เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 1/3 รวมพระสูตร เรื่องพระมหากัสสป เอตทัคคบาลี (ด้านผู้ทรงธุดงค์) 1486
  P1486 P1487 P1488
รวมพระสูตร พระมหากัสสป
 

(โดยย่อ)

1. เอตทัคคบาลี (ด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์)
2. มหากัสสปสูตร (เทวดา ๕๐๐ ปลอมเป็นชาวบ้านเพื่อใส่บาตร)
   (2.1) ท้าวสักกะจอมเทพปลอมตัวเป็นช่างทอ รอใส่บาตรแก่พระมหากัสสป
   (2.2) ท่านมหากัสสปทราบด้วย ทิพโสตธาตุ ว่าเทวดาปลอมเป็นชาวบ้าน

3. กุสลสูตร (ผู้ไม่ประกอบความเพียรไม่อาจทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ)
4. อัญญสูตร (ธรรม ๑๐ ประการในการพยากรณ์อรหัตผล)
5. เถรสูตร (บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอ)
6. ภิกขุนูปัสสยสูตร (พระมหากัสสปะแสดงธรรมในสำนักภิกษุณี-ถูกภิกษุณีชื่อถุลลติสสาดูหมิ่น)

** (รวมรวมเฉพาะพระสูตรที่เป็นพุทธจน ไม่รวมอรรถกถา)


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


(1)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔

เอตทัคคบาลี

             [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระอัญญาโกณฑัญญะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้รู้ราตรีนาน
พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก
พระมหาโมคคัลลานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์ฯ
พระมหากัสสป เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญ คุณ แห่งธุดงค์
พระอนุรุทธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีทิพยจักษุ
พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เกิดในตระกูลสูง
พระลกุณฏกภัททิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีเสียงไพเราะ
พระปิณโฑลภารทวาชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้บันลือสีหนาท
พระปุณณมันตานีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก
พระมหากัจจานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต โดยย่อให้พิสดาร



(2)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้า ๘๒

มหากัสสปสูตร
เทวดา ๕๐๐ องค์ ปลอมเป็นชาวบ้านใส่บาตรพระมหากัสสป

             [๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป นั่งเข้าสมาธิ อย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ โดยบัลลังก์เดียว ที่ถ้ำปิปผลิคูหา สิ้น ๗ วัน ครั้นพอล่วง ๗ วันนั้น ไปท่านพระมหากัสสป ก็ออกจากสมาธินั้น เมื่อท่านพระมหากัสสปออกจากสมาธิ นั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปบิณฑบาต ยังพระนครราชคฤห์เถิด

             ก็สมัยนั้นแล เทวดาประมาณ ๕๐๐ ถึงความขวนขวาย เพื่อจะให้ท่าน พระมหากัสสป ได้บิณฑบาต ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสป ห้ามเทวดา ประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น แล้วนุ่งผ้าอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง พระนครราชคฤห์

(2.1)
ท้าวสักกะจอมเทพปลอมตัวเป็นช่างทอ รอใส่บาตรแก่พระมหากัสสป

             [๘๐] ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงพระประสงค์จะถวาย บิณฑบาต แก่ท่าน พระมหากัสสป จึงทรงนิรมิตเพศ เป็นนายช่างหูก ทอหูก อยู่ นางอสุรกัญญา ชื่อว่า สุชาดา กรอด้ายหลอดอยู่

             ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป เที่ยวไปบิณฑบาต ในพระนครราชคฤห์ ตามลำดับ ตรอก เข้าไปถึงนิเวศน์ ของท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงเห็นท่าน พระมหากัสสป มาแต่ไกล

            ครั้นแล้วเสด็จออกจากเรือนทรงต้อนรับ ทรงรับบาตรจากมือ เสด็จเข้าไป สู่เรือน ทรงคดข้าวออกจากหม้อใส่เต็มบาตร แล้วทรงถวายแด่ ท่านพระมหากัสสป บิณฑบาต นั้น มี สูปะและพยัญชนะ* เป็นอันมาก
* (อาหารประเภทแกง และไม่ใช่แกง)


(2.2)
ท่านมหากัสสปทราบด้วย ทิพโสตธาตุ ว่าเทวดาปลอมเป็นชาวบ้าน

             ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปคิดว่า สัตว์นี้เป็นใครหนอแล มีอิทธานุภาพ เห็นปานนี้ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีความคิดว่า ท้าวสักกะจอมเทพ หรือ หนอแล ท่านพระมหากัสสป ทราบดังนี้แล้วได้กล่าว กะท้าวสักกะจอมเทพว่า

             ดูกรท้าวโกสีย์ มหาบพิตรทำกรรมนี้แล้ว แลมหาบพิตร อย่าได้ทำกรรม เห็นปานนี้ แม้อีกท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสปผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้า ก็ต้องการบุญ แม้ข้าพเจ้าก็พึงทำเพราะบุญครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงอภิวาท ท่านพระมหากัสสป ทรงทำประทักษิณแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส เปล่ง อุทาน ๓ ครั้งในอากาศว่า

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป

             [๘๑] พระผู้มีพระภาค ได้ทรงสดับอุทานของ ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จ เหาะขึ้นไปสู่ เวหาส แล้ว ทรงเปล่งอุทานในอากาศ ๓ ครั้งว่า

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป

           ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุผู้ถือ การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่ เลี้ยงคนอื่น ผู้คงที่สงบแล้วมีสติทุกเมื่อ



(3)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๗๕

๗. กุสลสูตร
ผู้ไม่ประกอบความเพียรไม่อาจทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

(ย่อ)
พระผู้มีพระภาคเตือนภิกษุบวชใหม่
ภิกษุใหม่บวช นอนตื่นสาย ณ ศาลาที่บำรุง จนพระอาทิตย์ขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นด้วย ทิพยจักษุ ตรัสถามภิกษุ ท.พระสารีบุตรไปไหน พระโมคคัลลานะไปไหน พระเถระเหล่านั้น ไปไหน  ภิกษุทูลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปไม่นาน ต่างก็ได้ไปยังวิหารของตน

ภิกษุ ท. เป็นไปได้หรือไม่ที่ สมณะหรือพราหมณ์ นอนหลับสบาย ไม่คุ้มครองทวาร ใน อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ทำความความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรม ไม่เจริญ โพธิปักขิยธรรม แล้วสามารถทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ... ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

ภิกษุ ท. กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า


             [๒๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไป ยังศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ท่านพระสารีบุตร ก็ออกจากที่เร้น ในเวลาเย็นเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ แม้ท่านพระมหากัจจายนะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ แม้ท่านพระมหากัปปินะ แม้ท่านพระอนุรุทธะ

             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อม สรรเสริญภิกษุ ผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุ ผู้ประกอบธรรม ภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมไม่เลื่อมใส ในการประกอบธรรมนั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมไม่เลื่อมใส ในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุข แก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

             เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลผู้ที่ถูกต้องอมตธาตุ ด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก

             เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย เป็นผู้ เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึงศึกษา อย่างนี้แลข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่แทงทะลุ เห็นข้ออรรถ อันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก



(4)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๔๐

อัญญสูตร
ธรรม ๑๐ ประการในการพยากรณ์อรหัตผล
(พระมหากัสสปแสดงธรรม)

           [๘๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัสสปะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่าน พระมหากัสสปะแล้ว ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวคำนี้ว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

            พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌานผู้ฉลาด ใน สมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียง สอบถาม ซักถามภิกษุนั้นภิกษุนั้น อันพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิต ของผู้อื่น ไล่เลียงสอบถามซักถามอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ถึงความเป็นผู้ไม่มีคุณ ถึงความไม่เจริญถึงความพินาศ ถึงความไม่เจริญและความพินาศ

           พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดใน สมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจ ด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจ ซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึง พยากรณ์ อรหัตผลว่า เราย่อมรู้ชัดว่า สิ้นชาติแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้

            พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ... กำหนดใจ ด้วยใจ แล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดย สัตย์จริง มีความสำคัญ ในสิ่งที่ยังไม่ถึงว่าได้ถึงมีความสำคัญในสิ่งที่ ไม่ได้กระทำ ว่ากระทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุ จึงพยากรณ์อรหัตผล ด้วยความ สำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

           พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ... กำหนดใจ ด้วยใจ แล้ว ย่อมทำไว้ในใจ ซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะอาศัยอะไรหนอท่านผู้นี้ จึงมี ความสำคัญผิด ... พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

           พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ... กำหนดใจด้วย ใจ แล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มีสุตะมากทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับ มามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฐิซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะฉะนั้น ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด ... จึงพยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้

          พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ... กำหนดใจ ด้วยใจ แล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า

             (๑) ท่านผู้นี้มีอภิชฌามาก มีใจอันอภิชฌากลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความ กลุ้มรุม แห่งอภิชฌานี้เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว

             (๒) ท่านผู้นี้เป็นผู้พยาบาท มีใจอันพยาบาทกลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความ กลุ้มรุมแห่งพยาบาทนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว

             (๓) ท่านผู้นี้เป็นผู้มีถีนมิทธะ มีใจอันถีนมิทธะ กลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก ก็ความ กลุ้มรุม แห่งถีนมิทธะนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว

             (๔) ท่านผู้นี้เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มีใจอันความฟุ้งซ่าน กลุ้มรุมอยู่เป็น ส่วนมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความฟุ้งซ่านนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว

             (๕) ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความสงสัย มีใจอันความสงสัยกลุ้มรุม อยู่เป็น ส่วนมาก ก็ความกลุ้มรุมแห่งความสงสัยนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว

             (๖) ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความ เป็นผู้ชอบการงาน ก็ความเป็นผู้ชอบการงานนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว

            (๗) ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบในการคุย ผู้ยินดีในการคุย ประกอบเนืองๆซึ่งความ เป็นผู้ชอบคุย ก็ความเป็นผู้ชอบคุยนี้เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว

             (๘) ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบนอนหลับ ก็ความเป็นผู้ชอบนอนหลับนี้ เป็นความเสื่อมใน ธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว

             (๙) ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีในความเป็นผู้ คลุกคลี ด้วยหมู่คณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ก็ความเป็นผู้ชอบคลุกคลี ด้วยหมู่คณะนี้ เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว

             (๑๐) ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติหลงลืม ถึงความทอดธุระ ในระหว่างในคุณวิเศษ เบื้องบน ด้วยการบรรลุคุณวิเศษเบื้องต่ำ ก็ความทอดธุระในระหว่างนี้ เป็นความเสื่อม ในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว

             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอไม่ละ ธรรม ๑๐ ประการนี้ แล้ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้



(5)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๔

๕. เถรสูตร
บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเหตุเพียงเท่าไรหน

             [๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวัตตะ และท่านพระนันทะ (จำนวน10 รูป) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับพระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านเหล่านั้น กำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นมาอยู่

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ เหล่านั้นมาอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส อย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้มีชาติเป็นพราหมณ์รูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอแล และธรรมที่ทำบุคคล ให้เป็นพราหมณ์เป็นไฉน

             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทาน นี้ ในเวลานั้นว่า ชนเหล่าใดลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์สิ้น แล้ว ตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ในโลก (การลอยบาปในความหมาย นี้คือ การละสังโยชน์)



(6)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๑๐
(อุปัสสยสูตร ว่าด้วยพระมหากัสสปะแสดงธรรมในสำนักภิกษุณี /มหาจุฬา เล่ม ๑๖ หน้า ๒๕๓)

ภิกขุนูปัสสยสูตร
พระมหากัสสปะแสดงธรรมในสำนักภิกษุณี
(แต่ถูกภิกษุณีรูปหนึ่งดูหมิ่น) ภิกษุณีชื่อ ถุลลติสสา

             [๕๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

       ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตร และ จีวรเข้าไปหา ท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้กล่าวกะท่าน พระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญนิมนต์ท่าน ไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด

       ท่านพระมหากัสสป จึงกล่าวว่า ท่านไปเถิด อาวุโสอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสป ก็กล่าวว่า ท่านไปเถิด อาวุโสอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมากแม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปยัง ที่พำนักของภิกษุณี ด้วยกันเถิด

             [๕๑๓] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปนุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวร มีท่านพระอานนท์ เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังที่พำนักของภิกษุณี ครั้นเข้าไปแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้งนั้นภิกษุณีเป็นอันมาก พากันเข้าไป หาท่านพระมหากัสสปถึงที่พัก ครั้นเข้าไปแล้วจึงกราบท่านพระมหากัสสป แล้วนั่งณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

       ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหากัสสป ยังภิกษุณี เหล่านั้น ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล ท่าน พระมหากัสสป ครั้นยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป

             [๕๑๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อ ถุลลติสสา ไม่พอใจ ถึงเปล่งคำแสดง ความไม่พอใจว่า เพราะเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสป จึงสำคัญธรรมที่ตน ควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ เปรียบเหมือน พ่อค้า เข็ม สำคัญว่าควรขายเข็มในสำนักของช่างเข็มผู้ชำนาญ ฉันใด พระผู้เป็นเจ้า มหากัสสป ย่อมสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า อานนท์ผู้เป็นมุนี เปรื่องปราชญ์ ฉันนั้นเหมือนกัน

       ท่านพระมหากัสสป ได้ยินภิกษุณี ถุลลติสสากล่าว วาจานี้แล้ว จึงกล่าวกะท่าน พระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ เราเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านเป็นช่างเข็ม หรือเราเป็น ช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านพระอานนท์ จึงตอบว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสป ผู้เจริญขอท่านโปรดประทานโทษเถิด มาตุคามเป็นคนโง่ (ภิกษุณีชื่อถุลลติสสา)

             [๕๑๕] งดไว้ก่อนอาวุโสอานนท์ หมู่ของท่านอย่าเข้าไปสอดเห็น ให้ เกินไปนัก ดูกรอาวุโสอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านถูกนำเข้าไป เปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค บ้างหรือว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว เข้าถึง ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดวิเวกอยู่ได้เท่าใด แม้อานนท์ก็หวังสงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิด แต่วิเวกอยู่ได้เท่านั้น เหมือนกัน

       ท่านพระอานนท์กล่าวว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ

             ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบ ในหมู่ภิกษุเฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวก อยู่ได้ เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีเปยยาลอย่างนี้]

             [๕๑๖] อาวุโสอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านถูก นำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค บ้างหรือว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ อาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้อานนท์ ก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญา ยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้นเหมือนกัน

        อา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ

             ดูกรอาวุโส เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกขุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาค ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะ มิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใ นทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้น เหมือนกัน

             [๕๑๗] ดูกรอาวุโส ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญ ช้าง ๗ ศอกหรือ ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้

      ก็แล ภิกษุณีชื่อถุลลติสสา เคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว (ประพฤติธรรม ไม่บริสุทธิ์ เหตุเพราะดูหมิ่นพระมหากัสสป)

จบสูตรที่ ๑๐






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์