เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  3 of 11  
  สารบาญ ภาค 2    

  สารบาญ ภาค 3

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้ 98-103     ทรงมีวิธี "รุก" ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว 144-146
  ทรงพยายามในเนกขมัมจิต และอนุปุพพวิหาร 103-112     ทรงมีธรรมสีหนาทที่ทำเทวโลกให้สั่นสะเทือน 146-147
  ทรงอธิษฐานความเพียร ก่อนตรัสรู้ 112     ทรงเปรียบด้วยการกระทำของสีหะ 147-148
  ความฝันครั้งสำคัญ ก่อนตรัสรู้ 113-114     ทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ 148-149
  อาการแห่งการตรัสรู้ 115-117     สิ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจท้วงติงได้ 150-151
  สิ่งที่ตรัสรู้ 117-120     ไม่ทรงมีความลับ ที่ต้องให้ใครช่วยปกปิด 151-152
  การตรัสรู้คือการทับรอยแห่งพระพุทธเจ้าในอดีต 121-122     ทรงแสดงสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันแท้จริงของพระองค์ 152
  การตรัสรู้คือการทรงรู้แจ้งผัสสายตนะโดยอาการห้า 122-123     ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ในโลก 153
  เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการตรัสรู้ 123-124     ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา 153-1
  แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการตรัสรู้ 124     ทรงบังคับใจได้เด็ดขาด 155
  การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว 124     ทรงบังคับใจได้เด็ดขาด 155
  วิหารธรรมที่ทรงอยู่ เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ 125-128     ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน 155-156
  จบภาค ๒.        
        ทรงมีความคงที่ต่อวิสัยโลก ไม่มีใครยิ่งกว่า 156-157
  ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด 133-134     ทรงอยู่เหนือการครอบงำของเวทนา 157-162
  ทรงเป็นผู้ข่มอินทรีย์ได้ 134-135     ทรงยืนยันในคุณธรรมของพระองค์เองได้ 162
  ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง 135-137     ทรงยืนยันให้ทดสอบความเป็นสัมมาสัมพุทธ 163-167
  ทรงมีตถาคตพลห้าอย่าง 137     ทรงยืนยันว่าไม่ได้บริสุทธิ์เพราะตบะอื่น 167
  ทรงทราบอินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสัตว์ 137-140     ทรงยืนยันพรหมจรรย์ของพระองค์ว่าบริสทุธิ์เต็มที่ 168-172
  ทรงมีและแสดงยถาภูตญาณที่ทำให้แจ้งอธิมุตติบท 140     ทรงยืนยันว่าตรัสเฉพาะเรื่องที่ ทรงแจ่มแจ้ง 172-173
  ทรงมีเวสารัชชญาณสี่อย่าง 141-142     สิ่งที่ไม่ต้องทรงรักษาอีกต่อไป 173-174
  ทรงประกาศพรหมจักรท่ามกลางบริษัท 142-144     ทรงฉลาดในเรื่องซึ่งพ้นวิสัยโลก 174
         
 
 





ภาค2 (ต่อ)


(อ้างอิงเลขหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)

หน้า98-103 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของ จิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด สมาธินั้น ภิกษุย่อมจะ ได โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย

          ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือ ความหวั่นไหวโยกโคลง ของจิต ก็ตาม  ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญ ทำให้มากซึ่งสมาธิไหน กันเล่า?

          ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกายหรือความ หวั่นไหวโยกโคลง ของจิต ก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้ มากซึ่งอานาปานสติ สมาธิ. 

          ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทําให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่า ความหวั่น ไหว โยกโคลงของกาย รือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้? 

          ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ไปสู่ป่าหรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม แล้วนั่งคู้ขา เข้ามา โดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. 

          ภิกษุนั้นหายใจเข้า ก็มีสติ หายใจออก ก็มีสติ.เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ เข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว. 

          เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้นเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเรา หายใจออกสั้น. 

          เธอย่อมทำการสําเหนียกฝึกฝนโดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่ง กายทั้งปวง หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกาย ทั้งปวงหายใจ ออกอยู่"

          เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้ทำกายสังขาร ให้สงบระงับอยู่หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบระงับอยู่ หายใจออกอยู่".

          เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออกอยู่". 

          เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจ ออกอยู่". 

          เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะ ซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้าอยู่" ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะ ซึ่งจิตตสังขาร หายใจออกอยู่". 

          เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร  ให้สงบ ระงับ อยู่หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้สงบระงับอยู่ หายใจออกอยู่". 

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อม เฉพาะ ซึ่งจิต หายใจเข้าอยู่"ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจ ออกอยู่". 

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ ปราโมทย์ บันเทิงอยู่หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่ หายใจออก อยู่". 

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้ดํารงจิตให้ ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้าอยู่"ว่า "เราจักเป็นผู้ดํารงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออกอยู่". 

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ ปลดปล่อย อยู่ หายใจเข้าอยู่"ว่า "เราจักเป็นผู้ทําจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจ  ออกอยู่".

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่ เที่ยง หายใจเข้าอยู่"ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจออกอยู่". 

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรม เป็น ความจางคลาย หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็น ความจางคลาย หายใจออกอยู่". 

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรม เป็น ความดับ สนิท หายใจเข้าอยู่".ว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจ ออกอยู่". 

          เธอย่อมทําการสําเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรม เป็น ความสลัด กลับหลัง หายใจเข้าอยู่"ว่า"เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความ สลัดกลับ หลัง หายใจออกอยู่".ดังนี้. 

          ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ อยู่อย่างนี้แล ความหวั่น ไหวโยกโคลงแห่งกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมี ขึ้นไม่ได้.
---ฯลฯ--- 

          ภิกษุ ท. ! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็น ส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้ว ยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิต ของเรา ก็หลุดพ้นจาก อาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน. 

          ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเรา ก็อย่าลำบาก ตา ของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้  ให้เป็นอย่างดี.

          ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไปทาง 
เหย้าเรือน ของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทำในใจใน อานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.  

          ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ต่อสิ่ง ที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจ ในอานาปานสติ-สมาธินี้ ให้เป็น อย่างดี. 

          ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ต่อสิ่ง ที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจ ในอานาปานสติ-สมาธินี้ ให้ เป็นอย่างดี. 

          ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งต่อสิ่ง ที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจในอานาปานสติ สมาธินี้ ให้เป็น อย่างดี. 

          ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งต่อ สิ่งที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้นจงทําในใจ ในอานาปานสติ สมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี. 

          ภิกษุ ท. ! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลยทั้งต่อสิ่งที่ ไม่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เถิด ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น จงทําในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.  

         
(ต่อแต่นี้ มีตรัสทํานองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน  ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญา นาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จนกระทั่งความดับเย็นแห่ง เวทนา เพราะความไม่ เพลิดเพลินในเวทนานั้น เป็นที่สุด ว่าผู้ต้องการพึงทําในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็น อย่างดี).



หน้า 103-112
ทรงพยายามในเนกขมัมจิต และอนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้

         อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความรู้ ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม)เป็นทางแห่ง ความสำเร็จ ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ดังนี้ แต่ แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่น ไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปใน เนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่าอะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิต ของเรา เป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่ง ที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการ ออกจากกาม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้ากระไร เราได้เห็นโทษในกาม ทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับ อานิสงส์ในการหลีกออกจาก กาม แล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำ ให้จิต ของเรา พึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่น ไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ !เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.

          อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตาม อำนาจ แห่ง สัญญาที่ เป็นไปใน ทางกามก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใด ก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธ  ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไร เราเพราะสงบ วิตก วิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใส แห่งจิตในภายใน ทำให้ เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุด ออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่น สงบ.  อานนท์ ! ความคิด ได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.

         อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษ ในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่ เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้ นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้ง อานิสงส์แห่งอวิตก ธรรม เราก็ยัง ไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของ เราจึง เป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษ ในวิตก แล้ว นำมา ทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพ ในอานิสงส์นั้น อย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็น ฐานะที่จะทำให้จิตของ เราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเรา จึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. 

          อานนท์ !  เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌาน ที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่ง จิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่.

            อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรม คือ ฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตาม อำนาจ แห่ง สัญญา ที่เป็นไป ในวิตกก็ยัง เกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยัง มีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้น เสีย ถ้ากระไรเรา เพราะความจาง ไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันฌานที่พระ อริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! แม้ กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.  อานนท์ ! ความคิดได้ เกิด ขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรา ยังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้นำมา ทำการคิดนึกให้มาก และทั้ง อานิสงส์แห่งนิปปีตกฌาน เรายังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึง เป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ แล้วนำมา ทำการคิด นึกในข้อ นั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้น อย่าง ทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะ ที่จะทำให้จิตของ เราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเรา ได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึง  แล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน นิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! เมื่อเป็น เช่นนั้น เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขา มีสติแล สัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้า กล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่.

          อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓ การทำในใจตามอํานาจ แห่งสัญญา ที่เป็นไปในปีติ ก็ยัง เกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมี ทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกําจัดอาพาธข้อนั้นเสีย
 ถ้ากระไรเรา เพราะละสุข และ ทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส แล โทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! ความรู้สึก ได้เกิดแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอุเปกขาสุข เป็นสิ่ง ที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้ นํามาทําการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง อทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคย ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเรา จึงเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษ ใน อุเปกขาสุข แล้วนํามาทําการคิด นึก ในข้อนั้น ให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุข แล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทําให้จิต ของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอทุกขมสุขโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่น ไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็น อยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความ ดับหายไป แห่ง โสมนัสและ โทมนัสในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

          อานนท์ ! แม้เมื่อ เราอยู่ด้วย วิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้ การทำในใจตาม อำนาจแห่ง สัญญาที่เป็นไป ในอุเบกขา ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการ อาพาธ (ในทางจิต) แก่เราเหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย  ถ้ากระไร เรา เพราะผ่านพ้นรูป สัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดยประการ ทั้งปวงได้ เพราะความ ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความ กำหนดหมายอารมณ์ ที่กระทบใจ) เพราะไม่ได้ทำในใจ ซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่าง ๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า "อากาศไม่มี ที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุด ออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่นสงบ. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทําให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษ ในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่ง ที่เรายัง มองไม่เห็น ยังไม่ได้ นำมาทําการคิดนึกให้มาก และ ทั้งอานิสงส์แห่ง อากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน รูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำทํา การคิดนึก

          ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสนัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์ นั้น อย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทําให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญ จายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเรา จึงแล่น ไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสนัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะผ่านพ้น รูปสัญญา โดยประการ ทั้งปวง เสียได้ เพราะความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่ สิ้นสุด" แล้วแลอยู่.

          อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้ การทําในใจ ตามอํานาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในรูป ทั้งหลายก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย  ถ้ากระไร เรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว  พึงบรรลุวิญญา ณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุด ออกไป ในวัญญาณัญจา ยตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทํา ให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษ ในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่ง ที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึก ให้ มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง วิญญาณัญจา ยตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคย รู้รสเลย จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน อากาสา นัญจา ยตนะ แล้วนำมา ทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจา ยตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้ จิต ของเราพึง แล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเรา จึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ใน วิญญาณัญจายตนะนั้น โดยที่เห็น อยู่ว่า นั่น สงบ.

          อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า" "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่.

          อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจ ตามอำนาจ แห่งสัญญาที่ เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยัง เป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะ อาพาธ  ฉันใดก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ !  ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไร เพราะผ่านพ้นวิญญา ณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เสียแล้ว พึงบรรลุ อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" แล้วแล อยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุด ออกไป ในอากิญจัญญา ยตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษ ในวิญญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึก  ให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง อากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษใน วิญญา ณัญจา ยตนะ แล้วนำมา ทำการ  คิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ใน อากิญจัญญายตนะ แล้ว พึงเสพในอานิสงส์ นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้ จิต ของเรา พึง แล่นไป  พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญาย ตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึง แล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่น สงบ.

          อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุ อากิญจัญญายตนะ อันมีการทําในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมคืออากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตาม อำนาจแห่ง สัญญา ที่เป็นไปใน วิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. 

          ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์ เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุ เนวสัญญานาสัญญา ยตนะ๑แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป   ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุด ออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทําให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษ ในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่ง ที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมา

          ทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานสัญญายตนะ เราก็ยัง ไม่เคย ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้ รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ !  ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญ จัญญายตนะ แล้วนำมาทำ การคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญาน สัญญายตนะ แล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้น อย่างทั่วถึง ไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะ จะทำให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในเนวสัญญา นาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้งอยู่ได้  หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วจึง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญา ยตนะ แล้วแลอยู่.

          อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือ เนวสัญานาสัญญายตนะนี้ การทำ ในใจ ตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็น การ อาพาธ (ในทางจิต) แก่เราเหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อ นั้นเสีย ถ้ากระไร เรา ผ่านพ้นเนว สัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสีย แล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิต นิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

          อานนท์ ! แม้กระนั้นจิต ของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุด ออกไป ในสัญญา- เวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ. 

          อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิต ของเราเป็นเช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษ ในเนวสัญญานา สัญญา ยตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำ มาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์ แห่ง สัญญา เวทยิตนิโรธ เราก็ยัง ไม่เคย ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็น เช่นนั้น.

          อานนท์ ! ความ  คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนว สัญญา นาสัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ใน สัญญาเวทยิต นิโรธแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็น ฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญา เวทยิตนิโรธ โดยที่เห็นอยู่ ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเรา จึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็น อยู่ว่านั่น สงบ.

          อานนท์ เราแล ผ่านพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการ ทั้งปวง เสียแล้ว จึง บรรลุสัญญาเวทยิต นิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไร ๆ อีกต่อไป).

          อนึ่งอาสวะทั้งหลายได้ ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี่) ได้ด้วย ปัญญา


หน้า112
ทรงอธิษฐานความเพียร ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! เราได้รู้ถึงธรรมสองอย่าง คือความไม่รู้จักพอ ในกุศลธรรม ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยหลัง ในการตั้งความเพียร. เราตั้งความเพียรคือความ ไม่ถอยหลัง ว่า "หลัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไป ก็ตามที เมื่อยังไม่ลุถึง ประโยชน์ อันบุคคลจะ ลุได้ด้วยกําลังบุรุษ ด้วยความเพียร ของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของ บุรุษแล้ว จักหยุดความเพียรนั้นเสีย เป็นไม่มีเลย" ดังนี้.

          ภิกษุ ท. ! เรานั้นได้บรรลุความตรัสรู้ เพราะความไม่ประมาท ได้บรรลุโยคัก เขมธรรม อันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าเพราะความไม่ประมาทแล้ว. 


หน้า113-114
ความฝันครั้งสำคัญ ก่อนตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! ความฝ๎นครั้งสำคัญ (มหาสุบิน) ๕ อย่างได้ปรากฏแก่ตถาคต  ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่. ๕ อย่าง คืออะไรบ้างเล่า? คือ:- 

          มหาปฐพีนี้เป็นที่นอนอันใหญ่ของตถาคต จอมเขาหิมวันต์ เป็นหมอน มือข้างซ้าย พาดลง ที่สมุทรด้านตะวันออก มือข้างขวาพาดลงที่สมุทร ด้านตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลง ที่สมุทรด้านทักษิณ. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่๑ ได้มีแล้ว แก่ ตถาคตผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่. 

          ข้ออื่นอีก : หญ้าคา๒งอกขึ้นจากสะดือ ขึ้นไปสูงจดฟ้า ภิกษุ ท. ! นี้เป็น มหาสุบิน ข้อที่ ๒ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อน แต่การ ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่. 

          ข้ออื่นอีก : หนอนทั้งหลาย มีสีขาวหัวดา คลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่า.
          ภิกษุ ท. ! นี้ เป็นมหาสุบินข้อที่ ๓ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่. 

          ข้ออื่นอีก : นกทั้งหลาย สี่จำพวก มีสีต่าง ๆ กัน มาแล้วจากทิศทั้งสี่ หมอบ ลงที่ใกล้เท้าแล้วกลายเป็นสีขาวหมด. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๔ ได้มีแล้ว แก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่. 

          ข้ออื่นอีก : ตถาคตได้ เดินไปบนอุจจาระกองใหญ่ เหมือนภูเขา อุจจาระ มิได้เปื้อนเลย.  ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๕ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่. 

          ภิกษุ ท. ! ข้อว่ามหาปฐพีนี้เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคต จอมเขา หิมวันต์เป็น หมอน มือข้างซ้าย พาดลง ที่สมุทรด้านตะวันออก มือข้างขวาพาด ลงที่สมุทรด้าน ตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทร ด้านทักษิณนั้น เป็นมหาสุบินข้อที่๑ เพื่อให้รู้ ข้อ ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อนุตตร สัมมาสัม โพธิญาณ.

          ข้อว่าหญ้าคางอก จากสะดือ ขึ้นไปสูงจดฟูา เป็น มหาสุบินข้อที่ ๒ เพื่อให้รู้ ข้อที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่ง อริยอัฎฐังคิกมรรค แล้ว ประกาศเพียงไร แก่มนุษย์และเทวดา (ขึ้นไปถึงพรหม).

          ข้อว่า หนอนทั้งหลายมีสีขาวหัวดําคลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่านั้น เป็น มหาสุบิน ข้อที่ ๓ เพื่อให้รู้ข้อที่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวเป็นอันมาก ถึงตถาคตเป็นที่พึ่งตลอด ชีวิต.

          ข้อว่านกสี่จำพวกมีสีต่างๆกันมาจากทิศทั้งสี่ หมอบลงที่เท้าแล้วกลายเป็น สีขาว หมดนั้น เป็นมหาสุบิน ข้อที่ ๔ เพื่อให้รู้ข้อที่ วรรณะสี่จำพวก เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ สูทท์ ได้ออกจากเรือนมาบวช ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ แล้ว อย่างไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันไม่มีอื่น ยิ่งไปกว่า ได้.

          ข้อว่าตถาคตเดินไปบนกองอุจจาระใหญ่เหมือนภูเขา อุจจาระไม่เปื้อนเลย นั้น เป็น มหาสุบิน ข้อที่ ๕ เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตเป็นผู้มีลาภในบริขาร คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช ทั้งหลาย แต่ตถาคตไม่ติดจมไม่หมกใจ ในลาภนั้น เมื่อ บริโภค ก็บริโภคด้วยความเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง ออกไปพ้นจากทุกข์ได้.  


หน้า115-117
อาการแห่งการตรัสรู้

         ราชกุมาร ! ครั้นเรากลืนกินอาหารหยาบ ทำกายให้มีกำลังได้แล้ว เพราะสงัด จากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่ ๑ มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิด แต่วิเวกแล้วแลอยู่.

         เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใส ในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิแล้วแลอยู่.

         เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนาม กาย จึงบรรลุ ฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่.

         และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและ โทมนัส ในกาลก่อน จึงได้บรรลุ ฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็น ธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้ว แลอยู่. 

          เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็น ธรรมชาติ อ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ได้น้อมจิต ไปเฉพาะต่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ.

          เรานั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพ ก่อนได้หลายประการ คือระลึกได้ ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติ บ้าง สิบชาติ ยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบ ชาติบ้าง ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดหลาย สังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏกัปป์ หลายสัง วัฏฏกัปป์และ วิวัฏฏกัปป์บ้าง ว่าเมื่อเรา อยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุ สุดลง เท่านั้น

          ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้เกิดในภพโน้น มีชื่อ โคตร วรรณะ อาหาร อย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุขและทุกข์ เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น ๆ ๆ ๆ แล้ว มาเกิด   ในภพนี้. เรานั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัย ในภพก่อนได้หลายประการ พร้อม ทั้งอาการและลักขณะดังนี้.

          ราชกุมาร ! นี่เป็น วิชชาที่ ๑ ที่เราได้บรรลุแล้ว ในยามแรกแห่งราตรี.

          อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่าง เกิดขึ้น แทนแล้ว เช่นเดียว กับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่ โดยควร. 

          เรานั้นครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส เป็น ธรรมชาติ อ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ได้น้อมจิตไป เฉพาะต่อ จุตูปปาต ญาณ.

          เรามีจักขุทิพย์ บริสุทธิ์กว่าจักขุของ สามัญมนุษย์ ย่อมแลเห็นสัตว์ทั้งหลาย จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวทราม ประณีต มีวรรณะดี มีวรรณะเลว มีทุกข์ มีสุข.

          เรารู้แจ้งชัด หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย ! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฎฐิ ประกอบการงานด้วยอํานาจ มิจฉาทิฎฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ล้วนพากันเข้าสู่ อบายทุคติวินิบาตนรก.

          ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฎฐิ ประกอบการงานด้วยอํานาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้า แต่กาย แตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่สุคติ โลกสวรรค์."

          เรามี จักขุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักขุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลว ประณีต มีวรรณะดี วรรณะทราม มีทุกข์ มีสุข. รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ ฉะนี้.
          ราชกุมาร ! นี้เป็น วิชชาที่ ๒ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามกลางแห่งราตรี.

          อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่าง เกิดขึ้น  แทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่ โดยควร.  เรานั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็น ธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่ การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไป เฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ เราย่อม รู้ชัด ตามเป็นจริงว่า "นี่ทุกข์ นี่เหตุแห่งทุกข์ นี่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี่ทาง ให้ถึง ความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์; และเหล่านี้ เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เหตุแห่งอาสวะ ทั้งหลาย นี้ความดับไม่มีเหลือแห่งอาสวะ ทั้งหลาย นี้เป็นทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือ แห่ง อาสวะทั้งหลาย."

          เมื่อเรารู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชา สวะ. ครั้นจิตพ้นวิเศษ แล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว. เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสําเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ(หลุดพ้น) เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก.
          ราชกุมาร ! นี่เป็น วิชชาที่ ๓ ที่เราได้บรรลุแล้วใน ยามปลายแห่งราตรี.

         อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้วความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่าง เกิดขึ้น แทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิด แก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีเพียร เผาบาป มีตนส่งไป แล้วแลอยู่ โดยควร.


หน้า117-120
สิ่งที่ตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้อแวะ ด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไป สุดโต่ง นั้น คืออะไร? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความ ใคร่ ในกาม ทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของ ชาวบ้านเป็นของคน ชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของ พระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และการประกอบความเพียร ในการ ทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของ พระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ สองอย่าง นี้แล. 

          ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อ ปฏิบัติที่ตถาคต ได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุเป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อมเพื่อ นิพพาน. 

          ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่าง นั้น เป็น อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติ  อันเป็น หนทางอัน ประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วย องค์แปด ประการนี่เอง. แปดประการ คืออะไร เล่า? คือความเห็น ที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้องการ ทำการ งาน ที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึก ที่ถูกต้อง ความตั้งใจ มั่นคง ที่ถูกต้อง

          ภิกษุ ท. ! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะ แล้ว เป็นข้อ ปฏิบัติทำให้เกิด จักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อมเพื่อนิพพาน. 

          ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์๑คือความเกิดก็ เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ความ ประจวบ กับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนา สิ่งใดแล้ว ไม่ได้ สิ่งนั้น เป็นทุกข์

          กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบ ด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์. ภิกษุ ท. !

นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือตัณหา อันเป็นเครื่อง ทำให้ มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็น เครื่องให้ เพลิดเพลิน อย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมี ความเป็นตัณหา ในความไม่มีไม่เป็น. 

          ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิท เพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือ ความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มี ที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น. 

          ภิกษุ ท. ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือของความ ทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ  อันประกอบ ด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจา ที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียร ที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง. 

          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์ เกิดขึ้น แก่เราว่า ก็ความจริง อันประเสริฐคือความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริง อันประเสริฐ คือความทุกข์นี้ เราตถาคตกำหนดรู้รอบแล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์ เกิดขึ้นแก่เรา ว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของความทุกข์นี้เราตถาคตละได้แล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือ ของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือ ของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควร ทำให้แจ้ง เกิดขึ้นแก่เรา ก็ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือ ของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้แจ้ง แล้ว.

          ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือข้อปฏิบัติที่ทำ สัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี เกิดขึ้นแก่ เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือ ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของ ความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้เกิดมีแล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการ สิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้ยังไม่เป็นญาณ ทัศนะ ที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี; ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์. 

          ภิกษุ ท. !เมื่อใด ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์ สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ ทั้งสี่ เหล่านี้เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาด ด้วยดี; เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.


หน้า121-122
การตรัสรู้คือการทับรอยแห่งพระพุทธเจ้าในอดีต

         ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดพบรอยทางซึ่งเคยเป็น หนทางเก่า ที่มนุษย์ แต่ กาลก่อน เคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อ เดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนคร ซึ่งเป็น ราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่ กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์.

          ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น  บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชา หรือ แก่ มหาอำมาตย์ของพระราชา ว่า "ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด : ข้าพระเจ้าเมื่อ เที่ยวไปในป่าทึบได้เห็น รอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อน เคยใช้เดินแล้ว.

          ข้าพระเจ้าได้ เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนคร ซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ ด้วย สวนสมบูรณ์ ด้วย ป่าไม้สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาค น่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า !" ดังนี้. 

          ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น จึง ปรับปรุง สถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่ง และ รุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่ง ความเจริญไพบูลย์ นี้ ฉันใด;

          ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. 

          ภิกษุ ท. ! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคืออริยอัฎฐัง-  คิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

          ภิกษุ ท. ! นี้ แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายในกาลก่อนเคย ทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น. เมื่อดำเนินไปตามซึ่ง หนทางนั้นอยู่ เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ ซึ่งเหตุให้เกิด ขึ้น แห่งชรา มรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;- 
          (ข้อความต่อไปจากนี้ ได้ตรัสถึงชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะนามรูป-วิญญาณ สุดลงเพียงสังขาร โดยอาการทั้งสี่ ดังที่ได้ตรัสในกรณี แห่ง ชรามรณะ เหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัว ปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้นๆ เท่านั้น).


หน้า122-123
การตรัสรู้คือการทรงรู้แจ้งผัสสายตนะโดยอาการห้า

       
  (ครั้งหนึ่ง ประทับอยู่ที่เชตวัน ตรัสเรียกภิกษุ ท. มาแล้ว ได้ตรัสเรื่องสมณ พราหมณ์ ที่มี ทิฎฐิต่าง ๆ กัน โดยแบ่งเป็นพวก ๆ คือตรัสพวกอหรันตานุทิฏฐิมีทิฏฐิ ปรารภขันธ์ส่วน อนาคต ๕ พวก ได้แก่พวกสัญญีวาท อสัญญีวาท เนวสัญญีนา สัญญีวาท อุจเฉทวาท และทิฎฐธัมมนิพพาน วาทแล้วตรัสพวกปุพพันตานุทิฏฐิ มีทิฎฐิ ปรารภขันธ์ส่วนอดีต ๑๖ พวก และตรัสถึงทิฎฐิธัมม นิพพานวาทของพวกที่สลัด ปรันตานุทิฏฐิและปุพพันตานุทิฏฐิเสีย แล้วไปถือเอานิรามิสสุขอันเกิด จากฌาน ทุกระดับว่าเป็นนิพพาน แล้วสําคัญตนว่า เป็นผู้สงบ ระงับ ดับเย็น ไม่มีอุปาทาน  ทรงระบุว่า นั่นเป็นเพียงอุปาทานของคนพวกนั้น ตถาคตทรงทราบ ว่า อุปาทานนั้น เป็น ทิฏฐิหยาบ ที่คนเหล่านั้นปรุงขึ้น และธรรมเป็นที่ดับแห่งอุปาทานที่คน ท. เหล่านั้น ปรุงขึ้นก็มีอยู่ ทรงเห็น ธรรมเป็นเครื่องออกจากอุปาทานเหล่านั้น ไม่เวียนไป สู่อุปาทาน เหล่านั้น ดังนี้แล้วได้ตรัส ข้อความนี้สืบต่อไปว่า:-)

         ภิกษุ ท. ! ก็ บทแห่งธรรม นี้แล เป็นบทแห่งธรรมอันประเสริฐสงบระงับ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันตถาคต ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว (ตรัสรู้) นั่นคือความที่ ตถาคต รู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความดับลง ซึ่ง รสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออก แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ แล้วจึงหลุดพ้น เพราะความ ไม่ยึดมั่น ถือมั่น.

          ภิกษุ ท. ! นั่นแหละ คือข้อที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งบท แห่งธรรม 
อันประเสริฐ สงบระงับ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า กล่าวคือ ความที่ตถาคตรู้แจ้งตามท่ เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นซึ่งความดับลง ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม ซึ่งอุบาย เป็นเครื่อง ออก แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ แล้วจึงหลุดพ้นเพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.


หน้า123-124
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการตรัสรู้

         ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในขณะนั้น แสงสว่างอันโอฬาร จนหา ประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะ บันดาลได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.

          ถึงแม้ใน โลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้น แต่มืดมนหาการเกิดแห่ง จักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพ อย่างนี้ ส่องไปไม่ถึง นั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่าง อันโอฬารหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่า อานุภาพของ เทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกัน. สัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น รู้จัก กันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า

          "ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย! ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้นอกจากเราก็มีอยู่เหมือนกัน" ดังนี้
          ภิกษุ ท. ! นี้แลเป็น อัศจรรย์ครั้งที่สาม ที่ยังไม่เคยมี ได้บังเกิดมีขึ้นเพราะ การบังเกิดแห่ง ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.


หน้า124
แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการตรัสรู้

          ดูก่อนอานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ

          ดูก่อนอานนท์ ! เมื่อใด ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัม โพธิญาณ เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน.

          อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยที่คำรบห้า แห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดิน   อันใหญ่หลวง.


หน้า124
การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว

         ภิกษุ ท.! ก็เมื่อเราเป็นผู้มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็น ธรรมดา มีความโศกเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ด้วยตนก็รู้จักโทษแห่งสิ่งที่มี ความเกิดแก่ เจ็บ ตาย โศก เศร้าหมองเป็นธรรมดา.

          ครั้นรู้แล้ว จึงได้แสวงหานิพพาน อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่โศก ไม่เศร้าหมองเป็น ธรรมดา อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า อันเกษมจากโยคธรรม.

          เราก็ได้บรรลุพระนิพพานนั้น. อนึ่ง ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นได้เกิดแก่เราว่า

          ความหลุดพ้นของเราไม่กลับ กำเริบ การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีก ดังนี้.


หน้า 125-128
วิหารธรรมที่ทรงอยู่ เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ

         ภิกษุ ท. ! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศ๒แห่งวิหารธรรมอย่างเดียวกันกับ วิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อ ตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ. เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ แล้ว เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า:- 
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฎฐิ บ้าง -สัมมาทิฎฐิ บ้าง 
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะ บ้าง -สัมมาสังกัปปะบ้าง
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวาจา บ้าง -สัมมาวาจาบ้าง 
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉากัมมันตะบ้าง -สัมมากัมมันตะบ้าง 
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาอาชีวะ บ้าง -สัมมาอาชีวะ บ้าง
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวายามะ บ้าง -สัมมาวายามะ บ้าง 
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสติ บ้าง -สัมมาสติ บ้าง 
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสมาธิ บ้าง -สัมมาสมาธิ บ้าง 
        เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ บ้าง

  
       ๑. บาลี สูตรที่ ๑ วิหารวรรค มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖/๔๘. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ เชตะวัน หลังจากที่ ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลาครึ่งเดือน. ๒. คําว่า "ประเทศ" ในที่นี้ หมายถึงที่ตั้งแห่งความรู้สึกทางใจ เช่นเดียวกับแผ่นดินเป็นที่ตั้งแห่ง ความเป็นอยู่ ทางกาย. การที่คงไว้ในรูปศัพท์เดิมเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้ผู้อ่านได้ ทราบ เงื่อนงํา แห่งภาษาบาลี ซึ่งไม่ค่อย จะ ปรากฏในภาษาไทย. พระบาลีนี้พอจะแสดง ให้เราทราบได้ว่า เมื่อ ตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ พระองค์ ได้ทรงอยู่ด้วยวิหารธรรม ชนิดที่ทําให้ รู้แจ้ง ชัดต่อเวทนาใน ลักษณะเช่นที่กล่าวไว้ ในสูตร

     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ วิตก บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัญญา บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และสัญญา ที่ยังไม่เข้าไป สงบระงับบ้าง
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่เข้าไปสงบระงับแล้วบ้าง 
     เวทนาย่อมมี  พราะปัจจัยคือ การบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะ บรรลุถึงบ้าง ดังนี้.
(อีกสูตรหนึ่ง ๑ ได้ตรัสโดยข้อความที่แปลกออกไปอีกบางประการ) 

      ภิกษุ ท. ! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับ วิหารธรรม ที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ แล้วเรา ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า 

     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฎฐิ บ้าง- ความเข้าไปสงบระงับ แห่ง มิจฉาทิฎฐิ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาทิฎฐิ บ้าง-ความเข้าไปสงบระงับแห่ง สัมมาทิฎฐิ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะ บ้าง ความเข้าไป สงบระงับแห่ง มิจฉาสังกัปปะ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสังกัปปะ บ้าง- ความเข้าไป สงบระงับแห่ง สัมมาสังกัปปะ บ้าง
(๑. บาลี สูตรที่ ๒ วิหารวรรค มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๗/๕๐. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน หลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลา ๓ เดือน)

     เวทนาย่อมมี  เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวาจา บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉา วาจา บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวาจา บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมา วาจา บ้าง
       เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉากัมมันตะ บ้าง- ความเข้าไปสงบ ระงับแห่ง มิจฉา กัมมันตะ บ้าง
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมากัมมันตะ บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่ง สัมมา กัมมันตะ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาอาชีวะ บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่ง มิจฉา อาชีวะ บ้าง 
      เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาอาชีวะ บ้าง-ความเข้าไปสงบ ระงับแห่งสัมมา อาชีวะ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวายามะ บ้าง -ความเข้าไป สงบระงับแห่ง มิจฉา วายามะ บ้าง
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวายามะ บ้าง- ความเข้าไปสงบระงับแห่ง สัมมา วายามะ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสติ บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉาสติ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสติ บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่ง สัมมาสติ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสมาธิ บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งมิจฉา สมาธิ บ้าง
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสมาธิ บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัมมา สมาธิ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ บ้าง - ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งฉันทะ บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ วิตก บ้าง - ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งวิตก บ้าง
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัญญา บ้าง- ความเข้าไป สงบ ระงับแห่งสัญญาบ้าง
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่ยังไม่เข้าไป สงบระงับ บ้าง 
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่เข้าไปสงบ ระงับแล้ว บ้าง 
     เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ การบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึง บ้าง" ดังนี้.

จบภาค 2



ภาค3

เริ่มแต่ได้ตรัสรู้แล้ว จนถึง โปรดปัญจวัคคีย์ (๗๙ เรื่อง)
(อ้างอิงเลขหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)


หน้า 133-134
ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด

         พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนฟองไข่ของแม่ไก่อันมีอยู่ ๘ ฟอง  หรือ ๑๐  ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง  เมื่อแม่ไก่ นอนทับ กก  ฟ๎กด้วยดีแล้ว  บรรดาลูกไก่ ในไข่เหล่านั้น ตัวใดเจาะแทงทําลายเปลือกไข่ ด้วยจะงอยเล็บเท้า หรือจะงอยปาก ออกมาได้ก่อนตัวอื่นโดยปลอดภัย เราควรเรียกลูกไก่ตัวนั้นว่าอย่างไร คือจะ เรียกว่าตัวพี่ผู้แก่ ที่สุด  หรือตัวน้องผู้น้อยที่สุด? 

         "พระโคดมผู้เจริญ!  ใคร ๆ ก็ควรเรียกมันว่าตัวพี่ผู้เจริญที่สุด  เพราะมันเป็นตัวที่แก่ที่สุดใน บรรดาลูกไก่ เหล่านั้น" พราหมณ์ทูลตอบ.

          พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้น เรานี้ ขณะเมื่อหมู่สัตว์กําลังถูกอวิชชาซึ่งเป็น ประดุจเปลือกฟองไข่ห่อหุ้ม อยู่แล้วก็ทําลายเปลือกห่อหุ้ม คืออวิชชา ออกมาได้ก่อน ใครๆ เป็นบุคคลแต่ผู้เดียวในโลกได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อันไม่มี ญาณอะไรยิ่งไปกว่า.

          พราหมณ์! เรานั้น เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก. ความเพียรเรา ได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติเราได้กําหนดมั่นแล้วไม่ลืมหลง กายก็รํางับแล้ว ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นแล้วเป็นหนึ่งเราได้บรรล ปฐมฌาน ---ฯลฯ---
          ทุติยฌาน---ฯลฯ--- ตติยฌาน---ฯลฯ ---จตุตถฌานแล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะ ต่อ ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณ -ฯลฯ--- เป็นการทําลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ ออกจากฟองไข่ ครั้งแรก ก็น้อมจิตไปเฉพาะ ต่อ จุตูปปาตญาณ---ฯลฯ--- เป็นการทําลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ ครั้งที่สองก็น้อมจิตไปเฉพาะ ต่ออาสวักขยญาณ---ฯลฯ เป็นการทําลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ ออกจากฟองไข่ ครั้งที่สาม ดังนี้.


หน้า 134-135
ทรงเป็นผู้ข่มอินทรีย์ได้

         มาคัณฑิยะ ! จักขุเป็นสิ่งซึ่งมีรูปเป็นที่ยินดี  กําหนัดแล้วในรูป อันรูป  ทําให้ บันเทิงพร้อมแล้ว จักขุนั้น อัน ตถาคต ทรมาน ควบคุม รักษา สํารวม ไว้ได้แล้ว
 และตถาคตย่อมแสดงธรรม เพื่อการสํารวมจักขุนั้นด้วย. 

          มาคัณฑิยะ ! โสตะเป็นสิ่งซึ่งมีเสียงเป็นที่ยินดี  ฯลฯ ๓ ฆานะ เป็นสิ่งซึ่ง มีกลิ่น เป็นที่ยินดี ฯลฯ ชิวหา เป็นสิ่งซึ่งมีรสเป็นที่ยินดี ฯลฯ

          กายะเป็นสิ่งซึ่งมีโผฎฐัพพะเป็นที่ยินดี---ฯลฯ--- ใจเป็นสิ่งซึ่งมีธรรมารมณ์ เป็น ที่ยินดี กําหนัดแล้วใน ธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ทําให้บันเทิงพร้อมแล้ว ใจนั้น อันตถาคตทรมาน ควบคุม รักษาสํารวมไว้ได้แล้ว และ ตถาคตย่อมแสดงธรรม เพื่อสํารวมใจนั้นด้วย.


หน้า 135-137
ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง


         ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพลญาณ ๑๐ อย่าง และ ประกอบด้วย เวสารัชชญาณ ๔ อย่าง จึงปฎิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศ พรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.

          สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นตถาคตพล ๑๐ อย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบ พร้อมแล้วปฎิญญา ตําแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร  ในท่ามกลาง บริษัท ทั้งหลายได้

สิบอย่างคือ:

         (๑) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งสิ่งเป็นฐานะ (คือมีได้เป็นได้) โดยความเป็น สิ่ง มีฐานะ ซึ่งสิ่งไม่เป็นฐานะ (คือไม่มีได้ไม่เป็นได้) โดยความเป็นสิ่งใช่ฐานะ : นี้เป็น ตถาคตพลของตถาคต. 
          (๒) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบาก (คือผล) ของการทํากรรมที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ทั้งโดยฐานะและโดยเหตุ : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต. 
          (๓) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งปฏิปทาเครื่องทําผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ ภูมิทั้งปวง ได้ : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.
          (๔) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งโลกนี้อันประกอบด้วยธาตุมิใช่อย่างเดียว ด้วยธาตุต่างๆ กัน นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต. 
          (๕) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอธิมุติ (คือฉันทะและอัธยาศัย) อันต่างๆกัน ของสัตว์ทั้งหลาย : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต. 
          (๖) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์ เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.
          (๗) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย : นี่ก็เป็นตถาคตพล ของตถาคต. 
          (๘) ตถาคต ย่อมระลึกได้ ซึ่งขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีชนิดต่าง ๆ กัน คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง--ฯลฯ : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.
          (๙) ตถาคต ย่อมเห็นสัตว์ ท. ด้วยทิพยจักขุอันหมดจด ก้าวล่วงจักขุมนุษย์ : เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนอยู่บังเกิดอยู่---ฯลฯ : นี่ก็เป็นตถาคตพล ของตถาคต. 
          (๑๐) ตถาคต ย่อมทําให้แจ้ง เจโตวิมุติ ป๎ญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะเพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ได้๔---ฯลฯ : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต. 
          สารีบุตร ! เหล่านี้แล เป็นตถาคตพลสิบอย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบ แล้ว ย่อมปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร  ให้เป็นไปใน ท่ามกลางบริษัททั้งหลาย. 


หน้า 137
ทรงมีตถาคตพลห้าอย่าง

         ภิกษุ ท.! เราถึงแล้วซึ่งอภิญญาโวสานบารมี ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน จึงปฏิญญา

         ภิกษุ ท.! ตถาคตพละของตถาคต ๕ อย่างเหล่านี้ อันเป็นกําลังที่ตถาคต ประกอบ พร้อมแล้ว จึงปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.

         ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า? ห้าอย่างคือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ป๎ญญาพละ. 

         ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ตถาคตพละของตถาคต ๕ อย่าง อันเป็นกําลัง ที่ตถาคต ประกอบพร้อมแล้ว จึงปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศ พรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.


หน้า 137-140
ทรงทราบอินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสัตว์
(คําอธิบาย ทสพลญาณ ข้อที่หก)

          อุทายิ ! บุคคล ๔ จําพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก. สี่จําพวกเหล่าไหน เล่า? สี่จําพวก คือ
 
          อุทายิ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ ความดําริอันซ่านไป (สรสงฺกปฺปา) ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ กลุ้มรุมเขาอยู่ เขาทน
มีความดำริอันซ่านไปเหล่านั้น
ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ไม่กระทําให้สิ้นสุดเสีย ไม่กระทําให้ถึงซึ่งความไม่มี

          อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แล ว่า เป็น ผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส (สํยุตฺโต) หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลส (วิสํยุตฺโต) ไม่.
          เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น?

          อุทายิ ! เพราะหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อน แห่งอินทรีย์(ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้. 
          อุทายิ ! แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืน ซึ่งอุปธิ ความดําริอันซ่านไป  ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ  กลุ้มรุมเขาอยู่ เขาไม่ทน มีความดำริ อันซ่านไปเหล่านั้น เขาละอยู่ บรรเทาอยู่ กระทําให้สิ้นสุดอยู่ กระทํา ให้ถึงซึ่งความ ไม่มีอยู่

          อุทายิ! เราย่อมกล่าวบุคคลแม้นี้ ว่า ยังเป็นผู้ประกอบอยู่ ด้วยกิเลส หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลสไม่ อยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่าง นั้น?
          อุทายิ ! เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้. 
          อุทายิ ! แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่ง อุปธิ เพราะการหลงลืมแห่งสติในกาลบางคราว ความดําริอันซ่านไปซึ่งประกอบด้วยอุปธิ ก็กลุ้มรุมเขาอยู่
         อุทายิ ! (ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ) เกิดขึ้น ก็ยังช้า (กว่าระยะเวลาที่) เขาทำให้ความดำรินั้นละไป บรรเทาไป สิ้นสุด ไป ถึงความไม่มีไปอย่างฉับพลัน ไปเสียอีก. 
          อุทายิ ! เปรียบเหมือนบุรุษหยดน้ําสองสามหยด ลงไปในกระทะเหล็กที่ร้อน เปรี้ยงอยู่ทั้งวัน (ระยะเวลาที่) น้ําหยดลงไป ยังช้า (กว่าระยะเวลาที่) น้ํานั้นถึงซึ่ง ความเหือดแห้งหายไปอย่างฉับพลัน ฉันใด

          อุทายิ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน กล่าวคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อละ เพื่อสลัดคืน งอุปธิ เพราะการหลงลืมแห่งสติในกาลบางคราว ความดําริ อันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ ก็กลุ้มรุมเขาอยู่

          อุทายิ ! (ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ) เกิดขึ้นก็ยังช้า(กว่าระยะเวลาที่) เขาทําให้ ความดํารินั้นละไป บรรเทาไป สิ้นสุดไป ถึงความไม่มี ไปอย่างฉับพลัน ไปเสียอีก

          อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลแม้นี้ ว่า ยังเป็น  ผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส หาใช่เป็น ผู้ปราศจากกิเลสไม่ อยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไรเรา จึงกล่าวอย่างนั้น?
          อุทายิ ! เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.
          อุทายิ ! ก็แต่ว่า บุคคลบางคนในกรณีนี้ รู้แจ้งว่า "อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์" ดังนี้แล้ว   เป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นแห่งอุปธิ
          อุทายิ ! เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แล ว่าเป็นผู้ปราศจากกิเลส หาใช่เป็นผู้ประกอบอยู่ ด้วยกิเลสไม่. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น?
          อุทายิ ! เพราะเหตุว่าเรารู้ความ ยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้. 
          อุทายิ ! บุคคล ๔ จําพวกเหล่านี้แล มีอยู่ในโลก. 

หมายเหตุ: ข้อความที่กล่าวนี้ อาจจะเข้าใจยาก สําหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสํานวนบาลี จึงขอสรุปความให้ดังนี้ : พวกที่หนึ่ง ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ ครั้นเกิดสรสังกัปปะความคิด ที่เป็น กิเลส เนื่องมาแต่อุปธิเขาทนต่อสรสังกัปปะนั้น ไม่มีการละการบรรเทาซึ่ง สังกัปปะ เขายังเป็น สํยุตตโต คือประกอบอยู่ด้วยอุปธิ. พวกที่สอง เมื่อเกิดสรสังกัปปะ เขาไม่ยอมทน แต่พยายาม เพื่อละเพื่อบรรเทาซึ่งสังกัปปะนั้น ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็น สํยุตโตอยู่เช่นเดียวกัน. พวกที่สาม ปฎิบัติเพื่อละอุปธิ เกิดสรสังกัปปะเมื่อเขาเผลอ ในบางคราวยังไม่ทันทําสติให้เกิดขึ้น เขาละ   สรสังกัปปะได้ แต่ก็ยังเป็นสํยุตโต อยู่นั่นเอง เพราะยังละอุปธิไม่ได้. พวกที่สี่ รู้แจ้งด้วยป๎ญญา ถึงข้อที่อุปธิเป็นมูลแห่ง ทุกข์ แล้วหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นอุปธิ นี้เรียกว่าเป็นวิสํยุตโต ผู้ไม่ ประกอบอยู่ด้วยอุปธิ. สี่พวกนี้แสดงความต่างแห่งอินทรีย์ซึ่งทรงทราบได้ด้วยพระญาณ. 

ยังมีบาลีอีกแห่งหนึ่ง ทํานองจะแสดงเรื่องอินท๎ ริยปโรปริยัตญาณด้วยเหมือนกัน หากแก่เรียก โดยชื่ออื่น ว่าปุริสินท์ริยญาณ; แสดงอินทรีย์ของสัตว์ ๖ ประเภท คือ พวกที่หนึ่ง อกุศลปรากฏ กุศลไม่ปรากฏ แต่กุศลมูลมีอยู่ จึงไม่เสื่อมอีกต่อไป. พวกที่สอง กุศลปรากฏ อกุศลไม่ปรากฏ แต่อกุศลมูลมีอยู่จึงเสื่อมต่อไป. พวกที่สาม ไม่มีธรรม ขาวเลย มีแต่ธรรมดํา ตายไปอบาย. พวกที่สี่ อกุศลปรากฏ กุศลไม่ปรากฏ กุศลมูลถูกถอน จึง เสื่อมต่อไป. พวกที่ห้า กุศลปรากฏ อกุศลไม่ปรากฏอกุศลมูล ถูกถอน จึงไม่เสื่อมต่อไป. พวกที่หก มีแต่ธรรมขาวโดยส่วนเดียว ไม่มีธรรมดําเลย จักปรินิพพานในทิฎฐธรรม. ดังนี้ก็เป็นการ แสดงความต่างแห่งอินทรีย์ ของสัตว์.
ผู้สนใจพึงอ่านรายละเอียดจากบาลี สูตรที่ ๘ ปฐมวรรค ทุติยป๎ณณาสก์ฉกฺก.
อํ. ๒๒/๔๕๑/๓๓๓. -ผู้รวบรวม.



หน้า 140
ทรงมีและทรงแสดงยถาภูตญาณที่ทำให้แจ้งอธิมุตติบท

         อานนท์ ! ธรรมคือญาณเหล่าใด เป็นไปเพื่อกระทําให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่ง ซึ่งอธิมุตติบท (ธรรมที่ต้อง ปล่อยวางทุกอย่างทุกประการ) ท. เหล่านั้น

          อานนท์! เราเป็นผู้แกล้วกล้า รู้เฉพาะในธรรมคือญาณเหล่านั้น เพื่อจะแสดง ซึ่งธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่ง อธิมุตติบท ท. เหล่านั้นโดยประการที่ผู้ปฎิบัติแล้ว จักรู้ อธิมุตติบท ที่มีอยู่ ว่ามีอยู่ ที่ไม่มีอยู่ ว่าไม่มีอยู่ ที่เลว ว่าเลว ที่ประณีต ว่า ประณีต ที่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ว่ามีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ที่ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ว่าไม่มีสิ่งอื่นยิ่ง กว่า หรือ อีกอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัติแล้วนั้นจักรู้สิ่งที่ควรรู้ หรือว่าจักเห็นสิ่งที่ควรเห็น หรือว่าจัก ทําให้ แจ้งสิ่งที่ควรทําให้แจ้ง ดังนี้นั้น. ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้อยู่.

          อานนท์ ! ญาณนั่น เป็นญาณที่ไม่มีญาณอื่นยิ่งกว่า ในบรรดาญาณ ท. นั่นก็คือ ยถาภูตญาณ ในอธิมุตติบท ท. นั้น ๆ

          อานนท์ ! เรากล่าวว่า ญาณอื่นที่ยิ่งกว่าประณีตกว่า ญาณนั้น ย่อมไม่มี. 
(ต่อจากนี้ ได้ทรงแสดงตถาคตพลญาณ ๑๐ ในฐานะที่เป็นยถาภูตญาณ อันไม่มีญาณ อื่นยิ่งกว่าในกรณีนี้ ดูรายละเอียดที่หน้า ๑๓๕ แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หัวข้อว่า "ทรงมี ตถาคตพล ญาณสิบ) 


หน้า 141-142
ทรงมีเวสารัชชญาณสี่อย่าง

         ภิกษุ ท.! เหล่านี้เป็นเวสารัชชญาณสี่อย่างของตถาคต ที่ตถาคตประกอบ พร้อมแล้ว ปฏิญญาตำแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่าม กลางบริษัท ท .ได้สี่อย่างคือ

          (๑). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่านี้ๆ อันท่าน ผู้ปฏิญญาตนเป็นสัมมาสัมพุทธะอยู่ ไม่ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความ เป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

          (๒). ตถาคต ไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหมหรือใครๆ ในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "อาสวะเหล่านี้ๆ อันท่าน ผู้ปฏิญญาตนเป็นขีณาสพผู้สิ้นอาสวะอยู่ ยังไม่สิ้นรอบแล้ว" ดังนี้.  
          ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึง ความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

          (๓). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหมหรือใครๆในโลกจักโจทท้วงเราได้ ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ธรรมเหล่าใดที่ท่าน กล่าว ว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่ผู้เสพ ธรรมเหล่านั้นถึงเมื่อบุคคลเสพอยู่ ก็หาอาจทำอันตรายไม่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น   จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

          (๔). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆในโลก จักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านแสดงธรรม เพื่อ ประโยชน์อย่างใด ประโยชน์นั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคล ผู้ประพฤติ ตามธรรมนั้น" ดังนี้. 
          ภิกษุ ท.! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.
          ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล เป็นเวสารัชชญาณสี่อย่างของตถาคต อันตถาคต ประกอบพร้อมแล้ปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.


หน้า 142-144
ทรงประกาศพรหมจักรท่ามกลางบริษัท
(เรื่องเบญจขันธ์และปฏิจจสมุปบาท)

         ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพลญาณ ๑๐ อย่าง และประกอบ ด้วย เวสารัชชญาณ ๔ อย่าง จึง ปฏิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศ พรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลายว่า
          "รูป คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดรูป คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งรูป คือ อย่างนี้ๆ"
          และว่า "เวทนา คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดเวทนา คืออย่างนี้ๆ ความไม่ ตั้งอยู่ได้ แห่งเวทนา คืออย่างนี้ๆ"" และว่า "สัญญา คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิด สัญญา คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งสัญญา คืออย่างนี้ๆ"
          และว่า "สังขาร ทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้ง อยู่ได้แห่งสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ"
         และว่า "วิญญาณ คืออย่างนี้ๆ เหตุให้ เกิดวิญญาณ คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้ง อยู่ได้แห่งวิญญาณ คืออย่างนี้ๆ"และว่า "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีเพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

ข้อนี้ได้แก่ความที่:- 
เพราะมีอวิชชาเป็นป๎จจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย 
เพราะมีสังขารเป็นป๎จจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นป๎จจัย จึงมีนามรูป 
เพราะมีนามรูปเป็นป๎จจัย จึงมีสฬายตนะ 
เพราะมีสฬายตนะเป็นป๎จจัย จึงมีผัสสะ 
เพราะมีผัสสะเป็นป๎จจัย จึงมีเวทนา 
เพราะมีเวทนาเป็นป๎จจัย จึงมีตัณหา 
เพราะมีตัณหาเป็นป๎จจัย จึงมีอุปาทาน 
เพราะมีอุปาทานเป็นป๎จจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นป๎จจัย จึงมีชาติ 
เพราะมีชาติเป็นป๎จจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส- อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้. 

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร;  เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ 
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป 
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ 
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา 
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา 
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ 
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้ แล.


หน้า 144-146
ทรงมีวิธี "รุก" ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว

         (เรื่องในชั้นแรกมีอยู่ว่า ปริพพาชกชื่อสรภะ เคยบวชอยู่ในธรรมวินัยนี้ แล้วละ ทิ้ง ไปบวชเป็นปริพพาชก เที่ยวร้องประกาศอยู่ว่า คนรู้ถึงธรรมวินัยของพวก สมณสากยบุตร ทั่วถึงแล้ว ไม่เห็นดีอะไรจึงหลีกมาเสีย.  ครั้นความนี้ทราบถึงพระผู้มี พระภาคเจ้า ได้เสด็จ ไปสู่อารามของปริพพาชกพวกนั้น และสนทนากันในกลาง ที่ประชุมปริพพาชก. ทรงถาม เฉพาะสรภะปริพพาชก ให้บรรยายออกไปว่า ธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเป็น อย่างไร). 

ตรัสว่า:- 
         ดูก่อนสรภะ ! ได้ยินว่าท่านกล่าวดังนี้จริงหรือว่า "ธรรมของพวกสมณ สากยบุตร นั้น เรารู้ทั่วถึงแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงนั่นเอง จึงหลีกมาเสียจากธรรมวินัยนั้น" ดังนี้. (ไม่มีคําตอบจึงตรัสถามเป็นครั้งที่สอง)

          ดูก่อนสรภะ ! ท่านจงพูดไปเถิดว่า ท่านรู้ทั่วถึงธรรมของพวกสมณสากยบุตร อย่างไร. ถ้าท่านพูดไม่ครบถ้วน เราจะช่วยพูดเติมให้ครบถ้วน. ถ้า คําของท่านครบ ถ้วนถูกต้องดีแล้ว เราจักอนุโมทนา.(นิ่งไม่มีคําตอบอีก จึงตรัสถามเป็น ครั้งที่สาม) 

          ดูก่อนสรภะ ! ท่านจงพูดเถิด. ธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเรา เป็น ผู้บัญญัติเอง เราย่อมรู้ดี.  ถ้าท่านพูดไม่บริบูรณ์ เราจะช่วยพูดเติมให้บริบูรณ์ ถ้าท่าน พูดได้บริบูรณ์ เราก็จักอนุโมทนา. (นิ่งไม่มีคําตอบ ในที่สุดพวกปริพพาชกด้วยกัน ช่วยกันรุมขอร้องให้สรภะปริพพาชกพูด. สรภะก็ยังคงนิ่งตามเดิม. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส ข้อความนี้ ) 

          ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า "ท่านอวดว่าท่านเป็น สัมมาสัมพุทธะ แต่ธรรมเหล่านั้น ท่านยังไม่รู้เลย" ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถาม ไล่เลียง เขาให้เป็นอย่างดี (ถึงข้อธรรมที่เขาว่าเราไม่รู้ แต่เขารู้). เขานั้น ครั้นถูกเรา ซักไซ้ สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลําบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถล นอกลู่นอกทางบ้าง แสดงความขุ่นเคืองโกรธแค้น น้อยอกน้อยใจออกมาให้ปรากฏ บ้าง หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มี คําพูดหลุดออก มาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.

          ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า  "ท่านอวดว่าท่านสิ้น อาสวะ.แต่อาสวะเหล่านี้ๆ ของท่านยังมีอยู่" ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียง เขาให้ เป็นอย่างดี (ถึงอาสวะที่เขาว่ายังไม่สิ้น).  เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถาม ไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากจะตกอยู่ ในฐานะลําบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทาง บ้าง แสดงความขุ่นเคือง โกรธแค้น น้อยอกน้อยใจ ออกมาให้ปรากฏบ้าง หรือ ต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคําพูดหลุดออกมาได้ เหมือนอย่าง สรภะ ปริพพาชกนี้บ้าง.


หน้า 146-147
ทรงมีธรรมสีหนาทที่ทำเทวโลกให้สั่นสะเทือน

         ภิกษุ ท.! พญาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัยในเวลาเย็น เหยียดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาทสามครั้งแล้วก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร. บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใดที่ได้ยินสีหนาท สัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจ พวกที่อาศัยโพรงก็เข้าโพรง ที่อาศัยน้ำก็ลงน้ำ พวกอยู่ป่าก็เข้าป่า ฝูงนกก็โผขึ้นสู่ อากาศ เหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้าน นิคมและเมืองหลวง ที่เขาผูกล่ามไว้ ด้วยเชือกอันเหนียว ก็พากันกลัว กระชากเชือกให้ขาด แล้วถ่ายมูตรและกรีสพลาง แล่นหนีไปพลาง ทั้งข้างโน้นและข้างนี้.

          ภิกษุ ท.! พญาสัตว์ชื่อสีหะ เป็นสัตว์มีฤทธิ์ มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพ มากกว่า บรรดาสัตว์เดรัจฉาน ด้วยอาการอย่างนี้แล.

          ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลใดตถาคตอุบัติขึ้นในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบโดยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ พอฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูสอนเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ปลุก สัตว์ให้ตื่น เป็นผู้จําแนกธรรม.

          ตถาคตนั้นแสดงธรรมว่า สักกายะ (คือทุกข์) เป็น เช่นนี้ เหตุให้เกิดสักกายะ เป็นเช่นนี้ ความดับไม่เหลือแห่งสักกายะเป็นเช่นนี้ ทาง ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง สักกายะเป็นเช่นนี้.

          พวกเทพเหล่าใดเป็นผู้มีอายุยืนนาน มีวรรณะ มากไปด้วยความสุข ดํารงอยู่ นมนานมาแล้วในวิมานชั้นสูง พวกเทพนั้นๆ โดยมาก ได้ฟ๎งธรรมเทศนาของตถาคต แล้ว ก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ สํานึกได้ว่า "ท่านผู้เจริญเอ๋ย! พวกเราเมื่อเป็นผู้ ไม่ เที่ยง ก็มาสําคัญว่าเป็นผู้เที่ยง เมื่อไม่ยั่งยืน ก็มาสําคัญว่ายั่งยืน เมื่อไม่มั่นคงก็มา สําคัญว่า เราเป็นผู้มั่นคง.

          พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนไม่มั่นคงและถึงทั่วแล้วซึ่งสักกายะ คือความทุกข์" ดังนี้. 

          ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ศักดิ์มาก อานุภาพมาก กว่าสัตว์โลก พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยอาการอย่างนี้แล.


147
ทรงเปรียบการกระทาของพระองค์ ด้วยการกระทำของสีหะ

ภิกษุ ท.! สีหมิคราชา ออกจากที่อาศัย ในเวลาเย็น; ครั้นออกจากที่อาศัยแล้ว ก็เหยียดยืดตัว ครั้นเหยียดยืดตัวแล้ว ก็เหลียวดูทิศทั้งสี่ โดยรอบ ครั้นเหลียวดูทิศ ทั้งสี่ โดยรอบแล้ว ก็บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ครั้นบันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้ว ก็ออกไปสู่ ที่หากิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สีหมิคราชานั้นมีความคิดว่า เราอย่าต้องทำให้สัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในพื้นที่อันขรุขระต้องถึงซึ่งความลำบากเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท.! คาว่า "สีหะ" นี้แล เป็นคาแทนชื่อแห่งตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ. ภิกษุ ท.! ข้อที่ ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท นั้น เป็นคำแทนชื่อของการบันลือ สีหนาท. ภิกษุ ท.! ตถาคตพละของตถาคต ๑๐ อย่างเหล่านี้ ที่ตถาคตประกอบ พร้อมแล้ว จึงปฏิญญา ตำแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร ให้เป็นไปในบริษัททั้งหลาย.
(สำหรับตถาคตพลญาณทั้ง ๑๐ ซึ่งเป็นคุณลักษณะของผู้สามารถบันลือสีหนาทนั้น พึงดูรายละเอียดที่หน้า ๑๓๕ -๑๓๖ แห่งหนังสือเล่มนี้).

148
ทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ

๑. บาลี สี.ที. ๙/๒๑๙/๒๗๒. ตรัสแก่อเจลกัสสปะ ที่กัณณกถลมิคทายวัน ใกล้เมือง อุชุญญา.เรื่องตอนนี้ที่จริงควรนำไปจัดไว้ ในตอนที่ได้ประกาศพระศาสาแล้ว แต่เป็น เพราะเห็นว่าเป็นจำพวกคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง จึงกล่าวเสียในตอนนี้ ด้วยกัน ทั้งมีเนื้อความเนื่องกันอยู่ด้วย.... - ผู้รวบรวม.

กัสสปะ ! นี้เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้ คือเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึง กล่าวว่า "พระสมณโคดม บันลือสีหนาทก็จริงแล แต่บันลือในที่ว่างเปล่า หาใช่บันลือ ในท่ามกลางบริษัทไม่" ดังนี้ ส่วนท่านอย่าพึงกล่าว เช่นนั้นแต่พึงกล่าว (ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัท ท. หาใช่บันลือ ในที่ว่าง เปล่าไม่".

กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้ เป็นได้ คือเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงกล่าวว่า "พระสมณโคดม บันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทก็จริงแต่หาได้บันลือ อย่างองอาจไม่" ดังนี้. ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้น แต่พึงกล่าว(ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัท และบันลืออย่าง องอาจด้วย".

กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้ คือ เหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงกล่าวว่า "พระสมณโคดม บันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทอย่างองอาจก็จริงแล แต่ว่าหาได้มีใครถามป๎ญหาอะไรกะเธอ (ในที่นั้น) ไม่ และถึงจะถูกถาม เธอก็หา พยากรณ์ได้ไม่ และถึงจะพยากรณ์ก็ไม่ทำความชอบใจให้แก่ผู้ฟ๎งได้ และถึงจะทำ ความชอบใจให้แก่ผู้ฟ๎งได้ เขาก็ไม่สำคัญถ้อยคำนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งควรฟ๎งและถึง จะสำคัญว่า เป็นสิ่งควรฟ๎ง ก็ไม่เลื่อมใส และถึงจะเลื่อมใส ก็ไม่แสดงอาการของ ผู้เลื่อมใส และถึง จะแสดงอาการของผู้เลื่อมใส ก็ไม่ปฏิบัติ ตามคำสอนนั้น และถึงจะ ปฏิบัติตาม คำสอนนั้น ก็ไม่ปฏิบัติอย่างอิ่มอกอิ่มใจ" ดังนี้.

ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้น แต่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า"พระสมณโคดม บันลือสีหนาท ท่ามกลาง บริษัท อย่างแกล้วกล้า มีผู้ถามป๎ญหา ถูกถามแล้วก็พยากรณ์ ด้วยการ พยากรณ์ ย่อมทำจิตของผู้ฟ๎งให้ชอบใจ ผู้ฟ๎งย่อมสำคัญถ้อยคำนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งควรฟ๎ง ฟ๎งแล้วก็เลื่อมใส เลื่อมใสแล้วก็แสดงอาการของผู้เลื่อมใส และปฏิบัติตามคำสอนนั้น ปฏิบัติแล้ว ก็เป็นผู้อิ่มอกอิ่มใจได้"ดังนี้.

กัสสปะ ! ครั้งหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎใกล้กรุงราชคฤห์. ปริพพาชกผู้เป็นสพรหมจารี ของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า นิโครธะ ได้ถามป๎ญหาเรื่องการเกียดกันบาปอย่างยิ่งกะเรา ณ ที่นั้น. เราได้พยากรณ์แก่เขา. ในการพยากรณ์นั้นเขาได้รับความพอใจยิ่งกว่าประมาณ
(คือยิ่งกว่าที่เขาคาดไว้ก่อน).


150
สิ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจท้วงติงได้


ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ที่ใครๆ ไม่อาจท้วงติงได้ด้วยธรรม ๓ อย่างคือ:-

ภิกษุ ท.! (๑) ตถาคตมีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้ว ในธรรมนั้น ๆตถาคตไม่มองเห็น วี่แวว ช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหมหรือใครๆในโลก จักท้วงติงเรา ได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านไม่ใช่เป็นผู้มีธรรม อันตนกล่าวไว้ดีแล้ว เพราะเหตุเช่นนี้ๆ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! (๒) ปฏิปทาเครื่องทำ ผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่เราบัญญัติ ไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาการที่สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติแล้ว ย่อมกระทำ ให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ได้ด้วย ป๎ญญา อันยิ่งเอง ในธรรมอันตนเห็นแล้วนี่เองเข้าถึงวิมุตตินั้นแล้วแลอยู่.

ในปฏิปทานั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทาง ที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ปฏิปทาเครื่องทำ ผู้ปฏิบัติ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาการ ที่ ฯลฯ แล้วแลอยู่ ก็หาไม่"ดังนี้.

ภิกษุ ท.! (๓) สาวกบริษัทของเรา นับด้วยร้อยเป็นอเนก ที่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ๒ฯลฯ. ในข้อนั้น เราไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่าสมณะ หรือ พราหมณ์ เทพ มารพรหม หรือใคร ๆ ในโลกจักท้วงติงเราได้ด้วย ทั้งเหตุผลว่า "สาวกบริษัทของ ท่าน มีนับด้วยร้อยเป็นอเนกก็หามิได้ ที่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ ฯลฯ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เมื่อเรามองไม่เห็นวี่แววช่องทางนั้น ๆ ก็เป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึง ความเป็นผู้กล้าหาญ อยู่ได้. นี้แล เป็นสิ่งที่ใครไม่ท้วงติงตถาคตได้๓ อย่าง.


151
ไม่ทรงมีความลับ ที่ต้องให้ใครช่วยปกปิด


โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี ศีลบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีศีล บริสุทธิ์แล้ว. ศีลของเรา บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลยสาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้อง ช่วยกันทำการปูองกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับ ศีลทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกัน จาก สาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับศีลเลย.

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี อาชีวะบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มี อาชีวะ บริสุทธิ์แล้ว. อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลยสาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยการทำการปูองกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับอาชีวะ ทั้งตถาคต ก็ไม่หวังการปูองกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับอาชีวะเลย.

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี การแสดงธรรมบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอจึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีการแสดงธรรม บริสุทธิ์. การแสดงธรรมของเราบริสุทธิ์ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทำการ ปูองกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรม ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรมเลย.

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี การตอบคาถามบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอจึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีการตอบคำถาม บริสุทธิ์. การตอบคำถามของเราบริสุทธิ์ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการ ทำการ ปูองกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคำถาม ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคำถามเลย.

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะ บริสุทธิ์แล้ว. ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทำการ ปูองกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับญาณทัสสนะ ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่อง อันเกี่ยวกับณาณทัสสนะเลย ดังนี้.


152
ทรงแสดงสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันแท้จริงของพระองค์

(เมื่อได้ทรงสนทนากับพระอานนท์ ถึงเรื่องอันเป็นอิทธิปาฏิหาริย์เกี่ยวกับ การจุติและ การประสูติ เป็นต้น ของพระองค์ ว่าเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์แล้ว ได้ทรงแสดงเรื่องที่ เราควร จะเห็นว่าน่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นอีก ดังต่อไปนี้ )

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทรงจำสิ่งอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแต่ก่อน ของตถาคต ข้อนี้ไว้.

อานนท์ ! ในกรณีนี้คือ
เวทนา เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคตแล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป.
สัญญา เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคตแล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป.
วิตก
เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคตแล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป.

อานนท์ ! เธอจงทรงจำสิ่งอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแต่ก่อนของตถาคตข้อนี้แล.
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่ว่า เวทนา เป็นของแจ่มแจ้งแก่พระผู้มี-พระภาคแล้ว จึงเกิดขึ้นแล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป สัญญา เป็นของแจ่มแจ้ง แก่พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป วิตก เป็นของแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป แม้ใด; ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ จะทรงจำไว้ว่า เป็นสิ่งอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแต่ก่อนเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้."


153
ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ในโลก๑


ภิกษุ ท.! บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้น เป็นอัจฉริยะมนุษย์. ใครกันเล่า เป็นบุคคลเอก? ตถาคต ผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองนี้แลเป็นบุคคลเอก.ภิกษุ ท.! นี่แล บุคคลเอก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ดังนี้.


153-1
ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา๒


ภิกษุ ท.! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่ยินดี กำหนัดแล้วในรูปบันเทิง ด้วยรูป. เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวนความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของรูป. ภิกษุ ท.! เทวดา แล มนุษย์ทั้งหลาย มีเสียง๓ฯลฯ มีกลิ่น ฯลฯ มีรส ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ ฯลฯ

มีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี กำหนัดแล้วในธรรมารมณ์ บันเทิงด้วยธรรมารมณ์. เทวดาแล มนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจายความแตก ทำลาย ของธรรมารมณ์.

ภิกษุ ท.! ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งตามเป็นจริงซึ่งเหตุเป็นเครื่อง เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ำทราม และอุบาย เครื่องหลุดพ้น ออกไปได้ แห่งรูปทั้งหลายแล้ว ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่ยินดี ไม่กำหนัด ในรูป ไม่บันเทิงด้วยรูป.

ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุขเพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตก ทำลาย ของรูป ภิกษุ ท.! ตถาคตรู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความ ตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้ แห่งเสียง ท. แห่งกลิ่น ท. แห่งรส ท. แห่งโผฏฐัพพะ ท. และแห่งธรรมารมณ์ ท.แล้ว ไม่เป็นผู้มีเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ไม่กำหนัดไม่บันเทิง ด้วยเสียง เป็นต้น ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความแปรปรวนความกระจัด กระจาย ความแตกทำลาย แห่งธรรมมีเสียง เป็นต้นนั้นๆ. (พระผู้มีพระภาคได้ทรงกล่าว คำนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสคำนี้แล้ว พระศาสดาได้ภาษิตคำอื่น อีกที่ผูกเป็นคาถา ดังนี้ว่า)

รูป ท. เสียง ท. กลิ่น ท. รส ท. ผัสสะ ท. ธรรม ท. ทั้งสิ้นอันน่าปรารถนา น่ารัก ใคร่ น่าชอบใจ ยังเป็นสิ่งกล่าวได้ว่ามีอยู่เพียงใด มนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก ยังสมมติว่า "นั่นสุข"อยู่เพียงนั้น. ถ้าเมื่อสิ่งเหล่านั้นแตกดับลงในที่ใด สัตว์เหล่านั้น ก็สมมติว่า "นั่นทุกข์" ในที่นั้น. สิ่งที่พระอริยเจ้า ท. เห็นว่าเป็น ความสุข ก็คือความดับสนิทแห่งสักกายะทั้งหลาย

แต่สิ่งนี้กลับปรากฏเป็นข้าศึกตัวร้ายกาจ แก่สัตว์ ท. ผู้เห็นอยู่โดยความเป็นโลก ทั้งปวง. สิ่งใด ที่สัตว์อื่นกล่าวแล้วโดยความเป็นสุข พระอริยเจ้า ท. กล่าวสิ่งนั้น โดยความเป็น ทุกข์. สิ่งใดที่สัตว์อื่นกล่าวแล้ว โดยความเป็นทุกข์ พระ-อริยะผู้รู้ กล่าวสิ่งนั้นโดยความ เป็นสุข ดังนี้.


155
ทรงบังคับใจได้เด็ดขาด


พราหมณ์ ! เราเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก. เราได้ประดิษฐานมหาชน ไว้แล้วในอริยญายธรรม คือในความเป็นผู้มีธรรมอันงดงาม มีธรรมเป็นกุศล.

พราหมณ์ ! เราอยากตริตรึก (วิตก)ไปในวิตกเรื่องใด ก็ตริตรึกในวิตกนั้นได้ เราไม่อยาก ตริตรึกไปในวิตกเรื่องใด ก็ไม่ตริตรึกไปในวิตกนั้นได้๒. เราอยากดำริ (สังกัปปะ) ไปในความดำริอย่างใดก็ดำริในความดำรินั้นได้ เราไม่อยากดำริในความ ดำริอย่างใด ก็ไม่ดำริไปในความดำ ริอย่างนั้นได้.

พราหมณ์ ! เราเป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งความมีอำ นาจเหนือจิตในคลองแห่งวิตกทั้งหลาย เราจึงมีธรรมดาได้ฌานทั้งสี่ อันเป็นการอยู่อย่างผาสุกยิ่ง ในชาตินี้ เราได้โดยง่ายดาย ไม่ยาก ไม่ลำบาก.

พราหมณ์ !เราแล เพราะความสิ้นอาสวะ ท. ได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ อันปราศจาก อาสวะ เข้าถึงวิมุตตินั้นแล้ว แลอยู่.


155-1
ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน ๓

ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็น นิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจงแล้ว ก็
(๑) ไม่ทำความมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน
(๒) ไม่ทำความมั่นหมาย ในนิพพาน
(๓) ไม่ทำความมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน
(๔) ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา"
(๕) ไม่เพลิดเพลิน ลุ่มหลงในนิพพาน.
ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า?
เพราะเหตุว่า นิพพานนั้นเป็นสิ่ง ที่ตถาคต กำหนดรู้ทั่วถึงแล้ว.

ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน.
ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้ว
ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน
ไม่ทำความมั่นหมาย ในนิพพาน
ไม่ทำความมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน
ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา"
ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลง ในนิพพาน.

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เรากล่าวว่า เพราะรู้ว่าความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ และเพราะมีภพ จึงมีชาติ เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย. เพราะเหตุนั้นตถาคต จึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะตัณหา ทั้งหลาย สิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ่ถอนไป โดยประการทั้งปวงดังนี้.
---------------------------------------------------------------------------------------------
๑. บาลี จุตกฺก. อํ. ๒๑/๔๗/๓๕. ตรัสแก่วัสสการพราหมณ์ สวนไผ่ ราชคฤห์.
๒. คือทรงบังคับจิตให้คิดหรือไม่ให้คิดก็ได้ หรือให้คิดเฉพาะเรื่องใดก็ได้.
๓. บาลี มูลปริยายสูตร มู.ม. ๑๒/๑๐/๘-๙. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โคนต้นสาละ ในปุาสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐะ

---------------------------------------------------------------------------------------------



156
ทรงมีความคงที่ต่อวิสัยโลก
ไม่มีใครยิ่งกว่า

ภิกษุ ท.! สิ่งใดๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา รวมกับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้ว ได้ยินแล้วรู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว พบปะแล้ว แสวงหา กันแล้ว คิดค้นกันแล้ว สิ่งนั้นๆ เราก็รู้จัก.

ภิกษุ ท.! สิ่งใดๆที่ชาวโลกรวมทั้ง เทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดารวมกับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว

รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว พบปะแล้ว แสวงหากันแล้ว คิดค้นกันแล้ว สิ่งนั้นๆเราได้รู้แจ้งแล้ว ด้วย ป๎ญญาอันยิ่ง. สิ่งนั้นๆ เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ตถาคต สิ่งนั้นๆ ไม่อาจเข้าไป (ติดอยู่ในใจของ) ตถาคต.

ภิกษุ ท.! สิ่งอันเป็นวิสัยโลกต่างๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดารวม กับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้วได้ยินแล้วรู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว พบปะแล้ว แสวงหากันแล้ว คิดค้นกันแล้วนั้นๆ เราพึงกล่าวได้ว่า เรารู้จักมันดี.

มันจะเป็นการมุสาแก่เรา ถ้าเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง. และมันจะเป็น การ มุสา แก่เราเหมือนกัน ถ้าเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้จักก็หามิได้ ไม่รู้จักก็หามิได้ ข้อนั้นมัน เป็นความเสียหายแก่เรา

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนี้แล ตถาคตเห็นสิ่งที่ต้องเห็นแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายว่า เห็นแล้วไม่ทำความมั่นหมายว่า ไม่ได้เห็น ไม่ทำความมั่นหมายว่า เป็นสิ่งที่ต้องเห็น ไม่ทำความมั่นหมายว่าตนเป็นผู้หนึ่งที่ได้เห็น (ในสิ่งที่ได้ฟ๎ง ได้รู้สึกได้รู้แจ้ง ก็มีนัยอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุนี้แล ตถาคตชื่อว่าเป็นผู้คงที่เป็นปรกติอยู่เช่นนั้นได้ในสิ่งทั้งหลาย ที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก และได้รู้แจ้งแล้ว และเรายังกล่าวว่า จะหาบุคคลอื่นที่เป็น ผู้คงที่ ซึ่งยิ่งไปกว่าประณีตกว่าตถาคต ผู้คงที่นั้น เป็นไม่มีเลย.


157
ทรงอยู่เหนือการครอบงาของเวทนา

มาตั้งแต่ออกผนวชจนตรัสรู้


อัคคิเวสสนะ ! ก็บุคคลมีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นอย่างไรเล่า?

อัคคิเวสสนะ! สุขเวทนา เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้มีการสดับ ในธรรมวินัยนี้ อริยสาวกนั้น อันสุขเวทนาถูกต้องอยู่ เป็นผู้ไม่กำหนัดยินดีในความสุข ไม่ถึงความกำหนัดยินดี ในความสุข. สุขเวทนาของอริยสาวกนั้นย่อมดับ เพราะความดับแห่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกร่ำไห้ ไม่ถึงซึ่งความหลง.

อัคคิเวสสนะ!สุขเวทนานั้นแม้เกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวกนั้นอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะความเป็นผู้มีกาย อันอบรมแล้ว ทุกขเวทนา แม้เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะความเป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว

อัคคิเวสสนะ! เพราะเหตุที่ว่า สุขเวทนาก็ไม่ครอบงาจิตตั้งอยู่ และทุกขเวทนาก็ไม่ ครอบงำจิตตั้งอยู่ โดย ทั้งสองประการดังกล่าวแล้ว เขาย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีกายอัน อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว ดังนี้."พระโคดมผู้เจริญ! ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสแล้ว ในพระโคดมผู้เจริญ เพราะเหตุว่าพระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้มีกายอันอบรมแล้วด้วย มีจิตอันอบรมแล้วด้วย".

อัคคิเวสสนะ! คำนี้ท่านกล่าวพาดพิงถึงเราโดยแท้ เราจะพูดให้แจ้งชัดเสียเลยว่า อัคคิเวสสนะ! จำเดิม แต่เราได้ปลงผม และหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือน ข้อที่ สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว จะครอบงาจิต ของเราตั้งอยู่ หรือว่า ข้อที่ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้วจะครอบงาจิตของเราตั้งอยู่ นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้. "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขเวทนาชนิดที่เกิดขึ้นแล้วจะครอบงำจิตตั้งอยู่ ย่อมไม่เกิด แก่พระสมณโคดม เป็นแน่. ทุกขเวทนาชนิดที่เกิดขึ้นแล้ว จะครอบงำ จิตตั้งอยู่ ย่อมไม่เกิด แก่พระสมณโคดมเป็นแน่".

อัคคิเวสสนะ ! ทำไมมันจะมีไม่ได้เล่า.... (ต่อจากนี้ ก็ทรงเล่าเรื่องการออกผนวชการ ค้นหาสำนัก เพื่อการศึกษา ของพระองค์ คืออาฬารดาบส กาลามโคตร อุทกดาบส รามบุตร จ นกระทั่งทรงบำเพ็ญอัตตกิลมถานุโยค ตาม แบบฉบับ ที่เรียกกันว่าวัตรแห่ง นิครนถ์ เกิดอุปมาแจ่มแจ้งในทางที่จะให้หลีกออกจากกาม แล้วทรงบำเพ็ญ ทุกรกิริยาอ ย่างเข้มงวด มีทุกขเวทนาแก่กล้าซึ่งทรงยืนยันว่า แม้กระนั้นก็ไม่ครอบงำ จิต ของพระองค์ ตั้งอยู่; เมื่อเลิกทุกรกิริยาแล้วทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต เกิดความสุข จาก รูปฌานสี่ และวิชชาสาม แม้จะเป็นสุขเวทนา อันสูงสุดก็ไม่สามารถครอบงำจิต ของ พระองค์ตั้งอยู่ สมกับที่ทรงยืนยันว่า ไม่มีเวทนาชนิดใดเกิดขึ้นแล้ว จะครอบงำจิต ของพระองค์ตั้งอยู่ได้ ดังข้อความต่อไปนี้ :-)

อัคคิเวสสนะ ! ...เรานั้น ขบฟันด้วยฟันอัดเพดานด้วยลิ้นข่มจิตด้วยจิต บีบให้ แน่น จนร้อนจัด. อัคคิเวสสนะ! ครั้นเราขบฟ๎นด้วยฟ๎น อัดเพดานด้วยลิ้นข่มจิต ด้วยจิต บีบให้แน่น จนร้อนจัดแล้ว เหงื่อไหล ออกจากรักแร้ทั้งสอง.

อัคคิเวสสนะ ! ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่สติ จะฟ๎่นเฟือนไป ก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังความเพียร ที่ทนได้ยากเสียด แทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็ไม่ครอบงาจิต ตั้งอยู่. ....

อัคคิเวสสนะ ! เรานั้น กลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากและทางจมูก. อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจ ทั้งทางปากและทางจมูกแล้ว เสียงลมออก ทาง ช่องหูทั้งสอง ดังเหลือประมาณเหมือนเสียงลมในสูบ แห่งนายช่างทอง ที่สูบไป สูบมา ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อน ก็หาไม่สติ จะฟ๎่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่ง ความเพียร ที่ทนได้ยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงาจิตตั้งอยู่. ....

อัคคิเวสสนะ ! เรานั้น กลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทางจมูกและทาง ช่องหู ทั้งสอง. อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทางจมูก และทาง ช่องหู ทั้งสองแล้ว ลมกล้า เหลือประมาณ แทงเซาะขึ้นไปทางบนกระหม่อมเหมือนถูกบุรุษแข็งแรง เชือดเอา ที่แสก กระหม่อมด้วยมีดโกนอันคมฉะนั้น. อัคคิ-เวสสนะ ! แต่ความเพียรเราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟ๎่นเฟือนไป ก็หาไม่ เป็นแต่กาย กระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ ทนได้แสน ยาก เสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงาจิต ตั้งอยู่. ....

อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทางจมูก และทางช่องห ูทั้งสองแล้ว รู้สึกปวดศีรษะ ทั่วไป ทั้งศีรษะเหลือประมาณ เปรียบปานถูกบุรุษ แข็งแรง รัดศีรษะเข้าทั้งศีรษะด้วยเชือกมีเกลียว อันเขม็ง ฉะนั้น.อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟ๎่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กาย กระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้แสนยาก เสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนา แม้เช่นนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบ งำจิตตั้งอยู่....

อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทางจมูก และทางช่องหู ทั้งสอง แล้ว ลมกล้าเหลือ ประมาณ หวนกลับลงแทงเอาพื้นท้อง ดุจถูกคนฆ่าโค หรือลูกมือตัวขยันของเขา เฉือนเนื้อพื้นท้อง ด้วยมีด สำหรับเฉือนเนื้อโคอันคมฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อน ก็หาไม่สติ จะฟ๎่นเฟือน ไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้ แสนยาก เสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงาจิตตั้งอยู่. ....

อัคคิเวสสนะ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าไว้ทั้งทางปากทางจมูก และทางช่องหู ทั้งสอง ก็เกิดความร้อนกล้า ขึ้นทั่วกาย ดุจถูกคนแข็งแรงสองคน ช่วยกันจับคน กำลังน้อยที่แขนข้างละคน แล้วย่างรมไว้เหนือ หลุม ถ่านเพลิงอันระอุฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่สติ จะฟ๎่นเฟือน ไป ก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียร ที่ทนได้

แสนยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็ไม่ครอบงำ จิตตั้งอยู่. ........

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงการได้รับสุขเวทนาแล้วสุขเวทนานั้นไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ อีก ๗วาระ)

อัคคิเวสสนะ ! เรากลืนกินอาหารหยาบ ทำกายให้มีกำลังได้แล้วเพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรม ท. จึงเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้ เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ก็ไม่ครอบ งำจิตตั้งอยู่.

อัคคิเวสสนะ ! เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงเข้าถึง ฌานที่สอง เป็นเครื่องผ่องใส ในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิ แห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้ เกิดขึ้นแล้ว แก่เราก็ไม่ครอบ งำจิตตั้งอยู่.

อัคคิเวสสนะ! เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย จึงเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนา แม้อย่างนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงาจิตตั้งอยู่.

อัคคิเวสสนะ! และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัส ในกาลก่อน จึงเข้าถึง ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงาจิตตั้งอยู่.เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติ อ่อนโยน ควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว เราได้น้อมจิตไป เฉพาะต่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.---ฯลฯ---

อัคคิเวสสนะ ! นี้เป็นวิชชาที่หนึ่ง ที่เราได้บรรลุแล้วในยามแรกแห่งราตรี. อวิชชา ถูกทำลายแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่.

อัคคิเวสสนะ !สุขเวทนาแม้อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำ จิตตั้งอยู่. เรานั้น ครั้นเมื่อ จิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติ อ่อนโยน ควรแก่ การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้วเราได้น้อมจิตไป เฉพาะต่อ จุตูปปาตญาณ. .....ฯลฯ.....

อัคคิเวสสนะ ! นี้เป็น วิชชาที่สอง ที่เราได้บรรลุแล้วในยามกลางราตรี. อวิชชา ถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงาจิตตั้งอยู่. เรานั้น ครั้นจิต ตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว เราได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ. ....ฯลฯ....

อัคคิเวสสนะ! นี้เป็น วิชชาที่สามที่เราได้บรรลุแล้วในยามปลายแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้วความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้น แทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาทมีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแล อยู่.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงาจิตตั้งอยู่.

(รายละเอียดเกี่ยวกับวิชชาทั้งสาม ที่กล่าวมานี้ โดยครบถ้วนพิสดารทุกตัวอักษร ผู้ประสงค์ จะหาอ่าน ได้จากหน้า ๑๑๕ ถึงหน้า ๑๑๗ แห่งหนังสือเล่มนี้.)


หน้า 147-148
ทรงเปรียบการกระทำของพระองค์ ด้วยการกระทำของสีหะ


         ภิกษุ ท.! สีหมิคราชา ออกจากที่อาศัย ในเวลาเย็น
         ครั้นออกจากที่อาศัย แล้ว ก็เหยียดยืดตัว
         ครั้นเหยียดยืดตัวแล้ว ก็เหลียวดูทิศทั้งสี่ โดยรอบ  
         ครั้นเหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบแล้ว ก็บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง
         ครั้นบันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้ว ก็ออกไปสู่ที่หากิน. 
         ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สีหมิคราชานั้นมีความคิดว่า เราอย่าต้องทําให้สัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในพื้นที่อันขรุขระ ต้องถึงซึ่งความลําบากเลย ดังนี้. 
         ภิกษุ ท.! คำว่า "สีหะ" นี้แล เป็นคำแทนชื่อแห่งตถาคตผู้อรหันต-  สัมมาสัมพุทธะ.

         
ภิกษุ ท.! ข้อที่ ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท นั้น เป็นคําแทนชื่อของการ บันลือสีหนาท. ภิกษุ ท.! ตถาคตพละของตถาคต ๑๐ อย่างเหล่านี้ ที่ตถาคต ประกอบพร้อมแล้ว จึงปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาท ประกาศ พรหมจักร ให้เป็นไปในบริษัททั้งหลาย. (สําหรับตถาคตพลญาณทั้ง ๑๐ ซึ่ง เป็นคุณลักษณะ ของ ผู้สามารถ บันลือสีหนาทนั้น พึงดูรายละเอียดที่หน้า ๑๓๕ - ๑๓๖ แห่งหนังสือเล่มนี้).


หน้า 148-149
ทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ

         กัสสปะ ! นี้เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้ คือเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์ เหล่าอื่นจะพึงกล่าวว่า "พระสมณโคดม บันลือสีหนาทก็จริงแล แต่บันลือในที่  ว่างเปล่า หาใช่บันลือในท่ามกลางบริษัทไม่" ดังนี้ ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้น  แต่พึงกล่าว (ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาท ในท่ามกลางบริษัท ท.หาใช่บันลือในที่ว่างเปล่าไม่". 

         กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้ เป็นได้ คือเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์ เหล่าอื่นจะพึงกล่าวว่า "พระสมณโคดม บันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทก็จริง แต่หาได้บันลืออย่างองอาจไม่" ดังนี้.  ส่วนท่านอย่าพึง กล่าวเช่นนั้น แต่พึงกล่าว (ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัท และบันลืออย่างองอาจด้วย". 

         กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้ คือ เหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์ เหล่าอื่นจะพึงกล่าวว่า "พระสมณโคดม บันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทอย่าง องอาจก็จริงแล แต่ว่าหาได้มีใครถามป๎ญหาอะไรกะเธอ (ในที่นั้น) ไม่ และถึงจะ ถูกถาม เธอก็หาพยากรณ์ได้ไม่ และถึงจะพยากรณ์ก็ไม่ทําความชอบใจให้แก่ผู้ฟ๎ง ได้ และถึงจะทําความชอบใจให้แก่ผู้ฟ๎งได้ เขาก็ไม่สําคัญถ้อยคํานั้นๆ ว่าเป็นสิ่ง ควรฟ๎งและถึงจะสําคัญว่า เป็นสิ่ง ควรฟ๎ง ก็ไม่เลื่อมใส และถึงจะเลื่อมใส ก็ไม่ แสดงอาการของผู้เลื่อมใส และถึงจะแสดงอาการของผู้เลื่อมใส ก็ไม่ปฏิบัติตาม คําสอนนั้น และถึงจะปฏิบัติตามคําสอนนั้น ก็ไม่ปฏิบัติอย่างอิ่มอกอิ่มใจ" ดังนี้. 

          ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้น แต่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมบันลือ สีหนาท ท่ามกลางบริษัท อย่างแกล้วกล้า มีผู้ถามป๎ญหา ถูกถามแล้วก็พยากรณ์ ด้วยการ พยากรณ์ ย่อมทําจิตของผู้ฟ๎งให้ชอบใจ ผู้ฟ๎งย่อมสําคัญถ้อยคํานั้นๆ ว่าเป็นสิ่ง ควรฟ๎ง ฟ๎งแล้วก็เลื่อมใส เลื่อมใสแล้วก็แสดงอาการของผู้เลื่อมใส และปฏิบัติ ตามคําสอนนั้น ปฏิบัติแล้ว ก็เป็นผู้อิ่มอกอิ่มใจได้"ดังนี้. 

         กัสสปะ ! ครั้งหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎใกล้กรุงราชคฤห์. ปริพพาชก ผู้เป็นสพรหมจารีของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า นิโครธะ ได้ถามป๎ญหาเรื่องการเกียดกัน บาปอย่างยิ่งกะเรา ณ ที่นั้น.เราได้พยากรณ์แก่เขา. ในการพยากรณ์นั้นเขา ได้รับความพอใจยิ่งกว่าประมาณ (คือยิ่งกว่าที่เขาคาดไว้ก่อน).  

 
หน้า 150-151
สิ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจท้วงติงได้

         ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ที่ใครๆ ไม่อาจท้วงติงได้ด้วยธรรม ๓ อย่างคือ:- 
          ภิกษุ ท.! (๑) ตถาคตมีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้ว ในธรรมนั้น ๆตถาคตไม่ มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหมหรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า "ท่านไม่ใช่เป็นผู้มีธรรม อันตน กล่าวไว้ดี แล้ว เพราะเหตุเช่นนี้ๆ" ดังนี้. 

          ภิกษุ ท.! (๒) ปฏิปทาเครื่องทําผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่เรา บัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย -โดยอาการที่สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติ แล้วย่อมกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้น ไปแห่งอาสวะ ท.  ได้ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง  ในธรรมอันตนเห็นแล้วนี่เองเข้าถึง วิมุตตินั้นแล้ว แลอยู่. 

          ในปฏิปทานั้นๆ ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักท้วงติงเราได้ด้วย  ทั้งเหตุผลว่า "ปฏิปทาเครื่องทําผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน เป็นสิ่งที่ท่านบัญญัติ ไว้ดี แล้ว แก่สาวกทั้งหลาย  โดยอาการที่ ฯลฯ แล้วแลอยู่ ก็หาไม่"ดังนี้. 

          ภิกษุ ท.! (๓) สาวกบริษัทของเรา นับด้วยร้อยเป็นอเนก ที่ได้ทําให้แจ้ง   เจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ๒ฯลฯ. ในข้อนั้น เราไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่า สมณะหรือพราหมณ์ เทพ มารพรหม หรือใคร ๆ ในโลกจักท้วงติงเราได้ด้วยทั้ง เหตุผลว่า "สาวกบริษัทของท่าน นับด้วยร้อยเป็นอเนกก็หามิได้ ที่ได้ทําให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ ฯลฯ" ดังนี้.

          ภิกษุ ท.! เมื่อเรามองไม่เห็นวี่แววช่องทางนั้น ๆ ก็เป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญ อยู่ได้. นี้แล เป็นสิ่งที่ใครไม่ท้วงติง ตถาคตได้ ๓ อย่าง.


หน้า 151-152
ไม่ทรงมีความลับ ที่ต้องให้ใครช่วยปกปิด

         โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี ศีลบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่าเรา เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว. ศีลของเรา บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลยสาวก ทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยกันทําการปูองกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับศีล ทั้งตถาคต ก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับศีลเลย. 

         โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี อาชีวะบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว.  อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลาย จึงไม่ต้องช่วยการทําการปูองกันให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับ อาชีวะ ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกันจากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับ อาชีวะเลย. 

         โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี การแสดงธรรมบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอจึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีการแสดงธรรมบริสุทธิ์.  การแสดงธรรมของเรา บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทําการปูองกันให้ ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรม ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกัน จากสาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรมเลย. 

         โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี การตอบคำถามบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีการตอบคําถามบริสุทธิ์. การตอบคําถามของเราบริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทําการปูองกัน ให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคําถาม ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกันจากสาวก ทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคําถามเลย. 

         โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มี ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ดีอยู่เสมอ จึงปฏิญญาว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์แล้ว. ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์  ขาวผ่อง ไม่เศร้าหมองเลย สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทําการปูองกัน ให้ตถาคต ในเรื่องอันเกี่ยวกับญาณทัสสนะ ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการปูองกันจาก สาวกทั้งหลาย ในเรื่องอันเกี่ยวกับณาณทัสสนะเลย ดังนี้.


หน้า 152
ทรงแสดงสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันแท้จริงของพระองค์

         (เมื่อได้ทรงสนทนากับพระอานนท์ ถึงเรื่องอันเป็นอิทธิปาฏิหาริย์เกี่ยวกับ การจุติ และ การประสูติ เป็นต้น ของพระองค์ ว่าเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์แล้ว ได้ทรงแสดงเรื่องที่เราควรจะเห็น ว่าน่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นอีก ดังต่อไปนี้ :-

         อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทรงจําสิ่งอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี มาแต่ก่อนของตถาคต ข้อนี้ไว้. 
         อานนท์ ! ในกรณีนี้คือ  
         เวทนา
เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคตแล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึง ลับไป.
         สัญญา
เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคตแล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึง ลับไป. 
         วิตก เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคตแล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป.
        อานนท์ ! เธอจงทรงจําสิ่งอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแต่ก่อน ของตถาคต ข้อนี้แล. 

         "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่ว่า เวทนา เป็นของแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาค แล้วจึงเกิดขึ้นแล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป สัญญา เป็นของแจ่มแจ้งแก่ พระผู้มีพระภาค แล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป วิตก เป็นของแจ่มแจ้ง แก่พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงลับไป แม้ใด; ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ !
          ข้อนี้ ข้าพระองค์จะทรงจําไว้ว่า เป็นสิ่งอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี มาแต่ก่อน เกี่ยวกับ พระผู้มีพระภาค ดังนี้."


หน้า 153
ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ในโลก

         ภิกษุ ท.! บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้น เป็นอัจฉริยะมนุษย์.  ใครกันเล่าเป็นบุคคลเอก? ตถาคต ผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองนี้แลเป็นบุคคลเอก.
 
         ภิกษุ ท.! นี่แล บุคคลเอก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริย มนุษย์ ดังนี้.


หน้า 153
ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา

         ภิกษุ ท.! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่ยินดี กําหนัดแล้วในรูป บันเทิงด้วยรูป. เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวนความ กระจัดกระจาย ความแตกทําลาย ของรูป. 

         ภิกษุ ท.! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย มี เสียง๓ฯลฯ มีกลิ่น ฯลฯ มีรส ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ ฯลฯ มีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี กําหนัดแล้วในธรรมารมณ์ บันเทิงด้วย ธรรมารมณ์. เทวดาแล มนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวน ความกระจัด กระจาย ความแตกทําลาย ของธรรมารมณ์. 

          ภิกษุ ท.! ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุ เป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ําทราม และอุบาย เครื่องหลุดพ้น ออกไปได้ แห่งรูปทั้งหลายแล้ว ไม่เป็นผู้มีรูป เป็นที่ยินดี ไม่กําหนัดในรูป ไม่บันเทิงด้วยรูป. ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความ แปรปรวน ความกระจัด กระจาย ความแตกทําลาย ของรูป

          ภิกษุ ท.! ตถาคตรู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ําทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้แห่ง เสียง ท. แห่งกลิ่น ท. แห่งรส ท. แห่งโผฏฐัพพะ ท. และแห่งธรรมารมณ์ ท. แล้ว ไม่เป็นผู้มีเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ไม่กําหนัด ไม่บันเทิงด้วย เสียง เป็นต้น
 
         ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตก ทําลาย แห่งธรรมมีเสียงเป็นต้นนั้นๆ. (พระผู้มี  พระภาคได้ทรงกล่าว คํานี้ แล้ว พระสุคตครั้นตรัสคํานี้แล้ว พระศาสดาได้ภาษิตคําอื่นอีกที่ผูก เป็นคาถาดังนี้ว่า )

         รูป ท. เสียง ท. กลิ่น ท. รส ท. ผัสสะ ท. ธรรม ท. ทั้งสิ้น  อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าชอบใจ ยังเป็นสิ่งกล่าวได้ว่ามีอยู่เพียงใด มนุษยโลกพร้อมด้วย เทวโลก ก็ยังสมมติว่า "นั่นสุข"  อยู่เพียงนั้น  ถ้าเมื่อสิ่งเหล่านั้นแตกดับลง ในที่ใด สัตว์ เหล่านั้น ก็สมมติว่า "นั่นทุกข์" ในที่นั้น. 

        สิ่งที่พระอริยเจ้า ท.  เห็นว่าเป็นความสุข ก็คือความดับสนิทแห่งสักกายะ ทั้งหลาย  แต่สิ่งนี้กลับ ปรากฏเป็นข้าศึกตัวร้ายกาจ แก่ส่ัตว์ ท. ผู้เห็นอยู่  โดยความ เป็นโลกทั้งปวง.

        สิ่งใดที่สัตว์อื่นกล่าวแล้วโดยความเป็นสุข พระอริยเจ้า ท. กล่าวสิ่งนั้น โดยความเป็นทุกข์. สิ่งใดที่สัตว์อื่นกล่าวแล้ว โดยความเป็นทุกข์ พระอริยะผู้รู้ กล่าวสิ่งนั้นโดย ความเป็นสุข ดังนี้.


หน้า 155
ทรงบังคับใจได้เด็ดขาด

         พราหมณ์ ! เราเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน มาก.เราได้ประดิษฐานมหาชนไว้แล้วในอริยญายธรรม คือในความเป็นผู้มีธรรม อันงดงาม มีธรรมเป็นกุศล.
          พราหมณ์ !
เราอยากตริตรึก (วิตก) ไปในวิตกเรื่องใด ก็ตริตรึกในวิตกนั้นได้
เราไม่อยากตริตรึกไปในวิตกเรื่องใด  ก็ไม่ตริตรึกไปในวิตกนั้นได้. 
เราอยากดําริ (สังกัปปะ) ไปในความดําริอย่างใด ก็ดําริในความดํารินั้นได้
เราไม่อยากดําริในความดําริอย่างใด ก็ไม่ดําริไปในความดําริอย่างนั้นได้.

          พราหมณ์ ! เราเป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งความมีอํานาจเหนือ จิตในคลองแห่งวิตก ทั้งหลาย เราจึงมีธรรมดาได้ฌานทั้งสี่ อันเป็นการอยู่อย่าง ผาสุกยิ่ง ในชาตินี้ เราได้โดยง่ายดาย ไม่ยาก ไม่ลําบาก. 

          พราหมณ์ ! เราแล เพราะความสิ้นอาสวะ ท. ได้ทําให้แจ้งแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติ อันปราศจากอาสวะเข้าถึงวิมุตตินั้นแล้ว แลอยู่.


หน้า 155-156
ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน

         ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพาน ตามความ เป็นนิพพาน.ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจงแล้ว ก็ไม่ทำ ความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพาน ไม่ทำความ มั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา"   ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. 

          ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า นิพพาน นั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตกําหนดรู้ ทั่วถึงแล้ว. 

         ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพาน  ตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่ทำความ มั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดย ความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา" ไม่เพลิดเพลิน ลุ่มหลงในนิพพาน.  ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า?

         เรากล่าวว่า เพราะรู้ว่าความ เพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์และเพราะมีภพ จึงมีชาติ เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมี แก่และตาย.  เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู้ อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ เพราะ ตัณหาทั้งหลายสิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ่ถอนไป โดยประการ ทั้งปวงดังนี้.


หน้า 156-157
ทรงมีความคงที่ต่อวิสัยโลก ไม่มีใครยิ่งกว่า


         ภิกษุ ท.! สิ่งใดๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์เทวดารวมกับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้ว ได้ยินแล้วรู้สึกแล้ว รู้แจ้ง แล้ว พบปะแล้ว แสวงหากันแล้ว คิดค้นกันแล้ว สิ่งนั้นๆ เราก็รู้จัก. 
          ภิกษุ ท.! สิ่งใดๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์เทวดารวมกับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว
          รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว พบปะแล้ว แสวงหากันแล้ว คิดค้นกันแล้ว สิ่งนั้นๆ เราได้ รู้แจ้งแล้วด้วยป๎ญญาอันยิ่ง. สิ่งนั้นๆ เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ตถาคต สิ่งนั้นๆ ไม่อาจเข้าไป (ติดอยู่ในใจของ) ตถาคต. 

          ภิกษุ ท.! สิ่งอันเป็นวิสัยโลกต่างๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มารพรหมหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดารวมกับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้วได้ยินแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว พบปะแล้ว แสวงหากันแล้ว คิดค้นกันแล้วนั้นๆ เราพึงกล่าวได้ ว่า เรารู้จักมันดี. มันจะเป็นการมุสาแก่เรา ถ้าเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง. และมันจะเป็นการมุสาแก่เราเหมือนกันถ้าเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้จักก็ หามิได้ ไม่รู้จักก็หามิได้ ข้อนั้นมันเป็นความเสียหายแก่เรา 
          ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนี้แล ตถาคตเห็นสิ่งที่ต้องเห็นแล้ว ก็ไม่ทําความมั่น หมายว่า เห็นแล้วไม่ทําความมั่นหมายว่า ไม่ได้เห็น ไม่ทําความมั่นหมายว่า เป็นสิ่ง ที่ต้องเห็น ไม่ทําความมั่นหมายว่าตนเป็นผู้หนึ่งที่ได้เห็น (ในสิ่งที่ได้ฟ๎ง ได้รู้สึก  ได้รู้แจ้ง ก็มีนัยอย่างเดียวกัน). 
          ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุนี้แล ตถาคตชื่อว่าเป็นผู้คงที่เป็นปรกติอยู่เช่นนั้นได้ในสิ่ง ทั้งหลาย ที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก และได้รู้แจ้งแล้ว และเรายังกล่าวว่า จะหา บุคคลอื่นที่เป็นผู้คงที่ ซึ่งยิ่งไปกว่าประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้นเป็นไม่มีเลย.

157-162
ทรงอยู่เหนือการครอบงำของเวทนา มาตั้งแต่ออกผนวชจนตรัสรู้๑ 

          อัคคิเวสสนะ ! ก็บุคคลมีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นอย่างไร เล่า? อัคคิเวสสนะ! สุขเวทนา เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้มีการสดับ ในธรรมวินัยนี้
           อริยสาวกนั้น อันสุขเวทนาถูกต้องอยู่ เป็นผู้ไม่กําหนัดยินดีในความสุข ไม่ถึงความ กําหนัดยินดีในความสุข.สุขเวทนาของอริยสาวกนั้นย่อมดับ เพราะความดับแห่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น; อริยสาวกนั้น อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมไม่ เศร้าโศก ไม่ลําบาก ไม่คร่ําครวญ ไม่ตีอกร่ําไห้ ไม่ถึงซึ่งความหลง.
           อัคคิเวสสนะ! สุขเวทนานั้นแม้เกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวกนั้นอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ เพราะความเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว ทุกขเวทนา แม้เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ เพราะความเป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว อัคคิเวสสนะ!
           เพราะเหตุที่ว่า สุขเวทนาก็ไม่ ครอบงำจิตตั้งอยู่ และทุกขเวทนา ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่  โดยทั้งสองประการ ดังกล่าวแล้ว เขาย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีกาย อันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว ดังนี้. 

           "พระโคดมผู้เจริญ! ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสแล้วในพระโคดมผู้เจริญ เพราะ เหตุว่าพระโคดมผู้เจริญ เป็นผู้มีกายอันอบรมแล้วด้วย มีจิตอันอบรมแล้วด้วย". 
           อัคคิเวสสนะ! คํานี้ท่านกล่าวพาดพิงถึงเราโดยแท้ เราจะพูดให้แจ้งชัด เสียเลยว่าอัคคิเวสสนะ! จําเดิมแต่เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออก จากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือน ข้อที่ สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้วจะครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ หรือว่าข้อที่ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้วจะครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ นั่น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. 

           "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สุขเวทนาชนิดที่เกิดขึ้นแล้วจะครอบงําจิตตั้งอยู่ ย่อมไม่เกิดแก่พระสมณโคดม เป็นแน่.
           ทุกขเวทนาชนิดที่เกิดขึ้นแล้วจะครอบงําจิต ตั้งอยู่ ย่อมไม่เกิดแก่พระสมณโคดมเป็นแน่". 
           อัคคิเวสสนะ ! ทําไมมันจะมีไม่ได้เล่า....

           (ต่อจากนี้ ก็ทรงเล่าเรื่องการออกผนวช การค้นหาสํานักเพื่อการศึกษาของ พระองค์ คืออาฬารดาบส กาลามโคตร อุทกดาบสรามบุตร จนกระทั่งทรงบําเพ็ญ อัตตกิลมถานุโยค ตามแบบฉบับที่เรียกกันว่าวัตรแห่งนิครนถ์ เกิดอุปมาแจ่มแจ้ง ในทางที่จะให้หลีกออกจากกาม แล้วทรงบําเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเข้มงวด มีทุกขเวทนา แก่กล้า ซึ่งทรงยืนยันว่า แม้กระนั้นก็ไม่ครอบงําจิตของพระองค์ตั้งอยู่ เมื่อเลิก ทุกรกิริยาแล้ว ทรงบําเพ็ญเพียรทางจิต เกิดความสุขจากรูปฌานสี่ และวิชชาสาม แม้จะเป็นสุขเวทนาอันสูงสุด ก็ไม่สามารถครอบงําจิตของพระองค์ตั้งอยู่ สมกับที่ทรง ยืนยันว่า ไม่มีเวทนาชนิดใดเกิดขึ้นแล้ว จะครอบงําจิตของพระองค์ตั้งอยู่ได้ ดังข้อความต่อไปนี้ ) 

           อัคคิเวสสนะ ! ...เรานั้น ขบฟันด้วยฟัน อัดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิต ด้วยจิต บีบให้แน่นจนร้อนจัด. อัคคิเวสสนะ! ครั้นเราขบฟ๎นด้วยฟ๎น อัดเพดาน ด้วยลิ้น  ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่นจนร้อนจัดแล้วเหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง
             อัคคิเวสสนะ ! ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะ ฟ๎่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังความเพียรที่ทน ได้ยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เราก็ไม่ ครอบงำจิต ตั้งอยู่. ....

           อัคคิเวสสนะ ! เรานั้น กลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากและทางจมูก. อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจทั้งทางปากและทางจมูกแล้ว เสียงลมออก ทางช่องหูทั้งสอง ดังเหลือประมาณเหมือนเสียงลมในสูบแห่งนายช่างทองที่สูบไป สูบมาฉะนั้น. 
           อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หา ไม่สติจะ ฟ๎่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังแห่ง ความเพียร ที่ทนได้ยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่. .... 

           อัคคิเวสสนะ ! เรานั้น กลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทางจมูกและ ทางช่องหูทั้งสอง.  อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทาง จมูกและทางช่องหูทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ แทงเซาะขึ้นไปทางบน กระหม่อม เหมือนถูกบุรุษแข็งแรง เชือดเอาที่แสกกระหม่อมด้วยมีดโกนอันคม ฉะนั้น.
           อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรเราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟ๎่นเฟือนไปก็ หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังแห่ง ความเพียร ที่ทนได้แสน ยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่. .... 

           อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทางจมูกและทาง ช่องหูทั้งสองแล้ว รู้สึกปวดศีรษะทั่วไปทั้งศีรษะเหลือประมาณ เปรียบปานถูก บุรุษแข็งแรง รัดศีรษะเข้าทั้งศีรษะด้วยเชือกมีเกลียวอันเขม็งฉะนั้น.
           อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟ๎่น เฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังแห่ง ความเพียรที่ ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้ เกิดขึ้น แล้วแก่เราก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ ... 

           อัคคิเวสสนะ ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางปากทางจมูก และ ทางช่องหูทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณหวนกลับลงแทงเอาพื้นท้อง ดุจถูก คนฆ่าโคหรือลูกมือตัวขยันของเขา เฉือนเนื้อพื้นท้องด้วยมีดสําหรับเฉือนเนื้อโค อันคมฉะนั้น. 
           อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟ๎่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังแห่งความ เพียรที่ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้น แล้วแก่เราก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่. ....

           อัคคิเวสสนะ! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าไว้ทั้งทางปากทางจมูก และ ทางช่องหูทั้งสอง ก็เกิดความร้อนกล้าขึ้นทั่วกาย ดุจถูกคนแข็งแรงสองคน ช่วยกันจับคนกําลังน้อยที่แขนข้างละคนแล้วย่างรมไว้เหนือหลุมถ่านเพลิงอันระอุ ฉะนั้น.
           อัคคิเวสสนะ ! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะ ฟ๎่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกําลังแห่งความเพียร ที่ทนได้ แสนยากเสียดแทงเอา. อัคคิเวสสนะ ! ทุกขเวทนาแม้เช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่.

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงการได้รับสุขเวทนาแล้วสุขเวทนานั้นไม่ตรอบงําจิตตั้งอยู่ อีก ๗ วาระ) 
          อัคคิเวสสนะ ! เรากลืนกินอาหารหยาบ ทํากายให้มีกําลังได้แล้วเพราะ สงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึงเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่. 

           อัคคิเวสสนะ ! เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงเข้าถึง ฌานที่สอง เป็น เครื่องผ่องใสในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข   อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่ เราก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่. 

           อัคคิเวสสนะ! เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึงเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่. อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนา แม้อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่. 

           อัคคิเวสสนะ! และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่ง โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงเข้าถึง ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้ อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่. 

           เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็น ธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว เราได้น้อม จิตไปเฉพาะต่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.---ฯลฯ---

           อัคคิเวสสนะ ! นี้เป็น วิชชาที่หนึ่ง ที่เราได้บรรลุแล้วในยามแรกแห่งราตรี. อวิชชาถูกทําลายแล้ววิชชา เกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทําลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้น แทนแล้ว เช่นเดียวกับที่ เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่.
 อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่. 

           เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส เป็น ธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้วเราได้ น้อมจิตไป เฉพาะต่อ จุตูปปาตญาณ. .....ฯลฯ.....

           อัคคิเวสสนะ ! นี้เป็น วิชชา ที่สอง ที่เราได้บรรลุแล้วในยามกลางราตรี. อวิชชาถูกทําลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทําลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้น แทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่.
อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้ อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ครอบงำจิต ตั้งอยู่. 

           เรานั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส เป็น ธรรมชาติ อ่อนโยน ควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว เราได้น้อมจิตไปเฉพาะ ต่อ อาสวักขยญาณ. ....ฯลฯ....

           อัคคิเวสสนะ! นี้เป็น วิชชาที่สาม ที่เราได้บรรลุแล้วในยามปลายแห่งราตรี.
อวิชชาถูกทําลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทําลายแล้ว ความสว่าง เกิดขึ้น แทนแล้ว เช่นเดียวกับที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาทมีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่. อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาแม้ อย่างนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ไม่ ครอบงำจิตตั้งอยู่. 
           (รายละเอียดเกี่ยวกับวิชชาทั้งสาม ที่กล่าวมานี้ โดยครบถ้วนพิสดาร ทุกตัวอักษร ผู้ประสงค์จะหาอ่านได้จากหน้า ๑๑๕ ถึงหน้า ๑๑๗ แห่งหนังสือเล่มนี้.)



หน้า 162
ทรงยืนยันในคุณธรรมของพระองค์เองได้

          (๑) กัสสปะ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็น สีลวาที เขากล่าวพรรณาคุณ แห่งศีลโดยอเนกปริยาย. กัสสปะ! ปรมศีลอันประเสริฐ (อริยะ)มีได้ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าใด เราไม่มองเห็นใครจะเสมอด้วยเรา ในส่วนปรมศีล อันประเสริฐนั้น  ผู้ที่ยิ่งไปกว่าเรา จะมีมาแต่ไหนเล่า. เราแล ที่แท้เป็นผู้ยิ่งใน อธิศีล. 

          (๒) กัสสปะ ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็น ตโปชิคุจฉวาที เขากล่าว พรรณนาคุณแห่งการเกลียดกันกิเลสด้วยตบะโดยอเนกปริยาย. กัสสปะ ! การเกียดกัน กิเลสด้วยตบะ อันอย่างยิ่งและประเสริฐมีได้ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าใดเราไม่มองเห็น ใครจะเสมอด้วยเรา ในส่วนการเกียดกันกิเลสด้วยตบะอัน อย่างยิ่งและประเสริฐนั้น ผู้ที่ยิ่งไปกว่าเราจะมีมาแต่ไหนเล่า. เราแล ที่แท้เป็น ผู้ยิ่งใน อธิเชคุจฉะ (คืออธิจิต).

          (๓) กัสสปะ ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็น ป๎ญญาวาที เขากล่าว พรรณาคุณ แห่งป๎ญญาโดยอเนกปริยาย.กัสสปะ ! ปรมป๎ญญาอันประเสริฐมีได้ด้วยเหต มีประมาณ
เท่าใด เราไม่มองเห็นใครจะเสมอด้วยเรา ในส่วนปรมป๎ญญา อันประเสริฐนั้น ผู้ที่ยิ่งไปกว่า เราจะมีมาแต่ไหนเล่า.เราแลที่แท้เป็นผู้ยิ่งใน อธิป๎ญญา. 

           (๔) กัสสปะ ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็น วิมุตติวาทีเขากล่าวพรรณาคุณ แห่งวิมุตติโดยอเนกปริยาย. กัสสปะ ! ปรมวิมุตติอันประเสริฐ มีได้  ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าใด เราไม่มองเห็นใครจะเสมอด้วยเรา ในส่วนปรมวิมุตติ อันประเสริฐนั้น: ผู้ที่ยิ่งไปกว่าเรา จะมีมาแต่ไหนเล่า. เราแล ที่แท้เป็นผู้ยิ่งใน อธิวิมุตติ.


หน้า 163-167
ทรงยืนยันให้ทดสอบความเป็นสัมมาสัมพุทธของพระองค์

          ภิกษุ ท.! วิธีการทดสอบ อันเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้มีป๎ญญาใคร่ครวญ แต่ไม่มีญาณ เป็น เครื่องรู้จิตแห่งผู้อื่น จะพึงกระทําในตถาคต เพื่อให้รู้ว่า ตถาคตเป็นสัมมา สัมพุทธะ หรือหาไม่ ดังนี้นั้น มีอยู่. (ภิกษุทั้งหลาย ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรง แสดง จึงได้ตรัสถ้อยคําต่อไปนี้) 

           ภิกษุ ท.! ตถาคต อันภิกษุผู้มีป๎ญญาใคร่ครวญ แต่ไม่มีญาณเป็นเครื่องรู้จิต แห่งผู้อื่น พึงทําการทดสอบ ในธรรมทั้งสอง คือใน ธรรมที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ และโสตะ ว่า ธรรมที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุและโสตะ ซึ่งเป็นธรรมเศร้าหมอง นั้นมี อยู่แก่ตถาคตหรือหาไม่. เมื่อทําการทดสอบในข้อนั้นอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่จะพึงรู้ ได้ด้วยจักษุและโสตะ ซึ่งเป็นธรรมเศร้าหมองนั้น ไม่มีอยู่แก่ตถาคตเลย ดังนี้. 

           เมื่อรู้อยู่อย่างนั้น ย่อมทําการทดสอบให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ว่าธรรมที่จะพึงรู้ ได้ด้วยจักษุและโสตะ ซึ่งเป็นธรรมที่เจืออยู่ด้วยความเศร้าหมอง นั้นมีอยู่แก่ ตถาคตหรือหาไม่. เมื่อทําการทดสอบในข้อนั้นอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่จะพึงรู้ ได้ด้วยจักษุและโสตะ ซึ่งเป็นธรรมที่เจืออยู่ด้วยความเศร้าหมองนั้น ก็ไม่มีอยู่แก่ ตถาคตเลย ดังนี้. 

           เมื่อรู้อยู่อย่างนั้น ย่อมทําการทดสอบให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ว่าธรรมที่จะพึงรู้ ได้ด้วยจักษุและโสตะ ซึ่งเป็นธรรมผ่องแผ้ว นั้นมีอยู่แก่ตถาคตหรือหาไม่. เมื่อทําการทดสอบในข้อนั้นอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่าธรรมที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุและโสตะ ซึ่งเป็นธรรมผ่องแผ้วนั้น มีอยู่แก่ตถาคต ดังนี้. 

           เมื่อรู้อยู่อย่างนั้น ย่อมทําการทดสอบให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นกุศลนี้ ได้ถึงพร้อมมาตลอดเวลายาวนาน หรือว่าเพิ่ง ถึงพร้อมเมื่อสักครู่นี้เอง. เมื่อทําการทดสอบในข้อนั้นอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ได้ถึงพร้อมมาแล้วตลอดกาลนาน หาใช่เพิ่งถึงพร้อมเมื่อสักครู่นี้ไม่ดังนี้. 

           เมื่อรู้อยู่อย่างนั้น ย่อมทําการทดสอบให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ว่า ท่านผู้นี้เป็น ภิกษุผู้มียศ มีเกียรติกระฉ่อนแล้ว โทษต่ำทรามบางอย่างในกรณีอันเกี่ยวกับยศ นี้มีอยู่แก่ท่านผู้นี้หรือ. ภิกษุ ท.! (การที่ต้องทดสอบข้อนี้ก็เพราะว่า) โทษต่ําทราม

           บางอย่างจะยังไม่มีแก่ภิกษุ ตลอดเวลาที่ภิกษุยังไม่รุ่งเรืองด้วยยศ มีเกียรติ กระฉ่อน ต่อเมื่อรุ่งเรืองด้วยยศ มีเกียรติกระฉ่อน ก็จะมีโทษต่อทรามบางอย่าง เกิดขึ้น. เมื่อทําการทดสอบในข้อนั้นอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่าท่านผู้นี้ แม้เป็นภิกษุเรืองยศ มีเกียรติ กระฉ่อน ก็หามีโทษต่ําทรามอันใด ในกรณีอันเกี่ยวกับยศนั้นไม่ ดังนี้

           เมื่อรู้อยู่อย่างนั้น ย่อมทําการทดสอบให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ว่า ท่านผู้นี้ไม่ เป็นภยูปรัต (ยินดีในสิ่งที่เป็นภัย) เพราะปราศจากราคะ ไม่เสพกามเพราะสิ้น ราคะอยู่หรือ. เมื่อทําการทดสอบในข้อนั้นอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ไม่เป็น ภยูปรัต เพราะปราศจากราคะ ไม่เสพกามเพราะสิ้นราคะ อยู่จริง ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! ถ้ามีคนเหล่าอื่นมาถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ท่านมีเหตุผลอย่างไร มีเรื่องที่รู้มาอย่างไร ที่ทําให้ท่านกล่าวว่า ท่านผู้นี้ ไม่เป็นภยูปรัต เพราะปราศจาก ราคะ ไม่เสพกามเพราะสิ้นราคะดังนี้ เล่า?

           ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุจะพยากรณ์อยู่  โดยชอบ ก็จะพยากรณ์ว่า "ข้อนี้แน่นอน เพราะว่าท่านผู้นี้ เมื่ออยู่ในหมู่สงฆ์ก็ดี เมื่ออยู่ผู้เดียวก็ดี ซึ่งในที่นั้น ๆ ผู้ประพฤติดีก็มี ผู้ประพฤติชั่วก็มี สอนหมู่คณะอยู่ ก็มีบางพวกพัวพันอยู่กับอามิสก็มี บางพวกไม่ติด อามิสเลยก็มี ท่านผู้นี้ ก็หาได้ดู หมิ่นบุคคลนั้น ๆ ด้วยเหตุนั้นไม่.

           อีกทางหนึ่ง ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ฟ๎งมาแล้ว ได้รับมาเฉพาะแล้ว จากที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเองว่า `เราไม่ เป็นภยูปรัต เราไม่เป็น ภยูปรัต เพราะปราศจากราคะไม่เสพกามเพราะสิ้นราคะ' ดังนี้." 

           ภิกษุ ท.! ในข้อนี้ ตถาคต เป็นผู้ที่บุคคลพึงสอบถามเฉพาะให้ยิ่งขึ้นไปว่า ธรรมที่เศร้าหมองที่พึ่งรู้ได้ด้วยจักษุและโสตะ มีอยู่แก่ตถาคตหรือหาไม่? ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตจะพยากรณ์ ก็จะพยากรณ์ว่า ไม่มี.

           เมื่อถูกถามว่า ธรรมที่เจืออยู่ด้วยความเศร้าหมอง ที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุ และ โสตะ มีอยู่แก่ตถาคตหรือหาไม่? ดังนี้. ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตจะพยากรณ์ก็จะ พยากรณ์ว่าไม่มี. 

           เมื่อถูกถามว่า ธรรมที่ผ่องแผ้ว ที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุและโสตะ มีอยู่แก่ ตถาคต หรือหาไม่? ดังนี้.

           ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตจะพยากรณ์ ก็จะพยากรณ์ว่าธรรมที่ ผ่องแผ้ว ที่พึงรู้ได้ ด้วยจักษุและโสตะ มีแก่ตถาคต ตถาคตมีธรรมที่ผ่องแผ้วนั่น แหละเป็นหนทาง (ปถ) มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั่นแหละเป็นที่เที่ยว (โคจร) แต่ว่า ตถาคตมิได้เป็น "ตมฺมโย" (ผู้ที่ธรรมอันผ่องแผ้วนั้นสร้างขึ้น) ด้วยเหตุนั้น

           ภิกษุ ท.! สาวกควรจะเข้าไปหาพระศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อจะฟ๎ง ธรรม; พระศาสดานั้น ย่อมแสดงธรรมแก่สาวกนั้น ให้ยิ่งขึ้นไป ให้ประณีตขึ้นไปมี ส่วนเปรียบเทียบระหว่างธรรมดํากับธรรมขาว.

           ภิกษุ ท.! พระศาสดาย่อมแสดง ธรรมแก่สาวกนั้น ในลักษณะที่เมื่อแสดงอยู่ โดยลักษณะนั้นสาวกนั้น เพราะรู้ยิ่งใน ธรรมนั้น ย่อมถึงซึ่งความแน่ใจเฉพาะธรรม บางอย่าง ในธรรม ท. ที่แสดงนั้นย่อม เลื่อมใสในพระศาสดาว่า "พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรมเป็น ส๎วากขาตะ สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฎิป๎นนะ" ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! ถ้ามีคนเหล่าอื่นมาถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ท่านมีเหตุผลอย่างไร มีเรื่องที่รู้มาอย่างไร ที่ทําให้ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรม เป็นส๎ วากขาตะ สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิป๎นนะดังนี้ เล่า?

           ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุจะพยากรณ์อยู่โดยชอบ ก็จะพยากรณ์ว่า "เพื่อนเอ๋ย ! ใน เรื่องนี้ เราเข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาค เพื่อฟ๎งธรรม พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ธรรม แก่เรานั้น ให้ยิ่งขึ้นไป ให้ประณีตขึ้นไป มีส่วนเปรียบเทียบระหว่างธรรมดํา กับธรรมขาว. เพื่อนเอ๋ย ! พระศาสดาย่อมแสดงธรรมแก่เรา ในลักษณะ ที่เมื่อทรง แสดง อยู่โดยลักษณะนั้น เรา เพราะรู้ยิ่งในธรรมนั้น ได้ถึงแล้วซึ่งความ แน่ใจเฉพาะ ธรรม บางอย่าง ในธรรม ท. ที่ทรงแสดงนั้น เลื่อมใสแล้วใน พระศาสดาว่า `พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมสัมพุทธะ พระธรรม เป็นส๎ วากขาตะ สาวกสงฆ์ของ พระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิป๎นนะ' ดังนี้". 

           ภิกษุ ท.! สัทธาในตถาคตของท่านผู้ใดก็ตาม เป็นสัทธาที่ถูกชักโยงแล้ว ด้วย อาการเหล่านี้ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ เป็นสัทธาที่มีมูลรากเกิดแล้ว  มีฐานที่ตั้งเกิดแล้ว; ภิกษุ ท.! สัทธานี้ เรากล่าวว่า เป็นสัทธาที่มีอาการ มีทัสสนะ เป็นมูล เป็นสัทธาที่มั่นคง ที่สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทพก็ดีมารก็ดี พรหมก็ดี หรือใคร ๆ ก็ตามในโลก จะชักจูงไปไม่ได้. 

           ภิกษุ ท.! การทดสอบโดยธรรมในตถาคต ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้    และตถาคตก็เป็นผู้ถูกทดสอบแล้วด้วยดีโดยธรรม ด้วยอาการอย่างนี้ แล. 

           หมายเหตุ : ข้อความข้างบนนี้ มีประโยชน์สําหรับพวกเราทั่วไปที่ไม่มี เจโตปริยญาณ ที่จะรู้พระหฤทัยของพระองค์ ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะหรือไม่ ก็จะสามารถ มีสัทธาแน่ใจได้ว่าทรง เป็นสัมมาสัมพุทธะขอให้พยายาม ทําความเข้าใจ ในเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด ด้วย.อนึ่ง ข้อความเหล่านี้ จะ ฟ๎งยากสําหรับคน บางคน เพราะพระองค์ทรงใช้คําธรรมดา สามัญให้เล็งถึงพระองค์เอง ราวกะว่าทรงเป็น จําเลยให้สอบสวน ผู้อ่านจะต้องใช้ความระมัด ระวังเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่นคําว่า "ภิกษุ" เป็นต้น หมายถึงพระองค์เองก็มี.  -ผู้รวบรวม.



หน้า 167
ทรงยืนยันว่าไม่ได้บริสุทธิ์เพราะตบะอื่น นอกจากอริยมรรค

          ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่หลีกเร้น หลังจากการตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ ได้เกิด ปริวิตกขึ้นมาว่า "เราหลุดมาได้แล้วจากการกระทําทุกรกิริยานั้นหนอ; ดีนัก เราหลุด มาเสียได้แล้ว จากการกระทําทุกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้นหนอ; ดีนัก เราหลุดพ้นแล้ว เป็นผู้ถึงทับซึ่งโพธิญาณหนอ"ดังนี้.

           ลําดับนั้น มารผู้มีบาป ทราบความปริวิตกแห่งใจของพระผู้มีพระภาค ด้วยใจ แห่งตน แล้วเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กล่าวคุกคามด้วยคาถาว่า
           "มาณพที่บําเพ็ญตบะ ย่อมไม่หลีกจากตบะที่ทําเขาให้บริสุทธิ์ ส่วนท่านเป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ มาสําคัญตนว่าบริสุทธิ์ ทอดทิ้งเสียซึ่งหนทางอันบริสุทธิ์." 

           ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า นี้เป็นมารผู้มีบาป ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคุกคาม มารผู้มีบาป ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

           ตบะอย่างอื่นชนิดใดก็ตาม ทั้งหมดนั้น  ไม่เป็นตบะน ามาซึ่งประโยชน์ เพราะเรา รู้แล้วว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เหมือนถ่อ  หรือแจวที่จะใช้ถ่อ หรือ แจวเรือบนบกในปุา. 

           เราเจริญมรรค อันประกอบด้วยศีลสมาธิ  และป๎ญญา เพื่อการตรัสรู้ เราเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง. มารเอ๋ย! เราต่างหาก เป็นผู้ กวาดล้างท่านแล้ว
ดังนี้ 

           ลําดับนั้น มารผู้มีบาป รู้สึกว่า พระผู้มีพระภาครู้กําพืดเราเสียแล้ว พระสุคตรู้ กําพืดเรา เสียแล้ว มีทุกข์โทมนัส อันตรธานไปแล้วในที่นั่นนั้นเอง.



หน้า 168 -172
ทรงยืนยันพรหมจรรย์ของพระองค์ว่าบริสทุธิ์เต็มที่

          พราหมณ์ ! เมื่อผู้ใดจะกล่าวให้ถูกต้อง ว่าใครประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อยแล้ว

           "ข้าแต่พระโคดม ! ความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของ พรหมจรรย์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?" 

           พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ปฎิญาณตัวว่า เป็น พรหมจารีโดยชอบ ไม่เสพเมถุนธรรมกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลํา การประคบ การอาบ การนวดฟ๎้น จากมาตุคามก็จริง แต่ เขายังพูดจาซิกซี้เล่นหัว สัพยอกกับ มาตุคาม เขาปลาบปลื้มยินดี ด้วยการบําเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม.

           ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วย การเกี่ยวกันด้วยเมถุน ไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัสและ อุปายาส ไปได้ ยังไม่พ้นจากทุกข์.

           พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ปฎิญาณตัวว่า เป็น พรหมจารีโดยชอบ ไม่เสพเมถุนธรรมกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลํา การประคบ การอาบ การนวดฟ๎้น จากมาตุคามก็จริง แต่ เขายังพูดจาซิกซี้เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม เขาปลาบปลื้มยินดี ด้วยการบําเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม.

           ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วย การเกี่ยวกันด้วยเมถุน ไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ  ทุกขโทมนัสและ อุปายาส ไปได้ ยังไม่พ้นจากทุกข์. 

           พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็น พรหมจารีโดยชอบ ไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลํา การประคบ การอาบ การนวดฟ๎้น จากมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัว สัพยอกกับ มาตุคามก็จริง แต่เขายังชอบสบตาด้วยตาของมาตุคาม แล้ว

           ปลาบปลื้มยินดีด้วยการทําเช่นนั้น. ดูก่อนพราหมณ์! นี่ก็คือความขาด ความ ทะลุ ความด่าง ความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติ พรหมจรรย์ ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน ยังไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้ ยังไม่พ้นจากทุกข์. 

           พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตัวว่าเป็น พรหมจารีโดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลํา  การประคบ การอาบ การนวดฟ๎้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจากซิกซี้เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคามก็จริง แต่เขายังชอบ ฟ๎งเสียงของมาตุคาม ที่หัวเราะอยู่ก็ดี พูดจาอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดีร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ตาม นอกก าแพงก็ตาม แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการได้ฟ๎งเสียงนั้น.

           ดูก่อนพราหมณ์! นี่คือความขาด ความทะลุความด่าง ความพร้อยของ พรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพัน ด้วยเมถุน เขายังไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้ ยังไม่พ้นจากทุกข์. 

           พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฎิญาณตัวว่าเป็น พรหมจารี โดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลํา การประคบ การอาบ การนวดฟ๎้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม ไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการฟ๎ง เสียงมาตุคามก็จริง แต่เขาชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่น หัวกันกับมาตุคาม แล้วก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการเฝูาระลึกเช่นนั้น.

           ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แล คือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของ พรหมจรรย์.เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วยการ เกี่ยวพัน ด้วยเมถุนยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้    ยังไม่พ้นจากทุกข์. 

           พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฎิญาณตัวว่าเป็น พรหมจารี โดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลํา การประคบ การอาบ การนวดฟ๎้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีการพูดจาซิกซี้เล่นหัว สัพยอก กับ มาตุคาม ไม่ยินดีการสบตาต่อตากับมาตุคาม ไม่ยินดีการฟ๎งเสียง มาตุคาม และ ทั้งไม่ชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกับ มาตุคามก็จริง แต่เขาเพียงแต่เห็นพวกคฤหบดี หรือลูกคฤหบดีอิ่มเอิบด้วยกาม คุณได้รับการ บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการได้เห็นการกระทำเช่นนั้น.

           ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาด ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วย การเกี่ยวกันด้วยเมถุน ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาส ไปได้ ยังไม่พ้นจากทุกข์. 

           พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฎิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารี
โดยชอบ แล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลํา การประคบ การอาบ การนวดฟ๎้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีการฟ๎งเสียงมาตุคามไม่ ยินดีตามระลึกถึง เรื่องเก่าที่ตนเคยหัวเราเล้าโลมเล่นหัวกับมาตุคาม และทั้งไม่ ยินดีที่จะเห็นพวก คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี อิ่มเอิบด้วยกามคุณ แล้วตนพลอยนึก ปลื้มใจด้วยก็ตาม แต่เขาประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปรารถนาเพื่อไปเป็น  เทพยาดา พวกใด พวกหนึ่ง. 

           ดูก่อนพราหมณ์ !  นี่แล  คือความขาด  ความทะลุ ความด่าง ความพร้อย ของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบด้วยการ เกี่ยวพัน ด้วยเมถุน ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะโสกะปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและ อุปายาส ไปได้ ยังไม่พ้นจากทุกข์. 

           พราหมณ์เอย ! ตลอดกาลเพียงใด ที่เรายังเห็นการเกี่ยวพันด้วยเมถุน อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่างนั้น ที่เรายังละมันไม่ได้ ตลอดกาลเพียงนั้นเรายัง ไม่ปฎิญญาตัวเอง ว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ เทวดาแลมนุษย์ 

           พราหมณ์เอย ! เมื่อใด เราไม่มองเห็นการเกี่ยวพันด้วยเมถุนอย่างใด   อย่างหนึ่ง ใน ๗ อย่างนั้น ที่เรายังละมันไม่ได้ เมื่อนั้น เราย่อมปฎิญญาตัวเองว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ เทวดาแลมนุษย์ ญาณ และทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่ เราแล้ว. ความหลุดพ้นของเรา ไม่กลับกำเริบ. ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย.บัดนี้การ เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไป



หน้า 172-173
ทรงยืนยันว่าตรัสเฉพาะเรื่องที่ ทรงแจ่มแจ้งแทงตลอดแล้วเท่านั้น

          ภิกษุ ท.! เรายังไม่รู้แจ้งพร้อมเฉพาะ ซึ่งกรรมอันสัตว์กระทําสั่งสมแล้ว ด้วยเจตนา ก็ยังไม่กล่าวภาวะความสิ้นสุดของกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรรมให้ผลใน ทิฎฐธรรม (ทันที) ในอุปะป๎ชชะ (เวลาต่อมา) หรือในอปรปริยายะ (เวลาต่อมา อีก). ภิกษุ ท.! เรายังไม่รู้แจ้งพร้อมเฉพาะ ซึ่งกรรมอันสัตว์กระทําสั่งสมแล้วด้วย เจตนา ก็ยงไม่กล่าวซึ่งการกระทําที่สุดแห่งทุกข์. 

           ภิกษุ ท.! ในข้อนั้น การถึงทั่วมีประการต่าง ๆ ซึ่งโทษแห่งการงานอัน เป็นไปทางกาย อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๓ อย่าง; การถึงทั่วมีประการต่าง ๆ ซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทาง วาจา อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๔ อย่าง: การถึงทั่วมีประการต่าง ๆ ซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทางใจ อัน ประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๓ อย่าง. 

           (ต่อจากนี้ ทรงจําแนกรายละเอียดของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ฝุายอกุศลที่ยกไว้ เป็นหัวข้อข้างต้นนั้น ทุกอย่างทุกประการ แล้วก็ทรงแจกราย ละเอียดของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ฝุายกุศล โดยทํานองเดียวกันกับฝุาย อกุศลและฝุายกุศลจริง ๆ อย่างเพียงพอที่จะ กล่าวถึงความสิ้นแห่งกรรมและ การกระทําที่สุดแห่งความทุกข์ ดังที่ได้ทรงปรารภไว้ข้างต้นนั้น)



หน้า173-174
สิ่งที่ไม่ต้องทรงรักษาอีกต่อไป

          ภิกษุ ท.! ธรรมสี่อย่างเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ตถาคตไม่ต้องสํารวมรักษา (ด้วย เจตนางดเว้นอีกต่อไป). สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? 
           (๑) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีมรรยาททางกาย บริสุทธิ์สะอาด กายทุจริตที่ ตถาคตต้องรักษา(คือปิดบัง) ว่า "ใคร ๆ อื่น อย่าล่วงรู้ถึงกายทุจริตข้อนี้ของเรา" ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ตถาคต. 
           (๒) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีมรรยาททางวาจา บริสุทธิ์สะอาด วจีทุจริตที่ ตถาคตต้องรักษาว่า "ใคร ๆ อื่นอย่าล่วงรู้ถึงวจีทุจริตข้อนี้ของเรา" ดังนี้ย่อมไม่มี แก่ตถาคต. 
           (๓) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีมรรยาททางใจ บริสุทธิ์สะอาด มโนทุจริตที่ตถาคต ต้องรักษาว่า "ใคร ๆ อื่นอย่าล่วงรู้ถึงมโนทุจริตข้อนี้ของเรา" ดังนี้ย่อไม่มีแก่ ตถาคต.
           (๔) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีการเลี้ยงชีพ บริสุทธิ์สะอาด มิจาฉาชีพที่ตถาคต ต้องรักษาว่า "ใคร ๆ อื่น อย่าล่วงรู้ถึงมิจฉาชีพข้อนี้ของเรา" ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ ตถาคตเลย.



หน้า 174
ทรงฉลาดในเรื่องซึ่งพ้นวิสัยโลก

          ภิกษุ ท.! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่อง โลกนี้ ฉลาดในเรื่อง โลกอื่น เป็นผู้ ฉลาดต่อวัฎฎะอันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อ วิวัฎฎะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร เป็นผู้ฉลาดต่อวัฎฎะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยูฉลาดต่อ วิวัฎฎะอันไม่เป็นที่อยู่ของ มฤตยู. ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟ๎งควรเชื่อ ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลเพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน. 

           ทั้งโลกนี้และโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว  ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด  ได้ประกาศ ไว้ ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง. ประตูนคร แห่งความ ไม่ตาย ตถาคต เปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย  เข้าถึงถิ่นอันเกษม. กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว  กำจัดเสียแล้ว ท าให้หมดพิษสงแล้ว. ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลาย  จงเป็นผู้มากมูนด้วยปราโมทย์ ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะ เถิด.