เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
เรื่องพระสารีบุตร หน้า 5/5 1485
  P1481 P1482 P1483 P1484 P1485
รวมพระสูตร พระสารีบุตร
 

(โดยย่อ)
(51) ผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล (โกกาลิกะ) (ภพภูมิ หน้า89)
(52) ทรงประพฤติ อัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์) เล่าให้พระสารีบุตรฟัง P237
(53) บุคคลที่มีเชื้อเหลือ แต่พ้นทุคติ ตรัสกับพระสารีบุตร
(สกทาคามี หน้า 13)
(54) ผู้มีสังโยชน์ในภายใน และในภายนอก (อนาคามี หน้า 481)
(55) การสนทนาของพระมหาสาวก (เรื่องปฏิจจสมุปบาท) (ปฎิจจ หน้า 514)
(56) ห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์ (ปฎิจจ หน้า 13)
(57) การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์ (อริยสัจภาคปลาย หน้า 1143)
       ๑. การเสพกายสมาจาร
       ๒. การเสพวจีสมาจาร
       ๓. การเสพมโนสมาจาร
       ๔. การเสพจิตตุปบาท
       ๕. การเสพสัญญาปฏิลาภ
       ๖. การเสพทิฏฐิปฏิลาภ
       ๗. การเสพอัตตภาวปฏิลาภ
       ๘. การเสพอารมณ์หก
       ๙. การเสพปัจจัยสาม
       ๑๐.-๑๓ การเสพคาม – นิคม -นคร - ชนบท
       ๑๔. การเสพบุคคล
(58) เหตุให้ได้เป็นอนาคามี (อนาคามี หน้า32)
(59) คติ ๕ (อนาคามี หน้า191)
(60) สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่ (โลกุตตรสมาธิ) (อริยสัจ หน้า 1331)
(61) สมาธิสูตรที่ ๓ : ภิกษุเป็นจำเข้าหาพระสารีบุตร ถามเรื่องสมาธิ P1490
(62) อินทรีย์ ๕ (นัยที่ ๓) (สมถะ หน้า 606)
(63) ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง (พุทธประวัติ หน้า 135-137)
(64) อรัญญิกธุดงค์ มารยาทและคุณสมบัติของพระป่า (โคลิสสานิสูตร) P1440

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 



(51)

หนังสือภพภูมิ หน้า 89

ผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล (ภิกษุโกกาลิกะ)
อายุนรกบทที่ ๒๔ (หนังสือภพภูมิ)
หนังสือภพภูมิ หน้า 89


               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความ ปรารถนา อันเลวทราม ตกอยู่ในอํานาจแห่งความ ปรารถนาอันเลวทราม พระเจ้าข้า !

โกกาลิกะ ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้

โกกาลิกะ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิต ให้เลื่อมใสในสารีบุตร และ โมคคัลลานะ เถิด สารีบุตรและ โมคคัลลานะมีศีลเป็นที่รัก

แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

               ลําดับนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคกระทํา ประทักษิณ แล้วหลีกไป..ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

               ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม มีรัศมีอันงามยิ่ง ทําวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

               ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว อุบัติ ในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ” ท้าวสหัมบดี พรหม ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว กระทำประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานหายไป ในที่นั้นเอง

               ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ประมาณอายุใน ปทุมนรก นานเพียงใด พระเจ้าข้า !

               ภิกษุทั้งหลาย! ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก การนับประมาณอายุในปทุมนรก นั้น ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทำได้ง่าย.

               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทำ การเปรียบเทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า !

               ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้

               ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงา ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี เมื่อล่วงไปทุกแสนปี(ความเข้าใจใหม่คือ ทุก๑๐๐ปี) บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียน นั้นออกหนึ่งเมล็ด

               ภิกษุทั้งหลาย ! เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น จะพึงถึงความ สิ้นไป หมดไปโดยลําดับ นี้ยังเร็วเสียกว่า ส่วน ๑ อัพพุทนรกยังไม่พึงถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย.

               ภิกษุทั้งหลาย !
๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก
๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อัพพนรก
๒๐ อัพพนรก เป็น ๑ อหหนรก
๒๐ อหหนรก เป็น ๑ อฏฏนรก
๒๐ อฏฏนรก เป็น ๑ กุมทนรก
๒๐ กุมทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก
๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปลกนรก
๒๐ อุปลกนรก เป็น ๑ ปุณฑรีกนรก
๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก อย่างนี้
(นรกกลุ่มนี้ แบ่งตามอายุมี 10 ภพย่อย)

               ก็โกกาลิกภิกษุ อุบัติใน ปทุมนรก เพราะ จิตคิดอาฆาตในสารีบุตร และ โมคคัลลานะ

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอนตนเองของบุรุษ ผู้เป็น พาล ผู้กล่าวคําทุภาษิต ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การแพ้ด้วย ทรัพย์เพราะเล่น การพนัน เป็นโทษเพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย ในท่านผู้ปฏิบัติดี นี้แล เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาปไว้แล้ว เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อม เข้าถึงนรกตลอดกาล ประมาณด้วยการนับปี ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ.

ทสก.อ. ๒๔/๑๘/๘๕.

โกกาลิกสูตร (P487) : ฉบับหลวง เล่ม ๒๔ หน้าที่ ๑๔๗



(52)

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า55

ทรงเล่าประพฤติอัตตกิลมถานุโยค ให้พระสารีบุตรฟัง เมื่อเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม
อ้างอิง

(โดยย่อ)

วัตรเดียรถีย์ 4 แบบ ที่พระพุทธเจ้าเคยประพฤติปฏิบัติมาแล้ว

1. ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) คือ
เปลือยกาย, เช็ดอุจจาระด้วยมือ, ไม่ยินดีอาหารที่เขาเจาะจง, ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้, ไม่รับอาหาร ของหญิงมีครรภ์ และหญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนมอยู่, มีสุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ไม่รับอาหาร ,ไม่รับอาหาร ในที่มีแมลงวันบินเป็นฝูง, ไม่รับปลาไม่รับเนื้อ...ฯลฯ

2. ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) คือ
ธุลีเกรอะกรังที่กาย สิ้นปีเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น เปรียบเหมือนตอตะโก นานปีมีสะเก็ดขึ้น เราไม่พึงลูบธุลีนี้ ออกเสียด้วยฝ่ามือ แม้ความคิดนึก ก็มิได้มีแก่เรา.

3. เชคุจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้รังเกียจ) คือ
เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับโดยอาการเท่าที่ความเอ็นดูอ่อนโยน(ก้าวขากลับช้าๆ) ของเรา พึงบังเกิด ขึ้น แม้ในหยาด แห่งน้ำว่าเราอย่าทำสัตว์น้อยๆ ทั้งหลายที่มีคติ ไม่เสมอกัน...ฯลฯ

4. ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วแล้ว) คือ
เราเห็นคนเลี้ยงสัตว์ ก็จะเดินหนีไปป่าโน้น เพราะคิดว่าเขาอย่าเห็นเราเลย เปรียบเหมือน เนื้ออัน เมื่อเห็นมนุษย์ย่อมหนีสู่ป่าโน้น, เรานั้น คลานเข้าไปเอาโคมัย(ขี้วัว) ของลูกโคน้อย มาเป็นอาหาร, ในฤดูหนาวแปดวันที่มีหิมะตก กลางคืนเราอยู่กลางแจ้งกลางวันอยู่ป่า, เราเป็น ผู้มีกายอัน เปลือยเปล่าไม่ผิงไฟ, เรานอนในป่าช้าทับซากศพ ...ฯลฯ


ทรงประพฤติ อัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์)
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า55

           สารีบุตร ! เราตถาคตรู้เฉพาะซึ่ง พรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ที่ได้ประพฤติแล้ว
     ตปัสสีวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง (วัตรเพื่อมีตบะ)
     ลูขวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง (วัตรในการเศร้าหมอง)
     เชคุจฉิวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง
     ปวิวิตตวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง

ในวัตร ๔ อย่างนั้น นี้เป็น(๑) ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) ของเรา

คือ
เราได้ประพฤติ เปลือยกาย
มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว
เป็นผู้ประพฤติ เช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ
ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา
ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์ว่าท่านผู้เจริญจงหยุดก่อน
ไม่ยินดีในอาหารที่เขานำมาจำเพาะ
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาทำอุทิศเจาะจง
ไม่ยินดีในอาหารที่เขาร้องนิมนต์เรา
ไม่รับอาหารจากปากหม้อ
ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ
ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู
ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้
ไม่รับอาหารคร่อมสาก
ไม่รับอาหารของชนสองคนผู้บริโภคอยู่
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์
ไม่รับอาหารของหญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนมอยู่
ไม่รับอาหารของหญิงผู้ไปในระหว่างแห่งบุรุษ
ไม่รับอาหารในอาหารที่มนุษย์ชักชวนร่วมกันทำ
ไม่รับอาหารในที่ที่มีสุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่
ไม่รับอาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ
ไม่รับปลาไม่รับเนื้อ

ไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำอันดองด้วยแกลบ

เรารับเรือนเดียวฉันคำเดียวบ้าง รับสองเรือนฉันสองคำบ้าง รับสามเรือนฉันสามคำบ้าง ....ฯลฯ.... รับเจ็ดเรือน ฉันเจ็ดคำบ้าง เราเลี้ยงร่างกายด้วยอาหาร ในภาชนะน้อย ๆ ภาชนะเดียวบ้าง
เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารใน ภาชนะน้อย ๆ สองภาชนะบ้าง ....ฯลฯ.... เลี้ยงร่างกายด้วยอาหาร ในภาชนะน้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง เราฉัน อาหารที่เก็บไว้วันเดียวบ้าง ฉันอาหารที่ เก็บไว้สองวัน บ้าง ....ฯลฯ.... ฉันอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง เราประกอบความเพียรในภัตรและโภชนะ มีปริยาย อย่างนี้ จนถึง กึ่งเดือนด้วยอาการอย่างนี้.

รานั้น มีผักเป็นภักษาบ้าง มีสารแห่งหญ้ากับแก้เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษา บ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษา บ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำข้าวเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็น ภักษาบ้าง มีข้าวสารหักเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย (ขี้วัว) เป็นภักษาบ้าง มีผลไม้และรากไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภคผลไม้ อันเป็นไป (หล่นเอง) ยังชีวิตให้เป็นไปบ้าง.

เรานั้นนุ่งห่มด้วยผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าเจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้กับซากศพบ้าง นุ่งห่มผ้าคลุกฝุ่นบ้าง นุ่งห่มเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังอชินะบ้าง นุ่งห่มหนังอชินะ ทั้งเล็บบ้าง นุ่งห่มแผ่นหญ้าคากรองบ้าง นุ่งห่มแผ่น ปอกรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นกระดาน กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง (ศัพท์นี้แปลกที่ไม่มีคำว่ากัมพล)

เราตัดผมและหนวด ประกอบตามซึ่งความเพียรในการตัดผมและหนวด เราเป็นผู้ยืนกระหย่ง ห้ามเสียซึ่งการนั่งเป็นผู้เดินกระหย่ง ประกอบตามซึ่งความเพียร ในการเดินกระหย่งบ้าง เราประกอบการยืนการเดินบนหนาม สำเร็จการนอน บนที่นอนทำด้วยหนาม, เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการลงสู่น้ำ เวลาเย็นเป็น ครั้งที่สามบ้าง เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการทำ(กิเลสใน) กายให้เหือดแห้ง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นนี้ ด้วยอาการ อย่างนี้. สารีบุตร ! นี่แลป็นวัตรเพื่อความ เป็นผู้มีตบะ ของเรา

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น(๒) ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) ของเรา

คือ ธุลีเกรอะกรังแล้ว ที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น

สารีบุตร !เปรียบเหมือนตอตะโกนานปีมีสะเก็ดขึ้นแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น ธุลีเกรอะกรัง แล้ว ที่กาย สิ้นปีเป็นอันมาก จนเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น

สารีบุตร ! ความคิดนึกว่า โอหนอเราพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ไม่มี แก่เรา แม้ความคิดนึกว่า ก็หรือชนเหล่าอื่นพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ก็มิได้มีแก่เรา

ดูก่อนสารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้เศร้าหมองของเรา

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น (๓) เชคุจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้รังเกียจ) ของเรา

คือ
ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับโดยอาการเท่าที่ความ เอ็นดู อ่อนโยนของเราพึงบังเกิดขึ้น แม้ในหยาด แห่งน้ำว่าเราอย่าทำสัตว์น้อยๆ ทั้งหลายที่มีคติไม่เสมอกันให้ลำบากเลย. สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็น ผู้รังเกียจของเรา

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็ (๔) ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วแล้ว) ของเรา

คือ
ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นเข้าสู่ราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เมื่อเห็นคน เลี้ยงโค หรือคนเลี้ยง ปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้หรือคนทำงาน ในป่ามา เราก็รีบลัดเลาะจากป่านี้ไปป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้นจากลุ่มนี้ สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ ดอนโน้น เพราะเหตุคิดว่า ขอคนพวกนั้น อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็น ชนพวกนั้น

สารีบุตร ! เปรียบเหมือนเนื้ออันอยู่ในป่า เห็นมนุษย์แล้วย่อมเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่า โน้น จากรกชัฏนี้ สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เราเมื่อเห็นคนเลี้ยงโคหรือ คนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า คนหาไม้ คนทำงาน ในป่ามาก็รีบเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้นด้วยหวังว่าคนพวกนี้ อย่าเห็น เราเลย และเราก็อย่าได้เห็น คนพวกนั้น

สารีบุตร !นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วของเรา.

สารีบุตร ! เรานั้น โคเหล่าใดออกจากคอกหาคนเลี้ยงมิได้, เราก็คลานเข้าไป ใน ที่นั้น ถือเอาโคมัย ของลูกโค น้อยๆ ที่ยังดื่มนมแม่เป็นอาหาร. สารีบุตร ! มูตรและกรีส (ปัสสาวะ และอัจจาระ) ของตนเอง ยังไม่หมดเพียงใด เราก็ถือมูตร และกรีสนั้น เป็นอาหารตลอด กาลเพียงนั้น

ดูก่อน สารีบุตร ! นี้แลเป็นวัตรในมหาวิกฏโภชนวัตร ของเรา

สารีบุตร ! เราแลเข้าไปสู่ชัฏแห่งป่าน่าพึงกลัวแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เพราะชัฏ แห่งป่านั้น กระทำซึ่งความกลัวเป็นเหตุ ผู้ที่มีสันดานยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ ชัฏป่านั้นแล้ว โลมชาติ ย่อมชูชันโดยมาก

สารีบุตร ! รานั้นในราตรีทั้งหลายอันมีในฤดูหนาวระหว่างแปดวัน เป็นสมัยที่ ตกแห่ง หิมะอันเย็น เยือกกลางคืน เราอยู่ที่กลางแจ้ง กลางวันเราอยู่ในชัฏ แห่งป่า ครั้นถึงเดือน สุดท้ายแห่งฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ ในป่า

สารีบุตร ! คาถาน่าเศร้านี้ อันเราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน มาแจ้งแก่เราว่า เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว เปียกแล้วผู้เดียว, อยู่ในป่าน่าพึงกลัวแต่ผู้เดียว เป็นผู้มีกายอัน เปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายแสวงหาความบริสุทธ์ิ ดังนี้

สารีบุตร ! เรานั้นนอนในป่าช้า ทับกระดูกแห่งซากศพทั้งหลายฝูงเด็กเลี้ยงโค เข้ามาใกล้เรา โห่ร้องใส่หูเราบ้าง ถ่ายมูตรรดบ้าง ซัดฝุ่นใส่บ้างเอาไม้แหลมๆ ทิ่มช่องหูบ้าง

สารีบุตร ! เราไม่รู้สึกซึ่งจิตอันเป็นบาปต่อเด็กเลี้ยงโคทั้งหลายเหล่านั้น แม้ด้วยการทำความ คิดนึกให้เกิดขึ้น สารีบุตร ! นี้เป็นวัตรในการอยู่อุเบกขา ของเรา

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์บางพวกมักกล่าวมักเห็นอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์มีได้ เพราะอาหาร สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวกันว่า พวกเราจง เลี้ยงชีวิตให้เป็นไป ด้วยผลกะเบา๑ ทั้งหลายเถิด. สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงเคี้ยวกินผลกะเบาบ้าง เคี้ยวกินกะเบาตำผงบ้าง ดื่มน้ำคั้น จากผลกะเบา บ้าง ย่อมบริโภคผลกะเบาอันทำให้ แปลกๆ มีอย่างต่าง ๆ บ้าง

สารีบุตร ! เราก็ได้ใช้กะเบาผลหนึ่งเป็นอาหาร สารีบุตร ! คำเล่าลืออาจมีแก่เธอว่า ผลกะเบาในครั้งนั้น ใหญ่มากข้อนี้เธออย่าเห็นอย่างนั้น ผลกะเบาในครั้งนั้น ก็โตเท่านี้ เป็นอย่างยิ่งเหมือนในครั้งนี้เหมือนกัน

สารีบุตร ! เมื่อเราฉันกะเบาผลเดียวเป็นอาหาร ร่างกายได้ถึงความซูบผอมอย่างยิ่ง. เถาวัลย์อาสีติกบรรพ หรือ เถากาฬบรรพ มีสัณฐานเช่นไร อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา ก็เป็นเหมือนเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

รอยเท้าอูฐ มีสัณฐานเช่นไร รอยตะโพกนั่งทับของเราก็มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

เถาวัฏฏนาวฬี มีสัณฐานเช่นใด กระดูกสันหลังของเราก็เป็นข้อๆ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

กลอน (หรือจันทัน) แห่งศาลาที่คร่ำคร่าเกะกะมีสัณฐานเช่นไร ซี่โครงของเรา ก็เกะกะ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

ดวงดาว ที่ปรากฏในน้ำในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ลึกฉันใด ดวงดาวคือลูกตาของเรา ปรากฏอยู่ลึก ในเบ้าตา ฉันนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย

น้ำเต้า ที่เขาตัดแต่ยังอ่อน ครั้นถูกลมและแดด ย่อมเหี่ยวยู่ยี่ มีสัณฐาน เป็นเช่นไร หนังศีรษะแห่งเราก็เหี่ยวยู่มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้ มีอาหารน้อย

สารีบุตร ! เราตั้งใจว่าลูบท้อง ก็ลูบถูกกระดูกสันหลังด้วย ตั้งใจว่าลูบกระดูกสันหลัง ก็ลูบถูกท้องด้วย

สารีบุตร ! หนังท้องกับกระดูกสันหลังของเราชิดกันสนิท เพราะความเป็นผู้มีอาหาร น้อย.

สารีบุตร ! เรา เมื่อคิดว่าจักถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ล้มพับอยู่ตรงนั้น เพราะความเป็น ผู้มี อาหารน้อย.

สารีบุตร ! เรา เมื่อจะบรรเทาซึ่งกายนั้นให้มีความสุขบ้าง จึงลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเรา ลูบตัวด้วย ฝ่ามือ ขนที่มี รากเน่าแล้วได้หลุดออกจากกายร่วงไป เพราะความเป็นผู้มี อาหารน้อย.

ตรัสเล่าแก่ตระสารีบุตร, บาลี มหาสีหนาทสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๑๕๕/๑๗๗, ที่ วนสัณฑ์ ใกล้เมืองเวสาลี. วัตรเหล่านี้ในบาลีไม่แสดงไว้ชัดว่า ทรงทำก่อนหรือ หลังการไปสำนัก ๒ ดาบส หรือคราวเดียวกับทุกรกิริยาอดอาหาร.



(53)
หนังสือสกทาคามี หน้า 13

บุคคลที่มีเชื้อเหลือ แต่พ้นทุคติ (ตรัสกับพระสารีบุตร)
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๓๙๑/๒๑๖.

          สมัยหนึ่ง ในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตรเข้าไปบิณฑบาต ในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่าเวลา ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไป ในอารามของพวก ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ ได้ทักทาย ปราศรัยกันพอสมควรแล้ว จึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็ในสมัยนั้น พวกปริพพาชกเหล่านั้น กำลังนั่ง ประชุมสนทนากันว่า บุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

          ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านถ้อยคำที่ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้น กล่าวแล้วลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาค ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหาร แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า.

          สารีบุตร ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์บางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไร ว่าใครมีเชื้อเหลือ (สอุปาทิเสสะ) หรือไม่มีเชื้อเหลือ (อนุปาทิเสสะ) สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกอะไรบ้าง คือ

          สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรกพ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจาก อบายทุคติ และวินิบาต.

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิเป็น ผู้ทำ พอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจ-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๒ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ พอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขาร-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๓ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขาร-ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๔ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้ บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อุทธังโสโต-อกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตรนี้บุคคล จำพวกที่ ๕ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นทำพอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบางจะมาสู่โลกนี้อีก ครั้งเดียว เท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิเป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะมาสู่ภพมนุษย์นี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น(เอกํเยว มานุสกํ ภวํ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้ สารีบุตรนี้บุคคลจำพวกที่ ๗ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น โกลังโกละ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูลเท่านั้นแล้ว จะทำที่สดุ แห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำ พวกที่ ๘ … .

          สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตัก ขัตตุปรมะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป จะท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละย่อมพ้น จากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัยพ้นจาก อบาย ทุคติ และวินิบาต.

          สารีบุตร ปริพพาชกอัญญเดียรถีย์บางพวกโง่เขลาไม่ฉลาด จะรู้ได้อย่างไร ว่าใครมีเชื้อเหลือ หรือไม่มีเชื้อ เหลือ.

          สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล ที่มีเชื้อเหลือเมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด เดรัจฉาน พ้นจาก เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

          สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่เคยแสดงแก่ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มาก่อน ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายนี้แล้ว จักเข้าถึงซึ่ง ความประมาท อนึ่ง ธรรมปริยายเช่นนี้ เราจะกล่าวก็ต่อเมื่อถูกถาม เจาะจงเท่านั้น.



(54)
หนังสืออนาคามี หน้า 481

ผู้มีสังโยชน์ในภายใน และในภายนอก (พระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุ ท.)
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๘๐/๒๘๑.

          ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลายเราจักแสดง บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นอย่างไร

          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ ในภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

          ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัย นี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และ โคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

          ผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วใน ปาติโมกข สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่ายเพื่อคลาย เพื่อ ความดับกามทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพ ทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมา สู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ ความเป็นอย่างนี้.

          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่าสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกัน มากองค์เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว บอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคล ที่มีสังโยชน์ ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ที่ปราสาท ของ นางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริงขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี พระภาคทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด สารีบุตร ก็เทวดา เหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง๑๐ องค์บ้าง ๒ ๐ องค์บ้าง ๓ ๐ องค์บ้าง ๔ ๐ องค์บ้าง๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกัน และกัน.

          สารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้นซึ่งเป็นเหตุให้เทวดา เหล่านั้น ยืนอยู่ได้ในโอกาส แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑ ๐ องค์บ้าง … ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน

          สารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ สารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑ ๐ องค์บ้าง … แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้น แหละ

          สารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควร ศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรมวจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ เพราะฉะนั้นแหละ

          สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น เข้าไปใน พรหมจารีทั้งหลาย สารีบุตรเธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว.



(55)

หนังสือปฏิจจสมุปบาท (5เล่มจากพระโอษฐ) หน้า514

การสนทนาของพระมหาสาวก (เรื่องปฏิจจสมุปบาท)


ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสะปตนมฤคทายวัน ใกล้เมือง พาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่หลีกเร้น ในเวลาเย็น เข้าไปหาพระสารีบุตร ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคล กระทำเองหรือหนอ? หรือว่าชรามรณะ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคล กระทำ เองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าชรามรณะ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำ เองหรือบุคคลอื่น กระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองก็ไม่ใช่ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำก็ไม่ใช่ ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งชรามรณะจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ.

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ หนอ? หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เอง ก็ไม่ใช่ ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งชาติ จะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ.

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ หนอ? หรือว่าภพ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าภพ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ภพเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ภพ เป็นสิ่งที่บุคคล

กระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งภพ จะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองหรือ บุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่น กระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ อุปาทานเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระ ทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วย หรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ตัณหาเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ผัสสะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ผัสสะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่ง ที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองห รือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แต่ว่า เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร สฬายตนะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วย หรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ สฬายตนะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แต่ว่า เพราะมีนานรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร นามรูป เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่า เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำ ก็เกิดขึ้นได้ เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.

พระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร วิญญาณ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ? เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองหรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?

พระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า เราทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงภาษิตของ ท่าน สารีบุตรเดี๋ยวนี้เองอย่างนี้ว่าดูก่อนท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมี วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. อนึ่งเราทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงภาษิตของ ท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้ อีกเหมือนกันอย่างนี้ว่า

ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยบุคคลอื่น กระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ บุคคลกระทำเอง หรือ บุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ'.

ดูก่อนท่านสารีบุตร ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้อันเราทั้งหลายจะพึงเห็นได้อย่างไร?

ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้นผมจักกระทำอุปมาให้ท่านฟัง. วิญญูชนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความ แห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนไม้อ้อสองกำจะพึงตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน ข้อนี้ฉันใด

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันกล่าวคือ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ พราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเหาะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม้อ้อสองกำนั้นถ้าบุคคล ดึงเอาออกเสียกำหนึ่งไซร้ อีกกำหนึ่งก็พึงล้มไป ถ้าบุคคลดึงเอากำอื่นอีกออกไปไซร้กำอื่นอีก ก็พึงล้มไปข้อนี้ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันคือ เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมี ความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติเพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวว่า น่าอัศจรรย์ท่านสารีบุตร ไม่เคยมีแล้วท่านสารีบุตร เท่าที่ท่านสารีบุตรกล่าวมานี้นับว่าเป็นการกล่าวดีแล้ว. ก็แลเราทั้งหลายขออนุโมทนายินดี ต่อคำเป็นสุภาษิตของท่านสารีบุตร นี้ด้วยวัตถุ ๓๖ เรื่อง เหล่านี้คือ

(๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบิตแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ไม่เหลือแห่งชาติอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม.

(๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งภพอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว

(๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งภพ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๑๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก

(๑๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทานอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๑๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัดเพราะความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๑๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก.

(๑๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว

(๑๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม.

(๑๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก.

(๑๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว

(๑๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บบรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๑๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก.

(๒๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๒๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ด้วยความเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๒๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อ ความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก

(๒๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๒๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัดเพราะความดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๒๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งนามรูปอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก.

(๒๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งนามรูปอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๒๗) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควร พื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๒๘) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณอยู่ไซร้ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก.

(๒๙) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓๐) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความ คลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม.

(๓๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือแห่งสังขารอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุธรรมกถึก.

(๓๒) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสังขารอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓๓) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม

(๓๔) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อ ความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุธรรมกถึก

(๓๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่ง อวิชชาอยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่าภิกษุผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

(๓๖) ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการ สมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม ดังนี้แล



(56)

ปฏิจจสมุปบาท หน้า13

เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์
(พระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลาย)

           พระสารีบุตร ได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ก็แลคำนี้เป็นคำที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า ผู้ใด เห็นปฏิจจ สมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่า เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นป ฏิจจสมุปบาท (โย ปฏิจฺจ สมุปฺปาทํ ปสฺส ติ โส ธ มฺมํ ป สฺส ติ โย ธ มฺมํ ป สฺส ติโส ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสติ)……”..

           อย่าเลย วักกลิ! ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้. ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็น ธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม. ดูก่อนวักกลิ! เพราะว่า เมื่อเห็นธรรม อยู่ ก็คือเห็นเรา เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม...…๒

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไป ข้างหลังๆ แต่ถ้าเธอนั้น มากไป ด้วยอภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาท ประทุษร้าย มีสติหลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไปแกว่งมา ไม่สำรวม อินทรีย์ แล้วไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกลจากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้น โดยแท้. เพราะเหตุไรเล่า?

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะว่าภิกษุนั้น ไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่า ไม่เห็น เรา (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ ธมฺมํ อปสฺสนฺโต มํ น ปสฺสติ)... [แล้วได้ตรัสไว้ โดยนัย ตรงกันข้ามจากภิกษุ นี้คือตรัสเป็นปฏิปักขนัย โดยนัยว่า แม้จะอยู่ห่างกันร้อยโยชน์ถ้ามีธรรม เห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นพระองค์ (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปสฺสติ:ธมฺมํ ปสฺสนฺโต มํ ปสฺสติ)].๓


(57)
อริยสัจภาคปลาย หน้า 1143


การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์
แก่ความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล


๑. การเสพกายสมาจาร

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจาร (การประพฤติประจำทางกาย)ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารชนิดนี้บุคคลไม่ควรเสพ. สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจารชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญ กายสมาจารชนิดนี้บุคคลควรเสพ.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณี นี้เป็นผู้มีปาณาติบาตเป็นพรานมีมือ เปื้อนเลือด วุ่นอยู่แต่การประหัตประหาร ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ มีชีวิต และเป็นผู้ ถือเอา สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้าน ก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือประพฤติผิด ในหญิง ทั้งหลาย ที่มีมารดารักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษา พี่น้องชายรักษาพี่น้อง หญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้ที่สุดแต่หญิงที่มีผู้สวมมาลาหมั้นไว้. สารีบุตร เมื่อเสพกายสมาจารชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้และ ศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาหวัง ประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายและ เป็นผู้ ละอทินนาทาน เว้นขาดจากจาก อทินนาทาน ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ อันเจ้าของ ไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่า ก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย และเป็นผู้ ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเม สุมิจฉาจาร คือไม่ประพฤติผิดในหญิงทั้งหลายที่มีมารดารักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษาพี่น้อง ชายรักษา พี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้สุดแต่หญิงที่มีสวม มาลาหมั้นไว้. สารีบุตร เมื่อเสพกายสมาจารชนิดนี้แลอกุศลธรรมย่อมเสื่อมกุศลธรรมย่อม เจริญ.


อริยสัจภาคปลาย หน้า 1144
๒. การเสพวจีสมาจาร

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งวจีสมาจาร (การประพฤติ ประจำทางวาจา) ชนิดไหนเล่า ?

สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็น พยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าไปอย่างนั้น ”บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็บอกว่าเห็น เห็นก็บอกว่าไม่เห็น ดังนี้

กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้างเพราะเหตุเห็นแก่อามิสสิน จ้างบ้าง และ เป็นผู้ กล่าวคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตก จากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่าย โน้นแล้ว เก็บมาบอกฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น ทำคนที่ พร้อม เพรียงกันอยู่ให้แตกจากกันอุดหนุน ส่งเสริมคนที่แตกกันอยู่แล้วให้แตกจากกันยิ่งขึ้น

เป็นคนชอบในการเป็นพวกยินดีในการเป็นพวก เป็นคนพอใจในการเป็นพวก กล่าวแต่วาจา ที่ทำให้เป็น พวก และเป็นผู้ กล่าววาจาหยาบ เป็นวาจาทิ่มแทง กักขฬะ เผ็ดร้อน ขัดใจ ผู้อื่น กลัดกลุ้มอยู่ด้วยความ โกรธ ไม่เป็นไปด้วยสมาธิ

และเป็นผู้ กล่าววาจาเพ้อเจ้อ ไม่กล่าวตามกาลอันควร ไม่กล่าวตามเป็นจริง ไม่กล่าวโดย อรรถ ไม่กล่าว โดยธรรม ไม่กล่าวโดยวินัย กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละไม่ถูก เทศะ ไม่มีที่จบ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์. สารีบุตร เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้แล อกุศล ธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง วจีสมาจาร ชนิดไหนเล่า ?

สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้เป็นผู้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุม ก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลาง ราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ว่าไปอย่างนั้น” เขานั้นเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ เห็นก็ บอกว่าเห็น ไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น ดังนี้ ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุ แห่งผู้อื่นบ้างเพราะเหตุเห็นแก่อามิส สินจ้างบ้าง

และเป็นผู้ ละปิสุณวาจา เว้นขาดจากปิสุณวาจา ได้เว้นขาดจากปิสุณวาจาได้ฟังจาก ฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บ ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่เก็บ มาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจาก ฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้ว ให้กลับพร้อมเพรียง กัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อม เพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อม เพรียง ยินดีในการพร้อมเพรียง พอใจในการพร้อมเพรียง กล่าว แต่วาจาที่ทำให้พร้อม เพรียงกัน

และเป็นผู้ ละผรุสวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของ มหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่

และเป็นผู้ ละสัมผัปปลาวาท เว้นขาดจากสัมผัปปลาวาท กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจาที่มีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วย ประโยชน์สมควรแก่เวลา.

สารีบุตร เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1146
๓. การเสพมโนสมาจาร

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งมโนสมาจาร (การประพฤติ ประจำทางใจ) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มาก ด้วยอภิชฌาเพ่งต่อทรัพย์และ อุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็น ของเรา ดังนี้ และเป็นผู้มีจิตพยาบาทมีความดำริแห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย ว่า “ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงวินาศ อย่าได้มีอยู่” ดังนี้ สารีบุตร เมื่อเสพมโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญกุศลธรรม ย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง มโนสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา ไม่เพ่งต่อ ทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ ของผู้อื่น ว่า“ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็นของเรา” ดังนี้ และเป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริ แห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย โดยมีความรู้สึก อยู่ว่า “ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความลำบาก จงมีสุข บริหาร ตนอยู่เถิด” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพมโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมกุศลธรรม ย่อมเจริญ.

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1147
๔. การเสพจิตตุปบาท

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง จิตตุปบาท (ความมักเกิดขึ้น แห่งจิต) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มาก ด้วยอภิชฌามีจิตสหรคตด้วย อภิชฌาอยู่ เป็นผู้ มีพยาบาทมีจิตสหรคต ด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ มีวิหิงสามีจิตสหรคตด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพจิตตุปบาท ชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งจิตตุปบาท ชนิดไหนเล่า? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่เป็ นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มี พยาบาท มีจิตไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตไม่สหรคตด้วยวิหิงสาอยู่ สารีบุตร เมื่อเสพจิตตุปบาทชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1148
๕. การเสพสัญญาปฏิลาภ

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง สัญญาปฏิลาภ (การได้ความ หมายมั่นเฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌาอยู่ด้วย สัญญาอันสหรคตด้วยอภิชฌา เป็นผู้ มีพยาบาทอยู่ด้วยด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยพยาบาท เป็นผู้ มีวิหิงสา อยู่ด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยวิหิงสา สารีบุตร เมื่อเสพสัญญาปฏิลาภชนิดนี้ แล อกุศลธรรม ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งสัญญาปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ไม่เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ ไม่มีพยาบาท มีสัญญาไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยด้วยวิหิงสา อยู่. สารีบุตร เมื่อเสพสัญญาปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1148-1
๖. การเสพทิฏฐิปฏิลาภ

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ (การได้ทิฏฐิ เฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกอื่น ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มีโอปปาติกะสัตว์ ไม่มี สมณพราหมณ์ ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพทิฏฐิปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญกุศลธรรมย่อมเสื่อม.

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้ว มี(ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี โลกนี้ มี โลกอื่นมี มารดา มี บิดา มี โอปปาติกะสัตว์ มี สมณพราหมณ์ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้. สารีบุตร เมื่อเสพทิฏฐิปฏิลาภชนิดนี้ แลอกุศล ธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1149
๗. การเสพอัตตภาวปฏิลาภ

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง อัตตภาวปฏิลาภ (การได้ อัตตภาพเฉพาะชนิด) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร เมื่อบุคคลเกิดด้วยการได้อัตตภาพ ที่ยังประกอบด้วย ทุกข์ เพราะภพของเขายังไม่สิ้นไป อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

สารีบุตร อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่งอัตตภาวปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร เมื่อบุคคลเกิดดว้ยการได้อัตตภาพที่ไม่ประกอบด้วยทุกข์ เพราะภพของเขาสิ้นไป อกุศลธรรม ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1149-1
๘. การเสพอารมณ์หก

สารีบุตร เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งดว้ ยจักษุชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งดว้ ยจักษุชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ควรเสพ.

(ในกรณีแห่งอารมณ์ห้าที่เหลือ คือเสียง ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่น ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูกรส ที่พึงรู้แจ้ง ด้วย ลิ้น โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ ตรัสไว้ ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุข้างบนนี้).

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1150
๙. การเสพปัจจัยสาม

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอัน บุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอัน บุคคล ควรเสพ. (ในกรณีแห่งปัจจัย คือ บิณฑบาต และ เสนาสนะ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ ได้ตรัสไว้ทำนอง เดียวกันกับในกรณีแห่ง จีวร ข้างบนนี้).

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1150-1
๑๐.-๑๓ การเสพคาม – นิคม -นคร - ชนบท

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม (หมู่บ้าน) ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ควรเสพ.

(ในกรณีแห่งปัจจัย คือ นิคม - นคร - ชนบท ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ตรัสไว้ ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง คาม ข้างบนนี้ ).

อริยสัจภาคปลาย หน้า 1151
๑๔. การเสพบุคคล

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญกุศลธรรมเสื่อมบุคคลชนิดนี้เป็นบุคคล อันบุคคล ไม่ควรเสพ.

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญบุคคลชนิดนี้เป็นบุคคล อันบุคคล ควรเสพ.




(58)

อนาคามี หน้า32

เหตุได้ความเป็นอนาคามีหรืออาคามี

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๓/๑๗๑.

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บาง จำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่อง ให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภา-คิยสังโยชน์ไม่ได้ แต่เขาบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน

            บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความปลื้มใจด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้น ดำรงอยู่ใน เนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่มากด้วยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเหล่าเทวดา ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญา นาสัญญายตนภพเขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

            สารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิย-สังโยชน์ได้แล้ว เขา บรรลุเนวสัญญา นาสัญญายตนะ ในปัจจุบันบุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความ ปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญา-นาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้นน้อมใจไป อยู่จนคุ้นใน เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจาก ชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

            สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจาก กายนั้นแล้วเป็น อาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่อง ให้สัตว์บางจำพวก ในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็น อย่างนี้.



(59)
อนาคามี หน้า 191

คติ ๕ (ตรัสกับพระสารีบุตร)
-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๗/๑๗๐.

          สารีบุตร คติ1 ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) นรก
(2) กำนิดเดรัจฉาน
(3) เปรตวิสัย
(4) มนุษย์
(5) เทวดา

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางยังสัตว์ให้ถึงนรก และปฏิปทาอันจะยัง สัตว์ ให้ถึงนรก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อม เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก2 เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งกำเนิดเดรัจฉาน ทางยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน และ ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดเดรัจฉาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉาน เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการ นั้นด้วย.

1 คติ = ทางไปของสัตว์. (ที่นำ ไปสู่ภพ)
2 อบาย ทุคติ วินิบาต นรก = ที่เกิดของสัตว์ต่ำ กว่ามนุษย์.

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย และ ปฏิปทา อันจะ ยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะ กาย แตกย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทางยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก และ ปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลกอนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะ กายแตกย่อมบังเกิดในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย ทางยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก และ ปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะ กายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

          สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน และ ปฏิปทา อันจะยัง สัตว์ให้ถึงนิพพาน อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำให้ แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย



(60)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า 1331
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม P1490

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค

(๑) สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่ (โลกุตตรสมาธิ)

        “มีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า !  การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิ ชนิดที่
ไม่มีปฐวีสัญญาในดิน
ไม่มีอาโปสัญญาในน้ำ
ไม่มีเตโชสัญญาในไฟ
ไม่มีวาโยสัญญาในลม
ไม่มีอากาสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ ไม่มีวิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ ไม่มีอากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุด แห่งความไม่มีอะไร ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีอิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาในโลกอื่น ไม่มีสัญญาแม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้ว สิ่งที่ใจติดตามแล้ว นั้น ๆ เลย แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญา อยู่. แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่ ? ”

อานนท์ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่

”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า !”

อานนท์ !  ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า “นั้นสงบรำงับ นั่นประณีต นั่นคือ ธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่ สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.

อานนท์ !  อย่างนี้แล ชื่อว่า การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่ง สมาธิ ชนิดนี้
ไม่มี ปฐวีสัญญา ในดิน
ไม่มี อาโปสัญญา ในน้ำ
ไม่มี เตโชสัญญา ในไฟ
ไม่มี วาโยสัญญา ในลม
ไม่มี อากาศสานัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ
ไม่มี วิญญาณัญจายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ
ไม่มี อากิญจัญญายตนสัญญา ในความไม่มีที่สุดแห่งความไม่มีอะไร
ไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มี อิธโลกสัญญาในโลกนี้
ไม่มี ปรโลกสัญญา ในโลกอื่น
ไม่มี สัญญา แม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว
สิ่งที่ ได้ยินแล้ว
สิ่งที่ รู้สึกแล้ว
สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว
สิ่งที่ บรรลุแล้ว
สิ่งที่ แสวงหาแล้ว
สิ่งที่ ใจติดตามแล้วนั้นๆเลย
แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่.

- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๓/๒๑๔.

[ต่อไปนี้เป็นคำตอบของพระสารีบุตร ต่อคำถามของพระอานนท์ ซึ่งถาม อย่างเดียวกัน กับที่ทูลถามพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรก็ได้ตอบอย่างเดียวกันกับ ที่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบ จนกระทั่งพระอานนท์สรรเสริญว่า พระศาสดาและสาวกมี คำกล่าวตรงกัน ทั้งโดยอรรถะ และโดยพยัญชนะ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก.

        แต่ในที่อื่นในคราวอื่น (ทสก.อ ๒๔/๑๐/๗) พระสารีบุตรได้ตอบคำถามของ พระอานนท์ ซึ่งอานนท์ซึ่งถามเรื่องเดียวกัน คือเรื่องสมาธิที่ไม่มีสัญญาในสิ่ง อัน เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ หากแต่ถามเว้นอารมณ์จำพวกสุดท้าย คือ สิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้รู้สึก สิ่งที่ไม่รู้แจ้ง สิ่งที่ได้บรรลุ สิ่งที่ได้แสวงหา สิ่งที่ใจติดตาม เสียเท่านั้น

ซึ่งโดยหลักเกณฑ์นี้แล้ว ท่านควรจะตอบด้วยคำตอบเดียวกัน คือตอบ ว่าการได้สมาธิ ที่มีสัญญาในนิพพาน ดังบทว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต ดังนี้เป็นต้น แต่ท่านกลับ ไปตอบว่าได้แก่ การได้ สมาธิที่มีสัญญาว่า
การดับไม่เหลือแห่งภพ คือนิพพาน (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ) ซึ่งเป็น สัญญาที่เคยเกิดแก่ท่านซ้ำ ๆ กันไป ไม่ขาดสาย เหมือนเปลวไฟที่เกิดขึ้น ทยอยกัน ฉันนั้น อันเป็นการได้สมาธิที่ได้ เมื่อท่านอาศัย อยู่ที่ป่า อันธวัน ใกล้เมืองสาวัตถี.

ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า คำตอบอย่างแรกโน้น บรรยายลักษณะของนิพพาน ในหลายแง่หลายมุม, ส่วนคำตอบในสูตรนี้ ระบุแต่เพียงแง่เดียวประเด็นเดียว ว่าได้แก่
การดับไม่เหลือแห่งภพ.

และขอให้เห็นลึกลงไปถึงว่า นิพพานไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ แต่ก็เป็นอารมณ์ แห่งสัญญาได้เหมือนกัน สัญญาจึงเป็นสิ่งที่มีได้ทั้ง ในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ยึดถือและ ในสิ่งที่มิได้เป็นอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดถือ กล่าวคือ ในพระนิพพาน นั่นเอง.

สรุปความว่า
สัญญามีได้ทั้งในสิ่งที่่เป็นสังขตะ และอสังขตะ โดยลักษณะที่ตรง กันข้ามทีเดียว]

        ๑. บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ”.



(61)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๗๖-๓๗๗

สมาธิสูตรที่ ๓
ภิกษุเป็นจำนวนมากเข้าหาพระสารีบุตร สอบถามเรื่องสมาธิ
P1490

               [๒๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก ได้เข้าไปหาท่าน พระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับด้วย พระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

               ครั้นแล้วได้ถาม ท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้ หรือหนอแล

การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่า เป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ...
ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

               ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุ ได้สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

               ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา

               สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

               ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้ สมาธิ โดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา



(62)
สมถะ หน้า 606

อินทรีย์ ๕
(นัยที่ ๓)

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙–๓๐๐/๑๐๑๗–๑๐๒๒.

           ... ดีละๆ สารีบุตร. อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึง เคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของ พระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรมทั้งหลาย.

           สารีบุตร.ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภ ความเพียรแล้ว พึงหวัง ข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง รักษา ตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.

            สารีบุตร. ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็น สตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักกระทำให้ได้ซึ่ง กระทำ โวสสัคคารมณ์ (ความที่จิตมีการปล่อย หรือการวางเป็นอารมณ์) แล้วได้สมาธิ จักได้ซึ่งความตั้งมั่น แห่งจิต ได้เอกัคคตาจิต

            สารีบุตร. ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุด ไม่ปรากฏ แก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชา เป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไป แล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการสำรอก โดยไม่ เหลือแห่งกองมืด คือ อวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความ สละคืนอุปธิ ทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

           สารีบุตร.ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล พยายามอย่างนี้
ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้
ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้
ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้
ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง
เหตุนั้น บัดนี้เราถูกต้องด้วยกายอยู่
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

           สารีบุตร.สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ของ อริยสาวก นั้น ดังนี้แล.



(63)
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 135-137

ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง


         ภิกษุ ท.! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพลญาณ ๑๐ อย่าง และ ประกอบด้วย เวสารัชชญาณ ๔ อย่าง จึงปฎิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศ พรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.

          สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นตถาคตพล ๑๐ อย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบ พร้อมแล้วปฎิญญา ตําแหน่ง จอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลาง บริษัท ทั้งหลายได้

สิบอย่างคือ
         (๑) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งสิ่งเป็นฐานะ (คือมีได้เป็นได้) โดยความ เป็นสิ่ง มีฐานะ ซึ่งสิ่งไม่เป็นฐานะ (คือไม่มีได้ไม่เป็นได้) โดยความเป็นสิ่งใช่ฐานะ นี้เป็นตถาคตพลของตถาคต
 
          (๒) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบาก (คือผล) ของการทํากรรมที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ทั้งโดยฐานะและโดยเหตุ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต. 

          (๓) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งปฏิปทาเครื่องทําผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ ภูมิทั้งปวง ได้ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.

          (๔) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งโลกนี้อันประกอบด้วยธาตุมิใช่อย่างเดียว ด้วยธาตุต่างๆ กัน นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต. 

          (๕) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอธิมุติ (คือฉันทะและอัธยาศัย) อันต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต 

          (๖) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์ เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

          (๗) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย นี่ก็เป็นตถาคตพลของ ตถาคต 

          (๘) ตถาคต ย่อมระลึกได้ ซึ่งขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีชนิดต่าง ๆ กัน คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง--ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

          (๙) ตถาคต ย่อมเห็นสัตว์ ท. ด้วยทิพยจักขุอันหมดจด ก้าวล่วงจักขุมนุษย์ : เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนอยู่บังเกิดอยู่---ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพล ของตถาคต 

          (๑๐) ตถาคต ย่อมทําให้แจ้ง เจโตวิมุติ ป๎ญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะเพราะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ท. ได้๔---ฯลฯ นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต
 
          สารีบุตร ! เหล่านี้แล เป็นตถาคตพลสิบอย่าง ของตถาคต ที่ตถาคต ประกอบ แล้ว ย่อมปฏิญญาตําแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร  ให้เป็นไปใน ท่ามกลางบริษัททั้งหลาย



(64)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๖๘-๑๗๒

๙. โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์ (เรื่องพระป่า)
พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ ภิกษุ ท.และ ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ
P1440

(โดยย่อ)

โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์ (เรื่องพระป่า)

ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาท หยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง

พระสารีบุตรปรารภกับโคลิสสานิภิกษุ ว่า
ถ้าท่าน ไม่เป็นผู้เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรี ในป่า ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียด ภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์
(1) ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีว่า เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ
(2) ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก
(3) ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลา ก่อนภัต ในเวลาหลังภัต
(4) ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.
(5) ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น
(6) ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร
(7) ควรเป็นผู้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย.
(8) ควรเป็นผู้รู้ ประมาณ ในโภชนะ
(9) ควรเป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ
(10) ควรเป็นผู้ ปรารภความเพียร
(11) ควรเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น
(12) ควรเป็นผู้ มีจิตตั้งมั่น
(13) ควรเป็น ผู้มีปัญญา
(14) ควรทำ ความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย
(15) ควรทำความเพียรในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ.
(16) ควรทำ ความเพียร ในอุตตริมนุสสธรรม.

             [๒๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อ โคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาท หยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.

             [๒๐๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร ปรารภโคลิสสานิภิกษุ จึงเรียก ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มี ความเคารพ ยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

             [๒๐๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (1) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียด ภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ. ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปในสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใด ไม่รู้จักธรรม แม้เพียงอภิสมาจาริกวัตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง.

             [๒๐๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (2) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไป สู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก. ถ้าภิกษุผู้ สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก.

             [๒๐๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (3) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลา ก่อนภัต ในเวลาหลังภัต. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ถึงความเที่ยว ไป ใน ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัตในเวลาหลังภัต จะมีผู้ว่าภิกษุ นั้นได้ว่าการ เที่ยวไป ในเวลาวิกาล อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรี ในป่าแต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอ ผู้ไปสู่ สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต.

             [๒๐๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (4) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิก ธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ความคะนองกาย คะนองวาจา อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรีในป่า แต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอ ผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.

             [๒๐๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (5) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น. ถ้าภิกษุผู้ สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์ อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไป สู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น.

             [๒๑๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (6) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่ สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านนี้ใด เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีประโยชน์ อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้นภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร.

             [๒๑๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (7) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ไม่เป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้ คุ้มครอง ทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่าน ผู้นี้ซึ่ง สมาทาน อรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย.

             [๒๑๒] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย(8) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้รู้ ประมาณ ในโภชนะ. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะ.

             [๒๑๓] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (9) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ ไม่ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใด เป็นผู้ ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น เนืองๆ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรี ในป่า แต่ท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้ประกอบ ความเพียรเป็น เครื่องตื่น เนืองๆ.

             [๒๑๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (10) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ ปรารภความเพียร. ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้เกียจคร้าน จะมี ผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านนี้ ใดเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรี ในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควร เป็นผู้ปรารภความเพียร.

             [๒๑๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (11) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ มีสติตั้งมั่น. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มี สติฟั่นเฟือน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์จึงควรเป็นผู้มี สติตั้งมั่น.

             [๒๑๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (12) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ มีจิตตั้งมั่น. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ ไม่มีจิตตั้งมั่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มี จิตตั้งมั่น

             [๒๑๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (13) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็น ผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีปัญญา

             [๒๑๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (14) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำ ความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรม และในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์มีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถาม ปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์ ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ ว่า ท่านผู้นี้ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ ของเขา ให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.

             [๒๑๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (15) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำ ความเพียรใน วิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ. เพราะคนผู้ถาม ในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติมีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหาในวิโมกข์ อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ที่ล่วงรูปสมาบัติ แล้ว ให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่า ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถาม ปัญหาในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ที่ล่วง รูปสมาบัติแล้ว ยังความประสงค์ ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียรไว้ใน วิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ

             [๒๒๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย (16) อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม(ธรรมอันยิ่งยวด). เพราะคนผู้ถามปัญหา ใน อุตตริมนุสสธรรม กะภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว ให้ความประสงค์ ของเขา สำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้น ได้ว่า ท่านผู้นี้บวชเพื่อประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันใด ไม่รู้จักประโยชน์แห่งคุณวิเศษ อันนั้นจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่ง สมาทานอรัญญิกธุดงค์ อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน อรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม

             [๒๒๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เท่านั้นหรือ ที่ควรสมาทานธรรม เหล่านี้ประพฤติ หรือแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน ก็ควรสมาทานธรรม เหล่านี้ประพฤติ?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรโมคคัลลานะ แม้ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ยังควร สมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ จะกล่าวไปไยถึงภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านเล่า.

จบ โคลิสสานิสูตร ที่ ๙.



--จบ พระสูตรต่างๆในพระไตรปิฎก ที่เป็นเรื่องราวของพระสารีบุตร--






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์