เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

 ลัทธินิครนถ์ นาฏบุตร
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวของ ลัทธินิครนถ์นาฏบุตร ผู้อหังการ
โต้วาทะกับสมณโคดม จนเหงื่อหยด
N104
        ออกไปหน้าหลัก 4 of 7
  สัจจกนิครนถ์ ปริพาชก : นิครนถ์นาถบุตร ลัทธิที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสมัยพุทธกาล เคยโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคจนเหงื่อตก
  (43) โลหิตร้อนพลุ่งออกจากปากนิครนถ์ หลังอุบาลีกล่าวสรรเสริญสมณโคดม
  (44) นิครนถ์ จริงหรือ เวทนาใดๆเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน
  (45) กรรมเก่า-กรรมใหม่
  (46) กรรมเก่าหมดไปด้วยตบะ และไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความสิ้นกรรม สิ้นทุกข์ สิ้นเวทนา
  (47) นิครนถ์นาฏบุตร ชื่นชมภาษิต
  (48) สมัยใดมีความเพียรอันแรงกล้า สมัยนั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์
  (49) ข้อที่เป็นไปไม่ได้ ในเรื่องของกรรม ๑๐ ประการ
  (50) ความพยายามไร้ผล ความเพียรไร้ผล
  (51) สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์ พร้อมด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน เข้าเฝ้า
 
 


(43)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๖๐


โลหิตร้อนพลุ่งออกจากปากนิครนถ์ นาฎบุตร
หลังอุบาลี สรรเสริญสมณโคดม
(ย่อ)
อุบาลีกล่าวกะนิครนถ์ นิครนถ์นาฏบุตร ที่เปลี่ยนใจมาเป็นสาวกของสมณโคดม
(ด้วยเหตุผล 10 ประการ)
1) พระองค์เป็นนักปราชญ์ ปราศจากโมหะ ทรงทำลายกิเลส ชนะมาร ไม่มีทุกข์...
2) ทรงไม่มีความสงสัย มีพระทัยดี ทรงคายโลกามิสได้แล้ว
3) ทรงเฉียบแหลม ทรงแนะนำสัตว์ เป็นสารถีอันประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า
4) ทรงเป็นผู้องอาจ ไม่มีใครประมาณได้ มีพระคุณ ลึกซึ้ง บรรลุถึงญาณ
5) ทรงเป็นผู้ประเสริฐ ทรงมีเสนาสนะอันสงัด มีสังโยชน์ สิ้นแล้ว ผู้พ้นแล้ว
6) ทรงเป็นพระฤาษีที่ ๗ ผู้ไม่ลวงโลก ทรงไตรวิชชา เป็นสัตว์ประเสริฐ ทรงล้างกิเลสแล้ว
7) ทรงเป็นพระอริยะ มีพระองค์อบรมแล้ว ทรงบรรลุคุณ ที่ควรบรรลุ
8) ทรงเสด็จไปดีทรงมีฌาน ไม่ทรงปล่อย จิตไปตาม ทรงบริสุทธิ์ ไม่ทรงสะดุ้ง
9) ทรงเป็นผู้สงบแล้ว มีพระปัญญากว้างใหญ่ เสมอด้วยแผ่นดิน มีพระปัญญา ใหญ่หลวง
10) ทรงเป็นผู้ตัดตัณหาได้ขาด ทรงตื่นอยู่ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่ฉาบทาได้

นิครนถ์นาฏบุตรทนฟังคำสรรเสริญไม่ได้ โลหิตอันอุ่น ได้พลุ่งออกจากปาก ในที่นั้นเอง


          [๘๒] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตร กล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดี ลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วได้ กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า

      ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟังพระคุณ ของพระผู้มี พระภาค ที่ข้าพเจ้าเป็น สาวก (1) ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นนักปราชญ์ ปราศจากโมหะ ทรงทำลายกิเลส เครื่องตรึงใจได้ ทรงชำนะมาร ไม่มีทุกข์ มีจิตเสมอ ด้วยดี  มีมารยาทอันเจริญ มีพระปัญญาดี ทรงข้ามกิเลสอันปราศจากความเสมอได้ ปราศจากมลทิน

(2)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มีความสงสัย มีพระทัยดี ทรงคาย โลกามิสได้แล้ว ทรงบันเทิง ทรงมีสมณธรรมอันทำสำเร็จแล้ว ทรงเกิดเป็นมนุษย์ มีพระสรีระ เป็นที่สุด เป็นพระไม่มีผู้เปรียบได้  ปราศจากธุลี 

(3)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มีความสงสัย ทรงเฉียบแหลม ทรงแนะนำ สัตว์ เป็นสารถีอันประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า มีธรรมอันงามหมดความ เคลือบแคลง ทรงทำแสงสว่างทรงตัดมานะเสียได้  ทรงมีพระวิริยะ

(4)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้องอาจ ไม่มีใครประมาณได้ มีพระคุณ ลึกซึ้ง บรรลุถึงญาณ ทรงทำความเกษม ทรงมีพระญาณ ทรงตั้งอยู่ในธรรม ทรงสำรวม พระองค์ดี ทรงล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ผู้พ้นแล้ว

(5) ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ประเสริฐ ทรงมีเสนาสนะอันสงัด มีสังโยชน์ สิ้นแล้ว ผู้พ้นแล้ว ทรงมีพระปัญญาเครื่องคิดอ่าน ทรงมีพระญาณเครื่องรู้ ผู้ลดธง คือมานะเสียได้ ปราศจากราคะผู้ฝึกแล้ว ผู้ไม่มีธรรมเครื่องหน่วง

(6)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระฤาษีที่๗ ผู้ไม่ลวงโลก ทรงไตรวิชชา เป็นสัตว์ประเสริฐ ทรงล้างกิเลสแล้ว ทรงฉลาด ประสมอักษรให้เป็น บทคาถา ทรงระงับแล้ว มีพระญาณอันรู้แล้ว ทรงให้ธรรมทานก่อนทั้งหมด ทรงสามารถ

(7)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอริยะ มีพระองค์อบรมแล้ว ทรงบรรลุคุณ ที่ควรบรรลุ ทรงแสดง อรรถ ให้พิสดาร ทรงมีสติ ทรงเห็นแจ้ง ไม่ทรง ยุบลง ไม่ทรงฟูขึ้นไม่ทรงหวั่นไหว ทรงบรรลุความเป็นผู้ชำนาญ

(8)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จไปดีทรงมีฌาน ไม่ทรงปล่อย จิตไปตาม ทรงบริสุทธิ์ ไม่ทรงสะดุ้ง ปราศจากความกลัว สงัดทั่วทรงบรรลุธรรม อันเลิศ ทรงข้าม ได้เอง ทรงยังสัตว์อื่นให้ข้ามได้

(9)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้สงบแล้ว มีพระปัญญากว้างใหญ่ เสมอด้วยแผ่นดิน มีพระปัญญา ใหญ่หลวง ปราศจากโลภ ทรงดำเนินปฏิปทาเหมือน พระพุทธเจ้า ในปางก่อน เสด็จไปดีแล้ว ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ทรงแกล้วกล้า ผู้ละเอียดสุขุม

(10)  ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ตัดตัณหาได้ขาด ทรงตื่นอยู่ ปราศจากควัน ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่ฉาบทาได้ ผู้ควรรับการบูชาทรงได้พระนามว่า ยักขะ  เป็นอุดมบุคคล มีพระคุณไม่มีใครชั่งได้ เป็นผู้ใหญ่ ทรงถึงยศอย่างยอดเยี่ยม.

           [๘๓] นิ. ดูกรคฤหบดี ท่านประมวลถ้อยคำสำหรับพรรณนา คุณของ พระสมณโคดมไว้แต่เมื่อไร?

     อุ. ดูกรท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ หรือลูกมือช่างดอกไม้คนขยัน พึงร้อยกรองดอกไม้ต่างๆ กองใหญ่ ให้เป็นพวงมาลาอันวิจิตรได้ ฉันใด พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นก็ฉันนั้น ทรงมีพระคุณควรพรรณนา เป็นอเนกทรงมี พระคุณ ควรพรรณนาตั้งหลายร้อย ก็ใครจักไม่ทำการพรรณนา พระคุณของพระองค์ ผู้ควรพรรณนาพระคุณได้เล่า.

     ครั้นเมื่อนิครนถ์นาฏบุตร ทนดูสักการะ ของพระผู้มีพระภาคไม่ได้ โลหิตอันอุ่น ได้พลุ่งออกจากปาก ในที่นั้นเอง ดังนี้แล.



(44)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑

นิครนถ์ จริงหรือ เวทนาใดๆเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน

เทวทหวรรค
๑.  เทวทหสูตร (๑๐๑)

        [๑]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ สักยนิคม อันมีนามว่า เทวทหะ ในสักกชนบท สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ มักมีวาทะอย่างนี้ 

        [๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหา พวกนิครนถ์ ผู้มีวาทะอย่างนี้แล้ว  ถามอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ จริงหรือที่มีข่าวว่า พวกท่านมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ อย่างนี้ว่า ปุริสบุคคล นี้ ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี 
ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ ในก่อนทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่  จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป จักมี ความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนาทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคล นั้นสลัดได้แล้ว (พ้นทุกข์แล้ว)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ นั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ย่อมยืนยัน  เราจึงถาม พวกนิครนถ์ นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้มี(กรรม) แล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว

        นิครนถ์เหล่านั้นตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย

        เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม ไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ (ทำบาปไว้แต่ปางก่อน ไม่ใช่ไม่ได้ทำ)
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย 

        เรา.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำบาป กรรม อย่างนี้บ้างๆ 
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย 

        เรา.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว  หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้อง สลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็น อันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด 
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย 

        เรา.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบการละ อกุศลธรรม การบำเพ็ญ กุศลธรรม ในปัจจุบันละหรือ
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ  ข้อนี้หามิได้เลย 



(45)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓

กรรมเก่า-กรรมใหม่


หมดกรรมเก่าด้วยตบะ ทำความเพียร ไม่ทำกรรมใหม่ เขาจะสิ้นกรรม เมื่อสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ สิ้นเวทนา.. ทุกข์ทั้งปวงเป็นอันสลัดได้แล้ว...เหมือนบุรุษถูกยิงด้วยศร พึงเสวยทุกข์เวทนา อันเจ็บกล้า ต่อมาหมอผ่าตัดถอน ลูกศรออก จนหายเป็นปกติ ไม่มีโรค (กรรมเก่ามีอยู่ แต่ให้ หมอรักษาเอาลูกศรออก ได้รับทุกข์ทรมาน จากการรักษา ที่เปรียบเหมือนบำเพ็ญตบะ จนรักษาหายเป็นปกติ)
แผลถูกยิงด้วยศร- เปรียบเหมือนกรรมเก่า
ให้หมอรักษา จนได้รับทุกข์ทรมาน- เปรียบเหมือนทำความเพียร บำเพ็ญตบะ
รักษาหาย- เปรียบเหมือนสิ้นกรรมเก่า
สลัดทุกข์ได้แล้ว

        [๔]  เรา. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่าน
ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว
ไม่ทราบว่า เราทั้งหลาย ได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ 
ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม อย่างนี้บ้างๆ
ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อ ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ไม่ทราบการละ อกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน 

        เมื่อเป็นเช่นนี้พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ไม่บังควรจะพยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี  ข้อนั้นทั้งหมดเป็น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่า ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป  จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์  จักมีความสิ้น เวทนาเพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้น สลัดได้แล้ว

        ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ ทำไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ พึงทราบว่า ทุกข์  เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด พึงทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน 

        เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุควรจะ พยากรณ์ได้ว่าปุริสบุคคลนี้ย่อม เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี  ข้อนั้น ทั้งหมด เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้เพราะ หมดกรรมเก่าด้วย ตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมจักมีความสิ้นทุกข์  เพราะสิ้นทุกข์จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็น ของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว

        [๕]  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนบุรุษ ถูกยิงด้วยลูกศรที่มียาพิษ อาบไว้ อย่างหนาแล้ว พึงเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบ เพราะเหตุการ เสียดแทง ของลูกศร มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาพึงให้ หมอผ่าตัด รักษา หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผลของเขา เขาพึงเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ  แม้เพราะเหตุถูกศาตราชำแหละปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้นหา ลูกศร เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่องตรวจค้น หาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออก เขาพึงเสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้าเจ็บแสบ  แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เขาพึงเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล 

สมัยต่อมา เขามีแผลหายมีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค มีความสุข เสรี  เป็นอยู่ ได้ตามลำพัง ไปไหนไปได้  จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราถูกยิงด้วย ลูกศร ที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนา ได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้ เพราะ เหตุการเสียดแทงของลูกศร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเรา ให้หมอผ่าตัด รักษา หมอผ่าตัดใช้ศาตราชำแหละปากแผล 

เรานั้นได้เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกศาตรา ชำแหละ ปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร 

เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่องตรวจ ค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอน ลูกศรออก 

เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศร ออก  หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล 

เรานั้นได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษ ที่ปากแผล เดี๋ยวนี้ 

เรานั้นมีแผลหาย มีผิวหนังสนิทจึงไม่มีโรคมีความสุข เสรี เป็นอยู่ได้ ตามลำพังไปไหนไปได้ ฉันใด

        ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าพวกท่าน
พึงทราบว่า เราทั้งหลาย ได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว 
พึงทราบว่า เราทั้งหลาย ได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ 
พึงทราบว่า เราทั้งหลาย ได้ทำบาปกรรม อย่างนี้บ้างๆ 
พึงทราบว่า ทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย  หรือว่าเมื่อทุกข์ เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ ได้ทั้งหมด
พึงทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรม ในปัจจุบัน

        เมื่อเป็น เช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ควรจะพยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อม เสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี 



(46)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓

กรรมเก่าหมดไปด้วยตบะ และไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความสิ้นกรรมสิ้นทุกข์


        ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรม เก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับ ต่อไป
จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์  เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ สิ้นเวทนาเพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว

        ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุที่พวกท่านไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้ว ในก่อนมิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม ไว้ในก่อนมิใช่ ไม่ได้ทำไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม อย่างนี้บ้างๆ ไม่ทราบว่าทุกข์ เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้  เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันเราสลัดทุกข์ได้ทั้งหมดไม่ทราบการละอกุศลธรรม  การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน 

        ฉะนั้น พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ จึงไม่บังควรจะ พยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมด เป็นเพราะเหตุแห่งกรรม ที่ตนทำไว้ในก่อนทั้งนี้ 
เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับ ต่อไป จักมีความสิ้นกรรม
เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์
เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้น เวทนา
เพราะสิ้น เวทนา ทุกข์ทั้งปวงจัก เป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว 



(47)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓

นิครนถ์นาฏบุตร ชื่นชมภาษิต

(ย่อ) การเป็นผู้สำรวมกาย วาจาใจ ในบัดนี้ นั้นเป็นการไม่ทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้เพราะหมด กรรมเก่าด้วยตบะ(ความเพียร) และไม่ทำกรรมใหม่ ไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับ ต่อไป ย่อมสิ้นกรรม .. เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา จักเป็นอันพวกท่านสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ก็แหละคำนั้นถูกใจ และควรแก่ พวกข้าพเจ้า และเพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงได้ชื่นชม 

        [๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ พวกนิครนถ์นั้นได้กล่าวกะเรา ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอาย ท่านนิครนถ์นาฏบุตร เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้เห็นธรรม ทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะตลอดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินก็ดี ยืนก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี  ญาณทัสสนะได้ปรากฏติดต่อเสมอไป ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรพวกนิครนถ์ ผู้มีอายุ  บาปกรรมที่พวกท่านทำไว้ในก่อนมีอยู่ พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นเสียด้วยปฏิปทา ประกอบด้วยการกระทำ ที่ทำได้ยากอันเผ็ดร้อนนี้ 

        ข้อที่ท่านทั้งหลาย เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ในบัดนี้นั้นเป็นการ
ไม่ทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม จักมีความ ไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม
จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา จักเป็นอัน พวกท่านสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด ก็แหละคำนั้นถูกใจ และควร แก่พวกข้าพเจ้า และ เพราะเหตุนั้น  พวกข้าพเจ้าจึงได้ชื่นชม 

        [๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ พวกนิครนถ์ กล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้กล่าวกะ พวกนิครนถ์ นั้น ดังนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบาก ๒  ทาง ในปัจจุบัน ๕ ประการ เป็นไฉน คือความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม เขาว่า  ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฐิ 

        ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เหล่านี้แล ธรรม ๕ ประการ มีวิบาก ๒ ทางใน ปัจจุบัน บรรดาธรรม ๕ ประการนั้น พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ
  ๑. มีความเชื่ออย่างไร 
  ๒. ชอบใจอย่างไร ร่ำเรียนมาอย่างไร
  ๓. ได้ยินมาอย่างไร (ฟังตาม)
  ๔. ตรึกตามอาการอย่างไร 
  ๕. ปักใจดิ่งด้วยทิฐิอย่างไร ในศาสดาผู้มีวาทะเป็นส่วนอดีต 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะ อันชอบ ด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์



(48)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓

สมัยใดมีความเพียรอันแรงกล้า สมัยนั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์
(ย่อ)
สมัยใด พวกท่าน มีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า  สมัยนั้น พวกท่านย่อม เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า

แต่สมัยใด พวกท่าน ไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน ย่อมไม่เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ความ พยายามแรงกล้า 

(ความสำเร็จ ต้องแลกด้วยความเจ็บปวดอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ)

        [๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะ พวกนิครนถ์ นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน 

สมัยใด พวกท่าน มี ความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน ย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า

แต่สมัยใด พวกท่าน ไม่มี ความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมไม่เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ความ พยายามแรงกล้า 

        นิครนถ์ รับว่า พระโคดมผู้มีอายุ สมัยใดพวกข้าพเจ้ามีความพยายาม แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบอันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า สมัยใด พวกข้าพเจ้า ไม่มีความ พยายาม แรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิด แต่ความพยายามแรงกล้า

        [๙]  พ.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า สมัยใด พวกท่าน มีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใดพวกท่าน ไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมไม่เสวย เวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ ความพยายามแรงกล้า

        เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ไม่บังควรจะพยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ ย่อมเสวยเวทนา อย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ ก็ดี มิใช่ทุกข์ มิใช่สุขก็ดี

        ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุ แห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้เพราะหมด กรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูก บังคับ ต่อไปจักมี ความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวง จักเป็นของ อันปุริสบุคคลนั้น สลัดได้แล้ว 

        ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าสมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความ  เพียรแรงกล้าสมัยนั้น เวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม พึงหยุดได้เอง และสมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายาม แรงกล้า ไม่มีความเพียร แรงกล้า สมัยนั้นเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม พึงหยุด ได้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ควรพยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคลนี้ ย่อมเสวย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมด เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่า ด้วยตบะ ไม่ทำก รรมใหม่  จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์  จักมีความ สิ้นเวทนา เพราะสิ้น เวทนา ทุกข์ทั้งปวง จักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว 

        ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุที่ สมัยใดพวกท่านมีความพยายาม แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้นพวกท่านจึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า 

        แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงไม่เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความ พยายามแรงกล้า 

        พวกท่านนั้นเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความเพียร เองทีเดียว ย่อมเชื่อผิดไป เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงว่า  ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์ มิใช่สุขก็ดี 

        ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรม ที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมด กรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับ ต่อไป จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์  จักมี ความสิ้นเวทนาเพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอัน ปุริสบุคคลนั้นสลัด ได้แล้ว 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะแม้อย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะ อันชอบ ด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์ 



(49)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๘

ข้อที่เป็นไปไม่ได้ ในเรื่องของกรรม ๑๐ ประการ
(ย่อ)
ข้อที่เป็นไปไม่ได้เลย ๑๐ ประการ
1.กรรมใด
เป็นของให้ผล ในปัจจุบัน ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล ในชาติหน้า
2.กรรมใด เป็นของให้ผล
ในชาติหน้า ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล ในปัจจุบัน
3.กรรมใด เป็นของให้ผล
เป็นสุข ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล เป็นทุกข์
4.กรรมใด เป็นของให้ผล
เป็นทุกข์ ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล เป็นสุข
5.กรรมใด เป็นของให้ผล
เสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล อย่าเพ่อเสร็จสิ้น
6.กรรมใด เป็นของให้ผล
ยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล เสร็จสิ้น 
7.กรรมใด เป็นของให้ผล
มาก ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล น้อย 
8.กรรมใด เป็นของ ให้ผล น้อย ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผล
มาก
9.กรรมใด เป็นของ
ให้ผล ขอกรรมนั้น จงเป็นของ อย่าให้ผล
10.กรรมใด เป็นของ
ไม่ให้ผล ขอกรรมนั้น จงเป็นของ ให้ผล

             [๑๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะ พวกนิครนถ์ นั้น ต่อไปอีกอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนา ได้ดังนี้หรือว่า (1) กรรม ใดเป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้น จงเป็นของ ให้ผล  ในชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด 
         พวกนิครนถ์ นั้น กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย 

        พ.  และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (2) กรรมใดเป็นของให้ผล ในชาติหน้า ขอกรรมนั้น จงเป็นของ ให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความพยายามหรือด้วย ความเพียรเถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย

        พ.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (3) กรรมใด เป็นของให้ผลเป็นสุข  ขอกรรมนั้น จงเป็น ของให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด 
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย

        พ.  และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (4) กรรมใดเป็นของให้ผลเป็น ทุกข์ ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นสุข ด้วยความพยายามหรือด้วย ความเพียร เถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย 

        พ.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (5) กรรมใด เป็นของให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้น จงเป็นของให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วย ความเพียรเถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ  ข้อนี้หามิได้เลย

        พ.  และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (6) กรรมใดเป็นของให้ผล ยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเสร็จสิ้น ด้วยความพยายาม หรือ ด้วยความเพียรเถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย

        พ.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (7) กรรมใด เป็นของให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงเป็นของ ให้ผลน้อย ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย

        พ.  และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (8) กรรมใดเป็นของ ให้ผลน้อย  ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความ เพียรเถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย 

        พ.  ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า (9) กรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของ อย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ  ข้อนี้หามิได้เลย 

        พ.  และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า(10) กรรมใดเป็นของไม่ให้ผล ขอกรรม นั้นจงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรเถิด
        นิ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ  ข้อนี้หามิได้เลย



(50)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๐

ความพยายามไร้ผล ความเพียรไร้ผล

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ มีวาทะอย่างนี้  การกล่าวก่อนและการกล่าว ตาม ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุ ของ พวกนิครนถ์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ย่อมถึงฐานะ น่าตำหนิ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรม ที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ ต้องเป็นผู้ทำกรรมชั่วไว้ก่อนแน่ ในบัดนี้พวกเขา จึงได้ เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ 

        ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ ต้องเป็นผู้ ถูกอิศวรชั้นเลว เนรมิตมาแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบเห็นปานนี้ 

      ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวกนิครนถ์ ต้องเป็นผู้ มีความบังเอิญชั่วแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เห็นปานนี้ 

        ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ ต้อง เป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ เห็นปานนี้ 

        ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน  พวกนิครนถ์ ต้องเป็นผู้มีความพยายามใน ปัจจุบันเลวแน่ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้ เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ 


        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรม ที่ตน ทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ ต้องน่าตำหนิ 

        ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อม เสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวร เนรมิตให้ พวกนิครนถ์ ต้องน่าตำหนิ 

        ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ ก็ต้อง น่าตำหนิ 

        ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวกนิครนถ์ ต้อง น่าตำหนิ 

        ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุที่มีความ บังเอิญ พวกนิครนถ์ ก็ต้อง น่าตำหนิ 

        ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะ เหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ ต้อง น่าตำหนิ

        ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ ก็ต้อง น่าตำหนิ 

        ถ้าหมู่ สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน  พวกนิครนถ์ ต้องน่าตำหนิ

        ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุข และทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน  พวกนิครนถ์ ก็ต้องน่าตำหนิ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ มีวาทะอย่างนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว ตาม ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของ พวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะ น่าตำหนิ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามไร้ผล ความเพียรไร้ผล อย่างนี้แล



(51)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓๘

สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์ พร้อมด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน เข้าเฝ้า
(สีหสูตร)

            [๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกัน ที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย

     ก็สมัยนั้นแล สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์ นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวี ผู้มีชื่อจำนวนมาก ประชุมกัน ที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด

      ลำดับนั้น สีหเสนาบดีเข้าไปหา นิครนถ์นาฏบุตร ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะ นิครนถ์นาฏบุตร ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ปรารถนาจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม

     นิครนถ์นาฏบุตร กล่าวว่า ดูกรสีหะ ก็ท่านเป็นกิริยวาท จักเข้าไปเฝ้าพระสมณ โคดม ผู้เป็นอกิริยวาททำไม เพราะพระสมณ โคดมเป็นอกิริยวาท จึงแสดงธรรมเพื่อ อกิริยวาท และแนะนำพวกสาวก ด้วยอกิริยวาทนั้น ครั้งนั้น การตระเตรียมที่จะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคของสีหเสนาบดี ระงับไป

     แม้ครั้งที่สอง เจ้าลิฉวี ผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ได้นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยายแม้ครั้งที่สอง สีหเสนาบดี ก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ... การตระเตรียมที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ของสีหเสนาบดีระงับไป

     แม้ครั้งที่สาม เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยายแม้ครั้งที่สาม สีหเสนาบดี ก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนก ปริยาย พวกนิครนถ์ทั้งหลาย เราจะลาหรือไม่ลาจักทำอะไรเราได้ ผิฉะนั้น เราจะไม่ลาละ พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด

 




พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์