เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา หรือ พระนางพิมพา)   พระชายา ของเจ้าชายสิทธัตถะ
115    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร



พระภัททากัจจานาเถรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระภัททากัจจานาเถรี หรือพระนามเดิม พระนางยโสธรา (พระนางพิมพา หรือ พระนางยโสธราพิมพา) เป็นพระชายา ของเจ้าชายสิทธัตถะ หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระนางได้อุปสมบทเป็นภิกษุณี และบรรลุเป็น พระอรหันต์ในที่สุด

ประวัติ

พระภัททากัจจานาเถรี ประสูติวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) ซึ่งนับพระนางเป็น 1 ในสหชาติทั้ง 7 ของพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วย
       * พระภัททากัจจานาเถรี หรือ พระนางยโสธรา
       * พระอานนท์
       * พระฉันนะ
       * พระกาฬุทายีเถระ
       * ม้ากัณฐกะ
       * ต้นพระศรีมหาโพธิ์
       *ขุมทรัพย์ทั้งสี่

พระนางยโสธราเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระมารดามีพระนามว่าพระนางอมิตาเทวี ประสูติในโกลิยวงศ์ กรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ เมื่อแรกประสูติพระญาติทั้งหลายได้ทรงถวายพระนามว่า "ภัททากัจจานา" เพราะพระสรีระของพระองค์ มีพระฉวีวรรณสีเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์ พอมีพระชนม์ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมีพระชนม์ 29 พรรษาได้ ประสูติพระราชโอรส โดยพระเจ้าสุทโธทนะให้พระนามว่าพระราหุล

ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระนางยโสธราทรงเกิดความเศร้าโศกพระทัยยิ่งนัก ได้ทรงละเว้นการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับนานาประการ ทรงมีจิตผูกพัน และมีความรักอันลึกซึ้งต่อพระองค์ แม้วัฒนธรรมอินเดียในยุคนั้นจะถือว่าหญิงไม่มีสามีจะถือว่าไม่มีเกียรติ และหญิงนั้นสามารถมีสามีใหม่ได้ แต่พระนางก็ไม่สนพระทัยในชายอื่น พระนางยังคงทรงเฝ้ารอพระสวามีของพระนางเพียงพระองค์เดียว จนกล่าวได้ว่า

       คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด พระนางก็เปลี่ยนชุดทรงมานุ่งห่ม ผ้าย้อมฝาด ด้วย
       คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะบรรทมบนพื้นไม้ พระนางก็บรรทมบนพื้นไม้ด้วย
       คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงอดพระกระยาหาร พระนางก็ทรงอดพระกระยาหารด้วย ไม่ว่าจะได้ข่าวว่าพระสวามีทรงปฏิบัติตนอย่างไร พระนางพิมพาก็ทรงปฏิบัติตนเยี่ยงนั้น

และเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ในวันแรกพระนางมิได้ทรงออกไปรับเสด็จ แต่ในวันที่สองขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกไปรับบาตร พระนางยโสธราทรงชี้ให้พระราหุลได้ทอดพระเนตรพระบิดาของพระองค์แต่มิได้ออกไปทรงบาตร ทรงเก็บตัวอยู่ในพระตำหนัก และในวันที่สองเมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับภัตตาหารในพระราชวังเสร็จ พระองค์จึงเสด็จไปโปรดพระนางในพระตำหนัก

เมื่อพระนางได้ทรงพบถึงกับเข้ามากอดพระบาทร่ำไห้รำพันอย่างน่าสงสาร แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาให้พระนาง ดำรงพระสติไว้ได้ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศนาพระประยูรญาติแล้ว พระนางก็รับสั่งให้ราหุล ราชโอรสตามเสด็จ พระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย

หลังจากที่พระนางอยู่ในพระตำหนักได้ 3 ปี พระเจ้าสุทโธทนะก็สวรรคต และได้ทำพิธีให้ เจ้าชายมหานามะ ขึ้นครองราชย์สมบัติ สืบแทน พระนางยโสธราพิมพาจึงออกผนวชกับมาตุคาม 1,100 คน ประมาณพรรษาที่ 5 แห่งพระผู้มีพระภาค ขอบรรพชาในสำนักของพระศาสดา พระนางยโสธราพิมพาไปยังสำนักของพระเถรี ได้รับคุรุธรรม 8 บวชแล้ว เมื่อมีพระชนมายุ 40 พรรษา มีพระนามว่า "พระภัททากัจจานาเถรี"

พระภัททากัจจานาเถรี (ยโสธรา) ต่อมารับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้า และเจริญวิปัสสนายังไม่ทันถึง 15 วัน ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์

ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในอภิญญาทั้งหลาย ระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัป โดยการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่างๆตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาผู้บรรลุอภิญญาใหญ่

พระภัททากัจจานาเถรีนิพพานในพรรษาที่ 43 แห่งพระผู้มีพระภาค ขณะมีพระชนมายุได้ 78 พรรษา

ก่อนที่พระนางจะนิพพาน พระนางได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อขอขมาในการล่วงเกินพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งทางกาย วาจา ใจ ในครั้นเมื่อใช้ชีวิตคู่ร่วมกันหลายกัปในกาลก่อน แล้วทูลลาเสด็จสู่พระนิพพาน

   


 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์