เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

 ลัทธินิครนถ์ นาฏบุตร
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวของ ลัทธินิครนถ์นาฏบุตร ผู้อหังการ
โต้วาทะกับสมณโคดม จนเหงื่อหยด
N105
        ออกไปหน้าหลัก 5 of 7
  สัจจกนิครนถ์ ปริพาชก : นิครนถ์นาถบุตร ลัทธิที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสมัยพุทธกาล เคยโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคจนเหงื่อตก
  (52) พระธรรมเทศนา แด่ สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์
  (53) ทรงแก้ข้อกล่าวหา ของนิครนถ์นาฏบุตร
  (54) พระผู้มีพระภาคตรัส อนุปุพพิกถา โปรดสีหเสนาบดี
 

(55) พวกนิครนถ์ ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ (นิคันถสูตร)

  (56) หลังจากนิครนถ์นาฏบุตร เสียชีวิตพวกนิครนถ์แตกเป็น2ฝ่าย
  (57) วันเข้าจำอุโบสถของพวกนิครนถ์ (อุโปสถสูตร)
  (58) อุโบสถ ๘ ประการ ในธรรมวินัยนี้
 
 


(52)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓๙

พระธรรมเทศนา แด่ สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์

     ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ออกจากกรุงเวสาลี ในเวลายังวัน พร้อมด้วยรถ ประมาณ ๕๐๐ คัน เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นไปด้วยยาน เท่าที่ยานจะ ไปได้ แล้วลงจากยาน เดินตรงเข้าไปยังอาราม แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำ สาวกด้วยอกิริยวาทนั้น ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อ อกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น คนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตามที่ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มิใช่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ ธรรมสมควรแก่ธรรมหรือ การคล้อยตามวาท อันชอบแก่เหตุไรๆ จะไม่มาถึงฐานะ อันสมควรติเตียนแลหรือ เพราะข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคเลย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นอกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า ไม่เป็นอันทำ แสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยาวาทดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น กิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคล ทำอยู่ว่าเป็นอันทำ ย่อมแสดงธรรม เพื่อกิริยวาทและแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วย กิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ผู้กล่าวความขาดสูญ ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาทดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นมีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเชคุจฉี คนช่างเกลียด ย่อมแสดง ธรรมเพื่อเชคุจฉี และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยเชคุจฉี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเวนยิกะ คนกำจัด ย่อมแสดงธรรม เพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นตปัสสี คนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรม เพื่อเผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ชื่อว่ากล่าวชอบ นั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อัปปคัพภะ ไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดง ธรรม เพื่อไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำพวกสาวก ทั้งหลาย ด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

     เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัสสัตถะ คนใจเบา ย่อมแสดงธรรม เพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการใจเบา ดังนี้ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่




(53)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๐

ทรงแก้ข้อกล่าวหา ของนิครนถ์นาฏบุตร

     ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อกิริยวาท ย่อมแสดงธรรม เพื่ออกิริยวาท และแนะนำพวกสาวก ด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าว การไม่ทำ ซึ่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ โคดม เป็นอกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ

     ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อมแสดงธรรม เพื่อ กิริยวาท และแนะนำพวกสาวก ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวการทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กล่าวการทำ กุศลธรรม หลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหา เราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อม แสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ

     ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ย่อมแสด งธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวก ทั้งหลาย ด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะโทสะ โมหะ และ ธรรมอันเป็น บาปอกุศล หลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขา กล่าวหาเราว่าพระสมณโคดม เป็น อุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรม เพื่ออุจเฉทวาทและแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วย อุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ  

    ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด ย่อมแสดง ธรรม เพื่อความช่างเกลียด และแนะนำ สาวก ทั้งหลายด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นเป็นไฉดูกรสีหะ เพราะเราเกลียดชัง กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และเกลียดชัง การเข้าถึงธรรมอันเป็นบาปอกุศล หลายอย่างนี้แล เป็นเหตุ ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรม เพื่อความ ช่างเกลียด และแนะนำ สาวก ด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ชื่อว่ากล่าวชอบ

     ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดงธรรม เพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการกำจัดดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นเป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะโมหะ และธรรมอันเป็นบาป อกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุ ที่เขากล่าวหาเราว่าพระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ ฯ

     ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนเผาผลาญ  ย่อมแสดง ธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญดูกรสีหะ ผู้ใดแลละธรรม อันเป็นบาป อกุศล ที่ควรเผาผลาญ ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดาเรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้เผาผลาญ

ดูกรสีหะ ตถาคตละธรรมอันเป็นบาปอกุศลได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเป็นเหตุที่เขา กล่าว หาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความ เผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการเผาผลาญดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ

     ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการไม่ผุด ไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ ผู้ใดแลละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่ผุดไม่เกิด ตถาคตละการนอน ในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเป็นเหตุที่เขา กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความ ไม่ผุด ไม่เกิด และ แนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ

     ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา ย่อมแสดง ธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ชื่อว่ากล่าว ชอบนั้น เป็นไฉนดูกรสีหะ เพราะเราเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อความใจเบา ด้วยความใจเบา อย่างยิ่งและ แนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการใจเบา นี้แลเป็นเหตุที่ เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรม เพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ

     ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

     พ. ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้ว กระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียง เช่นท่าน

     สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจ อย่างล้นเหลือต่อพระผู้มี พระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะ ข้าพระองค์ว่า

     ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคน ที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ ได้ข้าพระองค์ เป็นสาวก แล้วพึงยกธง เที่ยวประกาศทั่วเมืองเวสาลีว่า สีหเสนาบดียอมเป็นสาวก พวกเราแล้ว แต่พระผู้มีพระภาค กลับตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า

     ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อน แล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะเป็นครั้งที่สอง ขอพระผู้มี พระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

     พ. ดูกรสีหะ ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำ ของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาตที่ท่านจะพึงให้แก่ พวกนิครนถ์ เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว

     สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจ อย่างล้นเหลือต่อพระผู้มี พระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะ ข้าพระองค์ว่า ดูกรสีหะ ตระกูลของท่านเป็น เสมือนบ่อน้ำของพวก นิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาต ที่ท่านจะพึง ให้แก่ พวกนิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่ผู้อื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่พวกอื่น ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ให้แก่สาวกของพวกอื่นไม่มีผลมาก แต่พระผู้มีพระภาค กลับตรัสชักชวนข้าพระองค์ในการให้ทานแม้ในพวก นิครนถ์ ด้วย

     อนึ่ง ข้าพระองค์จักรู้กาลอันควร ที่จะให้ทานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป



(54)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๒

พระผู้มีพระภาคตรัส อนุปุพพิกถา โปรดสีหเสนาบดี

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถา โปรด สีหเสนาบดี คือทรง ประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม อันต่ำทรามเศร้าหมอง และ อานิสงส์ ในเนกขัมมะ

     เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สีหเสนาบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง เลื่อมใสแล้ว เมื่อนั้น จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน เกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน มีความดับไป เป็นธรรมดา เปรียบเหมือน ผ้าที่สะอาดปราศจากดำจะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น

     ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้ง ถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความ เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในพระศาสนาของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ รับนิมนต์ ฉันอาหารบิณฑบาตในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ

     ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เรียกชายคนหนึ่งมาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อจงไปหาเนื้อเลือกเอาเฉพาะ ที่ขาย ทั่วไป

พอล่วงราตรีนั้น สีหเสนาบดี สั่งให้จัดขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตไว้ในนิเวศน์ ของตนแล้ว ให้ไปกราบทูลเวลา ภัตตาหาร แด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า ภัตตาหารในนิเวศน์ของท่านสีหเสนาบดีสำเร็จแล้ว

     ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรง ครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของ สีหเสนาบดี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้พร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์ ก็สมัยนั้น นิครนถ์เป็นจำนวนมาก พากันประคองแขนคร่ำครวญ ตามถนน ต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์ อ้วนพีปรุงเป็น ภัตตาหาร ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดม ทั้งที่รู้ทรงฉันอุทิศมังสะที่เขาอาศัยตนทำ

     ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดี กระซิบบอกว่า พระเดชพระคุณ ได้โปรดทราบ นิครนถ์เป็นจำนวนมากเหล่านี้ พากันประคองแขนคร่ำครวญ ตามถนน ต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุง เป็นภัตตาหาร ถวายพระสมณโคดมพระสมณโคดม ทั้งที่รู้อยู่ทรงฉันอุทิศมังสะ ที่เขาอาศัยตนทำ

     สีหเสนาบดี กล่าวว่า อย่าเลย เพราะเป็นเวลานานมาแล้ว ที่พระคุณเจ้าเหล่านั้น ใคร่จะกล่าวโทษพระพุทธ พระธรม พระสงฆ์ แต่ท่านเหล่านี้ไม่กระดากอายเสียเลย ย่อมกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำอันไม่เป็นจริง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตไม่

ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ได้อังคาส พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอั นประณีตด้วยมือของตน และเมื่อ พระผู้มีพระภาค ฉันเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สีหเสนาบดีนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจง สีหเสนาบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ รื่นเริงด้วย ธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจากที่นั่งหลีกไป



(55)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓๑

พวกนิครนถ์ ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ (นิคันถสูตร)

           [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ
  ๑.เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
  ๒.ทุศีล
  ๓.ไม่มีความละอาย
  ๔.ไม่มีความเกรงกลัว
  ๕.ไม่ภักดีต่อสัตบุรุษ
  ๖.ยกตนข่มผู้อื่น
  ๗.ยึดมั่นความเห็นของตน ถือสิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ สละคืนความยึดมั่นถือมั่นด้วย ความเห็นของตนได้ยาก
  ๘.เป็นคนลวงโลก
  ๙.ปรารถนาลามก
  ๑๐.มีความเห็นผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล




พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๗
(56)

หลังนิครนถ์นาฏบุตรเสียชีวิต พวกนิครนถ์แตกเป็น2ฝ่าย
๔. สามคามสูตร  (๑๐๔)

(ย่อ)
หลังจากเจ้าสำนัก นิครนถ์นาฏบุตร เสียชีวิต พวกนิครนถ์ได้แตกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง คือ นิครนถ์พวกคฤหัสถ์ คือพวกนุ่งขาวห่มขาว กับ นิครนถ์ที่เป็นศิษย์นาฏบุตร
ทั้งสองฝ่าย ทิ่มแทงกันด้วยหอกปาก ว่าพวกท่านไม่รู้ทั่วถึง เรารู้ทั่ว ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ของเรา มีประโยชน์  ของท่านไม่มีประโยชน์ ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคตรัส เหตุปห่งการทะเลาะกัน
(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ
(๒) ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ...
(๓) ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่...
(๔) ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา...
(๕) ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด...
(๖) ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน


- ความวิวาทที่เกิด เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่ง หรือปาติโมกข์ อันยิ่ง นั้นเล็กน้อย
- ความวิวาทที่เกิด เพราะเหตุมรรค หรือ ปฏิปทา นั้นเรื่องใหญ่

พ.  ดูกรอานนท์ ความวิวาทที่เกิด เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่ง หรือปาติโมกข์ อันยิ่ง นั้นเล็กน้อย  ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิด เพราะเหตุมรรคหรือ ปฏิปทา ความวิวาทนั้น มีแต่เพื่อ ไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูลเพื่อ ความทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ 

        [๕๑]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่หมู่บ้านสามคาม ในสักกชนบท ก็สมัยนั้นแล  นิครนถ์นาฏบุตร ตายลงใหม่ๆ  ที่เมืองปาวา เพราะการตายของ นิครนถ์  นาฏบุตร นั้น พวกนิครนถ์แตกกันเป็น ๒  พวก เกิดขัดใจทะเลาะ วิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปาก อยู่ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์  คำที่ควร พูดก่อน ท่านพูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลังท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชิน อย่างดี ยิ่งของท่าน กลายเป็นผิดแม้วาทะ ของท่านที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้  ท่านจงเที่ยวแก้คำพูดหรือจงถอนคำเสียถ้าสามารถ 

        นิครนถ์เหล่านั้น ทะเลาะกัน แล้วความตาย ประการเดียวเท่านั้นเป็น สำคัญ  เป็นไปใน พวกนิครนถ์ศิษย์ นาฏบุตร แม้สาวกของ นิครนถ์ นาฏบุตร ฝ่าย คฤหัสถ์  ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายยินดี  มีใจถอยกลับใน พวกนิครนถ์ ศิษย์ นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่ายคลายยินดี  มีใจถอยกลับในธรรมวินัย ที่ นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ  มิใช่ธรรมวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธ ให้รู้ทั่ว เป็นสถูป ที่พัง ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้

        [๕๒]  ครั้งนั้นแล สมณุทเทสจุนท จำพรรษาที่เมืองปาวา แล้วเข้าไปยังบ้าน สามคามหาท่านพระอานนท์ กราบท่าน พระอานนท์ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า 

        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตร ตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการ ตายของ นิครนถ์นาฏบุตร นั้น พวกนิครนถ์ จึงแตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท กัน เสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้  เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉน ท่านจักรู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ของเรามีประโยชน์  ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านพูดทีหลัง คำที่ควร พูดทีหลังท่าน พูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลายเป็นผิด 

        แม้วาทะของท่านที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คำพูดหรือ จงถอน คำเสีย ถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้น ทะเลาะกันแล้ว ความตายประการเดียวเท่านั้น เป็นสำคัญ เป็นไปในพวก นิครนถ์ศิษย์นาฏบุตร แม้สาวกของ นิครนถ์นาฏบุตรฝ่าย คฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับใน พวกนิครนถ์ ศิษย์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่ายคลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัย ที่ นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ  มิใช่ธรรมวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่พัง ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้  เมื่อสมณุทเทสจุนทะกล่าว อย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวดังนี้ว่า 

        ดูกรจุนทะผู้มีอายุ เรื่องนี้ มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด เราทั้ง  ๒  จักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระภาค สมณุทเทสจุนทะ รับคำท่านพระอานนท์แล้ว

        [๕๓]  ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ และสมณุทเทสจุนทะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่งณที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง  ท่านพระอานนท์พอนั่งเรียบร้อยแล้ว  ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณุทเทสจุนทะนี้กล่าวอย่างนี้ว่า 

        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตร ตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา  เพราะการตาย ของ นิครนถ์ นาฏบุตร นั้น พวกนิครนถ์ จึงแตกกัน เป็น ๒ พวก  เกิดขัดใจทะเลาะ วิวาท กันเสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้  เรารู้ทั่วถึงธรรม วินัยนี้ ฯลฯ 

        แม้สาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร ฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายยินดี  มีใจถอยกลับใน พวกนิครนถ์ศิษย์ นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย คลายยินดี  มีใจถอยกลับในธรรมวินัยที่ นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวผิด ให้รู้ผิด ไม่ใช่นำออกจากทุกข์  ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธ ให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่พัง  ไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ 

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาค ล่วงลับไป ความวิวาทอย่าได้เกิดขึ้น ในสงฆ์เลย ความวิวาทนั้น มีแต่เพื่อไม่เกื้อกูล แก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล  เพื่อความทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์



        [๕๔]  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔  สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔  อินทรีย์ ๕  พละ ๕  โพชฌงค์ ๗  อริยมรรค มีองค์  ๘  ดูกรอานนท์ เธอจะยังเห็นภิกษุของเรา แม้สองรูป มีวาทะต่างกันได้  ในธรรมเหล่านี้ หรือ

        ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔  อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕  พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ ข้าพระองค์ ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูปมีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้

       
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้แล  ที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น  พอสมัยพระผู้มีพระภาคล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะ อันยิ่งหรือปาติโมกข์ อันยิ่ง  ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุข ของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์

        พ.  ดูกรอานนท์ ความวิวาทที่เกิด เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่ง หรือปาติโมกข์  อันยิ่ง นั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือ ปฏิปทา ความวิวาทนั้น มีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูลเพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ 

        [๕๕]  ดูกรอานนท์  มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน  ดูกรอานนท์ (๑)  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่เป็น  ผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระ ศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรมแม้ใน พระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา นั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิด ในสงฆ์  ซึ่งเป็น ความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมากไม่ใช่ประโยชน์ ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์

        ดูกรอานนท์  ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายใน หรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันลามก นั้นเสีย ในที่นั้น  ถ้าพวกเธอพิจารณา ไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายใน หรือ ในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติ ไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล  ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วย อาการ เช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้  ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้

        [๕๖]  ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
(๒)  ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ...
(๓)  ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่...
(๔)  ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา...
(๕)  ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก  มีความเห็นผิด...
(๖)  ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง  มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้นสละคืน ได้ยาก

       ภิกษุที่เป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น สละคืน ได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม  แม้ในพระสงฆ์อยู่ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ  ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดาแม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำ ให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่ เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล  เพื่อความทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ 

ดูกรอานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายในหรือ ในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น  ถ้า พวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก  พวก เธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามก นั้นแล ลุกลามต่อไป ในที่นั้นการละมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้  ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการ เช่นนี้

ดูกรอานนท์เหล่านี้แล  มูลเหตุแห่งความวิวาท  ๖  อย่าง



พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๙๕
(57)
วันเข้าจำอุโบสถของพวกนิครนถ์ (อุโปสถสูตร)

(ย่อ)
พ. ดูกรนางวิสาขา อุโบสถมี ๓ อย่างเป็นไฉน
๑. โคปาลกอุโบสถ (สังเกตุการออกหากินของวัวแต่ละวันว่า ไปที่ไหนบ้าง)
๒. นิคัณฐอุโบสถ (วางศาตราใน 4 ทิศ บูรพา ปัจฉิม อุดร ทักษิณ)
๓. อริยอุโบสถ (อุโบสถ ๘ ประการ)

ดูกรนางวิสาขา ก็นิคัณฐอุโบสถ (วันเข้าจำอุโบสถ) เป็นอย่างไร
ดูกรนางวิสาขา มีสมณนิกายหนึ่ง มีนามว่า นิครนถ์ นิครนฐ์เหล่านั้นชักชวน สาวก อย่างนี้ว่ามาเถอะ พ่อคุณท่าน
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ทาง ทิศบูรพา ในที่เลย ร้อยโยชน์ ไป (1โยชน์= 16 กม.)
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อย่ทาง ทิศปัจจิม ในที่เลย ร้อยโยชน์ ไป
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ทาง ทิศอุดร ในที่เลย ร้อยโยชน์ไป
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ทาง ทิศทักษิณ ในที่เลย ร้อยโยชน์ไป
(หน่วยนับ ๑ ทัณฑะเท่ากับ ๒ ศอก-วางทัณฑะ คือวางศาสตรา)

         [๕๑๐] ๗๑. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของ มิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา ได้เข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับในวัดอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหน แต่ยังวันอยู่ นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้ดิฉันเข้าจำอุโบสถ เจ้าข้า

    พ. ดูกรนางวิสาขา อุโบสถมี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
  ๑. โคปาลกอุโบสถ
  ๒. นิคัณฐอุโบสถ
  ๓. อริยอุโบสถ


     (๑) ดูกรนางวิสาขา ก็โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างไร
ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือน นายโคบาล เวลาเย็น มอบฝูงโคให้แก่เจ้าของแล้ว พิจารณาดังนี้ว่า วันนี้โคเที่ยวไป ในประเทศโน้นๆ ดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ พรุ่งนี้ โคจักเที่ยวไปในประเทศโน้นๆ จักดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ แม้ฉันใด

     ดูกรนางวิสาขา ฉันนั้นเหมือนกัน คนรักษาอุโบสถบางคนในโลกนี้ พิจารณาดังนี้ ว่า วันนี้เราเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ๆ กินของชนิดนี้ๆ พรุ่งนี้เราจะเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ ๆ จักกินของกินชนิดนี้ๆ เขามีใจประกอบด้วยความโลภ อยากได้ของเขาทำวัน ให้ล่วงไป ด้วยความโลภนั้น ดูกรนางวิสาขาโคปาลกอุโบสถเป็นเช่นนี้แล

     ดูกรนางวิสาขา โคปาลกอุโบสถ ที่บุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้แล ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

    (๒) ดูกรนางวิสาขา ก็นิคัณฐ อุโบสถ เป็นอย่างไร
ดูกรนางวิสาขา มีสมณนิกายหนึ่ง มีนามว่านิครนถ์ นิครนฐ์เหล่านั้นชักชวน สาวก อย่างนี้ว่ามาเถอะ พ่อคุณท่าน
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ทาง ทิศบูรพา ในที่เลย ร้อยโยชน์ ไป
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อย่ทาง ทิศปัจจิม ในที่เลย ร้อยโยชน์ ไป
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ทาง ทิศอุดร ในที่เลย ร้อยโยชน์ไป
จงวางทัณฑะ ในหมู่สัตว์ ที่อยู่ทาง ทิศทักษิณ ในที่เลย ร้อยโยชน์ไป
(หน่วยนับ ๑ ทัณฑะเท่ากับ ๒ ศอก-วางทัณฑะ คือวางศาสตรา)

     นิครนถ์เหล่านั้นชักชวน เพื่อเอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดู กรุณาสัตว์ บางเหล่า ด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้น ชักชวนสาวก ในอุโบสถ เช่นนั้นอย่างนี้ว่า มาเถอะ พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าเสียทุกชิ้นแล้วพูดอย่างนี้ว่า เราไม่เป็นที่กังวลของใครๆ ในที่ไหนๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคล และสิ่ง ของใดๆ ในที่ไหนๆดังนี้ แต่ว่ามารดาและบิดาของเขารู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรของเรา แม้เขาก็รู้ว่า ท่านเหล่านี้เป็นมารดาบิดาของเรา

     อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบิดาสามีของเรา แม้เขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรภรรยาของเรา พวกทาสและคนงานของเขา รู้อยู่ว่าท่านผู้นี้เป็นนาย ของเรา ถึงตัวเขาก็รู้ว่า คนเหล่านี้เป็นทาส และคนงานของเรา เขาชักชวนในการ พูดเท็จ ในสมัยที่ควร ชักชวน ในคำสัตย์ ด้วยประการฉะนี้

     เรากล่าวถึงกรรมของผู้นั้นเพราะมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาย่อมบริโภค โภคะ เหล่านั้น ที่เจ้าของไม่ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมของ ผู้นั้น เพราะอทินนาทาน

     ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นเช่นนี้แล ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถ ที่บุคคล เข้าจำแล้วอย่างนี้ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมากไม่แผ่ ไพศาลมาก

     (๓) ดูกรนางวิสาขา ก็อริยอุโบสถเป็นอย่างไร (อุโบสถในธรรมวินัยนี้)
ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิต ที่ เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่อเธอหมั่น นึกถึงพระ ตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนศีรษะ ที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ศีรษะที่เปื้อนจะทำให้สะอาด ได้ด้วยความเพียร อย่างไรจะทำให้สะอาดได้ เพราะอาศัย ขี้ตะกรัน ดินเหนียว น้ำ และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ

     ดูกรนางวิสาขา ศีรษะที่เปื้อน ย่อมทำให้สะอาดได้ ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างไร
--------------------------------------------------------------------------------------------------

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ...

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้ เรียกว่าเข้าจำพรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และ มีจิตผ่องใส เพราะปรารภพรหม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิต เสียได้

     ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียร อย่างนี้ แล ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร จิตที่เศร้า หมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึก ถึงธรรมว่า พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว อันบุคคลผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เมื่อเธอหมั่นนึกถึง ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนกาย ที่เปื้อนจะทำให้สะอาด ได้ด้วยความเพียร ดูกรนางวิสาขา ก็กายที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาด ได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้ สะอาดได้เพราะอาศัยเชือก จุรณสำหรับอาบน้ำแ ละความพยายามที่เกิดแต่เหตุนั้น ของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กายที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ...

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่า เข้าจำธรรมอุโบสถอยู่ อยู่ร่วมกับธรรม และ มีจิต ผ่องใสเพราะปรารภธรรม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างนี้ แล ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างไร

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  หมั่นระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควร ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดควาปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อน จะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ผ้าที่เปื้อนจะทำให้ สะอาด ได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สะอาดได้ เพราะ อาศัยเกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ กับความเพียรอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ผ้าที่เปื้อนย่อม ทำให้สะอาด ด้วยความเพียรอย่างนี้แลฉันใด จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ...

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่า เข้าจำสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิต ผ่องใส เพราะปรารภสงฆ์เกิดความ ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงศีลของตนอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทยแก่ตัวท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา ทิฐิลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงศีลอยู่จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนกระจกเงา ที่มัว จะทำให้ใสได้ด้วยความเพียร ก็กระจกเงาที่มัวจะทำให้ใส ได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้ใสได้เพราะอาศัย น้ำมัน เถ้า แปลงกับความพยายาม อันเกิดแต่เหตุนั้น ของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กระจก ที่มัวจะทำให้ใส ได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แลฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ก็จิตที่ เศร้าหมอง จะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างไร
--------------------------------------------------------------------------------------------------

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงศีลของตน ...

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้ เรียกว่าเข้าจำศีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และมีจิต ผ่องใส เพราะปรารภศีล เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้า หมอง จะทำให้ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียรอย่างไร

ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาพวก ชั้นจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาพวกชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาพวกชั้นยามามีอยู่ เทวดาพวกชั้นดุสิต มีอยู่ เทวดาพวกชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาพวก ชั้นปรินิมมิต วสวัตตี มีอยู่ เทวดาพวกที่นับเนื่องเข้าในหมู่พรหมมีอยู่ เทวดาพวกที่สูงกว่านั้น ขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศรัทธาเช่นนั้น แม้ของเราก็มีเทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วย ศีลเช่นใด จุติจาก ภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะ เช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น สุตะเช่นนั้น แม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ ไปเกิดในภพนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี 

     เมื่อเธอระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา (อินทรีย์ ๕) ของตน กับของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสเกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนทองที่หมอง จะทำให้สุกได้ ก็ด้วย ความเพียรทอง ที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สุกได้ เพราะอาศัยเบ้า หลอม ทอง เกลือ ยางไม้ คีม กับความพยายาม ที่เกิด แต่เหตุนั้น ของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ทองที่หมองจะทำให้สุก ได้ด้วยความ เพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ ผ่องแผ้ว ได้ด้วยความเพียร ฉันนั้น เหมือนกัน ...



(58)

อุโบสถ ๘ ประการ ในธรรมวินัยนี้

     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกเช่นนี้เรียกว่า เข้าจำเทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา มีจิตผ่องใสเพราะปรารภเทวดา เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิต เสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

     ดูกรนางวิสาขา พระอริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

    (1) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งปวง อยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดูมีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ตลอด คืนหนึ่ง กับวันหนึ่งนี้ ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่า ได้ทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถ ก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว

    (2) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ ของที่ เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ตลอดคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว

     (3) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติ พรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้านจนตลอดชีวิต แม้เรา ก็ได้ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาด จากเมถุน อันเป็นกิจของชาวบ้าน ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ ในวันนี้แม้ด้วย องค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเรา เข้าจำแล้ว

     (4) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ไม่พูดลวงโลกจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละ การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จพูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ตลอดคืนหนึ่ งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว

     (5) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท แม้จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการดื่มน้ำเมาคือสุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความ ประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ ในวันนี้แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตาม พระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว

     (6) พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการฉัน ในเวลา วิกาลจนตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการ บริโภค ในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่ง กับวันหนึ่งนี้ใน วันนี้ แม้ด้วยองค์ อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำ ตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว

     (7) พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และการดู การ เล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับ และตกแต่งกาย ด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว จนตลอดชีวิต แม้เรา ก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก แก่กุศล จากการทัด ทรงประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่อง ประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วย องค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเรา เข้าจำแล้ว

     (8) พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งนอนบน ที่นั่ง ที่นอน อันสูงใหญ่ เว้นขาดจาก การนั่งนอน บนที่นั่ง ที่นอน อันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบน ที่นอนอันต่ำ คือ บนเตียง หรือบนเครื่องปูลาด ที่ทำด้วยหญ้าจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการ นั่ง นอน บน ที่นั่ง ที่นอน อันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จ การนอน บนที่นอนอันต่ำ คือบนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้า ตลอด คืนหนึ่ง กับ วันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถ ก็จักเป็น อันเราเข้าจำแล้ว

ดูกรนางวิสาขา อริยอุโบสถเป็นเช่นนี้แล อริยอุโบสถ อันบุคคลเข้าจำแล้ว อย่างนี้ แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร




พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์