เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระโสณกุฎิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ 134    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร



พระโสณกุฎิกัณณเถระ

เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ

พระโสณกุฎิกัณณเถระ เป็นบุตรของอุบาสิกาชื่อว่า “กาฬี” ในเมืองราชคฤห์ เดิมชื่อว่า “โสณะ” แต่เพราะท่านชอบประดับหูของท่านด้วยเครื่องประดับมีมูลค่ามากถึง ๑ โกฎิ จึงได้นามว่า “กุฎิกัณณะ” เติมเข้ามาข้างหลังชื่อ ดังนั้นท่านจึงมีชื่อว่า “โสณกุฎิกัณณะ”

สมัยที่ พระมหากัจจายนเถระ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มารดาของโสณกุฎิกัณณะ เป็นอุบาสิกาให้การบำรุงอุปัฏฐากท่าน เมื่อโสณกุฎิกัณณกุมารเจริญเติบโตขึ้น ได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระเถระอยู่บ่อย ๆ แล้วเกิดศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก และปวารณาตัวเป็นอุปัฏฐาก ของท่านด้วย


อยู่ชนบทบวชพระยาก

ต่อมาโสณกุฎิกัณณอุบาสก มีศรัทธาปรารถนาจะบวช แต่พระเถระได้แนะนำให้เขาปฏิบัติตน บำเพ็ญกุศล ในเพศฆราวาสจะสะดวกกว่า เพราะชีวิตพระสงฆ์ต้องประพฤติพรหมจรรย์นั้น เป็นเรื่องยากลำบาก แต่ โสณกุฎิกัณณะ ก็ยังยืนยันมั่นคงว่า ถึงจะลำบากอย่างไรก็ยินดี ที่จะปฏิบัติกิจของพระสงฆ์ อย่างดีที่สุด เฝ้าอ้อนวอนพระเถระอยู่หลายครั้ง ในที่สุดพระเถระ ก็ให้บวชเป็นสามเณร ไว้ก่อนเนื่องจากอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้นหาภิกษุได้ยาก การบวชพระ จะต้องมีภิกษุร่วมประชุมสังฆกรรมให้การอุปสมบทอย่างน้อย ๑๐ รูป เรียกว่า ทสวรรค ท่านจึงเป็นสามเณรอยู่นานถึง ๓ ปี กว่าที่จะมีภิกษุครบจำนวนทำการอุปสมบทให้ท่าน ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค

เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้ว ได้เรียนพระกรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ ปลีกตัวหาสถานที่สงบสงัด ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงในพรรษานั้น

ครั้นออกพรรษาแล้ว ท่านมีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะท่านยังไม่เคยเห็น พระองค์เลย ท่านจึงกราบลาพระมหากัจจายนเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเถระก็อนุญาต และได้ฝากความไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเพื่อขอแก้ไขพระวินัยอันเป็นพุทธบัญญัติบางประการ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระสงฆ์ผู้อยู่ในเมืองกุรุรฆระ แคว้นอวันตีชนบาท รวมทั้งหมด ๕ ประการ (เหมือนในประวัติพระมหากัจจายนเถระ ดังกล่าวแล้วข้างต้น)


ถวายพระธรรมเทศนา

พระโสณกุฎิกัณณะ เดินทางมาถึงพระเชตะวันมหาวิหารแล้ว เข้าเฝ้ากราบถวายบังคม พระบรมศาสนาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรแก่ตนส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์ทรงปฏิสันถาร ทักทายกับเธอโดยสมควรแล้ว เธอได้กราบทูลความตามที่พระอุปัชฌาย์สั่งมา เมื่อพระพุทธองค์ ทรงสดับรับทราบความลำบากของหมู่ภิกษุสงฆ์ ในชนบทแล้ว พระองค์ทรงประทานอนุญาต ตามที่ขอมานั้นทุกประการ

ได้รับยกย่องในทางผู้มีวาจาไพเราะ

พระผู้มีพระภาค มีดำรัสสั่งให้พระอานนท์เถระจัดสถานที่ ให้ท่านพักค้างแรมในพระคันธกุฎี ร่วมกับพระองค์ ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีนั้น พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านแสดงธรรม ให้พระองค์ได้สดับ พระโสณกุฎิกัณณเถระ จึงน้อมรับสนองพุทธดำรัสด้วยการแสดง พระสูตร อันแสดงถึงวัตถุ ๘ ประการด้วยเสียงอันไพเราะ เมื่อจบเทศนาพระสูตรนั้นแล้ว พระพุทธองค์ ตรัสอนุโมทนาสาธุการชมเชยในความสามารถของท่าน และได้ทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้มีวาจาไพเราะ, ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำไพเราะ

ท่านพระโสณกุฎิกัณณเถระ พักอาศัยอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาค พอสมควรแก่เวลาแล้ว ได้กราบทูลลากลับมายังสำนักของ พระมหากัจจายนเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในอวันตีชนบท กราบเรียนรายงานผลการเข้าเฝ้าให้ได้รับทราบทุกประการ และท่านยังได้แสดงเทศนาที่แสดงถวายพระพุทธองค์ให้ โดยมีมารดาของท่านรับฟัง เป็นการเพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อ และปสาทะความเลื่อมใสแก่โยมมารดาของท่านอีกด้วย

ท่านพระโสณกุฎิกัณณเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาโดยสมควรแก่กาลเวลา แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

ที่มา : http://www.84000.org/one/1/17.html





   
 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์