เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  7 of 11  
  สารบาญ ภาค 4    

  สารบาญ ภาค 4

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  เหตุที่ทำให้เกิดการแสดงปาติโมกข์ 351     ทรงอยู่ด้วยสุญญตาวิหารแม้ใจขณะแห่งธรรมกถา 376-377
  ไม่ทรงทำอุโบสถกับสาวกอีกต่อไป 351     ทรงเป็นสมณะสุขุมาลในบรรดาสมณะ 377-378
  ไม่ทรงติดทายก 352-353     ทรงอยู่อย่างมีจิตที่ปราศจาก "หัวคันนา" 379
  ความรู้สึกของพระองค์เกี่ยวกับยศ  353-355     ทรงทำนาที่มีอมตะเป็นผล  379-381
  ทรงเสพเสนาสนะปุาเรื่อยไป เพื่อให้เป็นตัวอย่าง 355     การทรงหลีกเร้นเป็นพิเศษบางคราว 381
  ทรงพอพระทัยความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง 355-356     ยังทรงมากอยู่ด้วยเขมวิตกและวิเวกวิตก  381-382
  ทรงมีความสุขยิ่งกว่ามหาราช 356-367     การเสด็จสุทธาวาส 383-384
  ทรงผาสุกยิ่งนัก เมื่อทรงอยู่ในอนิมิตตเจโตสมาธิ 358     การเสด็จไปทรมานพกพรหมผู้กระด้างด้วยลัทธิ 384-386
  วิหารธรรมที่ทรงอยู่ตลอดพรรษาและทรงสรรเสริญมาก  359-360     ทรงมีฌานแน่วแน่ชั้นพิเศษ 386-387
  ทรงมีอาหารบริสุทธิ์แม้เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ 360-361     กัลยาณมิตรของพระองค์เอง 387-388
         
  ไม่ทรงฉันอาหารที่เกิดขึ้นเพราะคาขับ 361-362     พอดวงอาทิตย์ขนึ้ หิ่งห้อยก็อับแสง 388-389
  ทรงฉันอาหารวันหนึ่งหนเดียว 362     ลัทธิของพระองค์กับของผู้อื่น 389-390
  ทรงฉันอาหารหมดบาตรก็มี 363     ทรงแสดงอัปปมัญญาธรรมสี่ชนิด ที่สูงกว่าเดียรถีย 390-395
  บางคราวทรงมีปีติเป็นภักษาเหมือนพวกอาภัสสรเทพ  363     บัญญัตินิททสบุคคลที่ไม่เนื่องด้วยพรรษาดั่งลิทธิอื่น 395-397
  ทรงมีการประทม อย่างตถาคต 364-365     บัญญัติคำว่า"ญาณ"ไม่ตรงกับที่เดียรถีย์อื่นบัญญัติ 397-398
  ทรงเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อย่างไม่เห็นแก่หน้า 365-367     ไม่ทรงบัญญัติยืนยันหลักลัทธิเกี่ยวกับ "อัตตา"  398-399
  ทรงมีลักษณะเอ็นดูสรรพสัตว์ทั้งหลับและตื่น 367-368     ไม่ได้ทรงติการบำเพ็ญตบะ ไปเสียตะพึด 399-400
  ทรงมีลักษณะสัมมา-ท้้งขณะทำและไม่ทำหน้าที่  368-369     ไม่ทรงตำหนิการบูชายัญญ์ไปเสียทั้งหมด 400-401
  ตัวอย่างเพียงส่วนน้ย ของความสุข 370     ความบริสุทธิ์ใจของพระองค์ในการปฏิบัติตอ่ลัทธิอื่น 401-403
  ทรงนับพระองค์ว่าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้นอนเป็นสุข 370-372     บางกฎที่ทรงยกเว้นแก่บางคน 403-404
  ทรงดับเย็นเพราะไม่ทรงยึดมั่นการรู้สิ่งที่สมมติว่าเลิศ 372      
  ที่ประทับนั่งนอนของพระองค์ 372-375      
  วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ตลอดพระชนม์ 375-376      
         
 
 






หน้า 351 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
เหตุที่ทำให้เกิดการแสดงปาติโมกข์
 
            ภิกษุ ท.! ที่นี่เอง  ปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นแก่เรา เมื่ออยู่ในที่สงัดว่า "ถ้า ไฉน เราจะอนุญาตสิกขาบท ท. ที่ได้บัญญัติ ให้เป็นปาติโมกขุทเทสแก่ภิกษุ ท. เหล่านั้น. ปาติโมกขุทเทสนั้น จักเป็นอุโบสถกรรมของภิกษุ ท.เหล่านั้น" ดังนี้. 

            ภิกษุ ท.! เราอนุญาต เพื่อแสดงขึ้นซึ่งปาติโมกข์.


351
ไม่ทรงทำอุโบสถกับสาวกอีกต่อไป

            มีภิกษุอลัชชีปนอยู่ในหมู่สงฆ์ที่กําลังจะทําอุโบสถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทํา อุโบสถ จนพระโมคคัลลานะค้นตัวภิกษุรูปนั้นได้ บังคับด้วยอาญาแห่งสงฆ์ ให้ออกไปถึง สามครั้ง ก็ไม่ยอมออก จนต้องดึงแขนออกไปแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  "ข้าแต่พระองค์   ผู้เจริญ ! บุคคลนั้น ข้าพระองค์นําตัวออกไปแล้ว. บริษัทบริสุทธิ์แล้ว. ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด" ดังนี้. 

            น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ! ไม่เคยมีเลย โมคคัลลานะ ! โมฆบุรุษนั้น ถึงกับต้อง ฉุดแขนจึงยอมออกไป. 

           ภิกษุ ท.! บัดนี้ จําเดิมแต่นี้ไป เราไม่ทําอุโบสถ ไม่แสดงปาติโมกข์. ภิกษุ ท.! จําเดิมแต่บัดนี้ไป พวกท่านทั้งหลายด้วยกันจงทําอุโบสถ จงแสดงปาติโมกข์. 

            ภิกษุ ท.! ไม่ใช่โอกาส  ไม่ใช่ฐานะเลย  ที่ตถาคตจะพึงทําอุโบสถจะพึง แสดงปาติโมกข์ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์.

(ค. เกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนพระองค์ ๓๑ เรื่อง)


352-353
ไม่ทรงติดทายก

            อานนท์ !  ตถาคตเกิดขึ้นในโลก  เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ ด้วยวิชชา และจรณะเป็นผู้ไปดี ผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกได้อย่าง ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้วจําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์.

           ตถาคตนั้น เสพเสนาสนะอันสงัด คือปุาละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ํา ปุาช้า ปุาชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เมื่อตถาคตนั้น หลีกออกอยู่อย่างนั้น ชาวนิคมและชาวชนบท  ที่เป็นพราหมณ์หรือคฤหบดี เวียนติดตาม เมื่อชาวนิคมและ ชาวชนบท ที่เป็นพราหมณ์หรือคฤหบดี เวียนติดตาม ตถาคตย่อมไม่ผูกใจใคร่ ไม่ถึงความ กำหนัด ไม่เวียนมาเพื่อความมักมาก...ฯลฯ... 

           อานนท์ !  ครูบางคนในโลกนี้ ย่อมเสพเสนาสนะสงัด คือปุาละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ํา ปุาช้า ปุาชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เมื่อครูผู้นั้น หลีกออกอยู่ อย่างนั้น ชาวนิคมและชาวชนบท ที่เป็นพราหมณ์ หรือคฤหบดี ย่อมเวียนติดตาม. ครูผู้นั้น เมื่อชาวนิคมและชาวชนบทที่เป็น พราหมณ์หรือคฤหบดี เวียนติดตาม ก็ผูกใจสยบ ก็ถึงความกําหนัด ก็ถึง ความมักมาก.

           อานนท์ ! นี้แหละเราเรียกว่า อุป๎ททวะ สำหรับอาจารย์. สิ่งอันเป็นอกุศลลามก เศร้าหมองพร้อม เป็นไปเพื่อเกิดใหม่ ประกอบด้วย ความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล เป็นไปเพื่อชาติ ชรา มรณะสืบไป ย่อมกดทับ ครูผู้นั้นไว้. อานนท์ ! อุป๎ททวะสําหรับอาจารย์ เป็นอย่างนี้แล.


353-355
ความรู้สึกของพระองค์เกี่ยวกับยศ 

           (พวกพราหมณ์คหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละจํานวนมาก ได้ยินกิตติศัพท์อันใหญ่หลวง ของพระผู้มีพระภาค ว่าบัดนี้ได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ ราวปุาอิจฉานังคละ ก็พากันนําเอาของ เคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปออกันอยู่ที่นอกซุ้มประตู ส่งเสียงอึกทึก. พระผู้มีพระภาค ตรัสถาม พระนาคิตะผู้อุป๎ฏฐาก:-) 

          นาคิตะ ! เสียงอื้ออึงอะไรกัน ราวกะว่าการยื้อแย่งซื้อปลาของ ชาวประมง?  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พราหมณ์คหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ นําของเคี้ยว ของฉันเป็น อันมากมาออกันอยู่ที่ด้านนอกแห่งซุ้มประตู เพื่อจะถวายแก่พระผู้มีพระ ภาคและภิกษุสงฆ์." 

          นาคิตะ ! เราอย่าต้องเกี่ยวข้องกับยศเลย ยศก็อย่ามาเกี่ยวข้องกับเรา เลย.

          นาคิตะ ! พวกคนที่ไม่อาจจะได้ตามปรารถนา ไม่อาจจะได้โดยง่าย โดยสะดวก ซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธสุข ดังที่เราได้ตาม ปรารถนา ได้โดยง่าย โดย สะดวก ก็พึงยินดี มิฬ๎หสุข (สุขอันเกิดจากท่อป๎สสาวะ) มิทธสุข (สุขของคนนอนซบ) สุขอันเกิดจากลาภสักการะและเสียงสรรเสริญต่อไป เถิด. 

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงทนรับ ขอพระสุคต จงทนรับ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้เป็นเวลาสําหรับการทนรับของพระผู้มีพระภาค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์จะเสด็จไปทางใดในบัดนี้ พราหมณ์ คหบดีชาวนิคม ชาวชนบท ท. ก็จักติดตามไปทางนั้น เหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตก ลงมา น้ําก็จะไหลไป ตามที่ลุ่ม ฉันใดก็ฉันนั้น ที่พระผู้มีพระภาค จะเสด็จไปทางใด ในบัดนี้ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท ท. ก็จักติดตามไปทางนั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไรเล่า? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะความปรากฏแห่งศีลของพระผู้มี พระภาคทําให้เป็นเช่นนั้น". 

            นาคิตะ ! เราอย่าต้องเกี่ยวข้องกับยศเลย ยศก็อย่ามาเกี่ยวข้องกับเราเลย. นาคิตะ ! พวกคนที่ไม่อาจจะได้ตามปรารถนา ไม่อาจจะได้โดยง่าย โดยสะดวกซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธสุข ดังที่เราได้ตาม ปรารถนาได้โดยง่าย โดยสะดวก ก็พึงยินดี มิฬ๎หสุข (สุขอันเกิดจากท่อป๎สสาวะ) มิทธสุข  (สุขของคนนอนซบ) สุขอันเกิดจากลาภสักการะ และ เสียงสรรเสริญ ต่อไปเถิด. 

            นาคิตะ ! อุจจาระปัสสาวะ  ย่อมมีจากสิ่งที่บุคคลกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว นั้นคือสิ่งไหลออกของสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้วลิ้มแล้ว. 

           นาคิตะ ! โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นเพราะสิ่งที่รัก แปรปรวน ไปโดยประการอื่น นั้นคือสิ่งไหลออกของความแปรปรวนแห่งสิ่ง เป็นที่รัก. 

           นาคิตะ !  เมื่อบุคคลตามประกอบซึ่งอนุโยคในอสุภนิมิต ความเป็น ของปฎิกูล ในอสุภนิมิตย่อมปรากฏขึ้น นั้นคือสิ่งไหลออกแห่งการอนุโยคในอสุภนิมิต. 

          นาคิตะ ! เมื่อบุคคลตามเห็นอยู่ซึ่งความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ ๖ ความเป็นของ ปฎิกูลในผัสสะ ย่อมปรากฏขึ้น นั่นคือสิ่งไหลออกแห่งการตามเห็น ความไม่เที่ยงใน ผัสสายตนะ.  

          นาคิตะ ! เมื่อบุคคลตามเห็นอยู่ซึ่งความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ทั้งห้า ความเป็นของปฎิกูลในอุปาทาน ย่อมปรากฏขึ้น นั่นคือสิ่ง ไหลออกแห่งการ ตามเห็น ความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ดังนี้.


355
ทรงเสพเสนาสนะป่าเรื่อยไป เพื่อให้เป็นตัวอย่าง

           พราหมณ์ !  ท่านอาจมีความเห็นอย่างนี้ก็ได้ว่า  "ขณะนี้พระสมณโคดมยัง มีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ เป็นแน่ เพราะฉะนั้นจึงได้เสพเสนาสนะป่าอันเงียบ สงัด" ดังนี้.  พราหมณ์เอย ! ท่านไม่พึงมีความเห็นอย่างนั้นเลย.

           พราหมณ์ ! เรา มองเห็นอยู่ซึ่งประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะป่าอันเงียบสงัด คือเพื่อความอยู่เป็นสุขทันตาเห็น แก่เราเอง อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง เพื่อ อนุเคราะห์แก่ ผู้ที่ตามมาภายหลัง (จะมีกำลังใจปฎิบัติในการเสพเสนาสนะป่าอัน เงียบสงัด) ดังนี้.


355-356
ทรงพอพระทัยความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง

          ภิกษุ ท.!  ในทิศใด  ภิกษุทั้งหลาย เกิดแตกร้าวกัน เกิดการวุ่นวายกัน ทะเลาะวิวาท กัน ทิ่มแทงกันและกันอยู่ด้วยหอกปาก ทิศนั้น ไม่เป็นทิศที่ผาสุกแก่เราเลย แม้แต่เพียงนึกถึง จะต้องกล่าวทำไม ถึงเรื่องไป จนถึงที่นั่น. และเราย่อมแน่ใจในเรื่องนั้นว่า พวกเธอทั้งหลาย ที่นั้น พากันละเลย ธรรมะสามประการเสีย แล้วทำธรรมะอีกสามประการให้เกิดขึ้นหนาแน่น เป็น แน่แท้.

           สามประการเหล่าไหนเล่า ที่เธอพากันละเสีย? สามประการคือ ความตรึกในอันหลีก ออกจากกาม ความตรึกในอันไม่พยาบาท และความตรึกในอันไม่ เบียดเบียน. และสามประการ เหล่าไหนเล่าที่เธอพากันทําให้เกิดขึ้นหนาแน่น? สามประการคือ ความตรึกไปในทางกาม ความตรึกไปในทางพยาบาทและความ ตรึกไปในทางเบียดเบียน. 

           ภิกษุ ท.!  ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายมีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิง ต่อกัน และกัน ไม่ทะเลาะวิวามกัน เข้ากันและกันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับ น้ำมองดูกัน และกัน ด้วยสายตาแห่งความรักอยู่ ทิศนั้นเป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย) จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการที่เพียงแต่นึกถึง. และ เราย่อมแน่ใจ ในเรื่องนั้นว่า พวกเธอทั้งหลาย ที่นั่น พากันละธรรมสามประการเสีย แล้วทําธรรมะอีก สามประการให้เกิดขึ้น หนาแน่น เป็นแน่แท้.

           สามประการเหล่า ไหนเล่า ที่เธอพากันละเสีย? สามประการ คือความตรึกไปใน ทางกาม ความตรึก ไปในทางพยาบาท และความตรึกไปในทางเบียดเบียน. สามประการ เหล่าไหนเล่า ที่เธอพากันทําให้เกิดขึ้นหนาแน่น? สามประการคือ ความตรึกในอันหลีกออก จากกามความตรึกในอันไม่พยาบาท และความตรึกในอันไม่เบียดเบียน ดังนี้.


356-367
ทรงมีความสุขยิ่งกว่ามหาราช

            "พระโคดมผู้มีอายุ ! พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งมคธ มีความอยู่เป็นสุข กว่า พระสมณโคดมหรือว่าพระสมณโคดมมีความอยู่เป็นสุขกว่า?"

            นิครนถ์ ท.!  ถ้าอย่างนั้นเราขอถามกลับแก่ท่านทั้งหลาย. ท่าน ท.เห็นว่า ควรตอบ ให้ถูกต้องอย่างไร ก็จงตอบอย่างนั้นเถิด เราถามท่านทั้งหลายว่า ท่านมี ความเห็นอย่างไร คือพระจ้าพิมพิสารราชาแห่งมคธ สามารถทำ กายมิให้หวั่นไหว ทำวาจาให้สงบเงียบ เสวยความสุขอย่างเดียวล้วน อยู่ตลอดเวลา๗ วัน ๗ คืน ได้หรือไม่? 

            "พระโคดมผู้มีอายุ ! ข้อนั้นหามิได้เลย." 

           นิครนถ์ ท.! พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งมคธ สามารถทํากายมิให้หวั่นไหว ทําวาจา ให้สงบเงียบ เสวยความสุขอย่างเดียวล้วน อยู่ตลอดเวลา ๖ วัน ๖ คืน ..๕ วัน ๕ คืน ..๔ วัน ๔ คืน ๓ วัน ๓ คืน ..๒ วัน ๒ คืน..๑ วัน ๑ คืน ได้หรือไม่? 

             "พระโคดมผู้มีอายุ ! ข้อนั้นหามิได้." 

           นิครนถ์ ท.! เราแล สามารถเพื่อทํากายมิให้หวั่นไหว ทําวาจาให้สงบเงียบ เสวย ความสุขอย่างเดียวล้วน อยู่ตลอดเวลา ๑ วัน ๑ คืน หรือ๒ วัน ๒ คืน ..๓ วัน ๓ คืน ..๔ วัน ๔ คืน ..๕ วัน ๕ คืน ..๖ วัน๖ คืน .. หรือ ๗ วัน ๗ คืน เป็น กําหนด ได้ตามปรารถนา.

            นิครนถ์ ท.! เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจะเข้าใจ อย่างไร? พระเจ้าพิมพิสารราชา แห่งมคธมีวิหารธรรมเป็นสุขกว่าเรา หรือว่าเรามี วิหารธรรมเป็นสุขกว่า พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งมคธ?

             "พระโคดมผู้มีอายุ ! ถ้าเป็นอย่างนี้พระสมณโคดมเป็นผู้มีวิหารธรรม เป็นสุขกว่า"


358
ทรงผาสุกยิ่งนัก เมื่อทรงอยู่ในอนิมิตตเจโตสมาธิ

         อานนท์ !  สมัยใด  ตถาคตเข้าสู่เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต เพราะไม่ทำนิมิต ทั้งปวงไว้ในใจดับเวทนาบางพวกเสีย แล้วแลอยู่ อานนท์ ! สมัยนั้น ความผาสุก ยิ่งนัก ย่อมมีแก่ตถาคต.

        อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น เธอ ท. จงเป็นผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็น สรณะ ไม่มีสิ่ง อื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่น เป็นสรณะ อยู่เถิด.

        อานนท์ ! อย่างไรเล่า  เรียกว่าภิกษุผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะไม่มี สิ่งอื่นเป็น สรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่?

         อานนท์ ! ภิกษุ ท ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งกายในกายเป็นผู้ตาม เห็นซึ่งเวทนา ในเวทนา ท. มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ นําออกซึ่งอภิชฌาและ โทมนัสในโลก เป็นอยู่ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ นําออกซึ่งอภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเป็นอยู่; เป็นผู้ตามเห็นซึ่งธรรมในธรรม ท. มี ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสตินําออก ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นอยู่. 

         อานนท์ ! อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะไม่มีส่ง อื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.


359-360
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา และทรงสรรเสริญมาก 

        ภิกษุ ท.!  ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอ ท. อย่างนี้ว่า  “ท่านผู้มีอายุ ! พระสมณโคดม ทรงอยู่จําพรรษา ส่วนมาก ด้วยวิหารธรรมไหน เล่า?” ดังนี้. ภิกษุ ท.! เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบแก่พวกปริพพาชก เดียรถีย์อื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาค ทรงอยู่จำพรรษา ส่วนมาก ด้วยวิหารธรรมคือ อานาปานสติสมาธิแล" ดังนี้. 

        ภิกษุ ท.!  ในกรณีนี้  เราเป็นผู้มีสติอยู่ หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก เมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่า "เราหายใจเข้ายาว" ดังนี้  เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่า "เราหายใจออกยาว" ดังนี้. ....(ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิจนครบทั้ง ๑๖ ขั้น ดังมีใจความ ปรากฏอยู่ที่หน้า ๙๙-๑๐๑ แห่งหนังสือเล่มนี้)   ....ย่อมรู้สึกตัวทั่วถึง ว่า "เราเป็นผู้ตามเห็น ซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจําหายใจ ออก" ดังนี้. 

        ภิกษุ ท.! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใดโดยชอบ ว่าเป็น อริยวิหาร ก็ดี พรหมวิหารก็ดี ตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าวโดยชอบ ซึ่ง อานาปานสติสมาธิ นั้น ว่าเป็น อริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร. 

       ภิกษุ ท.! ภิกษุ ท. เหล่าใด ยังเป็นเสขะ มีวัตถุประสงค์แห่งใจอันยังไม่ บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญทําให้มากแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะ. 

        ภิกษุ ท.! ส่วนภิกษุ ท. เหล่าใด เป็น อรหันต์ขีณาสพ มีพรหมจรรย์อันอยู่ จบแล้ว มีกิจที่ควรทําอันกระทําแล้ว มีภาระหนักปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอัน ตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพอันสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ด้วยป๎ญญาโดยชอบ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทําให้มากแล้ว ก็ยังเป็นไป  เพื่อการอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ด้วย เพื่อสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วย.


360-361
ทรงมีอาหารบริสุทธิ์แม้เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์

          ชีวกะ ! ผู้ใด  ทําการฆ่าสัตว์มีชีวิต อุทิศตถาคตหรือสาวกของตถาคต อยู่แล ผู้นั้น ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก โดยฐานะ ๕ ประการ คือ ข้อที่ บุคคลนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านจงไปนําสัตว์ชื่อนั้นมา" ดังนี้ เขาย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก โดยฐานะที่หนึ่งนี้. 

          สัตว์นั้น  เมื่อเขาผูกคอนํามาอยู่  ย่อมเสวยซึ่งทุกข์โทมนัส บุคคลนั้น  ย่อมประสบสิ่ง ที่มิใช่บุญเป็นอันมาก โดยฐานะที่สองนี้. บุคคลนั้น  กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านจงไป จงเตรียมซึ่ง สัตว์มีชีวิต" ดังนี้  เขาย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก โดยฐานะที่สามนี้. 

         สัตว์นั้น  เมื่อถูกเตรียมอยู่  ย่อมเสวยซึ่งทุกข์โทมนัส บุคคลนั้นย่อม ประสบสิ่งที่ มิใช่บุญ เป็นอันมาก โดยฐานะที่สี่นี้ บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมยังตถาคต หรือสาวกของตถาคต ให้ยินดี ด้วยสิ่งอัน เป็นอกัปปิยะ เขาย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญอันเป็นอันมาก โดยฐานะที่ห้านี้.  ชีวกะ ! ผู้ใดทําการฆ่าสัตว์มีชีวิต อุทิศตถาคตหรือสาวกของตถาคตอยู่ ผู้นั้น ย่อมประสบสิ่งที่ มิใช่บุญเป็นมาก โดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล. 

         ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ! ไม่เคยมีแล้ว พระเจ้าข้า! พระเจ้า ! ภิกษุ ท. ย่อมฉันอาหารอัน สมควรหนอ พระเจ้าข้า ! ภิกษุ ท. ย่อมฉันอาหารอันหาโทษมิได้ หนอ...".


361-362
ไม่ทรงฉันอาหารที่เกิดขึ้นเพราะคำขับ

           (พระผู้มีภาค ได้โต้ตอบกับกสิภารท๎ วาชพราหมณ์เกี่ยวกับเรื่องทํานา ทรงยืนยันว่า พระองค์ก็เป็นชานา ทํานาที่มีอมตะเป็นผล โต้ตอบกันด้วยคําที่เป็นคาถา (คํากาพย์กลอน) ดังที่ ปรากฏอยู่ที่หน้า ๓๘๐ แห่งหนังสือเล่มนี้ ภายใต้หัวข้อว่า "ทรงทํานาที่มีอมตะเป็นผล". พราหมณ์เลื่อมใสนําข้าวปายาสถาดใหญ่เข้าไปถวาย นิมนต์ให้ฉัน พระองค์ตรัสตอบด้วยคําที่ เป็นคาถาหรือกาพย์อีกครั้งหนึ่ง มีข้อความดังต่อไปนี้)

  เราไม่บริโภคคาถาติครตะโภชนะ (โภชนะที่เกิดขึ้น  เพราะคำขับ). พราหมณ์เอย! นั่นมิใช่ปกติธรรมดาของ  ผู้เห็นธรรมอย่างครบถ้วน. พุทธบุคคล ท. ย่อมปฎิเสธ  คาถาภิคีตะโภชนะ. พราหมณ์เอย! เมื่อธรรมมีอยู่ ก็ต้องมีการประพฤติตามธรรมนั้น. ท่านจงบำรุงพุทธบุคคล

          ผู้เป็นเกพลีแสวงพบคุณอันใหญ่หลวง สิ้นอาสวะแล้วสงบระงับแล้วจากธรรม เป็นเครื่อง ให้รำคาญด้วยข้าวและ น้ำอันอื่นเถิด เพราะว่า นั่นเป็นบุญของผู้มุ่งบุญ.
(พราหมณ์ นั้น ได้ทูลถามว่า ถ้าอย่างนั้นจะให้นำข้าวปายาสนี้ไปถวายแก่ใคร ตรัสตอบว่า ไม่มองเห็นใครที่ควรรับ ให้นําไปทิ้งเสีย).


362
ทรงฉันอาหารวันหนึ่งหนเดียว

           ภิกษุ ท.! เราย่อมฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว (คือฉันหนเดียว ลุกขึ้น แล้ว ไม่ฉันอีก ในวันนั้น). ภิกษุ ท.! เมื่อเราฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่ ย่อม รู้สึกว่าเป็น ผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อยมีความเบากายกะปรี้กะเปร่า มีกําลังและมี ความผาสุกด้วย. 

            ภิกษุ ท.! มาเถิด  แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จงฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว. ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย เมื่อฉันอยู่ซึ่งโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวจัก รู้สึกความที่เป็นผู้มี อาพาธน้อย มีทุกข์น้อยมีความเบากาย กะปรี้กะเปร่า มีกําลัง และมีความผาสุกด้วยแล.


363
ทรงฉันอาหารหมดบาตรก็มี

         อุทายิ !  ถ้าจะว่า สาวกทั้งหลาย สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่ เพราะเหตุที่เธอเหล่านั้นคิดเห็นว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ฉัน อาหารน้อย และทั้งมีธรรมดา กล่าวสรรเสริญคุณ ของความเป็นผู้ฉันอาหารน้อย ด้วยแล้ว ก็ยังมีอยู่ อุทายิ ! คือสาวก ของเรา บางเหล่าที่ฉันอาหารเพียงขัน น้อยหนึ่งบ้าง กึ่งขันน้อยบ้าง เท่าผลมะตูมบ้าง เท่ากึ่งผลมะตูมบ้าง.

         ส่วนเราเล่า อุทายิ ! บางคราวฉันอาหารอันเต็มบาตร เสมอปากบ้าง ล้นกว่านั้นบ้าง ด้วย  บาตรใบนี้. ๒เมื่อเป็นเช่นนี้ สาวกพวกที่มีอาหารเพียงขันน้อยหนึ่งบ้าง กึ่งขัน น้อยบ้าง เท่าผลมะตูมบ้าง เท่ากึ่งผลมะตูมบ้าง ก็หาพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอยู่อาศัย ด้วยเรา โดยคิดว่าพระสมณโคดมเป็นผู้มีอาหารน้อย และ กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มี อาหารน้อยดังนี้ ได้ไม่.


363
บางคราวทรงมีปีติเป็นภักษาเหมือนพวกอาภัสสรเทพ 

          สมัยหนึ่ง เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านป๎ญจสาลพราหมณคาม ในคราว นักขัตตฤกษ์ แจกของขวัญแก่เด็ก ๆ มารได้ดลใจให้ชาวบ้านไม่ถวายบิณฑบาต จนต้องเสด็จ กลับมาบาตร เปล่าแล้วมารยังมาดักเยาะเย้ยพระองค์ว่า "กลับเข้าไปอีกทีซี่ เราจักทําให้ท่าน ได้ บิณฑบาต". ตรัสตอบกับมารดังนี้ว่า

          มารมาขัดขวางตถาคตอยู่ ประสบสิ่งอันมิใช่บุญเสียแล้ว. 

          ดูก่อนมาร ! ท่านเข้าใจว่าบาปจะไม่ให้ผล ดังนั้นหรือ.  พวกเราอยู่เป็นสุขดีหนอ เมื่อเราไม่มีความกังวลใจเลย. เราจักมีปีติเป็นภักษา เหมือนพวกอาภัสสรเทพ. 

          ลําดับนั้น มารผู้มีบาป รู้สึกว่า พระผู้มีพระภาครู้กําพืดเราเสียแล้ว พระสุคตรู้กําพืด เราเสียแล้ว มีทุกข์โทมนัส อันตรธานไปแล้วในที่นั้นนั่นเอง.


364-365
ทรงมีการประทม อย่างตถาคต

         ภิกษุ ท.! การนอนมีสี่อย่าง คือการนอนอย่างเปรต การนอนอย่างคน บริโภคกาม การนอนอย่างสีหะ การนอนอย่างตถาคต. 

         ภิกษุ ท.! การนอนอย่างเปรตเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! โดยมากพวก เปรตย่อมนอนหงาย นี่เรียกว่า การนอนอย่างเปรต. 

         ภิกษุ ท.! การนอนอย่างคนบริโภคกามเป็นอย่างไรเล่า?

         ภิกษุ ท.! โดยมาก คนบริโภคกามย่อม นอนตะแคงโดยข้างเบื้องซ้าย นี่เรียกว่า การนอน อย่างคนบริโภคกาม. 

         ภิกษุ ท.! การนอนอย่างสีหะเป็นอย่างไรเล่า?

         ภิกษุ ท.! สีหะเป็นพญา สัตว์ ย่อมสําเร็จการนอนโดยข้างเบื้องขวา เท้าเหลื่อมเท้า สอดหางไว้ที่ระหว่าง แห่งขา. สีหะ นั้นครั้นตื่นขึ้น ย่อมชะเง้อกายตอนหน้าขึ้นสังเกตกาย ตอนท้าย ถ้าเห็นความดิ้นเคลื่อนที่ของกาย (ในขณะหลับ) ย่อมมีความเสียใจเพราะข้อนั้น. ถ้า ไม่เห็น ย่อมมีความดีใจ. นี่เรียกว่า การนอนอย่างสีหะ.

          ภิกษุ ท.! การนอนอย่างตถาคตเป็นอย่างไรเล่า?

          ภิกษุ ท.! การนอนอย่างตถาคตคือ ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดแล้วจากกาม ท. สงัดแล้ว จากอกุศลธรรม ท. ย่อมเข้าถึงฌานที่ ๑ ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.

          เพราะวิตกวิจารรํางับไป เธอเข้าถึงฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน สามารถให้สมาธิผุดขึ้นเป็นธรรมเอก ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่.

          เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่ง เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย เข้าถึงฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า"เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติอยู่เป็นสุข" แล้วแลอยู่.

          เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาล ก่อน เธอเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์และไม่สุขมีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. นี่เรียกว่า การนอนอย่างตถาคต.


365-367
ทรงเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อย่างไม่เห็นแก่หน้า

            "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่สัตว์ ทั้งปวง (สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี) อยู่ มิใช่หรือ พระเจ้าข้า?" (คําถามของคามณิอสิพันธกบุตรต่อ พระผู้มีพระภาค)
 
           คามณิ! ถูกแล้ว ตถาคต เป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น ทําไมพระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่คน บางพวก โดยเอื้อเฟื้อ (สกฺกจฺจํ) และแก่คนบางพวก โดยไม่เอื้อเฟื้อ เล่า พระเจ้าข้า?"

          คามณิ ! ถ้าอย่างนั้น เราขอย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านจงตอบเราตามที่ควร. คามณิ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้เป็นไฉน ในถิ่นแห่งเรานี้ มีนา ของชาวนาผู้คหบดีคนหนึ่ง อยู่ ๓ แปลง แปลงหนึ่งเป็นนาชั้นเลิศ แปลงหนึ่ง เป็นนาปูนกลาง แปลงหนึ่งเป็นนาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว.

          คามณิ ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ชาวนาผู้คหบดีนั้น เมื่อประสงค์
จะหว่านพืช เขาจะหว่านในนาแปลงไหนก่อน คือว่าแปลงที่เป็นนาเลิศ นาปูน กลาง หรือว่านาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว เล่า? 

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ชาวนาคหบดีผู้ประสงค์จะหว่านพืชคนนั้น ย่อมหว่าน ในนาเลิศก่อนแล้วจึงหว่านในนาปูนกลาง สําหรับนาเลว ซึ่งดินเป็นก้อนแข็ง รสเค็ม พื้นที่เลวนั้น เขาก็หว่านบ้าง ไม่หว่านบ้าง เพราะเหตุว่า อย่างมากที่สุด ก็หว่านไว้ให้โค กินพระเจ้าข้า !"
 
          คามณิ ! นาเลิศนั้นเปรียบเหมือนภิกษุภิกษุณีของเรา เราย่อมแสดงธรรม งดงาม ในเบื้องต้นงดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ภิกษุภิกษุณีเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

          คามณิ ! เพราะเหตุว่า ภิกษุ  ภิกษุณี ท. เหล่านั้น มีเราเป็นประทีป มีเราเป็นที่ซ่อนเร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นที่พึ่งอาศัย อยู่.
          
          คามณิ ! นาปานกลางนั้นเปรียบเหมือนอุบาสกอุบาสิกาของเรา เรา ย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะแก่อุบาสกอุบาสิกา ท. เหล่านั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?

         คามณิ! เพราะเหตุ ว่าชน ท. เหล่านั้น มีเราเป็นประทีป มีเราเป็นที่ซ่อนเร้น มีเราเป็น ที่ต้านทาน มีเราเป็นที่พึ่งอาศัยอยู่.

         คามณิ ! นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลวนั้นเปรียบเหมือน สมณ พราหมณ์ ปริพพาชก ท. ผู้เป็นเดียรถีย์อื่นต่อเรา เราก็ย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลางงดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ชน ท. เหล่านั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?

เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดง สักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.


367-368
ทรงมีลักษณะเอ็นดูสรรพสัตว์ทั้งหลับและตื่น

(พระผู้มีพระภาค ประสบทุกขเวทนาทางกายอันแก่กล้า เนื่องจากถูกกระทบด้วย สะเก็ดหิน ทรงมีสติสัมปชัญญะอดกลั้น ประทับสีหไสยาอยู่; มารได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาค แล้วกล่าว คาถาเยาะเย้ยดังนี้ว่า ) 

          "ท่านนอนอยู่ด้วยความซบเซา หรือว่าเพราะความเมากาพย์ กลอน. ประโยชน์อะไร ของท่านไม่มีแล้วหรือ มานอนอยู่ผู้เดียวในที่  อันสงัด. อะไรกันนี่ เห็นแต่จะนอน เห็นแต่จะ หลับ." (พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสตอบดังนี้ว่า ) 

            เรามิได้นอนอยู่ด้วยความซบเซา หรือว่าเพราะความเมากาพย์กลอน. เราไม่มี ความเศร้าโสกรู้สึกอยู่ซึ่งประโยชน์  เรามีความเอ็นดูในสรรพสัตว์   นอนอยู่ผู้เดียว ในที่นั่งนอนอันสงัด.  พวกที่ถูกลูกศรปักอก ปวดอยู่ในหทัยเป็นคราวๆ ทั้งลูกศรเสียบ อยู่  เขาก็ยังหลับได้  ทำไมเราซึ่งไม่มีลูกศรปัก  จะหลับไม่ได้เล่า. เราตื่นอยู่ก็ไม่ยุ่งใจ. และไม่ดิ้นรนเพื่อจะหลับ. วันคืน ท. ไม่ทำการแผดเผาแก่เรา. เราไม่มองเห็นความเสื่อม เสียที่ไหนในโลก  เพราะเหตุนั้น  แม้ในความหลับ  เราก็ยัง เป็นผู้เอ็นดูในสัตว์โลก ทั้งปวง.
 
      
ลําดับนั้นมารผู้มีบาป รู้สึกว่าพระผู้มีพระภาครู้กําพืดเราเสียแล้ว พระสุคต รู้กําพืดเรา เสียแล้ว มีทุกข์โทมนัส อันตรธานไปแล้วในที่นั้นนั่นเอง.


368-369
ทรงมีลักษณะสัมมาสัมพุทธะ ทั้งในขณะทำและไม่ทำหน้าที่ 

          ภิกษุ ท.! ลําดับนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าสิงซึ่งพรหมปาริสัชชะ ตนใด ตนหนึ่ง แล้วกล่าวกะเราอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ! ถ้าท่านรู้ชัดอย่างนั้น ตรัสรู้ อย่างนั้น ท่านอย่าจูงนํา อย่าแสดงธรรม แก่สาวกแก่บรรชิตเลย อย่าถึงความยินดีในหมู่สาวก ในหมู่บรรชิตเลย.

          ดูก่อนภิกษุ! ในกาลก่อนแต่กาลแห่งท่าน ได้มีสมณพราหมณ์ผู้ปฎิญญาอยู่ว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะในโลก ได้จูงนําได้แสดงธรรม แก่สาวกแก่บรรพชิต ด้วยทํา ความยินดีในหมู่สาวกในหมู่บรรชิต เพราะการทําลายแห่งกายเพราะการขาดแห่งปราณ ได้ตั้งอยู่แล้วในกายอันเลว.

          ดูก่อนภิกษุ ! ในกาลก่อนแต่กาลแห่งท่าน ได้มีสมณพราหมณ์ (อีกพวกหนึ่ง) ผู้ปฎิญญาอยู่ว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะในโลกไม่จูงนํา ไม่แสดงธรรม แก่ สาวกแก่บรรพชิต ไม่ทําความยินดีในหมู่สาวกในหมู่บรรชิต เพราะการทําลายแห่ง กาย เพราะการขาดแห่งปราณ ได้ตั้งอยู่แล้วในกายอันประณีต.

         ดูก่อนภิกษุ ! เรา ขอกล่าวความข้อนี้กะท่าน อย่างนี้ว่า `ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์! ท่านจงเป็นผู้ขวนขวาย น้อย ประกอบอยู่ในสุขวิหารในธรรมอันท่านเห็นแล้ว อยู่เถิด การไม่กล่าวไม่บอกเป็นการดี ท่านอย่ากล่าวสอนผู้อื่นเลย'. ดังนี้".

          ภิกษุ ท. !  เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารนั้นอย่างนี้ว่า "มารผู้มีบาป ! เรารู้จักท่าน; ท่านอย่าสําคัญว่าเราไม่รู้จักท่าน.    

        ดูก่อนมารผู้มีบาป ! ท่านเป็นมาร ! ท่านไม่ได้มีความเอ็นดูเกื้อกูลอะไรกะเรา   ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. ดูก่อนมารผู้มีบาป ! ท่านไม่ได้มีความเอ็นดูเกื้อกูล ท่านจึง กล่าวกะเรา อย่างนี้.

        ดูก่อนมารผู้มีบาป ! ท่านมีความคิดเกี่ยวกับเราอย่างนี้ว่า`พระสมณโคดมแสดง ธรรม แก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นจักพ้นจากวิสัยแห่งแรา' ดังนี้.

        ดูก่อนมารผู้มีบาป ! สมณพราหมณ์ของท่านตามที่ท่านกล่าวว่าปฎิญญา อยู่ว่าเป็น สัมมาสัมพุทธะนั้น หาใช่เป็นสัมมาสัมพุทธะไม่. ดูก่อนมารผู้มีบาป ! เรานี่แหละ เป็นสัมมา สัมพุทธะ ปฎิญญาอยู่ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ.

        ดูก่อนมารผู้มีบาป ! ตถาคต เมื่อแสดงธรรมแก่สาวก ท. อยู่ ก็เป็นสัมมาสัมพุทธะ เช่นนั้น แหละ; แม้เมื่อไม่แสดงธรรมแก่สาวก ท. อยู่ ก็เป็นสัมมาสัมพุทธะเช่นนั้น แหละ.

        ดูก่อนมารผู้มีบาป ! ตถาคต เมื่อจูงนำสาวก ท. อยู่ ก็เป็นสัมมาสัมพุทธะ เช่นนั้น แหละแม้เมื่อไม่จูงนำสาวก ท. อยู่ ก็เป็นสัมมาสัมพุทธะเช่นนั้นแหละ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เล่า?

        ดูก่อนมารผู้มีบาป ! ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุว่า อาสวะ ท. เหล่าใด ซึ่งเป็นความเศร้าหมอง นําให้เกิดภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีผลเป็นทุกข์ อันนําให้เกิดชาติชรามาณะสืบต่อไป นั้นตถาคตละหมดแล้ว มีมูล รากอันถอนขึ้นได้แล้ว กระทําให้เหมือนต้นตาลไม่มีวัตถุ สําหรับ งอก กระทําให้ ถึงความไม่มีไม่เป็น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบ เหมือน ต้นตาลมีขั้วยอดอันขาดแล้ว ไม่อาจจะงอกงามอีกได้ ฉันใดก็ฉันนั้น.


370
ตัวอย่างเพียงส่วนน้อย ของความสุข
 
        พราหมณ์ ! วัว ๑๔ ตัว จะได้หายหาไม่พบ ๖ วันมาแล้ว แก่เราก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น แหละพราหมณ์! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. ต้นงาในไร่จะ ยับเยินมีใบเหลือเพียง ๒-๓ ใบ แก่เรา ก็หามิได้เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. พวกหนูจะกระโดด โลดเต้น ในยุ้งเปล่า แก่เราก็หามิได้ เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. ที่นอน ที่ละเลยไว้ตั้ง๗ เดือน (มิได้ชําระเพราะไม่มีเวลาพอ) เกลื่อนไปด้วยสัตว์ตัวเล็ก ๆ จะมีแก่เรา ก็หามิได้ เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. ลูกเล็กหญิงชาย ของลูกสาว ที่เป็นหม้าย มีลูกติดคนหนึ่งบ้าง สองคนบ้าง จะมีแก่เราก็หามิได้ เพราะเหตุนั้นแหละ

       พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. โรคผอมเหลืองตัวสะพรั่งด้วยจุดเมล็ดงา จะมีแก่เรา ก็หามิได้ เพราะเหตุนั้นแหละ พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. เราจะถูกปลุกด้วยการ ถีบเตะทั้งนอนหลับก็หามิได้  เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. พวกเจ้าหนี้ ที่มาทวงหนี้ แต่เช้าตรู่ว่า "จงใช้หนี้ จงใช้หนี้" ดังนี้ จะมีแก่เราก็หามิได้ เพราะเหตุ  นั้นแหละ พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข.


370-372
ทรงนับพระองค์ว่าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้นอนเป็นสุข

          "พระองค์ผู้เจริญ ! ราตรีแห่งเหมันตฤดู เป็นราตรีอันหนาว เป็นที่ตกแห่ง หิมะมีใน ระหว่างแปดวัน๑ พื้นแผ่นดินคมขรุขระเพราะรอยโคเหยียบ (ในฤดู แล้ว แห้งในฤดูนี้). เครื่องลาดที่ทําด้วยใบไม้ก็บาง ๆ ใบไม้ก็โกร๋น ผ้าที่ย้อมด้วยน้ําฝาด ก็เป็นของเย็น มิหนํา ลมเวรัมพา๒ ก็พัดความหนาวมาด้วยดังนี้." ครั้นกล่าวดังนี้ แล้ว อาฬวกะก็ทูลถามในทีว่า เมื่ออากาศกําลังร้ายกาจเช่นนี้ พระองค์จะทรงนอน เป็นสุขได้อย่างไร. 

         กุมาร ! เราเป็นผู้นอนแล้วเป็นสุข บรรดาคนเหล่าใด ที่นอนแล้ว เป็นสุขในโลกนี้ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาคนเหล่านั้น.

        กุมาร ! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านจงตอบโดยประการที่ควร. กุมาร ! ท่านจัก เข้าใจว่าอย่างไร เรือนมียอด ของคหบดี หรือของบุตรคหบดี ที่ฉาบทาแล้วทั้งขึ้น และลง ไม่มีรูรั่ว ให้ลมผ่าน มีลิ่มสลักอันขัดแล้ว มีหน้าต่างอันปิดสนิทแล้ว ในเรือนนั้น มีเตียง บัลลังก์ ลาดด้วยผ้าขนสัตว์สีดําชนิดมีขนยาวสี่องคุลี ลาดด้วยเครื่องลาดขาวทํา ด้วยขนสัตว์ ลาดด้วย เครื่องลาดขนสัตว์มีดอกเป็นกลุ่มก้อน มีฟูกอันสูงค่าทําด้วย หนังชะมด มีเพดานวิจิตรยิ่ง มีหมอนข้างแดงทั้งสองข้าง ในที่นั้น เขาจุดประทีป น้ํามันไว้ มีปชาบดีสี่คนคอย บําเรอ น่าอิมเอิบใจ. ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร คือ เขาผู้ นอนแล้วในที่นั้น จะนอนเป็นสุข หรือหาไม่? 

       "พระองค์ผู้เจริญ ! เขาเป็นผู้นอนแล้วเป็นสุข เป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้นอน แล้วเป็นสุข ในโลกนี้"  กุมาร ! ความร้อนรึงอันเกิดจากราคะ ที่เป็นไปทางกายหรือทางจิตก็ตาม ชนิดที่ เมื่อเขาถูกมันเผาแล้ว ย่อมนอนเป็นทุกข์นั้น จะพึงบังเกิดขึ้นแก่  คหบดี หรือบุตร คหบดี คนนั้นบ้าง มิใช่หรือ ? 

      กุมาร ! เราเป็นผู้นอนเป็นสุข. บรรดาคนเหล่าใด ที่นอนเป็นสุข ในโลกนี้ เราเป็นผู้หนึ่ง ในบรรดาคนเหล่านั้น. 

"อย่างนั้น พระองค์" 

      กุมาร ! ก็เมื่อคหบดี หรือบุตรคหบดี ต้องเร่าร้อนนอนทุกข์เพราะ ความร้อนรึงอันเกิดจาก ราคะ ใด ๆ ราคะนั้น เราตถาคตละมันได้ขาด ถอดขึ้นได้ กระทั่งรากเง่า ทําให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไป เพราะ ฉะนั้นเราจึงนอนแล้วเป็นสุข
 

372
ทรงดับเย็นเพราะไม่ทรงยึดมั่นการรู้สิ่งที่สมมติกันว่าเลิศ
 
      ภัคควะ ! เรารู้ทั่วถึงซึ่งสิ่งที่คน ท. สมมติกันว่าเลิศ และรู้ยิ่งกว่ารู้ และเราไม่จับฉวย ลูบคลํา ซึ่งการรู้นั้น. เมื่อเราไม่จับฉวยลูบคลําอยู่นั้นแหละ ความ ดับเย็นเฉพาะตนโดยแท้ ย่อมเป็นสิ่งที่แจ่มแจ้งแก่เรา เป็นความดับเย็นที่เมื่อ ตถาคตรู้เฉพาะอยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งอนยะ (ความทุกข์นานาแบบ). 

หมายเหตุ: สิ่งที่สมมติกันว่าเลิศในกรณีนี้ คือสิ่งที่เป็นผลแห่งการปฎิบัติ เพื่อเข้าถึงความเป็น พรหม หรือการอยู่ร่วมกับพระเจ้า ซึ่งถือกันว่าเป็นคุณธรรมสูงสุดแห่ง  สมัยนั้น ของชนพวกนั้น.
(ดูรายละเอียดจากปฎิกสูตร ปา.ที. ๑๑/๒๙/๑๓-๑๖).  -ผู้รวบรวม.



372-375
ที่ประทับนั่งนอนของพระองค์

           พราหมณ์ ! ที่นั่งสูง ที่นอนใหญ่ทั้งหลายเหล่าใด คือ เตียงเท้าสูงบัลลังก์ ผ้าโกเชาว์ขนยาว ฯลฯ ที่นอนมีหมอนข้างแดงทั้งสองข้าง (รวม ๒๐ ชนิดที่นิยมเป็นของสูง ในยุคนั้น) นั้น เป็นของหาได้ยากสําหรับบรรพชิต อีกประการ หนึ่ง ครั้นได้มาแล้ว ก็ย่อมไม ่สมควรแก่การบริโภค.

          พราหมณ์ ! ที่นั่งสูง ที่นอน ใหญ่ สามชนิด ที่เราหาได้ง่าย ไม่ลําบาก ไม่ฝืดเคือง ในบัดนี้. สามชนิดคืออะไร เล่า? คือ ที่นั่งสูง ที่นอนใหญ่ อันเป็นทิพย์ อันเป็นพรหม และเป็นอริยะ. 

           พราหมณ์ ! ในโลกนี้ เราเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เวลาเช้าครองจีวร เที่ยวไป บิณฑบาตในบ้านหรือนิคมนั้น. ครั้นเวลาหลังอาหารกลับจาก บิณฑบาตแล้ว เที่ยวไปตาม แนวป่า. เรานั้น วัตถุใดมีอยู่ในที่นั้น ๆ จะเป็นหญ้า หรือใบไม้ก็ตาม คร่ามาแล้ว (ทําเป็นที่รองนั่ง) นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดําริสติเฉพาะหน้า เรานั้นสงัดจากกาม และ อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงฌาน ที่ ๑๑...ที่ ๒ ...ที่ ๓ ที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่สติ อันบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่

           พราหมณ์! เราขณะเมื่อเป็นอย่างนี้ ถ้าเดินอยู่ ในสมัยนั้น สถานที่ตรงนั้น ก็ชื่อว่า ที่จงกรมทิพย์ ถ้ายืนอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้นก็ชื่อว่าที่ยืนอันเป็นทิพย์ ถ้านั่งอยู่ สถานที่ ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่าอาสนะทิพย์ ถ้าสําเร็จการนอนอยู่สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่นอนอันเป็นทิพย์

          พราหมณ์! นี่แล ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นทิพย์ ซึ่งในบัดนี้เราหาได้ง่าย ไม่ลําบาก ฝืดเคืองเลย. 

          พราหมณ์ ! ในโลกนี้ เราเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เวลาเช้าครองจีวร เที่ยวไป บิณฑบาตในบ้านหรือนิคมนั้น. ครั้นเวลาหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาต แล้ว เที่ยวไป ตามแนวป่า. เรานั้น วัตถุใด มีอยู่ในที่นั้น ๆ จะเป็นหญ้าหรือใบไม้ก็ ตาม คร่ามาแล้ว (ทําเป็นที่รองนั่ง) นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดํารงสติเฉพาะหน้า.

           เรานั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ํา เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ประกอบด้วย คุณอันใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์ ประกอบด้วย คุณอันใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ด้วยจิต อันประกอบ ด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวรไม่มี พยาบาท ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

           พราหมณ์ ! เราขณะเมื่อ เป็นอยู่อย่างนี้ ถ้าเดินอยู่ ในสมัยนั้น สถานที่นั้น ก็ชื่อว่า ที่จงกรมพรหม ถ้ายืนอยู่ ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่ยืนพรหม ถ้านั่งอยู่ ในสมัยนั้น สถานที่นั้น ก็ชื่อว่า อาสนะพรหม ถ้านอนอยู่ ในสมัยนั้น สถานที่นั้นก็ชื่อว่า ที่นอนพรหม พราหมณ์ ! นี่แล ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นพรหม ซึ่งในบัดนี้เราหาได้โดยง่าย ไม่ลําบากฝืดเคืองเลย.
          
           พราหมณ์ ! ในโลกนี้ เราเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เวลาเช้าครองจีวรเที่ยงไป บิณฑบาต ในบ้านหรือนิคมนั้น. ครั้นเวลาหลังอาหาร กลับจาก บิณฑบาตแล้ว เที่ยวไปตาม แนวปุา. เรานั้น วัตถุใดมีอยู่ในที่นั้น ๆ จะเป็นหญ้า หรือใบไม้ก็ตาม คร่ามาแล้ว (ทําเป็นที่รองนั่ง) นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง  ดํารงสติเฉพาะหน้า.

          เรานั้น ย่อมรู้ทั่วถึง (ในใจเราเอง) อย่างนี้ว่า ราคะ เราละได้ขาดแล้ว ถอนขึ้นทงั้ รากแล้ว ทําให้เหมือนต้นตาลขาดที่คอแล้ว ทําให้มีไม่ได้อีกแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดอีก ต่อไปเป็นธรรมดา ว่าโทสะ เราละได้ ขาดแล้ว ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทําให้เหมือนต้นตาลขาด ที่คอแล้ว ทําให้มีไม่ได้อีก แล้ว เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา และว่า โมหะ เราละได้ขาดแล้ว อนขึ้นทั้งรากแล้ว ทําให้เหมือนต้นตาลขาดที่คอแล้ว ทําให้มีไม่ได้อีกแล้ว  เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดังนี้.

          พราหมณ์! เราขณะเมื่อเป็น อย่างนี้ ถ้าเดินอยู่ ในสมัยนั้น สถานที่นั้น ก็ชื่อว่า ที่จง กรมอริยะ.  ถ้ายืนอยู่ ในสมัยนั้น สถานที่นั้น ก็ชื่อว่า ที่ยืนอริยะ. ถ้านั่งอยู่ ในสมัยนั้น  สถานที่นั้น ก็ชื่อว่า อาสนะอริยะ. ถ้านอนอยู่ ในสมัยนั้น สถานที่นั้นก็ชื่อว่า ที่นอนอริยะ. พราหมณ์ ! นี่แล ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นอริยะ ซึ่งใน บัดนี้ เราหาได้โดยง่าย ไม่ลําบากฝืดเคืองเลย.


375-376
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ตลอดพระชนม์

          พระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นสักกะ ที่ศากยนิคมชื่อนครกะ. ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้ฟ๎งมาได้จํามาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์ของ พระผู้มีพระภาคว่า `อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ เราตถาคตย่อมอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร เป็นส่วนมาก' ดังนี้.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นอันว่า ข้าพระองค์ได้ฟ๎งมาดี ได้รับมาดี ได้ทําในใจ ไว้ดี ได้ทรงจําไว้ดีแลหรือ พระเจ้าข้า !" 

          อานนท์ ! ถูกแล้ว ข้อนั้นเป็นอันว่าเธอได้ฟ๎งแล้วดี ได้รับแล้วดี ได้ทําในใจไว้แล้วดี ได้ทรงจําไว้แล้วดี แล้ว. อานนท์ ! ทั้งในกาลก่อนและในกาลนี้ เราตถาคตย่อมอยู่ด้วย สุญญตาวิหารเป็นส่วนมาก 

          (ต่อจากนี้ ได้ตรัสถึงสิ่งที่เรียกว่าสุญญตาวิหารพร้อมทั้งอุปมาเป็นลําดับไป ตั้งต้นแต่ คามสัญญา-มนุสสสัญญา-อรัญญสัญญา-ปฐวีสัญญา-อากาสานัญจายตนสัญญา วิญญาณัญจายตน สัญญา-อากิญจัญญายตนสัญญา-กระทั่งถึงเนวสัญญานาสัญญายตน สัญญา ซึ่งยังมิใช่ เป็นชั้นปรมานุตตรสุญญตา แล้วตรัสถึงอนิมิตตเจโตสมาธิ และการรู้ซึ่ง โทษแห่งความเป็น สังขตธรรมของสมาธินั้น มีจิตพ้นจากอาสวะทั้ง ๓ ไม่มีความกระวน กระว่าย(ทรถา)เพราะอาศัย อาสวะทั้ง ๓ นั้นมีแต่สักว่าความกระวนกระวาย (ทรถมตฺตา) อันเกิดจากการมีชีวิตอยู่ตาม ธรรมชาติบ้าง; และตรัสเรียกวิหารธรรมนี้ว่า ปรมานุตตร สุญญตา และทรงยืนยันว่า มีหลัก อย่างนี้ทั้งในกาลอดีต อนาคตป๎จจุบัน และทรงชักชวน ให้ศึกษาการเข้าอยู่ด้วยปรมานุตตรสุญญตา.)

ภาค4/4

เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญน่้อยต่าง ๆ ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว ไปจนถึงจวนจะเสด็จ ปรินิพพาน และ เรื่องบางเรื่องที่ควรผนวกเข้าไว้ในภาคนี้

(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)


376-377
ทรงอยู่ด้วยสุญญตาวิหารแม้ใจขณะแห่งธรรมกถา
 
          อานนท์ ! ก็วิหารธรรมนี้แล เราตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะ(ตรัสรู้) แล้วในที่ เป็นที่ตรัสรู้ นั้น นั่นคือ ตถาคตเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งสุญญตาวิหารอันเป็นภายใน เพราะไม่กระท าในใจซึ่งนิมิต (ภายนอก) ทั้งปวง. 

          อานนท์ ! ในขณะนั้นที่ตถาคตอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ ถ้ามีผู้เข้ามาหาเป็นภิกษุบ้าง ภิกษุณีบ้าง อุบาสกบ้าง อุบาสิกาบ้าง ราชาบ้าง ราชอํามาตย์บ้าง เดียรถีย์บ้าง สาวกของ เดียรถีย์บ้าง

          อานนท์ ! ในกรณีนั้น ตถาคตมีจิตที่ยังคง น้อมอยู่ในวิเวก โน้มอยู่ในวิเวก แนบแน่น อยู่ในวิเวก อยู่นั่นเอง เป็นจิตหลีกออก จากโลกิยธรรม ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ เกลี้ยงเกลา แล้วจากอาสวฐานิยธรรม โดยประการทั้งปวง กระทําซึ่งกถาอันเนื่องเฉพาะ ด้วยการชี้ชวน ในการออก(จากทุกข์) โดยส่วนเดียวเท่านั้น. 

        อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุปรารถนาว่า "เราพึงเข้าถึง สุญญตา วิหารอันเป็นภายใน แล้วแลอยู่. ดังนี้ไซร้ อานนท์ ! ภิกษุนั้นพึงกระทำ จิตในภายใน นั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่อย่างสม่ าเสมอ ให้เป็นจิตหยุดพักให้เป็น จิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็นจิตตั้งมั่น.

       หมายเหตุ:  ขอให้สังเกตให้เห็นว่า แม้เมื่อจิตอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร คือไม่กําหนดนิมิต หรือ อารมณ์ภายนอกทั้งปวง จิตรู้สึกอยู่ในรสของพระนิพพาน; โดยไม่ต้องสูญเสีย ความรู้สึก เช่นนั้นไปจากจิต ปากก็ยังพูดเรื่องราวที่เคยพูดมาจนชินได้ โดยเฉพาะ ในกรณีนี้ คือเรื่องแห่ง ความดับทุกข์ ซึ่งเป็นเรื่องที่แจ่มแจ้งและเคยชินสําหรับ พระองค์อย่างถึงที่สุดนั่นเอง ปากจึง ทําการพูดออกไปได้ด้วยจิตใต้สํานึกที่เคยชิน ต่อเรื่องนั้น โดยที่จิตไม่ต้องหยุดจากการดื่มรส ของสุญญตาวิหารแม้ในขั้นที่เป็น ปรมานุตตรสุญญตา (ซึ่งมีอธิบายอยู่ที่หน้า ๓๗๖ บรรทัดที่ ๓ ไป (จากบรรทัดเลข หน้า)แห่งหนังสือเล่มนี้) ของพระองค์ราวกะว่ามีจิตสองจิต หรือสองชั้น ทํางาน ร่วมกัน. จะยุกติเป็นอย่างไร ขอฝากท่านผู้คงแก่การปฎิบัติธรรม วินิจฉัยดูด้วย ตนเองเถิด.  -ผู้รวบรวม.
 

377-378
ทรงเป็นสมณะสุขุมาลในบรรดาสมณะ

        ภิกษุ ท.! เมื่อใครจะกล่าวผู้ใด ว่าเป็นสมณะสุขุมาลในบรรดาสมณะ ทั้งหลายแล้ว เขาพึงกล่าวเรานี่เองว่า เป็นสมณะสุขุมาลในบรรดาสมณะทั้งหลาย 

        ภิกษุ ท.! เราใช้สอยจีวรเป็นอันมากเพราะถูกเขาอ้อนวอน ที่ไม่ถูกใครอ้อนวอนให้ใช้ สอยนั้นมีน้อย. เราฉันบิณฑบาตเป็นส่วนมาก เพราะถูกเขาอ้อนวอน ที่ไม่ถูกใครอ้อนวอน ให้ฉันนั้น เป็นส่วนน้อยเราใช้สอยเสนาสนะ เป็นส่วนมาก เพราะถูกเข้าอ้อนวอน ที่ไม่ถูกใคร อ้อนวอนให้ใช้สอยนั้น เป็นส่วนน้อย. เราฉันคิลานป๎จจยเภสัชเป็นส่วนมาก เพราะถูกเขา อ้อนวอน ที่ไม่ถูกใครอ้อนวอนให้ฉันนั้น มีเป็นส่วนน้อย.

        ภิกษุ ท.! เราอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น พากัน ประพฤติกายกรรม ต่อเราเป็นที่น่าพอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจนั้น เป็นส่วนน้อย ภิกษุเหล่านั้น พากันประพฤติวจีกรรมต่อเราเป็นที่น่าพอใจ  เป็นส่วนมาก ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจนั้นเป็นส่วนน้อย ภิกษุเหล่านั้น พากันประพฤติมโนกรรมต่อเรา เป็นที่น่าพอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ นั้น มีเป็นส่วนน้อย ย่อมแสดงความเคารพนับถือเป็นที่น่าพอใจทั้งนั้น ที่ไม่น่าพอใจนั้น มีเป็นส่วนน้อย. 

        ภิกษุ ท.! ความเจ็บปุวยใดๆ ที่มีน้ําดีเป็นสมุฎฐาน หรือมีเสมหะ เป็นสมุฎฐาน หรือมีลม เป็นสมุฎฐาน หรือมีสันนิบาตเป็นสมุฎฐาน หรือมีฤดู เปลี่ยนแปลงเป็นสมุฎฐาน หรือมีการ บริหารร่างกายไม่สม่ําเสมอเป็นสมุฎฐาน หรือมีการถูกแกล้งทําร้ายเป็นสมุฎฐาน หรือมีผลกรรม เป็นสมุฎฐานก็ตาม ความเจ็บปุวยเหล่านั้น มีแก่เราไม่มากเลย. เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย. 

        ภิกษุ ท.! เราเป็นผู้ได้ฌานทั้งสี่ อันเป็นสุขวิหารในทิฎฐธรรม อันอาศัยจิตอันยิ่ง โดยง่าย โดยไม่ยาก โดยไม่ลําบากเลย ย่อมทําให้แจ้ง ได้ซึ่งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยป๎ญญาอัน ยิ่งเองในทิฎฐธรรมนี้ แล้วแลอยู่. 

        ภิกษุ ท.! ฉะนั้น เมื่อใคร ๆ จะกล่าวโดยถูกต้อง ว่าผู้ใดเป็นสมณะสุขุมาลในบรรดา สมณะทั้งหลายแล้ว เขาพึงกล่าวเรานี่แล ว่าเป็นสมณะสุขุมาล ในบรรดาสมณะทั้งหลาย ดังนี้

 379
ทรงอยู่อย่างมีจิตที่ปราศจาก "หัวคันนา"


        "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระตถาคตสลัดแล้ว ปราศจากแล้ว พ้นพิเศษแล้วจาก ธรรมเท่าไร จึงทรงอยู่อย่างมีจิตปราศจากสิ่งที่เปรียบเสมือนเครื่องกั้นเขต พระเจ้าข้า?" วาหุนะ ! ตถาคต สลัดแล้ว ปราศจากแล้ว พ้นพิเศษแล้ว จากธรรม ท. ๑๐ อย่าง จึงอยู่อย่างมีจิต ปราศจาก สิ่งที่เปรียบเสมือนเครื่องกั้นเขต.

ธรรม ท. ๑๐ อย่างนั้น คืออะไรเล่า?

คือ ตถาคตสลัดแล้ว ปราศจากแล้ว พ้นพิเศษแล้วจาก รูป จากเวทนา จาก สัญญา จาก สังขาร ท. จากวิญญาณ จากชาติ จากชรา จากมรณะ จากทุกข์ ท. จากกิเลส ท. จึงอยู่อย่าง มีจิตปราศจากสิ่งที่ เปรียบเสมือนเครื่องกั้นเขต. 


        วาหุนะ ! เปรียบเหมือน ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบัวบุณฑริกเกิดแล้ว เจริญแล้วในน้ํา โผล่พ้น ขึ้นจากน้ําตั้งอยู่โดยไม่เปื้อนด้วยน้ํา ฉันใด วาหุนะ ! ตถาคต ก็สลัดแล้ว ปราศจาก แล้ว พ้นพิเศษแล้วจากธรรม ท. ๑๐ อย่างเหล่านี้ อยู่อย่างมีจิตปราศจากสิ่ง ที่เปรียบเสมือน เครื่องกั้น เขต ฉันนั้นแล.


p379-381
ทรงทำนาที่มีอมตะเป็นผล 


        พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอุปนนิสัยของพราหมณ์ผู้นี้แล้ว เสด็จไปบิณฑบาตที่นา ของพราหมณ์ ขณะกําลังประชุมพวกพ้อง ทํามงคลแรกนากันอยู่อย่างเอิกเริก พราหมณ์เห็น พระองค์มายืนอยู่ใกล้ๆ จึงกล่าวบริภาษพระองค์ขึ้นก่อนดังต่อไปนี้

"สมณะ ! เราย่อมไถ ย่อมหว่าน ครั้นไถแล้วหว่านแล้ว จึงได้บริโภค. สมณะ ! ถึงแม้ ท่าน ก็จงไถหว่านเข้าซิ ครั้นไถแล้วหว่านแล้ว จักได้บริโภค"
 
พราหมณ์ ! ถึงแม้เรา ก็ย่อมไถ ย่อมหว่าน ครั้นไถแล้วหว่านแล้วจึงได้ บริโภคเหมือนกัน  "ก็พวกเราไม่เห็นแอก ไถ ผาล ปฎัก หรือโค ของพระโคดมเลย แต่พระโคดมซิมากล่าว อยู่ดังนี้"

ครั้นพราหมณ์กล่าวดังนี้แล้ว ได้กล่าวคําที่ผูกเป็นกาพย์สืบไป เป็น การโต้ตอบกัน

"ท่านปฎิญญาตัวเองว่าเป็นชาวนา แต่เรามิได้เห็นไถ ของท่าน ท่านผู้เป็น ชาวนา ถูเราถาม แล้ว จงบอกโดยวิธีที่เราจะรู้จักการไถหว่านของท่านเถิด"
 
"ศรัทธาเป็นพืช" พระองค์ตอบ "ความเผาผลาญ กิเลสเป็นน้าฝน ป๎ญญาของเรา เป็นแอก และคันไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือกชัก สติเป็นผาลแลปฎัก การคุมกาย คุมวาจา คุมท้อง ในเรื่องอาหาร เป็นรั้วนา

เราทำความสัจจ์ ให้เป็นผู้ถากหญ้าทิ้ง ความยินดีใน พระนิพพาน (ที่เราได้รู้รสแล้ว) เป็นกำหนดการเลิก ทำนา ความเพียรของเรา เป็นผู้ลากแอกไป ลากไปสู่  แดนอันเป็น ที่เกษมจากโยคะ ไปอยู่ๆ ไม่เวียนกลับ สู่ที่ซึ่งบุคคลไปถึงแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

การไถนา ที่ไถแล้วอย่างนี้ นานั้นย่อมมีอมตะ คือความไม่ตายเป็นผล ครั้นไถนานี่เสร็จแล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก  ความทุกข์ ทั้งปวง".


381
การทรงหลีกเร้นเป็นพิเศษบางคราว


        ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เราปรารถนาเพื่อจะอยู่หลีกเร้น ตลอดเวลานานกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึง เข้าไปหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นําอาหารบิณฑบาตไปให้รูปเดียว.

(การหลีกเร้นเช่นนี้ เรียกว่าปฎิสัลลีนะ. ทรงหลีกบ่อย ๆ หลังจากต้องทรง "รับแขก" แทบหา เวลาพักผ่อนมิได้ ตลอด ๒๐ ชั่วโมง ในวันหนึ่ง. ในการหลีกเร้นนี้ ทรงอยู่ด้วยสุข เกิดแต่วิเวก ของฌาน ซึ่งเป็นสุขอย่างยิ่งในบรรดาสุขที่จะถือเอาได้ในเมื่อยังทรงมีชีวิตอยู่. แต่สําหรับ สาวกผู้ไม่ต้อง "รับแขก" มากอย่างพระองค์ ไม่ปรากฏว่าต้องอยู่ปฎิสัลลีนะจํากัดเด็ดขาด เช่นนี้ เนื่องจากธรรมดาก็มีโอกาสอยู่วิเวกมากอยู่แล้วนั่นเอง. และในมหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๒/๑๓๖๓ กล่าวถึงทรงอยู่ปฎิสัลลีนะชนิดนี้ นาน  ถึง ๓ เดือน ออกแล้วทรงแสดง อานิสงส์ของอานาปานสติ อย่างพิสดาร).


381-382
ยังทรงมากอยู่ด้วยเขมวิตกและวิเวกวิตก 

ภิกษุ ท.! วิตกสองอย่าง คือ เขมวิตก และ วิเวกวิตก ย่อมรบเร้า เรียกร้องตถาคตผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะ เป็นอย่างมาก. ภิกษุ ท.! ตถาคต เป็นผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน.

ภิกษุ ท.! เขมวิตกนั่นแหละ ย่อมรบเร้าเรียกร้อยตถาคต  ผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีในความไม่เบียดเบียน เป็นอย่างมาก ว่า "ด้วยพฤติกรรมอันนี้ เราย่อมไม่ทําสัตว์ไร ๆ ให้ลําบาก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ยัง หวั่นไหวอยู่ หรือเป็นสัตว์ที่มั่นคงแล้ว" ดังนี้ 
ภิกษุ ท.! ตถาคต เป็นผู้มีปวิเวก (ความสงบสงัด) เป็นที่มายินดียินดี แล้วในปวิเวก.

ภิกษุ ท.! วิเวกกวิตกนั้นแหละ ย่อมรบเร้าเรียกร้องตถาคตผู้มี ปวิเวกเป็นที่มายินดี ยินดีในปวิเวก เป็นอย่างมาก ว่า "สิ่งใดเป็นอกุศล สิ่งนั้น  เราละได้แล้ว" ดังนี้. 
ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ แม้พวกเธอก็จงเป็นผู้มีความไม่ เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน อยู่เถิด.

ภิกษุ ท.! เมื่อ เธอ ท. เป็นผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีในความไม่เบียดเบียน อยู่   เขมวิตกนั่นแหละ จักรบเร้าเรียกร้องเธอ ท. เป็นอย่างมากว่า  "ด้วยพฤติกรรมนี้ เรา ท. ย่อมไม่ทําสัตว์ไร ๆ ให้ลําบาก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ยังหวั่นไหวอยู่ หรือเป็น สัตว์ที่มั่นคงแล้ว" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! พวกเธอ จงเป็นผู้มีปวิเวกเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปวิเวก  อยู่เถิด.
ภิกษุ ท.! เมื่อเธอ ท. เป็นผู้มีปวิเวกเป็นที่มายินดี ยินดีในปวิเวกอยู่    วิเวกวิตกนั่นแหละ จักรบเร้าเรียกร้องเธอ ท. เป็นอย่างมาก ว่า "อะไร เป็นอกุศล. อะไร เรายังละไม่ได้ เราจะละอะไร" ดังนี้


383-384
การเสด็จสุทธาวาส

ภิกษุ ท.! ในกาลครั้งหนึ่ง เราพักอยู่ ณ ควงพญาไม้สาละ ปุาสุภวันในเขต อุกกัฎฐนคร. เมื่อเราเร้นอยู่ ณ ที่นั้น ได้เกิดความคิดขึ้นในใจว่าภพเป็นที่กําเนิดที่ เราไม่เคยกําเนิดนั้น ไม่หาได้ง่าย ๆ เลย นอกจากชั้นสุทธาวาสประเภทเดียว.

ถ้ากระไร เราพึงไปหาพวกเทพชั้นสุทธาวาสเถิด. ลําดับนั้นเราได้ออกจากควงพญาไม้ สาละ ปุาสุภวัน ในเขตอุกกัฎฐนคร ไปปรากฏอยู่ในหมู่เทวดาชั้นอวิหา รวดเร็วเท่า เวลาที่บุรุษ แข็งแรง เหยียดแขนออกแล้วงอเข้าเท่านั้น. 

ภิกษุ ท.! หมู่เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมาก ในเทพนิกายนั้นได้เข้ามาหา เรา ครั้นไหว้แล้ว ยืนอยู่ที่ควร. (พวกเทพชาวสุทธาวาสชั้นนั้น ได้ทูลเล่าเรื่องการบังเกิดขึ้น ในโลก ของบรรดา พระพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ว่า มีชาติ ชื่อ โคตร ศีล ธรรมป๎ญญา วิหาร ธรรม และวิมุตติเป็นต้น ว่าเป็นอย่างนั้น ๆ.แล้วเล่าถึงความที่ตนเองได้เคยประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ จึงได้มีการคลายความพอใจในกามทั้งหลาย ได้มาบังเกิดในพรหม วิมานนั้น ๆ). 

ภิกษุ ท.! ลําดับนั้น เราพร้อมด้วยเทวดาชั้นอวิหา ได้พากันไปยังสุทธาวาส ชั้นอตัปปา เราพร้อมด้วยเทวดาทั้งสองชั้น ได้พากันไปยังสุทธาวาสชั้นสุทัสสา เรา พร้อมด้วยเทวดา ทั้งสามชั้นนั้นได้พากันไปยังสุทธาวาสชั้นสุทัสสี และรวมพร้อมกันทั้งหมด ไปยังสุทธาวาส ชั้นสุด คืออกนิฏฐาแล้ว.

(เทพเหล่านั้นได้กล่าวเล่าข้อความกราบทูลพระองค์ ถึงเรื่องพระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วง ไปแล้ว และเล่าถึงการประพฤติพรหมจรรย์ของตนในชาติที่พบพระพุทธเจ้านั้น ทํานองเดียวกัน ทุกชั้น)


384-386
การเสด็จไปทรมานพกพรหมผู้กระด้างด้วยลัทธิ

ภิกษุ ท.! ในกาลครั้งหนึ่ง เราพักอยู่ ณ ควงพญาไม้สาละ ปุาสุภควันในเขต อุกกัฎฐนคร. ภิกษุ ท.! สมัยนั้น พวกพรหมมีทิฎฐิอันชั่วร้ายอย่างนี้ว่า"พรหม สภาวะเช่นนี้ เป็นของเที่ยง (นิจฺจํ) ยั่งยืน (ธุวํ) มีอยู่เสมอ (สสฺสตํ) เป็นของอย่าง เดียวตลอดกาล (เกวลํ) มีความไม่เคลื่อนเป็น ธรรมดา (อจวนธมฺมํ); เพราะว่า พรหมสภาวะเช่นนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ ก็แหละไม่มีสภาวะอื่น ที่เป็นนิสสรณะเครื่องออกไปจากทุกข์ ยิ่งไปกว่าพรหมสภาวะนี้" ดังนี้. 

ภิกษุ ท.! ครั้งนั้นแล เรารู้ปริวิตกของพกพรหมในใจด้วยใจแล้วละจากควง แห่งพญาไม้สาละ ไปปรากฏตัวในพรหมโลกนั้น ชั่วเวลาสักว่าบุรุษแข็งแรงเหยียด แขนหรือคู้แขนเท่านั้น. 

ภิกษุ ท. ! พกพรหมได้เห็นเราผู้มาอยู่จากที่ไกล แล้วได้กล่าวกะเราว่า "ท่านผนู้ิรทุกข์ ! เข้ามาเถิด ท่านผู้นิรทุกข์ ! ท่านมาดีแล้ว ท่านผนู้ิรทุกข์ ! ต่อนาน ๆท่านจึงจะมาถึงที่นี้.
ท่านผู้นิรทุกข์พรหมสภาวะนี้ เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มีอยู่เสมอ เป็นของอย่างเดียว ตลอดกาล มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา เพราะว่าพรหมสภาวะนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ ก็แหละไม่มีสภาวะอื่นที่เป็น นิสสรณะเครื่องออกไปจากทุกข์ ยิ่งไปกว่า พรหมสภาวะนี้" ดังนี้. 

ภิกษุ ท.! เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้ เราได้กล่าวกะเขาว่า "พกพรหมผู้ เจริญไปสู่อวิชชา เสียแล้วหนอ ! พกพรหมผู้เจริญไปสู่อวิชชาเสียแล้วหนอ! คือข้อที่ ท่านกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงเลย ว่าเป็นของเที่ยง กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนเลย ว่ายั่งยืนกล่าว สิ่งที่ไม่มีอยู่เสมอ ว่าเป็นของ มีอยู่ เสมอ กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นของอย่างเดียวตลอด กาลว่าเป็นของอย่างเดียวตลอดกาล กล่าวสิ่ง มีความเคลื่อนเป็นธรรมดาว่าเป็น สิ่งทีไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา และข้อที่ กล่าวสิ่งที่เกิด ที่แก่ ที่ตายที่เคลื่อน ที่อุบัติว่าเป็นสิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ และกล่าว นิสสรณะอัน ยิ่งอื่นที่มีอยู่ ว่าไม่มีนิสสรณะอื่นที่ยิ่งกว่า" ดังนี้. .... 

หมายเหตุ : ข้อความตอนต่อไปจากข้างบนนี้ ยังมีอีกยืดยาว กล่าวถึง มารมาช่วยพวกพรหม โต้กับพระองค์ ทั้งขู่ทั้งล่อ เพื่อให้พระองค์ทรงยอมตามพวกพรหม. แม้พกพรหมก็ยังยืนและ อธิบายลัทธินั้นด้วย อุปมาที่น่าคล้อยตาม. ทรงแก้คําของพรหม ด้วยอาการ ต่าง ๆ เช่นว่า พกพรหมยังไม่รู้จักพรหมที่เหนือขึ้นไปจากตน เช่นพรหมพวก อาภัสสระ - สุภกิณหะ-เวหัปผละ และทรงแสดงข้อที่พระองค์ไม่ทรงยึดถือดิน น้ํา ลม ไฟ เป็นต้น.

ในที่สุด มีการท้าให้มีการเล่นซ่อนหากัน และทรงชนะ แล้วตรัสคาถาที่เป็นหัวใจแห่ง พุทธศาสนาที่เหนือกว่าพรหม โดยประการทั้งปวง กล่าวคือความรู้สึกที่อยู่เหนือภพและวิภพ ซึ่งพุทธบริษัททุกคนควรสนใจอย่างยิ่ง. พวกพรหมยอมแพ้ มารก็ยอม รับแต่ก็ยังแค่นขอร้อง อย่าให้พระองค์ ทรงสอนลัทธิของพระองค์เลย ตรัสตอบมารว่า นั่นมันไม่เป็นความเกื้อกูล แก่สัตว์โลก สัมมาสัมพุทธะที่มารอ้างมานั้นเป็นสัมมาสัมพุทธะเก๊.


ข้อความที่เป็นรายละเอียดพึงดูได้จากพรหมนิมันตนิกสูตร มู.ม. เล่ม ๑๒ ตั้งแต่หน้า ๕๙๑ เป็นต้นไป หรือตั้งแต่บรรพ ๕๕๓ เป็นต้นไปจนจบสูตร.  บาลีพระสูตรนี้สําคัญมาก ได้กล่าวถึงหัวใจของพุทธศาสนาในรูปปุคคลาธิษฐาน  ถึงกับสมมติให้เป็นการโต้กัน    ระหว่างลัทธิที่มีอาตมันกับไม่มีอาตมัน ควรแก่การ ศึกษาอย่างยิ่ง.  ---ผู้รวบรวม.


386-387
ทรงมีฌานแน่วแน่ชั้นพิเศษ

ปุกกุสะ ! คราวหนึ่งเราอยู่ที่โรงกระเดื่องเมืองอาตุมา. คราวนั้นกําลัง  ฝนตก กําลังสายฟ้า คะนองอยู่ ฟูาผ่าลงในที่ไม่ไกลจากโรงกระเดื่อง ถูกชาวนา สองคนพี่น้อง และวัวลากเข็นสี่ตัว.

ปุกกุสะ ! ชาวเมืองอาตุมาพากันออกมาสู่ที่ที่สองพี่น้องและวัวทั้งสี่ถูกฟูาผ่านั้น เขากําลัง ชุลมุนกันอยู่อย่างนั้น เราออกจากโรงกระเดื่องแล้ว จงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งไม่ไกล จากโรง.

บุรุษผู้หนึ่ง ออกมาจากหมู่ชนเข้าไปหาเราอภิวาทแล้วยืนอยู่.
ปุกกุสะ ! เราถามบุรุษผู้ยืนอยู่แล้วนั้นว่า หมู่ชนนั้น จับกลุ่มกันทําไม? เขาตอบเรา ว่า "ท่านผู้เจริญ ! เมื่อฝนตกผ้าคะนองอยู่ ฟูาผ่าลงในที่ไม่ไกลจากโรงกระเดื่อง ถูกชาวนาสอง พี่น้อง  และวัวลากเข็นสี่ตัว ชาวเมืองพากันมาประชุมแล้วในที่นั้น.

ท่านผู้เจริญ ! ก็ท่านอยู่เสียที่ไหน เล่า?" เราอยู่ในโรงกระเดื่องนี้ นี่เอง.
"ท่านผู้เจริญ ! ท่านไม่ได้ยินหรือ?" เราไม่ได้ยินเลย ท่าน ! "ท่านหลับเสียหรือ? ท่านผู้เจริญ !" เราไม่ได้หลับเลย ท่าน !

"ท่านมี สัญญา (คือความรู้สึก) อยู่หรือ?" ถูกแล้ว ท่าน ! เขาได้กล่าวสืบไปว่า "ท่านผู้เจริญ ! ท่านเป็นผู้มีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่าลงมา ท่านไม่ได้เห็นและทั้งไม่ได้ ยิน ดังนั้นหรือ?" ถูกแล้ว ท่าน ! 

ปุกกุสะ ! ลําดับนั้น บุรุษนั้นมีความคิดว่า "น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีเลย ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! พวกบรรพชิตนี้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบรํางับจริง ๆ คือ ท่านก็เป็นผู้มีสัญญาอยู่ ตื่นอยู่ เมื่อฝนกําลังตก ฟูาคะนอง ฟูาผ่าอยู่ท่านจักไม่เห็น และจักไม่ได้ยินเลย" ดังนี้แล้ว ได้ประกาศความเลื่อมใสอย่างสูงในเรา กระทํา ประทักษิณ หลีกไปแล้ว.


387-388
กัลยาณมิตรของพระองค์เอง

อานนท์ ! ภิกษุผู้ชื่อว่า มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญทําให้มาก ซึ่งอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์แปด โดยอาการอย่างไรเล่า? อานนท์ ! ภิกษุใน ศาสนานี้ ย่อมเจริญทําให้มาก ซึ่ง สัมมาทิฎฐิ...สัมมาสังกัปปะ...สัมมาวาจา... สัมมากัมมันตะ ...สัมมาอาชีวะ ...สัมมาวายามะ ...สัมมาสติ ...สัมมาสมาธิ  ชนิดที่ วิเวกอาศัยแล้ว ชนิดที่วิราคะอาศัยแล้ว ชนิดที่นิโรธ อาศัยแล้วชนิดที่น้อมไปรอบ เพื่อการเลิกถอน.

อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุผู้มีมิตรดีสหายดี เพื่อนดี เจริญ ทําให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์แปด.

อานนท์ ! ข้อนั้นเธอพึงทราบด้วยปริยายอันนี้เถิด คือว่า พรหมจรรย์นี้ ทั้งหมดนั่นเทียว ได้แก่ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดังนี้.

อานนท์ ! จริงทีเทียว สัตว์ ท. ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาได้อาศัย กัลยาณมิตรของเราแล้ว ย่อมพ้นหมด จากชาติ ผู้มีความแก่ชรา...ความเจ็บปุวย...ความตาย.

ความโศก ความคร่ําครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความแห้งผากใจ เป็นธรรมดาครั้น ได้ อาศัยกัลยาณมิตร ของเราแล้ว ย่อมหลุดพ้นหมด จากความแก่ชรา...ความ เจ็บปุวย... ความตาย... ความโศก ความคร่ําครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ความแห้งผาก ใจ. 

อานนท์ ! ข้อนั้น เธอพึงทราบโดยปริยายอันนี้เถิด คือว่า พรหมจรรย์นี้ ทั้งหมดนั่นเทียว ได้แก่ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดังนี้. 

(บาลีแห่งอื่น (มหาวาร. สํ. ๑๙/๔/๙) กล่าวถึงพระสารีบุตรกราบทูลว่า ความมี กัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น พระองค์ทรงรับรอง ด้วยถ้อยคํามีเนื้อความอย่างเดียวกัน กับข้อความ ข้างบนนี้ ผิดกันเพียงแต่พระอานนท์กราบทูลว่าเป็นครึ่งหนึ่ง ของพรหมจรรย์เท่านั้น.)

(ง. เกี่ยวกับลัทธิอื่น ๆ ๑๖ เรื่อง)


388-389
พอดวงอาทิตย์ขึ้น หิ่งห้อยก็อับแสง


        เป็นอย่างนั้น อานนท์ ! เป็นอย่างนั้น อานนท์! ตลอดเวลาที่ตถาคตผู้เป็น อรหันต์ตรัสรู้ ชอบเอง ยังไม่เกิดขึ้นในโลกอยู่เพียงใด เหล่าปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์อื่น๑ ก็ยังเป็นที่สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม และยังมีสาภ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช อยู่ตลอด เวลาเพียงนั้น. 


        อานนท์ ! ในกาลใด ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น เหล่า ปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์อื่น ก็หมดความเป็นที่สักการะเคารพนับถือบูชา นอบน้อม และไม่มี ลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช.และในบัดนี้ ตถาคตเป็นที่สักการะเคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม และมีลาภด้วยจีวร บิณฑบาติ เสนาสนะ คิลานเภสัช รวมทั้งภิกษุสงฆ์ นี้ด้วย.

พระผู้มีพระภาคทรงแจ่มแจ้งในความข้อนี้ ได้ทรงอุทานคําอุทานนี้ขึ้นว่า

       "หิ่งห้อยนั้น ย่อมส่องแสงอยู่ได้ชั่วเวลาที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมา  ครั้นอาทิตย์ ขึ้นมา หิ่งห้อยก็หมดแสงไม่มีสว่างอีก. เดียรถีย์  ทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น. โอกาสอยู่ได้ ชั่วเวลาที่บุคคลผู้ตรัสรู้ชอบ  ด้วยตนเองยังไม่เกิดขึ้นในโลก. พวกที่ได้แต่นึก ๆ เอา (คือไม่ตรัสรู้) ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้. ถึงแม้สาวกของเขาก็เหมือนกัน.  ผู้ที่มีความเห็นผิด จะไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย".


389-390
ลัทธิของพระองค์กับของผู้อื่น


        กัสสปะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ที่เป็นบัณฑิต มีป๎ญญาพอตัวเคยทํา ปรวาทีมาแล้ว มีป๎ญญาแหลมดุจแทงถูกขนทราย ดูเที่ยวทําลายอยู่ซึ่งความเห็นของเขาอื่นด้วยป๎ญญาตน. บัณฑิตเหล่านั้น ลงกันได้กับเราในบางฐานะ (บางเรื่อง) ไม่ลงกันได้ในบางฐานะ บางอย่างพวกนั้นกล่าวว่าดี พวกเราก็กล่าว ว่าดีบางอย่างพวกนั้นกล่าวว่าไม่ดี พวกเราก็กล่าวว่าไม่ดี บางอย่างพวกนั้น กล่าวว่าดีพวกเรากล่าวว่าไม่ดี บางอย่าง พวกนั้นกล่าวว่าไม่ดี พวกเรากล่าวว่าดีบางอย่างพวกเรากล่าวว่า ดี พวกนั้นก็กล่าวว่า ดี บางอย่างพวกเรากล่าวว่า ไม่ดี พวกนั้นก็กล่าวว่า ไม่ดี บางอย่างพวกเรากล่าวว่า ดี พวกนั้น กล่าวว่าไม่ดี บางอย่างพวกเรากล่าวว่า ไม่ดีพวกนั้นกล่าวว่า ดี ดังนี้.

        เราเข้าไปหาบัณฑิต เหล่านั้นแล้ว กล่าวว่าแน่ะท่าน ! ในบรรดาฐานะเหล่านั้น ๆ ฐานะใดลงกันไม่ได้ ฐานะนั้น จงยกไว้...ฯลฯ... (พูดกันแต่เรื่องที่ลงกันได้).


390-395
ทรงแสดงอัปปมัญญาธรรมสี่ชนิด ที่สูงกว่าเดียรถีย์อื่น

(พวกเดียรถีย์อื่นถามพระภิกษุที่เข้าไปสนทนาด้วย ว่าพระสมณโคดมแสดงธรรมต่าง จาก พวกเดียรถีย์อย่างไร ในเมื่อมีการแสดงเรื่องอัปปมัญญาธรรมสี่ คือมีจิตแผ่ไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สู่ทิศทั้งปวง ด้วยระเบียบถ้อยคําที่เท่ากันตรงกันทุกคําพูด ภิกษุเหล่านั้น ได้เข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาคกราบทูลถึงเรื่องนี้ ซึ่งได้ตรัสอัปปมัญญาธรรมสี่ ในระดับที่สูง ขึ้นไป ถึงระดับเจโตวิมุตติ มีข้อความดังต่อไปนี้)

ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงกล่าว (ถาม) ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นกล่าวอยู่อย่างนั้น ว่า "ท่านผู้มีอายุ ! ก็เมตตาเจโตวิมุตติ ...กรุณาเจโตวิมุตติ ...มุทิตาเจโตวิมุตติ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ เจริญกัน แล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรมอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร? (เมื่อตรัส ตรัสที่ ละอย่าง แยกเป็น ๔ ตอน ตามจํานวน ของเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โดยมีลําดับ อักษรอย่างเดียวกัน)" ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้ ปริพพาชกเดียรถีย์อื่น ท. เหล่านั้นจักไม่มี คําตอบ จักอึดอัดใจ อย่างยิ่ง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! เพราะว่า ข้อนั้น ไม่อยู่ในวินัย.

ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมากโลก พรหม โลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ที่จะตอบป๎ญหานี้ ให้เป็นที่พอใจได้ เว้นเสียแต่ ตถาคต หรือสาวกของตถาคต หรือพวกที่ฟ๎งไปจากคน ทั้งสองนี้.

ภิกษุ ท. ! ก็ เมตตาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรม อะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรม-   วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ...ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์ ...ป๎สสัทธิสัมโพชฌงค์ ...สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา สัมโพชฌงค์ (เมื่อตรัสตรัสทีละโพชฌงค์ เป็น ๗ ตอน ตามจํานวนของสัมโพชฌงค์ แต่ละ โพชฌงค์) เป็นสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัย วิราคะอาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

       ถ้าภิกษุนั้นหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฎิกูลในสิ่งที่ไม่ปฎิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่า ปฎิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฎิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญา ว่าไม่ปฎิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มี สัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และ สิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

       ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อม เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

       ถ้าเธอหวังจะเพิกถอนสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสอง อย่างนั้นเสีย แล้วเป็นผู้ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้อุเบกขามี สติสัมปชัญญะในธรรมนั้นได้ อย่;

อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น ย่อมเข้าถึงสุภวิโมกข์ แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติ ว่าเป็นธรรมมีสุภวิโมกข์เป็น อย่างยิ่ง.ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของภิกษุผู้มีป๎ญญาชนิดที่ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอัน ยิ่งขึ้นไป. 
ภิกษุ ท. ! ก็กรุณาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรม อะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร?

ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรม-วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ...ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...วิริย สัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์... ป๎สสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์.. อุเบกขา สัมโพชฌงค์เป็นสัม โพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัย วิราคะอาศัย นิโรธะ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ถ้าภิกษุนั้น หวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่า ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้อยู่

ถ้าเธอหวัง จะเป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้ง ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มี สัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อม เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวัง จะเพิกถอนสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่างนั้นเสีย แล้วเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในธรรมนั้นได้ อยู่

อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นเพราะการก้าว ล่วงเสียได้ ซึ่งรูปสัญญา เพราะการตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทําใน ใจซึ่งนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการ ทําในใจว่า"อนันโต อากาโส" ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท.! เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุตติ ว่าเป็นธรรมมีอากาสานัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง.ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของภิกษุ ผู้มี ป๎ญญาชนิดที่ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งขึ้นไป. 

ภิกษุ ท.! ก็ มุทิตาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรม อะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร?

ภิกษุ ท ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์... ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์... ป๎สสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็น สัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ถ้าภิกษุนั้นหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่ง ที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฎิกูลอยู่ เธอก็ย่อม เป็นผู้มีสัญญา ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มี สัญญาว่า ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มี สัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็น ผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ ไม่ปฏิกูลนั้นได้อยู่

ถ้าเธอหวังจะเพิกถอนสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลทั้งสองอย่าง นั้นเสีย แล้วเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้อุเบกขา มี สติสัมปชัญญะ ในธรรมนั้นได้ อยู่

อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น เพราะการก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมี การทําในใจว่า"อนันตัง วิญญาณัง" ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท.! เรากล่าวมุทิตาเจโต วิมุตติว่าเป็นธรรมมีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง.
ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของ ภิกษุผู้มีป๎ญญาชนิดที่ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งขึ้นไป

ภิกษุ ท.!  ก็อุเบกขาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรมอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร?
 
ภิกษุ ท.! ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้. ...ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ...ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...  วิริยสัมโพชฌงค์. ...ปีติสัมโพชฌงค์  ป๎สสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์ ...

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ถ้าภิกษุนั้น หวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่า ปฏิกูลใน สิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้อยู่ 

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้อยู่ ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญา ว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ ปฏิกูลอยู่  เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้อยู่ 

ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มี สัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้ง ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่

ถ้าเธอหวังจะเพิกถอน สิ่งที่ ไม่ปฏิกูลและ สิ่งที่ปฏิกูลทั้งสองอย่างนั้นเสีย แล้วก็เป็นผู้อุเบกขา  มีสติสัปชัญญะอยู่ เธอก็ ย่อมเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในธรรมนั้นได้ อยู่ 

อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น เพราะการก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทําในใจว่า "นัตถิ กิญจิ" ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท.!เรา กล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติ ว่าเป็นธรรมมีอากิญจัญญายตนะเป็นอย่างยิ่ง.
ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของภิกษุผู้มีป๎ญญาชนิดที่ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งขึ้นไป ดังนี้แล.


395-397
ทรงบัญญัติ นิททสบุคคล ที่ไม่เนื่องด้วยพรรษาดั่งลิทธิอื่น

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อเช้านี้  ข้าพระองค์เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี เห็นว่ายังเช้า นัก จึงเข้าไปสู่อารามของปริพาชกผู้เป็นเดียรถีย์อื่น เขากําลังประชุมกัน พูดกันว่า "ท่านผู้มีอายุ ! ผู้ใดใครประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้น๑๒ ปี ควรจะเรียกภิกษุนั้นว่าเป็นนิททสภิกขุ " ดังนี้ .

---ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระ ภาคอาจหรือไม่หนอ เพื่อจะบัญญัตินิททสภิกขุ ในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุสักว่าการนับพรรษาอย่าง เดียวพระเจ้าข้า?" 

สารีบุตร ! ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะบัญญัตินิททสภิกขุในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุ สักว่าการนับพรรษา อย่างเดียว. สารีบุตร!  นิททสวัตถุ (วัตถุเป็นครื่องบัญญัตินิ ททสบุคคล) ๗ ประการเหล่านี้  เรากระทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ประการแล้ว. 

เจ็ดประการเหล่าไหนเล่า? เจ็ดประการคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 

๑. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าใน สิกขาสมาทาน และมีความรักอย่างยิ่งในสิกขา สมาทานสืบไป. 
. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ ใคร่ครวญธรรม และมีความรักอย่างยิ่งใน การใคร่ครวญธรรม สืบไป. 
๓. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ กำจัดความอยาก และมีความรักอย่างยิ่งใน การกําจัดความ อยากต่อไป.
๔. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าใน การหลีกเร้น และมีความรักอย่างยิ่งในการหลีก เร้นต่อไป. 
๕. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ ปรารภความเพียร และมีความรักอย่างยิ่งใน การปรารภความ เพียรต่อไป. 
๖. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ รักษาตนด้วยสติ และมีความรักอย่างยิ่งใน การรักษาตนด้วย สติต่อไป. 
๗. เป็นผู้มีฉันทะแก่กล้าในการ แทงตลอดด้วยทิฏฐิ  และมีความรักอย่างง ยิ่งในการ แทงตลอด ด้วยทิฏฐิต่อไป.

สารีบุตร ! เหล่านี้แล  นิททสวัตถุ ๗ ประการ อันเรากระทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง  แล้วประกาศแล้ว. 

สารีบุตร ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยนิททสวัตถุ ๗ ประการเหล่านี้แล้ว จะ ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์ ๑๒ ปี ก็ได้_ ๒๔ ปีก็ได้ _ ๓๖ ปี ก็ได้ _ ๔๘ ปี ก็ได้  ย่อมควรที่ จะเรียกว่า "นิททสภิกขุ" ดังนี้แล. 


397-398
ทรงบัญญัติความหมาย ของคำว่า "ญาณ"
ไม่ตรงกับความหมายที่เดียรถีย์อื่นบัญญัติ


จุนทะ !  ฐานะนั้นมีอยู่แน่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่น ท. จะกล่าว อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดม ย่อมบัญญัติญาณทัสสนะ ปรารภอดีตกาลนานไกลอย่างไม่มีขอบเขต  แต่ว่าหาได้บัญญัติญาณทัสสนะปรารภอนาคตกาลนานไกล  อย่างไม่มีขอบเขตเช่นนั้นไม่ นั่นมันอะไรกัน? นั่นมันอย่างไรกัน? " ดังนี้.
 
จุนทะ ! ปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่น ท. เหล่านั้น สําคัญสิ่งที่ควรบัญญัติว่า เป็นอญาณทัสสะ นานาอย่าง ให้เป็นญาณทสัสะนานาอย่าไปเสีย  เหมือนอย่างที่ พวกคนพาลคนเขลา เขากระทํากันนั่นเอง.

จุนทะ !  สตานุสาริญาณ (ญาณอันแล่นไปตามความระลึก) ปรารภอดีต กาลนานไกลย่อมมี แก่ตถาคต เท่าที่ตถาคตจะระลึก  ตามที่ต้องการ. สำหรับ ญาณปรารภอนาคตกาลนานไกล อันเป็นญาณที่เกิดจากการตรัสรู้ (ที่โคนต้นโพธิ์) ย่อมเกิดแก่ตถาคตว่า "ชาตินี้ เป็นชาติ สุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่มิได้มีอีกต่อไป". ดังนี้. 

  หมายเหตุ : ญาณตามความหมายในพุทธศาสนามีขอบเขตจํากัดเฉพาะเรื่องเฉพาะ อย่างทั้ง ที่ปรารภอดีตและอนาคต หาใช่ไม่มีขอบเขตจํากัด ดังที่เดียรถีย์กล่าวไม่. ขอให้สังเกต ใจความแห่งข้อความข้างบนนี้ให้ดี ๆ  ก็พอจะเข้าใจได้เอง.  -ผู้รวบรวม.


398-399
ไม่ทรงบัญญัติยืนยันหลักลัทธิเกี่ยวกับ "อัตตา" 

(ปริพพาชกวัจฉโคตรเข้าไปทูลถามว่า อัตตา มีหรือ ?  ทรงนิ่งเสีย  ทูลถามว่า อัตตา ไม่มีหรือ?  ก็ทรงนิ่งเสีย  ปริพพาชกนนั้ได้ลุกหลีกไป. พระอานนท์กราบทูลถามถึงเหตุที่ ทรงนิ่ง เสียได้ตรัสตอบดังนี้ว่า)

อานนท์ !  เรา  เมื่อถูกวัจฉโคตรปริพพาชกถามว่า "อัตตา มีหรือ ?"  ถ้าตอบว่า "อัตตา มี" มันก็จะไปตรงกันกับสัสสตทิฏฐิของสมณพราหมณ์บางพวก เมื่อถูกถามว่า "อัตตาไม่มีหรือ?" ถ้าตอบว่า "อัตตา ไม่มี" ก็จะไปตรงกันกับ อุจเฉททิฏฐิของสมณพราหมณ์บางพวกเข้าอีก.
 
อานนท์ ! ถ้าตอบว่า "อัตตา มี"  มันจะเป็นการอนุโลมเพื่อให้เกิดญาณ ว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา"  ดังนี้บ้างหรือหนอ?  "ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !"  อานนท์ !  ถ้าตอบว่า "อัตตา ไม่มี"  ก็จะทําให้วัจฉโคตรปริพพาชกผู้ หลงใหลอยู่แล้ว ถึงความงงงวยหนักยิ่งขึ้นไปอีกว่า อัตตาของเราในกาลก่อน จัก ได้มีหรือว่าได้มีแล้ว เป็นแน่นอน บัดนี้กลายเป็นว่าอัตตา นั้นไม่มี ดังนี้.


399-400
ไม่ได้ทรงติการบำเพ็ญตบะ ไปเสียตะพึด

กัสสปะ ! พวกสมณพราหมณ์ ที่กล่าวหาเราว่า "พระสมณโคดม ติเตียนตบะทุกอย่าง กล่าวเหยียบย่ําด่าทอผู้บําเพ็ยตบะ มีชีวิตอยู่อย่างปอนทุก ๆ คน โดยส่วนเดียว"  ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้กล่าวตรงตามที่เรากล่าว เขากล่าวตู่เราด้วยคําเท็จ ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง.
 
กัสสปะ ! ในเรื่องนี้ เราเห็นผู้บําเพ็ญตบะมีชีวิตอย่างปอน บางคน หลังจากการตายเพราะ การทําลายแห่งกาย บังเกิดแล้วในอบายทุคติวินิบาตนรก บางคนหลังจากการตายเพราะการ ทําลายแห่งกาย  บังเกิดแล้วในสุคติโลกสวรรค์ เห็นด้วยจักขุอันเป็นทิพย์  บริสุทธิ์หมดจด  ล่วงจักขุสามัญมนุษย์. 

กัสสปะ !  ในเรื่องนี้  เราเห็นผู้บําเพ็ญตบะ มีความยากลําบากแต่เพียง เล็กน้อย บางคน  หลังจากการตายเพราะการทําลายแห่งกาย บังเกิดแล้วใน อบายทุคตินิบาตนรก บางคนหลัง จากการตายเพราะการทําลายแห่งกายบังเกิด แล้วในสุคติ โลกสวรรค์ เห็นด้วยจักขุอันเป็น ทิพย์ บริสุทธิ์หมดจด ล่วงจักขุ สามัญมนุษย์. 

กัสสปะ ! เราย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่ง การมา การไป การจุติ การบังเกิด ของผู้บําเพ็ญตบะ เหล่านี้ อย่างนี้ อะไรเราจักติเตียนตบะทุกอย่างเหยียบย่ํา ด่าทอผู้บําเพ็ญตบะมีชีวิต อย่างปอนทุกๆคน โดยท่าเดียว ได้เล่า.


400-401
ไม่ทรงตำหนิการบูชายัญญ์ไปเสียทั้งหมด

อุชชยพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระโคดมย่อมกล่าวสรรเสริญ ยัญญ์บ้าง หรือไม่ ?. 

พราหมณ์ !  เราจะกล่าวสรรเสริญยัญญ์ไปเสียทั้งหมด ก็หาไม่ แต่ว่า เราจะตำหนิยัญญ์ ไปเสียทั้งหมด ก็หาไม่. 

พราหมณ์ ! ก็ในยัญญ์ชนิดใด โคถูกฆ่า แพะแกะถูกฆ่า ไก่สุกรถูกฆ่า สัตว์ ต่าง ๆ ถูกฆ่า เราไม่สรรเสริญยัญญ์นั้น ซึ่งมีการทําสัตว์อื่นให้พลอยทุกข์. เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่า พระอรหันต์ หรือผู้ที่ถึงอรหัตตมรรค ย่อมไม่เข้าใกล้ยัญญ์ ชนิดนี้ ซึ่งมีการทําสัตว์อื่น ให้พลอยทุกข์.
 
พราหมณ์ ! ส่วนในยัญญ์ชนิดใด โคไม่ถูกฆ่า แพะแกะไม่ถูกฆ่าไก่สุกรไม่ถูก ฆ่า สัตว์ต่าง ๆ ไม่ถูกฆ่า เราสรรเสริญยัญญ์นั้น ซึ่งไม่มีการทําสัตว์อื่นให้พลอย ทุกข์ ได้แก่ นิจจทาน อันเป็น ยัญญ์ที่ทําสืบสกุลกันลงมาเพราะเหตุไรเล่า? เพราะ พระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี หรือผู้ถึง อรหัตตมรรคทั้งหลายก็ดี ย่อมเข้ามาข้องแวะ ด้วยยัญญ์ชนิดนี้.


401-403
ความบริสุทธิ์ใจของพระองค์ในการปฏิบัติต่อลัทธิอื่น

นิโครธะ ! ความระแวงของท่านอาจจะมีได้อย่างนี้ว่า พระสาณโคดมกล่าว อย่างนี้ เพราะความใคร่จะได้อันเตวาสิกก็เป็นได้. นิโครธะ! ก็ข้อนี้ท่านอย่าพึงเห็น อย่างนั้นเลย ผู้ใดเป็นอาจารย์ของท่านอยู่แล้วอย่างนั้น ผู้นั้นจงเป็นอาจารย์ของ ท่านต่อไปเถิด. 

นิโครธะ ! ความระแวงของท่านอาจจะมีได้อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ ต้องการให้เรา เคลื่อนจากอุทเทส (ลัทธิที่ถืออยู่เดิม) จึงกล่าวอย่างนี้.

นิโครธะ ! ก็ข้อนี้ท่านอย่าพึงเห็นอย่างนั้นเลย สิ่งใดเป็นอุทเทสของท่านอยู่แล้ว อย่างนั้น สิ่งนั้นจงเป็นอุทเทสของท่านต่อไปเถิด. 

นิโครธะ ! ความระแวงของท่านอาจจะมีได้อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ ต้องการให้เรา เคลื่อนจากอาชีวะ (แบบแห่งการเป็นอยู่ตามลัทธินั้น) จึงกล่าวอย่าง นี้.

นิโครธะ ! ก็ข้อนี้ท่านอย่าพึงเห็นอย่างนั้นเลย วิธีการณ์ใดเป็นอาชีวะของท่าน อยู่แล้วอย่าง นั้น วิธีการณ์นั้นจงเป็นอาชีวะของท่านต่อไปเถิด. 

นิโครธะ ! ความระแวงของท่านอาจจะมีได้อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดเป็น อกุศล นับเนื่องใน อกุศล ตามลัทธิแห่งอาจารย์ของเรา พระสมณโคดมเป็นผู้ ต้องการให้เราตั้งอยู่ในอกุศลธรรม เหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

นิโครธะ ! ก็ข้อนี้ท่าน อย่าพึงเห็นอย่างนั้นเลย ธรรมเหล่านั้น จงเป็นอกุศลธรรม นับเนื่องใน อกุศล ธรรม ตามลัทธิแห่งอาจารย์ของตน ต่อไปตามเดิมเถิด. 

นิโครธะ ! ความระแวงของท่านอาจจะมีได้อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดเป็น กุศลนับเนื่องในกุศล ตามลัทธิแห่งอาจารย์ของเรา พระสมณโคดมเป็นผู้ต้องการ ให้เราเลิกร้างจากกุศลธรรม เหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

นิโครธะ ! ก็ข้อนี้ท่านอย่า พึงเห็นอย่างนั้นเลย ธรรมเหล่านั้น จงเป็นกุศลธรรม นับเนื่องใน กุศลธรรม ตาม ลัทธิแห่งอาจารย์ของตน ต่อไปตามเดิมเถิด. 

นิโครธะ ! อย่างนี้แหละ  เรามิได้กล่าวอย่างนั้น เพราะความใคร่จะได้ อันเตวาสิก และเรามิได้กล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นผู้ต้องการให้ท่านเคลื่อนจาก อุทเทส และเรามิได้กล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นผู้ต้องการให้ท่านเคลื่อนจากอาชีวะ และเรามิได้กล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นผู้ต้องการให้ท่านตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นอกุศล นับเนื่องในอกุศล ตามลัทธิแห่งอาจารย์ของตน เหล่านั้น และเรามิได้กล่าวอย่าง นั้น เพราะเป็นผู้ต้องการให้ท่านเลิกร้างจากธรรมอันเป็นกุศลนับเนื่องในกุศล ตาม ลัทธิแห่งอาจารย์ของตน เหล่านั้น. 

นิโครธะ ! ธรรม ท. อันเป็นอกุศลที่ท่านยังละไม่ได้ มีอยู่ เป็นธรรมเศร้าหมอง เป็นธรรมนํามา ซึ่งภพใหม่ เป็นไปเพื่อทุกข์ทรมาน มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไป เพื่อชาติชรามรณะสืบต่อไป อันเป็นอกุศลธรรม ที่เราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสีย เมื่อท่าน ท. ปฏิบัติตามแล้ว ธรรมเป็นเครื่อง เศร้าหมอง ท. จักละไปธรรมเป็น เครื่องผ่องแผ้ว ท. จักเจริญโดยยิ่ง

ท่าน ท. จักกระทําให้แจ้ง ซึ่งความเต็มรอบ แห่งป๎ญญา และความเป็นผู้ไพบูลย์ ด้วยป๎ญญาอัน ยิ่งเอง ในทิฎฐธรรมเข้าถึง แล้วแลอยู่.


403-404
บางกฎที่ทรงยกเว้นแก่บางคน

กัสสปะ ! ผู้ใดเป็นพวกเดียรถีย์อื่นมาก่อน หวังการบรรพชา หวังการ อุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นย่อมต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน ครั้นล่วงสี่เดือน พวกภิกษุ ท. มีจิตสิ้นสงสัยรังเกียจแล้ว ย่อมให้บรรพชา ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ. ก็แต่ว่า เรารู้จักความแตกต่างระหว่างบุคคล ในเรื่องนี้.

(พระบาลีเช่นนี้มีทั่วๆไป ทรงยกสิทธิ พิเศษให้อัญญเดียรถีย์บางคน ที่พระองค์ทรง สังเกตเห็น แล้วว่าไม่จําเป็น ไม่ต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน. ทรงเรียกภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มาพาตัวไป บรรพชา เสียทีเดียว แล้วจึงให้สงฆ์ให้อุปสมบททีหลัง. กฎหลายข้อ ที่มีอนุบัญญัติ หรือ "ข้อแม้" ไว้สําหรับบางบุคคล บางกาล บางเทศะ ทั้งนี้ก็เพราะทรงเป็นธรรมราชา. เนื้อความเช่นนี้ อธิบายไว้ชัดในอรรถกถาแห่งพระบาลี ที่กล่าวถึงเรื่องเช่นนี้ ทุกแห่งไป).