เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

(3) รวมพระสูตรเรื่องทุกข์ ทุกขสัจจ์ ทุกขอริยสัจ ... สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 1683
  P1681 P1682 P1683 P1684 P1685 P1686
รวมพระสูตร
เรื่องทุกข์
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 
(3)
อริยสัจ อวิชชา ความไม่รู้
559 ผู้ไม่รู้อริยสัจ เหมือนตกอยู่ในที่มืด หรือตกอยู่ในหลุมถ่านเพลิง
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 23-25)
679 ความเกิด และ ความดับแห่งทุกข์
(ทุกขนิโรธสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันต หน้าที่ ๗๐)
491 ทุกขอริยสัจฯ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๖)
798 อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๕๓๒)
566 อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ หน้า 125)
1442-8 ความไม่รู้ในทุกข์ เหตุเกิด เหตุดับ.. เรียกว่าตกอยู่ในอวิชชา
(อวิชชาสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันต หน้าที่ ๔๒๕)
1442_13 ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นสมุทัย ย่อมเห็นนิโรธ ย่อมเห็นมรรค
(ควัมปติสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันต หน้าที่ ๔๓๒)
1442_18 ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
(ติตถสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันต หน้า ๑๖๙)
1442_20 ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔
(วิตักกสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตหน้าที่ ๔๑๖)
B203/145 ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 159)

(ชุด3) รวมพระสูตรเรื่องทุกข์ ทุกขสัจจ์ ทุกขอริยสัจ

559

ผู้ไม่รู้อริยสัจ เหมือนตกอยู่ในที่มืดหรือตกอยู่ในหลุมถ่านเพลิง

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 23-25)


บุคคลเหล่าใดก็ตาม ไม่รู้อยู่ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือ
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

เขาเหล่านั้นย่อมยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง
ที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิด...
เขายินดีแล้ว ย่อมสร้างปัจจัยนั้นๆขึ้น

ครั้นสร้างแล้ว ก็ตกจมลงสู่ห้วงแห่งความมืดเป็น เหมือนตาบอด
คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และ ความคับใจ เรากล่าวว่า
เขาไม่พ้นไปจากทุกข์
คือความเกิดเป็นต้น ไปได้

 

679


ความเกิด และ ความดับแห่งทุกข์

(ทุกขนิโรธสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๐)

ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นไฉน
เพราะอาศัย จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
เพราะอาศัย หูและเสียง จึงเกิดโสตะวิญญาณ
เพราะอาศัย จมูกและกลิ่น จึงเกิดฆานะวิญญาณ
เพราะอาศัย ลิ้นและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
เพราะอาศัย กายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายะวิญญาณ
เพราะอาศัย ใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา

ความความดับแห่งทุกข์ เป็นไฉน
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอก โดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทว ทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

 

491

ทุกขอริยสัจฯ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๖)

ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจาก สิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ขอเราไม่พึงมีความเกิด ...ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์
ขอเราไม่พึงมีความแก่ ...ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์
ขอเราไม่พึงมีความเจ็บ ...ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์
ขอเราไม่พึงมีความตาย ...ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์

ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์

ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

 

798


อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๕๓๒)

พระองค์ตรัสเล่ากับพระปัญจวัคคีย์ ว่าตอนที่ทรงตรัสรู้ใหม่ๆนั้น ได้พิจารณาว่า
หากญาณทัสสนะ คือ เครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของพระองค์ อันมี ปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ ยังไม่เป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี ก็ยังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อม ต่อเมื่อเป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์ สะอาดด้วยดี ก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้

ญาณทั้ง ๓ คือ

(สัจจญาณ) ญาณที่รู้ว่า นี้ คืออะไร
(กิจจญาณ) ญาณที่รู้ว่า ต้องทำกิจอะไรกับสิ่งที่รู้
(กตญาณ) ญาณที่รู้ว่า ได้กระทำกิจนั้นจบสิ้นแล้ว

ญาณทั้ง ๓ รู้เห็นตามเป็นจริงในอริยสัจสี่

๑. นี้ คือทุกข์
๒. ทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้
๓. ทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว

๑. นี้ คือเหตุให้เกิดทุกข์
๒. เหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย
๓. เหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ละเสียแล้ว

๑. นี้ คือความดับไม่เหลือของทุกข์
๒  ความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้แจ้ง
๓. ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

๑. นี้ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
๒. ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้เจริญ
๓. ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว

 

566


อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 125

ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไร รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความระคนด้วยสิ่งไม่ เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความที่ตนปรารถนา แล้วไม่ได้สมหวังในสิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? การเกิดการกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่งความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ ได้อายตนะ ทั้งหลายในจำพวกสัตว์นั้นๆของสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่าความเกิด

ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ? ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ ทั้งหลาย ในสัตว นิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ นี้เราเรียกว่าความแก่
....

 

1442_8

ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นสมุทัย ย่อมเห็นนิโรธ ย่อมเห็นมรรค

(ควัมปติสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๒)

ผู้ใด ทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า เห็นแม้ทุกขสมุทัย
แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดเห็น ทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า เห็นแม้ทุกข์
แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดเห็น ทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่า เห็นแม้ทุกข์
แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดเห็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นแม้ทุกข์
แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ
(เห็น 1 อย่าง ย่อมเห็นอริยสัจสี่ทั้งหมด)

 

1442-13

ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นสมุทัย ย่อมเห็นนิโรธ ย่อมเห็นมรรค

(ควัมปติสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๒)


ผู้ใด ทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า เห็นแม้ทุกขสมุทัย
แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดเห็น ทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า เห็นแม้ทุกข์
แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดเห็น ทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่า เห็นแม้ทุกข์
แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดเห็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นแม้ทุกข์
แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ
(เห็น 1 อย่าง ย่อมเห็นอริยสัจสี่ทั้งหมด)

 

1442 -18


ทุกขอริยสัจเป็นไฉน

(ติตถสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๖๙)

ทุกขอริยสัจเป็นไฉน (เริ่มจากชาติ)
คือ แม้ชาติ ก็เป็นทุกข์
แม้ชรา ก็เป็นทุกข์
แม้มรณะ ก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็ เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
--------------------------------------------------------------
ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
(อีกนัยยะหนึ่ง เริ่มจากความเกิด)
คือ ความเกิด ก็เป็นทุกข์
ความแก่ ก็เป็นทุกข์
ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์
ความตาย ก็เป็นทุกข์
ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้น ก็เป็นทุกข์ 
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

 

1442-20


ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔

(วิตักกสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๑๖)

เธอทั้งหลาย จงอย่าตรึกถึง (คิด) อกุศลวิตกอันลามก
คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก (คิดเบียดเบียน)

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด
ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด
พึงคิดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

 

B203
/145

ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 159)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ความเกิด เป็นทุกข์ ความแก่ เป็นทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์
ความโศกความรํ่าไร รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์

กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ (ขันธ์ห้าอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) เป็นตัวทุกข์ นี้ เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์

 
 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์