เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

 ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ ที่พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้ง

100    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปรา ที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร
 
  เอตทัคคบาลี พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
(ดูพระสูตรเต็ม)
  ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ (74 ท่าน)
    เอตทัคคะ ฝ่ายพระภิกษุ มี 41 ท่าน เป็นพระอสีติมหาสาวก(สาวกที่พระพุทธเจ้าบวชให้)
    เอตทัคคะ ฝ่ายพระภิกษุณี มี 13 ท่าน
    เอตทัคคะ ฝ่ายอุบาสก มี 10 ท่าน
    เอตทัคคะ ฝ่ายอุบาสิกา มี 10 ท่าน
   ภิกษุ  (41 ท่าน)   คลิกอ่านประวัติ
     
1 พระอัญญาโกณฑัญญะ  (ปัญจัวัคคีย์ อรหันต์พระองค์แรก) ผู้รู้ราตรีนาน
2 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา)             ผู้มีปัญญามาก
3 พระมหาโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย)        ผู้มีฤทธิ์
4 พระมหากัสสป  (ประธานสังคายนาฯ) ผู้ทรงธุดงค์
5 พระอนุรุทธะ (ตระกูลศากยะ) ผู้มีทิพยจักษุ
6 พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร      ผู้เกิดในตระกูลสูง
7 พระลกุณฏกภัททิยะ            ผู้มีเสียงไพเราะ
8 พระปิณโฑลภารทวาชะ        ผู้บันลือสีหนาท
9 พระปุณณมันตานีบุตร           ผู้เป็นธรรมกถึก
10 พระมหากัจจานะ                 ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยย่อ
11 พระจุลลปันถกะ (พระจูฬปันถกเถระ)      ผู้นฤมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ
12 พระมหาปันถกะ        ผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา
13 พระสุภูติ              
     
 "                 
(1) ผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส
(2) ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
14 พระเรวตขทิรวนิยะ    ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
15 พระกังขาเรวตะ        ผู้ยินดีในฌาน
16 พระโสณโกลิวิสะ                   ผู้ปรารภความเพียร 
17 พระโสณกุฏิกัณณะ    ผู้มีถ้อยคำไพเราะ
18 พระสีวลี                 ผู้มีลาภ
19 พระวักกลิ               ผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา
20 พระราหุล                    ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
21 พระรัฐปาละ                ผู้บวชด้วยศรัทธา
22 พระกุณฑธานะ              ผู้รับสลากก่อน
23 พระวังคีสะ                   ผู้มีปฏิภาณ
24 พระอุปเสนวังคันตบุตร     ผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ
25 พระทัพพมัลลบุตร         ผู้จัดแจงเสนาสนะ
26 พระปิลินทวัจฉะ             เป็นที่ชอบใจของเทวดา
27 พระพาหิย ทารุจีริยะ (ขอให้ พ.แสดงธรรม ขณะบิณทบาต) ผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
28 พระกุมารกัสสปะ            ผู้แสดงธรรมได้วิจิตร
29 พระมหาโกฏฐิตะ           ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา (แตกฉานในธรรม)
30 พระอานนท์
      "     
     "    
     "    
     "    
(1) ผู้เป็นพหูสูต
(2) ผู้มีสติ
(3) ผู้มีคตฯ
(4) ผู้มีความเพียร
(5) ผู้เป็นอุปัฏฐาก
31 พระอุรุเวลกัสสปะ   ผู้มีบริษัทมาก
32 พระกาฬุทายี        ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส
33 พระพักกุละ         ผู้มีอาพาธน้อย
34 พระโสภิตะ           ผู้ระลึกชาติก่อนได้ 
35 พระอุบาลี  (ผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎก) ผู้ทรงวินัย
36 พระนันทกะ ผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี
37 พระนันทะ            ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
38 พระมหากัปปินะ (อรหันต์ผู้มีฤทธิ์หายไปปรากฎในชั้นพรหม) ผู้กล่าวสอนภิกษุ
39 พระสาคตะ  (พระสาคตะเมาจนขาดสติ เป็นเหตุแห่งการบัญญัติสุราเมรัย) ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ
40 พระราธะ (ตรัสเรื่องสัตว์ ราธะ ความพอใจอันใด ราคะอันใด..) ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง
41 พระโมฆราชะ        ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
     
   ภิกษุณี  (13 ท่าน) คลิกอ่านประวัติ
1 พระมหาปชาบดีโคตมี ภิกษุณี (ผู้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า) ผู้รู้ราตรีนาน ภิกษุณี อรหันต์ องค์แรก
2 พระเขมา ภิกษุณี                    ผู้มีปัญญามาก
3 พระอุบลวัณณา ภิกษุณี           ผู้มีฤทธิ์
4 พระปฏาจารา ภิกษุณี              ผู้ทรงวินัย
5 พระธัมมทินนา ภิกษุณี  พ.ตรัสชมว่าเป็นผู้มีปัญญามาก      ผู้เป็นธรรมกถึก จูฬเวทัลลสูตร ธรรมอันเกิดปิติ
6 พระนันทา ภิกษุณี                  ผู้ยินดีในฌาน
7 พระโสณา ภิกษุณี                  ผู้ปรารภความเพียร
8 พระสกุลา ภิกษุณี                 ผู้มีจักษุทิพย์
9 พระภัททากุณฑลเกสา ภิกษุณี   ผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
10 พระภัททากปิลานี ภิกษุณี      ผู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้
11 พระภัททากัจจานา ภิกษุณี นางพิมพา ยโสธรา พระชายา บรรลุอภิญญาใหญ่
12 พระกีสาโคตมีภิกษุณี              ทรงจีวรเศร้าหมอง
13 พระสิคาลมาตา ภิกษุณี          ผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา
     
   อุบาสก  (10 ท่าน) คลิกอ่านประวัติ
1 พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ( ๒พ่อค้าผู้ถวายภัตมื้อแรกหลังตรัสรู้) ผู้ถึงสรณะก่อน* (ตักบาตรคราวที่ ๑)
2 อนาถปิณฑิก เศรษฐี (ผู้สร้างวัดเชตวันถวายพระพุทธเจ้า) ผู้ถวายทาน
3 จิตต คฤหบดีชาวเมืองมัจฉิกสัณฑะ ผู้เป็นธรรมกถึก
4 หัตถกอุบาสก เมืองอาฬวี              ผู้สงเคราะห์บริษัทฯ
5 เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ     ผู้ถวายรสอันประณีต
6 อุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลี          ผู้ถวายโภชนะ
7 อุคค คฤหบดี                            ผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
8 สูรัมพัฏฐ เศรษฐีบุตร                   
9 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (หมอรักษาพระพุทธเจ้า) ผู้เลื่อมใสในบุคคล
10 นกุลปิตา คฤหบดี                       ผู้คุ้นเคย
     
   อุบาสิกา  (10 ท่าน) คลิกอ่านประวัติ
1 นางสุชาดา (ถวายข้าวมธุปายาส ) ผู้ถึงสรณะก่อน* (เช่นกันกับ ตปุสสะ-ภัลลิกะ)
2 นางวิสาขา มิคารมาตา (ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี ) ผู้ถวายทาน
3 นางขุชชุตตรา                          ผู้เป็นพหูสูต
4 นางสามาวดี                             ผู้มีปรกติอยู่ด้วยเมตตา
5 นางอุตตรานันทมาตา                  ผู้ยินดีในฌาน
6 นางสุปปวาสาโกลิยธีตา               ผู้ถวายรสอันประณีต
7 นางสุปปิยา อุบาสิกา                   ผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
8 นางกาติยานี                           ผู้เลื่อมใสอย่าง
9 นางนกุลมาตาคหปตานี                ผู้คุ้นเคย
10 นางกาฬีอุบาสิกาชาวกุรรฆริกา        ผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟัง
     
   
   
 


เอตทัคคบาลี
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
(ดูพระสูตรเต็ม)


เอตทัคคะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอตทัคคะ หมายถึง ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นตำแหน่งที่ พระพุทธเจ้าได้ ประทานแต่งตั้งให้พระสาวกของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่น ๆ ในด้านนั้น ๆ และตำแหน่ง เอตทัคคะแต่ละตำแหน่งทรงแต่งตั้ง เพียงรูปเดียวท่านเดียวเท่านั้น ในแต่ละ พุทธบริษัทแต่ละฝ่าย

ประวัติ
เอตทัคคะ นั้น คือ ตำแหน่งที่พระพุทธเจ้ายกย่องพุทธสาวก ว่า เป็นผู้ยอดเยี่ยม ในทางใด ทางใดหนึ่ง เป็นผู้ประเสริฐสุด ตำแหน่ง เอตทัคคะ นี้ ย่อมได้โดยเหตุ 4 ประการคือ

โดยเหตุเกิดเรื่อง (อัตถุปปัตติ) คือ
          1.ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏโดยสอดคล้องใน เหตุการณ์ หรือ สถานการณ์นั้นๆ ที่เกิดขึ้น
          2.โดยการมาก่อน (อาคมนะ) คือได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้นมา ตั้งแต่อดีต ชาติ พร้อมทั้ง ได้ตั้งจิตปรารถนา เพื่อได้ตำแหน่งเอตทัคคะนี้ด้วย
          3.โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ (จิณณวสี) คือได้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะ เรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ
          4.โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ (คุณาติเรก) คือมีความสามารถในเรื่องที่ทำให้ได้รับ ตำแหน่งเอตทัคคะ เหนือกว่า ผู้อื่นที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน

ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ ( 74 ท่าน)
          * เอตทัคคะ ฝ่ายพระภิกษุ มี 41 ท่าน เป็นพระอสีติมหาสาวกทั้งหมด
          * เอตทัคคะ ฝ่ายพระภิกษุณี มี 13 ท่าน
          * เอตทัคคะ ฝ่ายอุบาสก มี 10 ท่าน
          * เอตทัคคะ ฝ่ายอุบาสิกา มี 10 ท่าน

พระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก / วินัยปิฎก
 
พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์