เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  8 of 11  
  สารบาญ ภาค 4    

  สารบาญ ภาค 4

 
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า   อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ หน้า
  ทรงแสดงหลักแห่งกรรมต่างจากพวกอื่น 404-408     การทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยากเกี่ยวกับพระองค์ 460-461
  (ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ทำบาปแล้วตายไปสู่นรก)  408-409     การเกิดของพระองค์ไม่กระทบถึงกฎธรรมชาติ 461-462
  (ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ ทำบาปแล้วไปสู่สวรรค์) 409-410     การทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท) 463-464
  (ตรัสอธิบายพวกที่เว้นจากบาปแล้วตายไปสู่สวรรค์) 410     ทรงแนะการบูชายัญในภายใน 464-465
  (ตรัสอธิบายพวกที่ เว้นจากบาปแล้วตายไปสู่นรก)  410-411     การทรงแสดงเหตุของความเจริญ 465-466
  ทรง"เยาะ"ลัทธิที่ว่าสุขทุกข์เพราะกรรมเก่าอย่างเดียว 411-413     ทรงแสดงที่พึ่งไว้ส าหรับเมื่อทรงล่วงลับไปแล้ว  466-467
  ทรง"เยาะ"ลัทธิ สุขทุกข์เพราะการบันดาลของเจ้านาย 413-414     การตรัสเรื่อง "ทุกข์นี้ใครท าให้" 467-468
  ทรง"เยาะ"ลัทธ สุขทุกข์ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นป๎จจัย 414-415     การสนทนากับพระอานนท์เรื่องกัลยาณมิตร 468-469
  ทรงมีวิธีสกัดสแกงพวกที่ถือลัทธิว่ามีอัตตา 415-417     การสนทนากับ "พระเหม็นคาว" 469
  ทรงระบุลัทธิมักขลิวาท ว่าเป็นลัทธิทำลายโลก 418-419     การตอบคำถามของทัณฑปาณิสักกะ 470-471
         
  ทรงทำผู้มุ่งร้ายให้แพ้ภัยตัวเอง 419-421     บาปกรรมเก่าไม่อาจสิ้นด้วยทุกรกิริยา 471-473
  ไม่เคยทรงพรั่นพรึงในท่ามกลางบริษัท 421     เวทนาทั้งหลายมิใช่ผลแห่งกรรมในกาลก่อน 473-475
  ทรงสมาคมได้อย่างสนิทสนม ทุกบริษัท 422     การให้ผลของกรรมไม่อาจเปลี่ยนด้วยตบะของนิครนถ์ 475-479
  ทรงท้าให้ใครปฏิเสธธรรมะที่พระองค์รับรอง 423-425     ทรงสนทนากะเทวดา เรื่องวิมุตติของภิกษุณี 479
  ทรงท้าว่า ธรรมที่ทรงแสดงไม่มีใครค้านได้  425-429     การสนทนากับเทวดา เรื่องอปริหานิยธรรม 479-480
  ทรงยืนยันและให้สาวกยืนยันว่ามีสมณะในธรรมวินัยนี้ 429-430     การสนทนาเรื่องที่สุดโลก 480-482
  โพชฌงค์ปรากฏ เพราะพระองค์ปรากฏ 431     การสนทนาเรื่องลัทธิซึ่งสมมติกันว่าเลิศ 482
  ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้เขานับถือ 431-432     การตรัสเรื่อง "มหาภูต" ไม่หยั่งลงในที่ไหน 483-486
  ทรงหวังให้ช่วยกันท าความมั่นคงแก่พรหมจรรย์ 432-433     การมาเฝู้าของตายนเทพบุตร  485-486
  พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภเป็นอานิสงส์ 433     การมาเฝ้าของอนาถปิณฑิกเทพบุตร 486-487
  แง่ที่เขากล่าวหาพระองค์อย่างผิด ๆ 444-450     การมาเฝ้าของจาตุมมหาราช 487-490
  ทรงหยามมารว่าไม่มีวันรู้จักทางของพระองค์  450-451     การข่มลิจฉวีบุตร ผู้มัวเมาในปาฏิหาริย์ 490-492
  มนุษย์บุถุชน รู้จักพระองค์น้อยเกินไป 451-453     การสนทนากับปริพพาชก ชื่อ มัณฑิยะและชาลิยะ  492-495
  (เหล่านี้ เป็นส่วน จุลศีล) 454-456     การสนทนาเรื่อง เครื่องสนุกของพระอริยเจ้า 495-496
  (เหล่านี้ เป็นส่วน มัชฌิมศีล)  457-458     จบภาค4  
  (ฉ.เกี่ยวกับเหตุการณ์พิเศษบางเรื่อง ๒๒ เรื่อง) 459-460      
         
 
 








หน้า 404-408 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
ทรงแสดงหลักแห่งกรรมต่างจากพวกอื่น

         อานนท์ ! บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น

(ก) สมณพราหมณ์ผู้ใด กล่าว อย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! กรรมที่เป็นบาป (บาปกมฺม) มีอยู่ วิบากแห่งทุจริต ก็มี อยู่" ดังนี้ คํากล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย

(ข) แม้ข้อใดที่ สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลผู้กระทําปาณา ติบาต กระทําอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม พูดเด็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดคํา เพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ ภายหลังแต่การตาย เพราะ การทําลายแห่งกายเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ของสมณ พราหมณ์ ผู้นั้น เราก็ยอมรับรู้ด้วย

(ค) แต่ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าว อย่างนี้ว่า" ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใด เป็นผู้กระทํา ปาณาติบาต กระทําอทินนาทาน...ฯลฯ...มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ บุคคลนั้นทุกคนภายหลังแต่การตายเพราะ การทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้
คํากล่าวข้อนี้ของ สมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย

(ฆ) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าว อย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อ ว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้อย่างอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ของ สมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ ยอมรับรู้ด้วย

(ง) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้น ป๎กใจตามกําลังแห่งความรู้ตาม ความลูบคลําแห่งทิฎฐิ แล้วกระทําซึ่งโวหารตามที่เขารู้เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง (สืบต่อไป) อย่างนี้ว่า "ข้อนี้ เท่านั้นจริง ข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ ยอมรับรู้ด้วย

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? อานนท์! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ญาณในการจําแนกซึ่งกรรม อันกว้างขวางของตถาคต ย่อมมี โดยประการอื่น. 

อานนท์ ! บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น

(ก) สมณพราหมณ์ผู้ใดกล่าว อย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! กรรมที่เป็นบาปไม่มี วิบากแห่ง ทุจริตก็ไม่มี"ดังนี้ คํากล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย

(ข) แต่ข้อใดที่สมณ พราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปอีกอย่างนี้ว่า"ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคล ผู้กระทําปาณาติบาต กระทําอทินนาทาน...ฯลฯ...มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ ภายหลัง แต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" ดังนี้ คํากล่าว ข้อนี้ของ สมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย

(ค) ส่วนข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใด เป็น ผู้กระทําปาณาติบาตกระทําอทินนาทาน ...ฯลฯ...มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฎฐิ บุคคลนั้น ทุกคน ภายหลังแต่การตายเพราะ การทําลายแห่งกายย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์" ดังนี้ คํากล่าวข้อนี้ของสมณ พราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ด้วย

(ฆ) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ ว่า "ชนเหล่าใด รู้อย่างนี้ ชนเหล่า นั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้อย่างอื่นความรู้ของ ชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้ คํากล่าวแม้ ข้อนี้ ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอม รับรู้ ด้วย

(ง) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้น ป๎กใจตามกําลังแห่งความรู้ตามความลูบคลํา แห่งทิฎฐิ แล้วกระทําซึ่งโวหารตามที่เขารู้เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง (สืบต่อไป) อย่างนี้ว่า "ข้อนี้ เท่านั้นจริง ข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ของสมณ พราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ ยอม รับรู้ด้วย.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? อานนท์ ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าญาณในการจําแนก ซึ่งกรรมอัน กว้างขวางของตถาคต ย่อมมีโดย ประการอื่น

อานนท์ !  บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น

(ก) สมณพราหมณ์ผู้ใด กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท. ! กรรมที่เป็นกรรมงาม (กลฺยาณกมฺม) มีอยู่ วิบากแห่งสุจริต ก็มีอยู่" ดังนี้ คำกล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย

(ข) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดคําเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากด้วย อภิชฌา ไม่มีจิต พยาบาทเป็นสัมมาทิฏฐิ ภายหลังแต่การตายเพราะการทําลาย แห่งกาย เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ยอมรับรู้ด้วย

(ค) แต่ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใด เป็นผู้เว้น ขาดจาก ปาณาติบาต  เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมา ทิฏฐิ บุคคลนั้น ทุกคนภายหลังแต่การตายเพราะการทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์" ดังนี้ คํากล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอม รับรู้ด้วย.

(ฆ) แม้ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อ ว่ารู้ชอบชนเหล่าใดรู้อย่างอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ ของ สมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอม รับรู้ด้วย.

(ง) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นป๎ก ใจตามกําลังแห่งความรู้ตามความลูบคลําแห่งทิฎฐิ แล้วกระทําซึ่งโวหารตามที่เขารู้ เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง (สืบต่อไป)อย่างนี้ว่า"ข้อนี้ เท่านั้นจริงข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอม รับรู้ด้วย.

ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า? อานนท์ ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ญาณในการ จําแนกซึ่งกรรม อันกว้างขวางของตถาคต ย่อมมีโดยประการอื่น. 

อานนท์ ! บรรดาสมณพราหมณ์ ท. เหล่านั้น

(ก) สมณพราหมณ์ผู้ใด กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! กรรมที่เป็นกรรมงามไม่มี วิบากแห่งสุจริตก็ไม่มี" ดังนี้ คํากล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ ด้วย.

(ข) แต่ข้อใดที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวต่อไปว่า "ข้าพเจ้า ได้เห็นบุคคลผู้เว้นขาด จากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ... ไม่มีจิตพยาบาท  เป็นสัมมาทิฎฐิ ภายหลังแต่การตายเพราะการทําลาย แห่งกาย เข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้ คํากล่าวข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เรายอมรับรู้ด้วย.

(ค) ส่วนข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท.! บุคคลใดเป็นผู้ เว้นขาดจาก ปาณาติบาต เว้นขาดจาก อทินนาทาน ...ฯลฯ..ไม่มีจิตพยาบาท เป็น สัมมาทิฎฐิ บุคคลนั้น ทุกคน ภายหลังแต่ การตายเพราะการทําลายแห่งกาย ย่อมเข้า ถึงอบายทุคติวินิบาตนรก" ดังนี้ คํากล่าวข้อนี้ของ สมณพราหมณ์ผู้นั้น เราไม่ยอมรับรู้ ด้วย.

(ฆ) แม้ข้อใดที่สมณ พราหมณ์ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชน เหล่าใดรู้อย่างอื่นความรู้ของชนเหล่านั้น ผิด" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ ของสมณ พราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอมรับรู้ด้วย.

(ง) แม้ข้อที่สมณพราหมณ์ผู้นั้นป๎กใจตาม กําลังแห่งความรู้ตามความลูบคลําแห่งทิฎฐิ แล้วกระทําซึ่งโวหารตามที่เขารู้เอง เห็นเอง แจ่มแจ้งเอง (สืบต่อไป) อย่างนี้ว่า "ข้อนี้เท่านั้นจริง ข้ออื่นเป็นโมฆะ" ดังนี้ คํากล่าวแม้ข้อนี้ของสมณพราหมณ์ผู้นั้น เราก็ไม่ยอม รับรู้ด้วย.

ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า? อานนท์ ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ญาณในการจําแนกซึ่งกรรมอัน กว้างขวางของตถาคต ย่อมมีโดยประการอื่น.


408-409
(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ทำบาปแล้วตายไปสู่นรก

          อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลป๎จจุบันนี้เป็น ผู้กระทํา ปาณาติบาต กระทําอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจฉาทฎิฐิ ภายหลังแต่การ ตายเพราะ การทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก ข้อนี้เป็นเพราะ ในกาลก่อน เขาได้กระทําบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้ หรือว่าในกาลภายหลังเขาได้กระทําบาป กรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้ หรือว่า ในเวลาจะตาย เขาเป็นผู้ เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฎฐิ

          เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะ การทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก. ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้กระทํา ปาณาติบาต กระทํา อทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจฉาทิฎฐิ ในโลกแห่งกาลป๎จจุบันนี้ นั้น เขาย่อมเสวยซึ่ง วิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฎฐธรรม(ทันควัน) บ้าง หรือในกาลอันเป็นอุปะป๎ชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง หรือในกาลอันเป็นอปรปริยายะ (เวลาถัดมาอีก) บ้าง.


409-410
(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ ทำบาปแล้วตายไปสู่สวรรค์)

         อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลป๎จจุบันนี้เป็น ผู้กระทําปาณาติบาต กระทําอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจฉาทิฎฐิ ภายหลังแต่การ ตายเพราะการทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้อนี้เป็นเพราะในกาล ก่อนเขาได้กระทํากัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้; หรือว่า ในกาลภายหลังเขาได้ กระทํากัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้; หรือว่าในเวลาจะตายเขาเป็นผู้เพียบพร้อม ด้วยสัมมาทิฎฐิ

         เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทําลาย แห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้กระทําปาณาติบาต กระทําอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นมิจฉาทิฎฐิ ในโลกแห่งกาลป๎จจุบันนี้นั้นเขาย่อม เสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฎฐธรรม (ทันควัน) บ้างหรือในกาลอัน เป็นอุปะป๎ชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง หรือในกาลอันเป็นอปรปริยายะ(เวลาถัดมาอีก) บ้าง


410
(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ เว้นจากบาปแล้วตายไปสู่สวรรค์) 

         อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลป๎จจุบันนี้เป็นผู้ เว้นขาดจาก ปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นสัมมาทิฎฐิภายหลัง แต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้อนี้เป็นเพราะ ในกาลก่อนเขา ได้กระทํากัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้ หรือว่าในกาลภายหลัง เขาได้กระทํากัลยาณ กรรมอันมีสุขเป็นผลไว้ หรือว่าในเวลาจะตายเขาเป็นผู้เพียบ พร้อมด้วยสัมมาทิฎฐิ

         เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการ ทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์. ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต เว้นขาดจาก อทินนาทาน ...ฯลฯ เป็นสัมมาทิฎฐิ ในโลกแห่งกาล ป๎จจุบันนี้ นั้น เขาย่อมเสวยซึ่ง วิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฎฐธรรม (ทันควัน) บ้าง หรือในกาลอันเป็นอุปะป๎ชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง หรือในกาลอัน เป็นอปรปริยายะ(เวลาถัดมาอีก) บ้าง.


410-411
(ตรัสอธิบายเกี่ยวกับพวกที่ เว้นจากบาปแล้วตายไปสู่นรก) 

         อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งกาลป๎จจุบันนี้เป็นผู้ เว้นขาดจาก ปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ...เป็นสัมมาทิฎฐิ ภายหลัง แต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรกข้อนี้เป็น เพราะในกาลก่อน เขาได้กระทําบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้ หรือว่าในกาล ภายหลังเขาได้กระทําบาป กรรม อันมีทุกข์เป็นผลไว้ หรือว่าในเวลาจะตายเขา เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฎฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทําลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึง อบายทุคติวินิบาตนรก.

         ส่วนข้อที่เขาเป็นผู้ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน ...ฯลฯ... เป็น สัมมาทิฎฐิในโลก แห่งกาลป๎จจุบันนี้ นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่ง กรรมนั้น ในกาลอัน เป็นทิฎฐธรรม (ทันควัน) บ้าง หรือในกาลอันเป็นอุปะป๎ชชะ (เวลาถัดมา) บ้าง หรือใน กาลอันเป็น อปรปริยายะ (เวลาถัดมาอีก) บ้าง. 

         อานนท์ ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล กรรมที่ไม่ควรทํา แสดงตัวออกมาเป็น กรรม ที่ไม่ควรทําก็มี กรรมไม่ควรทํา แสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ควรทําก็มี และ กรรมที่ควร ทําแท้ ๆ แสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ควรทําก็มี กรรมที่ควรทําแสดง ตัวออกมาเป็นกรรม ที่ไม่ควรทําก็มี ดังนี้แล.


411-413
ทรง "เยาะ" ลัทธิที่ว่าสุขทุกข์เพราะกรรมเก่าอย่างเดียว

         ภิกษุ ท.! ลัทธิ ๓ ลิทธิเหล่านี้มีอยู่ เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมา อย่างไร ก็ชวนให้น้อมไปเพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง. 

ภิกษุ ท.!  ลัทธิ ๓ ลัทธินั้นเป็นอย่างไรเล่า? ๓ ลัทธิคือ

(๑) สมณะ และพราหมณ์บางพวกมีถ้อยคําและความเห็นว่า
"บุรุษบุคคลใด ๆ ก็ตามที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมทึ่ทำไว้แต่ ปางก่อน" ดังนี้.

(๒) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคําและความเห็นว่า
"บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่มีสุขไม่ใช่ทุกข์ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการบันดาลของผู้เป็นเจ้าเป็นนาย (อิศวร)" ดังนี้.

(๓) สมณะและ พราหมณ์บางพวก มีถ้อยคําและความเห็นว่า
"บุรุษบุคคลใด ๆ ก็ตามที่ได้รับสุข หรือได้รับทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ทั้งหมด นั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย" ดังนี้. 

         ภิกษุ ท.! ในบรรดาลัทธิทั้งสามนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคําและ ความเห็นว่า "บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ เพราะกรรมที่ทำ ไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียว" อยู่เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สอบถาม ความที่เขา ยังยืนอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า "ถ้ากระนั้นคนที่ฆ่าสัตว์...ลัก ทรัพย์...ประพฤติผิด พรหมจรรย์...พูดเท็จ...พูดยุให้แตกกัน...พูดคําหยาบ...พูดเพ้อเจ้อ ...มีใจละโมบเพ่งเล็ง ...มีใจพยาบาท...มีความเห็นวิปริต เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง  (ในเวลานี้) นั่นก็ต้องเป็น เพราะกรรมที่ทําไว้แต่ปางก่อน.

เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ ทำไว้แต่ปางก่อนมาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้น ก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำสิ่งนี้ไม่ควรทำ อีกต่อไป.


เมื่อกรณีย กิจและอกรณียกิจไม่ถูกทําหรือถูกละเว้นให้จริง ๆจัง ๆ กันแล้ว คนพวกที่ไม่มี สติ คุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะ อย่างชอบธรรมได้." ดังนี้.

         ภิกษุ ท.! นี้แล แง่สําหรับข่มอย่างเป็นธรรม แก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ มีถ้อยคํา และ ความเห็นเช่นนั้น แง่ที่หนึ่ง.


413-414
ทรง "เยาะ" ลัทธิที่ว่าสุขทุกข์เพราะการบนัดาลของเจ้านาย
(เรื่องตอนต้นของเรื่องนี้ ต่อเป็นเรื่องเดียวกับตอนต้นของเรื่องก่อน)

         ภิกษุ ท.! ในบรรดาลัทธิทั้งสามนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคําและ ความเห็นว่า "บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะ การนิรมิต บันดาลของผู้ที่เป็นเจ้าเป็นนาย(อิศวร)" ดังนี้มีอยู่

เราเข้าไปหาสมณ พราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขา ว่า "ถ้ากระนั้น (ในบัดนี้) คนที่ฆ่าสัตว์ ...ลักทรัพย์ ...ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ...พูด เท็จ ...พูดยุให้แตกกัน ...พูดคําหยาบ ...พูดเพ้อเจ้อ ...มีใจละโมบเพ่งเล็ง ...มีใจ พยาบาทมีความเห็นวิปริต เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่นั่นก็ต้องเป็นเพราะการ นิรมิตบันดาลของผู้เป็นเจ้าเป็นนายด้วย.

ก็ เมื่อมัวแต่ถือเอาการนิรมิตบันดาล ของผู้ที่เป็นเจ้าเป็นนาย มาเป็นสาระสำ คัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความ อยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำอีกต่อไป.

เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่ถูกทํา หรือถูกละเว้นให้จริง ๆ จัง ๆอันแล้ว คน พวกที่ไม่มี สติคุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่าง ชอบธรรมได้." ดังนี้.

         ภิกษุ ท.! นี้แล แง่สําหรับข่มอย่างเป็นธรรมแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีถ้อยคํา และความเห็นเช่นนั้น แง่ที่สอง.


414-415
ทรง "เยาะ" ลัทธิที่ว่า สุขทุกข์ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นป๎จจัย๑
(เรื่องตอนต้นของเรื่องนี้ ต่อเป็นเรื่องเดียวกับตอนต้นของเรื่องก่อน)

         ภิกษุ ท.! ในบรรดาลัทธิทั้งสามนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคําและ ความเห็น ว่า "บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ทั้งหมดนั้นไม่มี อะไร เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย" ดังนี้มีอยู่

เราเข้าไปหาสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น แล้ว สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้น แล้ว เรากล่าวกะเขาว่า"ถ้ากระนั้น(ในบัดนี้) คนที่ฆ่าสัตว์ ...ลักทรัพย์ ...ประพฤติผิด พรหมจรรย์...พูดเท็จ ...พูดยุให้แตก กัน ...พูดคําหยาบ ...พูดเพ้อเจ้อ ...มีใจละโมบ เพ่งเล็ง ...มีใจพยาบาท ...มีความเห็น วิปริต เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น ก็ต้องไม่มี อะไรเป็นเหตุเป็นป๎จจัยเลย ด้วย.

ก็เมื่อมัวแต่ถือเอาความไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นป๎จจัยเลย มาเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำหรือความพยายามทำในข้อที่ว่าสิ่งนี้ ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรท า อีกต่อไป.


เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่ถูกทํา หรือถูกละ เว้นให้จริงๆจังๆกันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติ คุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะ มาเรียกตน ว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้."ดังนี้.

ภิกษุ ท.! นี้แล  แง่สําหรับข่มอย่างเป็นธรรม แก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีถ้อยคําและ ความเห็นเช่นนั้น แง่ที่สาม.


415-417
ทรงมีวิธีสกัดสแกงพวกที่ถือลัทธิว่ามีอัตตา

         โปฎฐปาทะ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งมีวาทะ มีทิฎฐิ อย่างนี้ว่า "มีอัตตา (ตัวตน) ซึ่งมีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ ภายหลังแต่การตาย" ดังนี้.

เราได้เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่าได้ยินมาว่าท่านผู้มี อายุ ท. มีวาทะ มีทิฎฐิว่า "มีอัตตา ซึ่งมีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ ภายหลังแต่ ตายแล้ว" ดังนี้ จริงหรือ? 

เมื่อเขาตอบว่า จริง. เราได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า เออก็ท่าน ท. รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งโลก อันมีสุขโดยส่วนเดียว อยู่หรือ? 

เมื่อเขาตอบว่า หามิได้. เราได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า เออก็ ท่าน ท.รู้ทั่วถึง ซึ่งอัตตา (ตัวตน) อันมีสุขโดยส่วนเดียว ตลอดคืนหนึ่งบ้าง วันหนึ่งบ้างครึ่งคืนบ้าง ครึ่งวันบ้าง แลหรือ? 

เมื่อเขาตอบว่า หามิได้. เราได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ก็ ท่าน ท.ย่อมรู้ว่า นี้ เป็นหนทาง นี้เป็นปฎิปทาเพื่อทํา ให้แจ้งซึ่งโลกอันมีสุขโดยส่วนเดียวอยู่หรือ?

เมื่อเขาตอบว่า หามิได้. เราได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่าน ท. ได้ยินเสียง แห่งเทวดา ผู้เขาถึงซึ่งโลกอันมีสุข โดยส่วนเดียว สนทนากันอยู่ว่า "เพื่อนเอ๋ย!เพื่อน ปฏิบัติดีแล้ว เพื่อนเอ๋ย! เพื่อนปฏิบัติ ตรงแล้ว เพื่อทําให้แจ้งซึ่งโลกอันมีสุขโดยส่วน เดียว เพื่อนเอ๋ย! ถึงแม้เราก็ปฏิบัติแล้ว อย่างนั้นจึงเข้าถึงโลกอันมีสุขโดยส่วน เดียว" ดังนี้ บ้างหรือ? เขาตอบว่า หามิได้.

โปฎฐปาทะ ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ก็เมื่อเขาพูดอยู่อย่างนี้ ถ้อยคํา ของพวกสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความเป็นคําที่ใคร ๆ จะไม่ยอม คล้อยตาม (อปฺปาฏิหิริกํ) มิใช่หรือ?

 "แน่นอน พระเจ้าข้า !"

         โปฎฐปาทะ ! เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องการใคร่ จะได้หญิงงาม แห่งชนบท ในชนบทนี้.

ชน ท. ถามเขาว่า "บุรุษผู้เจริญ!หญิงงาม แห่งชนบทที่ท่านปรารถนาใคร่ จะได้นั้นท่านรู้ หรือว่า หญิงงามนั้นเป็นวรรณะ กษัตริย์หรือ หรือว่าเป็นวรรณะพราหมณ์ หรือว่าเป็น วรรณะสามัญ หรือว่าเป็น วรรณะศูทรชั้นต่ํา"? เมื่อถูกถามเช่นนี้แล้ว เขาตอบว่า ข้าพเจ้า ไม่ทราบ.

ชน ท. ถามเขาต่อไปว่า "บุรุษเจริญ! หญิงงามแห่งชนบทที่ท่านปรารถนาใคร่จะได้นั้น มี ชื่อย่างไร เป็นโคตรอะไร เป็นคนสูง หรือเป็นคนต่ํา หรือปานกลางเป็นคนผิวดํา หรือ ผิวคล้ํา หรือผิวสีทอง อยู่ในหมู่บ้าน หรือในนิคมหรือในนครไหน"? เมื่อถูก ถามเช่นนี้แล้ว เขาตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ.

ชน ท. ถามเขาต่อไปว่า "บุรุษผู้เจริญ ! ท่านก็ไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นหญิงงามแห่งชนบท ที่ท่าน ปรารถนาใคร่จะได้นั้น นะซิ". เมื่อถูกถามเช่นนั้น เขาตอบว่า ถูกแล้ว

โปฎฐปาทะ ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้อย่างไร เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนี้ คําของ บุรุษนั้นย่อมถึงซึ่งความเป็นคําที่ใคร ๆ จะไม่ยอมคล้อย ตาม มิใช่หรือ? "แน่นอน พระเจ้าข้า!"

โปฎฐปาทะ ! ข้อนี้เป็นฉันใด ถ้อยคําของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนั้น มีทิฎฐิ อย่างนั้น ก็เป็นฉันนั้น. โปฎฐปาทะ ! หรือว่าเหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งกระทําบันได (สูงชนิดที่ทําเพื่อ) พาดขึ้นสู่ปราสาท อยู่ที่หนทางสี่แพร่ง.

ชน ท. ถามเขาว่า "บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้หรือว่า ปราสาทที่ท่านทําบันไดเพื่อจะพาดนั้น อยู่ทางทิศ ตะวันออกหรือทางทิศใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกหรือทางทิศเหนือ เป็น ปราสาทสูง หรือปราสาทต่ํา หรือปูนกลาง?" เมื่อถูกถามเช่นนี้แล้ว เขาตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ.

ชน ท. ถามเขาต่อไปว่า "บุรุษผู้เจริญ ! ท่านก็ไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นปราสาทที่ท่าน    ทําบันไดเพื่อจะพาดนั้น นะซิ." เมื่อถูกถามเช่นนี้ เขาตอบว่า ถูกแล้ว.

โปฎฐปาทะ ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนี้ คําของ บุรุษนั้น ย่อมถึงซึ่งความเป็นคําที่ใคร ๆ จะไม่ยอมคล้อยตาม มิใช่หรือ? "แน่นอน พระเจ้าข้า!"

โปฎฐปาทะ ! ข้อนี้เป็นฉันใด ถ้อยคําของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ อย่างนั้น มีทิฎฐิอย่างนั้น ก็เป็นฉันนั้น


418-419
ทรงระบุลัทธิมักขลิวาท ว่าเป็นลัทธิทำลายโลก

         ภิกษุ ท.! ในบรรดาผ้าที่ทอด้วยสิ่งที่เป็นเส้น ๆ กันแล้ว ผ้าเกสกัมพล   (ผ้า ทอด้วยผมคน) นับว่าเป็นเลวที่สุด. ผ้าเกสกัมพลนี้ เมื่ออากาศหนาว มันก็เย็นจัด เมื่ออากาศร้อน มันก็ร้อนจัด. สีก็ไม่งาม กลิ่นก็เหม็น เนื้อก็กระด้าง;ข้อนี้เป็นฉันใด
ภิกษุ ท.! ในบรรดาลัทธิต่าง ๆ ของเหล่าปุถุสมณะแล้ว ลัทธิมักขลิวาท นับว่า เป็นเลวที่สุด ฉันนั้น.

         ภิกษุ ท.!  มักขลิโมฆบุรุษนั้น   มีถ้อยค าและหลักความเห็นว่า "กรรมไม่มีกิริยาไม่มีความเพียรไม่มี" (คือในโลกนี้ อย่าว่าแต่จะมีผลกรรมเลยแม้แต่ ตัวกรรมเอง ก็ไม่มี ทําอะไรเท่ากับไม่ทํา.กิริยาและความเพียรก็นัยเดียวกัน). 

         ภิกษุ ท.! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เคยมีแล้วในอดีตกาล นานไกล ท่านเหล่านั้น ก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยามีวิริยะ. มักขลิ   โมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ว่าไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มี วิริยะ ดังนี้. 

         ภิกษุ ท.! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่จักมีมาในอนาคตกาล นานไกล ข้างหน้าท่านเหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านพระอาหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ว่า ไม่มีกรรม ไม่ มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้.

         ภิกษุ ท.!  ในกาละนี้  แม้เราเองผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษย่อมคัดค้าน เราว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้. 

         ภิกษุ ท.! คนเขาวางเครื่องดักปลา ไว้ที่ปากแม่น้ํา ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล แต่เพื่อความ ทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่พวกปลาทั้งหลายฉันใด 
มักขลิโมฆบุรุษ เกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนกับผู้วางเครื่องดักมนุษย์ไว้ ไม่ใช่เพื่อ ความเกื้อกูล แต่เพื่อความ ทุกข์ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่สัตว์ทั้งหลายเป็น อันมาก ฉันนั้น.

(จ. เกี่ยวกับการที่มีผู้อื่นเข้าใจผิด ๒๓ เรื่อง)


419-421
ทรงทำผู้มุ่งร้ายให้แพ้ภัยตัวเอง

         อัคคิเวสนะ ! ท่านสําคัญว่าอย่างไร ในข้อที่ท่านกล่าวว่า `รูปเป็นตัวตน ของเรา' ดังนี้ ก็อํานาจของท่านอาจเป็นไปได้ในรูปนั้นว่า รูปจงเป็นอย่างนี้ ๆ เถิด อย่างได้เป็น อย่างนั้น ๆ เลย' ดังนี้หรือ? 

         สัจจกอัคคิเวสนะ ได้ทูลตอบว่า "ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้นดอก พระโคดม !" 
อัคคิเวสนะ ! ท่านจงใคร่ครวญ ใคร่ครวญแล้วจึงกล่าวแก้. คําหลังของ ท่านไม่เข้ากันได้ กับคําก่อน คําก่อนไม่เข้ากับคําหลังเสียแล้ว.

         อัคคิเวสนะ ! ท่านจะ สําคัญข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? "ไม่เที่ยง พระโคดม !" 

         อัคคิเวสนะ ! สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นส่อทุกข์หรือส่อสุข?  "ส่อทุกข์ พระโคดม !"  สิ่งใดไม่เที่ยง ส่อทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า ของเรา เป็นเรา เป็นตัวของเรา ดังนี้?  "ไม่ควรเลย พระโคดม!" 

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการถามตอบ โดยทํานองเดียวกันนี้.) 

         อัคคิเวสนะ ! ท่านจะเข้าใจอย่างไร : เมื่อรูปการณ์เป็นเช่นนี้ตัวท่านติดทุกข์ แล้ว เข้าถึงทุกข์แล้ว จมเข้าในทุกแล้ว ท่านจักเห็นทุกข์นั้นว่า`นั่นของเรา นั่นเป็น เรา นั่นเป็นตัวตนของเรา' ดังนี้ เจียวหรือ?  "ทำไมจะไม่เป็นเช่นนั้นเล่า พระโคดม !"

         อัคคิเวสนะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการไม้แก่น เที่ยวหาไม้แก่นถือเอา ขวาน ถากที่คมกริบเข้าไปในป่า เห็นกล้วยต้นใหญ่ ต้นตรง ยังไม่ทันจะตกเครือ ยัง ไม่ตั้งปลี ภายใน. เขาตัดกล้วยต้นนั้นที่โคน แล้วตัดยอดปอกกาบแล้ว ก็ยังไม่พบ แม้แต่กระพี้ แก่นจักมีมา แต่ไหน ฉันใดก็ฉันนั้น

         อัคคิเวสนะ ! ท่านถูกเราซักไซ้ สอบถาม ทบทวนในคําของท่านเอง ก็เป็นผู้มี ถ้อยคําว่างเปล่าละลายไป.   

         อัคคิเวสนะ ! ท่านได้ปุาวประกาศในที่ประชุมชนเมืองเวสาลี ว่า"ข้าพเจ้าไม่ มองเห็น สมณะ หรือพราหมณ์ใด ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ แม้จะปฏิญญาตนเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ ชอบเอง ที่ถ้าข้าพเจ้าโต้วาทะด้วยวาทะแล้วจัก ไม่เป็นผู้ประหม่าตัวสั่นระรัว มีเหงื่อไหล จากรักแร้ ไปได้เลย เพราะถ้าแม้ข้าพเจ้า โต้วาทะด้วยวาทะ กับเสา ที่เป็นของไม่มีจิตใจ เสานั้นก็จะต้องสั่นสะท้าน ป่วย กล่าวไปไย ถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์" ดังนี้.

แต่มาบัดนี้ เหงื่อเป็นหยด ๆ ตกลงแล้วจาก หน้าผากของท่าน ถูกผ้าห่มแล้ว ลงถูกพื้น ส่วนเหงื่อในกายเราเดี๋ยวนี้ ไม่มีเลย


421
ไม่เคยทรงพรั่นพรึงในท่ามกลางบริษัท

         สารีบุตร ! บริษัทสมาคมแปดชนิด คือขัติยบริษัท พราหมณบริษัทคหบดี บริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัทและพรหม บริษัท.

ตถาคตประกอบด้วยความองอาจสี่อย่าง๒ เข้าไปสู่ที่ประชุมแห่งบริษัทแปดชนิดเหล่านี้. 

         สารีบุตร ! ตถาคตเคยเข้าไปสู่ ขัตติยบริษัท (หรือ) พราหมณบริษัท ฯลฯ พรหมบริษัท. จํานวนบริษัทนับด้วยร้อยเป็นอันมาก. เคยนั่งประชุม เคยเจรจา เคย สากัจฉา เราย่อมจํา เรื่องนั้น ๆ ได้ดี และนึกไม่เห็นวี่แววอันใดเลยว่า ความกลัวก็ดี ความประหม่าก็ดี เคย เกิดขึ้นแก่เราในที่ประชุมนั้น ๆ เมื่อไม่นึกเห็น ก็เป็นผู้ถึง ความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้


422
ทรงสมาคมได้อย่างสนิทสนม ทุกบริษัท

         อานนท์ ! บริษัทสมาคมแปดชนิดคือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดี บริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัทและพรหม บริษัท. 
อานนท์ ! ตถาคตยังจําได้ว่าเคยได้สู่ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัทคหบดี บริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัทและพรหม บริษัท นับด้วยร้อย ๆ ทั้งเคยนั่งร่วม เคยเจรจาร่วม เคยสนทนาและสมาคม ร่วมกับบริษัทนั้น ๆ.

เราย่อมจําเรื่องนั้นๆ ได้ดีว่า (คราวนั้น ๆ) ผิวกายของพวกนั้น เป็นเช่นใด ผิวกายของเรา ก็เป็นเช่นนั้น เสียงของพวกนั้นเป็นเช่นใด เสียงของเรา ก็เป็นเช่นนั้น.

อนึ่ง เรายังเคยได้ชี้แจงพวกเขาเหล่านั้นให้เห็นจริงในธรรม ให้รับ เอาไปปฏิบัติ ให้เกิดความกล้าที่จะทําตาม ให้พอใจในผลแห่งการปฏิบัติที่ได้รับแล้ว ด้วยธรรมีกถา.

บริษัทเหล่านั้น ไม่รู้จักเราผู้กําลังพูดให้เขาฟ๎งอยู่ว่าเราเป็นใคร คือ เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์. ครั้นเรากล่าวธรรมีกถาจบแล้ว ก็จากไปทั้งที่ชน ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ยังไม่รู้จักเรา. เขาได้แต่เกิดความฉงนใจว่า ผู้ที่จากไปแล้วนั้น เป็นใคร: เป็นเทวดา หรือมนุษย์แน่ ดังนี้.


423-425

ทรงท้าให้ใครปฏิเสธธรรมะที่พระองค์รับรอง   

         พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเยี่ยมเยียนสํานักปริพพาชก และสนทนากัน เป็นของมีโดยปรกติ.

         ปริพพาชก ท.! ธรรมบทมีอยู่ ๔ บท ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นของเลิศเป็นของมีมา นาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งใน อดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในป๎จจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคตสมณพราหมณ์ ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่มีใครคัดค้าน.

๔ บทนั้นคืออะไรเล่า? คือ
อนภิชฌา
(ความไม่ เพ่งด้วยความใคร่ในอารมณ์)
อพยาบาท (ความไม่คิดประทุษร้าย)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบอยู่เสมอ) และ
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจชอบแน่วแน่อยู่เสมอ). 

         ปริพพาชก ท.! ถ้าจะพึงมีผู้ใดกล่าวว่า "เราขอปฏิเสธธรรมบทคือความไม่ มีอภิชฌาเราขอบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ ที่มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะกล้า ในกามทั้งหลายแทน" ดังนี้แล้ว เราก็จะกล่าวท้าผู้นั้นว่า "มาซิท่าน จงกล่าว ออกไปจงสําแดงให้ชัดแจ้งเถิด เราจักขอดูอานุภาพ" ดังนี้.

         ปริพพาชก ท. ! มันไม่ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้เลย ที่ใครจะปฏิเสธความไม่มีอภิชฌา แล้วไปยกย่องสมณ พราหมณ์ผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะกล้าในกามทั้งหลายแทน.
ปริพพาชก ท.! ถ้าจะพึงมีผู้ใดกล่าวว่า "เราขอปฏิเสธความไม่พยาบาท เรา ขอบัญญัติ สมณพราหมณ์ ผู้มีจิตพยาบาท มีความประทุษร้ายเป็นเครื่องดำริอยู่ เป็นประจ าใจแทน" ดังนี้แล้ว เราก็จะกล่าวท้าผู้นั้นว่า "มาซิท่าน ท่านจงกล่าว ออกไป จงสําแดงให้ชัดแจ้งเถิด เราจักขอดูอานุภาพ" ดังนี้.

         ปริพพาชก ท.! มันไม่ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้เลย ที่ใครจะปฏิเสธความไม่พยาบาท แล้วไป ยกย่องสมณ พราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาทมีความประทุษร้าย เป็นเครื่องดําริอยู่ ประจําใจ แทน. 

ปริพพาชก ท.! ถ้าจะพึงมีผู้ใดกล่าวว่า "เราขอปฏิเสธสัมมาสติ เราขอ บัญญัติ สมณพราหมณ์ ผู้ไร้สติปราศจากสัมปชัญญะ ขึ้นแทน" ดังนี้แล้ว เราก็จะ กล่าวท้า ผู้นั้นว่า "มาซิท่าน ท่านจงกล่าวออกไป จงสําแดงให้ชัดแจ้งเถิด เราจัก ขอดูอานุภาพ" ดังนี้.

         ปริพพาชก ท.! มันไม่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้เลย ที่ใครจะปฏิเสธ สัมมาสติ แล้วไป ยกย่องสมณพราหมณ์ผู้ไร้สติปราศจากสัมปชัญญะ ขึ้นแทน. 

         ปริพพาชก ท.! ถ้าจะพึงมีผู้ใดกล่าวว่า "เราขอปฏิเสธสัมมาสมาธิ เราขอ บัญญัติ สมณพราหมณ์ผู้มีจิตกลับกลอกไม่ตั้งมั่น ขึ้นแทน" ดังนี้แล้ว เราก็จะ กล่าวท้า ผู้นั้นว่า "มาซิท่าน ท่านจงกล่าวออกไปจงสําแดงให้ชัดแจ้งเถิด เราจักขอดู อานุภาพ" ดังนี้.

         ปริพพาชก ท.! มันไม่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้เลยที่ใครจะปฏิเสธ สัมมาสมาธิ แล้วไปยกย่อง สมณพราหมณ์ผู้มีจิตกลับกลอกไม่ตั้งมั่นแทน.

         ปริพพาชก ท.! ผู้ใดเห็นว่าธรรมบท ๔ บทนี้ ควรตําหนิควรคัดค้านแล้วไซร้ ในป๎จจุบันนี้ เองผู้นั้นจะต้องได้รับการตําหนิที่ชอบแก่เหตุ ถูกยันด้วยคําของตนเอง ถึง ๔ ประการ.

๔ ประการคืออะไรบ้างเล่า? ๔ ประการคือถ้ามี สมณพราหมณ์พวกใด มากด้วยอภิชฌา มีราคะแก่กล้าในกามทั้งหลาย มา เขาก็ต้อง บูชายกย่องสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

ถ้ามีสมณพราหมณ์เหล่าใดที่มีจิตพยาบาทมี ความประทุษร้ายเป็นเครื่องดําริอยู่ประจํา ใจมา เขาก็ต้องบูชายกย่องสมณ พราหมณ์เหล่านั้น. ถ้ามีสมณพราหมณ์เหล่าใด ที่ไร้สติ ปราศจากสัมปชัญญะมา เขาก็ต้องบูชายกย่องสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

ถ้ามีสมณพราหมณ์เหล่าใด ที่มีจิต กลับกลอกไม่ตั้งมั่นมา เขาก็ต้องบูชายกย่อง สมณ พราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้. 

         ปริพพาชก ท.! แม้แต่ปริพพาชกชื่อ วัสสะ และปริพพาชกชื่อภัญญะ ซึ่ง เป็นลัทธิ อเหตุกทิฎฐิ อกิริยทิฎฐิ นัตถิกทิฎฐิ ก็ยังถือว่า ธรรมบททั้ง๔ บทนี้ ไม่ ควรดูหมิ่น ไม่ควรคัดค้าน.

เพราะเหตุใดเล่า? เพราะกลัวถูกนินทาว่าร้ายและ ชิงชังนั่นเอง.

ภาค4/5

เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญน่้อยต่าง ๆ ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว
ไปจนถึงจวนจะเสด็จ ปรินิพพาน และ เรื่องบางเรื่องที่ควรผนวกเข้าไว้ในภาคนี้


(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)


425-429
ทรงท้าว่า ธรรมที่ทรงแสดงไม่มีใครค้านได้ 

           (เมื่อได้ตรัสถึงลัทธิที่มีทางค้านได้ ๓ ลัทธิ คือ ลัทธิที่ว่าสุขทุกข์เพราะ กรรม แต่ปางก่อน อย่างเดียว ลัทธิที่ว่าสุขทุกข์เพราะผู้เป็นเจ้าเป็นนายบันดาลให้ และลัทธิ ที่ว่า สุขทุกข์ไม่มีป๎จจัย อะไรเลย (ดูที่หน้า ๔๑๑-๔๑๔ แห่งหนังสือนี้) แล้วได้ตรัสข้อความต่อไปนี้:-) 

           ภิกษุ ท.!  ธรรมอันเราแสดงแล้วนี้  ไม่มีใครข่มขี่ได้ เป็นธรรมไม่มัวหมอง ไม่มีทางถูกติไม่มีทางถูกคัดค้าน จากสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย.

          ภิกษุ ท.! ธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า? ธรรมนั้นคือธาตุ ๖ อย่าง ผัสสายตนะ ๖อย่าง มโนปวิจาร ๑๘ อย่าง และอริยสัจจ์ ๔ อย่าง. 

          ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าวว่า ธาตุ ๖ อย่าง นั้น เราอาศัยข้อความอะไรกล่าว? เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ ธาตุเหล่านี้มีหก คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ดังนี้. 

         ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าวว่า ผัสสายตนะ (แดนเกดิแห่งการกระทบ) ๖ อย่าง นั้น เราอาศัยข้อความอะไรกล่าว? เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ ผัสสายตนะเหล่านี้มี หก คือ ตา เป็นผัสสายตนะ หู เป็นผัสสายตนะ จมูก เป็นผัสสายตนะลิ้น เป็นผัส สายตนะ กาย เป็นผัสสายตนะ ใจ เป็นผัสสายตนะ ดังนี้

         ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าวว่า มโนปวิจาร (ที่เที่ยวของจิต) ๑๘ อย่าง นั้นเราอาศัย ข้อความอะไรกล่าว? เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ

เห็นรูปด้วยตาแล้วใจย่อมเข้า ไปเที่ยวในรูป อันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
ในรูปอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
ในรูปอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑

ฟ๎งเสียงด้วยหูแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยวในเสียงอันเป็นที่ เกิดแห่งโสมนัส ๑
ในเสียงอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
ในเสียงอันเป็นที่เกิดแห่ง อุเบกขา ๑

ได้กลิ่นด้วยจมูกแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยวในกลิ่นอันเป็นที่เกิดแห่ง โสมนัส ๑
ในกลิ่นอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
ในกลิ่นอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑

รู้รสด้วยลิ้นแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยวในรสอันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
ในรสอันเป็นที่ เกิดแห่งโทมนัส ๑
ในรสอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑

สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยผิวกายแล้ว ใจย่อมเข้าไป เที่ยวในโผฎฐัพพะอันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑

ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑
รู้สึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจแล้ว ใจย่อม เข้าไปเที่ยวในอารมณ์อันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
ในอารมณ์อันเป็นที่เกิดแห่ง โทมนัส ๑
ในอารมณ์อันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑ ดังนี้. 

ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าวว่า อริยสัจจ์ ๔ อย่างนั้น เราอาศัยข้อความอะไร กล่าว? เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ
เมื่อได้อาศัยธาตุทั้งหกแล้ว การก้าวลงสู่ครรภ์ ก็ย่อมมี. เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่(สิ่งที่เรียกว่า) นามรูป ก็ย่อมมี
เพราะนามรูปเป็นป๎จจัย อายตนะหก ก็ย่อมมี
เพราะอายตนะหกเป็นป๎จจัยผัสสะ ก็ย่อมมี
เพราะผัสสะเป็นป๎จจัย เวทนา ก็ย่อมมี.

ภิกษุ ท. ! เราบัญญัติทุกข์ บัญญัติเหตุ ให้เกิดทุกข์ บัญญัติความดับสนิทของทุกข์ และ บัญญัติทางปฏิบัติให้ถึงความดับ สนิทของทุกข์ ไว้สำหรับสัตว์ผู้ยังมีเวทนาอยู่ว่า เป็นอย่างนี้ๆ

ภิกษุ ท.! อริยสัจจ์ว่าด้วยความทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?
คือ ความเกิดเป็น ทุกข์ ความชราเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวะ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความแห้งใจ เป็นทุกข์ ประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ พลัดพรากจาก สิ่งที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ โดยย่อแล้วขันธ์ห้าที่ยังมีความ ยึดถือเป็นทุกข์.
ภิกษุ ท.! นี้แลอริยสัจจ์ว่าด้วยความทุกข์.  

ภิกษุ ท.! อริยสัจจ์ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? คือ
เพราะมี อวิชชา เป็นป๎จจัยจึงมีสังขาร ท.
เพราะมีสังขารเป็นป๎จจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมี วิญญาณเป็นป๎จจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นป๎จจัย จึงมีอายตนะหก
เพราะมีอายตนะหกเป็นป๎จจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นป๎จจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นป๎จจัย จึงมีตัณห
เพราะมีตัณหาเป็นป๎จจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นป๎จจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นป๎จจัยจึงมีชาติ
เพราะมีชาติ เป็นป๎จจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นป๎จจัยจึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นป๎จจัย จึงมี ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสขึ้น ครบถ้วน
กองทุกข์ทั้งสิ้นย่อม เกิดมีขึ้นได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท.! นี้แล อริยสัจจ์ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์. 

ภิกษุ ท.! อริยสัจจ์ว่าด้วยความดับสนิทของความทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? คือ เพราะอวิชชานั่นเอง จางดับไปไม่มีเหลือ จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมี ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งอายตนะหก
เพราะมีความดับแห่งอายตนะหก จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะจึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส จึงดับสนิทไป
กองทุกข์ทั้งสิ้นย่อม ดับไปด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท.! นี้แล อริยสัจจ์ว่าด้วยความดับสนิทของความ ทุกข์. 

ภิกษุ ท.! อริยสัจจ์ว่าด้วยข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทของความทุกข์ เป็น อย่างไร? คือหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดนี้เองได้แก่ความเห็น ถูกต้อง ความดําริถูกต้อง ความมีวาจาถูกต้อง ความมีการกระทําทางกายถูกต้อง ความมีอาชีวะ ถูกต้อง ความมีความพยายามถูกต้อง ความมีการระลึกประจําใจ ถูกต้อง และความมีการ ตั้งใจมั่นอย่างถูกต้อง.
ภิกษุ ท.! นี้แลอริยสัจจ์อันว่าด้วย ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทของความทุกข์. 

ภิกษุ ท.! ข้อใดที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดงแล้วไม่มีใครข่มขี่ได้เป็นธรรม ไม่มัวหมอง ไม่มีทางถูกตําหนิถูกคัดค้านจากสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายดังนี้นั้น ข้อความนั้นเราอาศัย ข้อความเหล่านี้แลกล่าวแล้ว.
 

429-430
ทรงยืนยันเองและทรงให้สาวกยืนยันว่า มีสมณะในธรรมวินัยนี้

          ภิกษุ ท.! สมณะมีในธรรมวินัยนี้โดยแท้. สมณะที่สอง ก็มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่สาม ก็มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่สี่ ก็มีในธรรมวินัยนี้. ลัทธิอื่นก็ว่างจาก สมณะของลัทธิอื่น.
         ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.
          
          ภิกษุ ท.! สมณะ (ที่หนึ่ง) เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสัญโญชน์สาม ย่อมเป็นโสดาบัน (คือแรกถึงกระแสแห่งนิพพาน) มีอันไม่ กลับตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อการตรัสรู้ในวันหน้า. นี้แลสมณะ ที่หนึ่ง.

          ภิกษุ ท.! สมณะที่สอง เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสัญโญชน์สามอย่างก็สิ้นไป ราคะโทสะโมหะก็เบาบางน้อยลงย่อมเป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้นก็ทําที่สุดแห่งทุกข์ได้. นี้แล สมณะที่สอง.

          ภิกษุ ท.! สมณะที่สาม เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ในเบื้องต่ํา ๕ อย่าง ย่อมเป็นโอปปาติกะ (เกิดในรูปภาพ) มีการ ปรินิพพานในภพนั้น ๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้น ๆ เป็นธรรมดา. นี้แล สมณะที่สาม

          ภิกษุ ท.! สมณะที่สี่ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทําให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติป๎ญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะด้วยป๎ญญาอันยิ่ง เอง ในชาติเป็นป๎จจุบันนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. นี้แล สมณะที่สี่.

        ภิกษุ ท.! สมณะมีในธรรมวินัยนี้ โดยแท้. สมณะที่สอง ก็มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่สาม ก็มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่สี่ ก็มีในธรรมวินัยนี้. ลัทธิอื่น ก็ว่างจากสมณะ ของลัทธิอื่น.

        ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบ อย่างนี้.  


431
โพชฌงค์ปรากฏ เพราะพระองค์ปรากฏ

         ภิกษุ ท.! เพราะการปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิราช จึงมีการปรากฏแห่ง รัตนะทั้งเจ็ด เจ็ดคือ จักรแก้ว๒ ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว (นี้เป็นฉันใด)

        ภิกษุ ท.! เพราะการปรากฏแห่งตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีการ ปรากฏแห่ง โพชฌงครัตนะทั้งเจ็ด. เจ็ดคือ สติ สัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ปีติสัมโพชฌงค์ ป๎สสัทธิ สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. 

       ภิกษุ ท.! เพราะการปรากฏแห่งตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีการ ปรากฏแห่งโพชฌงครัตนะทั้งเจ็ด ดั่งนี้แล.
 

431-432
ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้เขานับถือ


        ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ มิใช่ ประพฤติเพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะและเสียง สรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิหรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใดให้ล้มไป และมิใช่เพื่อให้มหาชน เข้าใจว่าเราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้น อย่างนี้ก็หามิได้. 

        ภิกษุ ท.! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับทุกข์สนิท.
 

432-433
ทรงหวังให้ช่วยกันท าความมั่นคงแก่พรหมจรรย์

        จุนทะ ! เพราะเหตุนั้น เธอพึงปฏิบัติในกรณีนี้ว่า ธรรมเหล่าใดอันเรา แสดงแล้วด้วยป๎ญญาอันยิ่งในธรรมเหล่านั้น อันเธอ ท. ทุกคนพึงประชุมกัน มั่วสุมกัน แล้วพึงสังคายนาซึ่งอรรถโดยอรรถ ซึ่งพยัญชนะ โดยพยัญชนะ พึง ประพฤติกระทำให้วิเศษ โดยประการที่พรหมจรรย์นี้ จักดำรงอยู่ยืนนาน จัก ตั้งอยู่ตลอดกาลยาวนาน. พรหมจรรย์นั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ มหาชนเพื่อความสุขแก่มหาชนเพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ท. 

      จุนทะ ! ธรรม ท.  อันเราแสดงแล้ว ด้วยป๎ญญาอันยิ่ง เหล่านั้น เป็น อย่างไรเล่า...?  ข้อนี้ได้แก่ธรรมเหล่านี้คือ สติป๎ฎฐาน ท. สี่  สัมมัปปธาน ท. สี่ อิทธิบาท ท. สี่ อินทรีย์ ท. ห้า พละ ท. ห้า สัมโพชฌงค์ ท. เจ็ด อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์แปด.

      จุนทะ ! ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมอันเราแสดงแล้ว ด้วยป๎ญญาอันยิ่ง อัน เธอ ท. ทุกคนเทียวพึงประชุมกัน มั่วสุมกัน แล้วพึงสังคายนาซึ่งอรรถโดยอรรถ ซึ่งพยัญชนะ โดยพยัญชนะ พึงประพฤติกระทําให้วิเศษ โดยประการที่พรหมจรรย์นี้ จักดํารงอยู่ยืนนาน จักตั้งอยู่ตลอดกาลยาวนาน. พรหมจรรย์นั้นแหละ จักเป็นไป เพื่อความเกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ ประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ท.
 

433
พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภเป็นอานิสงส์

        ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเป็น อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความ ถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อม แห่งญาณ ทัสสนะเป็นอานิสงส์. 

        ภิกษุ ท.! ก็เจโตวิมุตติอันไม่กําเริบอันใด มีอยู่ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติ นั้นนั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย. เจโตวิมุตตินั่นแหละ เป็นแก่นสาร เป็น ผลสุดท้ายของพรหมจรรย์.


434-435
บรรพชาจักไม่เป็นโมฆะ

       "ท่านผู้เจริญ ท.! ขอท่าน ท. จงใคร่ครวญซึ่งธรรมนี้ที่ ตรัสไว้โดยพระผู้มี พระภาค ผู้มีธรรมจักษุ เป็นดั่งแพทย์ผู้ผ่าตัด เป็น มหาวีระ ดุจดังสีหะบันลือ สีหนาท อยู่ในปุา ใครเล่าเห็นพระองค์ผู้ เป็นพรหม ทรงพระคุณเกินกว่าที่จะวัดได้ ผู้ย่ํายีมารและ เสนามาร เสียได้แล้วจะไม่เลื่อมใส แม้ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นพวกอภิชาติแห่งกัณหโคตร.

        ผู้ใดปรารถนาก็จงตามเรามา ผู้ใดไม่ปรารถนา จงกลับไป ข้าพเจ้าจักบรรพชา ในที่นี้ ในสํานักแห่งพระองค์ผู้มีป๎ญญาอัน ประเสริฐ." คําของเสลพราหมณ์ กล่าวแก่บริวาร.  

       "ถ้าคําสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธะ เป็นที่ชอบใจแก่ ท่านอย่างนี้ไซร้ แม้พวกเราก็จักบวชในสํานักแห่งพระองค์ผู้มี ป๎ญญาอันประเสริฐนั้นด้วยเหมือนกัน."

        พราหมณ์ ๓๐๐ คนเหล่านั้น มี เสลพราหมณ์เป็นหัวหน้ากระทําอัญชลี ขอ บรรพชาว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระ ภาค ! ข้าพเจ้า ท. ขอประพฤติพรหมจรรย์ในสํานัก ของพระองค์."
         (พระผู้มีพระภาค ตรัสแก่พวกเสลพราหมณ์ว่า)  

       "พรหมจรรย์ เป็นสิ่งที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว มีผลอันผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นได้ด้วย ตนเองไม่จำกัดด้วยเวลา ซึ่งในพรหมจรรย์นั้น บรรพชาของผู้ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ ย่อมไม่เป็นโมฆะเลย" ดังนี้.
 

435
พรหมจรรย์นี้ของพระองค์ บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง
 
         จุนทะ ! ศาสดา ท. เท่าที่เกิดขึ้นแล้วในโลก ในบัดนี้ เราไม่เห็นว่ามีศาสดา อื่นใดสักผู้เดียว ที่เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งลาภและยศ เหมือนอย่างเรานี้. 

        จุนทะ ! สงฆ์หรือหมู่คณะเท่าที่เกิดขึ้นแล้วในโลก ในบัดนี้ เราไม่เห็นว่ามี สงฆ์หรือคณะอื่นใดสักหมู่เดียว ที่เป็นหมู่ที่ถึงแล้วซึ่งลาภและยศ เหมือนอย่าง ภิกษุสงฆ์นี้. 
         จุนทะ ! บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ ซึ่งพรหมจรรย์ใด ว่าสมบูรณ์ด้วย อาการ ทั้งปวง ว่าบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง มีการกล่าวดีแล้ว บริบูรณ์ สิ้นเชิง ประกาศไว้ดีแล้ว แล้วไซร้; เขาเมื่อจะกล่าวโดยชอบพึงกล่าว พรหมจรรย์นี้แหละ ว่าสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ว่าบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง มีการกล่าว ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง ประกาศไว้ดีแล้วดังนี้.


436-437
ทรงแก้ข้อที่เขาหาว่าเกียดกันทาน
 
         "พระโคดมผู้เจริญ! ข้าพเจ้าได้ฟ๎งมาว่า พระสมณโคดมได้กล่าวแล้วว่า ` ใคร ๆพึงทําทานกะเราเท่านั้น ไม่ควรทําทานกับคนพวกอื่น ใคร ๆ พึงทําทานกะ สาวก ทั้งหลายของเราเท่านั้น ไม่ควรทําทานกับสาวกของคนพวกอื่น ทานที่ทํากะ เราเท่านั้น มีผลมาก ทํากับคนอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ทํากับสาวกของเราเท่านั้นมีผล มาก ทํากับ สาวกของคนพวกอื่นไม่มีผลมาก' ดังนี้.

          ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ใคร ๆ ที่กล่าวเช่นนี้ ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่พระโคดม กล่าว หรือไม่ได้กล่าวตู่พระโคดมด้วย คําไม่จริงดอกหรือ เขากล่าวถูกตามยุติธรรมอยู่ หรือ เพื่อน ๆ ของเขาที่กล่าวตาม เขาย่อมพ้นจากการถูกติเตียนหรือ? พวกข้าพเจ้า ไม่อยากจะกล่าวตู่พระโคดม เลย."...คําถามของปริพพาชกวัจฉโคตร. 

          วัจฉะ ! ผู้ใดกล่าวว่าเรากล่าวเช่นนี้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าวเขา กล่าวตู่เราด้วยเรื่องไม่เป็นจริง. 

          วัจฉะ ! ผู้ใดห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง คือ ท าอันตรายต่อบุญของทายก ทำอันตรายต่อลาภของปฎิคาหกและ ตัวเอง ก็ขุดราก ตัวเอง กำจัดตัวเองเสียตั้งแต่แรกแล้ว.

          วัจฉะเอย ! ผู้ที่ห้ามผู้อื่น ซึ่งให้ทาน ชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทําอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง ดังนี้แล.  วัจฉะ ! เราเองย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า "ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อ หรือน้ำล้างชาม  ก็ตาม ลงในหลุมน้ำครําหรือทางน้ําโสโครก ซึ่งมีสัตว์มีชีวิตเกิดอยู่ในนั้น  ด้วยคิดว่า สัตว์ในนั้นจะได้อาศัยเลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว เราก็ยังกล่าวว่านั่นเป็นทาง มาแห่งบุญ เพราะการทําแม้เช่นนั้น ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานแก่มนุษย์ด้วยกัน" ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าทานที่ให้แก่ผู้มีศีล เป็นทานมีผลมาก.

         ทาน ที่ให้แก่ผู้ทุศีล หาเป็นอย่างนั้นไม่. และผู้มีศีลนั้น เป็นผู้ละเสียซึ่งองค์ ๕ และ ประกอบอยู่ด้วยองค์ ๕. ละองค์ห้าคือ ละกามฉันทะ ละพยาบาท ละถิ่นมิทธะ  ละอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา. ประกอบด้วยองค์ห้าคือ ประกอบด้วยกองศีล  ชั้นอเสขะ (คือชั้นพระอรหันต์) ประกอบด้วยกองสมาธิชั้นอเสขะ ประกอบด้วย กองป๎ญญาชั้นอเสขะ ประกอบด้วยกองวิมุตติชั้นอเสขะ ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะชั้นอเสขะ.

         เรากล่าวว่าทานที่ให้ในบุคคลผู้ละองค์ห้าและ ประกอบด้วยองค์ห้าด้วยอาการ อย่างนี้ มีผลมาก ดังนี้.
 

437-438
ทรงแก้ข้อที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "กาฝากสังคม"

         คามณิ ! ตลอดเวลาล่วงมา ๙๑ กัปป์ นับแต่กัปป์นี้ เราระลึกไม่ได้ว่าเรา เคยเข้าไปทําลายตระกูลใด ๆ เพราะการรับเอาข้าวสุกมา. โดยที่แท้นั้น ตระกูลใด ๆ ที่เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มากมีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์ แห่งทรัพย์มาก มีข้าวเปลือกเป็นหลักทรัพย์เป็นอันมาก ก็เพราะตระกูลเหล่านั้น เพียบพร้อมด้วย ทาน เพียบพร้อมด้วย สัจจะ เพียบพร้อมด้วย สัญญมะ. 

          คามณิ ! เหตุป๎จจัยมีอยู่ ๘ อย่าง เพื่อการทำลายแห่งสกุลกล่าวคือ   ตระกูลถึงความขาดสูญเพราะ ราชภัย ๑ 
ตระกูลถึงความขาดสูญเพราะ โจรภัย ๑ 
ตระกูลถึงความขาดสูญเพราะ อัคคีภัย ๑ 
ตระกูลถึงความขาดสูญเพราะ อุทกภัย ๑ 
ตระกูลถึงความขาดสูญเพราะ ทรัพย์ที่ฝ๎งไว้เคลื่อนจากที่ ๑
ตระกูลถึงความขาดสูญเพราะ การงานวิบัติเพราะบริหารไม่ดี ๑ 
บุคคลกุลังคาร (แกะดำ) เกิดขึ้นล้างผลาญโภคทรัพย์ในตระกูล ๑

ความไม่เที่ยง (แห่งสังขาร ท.) นับเป็นที่แปด ๑. 

          คามณิ ! เหล่านี้แล คือเหตุป๎จจัย ๘ อย่าง เพื่อการทําลายแห่งกุศล.
          คามณิ ! เมื่อเหตุป๎จจัย เพื่อการทําลายแห่งสกุล มีอยู่ ๘ อย่างเช่นนี้ใครมา กล่าวหาเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคปฏิบัติเพื่อความขาดสูญแห่งสกุล พระผู้มีพระภาค ปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งสกุลพระผู้มีพระภาคปฏิบัติเพื่อการทําลายแห่ง สกุล อยู่ดังนี้
          คามณิ ! ผู้นั้นยังไม่ละคํากล่าวนั้น ไม่ละจิตนั้น ไม่สละความเห็นนั้น จะจมอยู่ในนรกเหมือนถูกนําตัวไปเก็บไว้ ฉะนั้น.


439-440
ทรงแก้ข้อที่ถูกเขาหาว่า ทรงหลง

          "พระโคดมผู้เจริญ! พระโคดมยังจําการนอนหลับกลางวันได้อยู่หรือ?" สัจจ กะทูลถาม. 
           อัคคิเวสนะ ! เรายังจําได้อยู่ ในเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน กลับจาก บิณฑบาตในเวลาหลังอาหารแล้ว ให้ปูสังฆาฎิเป็นสี่ชั้น เรามีสติสัมปชัญญะหยั่งลง สู่ความหลับ โดยตะแคงข้างขวา. 
           "พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนี้แหละ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายบางพวกเขา กล่าวว่าพระสมณโคดมหลับ เพราะการเป็นอยู่ด้วยความหลง". 
           อัคคิเวสนะ ! คนเราจะชื่อว่าเป็นคนหลงหรือไม่หลง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ก็หาไม่.แต่ว่า จะเป็นคนหลงหรือไม่หลงโดยเหตุใดนั้น ท่านจงกําหนดในใจให้ดี เรา จะกล่าวให้ฟ๎ง : 
            อัคคิเวสนะ ! อาสวะเหล่าใดที่ทําผู้นั้นให้เศร้าหมองพร้อม เป็นไปเพื่อความ เกิดอีกประกอบด้วยความทุรนทราย มีทุกข์เป็นผล ทําให้มีชาติชรามรณะอีกสืบไป เมื่อผู้ใดละมันไม่ได้ เรากล่าวว่าผู้นั้นเป็นคนหลง เมื่อผู้ใดละได้ขาด เรากล่าวว่า  ผู้นั้นเป็นคนไม่หลง เพราะว่าจะเป็นผู้ไม่หลงได้ ก็เพราะการละอาสวะได้ขาด.
           อัคคิเวสนะ! อาสวะทั้งหลายเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ตถาคตละได้ ขาดแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ทําให้เป็นเหมือนตาลไม่มีวัตถุ (คือหน่อยอดสําหรับ งอกอีกต่อไป) ไม่ให้มีไม่ให้เกิดได้อีกต่อไปดุจว่าต้นตาลถูกตัดที่คอแห่งต้นแล้ว ไม่ อาจงอกได้สืบไป ฉันใดก็ฉันนั้น.
 

440-441
ทรงแก้คำตู่ของพวกอื่นที่ตู่ว่าเขาก็สอนเหมือนที่พระองค์สอน 

          "...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พวกปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่น ได้กล่าวกะพวกข้า พระองค์ว่า`อาวุโส ! พระสมณโคดมย่อมบัญญัติความรอบรู้ซึ่งกาม ท. แม้พวก เราก็บัญญัติความรอบรู้ซึ่งกาม ท อาวุโส! พระสมณโคดมย่อมบัญญัติความรอบรู้ ซึ่งรูป ท. แม้พวกเราก็บัญญัติความรอบรู้ซึ่งรูป ท.

            อาวุโส ! พระสมณโคดมย่อม บัญญัติความรอบรู้ซึ่งเวทนา ท. แม้พวกเราก็ บัญญัติความรอบรู้ซึ่งเวทนา ท. อาวุโส ! ในข้อนี้อะไรเป็นความผิดแปลก อะไรเป็น ข้อสังเกตเฉพาะ อะไรเป็น เครื่องกระทําซึ่งความแตกต่าง ระหว่างพระสมณโคดม กับพวกเรา โดยการเปรียบเทียบธรรมเทศนากับธรรมเทศนาอนุศาสนีกับอนุศาสนี?' ดังนี้.

          ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ! พวกข้าพระองค์ มิได้ชอบใจมิได้คัดค้านถ้อยคําของ พวก ปริพพา ชกผู้เป็นลัทธิอื่นเหล่านั้น ครั้นไม่ชอบใจ ไม่คัดค้านแล้วลุกจากอาสนะ หลีกมาด้วย คิดว่า จักได้ทราบเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสํานักของพระผู้มีพระภาค". 

          ภิกษุ ท.! พวกปริพพาชกลัทธิอื่นผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวกะ เขาอย่างนี้ว่า "อาวุโส! อะไรเล่า เป็นอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งกาม ท.อะไร เป็นอาทีนพ (โทษต่ําทราม) แห่งกาม ท. อะไรเป็นนิสสรณะ (อุบายเป็น เครื่องออกจากโทษ) แห่งกาม ท.? อะไร เป็นอัสสาทะแห่งรูป ท. อะไร เป็นอาทีน วะแห่งรูป ท. อะไร เป็นนิสสรณะแห่งรูป ท.? อะไร เป็นอัสสาทะแห่งเวทนา ท. อะไร เป็นอาทีนวะแห่ง เวทนา ท. อะไร เป็นนิสสรณะแห่งเวทนา?" 

          ภิกษุ ท.! พวกปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่น ถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่มีคําตอบ จักถึงซึ่งความคับแค้นใจอย่างยิ่ง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ภิกษุ ท.! เพราะเหตุว่าไม่ อยู่ในวิสัยที่พวกปริพพาชกเหล่านั้นจะรู้ได้.

         ภิกษุ ท.! เราไม่มองเห็นบุคคลใดในโลก นี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อม ทั้งเทวดาและมนุษย์ ที่จะพึงยัง จิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ซึ่งป๎ญหาเหล่านี้ เว้นเสียแต่ตถาคต หรือสาวกของตถาคต หรือว่าเพราได้ฟ๎งจากตถาคต หรือสาวก ของตถาคตนี้.

หมายเหตุ : ข้อความข้างบนนี้แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า พวกปริพพาชกทั้งหลาย ไม่มีความรู้ ในเรื่อง กาม รูป เวทนา อย่างที่พระองค์ทรงทราบ; ดังนั้น จะสอบเรื่องเหล่า นี้ ให้ตรงเป็นอย่างเดียวกันได้อย่างไร. รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องกาม รูป เวทนา มีอยู่ อย่างไร พึงดูได้จากมหาทุกขักขันธสูตร มู.ม. ๑๒/๑๖๘/๑๙๖-๒๐๘. -ผู้รวบรวม
 

441-442
ทรงถูกตู่ว่าตรัสว่าในสุภวิโมกข์มีความรู้สึกไม่งาม
 
         ภัคควะ ! กะเราผู้มีวาทะอยู่อย่างนี้ มีการบอกการสอนอยู่อย่างนี้ ก็ยังมี สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวตู่เราด้วยเรื่องที่มิได้มีอยู่ เป็นคําเปล่า คําเท็จ คําไม่ จริงว่า วิปริตไปแล้วทั้งพระสมณโคดมและพวกภิกษุ คือข้อที่พระสมณโคดมได้ กล่าวอย่างนี้ว่า "สมัยใดบุรุษบุคคลเข้าถึงสุภวิโมกข์แล้วแลอยู่ สมัยนั้น เขาย่อมมี ความรู้สึกต่อสิ่ง ทั้งปวง ว่าเป็นของไม่งามไปหมด โดยแท้" ดังนี้.

           ภัคควะ! ก็เรา ไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเลย แต่ว่า เราย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า "สมัยใด บุรุษ บุคคลเข้าถึง สุภวิโมกข์ แล้วแลอยู่ สมัยนั้น เขาย่อมมีความรู้สึกต่อสิ่ง ทั้งปวง ว่าเป็นของงาม ไปหมดโดยแท้" ดังนี้. 

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พวกเหล่านั้นแหละ เป็นพวกวิปริตไปเองแล้ว คือ พวกนี้เพราะมีความวิปริตของตน จึงได้กล่าวจ้วงจาบพระผู้มีพระภาคและภิกษุ ท. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคถึง อย่างนี้แล้ว และพระผู้มีพระภาคก็สามารถที่จะทรงแสดงธรรมชนิดที่ข้าพระองค์ จะพึงเข้าถึงซึ่งสุภวิโมกข์ แล้วแลอยู่". 

          ภัคควะ ! นั่นเป็นสิ่งที่ทําได้ยากเกินไป สําหรับเธอผู้มีทิฎฐิเป็นอย่างอื่น มี ขันติเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น ทั้งยังขาดอาโยคธรรมและธรรม เป็นลัทธิพื้นฐานแห่งอาจารย์โดยเฉพาะอย่างนี้ ที่จะเข้าถึงซึ่งสุภวิโมกข์แล้วแลอยู่.

          ภัคควะ ! เอาเถิด เธอจงตามรักษาความเลื่อมใสของเธอซึ่งมีอยู่ในเรา ไว้ให้เป็น อย่างดีก็แล้วกัน. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าว่า นั่นเป็นสิ่งที่ทําได้ยากเกินไป สําหรับข้า พระองค์ดังนี้แล้วไซร้

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์จักตามรักษาความ เลื่อมใสของพระองค์ ซึ่งมีอยู่ในพระผู้มีพระภาค ไว้ให้เป็นอย่างดี พระเจ้าข้า."


443-444
ทรงถูกตู่ว่าไม่บัญญัติสิ่งซึ่งที่แท้ได้ทรงบัญญัติแล้ว 

        (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุ ท. ว่า ในแคว้นกาสีโกศล พระเจ้า ปเสนทิโกศล ปรากฏ ว่าเลิศ แต่ก็ยังมีวิปริณามธรรม (ความเปลี่ยนแปลง) ในสหัสสโลกธาตุ มหา พรหมาปรากฏว่า เลิศ แต่ก็ยังมีวิปริณามธรรม ในสังวัฎฎกัปป์ อาภัสสรพรหม ปรากฏว่า เลิศ แต่ก็ยังมีวิปริณาม ธรรม ในสัญญีสัตว์ทุกพวก สัญญีสัตว์ที่เกิดจากวิญญาณกสิณ ปรากฏว่าเลิศแต่ก็ยังมีวิ ปริฌามธรรม

        ในอภิภายตนะทั้งแปดสัตว์ที่มีสัญญาในอรูปอันเป็นภายใน ปรากฏว่าเลิศ แต่ ก็ยังมีวิปริฌามธรรม; ในบรรดาผู้ปฎิบัติทั้ง ๔ พวกพวกสุขาปฎิปทาขิปปาภิญญา ปรากฏว่าเลิศ แต่ก็ยังมีวิปริฌามธรรม
  
        ในบรรดาสัตว์ที่มีสัญญา ๔ พวก พวกที่มีอากิญจัญญายตนสัญญา ปรากฏว่าเลิศ แต่ก็ยังมีวิปริฌามธรรม ในบรรดาทิฎฐิในภายนอก ท. ทิฎฐิที่แสดงความไม่มี อัตตา ๔ ความหมาย ปรากฏว่าเลิศ แต่ก็ยังมี วิปริฌามธรรม ในบรรดาพวกที่บัญญัติปรม ยักขวิสุทธิ ท. ผู้ที่ตั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ปรากฏว่าเลิศ แต่ก็ยังมีวิปริฌาม ธรรม ในบรรดาพวกที่บัญญัติ ปรมทิฎฐธรรมนิพพาน ท. ผู้ที่มีอนุปาทาวิโมกข์ ปรากฏว่า เลิศ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความต่อไปนี้ว่า) 

            ภิกษุ ท.! กะเราผู้มีวาทะอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้ ก็ยังมีสมณพราหมณ์ บางพวกกล่าวตู่ด้วยคําเท็จ คําเปล่า คํามุสา คําไม่เป็นจริง ว่า "พระสมณโคดม ไม่ บัญญัติความรอบรู้ ซึ่งกาม ท. ซึ่งรูป ท. ซึ่งเวทนา ท." ดังนี้.ภิกษุ ท.! เราบัญญัติ ความรอบรู้ซึ่งกาม ท. ด้วย ซึ่งรูป ท. ด้วย ซึ่งเวทนา ท.ด้วย เป็นผู้ไม่มีความอยาก ดับเย็น ในทิฎฐธรรม บัญญัติอนุปาทาปรินิพพานดังนี้แล.


444
ทรงถูกตู่เรื่องฉันปลาฉันเนื้อ

         ชีวกะ ! การที่ชนเหล่านั้นมากล่าวว่า "มหาชนฆ่าสัตว์มีชีวิต อุทิศเฉพาะ พระสมณโคดม พระสมณโคดมรู้อยู่ ก็บริโภคเนื้อที่เขาทําแล้วอุทิศเฉพาะ" ดังนี้ ชนพวกนั้น ไม่ชื่อว่ากล่าวสิ่งที่เรากล่าวเขากล่าวตู่เรา ด้วยสิ่งไม่มีจริงไม่เป็นจริง. 

         ชีวกะ ! เรากล่าวว่าเนื้อที่ไม่ควรบริโภค ก็เพราะเหตุสามอย่างคือ ได้เห็นแล้ว ได้ ฟ๎งแล้ว ได้เกิดรังเกียจโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว.

         ชีวกะ ! เหล่านี้แลเหตุสามอย่าง ที่ทําให้ เรากล่าวว่า เนื้อนั้นไม่ควรบริโภค. 

         ชีวกะ ! เรากล่าวว่าเนื้อที่ควรบริโภค ก็เพราะเหตุสามอย่าง คือไม่ได้เห็น แล้ว ไม่ได้ฟ๎งแล้ว ไม่ได้รังเกียจโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว.

         ชีวกะ ! เหล่านี้แลเหตุสามอย่าง ที่ทําให้เรากล่าวว่า เนื้อนั้นควรบริโภค.
 

444-447
ทรงรับว่าทรงทราบมายา แต่ไม่ทรงมีมายา
 

          "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !  ข้อนี้  ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า `พระสมณโคดม ทรงทราบซึ่งมายา ดังนี้.

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! พวกใดกล่าวว่าพระสมณโคดมทรงทราบ ซึ่งมายา ดังนี้ พวกนั้น มีการกล่าวตามพระผู้มีพระภาคกล่าวหรือ ไม่ได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคด้วย คําไม่จริง หรือ เขากล่าวถูกต้องตามธรรมหรือ และสหธรรมิก บางคนที่กล่าวตามก็จะไม่ พลอย กลายเป็นผู้ที่ควรถูกติเตียนไปด้วยหรือ? พวกข้า พระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวคํา ซึ่งเป็นการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค พระเจ้าข้า !" 

          คามณิ ! ชนเหล่าใดที่กล่าวว่า พระสมณโคดมทรงทราบซึ่งมายานั้นชื่อว่า เป็นการกล่าวตามที่เรากล่าว ไม่ได้กล่าวตู่เราด้วยคําไม่จริง เขากล่าวถูกต้องตาม ธรรม และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตามก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ที่ควรถูกติเตียน ไปด้วย. 

         "ข่าวเล่าลือนั้นมีจริง พระโคดมผู้เจริญ! แต่พวกข้าพระองค์ไม่เชื่อสมณ พราหมณ์ เหล่านั้นที่กล่าวว่าพระสมณโคดมทรงทราบซึ่งมายา ดังนี้ แต่ยังมีผู้ที่ กล่าวว่า
`ท่านผู้เจริญ ! พระสมณโคดม เป็นผู้มีมายา' ดังนี้." 

        คามณิ ! ผู้ใดกล่าวว่าเรารู้มายา แล้วก็เป็นอันกล่าวว่าเราเป็นผู้มีมายาด้วย ดังนั้นหรือ?  "ข้าแต่พระผู้มีภาค ! ข้อนั้น มันเป็นอย่างนั้น. ข้าแต่พระสุคต ! ข้อนั้นมัน เป็นอย่างนั้น." 

         คามณิ ! ถ้าอย่างนั้น เราขอย้อนถามท่านในเรื่องนี้อีก ท่านจงตอบตามที่ ควร คามณิ ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกขุนนางผมย้อย ของกษัตริย์ พวกโกฬิยะหรือ? "รู้จัก พระเจ้าข้า !" 

        คามณิ ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้อย่างไร พวกขุนนางผมย้อยของกษัตริย์ พวกโกฬิยะ มีหน้าที่อะไร? "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีหน้าที่ปูองกันโจรให้แก่พวก กษัตริย์โกฬิยะด้วย มีหน้าที่กําจัดจารชนให้แก่พวกกษัตริย์โกฬิยะด้วย. พวกขุนนาง ผมย้อยของกษัตริย์พวกโกฬิยะ มีหน้าที่อย่างนี้ พระเจ้าข้า !" 

         คามณิ ! ท่านจะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ท่านทราบว่าพวกขุนนาง เหล่านั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีล? "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ทราบ ว่าขุนนาง เหล่านั้น เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลว รวมอยู่ในบรรดาพวกคนทุศีล มี ธรรมอันเลวที่มี อยู่ในโลก พระเจ้าข้า !" 

         คามณิ ! ผู้ใดกล่าวว่า ปาฎลิยคามณิรู้จักพวกขุนนางผมย้อยของกษัตริย์ พวกโกฬิยะ ว่าเป็นคนทุศีลมีธรรมอันเลว แล้วจะเป็นว่าปาฎลิยคามณิก็เป็นคน ทุศีล มีธรรมอันเลวไปด้วย ดังนั้นหรือ ผู้กล่าวเช่นนั้น ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวโดยชอบ หรือ? "ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า ! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พวกขุนนาง ผมย้อย ของกษัตริย์ พวกโกฬิยะ เป็นอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นอีกอย่างหนึ่ง พวกขุนนาง ผมย้อยของกษัตริย์ พวกโกฬิยะ มีธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีธรรมเป็นอีก อย่างหนึ่งพระเจ้าข้า !" 

         คามณิ ! ท่านนั่นแหละ จักได้ในข้อที่ว่า ปาฎลิยคามณิรู้ว่าพวกขุนนาง เหล่านั้น เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลว แต่ปาฎลิยคามณิหาได้เป็นคนทุศีล มีธรรม อันเลวไปด้วยไม่ ดังนี้.

         เพราะเหตุนั้น ตถาคตก็จักได้ในข้อที่ว่า ตถาคตรู้ซึ่งมายา แต่ตถาคตหาได้ เป็นผู้มีมายาไปด้วยไม่ ดังนี้. (ต่อจากนั้น ได้ตรัสถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในฐานะเป็น มายา และตรัสอบายทุคติ วินิบาตนรก ในฐานะเป็นวิบากของมายา.)
 

444-450
แง่ที่เขากล่าวหาพระองค์อย่างผิด ๆ
 
            พราหมณ์ ! แง่  (ปริยาย)  ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม มีความไม่มีรสเป็นรูป (คือเป็นที่สังเกต)" นั้น มีอยู่. พราหมณ์! คือว่า ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ เหล่าใดความยินดีเหล่านั้น ตถาคตละ ได้ขาด แล้ว ถอนขึ้นกระทั่งราก ทําให้เป็นเหมือนตาลไม่มีวัตถุ (คือหน่อ ยอดสําหรับ งอกอีกต่อไป) ไม่ให้มีไม่ให้เกิดอีกต่อไป.
          นี้แลเป็นแง่ที่ผู้ใดเมื่อจะ กล่าวหาเราโดยชอบ ว่า พระสมณโคดมมีความ ไม่มีรส เป็นรูป หาใช่เป็นดังที่ท่าน หมายถึง แล้วกล่าวไม่. 

          พราหมณ์ ! แง่ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม เป็นคน ไร้โภคะ" นั้น มีอยู่. พราหมณ์! คือว่า โภคะ กล่าวคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ เหล่าใด โภคะเหล่านั้นตถาคตละได้ขาดแล้ว ฯลฯ ทําไม่ให้มีไม่ให้เกิด อีกต่อไป.
          นี้แลเป็นแง่ ฯลฯ หาใช่เป็นดังที่ท่าน หมายถึง แล้วกล่าวไม่. 

        พราหมณ์ ! แง่ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม เป็นคน กล่าวแต่การไม่ทำ นั้น มีอยู่. พราหมณ์ ! จริงเทียว คือว่าเรากล่าวการไม่ ทํากายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวการไม่ทําสิ่งที่เป็นบาปเป็นอกุศล มี ประการ ต่าง ๆ ต่างหาก.
         นี่แลเป็นแง่ ฯลฯ หาใช่เป็นดังที่ท่านหมายถึง แล้วกล่าว ไม่. 

         พราหมณ์ ! แง่ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม เป็นคนกล่าวแต่ความขาดสูญ" นั้น มีอยู่. จริงเทียว พราหมณ์!คือว่าเรากล่าว ความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ ความขาดสูญแห่งสิ่งเป็นบาปอกุศล มี ประการ ต่าง ๆ ต่างหาก.
         นี่แลเป็นแง่ ฯลฯ หาใช่เป็นดังที่ท่านหมายถึง แล้วกล่าว ไม่. 

         พราหมณ์ ! แง่ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม เป็นคนมักเกลียด" นั้นมีอยู่. พราหมณ์ ! จริงเทียว เรากล่าวความน่าเกลียดด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวความน่าเกลียดเพราะถึงพร้อมด้วยสิ่งเป็น บาปอกุศลมีประการต่าง ๆ.
          นี่แลเป็นแง่ ฯลฯ หาใช่เป็นดังที่ท่านหมายถึง แล้ว กล่าวไม่.

         พราหมณ์ ! แง่ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม เป็นคนน าไปท าให้พินาศ" นั้น มีอยู่. พราหมณ์! จริงเทียว เราแสดงธรรมเพื่อ นําไปทําเสีย ให้พินาศ ซึ่งราคะ โทสะโมหะ แสดงธรรมเพื่อนําไปทําเสียให้พินาศ ซ่ึงสิ่งเป็นบาปฃอ อกุศล มีประการต่าง ๆ.
         นี่แลเป็นแง่ ฯลฯ หาใช่เป็นดังที่ท่าน หมายถึง แล้วกล่าวไม่.

         พราหมณ์ ! แง่ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม เป็นคนเผาผลาญ" นั้น มีอยู่. พราหมณ์ ! เรากล่าวความควรแก่การเผาผลาญ ใน สิ่งอันเป็นบาปอกุศล มีประการ ต่าง ๆ คือกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต
        พราหมณ์ ! บาปอกุศลที่ควรเผาผลาญเสีย อันผู้ใดเผาผลาญได้แล้ว เราเรียก ผู้นั้น ว่า ผู้เผาผลาญ (ตป๎สสี).
        พราหมณ์ ! บาปอกุศลที่ควรเผาผลาญนั้นตถาคตละได้ ขาดแล้วถอนขึ้นกระทั่ง ราก ทําให้เหมือนตาลหน่อเน่า ไม่ให้มีไม่ให้เกิดได้อีกต่อไป.
        นี่และเป็นแง่ ฯลฯ หาใช่เป็นดังที่ท่านหมายถึง แล้วกล่าวไม่.

        พราหมณ์ ! แง่ที่เมื่อผู้ใดจะพึงกล่าวหาเราโดยชอบว่า "พระสมณโคดม เป็นคนไม่มีที่ผุดที่เกิด" นั้น มีอยู่. พราหมณ์ ! คือว่า การต้องนอนในครรภ์ครั้ง ต่อไป การต้องเกิดอีกในภพใหม่ อันผู้ใดละได้ขาดแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่า คนไม่รู้จัก ผุดจักเกิด (อปฺปคพฺโภ).
        พราหมณ์ ! การต้องนอนในครรภ์ครั้งต่อไปการต้องเกิด อีกในภพใหม่ สําหรับ ตถาคตนั้น ตถาคตละได้ขาดแล้ว ถอนขึ้นกระทั่งราก ทําให้เหมือนตาลหน่อเน่า เสียแล้ว ไม่ให้มีไม่ให้เกิดได้อีกต่อไป.
        นี่แลเป็นแง่ ฯลฯ หาใช่เป็นดังที่ท่านหมายถึง แล้วกล่าวไม่. 

(ในบาลีแห่งอื่น (มหา. วิ. ๕/๑๐๑ ๑๐๓/๗๙. อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๑๘๖ ๑๘๘/๑๐๒.) มี กล่าวแปลกออกไปในข้อที่ว่า เขากล่าวหาพระองค์ว่า เป็นกิริยวาท แสดงธรรมและนํา สาวกไป โดยกิริยวาท พระองค์ตรัสว่า ถูกแล้ว เรากล่าวการกระทํากายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต และ กุศลธรรมมีประการต่าง ๆ. แต่ข้อนี้ไม่ควรถือเป็นการกล่าวร้าย และถือกัน ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องมา แต่ก่อนพุทธกาล.

อีกข้อหนึ่ง กล่าวหาว่าพระองค์เป็น อัสสัตโถ (มีความเบาใจเป็นที่ตั้งแห่งการบําเพ็ญ
ประโยชน์) แสดงธรรมและนําสาวกไปเพื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ตรัสว่า ถูกแล้ว เรา เป็นอัสสัตโถแสดงธรรมเพื่อความเบาใจ ด้วยธรรมเป็นเครื่องเบาใจอย่างยิ่ง และ ย่อม นําสาวก ไปด้วยธรรมเป็นเครื่องเบาใจนั้น. ข้อนี้ก็เหมือนกัน ไม่มีลักษณะว่าเป็นการ กล่าวร้าย แล้วทําไม มาอยู่ในหมู่แห่งคํากล่าวร้าย ก็ไม่อาจจะทราบได้ ชะรอยจะมี ความหมายเป็นอย่างอื่น คือเบาใจ ชนิดใจเบา ใจลอย เตลิดเปิดเปิงไป ก็ได้. ขอให้นักศึกษา พิจารณาดูเอาเองเถิด. -ผู้รวบรวม.)

 

450-451
ทรงหยามมารว่าไม่มีวันรู้จักทางของพระองค์ 

         (มารได้เข้ามาหาพระองค์เมื่อทรงประทับอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์   กําลังกระทํา สากัจฉาอยู่ด้วยเรื่องอันเกี่ยวกับนิพพาน มาในภาพแห่งชาวนา แบกไถถือปฏัก เนื้อตัวเลอะเทอะ ด้วยโคลนตะโกนถามขึ้นว่า "เฮ้ยสมณะ! เห็นวัวมาทางนี้บ้างไหม?" พระองค์ตรัสว่า "

        ดูก่อนมาร! จะมีประโยชน์อะไร เกี่ยวกับวัวของท่าน" ซึ่งทําให้มารกล่าวขึ้นว่า "สมณะเอ๋ย ! ตาก็ของข้า รูปก็ของข้า สิ่งที่เนื่องอยู่กับจักขุสัมผัสและวิญญาณก็ ของข้า; สมณะเอ๋ย ! ท่านจะ หนีพ้นไปจากเราได้ที่ไหน.
         (ในกรณีแห่ง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มารก็ได้กล่าวอย่างเดียวกัน.) พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบกะมารว่า) 

        มาร เออน่ะ ! จักษุก็ของท่าน รูปก็ของท่าน สิ่งที่เนื่องอยู่กับจักขุสัมผัส และวิญญาณก็ของท่าน. 
         มารเอ๋ย ! แต่ในที่ที่ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีสิ่งที่เนื่องอยู่ กับจักขุสัมผัสและวิญญาณเล่า ท่านก็หมดหนทางไป นะมารนะ.
         (ในกรณีเกี่ยวกับ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน. มารได้กล่าวว่า)
         "ชนเขากล่าวสิ่งใด ว่านี้ "ของเรา" ดังนี้ และชนเหล่าใด กล่าวว่า "เรา" ดังนี้; สมณะเอ๋ย! ถ้าใจของท่านเข้าไปมีอยู่ในสิ่ง  นั้นๆ ท่านก็ไม่พ้นไปจากเราได้."
        (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า-)

         ชนเขากล่าวสิ่งใด ว่า "ของเรา" สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา- ตถาคต. ชนเหล่า ใดกล่าวว่า "เรา" เราตถาคตก็มิใช่ชนเหล่านั้น. ดูก่อนมาร! ท่านจงรู้อย่างนี้ เถิดว่า คนอย่างท่านไม่มีวัน  จะรู้จักทางของเรา ดังนี้. 

        ลําดับนั้น มารผู้มีบาป รู้สึกว่า พระผู้มีพระภาครู้กําพืดเราเสียแล้ว พระสุคต รู้กําพืดเรา เสียแล้ว มีทุกข์โทมนัส อันตรธานไปแล้วในที่นั้นนั่นเอง.


451-453
มนุษย์บุถุชน รู้จักพระองค์น้อยเกินไป

        ภิกษุ ท. ! นั่นยังน้อยไป ยังต่ำไป เป็นเพียงส่วนศีลเท่านั้น คือข้อที่บุถุชน กล่าวสรรเสริญคุณของตถาคตอยู่. 

         ภิกษุ ท. ! บุถุชนกล่าวสรรเสริญ คุณของตถาคตอยู่ ยังน้อย ยังต่ำ สักว่าศีล เท่านั้น นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือบุถุชน กล่าวสรรเสริญตถาคตอยู่

         ว่าพระสมณโคดมละ การทําสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป  เป็นผู้งดขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้และ ศาสตรา เสียแล้ว มีความละอายต่อ บาป มีความเอ็นด ูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ ท. และ  ...

         ว่า พระสมณโคดม ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ งดขาดจาก อทินนา ทาน ถือเอาแต่ของที่เจ้าของให้แล้ว หวังอยู่แต่ในของที่เจ้าของเขาให้เป็นคนสะอาด ไม่เป็นขโมย. และ  ...

         ว่า พระสมณโคดม ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ เป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์โดย ปรกติประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากการเสพเมถุน อันเป็นของ สําหรับชาวบ้าน. และ 

         ว่า พระสมณโคดม ละการกล่าวเท็จ งดขาดจากมุสาวาท พูดแต่คําจริง รักษา คําสัตย์มั่นคงในคําพูด ควรเชื่อได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก.  และ  ...

         ว่า พระสมณโคดม ละการกล่าวคําส่อเสียด งดขาดจากปิสุณาวาทได้ฟ๎ง จากฝุายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝุายโน้น เพื่อทําลายฝุายนี้. หรือได้ฟ๎งจากฝุายโน้นแล้ว ไม่เก็บมาบอกฝุายนี้ เพื่อทําลายฝุายโน้น แต่จะสมานชนที่แตกกันแล้วให้กลับ พร้อม เพรียงกัน อุดหนุนชนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคน ชอบใจใน การพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทําให้พร้อมเพรียงกัน. และ….

          ว่า พระสมณโคดม ละการกล่าวคําหยาบ งดขาดจากผรุสวาทกล่าวแต่ วาจาที่ ปราศจากโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคําฟูใจ เป็นคําสุภาพ ที่ ชาวเมืองเขา พูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน. และ  ...

         ว่า พระสมณโคดม ละคําพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย งดขาดจากการพูด เพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาสมควร กล่าวแต่คําจริง เป็นประโยชน์เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นวาจามีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีเวลาจบ เต็มไปด้วยประโยชน์ สมควรแก่ เวลา. และ  ...

         ว่า พระสมณโคดม  งดขาดจากการล้างผลาญพืชคาม  และภูตคาม๑ เป็นผู้ฉัน อาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล ...
          เป็นผู้งดขาดจากการรํา การขับ การร้องการประโคม และดูการเล่นชนิดที่เป็น ข้าศึกแก่ กุศลเป็นผู้งดขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตบแต่งด้วยมาลาและของ หอมเครื่องลูบทา เป็นผู้งดขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่
          เป็นผู้งดขาดจาก การรับเงินและทอง
          เป็นผู้งดขาดจากการรับข้าวเปลือก
          งดขาดจากการรับเนื้อ ดิบ การรับหญิง และเด็กหญิง
          การรับทาสี และทาสการรับแพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง ม้า โค ทั้งผู้และเมีย
          งดขาดจากการรับที่นาที่สวน
          งดขาดจากการรับใช้เป็น ทูตไปในที่ต่างๆ (ให้คฤหัสถ์).
          งดขาดจากการซื้อขาย การฉ้อโกงด้วยตาชั่ง
          การลวงด้วยของปลอม การฉ้อด้วยเครื่องนับ (เครื่องตวงและเครื่องวัด)
          งดขาดจากการโกง ด้วยการรับสินบนและล่อลวง
          การตัด การฆ่า การจําจอง การซุ่มทําร้าย การปล้น การกรรโชก.
 

454-456
(เหล่านี้ เป็นส่วน จุลศีล)  .

              ..ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวกพากันฉันโภชนะ ที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังทําพืชคามและภูตคามให้กําเริบ คืออะไรบ้าง? คือ พืชที่เกิดแต่ราก-เกิดแต่ต้น-เกิดแต่ผล-เกิดแต่ยอด-เกิดแต่เมล็ดให้กําเริบอยู่ ส่วน ท่านงดขาดจากการทําพืชคามและภูตคามให้กําเริบแล้ว. 

               ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะ ที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังทําการบริโภคสะสม คือ สะสมข้าวสะสมน้ําดื่ม สะสมผ้า สะสมยานพาหนะ สะสมที่นอน สะสมเครื่องผัดทาของหอมและอามิส อยู่ ส่วนท่านงดขาดจากการสะสมเห็นปานดังนั้นเสีย. 

               ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะ ที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังดูการเล่น คือ ดูฟูอน ฟ๎งขับ ฟ๎งประโคมดูไม้ลอย ฟ๎งนิยาย ฟ๎งเพลงปรบมือ - ตีฆ้อง- ตีระนาด  ดูหุ่นยนต์ ฟ๎งเพลงขอทาน ฟ๎งแคน ดูการเล่นหน้าศพ ดูชนช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค-แพะ-แกะ-ไก่-นกกระทา ดู รําไม้ รํามือ ชกมวย ดูเขารบกัน ดูเขา เห็นปานนี้ คือการอบตัว การเคล้นตัว การอาบ สําอาง การนวดเนื้อการส่องดูเงา การหยอดตาให้มี แววคมขํา การใช้ดอกไม้ การทาของหอม การผัดหน้า การทาปาก การผูกเครื่องประดับ ที่มือ การผูกเครื่อง ประดับ ที่กลางกระหม่อม การถือไม้ถือ การห้อยแขวนกล่อง กลักอัน วิจิตร การคาดดาบ ารคาดพระขรรค์ การใช้ร่มและ รองเท้าอันวิจิตร การใส่กรอบหน้า การป๎กปิ่นการใช้พัดสวยงาม การใช้ผ้าขาวชาย เฟื้อยและอื่นๆ อยู่ ส่วนท่านงดขาด จากการประดับประดาตกแต่งร่างกาย เห็น ปานดังนั้นเสีย.

              ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบเดรัจฉานกถา คือคุยกันถึงเรื่องพระราชา โจร อมาตย์ กองทัพ ของน่าหวาดเสียว การรบ;เรื่องน้ํา เรื่องข้าว ผ้า ที่นอน ดอกไม้ ของหอม ญาติ ยานพาหนะ บ้าน จังหวัด เมืองหลวง บ้านนอก หญิง ชาย คนกล้า ตรอก ท่าน้ําคนตายไปแล้ว เรื่องโลกต่างๆ เรื่องสมุทร เรื่อง ความฉิบหาย เรื่องความ มั่งคั่งบ้างอยู่ ส่วนท่านงดขาดจากการประกอบ เดรัจฉานกถา เห็นปานดังนั้นเสีย.

             ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการกล่าวถ้อยคําแก่งแย่งกันอยู่ คือ แก่งแย่ง กันว่า "ท่านไม่รู้ทั่วถึงพระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ท่านจะ รู้ทั่วถึง อย่างไรได้ ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคําของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ - ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คําควรพูดก่อนท่านนํามาพูดทีหลังคํา ควรพูดทีหลัง ท่านพูดเสียก่อน ข้อที่ท่านเคยเชี่ยวชาญ ได้เปลี่ยนแปลงไปเสีย แล้ว ข้าพเจ้า ยกคําพูด แก่ท่านได้แล้ว ท่านถูกข้าพเจ้าข่มได้แล้ว ท่านจงถอนคําพูด ของท่านเสีย หรือถ้าท่านสามารถ ก็จงค้านมาเถิด" ดังนี้ อยู่ ส่วนท่านงดขาดจาก การกล่าว ถ้อยคําแก่งแย่ง เห็นปานดังนั้นเสีย.

           ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการรับเป็นทูต รับใช้ไปในที่นั้นๆ อยู่ คือ รับใช้พระราชา รับใช้อมาตย์ของพระราชา รับใช้กษัตริย์-พราหมณ์ -คหบดี และ รับใช้เด็กๆ บ้าง ที่ใช้ว่า "ท่านจงไปที่นี้ ท่านจงไปที่โน้น ท่านจงนําสิ่งนี้ไป ท่านจง นําสิ่งนี้มา" ดังนี้ อยู่ ส่วนพระสมณโคดมท่านเป็นผู้งดขาดจากการรับเป็นทูต เห็น ปานดังนั้นเสีย. 

          ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการแสวงหาลาภ ด้วยการกล่าวคํา ล่อหลอก การพูดพิรี้พิไร การพูดแวดล้อมด้วยเลิศ การพูดให้ทายกเกิดมานะมุทะลุ ในการให้ และการใช้ของค่าน้อย ต่อเอาของที่มีค่ามาก อยู่ ส่วนท่านงดขาดจาก การแสวงหา ลาภ โดยอุบายหลอกลวง เห็นปานดังนั้นเสีย.
 

457-458
(เหล่านี้ เป็นส่วน มัชฌิมศีล) 

            ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบมิจฉาอาชีวะ ทําเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้อยู่ คือ ทายลักษณะในร่างกาย นิมิตลางดีร้าย ดาวตก อสนีบาต ทํานายฝ๎น ชะตาผ้าหนูกัด ทําพิธีโหมเพลิง เบิกแว่นเวียนเทียนซัดโปรยแกลบรํา ข้าวสาร ฯลฯ อยู่ ส่วนท่านเป็น ผู้งดขาดจากการประกอบมิจฉาอาชีวะ ทํา เดรัจฉานวิชา เห็นปานดังนั้นเสีย. 

             ...ว่า พระสมณโคดม เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก พากันฉันโภชนะที่ ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบมิจฉาอาชีวะ ทําเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ อยู่ คือ ฯลฯ (๑ หมวดทายลักษณะสิ่งของเช่นแก้ว ไม้เท้า เสื้อผ้าทาสเป็นต้น หมวดทํานาย การรบพุ่ง หมวดทํานายทางโหราศาสตร์ หมวดทํานายดินฟูาอากาศ หมวดร่ายมนต์ พ่นด้วย คาถา หมวดทําให้คนมีอันเป็นไปต่างๆ และหมวดทําเวชกรรม ประกอบยา แก้โรคต่างๆ) อยู่ ส่วนท่านงดขาดจากการประกอบมิจฉาอาชีวะ ทําเดรัจฉานวิชาเห็น ปานนั้นเสีย.
 

458-459
(เหล่านี้ เป็นส่วน มหาศีล) 

          ภิกษุ ท. ! นี่แล คําสําหรับบุถุชน พูดสรรเสริญคุณของตถาคตยังน้อยยัง ต่ํา สักว่าเป็นขั้นศีลเท่านั้น. 

          ภิกษุ ท.! ธรรมอื่น ที่ลึกซึ่ง เห็นยาก รู้ยาก รํางับ ประณีตไม่เป็นที่เที่ยว ของ ความตริตรึก (ตามธรรมดา) เป็นธรรมละเอียด รู้ได้เฉพาะ บัณฑิต ซึ่งตถาคต ได้ทําให้แจ้งด้วยป๎ญญา อันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้ง ตามด้วยเป็นคําสําหรับ ผู้จะพูดสรรเสริญตถาคตให้ถูกต้องเต็มตามเป็นจริง มีอยู่.  ธรรมนั้นคืออะไรเล่า?

(ต่อนี้ ทรงแสดงทิฏฐิ ๖๒ ประการ พร้อมทั้งเรื่องราวต้นเหตุ ที่เป็น หัวข้อ เปิดดูได้ใน ภาค ๓ ของหนังสือเล่มนี้ โดยหัวข้อว่า "ทรงทราบทิฏฐิวัตถุที่ลึกซึ่ง ๖๒" ส่วนเรื่อง ละเอียด เปิดดูในพระบาลีเดิม หรือจากหนังสือปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ โดยหัวข้อ ที่ว่าด้วยเรื่องนี้).
 

459-460
(ฉ.เกี่ยวกับเหตุการณ์พิเศษบางเรื่อง ๒๒ เรื่อง)
การทรงแสดงความพ้น เพราะสิ้นตณัหา


            โมคคัลลานะ ! เรายังจําได้อยู่ ที่บุพพารามนี้เอง ท้าวสักกะจอมเทพได้เข้า มาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ได้ถามคํานี้กะเราว่า "พระองค์ผู้ เจริญ ! ว่าโดยสังเขป ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าใด ภิกษุจึงเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วเพราะ ความสิ้น ไป แห่งตัณหา ออกไปได้ถึงที่สุดยิ่ง เกษมจากโยคะถึงที่สุดยิ่ง มี พรหมจรรย์ถึงที่สุด ยิ่ง จบกิจถึงที่สุดยิ่ง เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทพและมนุษย์ ทั้งหลาย?"
 
           โมคคัลลานะ ! ครั้นท้าวสักกะกล่าวคํานี้แล้ว เราได้ตอบว่า "ท่านผู้เป็นจอม เทพ ! หลักคิดที่ภิกษุในศาสนานี้ได้ฟ๎งแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไป ยึดถือ" ดังนี้. เมื่อเธอฟ๎งดังนี้แล้วย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรม (ธรรมดา)ทั้งปวง ครั้งรู้ยิ่ง แล้ว ก็รอบรู้ ครั้นรอบรู้แล้ว ได้รู้สึกความรู้สึกอันใดอันหนึ่งจะเป็นสุข หรือทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขก็ตาม เธอย่อมมองเห็นความไม่เที่ยงแท้ใน ความรู้สึก (เวทนา) ทั้งหลายเหล่านั้นอยู่. 

           เมื่อเธอมองเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาท. เหล่านั้น มองเห็น (คือรู้สึก) ความ คลายกําหนัด มองเห็นความดับสนิทมองเห็น ความสลัดคืน (ของตน) อยู่เนื่องนิจ ก็ไม่ยึดถือ ด้วยใจซึ่งอะไร ๆ ในโลกเมื่อไม่ ยึดถือก็ไม่สะดุ้งใจ เมื่อไม่ สะดุ้งใจ ชื่อว่าดับ สนิท รอบในภายใน นั้นเทียวเธอย่อม รู้สึกตนชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จไปแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทําเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

           ท่านผู้จอมเทพ ! ว่า โดยสังเขป ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า พ้นวิเศษแล้วเพราะความสิ้น ตัณหา ออกไปได้ถึงที่สุดยิ่ง เกษมจากโยคะถึง ที่สุด ยิ่ง มีพรหมจรรย์ถึงที่สุดยิ่งจบ กิจถึงที่สุดยิ่ง เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทพและมนุษย์ ทั้งหลาย".
 
           โมคคัลลานะ ! เราย่อมจําภาษิตเรื่องความพ้นวิเศษ เพราะความสิ้นตัณหา โดยย่อๆ แก่ท้าวสักกะผู้จอมเทพได้ ดังนี้แล.
 

460-461
การทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยากเกี่ยวกับพระองค์เอง

           ภิกษุ ท.! ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ําท่วมถึงเป็นอันเดียวกัน ทั้งหมด บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก (ไม้ไผ่?) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ํานั้น ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศ ตะวันออก ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมทิศใต้พัดให้ ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้. ในน้ํานั้นมีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อยๆ ปีมันจะ ผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ.

          ภิกษุ ท. ! เธอ ท. จะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ ไหม ที่เต่า ตาบอด ร้อยปี จึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่ เพียงรูเดียว ในแอกนั้น?  "ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า! ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียง ครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น". 

          ภิกษุ ท.! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็น มนุษย์ ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธจะเกิดขึ้น ในโลก ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกันที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วจะ รุ่งเรืองไปทั่วโลก.

          ภิกษุ ท. ! แต่ว่าบัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว ตถาคตผู้ อรหันตสัมมา สัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศ แล้ว ก็รุ่งเรือง ไปทั่วโลกแล้ว. 

           ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ ว่า "นี้ ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ ความดับแห่งทุกข์ นี้หนทางให้ถึงความดับแห่ง ทุกข์" ดังนี้เถิด. การเกิดของพระองค์ไม่กระทบกระเทือน ถึงกฎธรรมชาติ
(๑. การทรงแสดงไตรลักษณ์๑)

           ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้น ก็ตาม สิ่งที่ ทรงตัวอยู่ได้เอง (ธรรมธาตุ) ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวของธรรมดา นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่ เที่ยง" ดังนี้. 

           ภิกษุ ท. ! ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งสิ่งนั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดงย่อมบัญญัติ ย่อม วางหลักเกณฑ์ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ํา เพื่อให้รู้ ทั่วกันว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง"ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้น ก็ตาม สิ่ง ซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง (ธรรมธาตุ) ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา คือความเป็น กฎตายตัวของธรรมดา นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัวว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์" ดังนี้.

           ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งสิ่ง นั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมวางหลักเกณฑ์ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็นเหมือนการ หงายของที่คว่ํา เพื่อให้รู้ ทั่วกัน ว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์" ดังนี้.

           ภิกษุ ท.!  เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้นก็ตาม สิ่ง ซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง (ธรรมธาตุ) ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา คือความเป็น กฎตายตัว ของธรรมดา นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัวว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา" ดังนี้.

           ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งสิ่งนั้น 
ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อม บัญญัติ ย่อมวางหลักเกณฑ์ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็น เหมือนการ หงายของที่คว่ํา เพื่อให้รู้ ทั่วกันว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา" ดังนี้.
 
461-462

การเกิดของพระองค์ไม่กระทบกระเทือนถึงกฎธรรมชาติ
(๑. การทรงแสดงไตรลักษณ์๑)


           ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้น ก็ตาม สิ่งที่ ทรงตัวอยู่ได้เอง (ธรรมธาตุ) ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา คือความเป็นกฎ ตายตัวของธรรมดา นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่ เที่ยง" ดังนี้. 

           ภิกษุ ท. ! ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งสิ่งนั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดงย่อมบัญญัติ ย่อม วางหลักเกณฑ์ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ํา เพื่อให้รู้ ทั่วกันว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง"ดังนี้. 

           ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้น ก็ตาม สิ่ง ซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง (ธรรมธาตุ) ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา คือความเป็น กฎตายตัวของธรรมดา นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัวว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์" ดังนี้.

           ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งสิ่ง นั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมวางหลักเกณฑ์ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็นเหมือนการ หงายของที่คว่ํา เพื่อให้รู้ทั่ว กันว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์" ดังนี้.

           ภิกษุ ท.!  เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้นก็ตาม สิ่ง ซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง (ธรรมธาตุ) ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา คือความเป็น กฎตายตัว ของธรรมดา นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัวว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา" ดังนี้.

           ภิกษุ ท.! ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่ง สิ่งนั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อม บัญญัติ ย่อมวางหลักเกณฑ์ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็น เหมือนการหงายของที่คว่ํา เพื่อให้รู้ทั่ว กันว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา" ดังนี้.  
 


463-464
(๒. การทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท๑)

             ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้น ก็ตาม  สิ่ง ที่ทรงตัวอยู่ได้เอง (ธรรมธาตุ) ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา (ธัมมัฎฐิตตา)คือ ความเป็นกฎตายตัวของธรรมดา (ธัมมนิยามตา) ได้แก่ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็น ป๎จจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปป๎จจยตา) นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว.

            ภิกษุ ท.! ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งสิ่งนั้น ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมวางหลัก เกณฑ์ ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนกแจกแจง ย่อมทําให้เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ํา และ ได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "

             ภิกษุ ท.! ท่าน ท. จงมาดู : เพราะชาติเป็นป๎จจัย ชรา มรณะย่อมมี"๒ ดังนี้. 

             ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็นตถตาคือ ความเป็นอย่างนั้น เป็นอวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น เป็น อิทัปป๎จจยตา คือความที่เมื่อ มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นป๎จจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.  ภิกษุ ท.! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น.

          (เมื่อได้ตรัสในกรณีที่ ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นป๎จจัย จบลงดังนี้แล้ว ก็ได้ตรัส ถึงในกรณีที่ ชาติมีเพราะภพเป็นป๎จจัย ภพมีเพราะอุปาทานเป็นป๎จจัย ...ฯลฯ... กระทั่งถึง สังขาร ทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นป๎จจัย ด้วยระเบียบแห่ง ถ้อยคํา ที่เหมือนกันทุกตัวอักษร กับในกรณี แห่งชรามรณะมีเพราะชาติเป็นป๎จจัย ดังที่ได้กล่าว ไว้แล้วข้างบนนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่ง หัวข้อหนึ่งๆ ของปฏิจจสมุปบาท เท่านั้น).


464-465
ทรงแนะการบูชายัญในภายใน

           พราหมณ์! ท่านอย่าสำคัญความบริสุทธิ์นั้นอันเป็น ภายนอก มัวเผาไม้ บูชายัญ อยู่เลย ผู้ฉลาด ไม่กล่าวว่าบริสุทธิ์ ได้ด้วยการกระทำเช่นนั้น จะกลายเป็น ผู้ปรารถนา ความบริสุทธิ์โดยภายนอกไปเสีย.

           พราหมณ์! เราเว้นการเผาไม้ แต่ทำไฟให้ลุกโพลง อยู่ในภายใน มีไฟอยู่ เนืองนิจ มีตนตั้งมั่นอยู่เนืองนิจ เราเป็นอรหันต์ ประพฤติพรหมจรรย์.

          พราหมณ์เอย! กิเลสคือมานะ เป็นเสมือนหาบบริขาร- ยัญของท่าน ความโกรธ เป็นเสมือนควัน การกล่าวคำมุสา เป็นเสมือนขี้เถ้า ของท่าน (ส่วนของเรานั้น) ลิ้นเป็น เสมือน ยัญญบริขาร หัวใจเป็นแท่นก่อไฟ ตัวตนที่ฝึกดีแล้ว เป็น ความโพลงของบุรุษ.

          พราหมณ์เอย! ธรรมะ เหมือนห้วงน้ า มีศีลเป็น บันไดขึ้นลง มีน้ำไม่ขุ่นมัว เป็นที่สรรเสริญของสัตบุรุษทั้งปวง เป็นที่สรงสนานของผู้ถึงซึ่งเวท เนื้อตัวไม่ต้องเปียก ก็ข้ามฝ๎่งไปได้.

         พราหมณ์เอย! สัจจะ ธรรมะความสำรวม พรหมจรรย์ การถึงซึ่งพรหม มีได้ เพราะอาศัยทางสายกลาง. ท่านจงกระทำความนอบน้อม ในผู้เป็นคนตรงมีสติ เถิด.  เราเรียก บุคคลเช่นนั้น ว่าเป็น "ธรรมสารี" (แล่นไปในธรรม) ดังนี้.



465-466
การทรงแสดงเหตุของความเจริญ

          พราหมณ์ ! คราวหนึ่ง เราอยู่ที่สารันททเจดีย์เมืองเวสาลี ณ ที่นั้นเราได้ กล่าวธรรมที่เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม ๗ ประการเหล่านี้ แก่พวกเจ้าวัชชี

          พราหมณ์! ถ้าธรรมทั้งเจ็ดอย่างนั้น คงตั้งอยู่ในพวกเจ้าวัชชี ก็หรือเจ้าวัชชี จักตั้ง ตนอยู่ในธรรมทั้งเจ็ดอย่างเหล่านั้นแล้ว

          พราหมณ์ ! อันนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ เจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้. (ต่อไปนี้ เป็นตัวธรรมเจ็ดประการที่ตรัสแก่พระอานนท์ ซึ่งวัสสการพราหมณ์ก็นั่งฟ๎ง อยู่ด้วย). 

          อานนท์ ! พวกเจ้าวัชชีประชุมกันเนืองๆ ประชุมกันโดยมาก...  อานนท์ ! พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกัน ทํากิจ ที่พวกเจ้าวัชชี จะต้องทํา... 

          อานนท์ ! พวกเจ้าวัชชีมิได้บัญญัติข้อที่มิได้บัญญัติไว้ มิได้ถอนข้อที่บัญญัติ ไว้แล้ว แต่ประพฤติอยู่ในวัชชีธรรมตามที่ได้บัญญัติไว้... 

         อานนท์ ! พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ท่านที่เป็นประธาน ของเจ้า วัชชีตั้งใจฟ๎งคําสั่งของท่านผู้นั้น...

         อานนท์ ! พวกเจ้าวัชชี มิได้ลบหลู่ดูถูกสตรี ที่เป็นเจ้าหญิง หรือกุมารีใน สกุล...  อานนท์ ! พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพนับถือ บูชาเจดีย์ทั้งภายใน และ ภายนอก มิได้ปล่อยละเลย ให้ทานที่เคยให้ ให้กิจที่เคยทําแก่เจดีย์เหล่านั้น และให้ พลีกรรม ที่ประกอบด้วยธรรมเสื่อมเสียไป...

         อานนท์ ! พวกเจ้าวัชชี เตรียมเครื่องต้อนรับไว้พร้อม เพื่อพระอรหันต์ ท. ว่า "พระอรหันต์ ท. ที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้นนี้ ที่มาแล้วพึงอยู่สุขสําราญ เถิด" ดังนี้... 

         อานนท์ ! เหล่านี้ (แต่ละอย่างๆ ที่ตรัสทีละอย่าง) ล้วนแต่เป็นความเจริญแก่ เจ้าวัชชีอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
 


466-467
ทรงแสดงที่พึ่งไว้ส าหรับเมื่อทรงล่วงลับไปแล้ว 

         อานนท์ ! ในกาลนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแล้วแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักเป็นผู้มี ตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ คือมีธรรมเป็นประทีป มีธรรม เป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.

         อานนท์! คนเหล่านั้น จักเป็นภิกษุผู้ อยู่เหนือความมืด ได้แก่ พวกที่มี ความใคร่ในสิกขา. 

         อานนท์ ! อย่างไรเล่า เรียกว่าภิกษุผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มี สิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่ง อื่นเป็นสรณะเป็นอยู่?

        อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ นํานอกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นอยู่ เป็น ผู้ตามเห็น ซึ่งเวทนาในเวทนา ท. มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ นําออกซึ่งอภิชฌาและ
โทมนัส ในโลก เป็นอยู่ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งจิตในจิต มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ นําออกซึ่ง อภิชฌาและโทมนัสในโลก เป็นอยู่ เป็นผู้ตามเห็นซึ่ง ธรรมในธรรม ท. มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ นําออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัส ในโลก เป็นอยู่. 

        อานนท์ ! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะไม่มีสิ่งอื่น เป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่.


467-468
 การตรัสเรื่อง "ทุกข์นี้ใครทำให้"
 

          อานนท์ ! คราวหนึ่งเราอยู่ที่ปุาไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้ กรุง ราชคฤห์ นี่แหละ ครั้งนั้น เวลาเช้าเราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุง ราชคฤห์ คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไปสําหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ถ้าไฉน เราเข้าไปสู่ อารามของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นเถิด. เราได้เข้าไปสู่อาราม ของปริพพาชก ผู้เป็นเดียรดีย์เหล่าอื่น กระทําสัมโมทนียกถาแก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. 
        
อานนท์ !  ปริพพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะเราผู้นั่งแล้ว  อย่างนี้ว่า 

      "ท่านโคตมะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความ ทุกข์ว่าเป็น  สิ่งที่ ตนทําเอาด้วยตนเอง มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอน เรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทําให้ มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าว สอนเรื่องกรรมย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ ตนทําเองด้วยและผู้อื่น ทําให้ ด้วย มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทําเองหรือใครทําให้ก็เกิดขึ้นได้.

ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา๑ กล่าวสอนอยู่อย่างไร? และพวกเรากล่าวอยู่ อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าวตามคําที่ ท่านโคตมะกล่าวแล้ว ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคํา ไม่จริง  แต่เป็นการกล่าวโดย ถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม จะไม่พลอย กลายเป็นผู้ควรถูก ติเตียนไปด้วย?" ดังนี้. 

อานนท์ ! เราได้กล่าวกะปริพพาชกทั้งหลายเหล่านั้นว่า ท่าน ! เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุป๎จจัย (ของมันเองเป็นลำดับๆ)๒ เกิดขึ้น.  มันอาศัยเหตุป๎จจัย อะไรเล่า? อาศัยป๎จจัยคือ ผัสสะ. ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรา กล่าว.


468-469
การสนทนากับพระอานนท์เรื่องกัลยาณมิตร

มหาราชะ ! ครั้งหนึ่ง อาตมาภาพพักอยู่ที่นิคมแห่งพวกศากยะชื่อว่านครกะ ในแคว้น สักกะ. มหาราชะ ! ครั้งนั้นแล ภิกษุอานนท์เข้าไปหาอาตมาภาพถึงที่ อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควร.

มหาราชะ ! ภิกษุอานนท์ได้กล่าวคํานี้กะอาตมา ภาพว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความมีมิตรดี ความมีสหายดี ความมีเพื่อนผู้ แวดล้อมดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ พระเจ้าข้า !" ดังนี้. 

มหาราชะ ! เมื่อภิกษุอานนท์ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมาภาพได้กล่าวกะ เธออย่างนี้ ว่า

"อานนท์ ! เธออย่ากล่าวอย่างนั้นเลย. อานนท์ ! ข้อนี้เป็น พรหมจรรย์ทั้งหมดทั้งสิ้น ทีเดียว คือความมีมิตรดี ความมีสหายดี ความมีเพื่อนผู้ แวดล้อมดี. 

อานนท์ ! พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังได้. เมื่อเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนผู้แวดล้อมดี เธอนั้นจักทําอริยมรรคมีองค์แปด ให้เจริญได้จักกระทํา ให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดได้. ดังนี้.


469
การสนทนากับ "พระเหม็นคาว"

ภิกษุ ท.! เมื่อเช้านี้ เราครองจีวรถือบาตรไปบิณฑบาตในเมืองพาราณสี.  เราได้เห็นพระ ภิกษุรูปหนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ตามแหล่งที่ซื้อขายโคของพวก มิลักขะ เป็นภิกษุ มีท่าทางกระหายกาม คิดสึก ปล่อยสติ ปราศจากสัมปชัญญะ จิตฟุุ้ง ใจเขว ผิวพรรณแห้งเกรียม. 

ครั้นเห็นแล้ว เราได้กล่าวกะภิกษุนั้น ว่า "ภิกษุ ! เธออย่าทําตัวให้เน่าพอง. ตัวที่เน่าพองส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้งแล้ว แมลงวันจักไม่ ตอมไม่ดูดนั้น เป็นไปไม่ได้ นะภิกษุ" ดังนี้.ภิกษุนั้นถูกเราทักอย่างนี้ ก็เกิดความสลด ขึ้นในใจ. 

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า "อะไรเล่าพระ เจ้าข้า ชื่อว่าของเน่าพอง? อะไรเล่า ชื่อว่ากลิ่นเหม็นคาว ! อะไรเล่า ชื่อว่า แมลงวัน?" 

ดูก่อนภิกษุ ! อภิชฌา ชื่อว่า ของเน่าพอง. พยาบาท ชื่อว่า กลิ่นเหม็น คาว.  ความคิดที่เป็นอกุศลลามก ชื่อว่า แมลงวัน. ตัวที่เน่าพองส่งกลิ่นเหม็น เหม็นคาวคลุ้งแล้ว แมลงวันจักไม่ตอมไม่ดูดนั้น เป็นไปไม่ได้.


ภาค4/6

เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญน่้อยต่าง ๆ ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว
ไปจนถึงจวนจะเสด็จปรินิพพาน และ เรื่องบางเรื่องที่ควรผนวกเข้าไว้ในภาคนี้


(อ้างอิงหน้า จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์)



470-471
การตอบคำถามของทัณฑปาณิสักกะ

ภิกษุ ท.! วันนี้ เช้านี้เอง เราครองจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองกบิลพัสดุ์. เสร็จการบิณฑบาต กลับจากการบิณฑบาตแล้ว เข้าไปอยู่พักกลางวันที่โคนต้น มะตูมหนุ่มในปุามหาวัน. 

ภิกษุ ท.! แม้ทัณฑปาณิสักกะ ก็เดินเที่ยวเล่นบริหารแข้งอยู่ ได้เข้าไปสู่ปุา มหาวัน ตรงไปที่ต้นมะตูมหนุ่มอันเรานั่งอยู่.  เข้าไปหาเราแล้วกล่าวทักทาย ปราศรัย แล้ว ยืนยันคาง ด้วยไม้เท้า มีมือทั้งสองกุมปลายไม้เท้าอยู่ใต้คาง ได้กล่าว กะเราว่า "พระสมณะมีถ้อยคําอย่างไร มีการกล่าวอย่างไรอยู่เป็นประจํา?" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! ทัณฑปาณิกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวตอบเขาอย่างนี้ว่า "เพื่อนเอ๋ย! มีถ้อยคำอย่างใดแล้ว ไม่ทะเลาะวิวาทอยู่กับใครๆ ในโลกนี้ พร้อม ทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้ง เทวดาและ มนุษย์แล้ว เรามีถ้อยคำอย่างนั้น มีการกล่าวอย่างนั้น อยู่เป็นประจำ
อีกอย่างหนึ่ง ใครมีถ้อยคำอย่างใดแล้ว สัญญา (ในเรื่องราวก่อนๆ) ไม่มาติดตาม อยู่ในใจผู้นั้นซึ่ง (บัดนี้) เป็นผู้หมดบาป ไม่ประกอบตนอยู่ด้วย กาม ไม่ต้องกล่าว ด้วยความสงสัยว่าอะไร เป็นอย่างไรอีกต่อไป มีความ รำคาญ ทางกาย และทางใจ อันตนตัดขาดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพไหนๆ ทั้งสิ้นแล้ว
เรามี ถ้อยคำอย่างนั้น มีการกล่าวอย่างนั้นอยู่เป็นประจำ. 

เพื่อนเอ๋ย ! เรามีถ้อยคํา อย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้อยู่เป็นประจํา" ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เมื่อเราตอบไปเช่นนี้แล้ว ทัณฑปาณิสักกะก็ก้มศีรษะแลบลิ้น แตะหน้าผาก ด้วยนิ้วสามนิ้ว เลิกคิ้วแล้วลากไม้เท้าหลีกไป.


471-473
การสนทนากับ นิครนถ์ : บาปกรรมเก่าไม่อาจสิ้นด้วยทุกรกิริยา

มหานาม ! คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้นครราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกนิครนถ์ เป็นอันมากประพฤติวัตรยืนอย่างเดียว งดการนั่ง อยู่ ณ ที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ต่างประกอบความเพียรแรงกล้าเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าแข็ง แสบเผ็ด. 

มหานาม ! ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น เราออกจากที่เร้นแล้วไปสู่กาฬสิลาข้าง ภูเขาอิสิคิลิ อันพวกนิครนถ์ ประพฤติวัตรอยู่ ได้กล่าวกะพวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า "ท่าน ! เพราะอะไร หนอ พวกท่าน ทั้งหลายจึงประพฤติยืนไม่นั่งประกอบความ เพียรได้รับเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้าแข็ง แสบเผ็ด?" ดังนี้. 

มหานาม ! นิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราว่า "ท่าน ! ท่านนิครนถนาฎบุตร เป็นผู้รู้สิ่ง ทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ได้ยืนยันญาณทัสสนะของตนเองโดยไม่มีการ ยกเว้น ว่าเมื่อเรา เดินอยู่ ยืนอยู่ หลับอยู่ ตื่นอยู่ ก็ตาม ญาณทัสสนะของเราย่อม ปรากฏติดต่อกัน ไม่ขาดสาย" ดังนี้.

ท่านนิครนถนาฎบุตรนั้นกล่าวไว้ อย่างนี้ว่า "นิครนถ์ผู้เจริญ ! บาปกรรมในกาล ก่อน ที่ได้ทำไว้ มีอยู่แล พวกท่านจงท าลาย กรรมนั้นให้สิ้นไป ด้วยทุกรกิริยา อันแสบเผ็ดนี้

         อนึ่ง เพราะการสํารวม กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ ย่อมชื่อว่าไม่ได้กระทํา กรรมอัน เป็นบาป อีกต่อไป.  เพราะการเผาผลาญกรรมเก่าไม่มีเหลือ และเพราะ การไม่กระทํา กรรมใหม่ กรรมต่อไปก็ขาดสาย เพราะกรรมขาดสาย ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ ทั้งหมดก็เหือดแห้งไป" ดังนี้. คําสอนของท่านนาฎบุตรนั้น เป็นที่ชอบใจและควรแก่เรา และพวกเราก็เป็นผู้ พอใจ ต่อคําสอนนั้นด้วย" ดังนี้. 

มหานาม ! เราได้กล่าวคํานี้กะนิครนถ์เหล่านั้นสืบไปว่า

"ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท.! ท่านทั้งหลายรู้ อยู่หรือว่า พวกเราทั้งหลาย ได้มีแล้วในกาลก่อน หรือว่า มิได้มี?"
"ไม่ทราบเลยท่าน !" 

"ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าพวกเราทั้งหลายได้ทํา กรรมที่เป็น บาปแล้วในกาลก่อน หรือว่าพวกเราไม่ได้ทําแล้ว?"
"ไม่ทราบได้เลย ท่าน !" 

"ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าเราทั้งหลายได้ทํากรรมที่ เป็นบาป อย่างนี้ๆ ในกาลก่อน?"
"ไม่ทราบเลยท่าน !" 

"ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่า (ตั้งแต่ทําตบะมา)ทุกข์มี จํานวน เท่านี้ๆ ได้สิ้นไปแล้ว และจํานวนเท่านี้ๆ จะสิ้นไปอีก หรือว่าถ้าทุกข์สิ้นไป อีกจํานวน เท่านี้ ทุกข์ก็จักไม่มีเหลือ?"
"ไม่ทราบได้เลย ท่าน !"

"ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าอะไรเป็นการละเสียซึ่งสิ่ง อันเป็น อกุศล และทําสิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ ในภพป๎จจุบันนี้?"  
"ไม่เข้าใจเลย ท่าน !"          

มหานาม ! เราได้กล่าวคํานี้ กะนิครนถ์เหล่านั้นสืบไปว่า "ท่านผู้เป็น นิครนถ์ ท. ! ดังได้ 
มหานาม !  เราได้กล่าวคํานี้ กะนิครนถ์เหล่านั้นสืบไปว่า

"ท่านผู้เป็น นิครนถ์ ท. ! ดังได้ฟ๎งแล้วว่า ท่านทั้งหลาย ไม่รู้อยู่ ว่าเราทั้งหลาย ได้มีแล้ว ในกาลก่อน หรือไม่ได้มีแล้วในกาลก่อน ...ฯลฯ. อะไรเป็นการละเสีย ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล และทําสิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ ในภพป๎จจุบันนี้. 

ครั้นเมื่อไม่รู้อย่างนี้แล้ว (น่าจะ เห็นว่า) ชนทั้งหลายเหล่าใดในโลก ที่เป็นพวกพราน มีฝุามือคร่ำไปด้วยโลหิตมีการ งานอย่างกักขฬะ ภายหลังมาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมบรรพชาในพวกนิครนถ์ ทั้งหลาย ละกระมัง?"


473-475
 เวทนาทั้งหลายมิใช่ผลแห่งกรรมในกาลก่อน

(ครั้งหนึ่ง เมื่อประทับอยู่ที่สักยนิคมชื่อเทวทหะ ได้ตรัสเรื่องหลักลัทธิของนิครนถ์ทรง เล่าถึงการเข้าไปสนทนากับพวกนิครนถ์ผู้มีทิฏฐิว่า สุขทุกข์ทั้งปวงนั้นมีเพราะเหตุแห่ง กรรมที่ทํา ไว้ในกาลก่อน เป็นอันมากแล้ว กระทั่งมาถึงข้อความนี้ ว่า)

ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะนิครนถ์เหล่านั้น ต่อไปว่า "ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท.!
ท่าน ท. เข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร เมื่อใดพวกท่าน มีความพากเพียรพยายาม อย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อมได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจาก ความเพียรนั้น แต่เมื่อใดพวกท่าน ไม่มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้น ท่าน ท. ย่อมไม่ได้รับทุกขเวทนา อันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความ เพียรนั้น ดังนี้มิใช่หรือ?"

"ท่านโคตรมะ ! เมื่อใดพวกเรา ท. มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นเรา ท. ย่อมได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น แต่เมื่อใด พวกเรา ไม่มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นเรา ท. ย่อม ไม่ได้รับ ทุกขเวทนา อันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น." 

ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท.! เมื่อได้ยินกันอยู่แล้ว ดังนี้ว่า เมื่อใดพวกท่านมีความพากเพียร พยายาม อย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อมได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้า แสบเผ็ด ซึ่งเกิดขึ้น จากความเพียรนั้น

แต่เมื่อใดพวกท่านไม่มีความพากเพียร พยายามอย่าง แรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อมไม่ได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้า แสบเผ็ด ซึ่งเกิดจาก ความเพียร นั้น ดังนี้แล้ว ก็ไม่เป็นการสมควรแก่ท่านผู้เป็น นิครนถ์ ท. ที่จะกล่าวว่า "บุรุษบุคคลเรานี้ เสวยเวทนาไร ๆ เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอทุกขมสุขก็ดี

ทั้งหมดนั้นมีเพราะเหตุแห่งกรรม อันกระทําแล้วในกาลก่อน และว่าเพราะการเผา ผลาญ เสีย ซึ่งกรรมในกาลก่อนจนหมดสิ้น และเพราะการไม่ กระทําซึ่งกรรมใหม่ กระแสแห่ง กรรมต่อไป ก็ไม่มี เพราะกระแสแห่งกรรมต่อไปไม่มี ก็สิ้นกรรม เพราะ สิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้น เวทนาทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้น" ดังนี้.

ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ถ้าเมื่อใด แม้พวกท่านมีความพากเพียรพยายามอัน แรงกล้า เมื่อนั้นทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้นก็ยัง ตั้งอยู่ และแม้ เมื่อใด พวกท่านไม่มีความพากเพียรพยายามอันแรงกล้า เมื่อนั้น ทุกขเวทนา อันแรงกล้า แสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้นก็ยังตั้งอยู่ ดังนี้ไซร้ จะ เป็นการสมควร แก่ท่าน ผู้เป็นนิครนถ์ ท. หรือ ที่จะกล่าวว่า "บุรุษบุคคลเรานี้เสวย เวทนาไรๆ ทั้งหมดนั้น มี เพราะเหตุ แห่ง กรรมอันกระทําแล้วในกาลก่อน...ฯลฯ... เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมด ก็สูญสิ้นไป" ดังนี้

ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เพราะเหตุที่ว่า เมื่อใดความเพียรของท่านแก่กล้า ทุกขเวทนา ของท่านก็แสบเผ็ด แต่เมื่อใดความเพียรของท่านไม่แก่กล้า ทุกขเวทนา ของท่าน ก็ไม่ แสบเผ็ด เพราะเหตุนั้นจึงแสดงว่า เมื่อท่าน ท. เสวยทุกขเวทนาอัน แรงกล้า แสบเผ็ด อยู่ด้วยตนเองนั่นแหละ ท่าน ท. ได้ปรุงอวิชชาซึ่งเป็นอัญญาณ และสัมโมหะ ขึ้นมาว่า "บุรุษบุคคลเรานี้ เสวยเวทนาไรๆ ...ทั้งหมดนั้นมีเพราะเหตุ แห่งกรรมอันกระทํา แล้ว ในกาลก่อน ...ฯลฯ... เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้น ไป" ดังนี้. 

ภิกษุ ท. ! เราผู้มีวาทะอยู่อย่างนี้แหละ ย่อมไม่มองเห็นอะไรในหมู่นิครนถ์ ที่น่าจับใจ และ ประกอบอยู่ด้วยธรรม.


475-479
การให้ผลของกรรมไม่อาจเปลี่ยนได้ด้วยตบะของนคิรนถ์

ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะนิครนถ์ ท. เหล่านั้นสืบไปอีกว่า "ท่านผู้เป็น นิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือพวกท่านจะพึงได้ตามใจ ชอบของท่านว่า ด้วย อํานาจการบําเพ็ญอุป๎กกมะและปธานะ (อันเป็นตบะของ เรา)

(๑) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลในทิฏฐธรรม ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรมที่ พึงเสวยผล ในสัมปรายภพเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน!" หรือว่า

(๒) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลในสัมปรายภพ ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรมที่พึง เสวยผล ในทิฏฐธรรมเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !"  ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือพวกท่าน จะพึงได้ ตามใจชอบของท่าน ว่า ด้วยอํานาจการบําเพ็ญอุป๎กกมะและปธานะ (อันเป็นตบะของเรา)

(๓) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเป็นสุข ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรมที่พึงเสวยผล เป็นทุกข์เถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !"  หรือว่า

(๔) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเป็นทุกข์ ขอให้กรรมนั้นเป็น กรรมที่พึงเสวยผล เป็นสุขเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !"  ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือพวกท่าน จะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอํานาจการบําเพ็ญอุป๎กกมะและปธานะ (อันเป็นตบะของเรา)

(๕) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเต็มขนาด ขอให้กรรม นั้นเป็นกรรมที่พึงเสวยผล ไม่เต็ม ขนาดเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !"  หรือว่า

(๖) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลไม่เต็มขนาด ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรมที่พึงเสวย ผล เต็มขนาดเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !"  ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือพวกท่าน จะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอํานาจการบําเพ็ญอุป๎กกมะและปธานะ (อันเป็นตบะของเรา)

(๗) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลอย่างมาก ขอให้กรรม นั้นเป็นกรรมที่พึงเสวยผล แต่น้อยเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !" 
หรือว่า

(๘) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลแต่น้อย ขอให้กรรมนั้นเป็น กรรมที่พึงเสวยผล อย่างมากเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !"  ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสําคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือพวกท่าน จะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอํานาจการบําเพ็ญอุป๎กกมะและ ปธานะ (อันเป็นตบะของเรา)

(๙) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผล ขอให้กรรมนั้นเป็น กรรมที่ไม่ต้องเสวยผลเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !"
หรือว่า

(๑๐) กรรมใดเป็นกรรมที่ไม่ต้องเสวยผล ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรม ที่ต้องเสวยผลเถิด ดังนี้หรือ? "ไม่อาจเป็นไปได้ ท่าน !" ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เมื่อได้ยินกันอยู่แล้ว ดังนี้ว่า ไม่อาจเป็นไปได้ไม่อาจ เป็นไปได้ ดังนี้แล้ว อุป๎กกมะและปธานะ ของท่าน ผู้เป็น นิครนถ์ ท. ก็ไม่มีผลอะไร.  ภิกษุ ท. ! นิครนถ์ ท. เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้

ภิกษุ ท. ! ดังนั้นวาทานุวาทะ (วาทะน้อยใหญ่) ๑๐ ประการ ที่ประกอบด้วยธรรมตาม แบบของพวกนิครนถ์ผู้มีวา ทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะที่ควรตําหนิ. 

ภิกษุ ท. ! ถ้าว่าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทําใน กาลก่อน แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องกระท ากรรมชั่วในกาลก่อน เป็นแน่ เพราะใน บัดนี้ เป็นผู้ เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้. 

ภิกษุ ท.! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การชี้บ่งของอิศวร (อิสฺสรนิมฺมานเหตุ) แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้ถูกชี้บ่งแล้วโดยอิศวรชั่ว เป็น แน่ เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้. 

ภิกษุ ท.! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ภาวะทางสังคมแล้ว ไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้มีสังคมชั่ว เป็นแน่ เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวย ทุกขเวทนาอันกล้าแข็ง แสบเผ็ด เห็นปานนี้. 

ภิกษุ ท.! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การเกิดอันยิ่ง (อภิชาติ) แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้มีอภิชาติอันเลว เป็นแน่ เพราะในบัดนี้ เป็นผู้เสวยทุกขเวทนา อันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ความบากบั่นในทิฏฐ ธรรม แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้มีความบากบั่นในทิฏฐธรรมอันชั่ว เป็นแน่ เพราะในบัดนี้ เป็นผู้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้. 

ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทําใน กาลก่อน แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกต าหนิ ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง กรรมอันกระทําในกาลก่อนแล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้อง ถูกต าหนิ. 

ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การชี้บ่งของอิศวร แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตําหนิ.  ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุ แห่งการชี้บ่ง ของ อิศวร แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตําหนิ. 

ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ภาวะทางสังคมแล้ว ไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตําหนิ. ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ภาวะทางสังคม แล้วไซร้ นิครนถ์ ท.ก็ต้องถูกตําหนิ. 

ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การเกิดอันยิ่ง (อภิชาติ) แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตําหนิ. ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุ แห่งอภิชาติ แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตําหนิ. 

ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ความบากบั่นในทิฏฐ ธรรม แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตําหนิ. ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์เพราะ เหตุแห่ง ความบากบั่นในทิฏฐธรรมแล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตําหนิ.

ภิกษุ ท. ! นิครนถ์ ท. เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้; ภิกษุ ท.! ดังนั้นวาทานุวาทะ ที่ ประกอบ ด้วยธรรมตามแบบของพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ ๑๐ประการเหล่านี้ ย่อมถึงฐานะ ที่ควรตําหนิ. 

ภิกษุ ท. ! อุป๎กกมะและปธานะที่ไม่มีผล เป็นอย่างนี้แล.


479
ทรงสนทนากะเทวดา เรื่องวิมุตติของภิกษณุี

ภิกษุ ท. ! เมื่อคืนนี้ ราตรีล่วงไปมากแล้ว เทวดาสองตน มีวรรณะยิ่ง ส่องเขาคิชฌกูฏ ทั้งสิ้นให้สว่าง ได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ครั้นไหว้เราแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ ควร.

เทวดาตนหนึ่ง ได้พูดกะเราว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นผู้วิมุตติ แล้ว" ดังนี้. เทวดาอีกตนหนึ่ง ได้พูดกะเราว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นผู้วิมุตติดีแล้ว เพราะไม่มีกิเลสที่เป็นเชื้อเหลืออยู่" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ครั้นเทวดาเหล่านั้นพูดจบแล้วไหว้เรา ทําประทักษิณหายไปแล้ว.

หมายเหตุ
:  มีข้อที่น่าสังเกตว่า ทําไมเทวดาบางตน จึงมีความรู้ถึงกับรู้ว่าใครเป็น พระอรหันต์ หรือไม่เป็น แล้วยังแถมมาแสดงตน ทํานอง "อวดรู้" ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า อีก ด้วย  จนกระทั่งพระโมคคัลลานะเอง ผู้อยู่ในหมู่ภิกษุ ที่รับตรัสเล่านั้น ถึงกับฉงน ว่า  เทวดาพวกไหนหนอ เก่งถึงเพียงนี้.


479-480
การสนทนากับเทวดา เรื่องอปริหานิยธรรม

ภิกษุ ท.! เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีล่วงไปแล้วเป็นอันมาก เทวดาตนหนึ่งมีรัศมี รุ่งเรืองยิ่ง ทําเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ได้กล่าวความข้อนี้ กะเรา ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรม ท. ๖ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความ ไม่เสื่อม แห่งภิกษุ. 

หกประการเหล่าไหนเล่า? หกประการคือ ความเคารพในพระศาสดา ความเคารพ ในพระธรรม ความเคารพในพระสงฆ์ ความเคารพในสิกขา ความเคารพ ในความไม่ประมาท ความเคารพในการ ปฏิสันถาร. 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรม ท.๖ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อ ความไม่เสื่อมแห่ง ภิกษุ". 

ภิกษุ ท. ! เทวดาตนนั้นกล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทเรา กระทําประทักษิณ หายไปในที่นั้น.
 
 [เกี่ยวกับธรรม ๖ ประการนี้ ในที่อื่น มีหัวข้อธรรมแปลกออกไปคือ มี หิริ และ โอตตัปปะ เข้ามาแทนที่ความไม่ประมาทและการปฏิสันถาร (ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๙/๓๐๔).
ในสูตร อื่นมี ความเป็นผู้ว่าง่าย และความเป็นผู้มีมิตรดี มาแทนที่ความเคารพ ในความ ไม่ประมาทและ ความเคารพในการปฏิสันถาร (ฉกฺก. อํ. ๒๒/๒๗๓/๓๔๐).  ในสูตรอื่น มี ความเคารพในสมาธิ เพิ่มเข้ามาต่อข้อความเคารพ ในสิกขา (สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๙/๒๙). 

ในสูตรอื่น มี สมาธิ หิริ และ โอตตัปปะ ถึง ๓ ข้อ มาแทนที่ความไม่ประมาท และการ ปฏิสันถาร (สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐/๓๐). ใน สูตรอื่น มีความเคารพในสมาธิ ความเป็นผู้ ว่าง่าย และ ความเป็นผู้มีมิตรดี ถึง ๓ ข้อ มา แทนที่ความเคารพในความ ไม่ประมาท และความเคารพในการปฏิสันถาร (สตฺตก. อํ ๒๓/๓๐๓๑/ ๓๑๓๒).]




480-482
การสนทนาเรื่องที่สุดโลก

ภิกษุ ท. ! เมื่อคืนนี้ ราตรีล่วงไปมากแล้ว เทวบุตรชื่อ โรหิตัสส์ มีวรรณะ อย่างยิ่ง ส่องเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างอยู่ ได้เข้ามาหาเราถึงที่อาศัย ไหว้เราแล้วยืน อยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง. ได้กล่าวกะเราว่า "พระองค์ ! ในที่สุดโลกแห่งใด ซึ่งสัตว์จะไม่ เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัตินั้น ใคร ๆ อาจ เพื่อจะรู้ จะเห็น จะถึงที่สุดโลก แห่งนั้น ด้วยการไป ได้หรือไม่?"

ภิกษุ ท. ! เทวบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า "แน่ะเธอ ! ที่สุดโลกซึ่งสัตว์ จะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัตินั้น เรากล่าวว่า ใครๆ ไม่อาจรู้ ไม่ อาจเห็น ไม่อาจถึงที่สุดโลกนั้นด้วยการไปได้เลย"

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวดังนี้แล้ว เทวบุตรนั้นได้กล่าวสืบไปว่า "พระองค์ ! อัศจรรย์จริง ไม่เคยมีเลย คือคําที่พระองค์ตรัสนี้. ข้าแต่พระองค์ ! ในกาลก่อนข้า พระองค์เป็นฤาษี ชื่อโรหิตัสส์ ผู้โภชบุตร มีฤทธิ์ไปได้โดยอากาศ.

ความรวดเร็วของ ข้าพระองค์ เช่นเดียวกับลูกธนู ของอาจารย์ผู้คล่องแคล่วลือชา ในการยิงธนูขนาด หนัก สามารถยิงถูกขนทรายได้ในระยะอุสุภหนึ่ง ที่ยิงตลอดเงา แห่งตาล๑ โดย ขวาง ด้วยลูกศรอันเบาปลิวฉะนั้น. 

การก้าวเท้าของข้าพระองค์ (ก้าวหนึ่งมี ระยะไกล) ประมาณเท่าจากสมุทรฟาก ตะวันออก ถึงสมุทรฟากตะวันตก. 

ข้าแต่ พระองค์! เมื่อประกอบด้วยความรวดเร็วและการก้าวไกลถึงเช่นนี้ ข้าพระองค์ เกิด ความปรารถนาว่า เราจักถึงที่สุดโลก ด้วยการไปให้จงได้.ข้าพระองค์จึงงดการ บริโภค การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม งดการถ่ายอุจจาระป๎สสาวะ งดการหลับ อันเป็น เครื่องบรรเทา ความเหน็ดเหนื่อยเสีย มีอายุ มีชีวิต ๑๐๐ ปี ก็เดินทางทั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่ง โลกเลย ได้ตายเสียในระหว่าง. 

ข้าแต่พระองค์ ! อัศจรรย์ จริง ไม่เคยมีเลย คือคําที่พระองค์ตรัสว่า "เรากล่าวว่าใคร ๆ ไม่อาจรู้ อาจเห็น อาจถึงที่สุดโลก ด้วยการไป ได้เลย" ดังนี้". 

ภิกษุ ท.! เราได้กล่าวกะเทวบุตรนั้นว่า "แน่ะเธอ ! ที่สุดโลกแห่งใด อัน สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวการรู้ การเห็นการถึงที่สุด โลกนั้น เพราะการไป. 

แน่ะเธอ! เรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ก็จะยังไม่กล่าว การกระทำที่สุด แห่งทุกข์.
แน่ะเธอ! ในร่างกาย ที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบ ด้วยสัญญา และใจนี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุเกิดของโลก ความดับไม่มี เหลือของโลก และทางให้ถึงความดับ ไม่มีเหลือของโลกไว้" ดังนี้.


482
การสนทนาเรื่องลัทธิซึ่งสมมติกันว่าเลิศ

ภัคควะ ! มีสมณะพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติลัทธิซึ่งสมมติกันว่าเลิศตาม แบบแห่ง อาจารย์ตนว่า (ใครๆ ล้วนแต่เป็นผู้ที่) อิศวรสร้างขึ้น พรหมสร้างขึ้น.

เราเข้าไปหาสมณ พราหมณ์เหล่านั้น แล้วกล่าวว่า "ได้ยินว่า ท่าน ท. ย่อมบัญญัติ ลัทธิ ซึ่งสมมติกันว่าเลิศ ตามแบบ แห่งอาจารย์ตน ว่า "(ใครๆ ล้วนแต่เป็นผู้ที่) อิศวร สร้างขึ้น พรหมสร้างขึ้น" จริงหรือ?" เมื่อถูกถามอย่างนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ ยอมรับว่าจริง.

เรากล่าวกะสมณพราหมณ์เหล่านั้นต่อไปว่า "ก็ท่าน ท. ย่อม บัญญัติลัทธิซึ่ง สมมติ กันว่า เลิศ ตามแบบแห่งอาจารย์ตน ว่า (ใครๆ ล้วนแต่เป็นผู้ที่) อิศวรสร้างขึ้น พรหมสร้างขึ้น นั้น ด้วยเหตุผลอย่างไร?

"เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ชี้แจงไม่ได้ เมื่อชี้แจงไม่ได้ ก็กลับย้อนถามเรานั่นเองเรา ถูกถามแล้วก็พยากรณ์...ฯลฯ... (เหตุที่ทําให้เข้าใจผิด). 

         หมายเหตุ: พระองค์ยังได้เสด็จไปทรงสนทนากับสมณพราหมณ์ พวกบัญญัติ ลัทธิขิฑ ฑาปโทสิกะ ลัทธิมโนปโทสิกะ และลัทธิอธิจจสมุปป๎นนะ โดยลักษณะอย่าง เดียวกัน. สําหรับคํา พยากรณ์ของพระองค์นั้น โดยใจความเกี่ยวกับการเกิดก่อน เกิดหลัง ของสัตว์ผู้เกิดขึ้นเป็นครั้ง เป็นคราวก่อนหลังกว่ากัน จนทําให้เกิดการ เข้าใจผิด ว่ามีผู้สร้างผู้นฤมิต เป็นต้น.  (ข้อความโดย ละเอียด พึงอ่านดูจาก ปาฏิกสูตร ปา. ที. ๑๑/๓๐/๑๓-๑๖๗. - ผู้รวบรวม.


483-486
การตรัสเรื่อง "มหาภูต" ไม่หยั่งลงในที่ไหน

เกวัฏฏะ ! เรื่องเคยมีมาแล้ว : ภิกษุรูปหนึ่ง ในหมู่ภิกษุนี้เอง เกิดความ สงสัยขึ้นในใจว่า"มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ํา ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหนหนอ" ดังนี้. 

(ความว่า ภิกษุรูปนั้นได้เข้าสมาธิ อันอาจนําไปสู่เทวโลก ได้นําเอาป๎ญหา ข้อที่ตน สงสัย นั้นไปเที่ยวถามเทวดาพวกจาตุมมหาราชิกา เมื่อไม่มีใครตอบได้ ก็เลยไปถาม เทวดาใน ชั้น ดาวดึงส์เทวดาชั้นนั้นโยนให้ไปถามท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันตุสิตะ ท้าวสุนิมมิตะ ท้าวปร นิมมิตวสวัตตี ถามเทพพวกพรหมกายิกา กระทั่ง ท้าวมหาพรหม ในที่สุด ท้าวมหาพรหมพยายาม หลีกเลี่ยงเบี่ยงบ่ายที่จะไม่ตอบ อยู่พักหนึ่ง แล้ว ในที่สุด ได้สารภาพว่าพวกเทวดาทั้งหลายพากัน คิดว่า ท้าวมหาพรหม เอง เป็นผู้รู้เห็น ไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ที่จริงไม่รู้ในป๎ญหาที่ว่ามหา ภูตรูปจักดับ ไปใน ที่ไหนนั้นเลย.  มันเป็นความผิดของภิกษุนั้นเอง ที่ไม่ไปทูลถาม พระผู้มี พระภาคเจ้า ในที่สุดก็ ต้องย้อน กลับมาเฝูาพระผู้มีพระภาคเจ้า). 

เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้นได้กลับมาอภิวาทเรา นั่ง ณ ที่ควร แล้วถามเราว่า "ข้า แต่พระองค์ ผู้เจริญ ! มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ํา ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ ในที่ไหน?" ดังนี้.

เกวัฏฏะ ! เมื่อเธอถามขึ้นอย่างนี้ เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า "แน่ะภิกษุ ! เรื่องเก่าแก่ มีอยู่ว่า พวกค้าทางทะเล ได้พานกสําหรับค้นหาฝ๎่งไปกับเรือค้าด้วย. 

เมื่อเรือหลงทิศในทะเล และแลไม่เห็นฝ๎่ง พวกเขาปล่อยนกสําหรับค้นหาฝ๎่งนั้นไป. 
นกนั้นบินไปทางทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง ทิศตะวันตกบ้าง ทิศเหนือบ้าง ทิศเบื้องบนบ้าง ทิศน้อย ๆ บ้าง.

เมื่อมันเห็นฝ๎่งทาง ทิศใดแล้วมันก็จะบินตรงไปยังทิศนั้น แต่ถ้าไม่เห็น ก็จักบินกลับมา สู่เรือตามเดิม. 

ภิกษุ ! เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ ได้เที่ยวหาคําตอบของป๎ญหานี้มาจนจบทั่ว กระทั่งถึง พรหมโลกแล้ว ในที่สุดก็ยังต้องย้อนมาหาเราอีก. 

ภิกษุ ! ในป๎ญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคําถามขึ้นว่า "มหาภูตสี่คือ ดิน น้ํา ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไหน?" ดังนี้เลย อันที่จริง เธอ ควรจะตั้งคําถาม ขึ้นอย่างนี้ว่า:-
          "ดิน น้ า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษ เหลือ  ในที่ไหน? ดังนี้ ต่างหาก. 

          ภิกษุ !ในป๎ญหานั้น คําตอบมีดังนี้: "สิ่ง" สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ ไม่มีปรากฏการณ์ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ นั้นมีอยู่.
ใน"สิ่ง"  นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. 
ใน"สิ่ง"นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้.
ใน "สิ่ง" นั้นแหละ นามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ. 
นามรูป ดับสนิทใน "สิ่ง" นี้ เพราะการดับสนิท ของวิญญาณ ดังนี้". 


486-487
การมาเฝู้าของตายนเทพบุตร 

ภิกษุ ท.! เมื่อคืนนี้ ราตรีล่วงไปมากแล้ว เทพบุตรชื่อตายนะผู้เคยเป็นเจ้า ลัทธิเดียรถีย์ ในกาลก่อน มีวรรณะยิ่ง ส่องเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่ อยู่ ไหว้เราแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรได้กล่าวคําผูกเป็นกาพย์เหล่านี้ในที่ใกล้เรา ว่า

           "จงตัดกระแส จงบากบั่นไปสู่คุณเบื้องสูง จงบรรเทา กามเสียเถิดนะ พราหมณ์ ! เพราะมุนีที่ไม่ละกาม ย่อมถึง ความเป็นคนลวงโลก. ถ้าจะกระทำ ก็จงทำจริง จงบากบั่นสิ่งนั้นให้หนักแน่น เพราะว่า บรรพชาที่รับถือ ไว้หลวม ๆ ย่อมโปรยโทษ คือ ธุลีอย่างหนัก. ไม่ทำความชั่ว ดีกว่า ความชั่วย่อมเผาลน ใน ภายหลัง. ทำความดี ดีกว่า ความดีชนิดที่ทำแล้วไม่ตามเผาลม.

หญ้ากุสะที่จับ ไม่ดีแล้วดึง ย่อมบาดมือผู้จับ ฉันใด
ความเป็นสมณะ ที่บุคคลใด ลูบคลำอย่างเลวทราม ย่อมคร่าผู้นั้น ไปนรก. การงานอันใดที่ย่อหย่อน วัตรอันใด ที่เศร้าหมอง พรหมจรรย์ที่ระลึกขึ้น มาแล้วรังเกียจตัวเองได้ นั่นไม่เป็นสิ่ง ที่มีผลมากได้เลย".

ภิกษุ ท. ! ตายนเทวบุตร ครั้นกล่าวดังนี้แล้วก็อภิวาทเรา กระทําประทักษิณหายไปแล้ว.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายจงถือเอา จงเล่าเรียนจงทรง ไว้ซึ่ง ตายนคาถา
ภิกษุ ท. ! ตายนคาถา ป็น ของประกอบด้วยประโยชน์ เป็น เงื่อนต้นของ พรหมจรรย์.


486-487
การมาเฝ้าของอนาถปิณฑิกเทพบุตร

           ภิกษุ ท.! เมื่อคืนนี้ ราตรีล่วงไปมากแล้ว เทพบุตรตนหนึ่งมีวรรณะยิ่ง ส่องเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่าง ได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ณ ที่ควร ได้ กล่าวคําผูกเป็น กาพย์ กะเราว่า

           "เชตวันนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่ที่หมู่แห่งท่านผู้แสวง คุณในเบื้องสูง อาศัยแล้ว พระองค์ผู้เป็นธรรมราชาได้ประทับ อาศัยแล้ว ข้อนั้น เป็นเครื่องยังปิติ ให้เกิด แก่ข้าพระองค์. กุศลกรรม วิชชา ธรรม และศีล เหล่านี้เป็นของสูงสุด ในชีวิต สัตว์ย่อม บริสุทธิ์ได้เพราะธรรมนั้นๆ หาใช้เพราะโคตร หรือทรัพย์ไม่. เพราะฉะนั้นแล บุรุษผู้เป็น บัณฑิต เมื่อมองหาอยู่ซึ่งประโยชน์ ของตน จงเลือกเฟูนธรรมโดยแยบคาย เมื่อเป็น เช่นนั้นย่อม บริสุทธิ์ได้เพราะธรรมนั้น.

           ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้ประเสริฐด้วยป๎ญญา ศีล และความ สงบรํางับ. ภิกษุผู้ที่ถึงฝ๎่ง คือพระนิพพานแล้ว มีพระสารีบุตร เท่านั้น เป็นอย่างเยี่ยมยอด". ดังนี้. 

          
ภิกษุ ท. ! เทวบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้ว กําหนดในใจรู้ว่า "พระศาสดาทรงพอ พระทัยในเราแล้ว" ไหว้เรา กระทําประทักษิณ หายไปแล้ว.  "พระองค์ผู้เจริญ ! เทวบุตรนั้น คงเป็นอนาถปิณฑิกเทวบุตรเป็นแน่ พระองค์ผู้เจริญ ! อนาถปิณฑิกคหบดี เป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระสารีบุตรยิ่งนัก."

          
พระอานนท์ทูลสนองขึ้น.  ถูกแล้ว อานนท์ ! ถูกแล้ว. เธอเป็นผู้ถูกในสิ่งที่พึง ถูก ได้ด้วยการคิดทาย เอาแล้ว.เทวบุตรนั้น คืออนาถปิณฑิกเทพบุตร มิใช่ใครอื่น.


487-490
การมาเฝ้าของจาตุมมหาราช

           ภิกษุ ท.! เมื่อคืนนี้ มหาราช๒ ทั้งสี่ พร้อมทั้งเสนายักษ์ เสนาคนธรรพ์ เสนา กุมภัณฑ์ และเสนานาค หมู่ใหญ่ ๆ ตั้งการรักษา การคุ้มครอง แวดล้อมไว้ทั้งสี่ทิศ แล้ว มีวรรณะรุ่งเรืองยิ่ง ส่องเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง ได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ในเมื่อ ราตรีล่วงไป เป็นอันมาก (ดึก) ครั้นเข้ามาหาแล้วไหว้และนั่งอยู่ณ ที่ควร.

            ภิกษุ ท.! ยักษ์ (คือเสนา) เหล่านั้น บางพวกไหว้เรา บางพวกปราศรัยด้วย คําน่า บันเทิงใจ จับใจ บางพวกน้อมอัญชลีมาทางเรา บางพวกร้องขานชื่อ และ โคตรของตน บางพวกเฉยๆ แล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่งด้วยกันทั้งนั้น. 

          
ภิกษุ ท.! มหาราชชื่อเวสสวัณ ผู้นั่งแล้วในที่ควร ได้กล่าวคํานี้กะเราว่า  "ข้าแต่พระองค์ !
ยักษ์ชั้นสูง ที่ไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใส ก็มี
ยักษ์ชั้นกลาง ที่ไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใสก็มี
ยักษ์ชั้นต่ำ ที่ไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใสก็มี
แต่ว่ายักษ์ส่วนมาก ไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคดอก พระองค์ผู้เจริญ!

เพราะเหตุไรเล่า?

เพราะเหตุว่า พระผู้มีพระภาคย่อมแสดงธรรม เพื่องดเว้นจาก ปาณาติบาต
จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจา รจากมุสาวาท จากการดื่มสุรา เมรัย แต่ยักษ์ ส่วนมาก ไม่งดเว้นจากปาณาติบาตเสียเลย ไม่งดเว้นจากอทินนาทาน กาเม สุมิจฉาจาร มุสาวาท และการดื่มสุราเมรัย. ธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่เป็นที่รัก ที่พอใจแก่ยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น. 

          
"ข้าแต่พระองค์ ! เหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เสพเสนาสนะปุาอัน สงัดในราวปุา อันน้อยเสียง ไม่กึงก้อง ปราศจากเสียงคน เป็นที่เหมาะแก่การลับ ของมนุษย์สมควรแก่การหลีกเร้น ในที่นั้นมียักษ์ชั้นสูงอาศัยอยู่. 

           พวกใดไม่ เลื่อมใสในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาค เพื่อให้พวกนั้นเลื่อมใส ขอพระผู้มี- พระภาคจงทรงรับ อาฏานาฏิยรักขมนต์ เพื่อการคุ้มครองรักษา การไม่ถูก เบียดเบียน การอยู่เป็นผาสุก แก่ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก และอุบาสิกา ทั้งหลายเถิด".

          
ภิกษุ ท. ! เรารับการขอร้องของท้าวมหาราชด้วยการนิ่ง. ลําดับนั้นท้าว มหาราช ชื่อเวสสวัณ รู้ความยอมรับของเรา จึงกล่าว อาฏานาฏิยรักขมนต์ขึ้นใน ขณะนั้น (เป็นคํากาพย์) ว่า
           "ขอนอบน้อม แด่พระวิป๎สสีพุทธะ ผู้มีจักขุ มีสิริ. 
           ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธะ ผู้มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง. 
           ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธะ ผู้มีตบะ ผู้สิ้นบาปแล้ว. 
           ขอนอบน้อมแด่พระกกุสันธพุทธะ ผู้ย่ํายีมารและเสนา ได้. 
           ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมนพุทธะ ผู้ประเสริฐจบพรหมจรรย์. 
           ขอนอบน้อมแด่พระกัสสปพุทธะ ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง. 
           ขอนอบน้อมแด่พระอังคีรสพุทธะ ๑ ผู้เป็นสากยบุตร มีสิริ ผู้แสดงธรรมอันเป็น เครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง นี้. ฯลฯ๒".

           ในที่สุดท้าวมหาราชกล่าวแก่เราว่า "พวกข้าพระองค์ ท. จะลาไปบัดนี้พวกข้า พระองค์มีกิจมาก มีธุระมาก" ดังนี้.
           เราตอบว่า พวกท่านทั้งหลายย่อมรู้จักเวลาของ กิจใดๆ ดีแล้ว ดังนี้. 

          ภิกษุ ท.! ลําดับนั้น มหาราชทั้งสี่ ลุกจากที่นั่ง อภิวาทเรา ทําประทักษิณ แล้ว หายไปในที่นั้น.

         ยักษ์เหล่านั้น ครั้นลุกจากที่นั่งแล้ว บางพวกอภิวาท ทําประทักษิณ  บางพวก กล่าวถ้อยคํา บันเทิงใจจับใจ บางพวกทําอัญชลี บางพวกร้องขานชื่อ และโคตร บางพวกเฉย ๆ แล้วหายไปในที่นั้น.


490-492
การข่มลิจฉวีบุตร ผู้มัวเมาในปาฏิหาริย์

           ภัคควะ ! คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ศาลามีรูปเหมือนเรือนยอด ที่ปุามหาวันใกล้ นครเวสาลี. ครั้งนั้น นักบวชเปลือย (อเจละ) ชื่อ กฬารมัชฌกะอาศัยอยู่ ณ เมืองเวสาลี ถึงแล้วด้วยลาภและยศเหลือล้น อยู่ในบ้านวัชชีคามเพราะนักบวชผู้นั้น สมาทานวัตตบท ๗ ประการ อย่างเต็มที่คือ:-
           ๑. ข้าพเจ้า จักเป็นคนเปลือยตลอดชีวิต ไม่นุ่งห่มผ้า.
           ๒. ข้าพเจ้า จักเป็นพรหมจารี ไม่เสพเมถุน จนตลอดชีวิต.
           ๓. ข้าพเจ้า จักมีชีวิตอยู่ด้วยสุราและเนื้อ ไม่บริโภคข้าวสุกและขนมสดจน ตลอดชีวิต.
           ๔. ข้าพเจ้า จักไม่ล่วงเกินอุเทนเจดีย์ ในเมืองเวสาลี ทางทิศตะวันออก.
           ๕. ข้าพเจ้า จักไม่ล่วงเกินโคตมกเจดีย์ ในเมืองเวสาลี ทางทิศใต้.
           ๖. ข้าพเจ้า จักไม่ล่วงเกินสัตตัมพเจดีย์ ในเมืองเวสาลี ทางทิศตะวันตก.
           ๗. ข้าพเจ้า จักไม่ล่วงเกินพหุปุตตกเจดีย์ ในเมืองเวสาลี ทางทิศเหนือ

           ภัคควะ ! ครั้งนั้น สุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร เข้าไปหาอเจละกฬารมัชฌกะถึง ที่อยู่ แล้วถามป๎ญหา อเจละผู้นั้นถูกถามแล้ว ไม่อาจตอบ ก็แสดงความโกรธโทสะ และความไม่ยินดีด้วย ให้ปรากฏขึ้น. 

           ภัคควะ ! ครั้งนั้น สุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร มีความคิดว่า "เราได้รบกวนพระ อรหันตสมณะผู้ดีงามเสียแล้ว ขออย่าเป็นไปเพื่อความทุกข์ ความไม่เกื้อกูลแก่เรา ตลอดกาลนานเลย" ดังนี้แล้ว ได้เข้าไปหาเรา ไหว้แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. เราได้กล่าวกะสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ว่า "โมฆบุรุษ ! ท่านเป็นสมณสากยบุตติย์  จักต้องสํานึกตัวไว้" ดังนี้.

          
"พระองค์ผู้เจริญ ! ทําไมพระองค์จึงได้ตรัสดังนั้นเล่า?" สุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ย้อนถามเรา. 

          
"สุนักขัตตะ ! เธอได้เข้าไปถามป๎ญหากะอเจละกฬารมัชฌกะ อเจละกฬาร มัชฌกะตอบไม่ได้แล้วแสดงความโกรธ โทสะ และความไม่ยินดีด้วย ให้ปรากฏเธอ ยังคิดว่า เราได้รบกวนพระอรหันต์ผู้ดีงามเสียแล้ว ขออย่าเป็นไป เพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เรา ตลอดกาลนาน ดังนี้ มิใช่หรือ?"  "จริงอย่างนั้น พระองค์ !แต่ว่าทําไม พระผู้มีพระภาคจึงทรงหวงพระ อรหัตตคุณเล่า?" 

          "โมฆบุรุษ !เรามิได้หวงพระอรหัตตคุณดอก แต่ว่าทิฏฐิลามกของเธอมี อยู่ เธอจงละมันเสีย จงอย่าเป็นไปเพื่อทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน.     

          
สุนักขัตตะ! ข้อที่เธอสําคัญว่า กฬารมัชฌกะ เป็นอรหันตสมณะผู้ดีงามนั้นในไม่ นานดอก กฬารมัชฌกะจักนุ่งผ้า มีภรรยาตามหลังเที่ยวไป บริโภคข้าวสุก และขนมสด ล่วงเกินเจดีย์ ในเมืองเวสาลีทุกๆ แห่ง เสื่อมจากลาภและยศทํากาละ แล้ว". 

          
ภัคควะ !  ต่อมาไม่นาน  (เหตุการณ์เป็นไปดั่งเราพยากรณ์) สุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร (ทราบเรื่องแล้ว) ได้เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควร

           ภัคควะ ! เราได้ถามสุนักขัตตะนั้นว่า ข้อใดที่เราพยากรณ์ไว้ ข้อนั้นเป็นดังนั้น หรือ เป็นโดยประการอื่น? 

         
"พระองค์ผู้เจริญ ! เป็นดั่งนั้น มิได้เป็นโดยประการอื่น" "เมื่อเช่นนั้น เป็นอันว่า เราทํา อุตตริมนุสสธรรม อิทธิปาฏิหาริย์หรือมิได้ ทํา?" 

          
"พระองค์ผู้เจริญ ! เป็นอันว่าทําแล้ว หาใช่มิได้ทําไม่".

          
โมฆบุรุษ ! ท่านจงเห็นความผิดของตัวเถิด".

          
ภัคควะ ! สุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร เมื่อเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ได้หลีกไปแล้ว จากธรรม วินัย ของเรา เหมือนสัตว์นรก ผู้หาความเจริญมิได้.


492-495
การสนทนากับปริพพาชก ชื่อ มัณฑิยะและชาลิยะ 

           มหาลิ ! ครั้งหนึ่ง เราอยู่ที่โฆสิตารามนอกเมืองโกสัมพี.  ครั้งนั้น ปริพพาชก ชื่อมัณฑิยะและชาละยะ ผู้ทารุป๎ตติกันเตวาสี ได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ครั้นเข้ามาแล้ว ได้กระทําสัมโมทนียกถายืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. 

           บรรพชิตทั้งสองนั้นยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า "อาวุโส โคตมะ ! ชีวะก็ อันนั้น สรีระก็อันนั้น; หรือว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น?" ดังนี้.
           เราได้กล่าวกะ บรรพชิตทั้งสองนั้น ว่า:- 

          
"ดูก่อนอาวุโส ! ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟ๎ง จงกระทําในใจให้ดี เราจักกล่าว. 
           ดูก่อนอาวุโส ! ตถาคตเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปแล้วดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีสารถีอื่นยิ่ง กว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานจําแนกธรรมสั่งสอน สัตว์.

          
ตถาคตนั้น กระทําให้แจ้งซึ่งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก หมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้. 

          
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ. 

          
คฤหบดี หรือว่าคฤหบดีบุตร หรือบุคคลผู้เกิดแล้วในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในภายหลัง ย่อมได้ฟ๎งซึ่งธรรมนั้น.

          
บุคคลนั้น ๆ ครั้นได้ฟ๎งแล้วย่อมได้ซึ่งสัทธาใน ตถาคต มาตามพร้อมแล้ว ด้วยการได้สัทธาในตถาคตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นอย่าง นี้ว่า "ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นโอกาสว่าง มิใช่เป็นการ ที่จะอยู่ครองเรือนแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์อัน ขัดดีแล้วถ้ากระไร เราจะพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกจาก เรือนบวชสู่ความ ไม่มีเรือนเถิด" ดังนี้.
  
        
บุคคลนั้น ครั้นถึงสมัยอื่น ละโภคะน้อย ใหญ่ ละวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกบวชจาก เรือนสู่ความไม่มีเรือน.

ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สํารวมแล้วด้วยความสํารวมในปาติโมกข์ถึง พร้อมด้วย มรรยาท และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษา ในสิกขาบท ทั้งหลาย มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศลมี อาชีวะ บริสุทธิ์ ถึงพร้อม ด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ มีความสันโดษ. 

          
ดูก่อนอาวุโส ! ก็ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า?ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ละการทําสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้งดขาดจากปาณาติบาตวาง ท่อนไม้ และศาตราเสียแล้ว...

           (ข้อความตอนต่อไปนี้ เป็นอย่างเดียวกันกับข้อความที่ พระองค์ตรัสถึง พระองค์ เอง ในเรื่องศีลโดยพิสดาร ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ว่า "มนุษย์บุถุชน รู้จักพระองค์ น้อยเกินไป" ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ หน้า ๔๕๒ เริ่มแต่บรรทัดที่ ๔ ไปจนถึง หน้า ๔๕๘บรรทัดที่ ๑๑ (นับจากบรรทัดเลขหน้า) จบตรงคําว่า "..ทําเดรัจฉานวิชา เห็นปานนั้น เสีย."
           แล้วตรัสข้อความต่อไปถึงเรื่องการคุ้มครองอินทรีย์ การมีสติสัมปชัญญะ การสันโดษ การเสพเสนาสนะอันสงัด การละนิวรณ์ มีรายละเอียดหาดูได้ ที่หน้า ๒๙๓ ถึงหน้า ๒๙๕ แห่ง หนังสือเล่มนี้ โดยหัวข้อว่า "ทรงฝึกสอนเป็นลําดับๆ".
           ส่วนรายละเอียดเรื่องสันโดษ ผู้สนใจพึง หาดูได้จากบาลีมหาลิสูตร สี.ที. ๙/๒๐๑/๒๕๕).
 

ดูก่อนอาวุโส ! ภิกษุนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล...(เป็นต้น)...อย่างนี้แล้ว มีใจสงัด แล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจารมี ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่
 
         
ดูก่อนอาวุโส! ภิกษุใด เป็นผู้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เป็นการสมควรหรือหนอ ที่ภิกษุนั้นจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ชีวะก็อัน นั้น สรีระก็อันนั้น"
          หรือว่า"ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น" ดังนี้?

         
"ดูก่อนอาวุโส โคตรมะ ! ภิกษุใดรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เป็น การสมควรที่ภิกษุนั้นจะพึงกล่าวว่า "ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" หรือว่า "ชีวะก็ อันอื่นสรีระก็อันอื่น" ดังนี้."

          
ดูก่อนอาวุโส ! แม้เราตถาคตในบัดนี้ ย่อมรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้; และเราย่อมไม่กล่าวว่า "ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น". หรือกล่าวว่า "ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น" ดังนี้".          
           (ต่อจากนี้ ได้ตรัสถึงการที่ภิกษุนั้น บรรลุทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน กระทั่ง ญาณทัสสนะเป็นลําดับไป จนถึงอาสวักขยญาณ มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว และได้ตรัสถามให้ ปริพพาชกนั้นตอบเองด้วยคําถาม และคําตอบ อย่างเดียวกัน ทุกประการ. มหาลิจฉวีผู้ปากแข็ง ได้ชอบใจ เพลิดเพลินในภาสิตนี้อย่างยิ่ง).


495-496
การสนทนาเรื่อง เครื่องสนุกของพระอริยเจ้า

           กุณฑลิยปริพพาชก ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้า เป็นผู้ชอบเที่ยวไปตามหมู่บริษัท ในอารามต่างๆ.  ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เมื่อ ข้าพเจ้า เสร็จภัตตกิจในเวลาเช้าแล้ว หลังจากเวลาแห่งภัตรแล้ว กิจประจําวัน ของ ข้าพเจ้า คือเที่ยวไปจากอารามนั้นสู่อารามนี้ จากอุทยานนั้นสู่อุทยานนี้. 

           ในที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ๆ เป็นผู้มีการเปลื้องวาทะ แก่กัน และกันว่า อย่างนี้ๆ เป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจ (อานิสงส์)ก็มี มีการ ติเตียนกันเมื่อกล่าว กถา นั้นๆ อยู่ เป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจก็มี. ก็ พระสมณ โคดมเล่า เป็นผู้อยู่ ด้วยการมีอะไรเป็นเครื่องสนุกสนานชอบใจ?" 

           ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ตถาคต อยู่ด้วยการ มีผลแห่งวิชชาและวิมุตติเป็น เครื่องสนุกสนานชอบใจ.

         "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทํา ให้มากแล้วย่อมทําวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์?"

          [ต่อจากนี้  พระผู้มีพระภาค  ได้ตรัสธรรมที่ทําวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ ในลักษณะที่เป็นธรรมส่งเสริมกันและกันให้เกิดขึ้น โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท เป็น ลําดับไป คือ โพชฌงค์เจ็ด...สติปัฏฐาน สี่. สุจริต สาม... และ อินทรียสังวร มีรายละเอียดที่ผู้สนใจจะหาอ่านดูได้ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ ฯ ชื่อ "ปฏิจจสมุป บาทจากพระโอษฐ์" หน้า ๖๓๑ ที่หัวข้อเรื่องว่า"ปฏิจจสมุปบาทแห่งวิชชาและวิมุตติ (โดยสังเขป)"]

จบภาค4