เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระกุมารกัสสปะ เอตทัคคะ ในด้านใช้ถ้อยคำอันวิจิตร 124    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร



พระกุมารกัสสปะ

เอตทัคคะ ในด้านใช้ถ้อยคำอันวิจิตร (กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะ)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระกุมารกัสสปเถระ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญ ในสมัยพุทธกาล

พระกุมารกัสสปเถระ มีนามเดิมว่า กัสสปะ เป็นนามที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตั้งให้ ต่อมาท่านบวชในพระพุทธศาสนา เวลาพระโคตมพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุชื่อกัสสปะ จะถูกทูลถามว่ากัสสปะไหน จึงตรัสว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านบวชมาตั้งแต่ยังเด็ก

บิดาและมารดาไม่ปรากฏชื่อ เป็นชาวเมืองสาวัตถี มารดาของท่านศรัทธาจะบวช ตั้งแต่ยังไม่ได้ แต่งงาน แต่บิดาและมารดาไม่อนุญาต หลังจากแต่งงานแล้วขออนุญาตสามี ในที่สุดสามีอนุญาต ให้บวช เธอจึงบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ครั้นอยู่มาครรภ์ได้ใหญ่ขึ้น ภิกษุณีทั้งหลาย รังเกียจเธอ จึงนำไปให้พระเทวทัตตัดสิน พระเทวทัตตัดสินว่า เธอศีลขาด แม้เธอจะชี้แจงเหตุผล อย่างไรก็ไม่ยอมรับฟัง ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระ ตัดสิน พระอุบาลีเถระเชิญตระกูลใหญ่ๆ ชาวสาวัตถีและนางวิสาขามาพิสูจน์ได้ว่า นางตั้งครรภ์มา ก่อนบวช ศีลของนางบริสุทธิ์


ชีวิตก่อนบวช

นางภิกษุณีนั้นคลอดบุตรเป็นชาย หน้าตาน่ารัก ผิวพรรณดุจทองคำ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงให้เลี้ยงดูไว้ และทรงตั้งชื่อให้ว่า กัสสปะ อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายรู้จักท่านในนามว่า กุมารกัสสปะ เพราะเป็นเด็กที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงอย่างราชกุมาร



มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา


เมื่อเขาเจริญวัยแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประดับประดาเขาอย่างสมเกียรติ แล้วนำไปบวชยัง สำนัก ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ท่านบวชแล้ว ก็ได้เจริญวิปัสสนาและเรียนพุทธพจน์ แต่ไม่ได้บรรลุ มรรคผลแต่อย่างใด


การบรรลุธรรม


ครั้งนั้น สหายของท่านเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาส เห็นท่านลำบากในการเจริญวิปัสสนา จึงผูก ปัญหา 15 ข้อ แล้วบอกว่า นอกจากพระพุทธเจ้า ไม่มีใครสามารถแก้ปัญหานี้ได้ รุ่งขึ้นท่านเข้าไป เฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทรงแก้ให้ท่าน จนถึง พระอรหัตผล พระเถระ เรียนเองตามที่พระพุทธเจ้าตรัส เข้าไปยังป่าอัมพวัน เจริญวิปัสสนาไม่นาน ก็ได้บรรลุเป็น พระอรหันต์ ที่จัดว่าเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์


งานประกาศพระศาสนา


พระกุมารกัสสปเถระ กล่าวธรรมกถาได้อย่างวิจิตร สมบูรณ์ด้วยอุปมาและเหตุผล เช่น การโต้ตอบ กับพระเจ้าปายาสิผู้ไม่เชื่อว่าโลกอื่นมีจริง เป็นต้น

พระเจ้าปายาสิเห็นว่านรกไม่มี เพราะไม่เคยเห็นญาติคนไหนตกนรกแล้วมาบอก พระเถระอุปมาว่า เหมือนคนทำความผิดร้ายแรง ถูกตัดสินจำคุกจะออกมานอกคุกได้อย่างไร

พระเจ้าปายาสิเห็นว่าสวรรค์ไม่มี เพราะไม่มีญาติที่ขึ้นสวรรค์กลับมาบอก พระเถระอุปมาว่า เหมือนคนพลัดตกลงไปในหลุมคูถ ครั้นขึ้นมาได้ ชำระร่างกายสะอาดแล้ว คงไม่มีใครอยากลงไป นอนในหลุมคูถอีก

พระเจ้าปายาสิตรัสว่า เคยฆ่าคนโดยเอาใส่ในหม้อ แล้วปิดฝาจนสนิทถมทั้งเป็นให้คนช่วยดูรอบ ๆ หม้อ ก็ไม่เห็นชีวะของผู้นั้นออกมา พระเถระอุปมาว่า เหมือนพระองค์เคยบรรทมหลับ ท่ามกลาง ผู้อารักขาและนางสนม แล้วทรงสุบินว่าเสด็จประพาสสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ไม่เคยมีใครเห็นชีวะของ พระองค์ที่ออกไป

พระเจ้าปายาสิตรัสว่า เคยฆ่าคนโดยไม่ทำลายอินทรีย์ทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ครั้นเขาตาย แล้ว ทรงตรวจดู ไม่พบว่าทั้ง 6 นั้นรู้สึกอะไรเลย พระเถระอุปมาว่า เหมือนคนเป่าสังข์ คนโง่ได้ยิน เสียงสังข์ จึงมาขอดูเสียงของสังข์ ค้นหาอย่างไรก็ไม่พบเสียงในตัวสังข์ จึงบอกว่าสังข์ไม่มีเสียง

ยังมีเรื่องอีกมากมายที่แสดงถึงความฉลาดสามารถของพระกุมารกัสสปเถระ ในการอธิบาย หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ท่านสามารถโต้ตอบกับผู้ที่มาโต้แย้งคัดค้านคำสอนได้อย่างดี จึงนับว่าเป็นกำลังที่สำคัญรูปหนึ่งในการประกาศพระพุทธศาสนา


เอตทัคคะ


เพราะพระกุมารกัสสปเถระ กล่าวธรรมกถาได้อย่างวิจิตรสมบูรณ์ด้วยการอุปมา และเหตุผล พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้านใช้ถ้อยคำอันวิจิตร (กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะ)


บุญญาธิการ


แม้พระกุมารกัสสปเถระนี้ ก็ได้สร้างสมบุญญาธิการอันเป็นอุปนิสัย แห่งมรรคผลนิพพานมานาน ในพุทธกาลแห่งพระปทุมุตรพุทธเจ้า ได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง ที่เลิศ กว่าภิกษุทั้งหลายผู้กล่าวถ้อยคำอันวิจิตร จึงได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น ได้สร้างสมความดีที่สนับสนุน เกื้อกูลแก่ความปรารถนามาตลอดเวลา แล้วได้มาสมความปรารถนาในสมัย พระศาสดาของเรา ทั้งหลายดังกล่าวแล้ว


ธรรมวาทะ


พระเถระได้กล่าวอุปมาว่า ชาย 2 คน ชวนกันไปหาทรัพย์ ไปพบตะกั่วจึงห่อผ้านำไป ครั้นไป พบทอง ชายคนหนึ่งไม่ยอมทิ้งตะกั่วเพราะถือว่าหอบหิ้วมานานแล้ว อีกคนหนึ่ง ทิ้งตะกั่วเพราะรู้ว่า มีราคาน้อย แล้วห่อเอาทองไปเพราะรู้ว่ามีราคามาก เมื่อกลับไปถึงบ้าน คนที่นำห่อทองไป ย่อมเป็น ที่ชื่นชอบยินดีของครอบครัวและญาติมิตรมากกว่าคนที่นำห่อตะกั่วไป แล้วได้ขอให้พระเจ้า ปายาสิสละความเห็นผิดเดิมเสีย

บั้นปลายชีวิต

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานเมื่อใดและที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์ อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

   


 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์