เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  ลัทธินิครนถ์ นาฏบุตร
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวของ ลัทธินิครนถ์นาฏบุตร ผู้อหังการ
โต้วาทะกับสมณโคดม จนเหงื่อหยด
N106
        ออกไปหน้าหลัก 6 of 7
  สัจจกนิครนถ์ ปริพาชก : นิครนถ์นาถบุตร ลัทธิที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสมัยพุทธกาล เคยโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคจนเหงื่อตก
  (59) อุโบสถ ๘ ประการ เป็นเหตุให้เข็าถึง ความเป็นเทวดา ชั้นกามภพ
  (60) เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์
  (61) กรรมเก่า กรรมใหม่ ส่งผลไปถึงภพหน้าหรือไม่ ดับกรรมทำอย่างไร
  (62) ธรรม ๖ ประการ เป็นเรื่องอยู่ของผู้มีจิตหลุดพ้น
  (63) บัญญัติพวกนิครนถ์ และลัทธิอื่น (๓. ฉฬาภิชาติยสูตร)
  (64) นิครนถ์นาฎบุตร ค้านสีหเสนาบดี(สาวก)เข้าเฝ้า (สีหสูตร)
  (65) สีหเสนาบดี(สาวกนิครนถ์) เดินทางเข้าเฝ้าพระสมณโคดม
 
 


(59)
อุโบสถ ๘ ประการ เป็นเหตุให้เข็าถึง ความเป็นเทวดา ชั้นกามภพ
เทวดาชั้นกามภพ ( 6 ชั้น )    
1. จาตุมหาราชิกา อายุ 500 ปีทิพย์ (หรือ 9 ล้านปีมนุษย์)
2. ดาวดึงส์ อายุ 1,000 ปีทิพย์ (36 ล้านปีมนุษย์)
3. ยามา อายุ 2,000 ปีทิพย์ (144 ล้านปีมนุษย์)
4. ดุสิต อายุ 4,000 ปีทิพย์ (576 ล้านปีมนุษย์)
5. นิมมานรดี อายุ 8,400 ปีทิพย์ (2,304 ล้านปีมนุษย์)
6. ปรนิมมิตตวสวัตดี อายุ 16,000 ปีทิพย์ (9,216 ล้านปีมนุษย์)

     ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผู้ใด พึงครองราชย์เป็นอิศราธิบดี แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นเหล่านี้ อันสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตีวังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะการ ครองราชย์ของผู้นั้น ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วย องค์ ๘

     ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบ กับสุขที่เป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๕๐ ปีซึ่งเป็นของมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๕๐๐ ปีอันเป็นทิพย์เป็นประมาณอายุของ เทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา (1) ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคน ในโลกนี้ เข้าจำ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึง ความเป็นสหาย ของ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความ ข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติที่เป็นของ มนุษย์ เมื่อจะนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ เป็นของ เล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๑๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของ เทวดาชั้น ดาวดึงส์ (2) โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น พันปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้เข้าจำ อุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์เป็นของเล็กน้อย

     ดูกรนางวิสาขา ๒๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่ง ของ เทวดาชั้นยามา (3) โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น สองพันปี อันเป็น ทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดา ชั้น มายา ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไปพึงเข้าถึงความเป็น สหาย ของเทวดาชั้นมายา ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของ มนุษย์ เมื่อนำ เข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย

     ดูกรนางวิสาขา ๔๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์เป็นคืนหนึ่ง กับวันหนึ่ง ของ เทวดา ชั้นดุสิต (4) โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือนโดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๔,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของเทวดาชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของ มนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๘๐๐ ปีอันเป็นของมนุษย์ เป็นวันหนึ่ง กับคืนหนึ่งของเทวดา ชั้น นิมมานรดี (5) โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่ง ปี โดยปีนั้น ๘,๐๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณของอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี
ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำ อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหาย ของ เทวดา ชั้นนิมมานรดี ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่าราชสมบัติอันเป็นของ มนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย

ดูกรนางวิสาขา ๑,๖๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่ง กับ วันหนึ่งของ เทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี (6) โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็น หนึ่งปีโดยปีนั้น ๑๖,๐๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัสดี ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคน ในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึง ความเป็น สหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ดูกรนางวิสาขา เราหมายความเอา ข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุข อันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ฯ

บุคคล (อุโบสถ ๘ ประการ)
๑) ไม่พึงฆ่าสัตว์
๒) ไม่พึงลักทรัพย์
๓) ไม่พึงพูดเท็จ
๔) ไม่พึงดื่มน้ำเมา
๕) พึงงดเว้น เมถุน อันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
๖) ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล ในกลางคืน
๗) ไม่พึง ทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และ
๘) พึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือ บนที่ซึ่งเขาปูลาด


บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลว่า อันพระพุทธเจ้า ผู้ถึงที่สุดทุกข์ ทรงประกาศไว้ พระจันทร์ พระอาทิตย์ทั้งสองที่น่าดู ส่องแสง โคจรไปทั่ว สถานที่ประมาณเท่าใด และ พระจันทร์ พระอาทิตย์นั้น กำจัดความมืด ไปในอากาศ ทำให้ทิศรุ่งโรจน์ ส่องแสงอยู่ในนภากาศ ทั่วสถานที่มีประมาณเท่าใด

ทรัพย์คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคี และทองคำตลอดถึงทอง ชนิด ที่เรียกว่า หฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น ยังไม่ถึงแม้ซึ่งเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถ ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ และทั้งหมด ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของ แสงจันทร์ และ หมู่ดาว เพราะฉะนั้นแหละ สตรีบุรุษ ผู้มีศีล เข้าจำอุโบสถ ประกอบด้วย องค์ ๘ ทำบุญซึ่งมีสุขเป็นกำไร เป็นผู้ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึง สัคคสถาน (สวรรค์)



พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๒๑
หน้าที่ ๑๘๗
(60)
เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์

(ย่อ)
เจ้าศากยะพระนามว่า วัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ สนทนาเรื่อง การสำรวม กาย วาจา ใจ และเรื่องบาปกรรม แต่ปางก่อน และส่งผล ยังไม่หมด (ในชาตินี้) ย่อมตามไปถึงในสัมปรายภพ หรือไม่ ... การสนทนาค้างไว้เท่านี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ก็เสด็จมาถึง


       [๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่า วัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

     ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่าดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้ สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจาสำรวมด้วยใจ เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะ อวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัย แห่ง ทุกขเวทนาไปตามบุคคล ในสัมปรายภพ หรือไม่ วัปปศากยราชตรัสว่า

     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้นบุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปาง ก่อน ซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไปตาม บุคคล ในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้น เป็นเหตุท่านพระมหาโมคคัลลานะ สนทนา กับ วัปปศากย ราชสาวก ของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น

     ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มี พระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐาน ศาลาประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะ ว่า

     ดูกรโมคคัลลานะบัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร และ เธอทั้งหลาย พูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง ท่านพระมหา โมคคัลลานะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสข้าพระองค์ได้ กล่าวกะ วัปปศากย ราชสาวก ของ นิครนถ์ว่า

     ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกายสำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา ไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้ แล้ว วัปป ศากยราชสาวก ของ นิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อน ซึ่งยัง ให้ผลไม่หมดอาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคล ในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนา กับวัปปศากย ราชสาวก ของ นิครนถ์ ค้างอยู่ เพียงนี้แล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ก็เสด็จมาถึง





พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๒๑
หน้าที่ ๑๘๘

(61)
กรรมเก่า กรรมใหม่ ส่งผลไปถึงภพหน้าหรือไม่ ดับกรรมทำอย่างไร

(ย่อ)
กรรมทาง กาย-วาจา-ใจ มีอวิชชาเป็นสาเหตุทั้งสิ้น

ทางกาย

1. อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อนขึ้น จากการกระทำทางกาย เป็นปัจจัย
2. เมื่อบุคคลเว้นการกระทำทางกายแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ย่อมไม่มีแก่เขา
3. เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
4. นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ทางวาจา

1. อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อนขึ้น จากการกระทำทางวาจา เป็นปัจจัย
2. เมื่อบุคคลเว้นการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ย่อมไม่มีแก่เขา
3. เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
4. นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ทางใจ

1..อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อนขึ้น จากการกระทำทางใจ เป็นปัจจัย
2.เมื่อบุคคลเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ย่อมไม่มีแก่เขา
3.เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
4.นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

อวิชชา
(เหตุแห่งกรรม)
1. อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
2. เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่เขา
3. เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้ สิ้นไปด้วย
4. นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ... อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไป ตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ (กรรมเก่าที่เป็นทุกข์ จะตามติดไปถึงชาติหน้าหรือไม่)
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า

     ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับ วัปปศากย ราชสาวกของ นิครนถ์ ว่า ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้าน ข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา และท่านไม่รู้ ความแห่งภาษิตของเราข้อใด ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไรความ แห่งภาษิต ข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้ เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้ วัปปศากยราชกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควร ยินยอม และจักคัดค้าน ข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค

     อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคข้อใด ข้าพระองค์จัก ซักถาม พระผู้มีพระภาค ในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่าข้อนี้ อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้ อย่างไร ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า

    (1) พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำ ทางกายเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำ ทางกาย แล้ว อาสวะเหล่านั้น ที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผา กิเลส ให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

     ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไป ตามบุคคล ในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
     ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า

    (2) พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะการกระทำทางวาจา เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำ ทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำ กรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผา กิเลส ให้พินาศ ... วิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน

     ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

     ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า

    (3) พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจ เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำ ทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลส ให้พินาศ... วิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน

     ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไป ตามบุคคล ในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
     ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า

    (4) พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะ ที่ก่อทุกข์ เดือดร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรม เก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ... อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน

     ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไป ตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
     ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า



พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๘๘
(62)
ธรรม ๖ ประการ เป็นเรื่องอยู่ของผู้มีจิตหลุดพ้น
(ย่อ)
ธรรม ๖ ประการ เป็นเครื่องอยู่ของผู้มีจิตหลุดพ้น เธอเห็นรูปแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ หู จมุก ลิ้น กาย ธรรมารมณ์ ก็เช่นกัน


จิตหลุดพ้นจาก บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ถูกโค่น แล้วตัดกิ่งก้าน และใบเป็นชิ้นเล็ก ตากให้แห้ง เผาไฟ นำไปโรยลงในแม่น้ำ ต้นไม้นั้นย่อมไม่มีทั้งต้นและเงาอีกต่อไป

วัปปะ (สาวกนิครนถ์) มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค และจะโปรยความเลื่อมใส ที่มีต่อ นิครนถ์ผู้โง่เขลา ลงไปในแม่น้ำ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็น สรณะ


พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี อุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุดย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกาย เป็นที่สุด เมื่อเสวย เวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิต เป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกาย แตกสิ้น ชีวิตไปเวทนา ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน ในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

     ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบ และ ตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่า ต้นแฝก ก็ไม่ให้เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้น ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและ แดด ครั้นผึ่งลม และแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยใน ที่มีลมพัดจัด หรือลอย ในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏ เพราะ อาศัย ต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไป เป็นธรรมดา แม้ฉันใด

     ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิต หลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้ บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการเธอ เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่นด้วยจมูก.. ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุดย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด มื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนา มีชีวิต เป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

     เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของ นิครนถ์ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษต้องการกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด) เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้องเหน็ดเหนื่อย ลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ข้าพระองค์หวังกำไร เข้าคบหานิครณถ์ผู้โง่ ต้องขาดทุน ทั้งต้อง เหน็ดเหนื่อย ลำบากใจ ยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์นี้จักโปรยความเลื่อมใส ในพวก นิครณถ์ผู้โง่เขลาเสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียในแม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือ ตามประทีป ไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าคนผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้

     ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็น สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรด ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๔๕
(63)

บัญญัติพวกนิครนถ์ และลัทธิอื่น (๓. ฉฬาภิชาติยสูตร)

(โดยย่อ)
ปูรณกัสสป บัญญัติชาติ ๖ ประการคือ บัญญัติชาติดำ ชาติเขียว ชาติแดง ชาติเหลือง ชาติขาว ชาติขาวจัด .. บัญญัติว่า คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร เพชฌฆาต คนที่ทำงานหยาบช้า ว่าเป็นชาติดำ
คำสอนของพระศาสดา
1. เป็นผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ (คนชั้นต่ำประพฤติชั่ว)
2. บางคนมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว (คนชั้นต่ำประพฤติดี)
3. บางคนมีชาติดำ บรรลุ นิพพาน ที่ไม่ดำไม่ขาว (คนชั้นต่ำออกบวช ละนิวรณ์๕ หลุดพ้น)
4. บางคน มีชาติขาวประพฤติธรรมดำ (สกุลสูง แต่พระพฤติชั่ว ทางกาย วาจา ใจ)
5. บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว (สกุลสูง ประพฤติดีประพฤติชอบ)
6. บางคนมีชาติขาว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว (สกุลสูง ออกบวช ละนิวรณ์๕ หลุดพ้น)

บัญญัติพวกนิครนถ์
1. ใช้ผ้าผืนเดียว ว่าเป็นชาติแดง
2. บัญญัติคฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้าขาว
3. สาวกของอเจลก (นักบวชเปลือยกาย) ว่าเป็นชาติเหลือง
4. บัญญัติอาชีวก อาชีวิกา ว่าเป็นชาติขาว

        [๓๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุง ราชคฤห์ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสป

บัญญัติชาติ ๖ ประการคือ บัญญัติชาติดำ ๑ ชาติเขียว ๑ชาติแดง ๑ ชาติเหลือง ๑ ชาติขาว ๑ ชาติขาวจัด ๑

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติคนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่านก พรานเนื้อ ชาวประมงโจร เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำ ก็หรือ คนที่ทำงานหยาบช้า อื่นใด ว่าเป็นชาติดำบัญญัติพวกภิกษุ พวกผู้เชื่อไปในฝ่ายดำ หรือพวก กรรมวาท กิริยาวาทอื่นใด ว่าเป็นชาติเขียว

บัญญัติพวกนิครนถ์
  ใช้ผ้าผืนเดียว
ว่าเป็นชาติแดง
  บัญญัติคฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้าขาว
  สาวกของอเจลก (นักบวชเปลือยกาย) ว่าเป็นชาติเหลือง
  บัญญัติอาชีวก อาชีวิกา ว่าเป็นชาติขาว

       บัญญัติเจ้าลัทธิชื่อนันท วัจฉโคตร ชื่อกัจจสังกิจจโคตร มักขลิโคสาล ว่าเป็นชาติขาว จัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติชาติ ๖ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า

     ดูกรอานนท์ การที่ปูรณกัสสปบัญญัติชาติ ๖ นี้นั้น โลกทั้งปวงเห็นด้วยหรือ

อา. หามิได้ พระเจ้าข้า

พ. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนคนทั้งหลาย บังคับให้บุรุษผู้ยากจนขัดสน เข็ญใจ ผู้ไม่ปรารถนา ให้รับส่วนเนื้อว่า

ดูกรบุรุษ ผู้เจริญ ท่านพึงกินเนื้อนี้ และต้องใช้ราคาเนื้อฉันใด ปูรณกัสสป ก็ฉันนั้น เหมือนกัน บัญญัติชาติ ๖ แห่งสมณพราหมณ์ เหล่านั้น โดยที่โลกไม่รับรอง เหมือน ดังคนพาลไม่เฉียบแหลม ไม่รู้เขตบัญญัติ ไม่ฉลาด

     ดูกรอานนท์ ก็เราแลจะบัญญัติชาติ ๖ ประการเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรอานนท์ ก็ชาติ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ ๑ บางคนมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว ๑ บางคนมีชาติดำ บรรลุนิพพาน ที่ไม่ดำไม่ขาว ๑ บางคน มีชาติขาวประพฤติธรรมดำ ๑ บางคนมีชาติ ขาว ประพฤติธรรมขาว ๑ บางคนมีชาติขาว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว ๑

     ดูกรอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลพรานป่า สกุลช่างจักสาน สกุลทำรถ สกุลเทหยักเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง ได้อาหาร และเครื่องนุ่งห่มโดยยากและ เขาผู้นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอก เป็นอัมพาต ไม่ได้ข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่เครื่อง ประทีป เขายังประพฤติ ทุจริตด้ว ยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย  ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรอานนท์ บุคคล มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำอย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมขาวเป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลพรานป่าสกุลช่างจักสาน สกุล ทำรถสกุล เทหยักเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำโภชนะน้อยเป็นผู้ฝืดเคือง ได้อาหารและ เครื่องนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อยกระจอก เป็นอัมพาตไม่ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติ สุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว อย่างนี้แล

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาวเป็นอย่างไรคือ บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ ฯลฯ มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคน แคระ เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้ว อย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ ด้วยดีในสติปัฏฐานทั้ง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง แล้วได้บรรลุนิพพาน อันไม่ดำไม่ขาว ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติดำบรรลุนิพพาน อันไม่ดำไม่ขาว อย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมดำเป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมเกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล สกุล คฤหบดีมหาศาล ซึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากมีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์ เครื่องปลื้มใจ มากมีทรัพย์ คือ ข้าวเปลือกมากและเขาผู้นั้นเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วย ผิวพรรณ งามยิ่ง ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่อยู่ เครื่องประทีป เขาประพฤติทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติขาว ประพฤติธรรมดำ อย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคล บางคนในโลกนี้ เกิดในสกุลสูง ฯลฯ เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้น ประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาวอย่างนี้แล

     ดูกรอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไร คือบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดใน สกุลสูง ฯลฯ เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็น เครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดีในสติปัฏฐานทั้ง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง แล้วได้บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว

      ดูกรอานนท์ บุคคลมีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำ ไม่ขาวอย่างนี้แล ดูกรอานนท์ ชาติ ๖ นี้แล



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓๘
(64)
นิครนถ์นาฎบุตร ค้านสีหเสนาบดี(สาวก)เข้าเฝ้า (สีหสูตร)

(นิครนถ์นาถบุตร กล่าวตู่สมณโคดมว่า เป็น อกิริยวาท จึงแสดงธรรม เพื่ออกิริยวาท และ แนะนำพวกสาวกด้วย อกิริยวาท จึงคัดค้าน สีหะ ผู้เป็น กิริยวาท)

     [๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้ นครเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกัน ที่ สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย

     ก็สมัยนั้นแล สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์ นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อจำนวนมาก ประชุมกัน ที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภา คอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด

     ลำดับนั้น สีหเสนาบดีเข้าไปหา นิครนถ์นาฏบุตร ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะ นิครนถ์นาฏบุตร ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ปรารถนาจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม

     นิครนถ์นาฏบุตร กล่าวว่า ดูกรสีหะ ก็ท่านเป็น กิริยวาท* จักเข้าไปเฝ้าพระสมณ โคดม ผู้เป็น อกิริยวาท* ทำไม เพราะพระสมณโคดมเป็น อกิริยวาท จึงแสดงธรรม เพื่อ อกิริยวาท และแนะนำพวกสาวก ด้วยอกิริยวาทนั้น ครั้งนั้นการตระเตรียมที่จะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคของสีหเสนาบดี ระงับไป
* กิริยาวาทะ คือ การกระทำ(กรรม)ที่กระทำ มีผล / อกิริยวาท คือ กรรมที่กระทำไม่มีผล
พระผู้มีพระภาคแสดงธรรม เป็น อกรรมกิริยา (ไม่มีผล) เนื่องจาก ไม่มีตัวตนผู้กระทำ

     แม้ครั้งที่สอง เจ้าลิฉวี ผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ได้นั่งประชุมกันที่ สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยายแม้ครั้งที่สอง สีหเสนาบดี ก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ... การตระเตรียมที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ของสีหเสนาบดีระงับไป

     แม้ครั้งที่สาม เจ้าลิจฉวี ผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยายแม้ครั้งที่สาม สีหเสนาบดี ก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนก ปริยาย พวกนิครนถ์ทั้งหลาย เราจะลา หรือไม่ลา จักทำอะไรเราได้ ผิฉะนั้น เราจะไม่ลาละ พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓๙

(65)
สีหเสนาบดี(สาวกนิครนถ์) เดินทางเข้าเฝ้าพระสมณโคดม

( สีหเสนาบดีผู้ศรัทธาสมณโคดม พร้อมด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน เข้าเฝ้าฯ สมณโคดม กล่าวกะ สีหะว่า พระองค์แดงธรรมอย่างไรบ้าง


สมณะพราหมณ์เหล่าอื่น กล่าวตู่สมณโคดมด้วยถ้อยคำที่ว่า
1.พระสมณโคดมเป็น อกิริยวาท  ย่อมแสดงธรรมเพื่อ อกิริยวาท
2. พระสมณโคดมเป็น กิริยวาท ย่อมแสดงธรรม เพื่อ กิริยวาท
3.พระสมณโคดมเป็น อุจเฉทวาท ผู้กล่าวความขาดสูญ
4.พระสมณโคดมเป็น เชคุจฉี คนช่างเกลียด
5.พระสมณโคดมเป็น เวนยิกะ คนกำจัด
6.พระสมณโคดมเป็น ตปัสสี คนเผาผลาญ
7. พระสมณโคดมเป็น อัปปคัพภะ ไม่ผุดไม่เกิด

     ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ออกจากกรุงเวสาลี ในเวลายังวัน พร้อมด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คันเพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นไปด้วยยานเท่าที่ยานจะไปได้ แล้วลงจากยาน เดินตรงเข้าไปยังอาราม แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมเป็น อกิริยวาท * ย่อมแสดงธรรมเพื่อ อกิริยวาท และแนะนำ สาวกด้วย อกิริยวาทนั้น ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อ อกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น คนเหล่านั้น จะชื่อว่า กล่าวตามที่ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มิใช่กล่าวตู่พระผู้มี พระภาค ด้วยคำ อันไม่จริง และ พยากรณ์ ธรรมสมควรแก่ธรรมหรือ การคล้อยตามวาท อันชอบแก่เหตุ ไรๆ จะไม่มาถึง ฐานะ อันสมควรติเตียนแลหรือ เพราะข้าพระองค์ไม่ประสงค์ จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เลย
* อกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล) ตถาคตแสดงธรรมเช่นนี้ เพราะไม่มีตัวตนผู้กระทำ ดังนั้นจึงไม่มีบุคคล ที่เป็นผู้กระทำ กรรมจึงไม่มี
......................................................................................

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นอกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า ไม่เป็นอันทำ แสดงธรรมเพื่อ อกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยาวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคล ทำอยู่ว่าเป็นอันทำ ย่อมแสดงธรรม เพื่อกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วย กิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่
(สมณโคดม แสดงธรรม ทั้ง อกิริยวาท และ กิริยวาท)
......................................................................................

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อุจเฉทวาท ผู้กล่าวความขาดสูญ ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และ แนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาทดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นมีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น เชคุจฉี คนช่างเกลียด ย่อมแสดง ธรรมเพื่อเชคุจฉี และแนะนำ สาวก ทั้งหลายด้วยเชคุจฉี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น เวนยิกะ คนกำจัด ย่อมแสดงธรรม เพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น ตปัสสี คนเผาผลาญ ย่อมแสดง ธรรม เพื่อเผาผลาญ และแนะนำสาวก ทั้งหลาย ด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อัปปคัพภะ ไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดง ธรรม เพื่อไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำพวก สาวก ทั้งหลาย ด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อัสสัตถะ คนใจเบา ย่อมแสดงธรรม เพื่อความใจเบา และแนะนำสาวก ทั้งหลาย ด้วยการใจเบา ดังนี้ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ

     ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อกิริยวาท ย่อมแสดง ธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำพวกสาวก ด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน




พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์