เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  ลัทธินิครนถ์ นาฏบุตร   
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวของ ลัทธินิครนถ์นาฏบุตร ผู้อหังการ
โต้วาทะกับสมณโคดม จนเหงื่อหยด
N107
        ออกไปหน้าหลัก 7 of 7  
  สัจจกนิครนถ์ ปริพาชก : นิครนถ์นาถบุตร ลัทธิที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสมัยพุทธกาล เคยโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคจนเหงื่อตก
  (66) สมณโคดมแสดงธรรม ทั้งเป็น อกิริยวาท และเป็นกิริยวาท
  (67) สีหเสนาบดียอมเป็นสาวกของสมณโคดม
  (68) สีหะคหบดี บ่อน้ำของพวกนิครนถ์
  (69) ทรงแสดง อนุปุพพิกถา โปรดสีหเสนาบดี (สาวกนิครนถ์)
  (70) อสัทธรรม ๑๐ ประการ ของพวกนิครนถ์ (นิคันถสูตร)
  (71) ปัญหาของพระเจ้าปเสนทิโกศล (๒ ปฏิสัลลานสูตร)
  (72) สภิยปริพาชก ถามปัญหาปริพาชกแล้วแก้ไม่ได้ (สภิยสูตรที่ ๖)
  (73) สภิยปริพาชกเข้าหาพระผู้มีพระภาค ได้ถามปัญหาทุกเรื่อง
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๐

(66)
สมณโคดมแสดงธรรม ทั้งเป็น อกิริยวาท และเป็นกิริยวาท
สอนสาวก ไม่ให้ทำบาปอกุศล ไม่ทำกาย วาจา ใจทุจริต นี้เป็น อกิริวาท และ
สอนสาวก ให้ทำอุศลธรรม ทำกาย วาจา ใจสุจริต นี้เป็น กิริยวาท

    ดูกรสีหะ (สาวกนิครนถ์) เพราะเรากล่าว การไม่ทำ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าว การ ไม่ทำซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เป็นเหตุที่เขากล่าวหาเรา ว่า พระสมณโคดม เป็นอกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ

     ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น กิริยวาท ย่อมแสดงธรรม เพื่อ กิริยวาท และแนะนำพวกสาวก ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน

     ดูกรสีหะ เพราะ เรากล่าวการทำ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กล่าวการ ทำกุศลธรรมหลายอย่างนี้แล เป็นเหตุที่เขากล่าวหา เราว่า พระสมณโคดมเป็น กิริยวาท ย่อม แสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๐

(67)
สีหเสนาบดียอมเป็นสาวกของสมณโคดม
(ย่อ)
(1) สมณโคดมแสดงธรรม เพื่อการขาดสูญ คือขาดสูญ จาก ราคะโทสะ โมหะ และบาป อกุศล นี้คือ อุจเฉทวาท ในแบบของตถาคต ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ

(2) สมณโคดมแสดงธรรม
เพื่อเป็นคนช่างเกลียดกายทุจริต วจีทุจริต โนทุจริต  และบาป-อกุศล ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ

(3) สมณโคดมแสดงธรรม
เพื่อเป็นกำจัดราคะ โทสะโมหะ และธรรมอันเป็นบาป-อกุศล หลายอย่าง ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ

(4)  สมณโคดมแสดงธรรม เพื่อเผาผลาญ เพื่อตัดขาด กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และบาป-อกุศล ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ

(5) สมณโคดมแสดงธรรม เพื่อการไม่ผุด ไม่เกิดของภพใหม่ ตัดขาดรากแล้วเหมือนตาล ยอดด้วน ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ

(6) สมณโคดมแสดงธรรม เพื่อเผาผลาญ เพื่อตัดขาด กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และบาป-อกุศล ผู้ใดกล่าว เช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ

สีหเสนาบดี (สาวกนิครนถ์)ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ จึง
เที่ยวประกาศทั่วเมืองเวสาลีว่า สีหเสนาบดียอมเป็นสาวก ของสมณโคดมแล้ว

----------------------------------------------------

  (1) ดูกรสีหะ(สาวกนิครนถ์) ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อุจเฉทวาท ย่อมแสดง ธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวก ทั้งหลาย ด้วย อุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวความ ขาดสูญแห่งราคะโทสะ โมหะ และธรรมอัน เป็น บาป อกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็น เหตุที่เขา กล่าวหาเราว่าพระสมณ โคดม เป็น อุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรม เพื่อ อุจเฉทวาทและแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วย อุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ 
(ตถาคตแสดงธรรมเพื่อการขาดสูญ คือขาดสูญ จาก ราคะโทสะ โมหะ และบาปอกุศล นี้คือ อุจเฉทวาท ในแบบของตถาคต ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ)

  (2) ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด ย่อมแสดง ธรรม เพื่อความช่างเกลียด และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นเป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราเกลียดชัง กายทุจริต วจีทุจริต  โนทุจริต และเกลียดชัง การเข้าถึงธรรมอันเป็นบาปอกุศล หลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุ ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นคนช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความ ช่างเกลียด และแนะนำ สาวก ด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ชื่อว่ากล่าวชอบ (ตถาคตธรรมแสดงเพื่อเป็นคนช่างเกลียดกายทุจริต วจีทุจริต โนทุจริต และบาป-อกุศล ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ )

  (3) ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดง ธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการกำจัดดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะโมหะ และธรรมอันเป็น บาป อกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุ ที่เขากล่าวหาเราว่าพระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการกำจัดดังนี้ชื่อว่ากล่าว ชอบ
(ตถาคตธรรมแสดงเพื่อเป็น กำจัดราคะ โทสะโมหะ และธรรมอันเป็น บาป อกุศลหลายอย่าง ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ)

  (4) ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนเผาผลาญ  ย่อมแสดง ธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญดูกรสีหะ ผู้ใดแลละ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่ควรเผาผลาญ ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีก ต่อไป เป็นธรรมดาเรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้เผาผลาญ ดูกรสีหะ ตถาคตละธรรม อันเป็นบาปอกุศลได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเป็น เหตุที่เขา กล่าว หาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความ เผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ
(ตถาคตธรรมแสดงเพื่อเผาผลาญ เพื่อตัดขาด กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และบาปอกุศล ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ )

  (5) ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการไม่ผุด ไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ ผู้ใดแลละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าว ผู้นั้น ว่า ผู้ไม่ผุดไม่เกิดตถาคตละการนอน ในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่าพระสมณ โคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความ ไม่ผุด ไม่เกิด และ แนะนำสาวก ทั้งหลาย ด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ
(ตถาคตธรรมแสดง เพื่อการไม่ผุด ไม่เกิดของภพใหม่
ตัดขาดรากแล้วเหมือนตาลยอดด้วน ผู้ใดกล่าวเช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ )

     (6) ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา ย่อม แสดงธรรมเพื่อความ ใจเบา และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ชื่อว่า กล่าว ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อความ ใจเบา ด้วยความใจเบา อย่างยิ่งและ แนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการใจเบา นี้แลเป็น เหตุที่ เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อความ ใจเบา และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ
(ตถาคตธรรม แสดง เพื่อเผาผลาญ
เพื่อตัดขาด กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และบาป อกุศล ผู้ใดกล่าว เช่นนี้ ถือว่ากล่าวชอบ )

     ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

     พ. ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้ว กระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียง เช่นท่าน

     สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจ อย่างล้นเหลือต่อพระผู้มี พระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะ ข้าพระองค์ว่า

     ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคน ที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ ได้ข้าพระองค์ เป็นสาวก แล้วพึงยกธง เที่ยวประกาศทั่วเมืองเวสาลีว่า สีหเสนาบดียอมเป็นสาวก พวกเราแล้ว แต่พระผู้มีพระภาค กลับตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า

     ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อน แล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะเป็นครั้งที่สอง ขอพระผู้มี พระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๒
(68)
สีหะคหบดี บ่อน้ำของพวกนิครนถ์
(ย่อ)
สีหะคหบดี เป็นทั้งสาวกของนิครนถ์ และเป็นทั้งคหบดีผู้อุปถัมภ์ เปรียบเหมือนเป็น บ่อน้ำเลี้ยง ของเหล่านิครนถ์
แม้จะเปลี่ยนใจมาศรัทธาสมณโคดมแล้ว ก็ควรให้เข้าให้น้ำ แก่พวกนิครนถ์ต่อไป

     พ. ดูกรสีหะ(สาวกนิครนถ์) ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำ ของ พวกนิครนถ์ มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาตที่ท่านจะพึงให้แก่ พวกนิครนถ์ เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว

     สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจ อย่างล้นเหลือต่อพระผู้มี พระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะ ข้าพระองค์ว่า ดูกรสีหะ ตระกูลของท่านเป็น เสมือนบ่อน้ำ ของพวกนิครนถ์ มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาต ที่ท่านจะพึง ให้แก่ พวกนิครนถ์เหล่านั้น ผู้เข้าไปแล้ว

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัส อย่างนี้ ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่ผู้อื่น ควรให้ทานแก่สาวก ของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่ พวกอื่น ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ให้แก่สาวกของพวกอื่นไม่มี ผลมาก แต่พระผู้มีพระภาค กลับตรัสชักชวนข้าพระองค์ในการให้ทานแม้ใน พวกนิครนถ์ ด้วย

     อนึ่ง ข้าพระองค์จักรู้กาลอันควร ที่จะให้ทานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๓
(69)
ทรงแสดง อนุปุพพิกถา โปรดสีหเสนาบดี (สาวกนิครนถ์)
(ย่อ)
ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม และอานิสงส์ ในเนกขัมมะ เมื่อทรงทราบว่า สีหเสนาบดี มีจิตควรอ่อน ปราศจาก นิวรณ์ จึงแสดงธรรมที่สูงขึ้น คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อสีหบดีมีจิตปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน พึงเห็นว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน มีความดับไป เป็นธรรมดา ...
สีหเสนาบดี เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถา โปรดสีหเสนาบดี คือทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม อันต่ำทรามเศร้าหมองและอานิสงส์ ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สีหเสนาบดีมีจิตควรอ่อน ปราศจาก นิวรณ์ บันเทิง เลื่อมใสแล้วมื่อนั้น จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนาที่ พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุ อันปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน เกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
เปรียบเหมือน ผ้าที่สะอาดปราศจากดำจะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น ฯ

     ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี ผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้ง ถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง แล้ว ถึงความ เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในพระศาสนาของพระศาสดา ได้กราบทูลพระ ผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ รับนิมนต์ ฉันอาหารบิณฑบาตในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับ โดยดุษณีภาพ

     ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เรียกชายคนหนึ่งมาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อจงไปหาเนื้อเลือกเอาเฉพาะ ที่ขาย ทั่วไป พอล่วงราตรีนั้น สีหเสนาบดีสั่งให้จัดขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตไว้ใน นิเวศน์ ของตนแล้ว ให้ไปกราบทูลเวลา ภัตตาหาร แด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า ภัตตาหารในนิเวศน์ของท่าน สีหเสนาบดีสำเร็จแล้ว

     ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรง ครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของ สีหเสนาบดี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้พร้อม ด้วย ภิกษุสงฆ์ ก็สมัยนั้น นิครนถ์ เป็นจำนวนมาก พากันประคองแขนคร่ำครวญ ตามถนน ต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์ อ้วนพีปรุงเป็น ภัตตาหาร ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดม ทั้งที่รู้ทรงฉันอุทิศมังสะ ที่เขาอาศัย ตนทำ

     ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปหา สีหเสนาบดี กระซิบบอกว่า พระเดชพระคุณ ได้โปรดทราบ นิครนถ์ เป็นจำนวนมากเหล่านี้ พากันประคองแขนคร่ำครวญ ตามถนน ต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดี ฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุง เป็นภัตตาหาร ถวายพระสมณโคดมพระสมณโคดม ทั้งที่รู้อยู่ทรงฉันอุทิศมังสะ ที่เขาอาศัยตนทำ

     สีหเสนาบดี กล่าวว่า อย่าเลย เพราะเป็นเวลานานมาแล้ว ที่พระคุณเจ้า เหล่านั้น ใคร่จะกล่าวโทษพระพุทธ พระธรม พระสงฆ์ แต่ท่านเหล่านี้ไม่กระดากอาย เสียเลย ย่อมกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำอันไม่เป็นจริง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตไม่

     ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ได้อังคาส พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้ อิ่มหนำ สำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน และเมื่อพระผู้มี พระภาค ฉันเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สีหเสนาบดีนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

     ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจง สีหเสนาบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ รื่นเริงด้วย ธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจากที่นั่งหลีกไป



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๓๑
(70)
อสัทธรรม ๑๐ ประการ ของพวกนิครนถ์ (นิคันถสูตร)
(ย่อ)
อสัทธรรม ๑๐ อย่าง เป็นผู้ไม่มีศรัทธา.. ทุศีล..ไม่มีความละอาย ..ไม่มีความเกรงกลัว ไม่ภักดีต่อสัตบุรุษ ..ยกตนข่มผู้อื่น ..ยึดมั่นความเห็นของตน ..เป็นคนลวงโลก.. ปรารถนา ลามก...มีความเห็นผิด

     [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ ประกอบด้วย อสัทธรรม ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ
๑.เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒.ทุศีล
๓.ไม่มีความละอาย๑
๔.ไม่มีความเกรงกลัว
๕.ไม่ภักดีต่อสัตบุรุษ
๖.ยกตนข่มผู้อื่น
๗.ยึดมั่นความเห็นของตน ถือสิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ สละคืนความยึดมั่นถือมั่นด้วย ความเห็น ของตนได้ยาก
๘.เป็นคนลวงโลก
๙.ปรารถนาลามก
๑๐.มีความเห็นผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๒๒
(71)
ปัญหาของพระเจ้าปเสนทิโกศล (๒ ปฏิสัลลานสูตร)
(ย่อ)
พระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลการดูพระอรหันต์ ในหมู่ปริพาชก...
ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม ทรงครองฆราวาส ยากที่จะทรงทราบ ได้ว่า ท่านเหล่านี้ เป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้ บรรลุอรหัตตมรรค

หลักการพิจารณาบุคคล
  ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
  ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย
  กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย
  ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการสนทนา

ทรงเปล่งอุทาน ต่อหน้าพระเจ้าปเสนทิโกศล ว่า
  บรรพชิต ไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป
  บรรพชิต ไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น
  บรรพชิต ไม่ควรอาศัยผู้อื่น เป็นอยู่
  บรรพชิต ไม่ควรแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์นั้นๆ

--------------------------------------->

        [๑๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพารามปราสาทของนางวิสาขา มิคาร มารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก ที่เร้น ประทับนั่ง อยู่ภายนอกซุ้มประตู ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

     ก็สมัยนั้นชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และ ปริพาชก ๗ คน มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว หาบบริขารหลายอย่าง เดินผ่านไป ในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค

     พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ ทอดพระเนตรเห็นชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และปริพาชก ๗ คนเหล่านั้น ผู้มีขนรักแร้ และเล็บงอกยาว หาบบริขารหลายอย่าง เดินผ่านไปในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค

     ครั้นแล้วทรงลุกจากอาสนะ ทรงกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ทรงคุก พระชานุมณฑล เบื้องขวา ลงที่แผ่นดิน ทรงประนมอัญชลีไปทางที่ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และปริพาชก ๗ คนแล้วทรงประกาศ พระนาม ๓ ครั้งว่า

     ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า คือพระเจ้าปเสนทิโกศล

      ลำดับนั้นแล เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และปริพาชก ๗ คนเหล่านั้นหลีกไปแล้ว ไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านเหล่านั้น(ปริพาชก) เป็นคนหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ หรือ ในจำนวนท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคในโลก

        [๑๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม ทรงครองฆราวาส อันคับคั่งด้วยพระโอรส และพระมเหสีอยู่ ทรงใช้สอย ผ้าแคว้นกาสี และจันทน์อยู่ ทรงทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่อง ประเทืองผิวอยู่ ทรงยินดี เงิน และ ทองอยู่ ยากที่จะทรงทราบได้ว่า ท่านเหล่านี้เป็น พระอรหันต์ หรือว่าท่าน เหล่านี้ บรรลุอรหัตตมรรค

        ๑. ดูกรมหาบพิตร ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึง ทราบได้ โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย เมื่อมนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการ ไม่พึง ทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ

        ๒. ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย และความเป็น ผู้สะอาดนั้น แลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบ ได้ ไม่มนสิการ ไม่พึง ทราบผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ

        ๓. กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และกำลังใจนั้นแลพึงทราบ ได้โดย กาลนาน ไม่ใช่โดยการนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญา พึงทราบได้ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ

        ๔. ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นแลพึงทราบได้ โดย กาลนาน ไม่ใช่โดยการนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบผู้มี ปัญญา พึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ

        [๑๓๔] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมีมา พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์ บริโภค กาม ทรงครองฆราวาสอันคับคั่งด้วยพระโอรสและพระมเหสีอยู่ ทรงใช้สอยผ้าแคว้น กาสี และ จันทน์อยู่ทรงทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอยู่ ทรงยินดี เงินและทองอยู่ ยากที่จะรู้ได้ว่า ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้ บรรลุ อรหัตตมรรค

     ดูกรมหาบพิตร
ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงทราบได้ โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ

ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ ด้วยการปราศรัย และความเป็นผู้ สะอาด นั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดย กาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ

กำลังใจ พึงทราบได้ ในเพราะอันตราย และกำลังใจนั้น แลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาล นิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มี นสิการ ไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา ทรามไม่พึงทราบ

ปัญญา พึงทราบ ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงทราบได้ โดยกาลนาน ไม่ใช่โดย นิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญา พึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทราม ไม่พึงทราบ


     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกราชบุรุษ ปลอมตัวเป็นนักบวช เที่ยวสอดแนมของ หม่อมฉันเหล่านี้ ตรวจตราชนบท แล้วกลับมาพวกเขาตรวจตราก่อนหม่อมฉันจักตรวจ ตรา ภายหลัง

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พวกเขา ลอยธุลี และมลทินแล้ว อาบดีแล้ว ไล้ทา ดีแล้ว ปลงผมและหนวดแล้ว นุ่งผ้าขาวผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอ ตนอยู่

        ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลา นั้น ว่าบรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น ไม่ควรอาศัยผู้อื่น เป็นอยู่ ไม่ควรแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์นั้นๆ

จบสูตรที่ ๒



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๒๑

(72)
สภิยปริพาชก ถามปัญหาปริพาชกแล้วแก้ไม่ได้ (สภิยสูตรที่ ๖)
(ย่อ)
สภิยปริพาชก ถามปัญหาเหล่าปริพาชก ได้แก่ ปูรณกัสสปมักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ สญชัยเวฬัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร แต่ปริพาชกเหล่านั้นแก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ก็แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ

สภิยปริพาชก จึงคิดว่าท่านสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้เก่าแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ เป็นผู้เฒ่า รู้ราตรีนาน บวชมานาน เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดี จึงเปลี่ยนใจมาเข้าหาพระสมณ โคดม เพราะท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เราจึงไม่ควรดูหมิ่น ว่าเพราะยังเป็นหนุ่ม โดยพระชาติ ทั้งยังเป็นผู้ใหม่โดยบรรพชา


             [๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล เทวดา ผู้เป็นสาโลหิตเก่าของ สภิยปริพาชก ได้แสดงปัญญาขึ้นว่า

     ดูกรสภิยะ สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใด ท่านถามปัญหาเหล่านี้แล้ว ย่อมพยากรณ์ ได้ท่าน พึงประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้นเถิด

    ลำดับนั้น แล สภิยปริพาชก เรียนปัญหาในสำนักของเทวดานั้นแล เข้าไปหา สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสปมักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ สญชัยเวฬัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร แล้วจึงถามปัญหาเหล่านั้น

     สมณพราหมณ์เหล่านั้น อัน สภิยปริพาชก ถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดงความโกรธ ความ ขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับ ถาม สภิยปริพาชกอีก ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณ พราหมณ์ ทั้งหลายผู้เป็น เจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสป ฯลฯ

     นิครนถ์นาฏบุตร ถูกเราถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดงความ โกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับถามเรา ในปัญหาเหล่านี้ อีก ถ้ากระไร เราพึงละเพศกลับมาบริโภคกามอีกเถิด

     ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชก มีความดำริว่า พระสมณโคดมนี้แลเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็น คณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี ถ้ากระไร เราพึง เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลถามปัญหา เหล่านี้เถิด

     ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ เก่าแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ เป็นผู้เฒ่า รู้ราตรีนาน บวชมานาน เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดี คือปูรณกัสสป ฯลฯ

     นิครนถ์นาฏบุตร ท่านสมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้นถูกเราถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดง ความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับถาม เราในปัญหาเหล่านี้อีก ส่วนพระสมณโคดม ถูกเราทูลถามแล้ว จักทรง พยากรณ์ปัญหา เหล่านี้ ได้อย่างไร เพราะพระสมณโคดม ยังเป็นหนุ่ม โดยพระชาติ ทั้งยังเป็นผู้ใหม่ โดยบรรพชา

     ลำดับนั้นสภิยปริพาชกมีความดำริว่า พระสมณโคดมเราไม่ควรดูหมิ่น ดูแคลนว่า ยังเป็นหนุ่ม ถึงหากว่า พระสมณโคดม จะยังเป็นหนุ่มแต่ท่านก็เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้า พระสมณโคดมแล้ว ทูลถามปัญหา เหล่านี้เถิด



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๒๓

(73)
สภิยปริพาชกเข้าหาพระผู้มีพระภาค ได้ถามปัญหาทุกเรื่อง
(ย่อ)
สภิยปริพาชก ถามปัญหาเหล่าปริพาชก แล้วแก้ไม่ได้ จึงทูลถามพระผู้มีพระภาค

ผู้ฝึกตนแล้วเป็นอย่างไร
ผู้สงบเสงี่ยม ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้ว แทงตลอดโลกนี้ และ โลกอื่น ทั้งภายในทั้ง ภายนอก ในโลกทั้งปวง รอเวลาสิ้นชีวิตอยู่อบรมตนแล้ว
ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว (ผู้อบรมอินทรีย์ ผู้สังวรอินทรีย์)

ผู้รู้เป็นอย่างไร
ผู้พิจารณาสงสารทั้งสองอย่าง คือ จุติและอุปบัติ ตลอดกัป ทั้งสิ้นแล้ว ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน ผู้หมดจด ถึงความสิ้นไป แห่งชาติ
ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้ (รู้การจุติและการอุบัติ ตลอดทั้งกัป)

บุคคลผู้บรรลุอะไรว่า เป็นพราหมณ์
ผู้ใดลอยบาปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่นดี ดำรง ตนมั่น ก้าวล่วงสงสาร ได้แล้ว เป็นผู้สำเร็จกิจ (เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยคุณมี ศีลเป็นต้น) ผู้นั้นอันตัณหา และทิฐิไม่อาศัย แล้ว เป็นผู้คงที่
บัณฑิต กล่าวว่าเป็น พราหมณ์ (สิ้นตัณหาและทิฐิ)

ผู้ใดล้างบาป ได้หมดในโลกทั้งปวง
คือ อายตนะ ภายใน และ ภายนอกแล้ว ย่อม ไม่มาสู่กัปในเทวดา และมนุษย์ผู้สมควร ผู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ผู้ล้างบาป
(ผู้ที่ละภพได้แล้ว) ผู้ใดไม่กระทำบาป อะไรๆ ในโลก สลัดออก ซึ่งธรรม เป็นเครื่อง ประกอบ และเครื่องผูก ได้หมด ไม่ข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่อง ข้อง มีขันธ์ เป็นต้น ทั้งปวง หลุดพ้นเด็ดขาดผู้คงที่ เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนาค (ละภพได้)

ผู้ชนะเขต
ผู้ใดพิจารณา (อายตนะหรือกรรม) เขตทั้งสิ้น คือ เขตที่เป็นของ ทิพย์เขต ของมนุษย์ และเขตของพรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก อันเป็น รากเง่า แห่งเขต ทั้งหมด ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้ชนะเขต (หลุดพ้นจาก กรรมอันเป็น เครื่องผูก)

ผู้หลุดจากกรมได้แล้ว
ผู้ใดพิจารณากะเปาะฟอง (กรรม) ทั้งสิ้นทั้งภายในทั้งภายนอกได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว จาก เครื่องผูกอัน เป็นรากเง่าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิต กล่าวว่า เป็นผู้ชื่อว่าอาชาไนย (หลุดจากเครื่องผูก)

     ลำดับนั้น สภิยปริพาชกได้หลีกจาริก ไปทางพระนครราชคฤห์ เมื่อเที่ยวจาริกไป โดยลำดับ ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ยังพระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนคร ราชคฤห์

     ครั้นแล้วปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

        [๓๖๕] ข้าพระองค์ผู้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลง มาหวังจะทูลถาม ปัญหา พระองค์ อันข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ตามลำดับปัญหา ให้สมควรแก่ธรรมเถิด ฯ

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

     ดูกรสภิยะ ท่านมาแต่ไกล หวังจะถามปัญหา เราอันท่านถามปัญหาแล้วจะกระทำ ที่สุดแห่งปัญหาเหล่านั้น จะพยากรณ์แก่ท่านตามลำดับปัญหา ให้สมควรแก่ธรรม

     ดูกรสภิยะท่าน ปรารถนาปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง ในใจ ก็เชิญถามเราเถิดเราจะ กระทำ ที่สุด เฉพาะปัญหานั้นๆ แก่ท่าน

     [๓๖๖] ลำดับนั้น สภิยปริพาชกดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีมาเลยหนอ เราไม่ได้ แม้เพียงให้โอกาส ในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเลย พระสมณโคดม ได้ทรง ให้โอกาสนี้แก่เราแล้ว สภิยปริพาชกมีใจชื่นชม เบิกบาน เฟื่องฟูเกิดปีติโสมนัส ได้กราบทูลถาม ปัญหากะพระผู้มีพระภาคว่า

     บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไรว่าเป็นภิกษุ กล่าวบุคคลว่า ผู้สงบเสงี่ยม ด้วยอาการอย่างไร กล่าวบุคคลว่าผู้ฝึกตน แล้วอย่างไร และอย่างไร บัณฑิตจึง กล่าว บุคคลว่า ผู้รู้ ข้าแต่พระผู้มี พระภาค พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัส พยากรณ์ แก่ข้าพระองค์เถิด

     พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรสภิยะ ผู้ใดถึงความดับกิเลส ด้วยมรรคที่ตน อบรมแล้ว ข้ามความสงสัย เสียได้ละ ความไม่เป็นและความเป็นได้เด็ดขาด อยู่จบ พรหมจรรย์ มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่าเป็นภิกษุ ผู้ใดวางเฉยใน อารมณ์ มีรูปเป็นต้นทั้งหมด มีสติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ในโลกทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นผู้สงบ ไม่ขุ่นมัว ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น

     ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า

     ผู้สงบเสงี่ยม
ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้ว แทงตลอดโลกนี้ และ โลกอื่น ทั้งภายในทั้ง ภายนอก ในโลกทั้งปวง รอเวลาสิ้นชีวิตอยู่อบรมตนแล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว

     ผู้พิจารณาสงสารทั้งสองอย่าง คือ จุติและอุปบัติ ตลอดกัป ทั้งสิ้นแล้ว ปราศจาก ธุลี ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ผู้หมดจด ถึงความสิ้นไป แห่งชาติ ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้

        [๓๖๗] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้ว มีใจชื่นชม เบิกบาน เฟื่องฟู เกิดปีติโสมนัส ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไป กะพระผู้มีพระภาค ว่า

        บัณฑิตกล่าว บุคคลผู้บรรลุอะไรว่า เป็นพราหมณ์ กล่าวบุคคลว่าเป็นสมณะ

        ด้วยอาการอย่างไร กล่าว บุคคลผู้ล้างบาปอย่างไร และอย่างไรบัณฑิต จึงกล่าว บุคคลว่าเป็นนาค (ผู้ประเสริฐ)ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์

        อันข้าพระองค์ทูลถาม แล้วขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด ฯพระผู้มี พระภาค ตรัสพยากรณ์ว่า ผู้ใดลอยบาปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน มีจิต ตั้งมั่นดีดำรง ตนมั่น ก้าวล่วงสงสารได้แล้ว เป็นผู้สำเร็จกิจ (เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยคุณมี ศีลเป็นต้น) ผู้นั้นอันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ บัณฑิต กล่าวว่าเป็น พราหมณ์ ผู้ใดมีกิเลสสงบแล้ว ละบุญและบาปได้แล้ว ปราศจากกิเลสธุลีรู้โลกนี้ และโลกหน้าแล้ว ล่วงชาติและมรณะได้ ผู้คงที่ เห็นปานนั้น

     บัณฑิตกล่าวว่าเป็นสมณะ ผู้ใดล้างบาป ได้หมดในโลกทั้งปวง คือ อายตนะ ภายใน และ ภายนอกแล้ว ย่อม ไม่มาสู่กัปในเทวดา และมนุษย์ผู้สมควร ผู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ผู้ล้างบาป ผู้ใดไม่กระทำบาป อะไรๆ ในโลก สลัดออกซึ่งธรรม เป็นเครื่องประกอบ และเครื่องผูก ได้หมด ไม่ข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่อง ข้อง มีขันธ์เป็นต้น ทั้งปวง หลุดพ้นเด็ดขาดผู้คงที่ เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนาค

        [๓๖๘] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ ทูลถามปัญหาข้อต่อไป กะพระผู้มี พระภาคว่า ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าว ใครว่า ผู้ชนะเขต กล่าวบุคคลว่าเป็น ผู้ฉลาดด้วย อาการอย่างไร อย่างไรจึงกล่าวบุคคลว่าเป็นบัณฑิตและกล่าวบุคคล ชื่อว่าเป็นมุนี ด้วย อาการ อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์อัน ข้าพระองค์ทูล ถามแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า

     ดูกรสภิยะผู้ใดพิจารณา (อายตนะหรือกรรม) เขตทั้งสิ้น คือ เขตที่เป็นของ ทิพย์เขต ของมนุษย์ และเขตของพรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก อันเป็น รากเง่า แห่งเขต ทั้งหมด ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้ ชนะเขต ผู้ใดพิจารณา กะเปาะฟอง (กรรม) ทั้งสิ้นทั้งภายในทั้งภายนอกได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว จากเครื่องผูกอัน เป็นรากเง่าแห่งธรร มเป็นเครื่องข้องทั้งปวง ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ชื่อว่าอาชาไนย

        [๓๗๐] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไปกะ พระผู้มี พระภาค ว่า บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไร ว่าผู้ทรงพระสูตร กล่าวบุคคลว่าเป็น อริยะด้วยอาการ อย่างไร กล่าวบุคคลว่าผู้มีจรณะด้วยอาการอย่างไร และ บุคคล บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ชื่อ ว่าปริพาชกด้วยอาการอย่างไร ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัส พยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด
....ฯลฯ......

เรื่องราวของลัทธิ นิครนถ์ จบ

อ่านพระสูตรชุดเต็ม (๖.สภิยสูตร)    P1353    P1354

 



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์