เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางอรณวิหาร และทักขิเณยยบุคคล 138    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร


พระสุภูติเถระ

เอตทัคคะในทางอรณวิหาร และทักขิเณยยบุคคล


พระสุภูติ เกิดในวรรณแพศย์
เป็นบุตรของสุมนเศรษฐีผู้เป็นน้องชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในนครสาวัตถี ท่านเป็นผู้มีลักษณะดี ผิวพรรณผ่องใสสะอาด สวยงาม จึงได้นามว่า “สุภูติ” ซึ่งถือว่าเป็นมงคลนาม มีความหมายว่า “ผู้เกิดดีแล้ว”


ออกบวชคราวฉลองพระเชตวัน

เหตุการณ์ที่ชักนำให้ท่านได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็เนื่องมาจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นลุง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขณะประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน เมื่องราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรม เทศนา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาค เพื่อเสด็จกรุงสาวัตถี เมื่อพระ ผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้ว รีบเดินทางกลับมาสู่กรุงสาวัตถี ได้จัดซื้อที่ดินอันเป็นราชอุทยาน ของ เจ้าชายเชตราชกุมาร ด้วยวิธีนำเงินมาวางเรียงให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ

ปรากฏว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี ต้องใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ จึงได้พื้นที่พอแก่ความต้องการ จำนวน ๑๘ กรีส (๑ กรีส = ๑๒๕ ศอก) และใช้เงินอีก ๒๗ โกฏิ สร้างพระคันธกุฎีที่ประทับสำหรับพระผู้มีพระภาค และเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์สาวก แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม เจ้าชายเชตราชกุมาร จึงขอมอบพื้นที่และจัดสร้างให้ โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ไว้ที่ซุ้มประตูพระอารามนั้น “เชตวัน” ดังนั้น พระอารามนี้จึงได้นามว่า “พระเชตะวันมหาวิหาร”

ในวันที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จัดการฉลองพระวิหารเชตะวันนั้น ได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหารสุภูติกุฎุมพี ผู้เป็นหลาน ได้ติดตามไปร่วมพิธีช่วยงานนี้ ด้วย ครั้นได้เห็นพระฉัพพรรณรังสี ที่เปล่งออกจากพระวรกายของพระบรมศาสดา สวยงาม เรืองรองไปทั่วบริเวณ ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใส เมื่อการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธองค์เป็นประมุขเสด็จเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมกถาอนุโมทนาทาน สุภูติกุฎุมพี ได้ฟังแล้วยิ่งเกิดศรัทธามากขึ้น จึงกราบทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย

ครั้นได้อุปสมบทสมความปรารถนาแล้ว ได้ศึกษาพระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกก จนเชี่ยวชาญ จากนั้นได้เรียนพระกรรมฐาน จากพระบรมศาสดาแล้วหลีกออกไปบำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสสนา กรรมฐานอยู่ในป่า ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล สิ้นกิเลสอาสวะ เป็นพระอริยบุคคล ชั้นสูงสุดใน พระพุทธศาสนา

พักกลางแจ้งฝนจึงแห้งแล้ง

พระสุภูติเถระ โดยปกติแล้วมักจะเข้าฌานสมาบัติ เพื่อแสวงงหาความสุขอันเกิดจากการสิ้นกิเลส ท่านประกอบด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ:-

๑. อรณวิหารธรรม คือ เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา หรือเป็นอยู่อย่างไม่มีข้าศึก
๒. ทักขิเณยยบุคคล คือ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

เพราะท่านมีปฏิปทานำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น อันเป็นการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางหนึ่ง แม้แต่พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อได้ทรงทราบว่าท่านเป็นผู้มีปกติเข้าฌาน ที่ประกอบด้วยเมตตา เป็นประจำ ไม่เว้น แม้แต่ในขณะบิณฑบาตก็ยังแผ่เมตตาให้แก่ผู้ถวายอาหารบิณฑบาตอย่างทั่วถึง ครั้นเมื่อพระเถระ จาริกมาถึงแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้อาราธนาให้ท่านจำพรรษาที่แคว้นมคธ และท่านก็รับ อาราธนาตามนั้นแต่เนื่องจากพระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีพระราชกิจมาก จึงลืมรับสั่งให้จัดเสนาสนะ สถานที่พัก ถวายท่าน

ดังนั้น เมื่อท่านมาถึงแล้วจึงไม่มีที่พัก ท่านจึงต้องพักกลางแจ้ง ด้วยอำนาจแห่งคุณของท่าน จึงทำให้ ดินฟ้าอากาศปรวนแปร ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ชาวไร่ชาวนาปลูกพืชผลไม่ได้ผลผลิต ต้องเดือดร้อน ไปทั่ว ความทราบถึงพระเจ้าพิมพิสาร ทรงใคร่ครวญทบทวนแล้วทราบชัดว่า เพราะพระเถระจำพรรษา กลางแจ้ง จึงเป็นเหตุให้ฝนแล้งไปทั่ว

ดังนั้น จึงทรงรีบแก้ไขด้วยการรับสั่งให้สร้างกุฎีถวายท่านโดยด่วน เมื่อกุฎีสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนา ท่านให้เข้าพักอาศัยอยู่จำพรรษาในกุฎีนั้น จากนั้นฝนก็ตกลงมาชาวประชาก็พากันดีใจ ปลูกพืช ผัก ผลไม้ ก็ได้ผลผลิตดีตามต้องการ ความทุกข์ความเดือดร้อนก็หายไปด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคตะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง อรณวิหาร (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา) และ ทักขิเณยยบุคคล (เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน)

ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

   
 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์