134 |
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ถ้าบุคคล
ย่อมไม่คิด ถึงสิ่งใด
ย่อมไม่ดำริ ถึงสิ่งใด
แต่ เขายังมีจิตฝัง ลงไปในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์มีอยู่ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะเจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมี่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่
ชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาส ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
 |
|
|
B19-2
/P15 |
ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์
(ตามรอยธรรมหน้า 33 /ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๒ )
ภิกษุทั้งหลาย !
ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ก็ตาม
เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และ
ความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย !
ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และ
ความดับสนิทไม่มีเหลือ ของความทุกข์เช่นนี้
แม้จะมี ใครมาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี
ตถาคตก็ไม่มีความ ขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ
เพราะเหตุนั้นแต่ประการใด
 |
|
|
1633 |
เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์
(อนุราธสูตร ตรัสกับราธะ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๕)
ดูกรอนุราธะ
ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว
ย่อมเกิดอีก ๑
ย่อมไม่เกิดอีก ๑
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑
ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑
อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า
พ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้
เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์
 |
|
|
623 |
ที่สุดแห่งทุกข์
มาลุกยบุตร (ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๑)
ในกาลใด ในกาลนั้นเธอจักไม่พัวพันในรูปที่ได้เห็น
ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ
หรือในธรรมารมณ์ที่ได้ รู้แจ้ง
ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี
ในระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์
 |
|
|
1606 |
บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยวิชชาหรือหนอ
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๕)
ท่านพระอุปวาน ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยวิชชา หรือหนอ
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ไม่ใช่อย่างนั้น
อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยจรณะ (การประพฤติ) หรือ
สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น
อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยวิชชาและจรณะ หรือ
สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น
อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์อื่น นอกจากวิชชาและจรณะ หรือ
สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น
ดูกรอาวุโส ก็บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้อย่างไรเล่า
.....
 |
|
|
685 |
ภิกษพึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
(ปริวีมังสนสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๐)
ภิกษุ พึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ทุกข์นี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด หนอแล
.....
ทุกข์นี้แล
มีชาติเป็นเหตุ
มีชาติเป็นสมุทัย
มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด
....
ภิกษุนั้น
ย่อมรู้ประจักษ์ ชราและมรณะ
ย่อมรู้ประจักษ์ เหตุเกิดชรา และ มรณะ
ย่อมรู้ประจักษ์ ความดับแห่งชรา และมรณะ
ภิกษุนี้
เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติ
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง
เพื่อความดับแห่งชราและมรณะ
|
|
|
1062-1 |
ที่สุดแห่งทุกข์ (ไม่มีการมาการไป)
บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕.
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี”
เมื่อความน้อมไปไม่มี การมาและการไป ย่อมไม่มี
เมื่อการมาและการไป ไม่มีการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ
|
|
|
1062-2 |
ที่สุดแห่งทุกข์ อยู่ในกายที่มีสัญญาและใจนี้เท่านั้น
(โรหิตัสสสูตรที่๒ ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๗-๕๐)
สัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ในโอกาสใด
เราไม่กล่าวโอกาสนั้น ว่าเป็นที่สุดแห่งโลก
ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง ด้วยการไป
และ เราย่อมไม่กล่าวการ กระทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะไปไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
แต่เราย่อมบัญญัติโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก ปฏิปทา เครื่องให้ถึง ความดับแห่งโลก
ในอัตภาพ อันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา และ มีจิตนี้เท่านั้น
ในกาลไหนๆ ที่สุดแห่งโลกอันใครๆ ไม่พึงถึงด้วยการไป
และ การเปลื้องทุกข์ ย่อมไม่มี
เพราะไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
เพราะฉะนั้นแล ท่านผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดีถึงที่สุด แห่งโลก
มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นผู้มีบาป อันสงบ
รู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว
ย่อมไม่หวังโลกนี้ และโลกหน้า
|
|
|
1402 |
ทรงพยากรณ์แต่เรื่องทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์...
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 79 ภาคนำ)
มาลุงกยบุตร อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ?
สัจจะว่า นี้ ความทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.
สัจจะว่า นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.
สัจจะว่า นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.
สัจจะว่า นี้ ทางเดินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.
มาลุงกยบุตร เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ?
เพราะเหตุว่า นั่น ประกอบด้วยประโยชน์ นั่น เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ นั่นเป็น ไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับไม่เหลือ ความระงับความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และ นิพพาน เหตุนั้น นั่นเราจึงพยากรณ์
|
|
|
578 |
ทุกข์ เพราะเห็นผิด ซึ่งรูป โดยความเป็นตน
(ทุกขสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันต หน้าที่ ๑๗๒)
ทุกข์ เพราะเห็นผิด ซึ่งรูป โดยความเป็นตน เห็นเวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็นตน.. เห็นตนว่ามีรูป รูปนั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ ย่อมเกิดทุกข์แก่เขา
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง รูป... โดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อมซึ่ง ตน ว่ามีรูป
หรือตามเห็นพร้อมซึ่ง รูป ว่ามีอยู่ในตน
หรือตามเห็นพร้อมซึ่ง ตน ว่ามีอยู่ในรูป
รูปนั้นย่อมแตกสลายแก่เขา
เขาย่อมถึงการพินาศ
เพราะข้อนั้นเป็นเหตุบ้าง
(ในกรณี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน)
 |
|
|
579 |
ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อรอบรู้ทุกข์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ หน้า 268)
ถ้าพวกปริพาชกถามพวกเธอว่า
ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะโคดม เพื่อประโยชน์อะไรเล่า?
พวกเธอพึงตอบว่า "เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อรอบรู้ซึ่งทุกข์ ”
ถ้าพวกปริพาชกเหล่านั้นถามต่อไปว่า ก็ทุกข์ซึ่งท่านอยู่ "ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะโคดมเพื่อจะรอบรู้นั้น เป็นอย่างไรเล่า? ”
พวกเธอพึงตอบว่า
ตา (อายตนะภายใน) เป็นทุกข์
เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็เพื่อรอบรู้ ตา ซึ่งเป็นทุกข์
รูป (อายตนะภายนอก) เป็นทุกข์
เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็เพื่อรอบรู้ รูป ซึ่งเป็นทุกข์
ความรู้แจ้งทางตา (จักษุวิญญาณ) เป็นทุกข์
เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็เพื่อรอบรู้ ความรู้แจ้งทางตาซึ่งเป็นทุกข์
สัมผัสทางตา (ผัสสะ) เป็นทุกข์
เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็เพื่อรอบรู้สัมผัสทางตา ซึ่งเป็นทุกข์นั้น
เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสทางตาเป็นปัจจัยเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ก็ตาม ก็เป็นทุกข์ ผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคนี้ ก็เพื่อรอบรู้ซึ่งทุกข์ ดังนี้
(ในกรณีที่เกี่ยวกับอายตนะ ภายใน ภายนอก วิญญาณ สัมผัส และ เวทนา อีก ๕ หมวดนั้น ก็ตรัสทำนองเดียวกับหมวดแรกนี้)

|
|
|
903 |
บุคคลไม่รู้ชัดถึงอุบายเครื่องพ้นทุกข์ การพ้นทุกข์จักปรากฏได้เมื่อไรเล่า
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕)
ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ผู้เสด็จหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้ทรงพระปริวิตกเช่นนี้ว่า โลกนี้ถึงความยาก ย่อมเกิด
แก่ ตาย
และ เวียนตาย เวียนเกิด
เออก็แหละ
บุคคลไม่รู้ชัดถึงอุบายเครื่องพ้นทุกข์
คือ ชรา และ มรณะนี้ การพ้นทุกข์ (คือชรา-มรณะ)
จักปรากฏได้เมื่อไรเล่า
พิจารณาความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ (สายเกิด)
เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชราและมรณะจึงมี
ชราและ มรณะมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชาติจึงมี
ชาติมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
พิจารณาความดับลงแห่งกองทุกข์ (สายดับ)
เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ชราและมรณะจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ ชราและมรณะ จึงดับ
เมื่ออะไรไม่มี เล่าหนอ ชาติจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ...
|
|
|
1668 |
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะ สังขารเป็นปัจจัย
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันต ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน หน้าที่ ๓๕๓)
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะ สังขารเป็นปัจจัย
เพราะสังขารทั้งหลาย ดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด
ภิกษุรู้โทษนี้ว่า
เพราะสังขารเป็นปัจจัย ทุกข์จึงเกิดขึ้น
เพราะความสงบแห่ง สังขารทั้งมวล
สัญญาทั้งหลาย จึงดับความสิ้นไปแห่งทุกข์
ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุรู้ความสิ้นไปแห่งทุกข์นี้ โดยถ่องแท้ บัณฑิตทั้งหลาย ผู้เห็นชอบผู้ถึงเวทย์ รู้โดยชอบแล้ว ครอบงำกิเลสเป็น เครื่องประกอบ ของมารได้แล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่
|
|
|
529 |
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง นิพพานเห็นได้ยากยิ่ง
(- ธ. ขุ. ๒๕/๔๒/๒๕ )
พระอุทายี : ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร
สารีบุตร :
ดูก่อนอาวุโส นิพพานนี้ ไม่มีเวทนา นั่นแหละเป็นสุข
ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี
สุขอื่นนอกจาก ความสงบ (นิพพาน) ก็ไม่มี
ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะ ไม่มี
ทุกข์ทั้งหลาย เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
สุขอื่นนอกจาก ความสงบ (นิพพาน) ก็ไม่มี
ความหิว เป็นเครื่องเสียบแทงอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อรู้ความข้อนั้น ตามที่เป็นจริงแล้ว ดับเสียได้เป็นสุขอย่างยิ่ง
ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความคุ้นเคยกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
|