เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
ดาวน์โหลด หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ : ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : http://www.buddhadasa.org
  
  9 of 11  
    หน้า
1 เสียงกระฉ่อนทั่ว ๆ ไป:ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ 500
2 เสียงของผู้สรรเสริญธรรมเทศนา : ทรงมีธรรมเทศนาเป็นแสงสว่าง
501
3 เสียงปริพพาชก วัจฉโคตร  
    1) ทรงแสดงหลักสําคัญตรงกับสาวกอย่างน่าอัศจรรย์ 501-502
    2) ทรงมีคําสอนที่เป็นแก่นแท้ล้วนๆ 502
    3) ทรงประดิษฐานศาสนพรหมจรรย์ได้บริบูรณ์ 503-504
4 เสียงคณกะโมคคัลลานพราหมณ์ :"โอวาทของพระโคดมเป็นยอด" 504-505
5 เสียงสัจจกะนิครนถบุตร :"เจอะพระโคดมแล้ว ไม่มีรอดไปได้" 506
6 เสียงของเจ้าลิจฉวี ทมุมุขะ : ทรงหักล้างปรป๎กษ์- มือนเด็กรุมกันต่อยก้ามปู 506
7 เสียงปริพพาชก คณะแม่น้ําสัปปินี : ไม่มีช่องทางที่-ใครจะขันสู้พระผู้มีพระภาค 506
8 เสียงสังคมวิญญููชน  
    1) ทรงปฏิบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น (ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน)    507
    2) สาวกของพระองค์ปฏิบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น (ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน) 509
9 เสียงวัชชิยมาหิตคหบดี : ทรงเป็นวิภัชชวาที มิใช่เอกํสวาที 510-511
10 เสียงโปฏฐปาทปริพพาชก : ทรงบัญญัติหลักเรื่อง "ตถา" 511
11 เสียงปิโลติกะ ปริพพาชก : ทรงมีคุณธรรมลึก- -จนผู้อนื่ได้แต่เพียงอนุมานเอา 513
12 เสียงปิงคิยานีพราหมณ์ : ทรงอยู่เหนือคําสรรเสริญ -ของคนธรรมดา 516
13 เสียงวัสสการพราหมณ์ : ทรงมีคุณธรรมสูง ๔ ประการ 519
14 เสียงอัตถากามเทพ : ทรงทราบมุทธาและมุทธาธิบาตร 520
15 เสียงหัตถกเทวบุตร : ทรงอัดแออยู่ด้วยบริษัทนานาชนิด 521
16 เสียงเทวดาบางตน : ใครดูหมิ่นความอดทนของพระโคดม- ก็เท่ากับคนไม่มีตา 522
17 เสียงท้าวสักกะจอมเทพ : ทรงพระคุณที่ชอบใจเทวดา ๘ ประการ 522
18 เสียงโลหิจจพราหมณ์  
    1) ทรงมีอนามัยเป็นอย่างดี 525
    2 ทรงดึงผมช่วยคนจะตกเหวไว้ได้ 525
19 เสียงโสณทัณฑพราหมณ์ : ทรงมีคุณสมบัติสูงทุกประการ 526
20 เสียงอุตตรมาณพ  
    1) ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ 530
    2) ทรงมีลีลาศสง่า งดงาม 530
    3) ทรงมีมรรยาทเป็นสง่า น่าเลื่อมใส 531
    4) ไม่ทรงตื่นเต้นพระทัยในบ้าน 531
    5) ทรงฉันภัตตาหารในหมู่บ้าน เรียบร้อยนัก 531
    6) ไม่ทรงติดในรสอาหาร 532
    7) ทรงมีวัตรในบาตร 532
    8) การเสด็จกลับจากฉันในหมู่บ้าน 533
    9) ทรงนุ่งห่มกะทัดรัด 533
    10) ทรงมุ่งแต่ความเกื้อกูลสัตว์ 533
    11) ทรงแสดงธรรมด้วยพระสําเนียงมีองค์ ๘ 534
21 เสียงอุบาลีคหบดีบุรพนิครนถ์ :  ทรงประกอบด้วย-พระพุทธคุณ ๑๐๐ ประการ 534
22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล  
    1) ทรงมีคณะสงฆ์ที่ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต 540
    2) ทรงมีคณะสงฆ์ที่พร้อมเพรียง 541
    3) ทรงมีคณะสงฆ์ที่ชุ่มชื่นผ่องใส 541
    4) ทรงมีสังฆบริษัทที่เงียบเสียง 542
    5) ทรงชนะคนมุ่งร้ายที่เข้าเฝ้า 543
    6) ทรงสามารถปราบโจรที่มหากษัตริย์ก็ปราบไม่ได้ 544
    7) ทรงชนะน้ําใจคนโดยทางธรรม 546
    8) ทรงเสมอกับพระเจ้าโกศลโดยวัย 546
23 เสียงคณกะโมคคัลลานพราหมณ์ : ทรงคบแลไม่ทรงคบบุคคลเช่นไร 547
24 เสียงแห่งมาร  
    1) ทรงตัดรอนอํานาจมารเหมือนเด็กลิดรอนก้ามปู      548
    2) ทรงเป็นก้อนหินให้กาโง่สําคัญว่ามันข้น 549
    3) ไม่มีใครนําพระองค์ไปได้ด้วยราคะ 549
    4) ศัตรูประสบผลเหมือนเอาศีรษะชนภูเขา 550

ภาคผนวกภาค 4

ตามเสียงคนนอกที่กล่าวถึงพระองค์


มี 24 เรื่อง

1 เสียงกระฉ่อนทั่ว ๆ ไป:ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ หน้า ๕๐๐
2 เสียงของผู้สรรเสริญธรรมเทศนา : ทรงมีธรรมเทศนาเป็นแสงสว่าง (พ.ม.) ๕๐๑
3 เสียงปริพพาชก วัจฉโคตร
      1) ทรงแสดงหลักสําคัญตรงกับสาวกอย่างน่าอัศจรรย์ (พ.ม.ส.) ๕๐๑- ๕๐๒
      2) ทรงมีคําสอนที่เป็นแก่นแท้ล้วนๆ (พ.ม.) ๕๐๒ :
      3) ทรงประดิษฐานศาสนพรหมจรรย์ได้บริบูรณ์ (พ.ม.ส.) ๕๐๓-๕๐๔
4 เสียงคณกะโมคคัลลานพราหมณ์ :"โอวาทของพระโคดมเป็นยอด" (พ.ม.) ๕๐๔-๕๐๕
5 เสียงสัจจกะนิครนถบุตร :"เจอะพระโคดมแล้ว ไม่มีรอดไปได้" (พ.ม.) ๕๐๖
6 เสียงของเจ้าลิจฉวี ทมุมุขะ : ทรงหักล้างปรป๎กษ์- มือนเด็กรุมกันต่อยก้ามปู (พ.ม.) ๕๐๖
7 เสียงปริพพาชก คณะแม่น้ําสัปปินี : ไม่มีช่องทางที่-ใครจะขันสู้พระผู้มีพระภาค (พ.ม.) ๕๐๖
8 เสียงสังคมวิญญููชน :
      1) ทรงปฏิบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น- -(ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน) (พ.ม.ส.) ๕๐๗ :
      2) สาวกของพระองค์ปฏิบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น- -(ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน) (พ.ม.ส.) ๕๐๙
9 เสียงวัชชิยมาหิตคหบดี : ทรงเป็นวิภัชชวาที มิใช่เอกํสวาที (พ.ม.ส.) ๕๑๐ -๕๑๑
10 เสียงโปฏฐปาทปริพพาชก : ทรงบัญญัติหลักเรื่อง "ตถา" (พ.ม.ส.) ๕๑๑
11 เสียงปิโลติกะ ปริพพาชก : ทรงมีคุณธรรมลึก- -จนผู้อนื่ได้แต่เพียงอนุมานเอา (พ.ม.) ๕๑๓
12 เสียงปิงคิยานีพราหมณ์ : ทรงอยู่เหนือคําสรรเสริญ -ของคนธรรมดา (พ.ม.ส.) ๕๑๖
13 เสียงวัสสการพราหมณ์ : ทรงมีคุณธรรมสูง ๔ ประการ (พ.ม.) ๕๑๙
14 เสียงอัตถากามเทพ : ทรงทราบมุทธาและมุทธาธิบาตร (พ.ม.ส.) ๕๒๐
15 เสียงหัตถกเทวบุตร : ทรงอัดแออยู่ด้วยบริษัทนานาชนิด (พ.ม.) ๕๒๑
16 เสียงเทวดาบางตน : ใครดูหมิ่นความอดทนของพระโคดม- ก็เท่ากับคนไม่มีตา (พ.ม.ส.)๕๒๒
17 เสียงท้าวสักกะจอมเทพ :
      ทรงพระคุณที่ชอบใจเทวดา ๘ ประการ (พ.ม.ส.) ๕๒๒
18 เสียงโลหิจจพราหมณ์:
     1) ทรงมีอนามัยเป็นอย่างดี ๕๒๕ :
     2 ทรงดึงผมช่วยคนจะตกเหวไว้ได้ (พ.ม.ส.) ๕๒๕
19 เสียงโสณทัณฑพราหมณ์ : ทรงมีคุณสมบัติสูงทุกประการ ๕๒๖
20 เสียงอุตตรมาณพ :
      1) ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ๕๓๐ :
      2) ทรงมีลีลาศสง่า งดงาม ๕๓๐ :
      3) ทรงมีมรรยาทเป็นสง่า น่าเลื่อมใส ๕๓๑ :
      4) ไม่ทรงตื่นเต้นพระทัยในบ้าน ๕๓๑ :
      5) ทรงฉันภัตตาหารในหมู่บ้าน เรียบร้อยนัก ๕๓๑ :
      6) ไม่ทรงติดในรสอาหาร ๕๓๒ :
      7) ทรงมีวัตรในบาตร ๕๓๒ :
      8) การเสด็จกลับจากฉันในหมู่บ้าน ๕๓๓ :
      9) ทรงนุ่งห่มกะทัดรัด ๕๓๓ :
      10) ทรงมุ่งแต่ความเกื้อกูลสัตว์ ๕๓๓ :
      11) ทรงแสดงธรรมด้วยพระสําเนียงมีองค์๘ ๕๓๔
21 เสียงอุบาลีคหบดีบุรพนิครนถ์ :
      ทรงประกอบด้วย-พระพุทธคุณ ๑๐๐ ประการ (พ.ม.ส.) ๕๓๕
22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล :
      1) ทรงมีคณะสงฆ์ที่ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ๕๔๐ :
      2) ทรงมีคณะสงฆ์ที่พร้อมเพรียง ๕๔๑ :
      3) ทรงมีคณะสงฆ์ที่ชุ่มชื่นผ่องใส ๕๔๑ :
      4) ทรงมีสังฆบริษัทที่เงียบเสียง ๕๔๒ :
      5) ทรงชนะคนมุ่งร้ายที่เข้าเฝ้า ๕๔๓ :
      6) ทรงสามารถปราบโจรที่มหากษัตริย์ก็ปราบไม่ได้ (พ.ม.ส.) ๕๔๔ :
      7) ทรงชนะน้ําใจคนโดยทางธรรม ๕๔๖ :
      8) ทรงเสมอกับพระเจ้าโกศลโดยวัย ๕๔๖
23 เสียงคณกะโมคคัลลานพราหมณ์ : ทรงคบแลไม่ทรงคบบุคคลเช่นไร (พ.ม.) ๕๔๗
24 สียงแห่งมาร
      1) ทรงตัดรอนอํานาจมารเหมือนเด็กลิดรอนก้ามปู (พ.ม.ส.)
๕๔๘ :
      2) ทรงเป็นก้อนหินให้กาโง่สําคัญว่ามันข้น (พ.ม.ส.) ๕๔๙ :
      3) ไม่มีใครนําพระองค์ไปได้ด้วยราคะ ๕๔๙ :
      4) ศัตรูประสบผลเหมือนเอาศีรษะชนภูเขา (พ.ม.ส.) ๕๕๐






หน้า 500
1 ตามเสียงกระฉ่อนทั่วๆไป

    ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ 

        นี่แน่ะอุตตระ ! พระสมณโคดม โอรสเจ้าสากยะ ออกผนวชจากสากย ตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในหมู่ชาววิเทหะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป.  และเสียงที่กล่าวสรรเสริญพระโคดมนั้น กระพือไปแล้วอย่างนี้ว่า

         "เพราะเหตุเช่นนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้ด้วย ตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีที่ฝึกคน ควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน จำแนก ธรรมสั่งสอน สัตว์. 

        
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทำให้แจ้งด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง ซึ่งโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ แล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้. 

        ท่านแสดงธรรมไพเราะใน เบื้องต้นไพเราะในท่ามกลางไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรร ถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.
        การได้เห็นพระอรหัต์ผู้เช่นนี้ เป็นความดี"ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.
        การได้เห็นพระอรหันต์ผู้ เช่นนี้เป็นความดี" ดังนี้.

        แน่ะพ่ออุตระ! เจ้าจงไปเฝูาพระโคดม แล้วสังเกตให้รู้ว่าเป็นความจริง ดั่งเสียง สรรเสริญ ที่กระพือไปอย่างนั้น จริงหรือไม่. 

         เราจักได้รู้จัก พระสมณโคคมไว้ด้วยกัน.


หน้า 501
2 ตามเสียงของผู้สรรเสริญธรรมเทศนา
    ทรงมีธรรมเทศนาเป็นแสงสว่าง

        พระโคดมผู้เจริญเป็นผู้เกิดก่อนใครทั้งหมด พระโคดมผู้เจริญเป็นผู้ ประเสริฐ ที่สุด. พระโคดมผู้เจริญ ! ธรรทเทศนานั้นไพเราะนัก.

        ธรรมเทศนานั้น ไพเราะนัก ธรรมปริยายเป็นอันมาก ที่พระโคดมผู้เจริญ ทรง ประกาศแล้วนี้ เปรียบเหมือนการหงายของที่คว่ำอยู่ เปิดของที่มีสิ่งอื่นปิดไว้ บอกทาง แก่คนหลงทาง หรือว่าจุดไฟไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีตาดีจักได้เห็นรูปทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น. 

        
ข้าพระองค์ขอถึงพระโคดมผู้เจริญนี้ว่าเป็นสรณะ รวมทั้งพระธรรมและพระภิกษุ สงฆ์ ด้วย.

        ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้ถือเอา พระรัตนตรัย เป็นสรณะจนสิ้นชีวิต จําเดิมแต่วันนี้ไป.

        อนึ่งขอพระโคดมผู้เจริญ จงอยู่จําพรรษาในเมืองเวรัญชานี้ พร้อมด้วยพระภิกษุ สงฆ์ทั้งหลาย.


หน้า 501

3 ตามเสียงของปริพพาชก วัจฉโคตร
  1) ทรงแสดงหลักส าคัญตรงกับสาวกอย่างน่าอศัจรรย์๒

         พระโคดมผู้เจริญ ! เรื่องนี้น่าอัศจรรย์ เรื่องนี้ไม่เคยมีมาก่อน ในข้อที่ อรรถ กับ อรรถพยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก ปรากฏว่าแสดงออก ตรงกัน เสมอกัน ไม่ผิดเพี้ยนจากกัน ในบทที่เป็นใจความสําคัญ  

         พระโคดมผู้เจริญ! เมื่อสักครู่มานี่เอง ข้าพระองค์เข้าไปหาพระสมณะ มหาโมคคัลลานะ แล้วได้ถามเนื้อความข้อนี้๑แม้พระสมณะมหาโมคคัลลานะ ก็ได้ ตอบเนื้อความข้อนี้ ให้ข้าพระองค์ทราบ ด้วยบทด้วยพยัญชนะเหล่านี้ เช่นเดียวกับที่ พระสมณโคดม กล่าวนี้เหมือนกัน. 

         พระโคดมผู้เจริญ ! เรื่องนี้น่าอัศจรรย์ เรื่องนี้ไม่เคยมีมาก่อน ในข้อที่อรรถ กับอรรถพยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก ปรากฏว่า แสดงออก ตรงกัน เสมอกัน ไม่ผิดเพี้ยนจากกัน ในบทที่เป็นใจความสําคัญ. 

[ในที่อื่น (สฬา.สํ. ๑๘/๔๖๑/๗๖๑) มีข้อความกล่าวถึงพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกล่าว สรรเสริญเขมาภิกษุณีกะพระผู้มีพระภาค ซึ่งมีลําดับอักษรแห่งการสรรเสริญ โดยนัย เดียวกันกับ ข้อความข้างบนนี้ทุกประการ เพราะเขมาภิกษุณี อธิบายอันตถาหิกทิฎฐิ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ ตถาคตสี่ ตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสทุกประการ ทั้งโดย อรรถะและพยัญชนะ ดูเรื่องราวนี้ ได้จากหัวข้อว่า "ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์ อันตถาหิกทิฎฐิ ส่วนที่เกี่ยวกับตถาคตสี่" ที่หน้า ๓๐๑ แห่งหนังสือเล่มนี้].


หน้า 501-502
3 ตามเสียงของปริพพาชก วัจฉโคตร
   2) ทรงมีคำสอนที่เป็นแก่นแท้ล้วน ๆ 


         พระโคดมผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนต้นสาละ๓ ใหญ่ อยู่ในที่ไม่ไกลแต่หมู่บ้าน หรือนิคม. เพราะความแก่ ชราของต้นไม้นั้น ใบที่กิ่งหลุดร่วงไป เปลือกและสะเก็ด เปลือกหลุดร่วงไป กระพี้หลุดร่วงไปอยู่เรื่อยๆ ตามลําดับๆ.

         ครั้นถึงสมัยหนึ่ง ก็เป็นต้นไม้ที่ปราศจากใบที่กิ่ง ปราศจากเปลือกและสะเก็ด เปลือก ปราศจากกระพี้โดยสิ้นเชิง มีแต่แก่นแท้ๆ ปรากฏอยู่ ข้อนี้ฉันใด คำสอนของ พระสมณโคดม เป็นคำสอน ที่ปราศจากใบที่กิ่ง ปราศจากเปลือกและสะเก็ด เปลือก ปราศจากกระพี้ มีแต่แก่นแท้ ๆ ปรากฏอยู่ ฉันนั้น. 

         พระโคดมผู้เจริญ ! ธรรมเทศนานี้ไพเราะนัก. ธรรมเทศนานี้ไพเราะนัก. ธรรมปริยายเป็นอันมาก ที่พระโคดมผู้เจริญประกาศแล้วนี้ เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ํา การเปิดของที่ปิด การชี้ทางแก่คนหลงทาง หรือเหมือนการจุดตะเกีย วงไว้ในที่มือ เพื่อว่าคนมีตายังดีจะได้เห็นรูป ฉันใดก็ฉันนั้น. ข้าพเจ้าขอถึงพระ  โคดมผู้เจริญเป็นที่พึ่ง รวมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์.

         ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจําข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก จําเดิมแต่วันนี้ไปจน ตลอดชีวิต.


หน้า 502

3 ตามเสียงของปริพพาชก วัจฉโคตร
  3) ทรงประดิษฐานศาสนพรหมจรรย์ได้บริบูรณ์๑

          พระโคดมผู้เจริญ!พระโคดมเองก็ได้รับความพอใจ(จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย
และพวกภิกษุก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วยและ พวกภิกษุณี ก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย และพวกอุบาสก คฤหัสถ์ นุ่งขาว ประพฤติพรหมจรรย์ (ไม่บริโภคกาม) ก็ได้รับความพอใจ(จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย
และพวก อุบาสก คฤหัสถ์ นุ่งขาว บริโภคกามก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย และพวกอุบาสิกาคฤหัสถ์นุ่งขาว ประพฤติพรหมจรรย(ไม่บริโภคกาม)
ก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย

แต่ว่าพวกอุบาสิกา คฤหัสถ์ นุ่งขาว บริโภคกามยังไม่ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วยแล้วไซร้ พรหมจรรย์ (ศาสนา)นี้ ก็จะยังไม่ถึงซึ่งความ บริบูรณ์ได้ เพราะเหตุนั้น.

พระโคดมผู้เจริญ! แต่เพราะเหตุที่ว่า
พระโคดมเองก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย
และพวกภิกษุก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย
และพวกภิกษุณีก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย
และพวกอุบาสก คฤหัสถ์ นุ่งขาว ประพฤติพรหมจรรย์
ก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้ ด้วย
และพวกอุบาสกคฤหัสถ์ นุ่งขาว บริโภคกาม
ก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์ นี้) ด้วย
และพวกอุบาสิกาคฤหัสถ์ นุ่งขาว ประพฤติพรหมจรรย์
ก็ได้รับความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้) ด้วย
และทั้งพวก อุบาสิกาคหัสถ์ นุ่งขาว บริโภคกาม
ก็ได้รับ ความพอใจ (จากพรหมจรรย์นี้)ด้วย

พรหมจรรย์ (ศาสนา)นี้ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์ได้เพราะเหตุนั้น. 

         พระโคดมผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนแม่น้ําคงคา ลุ่มไปทางสมุทร ลาดไปทาง สมุทร เทไปทางสมุทร แล้วหยุดอยู่ที่สมุทร ฉันใด บริษัทของพระสมณโคดมผู้ เจริญนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรชิต ก็ล้วนแต่โน้มไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เทไปทางนิพพาน และหยุดอยู่ที่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.


หน้า 504-505

4 ตามเสียงของคณกะ โมคคัลลานพราหมณ์
  "โอวาทของพระโคดมเป็นยอด"

         พระโคดมผู้เจริญ !
บรรดาไม้มีรากหอม เขากล่าวว่าราก กาฬานุสารีเป็น ยอด.
บรรดาไม้มีแก่นหอม เขากล่าวว่า จันทน์แดง เป็นยอด.
บรรดาไม้มีดอกหอม เขากล่าวว่า ดอกมะลิ (วสฺสิก) เป็นยอด แม้ฉันใด
บรรดาปรามัตถธรรมทั้งหลาย โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมเป็นยอดฉันนั้นแล

         พระโคดมผู้เจริญ ! ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก ๆ.
         พระโคดมทรง ประกาศธรรมเทศนาโดยปริยายเป็นอันมากนี้ เหมือนหงายของ ที่คว่ําอยู่หรือ เหมือนเปิดของที่ปกปิดอยู่ หรือเหมือนชี้บอกหนทางให้แก่คนหลงทาง หรือ เหมือนอย่างตามตะเกียงในที่มืด ให้คนตาดีได้เห็นรูป ฉะนั้น.

         ข้าพเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญ และพระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.
         ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจําข้าพเจ้าไว้ ว่าเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิตในกาลมีวันนี้เป็น ต้นไป.


หน้า 506
5 ตามเสียงของสจัจกะนิครนถบตุร
   เจอะพระโคดมแล้ว ไม่มีรอดไปได้

          พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้านั่นเทียว เป็นคนคอยกําจัดคุณของผู้อื่นเป็น คนคะนองวาจาเพราะได้สําคัญถ้อยคําของพระโคดมว่า ตัวอาจหักล้างได้ด้วย ถ้อยคําของตัว. 

         พระโคดมผู้เจริญ ! บุรุษมาปะทะช้างอันซับมันเข้าก็ดี เจอะกองไฟอัน กําลัง ลุกโชนก็ดี เผชิญงูที่มีพิษร้ายก็ดี ก็ยังมีทางเอาตัวรอดได้บ้าง. แต่มาเจอะ พระโคดม เข้าแล้วไม่มีทางเอาตัวรอดได้เลย.

         ข้าพเจ้านั่นเทียวเป็นคนคอยกําจัดคุณของผู้อื่น เป็นคนคะนองวาจา เพราะได้ สําคัญถ้อยคําของพระโคดม ว่าตัวอาจหักล้างได้ด้วยถ้อยคําของตัว ขอพระโคดม พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อฉันในพรุ่งนี้.


506

6 ตามเสียงของเจ้าลิจฉวี ทุมมุขะ
  ทรงหักล้างถ้อยคำของปรป๎กษ์ได้ เหมือนเด็ก ๆ รุมกันต่อยก้ามปู 

         เปรียบเหมือนในที่ใกล้แห่งบ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่ง ในสระนั้น มีปูตัวหนึ่ง มีเด็กชายหญิงเป็นอันมากออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปถึง สระโบกขรณี นั้นแล้ว ก็ลงจับปูนั้นขึ้นมาจากน้ํา วางไว้บนบก ปูนั้นจะน้อม ก้ามไป ข้างไหน เด็กเหล่านั้น ก็จะคอยต่อยก้ามปูนั้นด้วยท่อนไม้หรือก้อนหินกรวด ครั้นปู นั้นมี ก้ามหักหมดอย่างนี้แล้ว ก็ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้อีกเหมือนอย่างก่อน ข้อนี้ ฉันใด

           ทิฎฐิที่เป็นเสี้ยนหนามปกคลุมอยู่ ยักไปยักมาไม่อยู่ในร่องรอยบางอย่าง อย่างของสัจจกะอัน พระผู้มีพระภาค เจ้าทรงทําให้ขาดให้หักให้หลุดเสียแล้ว ต่อนี้ไป สัจจกะไม่อาจเข้ามาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประสงค์จะโต้ตอบได้อีก ฉันนั้น. 

         เมื่อเจ้าทุมมุขลิจฉวีกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกะพูดกับเธอว่า "เจ้าทุมมุขะ ! ท่านหยุดเถิด ท่านหยุดเถิด ท่านเป็นคนปากมากนัก ข้าพเจ้าไม่ได้พูดหารือ กับท่าน ข้าพเจ้า พูดหารือกับพระโคดมต่างหาก".


506

7 ตามเสียงของปริพพาชกคณะแม่น้ำสัปปีนี
  ไม่มีช่องทางที่ใครจะขันสู้พระผู้มีพระภาคเจ้า

         นี่แน่ะสรภะ ! สุนัขจิ้งจอกในปุาใหญ่ ทะยานใจว่าจักบันลือสีหนาท ครั้น ร้องออกมาจริง ก็ร้องเป็นเสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นแหละ ร้องเป็นเสียงสุนัขป่าอยู่นั่นเอง นี้ฉันใด
         สรภะ ! ท่านเองก็ฉันนั้น ลับหลังพระสมณโคดมคุยว่า "ข้าจัก บันลือ สีหนาท" แต่แล้วก็ร้องเป็นเสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นแหละ ร้องเป็นเสียงสุนัขปุา อยู่นั่นเอง. 
ลูกไก่เจี๊ยบ ทะยานใจว่าจักขันให้เหมือนเสียงพ่อไก่ ครั้นขันออกมาจริงก็ ร้องเป็นเสียงลูกไก่เจี๊ยบ อยู่นั่นเอง ฉันใด

         สรภะ ! ท่านเองก็ฉันนั้น ลับหลังพระ สมณโคดม คุยว่า "ข้าจักขัน" แต่แล้ว ก็ร้องเจี๊ยบ ๆ นั่นเอง. โคอยู่ในโรงว่างเงียบตัวเดียว ก็ทะยานใจว่าเสียงของตัวก้อง ฉันใด

         สรภะ ! ท่านเองอยู่ลับหลังพระสมณโคดม ก็สําคัญว่าเสียงของตัวอุโฆษ ฉันนั้น.


507

8 ตามเสียงของสังคมวิญญูชน
  1) ทรงปฏิบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น (ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน)

         กัสสปะ ! เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วกล่าวว่า "แน่ะท่าน ! ในบรรดาฐานะเหล่านั้น ๆ ฐานะใดลงกันไม่ได้ ฐานะนั้นจงยกไว้ ฐานะใดที่ลงกัน ได้ ในฐานะนั้นแหละ วิญญุชนจงหยิบขึ้นมาพิจารณา แยกแยะ สอบสวนดูโดยทํา การเปรียบคู่กันระหว่างศาสดากับศาสดา ระหว่างหมู่สงฆ์กับหมู่สงฆ์ ว่า"

           ธรรมเหล่าใดที่ผู้เจริญเหล่านี้ บัญญัติตรงกันว่าเป็นอกุศล นับเนื่องใน อกุศล เป็น ธรรมมีโทษ นับเนื่องในธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ นับเนื่องใน ธรรมไม่ควร เสพ เป็นธรรมไม่ควรแก่อริยะ นับเนื่องในธรรมไม่ควรแก่อริยะ เป็นธรรมดํา นับ เนื่องในธรรมดํา นั้น ๆ ใครเล่า ละขาดธรรมเหล่านั้น ไม่มีเหลือ แล้วประพฤติ เป็นไปอยู่ จะเป็นพระสมณโคดม หรือ หรือว่าจะเป็น คณาจารย์ ผู้เจริญเหล่า อื่น".

         กัสสปะ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่แล :...กัสสปะ! ในกรณีอย่างนี้นั้น เมื่อวิญํูชน หยิบขึ้นมาพิจารณา แยกแยะ สอบสวนดูอยู่ เขาจะสรรเสริญพวกเรา (พระองค์ กับสาวกของพระองค์) ในข้อนั้นแหละ เป็นอย่างมาก. 

          กัสสปะ ! อีกประการหนึ่ง วิญญูชนจงหยิบขึ้นมาพิจารณา แยกแยะสอบสวน ดู โดยทําการเปรียบคู่กันระหว่างศาสดากับศาสดา ระหว่างหมู่สงฆ์ กับหมู่สงฆ์ว่า "ธรรมเหล่าใดที่ผู้เจริญเหล่านี้ บัญญัติตรงกันว่าเป็นกุศล นับเนื่อง ในกุศล เป็นธรรม ไม่มีโทษ นับเนื่องในธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมควรเสพนับเนื่องใน ธรรม ควรเสพ เป็นธรรมควรแก่อริยะ นับเนื่องในธรรมควรแก่อริยะ เป็นธรรม ฝ่ายขาว นับเนื่องใน ธรรมฝ่ายขาวนั้น ๆ ใครเล่าสมาทานธรรมเหล่านั้นหมดจด ไม่มีส่วนเหลือ แล้ว ประพฤติเป็นไปอยู่ จะเป็นพระสมณโคดมหรือ หรือว่าจะเป็นคณาจารย์ผู้เจริญ เหล่าอื่น"

          กัสสปะ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่แล ...กัสสปะ ! ในกรณีอย่างนี้นั้น เมื่อวิญญููชน หยิบขึ้นมาพิจารณา แยกแยะสอบสวนดูอยู่เขาจะ สรรเสริญพวกเรา (พระองค์กับสาวก ของพระองค์) ในข้อนั้นแหละเป็นอย่างมาก.          


509

8 เสียงสังคมวิญญููชน
  2) สาวกของพระองคป์ฏิบัติได้เลิศกว่าพวกอื่น (ในหลักธรรมอย่างเดียวกัน)

        ...กัสสปะ ! อีกประการหนึ่ง วิญญุชน จงหยิบขึ้นมาพิจารณาแยกแยะ สอบสวนดู โดยทําการเปรียบ เทียบคู่กันระหว่างศาสดากับศาสดา ระหว่างหมู่สงฆ์ กับหมู่สงฆ์ ว่า "ธรรมเหล่าใดที่ผู้เจริญเหล่านี้ บัญญัติ ตรงกันว่าเป็นอกุศลนับเนื่อง ในอกุศล เป็นธรรมมีโทษ นับเนื่องในธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ นับเนื่องใน ธรรมไม่ควรเสพ เป็นธรรมไม่ควรแก่อริยะ นับเนื่องในธรรมไม่ควรแก่อริยะ เป็นธรรมดํา นับเนื่องในธรรมดํา นั้น ๆ ใครเล่า ละขาดธรรมเหล่านั้นไม่มีเหลือ แล้ว ประพฤติ เป็นไปอยู่ จะเป็น หมู่สงฆ์สาวกของพระสมณโคดม หรือ หรือว่าจะ เป็น หมู่สงฆ์สาวก ของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น".

         กัสสปะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่ และ ...กัสสปะ ! ในกรณีอย่างนี้นั้น เมื่อ วิญญูชน หยิบขึ้นมาพิจารณา แยกแยะ สอบสวนดูอยู่ เขาจะสรรเสริญพวกเรา (พระองค์กับสาวกของพระองค์) ในข้อนั้น แหละเป็นอย่างมาก. 

        กัสสปะ ! อีกประการหนึ่ง: วิญูญชนจงหยิบขึ้นมาพิจารณา แยกแยะ สอบสวนดู โดยทําการเปรียบคู่กันระหว่าง ศาสดากับศาสดา ระหว่างหมู่สงฆ์กับ หมู่สงฆ์ ว่า "ธรรมเหล่าใดที่ผู้เจริญเหล่านี้ บัญญัติตรงกันว่าเป็นกุศล นับเนื่องใน กุศล เป็นธรรม ไม่มีโทษ นับเนื่องในธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมควรเสพนับเนื่องใน ธรรมควรเสพ เป็นธรรมควรแก่อริยะ นับเนื่องในธรรมควรแก่อริยะเป็นธรรม ฝุายขาว นับเนื่องในธรรม ฝุายขาวนั้น ๆ ใครเล่าสมาทานธรรมเหล่านั้นหมดจด ไม่มีส่วนเหลือ แล้วประพฤติ เป็นไปอยู่ จะเป็น หมู่สงฆ์สาวกของ

        พระสมณโคดม หรือ หรือว่าจะเป็นหมู่สงฆ์สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญ เหล่าอื่น". กัสสปะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่แล : ...

        กัสสปะ ! ในกรณีอย่างนี้นั้นเมื่อวิญญููชน หยิบขึ้นมาพิจารณา แยกแยะ สอบสวนดูอยู่ เขาจะสรรเสริญพวกเรา (พระองค์ กับสาวกของพระองค์) ในข้อนั้น แหละ เป็นอย่างมาก.


510-511
9 ตามเสียงของวัชชิยมาหิตคหบดี
    : ทรงเป็นวิภัชชวาที มิใช่ เอก สวามี


         (พวกอัญญเดียรถีย์ ได้กล่าวกะวัชชิยมาหิตคหบดีว่า "คหบดี ! ได้ยินว่า พระสมณ โคดมติเตียนตบะทั้งปวงหรือ ย่อมด่า ย่อมว่าร้าย ซึ่งผู้บําเพ็ญตบะ มีการเป็นอยู่ ปอน ๆ ทั้งปวง โดยส่วนเดียวหรือ?"คหบดีตอบว่า) 

         "ท่านผู้เจริญ ท. ! พระผู้มีพระภาคมิได้ติเตียนตบะทั้งปวง ย่อมไม่ด่าไม่ว่า ร้ายซึ่งผู้บําเพ็ญตบะมีการเป็นอยู่ปอน ๆ ทั้งปวง โดยส่วนเดียวด้วย. 

         ท่านผู้เจริญ ท.! พระผู้มีพระภาคทรงตําหนิผู้ที่ควรตําหนิทรงสรรเสริญผู้ที่ควร สรรเสริญ.
         ท่านผู้เจริญ ท.! เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน สรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญอยู่เช่นนี้ จึงทรงเป็น วิภัชชวาที๒พระผู้มีพระภาคนั้น หาได้ทรงเป็น เอก สวาที๒ ในข้อนี้ไม่".

        ครั้นวัชชิยมาหิตคหบดีกล่าวดังนี้แล้ว ปริพพาชกผู้หนึ่งได้กล่าวกะคหบดีนั้น ว่า"คหบดี ! ท่านหยุดก่อน ในข้อที่ท่านกล่าวสรรเสริญคุณของพระสมณโคดม พระสมณโคดมนั้น เป็นเวนยิโก (ผู้นําไปกระทําให้วินาศ) เป็นอัปป๎ญญัติโก (ผู้ไม่มีบัญญัติ)" ดังนี้.

         วัชชิยมาหิต คหบดี ได้กล่าวตอบ ดังนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ท. ! แม้ในข้อนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน ท. อย่างเป็นธรรมว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติว่า ข้อนี้เป็นกุศล ข้อนี้เป็นอกุศล เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ซึ่งกุศลอกุศลอยู่ดังนี้ จึงชื่อว่าเป็นสัปป๎ญญัตติโก (ผู้มีบัญญัติ) พระผู้มีพระภาคนั้น หาได้เป็นเวนยิโก อัปป๎ญญัตติโก ไม่ ดังนี้". (เมื่อได้ฟ๎งดังนี้ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพพาชกก็เงียบไป.)


511

10 ตามเสียงของโปฎฐปาทปริพพาชก
    : ทรงบัญญัติหลักเรื่อง "ตถา"


        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้ว ไม่นาน. ปริพพาชกเหล่านั้นได้รุมกันตัดพ้อข้าพระองค์โดยรอบด้านว่า ท่านโปฎฐ ปาทปริพพาชกผู้เจริญนี้ เป็นอย่างนี้เอง : พระสมณโคดมกล่าวถ้อยคําใด ท่านก็ อนุโมทนาถ้อยคําของพระสมณโคดมนั้นว่า

         "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ข้อนั้นถูก แล้วข้าแต่พระสุคต ! ข้อนั้นถูกแล้ว" ดังนี้; แต่ว่าพวกเราไม่ได้รับทราบเอกังสิก ธรรมจากพระสมณโคดมแม้หน่อยเดียว ว่าโลกเที่ยง หรือไม่เที่ยง โลกมีที่สิ้นสุด หรือไม่มีที่สิ้นสุด ชีวะก็ดวงนั้น ร่างกาย ก็ร่างนั้น หรือว่าชีวะก็ดวงอื่นร่างกายก็ ร่างอื่น ตายแล้วย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้ว หรือว่าตายแล้วไม่เป็นอย่างที่เป็นมา แล้วอีก ตายแล้วย่อมเป็นอย่าง ที่เป็นมาแล้วอีก ก็มีไม่เป็นก็มี หรือว่าตายแล้วเป็นอย่างที่ เป็นมาแล้วอีกก็ไม่ใช่ไม่เป็นก็ไม่ใช่ ดังนี้. 

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อปริพพาชก ท. เหล่านั้นกล่าวดังนี้แล้วข้า พระองค์ได้กล่าวกะพวกเขา เหล่านั้นว่า ถึงแม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่ได้รับทราบ เอกังสิกธรรม จากพระสมณโคดมแม้หน่อยเดียว ว่าโลกเที่ยง หรือไม่เที่ยง โลก มีที่สิ้นสุด หรือไม่มีที่สิ้นสุด ...ฯลฯ... ตายแล้วย่อมเป็นอย่าง ที่เป็นมาแล้วอีก ก็มี ไม่เป็น ก็มีหรือ ว่าตายแล้วเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็ไม่ใช่ไม่เป็นก็ไม่ใช่ ก็แต่ว่า พระสมณโคดม ย่อมบัญญัติ ภูตปฏิปทา ตัจฉปฏิปทา ตถาปฏิปทา อันเป็นธัมมัฏฐิตตา เป็นธัมม นิยามตา.

         เมื่อพระสมณโคดมบัญญัติ ซึ่งภูตปฏิปทา ตัจฉปฏิปทา ตถาปฏิปทาอัน เป็นธัมมัฏฐิตตา เป็นธัมมนิยามตา อยู่ดังนี้ ไฉนเล่า วิญญูชนเช่นกับข้าพเจ้า จะไม่ พึงอนุโมทนาซึ่งสุภาษิตของพระสมณโคดม โดยความเป็นสุภาษิตดังนี้. 

         หมายเหตุ : เอกังสิกธรรม คือ ธรรมที่มีการกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียว ไม่มี ข้อแม้ว่า จะต้องเป็นไปตามเหตุตามป๎จจัย. ส่วนตถาปฎิปทา เป็นต้น ซึ่งเป็น ธัมมัฎฐิตตา เป็นธัมมนิยาม ตานั้น หมายถึงอิทัปป๎จจยตาปฎิจจสมุปบาท ซึ่งกล่าวถึง สิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นไปตามเหตุตาม ป๎จจัย ไม่อาจจะกล่าวสิ่งใดว่าเป็นไปโดย ส่วนเดียว เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดได้ (ดูปฎิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ หน้า ๔๓). -ผู้รวบรวม


513
11 ตามเสียงของปีโลติกะ ปริพพาชก
  ทรงมีคุณธรรมลึกจนผู้อื่นได้แต่เพียงอนุมานเอา 

         ชาณุสโสณีพราหมณ์เห็นปิโลติกะปริพพาชกเดินมาแต่ที่ไกล ได้ถามว่า "ท่านผู้เป็นวัจฉายนโคตร ย่อมมาแต่ไหนแต่ยังวันเช่นนี้?"
        "ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้ามาแต่สํานักพระสมณโคดม". 
        "ท่านวัจฉายนโคตรผู้เจริญ ! บัณฑิตพากันถือว่าพระสมณโคดมมีความรอบ รู้และความเฉียบแหลมเพียงไหน?" 
          "ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้านะหรือ จักรู้จักความรอบรู้และความเฉียบแหลม ของพระสมณโคดมว่าเป็นอย่างไรได้ คนที่จะรู้ได้ ก็มีแต่คนที่มีความรอบรู้และ ความเฉียบแหลมเท่ากับพระสมณโคดมเท่านั้น" 
        "ท่านผู้เจริญ ! ท่านผู้เป็นวัจฉายนโคตรย่อมสรรเสริญพระสมณโคดมกับ เขาด้วยอย่างมากมายเหมือนกันหรือ?" 
          "ท่านผู้เจริญ ! อะไร ข้าพเจ้านะหรือจะไม่สรรเสริญพระสมณโคดม.
          พระสมณโคดมนั้น เป็นผู้ที่ใคร ๆ พากันสรรเสริญกันทั่วหน้า ว่าเป็นผู้ประเสริฐ กว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย". 
         "ท่านผู้วัจฉายนโคตร เห็นอํานาจประโยชน์ของอะไร จึงได้มีความเลื่อมใส ในพระสมณโคดมมากมายถึงเพียงนี้?"
          "ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเป็นใครไหนมา ที่จะไม่เลื่อมใสอย่างมากมายในพระ สมณโคดม.

        
เรื่องนี้ เปรียบเหมือนนักล่าช้างผู้ฉลาด เข้าไปในปุาช้างได้เห็นรอย เท้าช้าง ในป่านั้น โดยยาวก็ยาวมากโดยกว้างก็กว้างมาก เขาก็ถึงความแน่ใจได้ว่า ช้างตัวนี้ ใหญ่ ข้อนี้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น ในกาลใดได้เห็นเครื่องยืนยัน ๔ ประการใน พระสมณโคดม ในกาลนั้นข้าพเจ้าก็ถึงความแน่ใจว่า พระผู้มีพระภาค เจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นตรัสไว้ ถูกต้องแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. 

        "ท่านผู้เจริญ ! เครื่องยืนยัน ๔ ประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ

          (๑) ข้าพเจ้าได้เห็น ขัตติยบัณฑิต บางพวก มีป๎ญญาละเอียดสุขุม เคยทําการ โต้วาทะ มาอย่างเชี่ยวชาญ มีป๎ญญาคมกล้าปานว่าจะแทงขนเนื้อทราย ได้เที่ยว ทําลาย ความคิดเห็นของผู้อื่นอยู่ด้วยป๎ญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นได้ฟ๎งข่าวว่า พระสมณ โคดมประทับอยู่ที่หมู่บ้านหรือนิคมชื่อนั้น ๆ เขาพากันผูกป๎ญหาเตรียมไว้ ทุกลู่ทุก ทางว่า ถ้าเราถามป๎ญหานี้กะพระสมณโคดม ถ้าพระสมณโคดม แก้อย่างนี้ เราจะ แย้งอย่างนั้น ถ้าแก้อย่างนั้น เราจะแย้งอย่างนี้ แล้วพากันไปสู่หมู่บ้าน หรือ สู่นิคม ที่พระสมณโคดมประทับอยู่ ครั้นไปถึงแล้วได้เข้าไปเฝ้า พระสมณโคดม ถึงที่ประทับ.

          พระสมณโคดมได้แสดงธรรมิกถา ได้ปลุกใจขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ให้มีกําลัง ใจกล้าหาญร่าเริง ด้วยธรรมิกถา บัณฑิตเหล่านั้น ถูกชี้แจงปลุกใจให้มีกําลังใจ กล้าหาญร่าเริงเช่นนั้นแล้ว ก็หาได้ถามป๎ญหาไม่ แล้วจะพูดอะไรกันถึงการแย้ง ตามที่คิดกันไว้.

         เขาพากันกลายเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่นเอง หมดสิ้นไม่มีเหลือ. ท่านผู้เจริญ! ในกาลใดข้าพเจ้าได้เห็นเครื่องยืนยันประการที่ ๑ นี้ ในพระสมณโคดม ในกาลนั้น ข้าพเจ้าก็ถึงความแน่ใจว่า `พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ตรัสรู้ ชอบ ด้วยพระองค์ เอง.

         พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสไว้ถูกต้องแล้วพระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว' ดังนี้.  "ท่านผู้เจริญ !

          (๒) ข้าพเจ้าได้เห็น พราหมณบัณฑิต บางพวก มีป๎ญญา ละเอียดสุขุม เคยทําการโต้วาทะมาอย่างเชี่ยวชาญ...(ฯลฯ)... (มีข้อความทํานอง เดียวกับข้อที่ ๑ ทุกอย่างจนตลอดทั้งข้อ) "ท่านผู้เจริญ !

          (๓) ข้าพเข้าได้เห็น คหบดีบัณฑิต บางพวก มีป๎ญญา ละเอียดสุขุม เคยทําการโต้วาทะมาอย่างเชี่ยวชาญ...(ฯลฯ)... (มีข้อความทํานอง เดียวกับข้อที่ ๑ ทุกอย่าง จนตลอดทั้งข้อ

        "ท่านผู้เจริญ !(๔) ข้าพเจ้าได้เห็น สมณบัณฑิต บางพวก มีป๎ญญา ละเอียดสุขุม เคยทําการโต้วาทะมา อย่างเชี่ยวชาญ...(ฯลฯ)... แล้วจะพูดอะไรกันถึง การแย้งตามที่คิดกันไว้. เขาพากันทูลขอโอกาสกะพระสมณ โคดม เพื่อการบรรพชา บวชจากเรือนถึงความไม่มีเรือน หมดสิ้นไม่มีเหลือ.พระสมณโคดมย่อมให้บรรพชา แก่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น.

         บัณฑิตเหล่านั้น ครั้นบวชแล้วในธรรมวินัยนั้นเป็นผู้ หลีกออกสู่ที่สงัด ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปในสมาธิภาวนาอยู่ เป็นปรกติ ไม่นานเลย ก็ทําให้แจ้งได้ ซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันไม่มีพรหมจรรย์ อื่น ยิ่งกว่า อันเป็นที่ปรารถนา ของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน ได้ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงสุขอันเกิดแต่พรหมจรรย์ นั้นแล้วแลอยู่.

         ท่าน เหล่านั้นได้พากันกล่าวว่า `ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! เราไม่ขยี้หัวใจของเราอีก ต่อไป.เราไม่ขยี้หัวใจของเราอีกต่อไป.ก่อนหน้านี้ พวกเราไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญญาว่าตัวเอง เป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์ ก็ปฏิญญาตัวเองว่าเป็น พราหมณ์ ไม่เป็นอรหันต์ ก็ปฏิญญาตัวเอง ว่าเป็นอรหันต์.

บัดนี้ พวกเราเป็น สมณะแล้ว บัดนี้พวกเราเป็นพราหมณ์แล้ว บัดนี้พวกเราเป็น อรหันต์ แล้ว.' ดังนี้.

         ท่านผู้เจริญ ! ในกาลใดข้าพเจ้าได้เห็นเครื่องยืนยันประการที่ ๔ นี้ ในพระ สมณโคดม ในกาลนั้นข้าพเจ้าก็ถึงความแน่ใจว่า `พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.
          พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสไว้ อย่างถูกต้องแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ปฏิบัติดีแล้ว' ดังนี้. 

         "ท่านผู้เจริญ ! ในกาลใด ข้าพเจ้าได้เห็นเครื่องยืนยันทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ ในพระสมณโคดม ในกาลนั้น ข้าพเจ้าได้ถึงความแน่ใจแล้วว่า`พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง. พระธรรมเป็นสิ่ง          

        ที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสไว้อย่างถูกต้องแล้ว. พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้านั้น ปฏิบติดีแล้ว'ดังนี้".  

          ลําดับนั้น ชาณุสโสณีพราหมณ์ได้ลงจากรถ ทําผ้าห่มเฉวียงบ่า ประณมมือ อัญชลีไป ทางทิศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ กล่าวอุทานนี้ขึ้น ๓ ครั้งว่า 
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ! 
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ! 
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ! 

          และว่า เมื่อไรหนอเรา จะพึงพบปะสมาคมกับพระสมณโคดมนั้น ทําอย่างไรหนอ จะได้สนทนาเรื่องไร ๆ กับพระสมณโคดมนั้น ดังนี้.


516
12 ตามเสียงของปิงคิยานีพราหมณ์
    ทรงอยู่เหนือคำสรรเสริญของคนธรรมดา

         (การสนทนาระหว่างการณปาลีพราหมณ์ กับปิงคิยานีพราหมณ์ ปรารภพระผู้มี พระภาค ดังต่อไปนี้)  "ท่านปิงคิยานีผู้เจริญ ! ท่านสําคัญความรอบรู้ และ ความเฉียบแหลมของ พระสมณโคดม ว่าเป็นอย่างไร เห็นจะเป็นบัณฑิตเชียวนะ !" 

          "ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าจะรู้ถึงความรอบรู้และความเฉียบแหลมของพระ สมณโคดม อย่างไรได้; ผู้ที่จะรู้ได้ ก็ต้องเป็นเหมือนพระสมณโคดมเท่านั้น."
        "ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานี ย่อมสรรเสริญพระสมณโคดม ด้วยคําสรรเสริญอัน โอฬาร". "ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเป็นใครที่ไหนมา ที่จะสรรเสริญพระสมณ โคดมได้.

          พระสมณโคดมนั้น เขาสรรเสริญกันแล้วสรรเสริญกันอีก ว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่า เทวดาและมนุษย์ ท.". 
         "ก็ท่านปิงคิยานีผู้เจริญ เห็นอยู่ซึ่งอํานาจแห่งประโยชน์อะไรในพระสมณโค ดมนั้นจึงได้เลื่อมใสยิ่ง ถึงอย่างนี้?" 

         "ท่านผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนบุรุษได้อิ่มหนําด้วยรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ อยากที่จะดื่มรสอันเลวอย่างอื่น ฉันใด; ท่านผู้เจริญเอ๋ย! บุคคลฟ๎งธรรมของพระ สมณโคดมโดยลักษณะใด ๆ คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ อัพภูตธรรมะ แล้ว เขาย่อมไม่อยากที่จะฟ๎งธรรมของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะ นั้น ๆ ฉันนั้น. 

         "ท่านผู้เจริญ ! หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความหิว อ่อนเพลียเป็นกําลังพบ ก้อนแห่งน้ําผึ้ง ก็จะพึงลิ้ม โดยลักษณะที่เขาจะได้รสอันอร่อยไม่เจือปน ฉันใด;

         
ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! บุคคลฟ๎งธรรมของพระสมณโคดม โดยสุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะอัพภูตธรรมะ ใดๆ เขาย่อมได้ความพอใจ ย่อมได้ความเลื่อมใสแห่งใจ โดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น. 

        
"ท่านผู้เจริญ !  หรือเปรียบเหมือนบุรุษได้ปุุมไม้จันทน์  ของไม้จันทน์ เหลืองหรือไม้จันทน์แดง เขาสูดกลิ่นที่ตอนล่าง หรือตอนกลาง หรือตอนบน ใด ๆ เขาก็ย่อมได้รับกลิ่นหอมอันไม่เจือปน ฉันใด;

         ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! บุคคลฟ๎งธรรม ของพระสมณโคดม โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ อัพภูตธรรมะ ใดๆ เขาพึง ประสบความปราโมทย์ความโสมนัส โดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น. 

        
"ท่านผู้เจริญ ! หรือเปรียบเหมือนบุรุษอาพาธ มีความทุกข์ ปุวยหนักหมอผู้ ฉลาดกําจัดอาพาธของเขาออกไปได้โดยฐานะ ฉันใด;

          ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! บุคคลฟ๎ง ธรรมของพระสมณโคดม โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ อัพภูตธรรมะใด ๆโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ของเขา ย่อมถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ โดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น. 

         
"ท่านผู้เจริญ !  หรือว่าเปรียบเหมือนสระโบกขรณี  มีน้ําเป็นประกาย น่ายินดี เป็นน้ําเย็น ขาวจับแสงฟูา มีท่าสะดวกสบาย น่ารื่นรมย์.

         บุรุษคนหนึ่งเดิน มา มีตัวร้อนระอุ กลุ้มอยู่ด้วยความร้อน เหน็ดเหนื่อย ตัวสั่น ระหายน้ําอยู่ เขาลง สู่สระโบกขรณี อาบแล้ว ดื่มแล้ว ระงับความกระวนกระวาย ลําบาก เร่าร้อนทั้ง ปวงได้ ฉันใด

         ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! บุคคลฟ๎งธรรมของพระสมณโคดม โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ อัพภูตธรรมะ ใดๆ ความกระวนกระวาย ความลำบาก ความเร่าร้อน (แห่งจิต) ของเขาย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้น ฉันนั้น." ดังนี้.

        (เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์ กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ ได้ลุกขึ้นจาก อาสนะ ทําผ้าห่มเฉลียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนพื้นดิน ประณมอัญชลี ไปทาง ทิศที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ได้กล่าวอุทานนี้ขึ้น ๓ ครั้ง ว่)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.  นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพฺทฺธสฺส.  นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.          


519
13 ตามเสียงของวัสสการพราหมณ์
  ทรงมีคุณธรรมสูง ๔ ประการ 

        พระโคดมผู้เจริญ ! เรื่องนี้น่าอัศจรรย์ เรื่องนี้ไม่เคยมีมาก่อน ก็ตามที่ พระองค์ตรัสนี้ข้าพพระองค์จักจําไว้ว่า พระองค์ประกอบพร้อมด้วยธรรม๔ ประการนี้ คือ
        (๑) พระโคดมผู้เจริญเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุข ของมหาชน เพื่อยังประชุมชนเป็นมากให้ประดิษฐานอยู่ในอริยญายธรรม คือ ความเป็นผู้มีธรรมงาม มีธรรมเป็นกุศล. 

        (๒) พระโคดมผู้เจริญจ านงจะตรึกเรื่องใด ก็ตรึกเรื่องนั้นได้ ไม่จำนงจะ ตรึกเรื่องใด ก็ไม่ตรึกเรื่องนั้นได้ จ านงจะด าริเรื่องใดก็ดำริเรื่องนั้นได้ ไม่จำนง จะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้นได้ ทั้งนี้เป็นเพราะพระโคดมเป็นผู้มีอำนาจ เหนือจิต ในคลองแห่งความตรึกทั้งหลาย. 

        
(๓) พระโคดมผู้เจริญเป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้โดยไม่ยากได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในภพป๎จจุบันนี้ อันเป็นธรรมเป็นไป ในทางจิตชั้นสูง. 

        
(๔) พระโคดมผู้เจริญกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ ป๎ญญาวิมุตติอันไม่ มีอาสวะเพราะหมดอาสวะแล้ว ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้ว และอยู่ใน วิหารธรรมนั้น ในภพเป็นป๎จจุบันนี้ ดังนี้.


520

14 ตามเสียงของอตัถกามเทพ
     ทรงทราบมุทธาและมุทธาธิบาต 

         ดูก่อนพราหมณ์ ! แม้ข้าพเจ้า ก็ไม่ทราบเรื่องนั้น. ความรู้เรื่องนั้นของข้าพเจ้า ไม่มี เพราะว่า เรื่องมุทธาและ  มุทธาธิบาตนั้น เป็นธรรมทัศนะ สำหรับท่านผู้เป็นชินะ เท่านั้น. ...(แต่ว่า) มีพระสมณสากยบุตร ผู้เป็นเชื้อสายแห่งพระเจ้าโอกกากราช ออกผนวชแล้วจาก นครกบิลพัสดุ์ เป็นผู้นําแห่งชาวโลก เป็นผู้กระทําความสว่างแก่ มหาชน เป็นผู้ตรัสรู้เอง ถึงฝ๎่งแห่งธรรมทั้งปวง บรรลุซึ่งอภิญญาและพละครบถ้วน  มีจักษุในธรรมทั้งหลาย ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง หลุดพ้นแล้วในธรรม เป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิ เป็นพระพุทธ เจ้าผู้มีภัคยธรรมในโลก มีพุทธจักษู ทรงแสดงธรรมอยู่แล้ว. 

          ท่านจงไปทูลถามเถิด พระองค์จักทรงแสดงซึ่งมุทธาและ  มุทธาธิบาต๒ นั้น แก่ท่าน.


521

15  ตามเสียงของหัตถกเทวบุตร

        ทรงอัดแออยู่ด้วยบริษัทนานาชนดิ  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมเหล่าใด ที่ข้าพระองค์เคยประพฤติเมื่อครั้ง เป็นมนุษย์ ธรรมเหล่านั้นข้าพระองค์ ก็ยังประพฤติ อยู่บัดนี้ แถมยังประพฤติธรรม ที่ไม่เคยประพฤติเมื่อครั้งเป็นมนุษย์อีกด้วย. 

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกแวดล้อมแออัดอยู่ ด้วยหมู่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พวกพระราชา มหาอ ามาตย์ พวก เดียรถีย์ และสาวก เดียรถีย์ ข้อนี้ฉันใด ข้าพระองค์ตามปรกติก็เกลื่อนกล่นอยู่ ด้วยเทวบุตร ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน. เทวบุตรทั้งหลายมาแม้แต่ที่ไกล ๆ ตั้งใจ ว่า"เราทั้งหลาย จักฟ๎ง ธรรมในสํานักหัตถกเทวบุตร" ดังนี้. 

        
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ ไม่อิ่มไม่เบื่อของ ๓ อย่างจนตาย.ของ ๓ อย่าง อย่างไรกัน? ๓ อย่างคือ ข้าพระองค์ไม่อิ่มไม่เบื่อการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จนตาย.  ข้าพระองค์ไม่อิ่มไม่เบื่อการได้ฟ๎งพระสัทธรรม จนตาย. 

        
ข้าพระองค์ไม่อิ่มไม่เบื่อการได้อุป๎ฎฐากพระสงฆ์ จนตาย.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ไม่อิ่มไม่เบื่อของ ๓ อย่างนี้แลจนตาย.


522
16 ตามเสียงของเทวดาบางคน

        ใครดูหมิ่นความอดทนของพระโคดมก็เท่ากับคนไม่มีตา  (ในคราวที่พระองค์ ทรงอาพาธด้วยสะเก็ดหินกระทบ ประทับอยู่ที่มัททกุจฉิมิคทายวัน เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า ทรงมีสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนานั้นได้ ไม่กระวนกระวาย ประทับสีห ไสยาอยู่. เทวดาพวกสตุลลปกายิกาจํานวนหนึ่ง เข้ามาเฝูา กล่าวอุทานในที่เฉพาะ พระพักตร์ เทวดาตนหนึ่ง กล่าวว่าทรงอดทนเหมือนช้าง ตนหนึ่งกล่าวว่า ทรงอดทน เหมือนสีหะ ตนหนึ่งว่าเหมือนม้าอาชาไนย ตนหนึ่ง ว่า เหมือนโคจ่าฝูง ตนหนึ่งว่า เหมือนโคลากเข็น ตนหนึ่งว่าเหมือนสัตว์สำหรับออกศึกที่ฝึกดีแล้ว.เทวดาตนสุดท้าย ได้กล่าวอุทาน ดังต่อไปนี้ว่า) 

         ท่านจงดูสมาธิ (ของพระสมณโคดม) ที่อบรมดีแล้ว จงดูจิตที่หลุดพ้นดี แล้ว ที่ไม่ฟูขึ้นเพราะอภิชฌา ไม่แฟบลงเพราะโทมนัส และไม่ต้องข่มต้องห้าม ด้วย สสังขารธรรม อีกต่อไป (ของพระสมณโคดม) บุคคลใด สําคัญบุรุษผู้เปรียบ ได้ด้วยนาคะ เปรียบได้ด้วยสีหะ เปรียบได้ด้วยม้าอาชาไนย เปรียบได้ด้วยโคจ่าฝูง เปรียบได้ด้วยโคลากเข็น เปรียบได้ด้วยสัตว์สําหรับออกศึกที่ฝึกดีแล้ว ว่าเป็นบุรุษ ที่ควรดูหมิ่น; ผู้นั้นเห็นจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็นผู้ไม่มีตาจะดู ดังนี้.


522

17 ตามเสียงของท้าวสักกะจอมเทพ
    : ทรงพระคุณที่ชอบใจเทวดา ๘ ประการ

(ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้กล่าวถามพวกเทวดาชั้นดาวดึงษ์ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท.! ท่าน ท. ปรารถนาจะฟ๎งพระคุณ ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคตามที่เป็นจริง ไหม? เทวดาเหล่านั้น ได้กล่าวรับคําว่า ปรารถนาจะฟ๎ง. ท้าวสักกะได้กล่าวประกาศพระคุณ ๘ ประการของพระผู้ มีพระภาคตามที่เป็นจริงแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงษ์ ด้วยถ้อยคํา ดังต่อไปนี้)
 
         ดูก่อนท่านผู้เป็นเทวดาแห่งชั้นดาวดึงษ์ผู้เจริญ ท.! ท่าน ท. จะสําคัญความ ข้อนี้ว่าอย่างไร (ตามแต่ท่านจะประสงค์) 

         ๑. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ ชนเป็น อันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความเอ็นดูต่อโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อ เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ท. เราไม่เห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วย องค์คุณแม้อย่างนี้เลย ในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. 

         ๒. พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสดีแล้ว เป็นธรรมอันผู้ ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ควรเรียกกันมาดูควร น้อมเข้า มาใส่ตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน. เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ ประกอบด้วยองค์คุณ แม้อย่างนี้ ผู้แสดงธรรมที่ควรน้อมเข้ามาสู่ตนอย่างนี้ เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น. 

        
๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติดีแล้วว่านี้เป็นกุศล นี้เป็น อกุศล นี้ประกอบด้วยโทษ นี้ไม่ประกอบด้วยโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพนี้เลว นี้ ประณีต นี้ประกอบด้วยการแบ่งแยกเป็นธรรมดําธรรมขาว. เราไม่เห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้ ผู้บัญญัติแล้วซึ่งธรรม ท. โดยความเป็นกุศล อกุศล เป็นต้น อย่างนี้ เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็นนอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น.

         ๔. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น  ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทา แก่สาวก ท. เป็นอย่างดีแล้ว: นิพพานและปฏิปทาย่อมกลมกลืนกัน เปรียบเสมือน  น้ําในแม่น้ำคงคงกับน้ำในแม่น้ำ ยมุนา ย่อมไหลกลมกลืนเสมอกัน. เราไม่เห็นพระ ศาสดาผู้ประกอบด้วยองคคุณแม้อย่างนี้ ผู้บัญญัติปฏิปทาเพื่อให้ถึงซึ่งนิพพาน อย่างนี้เลยในดีตกาล แม้ในการลนี้ก็ไม่เคยเห็นนอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น. 

        
๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น   ทรงได้ซึ่งสหายเป็นผู้ปฏิบัติในระดับ พระเสขะและผู้อยู่จบพรหมจรรย์สิ้นอาสวะ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ทรงละจากหมู่แล้ว ประกอบความยินดีในการอยู่พระองค์เดียว อยู่. เราไม่เห็นพระ ศาสดาผู้ประกอบด้วยองคคุณแม้อย่างนี้ ผู้ประกอบความยินดีในการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้ เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น. 

        
๖. ลาภและเสียงสรรเสริญ ได้พรั่งพร้อมแก่พระผู้มีพระภาคอย่างเดียวกัน กับที่พวกกษัตริย์เขาพอใจกันอยู่ แต่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ปราศจาก ความมัวเมา เสวยพระกระยาหาร. เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองคคุณ แม้อย่างนี้ ผู้เสวยพระกระยาหารอยู่โดยปราศจากความมัวเมาอย่างนี้เลยในอดีต กาลแม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น. 

        
๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรตรัส อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่าเป็นผู้ยถาวาทีตถาการี ยถาการีตถา วาที. เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองคคุณแม้อย่างนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรมแล้วอย่างนี้ เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระ ภาคพระองค์นั้น.

         ๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้วปราศจาก ความสงสัยว่าอะไรเป็นอะไร มีความด าริประสบความสำเร็จแล้ว ถึงกับมีอาทิ พรหมจรรย์ เป็นอัธยาศัย. เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองคคุณแม้ อย่างนี้ผู้มี อาทิพรหมจรรย์ เป็นอัธยาศัยอย่างนี้ เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่ เคยเห็น นอกจาก พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. 

(ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้กล่าวประกาศพระคุณของพระผู้มีพระภาคตามที่เป็นจริงแก่ เทวดาชั้นดาวดึงษ์ ท. ๘ ประการเหล่านี้แล้ว;พวกเทวดาพากันยินดีปรีดา ส่งเสียง กึกก้อง บาง พวกร้องขึ้นว่า ยากจะให้มีพระพุทธเจ้าอย่างนี้เกิดขึ้นในโลกสัก ๔ องค์ บางพวกร้องว่าอยากให้เกิดขึ้นสัก ๓องค์ บางพวกว่า อยากให้เกิดขึ้นสัก ๒ องค์ ท้าวสักกะอธิบายให้ฟ๎งว่าเป็นไปไม่ได้ ที่พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นในโลก พร้อมคราว เดียวกัน เกินกว่า ๑ องค์.)



525

18 ตามเสียงของโลหิจจพราหมณ์
   1) ทรงมีอนามัยเป็นอย่างดี


         เข้ามานี่ เพื่อนโรสิกะ ! พระสมณโคดม อันมหาชนจะไปเฝูาได้ณ ที่ใด ท่านจงเข้าไปเฝูาโดยที่นั้น  แล้วกล่าวตามคําของเรากะพระสมณโคดม ผู้มีอาพาธ น้อย มีโรคน้อย ลุกได้กระปรี้กระเปร่ามีกำลังพลัง มีอันอยู่เป็นผาสุก ว่า ...

         ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ จะทรงรับภัตตาหารของโลหิจจ พราหมณ์ เพื่อภัตตบริโภค ในวันพรุ่งนี้เถิด. :


525
18 ตามเสียงของโลหิจจพราหมณ์
   2) ทรงดึงผมช่วยคนจะตกเหวไว้ได้

         ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนบุรุษ จับบุรุษผู้หนึ่งซึ่งกําลังจะตก ไปสู่เหว ดึงผมลากขึ้นมาให้ยืนอยู่บนพื้นข้างบน ฉันใด ในกรณีนี้ก็ฉันนั้น

         ข้าพระองค์ก็เป็นผู้ซึ่งกําลังจะตกไปสู่เหว อันพระโคดมผู้เจริญดึงผมลาก ขึ้นมาให้ยืนอยู่บนพื้นข้างบนแล้ว อย่างเดียวกัน. ...


526 -529

19 ตามเสียงของโสณทัณฑพราหมณ์
  ทรงมีคุณสมบัติสูงทุกประการ 

         พวกพราหมณ์ ๕๐๐ คนได้กล่าวทัดทาน ห้ามมิให้โสณทัณฑพราหมณ์ เจ้าเมือง จัมปาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กลัวว่าจะเสื่อมเสียเกียรติยศของพวกพราหมณ์ ชั้นสูงสุดไป. โสณทัณฑพราหมณ์ได้กล่าวเหตุผล ที่เขาควรจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ดังต่อไปนี้: 

         ดูก่อน ท่านผู้เจริญ ท. ! ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจงฟ๎งคําของข้าพเจ้าบ้าง ว่าทําไม พวกเราจึงเป็นฝุายที่ควรไปเฝ้า เยี่ยมพระสมณโคดม แทนที่จะให้พระสมณ โคดม เสด็จมาหาพวกเรา. เท่าที่เราได้ทราบมาแล้ว

         พระสมณโคดม มีชาติอันดี ทั้งสองฝุาย คือ ทั้งฝุายมารดาและฝุายบิดา ถือ ปฏิสนธิ ในครรภ์ อันบริสุทธิ์ตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้ที่ไม่มีใครคัดง้างท้วงติง ได้ด้วยการกล่าว ถึงชาติ นี่ก็เป็นข้อหนึ่ง ที่พวกเราควรไปเฝูาเยี่ยมพระสมณโคดม แทนที่จะให้พระสมณโคดม เสด็จมาหาพวกเรา.

         พระสมณโคดม  ทรงละหมู่พระญาติวงศ์อันใหญ่ยิ่ง แล้วออกผนวช นี่ก็เป็น ข้อหนึ่ง ที่ ฯลฯ. พระสมณโคดม ทรงสละเงินและทองเป็นอันมาก ทั้งที่อยู่ในแผ่นดิน และนําขึ้นจากดินแล้ว ออกผนวชแล้วนี่ก็เป็นข้อหนึ่ง ฯลฯ.

         พระสมณโคดม ยังเป็นผู้หนุ่มแน่น มีผมดําสนิท ประกอบด้วยเยาว์ที่กําลัง เจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ออกจากเรือน บวชไม่หวังประโยชน์เกื้อกูลด้วยเรือน แล้ว ฯลฯ.

         พระสมณโคดมนั้น ขณะเมื่อมารดาบิดา ไม่ปรารถนาให้ออกบวช กำลังมีหน้า เต็มไป ด้วยน้ำตาทรงกันแสงอยู่.ท่านได้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า ย้อมด้วยน้ําฝาด ออกบวช จากเรือน ไม่หวังประโยชน์เกื้อกูลด้วยเรือนแล้ว ฯลฯ. 

         พระสมณโคดม  มีรูปผุ่งผาย ควรแก่การดู เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ประกอบด้วย ความงามแห่งผิวพรรณเป็นอย่างยิ่ง มีผิวพรรณเหมือน มหาพรหม มีทรวดทรงเหมือนมหาพรหม น่าดูมิใช่เล็กน้อยฯลฯ.

         พระสมณโคดม เป็นผู้มีศีล มีศีลอันประเสริฐ มีศีลเป็นกุศล ประกอบพร้อมด้วย ศีลอัน เป็นกุศล ฯลฯ. 

         พระสมณโคดม เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ให้กึกก้องด้วยอุทาหรณ์อันไพเราะ ประกอบด้วยวาจาอันเป็นที่ชอบใจแห่งชาวเมือง ไม่กึกก้อง ไม่พล่ามสามารถให้ ผู้ฟ๎งเข้าใจเนื้อความ ฯลฯ.

         พระสมณโคดมเป็นอาจารย์ และประธานอาจารย์แห่ง ชนเป็นอันมาก ฯลฯ. 
         พระสมณโคดม เป็นผู้สิ้นกามราคะ ปราศจากความกระเสือกกระสนใน กาม ฯลฯ.
         พระสมณโคดมเป็นผู้กล่าวสอนลัทธิกรรม กล่าวสอนกิริยา ชักนําสัตว์ ในความดี ฯลฯ. 

         พระสมณโคดม ออกผนวชจากตระกูลอันสูง คือตระกูลกษัตริย์อันไม่ ระคนด้วย ตระกูลอื่นฯลฯ.พระสมณโคดม ออกผนวชจากตระกูลอันมั่งคั่ง มี ทรัพย์มาก มีโภคะ มาก ฯลฯ.    

         พระสมณโคดม เป็นผู้ที่มหาชนชาวแคว้นนอกๆ ชาวชนบทนอกๆก็มาแล้ว เพื่อสอบถาม ข้อสงสัยฯลฯ.พระสมณโคดมเป็นผู้ที่เทวดาจ านวนพันเป็นอเนก ถือเอา เป็นสรณะ ด้วยการ มอบชีวิต ฯลฯ. 

         พระสมณโคดมมีเกีรติศัพท์อันงดงาม ฟุูงไปแล้วอย่างนี้ว่าพระผู้มีพระภาค เจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใคร ยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดา แลมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดั่งนี้ ฯลฯ.

         พระสมณโคดม เป็นผู้ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ฯลฯ.
         พระสมณโคดม เป็นผู้มีปรกติกล่าวคำต้อนรับเชื้อเชิญ มีถ้อยคํานุ่มนวล หน้าตา เบิกบาน ไม่สยิ้ว ไม่อิดเอื้อน เป็นผู้มีถ้อยคําถูกต้องและกาละเทสะ สําหรับ ทักทายเขาก่อน ฯลฯ. 

         พระสมณโคดม เป็นผู้ที่ บริษัททั้งสี่ สักการะ เคารพ นับถือบูชานอบน้อม แล้ว ฯลฯ. เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก เลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วเฉพาะพระสมณโคดม ฯลฯ. 

         พระสมณโคดม ประทับอยู่ ณ บ้านหรือนิคมใด อมนุษย์ย่อมไม่รบกวน มนุษย์ ในบ้านหรือนิคมนั้น ฯลฯ.

         พระสมณโคดมเป็นผู้มีหมู่มีคณะ เป็นอาจารย์ผู้ ฝึกฝนหมู่คณะ ปรากฏว่าเป็น ผู้เลิศ กว่าบรรดา เจ้าลัทธิทั้งหลาย อันมีอยู่เกลื่อน กล่น เกียรติยศ เกิดแก่สมณ พราหมณ์เจ้าลัทธิเหล่านั้นด้วยอาการอย่างใด แต่จะเกิดแก่ พระสมณโคดม ด้วยอาการอย่างนั้น ก็หามิได้ ที่แท้เกียรติยศเกิดแก่ พระสมณโคดมเพราะ ความสมบูรณ์ ด้วยวิชชาและจรณะ อันไม่ยิ่งไปกว่า ฯลฯ.

         พระเจ้าพิมพิสาร ผู้จอมทัพ ราชาแห่งมคธ พร้อมด้วยบุตรและภรรยา บริษัท และอมาตย์ ได้ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ฯลฯ.

         พระเจ้า ปเสนทิโกศล พร้อมด้วยบุตรภรรยา บริษัท และอมาตย์ ก็ถึงพระสมณ โคดม เป็นสรณะ จนตลอดชีวิต ฯลฯ.

        
พราหมณ์โปกขรสาติ พร้อมด้วยบุตรภรรยาบริษัท และอมาตย์ ก็ถึงพระสมณ โคดม เป็นสรณะ จนตลอดชีวิต ฯลฯ.

         พระสมณโคดม เป็นผู้ที่พระเจ้าพิมพิสารผู้จอมทัพ ผู้ราชาแห่งมคธ พระเจ้า ปเสนทิโกศล และพราหมณ์โปกขรสาติ สักการะเคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม แล้ว ฯลฯ. 
         พระสมนโคดม เสด็จมาถึงเมืองจัมปา ประทับอยู่ที่แทบฝ๎่งสระโบกขรณีชื่อ คัคครา   ใกล้นครจัมปานี่แล้ว. 

         ท่านผู้เจริญ ท.! ก็สมณะหรือพราหมณ์ไร ๆ ก็ตาม ที่มาถึงคามเขตของเรา ก็เป็นแขกของพวกเรา. ขึ้นชื่อว่าแขกย่อมเป็นผู้ที่พวกเราควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม.

         พระสมณโคดม ก็ถึงแล้ว เพราะเหตุนั้น พระสมณโคดม จึงเป็นแขกของ พวกเรา เป็นแขกที่พวกเราควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา นอบน้อม นี่ก็อีกข้อหนึ่ง ที่พระสมณโคดม ไม่ควรเสด็จมาหาพวกเรา ที่แท้ พวกเรานั่นแหละควรไปเยี่ยม เฝูาพระสมณโคดม.

         เราพรรณนาเกียรติคุณของท่านโคตมะอยู่เพียงเท่านี้ ก็จริงแล แต่พระสมณ โคดม จะประกอบด้วยเกียรติคุณเพียงเท่านั้น ก็หาไม่ ที่แท้ พระสมณโคดมนั้นมี เกียรติคุณมาก หาประมาณมิได้.


530

20 ตามเสียงของอตุตรมาณพ
  1) ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ 

         ท่านผู้เจริญ ! ตามเสียงเล่าลืออันมีแก่พระโคดม เป็นอย่างนั้นจริง พระสมณ โคดม ก็เป็นจริงตามเสียงเล่าลือ ไม่แปลกไปโดยประการอื่น

        
พระสมณโคดมนั้น ประกอบด้วยมหาสุริสลักขณะครบทั้ง ๓๒ ประการ คือ
พระสมณโคดม มีพื้นฝุาเท้าเต็มเสมอ (ไม่แหว่งเว้า) นี่เป็นมหาสุริสลักขณะข้อหนึ่ง (คําต่อไป ๆ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในภาค ๑ ข้างต้น ซึ่งเป็นคําที่ตรัสเอง ทั้ง ๓๒ ลักขณะ)... ฯลฯ...

         พระสมณโคดม มีศรีษะรับกับกรอบหน้า นี่ก็เป็นมหาปุริสลักขณะข้อหนึ่ง. เหล่านี้แล เป็นมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ของพระสมณโคดม.


530

20 ตามเสียงของอตุตรมาณพ
   2) ทรงมีลีลาศสง่า งดงาม 

         ท่านผู้เจริญ! พระสมณโคดมนั้น เมื่อจะดําเนิน ย่อมก้าวเท้าขวาก่อน ไม่ยกย่องไกลเกิน ใกล้เกิน เมื่อดําเนิน ไม่ก้าวถี่เร็วเกิน และไม่ช้าเกินไม่ให้แข้งเบียด แข้ง ไม่ให้ข้อเท้ากระทบ ข้อเท้า ไม่ยกขาสูง (เหมือนเดินในน้ํา)ไม่ลากขาต่ํา ไม่ให้ ขาเป็นเกลียว (คือผลัดไขว้กันไป ไขว้กันมาเวลาก้าวเดิน)ไม่ส่ายขาไปมา

         เมื่อพระโคดมดําเนินนั้น กายมั่นคงไม่โยกโคลง และไม่รู้สึกว่าต้องออกแรง ในเมื่อเดิน เมื่อจะเหลียวดู ย่อมเหลียวทั้งกาย (ไม่เหลียวเฉพาะพระพักตร์) ไม่มองดู เบื้องบน ไม่มองดูเบื้องต่ํา ไม่ตะลีตะลานเดินแต่มองเพ่งตรงออกไป ประมาณชั่วแอก ที่นอกบริเวณชั่วแอกออกไป ทรงเห็นได้ด้วยอนาวฏญาณทัสสนะ.


531

20 เสียงอุตตรมาณพ
  3) ทรงมีมรรยาทเป็นสง่า น่าเลื่อมใส 

         ท่านผู้เจริญ ! พระสมณโคดมนั้น เมื่อเข้าไปในหมู่บ้าน ย่อมไม่กระหย่งกาย ให้สูง ไม่ย่อกายให้ต่ํา ไม่บิดกาย ไม่ส่ายกายไปมา เข้าไปพระสมณโคดมนั้น ไม่ หมุนกายเรื่องนั่ง ไกลเกิน ใกล้เกินไม่ยันกายด้วยมือแล้วจึงนั่ง ไม่นั่งจมที่นั่ง (เช่น นอนพิงพนัก จนเกือบเป็นนอน หรือทิ้งตัวนั่งแรง) พระสมณโคดมนั้น ไม่นั่งกระดิก มือ กระดิกเท้า ไม่นั่งจุนปลีแข้ง ขึ้นไว้ด้วยปลีแข้ง (ขัดสมาธิชนิดชันเข่าขึ้นสูง?) ไม่นั่งจุนตาตุ่มไว้ด้วยตาตุ่ม (ตาตุ่มซ้อนกันอยู่) ไม่นั่งยันคาง ด้วยมือ.


531
20 เสียงอุตตรมาณพ
  4) ไม่ทรงตื่นเต้นพระทัยในบ้าน 

         ท่านผู้เจริญ ! พระสมณโคดมนั้น เมื่อนั่งในบ้านเรือนย่อมไม่สะดุ้งไม่ หวาดเสียว ไม่ครั่นคร้าม ไม่สั่นสะท้าน เป็นผู้มีปรกติไม่สะดุ้งหวาดเสียวครั่นคร้าม สั่นสะท้าน ปราศจากความมีขนชูชัน มีจิตเวียนมาสู่วิเวก.


532

20 เสียงอุตตรมาณพ
  5) ทรงฉันภัตตาหารในหมู่บ้านเรียบร้อยนัก 

         ท่านผู้เจริญ ! พระสมณโคดมนั้น นั่งในบ้านเรือนแล้ว เมื่อรับน้ําล้างบาตร๑ ย่อมไม่ชูบาตรรับ ไม่เอียงบาตรรับ ไม่หมุนบาตรรับ ไม่ส่ายบาตรรับย่อมไม่รับน้ํา ล้างบาตร มากเกิน น้อยเกิน ไม่ล้างมีเสียงขลุง ๆ ไม่หมุนบาตรล้าง ไม่วางบาตร ที่พื้นแล้วจึงล้างมือ แต่บาตรกับมือเป็นอันล้างเสร็จพร้อมกัน. ไม่เทน้ําล้างบาตร ไกลเกิน ใกล้เกิน และไม่เทให้ฟุูงกระเซ็น.

         พระสมณโคดมนั้น เมื่อรับข้าวสุก ย่อมไม่ชูบาตรรับ ไม่เอียงบาตรรับไม่ หมุนบาตรรับ ไม่ส่ายบาตรรับ ย่อมรับข้าวสุก ไม่น้อยเกินมากเกิน ย่อมถือเอาแกง กับแต่พอประมาณ ไม่ให้คําข้าวยิ่งไปด้วยแกงกับ ย่อมตะล่อมคําข้าวในปากให้ หมุนมาถูกเคี้ยวใหม่ ๒-๓ กลับ แล้วจึงกลืน เยื่อข้าวสุกที่ยังไม่แหลกละเอียด ย่อมไม่เข้าไปในกาย และเยื่อข้าวสุกนิดเดียว ก็ไม่เหลืออยู่ในปาก ย่อมน้อมคํา ข้าวเข้าไปแต่ครึ่งหนึ่ง (ฉันคราวละครึ่งคําหรือครึ่งปาก).


532
20 เสียงอุตตรมาณพ
  6) ไม่ทรงติดในรสอาหาร 

         ท่านผู้เจริญ ! พระสมณโคดมนั้น รู้สึกตนขณะรู้รสแห่งอาหาร ไม่รู้สึก ความยินดีติดใจในรส. พระสมณโคดมฉันอาหารประกอบพร้อมด้วยองค์แปดคือ ฉันเพื่อเล่น ก็หามิได้ ฉันเพื่อมัวเมาในรส ก็หามิได้ ฉันเพื่อประเทืองผิวก็หามิได้ ฉันเพื่อตกแต่งอวัยวะ ก็หามิได้ แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้เพื่อให้มีความ เป็นไปแห่งอัตตภาพสืบไป เพื่อห้ามกันเสียซึ่งความหิวลําบากเพื่ออนุเคราะห์แก่ พรหมจรรย์ โดยคิดเห็นว่า`ด้วยการทําเช่นนี้ เราย่อมกําจัดเวทนาเก่า และไม่ทํา เวทนาใหม่ให้เกิดได้ ความเป็นไปได้แห่งอัตตาภาพความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา' ดังนี้.


533

20 เสียงอุตตรมาณพ
  7) ทรงมีวัตรในบาตร

        ท่านผู้เจริญ ! พระสมณโคดมฉันแล้ว เมื่อจะรับน้ําล้างบาตร ย่อมไม่ชูบาตร รับ ไม่ตะแคงบาตรรับ ไม่หมุนบาตรรับ ไม่ส่ายบาตรรับ ย่อมไม่รับน้ําล้างบาตร มากเกิน น้อยเกิน ไม่ล้างบาตรมีเสียงขลุง ๆ ไม่หมุนบาตรล้างไม่วางบาตรที่พื้น แล้วจึงล้างมือ แต่บาตรกับมือเป็นอันล้างแล้วเสร็จพร้อมกันไม่เทน้ําล้าง บาตรไว้ไกลเกิน ใกล้เกิน และไม่เทให้กระเซ็นฟุูง ฉันเสร็จแล้วไม่วาง บาตรไว้ไกลเกินใกล้เกิน ไม่ละเลยบาตร ไม่ละเลยการรักษาบาตรจนล่วงเวลา.


533
20 เสียงอุตตรมาณพ
  8) การเสด็จกลับจากฉนัในหมู่บ้าน 

        พระสมณโคดมนั้น ฉันแล้ว นั่งนิ่งอยู่ขณะหนึ่ง และไม่ปล่อยให้เวลาแห่ง การอนุโมทนา ล่วงเลยไป ฉันแล้วก็อนุโมทนา โดยไม่ติเตียนอาหารนั้นยกย่อง อาหารอื่น (เลือกสิ่งชอบ) ย่อมสนทนาชักชวนบริษัทนั้น ๆ ให้อาจหาญร่าเริงด้วย ธรรมิกถาโดยแท้ แล้วจึงลุกจากอาสนะ หลีกไป. พระสมณโคดมนั้นไม่ผลุนผลันไป ไม่เฉื่อยชาไป และไม่ไปโดยเขาไม่รู้ไม่เห็น.
 

533
20 เสียงอุตตรมาณพ
  9) ทรงนุ่งห่มกระทัดรัด 

        จีวรที่คลุมกายของพระสมณโคดม ไม่ปรกสูงเกิน ต่ำเกิน ไม่รัดแน่นไม่ หลุด ๆ หลวม ๆ ลมไม่อาจเวิกจีวรที่กายของพระสมณโคดม ธุลีละอองไม่อาจติด กายของพระสมณโคดม.


533
20 เสียงอุตตรมาณพ
  10) ทรงมุ่งแต่ความเกื้อกูลสัตว์ 

        พระสมณโคดมนั้น ไปถึงอารามแล้ว จึงนั่ง นั่งบนที่นั่งที่จัดไว้แล้วจึงล้าง เท้า และพระสมณโคดม ไม่เป็นคนประกอบการประคบประหงมตกแต่งเท้า ครั้นล้างเท้า แล้ว ก็นั่งคู้บัลลังก์ตั้งการตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า.

         จะได้คิดเพื่อ เบียดเบียนตนก็หามิได้ เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นก็หามิได้ เพื่อ เบียดเบียน ทั้งสองฝุายก็ หามิได้ เป็นผู้นั่งคิดอยู่ซึ่งสิ่งอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลตน เกื้อกูลท่านเกื้อกูลทั้ง สองฝุาย คือ เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงนั่นเทียว.


534

20 เสียงอุตตรมาณพ
  11) การแสดงธรรมด้วยพระสำเนียงมีองค์ ๘ 

        พระสมณโคดมนั้น ไปถึงอารามแล้ว (เย็นลง) ย่อมประชุมบริษัทแสดง ธรรม ไม่ประจบประแจงบริษัท ย่อมสนทนาชักชวนบริษัทให้อาจหาญร่าเริงด้วย ธรรมิกถา.  เสียงก้องกังวาล ที่เปล่งออกจากพระโอษฐ์ของพระสมณโคดมนั้นประกอบพร้อม ด้วยองค์แปด คือ ไม่ขัด ฟ๎งเข้าใจ เพราะพริ้ง น่าฟ๎งหยดย้อย ไม่พร่า เลือน ซาบซึ้ง บันลือชัดเจน. เสียงที่พระสมณโคดมใช้เพื่อยังบริษัทให้เข้าใจ เนื้อความ ไม่กึกก้อง แพร่ไปภายนอกแห่งบริษัท.

         บริษัทเหล่านั้น ครั้นพระสมณโค ดม สังสนทนาชักชวนให้อาจหาญรื่นเริง ด้วยธรรมิกถาแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปก็ยัง เหลียวมองดูอยู่ด้วยภาวะแห่งคน ผู้ไม่อยากจากไป.

         ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าย่อมเห็นพระสมณโคดม เมื่อดําเนินไปเมื่อยืนอยู่ เมื่อเข้าไปสู่บ้านเรือน เมื่อนั่งนิ่ง ๆ ในบ้านเรือน เมื่อฉันภัตตาหารในบ้านเรือน เมื่อฉันแล้ว นั่งนิ่ง ๆ เมื่อฉันแล้วและอนุโมทนา เมื่อมาสู่อารามเมื่อถึงอารามแล้ว นั่งนิ่ง ๆ เมื่อถึงอารามแล้ว แสดงธรรมแก่บริษัท.

          พระสมณโคดมนั้น เป็นเช่น กล่าวมานี้ด้วย และยิ่งกว่าที่กล่าวมาแล้วด้วย.  "ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคผู้อรหันตสมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ นั้น! ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น!!  ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น!!! ถ้าไฉนในบางคราว เราพึงได้สมาคมกับพระสมณโคดม พึงเจรจาด้วยถ้อยคํากับ พระสมณโคดมเถิด".

          - -นี้เป็นอุทานของพรหมายุพราหมณ์ เปล่งในเมื่อฟ๎งถ้อยคํานั้นจบแล้ว และคํารําพึงใคร่จะสมาคมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า.        


535
21 ตามเสียงของอุบาลีคหบดี บุรพนิครนถ์
   : ทรงประกอบด้วยพระพุทธคุณ ๑๐๐ ประการ 

ดูก่อนท่านผู้เจริญ! ขอท่านจงฟ๎งซึ่งคําของข้าพเจ้าเถิด
ข้าพเจ้านั้น เป็น สาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
(๑)  เป็นนักปราชญ์ผู้ทรงไว้ซึ่งป๎ญญา 
(๒)  เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโมหะ 
(๓)  เป็นผู้มีเสาเขื่อนเครื่องตรึงจิตอันหักแล้ว 
(๔)  เป็นผู้มีชัยชนะอันวิชิตแล้ว 
(๕)  เป็นผู้ปราศจากแล้วจากสิ่งคับแค้นสะเทือนใจ 
(๖)  เป็นผู้มีจิตสม่ําเสมอด้วยดี 
(๗)  เป็นผู้มีปรกติภาวะแห่งบุคคลผู้เป็นพุทธะ 
(๘)  เป็นผู้มีป๎ญญาเครื่องยังประโยชน์ให้สําเร็จ 
(๙)  เป็นผู้ข้ามไปได้แล้วซึ่งวัฏฏสงสารอันขรุขระ 
(๑๐) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากมลทินทั้งปวง;

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น: 
(๑๑) เป็นผู้ไม่มีการถามใครว่าอะไรเป็นอะไร 
(๑๒) เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยความอิ่มในธรรมอยู่เสมอ 
(๑๓) เป็นผู้มีเหยื่อในโลกอันทรงคายทิ้งแล้ว 
(๑๔) เป็นผู้มีมุทิตาจิตในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
(๑๕) เป็นผู้มีสมณภาวะอันทรงกระทําสําเร็จแล้ว 
(๑๖) เป็นผู้ถือกําเนิดแล้วแต่กําเนิดแห่งมนู โดยแท้ 
(๑๗) เป็นผู้มีสรีระอันมีในครั้งสุดท้าย 
(๑๘) เป็นผู้เป็นนรชนคือเป็นคนแท้ 
(๑๙) เป็นผู้อันใคร ๆ กระทําอุปมามิได้ 
(๒๐) เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันพึงเปรียบได้ด้วยธุลี;

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น.พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น: 
(๒๑) เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากความสงสัยทั้งปวง 
(๒๒) เป็นผู้นําสัตว์สู่ภาพอันวิเศษ 
(๒๓) เป็นผู้มีป๎ญญาเครื่องตัดกิเวลดุจหญ้าคาเสียได้ 
(๒๔) เป็นสารถีอันประเสริฐกว่าสารถีทั้งหลาย 
(๒๕) เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่าโดยคุณธรรมทั้งปวง 
(๒๖) เป็นผู้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความชอบใจของสัตว์ทั้งปวง 
(๒๗) เป็นผู้มีกังขาเครื่องข้องใจอันทรงนําออกแล้วหมดสิ้น 
(๒๘) เป็นผู้กระทําซึ่งความสว่างแก่ปวงสัตว์ 
(๒๙) เป็นผู้ตัดแล้วซึ่งมานะเครื่องทําความสําคัญมั่นหมาย 
(๓๐) เป็นผู้มีวีรธรรมเครื่องกระทําความแกล้วกล้า

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น: 
(๓๑) เป็นผู้เป็นยอดมนุษย์ แห่งมนุษย์ทั้งหลาย 
(๓๒) เป็นผู้มีคุณอันใคร ๆ กําหนดประมาณให้มิได้  
(๓๓) เป็นผู้มีธรรมสภาวะอันลึกซึ้งไม่มีใครหยั่งได้
(๓๔) เป็นผู้ถึงซึ่งป๎ญญาเครื่องทําความเป็นแห่งมุนี          
(๓๕) เป็นผู้กระทําความเกษมแก่สรรพสัตว์ 
(๓๖) เป็นผู้มีเวทคือญาณเครื่องเจาะแทงซึ่งโมหะ 
(๓๗) เป็นผู้ประดิษฐานอยู่ในธรรม 
(๓๘) เป็นผู้มีพระองค์อันทรงจัดสรรดีแล้ว 
(๓๙) เป็นผู้ล่วงกิเลสอันเป็นเครื่องข้องเสียได้ 
(๔๐) เป็นผู้หลุดรอดแล้วจากบ่วงทั้งปวง

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น 
(๔๑) เป็นผู้เป็นดังพระยาช้างตัวประเสริฐ 
(๔๒) เป็นผู้มีการนอนอันสงัดจากการรบกวนแห่งกิเลส 
(๔๓) เป็นผู้มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว 
(๔๔) เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วจากทุกข์ทั้งปวง 
(๔๕) เป็นผู้มีความคิดเหมาะเจาะเฉพาะเรื่อง 
(๔๖) เป็นผู้มีป๎ญญาเครื่องทําความเป็นแห่งมุนี 
(๔๗) เป็นผู้มีมานะเป็นดุจธงอันพระองค์ทรงลดลงได้แล้ว 
(๔๘) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากราคะ 
(๕๐) เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากกิเลสเครื่องเหนี่ยวหน่วงให้เนิ่นช้า

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น: 
(๕๑) เป็นผู้แสวงหาพบคุณอันใหญ่หลวง องค์ที่เจ็ด 
(๕๒) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากความคดโกง 
(๕๓) เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวิชชาทั้งสาม 
(๕๔) เป็นผู้เป็นพรหมแห่งปวงสัตว์          
(๕๕) เป็นผู้เสร็จจากการอาบการล้างแล้ว 
(๕๖) เป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์ในการกระทําทั้งปวง 
(๕๗) เป็นผู้มีกมลสันดานอันระงับแล้ว 
(๕๘) เป็นผู้ทําลายซึ่งธานีนครแห่งกิเลสทั้งหลาย 
(๖๐) เป็นผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ทั้งปวง

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น: 
(๖๑) เป็นผู้ไปพ้นแล้วจากข้าศึกคือกิเลส 
(๖๒) เป็นผู้มีตนอันอบรมถึงที่สุดแล้ว 
(๖๓) เป็นผู้มีธรรมที่ควรบรรลุอันบรรลุแล้ว 
(๖๔) เป็นผู้กระทําซึ่งอรรถะทั้งหลายให้แจ่มแจ้ง 
(๖๕) เป็นผู้มีสติสมบูรณ์อยู่เองในทุกกรณี 
(๖๖) เป็นผู้มีความรู้แจ้งเห็นแจ้งเป็นปรกติ 
(๖๗) เป็นผู้มีจิตไม่แฟบลงด้วยอํานาจแห่งกิเลส 
(๖๘) เป็นผู้มีจิตไม่ฟูขึ้นด้วยอํานาจแห่งกิเลส 
(๖๙) เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยอํานาจแห่งกิเลส 
(๗๐) เป็นผู้บรรลุถึงซึ่งความมีอํานาจเหนือกิเลส;

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
(๗๑) เป็นผู้ไปแล้วโดยชอบ 
(๗๒) เป็นผู้มีการเพ่งพินิจทั้งในสมาธิและป๎ญญา 
(๗๓) เป็นผู้มีสันดานอันกิเลสตามถึงไม่ได้แล้ว 
(๗๔) เป็นผู้หมดจดแล้วจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง          
(๗๕) เป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิอาศัยไม่ได้แล้ว 
(๗๖) เป็นผู้ไม่มีความหวาดกลัวในสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว 
(๗๗) เป็นผู้สงัดแล้วจากการรบกวนแห่งกิเลสทั้งปวง 
(๗๘) เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งธรรมอันเลิศ 
(๗๙) เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งโอฆกันดาร 
(๘๐) เป็นผู้ยังบุคคลอื่นให้ข้ามแล้วซึ่งโอฆะนั้น

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น: 
(๘๑) เป็นผู้มีสันดานสงบรํางับแล้ว 
(๘๒) เป็นผู้มีป๎ญญาอันหนาแน่น 
(๘๓) เป็นผู้มีป๎ญญาอันใหญ่หลวง 
(๘๔) เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโลภะ 
(๘๕) เป็นผู้มีการไปการมาอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 
(๘๖) เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี 
(๘๗) เป็นผู้ไม่มีบุคคลใดเปรียบ 
(๘๘) เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเสมอ 
(๘๙) เป็นบุคคลผู้มีญาณอันแกล้วกล้า 
(๙๐) เป็นผู้มีป๎ญญาละเอียดอ่อน

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น: 
(๙๑) เป็นผู้เจาะทะลุข่ายคือตัณหาเครื่องดักสัตว์ 
(๙๒) เป็นผู้รู้ตื่นผู้เบิกบานเป็นปรกติ 
(๙๓) เป็นผู้มีกิเลสดุจควันไฟไปปราศแล้ว
(๙๔) เป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิไม่ฉาบทาได้อีกต่อไป          
(๙๕) เป็นผู้เป็นอาหุเนยยบุคคลควรแก่ของที่เขานําไปบูชา 
(๙๖) เป็นผู้ที่โลกทั้งปวงต้องบูชา 
(๙๗) เป็นบุคคลผู้สูงสุดแห่งบุคคลทั้งหลาย 
(๙๘) เป็นผู้มีคุณอันไม่มีใครวัดได้ 
(๙๙) เป็นผู้เป็นมหาบุรุษ 
(๑๐๐)เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเลิศด้วยเกียรติคุณ;

ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ดังนี้ แล.


540

22 ตามเสียงของพระเจ้าปเสนทิโกศล
   1) ทรงมีคณะสงฆ์ที่ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต 

          พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อสังเกต ของหม่อมฉันมีอยู่ในพระผู้มีพระภาคว่า ` พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว' ดังนี้. 

          พระองค์ผู้เจริญ ! คือในเรื่องนี้ หม่อมฉันได้เห็นสมณพราหมณ์บางพวก ประพฤติพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ได้สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้างสี่สิบปี บ้าง ครั้นสมัยอื่น สมณพราหมณ์พวกนั้น กลายเป็นผู้อาบอย่างดี ลูบทาอย่างดี แต่งผมแต่ง หนวด อิ่มเอิบ เพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า ให้เขาบําเรออยู่.

         
ส่วนภิกษุ ในศาสนานี้ หม่อมฉันเห็นประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์จน ตลอดชีวิต จนกระทั่งหมดลมหายใจ.

         พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉันไม่เห็นพรหมจรรย์อื่น ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจากพรหมจรรย์นี้. นี่แลเป็น ข้อสังเกตของหม่อมฉัน อันมีอยู่ในพระผู้มีพระภาค


541

22 ตามเสียงของพระเจ้าปเสนทิโกศล
    2) ทรงมีคณะสงฆ์ที่พร้อมเพรียง 

         ข้ออื่นยังมีอีก พระองค์ผู้เจริญ! ราชาก็ยังวิวาทกับราชาด้วยกันกษัตริย์ก็ ยังวิวาทกับกษัตริย์พราหมณ์ก็ยังวิวาทกับพราหมณ์ คหบดีก็ยังวิวาทกับคหบดี มารดาก็ยังวิวาทกับบุตร บุตรก็ยังวิวาทกับมารดา บิดาก็ยังวิวาทกับบุตร บุตรก็ ยังวิวาทกับบิดา พี่น้องชายยังวิวาทกับพี่น้องหญิง พี่น้องหญิงก็ยังวิวาทกับพี่ น้องชาย แม้สหายก็ยังวิวาทกับสหาย ส่วนในพรหมจรรย์นี้หม่อมฉันเห็นภิกษุ ทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เบิกบานต่อกัน ไม่วิวาทกันเข้ากันสนิทดังน้ําเจือกับ น้ํานมสด มองดูกันและกันด้วยสายตา อันน่ารัก.

         พระองค์ผู้เจริญ! หม่อมฉันไม่เห็น บริษัทอื่นที่พร้อมเพรียงกันอย่างนี้ นอกจากบริษัท นี้.

          แม้นี้ก็เป็นข้อสังเกตของ หม่อมฉัน ในพระผู้มีพระภาค.


541

22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล
     3) ทรงมีคณะสงฆ์ที่ชุ่มชื่นผ่องใส 

         ข้ออื่นยังมีอีก พระองค์ผู้เจริญ! หม่อมฉันเที่ยวไปเนือง ๆจากอารามนี้สู่ อารามนั้น จากสวนนี้สู่สวนนั้น ได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซูบผอม เศร้าหมอง ผิวพรรณทราม ผอมเหลือง สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นเห็นจะไม่ประสงค์มองดูใคร เสียเลย. หม่อมฉันมีความเห็นว่า ท่านพวกนี้คงฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์เป็นแน่ หรือมิฉะนั้น ก็ยังมีบาปอย่างหนึ่ง ซึ่งท่านเหล่านี้ทําแล้วปกปิดไว้ จึงเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง ผิวพรรณทราม ผอมเหลืองสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ราวกะไม่ประสงค์ มองดูใครเสียเลย.

         หม่อมฉันเข้าไปหาแล้วถามว่า เหตุไรจึงเป็นดังนั้น ท่านเหล่านั้น ตอบว่า "ข้าแต่มหาราช ! พวกเรามีโรคเนื่องมาเป็นเผ่าพันธุ์" ดังนี้. ส่วนภิกษุในศาสนานี้ หม่อมฉันเห็นท่าน ร่าเริงและรื่นเริงส่อความรู้สึกภายในใจอันสูงขึ้นและสูงขึ้น มีรูปน่าปลื้มใจมี อินทรีย์ชุ่มชื่น มีความขวนขวายน้อย มีขนอันตกราบ๑มีชีวิตเป็นไป ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจเป็นดุจมฤค (อ่อนโยน).

         หม่อมฉัน มีความเห็นว่าท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษ อันโอฬาร ในศาสนาของ พระผู้มีพระภาค ยิ่งขึ้นกว่าเก่า ๆเป็นแน่ จึงเป็นดังนั้น. พระองค์ผู้เจริญ! แม้นี้ก็เป็นข้อ สังเกตของหม่อมฉันในพระผู้มีพระภาค.


542

22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล
   4) ทรงมีสังฆบริษัทที่เงียบเสียง 

         พรหมจรรย์อื่น ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจากพรหมจรรย์นี้. นี่แลเป็น ข้อสังเกต ของหม่อมฉัน อันมีอยู่ในพระผู้มีพระภาค ข้ออื่นยังมีอีก พระองค์ผู้เจริญ! หม่อมฉันเป็นกษัตริย์ ได้มุรธาภิเษกแล้ว มี อํานาจพอเพื่อให้ฆ่าคนควรฆ่า ริบคนควร ริบ ขับคนควรขับ ก็จริงเมื่อนั่ง วินิจฉัยคดี ชนทั้งหลายยังอึกทึก กลบเสียงหม่อมฉัน เสียเป็นระยะๆ หม่อมฉันจะห้ามว่า ท่าน ผู้เจริญ! พวกท่านอย่ากลบเสียงของเรา ผู้นั่งวินิจฉัยคดีให้ตก ไปโดยระยะ ๆ เลย จงรอให้จบ ถ้อยคําของเราเสียก่อนดังนี้ ก็ไม่ไหว. เขาเหล่านั้น ยังคงอึกทึกกลบเสียง หม่อมฉันเสีย โดยครั้งคราว.

          ส่วนภิกษุในศาสนานี้ หม่อมฉันเห็นไม่มีเสียงจาม หรือ เสียงไอเลย ในเมื่อ พระผู้มี พระภาคเจ้าแสดงธรรมแก่บริษัทผู้นั่งฟ๎ง เป็นจํานวนหลายร้อย. ที่ล่วงมาแล้ว แต่หลัง เมื่อพระผู้มี พระภาคแสดงธรรมแก่บริษัทจํานวน หลายร้อย ถ้าสาวกคนหนึ่ง คนใด ในที่นั้นไอขึ้น เพื่อน พรหมจารีด้วยกัน จะกระทบเข่าด้วยเข่า เพื่อให้รู้สึกว่า "ท่านจงมีเสียงน้อย ท่านอย่างกระทําเสียง พระผู้มีพระภาคศาสดาของพวกเรา กําลังแสดงธรรม" ดังนี้.

          หม่อมฉันทีความเห็นว่า อัศจรรย์จริง ๆ ไม่เคยมีจริง ๆบริษัทมีระเบียบ เรียบร้อย ดีอย่างนี้ โดยไม่ต้องใช้ อาชญา หรือศาสตราเลย.

          พระองค์ผู้เจริญ! หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่เรียบร้อยดีอย่างนี้ นอกจาก บริษัทนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้นี้ ก็เป็นข้อสังเกตของหม่อมฉัน ในพระผู้มีพระภาค


543

22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล
   5) ทรงชนะคนมุ่งร้ายที่เข้าเฝ้า

          ข้ออื่นยังมีอีก พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉัน  เห็นขัตติยบัณฑิต.... พราหมณบัณทิต...คหบดีบัณฑิต ...๒สมณบัณฑิต บางพวก ในโลกนี้มีป๎ญญาเฉียบ แหลม ชํานาญการโต้วาทะ เชี่ยวชาญ ดุจนายขมังธนูผู้สามารถยิงถูกขนทราย ดู เหมือนเที่ยว ทําลายความเห็นของผู้อื่น ด้วยป๎ญญาของตนเท่านั้น. บัณฑิตเหล่านั้น ได้ยินข่าวว่า "พระสมณโคดม จักเสด็จแวะบ้านหรือนิคมชื่อโน้น" ก็ตระเตรียม ป๎ญหา และอวดอ้างว่าเรา จักเข้าไปถามป๎ญหานี้ กะพระสมณโคดม ถ้าเธอถูกถาม แล้วพยากรณ์อย่างนี้ พวกเราจักหัก ล้างวาทะของเธอด้วยวาทะอย่างนี้ ๆ แม้ถ้า เธอถูกถามแล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ๆพวกเรา ก็จักหักล้างวาทะของเธอได้ด้วยวาทะ อย่างนั้น ๆ ดังนี้.

          ครั้นเขาเข้าไปเฝูาพระผู้มีพระภาคเจ้าจริง ๆ พระผู้มีพระภาค ย่อมชี้แจง ให้เห็นชอบ ให้ปลงใจ ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมิกถา. ท่านบัณฑิต เหล่านั้น เลยไม่ถามป๎ญหา ไฉนจักได้ข่มขี่วาทะเล่า ย่อมพากันเข้าเป็นสาวกของ พระผู้มีพระภาค โดยแท้.

          และ (บางพวก) ขอโอกาสเพื่อบรรพชาจากเรือน ไม่หวัง ประโยชน์เกื้อกูล ด้วยเรือน พระผู้มีพระภาคก็บรรพชาให้ บัณฑิตเหล่านั้น เป็น บรรพชิตแล้วหลีกออก จากหมู่ ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วในสมาธิภาวนาก็ ทําให้แจ้ง ได้ด้วยป๎ญญา อันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า อันเป็นที่ ปรารถนาของ เหล่ากุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่เรือน ได้ในภพอันตนทัน เห็นนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

          ท่านเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่ ขยี้หัวใจเราอีกต่อไปแล้ว. จริงอยู่ เมื่อก่อน เราไม่เป็นสมณะก็ปฎิญญาตนว่าเป็น สมณะ ไม่เป็นพราหมณ์ ก็ปฎิญญาตน ว่าเป็นพราหมณ์ ไม่เป็นพระอรหันต์ ก็ปฎิญญาตนว่าเป็นพระอรหันต์.

          แต่บัดนี้เล่า เราเป็นสมณะเราเป็นพราหมณ์ เรา เป็นพระอรหันต์โดยแท้ ดังนี้.พระองค์ผู้เจริญ! แม้นี้ก็เป็นข้อสังเกตของหม่อมฉัน ในพระผู้มีพระภาค.


544

22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล
  6) ทรงสามารถปราบโจรที่มหากษัตริย์ก็ปราบไม่ได้๑

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กษัตริย์พิมพิสาร หรือกษัตริย์ลิจฉวี หรือ พระราชา ปฏิป๎กษ์ เหล่าอื่นก็หาได้กระทําหม่อมฉันให้ขัดใจไม่ หากแต่ว่ามีโจรชื่อ  องคุลิมาล เกิดขึ้นในแว่นแคว้นของหม่อมฉัน เป็นคนหยาบช้า ฝ่ามือเปื้อนเลือด มุ่งมั่นอยู่ แต่ในการประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาปรานีในสัตว์ ท.

          องคุลิมาลโจร นั้น กระทําหมู่บ้านไม่ให้เป็นหมู่บ้าน กระทํานิคมไม่ให้เป็นนิคม กระทําชนบทไม่ให้เป็นชนบท เขาฆ่าแล้วฆ่าอีกซึ่งหมู่มนุษย์ นํานิ้วมือมาทําเป็น มาลัยแขวนอยู่ หม่อมฉันจักกําจัดมันเสีย." 

          มหาราชะ ! ถ้ามหาบพิตรจะได้ทรงเห็นองคุลิมาล ปลงผมและ หนวดนุ่งห่ม ผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นขาดจาการฆ่า การลักขโมยการ พูดเท็จ เป็นผู้มีการฉันอาหารวันหนึ่งหนเดียวประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณ ธรรม ดังนี้แล้ว จะทรงกระทําอย่างไรเล่า?   

          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉันก็จะอภิวาท จะลุกรับ จะนิมนต์หรือเชื้อ เชิญด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานป๎จจัยเภสัชบริขาร หรือจัดจากรักษา ปูองกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม พระเจ้าข้า ! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็แต่ว่า มัน จะเป็นไปได้อย่างไรที่คนทุศีล มีธรรมอันลามก นั้น จะกลายเป็นผู้สํารวมด้วย ศีล อย่างนี้ พระเจ้าข้า"!  มหาราชะ ! นั่น องคุลิมาลอยู่นั่น.

(พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิ โกศลกลัวจนโลมชาติชูชัน ได้ตรัสว่า)

          
มหาราชะ ! อย่าได้กลัวเลย.  มหาราชะ ! อย่าได้ กลัวเลย. ภัยไม่มีแล้วแก่ พระองค์ จากองคุลิมาลนี้. (ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัวแล้ว เข้าไปทําความคุ้นเคยกับภิกษุ องคุลิมาล ทรงปวารณาด้วยป๎จจัยสี่ แต่พระเถระ ปฏิเสธ เพราะเป็นผู้สมาทานธุดงค์. พระเจ้า เสนทิโกศลได้กลับมาเฝูาพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า) 

         
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่เคยมี เลย; คือข้อที่พระผู้มีพระภาค ทรงทรมานบุคคลที่ใคร ๆ ทรมานไม่ได้ ทรงกระทํา ให้รํางับ ซึ่งบุคคลที่ใคร ๆ ทําให้รํางับไม่ได้ ทรงกระทําความดับเย็นแก่บุคคลผู้ยัง ไม่ดับเย็น๑ ได้แก่ข้อที่หม่อมฉัน ไม่สามารถจะทรมานผู้ใดด้วยอาชญาด้วยศาสตรา ผู้นั้นพระผู้มี พระภาค ทรงทรมานแล้วโดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉันขอลาไปบัดนี้หม่อมฉันมีกิจมาก มีธุระ มาก พระเจ้าข้า !"


546

22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล
  7) ทรงชนะน้ำใจคน โดยทางธรรม

          ข้ออื่นยังมีอีก พระองค์ผู้เจริญ ! มีช่างไม้สองคน ชื่อ อิสิทันตะ และ ปุราณะ ทั้งสองนายนี้กินข้าวของหม่อมฉัน ใช้ยวดยานพาหนะของหม่อมฉัน. หม่อมฉัน ให้เบี้ยเลี้ยงชีพ ให้ยศศักดิ์แก่เขา แต่เขาจะมีความเคารพในหม่อมฉันเท่าที่มีใน พระผู้มีพระภาค ก็หาไม่.

          เรื่องที่ล่วงมาแล้ว คือ หม่อมฉันยกเสนาออกไปกําจัด ข้าศึก เมื่อจะทดลอง ช่างไม้ สองคนนี้ จึงเข้าไปพักในที่คับแคบแห่งหนึ่ง (เพื่อเห็น กันโดยใกล้ชิด) เขาทั้งสองคน ฆ่าเวลาด้วยการสนทนาธรรมเกือนค่อนรุ่งแล้วนอน หันศีรษะไปทางทิศ ที่เขาได้ยินข่าวว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ เหยียดเท้ามาทาง หม่อมฉัน.

          พระองค์ผู้เจริญ! หม่อมฉันมีความรู้สึกว่า อัศจรรย์จริงไม่เคยมีเลย ช่างไม้ สองคน กินข้าวของเรา ใช้ยานพาหนะของเรา เราให้เบี้ยเลี้ยงชีพ และยศ ศักดิ์แก่เขา แต่เขาหา มีความเคารพในเรา เท่าที่เขามีในพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่. ชะรอยคน ทั้งสองนี้จะรู้ถึง คุณวิเศษ อันโอฬารในศาสนาของพระผู้มีพระภาค เพิ่มขึ้น ๆ เป็นแน่แท้. พระองค์ผู้เจริญ! แม้นี้ก็เป็นข้อ สังเกตของหม่อมฉัน ในพระ ผู้มีพระภาค.


546

22 เสียงพระเจ้าปเสนทิโกศล
8) ทรงเสมอกับพระเจ้าโกศลโดยวัย  

          อีกข้อหนึ่ง พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาค ก็เป็นกษัตริย์หม่อมฉันก็ เป็นกษัตริย์. พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล๒ หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาค มีพระชนม์ ๘๐ หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ด้วยเหตุนี้เอง หม่อมฉันจึงควร ทําความเคารพอย่างยิ่ง ในพระผู้มีพระภาค ควรแสดงความสนิทสนม.


547

23 ตามเสียงของคณกะโมคคัลลานพรามหณ์
     ทรงคบและไม่ทรงคบบุคคลเช่นไร 

          พระโคดมผู้เจริญ ! บุคคลทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความเลี้ยง ชีวิตเป็นข้อประสงค์ ออกจากเรือนบวชเป็นคนไม่มีเรือนแล้ว เป็นนักบวชอวดดี มี มายา เจ้าเล่ห์ เป็นผู้ฟุูงซ่านเป็นผู้ไว้ตัว เป็นผู้กลับกลอก เป็นคนปากกล้า มีวาจา สับส่าย มีทวารอันไม่ระวังแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่น ไม่เพ่งในสามัญคุณ ไม่เคารพยิ่งในสิกขามี ความประพฤติเป็นไปเพื่อความมักมาก มีความประพฤติเป็นไปด้วยอาการลุ่ม ๆ ดอน ๆ เป็นหัวหน้าในทางเชือนแช ทอดธุระในวิเวกเสียแล้วเป็นผู้เกียจคร้าน มี ความเพียรอันเลว มีสติอันหลงลืมไม่รู้ตัว เป็นผู้ไม่มั่นคงมีจิตอันหมุนเวียน มี ป๎ญญาอันเขลาทรามดุจคนหูหนวกแลคนเป็นใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่อยู่ ร่วมกับด้วยชนทั้งหลายเหล่านั้น. 

          ส่วนว่า กุลบุตรทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นคน ไม่มีเรือนแล้วไม่อวดดี ไม่มีมายา ไม่ใช่คนเจ้าเล่ห์ ไม่ใช่คนฟุูงซ่านไม่ใช่คนไว้ตัว ไม่ใช่คนกลับกลอก ไม่เป็นคนปากกล้า มีวาจาไม่สับส่าย

          มีทวารอันระวังแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความ เพียรของบุคคลผู้ตื่น เพ่งในสามัญญคุณ มีความเคารพยิ่งในสิกขา ไม่ประพฤติ เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่ประพฤติเป็นไปด้วยอาการลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่เป็นหัวหน้า ในทางเชือนแช ไม่ทอดธุระในวิเวก มีความเพียรปรารถแล้ว มีตนอันส่งไปแล้ว มี สติอันเข้าไปตั้งอยู่แล้ว เป็นผู้รู้ตัว เป็นผู้มั่นคง มีจิตแน่ว เป็นผู้มีป๎ญญา หาใช่คน เขลาดังคนหูหนวกคนเป็นใบ้ไม่

          พระโคดมผู้เจริญ ย่อมอยู่ร่วมกับด้วยกุลบุตร ทั้งหลายเหล่านั้น.


548

24 ตามเสียงแห่งมาร
  1) ทรงตัดรอนอำนาจมาเหรือนเด็กริดรอนก้ามปู 

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีอยู่ในที่ไม่ไกลจาก บ้านหรือนิคม; มีปูอยู่ในสระนั้น. มีเด็กหญิงชายเป็นอันมากออกมาจากหมู่บ้านแล้ว ไปสู่สระโบกขรณี ถึงแล้วคร่าปูนั้นขึ้นมาจากน้ํา วางลงบนบกแล้วปูชูก้ามใด ๆ ขึ้นมา เด็กหญิงชายเหล่านั้นก็ทําก้ามนั้น ๆ ให้ขาด ให้หัก ให้หลุด ด้วยท่อนไม้หรือ ก้อนหินกรวด. 

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูนั้นมีก้ามอันขาดแล้วหักแล้วหลุดแล้วอย่างนี้ไม่ อาจจะลงไปสู่สระโบกขรณีนั้นเหมือนอย่างเดิมได้อีก ฉันใด ทิฎฐิที่เป็นเสี้ยนหนาม ปกคลุมอยู่ ยักไปยักมา ไม่อยู่ในร่องรอย ใด ๆ ของข้าพระองค์ ทั้งหมดทั้งสิ้นอัน พระผู้มีพระภาคทรงกระทําให้ขาดแล้ว หักแล้ว หลุดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! บัดนี้ข้าพระองค์ ไม่สามารถที่จะเข้าไปใกล้ พระผู้มีพระภาค เพื่อหาช่องทําลายล้างอีกต่อไป.


549

24 ตามเสียงแห่งมาร
   2) ทรงเป็นก้อนหินให้กาโง่สำคัญว่ามันข้น 

         ลําดับนั้น มารผู้มีบาป ได้กล่าวคาถาเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายเหล่านี้ ในสํานักของ พระผู้มีพระภาค ว่า "ฝูงกาพากันไปตอมอยู่รอบ ๆ ก้อนหิน ซึ่งมีสีเหมือน มันข้น โดยหวังว่า เราจะได้ของอ่อนกินในที่นั้นบ้าง จะมีรสอร่อย  บ้าง. เมื่อไม่ได้รับ ความอร่อย ฝูงกาก็พากันบินไปจากที่นั้น. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ข้าพระองค์สังเวช ตัวเองเหมือนกา หลงก้อนหิน ฉะนั้น." 

          คราวนั้น มารผู้มีบาป ครั้นกล่าวคาถาเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายเหล่านี้ ในสํานัก ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้หลีกจากที่นั้น แล้วไปนั่งคู้บัลลังก์อยู่กลางดิน ในที่ไม่ไกลจากพระผู้ มีพระภาค เงียบเสียง มีอาการเก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฎิภาณ เอาไม้ขีดพื้นดินอยู่.


549

24 ตามเสียงแห่งมาร
   3) ไม่มีใครนำพระองค์ไปได้ด้วยราคะ 

         (ลําดับนั้น ธิดามาร ชื่อตัณหา อรดี ราคา ได้เข้าไปหามารผู้มีบาป แล้วกล่าว คาถานี้ กะมารนั้นว่า "ข้าแต่พ่อ ! ท่านเสียใจอยู่ด้วยเรื่องอะไร ท่านต้องเศร้าโศก เพราะบุรุษใด พวกเราจะผูกพันบุรุษนั้นด้วยบ่วงแห่งราคะ แล้วนํามาให้พ่อ  เหมือนนําช้างมาจากปุา บุรุษนั้นจักอยู่ในอํานาจของพ่อ" ดังนี้.)    
      
          (มารได้ตอบดังนี้ว่า) "ลูกเอ๋ย! ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ไปดีแล้วจากโลก ไม่อาจ  จะนํามาได้ด้วยบ่วงแห่งราคะดอก. ท่านก้าวล่วงบ่วงมารเสียแล้ว  ดังนั้น พ่อจึงโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง."


550

24 ตามเสียงแห่งมาร
   4) ศัตรูประสบผลเหมือนเอาศรีษะชนภูเขา 

          (...ลําดับนั้น ธิดามารชื่อตัณหา อรดี ราคา ได้เข้าไปหามารผู้มีบาป. มารได้เห็นธิดา เดินมาแต่ไกล ได้กล่าวคาถาดังนี้ว่า ) "ลูกเอ๋ย! มันจะมีผลเท่ากับ เอาก้านบัวสายไปฟาดภูเขา  หยิกภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟ๎น ทูนหินใหญ่แล้ว  หาที่ยืนบนน้ําวน หรือเอาอกกระแทกตอ ฉันใด คน  ที่จะเอาชนะพระโคดม ก็จะประสบผลเช่นนั้น."


จบผนวกภาค ๔
จบภาค ๔