาเพียงนั้นแหละ เรายังไม่รู้สึกว่า เป็นผู้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม  ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้ง มนุษย์.
 
          ภิกษุ ท! เมื่อใดแล เราได้รู้ยิ่งซึ่งรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อยรู้โทษ ของโลก โดยความเป็นโทษ รู้อุบายเครื่องออกของโลก ว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง  เมื่อนั้นแหละ เรารู้สึกว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมนพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.  ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของ เราไม่กลับ กําเริบชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกดังนี้.


หน้า71-75
ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท.!  เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้
 กามวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว กามวิตกนั้น ย่อมเป็นไป เพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและ ผู้อื่น)บ้าง เป็นไปเพื่อความดับแห่งป๎ญญา เป็นฝักฝัายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป พร้อมเพื่อนิพพาน.

          ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่.... ฯลฯ.... อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอัน ตั้งอยู่ ไม่ได้.

         ภิกษุ ท.! เราได้ละและ บรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทํา ให้สิ้นสุดได้แล้ว. 

          ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ พยาปาทวิตก เกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า พ ยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว ก็พยาปาทวิตก นั้นย่อม เป็นไป เพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้นไม่เป็นไป พร้อมเพื่อ นิพพาน.

         ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่...ฯลฯ... อย่างนี้ พยาปาทวิตก ย่อมถึงซึ่ง อันตั้ง อยู่ไม่ได้.

         ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทา พยาปาทวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและ บังเกิด แล้วกระทําให้สิ้นสุดได้แล้ว. 

          ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้วิหิงสาวิตก เกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็วิหิงสาวิตกนั้นย่อมเป็นไป เพื่อเบียด เบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสอง ฝ่ายบ้าง เป็นไปเพื่อ ความดับแห่ง ปัญญาเป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. 

          ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่....ฯลฯ....อย่างนี้ วิหิงสาวิตกย่อมถึง ซึ่งอัน ตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว และบังเกิดแล้ว กระทําให้สิ้นสุดได้แล้ว

          ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดย อาการ อย่างนั้นๆ ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงกามวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละ เนกขัมมวิตก เสีย  กระทําแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในกาม. 

         ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึงพยาปทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละ อัพยาปาทวิตกเสีย  กระทําแล้วอย่างมากซึ่งพยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อม น้อมไปเพื่อความตรึกในการ พยาบาท.  ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตก เสีย กระทําแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก จิตของ เธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึก ในการ ทําสัตว์ให้ลําบาก. 

          ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝนคน เลี้ยงโค ต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกัน ฝูงโคจาก ข้าวกล้านั้น ด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษ คือการถูกประหาร การถูก จับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ ข้อนี้ ฉันใด 

          ภิกษุ ท.! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทรามเศร้าหมอง แห่ง อกุศล ธรรมทั้งหลายเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝ๎กฝุายของความผ่อง แผ้ว แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ อย่างนี้  เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้น.๑ อัพยาปาทวิตกย่อมเกิดขึ้น.... อวิหิงสาวิตกย่อม เกิดขึ้น. 

          เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็น ไป เพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย แต่เป็นไปพร้อม เพื่อความ เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อ นิพพาน. แม้เราจะ ตรึกตาม ตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืน ก็มองไม่ เห็นภัยที่จะเกิดขึ้น เพราะ อวิหิงสาวิตกนั้น เป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตามตรองตาม ถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดวัน หรือ ตลอดทั้งกลางคืน กลางวัน ก็มองไม่เห็นภัยอัน จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ. 

          ภิกษุ ท.! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก กาย จะเมื่อยล้า เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ เราจึงได้ดํารงจิตให้ หยุดอยู่ในภายใน กระทําให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่น ไว้ ด้วย หวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้. 

          ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดย อาการ อย่างนั้น ๆ
         ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละ กามวิตกเสีย กระทําแล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการ ออกจากกาม.
         ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอัพยาปาทวิตก มากก็เป็นอันว่าละพยาปาท วิตก เสีย กระทําแล้วอย่างมากในอัพยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึก ในการไม่ พยาบาท. 
         ถ้าภิกษุตรึกตามตรอง ตามถึงอวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิง สาวิตกเสีย กระทําแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการ ไม่ยังสัตว์ให้ลําบาก. 

          ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมดเขาขน นําไปในบ้านเสร็จแล้ว๑ คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไป กลางทุ่งแจ้งๆ พึงทําแต่ความกําหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด
          ภิกษุ ท.! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทําความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว)  ฉันนั้นเหมือนกัน. 
          ภิกษุ ท.! ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเราได้ดํารง  ไว้แล้วไม่ฟันเฟือนกายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียว แล้ว.
          ภิกษุ ท.! เรานั้น เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ได เข้าถึง ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. 
          (คําต่อไปนี้เหมือน ในตอนที่กล่าวด้วยการตรัสรู้ ข้างหน้า อันว่าด้วยรูป ฌานสี่)


หน้า 75-80
ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้

          อนุรุทธะ ท.! นิมิตนั้นแหละ เธอพึงแทงตลอดเถิด. 
          แม้เราเมื่อครั้งก่อน แต่การตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็จําแสง สว่างและการเห็นรูป ทั้งหลายได้. 

          ต่อมาไม่นาน แสงสว่างและการเห็นรูปของเรานั้นๆ ได้หายไป.  
          เกิดความสงสัยแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทําให้แสงสว่างและ การเห็นรูปนั้นหายไป?
          อนุรุทธะ ท.! เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) วิจิกิจฉา (ความลังเล) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้วก็ เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นต้นเหตุ.

          ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อม หายไป.
         เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก....ฯลฯ....  (มีคําระหว่างนี้เหมือนท่อนต้นไม่มีผิด ทุกตอน ตั้งแต่คําว่า ต่อมาไม่นานจนถึงคําว่า เกิด ความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า )

         อมนสิการ (ความไม่ทําไว้ในใจ คือไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิ ของเรา เคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีอมนสิการเป็นต้นเหตุ. 
          ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป.
          เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉาและ อมนสิการจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก. 

         ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงัน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะเป็นต้นเหตุ. 
          ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและ การเห็นรูปย่อมหายไป.
          เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการและ ถีนมิทธะ จะไม่บังเกิดขึ้น แก่ เราได้อีก. 

         ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แล บังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของ เรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีฉัมภิตัตตะเป็นต้นเหตุ. 
          ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่าง และการเห็นรูปย่อมหายไป. 
          เหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดผู้มุ่งหมายเอาชีวิตขึ้น ทั้งสองข้างทาง ความ หวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น.   
          เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธ และฉัมภิตัตตะ จะไม่ เกิดแก่เราได้อีก. 

         อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมี อุพพิละนั้นเป็นต้นเหตุ.
         เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. 
         เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ซึ่งขุมทรัพย์ขุมเดียว เขาพบพร้อมกันคราวเดียว ตั้งห้า ขุม ความตื่นเต้นเกิดขึ้นเพราะการพบนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นเราจักกระทําโดยประการ ที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ และ อุพพิละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก. 

         ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีทุฏฐุลละนั้นเป็นต้นเหตุ. 
         เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. 
เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ และทุฏฐุลละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก. 

         อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิ ของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอัจจารัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. 
         เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป.
         เปรียบเหมือนบุรุษจับ  นกกระจาบด้วยมือทั้งสองหนักเกินไป นกนั้นย่อมตาย ในมือ ฉะนั้น. เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ  ทุฏฐุลละ และอัจจารัทธวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก. 

         อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) และ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีอติลีนวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. 
          เมื่อสมาธิเคลื่อน แล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป.
          เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบ หลวมมือเกินไป นกหลุดขึ้นจากมือบินหนี เสียได้ ฉะนั้น. เราจักกระทําโดยประการ ที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ และอติลีนวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก. 

         อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีอภิชัปปาเป็นต้นเหตุ.
          เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะและอภิชัปปา จะไม่ เกิดขึ้นแก่เราได้อีก. 

         นานัตตสัญญา (ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิ ของเรา เคลื่อนแล้วเพราะมีนานัตตสัญญานั้นเป็นต้นเหตุ. 
          เมื่อสมาธิเคลื่อน แล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป.
          เราจักกระทําโดยประการที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฎฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปา และนานัตตสัญญา จะไม่เกิดแก่เราได้อีก. 

         รูปปาน  อตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แล เกิดขึ้น แก่เราแล้ว สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอตินิชฌายิตัตตะ เป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทําโดย ประการที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ฉัมภิตัตตะ อุพพิละ ทุฏฐุลละ อัจจารัทธวิริยะ อติลีนวิริยะ อภิชัปปา นานัตตสัญญา และรูปานํ อตินิชฌา ยิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เรา ได้อีก. 

          ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็นอุปกิเลส แห่งจิตแล้ว จึงละแล้วซึ่งวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เสีย. 

          ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! เรานั้นเมื่อไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจํา แสงสว่าง ได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็นรูป แต่จําแสงสว่างไม่ได้เป็นดังนี้ทั้งคืน บ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

          ความสงสัยเกิดแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุ เป็นป๎จจัย ที่เราจําแสงสว่างได้ แต่ ไม่เห็น รูป (หรือ) เห็นรูปแต่จําแสงสว่างไม่ได้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและ ทั้งวันบ้าง? 

          ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดเราไม่ทํา รูปนิมิตไว้ในใจ แต่ทํา โอภาสนิมิต ไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมจําแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป.  สมัยใดเรา ไม่ทําโอภาสนิมิตไว้ในใจแต่ทํารูปนิมิตไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูป แต่ จําแสง สว่างไม่ได้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้างตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

          ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจํา   แสงสว่าง ได้นิดเดียวเห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง จําแสงสว่างมากไม่มีประมาณเห็นรูปก็ มากไม่มีประมาณ บ้าง เป็นดังนี้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.ความ สงสัยเกิดแก่เราว่า อะไร เป็นเหตุเป็นป๎จจัย ที่เราจําแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูป ก็นิดเดียวบ้าง จําแสงสว่างได้มาก ไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณตลอด ทั้งคืนบ้างตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืน และทั้งวันบ้าง? 

          ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดสมาธิของเราน้อย   สมัยนั้น จักขุ ก็มีน้อย ด้วยจักขุอันน้อย เราจึงจําแสงสว่างได้น้อย เห็นรูปก็น้อย. สมัยใดสมาธิ ของเรามากไม่มีประมาณ สมัยนั้นจักขุของเราก็มาก ไม่มีประมาณ ด้วยจักขุอันมากไม่มี ประมาณ นั้น เราจึงจําแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณเห็นรูป ได้มากไม่มีประมาณ ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง. 

          ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี) วิจิกิจฉา(เป็นต้น เหล่านั้น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว และละมันเสียได้แล้ว กาลนั้นย่อมเกิด ความรู้สึกขึ้นแก่เราว่า "อุปกิเลสแห่งจิตของเราเหล่าใด อุปกิเลสนั้น ๆ เราละได้ แล้ว เดี๋ยวนี้ เราเจริญแล้ว ซึ่งสมาธิโดยวิธีสามอย่าง." 

          ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! เราเจริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร ซึ่งสมาธิ อันไม่มี วิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ซึ่งสมาธิอันมี ปิติ ซึ่งสมาธิ อันหาปีติมิได้ ซึ่งสมาธิอันเป็นไปกับด้วยความยินดี และสมาธิอัน เป็นไปกับด้วย อุเบกขา. 
          ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร(เป็นต้น เหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติอันเราเจริญแล้ว กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้ว แก่เราว่า "วิมุติของเราไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็น ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ ไม่มีอีก" ดังนี้.
 ( สมาธิเจ็ดอย่างในที่นี้ คงเป็นของแปลกและยากที่จะเข้าใจสําหรับนักศึกษาทั่วๆ ไป เพราะ แม้  แต่ในอรรถกถาของพระบาลีนี้ ก็แก้ไว้ไม่ละเอียด ท่านแก้ไว้ดังนี้ :- (สมาธิที่มีทั้งวิตก และวิจารท่านไม่แก้ เพราะได้แก่ปฐมฌานนั้นเอง จะโดยจตุกกนัย หรือป๎ญจกนัยก็ตาม).สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ได้แก่ ทุติยฌาน สมาธิใน ป๎ญจกนัย. สมาธิที่ไม่มี  วิตกไม่มี วิจาร ได้แก่ฌานทั้งสามเบื้องปลาย ทั้งใน จตุกกนัย และป๎ญจกนัย.  สมาธิมีปีติ ได้แก่ทุกติก- ฌานสมาธิ.  สมาธิไม่มีปีติ ได้แก่ทุก ทุกฌานสมาธิ.  สมาธิเป็นไปกับด้วยความ ยินดีได้แก่ติกจตุกกฌานสมาธิ.  สมาธิเป็น ไปกับด้วย อุเบกขา ได้แก่จตุตถฌานแห่งจตุกกนัย หรือ ป๎ญจมฌานแห่ง ป๎ญจกนัย. --ปป๎ญจ. ภ. ๓. น. ๖๑๔.  ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียด พึงศึกษาจาก ตําราหรือผู้รู้สืบไป. สมาธิเหล่านี้ตาม  อรรถกถากล่าวว่าทรงเจริญในคืนวันตรัสรู้ ที่มหาโพธิ )


หน้า80
ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อน  ได้ดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนก็จริง แต่โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่น ไปสู่กามคุณเป็นอดีต นั้น น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต ดังนี้.

          ภิกษุ ท. ! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่ง ซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทําให้เป็น เครื่องป้องกันจิต ในเพราะ กามคุณห้า อันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.

          ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ แม้จิตของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อจะแล่น ก็คง แล่นไป ในกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะ ความ แปรปรวน (เหมือนกัน)โดยมาก น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรือ อนาคต. 

          ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่ พวกเธอ ผู้หวังประโยชน์แก่ตัวเอง พึงกระทําให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุ กามคุณห้า อันเป็น อดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้ว เพราะความ แปรปรวนนั้น.


หน้า81-82
ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้


         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ มีความสงสัยเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ เพื่อความเจริญแห่ง อิทธิบาท? 

          ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า ภิกษุ๓ นั้นๆ ย่อมเจริญอิทธิบาท   อันประกอบพร้อม ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ฉันทะของเราย่อมมีในลักษณะที่จักไม่ย่อหย่อนที่จักไม่ เข้มงวดเกิน ที่จักไม่สยบอยู่ในภายใน ที่จักไม่ส่ายไปในภายนอก และเราเป็นผู้มี ความรู้สึกทั้งใน กาลก่อน และกาลเบื้องหน้าอยู่ด้วย

         ก่อนนี้เป็นเช่นใดต่อไปก็เช่นนั้น ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น เบื้องล่าง เช่นใด เบื้องบนก็ เช่นนั้น เบื้องบนเช่นใดเบื้องล่างก็เช่นนั้น กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวัน เหมือนกลางคืน : เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่า งด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว ไม่มีอะไร พัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้. (ข้อต่อไปอีก ๓ ข้อก็เหมือนกัน แปลกแต่ชื่อแห่งอิทธิบาท เป็น วิริยะ จิตตะ วิมังสา เท่านั้น. พระองค์ทรงพบการเจริญ อิทธิบาทด้วยวิธีคิดค้น อย่างนี้)


หน้า82-83
ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป อะไรเป็นโทษของรูป อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป? อะไรหนอเป็นรสอร่อยของเวทนา ...สัญญา ...สังขาร...วิญญาณ อะไรเป็นโทษของเวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อะไรเป็น อุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ? 

          ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยรูปแล้ว เกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นและเป็น รสอร่อยของรูป;  รูปไม่เที่ยง  เป็นทุกข์ทรมาน มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็น โทษของรูป;การนําออก เสียได้ ซึ่งความกําหนัดด้วยอํานาจความพอใจ การละความกําหนัดด้วยอํานาจ ความพอใจ ในรูปเสียได้ นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้.  (ในเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ก็นัยเดียวกัน).

          ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์  ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย ไม่รู้จักโทษว่าเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบาย เครื่องออก ตามที่เป็นจริง ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม  หมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์. 

          ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล เรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่ เป็นจริง เมื่อนั้น เราก็รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อม ทั้งมนุษย์. 

          ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็น  เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้น ของเราไม่กลับกําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ มิได้มีอีก ดังนี้.
 
         นอกจากการคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์นี้แล้ว ยังมีการคิดค้นอีก ๓ เรื่อง ด้วยวิธี การณ์ที่บรรยายไว้เป็นคําพูดอย่างเดียวกันกับเรื่องนี้ ทุกระเบียบอักษร คือคิดค้นเรื่อง  ธาตุสี่ (นิทาน.สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๔) เรื่อง อายตนะภายในหก (สฬา.สํ.๑๘/๘/๑๓) และเรื่อง อายตนะภายนอกหก (สฬา.สํ.๑๘/๙/๑๔).  -ผู้รวบรวม.


หน้า83-84
ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอเป็นเวทนา? อะไรเป็นความเกิดขึ้นพร้อม แห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา? อะไรเป็นความดับ ไม่เหลือ แห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา? อะไรเป็น รส อร่อยของเวทนา? อะไรเป็นโทษของเวทนา? อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้น ไปได้จาก เวทนา? 

          ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เวทนา ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ความเกิดขึ้นพร้อม แห่ง เวทนา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ตัณหาเป็น ปฏิปทาให้ถึง ความเกิดขึ้น พร้อม แห่งเวทนา ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปด ประการนี้เอง เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ความดําริ ที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทําการงานที่ ถูกต้อง การเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรําลึก ที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง

         สุขโสมนัสใด ๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น สุขและ โสมนัสนั้นแลเป็น รสอร่อย ของเวทนา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดาด้วยอาการใด อาการ นั้น เป็น โทษของเวทนา การนําออกเสียได้ซึ่ง ความกําหนัดด้วยอํานาจ ความพอใจ การละ ความกําหนัดด้วยอํานาจความพอใจ ในเวทนาเสียได้นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจาก เวทนาได้ ดังนี้. 

          ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่า "เหล่านี้ คือ เวทนา ท."... ว่า  "นี้ คือความเกิดขึ้น พร้อม แห่ง เวทนา"...ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้น พร้อมแห่งเวทนา"...ว่า "นี้ คือความดับ ไม่เหลือแห่งเวทนา"...ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ ถึงความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา"...ว่า "นี้ คือรสอร่อยของเวทนา"...ว่า "นี้ คือ โทษของเวทนา"...ว่า "นี้ คืออุบายเครื่องออกไปพ้น จากเวทนา" ดังนี้.


หน้า84-85
ทรงแสวงเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้วซึ่ง รสอร่อยของรูป เราได้พบรสอร่อย ของรูปนั้น แล้วรสอร่อยของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วย ปัญญาของเรา มีประมาณเท่านั้น. 

          ภิกษุ ท. ! เราได้เที่ยวแสวงหาให้พบ โทษของรูป เราได้พบโทษของรูปนั้น แล้ว. โทษของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญา ของเรา เท่านั้น. 

          ภิกษุ ท. ! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้ว ซึ่ง อุบายเป็นเครื่องออกจากรูป  เราได้ พบอุบายเครื่องออกจากรูปนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจากรูปมีประมาณ เท่าใดเราเห็น มันแล้วเป็นอย่างดี ด้วยปัญญาของเราเท่านั้น.

(ในเวทนาและสัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน. และตอนท้ายก็มีว่า ยังไม่ พบโทษของรูปเป็นต้น เพียงใด ยังไม่ชื่อว่าได้ตรัสรู้เพียงนั้น. ต่อเมื่อทรง พบแล้ว จึงชื่อว่าตรัสรู้ และมีชาติสิ้นแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป เหมือนกันทุก ๆ สิ่งที่ พระองค์ทรงค้น ซึ่งยังมีอีก ๓ อย่างคือเรื่อง ธาตุ ๔ เรื่อง อายตนะภายใน ๖ และ อายตนะภายนอก ๖ เห็นว่าอาการ เหมือนกันหมดต่างกัน แต่เพียงชื่อจึงไม่นํามา ใส่ไว้ในที่นี้ด้วย).


หน้า86-93
ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ  และบังเกิดอีก ก็เมื่อสัตว์โบกไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะ แล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้ จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร". 

          ภิกษุ ท. ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอชรามรณะ จึงได้มี ชรามรณะ มีเพราะปัจจัยอะไรหนอ"
          ภิกษุ ท. ! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา เพราะการคิดโดยแยบคายแก่เรา ว่า
"เพราะ ชาติ นี่เองมีอยู่ ชรามรณะจึงได้มี
          ชรามรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
เพราะ ภพ นี่เองมีอยู่ ชาติจึงได้มี
          ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย
เพราะ อุปาทาน นี่เอง มีอยู่ ภพจึงได้มี
          ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
เพราะ ตัณหา นี่เองมีอยู่ อุปาทานจึงได้มี
          อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย
เพราะ เวทนา นี่เองมีอยู่ ตัณหาจึงได้มี
          ตัณหามี เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย
เพราะ ผัสสะ นี่เองมีอยู่ เวทนาจึงได้มี
          เวทนาม ีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เพราะ สฬายตนะ นี่เองมีอยู่ ผัสสะจึงได้มี
          ผัสสะมี เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย
เพราะ นามรูป นี่เองมีอยู่ สฬายตนะจึงได้มี
          สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
เพราะ วิญญาณ นี่เองมีอยู่ นามรูปจึงได้มี
          นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
เพราะ สังขาร นี่เองมีอยู่ วิญญาณจึงได้มี
          วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
เพราะ อวิชชา นี่เองมีอยู่ สังขาร ท.จึงได้มี
          สังขาร ท. มี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย" ดังนี้

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร ท.
          เพราะ สังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป
          เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิด ผัสสะ
          เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา
          เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิด ภพ
          เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัส  อุปายาส ท.
          ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. 

         ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมา แต่ก่อน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความเกิดขึ้นพร้อม! ความเกิดขึ้นพร้อม! ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
         ภิกษุ ท. ! ความฉงนได้มีแก่เราอีกว่า "เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะ จึงไม่มี เพราะอะไรดับไปหนอ ชรามรณะจึงดับไป"
         ภิกษุ ท. ! เพราะการคิดโดยแยบคาย ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญาแก่เราว่า
"เพราะชาตินี่เองไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี
         ชรามรณะดับ เพราะชาติดับ
เพราะภพนี่เองไม่มี ชาติจึงไม่มี
         ชาติดับเพราะภพดับ
เพราะอุปาทานนี่เองไม่มี ภพจึงไม่มี
         ภพดับเพราะอุปาทานดับ
เพราะตัณหานี่เองไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
         อุปาทานดับเพราะ ตัณหาดับ
เพราะเวทนานี่เองไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
         ตัณหาดับเพราะเวทนาดับ
เพราะผัสสะนี่เองไม่มี เวทนาจึงไม่มี
         เวทนาดับเพราะผัสสะดับ
เพราะสฬายตนะนี่เองไม่มี ผัสสะจึงไม่มี
         ผัสสะดับเพราะสฬายตนะดับ
เพราะนามรูปนี่เองไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
         สฬายตนะดับเพราะนามรูปดับ
เพราะวิญญาณ นี่เองไม่มี นามรูปจึงไม่มี
         นามรูปดับเพราะ วิญญาณดับ
เพราะสังขารนี่เองไม่มี วิญญาณจึงไม่มี
         วิญญาณดับเพราะ สังขารดับ
เพราะอวิชชานี่เองไม่มี สังขาร ท.จึงไม่มี
         สังขารดับเพราะอวิชชาดับ" ดังนี้

เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
          เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
         เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
         เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
         เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
         เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาสจึงดับ
         ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. 

ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความดับไม่เหลือ! ความดับไม่เหลือ ! ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้.

ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ (อีกนัยหนึ่ง)
ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ได้เกิดความ รู้สึก อันนี้ขึ้นว่า "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบาย เครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรา มรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้ จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร." 

 ภิกษุ ท. ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะ จึงได้มี
เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีชรามรณะ" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา
เพราะการทําในใจโดยแยบคาย แก่เราว่า
เพราะชาติ นั่นแล มีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี
เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมี ชรามรณะ" ดังนี้. 

เพราะ ภพ นั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้. 

เพราะ อุปาทาน นั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ"ดังนี้. 

เพราะ ตัณหา นั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน" ดังนี้. 

เพราะ เวทนา นั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย  จึงมีตัณหา" ดังนี้. 

เพราะ ผัสสะ นั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา"ดังนี้. 

เพราะ สฬายตนะ นั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี
เพราะมีสฬายตนะเป็น ปัจจัย จึงมีผัสสะ ดังนี้. 

เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี
เพราะมีนามรูปเป็น ปัจจัย จึงมีสฬายตนะ" ดังนี้. 

เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี
เพราะมีวิญญาณเป็น ปัจจัย จึงมีนามรูป ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า

"เมื่ออะไรมีอยู่หนอ  วิญญาณ  จึงได้มี
เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกอย่างยิ่งด้วยป๎ญญา
เพราะการทําในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี
เพราะมีนามรูปเป็นป๎จจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับ จากนามรูป
ย่อมไม่เลยไปอื่น  ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ 
สัตว์โลกนี้  พึงเกิดบ้าง  พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง
พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง

ข้อนี้ได้แก่การที่
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
         เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป         
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
         เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ         
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
         เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา         
เพราะมีตัณหาเป็น ปัจจัย จึงมีอุปาทาน
         เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ         
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
         เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
         ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้."

         ภิกษุ ท. ! ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้น แล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟัง มาแต่ก่อนว่า "ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ! ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย)!” ดังนี้.

-----------------------------------------------------------------------------

ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราต่อไปว่า

"เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะจึงไม่มี
เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา
เพราะการทําในใจโดยแยบคาย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า

"เพราะ ชาติ นั่นแล ไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี
เพราะความดับ แห่งชาติ จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้. 

เพราะ ภพ นั่นแล ไม่มี ชาติ จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ" ดังนี้. 

เพราะ อุปาทาน นั่นแล ไม่มี ภพ จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ" ดังนี้. 

เพราะ ตัณหา นั่นแล ไม่มี อุปาทาน จึงไม่มี
เพราะความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน" ดังนี้.

เพราะ เวทนา นั่นแล ไม่มี ตัณหาจึงไม่ม:
เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา" ดังนี้. 

เพราะ ผัสสะ นั่นแล ไม่มี เวทนา จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา" ดังนี้. 

เพราะ สฬายตะ นั่นแล ไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี
เพราะความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ" ดังนี้. 

เพราะ นามรูป นั่นแลไม่มีสฬายตนะจึงไม่มี
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ" ดังนี้. 

เพราะ วิญญาณ นั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า

"เมื่ออะไรไม่มีหนอวิญญาณ จึงไม่มี
เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทําในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า"
เพราะนามรูป นั่นแล ไม่มี วิญญาณ จึงไม่มี
เพราะความ ดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. !ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า

"หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับแล้วแลได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

         เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

         เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะจึงมีความดับแห่งผัสสะ 
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา

         เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความ ดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

         เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมี ความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ

         เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
         ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้." 

ภิกษุ ท.! ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณ เกิดขึ้นแล้ว

ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า
"ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ! ความดับไม่เหลือ(นิโรธ)!" ดังนี้.

หน้า93
ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้นๆ ก่อนตรัสรู้


         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราย่อม จำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย. 
 
         ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วยเห็นรูป ท. ได้ด้วยข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา.

         ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่ ก็จำ แสงสว่างได้ด้วย เห็นรูป ท.ได้ด้วย แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ร่วม ไม่ได้เจรจาร่วม ไม่ได้โต้ตอบ ร่วมกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นๆ. 

          ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น ก็ได้ด้วย ตลอดถึงการโต้ตอบร่วมกับเทวดา ท.เหล่านั้นๆ ก็ได้ด้วย. ข้อนั้น จักเป็นญาณ ทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งของเรา. 

          ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็... โต้ตอบกับเทวดา ท.เหล่านั้นๆได้ด้วย แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ มาจากเทพ นิกายไหนๆ.

          ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น ก็ได้ด้วย  ตลอดถึงการรู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายนั้นๆ ด้วยแล้ว   ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเรา

          ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็... รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ มาจากเทพ นิกายนั้น ๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้น ๆ  ด้วยวิบากแห่งกรรมอย่างไหน. 

          ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดจนถึงรู้ได้ด้วยว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติ  ในโลกนั้นได้ด้วย วิบาก ของกรรมอย่างนี้ๆแล้ว ข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ ยิ่งขึ้น ของเรา.

          ภิกษุ ท.! โดยสมัย อื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ ก็...รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ ด้วยวิบากของกรรม อย่างนี้ๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มีอาหารอย่างนี้ๆมีปรกติเสวยสุข และทุกข์ อย่างนี้ๆ.. เทวดาเหล่านี้ๆ มีอายุยืนเท่านี้ๆ ตั้งอยู่ได้นาน เท่านี้ๆ  ...เราเองเคยอยู่ ร่วมกับเทวดา ท. เหล่านี้ หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ.   

          ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่  ก็...รู้ได้ตลอดถึงข้อว่า เราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท.เหล่านี้ๆ หรือไม่ แล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่ ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมี ปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรา ยังไม่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อม ทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

          ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมีปริวัฏฏ์แปด อย่างของเรา บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้วเมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์. 

          ก็แหละ ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเรา ไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไปดังนี้.


หน้า95
ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้


         พราหมณ์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ อยู่ มีความรู้สึกว่า เสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว เป็นเสนาสนะยากที่จะ เสพได้ ความสงัดยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเป็น ประหนึ่งว่า นำไปเสียแล้วซึ่งใจแห่งภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ. 

          พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มี กรรมทางกาย ไม่บริสุทธิ์   เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่ เพราะโทษคือกรรมทางกาย อันไม่ บริสุทธิ์ของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาด และความกลัวอย่างอกุศล. 

          ส่วนเราเอง หาได้เป็นผู้มีกรรมทางกายอันไม่บริสุทธิ์ แล้วเสพเสนาสนะสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีกรรมทางกายอัน บริสุทธิ์.ในบรรดาพระอริยเจ้า ทั้งหลายผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์  และ เสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยว  เราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้า เหล่านั้น.

          พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์ในตนอยู่ จึงถึงความมีขนอันตกสนิทแล้ว (ไม่ขนพอง) อยู่ในป่าได้.

          พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด  มี วจีกรรม ไม่บริสุทธิ์. ....      มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์ ....มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ....มีอภิชฌามาก มีความกำหนัด    แก่กล้าในกามทั้งหลาย ....มีจิตพยาบาทมีดำริชั่วในใจ ....มีถีนมิทธะกลุ้มรุมจิต  .... มีจิตฟุ้ง ขึ้นไม่สงบ ....มีความระแวง  มีความสงสัย ....เป็นผู้ยกตนข่มท่าน     .... เป็นผู้มักหวาดเสียว  มีชาติแห่งคนขลาด ....มีความปรารถนาเต็มที่ในลาภ สักการะและสรรเสริญ ...เป็นคนเกียจคร้าน  มีความเพียรเลวทราม ...เป็นผู้   ละสติปราศจาก สัมปชัญญะ ...มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ...มีปัญญาเสื่อม ทราม เป็นคนพูดบ้าน้ำลาย .(อย่างหนึ่งๆ) ...เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและ      ป่าเปลี่ยวอยู่; เพราะโทษ (อย่างหนึ่งๆ) นั้นของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้นย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาด และความกลัวอย่างอกุศล.

          ส่วนเราเองหา ได้เป็นผู้ (ประกอบด้วยโทษนั้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง) มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ (เป็นต้น) ไม่ เราเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (และปราศจากโทษ เหล่านั้น ทุกอย่าง). ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) และ เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวเราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่ง ในพระอริยเจ้า เหล่านั้น. 

          พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) ใน ตนอยู่จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกสนิทแล้ว แลอยู่ในป่าได้. 

          พราหมณ์ ! ความตกลงใจอันนี้ได้มีแก่เราว่า ถ้ากระไรในราตรีอันกำหนด ได้แล้วว่า เป็นวัน ๑๔ ๑๕ และ ๘ ค่ำ แห่งปักข์ สวนอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าอันถือ กันว่าศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้อันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เหล่าใดเป็นที่น่าพึงกลัวเป็นที่ ชูชัน แห่งโลมชาติ เราพึงอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นเถิด บางที เราอาจเห็นตัวความขลาด และความกลัวได้. 

          พราหมณ์ ! เราได้อยู่ในเสนาสนะ เช่นนั้น ในวันอันกำหนดนั้นแล้ว. 
          พราหมณ์ ! เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น สัตว์ป่าแอบเข้ามาหรือว่านกยูง
ทำกิ่งไม้แห้งให้ตกลงมา หรือว่าลมพัดหยากเยื่อใบไม้ให้ตกลงมา ความตกใจกลัว ได้เกิดแก่เราว่า นั่นความกลัวและความขลาดมาหาเราเป็นแน่. ความคิดค้นได้มีแก่เรา ว่า ทำไมหนอ เราจึงเป็นผู้พะวงแต่ในความหวาดกลัว  ถ้าอย่างไร เราจะหักห้าม ความขลาดกลัวนั้น ๆ เสีย โดยอิริยาบถที่ความขลาดกลัวนั้น ๆ มาสู่เรา. 

          พราหมณ์ ! เมื่อเราจงกรมอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืนจงกรม แก้ความ ขลาด นั้นตลอดเวลานั้น เราไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอน. 
          เมื่อเรายืนอยู่ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืนยืนแก้ความขลาด นั้น ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอน. 
          เมื่อเรานั่งอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน นั่งแก้ความขลาด นั่น ตลอดเวลา นั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นอน.
          พราหมณ์ ! เมื่อเรานอนอยู่ ความขลาดเกิดมีมา เราก็ขืน นอนแก้ความขลาด นั้น. ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นั่งเลย


หน้า97
ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราได้อบรมทําให้มากแล้วซึ่งธรรมห้าอย่าง.

          ธรรมห้าอย่างอะไรบ้าง?  ธรรมห้า อย่างคือ เราได้อบรม อิทธิบาท อันประกอบ พร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ...วิริยะ...จิตตะ... วิมังสาเป็นปธานกิจ และ ความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า. 

          ภิกษุ ท.! เพราะความที่เราได้อบรมทำให้มากในธรรม มีความเพียร มีประมาณ โดยยิ่งเป็นที่ห้า เราได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อธรรมใด ๆ ซึ่งควรทำให้แจ้ง โดยปัญญา อันยิ่ง เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ในธรรมนั้นๆ เราได้ ถึงแล้วซึ่ง ความ สามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่. 

          ภิกษุ ท.! ถ้าเราหวังว่า เราพึงมี อิทธิวิธีมีประการต่างๆ ผู้เดียว แปลงรูปเป็น หลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทําที่กําบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้ง ให้เป็นที่กำบัง ไปได้ ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝาทะลุกําแพง ทะลุภูเขา ดุจไปใน  อากาศว่างๆ ผุดขึ้นและ ดําลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ำ เดินได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบน แผ่นดิน ไปได้ใน อากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลําดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ และแสดงอํานาจ ทางกาย เป็นไปตลอดถึง พรหมโลกได้ ดังนี้ก็ตาม ในอิทธิวิธีนั้น ๆ เราก็ถึงแล้ว ซึ่งความสามารถทําได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่. 

          ภิกษุ ท. ! หรือถ้าเราหวังว่า  เราพึงทําให้แจ้งซึ่ง...ฯลฯ...เจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะหมดอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม นี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้ก็ตาม. ในวิชชานั้น ๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทําได้ จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่