เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  11 of 11 ออกไปหน้าแรกพุทธประวัติ
  สารบาญ ภาค ๖ (ภาคสุดท้าย)    

  สารบาญ ภาค ๖ (ภาคสุดท้าย)

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  เรื่องการบาเพ็ญบารมีในอดีตชาติ(หัวข้อ) 580     ครั้งมีพระชาติเป็นรถการ ช่างทารถ 600
  การบาเพ็ญบารมีในอดีตชาติซึ่งเต็มไปด้วยทิฎฐานุคติ 581     ครั้งมีพระชาติเป็นอกิตติดาบส 603
  ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจจ์ 582     ครั้งมีพระชาติเป็นพระจันทกุมารp580 604
  ที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ 584     ครั้งมีพระชาติเป็นสังขพราหมณ์ 604-1
  เคยทรงบังเกิดเป็นมหาพรหม สักกะ ฯลฯ 588     ครั้งมีพระชาติเป็นเวลามพราหมณ์๓ 605-1
  ครั้งมีพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ๑ 588-1     ครั้งมีพระชาติเป็นพระเวสสันดร๑ 607
  ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์ 591     ครั้งมีพระชาติเป็นมาตังคชฎิล 611
  ครั้งมีพระชาติเป็นปุโรหิตสอนการบูชายัญญ์๑ 594     ครั้งมีพระชาติเป็นจูฬโพธิ 611-1
  ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามฆเทวราช 596     ครั้งมีพระชาติเป็นเจ้าชายยุธัญชยะ 612
  ครั้งมีพระชาติเป็นมหาโควินทพราหมณ์ 599     ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์ 613
      จบพุทธประวัติจากพระโอษฐ์  
         
 




ภาค ๖ (ภาคสุดท้าย)

หน้า 580 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
เรื่องการบาเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
ซึ่งเต็มไปด้วยทิฎฐานุคติอันสาวกในภายหลังพึงดำเนินตาม



มีเรื่อง:- ต้องท่องเที่ยวมาแล้วเพราะไม่รู้อริยสัจจ ตลอดวัฎฎสงสาร ของพระองค์ ไม่เคย ทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส ในวัฎฎสงสารที่ล่วงมาแล้วเคยทรงบูชายัญญ์ และบำเรอไฟแล้วอย่างมาก

ทิฎฐานุคติแห่งความดีที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ
เคยทรงบังเกิดเป็นมหาพรหม สักกะ ฯลฯ

ครั้งมีพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ
ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์
ครั้งมีพระชาติเป็นปุโรหิตสอนการบูชายัญญ์
ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามฆเทวราช
ครั้งมีพระชาติเป็นมหาโควินทพราหมณ์

ครั้งมีพระชาติเป็นรถการช่างทำรถ
ครั้งมีพระชาติเป็นอกิตติดาบส
ครั้งมีพระชาติเป็นพระจันทกุมาร
ครั้งมีพระชาติเป็นสังขพราหมณ์
ครั้งมี พระชาติเป็นเวลามพราหมณ์

ครั้งมีพระชาติเป็นพระเวสสันดร
ครั้งมีพระชาติเป็นมาตัวคชฎิล
ครั้งมีพระชาติเป็นจูฬโพธิ
ครั้งมีพระชาติเป็นเจ้าชายยุธัญชยะ
ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์.


ภาค ๖

581
เรื่องการบาเพ็ญบารมีในอดีตชาติ

ซึ่งเต็มไปด้วยทิฎฐานุคติอันสาวกในภายหลังพึงดาเนินตาม.


คำชี้แจงเฉพาะภาคนี้

เรื่องราวที่กล่าวถึงพระชาติในอดีตของพระองค์ ซึ่งข้าพเจ้าประมวลมาไว้ในภาคนี้ นั้นเลือกเก็บ แต่เรื่องที่มีในคัมภีร์ ชั้นบาลีพระไตรปิฎก เว้นเรื่องจำพวกที่เราเรียกกันว่า "ชาดก" และ อรรถกถา เสีย จึงได้มาไม่กี่เรื่อง. สำหรับท้องเรื่อง ชาดก (อรรถกถา ชาดก) ที่มีตอนประชุมกลับชาติเป็น พระพุทธภาษิต ดังที่เราเคยอ่านกันทั่วไปนั้น ไม่มีในบาลี จึงมิได้ นำเรื่องประเภทนี้มารวบรวมไว้ ด้วย และมีมากมายจนเหลือ ที่จะรวบรวมมา.

อนึ่ง เฉพาะคัมภีร์บาลีจริยาปิฎก ซึ่งมีอยู่ ๓๕ เรื่องนั้น ได้ประมวลมาไว้ในที่นี้เพียง ๘ เรื่อง เลือกเอาเฉพาะแปลกกัน และจัดไว้ตอนปลายของภาคอีกพวกหนึ่ง นอกจาก เรื่องมหาสุทัศนจริยา ซึ่งใส่ไว้ตอนกลาง.

ประการหนึ่ง การที่นำเรื่องบุรพชาติของพระองค์มากล่าวไว้ในเรื่อง "พุทธประวัติจาก พระโอษฐ์" นี้ มีความมุ่งหมาย ให้ผู้อ่าน กำหนดพิจารณาให้เห็นพระพุทธจริยา ที่เรียกกันว่าการสร้างบารมี หรือ สั่งสมความดีของพระองค์ เพื่อถือเอา เป็นทิฎฐานุคติ เครื่องดำเนินตาม มิได้มุ่งเล่านิยาย เพราะหนังสือเล่มนี้มุ่งกล่าวหนักไปทางธรรม แทนการกล่าว หนักไปทางนิยายหรือ ตำนานดั่งที่เคย ปรารภมาแล้วข้างต้น เท่านั้น.
--ผู้รวบรวม.


582
ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจจ์

ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจจ์สี่อย่าง เราแหละพวกเธอทั้งหลาย จึงท่องเที่ยวไปแล้วในวัฎฎสงสาร ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจจ์สี่อย่างเหล่าไหนเล่า?

สี่อย่างคือ อริยสัจจ์คือทุกข์ อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์อริยสัจจ์คือ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ อริยสัจจ์คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ท.! เพราะ ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจจ์สี่ประการเหล่านี้แล เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้ว ในสังสารวัฏตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ...ฯลฯ...
(ในบาลีแห่งอื่น กล่าวอริยธรรมสี่ คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยป๎ญญา อริยวิมุตติแทน ที่อริยสัจจ์สี่ ข้างบนนี้. -มหา. ที. ๑๐/๑๔๒/๑๐๙
). ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์ ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส๒


สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า "ความบริสุทธิ์มีได้เพราะ การท่องเที่ยว ในสังสารวัฏ". สารีบุตร ! ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวมาแล้ว แต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนาน นั้นหาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่ในหมู่เทพ ชั้น สุทธาวาส.

สารีบุตร ! ถ้าเราท่องเที่ยวไปในหมู่เทพเหล่าสุทธาวาส ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย. (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).
________________________________________________________
๑. บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โกฏิคาม แคว้นวัชชี.
๒. บาลี มหาสีหนาทสูตร มู.ม. ๑๒/๑๖๒/๑๘๗. ตรัสแก่พระสารีบุตร ที่วนสัณฑ์ ใกล้กรุง
เวสาลี.

________________________________________________________

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า "ความบริสุทธิ์มีได้เพราะ การอุบัติ (บังเกิด)". สารีบุตร! ก็การบังเกิดที่เราไม่เคยบังเกิดมาแล้วแต่หลัง ตลอดกาลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่การ บังเกิดในหมู่เทพชั้น สุทธาวาส. สารีบุตร ! ถ้าเราบังเกิดใน หมู่เทพชั้นสุทธาวาส ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ ได้เลย (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น).

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า "ความบริสุทธิ์มีได้เพราะ ภพเป็น ที่อยู่อาศัย". สารีบุตร ! ก็ภพที่เราไม่เคยอยู่อาศัยมาแล้วแต่หลังตลอดกา ลยืดยาวนานนั้น หาได้ไม่ง่ายเลย เว้นเสียแต่การอยู่อาศัย ในหมู่ เทพชั้นสุทธาวาส. สารีบุตร ! ถ้าเราอยู่อาศัยใน หมู่เทพชั้น สุทธาวาส ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้ได้เลย. (ย่อมปรินิพพานในภพนั้น). ในวัฎฎสงสารที่ล่วงมาแล้วเคยทรงบูชายัญญ์ และ บำเรอไฟแล้วอย่างมาก๑

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า "ความบริสุทธิ์มีได้ เพราะการบูชายัญญ์". สารีบุตร ! ก็ยัญญ์ที่เรายังไม่เคยบูชามาแล้วแต่หลังตลอดการ ท่องเที่ยวอันยืดยาวนาน เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นกษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกบ้าง เป็น พราหมณ์มหาศาลบ้าง นั้น หาได้ไม่ง่ายเลย.

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำมีความเห็นว่า "ความบริสุทธิ์มีได้ เพราะ การบำเรอไฟ". สารีบุตร. ก็ไฟที่เรายังไม่เคยบูชามาแล้วแต่หลัง ตลอดการท่องเที่ยว อันยืดยาวนาน เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกบ้าง เป็นพราหมณ์ มหาศาล บ้าง นั้น หาได้ไม่ง่ายเลย. ทิฎฐานุคติแห่งความดี


584
ที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ
---------------------------------------------------------------------------
๑. บาลี ลักขณสูตร ปา. ที. ๑๑/๑๕๙/๑๓๑. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถี.
---------------------------------------------------------------------------

ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่น ในกุศล ถือมั่นในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตในการบริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การปฏิบัติมารดาบิดา การปฏิบัติ สมณพราหมณ์ การอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล และใน อธิกุศลธรรม อย่างอื่นๆ. เพราะได้กระทำ ได้สั่งสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้นๆ ไว้ภายหลังแต่ การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็น ผู้นำสุขมา สู่มหาชน เป็นผู้บรรเทาภัยคือความสะดุ้งหวาดเสียว จัดการ คุ้มครอง รักษาโดยธรรม ได้อวยทางพร้อมทั้งบริวารฯ. ...

ได้เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต วางเสียซึ่งศาสตรา และอาชญา มีความละอาย เอ็นดู กรุณาเกื้อกูล แก่ สัตว์มีชีวิตทั้งปวงฯ. ...ได้เป็นผู้ให้ทานด้วยของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้มควรจิบควรดื่ม อันมีรสประณีตฯ. ...

ได้สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการสงเคราะห์ทั้งสี่คือการให้สิ่งของ วาจาที่ไพเราะ การประพฤติ ประโยชน์ ท่าน และความวาง ตนเสมอกันฯ. ...

ได้เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถ ด้วยธรรม แนะนำชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำ ประโยชน์สุข มาสู่ชนทั้งหลาย ตนเอง ก็เป็นผู้บูชาธรรม.เพราะได้กระทำ ได้สั่งสม พอกพูน มั่วสุมกุศลกรรมนั้น ๆ ไว้ ภายหลังแต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์.

ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้สอนศิลป วิทยาการ ข้อปฏิบัติ และลัทธิกรรม ด้วยความเคารพด้วยหวังว่า ด้วยสัตว์เหล่านั้น พึงรู้ได้รวดเร็ว พึงปฏิบัติได้รวดเร็ว ไม่พึงโศกเศร้าสิ้น กาลนานฯ. ...

ได้เป็นผู้เข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า `ท่านผู้เจริญ !อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไร ไม่มีโทษ อะไรควรเสพอะไรไม่ควรเสพ ทำอย่างใด ไม่มีประโยชน์ เป็นทุกข์ไปนาน ทำอย่างใดมีประโยชน์เป็นสุข ไปนาน'ฯ. ...

ได้เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้น แม้ชนเป็นอันมากว่ากล่าวเอา ก็ไม่เอาใจใส่ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่คุมแค้น ไม่แสดงความโกรธความร้ายกาจ ความเสียใจให้ปรากฏ. ทั้งเป็นผู้ให้ทาน ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำหรับลาดและนุ่งห่ม อันมีเนื้อละเอียด ฯลฯ.

ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้สมาน ญาติมิตร สหายชาว เกลอ ผู้เหิดห่างแยกกันไปนานได้สมานไมตรี ระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่น้องชายกับพี่น้อง หญิง พี่น้องหญิงกับพี่น้องชาย ครั้นทำความสามัคคีได้แล้วก็พลอยชื่นชมยินดีด้วยฯ. ...

ได้เป็นผู้สังเกตชั้นเชิงของมหาชน รู้ได้สม่ำเสมอรู้ได้เอง รู้จักบุรุษธรรมดา รู้จักบุรุษ พิเศษ ว่าผู้นี้ ๆ ควรแก่สิ่งนี้ ๆ; ได้เป็นผู้ทำประโยชน์อย่างพิเศษ ให้แก่ชนเหล่านั้นฯ. ... ได้เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ต่อความเกื้อกูล ความผาสุก ความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็น อันมากว่าไฉนหนอ ชนเหล่านี้ พึงเจริญด้วยศรัทธา ศีล การศึกษา ความรู้ วามเผื่อแผ่ ธรรม ป๎ญญา ทรัพย์และข้าวเปลือก นาและสวน สัตว์สองเท้าสี่เท้า บุตรภรรยา ทาสกรรมกร และด้วยญาติมิตรพวกพ้อง ฯลฯ.

ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยมือก็ตาม ด้วยก้อนดินก็ตามท่อนไม้ก็ตาม ศาสตราก็ตามฯ. ...ได้เป็นผู้ไม่ถลึงตา ไม่ค้อนควัก ไม่จ้องลับหลังเป็นผู้แช่มชื่น มองดูตรง ๆ มองดูผู้อื่นด้วยสายตาอันแสดงความรักฯ ได้เป็นหัวหน้าของชน เป็นอันมาก ในกุศลกิจทั้งหลาย ได้เป็นประธานของหมู่ชนผู้ประกอบ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการจำแนกทาน การสมาทานศีลการอยู่อุโบสถ การประพฤติ เกื้อกูลแก่ มารดาบิดาสมณพราหมณ์ การนบนอบต่อผู้เจริญในตระกูล ในอธิกุศลธรรม อย่างใด อย่างหนึ่งฯ. ...ได้เป็นผู้ละเว้นจากมุสาวาท พูดคำจริง หลั่งคำสัตย์เที่ยงแท้ ซื่อตรง ไม่หลอกลวงโลก ฯลฯ.

ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็น ผู้ ละเว้นวาจาส่อเสียด (คือพูดยุให้เขาแตกกัน) คือไม่ฟ๎งจากข้างนี้แล้วไปบอก ข้างโน้น เพื่อทำลายข้างนี้ ไม่ฟ๎งจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น แต่เป็นผู้ที่สมานพวกที่แตกกันแล้ว ให้กลับคืนดีกันและส่งเสริม พวกที่พร้อมเพรียง กันฯ. ...ได้เป็นผู้ละเว้นการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษเป็นสุขแก่หู เป็นที่ตั้งแห่งความรักซึมซาบถึงใจ เป็นคำพูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจ และชอบใจ ของชนเป็นอันมาก ฯลฯ.

ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้ละเว้นการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้กล่าวควรแก่เวลา กล่าวคำจริงกล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ กล่าวเป็นระเบียบ กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด

ประกอบด้วยประโยชน์ฯ. ...ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการ ฉ้อโกง การหลอกลวงคดโกงด้วยเครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัด เว้นจากการตัดการ ฆ่า การผูกมัด การทำร้าย การปล้น การกรรโชก ฯลฯ.


588
เคยทรงบังเกิดเป็นมหาพรหม สักกะ ฯลฯ

ภิกษุ ท. ! แต่ชาติที่แล้วมาแต่อดีต ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนาตลอด ๗ ปี จึงไม่เคยมา บังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฎฎกัปป์ และวิวัฎฎกัปป์. ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฎฎ กัปป์ นั้นเราได้บังเกิดในอาภัสสรพรหม. ในระหว่างกาล อันเป็นวิวัฎฎกัปป์นั้น เราก็ได้อยู่พรหมวิมาน อันว่างเปล่าแล้ว.

ภิกษุ ท. ! ในกัปป์นั้น เราได้เคยเป็นพรหม ได้เคยเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใคร ครอบงำได้ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด.

ภิกษุ ท. ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง. เราได้เคยเป็น ราชาจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทร ทั้งสี่เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะแล้ว อย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ ประกอบด้วยแก้วเจ็ดประการ นับด้วยร้อย ๆ ครั้ง ทำไมจะต้องกล่าวถึง ความเป็นราชาตามธรรมดาด้วย.

ภิกษุ ท. ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ที่ทำ ให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์ มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แลที่ทำให้เรา มีฤทธิ์มาก ถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ วิบากแห่งกรรม๓ อย่าง ในครั้งนั้น คือ ผลวิบากแห่ง ทาน การให้ ๑ แห่ง ทมะ การบีบบังคับใจ๑ แห่ง สัญญมะ การสำรวมระวัง ๑ ดังนี้.


588-1
ครั้งมีพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ๑

อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่เธอว่า `ผู้อื่นต่างหาก ที่เป็นโชติปาลมาณพในสมัยโน้น'. อานนท์ ! เธอไม่ควรเห็นเช่นนั้น เรานี่เองได้เป็นโชติปาลมาณพแล้วในสมัยนั้น......

อานนท์ ! ครั้งดึกดำบรรพ์ พื้นที่ตรงนี้เป็นนิคมชื่อเวภฬิคะ มั่งคั่งรุ่งเรืองมีคนมาก เกลื่อนกล่น. อานนท์ ! พระผู้มีพระภาค นามว่า กัสสปะทรงอาศัยอยู่ ณนิคมเวภฬิคะนี้ ได้ยินว่า อารามของพระองค์อยู่ตรงนี้เองท่านประทับนั่งกล่าวสอนหมู่สาวก ตรงนี้.

อานนท์ ! ในนิคมเวภฬิคะ มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เป็นอุป๎ฎฐากอันเลิศของพระผู้มี พระภาค กัสสปะ นั้น. ฆฏิการะมีสหายรักชื่อโชติปาละ.

อานนท์ ! ครั้งนั้นฆฏิการะเรียกโชติปาลมาณพผู้สหายมาแล้วกล่าวว่า "เพื่อนโชติ ปาละ!มา เราไปด้วยกัน เราจักไปเฝูาพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสปะ. การเห็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้านั้น บัณฑิตลงเห็นพร้อมกันว่า ดี"."อย่าเลย เพื่อน ฆฏิการะ ! มีประโยชน์อะไรด้วยการ เห็น สมณะหัวโล้น".

"เพื่อนโชติปาละ ! ไปด้วยกันเถอะ ฯลฯ การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นบัณฑิต ลงเห็นพร้อมกัน ว่า ดี".

"อย่าเลย เพื่อฆฏิการะ ! มีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นสมณะหัวโล้น". (โต้กันดั่งนี้ ถึงสามครั้ง).

"ถ้าเช่นนั้น เราเอาเครื่องขัดถูร่างกายไปอาบน้ำที่แม้น้ำกันเถอะ เพื่อน ! "อานนท์ ! ครั้งนั้น ฆฏิการะและโชติปาลมาณพได้ถือเครื่องขัดสีตัวไปอาบน้ำที่แม่น้ำด้วยกันแล้ว ฆฏิการะได้กล่าว กะโชติปาลมาณพอีกว่า "เพื่อนโชติปาละ ! นี่เอง วิหารแห่งพระผู้มี พระภาคเจ้ากัสสปะ อยู่ไม่ไกล เลย ไปเถอะเพื่อน ! เราจะไปเฝูาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยกัน การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัณฑิตลงเห็นพร้อมกันว่า ดี".

"อย่าเลยเพื่อน ฆฏิการะ ! มีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นสมณะหัวโล้นนั้น". (โต้กัน ดังนี้อีกถึง ๓ ครั้ง).

อานนท์ ! ฆฏิการะ ได้เหนี่ยวโชติปาลมาณพที่ชายพก แล้วกล่าวว่า"เพื่อนโชติปาละ ! ตรงนี้เอง วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ไกลเลย.ไปเถอะเพื่อน เราจักไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกัน การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตลงเห็นพร้อมกันว่า ดี".

อานนท์ ! ครั้งนั้นโชติปาละ พยายามโดยวิธีที่ฆฏิการะต้องปล่อยชายพกนั้นได้แล้ว กล่าวว่า "อย่าเลยเพื่อน ฆฏิการะ ! ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นสมณะหัวโล้น." อานนท์ ! ลำดับนั้น ฆฏิการะ เหลี่ยวโชติปาลมาณพ ผู้อาบน้ำสระเกล้า เรียบร้อยแล้ว เข้าที่มวยผมแล้ว กล่าวดั่งนั้นอีก.

อานนท์ ! โชติปาลมาณพ เกิดความคิดขึ้นภายในใจว่า "น่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคย มีเลยท่าน คือข้อที่ฆฏิการะ ช่างหม้อมีชาติอันต่ำ มาอาจเอื้อมจับเราที่มวยผม ของเรา เรื่องนี้เห็นจักไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเสียแล้วหนอ." ดังนี้จึง กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อ

"เพื่อนฆฏิการะ ! นี่จะเอาเป็นเอาตายกันเจียวหรือ?" "เอาเป็นเอาตายกันทีเดียว เพื่อนโชติปาละ ! เพราะการเห็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการดีจริง ๆ."

"เพื่อนฆฏิการะ ! ถ้าเช่นนั้น ก็จงปล่อย เราจักไปด้วยกันละ".อานนท์ ! ลำดับนั้น ฆฏิการะและ โชติปาลมาณพ ได้เข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาคกัสสปะถึงที่ประทับ. ฆฏิการะผู้เดียว ถวายอภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควร; ส่วนโชติปาล มาณพ ได้ทำความ คุ้นเคยชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ นั่งอยู่แล้ว.ฆฏิการะได้ทูลพระผู้มีพระภาค เจ้า กัสสปะว่า "พระองค์ผู้เจริญ ! นี่คือโชติปาลมาณพสหายรักของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงธรรม แก่เขาเถิด".

อานนท์ ! พระผู้มีพระภาคกัสสปะ ได้ทำให้ฆฏิการะและโชติปาละเห็นจริงถือเอา อาจหาญและ ร่าเริง เป็นอย่างดี ด้วยธรรมิกถาแล้ว. ทั้งสองคนเพลิดเพลิน ปราโมทย์ ต่อภาษิตของพระองค์ บันเทิงจิต ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณ แล้วจึงหลีกไป.

อานนท์ ! ลำดับนั้น โชติปาลมาณพได้กล่าวถามกะฆฏิการะว่า "เพื่อนฆฏิการะ ! เพื่อนก็ฟ๎งธรรม นี้อยู่ ทำไมจึงยังไม่ บวชออกจากเรือน เป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ด้วยเรือน เล่า?" "เพื่อนไม่เห็นหรือ เพื่อนโชติปาละ ! ฉันต้องเลี้ยงมารดา บิดา ผู้แก่ และตาบอดอยู่"."เพื่อนฆฏิการะ ! ถ้าเช่นนั้น ฉันจักบวช ออกจากเรือนไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือนละ".

อานนท์ ! ครั้งนั้น เขาทั้งสองได้เข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาคกัสสปะอีก. ฆฏิการะ กราบทูลว่า "พระองค์ผู้เจริญ ! โชติปาละสหายรักของข้าพระพุทธเจ้า นี่แลประสงค์ จะบวช ขอพระองค์จงให้ เขาบวชเถิด".

อานนท์ ! โชติปาลมาณพ ได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาค กัสสปะแล้ว ราวกึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคกัสสปะ ก็เสด็จจาริกไปยังเมืองพาราณสี. ...ฯลฯ...

อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่เธอว่า "คนอื่นต่างหากที่เป็นโชติปาลมาณพในสมัยโน้น".
อานนท์ ! เธอไม่ควรคิดไปอย่างนั้น เรานี่เอง เป็นโชติปาลมาณพแล้วในสมัยโน้น.


591
ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์


ในกาลใด เราเป็นพระเจ้าแผ่นดินในนครชื่อกุสาวดี มีนามว่ามหาสุทัศน์ผู้เป็นจักรพรรดิ มีกำลังมาก. ในกาลนั้น เราจัดให้มีการปุาวร้องในที่ทั่วไป วันละสามครั้ง.

`ใครปรารถนาอะไร ใครประสงค์สิ่งใด ใครควรได้ทรัพย์เช่นไร ใครหิว ใครกระวน กระวาย ใครต้องการมาลา ใครต้องการเครื่องลูบทา. ผ้าย้อมแล้วด้วยสีต่าง ๆ กัน ใครไร้ผ้าจงนุ่งห่ม. ใครจะเดินทางจงเอาร่มไปเอารองเท้างาม ๆ นิ่ม ๆ ไป'.

เราให้ปุาวร้องเช่นนี้ ทั้งเช้าและเย็นทุก ๆ แห่ง. ทรัพย์ ที่เตรียมไว้สำหรับยาจก ไม่ใช่สิบแห่ง หรือร้อยแห่ง แต่ตั้งหลายร้อยแห่ง. จะเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ถ้ายาจกมาเมื่อใด เป็นได้สิ่งของตามที่เขา ปรารถนาเต็มมือ กลับไปเสมอ.

เราให้ทานอันใหญ่หลวงเช่นนี้ จนตลอดชีวิต และใช่ว่าจะให้ทานด้วยทรัพย์ ส่วนที่เรา เกลียดไม่ชอบ ก็หาไม่ การสะสมทรัพย์จะมีในเราก็หาไม่.

ผู้ปุวยกระสับกระส่าย ใคร่จะพ้นไปจากโรค ให้ขวัญข้าวแก่หมอจนเป็นที่พอใจแล้ว ย่อมหาย จากโรคได้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เรามุ่งแต่จะทำให้เต็มเปี่ยม ให้ทานแก่ยาจก ก็เพื่อทำใจที่ยังพร่องอยู่ ให้เต็ม ไม่อาลัยทรัพย์ไม่เกาะเกี่ยว ในทรัพย์ก็เพื่อการลุถึง โดยลำดับ ซึ่งป๎ญญาอันเป็นเครื่องรู้ พร้อม.

อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่เธอว่า `ผู้อื่นต่างหาก ที่เป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์ ในสมัย โน้น'.

อานนท์ ! เธอไม่ควรเห็นเช่นนั้น เรานี่เองเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์แล้วในสมัยนั้น. นครจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีราชธานีกุสาวดีเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา.

ปราสาทจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีปราสาทชื่อธรรมปราสาทเป็นประมุข เหล่านั้นเป็น ของเรา.

เรือนยอด จำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีเรือนยอดชื่อมหาวิยูหะเป็นประมุข เหล่านั้นเป็น ของเรา.

บัลลังก์ จำนวนแปดหมื่นสี่พัน ทำด้วยทองทำ ด้วยเงิน ทำด้วยงา ทำด้วยแก้วลาย ลาดด้วยขนเจียมลาดด้วยสักหลาด ฯลฯ เหล่านั้นเป็นของเรา.

ช้าง จำนวนแปดหมื่นสี่พันประดับด้วยเครื่องทอง ฯลฯ มีพญาช้างตระกูลอุโบสถ เป็น ประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

ม้า จำนวนแปดหมื่นสี่พัน ประดับด้วยเครื่องทอง ฯลฯ มีพญาม้าตระกูลวลาหกเป็น ประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

รถ จำนวนแปดหมื่นสี่พัน หุ้มบุด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง ฯลฯ มีเวชยัตรถเป็น ประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

มณี แปดหมื่นสี่พัน มีแก้วมณีรัตนะเป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

หญิง แปดหมื่นสี่พันมีนางสุภัททาเทวีเป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

คหบดี แปดหมื่นสี่พันมีคหปติรัตนะเป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

กษัตริย์ แปดหมื่นสี่พัน ผู้คอยแวดล้อมประดับ เกียรติมีปริณายกรัตนะเป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

โคนม แปดหมื่นสี่พัน กำลังมีนมไหลรูดรองได้ เหล่านั้นเป็น ของเรา.

ผ้า แปดหมื่นสี่พันโกฎิ คือผ้าปุานอันละเอียดอ่อน ผ้าฝูายอันละเอียดอ่อน ฯลฯ เหล่านั้นเป็นของเรา.

ถาดตกแต่งอาหาร แปดหมื่นสี่พัน อันคนเชิญเครื่องเชิญทั้งเช้าและเย็นเหล่านั้น เป็นของเรา.
------------------------------------------------------------------------------------
๑. มหาสุทัสสนสูตร มหา. ที. ๑๐/๒๒๕/๑๘๕ ตรัสแก่พระอานนท์ที่ปุาสาละ ใกล้นครกุสินารา อันเป็นที่พระอานนท์ทูลว่า เป็นเมืองกิ่งเมืองดอน ไม่ควรปรินิพพาน.
๒. คำว่าแปดหมื่นสี่พัน เป็นสำนวนภาษาบาลีที่ใช้กับของที่มากที่สุด ที่คนเรา ยกย่องกัน.

------------------------------------------------------------------------------------
(ข้อความต่อไปจากนี้ มีการกล่าวระบุสิ่งเลิศเพียงสิ่งเดียวตัวเดียว หลังเดียวนครเดียว ...ฯลฯ... ถาดเดียว ที่ทรงบริโภคใช้สอยอยู่เป็นประจำ ในบรรดาแต่ละสิ่ง ซึ่งมีอยู่เป็น จำนวนถึงแปดหมื่นสี่พัน. รายละเอียดมีอยู่มากเกินไปจึงไม่ยกมาใส่ไว้ในที่นี้ ตามตัว อักษรที่มีอยู่).

อานนท์ ! จงดูเถิด สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมดได้ล่วงไปแล้วดับหายไปแล้ว แปรปรวนไป สิ้นแล้ว. อานนท์! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง เช่นนี้เอง เป็นของไม่ยั่งยืน เช่นนี้เอง เป็นของไม่มีเจ้าของ อย่างนี้เอง.

อานนท์ ! เพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว พอเพื่อจะหน่ายในสังขารทั้งหลาย พอเพื่อคลาย กำหนัดพอ เพื่อหลุดพ้นไปจาก. อานนท์ ! เรารู้ที่ที่เป็นหลุมฝ๎งเรา เขาฝ๎งสรีระของเรา ไว้ ณ ที่นี้ การทอดทิ้ง ร่างเหนือแผ่นดินครั้งนี้ เป็นครั้งที่ ๗ ของเราในชาติที่เป็น พระราชาชั้นจักรพรรดิ.


594
ครั้งมีพระชาติเป็นปุโรหิตสอนการบูชายัญญ์๑

พราหมณ์ ! ในสมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้ปุโรหิต ผู้สั่งงานบูชายัญญ์ ของพระเจ้ามหา วิชิตราช.

พราหมณ์ ! เรื่องมีแล้วในกาลก่อน. พระเจ้ามหาวิชิตราช เป็นราชาผู้มั่งคั่ง มีทรัยพ์ สมบัติมาก มีทองและเงินเหลือเฟือ มีอุปกรณ์ของทรัพย์เหลือเฟือมีทรัพย์ และ ข้าวเปลือก เหลือเฟือ มียุ้งฉางเต็มล้น.

วันหนึ่งประทับอยู่ ณ ที่สงัดเกิดพระดำริว่า `เราได้เสวยมนุษยสมบัติอันวิบูล ครอบครองปฐพี มณฑลอันใหญ่ยิ่ง ถ้ากระไร เราควรบูชามหายัญญ์ อันจะเป็น ประโยชน์เกื้อกูล ละความสุขแก่เรา สิ้นกาลนาน' รับสั่งให้หาพราหมณ์ ปุโรหิตมาบอก พระดำรินี้แล้ว ขอให้บอกสอนวิธีการบูชายัญญ์.

พราหมณ์ ! ปุโรหิตได้ทูลสนองพระดำรัสนั้นว่า `แว่นแคว้นของพระองค์ ยังมีเสี้ยน หนาม หลักตอ การปล้นฆ่าใน หมู่บ้านก็ยังปรากฏ การปล้นฆ่าในจังหวัด ก็ยังปรากฏ. การปล้นฆ่าในนครก็ยัง ปรากฏ การแย่งชิงตามระยะหนทาง ก็ยังปรากฏ.

และถ้าพระองค์จะให้เลิกเก็บส่วย ในขณะที่แว่นแคว้นเป็นไปด้วยเสี้ยนหนามหลักตอ เช่นนี้ ก็จะได้ชื่อว่าทำกิจ ไม่ควรทำ. อีกประการหนึ่ง พระองค์อาจทรงพระดำริว่า เราจักถอนหลักตอ คือโจรผู้ร้ายเสียได้ด้วยการประหาร การจองจำ การริบการประจาน หรือการเนรเทศดังนี้ ข้อนี้

ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการกำจัดได้ราบคาบด้วยดี เพราะผู้ที่ยังเหลือจากการถูกประหาร ก็ยังมีชนพวกนี้ จะเบียดเบียนชนบท ของพระองค์ในภายหลัง. แต่ว่ามีอุบายที่จะถอน หลักตอเหล่านั้น ให้ ราบคาบด้วยดีได้ คือ ชนเหล่าใดบากบั่น เลี้ยง โคเพื่อกสิกรรม พระองค์จงประทานพืชพันธุ์ ข้าวแก่ชนเหล่านั้น.

ชนเหล่าใดบากบั่นในวาณิชยกรรมพระองค์จงประทานเงินเพิ่มให้ชนเหล่านั้น. ชนเหล่าใด เป็นข้าราชการ ขอพระองค์ จงประทานเบี้ยเลี้ยงแก่ชนพวกนั้น. มนุษย์เหล่านั้น ต่างจะวนขวาย ในการงานของตน ไม่เบียนเบียนแว่นแคว้น ของ พระองค์ และพระคลังหลวงก็จะเพิ่มพูน มากมาย.แว่นแคว้นจะตั้งอยู่ด้วยความเกษม ปราศจากเสี้ยนหนามหลักตอ. พวกมนุษย์จะร่าเริง บันเทิง นอนชูบุตร ให้เต้นฟ้อน อยู่บนอก แม้จักไม่ปิดประตูเรือนในเวลาค่ำคืน ก็เป็นอยู่ได้'. ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

พราหมณ์ ! ครั้นชนบทนั้นสงบจากเสี้ยนหนามหลักตอแล้ว ปุโรหิตจึงกราบทูลวิธีแห่ง มหายัญญ์

(อันประกอบด้วยบริกขารสิบหก คือได้รับความยินยอมเห็นพ้องจากกษัตริย์เมืองออก จากอมาตย บริษัท จากพราหมณ์มหาศาล และจากคหบดีหาศาล นี้จัดเป็นบริกขารสี่ พระเจ้ามหาวิชิต ประกอบด้วยองคคุณ ๘ มีพระชาติอันดี มีพระรูปสง่างามเป็นต้นนี้ เป็นบริกขารอีกแปด; และปุโรหิต ประกอบด้วยองคคุณ ๔ มี ความเป็นผู้มีชาติบริสุทธิ์ และจบเวทเป็นต้น นี่เป็นบริกขารอีกสี่ รวมเป็นสิบหก และกราบทูลประการสาม แห่งยัญญ์ คือผู้บูชาต้องไม่เกิดวิปฎิสารด้วยความตระหนี่ ทั้งในขณะจะบูชา บูชาอยู่ และบูชาเสร็จแล้ว; แล้วกราบทูลเหตุไม่ควรวิปฎิสารเพราะปฎิคาหก ผู้มารับทาน ๑๐ จำพวก เช่นเป็นคนทำปาณาติบาตอทินนาทาน ฯลฯเป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดเสียพระทัยว่าคนเลว ๆ มารับทาน.) ...ฯลฯ...

พราหมณ์ ! ในการบูชายัญญ์นั้น โค แพะ แกะ ไก่ สุกร ไม่ได้ถูกฆ่า สัตว์อื่น ๆ ก็ไม่ต้องได้รับ ความวิบัติพลัดพราก ต้นไม้ก็ไม่ถูกตัดมาเพื่อหลักยัญญ์ เชื้อเพลิง ก็ไม่ถูกเกี่ยวตัดมาเพื่อการ เบียดเบียนสัตว์ใดให้ลำบาก.

พวกที่เป็นทาส เป็นคนใช้และกรรมกร ก็ไม่ต้องถูกคุกคามด้วยอาชญา และความกลัว ไม่ต้องร้องไห้ น้ำตานองหน้า พลาง ทำการงานพลาง. ใครปรารถนาจะทำก็ทำ ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องทำ ปรารถนา ทำสิ่งใด ก็ทำเฉพาะสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาทำสิ่งใด ก็ไม่ต้องทำสิ่งนั้น. ยัญญ์นั้น สำเร็จไปแล้วด้วย เนยใส น้ำมัน เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย. ...ฯลฯ...

พราหมณ์ ! เรารู้ชัดเจนอยู่ ซึ่งหมู่ชนเหล่านั้น ๆ ผู้บูชายัญญ์อย่างนี้แล้วภายหลัง แต่การตาย เพราะกายแตก ย่อม บังเกิด ณ สุคติโลกสวรรค์.พราหมณ์! ในสมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้ปุโรหิต ผู้สั่งงานบูชายัญญ์ของ พระเจ้า มหาวิชิตราช นั้น.


596
ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามฆเทวราช


อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่เธอว่า `ผู้อื่นต่างหากที่เป็นพระเจ้ามฆเทวราช ในสมัย โน้น'. อานนท์ ! เธอไม่ควรเห็นเช่นนั้น เรานี่เองได้เป็นพระเจ้ามฆเทวราชแล้ว ในสมัยนั้น...

อานนท์ ! เรื่องดึกดำบรรพ์ที่เมืองมิถิลานี้ มีพระราชานามว่า พระเจ้ามฆเทวะ เป็นธรรม ราชา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ประพฤติราชธรรม ในพราหมณ์และคหบดีทั้งในเมืองหลวง และชนบท ย่อมเข้าอยู่อุโบสถในวันที่ ๑๔ หรือ ๑๕ และวันที่ ๘แห่งป๎กษ์. พระเจ้ามฆเทวะนั้น เรียกช่างกัลบกมาแล้วสั่งว่า `เพื่อน!ท่านเห็นผมหงอกเกิดขึ้น ที่ศรีษะเราเมื่อใด ก็จงบอกเรานั้น'.

อานนท์ ! ล่วงมานับด้วยปีเป็นอันมาก ช่างกัลบกนั้นได้เห็นผมหงอกแล้วกราบทูล ให้ทรงทราบ. พระเจ้ามฆเทวะรับสั่งให้ถอนหงอกด้วยแหนบ แล้ววางใส่ฝุาพระหัตถ์ ให้ทอดพระเนตร. ครั้งทอดพระเนตรเห็นแล้ว พระราชทานบ้านส่วนเป็นบำเหน็จ แก่ช่างกัลบกนั้น.

รับสั่งให้หาพระราชบุตรองค์ใหญ่มาเฝูาแล้ว ตรัสว่า `แน่ะพ่อกุมาร ! เทวทูตปรากฏ แก่เราแล้ว : หงอกเกิดบนศรีษะแล้ว. กามอันเป็นวิสัยของมนุษย์ เราได้บริโภคเสร็จ แล้ว เดี๋ยวนี้ถึงสมัยอันควร เพื่อการแสวงกามอันเป็นทิพย์สืบไป.

มาเถอะพ่อผู้กุมาร ! เจ้าจงครองตำแหน่งพระราชานี้. ส่วนเราจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อม ฝาด ออกบวชจากเรือนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนไป. อนึ่ง ถ้าเจ้าเห็นหงอก เกิดขึ้นที่ศรีษะ ของเจ้าเมื่อใด เมื่อนั้นจงประทาน บ้านส่วยเป็นบำเหน็จแก่ช่างกัลบก แล้วชี้แจงมอบหมาย ตำแหน่ง พระราชาแก่ราชบุตรองค์ใหญ่ให้ดี แล้วจงปลงผม และหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนไปเถิด. เจ้าจงประพฤติตามกัลยาณวัตรอันนี้ ตามที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว เจ้าอย่าเป็นบุรุษ คนสุดท้ายของเรา.

กัลยาณวัตรอันนี้ ขาดตอนลงในยุคของผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนสุดท้าย แห่งบุรุษ ทั้งหลาย ผู้ประพฤติ ตามกัลยาณวัตรของเรา. แน่ะพ่อผู้กุมาร ! เราขอกล่าวถึงวัตรนั้น กะเจ้าในบัดนี้ อย่างนี้ว่าเจ้าจงประพฤติตามกัลยาณวัตรนี้ ตามที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว ขอเจ้าจงอย่าเป็นบุรุษ คนสุดท้ายของเราเลย'.

อานนท์ ! ครั้นพระเจ้ามฆเทวะ ประทานบ้านส่วนแก่ช่างกัลบกมอบหมายรัชชสมบัติ แก่พระราชบุตร องค์ใหญ่เป็นอย่างดีแล้ว ก็ปลงผมและหนวดครองผ้าย้อมฝาด บวชแล้วจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วย เรือน ในปุามฆเทวัมพวันนี้เอง.

เธอผู้บวชแล้วนั้น แผ่ความรู้สึกด้วยจิต อันประกอบด้วยเมตตาไปยังทิศที่หนึ่ง และทิศ ที่สอง ที่สาม ที่สี่ โดยอาการอย่างเดียวกัน. ด้วยเหตุนี้เป็นอันว่าเธอมีจิตประกอบด้วย เมตตา อย่างไพบูลย์ เยี่ยมยอด หาที่เปรียบมิได้ปราศจากเวรและพยาบาท แผ่ไป ทั่วโลกทั้งปวง เพราะแผ่ทั่วไปทั้งใน เบื้องบนเบื้องล่าง และเบื้องขวางโดยรอบ.

เธอนั้น มีจิตประกอบด้วยกรุณา ...มุทิตา...อุเบกขา ฯลฯ แผ่ไปทั่งโลกทั้งปวง เพราะแผ่ทั่วไป ทั้งใน เบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวางโดยรอบแล้วแลอยู่แล้ว. ...เธอบวชแล้วประพฤติ พรหมจรรย์ อยู่ในปุามฆเทวัมพวันนี้เอง.

ครั้นทำพรหมวิหารธรรมทั้งสี่ให้เจริญแล้ว ก็เข้าถึงพรหมโลก ภายหลังจากการตาย เพราะการ ทำลาย แห่งกาย. ...ฯลฯ...

อานนท์ ! เราแล ได้เป็นพระเจ้ามฆเทวะแล้วในสมัยนั้น. อนุชนที่เกิดในภายหลัง ได้ประพฤติตาม กัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้แล้ว แต่ว่า กัลยาณวัตรนั้นจะเป็นไปพร้อมเพื่อ ความหน่าย ความคลาย กาหนัด ความดับสนิท ความรางับความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน ก็หาไม่ เป็นไปเพียงเพื่อ เข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น.

อานนท์ ! ก็แต่ว่า กัลยาณวัตรที่เราบัญญัติไว้แล้วในกาลนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ ความหน่าย ความคลายกาหนัด ความดับสนิท ความรางับ ความรู้ยิ่งความรู้พร้อม และนิพพาน ได้โดยท่าเดียว. กัลยาณวัตรนั้นคือ อริยมรรคมีองค์แปด ได้แก่ ความเห็นชอบ ดาริชอบ พูดชอบ การงานชอบ ดารงชีพชอบเพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ดังนี้.


599
ครั้งมีพระชาติเป็นมหาโควินทพราหมณ์

ป๎ญจสิขะ ! เราคงยังระลึกได้อยู่ ในสมัยนั้น เราได้เป็นพราหมณ์ชื่อมหาโควินท์ เราได้ แสดงทาง ปฏิบัติเพื่อการเข้าอยู่ร่วมกับพวกพรหม ทั้งหลายแก่สาวกทั้งหลาย เหล่านั้น. แต่พรหมจรรย์นั้น หาได้เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด ความดับสนิท ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานไม่ แต่เป็นไปเพียง เพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น.

(การแสดงทางปฏิบัติแก่สาวกของมหาโควินทพราหมณ์นั้น ทราบได้จากคำของ ป๎ญจสิขคันธัพพบุตร ตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ "มหาโควินทพราหมณ์ มีจิตประกอบด้วย เมตตา แผ่จิต ไปสู่ทิศที่หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็ดุจเดียวกัน. ด้วยเหตุนี้เป็นว่า มหาโควินทพราหมณ์ มีจิตประกอบด้วยเมตตาอย่างไพบูลย์เยี่ยมยอดหาที่เปรียบมิได้ ปราศจากเวรและพยาบาทแผ่ไป ทั่วโลกทั้งปวง เพราะแผ่ทั่วไปทั้งในเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวางโดยรอบ.

มหาโควินทพราหมณ์มีจิตประกอบด้วยกรุณา ...มุทิตา ...อุเบกขา ฯลฯ แผ่ไปทั่วโลก ทั้งปวง เพราะแผ่ทั่วไปทั้งในเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวางโดยรอบแล้ว และ ชี้ทางเพื่อเข้าอยู่ร่วมกับ ชาวพรหมโลก แก่พวกสาวกทั้งหลายด้วย")


ป๎ญจสิขะ ! ก็แต่ว่า พรหมจรรย์ของเราในบัดนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลาย กำหนัด ความดับสนิท ความรำงับ ความรู้ยิ่งความรู้พร้อมและนิพพาน โดยท่าเดียว. พรหมจรรย์นั้น คือ อริยมรรคมีองค์แปดได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ พูดชอบ การงานชอบ ดำรงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบตั้งใจมั่นชอบ ดังนี้.


600
ครั้งมีพระชาติเป็นรถการ ช่างทารถ

ภิกษุ ท.! ในกาลดึกดำบรรพ์ ยังมีพระราชาทรงพระนามว่าปเจตนะ. ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะ ตรัส เรียกช่างทำรถมารับสั่งว่า "นี่แน่ะสหายรถการ ! นับแต่นี้ล่วงไป อีก ๖ เดือน สงครามจักมีแก่เรา. เจ้าอาจทำล้อรถใหม่คู่หนึ่งให้เราได้หรือไม่?"

ช่างทำรถทูลรับต่อพระเจ้าปเจตนะว่า "ขอเดชะฯ ข้าพระองค์อาจทำได้พระเจ้าข้า !" ครั้งนั้นแล ช่างทำรถ ทำล้อได้ข้างเดียวสิ้นเวลา ๖ เดือน หย่อนอยู่๖ วัน.

พระเจ้าปเจตนะ ตรัสเรียกช่างทำรถมารับสั่งถามว่า "แน่สหายรถการ!นับแต่นี้ล่วงไป ๖ วัน สงครามจักเกิดแล้วละ. ล้อรถคู่ใหม่สำเร็จแล้วหรือ?"

ช่างทำรถทูลว่า "ขอเดชะฯ โดยเวลา ๖ เดือน หย่อนอยู่ ๖ วันนี้ล้อสำเร็จได้ข้างเดียว พระเจ้าข้า!".

พระราชารับสั่งว่า "แน่ะสหายรถการ ! ก็เจ้าอาจจะทำล้อข้างที่ ๒ ให้สำเร็จโดย ใช้ เวลาเพียง ๖ วันนี้ ได้หรือไม่?" ช่างทำรถทูลว่า "ขอเดชะฯ ข้าพระองค์ อาจทำได้ พระเจ้าข้า !".

ที่นั้นเองช่างทำรถได้ทำล้อข้างที่ ๒ สำเร็จได้โดยใช้เวลาเพียง ๖ วัน เขาจึงนำล้อ คู่ใหม่ ไปเฝ้า พระเจ้าปเจตนะ ครั้นไปถึงแล้วกราบทูลว่า "ขอเดชะฯ นี่พระเจ้าเข้า ล้อรถคู่ใหม่ของพระองค์ สำเร็จแล้ว".

พระราชารับสั่งว่า "สหายรถการ ! ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วันกับล้อข้าง ที่ทำแล้วใน ๖ วันนี้ ต่างกันอย่างไร เราไม่เห็นความต่างกันของมันที่ตรงไหน?"

ช่างทำรถทูลว่า "ความต่างของล้อทั้งสอง มีอยู่ พระเจ้าข้า ขอเชิญพระองค์ทอด พระเนตร ความต่างกันของล้อเถิด". ว่าแล้ว ช่างทำรถก็หมุนล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วัน ให้กลิ้งไป. มันกลิ้งไปพอสุดกาลังหมุนแล้วก็ตะแคงล้มลงดิน.แล้วเขาก็หมุนล้อ ข้างที่ทำ ๖ เดือนหย่อน ๖ วันให้กลิ้งไป มันกลิ้งไปสุดกาลังหมุนแล้วก็ตั้งตรง อยู่เอง ได้ราวกะติดอยู่กับเพลา.

พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า "สหายรถการ ! เหตุอะไร ป๎จจัยอะไรล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วันนี้ จึงกลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วจึงตะแคงล้มลงดิน เหตุอะไรป๎จจัยอะไร ล้อข้าง ที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วันนั้นจึงกลิ้งไปสุดกำลังหมุน แล้วตั้งตรงอยู่เองได้ ราวกะติดอยู่กับเพลา?"

ช่างทำรถทูลชี้แจงว่า "ขอเดชะฯ ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วันนี้ กงของมันก็ประกอบด้วย เนื้อไม้ที่คด ที่มีโทษ ที่เจือเนื้อผุและกระพี้. ถึงกำและดุมของมันก็เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยเนื้อไม้ที่คด ที่มีโทษ ที่เจือเนื้อผุและกระพี้.

เพราะความที่กง กำ ดุมของมันประกอบด้วยเนื้อไม้ที่คด ที่มีโทษ ที่เจือเนื้อผุและกระพี้ มันกลิ้งไป สุด กำลังหมุนแล้วจึงตะแคงล้มลงดิน. ส่วนล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน๖ วัน กงของมันก็ไม่มี เนื้อคด ไม่มีโทษ เป็นไม้ที่หมดเนื้อผุและกระพี้. เพราะความที่กง กำ ดุมของมัน ไม่มีเนื้อคด ไม่มีโทษเป็นไม้ที่หมดเนื้อผุและกระพี้ มันกลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้ว จึงตั้งตรงอยู่เอง ได้ราวกะติดอยู่กับเพลา".

ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลาย อาจจะมีความคิดว่า ช่างทำรถคราวนั้นเป็นคนอื่นเป็นแน่ แต่เธอทั้งหลาย อย่าเข้าใจอย่างนั้น. เราเองเป็นช่างทำรถในกาลนั้น.

ภิกษุท.! ในครั้งนั้น เราเป็นผู้ฉลาดต่อความคดของไม้โทษ (มีปมและตาเป็นต้น) ของไม้และความ มีเนื้อไม่บริสุทธิ์ของมัน.

ภิกษุ ท.! แต่กาลบัดนี้ เราเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ฉลาดต่อความคด ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ต่อโทษทางกาย ทางวาจา ทางใจ ต่อกิเลสเพียงดัง น้ำฝาด ทางกาย ทางวาจา ทางใจ.

ภิกษุ ท.! ความคดทางกาย ทางวาจา ทางใจ โทษทางกายทางวาจาทางใจ กิเลสเพียงดัง น้าฝาดทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นภิกษุ ก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ยังไม่ได้แล้ว ภิกษุ ภิกษุณีเหล่านั้น ก็หล่นไปจาก ธรรมวินัยนี้ เหมือนล้อรถข้างที่ทาแล้ว ๖ วัน ฉะนั้น.ความคดทางกาย ทางวาจา ทางใจ โทษทางกาย ทางวาจา ทางใจ กิเลสเพียง ดังน้าฝาดทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อันเธอละได้ แล้ว ภิกษุภิกษุณี เหล่านั้นก็ตั้งมั่นอยู่ในธรรมวินัยนี้ได้ เหมือนล้อรถข้างที่ทาแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วัน ฉะนั้น.

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ ท่านทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า"เราทั้งหลาย จักละความคด ทางกาย โทษทาง กาย กิเลสเพียงดังน้ำฝาดทางกาย จักละความคดทางวาจา โทษทางวาจา กิเลสเพียงดังน้ำฝาด ทางวาจา จักละความคดทางใจ โทษทางใจ กิเลสเพียงดังน้ำฝาดทางใจ". ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกใจ ไว้อย่างนี้แล.


603
ครั้งมีพระชาติเป็นอกิตติดาบส

บารมีใด ๆ อันเราประพฤติสั่งสมแล้ว ในระยะกาลนับได้สี่อสงไขยแสนกัลป์ บารมีนั้น ทั้งหมดเป็น เครื่องบ่มโพธิญาณ ให้สุก บารมีที่เราประพฤติแล้วในภพน้อยใหญ่ ในกัลป์ก่อน ๆ นั้น จักงด ไว้ก่อน จักกล่าวเฉพาะบารมีที่เราประพฤติ ในกัลป์นี้ ท่านจงฟ๎งคำของเรา.

ในกาลใด เราเป็นดาบส นามว่า อกิตติ อาศัยอยู่ในปุาหลวงสงัดเงียบว่างจากคนไปมา ในกาลนั้น ด้วยอำนาจ การบำเพ็ญตบะกรรมของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ยิ่ง ในไตรทิพย์ ได้ร้อนใจทนอยู่ ไม่ได้ แล้ว.เธอแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เข้ามาขออาหาร กะเรา.

เราเห็นพราหมณ์นั้น ยืนอยู่แทบประตูของเรา จึงให้ใบไม้ อันเรา นำมาจากป่า ไม่มีมัน และไม่เค็ม ไปทั้งหมด. ครั้งให้แล้ว ก็คว่ำภาชนะเก็บและไม่ออกแสวงหาใหม่ เข้าสู่ บรรณศาลาแล้ว.

ในวันที่สอง และที่สาม พราหมณ์นั้นได้มาขอกะเราอีก. เรามิได้มีจิตหวั่นไหว ไปจาก เดิม ไม่ได้อ่อน อกอ่อนใจ ได้ให้ไป หมดทั้งภาชนะอย่างเดียวกับวันก่อน. ความทรุดโทรมแห่งผิวพรรณใน สรีระ ของเรา จะมีเพราะเหตุอดอาหารนั้น ก็หาไม่ เราฆ่าเวลาเป็นวัน ๆ นั้นได้ด้วยความยินดี โดยสุข อันเกิดจากปีติ.

หากว่าเราได้ปฏิคาหกอันประเสริฐ ตลอดเวลาตั้งเดือนหรือสองเดือนเรา ก็จะคงเป็น ผู้มีจิต ไม่หวั่นไหว ไปจากเดิม ไม่อ่อนอกอ่อนใจ และให้ทานอันสูงสุดได้สม่ำเสมอ. เมื่อเราให้ทานแก่ พราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศ หรือลาภก็หามิได้เราปรารถนา อยู่ซึ่งสัพพัญํตญาณ (อันจะเกิดได้เพราะการถูกบ่มโดยทานนั้น) จึงได้ประพฤติแล้ว ซึ่งกรรมทั้งหลายเหล่านั้น.


604
ครั้งมีพระชาติเป็นพระจันทกุมาร


ครั้งอื่นอีก เราเป็นโอรสของพระราชาเอกในนครบุบผวดี มีนามอันเขาขนานให้ว่า จันทะ. ในกาลนั้น เรารอดพ้นไปได้จากการถูกฆ่าบูชายัญญ์(ซึ่งปุโรหิตผู้อาฆาต ทูลยุยงพระราชบิดา ให้หลงเชื่อ) เกิดความสลดสังเวชขึ้นภายในใจ ได้บำเพ็ญ มหาทานแล้ว.

เมื่อไม่ได้ทักขิเณยยบุคคลผู้มารับทาน เราก็ยังไม่ดื่ม ไม่เคี้ยว ไม่บริโภคอาหารด้วย ตนเอง บางคราว ๖ วันบ้าง ๕ วันบ้าง. พาณิชสะสมสินค้าไว้นำไปขายในที่ ที่จะมีกำไรมาก ย่อมมีกำไร มาก ฉันใด การงดเว้นสิ่งที่จะบริโภคเอง เพื่อบำเพ็ญทาน แก่ผู้อื่นก็ฉันนั้น.

เพราะเหตุนั้น ทุกคนพึงให้ทานแก่ผู้อื่น จักเป็นความดีเกิดขึ้น ๑๐๐ เท่า. เราเองมอง เห็น อำนาจ แห่งประโยชน์อย่างนี้นี่แล้ว จึงบำเพ็ญทานทุกๆ ภพ.เราไม่ก้าวถอยกลับ จากการให้ทาน ก็เพื่อการลุ ถึงโดยลำดับซึ่งป๎ญญาเป็นเครื่องรู้พร้อม.


604-1
ครั้งมีพระชาติเป็นสังขพราหมณ์

ครั้งอื่นอีก เมื่อเราเป็นพราหมณ์มีนามว่า สังขะ ได้ไปที่ท่าเรือเพื่อเดินทางข้ามสมุทร. ณ ที่นั้น เราได้ เห็นท่านผู้ชนะกิเลสได้โดยตนเอง เป็นผู้อันกิเลสจะทำให้กลับแพ้ อีกมิได้ ท่านผู้นั้นเดินทาง กันดาร ไปในท่ามกลางพื้นทรายอันร้อนจัด.

เราเห็นท่านสยัมภู ผู้นั้น ในขณะที่ท่านเดินทางอยู่ เกิดความคิดขึ้นภายในใจว่า `นาบุญนี้ อันเราผู้ แสวงบุญมาถึงเข้าแล้วโดยลำดับ. ก็เมื่อชาวนาได้เนื้อนา อย่างดี แล้ว ยังไม่หว่านพืชลงในนานั้น ก็แปลว่าเขามิได้เป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้าวเปลือก นี่เป็นฉันใด เราก็จะเป็นฉันนั้น ถ้าว่าเราเป็นผู้ ต้องการบุญเห็นนาบุญ อันสูงสุดแล้ว ก็หาลงมือประกอบกรรมนั้นไม่ ฯลฯ.'

เราคิดดั่งนี้แล้ว ลงจากรองเท้า กราบลงที่บาทของท่านผู้สยัมภูนั้นแล้วถวายร่ม และ รองเท้า ของเราแด่ท่าน. เพราะกรรมนั้น (ในชาตินี้) เราจึงได้เสวยสุขเป็นสุขุมาล ชาติยิ่งกว่าตั้งร้อยเท่า และทั้งเป็นการทำทานบารมีของเรา ให้เต็ม เราจึงให้ทาน แด่ท่านผู้เช่นนั้น.


605-1
ครั้งมีพระชาติเป็นเวลามพราหมณ์


คหบดี ! ในกาลดึกดำบรรพ์ ได้มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง ชื่อเวลามะ.เวลามพราหมณ์นั้น ได้บริจาคทาน อันเป็นทานอย่างใหญ่หลวง เห็นปานนี้คือ

ได้ให้ ถาดทองจำนวนแปดหมื่นสี่พัน อันบรรจุเต็มด้วย เงิน.
ได้ให้ ถาดเงินจำนวนแปดหมื่นสี่พัน อันบรรจุเต็มด้วย ทอง.
ได้ให้ ถาดสำริดจำนวนแปดหมื่นสี่พัน อันบรรจุเต็มด้วย เงิน.
ได้ให้ ช้างจำนวนแปดหมื่นสี่พัน ประดับแล้วด้วยเครื่องทองธง
        ก็ทำด้วยทอง ตาข่ายเครื่องปิด ก็ล้วนทำด้วยทอง.
ได้ให้ รถจำนวนแปดหมื่นสี่พัน หุ้มบุด้วยหนังราชสีห์
        ด้วยหนังพยัคฆ์ด้วยหนังเสือเหลือง
        ด้วยผ้ากัมพลเหลืองประดับไปแล้วด้วยเครื่องทอธงก็ทำด้วยทอง
        ตาข่ายเครื่องปิด ก็ล้วนทำด้วยทอง.
ได้ให้ แม่โคนมจำนวนแปดหมื่นสี่พัน ล้วนกำลังมีนมไหลรูดรองได้.
ได้ให้ นางสาวน้อยจำนวนแปดหมื่นสี่พัน ซึ่งแต่ละนางมีตุ้มหูประดับมณี.
ได้ให้ บัลลังก์จำนวนแปดหมื่นสี่พัน ซึ่งลาดด้วยขนเจียม
        ลาดด้วยสักหบาดลาดด้วยผ้าป๎กลวดลายลาด
        ด้วยเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังชะมด
        มีเพดานแดง มีหมอนข้างแดง.
ได้ให้ ผ้าจำนวนแปดหมื่นสี่พัน คือผ้าทอด้วยเปลือกไม้อันละเอียดอ่อน
        ผ้าไหมอันละเอียดอ่อน ผ้าฝูายอันละเอียดอ่อน.

ฉะนั้น จึงไม่ต้องกล่าวถึงการให้ข้าวให้น้ำให้ของเคี้ยวของบริโภค ให้เครื่องลูบไล้ เครื่องทา และให้เครื่องนอน. เวลามพราหมณ์นั้นบริจาคให้ไป ๆ เหมือนแม่น้ำไหล ไม่ขาดสาย.คหบดี ! ก็ความคิดอาจมีแก่ท่านว่าผู้อื่นต่างหาก ที่เป็นเวลามพราหมณ์ ผู้ให้ทานอันใหญ่หลวงในครั้งนั้น.

คหบดี ! ท่านไม่ควรคิดไปอย่างนั้น,เรานี่เองได้เป็นเวลามพราหมณ์ในสมัยนั้น เราเอง ได้บริจาค ทานอันใหญ่หลวง นั้น. คหบดี! ก็แต่ว่าการให้ทานในครั้งกระโน้น ใคร ๆ ที่จะสมควรรับ ทักษิณาทานมิได้มีเลย ใคร ๆ ที่จะช่วยให้การ ให้ทักษิณาทานนั้น บริสุทธิ์ได้ก็ไม่มีเลย.


607
ครั้งมีพระชาติเป็นพระเวสสันดร


กษัตริย์ใดได้เป็นมารดาของเรา มีนามว่า ผุสดี กษัตริย์นั้นเป็นมเหษีของท้าวสักกะ มาแล้วใน อดีตชาติ. ท้าวสักกะผู้จอมเทพทราบอายุขัยของพระมเหษีองค์นั้นแล้ว ได้ตรัสกะเธอว่า "เจ้าผู้เลิศงาม เราให้พรแก่เจ้าสิบประการตามแต่เจ้าจะเลือกเอา".พระเทวีนั้น ได้รำพันถาม ท้าวสักกะว่า "หม่อมฉันมีความผิดอย่างไรหรือหนอ, หม่อมฉันเป็นที่เกลียดชังของพระองค์แล้วหรือ จึงถูกบังคับให้ละโลกอันน่ารื่นรมย์นี้ไป ดุจพฤกษชาติที่ถูกลมพัดถอนขึ้นทั้งรากฉะนั้น".

ท้าวสักกะผู้อันพระเทวีรำพันเช่นนั้นแล้ว ได้ตรัสแก่เธอว่า "ใช่ว่าเจ้าจะทำบาปอันใด ลงไปก็หามิได้ ใช่ว่าเจ้าจะไม่เป็นที่รักของเราก็หามิได้ แต่ว่าอายุของเจ้ามีเพียงเท่านี้ บัดนี้เป็นเวลาที่เจ้าจะจุติ ฉะนั้น เจ้าจงรับเอาพรสิบประการอันเราให้เถิด".

พระเทวีนั้น จุติแล้ว บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ นามว่า ผุสดี ได้สมรสกับพระราชาสัญชัย ในนคร เชตุตดร. ในกาลที่เราก้าวลงสู่พระครรภ์แห่งพระมารดาอันเป็นที่รักนั้น มารดาของเราได้เป็นผู้ยินดี ในทานตลอดเวลา เพราะเดชของเรา. ท่านได้ให้ทาน แก่ยาจกผู้ไร้ทรัพย์ อาดูร ครวญคร่ำ และแก่สมณพราหมณ์ อย่างไม่ยั้งมือ.
.................................................................................................................................................
๑. บาลี เวสสันตรจริยา จริยา. ขุ. ๓๓/๕๕๙/๙. ในคัมภีร์จริยาปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ ชั้นบาลี มิได้เรียงเรื่องเวสสันดร ไว้เป็นเรื่องสุดท้ายแห่งเรื่องทั้งหลาย เหมือนใน คัมภีร์ชาดก; ฉะนั้นในที่นี้ข้าพเจ้า จึงไม่เรียงเรื่องเวสสันดรไว้เป็นเรื่องสุดท้ายเหมือน
๒. คำพูดเช่นนี้ นัยว่าเป็นประเพณี พูดกับผู้ที่จะต้องจุติจากสวรรค์.

.................................................................................................................................................
แม่เจ้าผุสดีดำรงครรภ์ครบสิบเดือน กำลังเที่ยวประพาสทั่วนครได้ประสูติเรา ณ ถนน แห่งชาวร้าน เพราะกำเนิน ที่ถนนแห่งชาวร้าน นามของเราจึงไม่เกี่ยวเนื่องด้วยมารดา และบิดา ได้ชื่อว่าเวสสันดร (แปลว่า "ระหว่างชาวร้าน").

เมื่อเราเป็นทารกอายุแปดปี นั่งอยู่ในปราสาท ก็รำพึงแต่จะให้ทาน; "เราจะให้ทาน หัวใจดวงตา เนื้อ เลือด ร่างกาย ให้ปรากฏ ถ้าว่าจะมีผู้มาขอกะเรา"

เมื่อเรารำพึงแน่ใจ ไม่หวั่นไหวเช่นนั้น แผ่นดินได้ไหว ภูเขาสิเนรุสั่นสะเทือน. ในวันอุโบสถกึ่งเดือน และปลายเดือน เราขึ้นสู่ช้างชื่อ ป๎จจยนาคไปให้ทาน.

พวกพราหมณ์ชาวแว่นแคว้นกาลิงค์ เข้ามาหาเรา และได้ขอช้างอันประเสริฐ ซึ่งสมมติ กันว่า เป็น มงคลนั้น กะเรา เขากล่าวกะเราว่า "ที่ชนบทของข้าพเจ้า ฝนไม่มีตก เกิด ทุพภิกขภัยอดอาหาร อย่างใหญ่หลวง ขอพระองค์จง ประทานช้างอันบวร เป็นจอมช้าง มีอวัยวะขาวหมด แก่ข้าพเจ้า เถิด". เราตกลงใจว่า เราให้ เราไม่มี หวั่นไหว. เราไม่หวงแหนปกปิดทานวัตถุที่เรามี เพราะใจของเรายินดีในทาน.

การปฏิเสธต่อยาจกที่มาถึงเข้าแล้วนั้น ไม่ควรแก่เรา เราอย่าทำลายการสมาทาน ของเราเสียเลย เราจักให้ช้าง อันวิบูลย์ บัดนี้ละ.เราจับที่งวงช้างมือหนึ่ง อีกมือหนึ่ง หล่อน้ำในเต้าใส่มือพราหมณ์ ให้ช้างแก่พราหมณ์ไป.

เมื่อเราให้ทานช้างเผือกสูงสุดนี้ แผ่นดินได้หวั่นไหว ภูเขาสิเนรุสั่นสะเทือน อีกครั้งหนึ่ง. เมื่อเราให้ช้างตัวนั้น ชาวเมือง สีพีโกรธมาก มาประชุมกันให้เนรเทศเรา จากนคร ไปอยู่เขาวงก์. เมื่อชนพวกนั้นพากันกำเริบ เราก็ยังมีความ ไม่หวั่นไหว ขอร้องกะเขาเพื่อได้ให้ทาน ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ชาวสีพีถูกขอร้องเข้าแล้วก็ยอมให้.

เราให้ปุาวร้องเอิกเกริกว่าเราจะให้มหาทาน. มีเสียงเล่าลืออย่างใหญ่หลวง เพราะ เรื่องนี้ว่า "ถูกขับเพราะให้ทาน ยังจะให้ทานอีก !". เราให้ทานช้าง ม้า รถทาสี ทาส โค และทรัพย์. ครั้นให้มหาทานแล้ว จึงออกจากนครไป.

ครั้นออกไปพ้นเขตนครแล้ว ได้กลับเหลียวดูเป็นการลา แผ่นดินได้ไหว ภูเขาสิเนรุ สั่นสะเทือน อีกในครั้งนั้น.เมื่อถึงทางสี่แพร่ง ได้ให้ทานรถเทียมด้วยม้าสี่ไป เราผู้ไร้เพื่อนบุรุษกล่าว กับ พระนางมัททรีว่า "เจ้าจงอุ้มกัณหาลูกหญิงน้อย ค่อยเบาหน่อยเราจักอุ้มชาลีพี่ชายหนึ่งหนักกว่า".

เป็นอันว่าพระนางมัททรีได้อุ้มกัณหาชินะ อันงามเหมือนดอกบุฑริก และเราได้อุ้มชาลี ซึ่งงาม เหมือนรูปทองหล่อ รวมเป็นสี่กษัตริย์สุขุมาลชาติได้เหยียบย่ำ ไปตาม หนทางต่ำ ๆ สูง ๆ ไปสู่เขาวงก์.พบใครในระหว่างทางก็ถามว่า เขาวงก์อยู่ทางไหน ชนเหล่านั้นสงสารเราและ บอกว่า ยังไกลมาก. เด็ก ๆ ได้เห็นผลไม้ในปุา ก็ร้องไห้ อยากได้ผลไม้นั้น ๆ. เห็นเด็ก ๆ ร้องได้ ต้นไม้ ก็น้อมกิ่งมีลูกดกเข้ามาหาเด็กเอง.

พระนางมัททรีเห็นความอัศจรรย์ชวนสยองขนเช่นนี้ ก็ออกอุทานสาธุการ "โอหนอ ของอัศจรรย์ ไม่เคยมีในโลก น่าขนพอง ต้นไม้น้อมกิ่งลงมาเอง ด้วยอำนาจแห่ง พระเวสสันดร".

พวกยักษ์ ช่วยย่นการเดินทาง เพื่อความอนุเคราะห์แก่เด็ก ๆ ในวันที่ออกจากนคร นั่นเอง ได้เดินทางถึงแว่นแคว้นของเจตราช ญาติในที่นั้นร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือก ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก. ออกจากแว่นแคว้นของญาติเหล่านั้นแล้วก็มุ่งไปเขาวงก์.

จอมเทพ สั่งให้วิสสุกัมม์ผู้มีฤทธิ์ สร้างบรรณศาลา๑ เป็นอาศรมอันร่มย์รื่น วิสสุกัมม์ ได้สร้างแล้วเป็นอย่างดี ตามดำรัสของท้าวสักกะ. พวกเราสี่คนก็ลุถึงราวป่า อันเงียบเหงา ไม่มีวี่แววแห่งมนุษย์ ได้อาศัยอยู่แล้วในบรรณศาลานั้น ในระหว่างภูเขา. บรรเทาความโศกของกันและกันได้แล้ว ณ ที่นั้น. เราดูแลเด็ก ๆ ในอาศรม พระนางมัททรี ไปเสาะหาผลไม้ในปุามาเลี้ยงกัน.

เมื่อเราอยู่ถึงในปุาสูง ก็ยังมีนักขอไปหาเรา, ได้ขอลูกของเรา คือชาลีและกัณหาชินะ ทั้งสองคน. ความบันเทิงใจเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นยาจกเข้าไปหา เราได้ยื่นบุตร ทั้งสองคนให้กะพราหมณ์ผู้มาขอนั้นไป.

เมื่อเราสละบุตรให้แก่พราหมณ์นามว่าชูชกในกาลนั้น แผ่นดินได้ไหว เขาสิเนรุสั่น สะเทือนอีก.

ต่อมา ท้าวสักกะได้ลงมาโดยเพศพราหมณ์ ขอพระนางมัททรีผู้มีศีลและมีวัตรในสามี กะเราอีก. เราได้จับหัตถ์มอบหมายให้ และหลั่งน้ำลงในฝุามือพราหมณ์ มีจิตเบิกบาน ผ่องใส ให้พระนางมัททรีไป. ขณะที่เราให้ ทวยเทพใน นภากาศก็พลอย อนุโมทนา แผ่นดินได้ไหว เขาสิเนรุนสะเทือนอีก.

เราสละชาลีกัณหา และพระนางมัททรีผู้มีวัตรในสามี ไม่มีความลังเลใจก็เพราะเหตุ แห่งป๎ญญาเครื่องตรัสรู้ (รู้ความดับทุกข์ของสัตว์โลก).

ลูกสองคนนั้นจะเป็นที่เกลียดชังของเราก็หาไม่ พระนางมัททรีจะเป็นที่เกลียดชัง ก็หาไม สัพพัญตญาณ เป็นที่รักของเรา เราจึงให้ของรัก (เพื่อสิ่งที่เรารัก) ...ฯลฯ.


611
ครั้งมีพระชาติเป็นมาตังคชฎิล

ชาติอื่นอีก : เราเป็นชฎิล บำเพ็ญตบะกล้า นามว่า มาตังคะ มีศีล มีสมาธิมั่น. เรากับ พราหมณ์อีกผู้หนึ่ง ต่างอาศัยอยู่ริมฝ๎่งแม่น้ำคงคาด้วยกัน.

อาศรมของเราอยู่เหนือน้ำ ของพราหมณ์อยู่ใต้น้ำ.พราหมณ์นั้นเดินเลาะฝ๎่งขึ้นมา เห็นอาศรมของเราทางเหนือน้ำ มีความรังเกียจ ด่าว่าเราแช่งเราให้ศรีษะแตก. ที่จริงถ้าเราโกรธพราหมณ์นั้นขึ้นมา หรือศีลของเราไม่ควบคุมเราไว้แล้ว เพียงแต่เรา มองดูเท่านั้น ก็อาจทำพราหมณ์ให้กลายเป็นดุจว่าขี้เถ้าไป.

พราหมณ์นั้น โกรธ คิดประทุษร้าย ว่าเราด้วยคำสาปแช่งอย่างใดอาการนั้น กลับเป็น แก่ พราหมณ์นั้นเอง เราพ้นไปด้วยอำนาจคุณของเรา. เรารักษาศีลของเรา เราไม่ได้ รักษาชีวิตของเรา (หมายถึงเกียรติยศ), ในกาลนั้นเรารักษาศีล เพราะเหตุแห่งป๎ญญา เครื่องตรัสรู้เท่านั้น.


611-1
ครั้งมีพระชาติเป็นจูฬโพธิ


ชาติอื่นอีก : เมื่อเราเป็นพราหมณ์ชื่อจูฬโพธิ ผู้มีศีล มองเห็นภพโดยความเป็นของ น่ากลัว จึงได้ออกบวช. ภริยาเก่าของเราเป็นพราหมณี มีรูปดั่งทำด้วยทอง. แม้เธอนั้น ก็ไม่ประสงค์ต่อการเวียนว่ายในวัฏฏะ จึงออกบวชเสียด้วยกัน.

เราสองคน เป็นผู้ไม่มีที่อาลัย ตัดขาดจากพงศ์พันธุ์ ไม่มีความมุ่งหมายอะไรในตระกูล และหมู่ชน เที่ยวไปตามหมู่บ้านและจังหวัด ลุถึงเมืองพาราณสีแล้ว.

ณ ที่นั้น เราบำเพ็ญป๎ญญา ไม่ระคนด้วย หมู่คณะ อยู่ในราชอุทยานอันไม่มีผู้คน เกลื่อนกล่น และเงียบเสียง.พระราชาเสด็จมาประพาสสวน ทอดพระเนตรเห็นนาง พราหมณี ก็เข้ามาถามเราว่า หญิงนั้นเป็นภริยาของท่าน หรือของใคร? เราทูลตอบว่า ไม่ใช่ภริยาของเรา เป็นเพียงผู้ประพฤติธรรมร่วมกันคือคำสอนอย่างเดียวกัน.

พระราชากำหนัดในนางพราหมณีนั้น รับสั่งให้จับและฉุดคร่านางไปโดยพลการ สู่ภายในนคร. เมื่อฉุดคร่านำนางไป ความโกรธได้เกิดขึ้นแก่เรา แต่พร้อมกับความ โกรธ ที่เกิดขึ้นนั้น เราระลึกขึ้นได้ถึงศีลและวัตร. ในขณะนั้นเอง เราข่มความโกรธได้ และไม่ยอมให้เกิดขึ้นมาได้อีก.

เรารู้สึกตัวเราว่า แม้ใครจะทำร้ายนางพราหมณีด้วยหอกคมกล้า เราก็ไม่ทำลายศีล ของเรา, เพราะเหตุเห็นแก่โพธิญาณ (มากกว่าเห็นแก่นางพราหมณี). แต่ใช่ว่า นางพราหมณีจะไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่ และใช่ว่าเราจะไม่มีกำลังวังชาก็หาไม่. สัพพัญํุตญาณเป็นที่รักของเรา เราจึงตามประคองศีลไว้.


612
ครั้งมีพระชาติเป็นเจ้าชายยุธัญชยะ

เมื่อเรามีชาติเป็นราชบุตรชื่อ ยุธัญชยะ ยิ่งด้วยยศ ได้เกิดความรู้สึกสลดต่อชีวิต ในขณะที่มองเห็นหยาดน้ำค้างในเวลาเช้า เหือดแห้งไปเพราะแสงแดดเป็นอุปมา. เรายึดเอาความรู้สึกนั้นเป็นอารมณ์อันแน่วแน่ ก็ยิ่งสลดสังเวชมากขึ้น เข้าไปหา เจ้าแม่และเจ้าพ่อ ขออนุญาตออกบวช.

เจ้าแม่และเจ้าพ่อ พร้อมด้วยชาวนครและชาวแคว้น เข้ามาอ้อนวอนเราขอให้คงอยู่ ครอบครองแผ่นดินอันมั่งคั่งรุ่งเรือง. เราไม่เอาใจใส่ต่อเจ้าแม่เจ้าพ่อพระญาติวงศ์ พร้อมทั้งชาวนครและชาวแคว้น สลัดทิ้งไปแล้ว.

เราสลัดราชสมบัติ ญาติ ข้าแผ่นดิน ยศ และสิ่งทั้งปวงไปอย่างไม่ลังเลเยื่อใย เพราะเหตุแห่งป๎ญญาเครื่องตรัสรู้. ใช่ว่าเจ้าแม่เจ้าพ่อจะไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่ เราจะเกลียดยศก็หาไม่. สัพพัญํตญาณเป็นที่รักยิ่งของเรา ฉะนั้นเราจึงสลัดร าชสมบัติเสีย.


613
ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์


เราเมื่อยังค้นไม่พบแสงสว่าง, มัวเสาะหานายช่างปลูกเรือน (คือตัณหาผู้ก่อสร้าง เรือนคืออัตตภาพ) อยู่ ได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ กล่าวคือ ความเกิดแล้วเกิดอีก เป็นอเนกชาติ. ความเกิดเป็นทุกข์ร่าไปทุกชาติ.

แน่ะนายช่างผู้ปลูกสร้างเรือน ! เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,เจ้าจักสร้างเรือนให้เราต่อไปอีก ไม่ได้, โครงเรือน (คือกิเลสที่เหลือเป็นเชื้อเกิดใหม่) ของเจ้า เราหักเสียยับเยิน หมดแล้ว.ยอดเรือน (คืออวิชชา) เราขยี้เสียแล้ว จิตของเราถึงความเป็นธรรมชาติ ที่อารมณ์จะยุแหย่ยั่วเย้าไม่ได้เสียแล้ว มันได้ลุถึงความหมดอยากทุกอย่าง.

จบภาค ๖

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
จบ





ไปหน้าแรก พุทธประวัติจากพระโอษฐ์