เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร หรือ พระภัททิยะ 126    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร



พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร
เอตทัคคะผู้เกิดในสกุลสูง (เพราะทรงสละราชสมบัติออกผนวช)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร หรือ พระภัททิยะ

เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระภัททิยเถรศากยราชา เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งแคว้นสักกะ ก่อนทรงสละราชสมบัติออกผนวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์


พระภัททิยะ

ออกผนวชโดยการชักชวนของเจ้าชายอนุรุทธกุมารผู้เป็นพระสหาย
พระองค์ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านมักอุทานเสมอว่า "สุขหนอ ๆ" พระพุทธเจ้ายกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศทางผู้เกิดในสกุลสูง


พระราชประวัติ

พระภัททิยะ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นเจ้าชายนับเนื่องในพระศากยราชวงศ์ ไม่ปรากฏว่าพระราชบิดาของพระองค์ทรงพระนามใด แต่พระราชมารดาของพระองค์ทรงพระนามว่า พระนางกาฬิโคธาราชเทวี พระองค์ได้เสวยราชสมบัติ สืบต่อจากพระราชบิดาจวบจนเสด็จออกผนวช


สาเหตุที่ทรงออกผนวช


พระภัททิยะ มีพระราชศรัทธาเสด็จออกผนวชในพระพุทธศาสนา พร้อมกับเจ้าราชกุมารทั้ง 5 คือ เจ้าชายอนุรุทธะ, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตต์ และนายช่างกัลบกนามว่านายอุบาลีภูษามาลาอีก 1 ท่าน รวมเป็น 7 ณ อนุปิยอัมพวัน ในอนุปิยนิคม โดยการชักชวนของเจ้าชายอนุรุทธะ โดยในวันผนวชนั้น เจ้าชายทั้ง 6 ได้ตกลงกันให้นายอุบาลี ผู้เป็นช่าง ภูษามาลาออกบวชก่อนตน เพื่อจะได้ทำความเคารพเป็นการลดทิฐิและมานะ แห่งความเป็นเชื้อสายกาษัตริย์ของตนลง โดยทั้งหมด ได้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

เมื่อผนวชแล้ว ได้ทรงตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ จนเมื่อบรรลุแล้วพระองค์มักเปล่งอุทานว่า "สุขหนอ ๆ" อยู่เสมอ ๆ จนพระสงฆ์เข้าใจผิดว่าท่านคำนึงเสียดายราชสมบัติที่ทรงสละมา พระสงฆ์เหล่านั้นจึงไปกราบบังคมทูลความนั้นแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงเรียกท่านมาสอบถาม ท่านกราบบังคมทูลพระพุทธเจ้าว่าที่ท่านชอบอุทานเช่นนั้น เป็นเพราะความสุขคือความสบาย และปลอดภัยอันเกิดจากการสละราชสมบัติ เพราะเมื่อยังทรงครองราชสมบัตินั้น มีแต่ความหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา ต้องมีข้าราชบริพาร และทหารรักษาพระองค์ล้อมรอบเพื่อถวายการอารักขา ทำให้เมื่อออกบวชแล้วจะอยู่ที่ไหน ก็ไม่ต้องมานั่งมัว ระแวงภัย อาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชีพ มีใจดุจมฤคา คือคนผู้ไม่มีภาระท่องเที่ยวไป เมื่อกราบทูลเสร็จ พระพุทธองค์จึงตรัสชมเชย พระภัททิยเถรศากยะ

และด้วยความที่ท่านเกิดในตระกูลแห่งกษัตริย์ ดำรงพระราชสถานะเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ผู้เป็นประธานแห่งแคว้น สักกะ แต่มีใจพระราชศรัทธาออกผนวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา บำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่า เป็นผู้เลิศด้าน ผู้เกิดในตระกูลสูง





   
 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์