เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  5 of 11  
         
         
  สารบาญ ภาค 4    

  สารบาญ ภาค 4

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  การประกาศพระศาสนา 243-244     ทรงเป็นยามเฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์ 267
  หลักที่ทรงใช้ในการตรัส๑ (๖ อย่าง) 244-245     ทรงปล่อยปวงสัตว์ เหมือนการปล่อยฝูงเนื้อ 268-269
  ทรงมีหลักเกณฑ์ในการกล่าวผิดจากหลักของคนทั่วไป 245-246     ทรงจัดพระองค์เองในฐานะเป็นผู้ฉลาดในเรื่องหนทาง 270-271
  อาการที่ทรงแสดงธรรม 246     ทรงสอนเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทั้งปวง 271-272
  สมาธินิมิตในขณะที่ทรงแสดงธรรม  246-247     ทรงเป็นศาสดาที่ไม่มีใครท้วงติงได้ 272-273
  ทรงแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง 247-248     ทรงสามารถในการสอน 273-274
  เกี่ยวกับ "มี" หรือ "ไม่มี" 248     แสดงสติป๎ฎฐานสี่เพื่อขจัดทิฎฐินิสสัยทั้งสองประเภท 274-275
  เกี่ยวกับ "ผู้นั้น" หรือ "ผู้อื่น" 248-249     ทรงสามารถสอนให้วิญญุนรู้ได้เองเห็นได้เอง 275-276
  เกี่ยวกับ "ทำเอง" หรือ "ผู้อื่นทำ" 249-251     ทรงสามารถยิ่ง ในการสอน 276-278
  เกี่ยวกับ "อย่างใดอย่างหนึ่ง" หรือ "อย่างอื่น" 251-252     ประกาศพรหมจรรย์ - ที่เทวดามนุษย์ประกาศตามได้ 278-279
         
  เกี่ยวกับ "เหมือนกัน" หรือ "ต่างกัน" 252-253     ทรงประกาศพรหมจรรย์ น่าดื่มเหมือนมัณฑะ  279-281
  ไม่ทรงบัญญัติอะไรเป็นอะไร โดยส่วนเดียว 253-254     ทรงแสดงหนทางที่ผู้ปฎิบัติ-จะเห็นได้เองว่าถูกต้อง 281
  ทรงแสดงทั้งเอกังสิกธรรมและอเนกังสิกธรรม 255-256     แสดงสวากขาตธรรมที่มีผล ๖ อันดับ-สวรรค์ต่ำสุด 281-283
  ทรงแสดงธรรมด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง 256-257     สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำมาสอนมีมากกว่าที่ทรงสอน 284-285
  ทรงแสดงธรรมเพื่อปล่อยวางธรรม มิใช่เพื่อยึดถือ 257-258     คำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด 285
  อาการที่ทรงบัญญัติวินัย 258-259     ทรงมีการกล่าวที่ไม่ขัดแย้งกับบัณฑิตชนในโลก 285-286
  เหตุผลที่ทำให้ทรงบัญญัติระบบวินัย 259-261     ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์  286-287
  หัวใจพระธรรมในคำ "บริภาส" ของพระองค์ 261-263     คำสอนที่ทรงสั่งสอนมากที่สุด  287-288
  ทรงแสดงหลักศาสนาไม่มีวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด 263-264     ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับ (อย่างย่อ) 288-291
  ทรงแสดงหลักกรรมชนิดที่เป็น "พุทธศาสนาแท้" 265-266     ทรงฝึกสาวกเป็นลำดับๆ  291-296
         
 
 





ภาค 4


เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญน่้อยต่าง ๆ ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว
ไปจนถึงจวนจะเสด็จปรินิพพาน และ เรื่องบางเรื่องที่ควรผนวกเข้าไว้ในภาคนี้


(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)


หน้า 243-244 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
การประกาศพระศาสนา

        ภิกษุ ท.! เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของ มนุษย์ แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และของ มนุษย์.  ภิกษุ ท. ! พวกเธอ ท. จงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข แก่มหาชนเพื่อความเอน็ดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ ท. อย่าไปทางเดียวกันถึงสองรูป.

        ภิกษุ ท.! พวกเธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น ให้งดงามใน ท่ามกลาง ให้งดงาม ในที่สุดลงรอบ จงประกาศพรหมจรรย์ให้เป็นไปพร้อมทั้ง อรรถะทั้ง พยัญชนะ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีใน ดวงตา แต่เล็กน้อยก็มีอยู่. สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ ฟ๎งธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่.  ภิกษุ ท.! แม้เราเอง ก็จักไปสู่ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.


244-245
หลักที่ทรงใช้ในการตรัส๑ (๖ อย่าง) 

ราชกุมาร !
(๑) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ และ ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น. 

(๒) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อัน จริง อัน แท้ แต่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น. 

(๓) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อัน จริง อัน แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่  ไม่เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม เลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น. 

(๔) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อัน ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น. 

(๕) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อัน จริง อัน แท้ แต่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ก็ เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าว วาจานั้น.

(๖) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อัน จริง อัน แท้ และ ประกอบด้วยประโยชน์ และ เป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าว วาจานั้น. 

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? ราชกุมาร ! เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ ทั้งหลาย.


245-246
ทรงมีหลักเกณฑ์ในการกล่าวผิดจากหลักเกณฑ์ของคนทั่วไป

(วัสสการพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า ) 
"พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้ามีถ้อยคําและความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ใดใคร กล่าวตามที่เขาเห็นมา ว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นมาอย่างนี้" ก็ดี กล่าวตามที่เขาฟ๎งมา ว่า "ข้าพเจ้าได้ฟ๎งมาอย่างนี้" ก็ดี กล่าวตามที่เขากระทบ (ทางจมูก ลิ้น กาย) มา ว่า "ข้าพเจ้าได้กระทบมาอย่างนี้" ก็ดี กล่าวตามที่เขารู้ประจักษ์แก่ใจมา ว่า "ข้าพเจ้า ได้รู้ประจักษ์แก่ใจมาอย่างนี้"ก็ดี โทษเพราะการกล่าวเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่เขา เหล่านั้น ดังนี้." 

พราหมณ์ !
เราไม่กล่าว สิ่งที่ได้เห็นมา ทุกสิ่ง ว่าเป็นสิ่งที่ควรกล่าวหรือว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว
เราไม่กล่าว สิ่งที่ได้ฟังมา ทุกสิ่ง ว่าเป็นสิ่งที่ควรกล่าวหรือ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว
เราไม่กล่าว สิ่งที่ได้กระทบมา ทุกสิ่ง ว่าเป็นสิ่งที่ควร กล่าว หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควร กล่าว
เราไม่กล่าว สิ่งที่ได้รู้ประจักษ์แก่ใจมา ทุกสิ่ง ว่าเป็นสิ่งที่ควรกล่าว หรือว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ควรกล่าว. 

พราหมณ์ ! เมื่อกล่าวสิ่งใดที่ได้เห็นมา แล้วทําให้อกุศลธรรมเจริญ กุศล ธรรมเสื่อม เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็นชนิดนั้น ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว

พราหมณ์ ! แต่ว่า เมื่อกล่าวสิ่งใดที่ได้เห็นมา แล้วทําให้อกุศลธรรมเสื่อมกุศล ธรรมเจริญ เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็นชนิดนี้ ว่า เป็นสิ่งที่ควรกล่าว ดังนี้.
(ในกรณีแห่ง สิ่งที่ได้ฟ๎ง ก็ดี ที่ได้กระทบ ก็ดี ที่ได้รู้ประจักษ์แก่ใจ ก็ดี ก็ตรัสไว้ ด้วย ข้อความมี ระเบียบอักษรอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งสิ่งที่ได้เห็น ดังที่ได้กล่าว มาแล้วข้างบนนี้ทุก ประการ)


246
อาการที่ทรงแสดงธรรม

ภิกษุ ท. ! เราย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่เพื่อไม่รู้ยิ่ง เราย่อม แสดงธรรม มีเหตุผลพร้อม มิใช่ไม่มีเหตุผลพร้อม เราย่อมแสดงธรรมมีความน่าอัศจรรย์ (น่าทึ่ง) มิใช่ไม่มีอัศจรรย์.
 
ภิกษุ ท. ! เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มีเหตุผลพร้อม มีความน่าอัศจรรย์ มิใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ไม่มีเหตุผล ไม่มีความน่าอัศจรรย์ อยู่ดังนี้ โอวาท ก็เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ควรทำตาม อนุสาสนี ก็เป็นสิ่งที่ใครๆ ควรทำตาม. 

ภิกษุ ท. ! พอละ เพื่อความยินดี ความอิ่มเอิบใจ ความโสมนัสแก่พวกเธอ ทั้งหลาย ว่า "พระผู้มีพระภาค เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นสิ่งที่ พระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์คือผู้ปฏิบัติดีแล้ว" ดังนี้.


246-247
สมาธินิมิตในขณะที่ทรงแสดงธรรม 

อัคคิเวสนะ ! ก็เราสํานึกอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้แสดงธรรม แก่บริษัทเป็น จํานวนร้อย ๆ.อาจจะมีคนสักคนหนึ่ง มีความสําคัญอย่างนี้ว่า "พระสมนโคดม

แสดงธรรมปรารภเราคนเดียวเท่านั้น ดังนี้ อัคคิเวสนะ ! ท่านอย่าพึงเห็นอย่าง นั้นเลย ตลอดเวลาที่ตถาคตยังแสดงธรรมอยู่โดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้มหาชนรู้ แจ้ง อยู่โดยท่านเดียว. 

อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ จําเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคําสุดท้ายแห่งการ กล่าวเรื่อง นั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีความเป็นจิตเอก ดังเช่นที่คน ท. เคยได้ยินว่าเรา กระทําอยู่เป็นประจํา ดังนี้ 

หมายเหตุ : ข้อความเหล่านี้มีใจความว่า ทรงมีสมาธิจิตตลอดเวลา ที่ทรง แสดงธรรม กล่าวคือเมื่อกําลังตรัส ก็มีสมาธิในถ้อยคําที่ตรัส; ในระหว่างแห่งการ ขาดตอนของคําตรัส ซึ่งถ้าเกิดมีขึ้น ก็ทรงมีสมาธิเนื่องด้วยสุญญตา ดังที่พระองค์ มีอยู่เป็นประจํา. เป็นอันว่า ตลอดเวลาที่ทรงแสดงธรรมไม่มีจิตที่ละไปจากสมาธิ ในภายใน.  ---ผู้รวมรวม.


247-248
ทรงแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง :
 เกี่ยวกับ "กามสุขัลลิกานุโยค" หรือ อัตตกิลมถานุโยค"


ภิกษุ ท. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโด่งอยู่ ๒ สิ่ง ที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโด่งนั้นคืออะไร ? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ ในกาม ท. อันเป็นการกระทําที่ยังต่ําเป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ การประกอบความเพียรในการ ทรมานตนให้ลำบาก อันนํามาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้าไม่ ประกอบด้วย ประโยชน์ สองอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่ง ๒ อย่างนั้น เป็นข้อ ปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทําให้เกิดจักษุ เป็นข้อ ปฏิบัติ ทําให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อมเป็นไป เพื่อนิพพาน.


248
เกี่ยวกับ "มี" หรือ "ไม่มี"

ชาณุสโสณีพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า “ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ! สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือหนอ?” 

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วย ทิฏฐิว่า "สิ่งทั้งปวง มีอยู่" ดังนี้ นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่หนึ่ง". 

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่หรือ?" 

พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่" ดังนี้ นี้ เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สอง. 

พราหมณ์ ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วน สุดทั้งสอง นั้น.... (ต่อจากนี้ ทรงแสดงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งทําให้กล่าวไม่ได้ว่า มีอะไร ที่เป็นตัวตนโดยแท้จริง หรือไม่มีอะไรเสียเลย)


248-249
เกี่ยวกับ "ผู้นั้น" หรือ "ผู้อื่น"

ครั้งหนึ่ง ที่เชตวัน พราหมณ์ผู้หนึ่ง ได้เข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า  "ข้า แต่พระโคดมผู้เจริญ ! ผู้นั้นกระทํา ผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนั้นหรือ?"

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสตอบว่า "พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า "ผู้นั้นกระทํา ผู้นั้นเสวย (ผล)" ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่หนึ่ง" 

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ผู้อื่นกระทํา ผู้อื่นเสวย (ผล) หรือ?"  พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "ผู้อื่นกระทํา ผู้อื่นเสวย (ผล)" ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สอง. 

พราหมณ์ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุด ทั้งสองนั้น ....(ต่อจากนี้ ทรงแสดงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ซี่งแสดงความไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ดังนั้นจึงไม่มีผู้นั้น หรือผู้อื่น)


249-251
เกี่ยวกับ "ทำเอง" หรือ "ผู้อื่นทำ"

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระ โคดมผู้เจริญ ! สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ บุคคลกระทําเองหรือ? " ดังนี้ ทรงตอบว่า "อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ !" ดังนี้

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระ โคดมผู้เจริญ ! สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ บุคคลอื่นกระทําหรือ?" ดังนี้ ทรงตอบว่า "อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ !"ดังนี้

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า"ข้าแต่พระ โคดมผู้เจริญ ! สุขและทุกเป็นสิ่งที่ บุคคลกระทําเอง ด้วยและบุคคลอื่นกระทําให้ ด้วยหรือ?" ดังนี้ทรงตอบว่า "อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ !" ดังนี้

เมื่อข้า พระองค์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ มิใช่ทําเองหรือ ใครทําให้ก็เกิดขึ้นได้หรือ?" ดังนี้ ทรงตอบว่า "อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!" ดังนี้

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! สุขและทุกข์ไม่มีหรือ?" ดังนี้ ทรงตอบว่า "ติมพรุกขะ ! มิใช่สุขและทุกข์ไม่มี ที่แท้สุขและทุกข์มีอยู่"ดังนี้

ครั้นข้าพระองค์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น พระโคดม    ผู้เจริญย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์กระมัง?" ดังนี้ ก็ยังทรงตอบว่า "ติมพรุกขะ ! เรา จะไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์ ก็หามิได้ เราแล ย่อมรู้ ย่อมเห็น ซึ่งสุขและทุกข์". ดังนี้.   

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระโคดมผู้เจริญ จงตรัสบอกซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) สุขและ ทุกข์ และจงทรงแสดงซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) สุขและทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด". 

ติมพรุกขะ ! เมื่อบุคคลมีความสําคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า "เวทนาก็สิ่งนั้น บุคคลผู้เสวยเวทนาก็สิ่งนั้น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้ดังนี้เราก็ยังไม่กล่าวว่า "สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทําเอง". 

ติมพรุกขะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสําคัญมั่นหมายว่า"เวทนาก็สิ่งอื่น บุคคลผู้เสวยเวทนาก็สิ่งอื่น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้อย่างนี้เราก็ยังไม่ กล่าวว่า "สุขและ ทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทําให้" ดังนี้. 

ติมพรุกขะ ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้ง สองนั้น...
(ต่อจากนี้ ทรงแสดงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งแสดงความไม่มีสัตว์บุคคลตัวตน เราเขา ดังนั้นจึงไม่มีผู้นั้นหรือผู้อื่นที่เป็นผู้กระทํา เป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท เท่านั้น)

(อีกนัยหนึ่ง) 

(อเจลกัสสปะเข้าไปเฝูา แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาค เกี่ยวกับเรื่องความทุกข์ว่า ทําเอา เองหรือผู้อื่นทําให้เป็นต้น ตรัสตอบแล้ว เขาได้กราบทูลต่อไป ซึ่งคํา กราบทูลนั้นมีข้อความตรง เป็นอันเดียวกันกับข้อความตอนต้น ของเรื่องที่แล้วมา ข้างบนนั้นทุกประการ ผิดกันแต่คําว่า "ความทุกข์"แทนคําว่า "สุขทุกข์" เท่านั้น จนถึงข้อความว่า ...เราแล ย่อมรู้ ย่อมเห็น ซึ่ง ความทุกข์."ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัสบอกซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) ความทุกข์ และจงทรงแสดงซึ่ง (เรื่องราวแห่ง) ความทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด." พระผู้มี- พระภาค ได้ตรัสดังนี้ว่า) 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลมีความสําคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า "ผู้นั้นกระทํา ผู้นั้นเสวย (ผล)" ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า "ความทุกข์เป็นสิ่ง ที่บุคคลกระทํา เอง" ดังนี้ นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฎฐิที่ถือว่า เที่ยง). 

กัสสปะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสําคัญมั่นหมายว่า "ผู้อื่น กระทํา ผู้อื่น เสวย(ผล)" ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า "ความ ทุกข์ เป็นสิ่งที่ บุคคลอื่นกระทําให้" ดังนี้ นั่น ย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฎฐิที่ถือว่า ขาดสูญ). 

กัสสปะ ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้ง สองนั้น. ....(ต่อไปนี้ ตรัสกระแสแห่งปฎิจจสมุปบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเรา เขา อันจะเป็นที่ตั้งแห่งการบัญญัติว่าเราเองหรือผู้อื่น)


251-252
เกี่ยวกับ "อย่างใดอย่างหนึ่ง" หรือ "อย่างอื่น"

(เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสกระแสปฎิจจสมุปบาทฝุายสมุทยวารจบลงแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า)  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ชรามรณะ เป็นอย่างไรหนอ ! และชรา มรณะ นี้ เป็นของใคร?"  (ได้ตรัสตอบว่า) 

นั่นเป็นป๎ญหาที่ไม่ควรจะเป็นป๎ญหาเลย ภิกษุ ! บุคคลใดจะพึงกล่าว เช่นนี้ว่า "ชรามรณะเป็นอย่างไร และชรามรณะเป็นของใคร" ดังนี้ก็ดี หรือว่า บุคคล 

ใดจะพึงกล่าวเช่นนี้ว่า "ชรามรณะเป็นอย่างอื่น (ตรงกันข้ามจากที่กล่าว ว่าเป็น อย่างไรตามนัยแรก) และชรามรณะนี้ เป็นของผู้อื่น (ตรงกันข้าม จากที่กล่าวว่าเป็นของใคร ตามนัยแรก)" ดังนี้ก็ดี คํากล่าวของบุคคลทั้งสอง นี้มีอรรถ (ความหมายเพื่อการยึดมั่นถือมั่น) อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะ (เสียงที่กล่าว) เท่านั้น 

ภิกษุ ! เมื่อทิฎฐิว่า "ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" ดังนี้ก็ดี มีอย่ การอยู่ อย่าง ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. ภิกษุ ! หรือว่า เมื่อทิฎฐิว่า "ชีวะก็อันอื่น สรีระ ก็อันอื่น" ดังนี้ก็ดี มีอยู่ การอยู่อย่างประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่มี. 

ภิกษุ ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีชาติเป็นป๎จจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้. ---(ในกรณีแห่ง ชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะ-นามรูปวิญญาณ-สังขาร ก็มีการถาม และตอบ โดยนัยอย่างเดียวกัน)


252-253
เกี่ยวกับ "เหมือนกัน" หรือ "ต่างกัน"

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือ?"  พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยัน ลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวง มีอยู่" ดังนี้ นี้ เป็นลัทธิโลกายตะชั้นสุดยอด. 

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่หรือ?" 

พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่" ดังนี้ นี้ เป็นลัทธิโลกายตะอย่างที่สอง. 

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่าเดียวกันหรือ?"

พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน" ดังนี้ นี้ เป็นลัทธิโลกายตะอย่างที่สาม. 

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็สิ่งทั้งปวง มีสภาพต่างกันหรือ?" 

พราหมณ์ ! คํากล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฎฐิว่า "สิ่งทั้งปวง มีสภาพต่างกัน" ดังนี้ นี้เป็นลัทธิโลกายตะอย่างที่สี่. 
พราหมณ์ ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้ง สองนั้น. ....
(ต่อจากนี้ ทรงแสดงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งทําให้กล่าวไม่ได้ว่า สิ่งใดมีตัว ของมันเองโดยเด็ดขาดจนนําไปเปรียบกับสิ่งอื่นได้ว่าเหมือนกัน หรือต่างกัน).


253-254
ไม่ทรงบัญญัติอะไรเป็นอะไร โดยส่วนเดียว

(พระผู้มีพระภาค มิได้ทรงเป็น เอกํสวาที คือพวกที่บัญญัติอะไรดิ่งลงไปโดยส่วน เดียว ดังขวานผ่าซาก แต่ทรงเป็น วิภัชชวาที คือ แบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ เป็น ส่วน ที่ควรและไม่ควร ในสิ่งที่มีชื่อเรียกอย่างเดียวกัน ดังที่ปรากฏอยู่ใน ข้อความ ข้างล่างนี้ ควรที่พุทธบริษัทจะพึง ระวังสังวรเป็นอย่างยิ่ง เพื่อคงอยู่ในร่องรอย แห่งมัชฌิมาปฎิปทา). 

ถูกแล้ว ถูกแล้ว คหบดี! คหบดี! โมฆบุรุษเหล่านั้น เป็นผู้ที่ควรถูกข่มขี่ด้วย การ ข่มขี่อย่างถูกต้องเป็นธรรม ตลอดกาลโดยกาล.  

คหบดี ! เราย่อมไม่กล่าวตบะทุกอย่าง ว่าเป็นตบะที่ควรบําเพ็ญ หรือว่าไม่ ควร บําเพ็ญ เราไม่กล่าวการสมาทานทุกอย่าง ว่าควรสมาทาน หรือไม่ควร สมาทาน เราไม่กล่าวความเพียรทั้งปวงว่าควรตั้งไว้ หรือไม่ควรตั้งไว เราไม่

กล่าวการสลัดทั้งปวง ว่าควรสลัด หรือไม่ควรสลัด เราไม่กล่าวความหลุดพ้น   ทั้งปวง ว่าควรหลุดพ้น หรือไม่ควรหลุดพ้น. 

คหบดี ! เมื่อบําเพ็ญตบะใดอยู่ อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อมเรา กล่าวการ บําเพ็ญตบะชนิดนี้ ว่าไม่ควรบำเพ็ญ แต่เมื่อบําเพ็ญตบะใดอยู่อกุศล ธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ เรากล่าวการบําเพ็ญตบะชนิดนี้ ว่า ควรบำเพ็ญ. 

คหบดี ! เมื่อสมาทานการสมาทานใดอยู่ อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรม เสื่อม เรากล่าวการสมาทานชนิดนี้ ว่าไม่ควรสมาทาน แต่เมื่อมีการสมาทานการ สมาทานใดอยู่ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ เรากล่าวการสมาทานชนิดนี้ว่า ควรสมาทาน. 

คหบดี ! เมื่อตั้งไว้ซึ่งความเพียรใดอยู่ อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม เรากล่าว การตั้งไว้ซึ่งความเพียรชนิดนี้ ว่าไม่ควรตั้งไว้ แต่เมื่อตั้งไว้ซึ่งความเพียร ใดอยู่ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ เรากล่าวการตั้งไว้ซึ่งความเพียรชนิดนี้ ว่าควรตั้งไว้. 

คหบดี ! เมื่อสลัดซึ่งการสลัดใดอยู่ อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อมเรา กล่าวการ สลัดชนิดนี้ ว่าไม่ควรสลัด แต่เมื่อสลัดซึ่งการสลัดใดอยู่ อกุศล-ธรรม เสื่อม กุศลธรรมเจริญ เรากล่าวการสลัดชนิดนี้ ว่าควรสลัด.  

คหบดี ! เมื่อหลุดพ้นด้วยความหลุดพ้นใดอยู่ อกุศลธรรมเจริญกุศลธรรม เสื่อม เรากล่าวความหลุดพ้นชนิดนี้ ว่าไม่ควรหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นด้วยความหลุด พ้นใดอยู่ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญเรากล่าวความหลุดพ้นชนิดนี้ ว่าควร หลุดพ้น ดังนี้.

(เกี่ยวกับเรื่องนี้ ควรอ่านข้อความที่หน้า ๒๔๕ ภายใต้หัวข้อว่า "ทรงมีหลักเกณฑ์ ในการ กล่าว ผิดจากหลักเกณฑ์ของคนทั่วไป" เป็นเครื่องประกอบด้วย). 
 


255-256
ทรงแสดงทั้งเอกังสิกธรรมและอเนกังสิกธรรม

โปฎฐปาทะ ! ปริพพาชก ท. เหล่านั้น เป็นคนบอดไม่มีจักษุกว่าคนทั้งปวง โดยแท้. ในบรรดาคนเหล่านั้น ท่านคนเดียวเท่านั้น เป็นคนมีจักษุ.โปฎฐปาทะ ! ก็ เราแสดง บัญญัติธรรมทั้งที่เป็นเอกังสิกะ(ที่ควรแสดงบัญญัติโดยส่วนเดียว) และ เราแสดง บัญญัติธรรมทั้งที่เป็นอเนกังสิกะ (ที่ไม่ควรแสดงบัญญัติโดยส่วนเดียว). 

โปฎฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดง บัญญัติ ว่าเป็นอเนกังสิกะ นั้นเป็น อย่างไรเล่า? โปฎฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดงบัญญัติว่า เป็นอเนกังสิกะนั้น คือข้อ ที่ว่า
"โลกเที่ยง" ดังนี้บ้าง ----
"โลกไม่เที่ยง"  ดังนี้บ้าง ----
"โลกมีที่สิ้นสุด"ดังนี้บ้าง ----
"โลกไม่มีที่สิ้นสุด" ดังนี้บ้าง ----
"ชีวะก็ดวงนั้น ร่างกาย ก็ร่างนั้น"ดังนี้บ้าง  ----
"ชีวะก็ดวงอื่น ร่างกายก็ร่างอื่น" ดังนี้บ้าง ----
"ตายแล้ว ย่อมเป็นอย่างที่เป็น  มาแล้วอีก" ดังนี้บ้าง ----
"ตายแล้วไม่เป็นอย่างที่เป็นมาอีกแล้ว" ดังนี้บ้าง----
"ตายแล้ว ย่อมเป็น อย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็มี ไม่เป็นก็มี" ดังนี้บ้าง  ----
"ตายแล้ว ย่อมเป็นอย่างที่เป็นมารแล้วอีกก็ไม่ใช่ ไม่เป็นก็ไม่ใช่" ดังนี้บ้าง.

โปฎฐปาทะ ! เพราะเหตุไรเล่า เราจึงแสดง บัญญัติธรรมเหล่านี้ ว่าเป็นอเนกังสิกธรรม (ธรรมที่ ไม่ควรแสดงบัญญัติโดยส่วนเดียว)?
โปฎฐปาทะ ! ข้อนี้ เพราะว่าธรรมเหล่านั้น ไม่ประกอบด้วยอรรถะ
ไม่ประกอบด้วยธรรมะ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ 
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกําหนัด
ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบรํางับ
ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน;
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น เราจึงแสดงบัญญัติ ว่า เป็นอเนกังสิกธรรม

โปฎฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดง  บัญญัติ ว่าเป็นเอกังสิกะ นั้น เป็นอย่างไร เล่า?
โปฎฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดง บัญญัติ ว่าเป็นเอกังสิกะนั้น คือข้อที่ว่า"นี้ เป็นทุกข์" ดังนี้บ้าง ---
"นี้ เป็นเหตุให้ เกิดทุกข์" ดังนี้บ้าง ---
"นี้ เป็นความดับไม่ เหลือแห่งทุกข์" ดังนี้บ้าง ---
"นี้ เป็นข้อปฎิบัติให้ถึงความ ไม่เหลือแห่งทุกข์" ดังนี้ บ้าง.

โปฎฐปาทะ ! เพราะเหตุไรเล่าเราจึงแสดงบัญญัติธรรมเหล่านั้นว่าเป็น เอ กังสิกธรรม (ธรรมที่ควรแสดงบัญญัติโดยส่วนเดียว)?

โปฎฐปาทะ ! ข้อนี้เพราะว่า ธรรมเหล่านั้น ประกอบด้วยอรรถะ ประกอบด้วยธรรมะ
เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เป็นไปเพื่อความคลายกําหนัด
เป็นไปเพื่อ ความดับ เป็นไปเพื่อความสงบรํางับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อ ความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น เราจึงแสดง บัญญัติ ว่าเป็น เอกังสิกธรรม.


256-257
ทรงแสดงธรรมด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง

ภิกษุ ท.! พญาสัตว์ชื่อ สีหะ ออกจากถ้ําที่อาศัยในเวลาเย็น เหยียดยืดกาย แล้วเหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาทสามครั้งแล้ว ก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร.


ราชสีห์นั้น
เมื่อตะครุบช้าง ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม

เมื่อตะครุบควายป่า ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
เมื่อตะครุบวัว ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
เมื่อตะครุบเสือดาว ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
แม้ที่สุดแต่เมื่อตะครุบ สัตว์เล็ก ๆ เช่นกระต่ายและแมวก็ตะครุบด้วยความระมัดระวัง อย่างยิ่ง ไม่ หละหลวม
.

เพราะเหตุไรเล่า?

เพราะราชสีห์นั้นคิดว่าเหลี่ยมคูของราชสีห์อย่าได้เสื่อมเสียไปเสียดาย ดังนี้.

ภิกษุ ท.!  ก็ คำว่า ราชสีห์ ๆ นี้เป็นคำแทนชื่อตถาคต ผู้อรหันต์ตรัสรู้ชอบด้วย ตนเอง ด้วยเหมือนกัน การแสดงธรรมแก่บริษัทนั่นแหละ คือการบันลือสีหนาทของ ตถาคต

ภิกษุ ท.!

เมื่อตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม
เมื่อแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความ ระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม.
เมื่อแสดงแก่อุบาสกทั้งหลาย ก็แสดงด้วย ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม.
เมื่อแสดงแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดง ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม.
แม้ที่สุดแต่เมื่อแสดงแก่ปุถุชนชั้นต่ำ ทั่วไป เช่นแก่คนขอทาน หรือพวกพราน ทั้งหลาย ก็ย่อมแสดงด้วยความระมัดระวัง อย่างยิ่งไม่หละหลวมเลย.


เพราะเหตุไรเล่า?

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุว่า ตถาคตเป็นผู้ หนักในธรรม เป็นผู้เคารพต่อธรรม ดังนี้.


257-258
ทรงแสดงธรรมเพื่อปล่อยวางธรรม มิใช่เพื่อยึดถือ

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ไปพบแม่น้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ก็เต็มไปด้วย อันตรายน่ารังเกียจน่ากลัว ฝั่งข้างโน้นปลอดภัย. แต่เรือหรือสะพานสำหรับ ข้าม ไม่มีเพื่อจะข้ามไป.

เขาใคร่ครวญเห็นเหตุนี้แล้ว คิดสืบไปว่า "กระนั้นเราพึง รวบรวมหญ้าแห้ง ไม้แห้ง กิ่งไม้ และใบไม้ มาผูกเป็นแพแล้วพยายามเอาด้วยมือ และเท้า ก็จะพึงข้ามไปโดย สวัสดี".

บุรุษนั้นครั้นทำดังนั้นและข้ามไปโดยสวัสดีแล้ว ลังเลว่า "แพนี้ มีอุปการะแก่เรา เป็นอันมาก ถ้าไฉนเราจักทูนไปด้วยศีรษะ หรือ แบกไปด้วยบ่า พาไปด้วยกัน" ดังนี้. ภิกษุ ท.! พวกเธอจะสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักเป็นผู้มีกิจเกี่ยวข้องกับแพ ถึงอย่าง

นั้นเทียวหรือ? ("ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า!")
ภิกษุ ท.! เขา จะพึงทําอย่างไร ถ้าไฉน เขาจะพึงคร่ามันขึ้นบก หรือปล่อยให้ลอด อยู่ในน้ําส่วน เขาเองก็หลีกไปตามปรารถนา เท่านั้นเอง ฉันใด ธรรมที่เราแสดง แล้วก็เพื่อรื้อ ถอนตนออกจากทุกข์ ไม่ใช่เพื่อให้ถือเอาไว้ เปรียบได้กับพ่วงแพ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน.

ภิกษุ ท.! เธอ ท. ผู้รู้ทั่วถึงธรรมอันเราแสดงแล้ว เปรียบด้วยพ่วงแพ ควรละแม้ธรรม ท. เสีย จะปุวยกล่าวไปไยถึงสิ่งไม่ใช่ธรรม.


258-259
อาการที่ทรงบัญญัติวินัย

สารีบุตร ! เธอจงรอก่อน ตถาคตเอง จักเป็นผู้รู้เวลาที่ควรบัญญัติวินัย. 
สารีบุตร ! ศาสดาย่อมไม่บัญญัติสิกขาบท แสดงขึ้นซึ่งปาติโมกข์แก่สาวก ทั้งหลาย ตลอดเวลาที่ยังไม่มีอาสวฐานิยธรรม๒เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์.สารีบุตร! เมื่อใด อาสวฐานิยธรรม บางเหล่า ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ เมื่อนั้นศาสดาย่อมบัญญัติ สิกขาบทแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกําจัดเสียซึ่งอาสวฐานิยธรรม เหล่านั้น. 

สารีบุตร! อาสวฐานิยธรรม จะยังไม่ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ตลอดเวลาที่หมู่ สงฆ์ยังไม่ใหญ่โตเพราะตั้งมานาน. สารีบุตร ! เมื่อใด สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โตเพราะ ตั้งมานาน เมื่อนั้นอาสวฐานยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์เมื่อนั้น ศาสดาย่อมบัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกําจัดเสียซึ่ง อาสวฐานิยธรรมเหล่านั้น.

สารีบุตร ! อาสวฐานิยธรรม จะยังไม่ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ตลอดเวลาที่หมู่ สงฆ์ยังไม่ ใหญ่โตเพราะแผ่ไปเต็มที่. สารีบุตร! เมื่อใด สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โตเพราะแผ่ไปเต็มที่ เมื่อนั้นอาสวฐนิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์เมื่อนั้น ศาสดาย่อมบัญญัติ สิกขาบทแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกําจัดเสียซึ่ง อาสวฐานิยธรรม เหล่านั้น. 

สารีบุตร ! อาสวฐานิยธรรม จะยังไม่ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ตลอดเวลาที่หมู่ สงฆ์ยังไม่ใหญ่โตเพราะเจริญด้วยลาภ. สารีบุตร! เมื่อใด สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โต เพราะเจริญด้วยลาภ เมื่อนั้นอาสวฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏขึ้นในหมู่ สงฆ์เมื่อนั้น ศาสดาย่อมบัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อ กําจัดเสียซึ่งอาสวฐานิยธรรมเหล่านั้น. 

สารีบุตร ! ก็สงฆ์หมู่นี้ ยังประกอบด้วยคุณอันสูง ไม่มีความต่ําทรามไม่มี จุดดํา ยังบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ตั้งมั่นอยู่ในสาระ. สารีบุตร เอย!ในบรรดาภิกษุห้าร้อย รูปเหล่านี้ รูปที่ล้าหลังเขาที่สุด ก็ยังเป็นโสตาบัน เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้ มีอันไม่ ตกต่ําเป็นธรรมดา ดังนี้.


259-261
เหตุผลที่ทำให้ทรงบัญญัติระบบวินัย

ภิกษุ ท.! ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ท. เพราะอาศัยอำนาจแห่ง ประโยชน์ สองอย่าง (สองอย่าง ฯลฯ) เหล่านี้. (ตรัสทีละคู่ ๆ ถึง ๑๐ ครั้ง รวมเป็น ๑๐คู่ แต่ในที่นี้นำมาต่อท้ายกันทั้ง ๑๐ คู่ ในคราวเดียวกัน เพื่อความง่ายแก่การศึกษา ดังต่อไป ข้างล่างนี้). สองอย่าง (สองอย่าง ฯลฯ) เหล่านี้ คืออะไรเล่า? คือ

เพื่อ ความตั้งอยู่ดีของหมู่สงฆ์ และ เพื่อความอยู่เป็นผาสุกของหมู่สงฆ์เพื่อข่ม
บุคคลดื้อด้านเก้อยาก และ เพื่อความอยู่เป็นผาสุกของภิกษุ ท.ผู้ มีศีลเป็นที่รัก 

เพื่อปิดกั้น อาสวะ ท. อันเกิดขึ้นในธรรมอันตนเห็นแล้ว (กำลังรู้สึกอยู่) และเพื่อ กำจัดอาสวะ ท. อันจักเกิดขึ้นในธรรมอันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้า (ที่จะรู้สึกในกาล ต่อไป) 

เพื่อ  ปิดกั้น เวร ท. อันเกิดขึ้นในธรรมอันตนเห็นแล้ว และ เพื่อกำจัด เวร ท. อันจัก เกิดขึ้นในธรรมอันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้า 

เพื่อ ปิดกั้นโทษ ท. อันเกิดขึ้นในธรรมอันตนเห็นแล้ว และ เพื่อกำจัดโทษ ท. อันจัก เกิดขึ้นในธรรมอันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้า 

เพื่อปิดกั้นภัย ท. อันเกิดขึ้นในธรรมอันตนเห็นแล้ว และ เพื่อกำจัดภัย ท. อันจักเกิด ขึ้นในธรรมอันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้า 

เพื่อ ปิดกั้น อกุศลธรรม ท. อันเกิดขึ้นในธรรมอันตนเห็นแล้ว และ เพื่อกำจัด อกุศลธรรม ท.อันจักเกิดขึ้นในธรรมอันสัตว์พึงถึงในเบื้องหน้า 

เพื่อ ความเอ็นดูแก่คฤหัสถ์ ท. และ เพื่อความเข้าไปตัดรอนภิกษุ ท.ผู้มีความปรารถ นาลามก

เพื่อ ความเลื่อมใสแก่บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส ท. และ เพื่อ ความเลื่อมใส ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แก่บุคคลผู้เลื่อมใสอยู่แล้ว ท. 

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม และ เพื่ออนุเคราะห์ซึ่งวินัย ท.

ภิกษุ ท.! ตถาคตบัญญัติสิกขาบท แก่สาวก ท. เพราะอาศัยอำนาจแห่ง ประโยชน์ สองอย่าง(สองอย่าง ฯลฯ) เหล่านี้แล.

(เท่าที่กล่าวมาข้างบนนี้ เป็นการทรงแสดงประโยชน์ในการบัญญัติสิกขาบท ต่อจากนี้ ไป ทรงแสดงประโยชน์ทั้ง ๑๐ คู่ข้างบนนี้ ในการบัญญัติระบบพระวินัย อีก ๒๙ ระบบ กล่าวคือในการบัญญัติปาติโมกข์... ในการบัญญัติปาติโมกขุทเทส... ในการบัญญัติ ปาติโมกขัฎฐป นะ...ปวารณา... ปวารณาฎฐปนะ... ตัชชนียกรรม... นิยัสสกรรม... ป๎พพาชนียกรรม... ปฎิสาร- ณี ยกรรม... อุกเขปนียกรรม... ปริวาสทานะ... มูลาย ปฎิกัสสนะ... มานัตตทานะ... อัพภานะ... โอ สารณะ... นิสสารณะ... อุปสัมปทา... ญัตติกรรม... ญัตติทุติยกรรม... ญัตติจตุตถ- กรรม... สิ่งซึ่ง ยังไม่ทรงบัญญัติ... ในการไม่ถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติแล้ว... ในการบัญญัติสัมมุ-ขาวินัย... สติวินัย... อมูฬหวินัย... ปฎิญญาตกรณะ... เยภุยยสิกา... ตัสสปาปิยสิกา... ในการบัญญัติติณ วัตถารกะ รวมกันทั้งหมดเป็นระบบวินัย ๓๐ ระบบ ที่ทรงบัญญัติโดยอาศัย ประโยชน์ ทั้ง ๑๐ คู่นั้น.)


261-263
หัวใจพระธรรมในคำ "บริภาส" ของพระองค์

สุทินน์ ! จริงหรือ ได้ยินว่าเธอเสพเมถุนธรรมด้วยภรรยาเก่า?
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! เป็นความจริงพระเจ้าข้า". 

โมฆบุรุษ ! นั่นไม่สมควร ไม่เหมาะสม ไม่เข้ารูป ไม่ใช่เรื่องของสมณะ ไม่สำเร็จประโยชน์ไม่น่าทําเลย. 

โมฆบุรุษ ! อย่างไรกันเล่า ที่เธอบวชเข้ามาในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้ว เช่นนี้ ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต.
 
โมฆบุรุษ ! เราแสดงธรรมแล้วโดยหลายแง่หลายมุม เพื่อความหน่าย หาใช่ เพื่อความกำหนัดไม่เลย เราแสดงธรรมแล้ว โดยหลายแง่หลายมุม เพื่อ ความคลาย หาใช่เพื่อความรัดรึงไม่เลยเราแสดงธรรมแล้วโดยหลาย แง่ หลายมุม เพื่อความไม่ยึดถือ หาใช่เพื่อความยึดถือไม่เลย มิใช่หรือ.

โมฆบุรุษ ! ในธรรมนี้เอง เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อหน่าย เธอก็กลับคิดไปในทาง กําหนัด เมื่อ เราแสดงธรรมเพื่อความคลาย เธอกลับคิดไปในทางที่รัดรึง เมื่อเราแสดงธรรม เพื่อไม่ยึดถือ เธอกลับคิดไปในทางยึดถือ. 

โมฆบุรุษ ! เราได้แสดงธรรมแล้ว โดยหลายแง่หลายมุม เพื่อความหน่าย แห่งราคะ เพื่อความสร่างจากเมาของความเมา เพื่อดับเสียซึ่งความกระหาย เพื่อถอนเสียซึ่ง ความอาลัย เพื่อตัดเสียซึ่งวงกลมคือวัฎฎะ เพื่อความหมด ตัณหาเพื่อความจาง เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน มิใช่หรือ. 

โมฆบุรุษ ! อุบายเครื่องละกาม โดยวิธีหลายแง่หลายมุม เราได้บอกแล้ว มิใช่หรือ. การก าหนดรู้กามสัญญา โดยวิธีหลายแง่หลายมุม เราได้บอกแล้วมิใช่ หรือ. อุบาย เครื่องดับเสียซึ่งความกระหายในกาม โดยวิธีหลายแง่หลายมุม เรา ได้บอกแล้ว มิใช่หรือ. อุบายเครื่องถอนเสียซึ่งกามวิตกโดยวิธีหลายแง่หลายมุม เราได้บอกแล้ว มิใช่หรือ.

อุบายเครื่องสงบรำงับความแผดเผาของกาม โดยวิธี หลายแง่หลายมุม เราได้บอก แล้วมิใช่หรือ. โมฆบุรุษ ! มันเป็นการดีสําหรับเธอ  ที่จะใส่องคชาตของเธอ เข้าใน ปากของ งูที่มีพิษร้ายดีกว่าที่จะใส่เข้าในองคชาตแห่งมาตุคาม.

โมฆบุรุษ ! มันเป็นการดี สําหรับเธอ ที่จะใส่องคชาตของเธอเข้าในปากของงูเห่าดํา ดีกว่าที่จะใส่เข้าใน องคชาตของมาตุคาม. โมฆบุรุษ ! มันเป็นการดีสําหรับเธอ ในการที่จะหย่อน องคชาตของเธอลงในหลุมถ่านเพลิงที่กําลังลุกโชติช่วง ดีกว่า ที่จะใส่เข้าในองคชา ตแห่งมาตุคาม.

เพราะเหตุไรเล่า? เพราะการตายเสียด้วยเหตุนั้น ก็ยังไม่เข้าถึง อบายทุคติ วินิบาตนรก. โมฆบุรุษ ! ข้อที่เธอพึงเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก ภายหลังแต่การ ตายนั้น ย่อมมาจากการที่เธอเสพอสัทธรรมอันเป็นการกระทํา  

สําหรับคนชาวบ้าน เป็นการกระทําชั้นต่ําทราม หยาบคายลึกลับ เพราะต้องปกปิด เป็นการกระทําของสัตว์ที่ยังต้องอยู่กันเป็นคู่ ๆ. โมฆบุรุษ ! เธอเป็นผู้ริเริ่มการ ประกอบอกุศลมากหลาย.

โมฆบุรุษ ! การทํา เช่นนี้ ไม่ทําให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ไม่ทําผู้ที่ เลื่อมใสแล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป; มีแต่จะทําผู้ไม่เลื่อมใสไม่ให้เลื่อมใส และทําผู้ที่ เคยเลื่อมใสบาง คน ให้เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นเท่านั้น. 

(พระผู้มีพระภาคตรัสตําหนิภิกษุชื่อสุทินน์ โดยประการต่าง ๆ แล้ว ได้ตรัสชี้โทษ ของความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนเอาใจยาก ความมักใหญ่ ความไม่สันโดษ ความคลุกคลีกัน เป็นหมู่ ความเกียจคร้าน แล้วตรัสชี้คุณของความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความปรารถนาน้อย ความ สันโดษความขัดเกลาเป็นต้นแล้ว ได้ตรัสธรรมิกถา โดยสมควรแก่เหตุการณ์ แล้วตรัสแก่ภิกษุ ทั้งหลาย) 

ภิกษุ ท.! เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักบัญญัติสิกขาบท เพราะอาศัยอํานาจแห่ง ประโยชน์ ๑๐ ประการคือ เพื่อความตั้งอยู่ดีของหมู่สงฆ์ เพื่อความอยู่เป็นผาสุก ของหมู่ สงฆ์ เพื่อข่มคนดื้อด้าน เพื่อความอยู่ผาสุกของภิกษุที่รักศีล เพื่อปิดกั้น อาสวะใน ทิฏฐธรรม เพื่อกำจัดอาสวะในสัมปรายะ เพื่อให้เป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้ที่ ยังไม่เลื่อมใส เพื่อให้คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรมเพื่ออนุเคราะห์วินัยอันเป็นระเบียบสำหรับหมู่....ดังนี้.


263-264
ทรงแสดงหลักพระศาสนา ไม่มีวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด

สาติ ! จริงหรือตามที่ได้ยินว่า เธอมีทิฎฐิอันลามกเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า "เราย่อมรู้ ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้นี่ แหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่นไม่" ดังนี้?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มี พระภาคทรง แสดงแล้วเช่นนั้นว่า วิญญาณนี้นี่แหละ ย่อมแล่นไป ย่อม ท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่น ไม่ดังนี้". 

สาติ ! วิญญาณนั้น เป็นอย่างไร

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! นั่นคือสภาพที่เป็นผู้พูด ผู้รู้สึก (ต่อเวทนา) ซึ่งเสวยวิบาก แห่งกรรมดีกรรมชั่ว ท. ในภพนั้น ๆ". 

โมฆบุรุษ ! เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้  เมื่อแสดงแก่ใครเล่า.

โมฆบุรุษ ! เรากล่าววิญญาณ ว่าเป็นปฎิจจสมุปป๎นนธรรม (สิ่งที่อาศัยป๎จจัย แล้ว เกิดขึ้น) โดยปริยายเป็นอันมาก ถ้าเว้นจากป๎จจัยแล้ว ความเกิดแห่ง วิญญาณ มิได้มี ดังนี้มิใช่หรือ. โมฆบุรุษ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอชื่อว่า ย่อมกล่าวตู่ เราด้วย ถ้อยคําที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญ เป็นอันมาด้วย

โมฆบุรุษ ! ข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอด กาลนาน ดังนี้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ท. แล้วตรัสว่า 

ภิกษุ ท.! พวกเธอจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ภิกษุสาติเกวัฎฎบุตรนี้ ยังจะพอนับ ว่าเป็นพระเป็นสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ได้บ้างไหม? 

"จะเป็นได้อย่างไร พระเจ้าข้า ! หามิได้เลย พระเจ้าข้า!"  (เมื่อภิกษุ ท. ทูลอย่างนี้แล้ว ภิกษุสาติผู้เกวัฎฎบุตร ก็เงียบเสียง เก้อเขิน คอตกก้ม หน้า ซบเซา ไม่ปฎิภาณ นิ่งอยู่. พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า)

โมฆบุรุษ ! เธอจักปรากฏด้วยทิฎฐิอันลามกนั้นของตนเองแล เราจัก สอบถามภิกษุ ท. ในที่นี้. (แล้วทรงสอบถามภิกษุ ท. จนเป็นที่ปรากฏว่า พระองค์มิได้ทรง แสดงธรรม ดังที่สาติภิกษุกล่าว แล้วทรงแสดง การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ โดยอาการ แห่ง ปฎิจจสมุปบาทครบทั้ง ๖ อายตนะ).  


265-266
ทรงแสดงหลักกรรมชนิดที่เป็น "พุทธศาสนาแท้"

ปุณณะ ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เราทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน. กรรม ๔ คืออะไรเล่า? 

ปุณณะ ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่ ปุณณะ ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็ มีอยู่ ปุณณะ ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่ ปุณณะ ! กรรม ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่. 

ปุณณะ ! ___คนบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งซึ่งกายสังขาร ___วจีสังขาร ___มโนสังขาร อันเป็นไปเพื่อทุกข์ แล้วย่อมเข้าถึงซึ่งโลกอันประกอบด้วยทุกข์ ถูกต้องผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์ ___ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์โดย ส่วนเดียว ดังเช่นพวกสัตว์นรก ___ฯลฯ___ ปุณณะ! นี้เรียกว่า กรรมดำ มีวิบากดำ 

ปุณณะ ! ___คนบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งซึ่งกายสังขาร ___วจีสังขาร ___มโนสังขารอันไม่เป็นไปเพื่อทุกข์ แล้วย่อมเข้าถึงซึ่งโลกอันไม่ ประกอบด้วยทุกข์ ถูกต้องผัสสะอันไม่ประกอบด้วยทุกข์ ____ย่อมเสวยเวทนาอัน ประกอบด้วยสุข โดยส่วนเดียว ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา ___ฯลฯ___

ปุณณะ ! นี้เรียกว่า กรรมขาว มีวิบากขาว. 

ปุณณะ ! ___คนบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งซึ่งกายสังขาร ___วจีสังขาร ___มโนสังขารอันเป็นไปเพื่อทุกข์บ้าง อันไม่เป็นไปเพื่อทุกข์บ้าง แล้วย่อมเข้าถึง ซึ่งโลกอันประกอบด้วยทุกข์บ้าง อันไม่ประกอบด้วยทุกข์บ้าง ถูกต้องผัสสะ อันประกอบด้วยทุกข์บ้างอันไม่ประกอบด้วยทุกข์บ้าง ___ย่อมเสวยเวทนาอันเป็น สุขและทุกข์เจือกัน ดังเช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก___ ฯลฯ___

ปุณณะ ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว. 
ปุณณะ ! ___ในกรณีนี้ เจตนาเพื่อละเสียซึ่งกรรมดำมีวิบากดำเจตนาเพื่อ ละเสียซึ่งกรรมขาวมีวิบากขาว เจตนาเพื่อละเสียซึ่งกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้ง ดำทั้งขาว
 
ปุณณะ ! (สามอย่าง)นี้  เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ ขาว เป็นไป เพื่อความสิ้นกรรม. 

ปุณณะ ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศ ให้รู้ทั่วกัน.



267
ทรงเป็นยามเฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนมีบุรุษผู้หนึ่ง ว่ายล่องกระแสน้ําลงไปเพราะเหตุจะ ได้สิ่ง น่ารักน่าเพลินใจ.  มีบุรุษบัณฑิตผู้หนึ่ง ยืนอยู่บนฝ๎่ง เห็นบุรุษผู้ว่ายน้ํานั้นแล้ว ร้องบอกไปว่า "ท่านผู้เจริญ! ท่านย่อมว่ายล่องตามกระแสน้ํา เพราะเหตุจะได้สิ่ง น่ารักน่าเพลินใจ โดยแท้. แต่ว่า ทางเบื้องล่างนั้นมีห้วงน้ําลึก มีคลื่น มีน้ําวน มียักษ์มีรากษส ซึ่งเมื่อ ท่านไปถึงที่นั่นแล้ว จักต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย". 

ภิกษุ ท.! บุรุษผู้ว่ายล่องตามกระแสน้ํา นั้น ครั้นได้ฟ๎งดังนั้นแล้วก็พยายาม ว่ายทวนกระแสน้ํากลับมา ด้วยกําลังมือและเท้าทั้งหมดของเขา.
 
ภิกษุ ท.! คําอุปมานี้ ตถาคตผู้ขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความ. เนื้อความในเรื่องนั้น ดังนี้ คําว่า`กระแสน้ำ เป็นชื่อแห่งตัณหา.
คําว่า `สิ่งน่ารักน่าเพลินใจ' เป็นชื่อ แห่งอายตนะภายในหก.
คําว่า`ห้วงน้ำลึก' เป็นชื่อแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ าห้าอย่าง.
คําว่า `คลื่น' เป็นชื่อแห่งความโกรธ และความคับแค้น.
คําว่า `น้ำวน' เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า.
คําว่า `ยักษ์' และ `รากษส' เป็นชื่อแห่งเพศตรงข้าม.
คําว่า `ว่ายทวน กระแสกลับมา' เป็นชื่อแห่งเนกขัมมะ.
คําว่า `พยายามด้วยกำลังมือและเท้า ทั้งหมดเป็นชื่อแห่งการปรารภความเพียร
คําว่า `บุรุษบัณฑิต ผู้ยืนอยู่บนฝั่ง' เป็นชื่อแห่งตถาคต ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า นี้แล.


268-269
ทรงปล่อยปวงสัตว์ เหมือนการปล่อยฝูงเนื้อ

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงใหญ่ เข้าไปอาศัยอยู่ที่ราบลุ่มใหญ่ใกล้ปุา กว้าง. เกิดมีบุรุษคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ปรารถนาความไม่ปลอดภัย ไม่เป็น ประโยชน์ เกื้อกูล แก่ฝูงเนื้อนั้น. เขาปิดหนทางอันเกษม สะดวก ไปได้ตามชอบใจ ของเนื้อเหล่านั้นเสีย เปิดทางอันตรายไว้ วางเนื้อล่อตัวผู้ไว้ ตั้งเนื้อล่อตัวเมียไว้

ภิกษุ ท.! ด้วยการกระทําอย่างนี้ เนื้อฝูงใหญ่นั้น ก็ถึงความวินาศเบาบางไป ใน สมัยต่อมา. 

ภิกษุ ท.! กะเนื้อฝูงใหญ่ฝูงนั้นเอง เกิดมีบุรุษคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ ปรารถนา ความปลอดภัย เป็นประโยชน์เกื้อกูล. เขาเปิดหนทางอันเกษม สะดวกไป ได้ตามชอบใจ ของเนื้อเหล่านั้น ปิดหนทางอันตรายเสีย ถอนเนื้อล่อตัวผู้เสีย ทําลายเนื้อล่อตัวเมียเสีย

ภิกษุ ท.! ด้วยการกระทําอย่างนี้ เนื้อฝูงใหญ่นั้น ก็ถึง ความเจริญ งอกงาม คับคั่ง ในสมัยต่อมา.  ภิกษุ ท.! อุปมานี้เราทําขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความ. ข้อความต่อไปนี้เป็น เนื้อความในอุปมานั้น 

คําว่า "ที่ราบลุ่มใหญ่" นั่นเป็นชื่อของกาม ท. 
คําว่า "ฝูงเนื้อฝูงใหญ่" นั่นเป็นชื่อของสัตว์ ท. 
คําว่า "บุรุษผู้ปรารถนาความไม่ปลอดภัย ฯลฯ" นั่นเป็นชื่อของมารผู้มี บาป 
คําว่า "ทางอันตราย" นั่นเป็นชื่อของมิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์แปด กล่าวคือ มิจฉาทิฎฐิ (ความเห็นผิด) มิจฉาสังกัปปะ (ความดําริผิด)

มิจฉาวาจา (การพูดจาผิด) มิจฉากัมมันตะ (การทําการงานผิด) มิจฉาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตผิด) มิฉาวายามะ (ความพากเพียรผิด) มิจฉาสติ (ความระลึกผิด) มิจฉาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นผิด)
 
คําว่า "เนื้อล่อตัวผู้" นั่นเป็นชื่อของนันทิราคะ 
คําว่า "เนื้อล่อตัวเมีย" นั่นเป็นชื่อของอวิชชา 
คําว่า "บุรุษผู้ปรารถนาความปลอดภัย ฯลฯ" นั่นเป็นชื่อของตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ 
คําว่า "หนทางอันเกษม ฯลฯ"นั่นเป็นชื่อของอริยอัฎฐังคิกมรรค กล่าวคือ สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดําริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทําการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความ  ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ). 

ภิกษุ ท.! ดังนี้แล  เป็นอันกล่าวได้ว่า หนทางอันเกษม สะดวกไปได้ตาม ชอบใจ เป็นทางที่เราเปิดแล้ว ทางอันตรายเราปิดแล้ว เนื้อล่อตัวผู้เราถอนแล้ว เนื้อล่อตัวเมีย เราทําลายแล้ว. 

ภิกษุ ท.! กิจอันใด ที่พระศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัย ความเอ็นดู แล้วจะพึงทําแก่สาวก ท. กิจอันนั้น เราได้ทําแล้วแก่พวกเธอ ท.  ภิกษุ ท.! นั่นโคนไม้ ท. นั่น เรือนว่าง ท.

ภิกษุ ท.! พวกเธอ ท. จงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท. พวกเธอ ท. อย่าได้เป็นผู้ที่ ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แล เป็น วาจาเครื่องพร่ําสอนพวกเธอ ท. ของเรา.


270-271
ทรงจัดพระองค์เองในฐานะเป็นผู้ฉลาดในเรื่องหนทาง

ดูก่อนติสสะ ! มีบุรุษอยู่ ๒ คน คนหนึ่งไม่ฉลาดในเรื่องหนทาง คนหนึ่ง ฉลาดในเรื่องหนทาง. คนที่ไม่ฉลาดในเรื่องหนทาง ได้ถามเรื่องหนทางกับคนที่ ฉลาดในเรื่องหนทาง คนผู้ฉลาดในเรื่องหนทางนั้นได้กล่าวว่า "บุรุษผู้เจริญ! มา เถิดนี่หนทาง ท่านจงไปตามทางนี้สักครู่หนึ่ง ครั้นไปสักครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นทาง ๒ แพร่ง ท่านจงเว้นทางซ้ายเสีย แล้วไปตามทางขวา เมื่อไปตามทางขวาครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นราวปุาหนาทึบ ไปตามทางนั้นอีกครู่หนึ่ง จักเห็นลุ่มน้ําใหญ่อันมีเปือกตมไป ตามทางนั้นอีกครู่หนึ่งแล้ว ท่านจักเห็นเหวอันโกรกชัน ไปตามทางนั้นอีกครู่หนึ่งแล้ว ท่านจักเห็นภูมิภาคอันสม่ําเสมอ น่ารื่นรมย์". 

ติสสะ ! อุปมานี้ เราทําขึ้นเพื่อให้รู้เนื้อความ นี้คือเนื้อความในอุปมานั้น 
คําว่า "บุรุษผู้ไม่ฉลาดในเรื่องทาง" นั่น เป็นคําหมายถึง ปุถุชน. 
คําว่า "บุรุษผู้ฉลาดในเรื่องทาง" นั่น เป็นคําหมายถึง ตถาคตผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะ. 
คําว่า "ทาง ๒ แพร่ง" นั่น เป็นคําหมายถึง วิจิกิจฉา. 
คําว่า "ทางซ้าย" นั่น เป็นคําหมายถึง มิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กล่าวคือ มิจฉาทิฎฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉา วายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ
คําว่า "ทางขวา" นั่น เป็นคําหมายถึง อริยอัฎฐังคิกมรรค กล่าวคือ สัมมาทิฎฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. 
คําว่า "ราวปุาหนาทึบ" นั่น เป็นคําหมายถึง อวิชชา. 
คําว่า "ลุ่มน้ำใหญ่มีเปือกตม" นั่น เป็นคําหมายถึง กามทั้งหลาย. 
คําว่า "เหวโกรกชัน" นั่น เป็นคําหมายถึง ความโกรธ คับแค้นใจ. 
คําว่า "ภูมิภาคอันสม่ำเสมอ น่ารื่นรมย์" นั่น เป็นคําหมายถึง พระ นิพพาน. 
ติสสะ ! เธอจงยินดี ติสสะ! เธอจงยินดีตามที่เรากล่าวบอก ตามที่เรา อนุเคราะห์ ตามที่เราพร่ําสอบเถิด ดังนี้.  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสข้อความนี้แล้ว
ท่านพระติสสะ มีความพอใจ ยินดียิ่งใน ถ้อยคําของพระผู้มีพระภาคแล้ว แล.


271-272
ทรงสอนเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทั้งปวง

กันทรกะ ! บรรดาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้มีแล้วในกาลยืดยาว ส่วนอดีต พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ล้วนแต่ได้สอนให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว มีอย่างนี้ เป็นอย่างยิ่ง คือเหมือนอย่างที่เราสอนให้แก่ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ปฎิบัติชอบอยู่.
 
กันทรกะ ! บรรดาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จักมีมาในกาลยืดยาว ส่วนอนาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็ล้วนแต่จักได้สอนให้ภิกษุสงฆ์ ปฎิบัติชอบ มีอย่างนี้ เป็นอย่างยิ่ง คือเหมือนอย่างที่เราสอนให้ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ ปฎิบัติชอบอยู่. 

กันทรกะ ! เหล่าภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะ จบพรหมจรรย์หมดกิจ ควรทํา ปลงภาระลงได้ผู้มีประโยชน์ของตัวเองอันตามบรรลุได้แล้วมีสัญโญชน์ใน ภพสิ้นรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบมีอยู่ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ และ เหล่าภิกษุผู้เป็นเสขะ (คือพระโสดา สกิทาคา อนาคา) ผู้มีศีลทุกเมื่อ มีวัตรทุกเมื่อ มีป๎ญญา มีชีวิตอยู่ด้วยป๎ญญาเครื่องรักษาตน ก็มีอยู่ในภิกษุสงฆ์ หมู่นี้.


272-273
ทรงเป็นศาสดาที่ไม่มีใครท้วงติงได้ 

...."ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ศาสดาที่ใคร ๆ ไม่ควรท้วงติง ในโลกนี้ มีอยู่หรือ?"  โลหิจจะ ! ศาสดาที่ใคร ๆ ไม่ควรท้วงติง ในโลกนี้ มีอยู่.  "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ศาสดาเช่นนั้น เป็นอย่างไรเล่า?" 

โลหิจจะ ! ตถาคตบังเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วย ตนเอง .. ฯลฯ..

โลหิจจะ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้...ฯลฯ... เข้าถึง ปฐมฌาน แล้วแลอยู่. โลหิจจะ ! สาวกย่อมถึงทับคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้  ในเพราะศาสดาใด.

โลหิจจะ ! นี้แล คือศาสดาที่ใคร ๆ ไม่ควรท้วงติง ในโลก. การทั้งติงศาสดาเห็น ปานนี้ ของผู้ใดก็ตาม การท้วงติงนั้น ไม่จริง ไม่แท้ไม่ ประกอบด้วยธรรม แต่ ประกอบไปด้วยโทษ.
(ในกรณีแห่ง ทุติยฌานก็ดี ตติยฌานก็ดี จตุตถฌานก็ดี จนถึงกรณีแห่งญาณ ทัสสนะ จนกระทั่งถึงอาสวักขยะ แต่ละตอน ๆ ก็มีข้อความอย่างเดียวกัน).


273-274
ทรงสามารถในการสอน

นิโค๎รธะ ! เรากล่าวอยู่อย่างนี้ว่า  จงมาเถิด บุรุษผู้เป็นวิญํูชนไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีสัญชาติแห่งคนตรง เราพร่ําสอนอยู่ แสดงธรรมอยู่เธอปฎิบัติตาม อยู่อย่างที่เราสอน ก็จักทําให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ (คืออรหัตตผล)อันไม่มี อะไรยิ่งไปกว่า อันเป็นิส่งที่กุลบุตร ท. ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วย เรือนโดยชอบ ปรารถนาอยู่ ได้อยู่ในภพอันตนเห็นแล้วนี้ ด้วยป๎ญญาอันยิ่งของ ตนเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ได้ ในชั่วเวลา ๗ ปี. 

นิโค๎รธะ ! ๗ ปียกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ...๒ได้ ในชั่วเวลา ๖ ปี. 
นิโค๎รธะ ! ๖ ปี -๕ ปี -๔ ปี -๓ ปี -๒ ปี -๑ ปี ยกไว้ก็ได้...ฯลฯ... 
นิโค๎รธะ ! ๗ เดือน -๖ เดือน -๕ เดือน -๔ เดือน -๓ เดือน-๒ เดือน -๑ เดือน -กึ่งเดือน ยกไว้ก็ได้. 

นิโค๎รธะ ! จงมาเถิด บุรุษผู้เป็นวิญํูชน ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยามีสัญชาติ แห่งคนตรง เราพร่ําสอนอยู่ แสดงธรรมอยู่ เธอปฎิบัติตามอยู่อย่างที่เราสอน ก็ จักทําให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ (คืออรหัตตผล) อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า อันเป็นสิ่งที่ปรารถนาของกุลบุตร ท. ผู้ออกจากเรือนบวช ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน โดยชอบ ได้อยู่ในภพอันตนเห็นแล้วนี้ ด้วยป๎ญญาอันยิ่ง ของตนเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ได้ ชั่วเวลา ๗ วัน.


274-275
ทรงแสดงสติป๎ฎฐานสี่เพื่อขจัดทิฎฐินิสสัยทั้งสองประเภท

จุนทะ ! สติป๎ฎฐาน ท. ๔ ประการ เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอย่างนี้เพื่อ ละเสีย เพื่อก้าวล่วงเสีย ซึ่งทิฎฐินิสสัย ท. ทั้งประเภทสี่สหรคตด้วยปุพพันตขันธ์ และประเภทที่สหรคตด้วยอปรันตขันธ์ ๒ เหล่านั้น. 

สติป๎ฎฐาน ท.  สี่ประการเหล่าไหนเล่า? จุนทะ ! สี่ประการคือภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปรกติตามเห็นกายในการอยู่ มีความเพียรเผากิเลสมี สัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปรกติตาม เห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัด อภิชฌาและโทมนัส ในโลก ออกเสียได้ เป็นผู้มีปรกติตามเห็นจิตในจิตอยู่ มีความ เพียรเผากิเลส มีสัปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ เป็นผู้ มีปรกติตามเห็นธรรมในธรรม ท. อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.
 
จุนทะ ! สติป๎ฎฐาน ท. ๔ ประการเหล่านี้แล อันเราแสดงแล้วบัญญัติแล้ว เพื่อละเสีย เพื่อก้าวล่วงเสีย ซึ่งทิฎฐินิสสัย ท. ทั้งประเภทสี่สหรคต

ด้วยปุพพันตขันธ์ และประเภทสี่สหรคตด้วยอปรันตขันธ์ เหล่านั้น ด้วยอาการ อย่างนี้. 

หมายเหตุ: ภิกษุผู้มีสติป๎ฎฐานทั้ง ๔ อยู่ ย่อมไม่มีความรู้สึกว่ามีสัตว์  บุคคลตัวตน เราเขา ดังนั้นจึงไม่มีทางที่จะเกิดความเห็นว่าอัตตาและโลกเป็น ของเที่ยง ดังนี้เป็นต้น. -ผู้รวบรวม.


275-276
ทรงสามารถสอนให้วิญญุนรู้ได้เองเห็นได้เอง

กัจจานะ ! สามณพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ซึ่งส่วนสุดข้างต้น (ปุพพันตะ ภพชาติใน อดีต) ไม่รู้ซึ่งส่วนสุดข้างปลาย (อปรันตะ ภพชาติในอนาคต)แล้ว จะปฎิญญาว่า ข้าพเจ้ารู้ว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทํา สําเร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องปฎิบัติเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้นั้น สมณ พราหมณ์เหล่านั้น ควรได้รับการข่มขี่โดยชอบธรรมนั่นเทียว.

กัจจานะ ! ก็แต่ว่า เรื่องปุพพันตะจงยกไว้ เรื่องอปรันตะก็จงยกไว้ก่อน บุรุษผู้เป็น วิญญุชน ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีสัญชาติแห่งคนตรง จงมาเถิด เราจะพร่ําสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฎิบัติอยู่ตามที่เราสอนแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองโดยแท้ต่อกาล ไม่นานทีเดียว ดังที่ได้ยินกันอยู่แล้วว่ มีการพ้นพิเศษโดยชอบจากเครื่องผูก กล่าวคือ อวิชชา ด้วยอาการอย่างนี้. 

กัจจานะ ! เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะ ถูกผูกอยู่ด้วย เครื่องผูก คือด้าย  มีที่คอเป็นคํารบห้า  เพราะอาศัยความเจริญ  ความเติบโต แห่งอินทรีย์ ท. ก็พ้นจากเครื่องผูกเหล่านั้น เขารู้สึกว่า "เราพ้นจากเครื่องผูกแล้ว" ดังนี้แล ไม่มีเครื่องผูกอะไรเหลืออยู่ ฉันใด กัจจานะ! ข้อนี้

ก็ฉันนั้น กล่าวคือ บุรุษผู้เป็นวิญญูชน ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีสัญชาติแห่งคนตรง จงมาเถิด เราจะพร่ําสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฎิบัติอยู่ตามที่เราสอนแล้วจักรู้ เอง   จักเห็นเองโดยแท้  ต่อกาลไม่นานทีเดียว ดังที่ได้ยินกันอยู่แล้วว่ามีการ พ้นพิเศษ โดยชอบ จากเครื่องผูกกล่าวคืออวิชชา ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้.


276-278
ทรงสามารถยิ่ง ในการสอน

ราชกุมาร ! องค์อันควรแก่การประกอบความเพียร ๕ องค์ คืออะไรบ้าง เล่า? ๕ องค์คือ ราชกุมาร ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 

(๑) เป็น ผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อความตรัสรู้ของตถาคต ว่า "แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและ จรณะ ดําเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็น ครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จําแนกธรรมออกสอนสัตว์" ดังนี้. 

(๒) เป็น ผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสําหรับย่อยอาหารที่ย่อยได้ สม่ําเสมอ ปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การบําเพ็ญเพียร. 

(๓) เป็น  ผู้ไม่โอ้อวด  ไม่มารยา เป็นผู้เปิดเผยตนเองตามที่เป็นจริงใน พระศาสดา ในท่านผู้รู้ หรือในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ก็ตาม. 

(๔) เป็น ผู้ปรารภความเพียร เพื่อการละสิ่งอันเป็นอกุศล เพื่อถึงพร้อม ด้วยสิ่งอันเป็นกุศลมีกําลัง มีความบากบั่น หนักแน่น ไม่ทอดทิ้งธุระในสิ่งทั้งหลาย อันเป็นกุศล.

(๕) เป็น ผู้มีป๎ญญา ประกอบด้วยป๎ญญาซึ่งสามารถกําหนดความเกิดขึ้น และความดั บหายไปเป็นป๎ญญาอันประเสริฐ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสเป็นเครื่อง ให้ถึงความสิ้น ทุกข์ได้โดยชอบ. 

ราชกุมาร ! เหล่านี้แล เป็นองค์อันควรแก่การประกอบความเพียร ๕ องค์. ราชกุมาร ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์เหล่านี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้นํา ก็พึง ทําให้ลุแจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันเป็นสิ่งไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า อันเป็นที่ ปรารถนาของ กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน โดยชอบ ได้ในภพอันตนเห็นแล้วนี้ ด้วยป๎ญญาอันยิ่งของตนเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ได้ ชั่วเวลา ๗ ปี. 

ราชกุมาร ! ๗ ปีจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๖ ปีจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๕ ปีจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๔ ปีจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๓ ปีจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๒ ปีจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๑ ปีจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๗ เดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๖ เดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๕ เดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๔ เดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๓ เดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ...
ราชกุมาร ! ๒ เดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ...  
ราชกุมาร ! ๑ เดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! กึ่งเดือนจงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๗ วัน ๗ คืน จงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๖ วัน ๖ คืน จงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๕ วัน ๕ คืน จงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๔ วัน ๓ คืน จงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๓ วัน ๓ คืน จงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๒ วัน ๒ คืน จงยกไว้ก็ได้ ...ฯลฯ... 
ราชกุมาร ! ๑ วัน ๑ คืน จงยกไว้

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ควรแก่การ ประกอบความเพียร ๕ องค์เหล่านี้แล้ว ได้ตถาคตเป็นผู้นำ
อันเรากล่าวสอน แล้วในตอนเย็น รุ่งเช้า ก็จักบรรลุ คุณวิเศษ อันเรากล่าวสอนแล้วในตอนเช้า เย็นลง ก็จักได้บรรลุคุณวิเศษ. 

"อโห! พุทโธ อโห! ธัมโม อโห! ความที่พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้ อย่างดีแล้ว ในเพราะเหตุที่กุลบุตร ซึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคกล่าว สอนในตอนเย็น เช้าขึ้นก็จักบรรลุคุณวิเศษพระผู้มีพระภาคกล่าวสอนในตอน เช้า เย็นลงก็จักบรรลุ คุณวิเศษ" โพธิราชกุมาร ทูลสนองด้วยความอัศจรรย์ใจตนเอง.


278-279
ทรงประกาศพรหมจรรย์ ในลักษณะที่เทวดามนุษย์ประกาศตามได้

ภิกษุ ท.! ก็รอยทางเก่าที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลาย ในกาลก่อนเคยทรงดําเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า?

นั่นคืออริยอัฎฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท.! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในกาล ก่อน เคยทรงดําเนินแล้ว.

เรานั้น ได้ดําเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น เมื่อดําเนินตามไป อยู่ ซึ่งหนทางนั้น เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรา มรณะ ซึ่งความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ ซึ่งข้อปฎิบัติเครื่องท าสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่ง ชรา มรณะ
 
(ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึง ชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะ-นาม รูป-วิญญาณ-สุดลงเพียง-สังขาร (แต่ละอย่าง) โดยอาการทั้งสี่ ดังที่ได้ตรัสใน กรณีแห่งชรา มาณะ เหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฎิจจสมุปป๎นธรรมนั้น ๆ เท่านั้น).

ภิกษุ ท.! เรานั้น ครั้นรู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งหนทางนั้น ได้บอกแล้ว แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย. 

ภิกษุ ท.!  พรหมจรรย์นี้ ที่เรากล่าวบอกแล้วนั้น ได้เป็นพรหมจรรย์ตั้งมั่น และรุ่งเรือง แล้วเป็นพรหมจรรย์แผ่ไพศาล เป็นที่รู้แห่งชนมาก เป็นปึกแผ่นแน่น หนา จนกระทั่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสามารถประกาศไว้ด้วยดีแล้ว ดังนี้.


279-281
ทรงประกาศพรหมจรรย์ น่าดื่มเหมือนมัณฑะ 

ภิกษุ ท.! ธรรม เป็นธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว อย่างนี้ เป็นธรรมอันทําให้ เป็นดุจ ของคว่ําที่หงายแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว เป็นธรรม อันเรา ตถาคตประกาศก้องแล้ว เป็นธรรม มีส่วนขี้ริ้ว อันเราตถาคตเฉือนออก หมดสิ้นแล้ว. 

ภิกษุ ท.! เมื่อธรรมนี้ เป็นธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็น การสมควร แล้วนั่นเทียว ที่กุลบุตรผู้บวชแล้วด้วยสัทธา จะพึงปรารภการกระทำความเพียร ด้วยการอธิษฐานจิตว่า "แม้หนัง เอ็น กระดูก เท่านั้น จักเหลืออยู่เนื้อ และเลือดใน สรีระนี้ จักเหือดแห้งไป ก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะพึงลุถึงได้ ด้วยกําลัง ด้วยความเพียรความบากบั่นของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุด ความเพียร ของบุรุษเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้. 

ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์นี้  น่าดื่ม  เหมือนมัณฑะยอดโอชาแห่งโครส
ทั้งพระศาสดา ก็อยู่ ณ ที่เฉพาะหน้านี้แล้ว. ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลาย  จงปรารภความเพียรเถิด เพื่อการบรรลุถึงซึ่งธรรมอันยังไม่บรรลุ เพื่อการถึงทับ ซึ่งธรรมอันยังไม่ถึงทับ เพื่อการทําให้แจ้งซึ่งธรรมอันยังไม่ได้ทําให้แจ้ง. เมื่อเป็น อย่างยิ่ง บรรพชานี้ของเราทั้งหลาย จักเป็นบรรพชาไม่ต่ําทราม จักไม่เป็นหมัน เปล่าแต่จักเป็นบรรพชาที่มีผล เป็นบรรพชาที่มีกําไร.

พวกเราทั้งหลาย บริโภคจีวร บิณฑบาตเสนาสนะและเภสัชของชนทั้งหลาย เหล่าใด การกระทํานั้น ๆ ของชน ทั้งหลายเหล่านั้น ในเราทั้งหลาย จักเป็นการ กระทํามีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลาย พึงทําความสําเหนียก อย่างนี้แล. 
ภิกษุ ท.! คนผู้เกียจคร้าน ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ระคนอยู่ด้วยอกุศลธรรมอัน ลามกทั้งหลายด้วย ย่อมทําประโยชน์อันใหญ่หลวงของตนให้เสื่อม ด้วย.

ภิกษุ ท.! ส่วนบุคคลผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข สงัดแล้วจาก อกุศลธรรม อันลามกทั้งหลายด้วย ย่อมทําประโยชน์อันใหญ่หลวง ของตนให้ บริบูรณ์ด้วย.

ภิกษุ ท.! การบรรลุธรรมอันเลิศ ด้วยการกระทําอันเลว ย่อมมีไม่ได้เลย แต่การ บรรลุธรรมอันเลิศ ด้วยการกระทําอันเลิศ ย่อมมีได้ แล.


281
ทรงแสดงหนทางที่ผู้ปฎิบัติตามแล้ว จะเห็นได้เองว่าถูกต้อง

กัสสปะ ! หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ซึ่งผู้ปฎิบัติตามนั้นแล้ว จักรู้ได้เอง จักเห็น ได้เองทีเดียวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีปรกติกล่าวถูกต้อง ตามกาลกล่าว ถูกต้อง ตามที่เป็นจริง กล่าวโดยอรรถ กล่าวโดยธรรม กล่าวโดยวินัย ดังนี้. 

กัสสปะ ! หนทางนั้นเป็นอย่างไรเล่า? ปฎิปทานั้นเป็นอย่างไรเล่า?หนทางนั้น คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความ เห็นชอบ ความดําริชอบ การพูดจาชอบ การทําการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความ พากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. 

กัสสปะ ! นี้แลเป็นหนทาง เป็นปฎิปทา ซึ่งผู้ปฎิบัติตามนั้นแล้ว จักรู้ได้เอง จัก เห็นได้เองทีเดียว ว่าพระสมณโคดมเป็นผู้มีปรกติ

กล่าวถูกต้องตามกาลกล่าวถูกต้อง ตามที่เป็นจริง กล่าวโดยอรรถกล่าว โดยธรรม กล่าวโดยวินัย ดังนี้.

281-283
ทรงแสดงสวากขาตธรรมที่มีผล ๖ อันดับ
(มีสวรรค์เป็นอย่างต่ำสุด)


           ภิกษุ ท.! ธรรม เป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของ คว่ําที่หงายแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว เป็นธรรมอันเราตถาคต ประกาศก้องแล้ว เป็นธรรมมีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออกหมด สิ้นแล้ว.

           ภิกษุ ท.! ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ... มีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือน ออกหมดสิ้นแล้ว อย่างนี้ เกิดมีภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้วมี พรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจที่ต้องทําอันทําเสร็จแล้ว มีของหนักอันปลงลงได้ แล้วมีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว ด้วยป๎ญญาเป็นเครื่องรู้โดยชอบ วัฏฏะของภิกษุ ท. เหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการ บัญญัติต่อไป. (นี้คือผลอันดับที่หนึ่ง). 

           ภิกษุ ท.! ธรรม เป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจ ของคว่ําที่หงายแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว เป็นธรรมอันเรา ตถาคตประกาศก้องแล้ว เป็นธรรมมีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออกหมดสิ้นแล้ว.

            ภิกษุ ท.! ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว.... มีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออก หมดสิ้น แล้ว อย่างนี้ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้งห้า อันภิกษุ ท. เหล่าใดละขาดแล้ว ภิกษุ ท. เหล่านั้นหมด เป็นผู้เป็นโอปปาติกะ เป็นผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีธรรมดาไม่เวียน กลับจากโลกนั้น. (นี้คือผลอันดับที่สอง).
 
            ภิกษุ ท.! ธรรมเป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจ ของคว่ําที่หงายแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว เป็นธรรมอันเรา ตถาคตประกาศก้องแล้ว เป็นธรรมมีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออกหมดสิ้นแล้ว.

            ภิกษุ ท.! ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ... มีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออก หมดสิ้น แล้ว อย่างนี้ สัญโญชน์ทั้งสาม อันภิกษุ ท. เหล่าใดละขาดแล้ว เป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง ภิกษุ ท. เหล่านั้นทั้งหมด เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้ครั้ง เดียวเท่านั้น แล้วจักกระทําที่สุดแห่งทุกข์ได้. (นี้คือผลดันดับที่สาม). 

            ภิกษุ ท.! ธรรม เป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจ ของคว่ําที่หงายแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว เป็นธรรมอันเรา ตถาคตประกาศก้องแล้ว เป็นธรรมมีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออกหมดสิ้นแล้ว.

            ภิกษุ ท.! ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ... มีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออก หมดสิ้น แล้ว อย่างนี้ สัญโญชน์สาม อันภิกษุ ท. เหล่าใดละขาดแล้ว ภิกษุ ท. เหล่านั้น ทั้งหมด เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้มีสัมโพธ ิเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า. (นี้คือผลอันดับที่สี่). 

             ภิกษุ ท.! ธรรม เป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมอันทําให้     เป็น ดุจของคว่ําที่หงายแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว เป็นธรรมอัน เราตถาคตประกาศก้องแล้ว เป็นธรรมมีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออกหมดสิ้น แล้ว

             ภิกษุ ท.! ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ... มีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออก หมดสิ้นแล้ว อย่างนี้ เกิดมีภิกษุ ท. เหล่าใด เป็นธัมมาสุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุ ท.เหล่านั้นทั้งหมด มีสัมโพธิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. (นี้คือผลอันดับที่ห้า).

            ภิกษุ ท.! ธรรม เป็นธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจ ของคว่ําที่หงายแล้ว เป็นธรรมอันทําให้เป็นดุจของปิดที่เปิดแล้ว เป็นธรรมอันเรา ตถาคตประกาศก้องแล้ว เป็นธรรมมีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออกหมดสิ้นแล้ว.

           ภิกษุ ท.! ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ... มีส่วนขี้ริ้วอันเราตถาคตเฉือนออก หมดสิ้น แล้ว อย่างนี้ คุณธรรมสักว่าสัทธา สักว่าความรัก ของบุคคล ท.เหล่าใด เกิดขึ้นใน เรา บุคคล ท. เหล่านั้นทั้งหมด มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. (นี้คือผลอันดับที่ หก).


284-285
สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำมาสอน
มีมากกว่าที่ทรงนำมาสอนมากนัก
 


           พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําใบไม้สีสปาที่ร่วงอยู่ตามพื้นดินขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า 

          ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายเข้าใจว่าอย่างไร ใบไม้สีสปาที่เรากําขึ้นหน่อยหนึ่งนี้ มาก หรือว่าใบไม้สีสปาที่ยังอยู่บนต้นเหล่านั้นมาก? 
         "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคทรงกําขึ้นหน่อยหนึ่งนั้น เป็นของน้อย ส่วนใบไม้ที่ยังอยู่บนต้นสีสปาเหล่านั้นย่อมมีมาก."  ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ ฉันนั้น ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่งด้วยป๎ญญาอันยิ่งแล้วไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วน ที่นํามากล่าวสอน.

           ภิกษุ ท.! เหตุไรเล่าเราจึงไม่กล่าวสอน ธรรมะส่วนนั้น ๆ?  ภิกษุ ท.! เพราะเหตุว่า ธรรมะส่วนนั้น ๆ ไม่ประกอบอยู่ด้วย ประโยชน์ ที่เป็นเงื่อนต้นแห่ง พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นไป เพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวสอน. 
          ภิกษุ ท.! ธรรมะอะไรเล่า เป็นธรรมะที่เรากล่าวสอน? ภิกษุ ท.!ธรรมะที่ เรากล่าวสอนคือข้อที่ว่า
          ความทุกข์เป็นอย่างนี้ ๆ
           เหตุเป็นที่เกิดของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
           ความดับสนิทของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
           ข้อปฎิบัติเพื่อถึงความดับสนิทของความทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ


           ภิกษุ ท.! เพราะเหตุ ไรเล่า ธรรมส่วนนี้เราจึงนํามากล่าวสอน? ภิกษุ ท.! เพราะว่าธรรมะส่วนนี้ ประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เป็นไปเพื่อความคลายก าหนัด เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้นแล เรา จึงนํามากล่าวสอน.


 

ภาค4/2

เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญน่้อยต่าง ๆ ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้วไปจนถึงจวน จะเสด็จ ปรินิพพาน และ เรื่องบางเรื่องที่ควรผนวกเข้าไว้ในภาคนี้
(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)



285
คำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด
 
           ภิกษุ ท.! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลา ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ําสอนแสดงออก ซึ่งถ้อยคําใดถ้อยคําเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย. 
          ภิกษุ ท.! (อนึ่ง) ตถาคตกล่าวอย่างใด ทําอย่างนั้น ทําอย่างใดกล่าว อย่างนั้น.


285-286
ทรงมีการกล่าวที่ไม่ขัดแย้งกับบัณฑิตชนในโลก

           ภิกษุ ท.! เราย่อมไม่กล่าวขัดแย้ง (วิวาท) กะโลก แต่โลกต่างหากย่อม กล่าวขัดแย้งต่อเรา. ภิกษุ ท.! ผู้เป็นธรรมวาที ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกะใคร ๆ ในโลก.    

           ภิกษุ ท.! สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติ (รู้เหมือน ๆ กัน) ว่าไม่มี แม้เรา ก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี.
           ภิกษุ ท.! สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามีแม้เรา ก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามี. 

           ภิกษุ ท.! อะไรเล่า ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี และเราก็กล่าวว่าไม่มี?  ภิกษุ ท.!  รูป  ที่เที่ยง  ที่ยั่งยืน  ที่เที่ยงแท้  ที่ไม่มีการ แปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวว่าไม่มี. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่าง เดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

           ภิกษุ ท.! ข้อนี้แล ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มีและเราก็กล่าวว่าไม่มี.  ภิกษุ ท.! อะไรเล่า ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี และเราก็กล่าวว่ามี ? 

           ภิกษุ ท.! รูป ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลก สมมติว่ามีแม้เราก็กล่าวว่ามี (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ตรัสไว้ โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว). ภิกษุ ท.!  ข้อนี้แล ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี และเราก็กล่าวว่ามี ดังนี้.
 

286-287
ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์ 

          ภิกษุ ท.! ทั้งที่เรามีถ้อยคําอย่างนี้  มีการกล่าวอย่างนี้ สมณะและ พราหมณ์ บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วยคําเท็จเปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงเป็นจริงว่า "พระสมณโคดม ซึ่งเป็นคน จูงคนให้เดินผิดทางไปสู่ความฉิบหาย ย่อมบัญญัติลัทธิ ความสูญเปล่า ความวินาศ ความไม่มี ของสัตว์ คน ตัวตนเราเขา ขึ้นสั่งสอน" ดังนี้.

          ภิกษุ ท.! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น กล่าวตู่เราด้วยคําเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ไม่มีจริงเป็นจริง โดยประการที่เรามิได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้นก็ หามิได้. 
          ภิกษุ ท.! ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่อง ความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น. 

          ภิกษุ ท.! ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์และความดับสนิทของความทุกข์ เช่นนี้ แม้จะมีใครมาด่าว่าถากถางกระทบกระเทียบเสียดสี ตถาคตก็ไม่มีความ โกรธ แค้นขุ่นเคืองเดือดร้อนใจเพราะเหตุนั้นแต่ประการใด.

          ภิกษุ ท.! ในเรื่อง เดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใครมาสักการะเคารพสรรเสริญ บูชา ตถาคตก็ไม่มี ความรู้สึกเพลิดเพลินชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม. ถ้ามีใครมา สักการะ เคารพ สรรเสริญบูชา ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรา มีความรู้สึกตัว ทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทําความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.


287-288
คำสอนที่ทรงสั่งสอนมากที่สุด 

       "พระโคดมผู้เจริญ ทรงนําสาวกทั้งหลายไปอย่างไร? อนึ่ง อนุสาสนีของพระ โคดมผู้เจริญย่อมเป็นไปในสาวกทั้งกลาย ส่วนมาก มีส่วนคือการจําแนกอย่างไร ?"  อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนําสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้  อนึ่ง อนุสาสนีของ เรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจําแนกอย่างนี้ว่า  "ภิกษุ ท.! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขาร ท. ไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง

        ภิกษุ ท.! รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตนสังขาร ท. ไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน. สังขาร ท. ทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรม ท.ทั้งปวงไม่ใช่ ตน." ดังนี้. 
       อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนําสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้แล อนึ่งอนุสาสนีของ เรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนคือการจําแนกอย่างนี้ ดังนี้.


288-291
ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามล าดับ (อย่างย่อ)
 
           ดูก่อนพราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติกฏเกณฑ์แห่ง การศึกษาตามลําดับ การกระทําตามลําดับ และการปฏิบัติตามลําดับ ได้เหมือน (กับที่ท่านมีวิธีฝึกสอนศิษย์ของท่านให้นับตามลําดับ) 

          พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนผู้ชํานาญการฝึกม้า ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมฝึกให้รู้จักการรับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงฝึกอย่างอื่น ๆให้ยิ่งขึ้นไป ฉันใด; พราหมณ์เอย! ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้วในขั้นแรกย่อมแนะนํา อย่างนี้ก่อนว่า "มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล สํารวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึง พร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย จงสมาทาน ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด" ดังนี้. 

           พราหมณ์ ! ในกาลใด  ภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีล  (เช่นที่กล่าวแล้ว)  ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "มาเถิดภิกษุ! ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ทั้งหลาย ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต (คือรวบถือทั้งหมดว่างาม หรือ ไม่งามแล้วแต่กรณี) จักไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือเอาแต่บางส่วน ว่าส่วนใด งามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี) บาปอกุศลกล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตาม อารมณ์เพราะการไม่สํารวม จักขุอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เราจักสํารวม อินทรีย์นั้นไว้เป็น ผู้รักษาสํารวมจักขุอินทรีย์. (ในโสตินทรีย์คือหู ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหาอินทรีย์คือลิ้น กายินทรีย์คือกาย และมนินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน)" ดังนี้. 

             พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้สํารวมอินทรีย์ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้วตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า "มาเถิดภิกษุ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณ ใน โภชนะอยู่เสมอ จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อ ประดับตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ ชีวิตเป็นไปเพื่อปูองกัน ความลําบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยคิดว่าเราจัก กําจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้วไม่ทําเวทนาใหม่ (อิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น. ความที่อายุดําเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุก สําราญ จักมีแก่เรา" ดังนี้.

             พราหมณ์ ! ในกาลใด  ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ   (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า "มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงประกอบความ เพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มืนชา). จงชําระจิตให้หมดจด สิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวันยังค่ํา ไปจนสิ้น ยามแรก แห่งราตรี. ครั้นยามกลางแห่งราตรี สําเร็จ การนอนอย่าง ราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุก ขึ้น. ครั้นถึง ยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชําระจิตให้หมดจดจากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน การนั่ง อีกต่อไป" ดังนี้.

          พราหมณ์ !  ในกาลใด  ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบความเพียรในธรรม เป็น เครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า "มาเถิด ภิกษุ ! ท่านจง เป็นผู้ประกอบพร้อม ด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการ ก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฎิบาตร จีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่าย อุจจาระ ป๎สสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง" ดังนี้. 

           พราหมณ์ ! ในกาลใด  ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า "มาเถิดภิกษุ ! ท่านจง เสพเสนาสนะอันสงัด คือปุาละเมาะ โคนไม้ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ํา ปุาช้า ปุาชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง).

             ในกาลเป็นป๎จฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดํารงสติ เฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจาก อภิชฌา คอยช าระจิต จากอภิชฌา; ละพยาบาทมีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้ กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูล ในสัตว์ทั้งหลาย คอยชําระจิตจากพยาบาท ละถีนะ มิทธะมุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนะมิทธะมีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชําระจิต จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจะ กุกกุจจะ ไม่ฟุูงซ่านมีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชําระจิต จากอุทธัจจะกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้อง กล่าวว่า `นี่อะไร นี่อย่างไร' ในกุศลธรรม ทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชําระจิต จากวิจิกิจฉา" ดังนี้.

           ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ห้าประการอันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทําป๎ญญาให้ถอย กําลังเหล่านี้ ได้แล้ว เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศล-  ธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่ ๑ มีวิตกวิจารมีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้ว แลอยู่. เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสใน ภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.

             เพราะความจางแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นอยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. และเพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุขมีแต่ ความที่มีสติเป็น ธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. 

           พราหมณ์เอย ! ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ  (คือยังต้องทําต่อไป)  ยังไม่ บรรลุอรหัตตมรรคยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่  คำสอน ที่กล่าวมานี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ส่วน ภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้วทํากิจที่ต้องทําสําเร็จ แล้ว มีภาระอันปลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันได้บรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้น ไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบแล้ว ธรรมทั้งหลาย (ในคําสอน) เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุ ทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.


291-296
ทรงฝึกสาวกเป็นลำดับๆ 

           อัคคิเวนะ ! เมื่อใด ช้างที่ถูกฝึกรู้จักทําตามคําของคนฝึกในการลุกขึ้น และการทรุดลงแล้วต่อจากนั้นผู้ฝึกก็ฝึกให้รู้จักอาการที่เรียนว่า อาเนญชะ  (คือไม่หวั่นไหว) เขาผูกโล่ไว้ที่งวง มีผู้ถือหอกซัด นั่งบนคอคนหนึ่ง และหลายคน ล้อมรอบ ๆ คนฝึกถือหอกซัดขนาดยาวยืนหน้าช้างนั้นแหละสอนให้ทําอาการที่ เรียกว่า อาเนญชะ ช้างนั้นมิได้ทําเท้าหน้าให้ไหวมิได้ทําเท้าหลังกายตอนหน้า กายตอนหลัง ศีรษะ ใบหู งา หาง งวง ให้ไหวเลยเป็นช้างควรทรงสําหรับ พระราชา ย่อมทนการประการด้วยหอก ดาบ ลูกศรการประหารของข้าศึก ทน ต่อเสียงบันลือลั่น ของกลอง บัณเฑาะว์ สังข์และเปิงมางทั้งหลาย มีความ บิดเบือน ดุร้าย เมามัน อันสิ้นแล้ว ควรแก่พระราชา เป็นของใช้สอยของ พระราชา เรียกได้ว่าเป็นองค์อวัยวะ ของพระราชาดังนี้ นี่ฉันใด 

           อัคคิเวสนะ !  อันนี้ก็ฉันนั้น : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดําเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี   ฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จําแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้นทําให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร  พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยป๎ญญา อันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือ บุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใด ตระกูลหนึ่ง ในภายหลังก็ดี ได้ฟ๎งธรรม นั้นแล้ว เกิดศรัทธา ใจตถาคต.

           เขาผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็น ว่า "ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลีบรรพชาเป็น โอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่งการที่คน อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์  ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วย เรือนเถิด" ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา  เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติ น้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.

         อัคคิเวสนะ ! เพียงเท่านี้ ย่อมชื่อว่า เขาได้ไปถึงที่โล่งโปร่งแล้ว (ดุจช้าง ที่นำออกมาจากป่าแล้ว). 

          อัคคิเวสนะ ! ก็เทวดาและมนุษย์ ท. มีเครื่องยั่วยวนคือ กามคุณห้า. ตถาคตจึงแนะนะกุลบุตรผู้บวชแล้วนั้นให้ยิ่งขึ้น ว่า "แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา ท่านจง เป็นผู้มีศีล สํารวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นเป็นภัย ในโทษแม้เล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิขาบททั้งหลาย". 

           อัคคิเวสนะ !  ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑แล้ว ตถาคตจึงแนะนํา ให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา ท่านจงเป็นผู้สำรวมทวารในอินทรีย์ ท. ได้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต โดยอนุพยัญชนะบาปอกุศลคืออภิชฌา และโทมนัส มักไหลไปตาม เพราะการไม่สํารวมจักขุอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เราจักปิด กั้นอินทรีย์นั้นไว้ เป็นผู้รักษาสํารวมจักขุอินทรีย์. (ใน หู จมูก ลิ้น กายใจ ก็มีนัย เดียวกัน)". 

          อัคคิเวสนะ !  ในกาลใด  ภิกษุนั้นเป็นผู้สํารวมทวารในอินทรีย์ ท. ฯลฯ แล้ว ตถาคตจึงแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ! ท่านจงมา ท่านจงเป็นผู้รู้ ประมาณ ในโภชนะ อยู่เสมอ จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อปูองกัน ความลําบาก เพื่อนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยคิดว่า เราจักกําจัด เวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทําเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนหมดสุข) ให้เกิดขึ้น. ความที่ อายุดําเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร ความอยู่ผาสุกสําราญจักมีแก่เรา" ดังนี้. 

         อัคคิเวสนะ ! ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ฯลฯ แล้วตถาคต ก็แนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา ท่านจงตาม ประกอบในธรรมเป็น เครื่องตื่น จักชําระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรม ด้วยการ เดินการนั่ง ตลอดวันยังค่ํา จนสิ้นยามแรกแห่งราตรี ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น ครั้นยามสุดท้ายแห่ง ราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชําระจิตให้หมดจดจากอาวรณิยธรรมด้วย การจงกรม และการนั่งอีก" ดังนี้. 

         อัคคิเวสนะ !  ในกาลใด  ภิกษุนั้น  เป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็น   เครื่องตื่น ฯลฯ แล้วตถาคต ก็แนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ! ท่านจงมาท่านจง เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ จักรู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียดการทรง สังฆาฎิ บาตร จีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ป๎สสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่นการพูด การนิ่ง" ดังนี้.

         อัคคิเวสนะ ! ในกาลใดแล ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติ    สัมปชัญญะ ฯลฯ แล้ว ตถาคตก็แนะสําให้ยิ่งขึ้นไปว่า "แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือปุาละเมาะ โคนไม้ ภูเขาซอกห้วย ท้องถ้ํา ปุาช้า ปุาชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง. ในกาลเป็นป๎จฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้วนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจาก อภิชฌา คอยชำระจิต จากอภิชฌา ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาทเป็นผู้ กรุณามีจิตหวังเกื้อกูลในสัตว์ ท. คอยชําระจิตจากพยาบาท ละถีนมิทธะมุ่งอยู่แต่ ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถิ่นมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัวคอยชําระจิตจาก ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุูงซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายในคอยชําระจิตจาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า `นี่อะไร นี่ อย่างไร' ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชําระจิตจากวิจิกิจฉา"  ดังนี้. 

         อัคคิเวสนะ !  ในกาลใด  ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ห้า อย่าง อันเป็นเครื่อง  เศร้าหมองจิตทําป๎ญญาให้ถ้อยกําลังเหล่านี้ได้แล้ว เป็นผู้มีปรกติเห็นกายในกาย... เห็นเวทนาในเวทนา ท. ...เห็นจิตในจิต...เห็นธรรมในธรรม ท. มีความเพียรเผา บาป รู้ตัวรอบคอบ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกได้; ในกาลนั้นเปรียบ เหมือนคนผู้ฝึกช้าง ฝ๎งเสาใหญ่ลงในแผ่นดินแล้ว ผูกช้างปุา เข้าที่คอเพื่อย่ํายีกําจัด เสียซึ่งปรกตินิสัยที่เป็นปุาเถื่อน เพื่อย่ํายีกําจัดเสียซึ่ง ความคิดครุ่นอย่างนิสัยปุา เถื่อน และความกระวนกระวายดิ้นรนเร่าร้อน อย่าง นิสัยปุาเถื่อนนั้นเสีย เพื่อให้ ยินดีต่อบ้าน ชวนให้คุ้นเคยในปรกตินิสัยอันเป็นที่ พอใจของมนุษย์ นี้ฉันใด

           อัคคิเวสนะ ! สติป๎ฎฐานทั้งสี่นี้ ก็เป็นที่เข้าไปผูกแห่งใจของ อริยสาวก เพื่อย่ำยี กำาจัดเสียซึ่งปรกตินิสัยอย่างบ้านๆ เรือนๆ เพื่อ ย่ำยีกำจัดเสียซึ่ง ความคิดครุ่น อย่างบ้านๆ เรือนๆ และความ กระวน กระวายดิ้นรนเร่าร้อน อย่างบ้านๆ เรือนๆ นั้นเสีย เพื่อให้ถึงทับญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฉันนั้นเหมือนกัน. (ต่อจากนี้ทรงกล่าวถึงการที่สาวกนั้น  จะต้องไม่มีวิตกที่เข้าไป ผูกพัน กับ  กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วบรรลุฌานทั้งสี่ และวิชชาสามอย่าง ยืดยาว โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องการ ตรัสรู้ของพระองค์เอง จงดูในที่นั้น จักได้กล่าว เนื้อความอื่นที่สืบต่อจากนั้นไป)....ฯลฯ... 
         
 ภิกษุนั้น  รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว กิจควรทำได้ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก. 

           อัคคิเวสนะ ! ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความระหาย และสัมผัสอันเกิดจากเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์ เลื้อยคลาน ทั้งหลาย เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นได้ต่อถ้อยคำ ที่กล่าวร้าย กล่าวมาไม่ดีอดทนได้ต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว อย่างกล้าแข็งแสบเผ็ด หมดความ สำราญเบิกบานใจ ปลิดเสียได้ซึ่งชีวิต.

           ภิกษุนั้นเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะอัน กำจัดเสียสิ้นแล้วมีกิเลส อันย้อมใจ ดุจน้ำฝาด อันตนส ารอกออกเสียได้แล้ว
เป็น อาหุเนยยบุคคล เป็นปาหุเนยย บุคคล เป็นทักขิเฌยยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การ กราบไหว้เป็น เนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นใดยิ่งไปกว่า. 

          อัคคิเวสนะ ! ถ้าภิกษุผู้เถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ที่ยังไม่เป็น ขีณาสพ ทํากาละลงไป ก็ย่อมถึงซึ่งการนับว่าตายแล้ว ทํากาละแล้วทั้งที่ยังฝึกไม่ เสร็จ ดุจดั่งช้างแก่ หรือปูนกลาง หรือหนุ่ม ของพระราชาที่ยังฝึกไม่ได้ตายลง ก็ ถึงซึ่งการนับว่า ตายแล้ว ทั้งที่ยังฝึกไม่เสร็จ ฉันใดก็ฉันนั้น.

         อัคคิเวสนะ ! ถ้าภิกษุผู้เถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ก็ตามเป็น ขีณาสพแล้ว ทํากาละลงไป ก็ย่อมถึงซึ่งการนับว่าตายแล้ว ทํากาละแล้วอย่าง เสร็จสิ้นการฝึกแล้ว ดุจดั่งช้างแก่ หรือปูนกลางหรือหนุ่มก็ตาม ของพระราชา ที่ เขาฝึกดีแล้ว ตายลง ก็ถึงซึ่งการนับว่า ตายไปอย่างได้รับการฝึกสำเร็จแล้ว ฉัน ใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน.