เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

 พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ 139    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร


พระมหาโกฏฐิตเถระ
เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔


พระมหาโกฏฐิตะ เป็นบุตรพราหมณ์ชื่ออัสสลายนะกับพราหมณีชื่อจันทวดี ในเมือง
สาวัตถี เดิมชื่อว่า “โกฎฐตะ” ตระกูลของท่านจัดว่าอยู่ในระดับมหาเศรษฐี ท่านจึงได้รับการ เลี้ยงดูอย่างดี แต่บิดาของท่านมีทิฏฐิแรงกล้ายึดมั่นในลัทธิ ศาสนาพราหมณ์อย่างมั่นคง

เมื่อท่านเจริญวัยได้ศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิ ศาสนาพราหมณ์จบไตรเพท
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เที่ยวจาริกเผยแผ่หลักธรรมคำสอน ไปตามคามนิคม ต่างๆทั้งในเมืองและชนบท ได้เสด็จถึงหมู่บ้านที่อัสสลายนพราหมณ์ ตั้งนิวาสสถาน อยู่ ได้ทรมานอัสสลายนพราหมณ์ จนละทิฏฐิมานะ และแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ปวารณาตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต


ทิ้งพราหมณ์ ถือพุทธ


โกฏฐิตมาณพ เห็นบิดาหันมายอมรับนับถือพระรัตนตรัยก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นบ้าง
ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ยิงเกิดศรัทธามากขึ้น ถึงกับมีจิตน้อมไปในการออกบวช เพื่อปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงกราบทูลขอบวชต่อพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ ทรงมอบหมาย ให้พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้พระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นพระอาจารย์ ในขณะที่ท่านกำลังโกนผมอยู่นั้น ท่านได้พิจารณา ในกรรมฐาน ไปเรื่อย ๆ พอผลัด เปลี่ยนผ้าสาฎกของคฤหัสถ์ ออกแล้วนุ่ง ห่มผ้า กาสาวพัสตร์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ในขณะนั้น พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ญาณ ๔ วิชชา ๓ และวิโมกข์ ๓

พระมหาโกฏฐิตะ นั้น แม้ท่านจะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ท่านก็ยังมีปกติฝักใฝ่ใน
การศึกษา ไม่ว่าท่านจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาหรือเข้าไปหาพระเถระรูปอื่น ๆ ท่านก็มักจะถามปัญหาในปฏิสัมภิทาอยู่เสมอ ๆ จนมีความเชี่ยวชาญแตกฉาน ในปฏิสัมภิทา เป็นพิเศษ

มีเรื่องปรากฏในมหาเวทัลลสูตรมัชฌิมนิกายว่าเป็นผู้แตกฉานเพราชอบถามปัญหา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์
พระมหาโกฏฐิตเถระได้ขอโอกาสกราบเรียนถามข้อข้องใจกับพระสารีบุตรเถระ ผู้เป็นพระ อุปัชฌาย์ว่า

“ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ คนเช่นไร ที่เรียกว่าคนทุปัญญา ขอรับ ?”
“ดูก่อนมหาโกฏฐิติ คนทุปัญญา ก็คือ คนไม่มีปัญญา
“เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า คนไม่มีปัญญา ขอรับ ?”
“คนไม่มีปัญญา ก็คือคนไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้ทำให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้เป็น
ความดับทุกข์ และสิ่งนี้เป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์ ส่วนคนอีกพวกหนึ่งที่รู้ ความจริงเหล่านี้ ท่านเรียกว่า คนมีปัญญา”

พระมหาโกฏฐิตเถระ ได้กราบเรียนถามต่อไปว่า:-
“ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ ที่เรียกว่า วิญญาณ นั้น หมายความว่าอย่างไร ขอรับ ?”
“ดูก่อนมหาโกฏฐิติ ที่เรียกว่า วิญญาณ นั้น ก็เพราะรู้สึกสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์
บ้าง”
“ท่านขอรับ ปัญญากับวิญญาณนี้ รวมกันหรือแยกกัน ขอรับ ?”
“ดูก่อนมหาโกฏฐิติ ปัญญากับวิญญาณนี้ อยู่รวมกัน ไม่อาจแยกกันได้กล่าวคือ บุคคล
รู้ในสิ่งใดก็รู้สึกในสิ่งนั้น บุคคลรู้สึกในสิ่งใดก็รู้สิ่งนั้นเป็นต้น”

พระเถระทั้งสองนั้น ได้สนทนาธรรมในข้อสงสัยต่าง ๆ กันต่อไป พอสมควรแก่กาล
เวลาแล้ว พระมหาโกฏฐิตเถระ ได้กล่าวแสดงความชื่นชม ยินดีในปรีชาความรู้ของพระ
อุปัชฌาย์ (พระสารีบุตรเถระ) แล้วจึงกราบลากลับสู่ที่พักของตน

ด้วยเหตุแห่ง การฝักใฝ่ ในการศึกษา จนเป็นผู้เชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทาเป็นพิเศษนี้
พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔

ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

 

ปฏิสัมภิทา ๔
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

วิชชา ๓
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด
๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น

 

วิโมกข์ ๓
๑. สุญญตวิโมกข์ ความพ้นโดยเป็นสภาพว่าง
คือว่าจาก ราคะ โทสะ โมหะ
๒. อนิมิตรวิโมกข์ ความพ้นโดยหาเครื่องหมายมิได้เพราะ
ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องหมาย
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นโดยหาที่ตั้งมิได้
คือไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่ตั้ง

ที่มา http://www.84000.org/one/1/39.html



   
พระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก / วินัยปิฎก
 
 
 
 
 
พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์