เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระวักกลิ อรหันต์สาวก ทรงยกย่องท่านเป็น เอตทัคคะในฝ่ายสัทธาธิมุต
  (ผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา)
132    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร


พระวักกลิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระวักกลิ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านเป็น เอตทัคคะในฝ่ายสัทธาธิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา)


ประวัติ

ประวัติของพระวักกลิในพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีข้อมูลแตกต่างกัน ดังนี้


ประวัติตามพระไตรปิฎก


ในขุททกนิกาย อปทาน ระบุว่า พระวักกลิกำเนิดในวรรณะพราหมณ์ที่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล มารดาของท่านถูกปีศาจรังควาญ จึงนำท่านมาถวาย แทบพระบาท พระพุทธเจ้าตั้งแต่ยังท่านเป็นทารก พระองค์ก็ทรงรับมาเลี้ยงดู ท่านติดตาม พระพุทธเจ้าตลอด ถ้าไม่เห็นพระองค์แม้เพียงครู่เดียว ก็จะกระวนกระวายใจ เมื่ออายุได้ 7 ปี จึงได้บวช พระพุทธเจ้าเห็นว่าพระวักกลิยังยึดติดรูป

จึงตรัสกับพระวักกลิว่า

อย่าเลย วักกลิทำไมเธอจึงยินดีในรูปที่ชนพาลชอบเล่า ผู้ใดเห็นพระสัทธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตเห็นเรา ผู้ไม่เห็นพระสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น

ร่างกายมีโทษไม่สิ้นสุดเหมือนต้นไม้มีพิษ เป็นที่อาศัยของโรคทุกชนิด ล้วนเป็นที่ ประชุมของทุกข์ เพราะฉะนั้น เธอจงเบื่อหน่ายในรูปเถิด พิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย จะถึงที่สุด แห่งสรรพกิเลส ได้โดยง่าย

หลังจากนั้นพระวักกลิได้ขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏ พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงไปที่เขาลูก นั้น แล้วตรัสเรียกพระวักกลิ พระวักกลิดีใจรีบวิ่งลงจากเขาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

ต่อมาพระวักกลิอาพาธด้วยโรคลม ท่านรู้ว่าใกล้จะมรณภาพ จึงให้ผู้อุปัฏฐาก หามท่าน ไปวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงฝาก พระธรรมเทศนา เรื่อง ความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ 5 ให้พระภิกษุนำไปแสดง แก่ท่าน ก่อนท่านจะ มรณภาพ พระวักกลิได้ฟังแล้วก็บรรลุอรหัตตผล ณ ที่นั่น แล้วถึงแก่นิพพาน ขณะนั้น มีควันตลบคลุ้งไปทั่วทุกทิศ พระพุทธเจ้าตรัสกับกลุ่ม ภิกษุว่า ควันนั้นคือมารที่แปลงมา ตามหาวิญญาณของพระวักกลิ แต่หาไม่พบเพราะ พระวักกลิ ดับขันธ์ถึงนิพพานแล้ว


ประวัติตามมโนรถปูรณี และธัมมปทัฏฐกถา

ในมโนรถปูรณีและธัมมปทัฏฐกถาระบุว่า พระวักกลิเป็นพราหมณ์ชาวสาวัตถี ได้เล่าเรียนจนจบพระเวท ต่อมาได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้วพึงพอใจในพระพุทธสรีระ จึงออกบวชตามเสด็จไปทุกแห่ง เฝ้ายืนดูพระองค์อยู่ตลอด เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นว่า ถึงเวลาที่ญาณของท่านแก่กล้าแล้ว จึงตรัสกับท่านว่า

วักกลิ ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยมองรูปกายอันเปื่อยเน่านี้ที่ท่านเห็น วักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม วักกลิเห็นธรรม จึงจะชื่อว่าเห็นเรา

แต่พระวักกลิยังคงไม่ละพฤติกรรมเดิม จนใกล้เข้าพรรษา พระพุทธเจ้าจึงทรงขับท่าน เสียจากสำนัก พระวักกลิเสียใจมาก จึงขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏตั้งใจจะฆ่าตัวตาย

พระพุทธเจ้าจึงไปปรากฏพระกายที่นั้น แล้วตรัสเตือนสติท่านว่า "ภิกษุผู้มากด้วยความ ปราโมทย์ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอันสงบที่ระงับสังขาร เป็นความสุข" พระวักกลิจึงบรรลุอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วเหาะลงมากราบ พระพุทธเจ้า

ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ประกาศท่ามกลางอริยสงฆ์ ยกย่องพระวักกลิว่า เป็นยอดของภิกษุ ผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา


อดีตชาติ


ในวักกลิเถราปทาน พระวักกลิได้เล่าเรื่องบุพกรรมของตนเองว่า ในสมัยพระปทุมุตร พุทธเจ้า เมื่อ 100,000 กัปที่แล้ว พระวักกลิได้เกิดเป็นพราหมณ์ในเมืองหงสวดี ได้ยินพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสยกย่องพระสาวกชื่อวักกลิว่าเป็นผู้มุ่งมั่นด้วยศรัทธา มีปัญญาดี มีความอาลัยในการดูพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าผู้ใด

ท่านได้ฟังแล้วเกิดความยินดี จึงจัดภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกตลอด 7 วัน และถวายจีวรผืนใหม่ จากนั้นได้กราบทูลขอพรให้ตนเอง ได้เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสัทธิมุต พระปทุมุตรพุทธเจ้า จึงพยากรณ์ว่าในอีก 100,000 กัปข้างหน้า ท่านจะเกิดในสกุล วักกลิ ได้เป็นสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า และจะทรง ยกย่องท่านเป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายผู้สัทธาธิมุต หลังจากภพนั้นแล้วท่าน ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

   
 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์