เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  6 of 11  
  สารบาญ ภาค 4    

  สารบาญ ภาค 4

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ 297-299     ทรงเรียกร้องให้กระทำกะพระองค์อย่างมิตร 326-327
  ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฎฐิสืบ 299-300     สาวกหลุดพ้นเพราะพิจารณาอนัตตาในเบญจขันธ์ 328-329
  ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฏฐิ 301-302     สาวกของพระองค์เสียชีพไม่เสียศีล 330
  ตรัสเหตุที่ทำให้ไม่ทรงข้องแวะด้วยทิฏฐิสิบ 302-303     ตรัสให้สาวกตดิตามฟง๎แต่เรื่องเป็นไปเพื่อนิพพาน 330-331
  เรื่องที่ทรงพยากรณ์ 303     ทรงขอให้สาวกเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิส- 331-332
  ผู้ฟังพอใจคำพยากรณ์ของพระองค์ 303-304     ทรงชักชวนให้สาวกกระทำดั่งที่เคยทรงกระทำ 332-333
  ไม่ได้ทรงพยากรณ์เพอื่ให้ชอบใจผู้ฟ๎ง 304-305     ทรงขอร้องอย่าให้วิวาทกันเพราะธรรมที่ทรงแสดง 333-334
  คำพยากรณน์ั้น ๆ ไม่ต้องทรงคิดไว้ก่อน  305-306     ทรงขอร้องให้ทำความเพียรเพื่ออนตุตรวิมุตติ 334-335
  ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก 306-308     ทรงถือว่าสาวกเป็นสมณสากยะปุตติยะ โดยเสมอกัน 335-336
  เหตุที่สาวกบางคนไม่ได้บรรลุ 308-310     สาวกตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในอินทรียภาวนา 336-338
         
  ทรงบัญญัติโลกุตตรธรรมสำหรับคนทั่วไป 310-314     ทรงมีคณะสาวกซึ่งมีปาฏิหาริย์ 338-339
  ทรงให้ทุกคนมีพระองค์อยู่ที่ธรรม ที่กำลังมีอยู่ในใจ 314-315     ทรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สาวก ชั่วระยะจำเป็น 340
  สัตว์โลกจะรู้จักพระรตันตรัยถึงที่สุด 315-318     ทรงมีพระสารีบุตรเป็นผู้รองลำดับ 340-341
  ทรงมีหมู่คณะที่เลิศกว่าหมู่คณะใด 319     ทรงมีพระสารีบุตรเป็นผู้ประกาศธรรมจักร เสมอพระองค์ 341-342
  ทรงมีคณะสงฆ์ซึ่งมีคุณธรรมสูงสุด 319-321     ทรงยกย่องพระสารีบุตรในฐานะธรรมโอรส  342-343
  ในแต่ละบริษัทมีอริยสาวก เต็มทุกขั้นตอนตามที่ควร 321-323     มหาเถระผู้มีสมาบัติ และอภิญญาเทียมพระองค์ 344
  ทรงบริหารสงฆ์ จำนวนร้อย 323-324     พระองค์และสาวกมีการกล่าวหลักธรรมตรงกันเสมอ 345-346
  วิธีที่ทรงปฏิบัติต่อภิกษุเกี่ยวกับสิกขา 324-325     ส่วนที่สาวกเข้มงวดกว่าพระองค์ 346-347
  ทรงรับรองภิกษุแต่บางรูป ว่าเป็นคนของพระองค์ 325     ทรงลดพระองค์เสมอสาวกแม้ในหน้าที่ของพระพุทธเจ้า 348-349
  ทรงมีศิษย์ทั้งที่ดื้อ และไม่ดื้อ 326     เหตุที่ทำให้มีผู้มาเป็นสาวกของพระองค์ 349-350
         
         
 





ภาค 4



297-299
เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์
 

           มาลุงกยบุตร ! ได้ยินเธอว่า (เอง) ว่า ตถาคตมิได้พูดไว้กะเธอว่า`ท่านจง มาประพฤติพรหมจรรย์ ในสํานักเราเถิด เราจะพยากรณ์ทิฎฐิ ๑๐ ประการแก่ ท่าน'; อนึ่ง เธอก็มิได้พูดว่า`ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ในสํานักพระผู้มี พระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักพยากรณ์ทิฎฐิ ๑๐ ประการ แก่ข้าพระองค์' ดังนี้เลย. ดูก่อนโมฆบุรุษ ! เมื่อเป็นดังนี้ จักบอกคืนพรหมจรรย์กะใครเล่า.
 
           มาลุงกยบุตร ! ถึงผู้ใดจะกล่าวว่า `พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงพยากรณ์ ทิฎฐิ ๑๐ ประการแก่เราเพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพียงนั้น. ต่อเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว เราจึงจะประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี-   พระภาค' ดังนี้ก็ตาม ทิฎฐิ ๑๐ ประการ ก็ยังเป็นสิ่งที่ตถาคตไม่พยากรณ์อยู่ นั่นเองและผู้นั้นก็ตายเปล่า.
 
           มาลุงกยบุตร !  เปรียบเหมือนบุรุษ ต้องศรอันอาบด้วยยาพิษอย่างแก่. มิตร อมาตย์ ญาติสายโลหิตของเขา ก็ตระเตรียมศัลยแพทย์สําหรับการผ่าตัด บุรุษนั้นกล่าวเสียอย่างนี้ว่า `เราจักไม่ให้ผ่าลูกศรออก จนกว่าเราจะรู้จักตัวบุรุษผู้ ยิงเสียก่อน ว่าเป็นกษัตริย์ หรือ พราหมณ์ เวสส์ สูทท์ เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มี สกุลอย่างนี้ ๆ รูปร่างสูงต่ําหรือปานกลาง อย่างไร มีผิวดําขาวหรือเรื่ออย่างไร อยู่ในหมู่บ้าน นิคม หรือนครไหน และคันศรที่ใช้ยิงเรา นั้น เป็นหน้าไม้ หรือ เกาทัณฑ์ สายทําด้วยปอเอ็น ไม้ไผ่ หรือปุานอย่างไร ฯลฯ' ดังนี้

           มงลุงกยบุตร! เรื่องเหล่านี้ อันบุรุษนั้นยังไม่ทราบได้เลยเขาก็ทํากาละเสียก่อน นี้ฉันใด; บุคคลผู้กล่าวว่า`พระผู้มีพระภาคยังไม่พยากรณ์ ทิฎฐิ ๑๐ ประการแก่เราเพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพียงนั้น ฯลฯ' ดังนี้

           ทิฎฐิ ๑๐ ประการก็ยังเป็นเรื่องที่ตถาคตไม่พยากรณ์อยู่ นั่นเอง และบุคคลนั้น ก็ตายเปล่าเป็นแท้. 

           มาลุงกยบุตร ! ต่อเมื่อมีทิฎฐิเที่ยงแท้ลงไปว่า "โลกเที่ยง" (เป็นต้นอย่างใด อย่างหนึ่งลงไปแล้วในบรรดาทิฎฐิทั้งสิบ) หรือ คนเราจึงจักประพฤติพรหมจรรย์ได้? 
หามิได้ พระองค์ !”  

           มาลุงกยบุตร ! ในเมื่อมีทิฎฐิว่า `โลกเที่ยง' (เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา ทิฎฐิสิบ) อยู่ ก็ยังมีความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ําครวญ ทุกข์ กาย ทุกข์ใจ และความแห้งผากในใจ อันเป็นความทุกข์ ซึ่งเราบัญญัติการกําจัดเสียได้ ในภพที่ตนเห็นแล้วนี้ อยู่นั่นเอง.

           มาลุงกยบุตร! เพราะฉะนั้น พวกเธอจงจําสิ่งที่เราไม่ พยากรณ์ โดยความเป็นสิ่ง ที่เราไม่พยากรณ์และจําสิ่งที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นสิ่ง ที่เราพยากรณ์แล้ว. 

           มาลุงกยบุตร ! ก็อะไรเล่า ที่เราไม่พยากรณ์? สิ่งที่เราไม่พยากรณ์ คือ (ทิฎฐิข้อใดข้อหนึ่งในบรรดาทิฏฐิทั้งสิบ) ว่า 
      โลกเที่ยง 
      โลกไม่เที่ยง 
      โลกมีที่สิ้นสุด 
      โลกไม่มีที่สิ้นสุด 
      ชีวะก็ดวงนั้น ร่างกายก็ร่างนั้น 
      ชีวะก็ดวงอื่น ร่างกายก็ร่างอื่น
      ตายแล้ว ย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนี้ อีก
      ตายแล้ว ไม่เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนี้ อีก 
      ตายแล้ว ย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนี้อีกก็มี ไม่เป็นก็มี 
      ตายแล้ว ย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนี้อีกก็ไม่ใช่ ไม่เป็นก็ไม่ใช่.
     เพราะเหตุไร เราจึงไม่พยากรณ์?
          
         มาลุงกยบุตร ! เพราะเหตุว่า นั่นไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่ใช่เงื่อนต้นของ พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความ คลายกําหนัด ความดับ ความรํางับ ความรู้ยิ่งความรู้พร้อม และนิพพาน เหตุนั้น เราจึงไม่พยากรณ์.


299-300
ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฎฐิสืบ

           "พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นป๎จจัย ที่ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเมื่อ ถูกถามแล้วย่อมพยากรณ์ว่าโลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ... หรือว่าตถาคต ภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้? อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น ป๎จจัย ที่พระโคดมผู้เจริญเมื่อถูกถามแล้ว ย่อมไม่ทรงพยากรณ์ว่าโลกเที่ยง หรือว่าโลก ไม่เที่ยง...ฯลฯ...หรือว่าตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้?" 

           วัจฉะ !  ปริพพาชกเดียรถีย์อื่น ท.  ย่อมตามเห็นซึ่งจักษุ  ...ซึ่งโสตะ... ซึ่งฆานะ...ซึ่งชิวหา...ซึ่งกายะ...ซึ่งมนะ ว่า "นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตา ของเรา" ดังนี้

           วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้น ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น เมื่อถูกถาม แล้ว จึงพยากรณ์ ว่าโลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ...หรือว่าตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีกก็หา มิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้.

           วัจฉะ ! ส่วนตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมตามเห็นซึ่งจักษุ ...... ซึ่งโสตะ ...ซึ่งฆานะ...ซึ่งชิวหา...ซึ่งกายะ...ซึ่งมนะ ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็น เรา นั่นไม่ใช่ อัตตาของเรา" ดังนี้

           วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้นตถาคต เมื่อถูกถามแล้ว จึงไม่พยากรณ์ว่าโลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ...หรือว่าตถาคตภายหลังแต่ การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้.
 
(อีกนัยหนึ่ง ตรัสตอบว่า:-) 

           วัจฉะ ! ปริพพาชกเดียรถีย์อื่น ท. ย่อมตามเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน หรือเห็นตน มีรูป หรือเห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป (ในกรณีแห่ง เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสด้วยข้อความที่มีหลักเกณฑ์ในการตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูปนี้ทุกประการ)

           วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้น ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น เมื่อถูกถาม แล้ว จึงพยากรณ์ ว่าโลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ... หรือว่าตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีกก็หา มิได้ ดังนี้. 

           วัจฉะ ! ส่วนตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งรูปโดย ความเป็น ตน หรือไม่เห็นตนมีรูป หรือไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป. (ในกรณี แห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสด้วยข้อความที่มีหลักเกณฑ์ในการตรัสอย่าง เดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปนี้ทุกประการ)

           วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้น ตถาคต เมื่อถูกถามแล้ว จึงไม่พยากรณ์ว่าโลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ... หรือว่าตถาคตภายหลังแต่ การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หา มิได้ ดังนี้.


301-302
ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฏฐิ ส่วนที่เกี่ยวกับ "ตถาคตสี่"
 
          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทําไมหนอ พระองค์เมื่อถูกถามว่า "ตถาคต ภายหลังแต่การ ตายย่อมมีอีกหรือ?" ดังนี้ ก็ตรัสว่า "นั่นเราไม่พยากรณ์" เมื่อถูก ถามว่า"ตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมไม่มีอีกหรือ?" ดังนี้ ก็ตรัสว่า "นั่นเราไม่ พยากรณ์" เมื่อถูกถามว่า "ตถาคตภ ายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี หรือ?" ดังนี้ ก็ตรัสว่า "นั่นเราไม่พยากรณ์"

          เมื่อถูกถามว่า "ตถาคตภายหลังแต่ การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ หรือ?" ดังนี้ ก็ยังตรัสว่า "นั่นเราไม่พยากรณ์" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นป๎จจัย ที่พระผู้มี พระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ซึ่งข้อความนั้นพระเจ้าข้า?" 

         มหาราชะ ! ...บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต เขาบัญญัติโดยรูป (ขันธ์) ใด รูป นั้น อันตถาคต ละหมดแล้ว มีมูลรากอันถอนขึ้นได้แล้ว กระทําให้เหมือนต้นตาลไม่ มีวัตถุ สําหรับงอก กระทําให้ถึงความไม่มีไม่เป็น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นอีก ต่อไปเป็นธรรมดา. 

         มหาราชะ ! ตถาคต ผู้พ้นแล้วจากการนับว่าเป็นรูป เป็นสภาพ ที่ลึกซึ่ง ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เหมือนกับมหาสมุทร การที่จะกล่าวว่า" ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก" ดังนี้ ก็ดี ว่า "ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมไม่มีอีก" ดังนี้ ก็ดี ว่า"ตถาคต ภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี" ดังนี้ ก็ดี ว่า "ตถาคต ภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้"ดังนี้ ก็ดี ย่อมเป็นไปไม่ได้.

(ในกรณีแห่ง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ก็ตรัสด้วยข้อความที่มี หลักเกณฑ์ในการตรัส อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปนี้ทุก ประการ).



302-303
ตรัสเหตุที่ทำให้ไม่ทรงข้องแวะด้วยทิฏฐิสิบ

         "ก็พระโคดมผู้เจริญ ! เห็นอยู่ซึ่งโทษอะไรหรือ จึงไม่เข้าถึงซึ่งทิฏฐิเหล่านี้ โดย ประการทั้งปวง อย่างนี้?" 
         วัจฉะ ! ทิฏฐิที่ว่า "โลกเที่ยง" ดังนี้นั้น เป็นเพียงการจับฉวยด้วยทิฏฐิ เป็นทิฏฐิที่สร้าง กันดาร เป็นทิฏฐิที่เป็นข้าศึก เป็นความผันแปรแห่งทิฏฐิ เป็นความ ผูกพันแห่งทิฏฐิ; เป็นไป เพื่อทุกข์เป็นไปเพื่อกระทบกระทั่ง เป็นไปเพื่อความคับแค้น เป็นไปเพื่อความเร่าร้อน; ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกําหนัด ไม่เป็นไป เพื่อความดับ ความสงบรํางับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน.

(ในกรณีแห่งทิฏฐิที่ ๒ ว่าโลกไม่เที่ยงเป็นต้น จนกระทั่งถึงทิฏฐิที่ ๑๐ ว่าตถาคต ภายหลัง แต่ตายแล้วมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ อันเป็นทิฏฐิสุดท้าย ก็ได้มีการตรัสโดย ทํานอง เดียวกัน ต่างแต่ชื่อแห่งทิฏฐิแต่ละทิฏฐิเท่านั้น). 

วัจฉะ ! เราเห็นอยู่ซึ่งโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงซี่งทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวง อย่างนี้. 

         "พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ทิฏฐิไรๆ ของพระสมณโคดมผู้เจริญ มีอยู่หรือ?" วัจฉะ ! สิ่งที่เรียกว่า "ทิฏฐิ"นั้น ตถาคตนําออกทิ้งหมดแล้ว.

         วัจฉะ ! มี อยู่แต่สัจจะนี่อันตถาคตเห็นแล้ว ว่า "รูป เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูปเป็นอย่างนี้ (ในกรณีแห่งเวทนา--สัญญา--สังขาร--วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยถ้อยคําอย่างเดียวกัน)" เพราะฉะนนั้ เราจึงกล่าวว่า ตถาคต  หลุดพ้น วิเศษแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความหน่าย ความดับความสละ ความสลัดคืน ความไม ่ยึดมั่น ซึ่งความสําคัญมั่นหมายทั้งปวง ความต้องการทั้งปวง อหังการมมังการ มานานุสัยทั้งปวง ดังนี้.


303
เรื่องที่ทรงพยากรณ์
 
           มาลุงกยบุตร ! ก็อะไรเล่าที่เราพยากรณ์? สิ่งที่เราพยากรณ์ คือนี้ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดทุกข์นี้ความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์. 
           ก็สิ่งนี้ เหตุไรเล่า เราจึงพยากรณ์ เพราะนั่นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้น ของพรหมจรรย์ นั่นเป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายความคลายกําหนัด ความดับสนิท ความรํางับ ความรู้ยิ่งความรู้พร้อม และนิพพาน เหตุนั้น เราจึง พยากรณ์แล้ว. 
           มาลุงกยบุตร ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ เธอจงจําสิ่งที่เราไม่พยากรณ์โดย ความเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ และจําสิ่งที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นสิ่งที่เรา พยากรณ์แล้วเถิด.


303-304
ผู้ฟังพอใจคำพยากรณ์ของพระองค์

         กัสสปะ ! คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎใกล้กรุงราชคฤห์ เพื่อน สพรหมจารี ของท่านคนหนึ่ง เป็นปริพพาชก นามว่า นิโครธะ ได้ถามปัญหาในเรื่อง การเกลียดบาป.  เราถูกถามปัญหาในเรื่องการเกลียดบาปแล้ว ก็พยากรณ์ครั้นเรา พยากรณ์แล้ว เพื่อนของท่าน ผู้นั้น ได้เป็นผู้พอใจเกินความคาดหมาย

         "พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ฟังธรรมของพระองค์แล้ว จักไม่พอใจเกิน ความคาดหมาย. แม้ข้าพระองค์ ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ก็พอใจเกินความ คาดหมาย.

         พระองค์ผู้เจริญ! ไพเราะนักไพเราะนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ อยู่ เปิดของที่ปิดอยู่บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตั้งประทีปไว้ในที่มืด โดยคิดว่า ผู้มีตาจักได้เห็นรูป ดังนี้.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมที่พระองค์แสดงแล้วโดย ปริยายเป็นอันมาก ก็มีอุปมัย ฉันนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม กับทั้ง พระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง. ขอข้าพระองค์พึงได้ บรรพชาอุปสมบท ในสํานักพระผู้มีพระภาค เจ้าเถิด."


304-305
ไม่ได้ทรงพยากรณ์เพื่อให้ชอบใจผู้ฟ๎ง

          อนุรุทธะ ท.! อุบาสิกาในศาสนานี้ ได้ฟังข่าวว่า "อุบาสิกาชื่ออย่างนี้ตายแล้ว. เธอเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ให้ว่า เธอเป็นโอปปาติกสัตว์(พระ อนาคามี) เพราะความสิ้นสัญโญชน์ในเบื้องต่ำ ห้าอย่าง เป็นผู้จักปรินิพพานในภพ ที่เกิดใหม่นั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น" ดังนี้.
          ก็เธอนั้น เมื่อยังมี ชีวิตอยู่ เป็นผู้ที่อุบาสิกาผู้นั้นได้เคยเห็นอยู่ด้วยตาตนเอง ได้ฟัง อยู่เองเนืองๆ ว่า"พี่น้อง หญิงคนชื่อนี้เธอมีศีล มีธรรม มีปัญญา มีความเป็นอยู่ตามปรกติมี ความละวาง อย่างนี้ๆ" ดังนี้.
          อุบาสิกาผู้นั้น เมื่อระลึกถึงสัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ของอุบาสิกาผู้ล่วงลับ ไปแล้ว นั้นอยู่ ก็ย่อมน้อมจิตไปเพื่อความเป็นเหมือนเช่นนั้นบ้าง.
           อนุรุทธ์ ท.! ด้วยอาการอย่างนี้แล ความอยู่เป็นผาสุกย่อม มีแก่อุบาสิกาผู้ระลึกอยู่นั้น. ...ฯลฯ... 
          อนุรุทธ์ ท.! ตถาคตจะได้พยากรณ์สาวกที่ทำกาละล่วงลับไปแล้วว่า "ผู้ นี้เกิด แล้วในภูมิโน้น ผู้โน้นเกิดแล้วในภูมินี้" ดังนี้ เพื่อล่อลวงมหาชนก็หาไม่ เพื่อ เกลี้ยกล่อม มหาชนก็หาไม่ เพื่อผลคือลาภสักการะเสียงสรรเสริญก็หาไม่ เพื่อ หวังว่ามหาชน จะได้รู้จักเรา ด้วยการท าอย่างนี้ก็หาไม่.
          อนุรุทธ์ ท.! กุลบุตรผู้มี สัทธา รู้จักคุณอันยิ่งใหญ่ ปราโมทย์ในคุณอันยิ่งใหญ่ก็มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้น ครั้น ฟ๎งคําพยากรณ์นั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อความเป็นเหมือนอย่างนั้น บ้าง. ข้อนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.
 

305-306
คำพยากรณน์ั้น ๆ ไม่ต้องทรงคิดไว้ก่อน 

         อภยราชกุมารได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กษัตริยบัณฑิตบ้าง พราหมณบัณฑิตบ้าง คหบดีบัณฑิตบ้าง สมณบันฑิตบ้าง ย่อมผูก ป๎ญหาขึ้นแล้วนํามาทูลถามพระองค์ คําตอบของป๎ญหาเหล่านั้น พระองค์ได้คิดไว้ ในพระทัยก่อนว่า ถ้าเขาถามเราอย่างนี้ เราจะตอบอย่างนี้ ดังนี้หรือหรือว่า คําตอบนั้น ๆ ปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระองค์ในขณะที่ถูกถามนั้นเล่า พระเจ้าข้า?" 

          ราชกุมาร ! ในเรื่องนี้ เราขอถามกลับต่อท่านก่อน ท่านเห็นว่าควรตอบ อย่างใด ก็จงตอบอย่างนั้น. ราชกุมาร ! เราถามท่านว่า ท่านมีความเข้าใจรอบรู้ใน ส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถหรือ?

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ มีความเข้าใจรอบรู้อยู่". 

          ราชกุมาร ! แล้วท่านคิดอย่างไร เมื่อมีใครเข้าไปถามท่านว่า ส่วนประกอบ ของรถส่วนนี้เรียกว่าอะไร ดังนี้ ท่านต้องคิดล่วงหน้าไว้ก่อนว่า ถ้าเขาถามอย่างนี้ ก็จะตอบอย่างนี้ หรือ หรือว่าคําตอบย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่ท่านในขณะที่ถูกถาม นั้น?"

            "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นนักเล่นรถ รอบรู้เชี่ยวชาญใน เรื่องส่วนประกอบของรถ ข้าพระองค์เข้าใจแจ่มแจ้งในส่วนประกอบของรถ ทุก ชิ้นทุกอัน คําตอบนั้น ๆ ย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ในขณะนั้นเอง ไม่ต้อง คิดไว้ก่อนเลย".

           ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่กษัตริยบัณฑิตบ้าง พราหมณบัณฑิตบ้าง คหบดีบัณฑิตบ้าง สมณบัณฑิตบ้าง ผูกป๎ญหาขึ้นแล้วมาถามเรา.

          คำตอบย่อม ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราในขณะที่ถูกถามนั้นเอง. เพราะเหตุไรเล่า? ราชกุมาร ! เพราะเหตุว่า ธรรมธาตุนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตแทงตลอดเฉพาะด้วยดีแล้ว เพราะ ความเป็นผู้แทงตลอดเฉพาะด้วยดี ต่อธรรมธาตุนั่นเอง ค าตอบจึงปรากฏแจ่ม แจ้งแก่ตถาคตในขณะนั้น


306-308
ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก

            นี่แน่ เกสิ ! ท่านเป็นคนเชี่ยวชาญการฝึกม้า มีชื่อดัง เราอยากทราบว่าท่าน ฝึกม้าของท่านอย่างไรกัน? 
           "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฝึกม้าชนิดที่พอฝึกได้ ด้วยวิธี ละมุนละไม บ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันบ้าง. (แล้วแต่ว่าม้านั้นเป็นม้ามีนิสัยเช่นไร)."

           เกสิ ! ถ้าม้าของท่านไม่รับการฝึก ทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไม ทั้งด้วยวิธีที่ รุนแรง และ ทั้งด้วยวิธีที่ละมุนละไมรุนแรงรวมกันเล่า ท่านทําอย่างไรกับม้านั้น?  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฆ่าม้านั้นเสีย เพื่อมิให้เสีย ชื่อเสียงแก่สกุลแห่ง อาจารย์ของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า ย่อมเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกด้วยวิธีเช่นไรพระเจ้าข้า?"  เกสิ ! เราย่อมฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีทั้งละมุนละไมและรุนแรง รวมกัน บ้าง เหมือนกัน. 

           เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกที่ละมุนละไม คือเราพร่ําสอนเขาว่ากายสุจริต เป็นอย่างนี้ ๆ ผลของกายสุจริต เป็นอย่างนี้ๆ วจีสุจริต เป็นอย่างนี้ ๆ ผลของวจี สุจริต เป็นอย่างนี้ๆ มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของมโนสุจริต เป็นอย่างนี้ๆ เทวดา เป็นอย่างนี้ๆ มนุษย์ เป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้. 

            เกสิ ! ในสามวิธีนี้ วิธีฝึกที่รุนแรงคือ เราพร่ําบอกเขาว่า กายทุจริตเป็น อย่างนี้ ๆ ผลของกายทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ วจีทุจริต เป็นอย่างนี้ๆผลของวจีทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ มโนทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ นรก เป็น อย่างนี้ๆ กําเนิดเดรัจฉาน เป็นอย่างนี้ๆเปรตวิสัย เป็นอย่างนี้ๆ.

           เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกัน นั้นคือเราพร่ํา บอกพร่ําสอนเขาว่า กายสุจริต ผลของกายสุจริต เป็นอย่างนี้ๆกายทุจริต ผลของ กายทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ; วจีสุจริตผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ วจีทุจริต ผลของ วจีทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ; มโนสุจริต ผลของมโนสุจริต เป็นอย่างนี้ๆ มโนทุจริต ผลของมโนทุจริต เป็นอย่างนี้ๆ; เทวาเป็นอย่าง นี้ๆ มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ นรกเป็นอย่างนี้ๆ กําเนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนี้ๆ เปรต วิสัยเป็นอย่างนี้ๆ. 

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึกนั้นไม่รับการฝึก ทั้งโดยวิธี ละมุนละไม ทั้งโดยวิธีที่รุนแรง และทั้งโดยวิธีที่ละมุนละไมและรุนแรงรวมกันเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงทําอย่างไร?" เกสิ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกโดยวิธีทั้งสามแล้ว เราก็ฆ่าเขา เสีย. 

            "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ปาณาติบาต ย่อมไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาค มิใช่หรือ? แล้วพระผู้มีพระภาคก็ยังตรัสว่า เกสิ ! เราก็ฆ่าเขาเสีย?" เกสิเอย ! ปาณาติบาตย่อมไม่ สมควรแก่เราจริง แต่ว่าเมื่อบุรุษที่ควรฝึกไม่ ยอมรับการฝึกโดยวิธีทั้งสามแล้ว ตถาคต ก็ไม่ถือว่าคนคนนั้น เป็นคนที่ควรว่ากล่าว สั่งสอนอีกต่อไป; ถึงแม้เพื่อผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ร่วมกันซึ่งเป็นผู้รู้ก็จะไม่ถือว่าคน คนนั้น เป็นคนที่ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไปด้วย.

           เกสิ ! นี่แหละคือ วิธีฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริยเจ้า ได้แก่การที่ตถาคต และเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ร่วมกัน พากันถือว่าบุรุษนี้เป็นผู้ที่ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน อีกต่อไป ดังนี้.


308-310
เหตุที่สาวกบางคนไม่ได้บรรลุ

            "ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมกล่าวสอน พร่ําสอนอยู่อย่าง นี้ทุกๆ องค์ ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสําเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่งหรือ หรือว่าบางองค์ ไม่ได้บรรลุ? "พราหมณ์คณกโมคคัลลานะ ทูลถาม.

            พราหมณ์ ! สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่ําสอนอยู่อย่างนี้น้อยพวก ที่ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสําเร็จถึงที่สุดยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ.

           "พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นป๎จจัย ที่พระนิพพานก็ ยังตั้งอยู่ หนทางเป็นที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ พระโคดม ผู้ชักชวน (เพื่อ การดําเนินไป) ก็ยังตั้งอยู่ ทําไมน้อยพวก ที่บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ?" 

            พราหมณ์ !  เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้  ท่านจงตอบตามควร ท่านเป็นผู้ เชี่ยวชาญในหนทางไปสู่เมืองราชคฤห์ มิใช่หรือ มีบุรุษผู้จะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหา และกล่าวกะท่านว่า "ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ บอกทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าเถิด” ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษนั้นว่า "มาซิท่าน ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่ง จักพบบ้านชื่อโน้น และจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวน และปุาน่าสนุก จักเห็นภูมิภาคน่าสนุก สระโบกขรณีน่าสนุก ของเมืองราชคฤห์" ดังนี้.

           บุรุษนั้น  อันท่านพร่ําบอก พร่ําชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลังตรงข้ามไป. ส่วนบุรุษอีกคนหนึ่ง (อันท่านพร่ําบอกพร่ําชี้อย่างเดียวกัน) ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี. 

            พราหมณ์ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นป๎จจัย ที่เมืองราชคฤห์ก็ยังตั้งอยู่ หนทางสําหรับไปเมืองราชคฤห์ ก็ยังตั้งอยู่ ท่านผู้ชี้บอกก็ยังตั้งอยู่ แต่ทําไม บุรุษผู้หนึ่ง กลับหลังผิดทาง ส่วนบุรุษอีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี? 

           "พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจักทําอย่างไรได้เล่า เพราะข้าพเจ้า เป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น". 

           พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ ทางเป็นเครื่องถึง พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ เราผู้ชักชวน ก็ยังตั้งอยู่ แต่สาวก แม้เรากล่าวสอนพร่ําสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวก ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสําเร็จถึงที่สุดยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ. พราหมณ์ ! ในเรื่องนี้ เราจักทําอย่างไรได้เล่า เพราะเราเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น.


310-314
ทรงบัญญัติโลกุตตรธรรมสำหรับคนทั่วไป

           "พระโคดมผู้เจริญ ! พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการ แก่ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ และสูทท์ คือบัญญัติการเที่ยวภิกขาจารเป็นทรัพย์ ของพราหมณ์ คันศรและกล่องลูกศรเป็นทรัพย์ของกษัตริย์ ไถและโครักขกรรม เป็นทรัพย์ของเวสส์ เคียวและไม้คานเป็นทรัพย์ของสูทท์. 

          เมื่อพราหมณ์เหยียด การภิกขาจาร กษัตริย์เหยียดคันศรและกล่องลูกศร  เวสส์เหยียดไถ และโครักข กรรม สูทท์เหยียดเคียวกับไม้คาน ซึ่งแต่ละอย่างๆเป็นทรัพย์ ของตนๆเสีย ย่อมชื่อ ว่าทํากิจนอกหน้าที่ เช่นเดียวกับเด็กเลี้ยงโคเที่ยวถือเอา สิ่งของอัน เจ้าของมิได้ให้ เหมือนกัน. 

            พระโคดมผู้เจริญ ! พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการ อย่างนี้แล; ส่วนพระโคดมเล่า กล่าวอย่างไรในเรื่องนี้?" พราหมณ์ ! ก็โลกทั้งปวงยอมรับรู้การ บัญญัติ ทรัพย์ ๔ ประการนี้ของ พราหมณ์เหล่านั้น ว่าพราหมณ์ทั้งหลายจงบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการ เหล่านี้เถิด ดังนี้หรือ? 

            "หามิได้ พระโคดม ! "
 
           พราหมณ์ ! ถ้าอย่างนั้น มันก็เหมือนกับคนยากจนเข็ญใจไม่มีทรัพย์ติดตัว ทั้งไม่ ปรารถนาจะได้เนื้อ แต่มีคนถือเนื้อส่วนหนึ่งชูขึ้นให้ ว่า บุรุษผู้เจริญ ! เนื้อนี้ น่ากินสําหรับ ท่าน และค่าของเนื้อท่านจะต้องใช้ ดังนี้ฉันใด;

           พราหมณ์ ! ย่อมเป็นฉันเดียวกันแท้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้รับปฏิญญาจาก สมณะและ พราหมณ์ทั้งหลาย แล้วยังบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการเหล่านี้ขึ้น. 

           พราหมณ์เอย ! เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันประเสริฐ ว่าเป็นทรัพย์ของคน. ต่อเมื่อ ระลึกถึงสกุล วงศ์ทางมารดาหรือบิดาของเขาแต่กาลก่อน อัตตภาพของเขา เกิดขึ้นใน วรรณะใด เขาจึงถูกนับเข้าไว้โดยวรรณะนั้น ๆ. 

          ถ้าอัตตภาพของเขา เกิดในสกุลกษัตริย์ก็ถูก นับว่าเป็นกษัตริย์ ถ้าอัตตภาพของเขา เกิดขึ้นในสกุลพราหมณ์ ก็ถูกนับว่าเป็น พราหมณ์ ถ้าอัตตภาพของเขา เกิดขึ้นในสกุลเวสส์ ก็ถูกนับว่าเป็นเวสส์ ถ้าอัตตภาพของเขาเกิดขึ้นในสกุลสูทท์ ก็ถูกนับว่าเป็นสูทท์. 

           พราหมณ์ ! เช่นเดียวกับไฟ ถ้าอาศัยอะไรเกิดขึ้น ก็ถูกนับว่าเป็นไฟที่เกิดขึ้นแต่สิ่ง นั้น ๆ : ถ้าไฟอาศัยไม้ฟืนโพลงขึ้น ถูกนับว่าเป็นไฟที่เกิดจากฟืน ถ้าไฟ อาศยสะเก็ด ไม้โพลงขึ้น ก็ถูกนับว่าเป็นไฟสะเก็ดไม้ ถ้าไฟอาศัยหญ้าแห้งเกิดขึ้น ก็ ถูกนับว่าเป็นไฟ หญ้าแห้ง ถ้าไฟอาศัยขี้วัวเกิดขึ้น ก็ถูกนับว่าเป็นไฟขี้วัว นี้ฉันใด;

           พราหมณ์เอย ! เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันประเสริฐ ว่าเป็นทรัพย์ของคน ต่อเมื่อเขาระลึกถึงสกุลวงศ์ทางมารดาหรือบิดาแต่เก่าก่อนของเขาเขาจึงจะถูก นับว่า เป็นพวกนั้นๆ ตามแต่ที่อัตตภาพของเขาเกิดขึ้นในสกุลใด ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน.

            พราหมณ์ ! ถ้ากุลบุตรออกบวชจากสกุลกษัตริย์ และเขาได้อาศัยธรรมและ วินัย อันตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณิติบาต จากอทินนาทานจาก เมถุนธรรม เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาทจากปิสุณาวาท จากผรุสวาท จาก สัมผัปปลาปวาท เป็นผู้ไม่มี อภิชฌา ไม่มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็ย่อม ประสบความสําเร็จ เป็นความปลื้มใจ จากผลแห่งกุศลธรรม อันเป็นเครื่องนําสัตว์ ออกจากทุกข์ได้.  

           พราหมณ์ ! แม้กุลบุตรออกบวชจากสกุลพราหมณ์...สกุลเวสส์...สกุลสูทท์ (ก็ย่อมเป็นอย่างเดียวกัน).  พราหมณ์ ! ท่านเข้าใจว่าอย่างไร : พราหมณ์พวกเดียวเท่านั้น หรือที่สมควร เจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ในธรรมลัทธินั้น ๆ? กษัตริย์ ไม่ควร หรือ? เวสส์ไม่ควรหรือ? สูทท์ไม่ควรหรือ? 

             "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนั้นหามิได้.  กษัตริย์ก็สมควร เวสส์ก็สมควร สูทท์ก็ สมควร คนทั้งปวงสมควรแผ่เมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ใน ธรรมลัทธินั้น ๆ ทั่วกัน". 

           อย่างเดียวกันแหละพราหมณ์ ! กุลบุตรออกบวชจากสกุลกษัตริย์ก็ตาม จากสกุล พราหมณ์ก็ตามจากสกุลเวสส์ก็ตาม จากสกุลสูทท์ก็ตาม และได้อาศัย ธรรมและวินัย อัน ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ (เป็นต้น กระทั่งมีสัมมาทิฏฐิเป็นที่สุด) ได้แล้ว ย่อมประสบความสําเร็จเป็นความปลื้มใจจากผล แห่งกุศลธรรม อันเป็นเครื่องนําสัตว ์ออกจากทุกข์ได้ ทั้งนั้น. 

           พราหมณ์ ! ท่านเข้าใจว่าอย่างไร :

          พราหมณ์พวกเดียวเท่านั้นหรือที่สมควร จะถือเกลียวผ้าสําหรับการอาบ ไปสู่แม่น้ํา และขัดสีตัวให้สะอาด? กษัตริย์ไม่ควร หรือ? เวสส์ไม่ควรหรือ? สูทท์ไม่ควรหรือ? 

           "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นหามิได้. 

           กษัตริย์ก็สมควร เวสส์ก็สมควร สูทท์ก็สมควร   คนทั้งปวงสมควรถือเอาเกลียวผ้า สําหรับการอาบไปสู่แม่น้ําและ ขัดสีตัวให้สะอาดด้วยกันทั้งนั้น".

           อย่างเดียวกันแหละพราหมณ์ !  กุลบุตรออกบวชจากสกุลกษัตริย์ก็ตามจาก สกุล พราหมณ์ก็ตามจากสกุลเวสส์ก็ตาม จากสกุลสูทท์ก็ตาม และได้อาศัยธรรมและวินัยอัน ตถาคต ประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ (เป็นต้น กระทั่ง มีสัมมาทิฏฐิ เป็น ที่สุด) ได้แล้ว ย่อมประสบความสําเร็จเป็นความปลื้มใจจากผล แห่งกุศลธรรม อันเป็นเครื่อง นํา สัตว์ออกจากทุกข์ได้ ทั้งนั้น. 

            พราหมณ์ ! ท่านเข้าใจว่าอย่างไรในเรื่องนี้  คือขัตติยราชาผู้ได้มุรธาภิเษก แล้ว รับสั่งให้ประชุมบุรุษจํานวนหลายร้อย มีชาติสกุลต่างกัน โดยทรงบังคับว่า "มาเถิดท่าน ทั้งหลาย ! ท่านผู้ใดเกิดจากสกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์และสกุลที่ เกี่ยวเนื่องกับราชสกุล ท่านผู้นั้นจงถือเอาไม้สากะ หรือไม้สาละ หรือไม้สลฬะ หรือไม้ปทุมกะ หรือไม้จันทนะ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) มาทําไม้สีไฟอันบนแล้วจงสีให้เกิด ไฟทําเตโชธาตุให้ปรากฏ. 

           ส่วนท่านผู้ใดเกิดแล้วจาก สกุลจัณฑาล สกุลพวกพราน สกุลจักสาน สกุลทํารถ สกุลเทหยากเยื่อ ท่านเหล่านั้นจงถือเอาไม้รางอาหารสุนัข ไม้รางอาหารสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือท่อนไม้ละหุ่ง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) มาทําไม้สีไฟ อันบน แล้วจงสีให้เกิดไฟ ทําเตโชธาตุให้ปรากฏเถิด"ดังนี้. 

            พราหมณ์ ! ท่านเข้าใจ ว่าอย่างไร :

            ไฟที่เกิดขึ้นจากไม้สีไฟที่ทําด้วยไม้สากะ หรือไม้สาละหรือไม้สลฬะ ไม้ ปทุมกะ หรือไม้จันทนะของพวกที่เกิดจากสกุลกษัตริย์ พราหมณ์ หรือสกุลที่ เกี่ยวเนื่องกับราชสกุล นั้น เป็นไฟที่มีเปลว มีสี มีรัศมี และใช้ทํากิจต่าง ๆ ที่ ต้องการทําเนื่องด้วยไฟได้; ส่วนไฟ ที่เกิดจากไม้รางอาหารสุนัข ไม้รางอาหารสุกร ไม้รางย้อมผ้า ไม้ละหุ่ง ของพวกที่เกิดจาก สกุลจัณฑาล สกุลพวกพราน สกุลจักสาน สกุลทํารถ สกุลเทหยากเยื่อ นั้นเป็นไฟที่ไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีรัศมี และไม่ อาจใช้ทํากิจต่างๆ ที่ต้องทําด้วยไฟได้ดังนี้ เช่นนั้นหรือ?

             "พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นหามิได้." 

             พราหมณ์ อย่างเดียวกันนั้นแหละ ! กุลบุตรออกบวชจากสกุลกษัตริย์ ก็ตาม สกุลพราหมณ์ก็ตาม สกุลเวสส์ก็ตาม สกุลสูทท์ก็ตาม และได้อาศัยธรรมและ วินัยอัน ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ (เป็นต้น กระทั่งมี สัมมาทิฏฐิเป็นที่สุด) ได้แล้ว ย่อมประสบความสําเร็จเป็นความปลื้มใจจากผลแห่ง กุศลธรรมอันเป็นเครื่องนําสัตว์ ออกจากทุกข์ได้ ทั้งนั้น.
 

314-315
ทรงให้ทุกคนมีพระองค์ อยู่ที่ธรรมที่กำลังมีอยู่ในใจของเขา

 "อย่าเลย วักกลิ ! ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นกายเน่านี้.  วักกลิ ! ผู้ใดเห็น ธรรม ผู้นั้นเห็นเรา; ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม.  วักกลิ ! เพราะว่าเมื่อเห็น ธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา; เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม." -(ขนฺธ. สํ.๑๗/๑๔๖/๒๑๖).  "...ผู้ใด  เห็นปฏิจจสมุปบาท  ผู้นั้น  ชื่อว่าเห็นธรรมผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้น ชื่อว่า เห็นปฏิจจสมุปบาท..." -(มู.ม. ๑๒/๓๕๙/๓๔๖). 

           "ภิกษุ ท ! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆแต่ถ้า เธอนั้น มากไปด้วยอภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาท มีความดําริแห่งใจ เป็นไปในทางประทุษร้าย มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไป แกว่งมา ไม่สํารวมอินทรีย์ แล้วไซร้; ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกลจากเราแม้เราก็อยู่ไกล จากภิกษุนั้นโดยแท้.  ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?

             ภิกษุ ท.! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุ นั้นไม่เห็นธรรม: เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่าไม่เห็นเรา.

               ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุนั้น  จะอยู่ห่าง (จากเรา)  ตั้งร้อยโยชน์ แต่ถ้าเธอนั้น ไม่มาก ไปด้วยอภิชฌา ไม่มีกามราคะกล้า ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดําริแห่งใจเป็นไป ในทาง ประทุษร้าย มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ถึงความเป็น เอกัคคตา สํารวมอินทรีย์ แล้วไซร้;  ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ใกล้กับเรา แม้เราก็อยู่ใกล้กับ ภิกษุนั้นโดยแท้. 

             ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท.!

             ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้น เห็นธรรม : เมื่อเห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นเรา แล".

(ข้อนี้หมายความว่า ผู้ที่มีธรรมอยู่ใน ใจ รู้สึกต่อธรรมนั้นๆ อยู่ในใจ ย่อมเป็นการเห็นธรรม อยู่ในใจ พระองค์ทรงประสงค์ให้เห็นธรรม เช่นนี้ ที่กล่าวว่าเป็นการเห็นพระองค์) -อิติวุ.ขุ.๒๕/๓๐๐/๒๗๒.
 

315-318
สัตว์โลกจะรู้จักพระรตันตรัยถึงที่สุด
ก็ต่อเมื่อรู้ผลแห่งความสิ้นอาสวะของตนเองแล้วเท่านั้น


        พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนนักแสวงหาช้างปุา เข้าไปในปุาที่มีช้าง เห็น รอยเท้าช้างรอยใหญ่ทั้งโดยส่วนยาวและส่วนกว้าง เมื่อเป็นนักแสวงหาช้างที่ ฉลาดก็จะยังไม่ลงสันนิษฐานว่า "พ่อคุณเอ๋ย ! ช้างมหานาคหนอ" ดังนี้.

            ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? พราหมณ์ !
            ข้อนั้นเพราะเหตุว่า พวกช้างพังชื่อวามนิกาซึ่งมี รอยเท้าใหญ่ ก็มีอยู่ในปุาช้าง มันจะเป็นรอยเท้าแห่งช้างพังพวกนั้นก็ได้. 

            เขาเดินตามรอยนั้นไป ก็เห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งโดยส่วนยาวและ ส่วนกว้างเข้าอีก และทั้งยังเห็นรอยที่ช้างสีตัว อยู่ในที่สูง; เมื่อเป็นนักแสวงหาช้าง ที่ฉลาด ก็จะยังไม่ลงสันนิษฐานอีก ว่า "พ่อคุณเอ๋ย ! ช้างมหานาคหนอ" ดังนี้.  

            ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? พราหมณ์!
            ข้อนั้นเพราะเหตุว่า พวกช้างพังชื่ออุจจากฬาริกาซึ่งมีรอยเท้าใหญ่ ก็มีอยู่ในป่าช้าง มันจะเป็นรอยเท้าแห่งช้างพังพวกนั้น ก็ได้.

            เขาเดินตามรอยนั้นไป ก็เห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งโดยส่วนยาวและ ส่วนกว้าง และเห็นรอยที่ช้างสีตัวอยู่ในที่สูงเข้าอีก และทั้งยังเห็นรอยที่งาของมัน แซะเปลือกไม้อยู่ในที่สูงด้วย เมื่อเป็นนักแสวงหาช้างที่ฉลาด ก็จะยังไม่ลง สันนิษฐานอีกว่า "พ่อคุณเอ๋ย ! ช้างมหานาคหนอ" ดังนี้.

              ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? พราหมณ์ !
              ข้อนั้นเพราะเหตุว่า พวกช้างพังชื่ออุจจากเณรุกาซึ่งมีรอยเท้าใหญ่ ก็มี อยู่ในป่าช้าง มันจะเป็นรอยเท้าแห่งช้างพังพวกนั้นก็ได้. 

           เขาเดินตามรอยนั้นไป ก็เห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งโดยส่วนยาวและ ส่วนกว้าง และเห็นรอยที่ช้างสีตัวอยู่ในที่สูงเข้าอีก และเห็นรอยที่งาของมันแซะ เปลือกไม้อยู่ในที่สูง และทั้งยังเห็นรอยหักของกิ่งไม้ อยู่ในที่สูง และเขาได้เห็นตัว ช้างนั้นอยู่ที่โคนต้นไม่ หรืออยู่กลางแจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ คุกอยู่หรือนอนอยู่ เขาจึง ถึงความแน่ใจว่า "นี่เองช้างมหานาคตัวนั้น" ดังนี้.

               ข้อนี้ฉันใด;  พราหมณ์ !
             ข้อนี้ก็ฉันนั้น; ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ ชอบได้ด้วยตนเอง...ฯลฯ... จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์...ฯลฯ... แสดงธรรม...ประกาศ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ 

             ลําดับนั้น  คหบดี  หรือคหบดีบุตรฟ๎งธรรมนั้นแล้ว...ฯลฯ...  มีศรัทธาออก บวชจากเรือน. .ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุ ท. ...มาตามพร้อมแล้วด้วย สีลขันธ์อันเป็นอริย.ด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะ...ด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็น อริยะ เสพคบเสนาสนะอันสงัด... กลับจากบิณฑบาตในเวลาป๎จฉาภัตแล้วนั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติมั่น ...ชําระจิตจากนิวรณ์.

           ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจทํา ป๎ญญาให้ถอยกําลังได้แล้ว ก็สงัดแล้วจากกาม จากอกุศลธรรม ท. เข้าถึงปฐมฌาณ อันมีวิตกและวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่

         พราหมณ์ ! นี้แหละ คือสิ่งที่เรียกว่า "รอยแห่งตถาคต" บ้าง ว่า "รอยสีตัวแห่ง ตถาคต" บ้างว่า "รอยแซะงาแห่งตถาคต" บ้าง; แต่ภิกษุผู้อริยสาวกนั้น ก็จะยังไม่ ถึงความแน่ใจว่า "พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะพระธรรม เป็นสวากขาตะ สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิป๎นนะ" ดังนี้ก่อน. 

          พราหมณ์ ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ ...เข้าถึง ทุติยฌาน แล้วแลอยู่...ฯลฯ... (เข้าถึงตติยฌาณ แล้วแลอยู่...ฯลฯ... ...เข้าถึง จตุตถฌาณ แล้วแลอยู่:พราหมณ์! นี้แหละ (แต่ละอย่างๆ) คือสิ่งที่เรียกว่า "รอยแห่งตถาคต" บ้าง ว่า"รอยสีตัวแห่ง ตถาคต" บ้าง ว่า "รอยแซะงาแห่งตถาคต" บ้าง แต่ภิกษุผู้อริยสาวกนั้น ก็จะยังไม่ถึงความแน่ใจว่า "พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรม เป็นส๎วากขตะ สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิป๎นนะ" ดังนี้ก่อน.
            (รายละเอียดของ ทุติย-ตติย-จตุตถฌาน ตลอดถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณ ดูได้ที่ หน้า ๑๑๕-๑๑๖ แห่งหนังสือเล่มนี้).


           ภิกษุนั้น  เมื่อจิตตั้งมั่น  บริสุทธิ์  ขาวผ่อง .....น้อมจิตไปเพื่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ...ฯลฯ.... ย่อมระลึกถึงขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อนมี อย่างต่างๆ ได้ ...ฯลฯ... .... น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ ....ฯลฯ... ...น้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ...รู้ชัดอยู่ตามที่เป็นจริงว่า "นี้ คืออาสวะ นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ" ดังนี้ :

           พราหมณ์ ! แม้นี้ (แต่ละอย่างๆ) ก็คือสิ่งที่เรียกว่า "รอยแห่งตถาคต" บ้าง ว่า "รอยสีตัวแห่งตถาคต" บ้าง ว่า "รอยแซะงาแห่งตถาคต" บ้าง แต่แม้กระนั้น ภิกษุผู้อริยสาวกนั้นก็ ยังไม่ถึงแล้วซึ่งความแน่ใจว่า "พระผู้มีพระภาคเป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรม เป็นส๎ วากขาตะ สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาคเป็นสุปฏิปันนะ" ดังนี้ก่อน อยู่นั่นเอง.

            ก็แต่ว่า บัดนี้ภิกษุผู้อริยสาวกนั้น  กำลังจะถึงอยู่ซึ่งความแน่ใจว่า "พระผู้มีพระภาค เป็นพระสัมมาสัมพุทธะพระธรรม เป็นสวากขาตะ สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาคเป็นสุปฏิปันนะ" ดังนี้. 

         เมื่อภิกษุผู้อริยสาวกนั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ (ด้วยอาสวักขยญาณ จนกระทั่ง) จิตหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ;   เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า "หลุดพ้นแล้ว" ดังนี้; ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้กระทําสําเร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องกระทําเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.
             พราหมณ์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุผู้อริย สาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความแน่ใจ ว่า "พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรม เป็นสวากขาตะ สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาคเป็นสุปฏิปันนะ" ดังนี้.  พราหมณ์ !  เรื่องแห่งการอุปมาด้วยรอยเท้าช้าง  ย่อมบริบูรณ์โดย พิสดาร อย่างนี้แล.
         หมายเหตุ :  พระบาลีข้างบนนี้ ควรจะเป็นที่สังเกตอย่างยิ่ง ว่าแม้แต่คุณของ พระรัตนตรัยที่บุคคลจะรู้แจ้งแทงตลอดถึงที่สุดนั้น จะมีก็ต่อเมื่อตนเองเป็นพระอรหันต์ แล้วเท่านั้น; ผิดจากที่เราเคยเข้าใจกันอยู่ทั่วๆ ไป.  ข้อนี้เพราะเหตุว่า ถ้ายังไม่ซึมซาบในคุณ ของความสิ้นอาสวะ หรือของนิพพาน ก็จะยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งคุณของผู้ตรัสรู้นิพพาน แล้วนํามาสอน อย่างถึงที่สุด เลยเป็นเหตุให้ไม่รู้จักพระธรรมและพระสงฆ์อย่างถึงที่สุด เช่นเดียวกัน. -ผู้รวบรวม.  

(ข. เกี่ยวกับสาวกของพระองค์ ๓๐ เรื่อง)


319
ทรงมีหมู่คณะที่เลิศกว่าหมู่คณะใด

           ภิกษุ ท.! หมู่ ท. ก็ดี คณะ ท. ก็ดี มีประมาณเท่าใด หมู่แห่งสาวกของ ตถาคต อันใครๆย่อมกล่าวว่า เป็นหมู่ที่เลิศ กว่าหมู่คณะ ท.เหล่านั้น; ได้แก่หมู่ที่ จัดเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้๘ บุรุษ ซึ่งเรียกกันว่าสงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาค เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานํามาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขา จัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทิกษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทําอัญชลี เป็นเนื้อ นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.       
           ภิกษุ ท.! ชนเหล่าใด เลื่อมใสแล้ว ในหมู่แห่งสงฆ์; ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ เลื่อมใสในหมู่อันเลิศ วิบากก็เป็นวิบากอันเลิศ แล.
 

319-321
ทรงมีคณะสงฆ์ซึ่งมีคุณธรรมสูงสุด


            ภิกษุ ท.! ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวไหลเลย. ภิกษุ ท.! ภิกษุบริษัทนี้ไม่เหลว แหลกเลย.  ภิกษุบริษัทนี้ ตั้งอยู่แล้วในธรรมที่เป็นสาระล้วน.

           ภิกษุ ท.!  บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่น่าบูชา น่าต้อนรับ น่ารับทัก-  ษิณาทาน น่าไหว้ เป็นเนื้อนาบุญชั้นดีเยี่ยมของโลก หมู่ภิกษุนี้ก็มีรูปลักษณะ เช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น. 

           ภิกษุ ท.!  บริษัทเช่นใด  มีรูปลักษณะที่ทานอันบุคคลให้น้อย แต่กลับ   มีผลมาก ทานที่ให้มาก ก็มีผลมากทวียิ่งขึ้น หมู่ภิกษุนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้นภิกษุ บริษัทนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น. 

           ภิกษุ ท.!  บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะยากที่ชาวโลกจะได้เห็น; หมู่ภิกษุนี้ ก็ มีรูปลักษณะเช่นนั้นภิกษุบริษัทนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น. 

          ภิกษุ ท.! บริษัทเช่นใด มีรูปลักษณะที่ควรจะไปดูไปเห็น แม้จะต้องเดิน สิ้นหนทางนับด้วยโยชน์ ๆ ถึงกับต้องเอาห่อสะเบียงไปด้วยก็ตาม; หมู่ภิกษุนี้ก็มี รูปลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ ก็มีรูปลักษณะเช่นนั้น. 

          ภิกษุ ท.!  ในหมู่ภิกษุนี้  มีพวกภิกษุซึ่งเป็น  พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทําได้ทําสําเร็จแล้ว มีภาระปลงลงได้แล้วมี ประโยชน์ของตนเองบรรลุแล้วโดยลําดับ มีสัญโญชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้. 

          ภิกษุ ท.! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์เบื้องต่ําห้า เป็น โอปปาติกะแล้ว จักปรินิพพานในที่นั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้. 

         ภิกษุ ท.! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์สาม และมีความเบาบาง ไปของราคะ โทสะ โมหะ เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้นแล้วจัก กระทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

         ภิกษุ ท.! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์สาม เป็น โสดาบันมีอันไม่ ตกต่ําเป็นธรรมดาผู้เที่ยงแท้ ผู้แน่ที่จะตรัสรู้ข้างหน้า; พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มี อยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

         ภิกษุ ท.! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่ง ประกอบความเพียรเป็นเครื่องต้องทำเนือง ๆ ในการอบรมสติป๎ฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้าพละ ห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปดเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอสุภ อนิจจสัญญา และอานาปานสติ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.
 
         (ในบาลีแห่งอื่นมีคํากล่าวสรรเสริญคณะสงฆ์ทํานองเดียวกันนี้ ผิดกันแต่ในตอนท้าย แทนที่จะกล่าวว่ามีภิกษุผู้อรหันต์ ผู้อนาคามี สกทาคามี โสดาบัน และภิกษุผู้กําลังปฏิบัติ อยู่เพื่อ คุณธรรมเบื้องสูง มีอยู่ในหมู่สงฆ์นั้น เปลี่ยนไปตรัสว่า มีภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ (เพราะมีรูป ฌานทั้งสี่) ภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม (เพราะมีพรหมวิหารสี่) ภิกษุผู้ถึงความ เป็นอาเนญชา (เพราะมีอรูปฌานทั้งสี่) และภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ (เพราะรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจสี่) จตุกฺก. อํ.๒๑/๒๔๘/๑๙๐.)

 

321-323

ในแต่ละบริษัทมีอริยสาวก เต็มทุกขั้นตอนตามที่ควรจะมี
 
             "สําหรับพระโคดมผู้เจริญ  จงยกไว้ แต่มี สาวกที่เป็นภิกษุ ของ พระโคดมผู้เจริญสักองค์หนึ่งไหม ที่เป็นผู้กระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง แล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้?"
           วัจฉะ ! มีอยู่มิใช่ร้อยเดียว มิใช่สองร้อย มิใช่สาม ร้อย มิใช่ สี่ร้อย มิใช่ห้าร้อยแต่ว่ามีมากยิ่งกว่าทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้น.

            "สําหรับพระโคดมผู้เจริญ จงยกไว้ สําหรับภิกษุ ท.เหล่านั้นก็ยกไว้ แต่มี สาวิกาที่เป็นภิกษุณี ของพระโคดมผู้เจริญแม้สักองค์หนึ่งไหม ที่เป็นผู้กระท าให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ด้วย ป๎ญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้?"
          วัจฉะ ! มีอยู่มิใช่ร้อยเดียว มิใช่ สองร้อยมิใช่สามร้อย มิใช่สี่ร้อย มิใช่ห้าร้อย แต่ว่ามีมากยิ่งกว่าทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้น. 
           "สําหรับพระโคดมผู้เจริญ จงยกไว; สําหรับภิกษุและภิกษุณี ท. เหล่านั้นก็ยก ไว้ แต่มีสาวกที่เป็นอุบาสก ของพระโคดมผู้เจริญแม้สักคนหนึ่งไหม ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้ นุ่งขาว ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีธรรมดาไม่ เวียนกลับจากโลกนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ห้า?"
           วัจฉะ ! มีอยู่มิใช่ร้อยเดียว มิใช่สองร้อย มิใช่สามร้อย มิใช่สี่ร้อย มิใช่ห้าร้อย แต่ว่ามีมากยิ่ง กว่าทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้น. 

           "สําหรับพระโคดมผู้เจริญ จงยกไว้; สําหรับภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก ท. เหล่านั้น ก็ยกไว้ แต่มี สาวกที่เป็นอุบาสกของพระโคดมผู้เจริญแม้สักคนหนึ่งไหม ที่ เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาว บริโภคตามประพฤติตามคำสอน ประพฤติตรงตามโอวาท เป็นผู้ ข้ามวิจิกิจฉาเสียได้ ปราศจากความสงสัย ถึงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องกระทําความกล้า ไม่ต้องเชื่อตามคนอื่นในคําสอนแห่งศาสดาตน อยู่?"
           วัจฉะ ! มีอยู่มิใช่ร้อยเดียว  มิใช่ สองร้อยมิใช่สามร้อย มิใช่สี่ร้อย มิใช่ห้าร้อย แต่ว่ามีมากยิ่งกว่าทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้น.

         "สําหรับพระโคดมผู้เจริญ จงยกไว้ สําหรับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ และอุบาสกผู้บริโภคกาม ท. เหล่านั้น ก็ยกไว้ แต่มี สาวิกาที่เป็นอุบาสิกา ของพระโคดมผู้เจริญแม้สักคนหนึ่งไหม ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาว ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีธรรมดาไม่เวียนกลับจากโลกนั้น เพราะความ สิ้นไปรอบแห่งโอรัมาคิยสัญโญชน์ห้า?"
          วัจฉะ ! มีอยู่มิใช่ร้อยเดียว มิใช่สองร้อย มิใช่ สามร้อย มิใช่สี่ร้อย มิใช่ห้าร้อย แต่ว่ามีมากยิ่งกว่าทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้น. 

"สําหรับพระโคดมผู้เจริญ  จงยกไว้; สําหรับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ อุบาสก ผู้บริโภคกาม และอุบาสิกาผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ท. เหล่านั้น ก็ยกไว้;แต่มี สาวิกาที่เป็นอุบาสิกา ของพระโคดมผู้เจริญแม้สักคนหนึ่ง ไหม ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาว บริโภคกาม ประพฤติตามค าสอน ประพฤติตรงตาม โอวาท เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาเสียได้ ปราศจากความสงสัย ถึงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่อง กระทําความกล้าไม่ต้องเชื่อตามคนอื่น ในคําสอนแห่งศาสดาตน อยู่?"

          วัจฉะ ! มีอยู่มิใช่ร้อยเดียว มิใช่สองร้อย มิใช่สามร้อย มิใช่สี่ร้อย มิใช่ห้าร้อย แต่ว่ามีมาก ยิ่งกว่าทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้น.


323-324
ทรงบริหารสงฆ์ จำนวนร้อย

           ภิกษุ ท.! เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ (ยืดยาวออกถึง) แปดหมื่นปี พระผู้มี- พระภาคนามว่า เมตเตยยะ จักบังเกิดขึ้นในโลก เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดําเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี ใครยิ่งไปกว่า เป็นผู้เบิกบาน จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ เช่นเดียวกับเราในบัดนี้. 
            พระผู้มีพระภาคเจ้าเมยเตยยะนั้น  จักทําให้แจ้งซึ่งโลกนี้  พร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยพระป๎ญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ด้วย เช่นเดียวกับเราในบัดนี้. 
            พระผู้มีพระภาคเจ้าเมยเตยยะนั้น จักแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย จักประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เช่นเดียวกับเราในบัดนี้.
            พระผู้มีพระภาคเจ้าเมตเตยยะนั้น จักบริหารภิกษุสงฆ์จํานวน พันเป็น อเนก (หลายพัน) เช่นเดียวกับ เราในบัดนี้ บริหารภิกษุสงฆ์จ านวนร้อยเป็นเอนก (คือหลายร้อย) อยู่.
 

324-325
วิธีที่ทรงปฏิบัติต่อภิกษุเกี่ยวกับสิกขา

           (ภิกษุกัสสปโคตร  นึกตําหนิพระองค์ว่า จู้จี้ พิถีพิถัน ขัดเกลามากเกินไป ภายหลัง ระลึกได้ว่า เป็นการกระทําที่ผิดที่ชั่ว จึงไปเฝูาพระองค์ถึงที่ประทับ ทูลขออภัยโทษ ทรงประทาน อภัยโทษแล้วตรัสข้อความดังต่อไปนี้:-) 
          กัสสปะ !  ถ้าภิกษุแม้เป็นเถระ ไม่ใคร่ในสิกขา  ก็จะไม่กล่าวสรรเสริญ ภิกษุผู้สมาทานในสิกขาด้วย ไม่ชักชวนภิกษุผู้ไม่ใคร่ในสิกขา เพื่อความเป็นผู้ใคร่ใน สิกขาด้วย ไม่กล่าวสรรเสริญคุณของภิกษุผู้ใคร่ในสิกขา ตามที่เป็นจริง โดยกาล อันควรด้วย. 
          กัสสปะ ! เราไม่กล่าวสรรเสริญ ภิกษุเถระผู้เป็นเช่นนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? เพราะภิกษุเหล่าอื่นจะคบหาภิกษุเถระนั้น ด้วยเข้าใจว่า "พระ ศาสดาทรงกล่าวสรรเสริญภิกษุนี้" ดังนี้แล้ว จะถือเอาภิกษุเถระนั้นเป็นตัวอย่าง; ซึ่งข้อนั้นจะเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลตลอดกาลนาน แก่ภิกษุผู้ถือเอาเป็น ตัวอย่าง นั้น. 
           กัสสปะ ! เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่กล่าวสรรเสริญภิกษุผู้เป็นเถระ ชนิดนั้น. 
(ต่อไปได้ตรัสข้อความอย่างเดียวกัน ในกรณีของ  ภิกษุปูนกลาง และภิกษุใหม่ ผู้ไม่ ใคร่ในสิกขา แล้วได้ตรัสข้อความที่เป็นไปในทางตรงกันข้าม ดังต่อไปนี้:-)
           กัสสปะ ! ถ้าแม้ ภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ก็จะกล่าวสรรเสริญ ภิกษุผู้สมาทานในสิกขาด้วย ชักชวนภิกษุผู้ไม่ใคร่ในสิกขา เพื่อความเป็นผู้ใคร่    ในสิกขาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณของภิกษุผู้ใคร่ในสิกขาตามที่เป็นจริง โดยกาล อันควรด้วย. 
         กัสสปะ ! เราย่อมกล่าวสรรเสริญภิกษุเถระผู้เป็นเช่นนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? เพราะภิกษุเหล่าอื่น จะคบหาภิกษุเถระนั้น ด้วยเข้าใจว่า"พระศาสดาทรงกล่าวสรรเสริญภิกษุนี้" ดังนี้แล้ว จะถือเอาภิกษุเถระนั้นเป็น ตัวอย่าง ซึ่งข้อนั้นจะเป็นไปเพื่อความสุข ความเกื้อกูลตลอดกาลนาน แก่ภิกษุ    ผู้ถือเอาเป็นตัวอย่าง นั้น.
         กัสสปะ! เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวสรรเสริญภิกษุผู้เป็นเถระชนิดนั้น.  (ต่อไปได้ตรัสข้อความอย่างเดียวกัน ในกรณีของ ภิกษุปูนกลาง และภิกษุใหม่ ผู้ใคร่ ในสิกขา.


325
ทรงรับรองภิกษุแต่บางรูป ว่าเป็นคนของพระองค์

          ภิกษุ ท.!  ภิกษุเหล่าใดเป็นคนหลอกลวง กระด้าง พูดพล่าม ยกตัว จองหอง ใจฟุูงเฟูอ ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่เป็นคนของเรา. 
        ภิกษุ ท.! ภิกษุเหล่านั้นได้ ออกไปนอกธรรมวินัยนี้เสียแล้ว ย่อมไม่ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรม วินัยนี้ได้เลย.
          ภิกษุ ท.! ภิกษุเหล่าใด ไม่เป็นคนหลอกลวง ไม่พูดพล่าม มีป๎ญญาเป็นเครื่องทรงตัว
ไม่กระด้าง ใจคอมั่นคงดี.  ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นคนของเรา.  
        ภิกษุ ท.! ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ออกไปนอกธรรมวินัยนี้ และย่อมเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้.


326
ทรงมีศิษย์ทั้งที่ดื้อ และไม่ดื้อ

         อุทายิ !  ในธรรมวินัยนี้  เหล่าโมฆบุรุษบางพวก เมื่อเรากล่าวอยู่ว่า "พวกท่านจงละ ความชั่วอันนี้เสีย" ก็กล่าวอย่างนี้ว่า "ทําไมกะความชั่วชนิดนี้  ซึ่งเป็นของเล็กน้อยต่ําต้อย พระสมณะนี้ ขูดเกลาเกินไปแล้วละ" ดังนี้.โมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่ละความชั่วนั้นด้วย และทั้งตั้งไว้ซึ่งความเคียดแค้นในเราด้วย   ในภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ต่อสิกขาด้วย.

        อุทายิ ! ความชั่วอันนั้น ของโมฆบุรุษ เหล่านั้น ย่อมเป็นเครื่องผูกรัดที่มีกําลัง มั่นคง เหนียวแน่น ไม่รู้จักผุเปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้แก่นแข็ง ฉะนั้น.

        อุทายิ ! ส่วนว่ากุลบุตรบางพวก   ในธรรมวินัยนี้  เมื่อเรากล่าวอยู่ว่า "พวกท่านจงละ ความชั่วอันนี้เสีย" ก็กล่าวอย่างนี้ว่า "ทําไมจะต้องให้ว่ากล่าวด้วยความ ชั่วชนิดนี้ ซึ่งเป็นของ เล็กน้อยต่ําต้อยซึ่งพระผู้มีพระภาคของพวกเรากล่าวการละ กล่าวการสลัดคืน ไว้แล้ว ด้วยเล่า" ดังนี้.

         กุลบุตรเหล่านั้นก็ละความชั่วนั้นเสีย และทั้ง ไม่ตั้งไว้ซึ่งความเคียดแค้นในเราด้วย ในภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ต่อสิกขาด้วย.กุลบุตร เหล่านั้น ละความชั่วนั้นแล้ว เป็นผู้ ขวนขวาย น้อย มีขนตกราบ (คือไม่ต้องขนพองเพราะ ความกลัว) มีชีวิตอยู่ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีจิต เหมือนเนื้อ (คือถูกตีครั้งหนึ่งแล้วย่อมไม่เปิด โอกาสให้ถูกตีอีก) อยู่.

         อุทายิ ! ความชั่วอันนั้นของกุลบุตรเหล่านั้น ย่อมเป็นเครื่องผูก รัดที่ไม่มีกําลังหย่อน กําลัง ผุเปื่อยไม่มีแก่นแข็ง ฉะนั้น.


326-327
ทรงเรียกร้องให้กระทำกะพระองค์อย่างมิตร

          อานนท์ ! พวกเธอจงเรียกร้องกะเรา  ในฐานะแห่งความเป็นมิตรอย่า เรียกร้องในฐานะแห่งความเป็นศัตรูเลย.ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุข แก่พวกเธอ ท. ตลอดกาลนาน. 

           อานนท์ !  สาวก ท.  เรียกร้องกะศาสดาในฐานะแห่งความเป็นศัตรู   ไม่เรียกร้องในฐานะแห่งความเป็นมิตร เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ ! ในกรณีนี้ ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่ สาวก ท. ว่า "สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ ท. และสิ่งนี้เป็นไปเพื่อ ความสุขแก่พวกเธอ ท." ดังนี้เป็นต้น สาวกแห่งศาสดานั้น ไม่ฟ๎งด้วยดีไม่เงี่ยหูฟ๎ง ไม่ตั้งจิตกําหนดเพื่อรู้ทั่วถึง แต่แกล้งทําให้ผิดจากคําสอนของศาสดาไปเสีย. 

           อานนท์ ! อย่างนี้แล สาวกชื่อว่าผู้เรียกร้องกะศาสดาในฐานะแห่งความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้องในฐานะแห่งความเป็นมิตร. 

           อานนท์ !  สาวก ท.  เรียกร้องกะศาสดาในฐานะแห่งความเป็นมิตร   ไม่เรียกร้อง ในฐานะแห่งความเป็นศัตรู เป็นอย่างไรเล่า?

           อานนท์ ! ในกรณีนี้ ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่ สาวก ท. ว่า "สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ ท. และสิ่งนี้ เป็นไป เพื่อ ความสุขแก่พวกเธอ ท." ดังนี้เป็นต้น; สาวกแห่งศาสดานั้น ย่อมฟ๎งด้วยดีย่อม เงี่ยหูฟ๎ง ย่อมตั้งจิตกําหนดเพื่อรู้ทั่วถึง และไม่แกล้งทําให้ผิดจากคําสอนของ ศาสดา. 

           อานนท์ ! อย่างนี้แล สาวกชื่อว่าผู้เรียกร้องกะศาสดาในฐานะแห่งความ เป็นมิตร ไม่เรียกร้องในฐานะแห่งความเป็นศัตรู. 

           อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอ ท. จงเรียกร้องเราในฐานะ แห่งความเป็นมิตรเถิด อย่าเรียกร้องในฐานะแห่งความเป็นศัตรูเลย.  ข้อนั้นจัก เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเธอ ท. ตลอดกาลนาน.

           อานนท์ !  เราไม่พยายามท ากะพวกเธออย่างทนุถนอม  เหมือนพวก  ช่างหม้อทำแก่หม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่.

           อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก  ไม่มีหยุด. อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีกไม่มีหยุด. ผู้ใดมีแก่นแข็ง ผู้นั้นจักทนอยู่ได้


328-329
สาวกของพระองค์หลุดพ้นเพราะพิจารณาความเป็น อนัตตาในเบญจขันธ์

           "พระโคดมผู้เจริญ !  ด้วยการปฏิบัติอย่างไร สาวกของพระโคดมจึงจะได้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามคําสอน ปฏิบัติตรงต่อโอวาท ข้ามพ้นความสงสัยไปได้ ไม่ ต้องเที่ยวถามใครว่านี่อย่างไร นี่อย่างไรมีความกล้าหาญ ไม่ต้องเชื่อตามบุคคลอื่น ในคําสอนแห่งศาสดาตน?" 

           อัคคิเวสนะ ! สาวกของเรา  ในศาสนานี้ พิจาณาเห็นด้วยป๎ญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ๒อย่างใด อย่างหนึ่งก็ตาม ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มา ทั้งที่เกิดอยู่ในบัดนี้ก็ตามที่เป็น ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตามดีก็ตามในที่ไกล ก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั้น เป็นแต่สักว่า รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร... วิญญาณ นั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่อัตตาของเราดังนี้. 

           อัคคิเวสนะ ! ด้วยการปฏิบัติเพียงเท่านี้ สาวกของเราย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ ปฏิบัติตามคําสอนเป็นผู้ปฎิบัติตรงต่อโอวาท ข้ามพ้นความสงสัยไปได้ไม่ต้องเที่ยว ถามใครว่านี่อย่างไร นี่อย่างไร มีความกล้าหาญ ไม่ต้องเชื่อตามบุคคลอื่นในคํา สอนแห่งศาสดาตน ดังนี้.
 
           "พระโคดมผู้เจริญ !  ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์มี อาสวะสิ้นแล้ว มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจที่ต้องทําอันทําเสร็จแล้ว มีของ หนัก อันปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วด้วยป๎ญญาเป็นเครื่องรู้โดยชอบ?" 

           อัคคิเวสนะ !  ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ด้วยความไม่ยึดมั่น เพราะเห็นด้วยป๎ญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า รูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ  (แยกตรัสทีละอย่าง) อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ทั้งที่ล่วงไปแล้วทั้ง ที่ยังไม่มา ทั้งที่เกิดอยู่ในบัดนี้ก็ตาม ที่เป็นภายในก็ตาม ภายนอก ก็ตามหยาบก็ ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ดีก็ตาม ในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตามทั้งหมดนั้น เป็นแต่สักว่ารูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่อัตตาของเราดังนี้.
 
           อัคคิเวสนะ !  ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล  ภิกษุได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์มี    อาสวะสิ้นแล้ว มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจที่ต้องทําอันทําเสร็จแล้วมีของหนัก อันปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วด้วยป๎ญญาเป็นเครื่องรู้โดยชอบ. 

           อัคคิเวสนะ ! ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อม ประกอบด้วย อนุตตริยะ ๓ ประการคือ ทัสสนานุตตริยะ ปฏิปทานุตตริยะ วิมุตตานุตตริยะ มี จิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ ย่อมเคารพ ย่อมนับถือ ย่อมบูชาซึ่ง ตถาคต ว่า พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมแสดงธรรม เพื่อการตรัส รู้ เป็นผู้ฝึกตนแล้ว ย่อมแสดงธรรม เพื่อ การฝึกตน เป็นผู้สงบร างับแล้ว ย่อม แสดงธรรมเพื่อความสงบรำงับเป็นผู้ ข้ามแล้ว ย่อมแสดงธรรมเพื่อการข้าม เป็นผู้ปรินิพพาน (ดับเย็นสนิท) แล้ว ย่อมแสดงธรรม เพื่อปรินิพพาน ดังนี้.


330
สาวกของพระองค์เสียชีพไม่เสียศีล

           ภิกษุ ท.! เช่นเดียวกับที่มหาสมุทร ย่อมมีน้ําหยุดอยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่ง เป็น ธรรมดา หากล้นฝ๎่งไปไม่ นี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! เราบัญญัติสิกขาบทใดๆ แก่สาวก ทั้งหลาย ของเราแล้ว สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบทนั้นๆ แม้ จะต้องเสียชีวิต. 

           ภิกษุ ท.!  ข้อที่เราบัญญัติสิกขาบทใด ๆ แก่สาวกทั้งหลายของเราแล้ว สาวก ทั้งหลายของเราย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบทนั้น ๆ แม้จะต้องเสียชีวิต นั้นแลเป็น สิ่งน่าอัศจรรย์ ไม่น่าจะมีได้ เป็นสิ่งที่สองในธรรมวินัยนี้ ซึ่งเมื่อภิกษุทั้งหลายได้ เห็นแล้วๆ ซึ่งข้อนี้ ย่อมเกิดความพอใจอย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้.


ภาค4/3

เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญน่้อยต่าง ๆ ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว
ไปจนถึงจวนจะเสด็จปรินิพพาน และ เรื่องบางเรื่องที่ควรผนวกเข้าไว้ในภาคนี้


(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)


330-331
ตรัสให้สาวกตดิตามฟังแต่เรื่องเป็นไปเพื่อนิพพาน

(หลังจากที่ได้ตรัสเรื่องบุคคลผู้มีสัมปชัญญะเกี่ยวกับ สุญญตา อาเนญชา อิริยาบถอุภ โตกถา อุภโตวิตก กามคุณ ๕ และป๎ญจุปาทานขันธ์แล้ว ได้ตรัสถึงความเป็นผู้มี สัมปชัญญะ ใน ธรรมเหล่านั้น ต่อไปว่า:-) 

อานนท์ ! ธรรมเล่านี้ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นธรรมเนื่องมาแต่กุศลโดย ส่วนเดียว เป็นอริยธรรมเครื่องนําออกจากข้าศึกคือกิเลส เป็นโลกุตตร-ธรรมนําให้ เกิดภาวะเหนือโลก ไม่เป็นที่หยั่งลงมาแห่งมาร. 

อานนท์ !  เธอจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : สาวกมองเห็นอยู่ซึ่ง อํานาจแห่งประโยชน์ อะไร จึงสมควรที่จะติดตามศาสดาอยู่อย่างใกล้ชิด

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ธรรม ท. ของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นํา มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง. 

ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ!เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระ ภาคเองเถิด ภิกษุได้ฟ๎งจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจําไว้." 

อานนท์ ! สาวกไม่สมควรที่จะติดตามศาสดา เพียงเพื่อฟ๎งซึ่งสูตร  เคยยะ ไวยากรณ์. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?  อานนท์! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าธรรม ท. ชนิดนั้นเป็นธรรมที่พวกเธอ ฟ๎งแล้ว จําแล้วสะสมแล้วด้วยวาจา ใส่ใจแล้ว แทง ตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิแล้ว มาตั้งนมนาน. 

อานนท์ ! ส่วนกถาใดที่เป็นไปเพื่อความ ขูดเกลาอย่างยิ่ง สบายแก่การพิจารณา ของจิต เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เป็นไปเพื่อวิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธิและนิพพาน อันได้แก่ อัปปิจฉกถา สันตุฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถาวิริยา รัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ป๎ญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา.อานนท์ ! เพื่อได้ฟ๎งกถาเช่นนี้แล สาวกย่อมสมควรที่จะติดตามศาสดาอยู่อย่างใกล้ชิด.


331-332
ทรงขอให้สาวกเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาท

ภิกษุ ท.!  เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท  (คือรับมรดกธรรม) ของเรา เถิด อย่าเป็น อามิสทายาท (คือรับมรดกสิ่งของ) เลย. ความที่ควรจะเป็นห่วง ของเรา ในเธอทั้งหลาย มีอยู่ว่า "ท าอย่างไรเสีย สาวกทั้งหลายของเราก็คงจะ เป็นธรรมทายาท ไม่เป็น อามิสทายาท" ดังนี้

ภิกษุ ท.!  ถ้าพวกเธอเป็นอามิสทายาทไม่เป็นธรรมทายาทของเราแล้ว เธอทั้งหลายก็จะถูก เขาตราหน้าว่า "สาวกทั้งหลายของพระศาสดา เป็นอามิส ทายาทอยู่โดยปรกติ หาได้เป็น ธรรม ทายาทไม่เลย" ดังนี้.  แม้เราเองก็จะถูกเขาพา กันโทษว่า "สาวกทั้งหลายของ พระศาสดา ล้วนแต่เป็นอามิสทายาทกันเป็นปรกติ หาได้เป็นธรรมทายาทไม่เลย" ดังนี้. 

ภิกษุ ท.! ถ้าพวกเธอพากันเป็นธรรมทายาทของเรา และไม่เป็นอามิส ทายาทแล้วไซร้ เธอทั้งหลายก็จะได้รับการยกย่องว่า "สาวกของพระศาสดาล้วน แต่เป็นธรรมทายาทกันอยู่ โดยปรกติ หาได้เป็นอามิสทายาทไม่" ดังนี้.แม้เราเอง ก็ จะได้รับการยกย่องว่า "สาวกของ พระศาสดา ล้วนแต่พากันเป็นธรรมทายาท ทั้งนั้น หาได้เป็นอามิสทายาทไม่เลย" ดังนี้ด้วย เหมือนกัน. 

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายจงพากันเป็นธรรมทายาท ของเราเถิดอย่าได้ เป็น อามิสทายาทเลย. ความที่ควรจะเป็นห่วงของเรา ในเธอ ทั้งหลายมีอยู่ว่า "ทำอย่างไร เสียสาวกทั้งหลายของเรา จงเป็นผู้เป็นธรรมทายาท เถิด อย่าได้เป็นอามิสทายาทเลย" ดังนี้.


332-333
ทรงชักชวนให้สาวกกระทำดั่งที่เคยทรงกระทำ

ภิกษุ ท.!  เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรมสองอย่าง คือ ความไม่สันโดษ ในกุศลธรรม ท. และความเป็นผู้ไม่ถอยกลับในความเพียร. 

ภิกษุ ท.! เราย่อม ตั้งไว้ซึ่งความไม่ถอยกลับ ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น. เนื้อและ เลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป. ประโยชน์ใด อันบคุคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุด ความเพียรเสีย เป็นไม่มี." ดังนี้. 

ภิกษุ ท.! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วย ความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วย ความไม่ ประมาท. 

ภิกษุ ท.! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความไม่ถอยกลับ ว่า "จงเหลืออยู่แต่ หนัง เอ็น กระดูก เท่านั้น เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป.ประโยชน์อันใด อันบุคคลจะบรรลุได้ ด้วย กําลังด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่ บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุด ความเพียรเสีย เป็นไม่มี. ดังนี้แล้วไซร้

ภิกษุ ท.! พวกเธอก็จัก กระทำาให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่ มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือนเป็นผู้ ไม่มีเรือน โดยชอบ ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรมเข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน. 

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ เธอ ท. พึงทําความสําเหนียกอย่างนี้ว่า "เราจักตั้งไว้ซึ่ง ความไม่ถอยกลับ ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น เนื้อและเลือดในสรีระ จงเหือดแห้งไปประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกําลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุด ความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้. ภิกษุ ท.! เธอ ท. พึงทําความสําเหนียกอย่างนี้ เถิด.


333-334
ทรงขอร้องอย่าให้วิวาทกันเพราะธรรมที่ทรงแสดง

ภิกษุ ท.!  พวกเธอมีความคิดนึกรู้สึกในเราดังนี้บ้างหรือ คือคิดว่าพระสมณโคดมแสดง ธรรม เพราะเหตุแห่งจีวร หรือว่าเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต หรือว่าเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือว่าเพราะเหตุแห่งความเป็นนั่นเป็นนี่ ดังนี้.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ ท. มิได้มีความคิดนึกรู้สึกในพระผู้มี พระภาคเช่นนั้น เลย พระเจ้าข้า !" 

ภิกษุ ท.!  เป็นอันฟ๎งกันได้ว่า พวกเธอมิได้มีความคิดเช่นนั้นในเรา; ถ้าอย่างนั้น พวกเธอมี ความคิดในเราอย่างไรเล่า?  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ ท. มีความคิดนึกรู้สึกใน พระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย ความเอ็นดูแล้ว จึงทรงแสดงธรรม ดังนี้ พระเจ้าข้า !" 

ภิกษุ ท.! เป็นอันฟ๎งกันได้ว่า พวกเธอมีความคิดนึกเช่นนั้นในเรา.

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ขอให้เป็นว่า ธรรม ท. เหล่าใดอันเราแสดงแล้วแก่เธอ ท. ด้วยป๎ญญาอันยิ่ง กล่าวคือ สติป๎ฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์แปด; ในธรรมเหล่านั้น เธอ ท. พึงเป็นผู้ สามัคคีกัน บันเทิง ต่อกัน ไม่วิวาทกันแล้ว ศึกษาอยู่เถิด.


334-335
ทรงขอร้องให้ทำความเพียรเพื่ออนตุตรวิมุตติ

ภิกษุ ท.!  วิมุตติอันไม่มีวิมุตติอื่นยิ่งกว่า (อนุตฺตรา วิมุตฺติ) เราได้บรรลุ แล้ว ได้ทําให้แจ้งแล้ว ด้วยการกระท าในใจโดยแยบคาย ด้วยความเพียรอันชอบ โดยแยบคาย (โยนิโสสมฺมปฺปธานา).

ภิกษุ ท.!  แม้พวกเธอ ท. ก็จงบรรลุตามลําดับ จงกระทําให้แจ้งซึ่งวิมุตติ อันไม่มีวิมุตติอื่น ยิ่งกว่า ด้วย การกระท าในใจโดยแยบคาย ด้วยความเพียรอัน ชอบโดยแยบคายเถิด. 

ครั้งนั้น  มารผู้มีบาปได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้กล่าวคุกคามพระ ผู้มี พระภาค ด้วยคาถานี้ว่า:-  "

ดูก่อนสมณะ ! ท่านเป็นผู้ที่เราผูกไว้แล้ว ด้วยบ่วงแห่งมารทั้งที่  เป็นบ่วงทิพย์ และ บ่วงมนุษย์. ท่านเป็นผู้ถูกผูกแล้วด้วยบ่วงแห่งมาร.  ท่านย่อมเป็นผู้ไม่พ้นไปจากเราได้ดอก" ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า:-  เราพ้นแล้วจากบ่วงแห่งมาร ทั้งที่เป็นบ่วงทิพย์ และ บ่วงมนุษย์  เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงมาร เราแหละจะเป็นผู้กวาดล้างท่าน  นะมารเอ๋ย ! 
ลําดับนั้นมารผู้มีบาป รู้สึกว่าพระผู้มีพระภาครู้กําพืดเราเสียแล้ว พระสุคตรู้กําพืด เราเสียแล้ว มีทุกข์โทมนัส อันตรธานไปแล้วในที่นั้นนั่นเอง.


335-336
ทรงถือว่า ภิกษุสาวกทุกวรรณะ เป็นสมณสากยะปุตติยะ โดยเสมอกัน

ภิกษุ ท.!  เช่นเดียวกับที่แม่น้ําใหญ่ ๆ  เช่นแม่น้ําคงคา ยมุนา อจิรวตี สรภู มหี แม่น้ําทั้งหมดนี้ ครั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมทิ้ง ชื่อเดิมของตน ย่อมถึงการเรียกชื่อใหม่ ว่า "มหาสมุทร"เหมือนกันหมดฉันใด; 

ภิกษุ ท.!  วรรณะทั้งสี่นี้ก็อย่างเดียวกัน  จะเป็นกษัตริย์  พราหมณ์  เวสส์  หรือสูทท์ ก็ตาม เมื่อคนเหล่านั้น ออกบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละทิ้งชื่อเดิม ชื่อสกุลเดิม ของตนสิ้น ย่อมถึงการเรียกชื่อใหม่ว่า  "พวก สมณสากย-ปุตติยะ เหมือนกันหมดโดยแท้".

ข้อที่ถึงการเรียกชื่อใหม่ว่า "สมณสากยปุตติยะ" เสมอกันหมดนี้แล เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่น่าจะเป็นได้ เป็นสิ่งที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ ซึ่งเมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ ซึ่งข้อนี้ ย่อมเกิดความพอใจอย่างยิ่ง ในธรรมวินัยนี้.  ทรงให้ถือว่า สาวก ท. เป็นบุตรของพระองค์๑ 

ภิกษุ ท.! เราเป็นพราหมณ์ผู้ควรแก่การถูกขอ มีฝุามืออันชุ่มแล้ว ตลอดเวลา เป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งกายอันมีในครั้งสุดท้าย เป็นหมอผู้ทําการผ่าตัดไม่มี หมออื่นยิ่งกว่า; เธอ ท. เป็นบุตร แห่งเรานั้น เป็นโอรสที่เกิดแล้วจากปาก เกิดโดย ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท มิใช่อามิสทายาท.


336-338
ทรงแสดงสาวกตัวอย่าที่ประสบความสำเร็จ ในอินทรียภาวนา

ถูกแล้ว  ถูกแล้ว สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่งในตถาคต ถึงที่สุดโดยส่วนเดียว เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลในตถาคต หรือในคําสอนของตถาคต. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อ นี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ท. เพื่อความถึง พร้อมแห่งกุศลธรรม ท. เป็นผู้มีกําลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล ธรรม ท.

สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นอินทรีย์คือวิริยะ  ของเธอนั้น 
สารีบุตร !  เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวัง รักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทําและคําที่พูดแม้นานได้.

สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น อินทรีย์คือสติของเธอนั้น. 

สารีบุตร !  เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา  เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติเข้าไปตั้งไว้ แล้วพึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำให้ได้ซึ่งโวสสัค คารมณ์ จักได้ซึ่งความ ตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว.

สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นอินทรีย์คือสมาธิ ของเธอ นั้น.

สารีบุตร !  เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา  ปรารภความเพียร  มีสติเข้าไป  ตั้งไว้ มีจิตตั้งมั่น โดยชอบแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า "สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีที่สุด อันบุคคลรู้ไม่ได้ ที่สุดฝุายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่ สัตว์ ท. ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป.

ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น เสียได้ มีอยู่
; นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือ เป็นที่สงบแห่ง สังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความ จางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน."

สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้น ของอริย สาวกนั้น ย่อมเป็น อินทรีย์คือป๎ญญา ของเธอนั้น.

สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ ตั้งไว้แล้วตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วย อาการอย่างนี้ ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้ ตั้งมั่นแล้วตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้ รู้ชัดแล้วรู้ชัด (ด้วยป๎ญญา) ด้วยอาการ อย่างนี้ เขาย่อมเชื่ออย่างนิ่ง อย่างนี้ ว่า "ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่เราเคยฟ๎งแล้ว ในกาลก่อนในบัดนี้ เราถูกต้องด้วย นามกายแล้วแลอยู่ด้วย แทงตลอดด้วยป๎ญญา แล้วเห็นอยู่ด้วย" ดังนี้. 

สารีบุตร !  ความเชื่อเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น อินทรีย์  คือสัทธา ของเธอนั้น ดังนี้แล.


338-339
ทรงมีคณะสาวกซึ่งมีปาฏิหาริย์

พราหมณ์ ! ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างมีอยู่. ๓ อย่างคืออะไรบ้าง? คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนา ปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. 

พราหมณ์ !  อิทธิปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร?  คือคนบางคนในโลกนี้ กระทําอิทธิวิธีมีอย่างต่าง ๆ: ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทําที่กําบังให้เป็นที่แจ้ง ทําที่แจ้ง ให้เป็นที่กําบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝาทะลุกําแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ ผุดขึ้นและดําลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ํา เดินไปได้เหนือน้ํา เหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์ ลูบคลําดวงจันทร์และดวงอาทิตย์  อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝุามือ และแสดงอํานาจทางกายเป็นไปตลอดถึง พรหมโลกได้. พราหมณ์ ! นี้แล อิทธิปาฏิหาริย์. 

พราหมณ์ !  อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร? คือคนบางคนในโลกนี้ โดยอาศัยนิมิต ย่อม ทายใจคนว่า "ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านมีประการ อย่างนี้  ความคิดของท่าน มีอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ๆ" แม้เขาทายมากเท่าไร ก็ถูกหมดไม่มีผิดเลย.

บางคนฟ๎งเสียงของมนุษย์หรือของอมนุษย์หรือของเทวดา แล้วทายใจคนว่า "ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ ใจของท่านมีประการอย่างนี้ ความคิด ของท่านมีอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ๆ" แม้เขาทายมากเท่าไร ก็ถูกหมดไม่มีผิดเลย.

บางคนฟ๎งเสียงแห่งวิตกวิจารของบุคคลที่กําลังวิตกวิจารอยู่ แล้วทายใจคนว่า "ใจ ของท่าน เป็นอย่างนี้ ใจของท่าน มีประการอย่างนี้ ความคิดของท่านมีอยู่ด้วย อาการอย่างนี้ๆ".

แม้เขาทายมากเท่าไร ก็ถูกหมดไม่มีผิดเลย.  บางคนกําหนดใจ ของผู้เข้าสมาธิอันไม่มี วิตก วิจาร  ด้วยใจของตนแล้วรู้ว่า "มโนสังขารอันท่านผู้นี้ตั้ง ไว้เช่นใด ในลําดับแห่งจิตนี้ จักเกิด วิตกชื่อโน้น" ดังนี้ แม้เขาทายมากเท่าไรก็ถูกหมด ไม่มีผิดเลย.

พราหมณ์! นี้แล อาเทสนาปาฏิหาริย์. 

พราหมณ์ !  อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร? คือคนบางคนย่อมทําการ พร่ําสอนว่า "ท่านทั้งหลายจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ จงทําในใจอย่างนี้ๆ อย่าทําในใจ อย่างนั้นๆ จงเว้นสิ่งนี้ๆเสีย จงทําสิ่งนี้ๆ อยู่เป็นประจํา"ดังนี้. 

พราหมณ์ ! นี้แล อนุสาสนีปาฏิหาริย์. 

พราหมณ์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !  เว้นพระโคดมเสีย ภิกษุอื่น สักรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์สามนี้ มีอยู่หรือ?"

พราหมณ์ ! มีไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีมากกว่านั้นอีกที่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์สามนี้. 

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็เดี๋ยวนี้ ภิกษุเหล่านั้นอยู่ที่ไหนเล่า?"

พราหมณ์ ! อยู่ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้เอง


340
ทรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สาวก ชั่วระยะจำเป็น

ภิกษุ ท.!  เปรียบเหมือนเด็กที่ยังอ่อน  ยังได้แต่นอนหงาย เมื่อพี่เลี้ยงเผลอ ได้คว้าชิ้นไม้ หรือ เศษกระเบื้องกลืนเข้าไป พี่เลี้ยงเห็นแล้วก็จะ พยายามหาวิธีเอาออกโดยเร็ว  เมื่อเอาออกไม่ได้โดยง่าย ก็จะประคองศีรษะเด็ก ด้วยมือซ้าย งอนิ้วมือขวาล้วงลงไป เกี่ยวขึ้นมา แม้ว่าจะถึงโลหิตออกก็ต้องทํา  ข้อนี้ เพราะเหตุไรเล่า?

เพราะเหตุว่า แม้เด็กนั้น จะได้รับความเจ็บปวดก็จริง แต่ พี่เลี้ยง ที่หวังการปลอดภัยแก่เด็ก หวังจะช่วยเหลือเด็ก มีความเอ็นดูเด็ก ก็ต้อง ทําเช่นนั้น เพราะความเอ็นดูนั่นเอง.

ครั้นเด็กนั้นเติบโตขึ้น มีความรู้ เดียงสาพอควรแล้ว พี่เลี้ยงก็ปล่อยมือไม่จ้ําจี้จ้ําไชในเด็กนั้น เกินไป ด้วยคิดว่าบัดนี้เด็กนี้คุ้มครองตัวเองได้แล้ว ไม่อาจจะไร้เดียงสาอีกแล้ว ดังนี้ ข้อนี้ฉันใด;
 
ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็เช่นนั้น : ตราบใดที่ภิกษุยังมิได้ทํากิจในกุศลธรรมทั้งหลาย อันตนจะต้องทําด้วยศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะ ด้วยวิริยะ และด้วยป๎ญญา ตราบนั้น เรายังจะต้องตามคุ้มครองภิกษุนั้น.

แต่เมื่อใดภิกษุนั้นได้ทํากิจในกุศล ธรรมทั้งหลาย อันตนจะต้องทําด้วยศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะด้วยวิริยะ ด้วย ป๎ญญา สําเร็จแล้ว เราก็หมดห่วงในภิกษุนั้น โดยคิดว่า บัดนี้ภิกษุนี้คุ้มครองตนเอง ได้แล้วไม่อาจจะประพฤติหละหลวมอีกต่อไปแล้ว  ดังนี้.


340-341
ทรงมีพระสารีบุตรเป็นผู้รองลำดับ

เสละ ! เราเป็นพระราชาผู้ธรรมราชา ไม่มีราชาอื่นยิ่งไปกว่า เราย่อม ประกาศธรรมจักร ให้เป็นไปโดยธรรม เป็นจักรที่ใครๆ จะต้านทานให้หมุนกลับมิได้. 

"ข้าแต่พระโคดม !  พระองค์ปฏิญญาว่าเป็นสัมพุทธะ เป็นธรรมราชา ไม่มี ราชาอื่น ยิ่งกว่า.กล่าวอยู่ว่า "เราย่อมประกาศธรรมจักรให้เป็นไปโดยธรรม" ดังนี้ ก็ใครเล่าหนอ เป็นเสนาบดีของพระองค์ เป็นผู้รองลําดับของศาสดา?  ใครย่อม ประกาศตามได้ ซึ่งธรรมจักรที่พระองค์ประกาศแล้ว?" เสลพราหมณ์ ทูลถาม. 

เสละ ! สารีบุตรเป็นผู้รองลําดับตถาคต ย่อมประกาศตามเราได้ ซึ่ง อนุตตรธรรมจักร อันเราประกาศแล้ว.

พราหมณ์ ! สิ่งที่ควรรู้เราได้รู้แล้ว สิ่งควร ทําให้เจริญ เราได้ทําให้เจริญแล้วสิ่งควรละ เราได้ละแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึง เป็น "พุทธะ". ท่านจงหมดความกังขาในเรา จงวางใจ เราเถิด พราหมณ์ ! การได้ พบเห็นพระสัมพุทธเจ้าเนือง ๆ นั้น ย่อมเป็นของยาก : ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่ยากที่ จะปรากฏขึ้นเนือง ๆ ในโลก. 

พราหมณ์ ! เราเป็นสัมพุทธะผู้เป็นหมอผ่าตัด(ซึ่งความทุกข์อันเสียบแทงสัตว์) อย่างไม่มี ใครยิ่งกว่า เราเป็นพรหม ไม่มีใคร เทียบได้ เป็นผู้เหยียบย่ําเสียซึ่งมารและเสนามาร ทําศัตรูหมู่อมิตรทั้งสิ้นให้อยู่ใน อํานาจได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ บันเทิงอยู่.


341-342
ทรงมีพระสารีบุตรเป็นผู้ประกาศธรรมจักร เสมอด้วยพระองค์

ภิกษุ ท.!  โอรสแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ  ที่เป็นเชฏฐโอรส (หัวปี) เป็นผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ประการแล้ว ย่อมสามารถหมุนจักรที่บิดาหมุนแล้ว ให้หมุนไปตามได้โดยธรรมแท้.  และทั้งจักรนั้น เป็นจักรที่มนุษย์ด้วยกัน ผู้เป็นข้าศึกมิอาจต้านทานให้หมุนกลับได้ด้วยมือ.
 
องค์คุณ ๕ ประการ นั้น อย่างไรเล่า? องค์คุณ ๕ ประการ คือ เชฎฐโอรสแห่งพระเจ้า จักรพรรดินั้นเป็นผู้ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักบริษัท

ภิกษุ ท.! เชฏฐโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิ์ประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ประการ เหล่านี้แล จึงสามารถหมุนจักรที่บิดาหมุนแล้ว ให้หมุนไปตามได้โดยธรรมและทั้งเป็นจักร ที่ใคร ๆ ผู้เป็นมนุษย์ด้วยกัน ที่เป็นข้าศึก มิอาจต้านทานให้หมุนกลับได้ด้วยมือ.
 
ภิกษุ ท.!  ฉันใดก็ฉันนั้น:  สารีบุตรก็เป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๕ ประการ จึง สามารถยังธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่า อันตถาคตหมุน ไปแล้ว ให้หมุนไป ตาม ได้โดยชอบแท้  และทั้งจักรนั้น เป็นจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถต้านทานให้หมุนกลับได้.

ภิกษุ ท.! สารีบุตรเป็นผู้รู้จัก เหตุ รู้จักผล รู้จัก ประมาณ รู้จักกาล รู้จักบริษัท. 

ภิกษุ ท.! สารีบุตรประกอบด้วยคุณธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล จึงสามารถหมุนธรรมจักร อันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคต หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปตามได้โดยชอบแท้ และทั้งเป็นจักร ที่สมณะ หรือ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่สามารถต้านทาน ให้หมุนกลับได้.


342-343
ทรงยกย่องพระสารีบุตรในฐานะธรรมโอรส 

ภิกษุ ท.!  สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีป๎ญญามาก  มีป๎ญญาแน่นหนา มีป๎ญญาให้เกิดความ ร่าเริงใจ มีป๎ญญาไว มีป๎ญญาแก่กล้า มีป๎ญญาเครื่องเจาะ แทงกิเลส. 

ภิกษุ ท.! สารีบุตรเห็นแจ้งซึ่งวิป๎สสนาในธรรมตามลําดับ ชั่วเวลา กึ่งเดือน. ภิกษุ ท.! ในเรื่องนั้น นี้เป็นเรื่องแห่งการเห็นแจ้งในธรรมตามลําดับ ของสารีบุตร :- 

(ต่อจากนี้ได้ตรัสถึง การบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยละเอียดตามลําดับ ทุก แง่ทุกมุม แล้วจึงตรัสต่อไปว่า :-)
 

ภิกษุ ท.! ต่อจากนั้น สารีบุตร ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดย ประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะ เห็นด้วย ป๎ญญา อาสวะ ท. ของเธอย่อม สิ้นไป โดยรอบ. สารีบุตรนั้น มีสติออกจาก สมาบัตินั้น. 

เธอนั้น ครั้นมีสติออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ย่อมตามเห็นซึ่งธรรม ท. อันดับแล้ว แปรปรวนแล้ว ในอดีตว่า "ธรรม ท. เหล่านี้ๆ ที่ไม่มีก็มีมา ที่มีแล้วก็ลับ ไป" ดังนี้.

สารีบุตรนั้น ไม่ยินดียินร้ายในธรรมเหล่านั้น ไม่มีกิเลสอาศัยแล้วไม่มี กิเลสผูกพัน พ้นพิเศษ แล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัด มีใจปราศจากเครื่อง จํากัดเขตอยู่.

เธอนั้น ย่อมรู้ว่า อุบายเป็นเครื่องออกอันยิ่งไปกว่านี้ย่อมไม่มีการ กระทําให้มากไปกว่านั้นอีก ก็ไม่มี สําหรับเธอนั้น.
 
ภิกษุ ท.! เมื่อใครๆ จะกล่าวโดยชอบ กล่าวผู้ใดว่า เป็นผู้ถึงซึ่งความมีอํานาจถึงซึ่งความ เต็มเปี่ยม ในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยป๎ญญา ในอริยวิมุตติ ดังนี้แล้ว เขาพึงกล่าว สารีบุตรนั่นแล ว่าเป็นผู้เป็นเช่นนั้น.
 
ภิกษุ ท.!  เมื่อใครๆ จะกล่าวโดยชอบกล่าวผู้ใดว่า เป็นบุตรเป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาค เกิดจากธรรม อันธรรมเนรมิตแล้วเป็นธรรม ทายาท หาใช่เป็น อามิสทายาทไม่ ดังนี้แล้วเขาพึงกล่าวสารีบุตรนั่นแลว่าเป็นผู้เป็นเช่นนั้น.

ภิกษุ ท.! สารีบุตร สามารถหมุนธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคต หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปตามได้ โดยชอบแท้.  


344
มหาเถระผู้มีสมาบัติ และอภิญญาเทียมพระองค์

ภิกษุ ท.!  เราหวังเพียงใด ก็ย่อมสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วเข้าถึงฌานที่ ๑ มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้ว และอยู่ได้ ตลอดกาลเพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! แม้กัสสปะ (ก็ดุจกัน) เธอหวังเพียงใดก็ย่อมสงัด จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วเข้าถึงฌานที่ ๑ มีวิตกวิจารมีปีติและสุขอัน เกิดแต่วิเวกแล้ว และอยู่ได้ตลอดกาลเพียงนั้น

ภิกษุ ท.!  เราหวังเพียงใด  ก็ย่อม...ฯลฯ...
เข้าถึงฌานที่ ๒...   ฯลฯ
ฌานที่ ๓...ฯลฯ 
ฌานที่ ๔...ฯลฯ 
อากาสานัญจายตนฌาน...     
วิญญาณัญจายตนฌาน ...
อากิญจัญญายตนฌาน...
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน...ฯลฯ 
สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ได้ตลอดกาลเพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! แม้กัสสปะ (ก็ดุจกัน) เธอหวังเพียงใด ก็ย่อม...ฯลฯ...
เข้าถึงฌานที่ ๒... ที่ ๓...ที่ ๔...
อากาสานัญจายตนฌาน ...
วิญญาณัญจายตนฌาน ...
อากิญจัญญายตนฌาน...
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน.
สัญญาเวทยิตนิโรธ  แล้วแลอยู่ได้ตลอดกาลเพียงนั้น. 

(ต่อจากนี้ ตรัสอภิญญาหก คือ อิทธิวิธี ทิพพโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ ว่า พระมหากัสสป สามารถเท่าเทียมพระองค์โดย ทํานองเดียวกันอีก.ส่วนคําอธิบายของอภิญญาเหล่านี้ ค้นดูได้ตามชื่ออภิญญานั้น ๆ จากตอนว่า ด้วยการตรัสรู้ในภาค ๒-๓ ของเรื่องนี้ หรือจากธรรมวิภาคปริเฉท ๒ ในที่นี้ ไม่ต้องการกล่าว ใจความส่วนนี้ นอกจากส่วนที่พระมหากัสสปมีสมาบัติ และอภิญญาเทียมกับพระองค์เท่านั้น)


345-346
พระองค์และสาวกมีการกล่าวหลักธรรมตรงกันเสมอ

ก็คํานี้ว่า "ชรามรณะมี เพราะป๎จจัยคือชาติ" ดังนี้ เช่นนี้และป็นคําที่เรา กล่าวแล้ว.  ภิกษุ ท.! ชรามรณะมี เพราะป๎จจัยคือชาติ ใช่ไหม? เป็นอย่างนี้หรือ เป็นอย่างไร ในข้อนี้?
 
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ชรามรณะมี เพราะป๎จจัยคือชาติ ในข้อนี้ต้องมี ว่าชรามรณะมีเพราะ ป๎จจัย คือชาติ อย่างนี้เป็นแน่นอน พระเจ้าข้า !" 

(ตรัสบอกแล้วทรงซักถาม  และภิกษุ ท.  ทูลตอบ ในลักษณะอย่างเดียวกันนี้ เป็น ลําดับไป ทุกอาการของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งในที่นี้จะละไว้ด้วย ...ฯลฯ... จนกระทั่งถึงอาการ สุดท้าย คือสังขาร จึงจะเขียนเต็มรูปความอีกครั้งหนึ่ง) 

ก็คํานี้ว่า "ชาติมี เพราะป๎จจัยคือภพ"            ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!"  
ก็คํานี้ว่า "ภพมี เพราะป๎จจัยคืออุปาทาน"       ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!"  
ก็คํานี้ว่า "อุปาทานมี เพราะป๎จจัยคือตัณหา"    ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!" 
ก็คํานี้ว่า "ตัณหามี เพราะป๎จจัยคือเวทนา"      ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!"  
ก็คํานี้ว่า "เวทนามี เพราะป๎จจัยคือผัสสะ"      ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!" 
ก็คํานี้ว่า "ผัสสะมี เพราะป๎จจัยคือสฬายตนะ"   ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอนพระเจ้าข้า!"
ก็คํานี้ว่า "สฬายตนะมี เพราะป๎จจัยคือนามรูป" ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!" 
ก็คํานี้ว่า "นามรูปมี เพราะป๎จจัยคือวิญญาณ"   ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!"
ก็คํานี้ว่า "วิญญาณมี เพราะป๎จจัยคือสังขาร"   ...ฯลฯ...อย่างนี้แน่นอน พระเจ้าข้า!"
ก็คํานี้ว่า "สังขาร ท. มี เพราะป๎จจัยคืออวิชชา" ดังนี้ เช่นนี้แลเป็นคําที่ เรากล่าวแล้ว.
ภิกษุ ท.! สังขาร ท. มี เพราะป๎จจัยคืออวิชชาใช่ไหม? เป็นอย่างนี้ หรือเป็นอย่างไร ในข้อนี้?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สังขาร ท. มี เพราะป๎จจัยคืออวิชชา ในข้อนี้ ต้องมีว่า สังขาร ท. มี เพราะป๎จจัยคืออวิชชา อย่างนี้เป็นแน่นอน พระเจ้าข้า !" 

ภิกษุ ท.!  ถูกแล้ว.  ภิกษุ ท.! เป็นอันว่า แม้พวกเธอก็กล่าวอย่างนี้; แม้เรา ก็กล่าวอย่างนี้ว่า "เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ก็มี; เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นสิ่งนี้ก็เกิดขึ้น; กล่าวคือ เพราะมีอวิชชาเป็นป๎จจัย จึงมีสังขาร ท. เพราะมีสังขารเป็นป๎จจัย จึงมี วิญญาณ...ฯลฯ...ฯลฯ.. เพราะมีชาติเป็นป๎จจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ท. จึงเกิดขึ้นพร้อม ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้". 

(ต่อไปนี้ มีการตรัสว่าด้วยป๎จจยาการฝุายนิโรธวารคือฝุายดับ; มีวิธีการตรัสและการ ถามตอบ ในทํานองเดียวกันกับฝุายสมุทยวาร คือฝุายเกิด ทุกประการ หากแต่ตรงกันข้าม เท่านั้น)



346-347
ส่วนที่สาวกเข้มงวดกว่าพระองค์

อุทายิ ! สาวกของเรา ฉันอาหารเพียงโกสะหนึ่งบ้าง (โกสะ - ขันจอกขนาด เล็ก) ครึ่งโกสะ บ้าง เท่าผลมะตูมบ้าง เท่าครึ่งผลมะตูมบ้าง ก็มีอยู่. ส่วนเรา อุทายิ ! บางคราวฉันเต็มบาตร เสมอ ของปากบ้าง ยิ่งขึ้นไปกว่าบ้าง...

อุทายิ ! สาวกของเรา ถือผ้าบังสุกุล ทรงจีวรเศร้าหมอง. เธอเหล่านั้น เก็บผสมผ้าชายขาด จากปุาช้าบ้าง จากกองขยะบ้าง จากที่เขาทิ้งตามตลาดบ้าง ทําเป็นผ้าสังฆาฏิ (ผ้าคลุมนอก) แล้วทรงไว้ ก็มีอยู่. ส่วนเราเอง อุทายิ บางคราว ก็ ครองจีวร ที่พวกคหบดีถวาย มีเนื้อนิ่ม ละเอียด...

อุทายิ !  สาวกของเรา ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวไปตามลําดับตรอก เป็นวัตร ยินดีแต่ใน ภัตต์อันมีอยู่เพื่อภิกษุตามธรรมดา เมื่อเที่ยวไปตามระวางเรือน แม้มีผู้เชื้อเชิญด้วยอาสนะ (ฉันบนเรือน) ก็ไม่ยินดีรับ ก็มีอยู่. ส่วนเราเอง  อุทายิ ! ในบางคราว ฉันข้าวสุกแห่ง ข้าว สาลีไม่ดําเลย มีแกงกับเป็นอันมาก... 

อุทายิ ! สาวกของเรา ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร อยู่กลางแจ้งเป็นวัตรก็มีอยู่.  เธอเหล่านั้น  ไม่เข้าสู่ที่มุงที่บังเลย ตั้ง ๘ เดือน (ในปีหนึ่ง) ก็มีอยู่.ส่วนเราเอง อุทายิ ! บางคราว อยู่อาศัยในเรือนมียอด อันเขาฉาบทาทั้งขึ้นและลงไม่มีรูรั่วให้ ลมผ่าน มีลิ่มสลักอันขัดแล้ว มีหน้าต่างอันปิดสนิทแล้ว... 

อุทายิ ! สาวกของเราผู้อยู่ปุาเป็นวัตร ถือเอาปุาชัฎเป็นเสนาสนะอัน สงัดเธอเหล่านั้น มาสู่ท่ามกลางสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เพื่อฟ๎งปาติโมกข์เท่านั้น ก็มีอยู่. ส่วนเราเอง อุทายิ ! ในบางคราว อยู่เกลื่อนกล่นด้วยหมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา อํามาตย์ของ พระราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์... 

อุทายิ ! ถ้าสาวกของเรา จะสักการะ เคารพ นับถือบูชาเรา แล้วเข้ามา อาศัยเราอยู่เพราะ คิดว่า พระสมณโคดม เป็นผู้ฉันอาหารน้อย (...เป็นต้น) แล้วไซร้

อุทายิ ! สาวกของเรา เหล่าที่มีอาหารเพียงโกสะหนึ่ง (เป็นต้น) ก็จะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราแล้ว อาศัยเราอยู่เพราะเหตุนี้...๑

            ๑. ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ให้สาวกคลายความบากบั่นในปฏิปทานั้นๆ เป็นแต่ทรง เปรียบเทียบให้ปริพพาชกผู้นั้นเห็นว่า สาวกไม่ได้มาอยู่อาศัยพระศาสดา เพราะพระศาสดา มีอาหารน้อยเป็นต้น ดังที่ปริพพาชกผู้นี้เข้าใจ. แต่ที่พระสาวกมาอาศัย พระองค์ ก็เพราะเห็นความเป็นนิยยานิกะของธรรมที่พระองค์ตรัสแล้ว เป็นต้น ต่างหาก.  มีที่แสดงไว้อย่างชัดเจนว่า บางคราวพระองค์ทรงถือธุดงค์เหล่านี้อย่างเคร่งครัดก็มี.  แต่บางสมัยจําเป็นต้อง ละธุดงค์บางอย่าง ไปทรงทําหน้าที่ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ได้บ่งว่า ธุดงค์ของพระ องค์ที่เคยทรงมาแล้วเลวกว่าของสาวก. พระมหากัสสปเป็นต้น ที่ถือธุดงค์ตลอดชีวิต ก็เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ภิกษุที่บวชตาม และท่านไม่ต้องทําหน้าที่ของ พระพุทธเจ้า จึงมีโอกาสกว่า พระองค์.  --ผู้รวบรวม
.  


348-349
ทรงลดพระองค์ลงเสมอสาวก แม้ในหน้าที่ของพระพุทธเจ้า

ภิกษุ ท.!  บุคคล ๓ จําพวกเหล่านี้  เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ ความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ท.

สามจําพวกเหล่าไหนเล่า? สาม จําพวก คือ:- 

ภิกษุ ท.! ตถาคต เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วย วิชชา และจรณะ ดําเนินไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครู ของ เทวดาและมนุษย์ ท. เป็นผู้ตื่น จําแนกธรรมสั่ง สอนสัตว์.  ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.
ภิกษุ ท.! นี้คือบุคคลจําพวก ที่หนึ่ง. 

ภิกษุ ท.! พวกอื่นยังมีอีก  คือ สาวกของพระศาสดา พระองค์นั้น นั่นแล เป็น พระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทําทําสําเร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ตามบรรลุถึง ประโยชน์ ตน ได้แล้ว มีเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ สิ้นไปหมดแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ.  สาวกนั้น แสดงธรรมไพเราะใน เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง. 
ภิกษุ ท.! นี้คือบุคคลจําพวกที่สอง. 

ภิกษุ ท.! พวกอื่นยังมีอีก คือสาวกของพระศาสดา พระองค์นั้น นั่นแลเป็น พระเสขะ เป็นผู้ยังต้องประพฤติปฏิบัติอยู่ เป็นผู้มีสุตะมาก เป็นผู้เข้าถึงแล้วซึ่งศีลและวัตร.  สาวกแม้นั้น ย่อมแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. 
ภิกษุ ท.! นี้คือบุคคลจําพวกที่สาม.

ภิกษุ ท.! บุคคล ๓ จําพวกเหล่านี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ ความเกื้อกูลเพื่อ ความสุข แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ เทวดาและมนุษย์ ท. ดังนี้.


349-350
เหตุที่ทำให้มีผู้มาเป็นสาวกของพระองค์

       อุทายิ ! มีเหตุห้าอย่าง ที่ทําให้สาวกสักการะเคารพนับถือบูชาแล้วมาอยู่ อาศัยเรา. ห้าอย่างอะไรบ้าง?  อุทายิ ! สาวกของเราพอใจเรา ในเพราะอธิศีล ว่า พระสมณโคดม ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง ฯลฯ นี่เป็นข้อที่ ๑. 

        อุทายิ !  สาวกของเราพอใจเรา ในเพราะป๎ญญาเครื่องรู้ เครื่องเห็น   อันก้าวไปได้ แล้วอย่างยิ่ง ว่า พระสมณโคดม เมื่อพระองค์รู้อยู่จริงๆ จึงจะกล่าว ว่า "เรารู้" เมื่อพระองค์ เห็นอยู่จริงๆ จึงจะกล่าวว่า "เราเห็น" พระสมณโคดม แสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่เพื่อ ความไม่รู้ยิ่งพระสมณโคดมแสดงธรรม มีเหตุผล ไม่ใช่ไม่มีเหตุผล พระสมณโคดม แสดงธรรมประกอบด้วยปาฏิหาริย์ (คือความน่าอัศจรรย์จนฟ๎งเพลิน) ไม่ใช่ไม่ประกอบ ด้วยปาฏิหาริย์ ฯลฯ นี่เป็นข้อที่ ๒.
 
       อุทายิ ! สาวกของเราพอใจเรา ในเพราะอธิป๎ญญา ว่า พระสมณโคดม ประกอบด้วย ป๎ญญาขันธ์อย่างยิ่ง. และข้อที่จะมีว่า พระองค์จักไม่เห็นแนว  สําหรับคําตรัสต่อไปข้างหน้า หรือพระองค์จักไม่อาจข่มให้ราบคาบโดยถูกต้อง ซึ่ง วาจาอันเป็นข้าศึก นั้นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีขึ้นได้เลย ฯลฯ นี่เป็นข้อที่ ๓. 

       อุทายิ ! สาวกของเรา  ถูกความทุกข์ใด หยั่งเอา หรือครอบงําเอาแล้ว ย่อมเข้าไปถาม เรา ถึงความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ ถึงความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ถึงความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับทุกข์เสียได้ และความ จริงอันประเสริฐ คือ หนทาง ให้ถึงความดับทุกข์ นั้น.เราถูกถามแล้ว ก็พยากรณ์ ให้แก่พวกเธอ ทําจิตของพวกเธอ ให้ชุ่มชื่น ด้วยการพยากรณ์ป๎ญหาให้ ฯลฯ นี่เป็น ข้อที่ ๔. 

        อุทายิ ! ข้อปฏิบัติเป็นสิ่งที่เราบอกแล้วแก่สาวก ท. สาวก ท. ของเรา ปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทําสติป๎ฏฐานทั้งสี่ให้เจริญได้ คือภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้มี ปรกติตามเห็นกายในกาย มีปรกติตามเห็นเวทนาในเวทนา ท. มีปรกติตามเห็นจิต ในจิต มีปรกติตามเห็นธรรมในธรรม ท.  มีเพียรเผาบาปมีความรู้ตัวทั่วพร้อม มี สติ นําออกเสียซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก (คือความยินดียินร้าย อันเป็นของประจํา โลก) เพราะการปฏิบัติเช่นนั้น สาวกของเราเป็น อันมาก ได้บรรลุแล้วซึ่ง อภิญญา โวสานบารมี (คืออรหัตตผล) แล้วแลอยู่.
(ตอนนี้ตรัสยืด ยาว จนตลอดโพธิป๎กขิยธรรม สมาบัติ และวิชชาแปดด้วย แต่จะไม่ยกมาใส่ไว้เพราะเกินต้องการไป)ฯลฯ นี่เป็นข้อที่ ๕.
 
        อุทายิ ! เหตุห้าอย่างนี้แล ที่ทําให้สาวกของเรา สักการะ เคารพนับถือ บูชาแล้ว อาศัยเราอยู่.  (หาใช่เพราะพระองค์เป็นผู้ฉันอาหารน้อย มีธุดงค์ต่างๆ เป็นต้น ดังกล่าวแล้ว ในหัวข้อ ว่า "ส่วนที่สาวกเข้มงวดกว่าพระองค์" ข้างต้น นั้นไม่).