เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  10 of 11  
  สารบาญ ภาค 5    

  สารบาญ ภาค 6

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  แปดสิบปียังไม่ฟั่นเฟือน 553     แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร 564
  ทรงมีความชราทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป 554     เสด็จปุามหาวัน 564_1
  ทรงทำหน้าที่พระพุทธเจ้าบริบูรณ์แล้ว 555     เสด็จบ้านภณัฑคาม 565
  เรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนหน้าปรินิพพาน 556     เสด็จบ้านหัตถิคาม โดยลำดับ 566
  การตรัสภิกษุอปริหานิยธรรม 557     เสด็จเมืองปาวา 567
  เสด็จเมืองนาลันทาทรงทำหน้าที่พระพุทธเจ้า 558     เสด็จเมืองกุสินารา  567-1
  เสด็จบ้านปาฏลิคาม 558_1     การปรินิพพาน หรือ การประทับสีหเสยยา ครั้งสุดท้าย 569
  เสด็จบ้านปาฏลิคาม 559     แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการปรินิพพาน 575
  เสด็จหมู่บ้านนาทิกะ 559_1     เราเห็นพระองค์ได้ชั่วเวลาที่ยังปรากฏพระกาย 575-1
  เสด็จเมืองเวสาลี 561     การปรินิพพานคือความทุกข์ร้อน ของมหาชน 576
  เสด็จบ้านเวฬุวคาม 561-1     สังเวชนียสถานภายหลังพุทธปรินิพพาน 577
  เสด็จทิวาวิหาร ที่ปาวาลเจดีย์ 562   จบภาค5  
  ทรงปลงอายุสังขาร 563      

 




 

ภาค5 การปรินิพพาน

(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)
ภาค ๕


หน้า 553 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
แปดสิบปียังไม่ฟั่นเฟือน

        สารีบุตร ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ว่าชั่วเวลาที่ บุรุษนี้ยังเป็นหนุ่มมีผมดําสนิท ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย ก็ ยังคงประกอบด้วยป๎ญญาอันเฉียบแหลมว่องไวอยู่เพียงนั้น เมื่อใดบุรุษนี้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลนาน ผ่านวัยไปแล้ว มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี จากการ เกิด เมื่อนั้น เขาย่อมเป็นผู้เสื่อมสิ้น จากป๎ญญาอันเฉียบแหลมว่องไว.

        
สารีบุตร ! ข้อนี้ เธออย่าพึงเห็นอย่างนั้น เรานี่แลในบัดนี้เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยมาแล้ว วัยของเรานับได้ ๘๐ ปี ...ฯลฯ...

        
สารีบุตร ! ธรรมเทศนาที่แสดงไปนั้น ก็มิได้แปรปรวน บทพยัญชนะแห่ง ธรรมของตถาคต ก็มิได้แปรปรวน ปฎิภาณในการตอบป๎ญหาของตถาคตก็มิได้ แปรปรวน ฯลฯ

         สารีบุตร ! แม้ว่าเธอทั้งหลายจักนําเราไปด้วยเตียงน้อย (สําหรับหามคน ทุพพลภาพ) ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น แห่งป๎ญญาอันเฉียบ แหลม ว่องไว ของตถาคต ก็มิได้มี. 

         สารีบุตร ! ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวให้ถูกให้ชอบว่า "สัตว์มีความไม่หลงเป็น ธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มหาชนเพื่อ อนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว ผู้นั้น พึงกล่าวซึ่งเราผู้เดียวเท่านั้น.


554
ทรงมีความชราทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป

        (ลําดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้เข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วลูบคลําทั่วพระกายของพระผู้มีพระภาคอยู่ พลางกล่าวถ้อยคํานี้ ว่า ) 


        "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้น่าอัศจรรย์; ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อน.
         ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาค ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนแต่ก่อน และพระกายก็เหี่ยวย่อนหย่อนยาน มีพระองค์ค้อมไป ข้างหน้า อินทรีย์ ท. ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งพระจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ." 

         อานนท์ ! นั่น ต้องเป็นอย่างนั้น คือความชรามี (ซ่อน) อยู่ในความหนุ่ม ความเจ็บไข้มี (ซ่อน) อยู่ในความไม่มีโรค ความตายมี (ซ่อน) อยู่ในชีวิต

        
ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็เหี่ยวย่อนหย่อนยาน มีตัวค้อมไป ข้างหน้า อินทรีย์ ท. ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้. 
         พระผู้มีพระภาค ครั้นตรัสคํานี้แล้ว ได้ตรัสข้อความนี้ (เป็นคํากาพย์กลอน) อีกว่า

         โธ่เอ๋ย ! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย ! ความแก่ อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย กายที่น่าพอใจ บัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว.  แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ทุกคนก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใครๆ มันยำยีหมดทุกคน.



555
ทรงทำหน้าที่พระพุทธเจ้าบริบูรณ์แล้ว

        จุนทะ ! ในบัดนี้เราแล เป็นศาสดา บังเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมา สัมพุทธะ อนึ่งธรรม เราได้กล่าวไว้ดีแล้ว ได้ประกาศไว้ดีแล้วเป็นเครื่องนําสัตว์ ออกจากห้วงทุกข์ เป็นไปพร้อมเพื่อความสงบรํางับ ชื่อว่าประกาศไว้แล้ว โดยพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า อนึ่ง สาวกทั้งหลาย เราก็ได้สอนให้รู้แล้วในสัทธรรม พรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง สําหรับ สัตว์เหล่านั้นเราได้กระทําให้แจ่มแจ้ง ทําให้ เป็นของหงาย (เข้าใจได้ทันที) ทําให้เป็น บทสงเคราะห์ ทําให้เป็นสิ่งประกอบด้วย ความน่าอัศจรรย์ พอเพียงเพื่อให้ประกาศ ได้ดีด้วย โดยเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (สืบไป) แล้ว

        จุนทะ ! ในบัดนี้เราเป็นศาสดาที่แก่เฒ่า รู้ราตรีนาน บวชนาน มีวัยยืดยาว ผ่านไปแล้ว โดยลําดับ. 

         จุนทะ ! ในบัดนี้ ภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นสาวกของเราก็มีอยู่ ล้วนเป็นผู้ฉลาด เป็นผู้จูงได้เป็นผู้แกล้วกล้า ลุธรรมเป็นเครื่องเกษมจากโยคะแล้ว สามารถจะบอก สอนสัทธรรม สามารถข่อขี่ถ้อยคําอันเป็นข้าศึกที่บังเกิดแล้วให้ สงบราบคาบโดยธรรม แล้วแสดงธรรมพร้อมทั้งความน่าอัศจรรย์ได้. 

         จุนทะ ! ในบัดนี้  ภิกษุผู้ปูนกลาง  ผู้ใหม่ ผู้เป็นสาวกของเราก็มีอยู่.    
         จุนทะ ! ในบัดนี้ภิกษุณีผู้เถระ ผู้ปูนกลาง ผู้ใหม่ ผู้เป็นสาวิกาของเราก็มีอยู่.   
         จุนทะ ! ในบัดนี้ อุบาสก ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็น สาวกของเราก็มีอยู่ ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มขาว ยังบริโภคกามผู้เป็นสาวกของ เราก็มีอยู่.

         จุนทะ ! ในบัดนี้ อุบาสิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ และพวก ที่ ยังบริโภคกาม ผู้เป็นสาวิกาของเรา ก็มีอยู่. 

         จุนทะ ! ในบัดนี้ พรหมจรรย์ (คือศาสนา) ของเรา มั่งคั่ง เจริญแพร่หลาย เป็นที่รู้จักของมหาชน เป็นปึกแผ่น พอเพื่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ ด้วยดี (สืบไป) ได้แล้ว.


556
เรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนหน้าปรินิพพาน :
การตรัสภิกษุอปริหานิยธรรม

 
        อานนท์ ! เธอจงไป สั่งให้ภิกษุทุกรูปบรรดาอาศัยที่นครราชคฤห์มาประชุม กัน ณ ที่อุป๎ฎฐานศาลา. (ท่านพระอานนท์ประชุมสงฆ์เสร็จแล้ว กราบทูลให้ทรงทราบ ได้ ตรัส ภิกษุ อปริหานิยธรรม ๖ หมวด. ดังยกมาเป็นตัวอย่างเพียง ๑ หมวด คือ)

        ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงอปริหานิยธรรมอีกหมวดหนึ่งแก่เธอ จงเงี่ยฟ๎ง จง ทําในใจให้ดี.
        (๑) ภิกษุ ท. ! ภิกษุจะไม่เป็นผู้ยินดีในนวกรรม ๑ ไม่ยินดีแล้วใน     นวกรรม ไม่ประกอบความเป็นผู้ยินดีในนวกรรม อยู่เพียงไรความเจริญก็เป็นสิ่งที่ ภิกษุ ท. หวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
        (๒) ภิกษุ ท. ! ภิกษุจักไม่เป็นผู้ ยินดีในการพูดคุย ไม่ยินดีแล้วในการพูดคุยไม่ประกอบความยินดีในการพูดคุยอยู่ เพียงไร ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุ ท.หวังได้อยู่ ไม่มีความเสื่อมอยู่เพียงนั้น.   
        (๓) ภิกษุ ท. ! ภิกษุจักไม่เป็นผู้ยินดีในการนอนหลับ ฯลฯ
        (๔) ภิกษุ ท. ! ภิกษุจัก ไม่เป็นผู้ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ฯลฯ
        (๕) ภิกษุ ท. ! ภิกษุจักไม่เป็นผู้มี ความปรารถนาเลวทราม(ลามก) ฯลฯ
        (๖) ภิกษุ ท. ! ภิกษุจักไม่เป็นผู้คบเพื่อนชั่ว ฯลฯ
        (๗) ภิกษุ ท. ! ภิกษุจักไม่เป็นผู้หยุดเลิกเสียในระหว่างเนื่องจาก ได้บรรลุ คุณวิเศษสักเล็กน้อยแล้ว อยู่เพียงไร ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุ ท. หวังได้ ไม่มี ความเสื่อมอยู่เพียงนั้น.


557
เสด็จสวนอัมพลัฏฐิกา

        อานนท์ ! มาเถิด มาจักเข้าไปสู่สวนอัมพลัฎฐิกา. (ณ ที่นี้ได้ตรัสเรื่องศีลสมาธิ-ป๎ญญาโดยนัยเป็นต้นว่า) ศีลเป็นอย่างนี้ ๆ สมาธิเป็นอย่างนี้ ๆ ป๎ญญาเป็น อย่างนี้ ๆ. สมาธิ ที่ศีลอบรมส่งเสริมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากป๎ญญา ที่ สมาธิอบรม ส่งเสริม แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตที่ป๎ญญาอบรม ส่งเสริมแล้วย่อมหลุดพ้น จากอาสวะ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.


558
เสด็จเมืองนาลันทา

         อานนท์ ! มาเถิด พวกเราจักไปเมืองนาลันทา. (พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จถึง เมืองนาลันทาประทับที่ปาวาทิกัมพวัน. ณ ที่นั้นได้ทรงสนทนากับพระสารีบุตร)

        สารีบุตร ! เธอกล่าวคมคายนัก ที่เธอเปล่งสีหนาทยืนยันลงไปว่า "ข้าพระองค์ เลื่อมใส ใน พระผู้มีพระภาค ว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่น ที่จะเป็นผู้รู้ยิ่งกว่า พระผู้มีพระภาคเป็นไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่" ดังนี้ นั้น

        สารีบุตร ! เธอล่วงรู้ความรู้สึก ภายในใจ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ที่ล่วงไปแล้ว -ที่จักมา ในอนาคต -และคือเราในบัดนี้ ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น ๆมีศีล สมาธิ ป๎ญญา อย่างนี้ ๆ มีวิหารธรรม มีวิมุตติ อย่างนี้ ๆ หรือ? 

        "หามิได้ พระองค์ !" 

        สารีบุตร ! ทําไม่เธอจึงกล่าวคมคายเปล่งสีหนาทยืนยันลงไปดังนั้นเล่า? 

        "พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ไม่มีญาณกําหนดรู้พระทัยของพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งในอดีต อนาคต ป๎จจุบัน ก็จริง แต่การเป็นไปตามทํานองแห่ง ธรรมนั้น ข้าพระองค์ ทราบแล้ว".


558_1
เสด็จบ้านปาฏลิคาม

       อานนท์ มาเถิด พวกเราจะไปสู่บ้านปาฎลิคาม. (ณ ที่นั้น ได้ทรงรับวิหารทาน ของชาวบ้าน บ้านนั้น และตรัสเรื่องศีล)

คหบดี! โทษของศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประการ คือ

ย่อมเข้าถึงทางแห่งความเสื่อมโภคทรัพย์ อันใหญ่เนื่องจากความประมาทนี้ เป็นข้อที่๑

ย่อมระบือไปด้วยกิตติศัพท์อันชั่ว นี้เป็นข้อที่ ๒

ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ไม่กล้าหาญ เมื่อเข้าไปสู่บริษัท จะเป็นบริษัท แห่งกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี หรือสมณะก็ตาม นี้เป็นข้อที่ ๓

ย่อมหลงใหล ทํากาละ(ตาย) นี้ เป็นข้อที่ ๔ และ

เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการ ทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ที่เป็นข้อที่ ๕ ดังนี้.

(แล้วตรัสอานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วย ศีลโดยนัยตรงกันข้าม).
|


559
เสด็จบ้านโกฏิคาม

        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปสู่บ้านโกฎิคาม. (เสด็จสู่บ้านนี้ โดยข้ามแม่น้ําคงคา ด้วยปาฏิหาริย์ คือไม่ใช้เรือแพ ทรงหายจากฝ๎่งนี้ แล้วปรากฏที่ฝ๎่งโน้น. ที่บ้านนี้ได้ทรง แสดง อริยสัจจ์ และศีล-สมาธิ-ป๎ญญา).

         ภิกษุ ท.! เพราะการไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริสัจจ์สี่ ประการ จึงทําให้เราและ พวกท่าน ท่องเที่ยวไปในสงสารสิ้นกาลนาน ฯลฯ.


559_1
เสด็จหมู่บ้านนาทิกะ

        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปหมู่บ้านนาทิกะ (ณ ที่นี้ประทับที่บ้านพักอันก่อด้วยอิฐ ได้ตรัสตอบคําถามของพระอานนท์ ถึงเรื่องคติในภพหน้าของชนเป็นอันมาก ผู้ทํากาละ แล้วใน หมู่บ้านนั้น).

        อานนท์ ! ภิกษุสาฬ๎หะ (มรณภาพแล้วในบ้านนาทิกะนี้) หาอาสวะมิได้ เพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. เธอทําให้แจ้งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ ด้วย ป๎ญญาอันยิ่ง เอง ในทิฎฐธรรมนี้แล้ว แลอยู่แล้ว (บรรลุพระอรหันต์แล้ว). 

         อานนท์ ! ภิกษุณีนันทาเป็นผู้โอปปาติกะ เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ ในเบื้องต่ํา ๕ อย่าง จักปรินิพพานในภพ (สุทธาวาส) นั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก (คือเป็นอนาคามี).

        
อานนท์ ! อุบาสกสุทัตตะ เป็นสกทาคามี เพราะหมดสัญโญชน์สามอย่าง และมีราคะโทสะโมหะบางเบา จักมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียว แล้วถึงที่สุดแห่งทุกข์. 

        
อานนท์ ! อุบาสิกาสุชาตา เป็นโสดาบัน เพราะหมดสัญโญชน์สามอย่าง มี ความไม่ตกต่ํา (ลงอบาย) เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง (ต่อนิพพาน)เป็นผู้มีการตรัสรู้ ในเบื้องหน้า. 

        
อานนท์ ! อุบาสกกกุธะ อุบาสกการฬิมภะ อุบาสกนิกฎะ อุบาสกกฎิสสหะ อุบาสกตุฎฐะ อุบาสกสันตุฎฐะ อุบาสกภฎะ อุบาสกสุภฎะ และอุบาสกอีก ๕๐ กว่าคน ทุกคนล้วนแต่เป็นโอปปาติกะ เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ในเบื้องต่ํา ห้าอย่าง จักปรินิพพานในภพ (สุทธาวาส) นั้น ไม่เวียนกลับ จากโลกนั้นเป็น ธรรมดา (คือเป็นอนาคามี). 

        
อานนท์ ! อุบาสกอีก ๙๖ คน ในบ้านนาทิกะที่ทํากาละแล้ว เธอเป็น สกทาคามี เพราะหมดสัญโญชน์สามอย่าง และมีราคะโทสะโมหะบางเบา จักมาสู่ โลกนี้อีกคราว เดียว แล้วถึงที่สุดแห่งความทุกข์ 

        
อานนท์ ! อุบาสกอีก ๕๑๐ คน  ในบ้านนาทิกะ  ที่ทํากาละแล้ว เธอเป็น พระโสดาบัน เพราะหมดสัญโญชน์สามอย่าง มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดาเที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

         (ต่อจากนี้ ได้ตรัสเครื่องวัดสําหรับตนเองว่าเป็น ผู้บรรลุโสดาบันหรือไม่ วัดด้วยการมีความเชื่อ ความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวใน พระพุทธ-พระธรรมพระสงฆ์-และมีศีลบริสุทธิ์อย่างยิ่ง).  


561
เสด็จเมืองเวสาลี

        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปสู่เมืองเวสาลี. (ณ ที่นี้ ประทับที่สวนปุาอัมพปาลีวัน ตรัสสติป๎ฎฐานทั้งสี่แก่ภิกษุ ท.

นางอัมพปาลีเข้าเฝูาทูลให้รับนิมนต์ฉันเสียก่อนพวกเจ้าลิจฉวี แล้วเยาะเย้ยเจ้าลิจฉวี ด้วยการขับรถกระทบ นางอัมพปาลีได้ถวายสวนนั้นเป็นของสงฆ์ทรง ประทับพอควร และได้ตรัส ศีลสมาธิป๎ญญา โดยนัยเดียวกับที่อัมพลัฎฐิกา).


561_1
เสด็จบ้านเวฬุวคาม

        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปสู่บ้านเวฬุวคาม. (ณ ที่บ้านนั้น ตรัสให้ภิกษุสงฆ์ จําพรรษา) ภิกษุ ท.! เอาเถิด พวกเธอจงจําพรรษาในเขตเมืองเวสาลีโดยรอบ ๆ ตามพวกมิตรสหายและชาวเกลอเถิด ส่วนเราจักจําพรรษา ณ บ้าน เวฬุวคามนี้แล.

        (ภิกษุ ท. จําพรรษาตามพอใจแล้ว ในพรรษาพระองค์ประชวรหนักจวนสิ้น พระชนมายุ แต่ทรงมีสติสัมปชัญญะไม่กระวนกระวาย ทรงดําริว่า ต้องแจ้งให้อุป๎ฎฐาก และภิกษุสงฆ์ ทราบล่วงหน้าเสียก่อนแล้วปรินิพพานจึงจะควร ครั้นหายประชวรแล้ว ได้ตรัสกะ พระอานนท์ผู้ทูลสรรเสริญถึงความอดกลั้นต่อทุกขเวทนาของพระองค์เอง และท่านหวังว่าคง ยังไม่ทรงนิพพานก่อนแต่จะตรัสเรื่องสําคัญอีก). 

         อานนท์ ! ภิกษุสงฆ์จักยังหวังอะไรในเราอีกเล่า ธรรม เราได้แสดงแล้วไม่ขาด ระยะไม่มีอีกนอกจากที่แสดงแล้ว ไม่มีกํามือในธรรม (คือธรรมที่ยังกําไว้ไม่เปิดเผยให้ ดู) แก่ตถาคตเลย. ...ฯลฯ...

        
อานนท์ ! บัดนี้เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยนานโดยลําดับ. วัยของ เราเป็นมาได้ ๘๐ ปีแล้ว.

         อานนท์ ! กายของตถาคร่ําคร่าแล้ว เปรียบเหมือนเกวียน คร่ําคร่า ที่เขา ซ่อมแซม ปะทะ ปะทังไว้ด้วยไม้ไผ่.

        
อานนท์ ! สมัยใด ตถาคตเข้าสู่เจโตสมาธิ ที่ไม่มีนิมิต เพราะไม่ทํานิมิตทั้ง ปวงไว้ในใจดับเวทนาบางพวกเสีย แล้วแลอยู่

         อานนท์ ! กายของตถาคต ย่อม ผาสุกยิ่งนัก. (ต่อจากนี้ตรัสให้มีธรรมหรือตัวเอง เป็นที่พึ่ง คือสติป๎ฎฐานสี่).


562
เสด็จทิวาวิหาร ที่ปาวาลเจดีย์

        อานนท์ ! เธอจงถือผ้าปูนั่งไป เราจักไปสู่ปาวาลเจดีย์ เพื่อนั่งพัก ตลอดเวลา กลางวัน.

(ณ ที่นี้ ได้ตรัสอานุภาพของอิทธิบาทสี่ประการ ว่าอาจทําบุคคลผู้เจริญ ได้เต็มที่ ให้มีชีวิตอยู่กัปป์หนึ่งก็ได้ แต่พระอานนท์มิได้ทูลขอให้ทรงอยู่ เพราะรู้ไม่ทัน ทรงขับ พระอานนท์ไปแล้ว มารได้ฟื้นคําสัญญาเรื่องจะปรินิพพาน ในเมื่อพระศาสนา เป็นปึกแผ่นดีแล้ว พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยในการปรินิพพาน เรียกว่า ปลงอายุ สังขาร แผ่นดินไหวและตรัส เหตุที่ทําให้แผ่นดินไหว คือลมกําเริบ ผู้มีฤทธิ์บันดาล โพธิสัตว์จุติ ประสูติ ตรัสรู้ แสดง ธรรมจักร ปลงอายุสังขาร ปรินิพพาน). 

         อานนท์ ! เมื่อตะกี้นี้  มารผู้ใจบาป  ได้เข้ามาหาเรา ที่ปาวาลเจดีย์นี้    ยืนอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่งแล้วกล่าวแก่เราว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพานเสียเถิด   บัดนี้ ถึงเวลา ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ แต่ก่อน ว่า ๒ มาร เราจักยังไม่ปรินิพพานจนกว่า พวกภิกษุสาวก ภิกษุณีสาวิกา อุบาสก สาวก อุบาสิกาสาวิกา จัดมีพร้อมบริบูรณ์ จนกว่าพรหมจรรย์ (คือศาสนา) จักมั่งคั่ง เจริญแพร่หลาย เป็นที่รู้จักของมหาชน เป็นปึกแผ่นพอเพื่อมนุษย์และ เทวดา ท. ประกาศได้ด้วยดี (สืบไป)' ดังนี้

        พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ พรหมจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค มั่งคั่ง ฯลฯ แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานเถิด ขอ พระสุคตจงปรินิพพานเถิด" ดังนี้.

        เราตอบว่า "มารผู้ใจบาป ! เธอไม่ต้องขวนขวายดอก ไม่นานเลย ตถาคตจัก ปรินิพพาน อีกสามเดือนจากนี้ ตถาคตก็จัก ปรินิพพาน" ดังนี้.


563
ทรงปลงอายุสังขาร

        อานนท์ ! บัดนี้ เรามีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขารแล้ว ณ ปาวาลเจดีย์ นี้. (พระอานนท์ได้สติจึงทูลขอให้ดํารงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยอิทธิบาทภาวนากัปป์หนึ่ง หรือยิ่งกว่า กัปป์ ทรงปฎิเสธ)

         อานนท์ ! อย่าเลย อย่าวิงวอนตถาคตเลยมิใช่เวลาจะวิงวอน ตถาคตเสียแล้ว. (พระอานนท์ทูลวิงวอนอีกจนครบสามครั้ง ได้รับพระดํารัสตอบอย่าง เดียวกัน ตรัสว่า เป็นความผิดของพระอานนท์ผู้เดียว แล้วทรงจาระไนสถานที่๑๖ แห่ง ที่เคยให้ โอกาสแก่พระอานนท์ในเรื่องนี้ แต่พระอานนท์รู้ไม่ทันสักครั้งเดียว).

        
อานนท์ ! ในที่นั้น ๆ ถ้า เธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจักห้ามเสียสองครั้ง แล้วจัก รับคํา ในครั้งที่สาม อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ จึงเป็นความผิดพลาดของเธอ แต่ผู้เดียว. 

        
อานนท์ ! ตถาคตได้บอกแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของ รักของชอบใจทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนา ในสังขารนี้ แต่ที่ไหนเล่าข้อที่ สัตว์จะหวังเอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีป๎จจัยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับเป็น ธรรมดา ว่า สิ่งนี้อย่าฉิบหายเลย ดังนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้. 

        
อานนท์ ! สิ่งใดที่ตถาคต พ้นแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้วสลัดแล้ว สิ่งนั้น คืออายุสังขารที่ตถาคตปลงแล้ว ตถาคตกล่าววาจาตายตัวแล้วว่าจักมีการ ปรินิพพาน ในไม่ช้า ตถาคตจัดปรินิพพานต่อครบสามเดือน จากนี้การที่จะคืนคํานั้น แม้เพราะเหตุ จะต้องเสียชีวิต ก็ไม่เป็นสิ่งจะเป็นไปได้เลย.


564
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร

        อานนท์ ! เหตุป๎จจัยที่ทําให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวงมีอยู่ ๘ ประการ  อานนท์ ! ในกาลใด ตถาคต มีสติ สัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร ในกาลนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์!นี่เป็นเหตุที่ ๗ เป็น ป๎จจัยที่ ๗ แห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.


564_1
เสด็จปุามหาวัน


        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปสู่ปุามหาวัน เราจักไปยังกูฏาคารศาลา.อานนท์! เธอจงให้ภิกษุทุกรูป บรรดาอาศัยเมืองเวสาลี มาประชุมพร้อมกันที่อุป๎ฎฐานสาลา เถิด. (ครั้นภิกษุประชุมพร้อมกันแล้ว ได้ตรัสอภิญญาเทสิตธรรม ดังนี้)  

         ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยป๎ญญาอันยิ่ง ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทําให้มาก โดยอาการที่ พรหมจรรย์ (คือศาสนา) นี้ จักมั่นคงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล แก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ ท.

         ภิกษุ ท.! ธรรม เหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยป๎ญญาอันยิ่ง ฯลฯ คือสติป๎ฎฐานสี่ สัมมัปปธาน สี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรค มีองค์แปด.

        ภิกษุ ท. ! บัดนี้เราจักเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อม เป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ ประมาทเถิด การปรินิพพานของตถาคต จักมีในกาลไม่นานเลยตถาคตจัก ปรินิพพาน โดยกาลล่วงไปแห่งสามเดือนจากนี้. 

        สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็น  คนพาลและบัณฑิต ทั้งที่ มั่งมี และยากจน ล้วนแต่มีความ  ตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า. เปรียบเหมือน ภาชนะดิน  ที่ช่างหม้อป๎้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ  ล้วนแต่มี การแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ ท.  ก็มีความตายเป็นเบื้องหน้า ฉันนั้น.  วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเรา ริบหรี่ แล้ว  เราจักละพวกเธอไป. สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว. 

        ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล  เป็นอย่างดี มีความด าริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษา  ซึ่งจิตของตนเถิด. ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใด เป็นผู้ไม่  ประมาทแล้ว จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


565
เสด็จบ้านภณัฑคาม


        อานนท์ ! การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้ง สุดท้าย มาเถิด อานนท์ ! เราจักไปสู่บ้านภัณฑคาม. (ณ ที่นี้ได้ตรัสธรรมเทศนา หลายอย่าง มีใจความ เป็นต้นว่า เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอด ศีล สมาธิ ป๎ญญา และวิมุตติ จึงต้องท่องเที่ยวไป ในสงสาร ทั้งพระองค์เองและผู้อื่น). 

         ศีล สมาธิ ป๎ญญา และวิมุตติ อันไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า
เหล่านี้เป็นสิ่งที่ พระโคตมะ ผู้มีเกียรติยศ ได้รู้ได้ถึงแล้ว.

        
ครั้นรู้แล้ว  ย่อมบอกแก่ภิกษุ ท. พระศาสดา ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้แล้ว  ก็ปรินิพพาน อย่างลืมตา.
(ต่อจากนี้ได้ตรัสศีล-สมาธิ-ป๎ญญา โดยนัยเดียว กับที่ตรัสที่สวนอัมพลัฎฐิกา อีกเป็นอันมาก).


566
เสด็จบ้านหัตถิคาม โดยลำดับ

        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปสู่บ้านหัตถิคาม บ้านอัมพคามบ้านชัมพุคาม และ โภคนคร. (ที่โภคนครประทับที่อานันทเจดีย์ ได้ตรัสหลักมหาปเทสสําหรับเทียบเคียง ในการวินิจฉัยว่า ถ้ามีคํากล่าวอย่างนี้ ๆ และอ้างว่าเป็นพุทธวจนะ จะจริงหรือไม่).

        ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าฟ๎งมาแล้วได้รับ มาแล้ว เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้ เป็นคําสอนของ พระศาสดา ดังนี้ พวกเธออย่าเพ่อรับรอง อย่าเพ่อคัดค้าน.  

         เธอกําหนดเนื้อความนั้นให้ดีแล้ว นำไปสอบสวนในสูตร นำไปเทียบเคียง ใน   วินัย ถ้าลงกันไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ พึงแน่ใจว่า นั้น ไม่ใช่คําของพระผู้มีพระ ภาคแน่นอน ภิกษุรูปนั้นจํามาผิด พวกเธอพึงทิ้งคําเหล่านั้นเสีย ถ้าลงกันได้ เทียบเคียง กันได้ พึงแน่ใจว่า นั่นเป็นคําของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แล้วภิกษุรูปนั้น จํามา อย่างดีแล้ว พวกเธอพึงรับเอาไว้.

        นี่เป็นมหาปเทส ข้อที่หนึ่ง (ข้อต่อไปความ อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่คําอ้าง ข้อที่สองอ้างว่า รับฟ๎งมาจากสงฆ์ พร้อมทั้งเถระ หัวหน้า อยู่ในอาวาสโน้น ๆ ข้อที่สาม รับฟ๎งมาจากคณะเถระพหุสูต ผู้มีการศึกษา ทรงธรรมทรง วินัยทรงมาติกา ในอาราม โน้นๆ ข้อที่สี่รับฟ๎งมาจากภิกษุเถระพหุสูต ผู้มีการศึกษา ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ในอาวาสโน้น ๆ. แล้วทรงแสดงศีล-สมาธิ-ป๎ญญา โดยนัยเดียวกับที่ สวนอัมพลัฎฐิกา อีกเป็นอันมาก).


567
เสด็จเมืองปาวา 

        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปสู่เมืองปาวา (ที่นี้ ประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนท์ กัมมารบุตร. ทรงแสดงธรรมแก่นายจุนท์ และเสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านในวันรุ่งขึ้น).
 
         จุนทะ ! สูกรมัททวะ ที่จัดไว้ จงนํามาเลี้ยงเรา ขาทนียะ โภชนียะอย่าง อื่น ที่ตกแต่งไว้ จงนําไปเลี้ยงภิกษุสงฆ์.

         จุนทะ! สูกรมัททวะที่เหลือนี้ท่านจงฝ๎งเสีย ในบ่อ เราไม่มองเห็นใครในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และ มนุษย์ ที่บริโภคแล้ว จักให้ย่อยได้ นอกจาก ตถาคต (ต่อจากนี้ก็ประชวร ด้วยโรค ป๎กขันทิกาพาธอย่างกล้า จวนสิ้นพระชนมายุ).

         ๒ (คําบาลีว่า สูกรมัททวะ นี้ เคยแปลตาม ๆ กันมาว่า เนื้อสุกรอ่อน บัดนี้การ ค้นคว้าของนักศึกษาทั่วไป ได้ก้าวหน้าไปจนถึงกับไม่ถือว่าแปลอย่างนั้นเป็นคําแปล ที่ถูกต้อง น่าจะเป็นหัวพืชมีพิษชนิดใดชนิดหนึ่งมากกว่า ในที่นี้จึงไม่อาจแปลว่าเนื้อ สุกร เหมือนที่แล้วมา คงทิ้งทับศัพท์ไว้เป็นภาษาบาลีเดิม คือสูกรมัททวะ ไม่ต้องแปล)



567_1
เสด็จเมืองกุสินารา 

        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปเมืองกุสินารา (แล้วเสด็จทั้งที่ยังประชวรในกลางทาง ทรงแวะนั่ง ณ ร่มไม้แห่งหนึ่ง) อานนท์ ! เธอจงปูผ้าสังฆาฎิที่พับเป็นสี่ชั้น
         ให้เราเถิด เราลําบากกายนัก จักนั่งพัก อานนท์! เธอจงนําน้ําดื่มมาให้เราเรา ระหายนัก. (พระอานนท์ทูลผัดว่า เกวียนห้าร้อยเพิ่งจะผ่านไป น้ําขุ่นหมด ขอให้ทรง ทนไปหา น้ําที่แม่น้ํากกุธนทีข้างหน้า จนตรัสซ้ําถึง ๒ ครั้ง พระอานนท์ จึงไปตักน้ํา แต่น้ำมิได้ขุ่นเลย กลับมาแล้วทูลความอัศจรรย์ ข้อนี้. ต่อจากนี้ ทรงพบ และ สนทนา เรื่องสมาธิอย่างยิ่งกับปุกกุสะ มัลลบุตร ดังที่กล่าวแล้วในภาค ๔ ตอน "ทรงมีฌานที่ แน่วแน่ชั้นพิเศษ". ในที่สุดเขารับถือสรณะ แล้วถวายผ้าเนื้อดีสองผืน).

        ปุกกุสะ! ถ้าอย่างนั้นเธอจงคลุมให้เราผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่ง ให้ อานนท์เถิด. (แต่เมื่อปุกกุสะทําดังนั้นหลีกไปแล้ว พระอานนท์น้อมเข้าไปสู่พระกายพระผู้มีพระ ภาคทั้งสองผืน เห็นพระฉวีผ่องใสยิ่งนัก ก็ทูลถาม). 

        อานนท์ ! เป็นอย่างนั้น กายของตถาคต ย่อมมีฉวีผุดผ่องในกาลสองครั้ง คือ ในราตรีที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และราตรี ที่ตถาคตปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสส นิพพานธาตุ. อานนท์! การปรินิพพานของตถาคตจักมีในระหว่าง ต้นสาละคู่ ในสวนสาละอันเป็นที่แวะพักกลางทาง ของพวกมัลลกษัตริย์ใกล้เมือง กุสินารา ในตอนป๎จฉิมยามแห่งคืนนี้. 

        มาเถิด อานนท์ ! เราจักไปยังแม่น้ํากกุธนทีด้วยกัน. (ทรงสรงในแม่น้ําแล้ว เสด็จ เข้าสวนอัมพวัน ประทับนอนสีหเสยยา เพื่อพักผ่อนบนสังฆาฎิพับเป็นสี่ชั้น ปูถวายโดย พระจุ นทกะ และตรัสปรารถถึงนายจุนท์).

        อานนท์ ! คงมีใครทําความเดือดร้อนให้แก่ จุนทะ กัมมารบุตรโดยกล่าวว่า "จุนทะ ! การที่ท่านถวายบิณฑบาตเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งหาได้โดยยากนั้น ไม่เป็น ลาภเสียแล้ว" ดังนี้.

        อานนท์ ! เธอพึงกําจัดความเดือดร้อนนั้นเสีย โดยกล่าวว่า "จุนทะ ! การถวาย บิณฑบาตครั้งสุดท้ายข องท่านเป็นความดีแล้วเป็นลาภของท่านแล้ว เราได้ฟ๎งมาแล้ว เฉพาะพระพักตร์ว่า บิณฑบาตทั้งสอง มีผลเสมอกัน มีผลยิ่งยอดกว่า บิณฑบาตอื่น ๆ คือ บิณฑบาตที่ พระตถาคตเจ้าเสวยแล้วตรัสรู้อนุตตร สัมมาสัม โพธิญาณ อย่าง ๑ และที่เสวยแล้ว เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุอย่าง ๑.

กุศลกรรมที่นายจุนทะ สร้างสมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ อายุ วรรณะ สุขะ ยศ สวรรค์ และความเป็นใหญ่."

        อานนท์ ! เธอพึงกําจัดความเดือดร้อน ของ นายจุนทะ กัมมารบุตรด้วยการกล่าว อย่างนี้แล (แล้วทรงเปล่งพระอุทานนี้)

        บุญ ย่อมเจริญงอกงาม แก่ทายกผู้ให้อยู่ ๆ  เวรย่อมไม่สืบต่อแก่บุคคล ผู้ระงับเวรเสียได้  คนฉลาดเท่านั้น ละบาปเสียได้แล้ว ก็นิพพาน  เพราะความ สิ้นไป แห่งราคะ โทสะ และโมหะ.


569
การปรินิพพาน หรือ การประทับสีหเสยยา ครั้งสุดท้าย


        อานนท์ ! มาเถิด เราจักไปสู่ฝ๎่งโน้นแห่งแม่น้ําหิรัญญวดี ไปยังสวนปุา สาละเป็น ที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา.
         (ครั้นถึงที่นั้นแล้วตรัสสั่งให้ตั้ง เตียงปรินิพพาน). 

        
อานนท์ ! เธอจงจัดตั้งเตียงน้อย ระหว่างต้นสาละคู่ มีศรีษะทางทิศเหนือ เรา ลําบากกายนัก จักนอน (ประทับสีหเสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาล โปรยลงบนพระสรีระ ดอกมัณฑารพ จุรณ์ไม้จันทน์ ดนตรีล้วนแต่ของทิพย์ ได้ตก ลงและบรรเลงขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคตเจ้า). 

        อานนท์ ! การบูชาเหล่านี้ หาชื่อว่า ตถาคตเป็นผู้ที่ได้รับสักการะเคารพ นับ ถือ บูชาแล้วไม่.

        
อานนท์! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดประพฤติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่; ผู้นั้นชื่อว่าย่อมสักการะ เคารพ นับ ถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด.

        อานนท์ ! เพราะฉะนั้นเธอพึงกําหนดใจว่า `เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่' ดังนี้. (ต่อจากนี้ ทรงขับท่านพระอุปวาณะ ที่เข้ามา อยู่งานพัดพระอานนท์ทูลถามถึงเหตุที่ขับ ตรัส ตอบดังต่อไปนี้) 

         อานนท์ ! พวกเทวดาในโลกธาตุทั้งสิบโดยมาก มาประชุมกันแล้วเพื่อเห็น ตถาคต.  
         อานนท์ !  สวนปุาสาละที่แวะพักของมัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา ๑๒ โยชน์โดยรอบ มิได้มีที่ว่างแม้เท่าปลายขนทราย ที่เทวดามีศักดิ์มิได้ตั้งอยู่.

         เทวดา ท. ย่อมยกโทษว่า `เราทั้งหลายมาแต่ไกลเพื่อเห็นพระตถาคต ต่อนาน นัก พระตถาคตจึงจะเกิดขึ้นในโลก สักคราวหนึ่ง และการปรินิพพานของ พระตถาคต ก็จักมีในป๎จฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ก็พระภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่รูปนี้มายืนเสียตรงพระ พักตร์ บังอยู่ เรา ท. ไม่ได้เห็นพระตถาคตในกาลสุดท้าย'ดังนี้.
(ต่อจากนี้ พระอานนท์ทูลถาม ถึงความรู้สึกภายในใจของพวกเทวดาได้ตรัส ดังต่อไปนี้) 

        อานนท์ ! มีพวกเทวดา ผู้มีความสําคัญในอากาศ ว่าเป็นแผ่นดินและพวกที่ มีความสําคัญในแผ่นดิน ว่าแผ่นดิน พากันสยายผม ร้องไห้คร่ําครวญ กอดแขน ร้องไห้ คร่ําครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา ดุจว่ามีเท้าถูกตัดขาดออก รําพันอยู่ว่า`พระผู้มีพระภาค จักปรินิพพาน เสียเร็วนัก พระสุคตจักปรินิพพานเสียเร็วนัก พระผู้เป็นดวงจักษุในโลก จักดับหายไปเสียเร็วนัก'ดังนี้.

         ส่วนเทวดาเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว เทวดา ท. เหล่านั้น มีสติสัมปชัญญะ อด กลั้นด้วยรู้สึกว่า `สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ข้อที่จะให้ได้ตามใจหวังในเรื่องนี้นั้น สัตว์จักได้มาแต่ที่ไหนเล่า' ดังนี้.

(ต่อจากนี้ พระอานนท์ทูลถึงเมื่อไม่มีพระองค์ แล้ว สาวกก็ไม่ได้พบปะกันเหมือนดั่ง บัดนี้ ทรงแสดงสถานที่สี่แห่ง คือที่ประสูติตรัสรู้แสดง ธรรมจักร และนิพพาน ว่าเป็น ที่ควร เห็น และพบปะกันของพุทธบริษัท ดังที่ปรากฏอยู่ใน เรื่องสุดท้ายของภาคนี้. ต่อจากนั้น ตรัสเรื่อง การปฏิบัติในสตรี คือ การไม่พบปะด้วย ถ้า ต้องพบปะก็ไม่พูด ถ้าต้องพูดพึงมีสติ ต่อจากนั้น พระอานนท์ได้ทูลถามถึงการ จัดพระศพ). 

        อานนท์ ! พวกเธออย่าขวนขวาย เพื่อจัดการบูชาสรีระของตถาคตเลย จงสืบต่อ จงพยายาม ในประโยชน์ของตน (คือการตั้งหน้าปฏิบัติ) เถิดจงอย่า ประมาท จงมีความเพียร กําหนดอยู่ในประโยชน์ของตนเถิด.

        อานนท์!กษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ในตถาคตก็มีอยู่ เขาเหล่านั้น จักจัดการ บูชาสรีระของตถาคต. 

        "ข้าแต่พระองค์ ! เขาเหล่านั้น พึงจัดการอย่างไร?"

        อานนท์ ! เขาพึงจัดเหมือนที่จัดในสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ เขาพัน สรีระของ พระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่ แล้วซับสําลี แล้วพันด้วยผ้าใหม่โดยอุบาย นี้ ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กเต็มด้วยน้ํามัน ปิดด้วยรางเหล็กอีกรางหนึ่ง กระทําจิตกาธาร ด้วยของหอมทุกอย่างแล้ว จึงถวายพระเพลิง กระทําสถูป (ที่ระลึก) สําหรับพระมหา จักรพรรดิ ไว้ ณ หนทางสี่แยก.

         อานนท์ ! ชนเหล่านั้นพึง ปฏิบัติในสรีระของตถาคต เช่นเดียวกับที่ชนทั้งหลาย ปฏิบัติ ในสรีระของพระมหา จักรพรรดิ นั้นแล ชนเหล่าใดวางพวงมาลัย หรือของหอม หรือจุรณ์หอม ณที่นั้นก็ ดี หรืออภิวาท หรือทําความเลื่อมใสอยู่ในจิตก็ดี ข้อนั้นจักเป็น ไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เขาสิ้นกาลนาน.

         (ต่อจากนั้นตรัสเรื่องเกี่ยวกับบุคคลควรแก่ การก่อสถูป ๔ จําพวกคือ พระตถาคต พระป๎จเจกพุทธะ พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ พระอานนท์เลี่ยงไป ยืนเหนี่ยวไม้เต้า กปิสีสะ ร้องไห้อยู่ ตรัสให้ไปเรียกตัวมา ตรัสสรรเสริญว่าเป็น ยอดของ อุป๎ฎฐาก ผู้หนึ่ง ในบรรดายอดอุป๎ฎฐากของพระพุทธเจ้าทั้งปวง. และสรรเสริญการรอบ รู้ในหน้าที่นี้ และการกล่าววาจาเป็นที่ชอบใจแก่ผู้เข้าไปคบหา ต่อจากนั้น พระอานนท์ ทูลขอให้ เสด็จไปปรินิพพานเมืองอื่น เพราะเมืองนี้เป็นเมืองกิ่ง เมืองดอน). 

         อานนท์ ! เธออย่ากล่าวว่า เมืองน้อย เมืองดอน กิ่งเมือง ดังนี้เลยครั้ง ก่อนโน้น ราชาพระนามว่ามหาสุทัศน์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิธรรมราชามีอาณาเขต กระทั่ง มหาสมุทรทั้งสี่ ชนะสงครามมีชนบทมั่งคั่ง ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ชนิด.

         อานนท์! เมืองกุสินารานี้แล เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ (ในครั้งนั้น) ชื่อว่า กุสาวดี ยาวทางบุรพทิศ และป๎จฉิมทิศ ๑๒ โยชน์กว้างทางอุตตรทิศ และทักขิณ ทิศ ๗ โยชน์ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่มนุษย์ ฯลฯ. 

        
อานนท์ ! เธอจงเข้าไปในเมืองกุสินารา จงบอกแก่มัลลกษัตริย์ ท.แห่ง เมือง กุสินาราว่า `ดูก่อนกษัตริย์ผู้วาเสฎฐโคตร ท.! ในยามสุดท้ายแห่งราตรีวันนี้ การปรินิพพานของพระตถาคตเจ้าจักมี.
        เชิญท่าน ท. รีบไปขออย่าต้องเดือดร้อน ในภายหลังว่า การปรินิพพานของ พระตถาคตเจ้า ได้มีแล้วในคามเขตของพวกเรา แต่พวกเรามิได้เห็นพระตถาคตเจ้า เป็นครั้งสุดท้าย'.
         (พระอานนท์ผู้เดียว เข้าไปแจ้ง แก่มัลลกษัตริย์ มัลลกษัตริย์ คร่ำครวญโดย นัยเดียวกับพวกเทวดาที่กล่าวมาแล้ว พากันออกมา เฝูาพระองค์.
         พระอานนท์จัดให้เฝูาโดยขานชื่อถวายทีละพวก เสร็จก่อนปฐมยาม. ต่อจากนี้ สุภัททปริพพาชกมีโอกาสเข้าเฝ้า ทูลถามความผิดหรือถูกของลัทธิอื่น ๆ.
         ตรัสห้ามเสีย แล้วตรัส ถึงเรื่องสมณะที่แท้จริง มีเฉพาะในศาสนาที่มีอริยมรรค ประกอบด้วยองค์แปดไม่มีในศาสนาที่ไม่ มีอริยมรรคมีองค์แปด).


         สุภัททะ ! เราเมื่อมีวัย ๒๙ ปี บวชแล้วแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ๆนับ แต่บวชแล้วได้ ๕๑ ปี ความเป็นไปแห่งธรรมประเทศเครื่องตรัสรู้ มิได้มีภาย นอกจากธรรมวินัยนี้ แม้สมณะ (สมณะที่ ๑ คือ โสดาบัน) ก็มิได้มี.ภายนอกจาก ธรรมวินัยนี้ แม้สมณะที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็มิได้มี.

         วาทะเครื่องสอนของผู้อื่น ว่างจาก สมณะของพวกอื่น สุภัททะ ! ก็ภิกษุ ท. เหล่านี้พึงอยู่โดยชอบเถิด โลกก็จะไม่ ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย.
         (ต่อจากนี้ สุภัททะทูลสรรเสริญเทศนา ขอบรรพชา อุปสมบท ได้รับยกเว้น ไม่ต้องติตถิยปริวาสก่อนอุปสมบทต่อมาไม่นานได้บรรลุอรหัตตผล. (เธอเป็นสาวก องค์สุดท้ายในบรรดาสาวกที่ทันเห็นพระพุทธองค์) ต่อจากนี้ได้ตรัสพระโอวาทที่สําคัญ ๆ ต่าง ๆ อีก ๔-๕ เรื่อง). 
        อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า `ธรรมวินัยของพวกเรามี พระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา' ดังนี้.
         อานนท์!พวกเธออย่า คิดดังนั้น.

        อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ท. ธรรมวินัยนั้น จักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอ ท. โดยกาลที่เราล่วงลับไป แล้ว.
 
        อานนท์ ! เวลานี้ พวกภิกษุทั่วไป เรียกกันด้วยคําว่า อาวุโส๑ แก่กันและกัน (ทั้งแก่ทั้งอ่อน) โดยกาลที่เราล่วงลับไปแล้ว ไม่ควรเรียกร้องกันดั่งนั้น ผู้แก่กว่า จงเรียกผู้อ่อน โดยชื่อ หรือโดยชื่อสกุล หรือโดยคําว่า อาวุโส  ผู้อ่อนกว่า จงร้องเรียก ผู้แก่กว่า ว่า ภันเต  หรือ อายัสมา. 

         อานนท์ ! โดยกาลที่เราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จงเลิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ถ้าต้องการ.
         อานนท์ ! โดยกาลที่เราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ คือ ภิกษุฉันนะจงกล่าวอะไรได้ตามพอใจ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่ง สอนเธอ.
         (ต่อจากนี้ตรัสประทานโอกาสครั้งสุดท้ายให้ผู้นั้นกล่าวออกมาได้ถ้าใครยังสงสัย รังเกียจอันใดบ้าง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์). 

         ภิกษุ ท.!  ก็ถ้ามีภิกษุแม้รูปหนึ่ง  มีความเคลือบแคลงเห็นแย้งใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค ในข้อปฏิบัติก็ดี จงถามเสีย. อย่าเป็นผู้เดือดร้อน ในภายหลัง ว่า`เราอยู่เฉพาะหน้าพระศาสดาแล้ว ไม่กล้า ถามในที่เฉพาะหน้า' ดังนี้ (ไม่มีภิกษุรูปใดทูลถาม ตลอดเวลาที่ทรงเตือนซ้ําจน ครบสาม ครั้งในที่สุดตรัสว่า ถ้าไม่กล้าถามเอง ให้วานเพื่อนถามแทน ก็ไม่มีใครทูลถาม.

        
พระอานนท์ทูล สรรเสริญความที่ภิกษุสงฆ์แม้แต่รูปหนึ่ง ก็ไม่มีใครเคลือบแคลง ในพระศาสดา หรือธรรมวินัย ของตนตรัสว่า)

         อานนท์ ! เธอกล่าวด้วยความเลื่อมใสและหยั่งถึง. ที่จริงในเรื่องนี้ ความรู้สึก ของตถาคตก็มีแล้วว่า ความเคลือบแคลงเห็นแย้ง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค ในข้อปฏิบัติ ของภิกษุแม้รูปเดียว ในภิกษุสงฆ์นี้ไม่มี เลย

         อานนท์ ! เพราะว่าในบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านี้ รูปใดที่ต่ําที่สุดกว่าเขา ทั้งปวง รูปนั้นก็ยังเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เที่ยงต่อนิพพาน มีการ ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า (ในที่สุด ได้ทรงเตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า)

        ภิกษุ ท.! บัดนี้ เราจักเตือนพวกเธอ ท. ว่า `สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา พวกเธอ ท. จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความ ไม่ประมาทเถิด' ดังนี้.

        นี่เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต.  

        (ต่อจากนี้ ทรงนิ่งเงียบ : เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญา-นาสัญญายตนฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วย้อนลงกลับมาตามลําดับ จนถึงปฐมฌาน แล้ว ย้อนขึ้นอีกโดยลําดับ ๆ จนถึงจตุตถฌาน เสด็จปรินิพพาน ในเมื่อออกจาก จตุตถฌานนั้นแล้ว). 

        (เรื่องหลังจากการปรินิพพานแล้วต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ตรัสไว้ก่อนการ ปรินิพพานในที่ต่าง ๆ กัน. ได้นํามาเรียบลําดับไว้ตอนนี้ ก็เพื่อให้เป็นท้องเรื่องประวัติ ที่เข้ารูปกัน ผู้อ่านไม่พึง ฉงนว่าพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วทําไมยังมาตรัสเล่าได้อีก).
     
   

575
แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการปรินิพพาน


        อานนท์ ! ในกาลใด ตถาคต ปรินิพพาน  ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในกาลนั้น ปฐวีย่อมไหว ย่อมสั่น ย่อมสะเทือน.

        อานนท์ ! นี่เป็นเหตุที่แปด เป็นป๎จจัยที่แปด แห่งการปรากฏการไหวของ แผ่นดิน อันใหญ่หลวง.

(๑. พึงทราบว่า ออกจากฌานนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงเลื่อนขึ้นฌานต่อไปได้ โดยลําดับ.
 ๒. บาลี จาลวรรค อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๓/๑๖๗. ตรัสแก่พระอานนท์.
๓. แผ่นดินไหว เพราะเหตุ แปดอย่างคือ ลมกําเริบ ผู้มีฤทธิ์บันดาล โพธิสัตว์ลงสู่ ครรภ์ ประสูติ ตรัสรู้ พระตถาคตแสดงธรรมจักร ปลงอายุสังขาร และนิพพาน.
๔. บาลี พรหมชาลสูตร สี. ที. ๙/๕๙/๙๐. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่อุทยานอัมพลัฎฐิกา ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา.)



575_1
เราเห็นพระองค์ได้ชั่วเวลาที่ยังปรากฏพระกาย

        ภิกษุทั้งหลาย ! กายของตถาคตนี้ มีตัณหาอันเป็นเครื่องนําไปหาภพถูก ตถาคต ถอนขึ้น เสียได้แล้ว ดํารงอยู่. กายนี้ยังดํารงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ยังคงได้เห็น ตถาคตนั้น อยู่เพียงนั้นเพราะการทําลาย  แห่งกาย หลังจากการควบคุม กันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่ เห็นตถาคตนั้นเลย. 

         ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว มะม่วงทั้งหลายเหล่าใดที่เนื่อง ขั้วเดียวกันมะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของตกตามไปด้วยกัน นี้ฉันใด ภิกษุ ทั้งหลาย ! กายของตถาคตก็ฉันนั้นกายของตถาคตมีตัณหาเครื่องนําไปหาภพถูก ตถาคตถอนขึ้นเสียได้แล้ว ดํารงอยู่.

         กายนี้ดํารงอยู่เพียงใดเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ยังคงเห็นตถาคตอยู่ชั่วเวลา เท่านั้น.
         เพราะการทําลายแห่งกายหลังจาก การควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นตถาคตเลย. 

        (อธิบายว่าเมื่อเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะแล้ว กายสิ้นเชื้อที่จะนําไปหาภพใหม่ คือการ เกิดอีก คงตั้งอยู่ชั่วเวลาที่ยังไม่แตกดับ. ครั้นแตกดับแล้ว ถึงความเป็นของว่าง ไม่มีอะไรเหลือ. ส่วนผสมของกายสําหรับภพต่อไป รวมขั้วอยู่ที่ตัณหาที่เป็นเครื่องนํา ไปหาภพ เพราะฉะนั้นจึง ตรัสไว้ดังนี้).


576
การปรินิพพานของพระองค์คือความทุกข์ร้อน ของมหาชน

        ภิกษุ ท. ! การทํากาลกิริยาของบุคคลเอก ย่อมเป็นความทุกข์ร้อนของ มหาชนเป็นอันมาก.การทํากาลกิริยาของบุคคลเอกคนใดเล่า? คือการทํากาลกิริยา ของพระตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.

        ภิกษุ ท.! การทํากาลกิริยาของบุคคลเอกนี้แล ย่อมเป็นความทุกข์ร้อนของ มหาชนเป็นอันมาก


577
สังเวชนียสถานภายหลังพุทธปรินิพพาน

         "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แต่ก่อนนี้ ภิกษุทั้งหลายที่จําพรรษาในทิศต่าง ๆ แล้วย่อมมาเฝูาพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้มีโอกาสเห็นภิกษุ ทั้งหลายผู้น่าเจริญใจเหล่านั้น ได้มีโอกาสเข้าพบปะภิกษุทั้งหลายผู้น่าเจริญใจ เหล่านั้น.

         ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไปแล้ว พวกข้าพระองค์ทั้งหลายย่อม หมดโอกาสที่จะได้เห็น หรือได้เข้าพบปะภิกษุทั้งหลายผู้น่าเจริญใจเหล่านั้นอีก ต่อไป".
         -พระอานนท์ กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันปรินิพพาน. 

          ดูก่อนอานนท์ ! สถานที่ที่ควรเห็น และควรเกิดความสังเวช แก่กุลบุตรผู้มี ศรัทธา มีอยู่ ๔ ตําบล. ๔ ตําบลอะไรเล่า?
         ดูก่อนอานนท์ ! สถานที่ที่ควรเห็นและ ควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าพระตถาคตประสูติแล้วณ ที่นี้ ๑
         สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาว่าพระตถาคตได้ ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้ ๑
         สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิด ความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่าพระตถาคต ได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้ เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้ ๑
         สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้ มีศรัธา ว่าพระตถาคต ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้วณ ที่นี้ ๑.

อานนท์ ! สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา มี ๔ ตําบลเหล่านี้แล.


        อานนท์ ! ภิกษุทั้งหลาย หรือภิกษุณีทั้งหลาย หรืออุบาสกทั้งหลายหรือ อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีศรัทธา จักพากันมาสู่สถานที่ ๔ ตําบลเหล่านี้โดยหมายใจว่า พระตถาคตได้ประสูติแล้ว ณ ที่นี้บ้าง พระตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณแล้ว ณ ที่นี้บ้าง พระตถาคตได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้บ้าง พระตถาคตได้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้บ้าง ดังนี้. 

        อานนท์ ! ชนเหล่าใดเที่ยวไปตามเจดียสถาน จักมีจิตเลื่อมใส ทํากาละ แล้ว ชนเหล่านั้นจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตายเพราะการทําลาย แห่งกาย ดังนี้.


จบภาค 5