เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า 137    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร


พระเรวตขทิรวนิยเถระ

เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า


พระเรวตขทิรวนิยะ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อวังคันตะ มารดาชื่อนางสารี ในหมู่บ้านตำบลนาลันทา แคว้นมคธ ซึ่งบิดาของท่านเป็นนายบ้าน หรือหัวหน้าหมู่บ้านนั้น อันตั้งอยู่ใน ท่านเป็นน้องชายอีกคนสุดท้อง ของพระ สารีบุตรเถระ เดิมชื่อว่า เรวัตะ๗ ขวบ ได้แต่งงานเมื่อท่านอยู่ในวัยเด็ก อายุประมาณ ๗-๘ ขวบเท่านั้น บิดามารดาของท่านได้ปรึกษากันว่า:-

“บุตรธิดาของเราออกบวชไปแล้ว ๖ คน ยังเหลือเรวตะเพียงคนเดียว ถ้าเรวตะ ออก บวชอีก ก็จะไม่มีผู้ใด สืบทอดวงศ์ตระกูล เราควรผูกมัดเราวตะ ไว้ด้วยการให้มีภรรยา รับผิดชอบต่อครอบครัวเสียแต่ในวัย เด็กนี้ จะดีกว่า ถ้าปล่อยไว้อาจถูกพระสงฆ์พุทธสาวกพาไปบวชอีก"

เมื่อปรึกษาและมีความเห็นชอบตรงกันแล้ว จึงจัดการสู่ขอนางกุมาริกาผู้มีฐานะชาติตระกูลเสมอกัน แล้วกำหนด วันวิวาหมงคล ครั้นเตรียมการทุกอย่าง พร้อมสรรพ และถึงกำหนดนัดวันวิวาห์แล้ว ขณะทำพิธีแต่งงาน ญาติมิตร ต่างทยอยกันเข้าหลั่งน้ำ และกล่าวคำอวยพรคู่บ่าวสาวตามประเพณีนั้น มีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายเจ้าสาว เป็นคุณยายอายุประมาณ ๑๒๐ ปี กล่าวคำอวยพรให้เจ้าบ่ายเจ้าสาวปรองดองครองรักกันยาวนาน มีอายุยืนยาว เหมือน คุณยายนี้รวตะได้ฟังคำอวยพร และเห็นคุณยายร่างกายแก่หง่อม หลังค่อมโกง ผิวตกกระ งก ๆ เงิ่น ๆ หากความงามอันเป็นที่เจริญจิตเจริญใจมิได้เลย แล้วหวนคิดเปรียบเทียบกับเจ้าสาวของตน ซึ่งจะมีสภาพ ร่างกายเหมือนคุณยายนี้ จึงเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาทันที และเริ่มคุ่นคิดหาวิธี เพื่อหลีกหนี ชีวิตครอบครัว ฆราวาส และมองเห็นว่าวิธีเดียวที่จะพ้นได้ ก็คือต้องออกบวชเหมือนพี่ ๆ จึงจะพ้นได้หนีเมียบวช

ดังนั้น ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนยานพาหนะเดินทางไปสู่เรือนหอนั้น ท่านได้แสดงอาการว่าท้องเสียขอตัว เพื่อลง ไปถ่ายท้องในป่าข้างทาง ครั้งแรก ๆ บิดามารดาได้สั่งให้คนคอยติดตามดูเพราะกลัวว่าจะหนี เรวตะ เห็นว่ามี คนคอยติดตามดูอยู่จึงกลับมาด้วยดี บิดามารดาและคนคอยติดตามก็ชื่อว่า คงจะท้องเสียจริง ๆ จึงเลิกติดตาม เรวตะ จึงได้โอกาสหนีไปได้สำเร็จและได้พบสำนักพระภิกษุผู้อยู่ในป่า จึงเข้าขอบรรพชาในสำนักของท่าน ส่วน พระภิกษุรูปนั้นพอทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ก็รับจักการบวชให้ทันที โดยไม่ต้องขออนุญาต บิดามารดาก่อน เพราะพระสารีบุตรเถระ ได้สั่งไว้ว่า “ถ้าพบน้องชายของเราให้บวชได้ทันที” เนื่องจากถ้าไป ขออนุญาตบิดามารดาก็จะไม่ได้บวช เพราะบิดามารดาของท่าน เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระสารีบุตรเถระได้ทราบข่าวว่า เรวตะน้องชายบวชแล้ว คิดจะไปเยี่ยมจึงกราบทูลลาพระผู้มีพระภาค ถึง ๒ ครั้ง พระพุทธองค์ตรัสห้ามยับยั้งไว้ ส่วนสามเณรเรวตะคิดว่า ถ้าอยู่ในสำนักของพระอุปัชฌาย์นี้ต่อไป บรรดาญาติ ๆ ทั้งหลาย อาจจะตามมาพบ และนำตัวเรากลับไปก็ได้ จึงเรียน กรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์นั้นแล้ว ได้ลาไปบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ในป่า ไม้ตะเคียน (ขทิรวนิยะ) ระยะทางไกลออกไปประมาณ ๓๐ โยชน์ ปฏิบัติอยู่ 3 เดือน ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์ในพรรษานั้น เพราะท่านอยู่ในป่าไม้ตะเคียน เป็นเวลานาน จึงได้นามใหม่ว่า “พระเรวตขทิรวนิยเถระ”


พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม

เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระสารีบุตรเถระกราบทูลลาพระบรมศาสดาเพื่อไปเยี่ยมพระรวตะ อีกครั้ง พระบรมศาสดารับสั่งว่าจะเสด็จไปด้วย และรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายประมาณ ๕๐๐ รูปเตรียมเดินทางไป ด้วยกันเมื่อพระบรมศาสดาพร้อมด้วยหมู่ภิกษุบริวารเสด็จดำเนินมาถึงทาง ๒ แพร่ง พระอานนท์เถระกราบทูลว่า:-

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาร ทางไปสำนักของพระเรวตะ นั้น ทางนี้เป็นทางอ้อมประมาณ ๖๐ โยชน์ เป็นที่อยู่ของ มนุษย์สะดวกแก่การภิกขาจาร ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นทางตรงประมาณ ๓๐ โยชน์ แต่เป็นถิ่นที่อยู่ของอมนุษย์ พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วยภิกขาจาร พระเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า:-

“อานนท์ พระสีวลีมากับพวกเราหรือเปล่า ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสีวลีมาด้วยพระเจ้าข้า”
“อานนท์ ถ้าอย่างนั้น ก็จงไปทางตรงนั่นแหละ”

การที่พระพุทธองค์ทรงรับสั่งอย่างนั้น ก็เพราะพระองค์ทรงทราบว่า เทวดาทั้งหลายในระหว่างหนทางนั้น จะพากันจัดที่พักและอาหารบิณฑบาตถวาย พระสีวลี ผู้เป็นที่เคารพนับถือของพวกตน บรรดาพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประมุขก็จะไม่ลำบากด้วยภิกขาจาร และสถานที่พัก ด้วยอาศัยบุญ ของพระสีวลีนั้น

เมื่อพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวารเหล่านั้นเสด็จมาใกล้จะถึงแล้ว พระเรวตะแสดงฤทธิ์ เนรมิตป่า เป็นพระคันธกุฎี สำหรับพระผู้มีพระภาค และเนรมิตสถานที่จงกรมพร้อมด้วยสถานที่พักกลางคืน และกลางวัน เพื่อความสะดวกและผาสุกแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ตามเสด็จมาด้วยอีกอย่างละ ๕๐๐ แห่ง แล้วออกไปถวายการ ต้อนรับนำเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฏีพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ที่นั้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เป็นเวลา ๑ เดือน จึงเสด็จกลับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับแล้ว พระเรวตเถระจึงคลายฤทธิ์ สถานที่นั้นก็กลับกลายเป็นสภาพป่า ไม้ตะเคียนตามเดิม

พระหลวงตานินทาพระเรวตะ

ในขณะที่พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พักที่ป่าไม้ตะเคียนนั้น มีพระชรา ๒ รูป ร่วมคณะอยู่ด้วย ท่านทั้งสอง นั่งสนทนากันว่า

“พระเรวตะ ทำการก่อสร้างอารามยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้ จะมีเวลาบำเพ็ญสมณธรรมได้อย่างไร แม้แต่พระ เชตะวันกับพระเวฬุวันก็ยังสู้อารามนี้ไม่ได้ พระผู้มีพระภาคคงจะเห็นแก่หน้า ว่าเป็นน้องชายของ พระสารีบุตรอัครสาวก จึงเสด็จมาเยี่ยม”

พระผู้มีพระภาคทรงทราบวารจิตของพระชราทั้ง ๒ รูป นั้นด้วย และทรงดำริว่า

“ถ้าอยู่นานก็จะเป็นการรบกวนพระเรวตะ เพราะปกติพระภิกษุผู้อยู่ป่าย่อมต้องการความสงบ”

ดังนั้นด้วย จึงเสด็จกลับ พร้อมกันนั้นได้ทรงอธิษฐานให้พระหลวงตาทั้ง ๒ รูป ลืมของใช้ส่วนตัวไว้ เมื่อตาม เสด็จออกมาพ้นเขตอารามแล้ว พระพุทธองค์จึงคลายฤทธิ์อธิษฐานพระภิกษุชราทั้ง ๒ รูป พอนึกขึ้นได้ว่า ลืมของไว้จึงพากันรีบกลับไป เอาแต่ทว่าคราวนี้สภาพหนทาง และกุฏี ที่พักอาศัยหายไปทุกสิ่งทุกอย่าง เปลี่ยนแปลงสภาพเป็นป่าไปหมด พบของตนแขวนอยู่ที่ต้นตะเคียนบ้าง อยู่บนตอตะเคียนบ้าง สร้างความ ประหลาด ใจแก่หลวงตาทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยเหตุนี้ที่พระเรวตเถระอยู่ในป่าไม้ตะเคียนเป็นเวลานาน ท่านได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิกกว่า ภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้อยู่ป่าท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการ พระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน



   
พระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก / วินัยปิฎก
 
 
 
 
 
พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์