เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระปุณณมันตานีบุตร เอตทัคคะ ผู้เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์) 128    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร



พระปุณณมันตานีบุตร
เอตทัคคะ ผู้เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระปุณมันตานีบุตรเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระปุณมันตานีบุตรเถระเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ ออกบวชโดยความชักชวนของพระอัญญาโกณฑัญญะ

เมื่อออกบวชท่านได้กลับไปบ้านเดิม ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ เป็นผู้ตั้งในคุณธรรม 10 ท่านเคยสนทนากับพระสารีบุตรด้วยอุปมารถ 7 ผลัด ภายหลังได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในด้าน ผู้เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์)


ชาติภูมิ

ท่านเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านโทณวัตถุ เป็นบ้านเดียวกับ โกณฑัญญพราหมณ์ และท่านเป็นหลานของโกณฑัญญพราหมณ์


สาเหตุที่ออกบวช


เมื่อท่านโกณฑัญญพราหมณ์ได้บรรลุธรรมแล้วได้กลับมาชวนท่านออกบวช เมื่อท่านออกบวชแล้ว ได้กลับไปอยู่ ณ บ้านเดิม ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นผู้ตั้งอยู่ในคุณธรรม 10 ประการ คือ
     1.มักน้อย
     2.สันโดษ
     3.ชอบสงัด
     4.ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
     5.ปรารภความเพียร
     6.บริบูรณ์ด้วยศีล
     7.บริบูรณ์ด้วยสมาธิ
     8.บริบูรณ์ด้วยปัญญา
     9.บริบูรณ์ด้วยวิมุตติ
     10. บริบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัศนะ
ท่านเคยสนทนากับพระสารีบุตรด้วยอุปมารถ 7 ผลัด ภายหลังได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในด้าน ผู้เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์)


บั้นปลายชีวิต

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน




   
 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์